ฝึกสมาธิ เผชิญความกลัวโดยการดูรายการผีบ่อยๆ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Nirvana_99, 22 กันยายน 2012.

  1. Nirvana_99

    Nirvana_99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2012
    โพสต์:
    75
    ค่าพลัง:
    +237
    ฝึกสมาธิ เผชิญความกลัวโดยการดูรายการผีบ่อยๆ แบบนี้ดีหรือไม่ครับ พอดูรายการเช่นคนอวดผี แล้วเกิดความกลัว แล้วก็มานั่งสมาธิดูว่าจิตยังคุมปกติได้หรือไม่ในที่สงัดๆ มืดๆ

    แบบนี้จะยิ่งทำให้จิตหลอนมากขึ้นโดยไม่มีประโยชน์หรือว่าจะเป็นการฝึกเผชิญกับความกลัวได้มากกว่ากันครับ
     
  2. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    ทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาในชีวิต ใช้ดูเป็นวิปัสสนาได้ทั้งหมดทั้งสิ้น

    แต่สำหรับการเริ่มต้น ลองดูฐานกาย ก่อนดีกว่าครับ จะไม่หลง ไม่เสียเวลา
     
  3. bestsu

    bestsu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    277
    ค่าพลัง:
    +617
    นั่งดูจิตตัวเอง..ใช้ได้ครับ สาธุๆ
    แต่ว่าดูจิตเฉยๆมันเป็นสมถกรรมฐาน เราต้องพิจารณาด้วยจนจิตมันละความกลัวให้เป็นวิปัสสนากรรมฐานครับ
     
  4. พระคุณากร

    พระคุณากร Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กันยายน 2012
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +72
    ถ้าเห็นความกลัว ก็ไม่กลัว ถ้าไม่อยากกลัวก็ไม่ควรปรุงแต่งจิต
     
  5. 9TRONG

    9TRONG เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    142
    ค่าพลัง:
    +514
    ขออนุญาตคัดลอกข้อความบางส่วนจาก พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ โดยท่านพุทธทาสภิกขุ ครับ :boo: ชื่อตอน ทรงทำลายความขลาด ก่อนตรัสรู้


    พราหมณ ! ความตกลงใจอันนี้ไดมีแกเราวา ถากระไรในราตรี
    อันกําหนดไดแลววา เปนวัน ๑๔, ๑๕ และ ๘ ค่ํา แหงปกข สวนอันถือกันวา
    ศักดิ์สิทธิ์ ปาอันถือกันวาศักดิ์สิทธิ์ ตนไมอันถือกันวาศักดิ์สิทธิ์ เหลาใดเปน
    ที่นาพึงกลัว เปนที่ชูชันแหงโลมชาติ เราพึงอยูในเสนาสนะเชนนั้นเถิด บางที
    เราอาจเห็นตัวความขลาดและความกลัวได. พราหมณ ! เราไดอยูในเสนาสนะ
    เช่นนั้น ในวันอันกำหนดนั้นแลว.


    พราหมณ ! เมื่อเราอยูในเสนาสนะเชนนั้น สัตวปาแอบเขามา
    หรือวานกยูงทํากิ่งไมแหงใหตกลงมา หรือวาลมพัดหยากเยื่อใบไมใหตกลงมา :
    ความตกใจกลัวไดเกิดแกเราวา นั่นความกลัวและความขลาดมาหาเราเปนแน.
    ความคิดคนไดมีแกเราวา ทําไมหนอ เราจึงเปนผูพะวงแตในความหวาดกลัว
    ถาอยางไร เราจะ หักหามความขลาดกลัวนั้นๆ เสีย โดยอิริยาบถที่ความขลาด
    กลัวนั้นๆ มาสู่เราู .


    พราหมณ ! เมื่อเราจงกรมอยู ความกลัวเกิดมีมา เราก็ขืน จงกรมแกความขลาด นั้น,
    ตลอดเวลานั้น เราไมยืน ไมนั่ง ไมนอน.
    เมื่อเรายืนอยู ความกลัวเกิดมีมา เราก็ขืน ยืนแกความขลาด นั้น, ตลอดเวลานั้น เราไมจงกรม ไมนั่ง ไมนอน.
    เมื่อเรานั่งอยู ความกลัวเกิดมีมา เราก็ขืน นั่งแกความขลาด นั้น, ตลอดเวลานั้น เราไมจงกรม ไมยืน ไมนอน.
    พราหมณ ! เมื่อเรานอนอยู ความขลาดเกิดมีมา เราก็ขืน นอนแกความขลาด นั้น, ตลอดเวลานั้น
    เราไมจงกรม ไมยืน ไมนั่งเลย.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กันยายน 2012
  6. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,425
    ค่าพลัง:
    +35,019
    ยังไม่หายขาดคับ..ถ้าไปที่สงัดๆ.ความกลัวจะกลับขึ้นมาอีก..ต้องฝึกควบคุมอารมย์กลัวให้ได้ก่อน..โดยให้จิตนิ่งให้ได้.แล้วใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นตามความจริงคับ..คล้ายๆที่ท่านอาจารย์ฝั้น.ท่านสอนลูกศิษย์คับ..แบบนั้นหละตรงที่สุดแล้วคับ..ตามลิงค์ข้างล่างคับ ลองหาชื่อ หัวข้อกระทู้ตาม link ดูนะคับ
    พระอาจารย์ฝั้น ดัดนิสัยกลัวภูตผีของพระภิกษุ
     
  7. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,309
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,002
    ลองฟัง clip นี้ดูครับคุณ Nirvana_99 จะได้นําไปปฏิบัติได้ครับ ขอให้โชคดีครับ สาธุ อนุโมทนาครับ

    <center>ต่อสู้ความกลัว

    </center> <hr style="color:#FFFFFF; background-color:#FFFFFF" size="1">
    Artist: หลวงพ่อชา สุภัทโท
    <fieldset class="fieldset"> <legend>ไฟล์แนบข้อความ</legend> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="3"> <tbody><tr> <td width="20"><input id="play_19449" name="Music" value="attachment.php?attachmentid=19449" type="RADIO">ฟัง</td> <td>[​IMG]</td> <td>ต่อสู้ความกลัว.wma (4.70 MB, 5006 views)</td></tr> </tbody></table> </fieldset>
    <ins style="display: inline-table; border: medium none; height: 280px; margin: 0pt; padding: 0pt; position: relative; visibility: visible; width: 336px;">ต่อสู้ความกลัว
    โดย หลวงพ่อชา สุภัทโท


    http://palungjit.org/threads/%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A7.3074/
    </ins>
     
  8. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819

    ทำแบบนี้ไม่ดีครับ

    การฝึกสมาธิ ต้องเริ่มจากฝึกข้างในจิต ใจ ตัวเราเองครับ ไม่ใช่ไป ฝึกข้างนอก

    พูดแบบนี้ ก็เหมือนกับว่า

    กิเลส กาม เราจะฝึกให้หาย กิเลส กาม เราก็ต้องไป ดูหนังโป้ ... บ่อยๆ อะไรทำนองนี้ หรือ ?

    ดูหนังโป้ บ่อยๆ แล้วก็มาดูจิต ตัวเอง อะไรแบบนี้ เหอๆ...

    ยิ่งการที่บอกว่า ฝึกสมาธิ โดยการ ไป ดูหนังผี ดูรายรายผีๆ บ่อยๆ นี่ ยิ่งไม่ใช่ เลย.......

    เรื่องอะไรทำนองนี้ คงไม่ใช่ วิธีฝึก สมาธิ หรอกครับ



    อย่างที่พูด ไม่มีประโยชน์ แถมเป็นการฝึกผิดทางซะมากกว่า



    การฝึกสมาธิ ต้องเริ่มจากฝึกข้างในจิต ใจ ตัวเราเองครับ ไม่ใช่ไป ฝึกข้างนอกๆ นะ


    การทำสมาธิ นั้น ต้องเริ่มจาก ทำความสงบ ของ จิต ให้ได้ก่อน เป็นเบื้องต้น ก่อนนะครับ


    ฝึกสมาธิ ไม่ว่าจะ ครูบาอาจารย์ ที่ไหน ก็สอนให้ดู จิต ใจ ตัวเอง ครับ ไม่ใช่ไป คอย ตามดู จิต ใจ เรื่องข้างนอกๆ นะ

    .

    แล้วอีกเรื่องนะครับ

    พูดว่า กลับนั่งสมาธิดูจิต ตัวเอง นี้ อยากจะถามว่า

    ดูจริงๆ ดู จิต เห็น จิต จริงๆ หรือไม่

    หรือแค่ เห็น เห็นความคิด เห็นอาการของจิต ที่ส่งออกมา แล้วก็เข้าใจ ว่า ที่ดูอยู่นี่ เป็น จิต ที่กำลังดูอยู่


    เพราะ บางคน เข้าใจผิดๆ ไปตามดูความคิด ตามดูอาการของจิต แล้วก็ หลงเข้าใจ ว่าเป็นตัว จิต

    หลงว่าตัวเอง กำลังดู จิต อยู่

    จิต ยังไม่เป็นสมาธิ จิต ยังไม่เห็นตัว จิต สมาธิยังไม่มี ยังไม่ได้ ไม่เรียกว่า ดู จิต หรอกครับ

    เรียกว่าตามดู กิเลส



    หลวงปู่ฝากไว้
    หลวงปู่ดูลย์ อตุโล

    <TABLE style="LINE-HEIGHT: 1.7; MARGIN-TOP: -3mm; MARGIN-BOTTOM: 0px" border=2 cellSpacing=0 borderColorLight=#785a1d borderColorDark=#dea635 width=78 bgColor=white align=center><TBODY><TR><TD height=84 vAlign=top width=68 align=left>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse; FONT-FAMILY: 'MS Sans Serif'; FONT-SIZE: 14pt" class=MsoNormalTable border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=520 align=center><TBODY><TR><TD width=278>จิตที่ส่งออกนอก
    </TD><TD width=242>เป็นสมุทัย

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    สมุทัย คือะไร ก็คือ กิเลส



    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD class=cattitle>ธรรมะหลวงตามหาบัว</TD><TD class=itemsubsub><NOBR>Aug 30, '11 3:43 AM</NOBR>
    for everyone
    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    [​IMG]
    สัจธรรม คือ อะไรบ้าง ทุกข์ ความไม่สบายกายไม่สบายใจมีอยู่ที่ไหน ถ้าไม่มีอยู่ที่กายที่ใจเรานี้ทุกคน สมุทัย คือ นันทิราคะ กามราคะ ภวตัณหา วิภวตัณหา นี่คือตัวของกิเลส มันเกิดขึ้นจากใจเพราะเชื้อของมันมีอยู่ที่ใจ มันจึงแสดงตัวออกมาจากสิ่งที่ีให้เรารู้ นิโรธ คือ ความดับทุกข์ เอาอะไรมาดับมันจึงจะดับได้ ถ้าไม่เอามรรค คือ ศีล สมาธิ ปัญญา เฉพาะอย่างยิ่ง สติ ปัญญา ศรัทธา ความเพียร เป็นสิ่งสำคัญมามาดับ สติปัญญาเป็นเครื่องบุกเบิก เป็นเครื่องถอดถอน วิริยะ คือ ความพากเพียรในงานถอดงานถอนของตน ให้เร่งธรรมเหล่านี้เข้าให้มาก นิโรธ คือ ความดับทุกข์ เมื่อกิเลสดับไปมากน้อยด้วยมรรค เรื่องนิโรธจะดับทุกข์ตามๆกัน เพราะนิโรธน้ันเป็นเงาของมรรค ถ้ามรรคทำงานมากน้อยเพียงไร นิโรธก็แสดงขึ้นตามเรื่องของมรรคที่ปราบปรามกิเลสได้มากน้อยเพียงน้ัน

    สัจธรรมท้ั้งสี่นี้มีอยู่ที่ไนเวลานี้ ในครั้งพุทธกาลท่านบรรลุธรรม ท่านบรรลุอะไรถ้าไม่รู้แจ้งในสัจธรรมทั้งสี่นี้แล้วจะหาทางบรรลุธรรมไม่ได้ เมื่อรู้แจ้งในสัจธรรมท้ังสี่โดยสมบูรณ์แล้ว น้ันแล คือ เป็นผู้บรรลุถึงธรรมอันเกษมสำราญหาอะไรเสมอเหมือนไม่ได้เลย ธรรมดังกล่าวน้ันอยู่ในดวงใจ พระพุทธเจ้าตรัสรู้ที่ใจ เพราะ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค อยู่ที่ใจ สาวกทังหลายตรัสรู้ที่ใจน้ันเอง เพราะใจเป็นผู้หลง ใจเป็นผู้ปฎิบัติตนให้รู้ ใจเป็นผุู้แก้ความลุ่มหลงของตน เมื่อได้แก้เต็มภุมิแล้วความลุ่มหลงน้ันก็หมดไป ทุกข์ก้ดับไป ความลุ่มหลงน้ันแลพาให้ก่อทุกข์ เมื่อทุกข์ดับไปแล้ว คำว่านิโรธก็แสดงขึ้นมาในขณะเดียวกัน แล้วอะไรที่ยังเหลืออยู่เวลาสมุทัยและทุกข์ดับไปแล้วน้ัน ผู้ที่รู้ว่าทุกข์และสมุทัยดับไปน้ันแลคือ ผู้บริสุทธิ์ ผู้นี้ไม่ดับ ผู้นี้แลเป็นธรรมชาติที่บริสุทธิ์ สั่จธรรมทังสี่เป็นเพียงกิริยาอาการดำเนินในขณะที่ยังไม่หลุดพ้นจากกิเลสกองทุกข์เท่าน้ัน
    เพราะฉะนั้น เรื่องอรหัตมรรค อรหัตผล จึงเป็นธรรมที่คาบเกลียวกันอยู่ ยังไม่ละกิริยา ระหว่างมรรคกับผลวิ่งถึงกันในชั่วระยะจริมรรคจิต ตามปริยัติท่านว่าไว้ชั่วจริมรรคจิต คือ ชั่วลัดมือเดียว ขณะเดียวเท่าน้ัน ขณะน้ันท่านว่ามรรคกับผลวิ่งถึงกัน ทำหน้าที่ต่อกันเสร้จเรียบร้อยแล้วนั้นเรียกว่า นิพพานหนึ่ง ในขณะเดียวกันเรียกว่า ถึงแดนแห่งความบริสุทธิ์เต็มที่แล้วก็ได้ และคำว่า แดนแห่งความบริสุทธฺ์นี้ จะหมายถึงอะไร ถ้าไม่หมายถึงใจผู้เคยติดอยู่ในกองทุกข์ได้พ้นจากแดนแห่งความทุกข์ไปเท่าน้ัน
    เพราะฉะน้ัน ขอให้ทุกท่านจงดำเนินจิตใจของตนด้วยควาเอาจริงเอาจังในงาน คือ จิตภาวนา อยาได้ลดละท้อถอย ตายก็ตายเถอะ พุทธํ ธมฺมํ สงฺฆฺํ ปูเชมิ ตายบูชาพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ดีกว่าตายเพื่อกิเลสบูชากิเลสเป็นไหนๆ เราเคยเชื่อ เราเคยยอมจำนนต่อกิเลส คล้อยตามกิเลส เคล้มตามกิเลสมาหลายภพหลายชาติจนนับไม่ได้แล้ว ให้กิเลสพอกพูนหัวใจจนหาดวงใจอันแท้จริงไม่เห็นเลยมานานนักแล้ว ท้ังขนทุกข์มาทับถมโจมดีเราจนขนาดไม่รู้จักเป็นจักตาย หากำหนดกฎเกณฑ์ไม่ได้ว่าเมื่อไรทุกข์จะหลุดลอยออกไปจากใจ ถ้าไม่แก้ตัวสมุทยัให้หลุดลอยลงไปแล้ว ไม่มีทางที่ทุกข์จะหลุดลอยลงไปได้
    การแก้สมุทัยก้คือ ความเพียรมีสติปัญญาเป็นสำคัญ ให้พยายามมพากเพียรอยาลดละถอยหลัง นี้แลเป้นสิ่งที่จะตัดสินได้ ตัดสินที่ตรงนี้ ไม่มีกาลโน้น สถานที่น้่นมีอำนาจยิ่งกว่า ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา หรือยิ่งกว่าสัจธรรมท้ังสี่นี้ไปได้เลย ตรงนี้เป็นสำคัญ จงยึดตรงนี้เป้นหลักใจ หลักปฎิบัติ กิเลสอยู่ที่ตรงนี้ สมุทัยคือ กิเลสแท้อยู่ที่หัวใจ มรรค คือ การปฎิบัติเพื่อแก้กิเลสด้วยอุบายต่างๆ อย่านอนใจ ถึงเวลาคิด คิดอ่านไตร่ตรองให้เข้าใจในเรื่องธาตุเรื่องขันธ์เรื่องกิเลสอาสวะแสดงตัวขึ้นมากน้อย อย่าไปหึงหวง อย่าไปเสียดายอะไรทั้งสิ้นนอกจากความพ้นทุกข์ โลกที่เราเคยคิดเคยปรุงมาแล้วได้ประโยชน์อะไร นอกจากเป็นเรื่องสมุทัย แล้วกว้านเอาความทุกข์เข้ามาเผาลนหัวใจเท่านั้น ขึ้นชื่อว่าสมุทัยแล้วเป็นอย่างน้ัน เคยเป็นอย่างน้ันมาดั้งเดิม อย่าได้หลงกลมัน จงทำความเข็ดหลาบ อย่ายอมหมอบราบกราบมันต่อไป
    หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน
    จากหนังสือ "เข้าสู่แดนนิพพาน" หน้า ๕๖-๕๗
    โดย: Sutunya Sundarasardula




    จะดู จิต จิต ต้องเป็น สมาธิ ถึงจะเห็นตัว จิต

    สมาธิ จะเกิดได้ก็ต่อเมื่อ ระงับ นิวรณ์ 5 สิ่งที่ขวางกั้นจิตทำให้เกิดสมาธิ ได้

    ถ้ามีนิวรณ์ 5 อยู่ ขวางกั้น จิต ก็ย่อมทำให้เกิดสมาธิไม่ได้

    นิวรณ์ 5
    1.กามฉันทะ
    2.พยาปาทะ
    3.ถีนมิทธะ
    4.อุทธัจจกุกกุจจะ
    5.วิจิกิจฉา

    ดังนั้น เมื่อ จะดูจิต จิต ก็ต้องเป็นสมาธิ แล้ว

    เมื่อ จิต เป็น สมาธิ แล้ว ก็ย่อม ระงับ นิวรณ์ 5 ลงไป ไม่สามารถ เกิดนิวรณ์ 5 ใน สมาธิ ได้

    แล้ว เมื่อ นั้น ถึงจะ เรียกว่า ดูจิต ครับ


    สมาธิไม่มี สมาธิไม่เกิด ไม่เรียกว่า ดูจิต หรอกนะครับ



    แล้วอีกเรื่อง นะครับ

    ครูบาอาจารย์ นั้น หาที่เงียบสงัด เพื่อ ทำสมาธิ ครับ ไม่ใช่ เที่ยวไปตามดู ผี ตามดูนั้นดูนี้

    แต่ไปหาสถานที่ ที่เหมาะแก่การ บำเพ็ญ ภาวนา ทำสมาธิ ครับ เพื่อการ ภาวนา ครับ

    ที่ไหนเหมาะ แก่การทำสมาธิ ทำสมาธิ ภาวนา กาย เวทนา จิต ธรรม สติปัฏฐาน 4

    หาอ่านตามหนังสือ ประวัติ ครูบาอาจารย์ ได้ครับ

    .

    .

    ไม่ได้ตามรู้ตามดูจิต แต่ไปตามรู้ตามดูกิเลส ซึ่งผิดหลักการดูจิต



    เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : ภาวนาแล้วทำไมยังแพ้และทุกข์เพราะกิเลสอยู่ ?
    [​IMG]

    ภาวนาแล้วทำไมยังแพ้และทุกข์เพราะกิเลสอยู่ ?
    1. มีความอยากที่จะเอาชนะกิเลส ซึ่งเป็นไปไม่ได้หรอกที่เราจะเอาชนะกิเลสด้วยความอยาก พออยากเอาชนะ จิตก็จะไม่ตั้งมั่น ไม่เป็นกลาง จึงทำให้แทนที่จะตามรู้ตามดูจิตที่มีกิเลสด้วยสติ สัมปชัญญะ ก็จะกลายเป็นไหลตามไปตามกิเลสพร้อมๆ กับพยายามเอาชนะมันให้ได้ จึงทำให้เห็นกิเลส ฝืนมันด้วยสติแต่ไม่มีสัมปชัญญะ (เพ่งใส่กิเลสด้วยความอยากชนะมัน) หากเป็นอย่างนี้ก็ไม่ใช่การตามรู้ ตามดูจิตแล้วครับ
    2. ไม่ได้ตามรู้ตามดูจิต แต่ไปตามรู้ตามดูกิเลส ซึ่งผิดหลักการดูจิต เพราะการดูจิตนั้น ต้องดูไปตรงจิตที่มีกิเลส ไม่ใช่ดูกิเลส (ให้ตามรู้ว่าจิตมีกิเลส อย่าไปตามรู้ตัวกิเลส) เช่น ให้ตามรู้ว่าจิตมีโทสะ อย่าไปตามดูว่าโทสะมาจากไหน แรงมากแรงน้อย หรือโทสะเกิดเพราะเรื่องใดใครทำให้เกิด เพราะหากไปดูตัวกิเลส จิตจะส่งออกไปจมแช่กิเลสได้ง่าย เพราะจิตเองยังมีปัญญาไม่มากพอ แต่ถ้าไปรู้ว่า จิตมีกิเลส (ไม่ต้องไปสนใจเจ้าตัวกิเลส) จิตก็จะไม่จรดจ่อไปที่ตัวกิเลส ซึ่งจะทำให้จิตไม่ส่งออกไปหากิเลส หรือไม่ถูกกิเลสครอบงำได้ง่าย แล้วก็จะเห็นกิเลสเกิด-ดับได้จากการตามรู้ว่าจิตมีกิเลสโดยที่ไม่ต้องตามดูเจ้าตัวกิเลสเลย แถมยังได้ตามรู้จิต เห็นจิตเกิด-ดับอีกด้วย การเห็นจิตเกิด-ดับไปพร้อมๆ กับเห็นกิเลสเกิด-ดับ ด้วยการตามรู้ว่าจิตมีกิเลส จะทำให้เกิดปัญญารักษาจิตไม่ให้เศร้าหมองเพราะกิเลสที่จรมา
    เราต้องดูว่าจิตเป็นอย่างไร เพราะในสติปัฏฐานหมวด จิตตานุปัสสนา เป็นการรู้ชัดว่าจิตเป็นอย่างไร เช่น จิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่าจิตมีราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ชัดว่าจิตมีโทสะ ไม่ได้บอกให้รู้ราคะหรือรู้โทสะ รู้ไปจนเห็นว่า จิตมีความเกิดขึ้น เสื่อมไปเป็นธรรมดา จนเห็นว่าจิตไม่ใช่ตัวตน จนปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นต่อจิตเอง

    Dhammada.net หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม

    http://www.dhammada.net/2012/03/01/14031/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กันยายน 2012

แชร์หน้านี้

Loading...