ปฏิบัติธรรม ณ วัดอัมพวัน จ.สิงค์บุรี - หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม

ในห้อง 'งานบวช' ตั้งกระทู้โดย Sawiiika, 28 กุมภาพันธ์ 2009.

  1. Sawiiika

    Sawiiika เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,811
    ค่าพลัง:
    +1,557
    [​IMG]


    " ถ้าท่านตั้งใจปฏิบัติธรรมโดย กินน้อย นอนน้อย พูดน้อย
    ทำความเพียรให้มากแล้ว ไม่สนใจใครทั้งหมด ตัดปลิโพธิกังวล
    ให้หมด ( พะว้า พะวัง ห่วงโน้น ห่วงนี่ ห่วงนั่น ) ท่านจะไม่ขาดทุน "
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • lp_jarun2_w.jpg
      lp_jarun2_w.jpg
      ขนาดไฟล์:
      25 KB
      เปิดดู:
      477
    • 15-200~2.jpg
      15-200~2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      21.1 KB
      เปิดดู:
      6,199
    • sati_j010.jpg
      sati_j010.jpg
      ขนาดไฟล์:
      26.6 KB
      เปิดดู:
      251
    • CIMG1858.jpg
      CIMG1858.jpg
      ขนาดไฟล์:
      139.3 KB
      เปิดดู:
      422
    • image001.jpg
      image001.jpg
      ขนาดไฟล์:
      20.7 KB
      เปิดดู:
      344
    • story-153-big.jpg
      story-153-big.jpg
      ขนาดไฟล์:
      78.6 KB
      เปิดดู:
      4,327
  2. Sawiiika

    Sawiiika เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,811
    ค่าพลัง:
    +1,557
    การลงทะเบียน และ ระยะเวลาเข้าปฏิบัติธรรม

    แบบบุคคลทั่วไป

    การเข้าปฏิบัติธรรมที่วัด จะ มีแบบ ๓ วัน และ แบบ ๗ วัน ซึ่งหากเป็นผู้เข้าฝึก
    ปฏิบัติธรรมใหม่ ขอแนะนำให้เข้ากรรมฐานแบบ ๗ วัน เพื่อที่จะได้รับผลดีที่สุด

    สำหรับการเข้าปฏิบัติธรรม แบบ ๓ วัน จะสามารถไปลงทะเบียน
    ได้ที่วัด ทุกวันศุกร์ ก่อน ๔ โมงเย็น และ จะลาศีล ( กลับบ้าน ) ก่อนบ่ายของวันอาทิตย์
    ( อาจจะเป็น เสาร์ ช่วงเย็น อาทิตย์ ช่วงเช้า แล้วแต่ เจ้าหน้าที่จะดูความเหมาะสมครับ)
    สำหรับการเข้าปฏิบัติธรรม แบบ ๗ วัน ก็จะสามารถไปลงทะเบียน
    ได้ที่วัด ทุกวันโกนก่อน ๔ โมงเย็น ครับ และ ลาศีลในวันโกนถัดไป ( วันโกนคือวัน ก่อนวันพระ ๑ วัน)

    ในปัจจุบันนี้การนับวันบางท่านจะนับวันรวมวันที่ไปลงทะเบียนเป็นวันแรก แล้วนับต่อไปจนครบ ๗ วัน
    แบบนี้ก็ไม่ผิดระเบียบแต่ อย่างใดครับ แต่หากกระทำได้ก็ควร เข้าวันโกน - ออกวันโกน นะครับ


    [​IMG]

    การลงทะเบียนเข้าปฏิบัติธรรม ไม่จำเป็นต้องจอง หรือ โทรไป
    แจ้งล่วงหน้าครับ ไปให้ตรงกับวันเวลาที่กำหนดเพียงเท่านั้นครับ

    เมื่อลงทะเบียนเสร็จแล้ว ก็ให้นำสัมภาระเข้าไปเก็บยังที่พักที่เจ้าหน้าที่กำหนดไว้
    ได้เลยครับ จากนั้นอาบน้ำ เปลี่ยนเป็นชุดปฏิบัติธรรมแล้วมารอที่อาคารภาวนา ๑ ชั้นบน
    ในเวลา ประมาณ ๑๗.๓๐ น. ครับ ท่านพระครูจะลงมาสอนกรรมฐานเบื้องต้นให้ครับ

    ดังนั้นหากท่านไปไม่ตรงกับวันที่ทางวัดกำหนด จะไม่มีการสอนกรรมฐาน
    เบื้องต้นให้ แต่จะมีวีดีโอให้ดูครับ สำหรับการพาบุตรหลานไปปฏิบัติธรรม
    ด้วยนั้น สามารถกระทำได้ แต่ที่วัดจะไม่มีการแยกการสอน ไม่มีการฝึก
    หรือที่พักเป็นพิเศษ จำเป็นจะต้องปฏิบัติรวมกับบุคคลทั่วไปครับ

    สำหรับเยาวชนที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ จะต้องนำหนังสืออนุญาตจากผู้ปกครองนำติดไปด้วยครับ สามารถใช้
    วิธีเขียนก็ได้ โดยระบุชื่อผู้ปกครอง อนุญาตให้มากี่วัน เบอร์โทรศัพท์ พร้อมกับสำเนาบัตรประชาชนครับ


    ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.jarun.org/v6/th/dhamma-course.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กุมภาพันธ์ 2009
  3. Sawiiika

    Sawiiika เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,811
    ค่าพลัง:
    +1,557

    การเข้าปฏิบัติธรรมสำหรับชาวต่างชาติ ( ภาคภาษาอังกฤษ )
    การสอนกรรมฐาน และ สอบอารมณ์ในภาคภาษาอังกฤษสำหรับชาวต่างชาิตินั้น
    สามารถให้เดินทางไปที่ ศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนเวฬุวัน จังหวัดของแก่นได้ทุกวันครับ ที่เบอร์
    โทรศัพท์ ๐๔๓-๒๓๗-๗๘๖, ๐๘๗-๔๕๕-๘๑๖๕ แฟกซ์ ๐๔๓-๒๓๗-๓๙๐ ได้ทุกวันครับ

    แบบหน่วยงาน องค์กรหรือหมู่คณะ
    ทางวัดมีการจัดปฏิบัติธรรมเป็นหมู่คณะให้กับหน่วยงาน หรือ องกรณ์ต่างๆ ได้เข้าปฏิบัติธรรม ๓-๗ วัน
    แล้วแต่นโยบายของหน่วยงานนั้นๆ โดยจะฝึกปฏิบัติแยกกับผู้ปฏิบัติทั่วๆ ไป และเมื่อครบกำหนดระยะเวลาแล้ว
    ผู้เข้ารับการฝึกปฏิบัติจะได้รับประกาศนีย์บัตรจากทางวัดมอบให้ด้วย ในการจองนั้น จะต้องไปจองด้วยตนเอง
    ที่สำนักเลขาฯ ของวัด เพื่อที่จะไปตรวจดูว่า วันและระยะเวลาที่ต้องการมาฝึกปฏิบัตินั้น มีผู้อื่นจองอยู่หรือไม่
    และจะสามารถจองได้ในวันไหน ซึ่งหากเป็นไปได้วันที่จะขอเข้ารับการฝึกปฏิบัตินั้นเลือกให้ตรงกัับวันโกน
    ก็จะดีครับ แต่พยายามหลีกเลี่ยงวันหยุดสำคัญต่างๆ จะดีมากครับ

    [​IMG]

    จากนั้นก็จะต้อง ทำจดหมายยืนยัน โดยนำรายชื่อของผู้ที่จะไปทั้งหมด
    ระบุเพศ อายุ หนังสืออนุญาต หรือ หนังสือรับรองของหน่วยงานนั้นๆแล้วไป
    ติดต่อที่ สำนักเลขาฯ ตรงข้ามกับร้านหนังสือข้างกุฏิหลวงพ่อได้ทุกวันครับ

    สำนักงานเลขานุการวัดอัมพวัน อ. พรหมบุรี จ. สิงห์บุรี โทรศัพท์ ๐-๓๖๕๙-๙๓๘๑
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 04277.jpg
      04277.jpg
      ขนาดไฟล์:
      135.8 KB
      เปิดดู:
      231
    • DSCF3034.jpg
      DSCF3034.jpg
      ขนาดไฟล์:
      99.4 KB
      เปิดดู:
      3,978
    • 03179_1.jpg
      03179_1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      70.6 KB
      เปิดดู:
      240
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กุมภาพันธ์ 2009
  4. Sawiiika

    Sawiiika เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,811
    ค่าพลัง:
    +1,557
    [​IMG]


    แบบไม่ตรงวันที่ทางวัดกำหนด
    การไปไม่ตรงวันหรือไปในวันอื่น ที่นอกเหนือจากที่มีในกฎระเบียบปฏิบัติของทางวัดนั้น อยากให้
    ผู้ที่จะเข้ารับการฝึกปฏิบัติ พึงพิจารณาในผลเสียต่างๆ เสียก่อน ว่าเป็นสิ่งที่สมควรหรือไม่

    ๑. ผิดกฎระเบียบของทางวัดที่วางไว้
    ๒. การเรียนเรียนปฏิบัติในเบื้องต้นนั้น จะต้องเรียนจากวีดีโอ ซึ่งหากเข้าปฏิบัติ
    ตามระเบียบของทางวัด จะมีพระครูเป็นผู้สอนครับ จะสามารถสอบถามได้หาก
    ติดขัด หรือ เวลาไม่เข้าใจครับ ท่านก็จะสามารถปฏิบัติให้ดูซ้ำอีกครั้งได้

    ๓. ตามปกติหากเข้าวันโกน ในวันพระหลวงพ่อท่านจะมาให้กรรมฐาน และ เทศน์สอนด้วยตัวท่านเอง
    การรับกรรมฐาน และ ได้รับการเทศน์สอนจากพระเดชพระคุณหลวงพ่อนั้น เป็นประโยชน์กับตัวผู้ปฏิบัติเองมาก ๆ
    เป็นสิริมงคล เป็นขวัญกำลังใจในการปฏิบัติอย่างยิ่ง ที่ได้เรียนจากพระเดชพระคุณหลวงพ่อโดยตรง ดังนั้น
    หากผู้ปฏิบัติไปไม่ตรงวันแล้ว ก็จะไม่ได้เข้าพิธีที่ว่านี้ หรือหากได้เข้า ก็จะเป็นวันที่ท่านใกล้จะกลับแล้ว

    ฉะนั้นช่วงก่อนหน้านั้นท่านจะได้รับประโยชน์น้อยกว่า

    ๔. พิธีลาศีลจะไม่ตรงกับคนอื่น หรือ บางทีก็อาจจะต้องลาศีลเอง หากเราไปไม่ตรงวันนั้น เมื่อเราเริ่ม
    เข้าปฏิบัติ ผู้ที่มาเข้าปฏิบัติก่อนหน้าเรา เขาก็จะเริ่มเข้าพิธีลาศีลกันแล้ว แต่เรายังไม่ได้รับกรรมฐานเลย ซึ่ง
    เมื่อเห็นผู้อื่นเริ่มทะยอยกันกลับท่านก็จะจิตใจวุ่นวาย อยากกลับบ้าน คิดถึงบ้านบ้าง เลยทำให้การปฏิบัติไม่
    ค่อยได้ผล มีแต่จิตใจที่อยากจะกลับบ้าน ซึ่งถ้าท่านฝืนใจไม่ได้แล้วกลับบ้านไป
    ก็จะเสียสัจจะที่ให้ไว้เสียอีกครับ

    ๕. ในการดูแลผู้ปฏิบัติ เจ้าหน้าที่และแม่ครูจะต้องดูแลเราแยกออกจากกลุ่มคนที่เข้าในวันโกน กับวันศุกร์
    เป็นการเพิ่มงานให้กับผู้ดูแลด้วยครับ หากพิจารณาดูแล้ว ยังจำเป็นจะต้องการไปปฏิบัตินอกเหนือจากระเบียบ
    ที่วางไว้จริงๆ ก็สามารถกระทำได้ โดยการแจ้งกับทางเจ้าหน้าที่ในวันที่เราไปที่วัด ในตอนรับสมัครครับ

    การไปเข้าปฏิบัติธรรมแบบไม่ตรงวันนั้นขอให้อยู่บนพื้นฐานที่ว่า จำเป็นจริงๆ ต้องจำเป็นจริง ๆ
    พยายามอย่างยิ่งยวด สุดกำลังสติปัญญา้ กระทำทุกทางอย่างสุดความสามารถแล้ว ยังไม่สามารถ
    ไปให้ ตรงกับวันที่ทางวัดกำหนดไว้ได้แล้ว ก็ค่อยไปไม่ตรงวันครับ เหตุที่เราก็ควรพยายามกระทำ
    ตามระเบียบ ให้มากที่สุด เพราะผลเสียทั้งหลายจะตกอยู่กับเราเอง เราไปไม่ตรงวัน ไม่อยู่ตามวันที่
    กำหนด เกินบ้าง น้อยบ้าง ตามแต่เราสะดวกนั้น จะทำให้เราเคยชินกับการหาเหตุผลที่คิดว่าถูกต้อง
    มาตามใจตนเอง เริ่มต้นก็ตามใจตนเองแล้ว และเวลาปฏิบัติซึ่งเป็นการฝืนใจตนเองทั้งสิ้นนั้น ท่าน
    จะทำได้หรือไม่โปรด พิจารณาครับ อย่างไรเสีย พระเดชพระคุณหลวงพ่อ แม่ครู และผู้ดูแลทุกท่าน
    ก็ให้ความเมตตารับท่านเข้าฝึกเบื้องต้น ในสำนัก คฤหัสถ์อย่างแน่นอนครับ ยกเว้นเป็นเหตุปัจจัย
    ที่ดูแล้วท่านไม่สามารถปฏิบัติ ได้จริง ๆ


    ผิดข้อห้ามที่สำคัญ อันมี ผลต่อตัวท่านต่อการปฏิบัติจริง ๆ เจ้าหน้าที่จึงไม่อนุญาตให้เข้าปฏิบัติ
    ครับ หากเราพยายามอย่างที่สุดแล้ว สามารถกระทำได้ ก็จะทำให้จิตใจท่านเข้มแข็ง เวลาปฏิบัติ
    ก็จะมี แต่ความมั่นอกมั่นใจว่า้ถูกต้องตามระเบียบ ตั้งแต่เริ่ม ท่านก็จะประสบผลดีครับ

    ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.jarun.org/v6/th/dhamma-course.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กุมภาพันธ์ 2009
  5. Sawiiika

    Sawiiika เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,811
    ค่าพลัง:
    +1,557
    การเตรียมตัวไปปฏิบัติธรรม
    สัมภาระต่างๆ เราก็ไม่ควรติดตัวอะไรไปมากมายครับ โดยเฉพาะทรัพย์สินหรือของมีค่ามิต้องนำไปด้วย เพราะในการเข้าปฏิบัติธรรม จะไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆเลย ไม่ว่าจะเป็นที่พัก อาหาร หลวงพ่อท่านให้ครับ ขอให้ตั้งใจปฏิบัติอย่างเดียว ดังนั้นสัมภาระต่างๆ ก็เอาเฉพาะสิ่งที่จำเป็นเท่านั้นครับ
    • ชุดปฏิบัติธรรมสีขาว ในกรณีที่ท่านไม่สามารถหาชุดขาวได้ ทางวัดมีให้ยืม ครบทุกอย่าง โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด ทางวัดจะให้ยืม ๒ ชุดครับ
      • ชาย กางเกงขายาวสีขาว เสื้อแขนสั้นสีขาว
      • หญิง เสื้อแขนยาว ผ้าถุงสีขาว สไบสีขาว
      การแต่งกายของผู้เข้าปฏิบัติธรรมไม่ควรใช้เครื่องแต่งกายอื่น นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในระเบียบปฏิบัติของทางวัด เช่น ผู้หญิงจำเป็นจะต้องนุ่งผ้าถุงสีขาว ไม่ควรสวมกางเกง เราต้องหัดฝืนใจตนเพราะการฝึกปฏิบัตินั้น จะเป็นการฝืนใจตนเองทั้งสิ้นครับ หากตามใจตน ตามความเคยชิน ความถนัดของตนเองตั้งแต่ชุดปฏิบัติธรรมแล้ว ท่านจะปฏิบัติให้ได้ผลได้อย่างไรครับ
    • บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรที่แสดงตนเฉพาะบุคคล
    • ของใช้ส่วนตัวที่จำเป็น แปรงสีฟัน ยาสีฟัน สบู่ ผ้าเช็ดตัว ชุดนอนควรใส่ชุดปฏิบัติธรรมนอนนะครับ หากใส่ชุดนอนแบบอื่น ควรเป็นสีขาวไม่มีลาย รองเท้าสีใดก็ได้แต่ควรเรียบร้อยเหมาะกับสถานที่ ควรงดเว้นการสวมใส่เครื่องประดับ การใช้เครื่องปะทินผิวทุกอย่าง เช่น แป้ง ครีม เพราะเป็นข้อห้ามในการรักษาศีล ๘ ชุดชั้นในควรเป็นสีใกล้เคียงกับชุดปฏิบัติธรรมครับ ผู้เข้าปฏิบัติธรรมสามารถซักชุดปฏิบัติธรรมได้ มีสถานที่พร้อมครับ หากยืมจากทางวัดก็สามารถให้ทางวัดซักได้
    • ที่พัก จะมีอยู่ 2 แบบ คือ ห้องรวมกับห้องโถงใหญ่ ห้องรวมจะพักกันประมาณ ๓ - ๕ คน ส่วนห้องโถงจะพักกันตั้งแต่ ๑๐๐ คนขึ้นไป
      การเข้าปฏิบัติธรรม และการพักในที่พักนั้น จะแยกกันระหว่างหญิงและชาย หากอยู่อาคารเดียวกัน หญิงชายจะพักคนละชั้น ซึ่งไม่สามารถเลือกสถานที่พักเองได้ เจ้าหน้าที่ท่านจะดู ตามความเหมาะสมครับ ในห้องจะมีเสื่อ หมอน ผ้าห่ม และมีพัดลมเพดานเตรียมไว้ให้ มิต้องนำไปเองครับ ห้องน้ำในวัดเป็นห้องน้ำรวม สามารถไปอาบน้ำและเข้าห้องน้ำได้ทุกที่ มิได้แยกหญิงชาย แต่หากชั้นใดผู้หญิงพัก ผู้ชายก็จะไม่ไปใช้ในอาคารนั้น หรือชั้นนั้นครับ
    • อาหาร ที่วัดมีอาหาร "เจ" ให้นะครับ มิต้องกังวลแต่อย่างใด
    • ศึกษาวิธีการปฏิบัติเบื้องต้น
     
  6. Sawiiika

    Sawiiika เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,811
    ค่าพลัง:
    +1,557
    ข้อที่ควรปฏิบัติระหว่างมาเข้าวัดปฏิบัติธรรม
    • ระลึกถึงคำสอนของพระเดชพระคุณหลวงพ่อบทนี้อย่าได้ขาด
      "ถ้าท่านตั้งใจปฏิบัติธรรมโดย กินน้อย นอนน้อย พูดน้อย ทำความเพียรให้มากแล้ว
      ไม่สนใจใครทั้งหมด ตัดปลิโพธิกังวลให้หมด (พะว้าพะวัง ห่วงโน้น ห่วงนี่ ห่วงนั่น)
      ท่านจะไม่ขาดทุน"
    • ศึกษา "ระเบียบปฏิบัติสำหรับผู้ปฏิบัติธรรม ณ สำนักปฏิบัติธรรมฝ่ายคฤหัสถ์" ให้หมดเสียก่อน
    • ไม่พูดคุยกัน ไม่คะนองวาจา ไม่โทรศัพท์ และไม่อ่านหนังสือ ตลอดเวลาที่อยู่ปฏิบัติธรรมในวัด
    • ไม่ทำเสียงดัง เดินต้องสำรวม กำหนดสติตลอดเวลา
    • เข้าฝึกตรงตามตารางไม่เกียจคร้าน
    • สำรวมตนอยู่ในเขตภาวนา อย่าไปเดินซื้อของ อย่าเดินสำรวจรอบ ๆ บริเวณวัด
    • ใช้หลักสติปัฏฐานสี่ในการฝึกปฏิบัติธรรม ตามที่หลวงพ่อสอนเท่านั้น
    พระเดชพระคุณหลวงพ่อท่านสอนมาตลอดชีวิตของท่าน โดยมุ่งเน้นให้พวกเรา "สร้างบุญ" โดยการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งเป็นบุญสูงสุดในพระพุทธศาสนา ฉะนั้นในช่วงระหว่างที่ท่านปฏิบัติธรรม ขอให้ท่านกระทำกิจนี้ให้สมบูรณ์ก่อน อย่าพะวงกับการ "ทำบุญ" ในระหว่างที่ปฏิบัติธรรม เช่น การตักบาตร การสมทบทุนช่วยทางวัดในด้านต่างๆ เพราะเมื่อท่านพะวงอยู่กับสิ่งนี้แล้ว ก็เท่ากับการ "สร้างบุญ" ของท่านไม่ต่อเนื่อง ไม่ตัดปลิโพธิกังวลทั้งหลายตามที่หลวงพ่อสอน
    ขอให้ท่าน "ทำบุญ" เมื่อได้ "สร้างบุญ" จากการปฏิบัติวิปัสสนาเสร็จสิ้นตามจำนวนวันแล้ว เมื่อทำการเปลี่ยนชุดเรียบร้อยแล้วจึงค่อยมา "ทำบุญ" ในลำดับต่อไปครับ
    บางสิ่งบางอย่างที่เกิดขึ้นที่นี่อาจไม่ถูกใจเรา แต่พึงระลึกไว้เสมอว่า เรามาที่นี่เพื่อพัฒนาตนเอง หรือฝึกฝนตนเองให้เข้มแข็ง มีความอดทน และมีสติสมาธิที่แน่วแน่เพื่อให้สามารถ ลด ละ เลิกในสิ่งที่เป็นอกุศล ควรกำหนดสติตลอดเวลาครับ

    ข้อที่ควรปฏิบัติในวันกลับบ้าน
    เมื่อท่านลาศีลแล้วหากยังอยู่ไม่ครบตามวันที่กำหนด ไม่ควรกลับก่อนนะครับ การลาศีลมิใช่การอนุญาตให้กลับได้ เพียงแต่เป็นพิธีการเท่านั้น ท่านควรถือศีล ๘ ตลอดระยะเวลาที่ยังใส่ชุดปฏิบัติธรรมและอยู่ให้ครบตามจำนวนวันที่่ตั้งสัจจะไว้ครับ
    เมื่อครบกำหนดตามที่ได้ตั้งสัจจะไว้ ควรปฏิบัติในรอบ ๘ โมงเช้าเสียก่อน เมื่อออกจากกรรมฐานประมาณ ๑๑ โมง ทานอาหารเรียบร้อยแล้ว จากนั้นค่อยกลับที่พัก ทำความสะอาดบริเวณที่พัก ทำความสะอาดวัด ห้องน้ำ แล้วจึงค่อยอาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้า เก็บของ และมารอกราบพระเดชพระคุณหลวงพ่อที่กุฏิ ตอนบ่ายสองโมงก่อนกลับบ้านนะครับ
     
  7. Sawiiika

    Sawiiika เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,811
    ค่าพลัง:
    +1,557
    ปฏิบัติธรรมแบ่งออกเป็น ๔ ช่วงในแต่ละวันดังนี้

    ช่วงแรก ๐๔.๐๐ น. - ๐๖.๓๐ น.
    ช่วงที่สอง ๐๘.๐๐ น. - ๑๑.๐๐ น.
    ช่วงที่สาม ๑๓.๐๐ น. - ๑๗.๐๐ น.
    ช่วงที่สี่ ๑๘.๓๐ น. - ๒๑.๐๐ น.

    รับประทานอาหารมี ๒ เวลา และ ดื่มน้ำปานะ ๑ เวลาดังนี้
    ๗.๐๐ น. รับประทานอาหารเช้า , ๑๑.๐๐ น. รับประทานอาหารกลางวัน , ๑๗.๐๐ น. ดื่มน้ำปานะ

    [​IMG]

    กำหนดเวลาการปฏิบัติธรรม

    <TABLE borderColor=#cccccc cellSpacing=0 cellPadding=5 width=450 align=center border=1><TBODY><TR><TD class=txtdate vAlign=top align=middle width=100 rowSpan=4>เช้า</TD><TD class=txt10 vAlign=top align=middle width=80>๐๓.๓๐ น.</TD><TD>ตื่นนอน พร้อมกัน ณ สถานที่ปฏิบัติธรรม
    สวดมนต์ทำวัตรเช้า (แปล)
    เดินจงกรม นั่งกรรมฐาน

    </TD></TR><TR><TD class=txt10 align=middle>๐๗.๐๐ น. </TD><TD>รับประทานอาหารเช้า</TD></TR><TR><TD class=txt10 align=middle>๐๘.๐๐ น.</TD><TD>สวดมนต์ เดินจงกรม นั่งกรรมฐาน ที่สถานที่ปฏิบัติ</TD></TR><TR><TD class=txt10 vAlign=top align=middle>๑๑.๐๐ น.</TD><TD vAlign=top>รับประทานอาหารกลางวัน</TD></TR><TR><TD class=txtdate vAlign=top align=middle rowSpan=2>บ่าย</TD><TD class=txt10 align=middle>๑๓.๐๐ น.</TD><TD>เดินจงกรม นั่งกรรมฐาน ที่สถานที่ปฏิบัติ</TD></TR><TR><TD class=txt10 vAlign=top align=middle>๑๗.๐๐ น.</TD><TD vAlign=top>ดื่มน้ำปานะ พักผ่อน</TD></TR><TR><TD class=txtdate vAlign=top align=middle rowSpan=3>ค่ำ</TD><TD class=txt10 vAlign=top align=middle>๑๘.๓๐ น.</TD><TD>เดินจงกรม นั่งกรรมฐาน ที่ศาลาปฏิบัติ
    สวดมนต์ทำวัตรเย็น (แปล)

    </TD></TR><TR><TD class=txt10 align=middle>๒๑.๓๐ น.</TD><TD>สอบอารมณ์</TD></TR><TR><TD class=txt10 vAlign=top align=middle>๒๓.๐๐ น.</TD><TD vAlign=top>พักผ่อน นอน</TD></TR></TBODY></TABLE>



    ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.jarun.org/v6/th/dhamma-course.html
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. Sawiiika

    Sawiiika เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,811
    ค่าพลัง:
    +1,557
    ศีล ๘ หรือ อุโบสถศีลการเข้าปฏิบัติธรรมนั้นเราจะต้อง
    รักษาศีล 8 หรือ อุโบสถศีล อันประกอบไปด้วยองค์แปดประการ คือ


    ๑. ปานาติปาตา เวรมณี ข้าฯ จะเว้นจากการฆ่าสัตว์ คือ ไม่ทำ
    ชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป เป็นการลดการเบียดเบียนซึ่งกันและกัน​

    ๒. อทินนาทานา เวรมณี ข้าฯ จะเว้นจากการลักทรัพย์ คือไม่ถือเอา
    สิ่งของที่เขาไม่ได้ให้ เป็นการลดการเบียดเบียน ทรัพย์สินของผู้อื่น​

    ๓. อพรหมจริยา เวรมณี ข้าฯ จะเว้นจากการประพฤติอันเป็นข้าศึกแก่
    พรหมจรรย์ คือ ไม่เสพเมถุนล่วงมรรคใดมรรคหนึ่ง (ถ้าไม่แตะต้องกายเพศ
    ตรงข้าม และไม่จับของต่อมือกันจะช่วยให้การฝึกสติสัมปชัญญะดียิ่งขึ้น)​

    ๔. มุสาวาทา เวรมณี ข้าฯ จะเว้นจากการพูดปด ​

    ๕. สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวรมณี ข้าฯ จะเว้นจากการ
    ดื่มสุราเมรัยของมึนเมาเสียสติ อันเป็นเหตุของความประมาทมัวเมา​

    ๖.วิกาลโภชนา เวรมณี ข้าฯ จะเว้นจากการดื่มกินอาหารในเวลาหลังเที่ยงไป
    แล้วจนถึงเช้าวันรุ่งขึ้น เป็นการลดราคะกำหนัด และลดความง่วงเหงาหาวนอน​

    ๗. นัจจคีตวา ทิตตะวิสูกะทัสสะนะ มาลาคันธวิเลปานะ ธารณะ มัณฑะนะ
    วิภูสะนัฏฐานา เวรมณี ข้าฯ จะเว้นจากการดูละครฟ้อนรำขับร้องประโคม
    ดนตรี ทัดทรงดอกไม้ลูบไล้ของหอม เครื่องย้อมเครื่องทา เครื่องประดับ
    ตกแต่งต่างๆ อันปลุกเร้าราคะ กำหนัดให้กำเริบ​

    ๘. อุจจา สะยะนะ มะหาสะยะนา เวรมณี ข้าฯ จะเว้นจากการนั่งนอนเครื่อง
    ปูลาด อันสูงใหญ่ ภายในยัดด้วยนุ่นหรือสำลี และวิจิตรงดงามต่างๆ เป็นการลด
    การสัมผัสอันอ่อนนุ่มน่าหลงไหล อดความติดอกติดใจสิ่งสวยงาม มีกิริยาอัน
    สำรวมระวังอยู่เสมอ​

    ผู้รักษาศีล 8 นั้น สามารถรับประทานบางอย่างหลังเวลาเที่ยงได้ดังนี้

    - น้ำปานะ คือ น้ำที่ทำจากผลไม้ ขนาดเล็กเท่าเล็บเหยี่ยว ขนาดใหญ่ไม่เกินส้มโอตำ หรือ
    คั้นผสมน้ำกรองด้วยผ้าขาวบางให้ดี 8 ครั้ง ผสมเกลือและน้ำตาล พอได้รส หรือ รับประทาน ​

    - เภสัช 5 อย่าง คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ( น้ำตาล ) ​

    - สิ่งที่เป็นยาวชีวิก ได้โดยไม่จำกัดกาล คือ รับประทานเป็นยาได้แก่ รากไม้
    เช่น ขมิ้น ขิง ข่า ตะใคร้ ว่านน้ำ แฝก แห้วหมู น้ำฝาด เช่น น้ำฝาดสะเดา ใบ
    มูกมัน ใบกระดอม ใบกะเพราหรือแมงลัก ใบฝ้าย ใบชะพลู ใบบัวบก ใบส้มลม​

    - ผลไม้ เช่น ลูกพิลังกาสา ดีปลี พริก สมอไทย สมอพิเภก มะขามป้อม
    ผลแห่งโกฐ รวมยางไม้จากต้นหิงค์และเกลือต่างๆ​


    คำอาราธนาศีล 8
    มะยัง ภันเต, ติสะระเณนะ สะหะ, อัฏฐะ สีลานิ ยาจามะ
    ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต, ติสะระเณนะ สะหะ, อัฏฐะ สีลานิ ยาจามะ
    ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต, ติสะระเณนะ สะหะ, อัฏฐะ สีลานิ ยาจามะ

    คำสมาทานศีล 8
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะฯ (๓ จบ)​

    พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ​

    ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ​

    ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ​

    ๑. ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    ๒. อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    ๓. อะพรัหมะจะริยา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    ๔. มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    ๕. สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    ๖. วิกาละโภชะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    ๗. นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสะนะมาลาคันธะวิเลปะนะ
    ธาระณะมัณฑะนะวิภูสะนัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    ๘. อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ​

    อิมานิ อัฏฐะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ

    หมายเหตุ ท่อนที่ว่า เวระมะณี สิกขาปะทัง จะต้องเว้นระหว่าง

    เวระมะณี กับ สิกขาปะทัง ทุกครั้ง ห้ามพูดต่อกันเป็นประโยคเดียว​


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กุมภาพันธ์ 2009
  9. Sawiiika

    Sawiiika เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,811
    ค่าพลัง:
    +1,557
    การเดินทางโดยรถประจำทาง
    การเดินทางไปวัดโดยรถประจำทางนั้นสามารถขึ้นรถได้หลายจุดครับ

    • ๑. หมอชิตใหม่
    • ๒. แถวสวนจตุจักรป้ายลาดพร้าว (ตรงข้ามเซ็นทรัลลาดพร้าว) เส้นวิภาวดีรังสิต
    • ๓. ป้ายรถเมล์หน้าวัดดอนเมือง ตรงที่มีทางเบี่ยงเข้าไปสำหรับรถประจำทางจอด
    • ๔. ป้ายรังสิต ตรงข้ามศูนย์การค้าใหญ่ฟิวเจอร์ปาร์ครังสิต (ฝั่งโรบินสัน)
    ๑. หมอชิตใหม่ สามารถไปซื้อตั๋วได้ที่ช่อง ๑๓ รถสิงห์บุรีครับ ราคา ๙๐ บาท หากซื้อไปกลับก็จะราคาเที่ยวละ ๗๐ บาท ครับ ไปกลับรวมเป็น ๑๔๐ บาท โดยตั๋วจะมีอายุ ๗ วัน ซื้อตั๋วได้เฉพาะที่ท่ารถสิงห์บุรีและกรุงเทพฯเท่านั้น ตอนกลับเราสามารถโทรไปบอกที่ท่ารถ ให้เขาจองที่นั่งไว้ให้ได้ พอมารับที่หน้าวัดก็จะมีที่นั่งให้ครับ โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ๐-๒๙๓๖-๓๖๖๐, ๐-๒๙๓๖-๓๖๖๖
    รถสิงห์บุรีจะออกทุก ๔๐ นาที มีรถตั้งแต่ ตี ๕ ครับ หากจะไปให้ทันลงทะเบียนให้ทัน ควรขึ้นรถจากหมอชิตก่อนบ่าย ๒ ครับ สำหรับขากลับรถออกจากสิงห์บุรีรอบสุดท้ายประมาณ ๖ โมงเย็น มาถึงหน้าวัดประมาณ ๖.๓๐ น. ครับ
    ๒. หากขึ้นรถที่ลาดพร้าว, ดอนเมือง, รังสิต หรือระหว่างทาง รถโดยสารที่สามารถขึ้นได้ก็จะเป็น สิงห์บุรี ชัยนาท ตาคลี อุทัย บางคันก็จะมีป้ายวัดอัมพวันติดไว้ที่หน้ารถเลยครับ ค่าโดยสารจะอยู่ระหว่าง ๖๐-๘๐ บาท สามารถบอกคนเก็บเงินได้เลยครับว่าจะไปวัดอัมพวัน ทุกคนจะช่วยเหลือเป็นอย่างดีครับ
    การขึ้นรถโดยสารที่หมอชิตใหม่

    การขึ้นรถโดยสารที่หมอชิตใหม่

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TD>
    • มาที่สถานีขนส่งสายเหนือ (หมอชิตใหม่) หากลงรถเมล์ ก็จะเดินตามทางมาจนถึงป้ายนี้ครับ หากมาแท็กซี่ก็จะจอดบริเวณนี้เลย
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    • ให้เข้าที่ ทางเข้าที่ ๑ ชั้น ๑ เมื่อเข้าไปแล้วเดินตรงไป ให้มองทางด้านขวามือครับ
    </TD><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TD>
    • หาช่องขายตั๋วช่องที่ ๑๓ เป็นรถปรับอากาศ ชั้น ๒ บอกเขาได้เลยครับ ว่าไปวัดอัมพวัน
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    • ตั๋วราคา ๙๐ บาท หากไปตอนบ่าย นั่งฝั่งคนขับจะไม่ร้อนครับ ตอนเช้าก็ไม่ร้อนเท่าไรนักครับ
    </TD><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TD>
    • เมื่อซื้อตัวเสร็จแล้ว ให้เดินออกประตูทางด้านซ้ายมือ ทางออกที่ ๒ ชั้น ๑
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    • จากนั้นเลี้ยวซ้าย เดินตรงไปเรื่อยๆ ก็จะพบกับช่อง จอดรถที่ ๑๐๒ ครับ
    </TD><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TD>
    • โปรดเก็บตั๋วไว้ให้พนักงานตรวจ ใช้ระยะเวลาเดินทางประมาณ ๒ ชั่วโมงครับ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    การเดินทางโดยรถตู้
    สามารถขึ้นรถตู้สายกรุงเทพฯ-อุทัยธานี รถจะจอดอยู่บริเวณใต้ทางด่วนด้านพหลโยธินฝั่งสถานีโทรทัศน์ช่อง ๕ และอีกฝั่งหนึ่ง บริเวณใต้ทางด่วนฝั่งโรงพยาบาลพญาไท ซึ่งให้แจ้งว่าจะลงที่วัดอัมพวัน รถตู้ก็จะจอดที่เดียวกับรถประจำทาง ค่าโดยสารประมาณ ๑๘๐ บาท รถตู้เที่ยวแรกจะออกเวลา ๙ โมงเช้า
    การเดินทางเข้าวัด
    รถจะจอดส่งตรงปากทางเข้าวัดพอดี จะมีวินรถมอเตอร์ไซค์อยู่ปากทางครับ ค่าโดยสาร ๑๐ บาท สะดวกปลอดภัย มีทั้งผู้ชายและผู้หญิงขี่ครับ
    หรือจะใช้วิธีการเดินเข้าไปก็ได้ ระยะทางราว ๘๐๐ เมตร ปลอดภัยทั้งกลางวันกลางคืน สองฟากข้างทางโล่ง มีบ้านคนแถวนั้นราว ๕-๖ หลัง ครับ
    เมื่อไปในวัดแล้ว สักประมาณ ๑๐๐ เมตร จะเห็น ๓ แยก ให้เลี้ยวซ้ายครับ (หากตรงไปจะเป็นกุฏิหลวงพ่อ) แล้วเดินตามทางไป สังเกตทางแยกด้านซ้ายมือจะเป็นศาลาลงทะเบียนครับ
    การเดินทางกลับ
    สำหรับรถโดยสารขากลับเข้ากรุงเทพ เมื่อออกจากปากทางเข้าวัดมาที่ถนนใหญ่แล้ว สามารถเดินข้ามไปรถขึ้นรถที่ศาลาที่ฝั่งตรงข้ามวัด รถประจำทางจะจอดรับแทบทุกคันครับ และจะส่งเราลงได้ที่ป้ายรังสิต ท่าอากาศยานดอนเมือง ต่อจากนั้นรถก็จะเข้าไปจอดที่สถานีขนส่งเลยครับ
    [​IMG]หรือท่านจะนั่งรถสองแถวตรงศาลาหน้าวัด เข้าไปยังตัวจังหวัดสิงห์บุรี เพื่อขึ้นรถที่ต้นทางกลับก็ได้ครับ
    สำหรับขากลับรถออกจากสิงห์บุรีรอบสุดท้ายประมาณ ๖ โมงเย็น มาถึงหน้าวัดประมาณ ๖.๓๐ น. ครับ ใช้เวลาเดินทางประมาณ ๒ ชั่วโมง สถานีขนส่งจังหวัด โทร. ๐๓๖-๕๑๑-๕๔๙ และยังมีรถเอกชนวิ่งบริการ ออกเดินทางทุกวันตั้งแต่เวลาตี ๕ ถึง ๒ ทุ่ม รายละเอียดติดต่อ บริษัท ส. วิริยะทรานสปอร์ต จำกัด สำนักงานสิงห์บุรี โทร. ๐๓๖-๕๑๑-๒๕๙


     
  10. Sawiiika

    Sawiiika เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,811
    ค่าพลัง:
    +1,557
    การเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว
    การเดินทางไปยังวัดโดยรถยนต์ส่วนตัวนั้น หากออกจากงกรุงเทพฯสามารถใช้ได้หลายเส้นทางดังนี้

    เส้นทางที่ ๑ ออกจากกรุงเทพฯโดยใช้ถนนพหลโยธิน ผ่านอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดสระบุรี เข้าไปในตัวเมืองลพบุรี มีถนนตัดผ่านไปจังหวัดสิงห์บุรี รวมระยะทางทั้งสิ้น ประมาณ ๑๗๙ กิโลเมตร

    เส้นทางที่ ๒ ออกจากกรุงเทพฯโดยใช้ถนนพหลโยธิน แยกเข้าถนนหมายเลข ๓๒ (ถนนสายเอเซีย) ผ่านจังหวัดพระนครศรี อยุธยา และจังหวัดอ่างทอง จนถึงจังหวัดสิงห์บุรี ระยะทางประมาณ ๑๔๒ กิโลเมตร

    เส้นทางที่ ๓ ออกจากกรุงเทพฯโดยใช้ถนนพหลโยธิน แยกเข้าถนนหมายเลข ๓๒ (ถนนสายเอเซีย) ผ่านจังหวัดพระนครศรี อยุธยา และเดินทางต่อด้วยเส้นทางหมายเลข ๓๐๙ จะผ่านตัวเมืองจังหวัดอ่างทอง และตรงไป จนถึงจังหวัดสิงห์บุรี ระยะทางประมาณ ๑๓๕ กิโลเมตร
    <IFRAME marginWidth=0 marginHeight=0 src="http://maps.google.com/maps/ms?ie=UTF8&hl=th&lci=lmc:panoramio&s=AARTsJr3g1GGCfgTnpjRHevQXbPRifg6wA&msa=0&msid=113903948493653741945.00044e5b749a22a310fd0&ll=14.813056,100.437012&spn=0.079659,0.109863&z=13&output=embed" frameBorder=0 width=500 scrolling=no height=400></IFRAME>
    <SMALL>ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น</SMALL> ​

    การเดินทางโดยใช้เส้นทางที่ ๒
    สำหรับเส้นถนนพหลโยธิน เมื่อผ่านฟิวเจอร์ ปาร์ครังสิตแล้ว ให้สังเกตทางด้านซ้ายมือ จะผ่าน ม.ธรรมศาสตร์ ม.กรุงเทพฯ นวนคร จนมาถึง ม.ราชภัฏวไลอลงกรณ์ ให้ออกจากทางคู่ขนาน ให้วิ่งไปตามทางหลวงหมายเลข ๓๒ ครับ (ถนนสายเอเซีย) สามารถสังเกตดูได้ที่ป้ายบอกเส้นทางของกรมทางหลวงสีเขียวด้านบน จะมีเลขที่ของถนนบอกครับ
    จะมีป้ายบอกทางหลวงหมายเลข ๓๒ ไปตลอดเส้นทางถนนสายเอเชียเลยครับ ให้สังเกตหมายเลขทางหลวงเป็นหลักครับ ส่วนจังหวัดไม่ต้องไปคำนึงถึง เพราะตามเส้นทางก็จะบอกจังหวัดต่างๆ กันไป แต่ให้เรามุ่งหน้าไปตามทางหลวงหมายเลข ๓๒ เป็นพอครับ
    เราก็จะผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง เข้าอำเภอพรหมบุรี จนกระทั่งถึงป้ายแนวเขตค่ายพม่า (ซ้ายมือ) และจะเห็นป้ายวัดอัมพวัน (ซ้ายมือ) ซึ่งป้ายบอกหลักกิโลมเมตรที่ปักอยู่ริมถนนด้านขวามือ จะเป็นกิโลเมตรที่ ๑๓๐ พอดีครับ ให้ขับเลี้ยวซ้ายตรงเข้าไปเรื่อย ๆ ประมาณ ๑ ก.ม. ท่านก็จะถึงวัดอัมพวันครับ

    * ภาพถ่ายตั้งแต่ปี ๒๕๔๖-๒๕๔๙ ซึ่งปัจจุบันมีการสร้างถนนและเปลี่ยนแปลงไปบ้างครับ *
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TD>
    • เมื่อผ่าน ม.ราชภัฏวไลอลงกรณ์ ให้ออกจากทางคู่ขนาน แล้วมุ่งหน้าไปตามทางหลวงหมายเลข ๓๒ ครับ
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    • วิธีสังเกตก็คือที่ป้ายจะมีเลข ๓๒ โดยจะมีสัญลักษณ์อยู่ ๒ รูปแบบ ตามรูปครับ
    </TD><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TD>
    • มุ่งหน้าไปเรื่อยๆ จะผ่านโลตัส อยุธยาไปครับ ให้เราสังเกตแต่ หมายเลขทางหลวง อย่างเดียวครับ
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    • อีกสิ่งหนึ่งที่จะให้สังเกตก็คือ ป้ายบอกหลักกิโลเมตร ด้านขวาของถนนครับ วัดอัมพวันจะอยู่ กิโลเมตรที่ ๗๙ - ๘๐
    </TD><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TD>
    • ป้ายบอกเส้นทาง จะเปลี่ยนจังหวัดไปเรื่อยๆ แต่เราจะไม่ดูชื่อจังหวัด ให้เอาหมายเลขเป็นหลักครับ
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    • เมื่อเข้าเขตสิงห์บุรีแล้ว อีกไม่ไกลก็จะถึงวัดแล้วครับ ประมาณ ๑๕ - ๒๐ นาทีครับ
    </TD><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TD>
    • เมื่อถึงหลักกิโลเมตรที่ ๗๙ - ๘๐ จะพบกับถนนกว้าง และมีสำนักงานทางหลวง อยู่ทางด้านขวามือครับ
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    • ให้สังเกตทางเข้าด้านซ้ายมือครับ
    </TD><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TD>
    • เลี้ยวเข้ามาแล้ว ตรงไปประมาณ ๘๐๐ เมตร ก็จะถึงลานจอดรถครับ ศาลาแดง ๆ ที่ท่านเห็นในภาพนี่แหละครับ
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    • เมื่อถึงลานช้างแล้ว สามารถเลือกไปได้สองทางครับ คือตรงเข้าไป กับเลี้ยวขวาไปตามถนน
    </TD><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TD>
    • หากตรงเข้ามา ก็จะเป็นที่จอดรถ เรียกว่า ลานช้าง สามารถจอดรถได้ที่นี่เลยครับ
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    • หรือหากเลี้ยวขวามา ก็สามารถจอดรถไว้ริมถนนได้ ตลอดของสองฝั่งถนน รอบวัดครับ ในรูปจะเป็นทางเข้าด้านหน้าครับ
    </TD><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TD>
    • ตรงนี้จะเป็นบริเวณริมถนน ระหว่างสวนป่ากับโบสถ์ครับ หลังโบสถ์ก็สามารถจอดรถได้
    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.jarun.org/v6/th/contact-map.html
     
  11. Sawiiika

    Sawiiika เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,811
    ค่าพลัง:
    +1,557
    การเข้าไปลงทะเบียนปฏิบัติธรรม
    เมื่อท่านเดินทางมาถึงหน้าวัดแล้วก็ให้ไปลงทะเบียนก่อน
    เพื่อที่เจ้าหน้าที่จะได้กำหนดที่พักให้ครับ
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TD>
    • เมื่อลงจากมอเตอร์ไซต์ หรือจอดรถแล้วก็จะมาที่หน้าวัดครับ จากตำแหน่งนี้ ทางด้านซ้าย จะเป็นอาคารลานช้าง ทางด้านขวา จะเป็นเขตสวนป่าครับ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    • เมื่อเดินเข้ามาจนถึงจุดนี้ ด้านหน้าจะเป็นกุฏิหลวงพ่อ ด้านขวา จะเป็นโบสถ์และอาคารปริยัติ หากจะไปนมัสการหลวงพ่อ ก็ให้เดินตรงเข้าไป แล้วอ้อมไปอีกด้านหนึ่งของกุฏิครับ
    </TD><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TD>
    • จากจุดเมื่อสักครู่ ด้านซ้ายจะเป็น สถานที่ลงทะเบียนครับ ให้เดินตรงเข้าไปครับ แล้วสังเกตด้านซ้ายครับ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    • มาถึงศาลาลงทะเบียนแล้วครับ ให้ไปขอใบสมัครที่อาคารซ้ายมือ แล้วมากรอกที่ศาลาทางด้านขวาครับ
    </TD><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TD>
    • ขอใบสมัครแล้วนำมากรอกครับ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    • กรอกใบสมัครที่นี่ครับ
    </TD><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TD>
    • จากนั้นนำบัตรประชาชน พร้อมใบสมัคร มายื่นที่นี่ครับ ท่านจะได้คู่มือ ๑ เล่ม อ่านให้จบก่อนเปลี่ยนชุดขาวครับ เมื่อเปลี่ยนชุดแล้ว จะไม่มีการอ่านใดๆ อีก ให้นำคู่มือเล่มนี้ ติดตัวไปปฏิบัติธรรม ทุกครั้งครับ หากไม่มีชุดขาวก็สามารถยืมได้ที่นี่ จากนั้นเจ้าหน้าที่จะกำหนด สถานที่พัก และให้บัตรประจำตัว มาติดไว้ที่หน้าอกด้วยครับ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.jarun.org/v6/th/contact-map.html


    เนื้อหาเขียนและรวบรวมโดย: คุณณัฐวรรธน์ ภรนรา
    ภาพประกอบ: คุณณัฐวรรธน์ ภรนรา
    ข้อมูลจาก: การท่องเที่ยวสิงห์บุรี, คุณชินวัฒก์ รัตนเสถียร,
    เว็บบอร์ดโดย คุณ w คุณมาลัยบัว คุณ coral
     
  12. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,130
    อ นุ โม ท น า ส า ธุ . . . ดีแล้วชอบแล้ว

    ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก.gif
     

แชร์หน้านี้

Loading...