ผลแห่งกรรม

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย หลับตา, 7 พฤศจิกายน 2005.

  1. หลับตา

    หลับตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    716
    ค่าพลัง:
    +3,151
    การปฏิบัติบูชา ในเบื้องต้น ควรระงับอกุศลกรรม บท 10 และสร้าง บุญกิริยาวัตถุ ทั้ง 10 เพื่อความเจริญงอกงามซึ่งมีอานิสงส์ดังนี้


    ผลของการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต (รวมไปถึงการทำร้ายสัตว์ด้วยแม้ไม่ถึงตายก็ตาม)มี ๙
    ประการ คือ

    ๑. พิการ
    ๒. รูปไม่งาม
    ๓. กำลังกายอ่อนแอ
    ๔. กำลังกายเฉื่อยชา
    ๕. เป็นคนขลาด
    ๖. ฆ่าตนเอง หรือถูกฆ่า
    ๗. โรคภัยเบียดเบียน
    ๘. ความพินาศของบริวาร กำลังปัญญาไม่ว่องไว
    ๙. อายุสั้น

    ผลของการขี้ขโมยมี ๖ ประการ คือ

    ๑. ด้อยทรัพย์
    ๒. ยากจน
    ๓. อดอยาก
    ๔. ไม่ได้สิ่งที่ตนปรารถนา
    ๕. พินาศในการค้า
    ๖. ทรัพย์พินาศเพราะอัคคีภัย อุทกภัย ราชภัย โจรภัยเป็นต้น

    ผลของการแย่งคนรักของชาวบ้าน มี ๑๑ ประการ คือ

    ๑. มีผู้เกลียดชังมาก
    ๒. มีผู้ปองร้ายมาก
    ๓. ขัดสนทรัพย์
    ๔. ยากจนอดอยาก
    ๕. เป็นหญิง (เป็นหญิงที่อับโชค)
    ๖. เป็นกระเทย
    ๗. เป็นชายในตระกูลต่ำ
    ๘. ได้รับความอับอายเป็นอาจิณ
    ๙. ร่างกายไม่สมประกอบ
    ๑๐. มากไปด้วยความวิตกห่วงใย
    ๑๑. พลัดพรากจากผู้ที่ตนรัก

    ผลของการขี้ปด มี ๘ ประการ คือ

    ๑. พูดไม่ชัด
    ๒. ฟันไม่เป็นระเบียบ
    ๓. ปากเหม็นมาก
    ๔. ไอตัวร้อนจัด
    ๕. ตาไม่อยู่ในระดับปกติ
    ๖. กล่าววาจาด้วยปลายลิ้น และปลายปาก
    ๗. ท่าทางไม่สง่าผ่าเผย
    ๘. จิตไม่เที่ยงคล้ายวิกลจริต

    ผลของการชอบพูดซุบซิบนินทา มี ๔ ประการ คือ

    ๑. ตำหนิตนเอง
    ๒. มักจะถูกลือโดยไม่มีความจริง
    ๓. ถูกบัณฑิตตำหนิติเตียน
    ๔. แตกมิตรสหาย

    ผลของการพูกเพราะความโกรธ(การด่า) มี ๔ ประการ คือ

    ๑. พินาศในทรัพย์
    ๒. ได้ยินเสียง เกิดไม่พอใจ
    ๓. มีกายและวาจาหยาบ
    ๔. ตายด้วยอาการงงงวย

    ผลของการพูดเพ้อเจ้อ เช่น การล้อเล่น ,พูดจาไม่มีประโยชน์, พูดเล่น ฯลฯ มี ๔
    ประการ คือ

    ๑. เป็นอธัมมวาทบุคคล
    ๒. ไม่มีผู้เลื่อมใสในคำพูดของตน
    ๓. ไม่มีอำนาจ
    ๔. จิตไม่เที่ยง คือ วิกลจริต

    ผลของความอยากได้ อยากมีในทรัพย์ของผู้อื่นมี ๔ ประการ คือ

    ๑. เสื่อมในทรัพย์และคุณงามความดี
    ๒. ปฏิสนธิในตระกูลต่ำ
    ๓. มักได้รับคำติเตียน
    ๔. ขัดสนในลาภสักการะ

    ผลในปวัตติกาลของพยาบาท(ความเพ่งเล็ง จับผิด คิดร้าย อยากให้ผู้อื่นเสียหาย -
    เช่นขอให้ตายไวไวเป็นต้น) มี ๔ ประการ คือ

    ๑. มีรูปทราม
    ๒. มีโรคภัยเบียดเบียน
    ๓. อายุสั้น
    ๔. ตายโดยถูกประทุษร้าย

    ผลของความเห็นผิด มี ๔ ประการ คือ

    ๑. ห่างไกลรัศมีแห่งพระธรรม
    ๒. มีปัญญาทราม
    ๓. ปฏิสนธิในพวกคนป่าที่ไม่รู้อะไร
    ๔. เป็นผู้มีฐานะไม่เทียมคน

    ผลของเสพสุราเมรัย มี ๖ ประการ คือ

    ๑. ทรัพย์ถูกทำลาย
    ๒. เกิดวิวาทบาดหมาง
    ๓. เป็นบ่อเกิดของโรค
    ๔. เสื่อมเกียรติ
    ๕. หมดยางอาย
    ๖. ปัญญาเสื่อมถอย

    มาที่ส่วนของการทำดีบ้าง

    ทางของการกระทำ คือ บุญกริยาวัตถุ ๑๐ ได้แก่

    ๑. ทานมัย การให้สิ่งที่เป็นประโยชน์สุขแก่ผู้รับ
    ย่อมต้องได้รับอานิสงส์ ดังนี้

    ๑) เป็นที่มาของทรัพย์สมบัติทั้งหลาย
    ๒) เป็นที่ตั้งของโภคทรัพย์ทั้งปวง
    ๓) ผู้ให้ย่อมได้รับความสุข
    ๔) ผู้ให้ย่อมเป็นที่รักของคนหมู่มาก
    ๕) ผู้ให้ย่อมผูกไมตรีผู้อื่นไว้ได้
    ๖) ทำให้เป็นผู้มีเสน่ห์น่านับถือ
    ๗) ทำให้เป็นที่น่าคบหาของคนดี
    ๘) ทำให้เข้ากับสังคมอื่นได้คล่องแคล่ว
    ๙) มีบุคลิกองอาจ สง่าผ่าเผย
    ๑๐) ทำให้มีชื่อเสียงเกียรติคุณดี
    ๑๑) ตายแล้วเกิดในสุคติภูมิ

    ๒. สีลมัย บุญที่สำเร็จได้ด้วยการรักษาศีล
    ย่อมต้องได้รับอานิสงส์ ดังนี้

    ๑) ทำให้มีความสุขกาย สุขใจ
    ๒) ทำให้เกิดโภคทรัพย์ได้
    ๓) ทำให้สามารถใช้สอยทรัพย์นั้นได้เต็มอิ่ม โดยไม่หวาดระแวง
    ๔) ทำให้ไม่ต้องหวาดระแวงว่าจะมีใครมาทวงทรัพย์คืน
    ๕) ทำให้เกียรติคุณฟุ้งขจรไป ทำให้ผู้อื่นเกิดความเชื่อถือ
    ๖) ทำให้ชีวิตนั้นแกล้วกล้าองอาจท่ามกลางชุมชน
    ๗) ทำให้ไม่เป็นคนหลงลืมสติ
    ๘) ตายแล้วไปเกิดในสุคตภูมิ

    ๓. ภาวนามัย บุญที่สำเร็จได้ด้วยการเจริญสมถภาวนา และวิปัสสนาภาวนา
    ย่อมต้องได้รับอานิสงส์

    ๑) มีรูปร่างหน้าตาสวยงาม
    ๒) มีผิวพรรณผ่องใส
    ๓) มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง
    ๔) มีความจำดี และกำลังปัญญาว่องไว
    ๕) เป็นคนใจคอเยือกเย็น
    ๖) เป็นที่ชื่นชอบของผู้พบเห็น
    ๗) มีบุคลิกอันน่าศรัทธา
    ๘) เกิดในตระกูลดี
    ๙) มีบุคลิกสง่างาม
    ๑๐) มีมิตรสหายมาก
    ๑๑) เป็นที่เคารพยำเกรงของคนทั่วไป
    ๑๒) เป็นที่ชื่นชอบของบัณฑิต
    ๑๓) สมบูรณ์ด้วยปัจจัย ๔
    ๑๔) ปราศจากอกุศลทั้งปวง
    ๑๕) ปลอดภัยจากศาสตราวุธ
    ๑๖) มีอายุยืน
    ๑๗) ตายแล้วเกิดในสุคติภูมิ

    ๔. อปจายนะ บุญที่สำเร็จได้ด้วยการอ่อนน้อมถ่อมตน ต่อผู้ที่ควรเคารพนบนอบ
    (คุณวุฒิ วัยวุฒิ ชาติวุฒิ)
    ย่อมต้องได้รับอานิสงส์ ดังนี้

    ๑) เกิดในตระกูลสูง
    ๒) มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
    ๓) มีมิตรสหายดี
    ๔) ได้รับคำชมเชยอยู่เสมอ
    ๕) มีความสมบูรณ์ในทรัพย์
    ๖) ได้พบเห็นแต่สิ่งที่ตนปรารถนา
    ๕. เวยยาวัจจะ บุญที่สำเร็จได้ด้วยการช่วยเหลือกิจการงานที่ชอบ
    ย่อมต้องได้รับอานิสงส์ ดังนี้
    ๑) มีความเป็นอยู่ดี สุขกายสุขใจ
    ๒) มีมิตรสหายมาก
    ๓) มีไหวพริบความจำดี
    ๔) มีตำแหน่งหน้าที่การงานสูง

    ๖. ปัตติทานะ บุญที่สำเร็จได้ด้วยการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้อื่น (การแผ่เมตตา)
    ย่อมต้องได้รับอานิสงส์ ดังนี้

    ๑) ไม่มีความอดอยาก ยากจน
    ๒) ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน
    ๓) มีบริวารดี
    ๔) เป็นที่รักของผู้พบเห็น
    ๕) มีรูปร่างหน้าตาสวยงาม
    ๖) มีอายุยืน

    ๗. ปัตตานุโมทนา บุญที่สำเร็จได้ด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญ
    ย่อมต้องได้รับอานิสงส์ ดังนี้

    ๑) มีสุขภาพสมบูรณ์
    ๒) มีฐานะดี
    ๓) มากไปด้วยลาภสักการะ
    ๔) พบเห็นแต่สิ่งที่ทำให้เกิดความสบายใจ

    ๘. ธัมมสวนะ บุญที่สำเร็จได้ด้วยการฟังธรรม
    ย่อมต้องได้รับอานิสงส์ ดังนี้

    ๑) เกิดในตระกูลสูง
    ๒) มีสติปัญญาดี
    ๓) มีมิตรสหายดี
    ๔) มีความเชื่อมั่นในตนเอง

    ๙. ธัมมเทสนา บูญที่สำเร็จได้ด้วยการแสดงธรรม
    ย่อมต้องได้รับอานิสงส์ ดังนี้

    ๑) ไม่มีกลิ่นปาก
    ๒) มีฟันขาวเรียบ
    ๓) บุตรบริวารมีความเชื่อฟัง
    ๔) มีบุคลิกสง่างาม
    ๕) มีความจำดี
    ๖) เป็นที่ไว้วางใจแก่ผุ้พบเห็น

    ๑๐.ทิฏฐุชุกรรม บุญที่สำเร็จได้ด้วยการทำความเห็นให้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง
    ย่อมต้องได้รับอานิสงส์ ดังนี้

    ๑) มีปัญญาดี
    ๒) ไม่อดอยาก
    ๓) ไม่ยากจน
    ๔) มีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง
    ๕) มีบุคลิกสง่างาม
    ๖) พบเห็นแต่สิ่งที่ทำให้เกิดความสบายใจ
    ๗) มีฐานะความเป็นอยู่ดี
    ๘) มีบริวารมาก
    ๙) มีความเชื่อมั่นในตนเอง ไม่มีชีวิตเนื่องด้วยผู้อื่น

    บุญกริยาวัตถุ ๑๐ เมื่อสงเคราะห์ลงในทาน ศีล ภาวนา ได้ดังนี้คือ

    ทาน ปัตติทานะ ปัตตานุโมทนา สงเคราะห์ใน ทาน

    ศีล อปจายะ เวยยาวัจจะ สงเคราะห์ใน ศีล

    ภาวนา ธัมมสวนะ ธัมมเทสนา ทิฏฐุชุกรรม สงเคราะห์ใน ภาวนา

    ภาวนามัย อานิสงค์ 10 ข้อดังกล่าว จะสรุปได้ว่า
    บุญที่สำเร็จได้ด้วยการเจริญสมถภาวนา และวิปัสสนาภาวนา ได้บุญ เพราะจิต ได้ ข่ม ลด ละ เลิก ตัด กิเลส เป็น ชั้นๆ จนถึงที่สุดแห่งทุกข์ คือ พระนิพพาน

    ในจำนวน 10 ข้อ ภาวนามัย จึงสำคัญ ที่ สุด เพราะเป็น ปฏิบัติบูชา
    จากหนังสือเรียนพระอภิธรรมปริเฉทที่ 5
     
  2. สุวรรณา รัตนกิจเกษม

    สุวรรณา รัตนกิจเกษม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2005
    โพสต์:
    311
    ค่าพลัง:
    +772
    ตอนนี้เรา ทรมาน มาก ๆ ๆ ท่านผู้รู้บอกกับเราว่า
     
  3. สุวรรณา รัตนกิจเกษม

    สุวรรณา รัตนกิจเกษม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2005
    โพสต์:
    311
    ค่าพลัง:
    +772
    ตอนนี้เราทรมานมากเลย..ทุรนทุราย
     
  4. สุวรรณา รัตนกิจเกษม

    สุวรรณา รัตนกิจเกษม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2005
    โพสต์:
    311
    ค่าพลัง:
    +772
    ตอนนี้เราทรมานทุรนทุรายมากเลย
     
  5. สุวรรณา รัตนกิจเกษม

    สุวรรณา รัตนกิจเกษม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2005
    โพสต์:
    311
    ค่าพลัง:
    +772
    ท่านผู้รู้บอกกับเราและชี้ให้เราเห็นกรรมที่เคยทำไว้....เราเคยทำร้ายจิตใจผู้ที่มีพระคุณของเรา ผู้ที่เค้าดีต่อเรา...ด้วยความจริงใจ..มาก่อน..ทำให้ตอนนี้มีผลกรรมเกิดขึ้นจากสภาพแวดล้อมมาตามสนอง...ทำให้สภาพจิตใจของเราย่ำแย่ทุกวัน ๆ ๆ ๆ เราเจอเหตุการณ์ร้าย ๆ ทุกวัน ๆ ๆเหมือนตกอยู่ในนรก...เลย..แต่ละวันไม่เคยมีความสุข ...อยู่บ้านก็คนมาให้ร้าย ..ไปทำงาน ก็มีคนมาให้ร้าย ไปที่ไหน ก็เจอ ..แม้แต่ญาติหรือเพื่อนสนิท ที่เคยดีต่อกัน ก็เข้าใจเราผิด คิดร้ายและ ให้ร้ายเรา ทำเจอแต่ความเสียใจทุกวัน ๆ ๆ ทุกวันนี้เราได้แต่รอให้กรรมนี้หมดไป และเราพยายามสร้างกุศลผลบุญให้มากที่สุด เพื่ออนาคตชีวิตจะได้มีความเจริญรุ่งเรือง...(แต่พอเราจะทำบุญ เข้าวัด พ่อแม่ก็คิดว่าเรางมงาย ...เราร้องไห้และพยายามจะทำบุญให้ได้เพราะเห็นถึงความชั่วร้ายของเราเองที่เคยทำคนอื่นไว้...ได้รับผลกรรมชั่วแล้ว..ก็อยากทำดีเพื่อได้รับผลกรรมดีบ้าง..เราไม่อยากเป็นคนไม่ดี เราอยากจะทำแต่สิ่งที่ดีเพื่ออนาคตในวันข้างหน้าจะได้ดีขึ้น)...ผลกรรมที่เราทำขึ้นนั้น ...ก็คือการละเมิดศีล 5 นั่นแหละ ...ข้อที่บอกว่า การโกหก สมัยก่อนเราเป็นคนอารมณ์ร้ายพูดจาไม่ดีทำให้คนอื่นเสียใจทำร้ายจิตใจคนที่เขาจริงใจต่อเราและเราทำให้ผู้อื่นเสียทรัพย์มากมายเพราะว่าเราเห็นแก่ประโยชน์ของตัวเราเองด้วย...(ผลกรรมที่ย้อนกลับมาทำให้เราทรมานมาก..นอนทุรนทุราย น้ำตาไหล กลุ้มใจ คลุ้มคลั่ง กรีดร้อง เสียใจ..ทำให้เราเกือบคิดฆ่าตัวตายหลายครั้ง) ตอนนี้เราพยายาม ทำแต่ความดี รักษาศีล 5 และพยายามไม่โกรธใคร พยายามไม่ทำร้ายใคร ด้วยกาย วาจา ใจ เพราะเราไม่อยากสร้างกรรมชั่วและรับกรรมชั่วของตัวเองอีกแล้ว
     

แชร์หน้านี้

Loading...