เรื่องเด่น นักปฏิบัติช่วงแรกให้หลีกจากหมู่ เพื่อจะได้ไม่กระทบกระทั่งกับสิ่งต่าง ๆ จนกิเลสเกิดขึ้นได้

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Saber, 21 เมษายน 2020.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    OAFSmNnP5iSy9rFxR2OeyvXLOBqvumnVa8gMUQlaGhV5&_nc_ohc=pzchfJkPRkQAX-G9IK_&_nc_ht=scontent.fbkk1-4.jpg

    ถาม : ผมอยากทราบว่าสังขารุเปกขาญาณในระดับปุถุชนอย่างผม เวลาจะเอาธรรมของพระพุทธเจ้าไปเจออาการกระทบในสถานการณ์จริง อย่างเช่นเวลากินอาหารหรือคุยกับเพศตรงข้าม ถ้าผมสักแต่ว่ากินโดยมีสติ และสักแต่ว่าคุยกับเพศตรงข้ามโดยมีสติ ไม่ได้ไปคิดหรือดำริในใจว่าอาหารนี้กรอบอร่อย หรือคิดว่าเพศตรงข้ามคนนี้หน้าตาดี นิสัยดี ถ้าโสดเราจะได้จีบ อยากทราบว่าผมไม่ได้ไปจุดเชื้อเพลิงให้กิเลสได้กำเริบ ใช่ไหมครับ ?

    ตอบ : ทันทีที่กินหรือคุย กิเลสก็กำเริบไปเรียบร้อยแล้ว เพียงแต่เราไม่รู้ตัวเท่านั้น เพราะว่าเป็นกิเลสบางเบาที่ฝังอยู่ในสันดานของเรา ส่วนที่เรากันได้เป็นแค่กิเลสหยาบ ๆ ที่จะล้นออกมาทางกาย ทางวาจาเท่านั้น

    ถาม : ยังเป็นสังขารุเปกขาญาณแบบปุถุชนอ่อน ๆ ใช่หรือเปล่าครับ ?

    ตอบ : ต้องบอกว่าอ่อนเสียยิ่งกว่าปัญญาอ่อนอีก...! นักปฏิบัติช่วงแรกให้หลีกจากหมู่ เพื่อจะได้ไม่กระทบกระทั่งกับสิ่งต่าง ๆ จนกิเลสเกิดขึ้นได้ แต่เราเองไปคลุกคลีในหมู่ แถมยังเป็นเพศตรงข้ามอีกด้วย จึงได้กล่าวว่าปัญญาอ่อนชัด ๆ..!

    ถาม : ปัจจุบันผมอายุ ๒๑ ปี พวกอารมณ์โกรธหรือโลภรู้สึกไม่ยากในการละ เพราะเห็นโทษภัยชัดเจน แต่บางครั้งอารมณ์ทางเพศ ต่อให้ผมจะกำหนดรู้ลมหายใจหรือจะเอาจิตดูจิต สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าเห็น ไม่ไปคิดต่อ แต่อย่างไรร่างกายก็ไม่เห็นด้วยร่างกาย ยังคึกเพราะฮอร์โมน จิตยังพอใจในกามคุณอยู่ แล้วลึก ๆ ผมก็อยากมีแฟนสวย ๆ แต่ก็ยังอยากจะทรงฌาน ๔ เพราะเคยได้ฌานแต่เสื่อม เลยรู้ว่าอารมณ์ความสุขจากฌานนั้นสุขมาก และบางครั้งผมคุยกับผู้หญิงที่กิเลสในใจผมรู้สึกพอใจในรูปร่างหน้าตาของผู้หญิงคนนั้น ก็พยายามจะจีบเธอ

    ผมเลยสงสัยว่า อยากทราบว่าการกระทำแบบที่กล่าวมา ผมอยากจะทรงฌาน ๔ เพื่อกำจัดนิวรณ์ให้หมดได้ทุกเมื่อตามใจนึก และอยากถอดกายในไปพระนิพพานสักครั้งก่อนผมจะตาย พอจะเป็นไปได้ไหมครับ หรือว่าผมควรจะเปลี่ยนการกระทำ ?

    ตอบ : จุดมุ่งหมายกับการกระทำค้านกันเอง บอกว่าจะมุ่งหน้าแต่ตัวเองกลับพยายามถอยหลัง เพราะฉะนั้น...ถ้ายังไม่เปลี่ยนแปลงการกระทำ ก่อนตายถ้าทำได้ก็ถือว่าบังเอิญมาก..!

    ถาม : สังโยชน์เบื้องสูงตัวมานะ สมมติว่าผมมีความมั่นใจว่าผมสามารถทรงอภิญญา ๕ สมาบัติ ๘ หรือสามารถเป็นพระอรหันต์ได้แบบท่านอื่น ๆ เพราะว่าท่านเหล่านั้นมีบารมี ๑๐ เต็ม ผมก็มีบารมี ๑๐ แต่ผมยังไม่เต็ม แต่มั่นใจว่าถ้าทำตามคำสั่งสอนของท่าน อย่างไรสักวันบารมีเราก็เต็มเอง การคิดแบบนี้เป็นสังโยชน์ตัวมานะหรือเป็นกุศโลบายครับ ?

    ตอบ : แบกมานะไว้เต็ม ๆ ยังไม่พอ ยังแบกความโง่ไว้อีกมากด้วย พยายามไปทรงปฐมฌานให้ได้เสียก่อน แล้วค่อยมาพูดถึงเรื่องทั้งหลายเหล่านี้

    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
    (หลวงพ่อเล็ก วัดท่าขนุน)
    เก็บตกจากบ้านเติมบุญ ต้นเดือนมกราคม ๒๕๖๑
    https://www.watthakhanun.com/webboard/forumdisplay.php?f=24
     
  2. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969
    พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
    พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
    [​IMG]
    [​IMG]

    [286] สัปปายะ 7 (สิ่งที่เหมาะกัน สิ่งที่เกื้อกูล ช่วยสนับสนุนในการบำเพ็ญภาวนาให้ได้ผลดี ช่วยให้สมาธิตั้งมั่น ไม่เสื่อมถอย — suitable things; things favorable to mental development)
    1. อาวาสสัปปายะ (ที่อยู่ซึ่งเหมาะกัน เช่น ไม่พลุกพล่านจอแจ — suitable abode)
    2. โคจรสัปปายะ (ที่หาอาหาร ที่เที่ยวบิณฑบาตที่เหมาะดี เช่น มีหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีอาหารบริบูรณ์อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลเกินไป — suitable resort)
    3. ภัสสสัปปายะ (การพูดคุยที่เหมาะกัน เช่น พูดคุยเล่าขานกันแต่ในกถาวัตถุ 10 และพูดแต่พอประมาณ — suitable speech)
    4. ปุคคลสัปปายะ (บุคคลที่ถูกกันเหมาะกัน เช่น มีท่านผู้ทรงคุณธรรม ทรงภูมิปัญญาเป็นที่ปรึกษาเหมาะใจ — suitable person)
    5. โภชนสัปปายะ (อาหารที่เหมาะกัน เช่น ถูกกับร่างกาย เกื้อกูลต่อสุขภาพ ฉันไม่ยาก — suitable food)
    6. อุตุสัปปายะ (ดินฟ้าอากาศธรรมชาติแวดล้อมที่เหมาะกัน เช่น ไม่หนาวเกินไป ไม่ร้อนเกินไป เป็นต้น — suitable climate)
    7. อิริยาปถสัปปายะ (อิริยาบถที่เหมาะกัน เช่น บางคนถูกกับจงกรม บางคนถูกกับนั่ง ตลอดจนมีการเคลื่อนไหวที่พอดี — suitable posture)

    Vism.127;
    Vin.A.II.429;
    MA.II.911 วิสุทฺธิ. 1/161;
    วินย.อ. 1/524;
    ม.อ. 3/570
     
  3. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,069
    ค่าพลัง:
    +372
    ยินดีด้วย
    คุณได้สิทธิ์นั้นเดี้ยวนี้
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...