ตัวอย่างวิธีแก้ไขนิวรณ์ 5 ครับ

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย วิทย์, 29 มิถุนายน 2006.

  1. วิทย์

    วิทย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,036
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,439
    <TABLE style="FONT-SIZE: 12px" cellSpacing=0 cellPadding=0 width=560 align=center border=0><TBODY><TR style="FONT-SIZE: 12px" vAlign=top><TD class=title style="FONT-SIZE: 12px" width=278 height=65>:<!-- InstanceBeginEditable name="groupname" -->: สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ::<!-- InstanceEndEditable --></TD><TD class=txt9 style="FONT-SIZE: 12px" align=right width=282><!-- InstanceBeginEditable name="name" -->เรื่อง สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม - ๑๙
    โดย สุทัสสา อ่อนค้อม
    ธันวาคม ๒๕๓๗<!-- InstanceEndEditable -->
    </TD></TR><TR style="FONT-SIZE: 12px" vAlign=top><TD style="FONT-SIZE: 12px" colSpan=2><!-- InstanceBeginEditable name="txt" -->๑๙...
    ตอนสายของวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๑๖ ท่านพระครูกำลังสอบอารมณ์ให้อุบาสิกาทองริน โดยมีนายสมชายนั่งคอยรับใช้อยู่ห่าง ๆ
    ทุกครั้งที่มีการสนทนากับสตรีชนิดตัวต่อตัว ท่านจะต้องมีบุคคลที่สามอยู่ด้วยเสมอ จึงเป็นที่รู้กันดีในหมู่ผู้ใกล้ชิดว่า
    สมภารวัดป่ามะม่วงท่านเคร่งวินัยนัก โดยเฉพาะเรื่องเพศตรงข้าม ท่านจะระมัดระวังเป็นพิเศษ สงฆ์หลายรูปที่ตั้งใจมาบวชเพื่อหวังความหลุดพ้น แต่เพราะไม่สำรวมระวังในการปฏิบัติต่ออิสตรี จึงถูกสึกออกไปเป็นผู้ครองเรือนเสียมากต่อมาก
    <TABLE style="FONT-SIZE: 12px" cellSpacing=0 cellPadding=10 width="100%" background=../images/dot01.gif border=0><TBODY><TR style="FONT-SIZE: 12px"><TD style="FONT-SIZE: 12px">แม้ในสมัยพุทธกาล เรื่องเช่นนี้ก็เคยปรากฏ ดังกรณีของพระอานนท์เถระ ซึ่งถูกนางภิกษุณีชื่อวสิกา วางแผนล่อลวงจะให้สึก ด้วยนางสนิทเสน่หาหลงใหลในรูปโฉมของพระอานนท์ยิ่งนัก หากเพราะมีการตั้งสติไว้เฉพาะหน้า ระวังใจมิให้แปรปรวน ท่านพระอานนท์จึงรอดพ้นจากกลลวงของภิกษุณีรูปนั้นได้ ทั้งยังเทศนาโปรดนางให้สำนึกรู้ในผิดชอบชั่วดีอีกด้วย
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE style="FONT-SIZE: 12px" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR style="FONT-SIZE: 12px"><TD style="FONT-SIZE: 12px" width="79%">"ไงโยม มีอาการอย่างไรบ้าง พอง - ยุบ ชัดเจนดีไหม" ท่านถามอุบาสิกาวัยสี่สิบเศษ ซึ่งอุตส่าห์เดินทางจากกรุงเทพฯ มาเข้ากรรมฐาน หล่อนตั้งใจมาอยู่วัดเจ็ดวัน แต่ท่านให้อยู่สิบห้าวันเพราะ "เห็นหนอ" บอกว่าหล่อนกำลังมีเคราะห์ เจ้ากรรมนายเวรเขาตามมาเอาชีวิต ภายในสิบห้าวัน หากหล่อนปฏิบัติกรรมฐานอยู่แต่ในวัด ก็จะพ้นเคราะห์ออกไปนอกวัดเมื่อใด จะต้องถูกรถชนตายทันที เพราะดวงของหล่อนจะต้องตายโดยอุบัติเหตุอย่างที่ชาวบ้านเรียกกันว่า "ตายโหง" ท่านจึงกำชับนักกำชับหนา ไม่ให้หล่อนออกไปไหน
    </TD><TD style="FONT-SIZE: 12px" width="21%"><TABLE style="FONT-SIZE: 12px" cellSpacing=5 cellPadding=0 width=90 align=right border=0><TBODY><TR style="FONT-SIZE: 12px"><TD style="FONT-SIZE: 12px" width=45>[​IMG]</TD><TD style="FONT-SIZE: 12px" width=45>[​IMG]</TD></TR><TR style="FONT-SIZE: 12px"><TD style="FONT-SIZE: 12px">[​IMG]</TD><TD style="FONT-SIZE: 12px">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>"บางทีก็ชัด บางทีก็ไม่ชัดค่ะ" นางทองรินตอบ
    พระบัวเฮียวจะมาให้ท่านสอบอารมณ์เช่นกัน ครั้นเห็นท่านกำลังมีแขกจึงหันหลังกลับแต่ท่านพระครูเรียกเอาไว้

    "มีอะไรหรือบัวเฮียว เข้ามาคุยกันก่อนซิ" พระหนุ่มจึงเดินเข้ามานั่งในที่อันสมควร แล้วจึงทำความเคารพพระอุปัชฌาย์ นางทองรินทำความเคารพท่าสนด้วยการกราบสามครั้ง
    "ฉันกำลังสอบอารมณ์ให้โยมเขา เธอฟังด้วยก็ได้ ฝึกเอาไว้ ในวันข้างหน้าเมื่อไปเป็นครูบาอาจารย์เขา จะได้สอบอารมณ์เป็น"
    "ครับ" พระหนุ่มรับคำ เห็นท่านพระครูได้เพื่อนแล้ว นายสมชายจึงลุกออกไปทำธุระของตน
    "หลวงพ่อคะ สองสามวันมานี่ ดิฉันปฏิบัติไม่ค่อยได้ผลเลยค่ะ
    "ทำไมล่ะ คิดถึงบ้านหรือไง"
    "ไม่คิดถึงค่ะ แต่มันง่วงเหงาหาวนอนตลอดเวลา เดินจงกรมก็ง่วง นั่งสมาธิก็ง่วง"
    "นั่งสัปหงกน้ำลายไหลยืดเลยใช่ไหม" ท่านถามเพราะทราบดีว่าอาการเช่นนี้เกิดจากอะไร
    "ค่ะ แหม หลวงพ่อพูดราวกับเคยเห็น" หล่อนพูดเขิน ๆ

    "ทั้งเคยเห็นทั้งเคยเป็นเชียวแหละโยม ที่มีอาการอย่างนี้เพราะถูกถีนมิทธนิวรณ์ครอบงำ โยมกำลังผจญมาร เจ้ามารตัวนี้ชื่อ ถีนมิทธะเป็นนิวรณ์ตัวที่ทำให้จิตหดหู่ เซื่องซึม เกียจคร้าน ง่วงเหงาหาวนอนอยู่ตลอดเวลา"
    "แล้วเราจะกำจัดมันได้อย่างไรครับ" พระบัวเฮียวถามเพราะกำลังประสบปัญหาแบบเดียวกัน
    "วิธีกำจัดถีนมิทธนิวรณ์ทำได้โดยบริโภคอาหารให้น้อยลง ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ เช่น ยืนบ้าง เดินบ้าง นั่งบ้าง สลับกันไป อีกวิธีหนึ่งคืออยู่ในที่โล่งแจ้งและที่สำคัญที่สุดก็คือต้องมีความเพียร ตั้งจิตแน่วแน่ว่าจะต้องเอาชนะมันให้ได้"

    <TABLE style="FONT-SIZE: 12px" cellSpacing=0 cellPadding=10 width="100%" background=../images/dot01.gif border=0><TBODY><TR style="FONT-SIZE: 12px"><TD style="FONT-SIZE: 12px">"การทำความดีนี่ยากจังเลยนะคะหลวงพ่อ ดิฉันชักท้อใจเสียแล้ว" สตรีวัยสี่สิบเศษเผยความรู้สึก
    "ท้อไม่ได้ซี โดยเฉพาะเวลานี้ โยมกำลังมีเคราะห์ ถ้าโยมท้อถอยต้องลำบากแน่ อย่าลืม พุทธภาษิตที่ว่า บุคคลล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร โยมจำข้อนี้ไว้ให้ดีแล้วก็เร่งปฏิบัติเขาจะพ้นทุกข์ได้" ท่านให้กำลังใจ

    สตรีวัยกลางคนผู้หนึ่งคลานเข้ามากราบท่านพระครู แล้วพูดขึ้นว่า
    "หลวงพี่จำฉันได้หรือเปล่า"
    "ใครจะจำแม่ครัวฝีมือเอกที่ชื่อบุญรับไม่ได้ล่ะ วัดนี้เป็นยังไงถึงได้ไม่อยากมา" ท่านพระครูต่อว่าต่อขาน นางบุญรับเคยมาช่วยทำกับข้าวอยู่โรงครัวหลายปี ภายหลังได้โยกย้ายไปอยู่ที่พิจิตร จึงหายหน้าหายตาไป

    </TD></TR></TBODY></TABLE>"ไม่เป็นยังไงหรอกจ้ะ ฉันน่ะอยากมาทุกวันนั่นแหละ แต่จนใจด้วยหนทางมันไกลปาลำบาก คิดถึงหลวงพี่ทุกเวลานาทีเลย" นางพูดพลางชำเลืองไปทางอุบาสิกาที่นุ่งขาวห่มขาว นั่งสงบเสงี่ยมอยู่ต่อหน้าท่านพระครู ครั้นเห็นหน้าหล่อนชัดเจน นางบุญรับให้นึกเกลียดขึ้นมาทันที ก็หน้าของหล่อนช่างเหมือนเมียใหม่ของผัวเก่านางเสียนี่กระไร นางบุญรับเลิกกับผัวเก่าไปมีผัวใหม่ ข้างผัวเก่าของนางก็มีเมียใหม่เช่นกัน อันที่จริงต่างคนต่างมีใหม่ ก็น่าจะหายกัน นางไม่น่าจะมาเกลียดชังผู้หญิงคนนี้ แต่ทำไมถึงต้องเกลียดเพียงเพราะแม่นี่หน้าเหมือนนังนั่น หาเหตุผลให้ตัวเองไม่ได้ เลยนั่งค้อนขวับ ๆ โดยที่อีกฝ่ายไม่ทันรู้ตัว ท่านพระครูนึกขำ สงสารอุบาสิกาก็สงสารที่หล่อนช่างมีเจ้ากรรมนายเวรมากมายเสียจริง ๆ
    "โยมมีอะไรจะถามอีกไหม ถ้าไม่มีก็กลับไปปฏิบัติที่กุฏิได้ พรุ่งนี้อาตมาไม่อยู่ จะไปงานแต่งงานหลานที่โคกสำโรง โยมมีอะไรข้องใจก็เก็บไว้ถามช่วงบ่ายก็แล้วกัน อย่าลืมว่าห้ามออกนอกบริเวณวัดโดยเด็ดขาด เอาละไปได้แล้ว" นางทองรินกราบภิกษุทั้งสอง แล้วจึงลุกออกมา นางบุญรับมองตามพลาง "ขว้างค้อน" ใส่
    <TABLE style="FONT-SIZE: 12px" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR style="FONT-SIZE: 12px"><TD style="FONT-SIZE: 12px" width="79%">"หมั่นไส้" นางขบเขี้ยวเคี้ยวฟันพูด
    "ไปหมั่นไส้อะไรเขาเล่า ข้าไม่เห็นเขาไปทำอะไรให้แกสักหน่อย" กับคนคุ้นเคยท่านจะใช้คำว่า "ข้า" และ "แก"

    "ก็ฉันเกลียดมัน ดูมันเดินเข้านั่นตูดบิดไปบิดมาน่าทุเรศจริงจริ๊ง" นางบุญรับไม่ฟังเสียง
    "เอ้า ไหนแกลองลุกขึ้นแล้วเดินออกไปซิ โน่นเดินไปทางโน้น" ท่านพระครูสั่ง นางบุญรับทำตาม เดินไปได้สักสี่ห้าเมตร ท่านพระครูจึงเรียกให้กลับมานั่งตามเดิม

    </TD><TD style="FONT-SIZE: 12px" width="21%"><TABLE style="FONT-SIZE: 12px" cellSpacing=5 cellPadding=0 width=90 align=right border=0><TBODY><TR style="FONT-SIZE: 12px"><TD style="FONT-SIZE: 12px" width=45>[​IMG]</TD><TD style="FONT-SIZE: 12px" width=45>[​IMG]</TD></TR><TR style="FONT-SIZE: 12px"><TD style="FONT-SIZE: 12px">[​IMG]</TD><TD style="FONT-SIZE: 12px">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>"นี่แน่ะแม่บุญรับนับวิชา รู้ตัวหรือเปล่า แกน่ะเดินตูดบิดน่าเกลียดยิ่งกว่าเขาเสียอีก แล้วยังจะมีหน้าไปว่าคนอื่นเขา" ท่านตั้งใจสอนนางบุญรับทางอ้อม หากฝ่ายนั้นหารู้ตัวไม่
    "ก็มันเกี่ยวอะไรกับหลวงพี่ล่ะ ฉันจะเดินยังไงมันก็เรื่องของฉัน" อดีตแม่ครัวฝีมือเอกพูดงอน ๆ
    "มันก็เหมือนกันนั่นแหละ โยมคนนั้นเขาจะเดินยังไงมันก็เรื่องของเขา แล้วแกไปหมั่นไส้เขาทำไมเล่า"
    "ก็ฉันเกลียดมัน" นางไม่กล้าบอกว่าเพราะผู้หญิงคนนั้นหน้าเหมือนภรรยาใหม่ของสามีเก่า แต่ท่านพระครูก็รู้ จึงพูดขึ้นว่า

    <TABLE style="FONT-SIZE: 12px" cellSpacing=0 cellPadding=10 width="100%" background=../images/dot01.gif border=0><TBODY><TR style="FONT-SIZE: 12px"><TD style="FONT-SIZE: 12px">"ข้ารู้นะว่าแกเกลียดเขาทำไม่ เขาหน้าเหมือนเมียใหม่ของผัวเก่าแกใช่ไหมล่ะ" คราวนี้นางบุญรับรับเสียงอ่อยว่า
    "ถูกแล้วจ้ะ แหม หลวงพี่นี่แสนรู้จริง ๆ รู้ไปหมดทุกเรื่องเลยพับผ่าซี"
    "โยม พูดกับพระกับเจ้าให้มันดี ๆ หน่อย เดี๋ยวจะบาปจะกรรมเปล่า ๆ" พระบัวเฮียวเตือนอย่างหวังดี นางบุญรับเลยพาลเกลียดท่านไปอีกคน

    "ฉันไม่ถือสาหรอกบัวเฮียว แม่คนนี้เขาทำกรรมาอย่างนี้ วจีทุจริต ท่านเน้นตรง วจีทุจริต
    "แต่ผมว่าถ้าพอจะแก้ไขได้ ก็ควรจะแก้ไข ไม่ใช่ปล่อยไปตามบุญตามกรรม" ลูกศิษย์ยืมคำพูดอาจารย์มากล่าว แล้วก็เลยกลายเป็นการสร้างศัตรูไปโดยไม่รู้ตัว

    </TD></TR></TBODY></TABLE>"นี่ไปยังไงมายังไงไม่ทันบอกกันเลย มาถึงก็แช็ด ๆ ๆ ว่าคนโน้นเกลียดคนนี้ นิสัยไม่เปลี่ยนเลยนะเราน่ะ" ท่านพระครูว่าตรง ๆ แต่นางบุญรับไม่โกรธ ท่าสนจะดุจะว่าอย่างไรนางไม่เคยถือสา เหมือนกับท่านไม่ถือสานาง สมัยที่มาช่วยทำครัว หล่อนเที่ยวทะเลาะกับคนโน้นคนนี้ ถือตัวว่าทำอาหารอร่อย เลยเที่ยวดูถูกฝีมือคนอื่นเขาไปทั่ว หลายคนจึงแอบนินทานางลับหลังว่า "อุตส่าห์เข้าวัด แต่ไม่ยอมละยอมวางสักอย่างเดียว"
    <TABLE style="FONT-SIZE: 12px" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR style="FONT-SIZE: 12px"><TD style="FONT-SIZE: 12px" width="79%">"ฉันจะมาช่วยทำครัวสักเจ็ดแปดวัน ก็คิดถึงหลวงพี่หรอกนะถึงได้มาเนี่ย" นางไม่วาย "หยอดยาหอม"
    "งั้นก็ดีแล้ว จะได้ให้ไปอยู่กับโยมคนนั้น เผื่อจะหายเกลียดกัน" สมภารวัยห้าสิบแกล้งยั่ว
    "โอ๊ย ไม่เอาหรอก เรื่องอะไรจะให้ไปอยู่กับคนที่เกลียด" นางปฏิเสธ
    "อ้อ ต้องให้อยู่กับคนที่รักใช่ไหม งั้นก็มาอยู่ที่กุฏิข้าเสียเลยดีไหมเล่า" ท่านประชด ทำไมจะไม่รู้ว่า สมัยสาว ๆ นางบุญรับหลงรักท่านยังกับอะไรดี ถึงขนาดหายใจเป็น "หลวงพี่เจริญ" นั่นเทียว

    </TD><TD style="FONT-SIZE: 12px" width="21%"><TABLE style="FONT-SIZE: 12px" cellSpacing=5 cellPadding=0 width=90 align=right border=0><TBODY><TR style="FONT-SIZE: 12px"><TD style="FONT-SIZE: 12px" width=45>[​IMG]</TD><TD style="FONT-SIZE: 12px" width=45>[​IMG]</TD></TR><TR style="FONT-SIZE: 12px"><TD style="FONT-SIZE: 12px">[​IMG]</TD><TD style="FONT-SIZE: 12px">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>"แหม ถ้าได้ยังงั้นก้อแจ๋วซี" แทนที่จะอายนางกลับว่าไปโน่น ท่านเจ้าของกุฏิรู้สึกสังเวชที่ผู้หญิงอายุร่วมห้าสิบแล้ว แต่ยังไม่รู้จักปล่อยวาง
    "เออ ทำพูดดีไปเถอะ นรกจะกินหัวแกโดยไม่รู้ตัว หนอย จะวอนให้ข้าเดือดร้อนแล้วไหมล่ะ ประเดี๋ยวผัวเก่าผัวใหม่แกได้มาช่วยกันรุมข้าหรอก" ฟังนางบุญรับพูดจาโต้ตอบกับท่านพระครูแล้ว พระบัวเฮียวรู้สึกไม่ชอบหน้าผู้หญิงคนนี้เอามาก ๆ ท่านมิรู้ตัวดอกว่า "มาร" ที่ท่านจะต้องผจญเป็นลำดับต่อไปคือ พยาบาทนิวรณ์
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    "ตกลงหลวงพี่จะให้ฉันพักที่ไหนล่ะ" นางถาม
    "ก็ไปเลือกดูเอาเองก็แล้วกัน ที่ไหนว่างก็พักได้ หรือจะพักที่เมรุนั่นก็ได้ ตอนนี้ยังว่างอยู่" ท่านพูดประชด
    "แหม หลวงพี่แช่งอีบุญรับเสียแล้วไหมล่ะ ฉันยังไม่ยอมตายง่าย ๆ หรอก ต้องรอเผาคนที่ฉันเกลียดเสียก่อน" นางหมายถึงพระบัวเฮียวและอุบาสิกาคนนั้น
    "อ้อ นี่แกกำหนดวันตายได้งั้นซี ข้าเห็นมานักต่อนักแล้วบุญรับเอ๋ย ไอ้ที่เที่ยวแช่งคนโน้นคนนี้ ตัวเองตายก่อนเขาทุกราย"

    <TABLE style="FONT-SIZE: 12px" cellSpacing=0 cellPadding=10 width="100%" background=../images/dot01.gif border=0><TBODY><TR style="FONT-SIZE: 12px"><TD style="FONT-SIZE: 12px">"แช่งอีกแล้ว แหม มาคราวนี้ซวยจัง ถูกหลวงพี่แช่งอยู่เรื่อย" นางบ่นกระปอดกระแปด
    ชายอายุประมาณหกสิบ รูปร่างอ้วนเตี้ย ศีรษะล้าน เดินเข้ามาในกุฏิ พนมมือพูดกับท่านพระครูว่า
    "หลวงพ่อ ผมมาขอยาแก้หืดหอบ อีปุกลูกสาวผมหอบใหญ่แล้ว" นายป่วนซึ่งมีบ้านอยู่ติดวัด บอกท่านพระครูด้วยท่าทางกังวล

    "ใครเขาบอกให้มาเอาล่ะ" ท่านย้อนถาม
    "ก็ไอ้ปองลูกชายผมมันบอกว่าเพื่อนเคยเป็น มันขอยาหลวงพ่อไปกินแล้วหาย ผมก็เลยมาขอมั่ง" นายป่วนชี้แจงพลางนั่งลง

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    "ข้าไม่มีหยูกมียาอะไรหรอก แต่ถ้าจะให้หายหืดหอบก็ไปเอาต้นตำแยแมวมาโขลกแล้วแช่กับน้ำซาวข้าวให้มันกิน เขาว่าชะงัดนัก มีคนหายมาหลายคนแล้ว รู้จักไหมล่ะต้นตำแยแมวน่ะ ที่หลังวัดก็มี"
    "รู้จักครับ"
    "ดีแล้ว ถ้าไม่รู้จักก็เอาแมวไปด้วยตัวนึง"
    "เอาไปทำไมครับ"
    "อ้าว ก็เอาไปพิสูจน์น่ะซี ลองถอนสักต้นให้แมวมันกิน ถ้าไม่ใช่ตำยาแมว แมวจะไม่กิน ถ้ามันกินก็แปลว่าใช่" ท่านอธิบาย

    <TABLE style="FONT-SIZE: 12px" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR style="FONT-SIZE: 12px"><TD style="FONT-SIZE: 12px" width="79%">"แล้วเอาส่วนไหนของมันมาโขลกแช่น้ำซาวข้าวครับ"
    "เอาทั้งต้นเลย รากด้วย ก่อนโขลกก็ล้างให้สะอาดเสียก่อน เอาให้คนไข้ดื่ม รับรองว่าหาย"
    "แล้วไม่คันหรือครับหลวงพ่อ" พระบัวเฮียวถาม ขึ้นชื่อว่าต้นตำแยมันก็ต้องคัน
    "ไม่คัน ตำแยถึงจะคัน แต่ตำแยแมวไม่คัน เป็นยาสมุนไพรชนิดหนึ่ง" ท่านตอบ
    "ฉันไปหาที่พักก่อนนะหลวงพี่" นางบุญรับกราบสามครั้งแล้วลุกออกไป ไม่วายพูดเสียดสีนายป่วนว่า "แม่เจ้าโว๊ย วันนี้มันวันอะไรวุ๊ย ถึงได้มาเจอพระอาทิตย์ขึ้นบนไหกระเทียม"

    </TD><TD style="FONT-SIZE: 12px" width="21%"><TABLE style="FONT-SIZE: 12px" cellSpacing=5 cellPadding=0 width=90 align=right border=0><TBODY><TR style="FONT-SIZE: 12px"><TD style="FONT-SIZE: 12px" width=45>[​IMG]</TD><TD style="FONT-SIZE: 12px" width=45>[​IMG]</TD></TR><TR style="FONT-SIZE: 12px"><TD style="FONT-SIZE: 12px">[​IMG]</TD><TD style="FONT-SIZE: 12px">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    "แกว่าใคร" นายป่วนถามเสียงตะคอก นางบุญรับไม่ตอบ ก้าวฉับ ๆ ออกจากกุฏิไป นายป่วนจึงหันมาถามท่านพระครูว่า
    "อีนี่มันเป็นใครครับหลวงพ่อ ปากหมา ๆ อย่างนี้ประเดี๋ยวผมก็ตบล้างน้ำเสียเท่านั้น ไม่รู้จักอ้ายป่วนซะแล้ว" ชายวัยหกสิบแสดงอาการโกรธเกรี้ยว แม้บ้านจะอยู่ติดวัด แต่นายป่วนก็ไม่เคยมาเข้ากรรมฐาน จึงไม่รู้จักนางบุญรับ และกำหนด "โกรธหนอ" ไม่เป็น ท่านพระครูว่านายป่วนนั้น "ใกล้เกลือกินด่าง"
    "อย่าไปถือสาแกเลยตาป่วน ไปเถอะ กลับไปหาตำแยแมวไปปรุงยาให้ลูกกินซะ อย่าได้มีเรื่องมีราวกันในวัดเลย นึกว่าเห็นแก่ข้าเถอะ" นายป่วนจึงกราบปะหลก ๆ สามครั้ง แล้วลุกออกไปเดินหาต้นตำแยแมวทางหลังวัด คิดว่าถ้าเจอยายคนปากเสียก็จะด่าให้สักสองสามชุด โทษฐานที่มาวิจารณ์รูปโฉมโนมพรรณของแก
    "เธอมีข้อสงสัยข้องใจอะไรจะถามหรือเปล่า" ท่านถามพระบัวเฮียวหลังจากที่คนอื่น ๆ ลุกออกไปหมดแล้ว "ก็มีเหมือนกันครับ เรื่องถีนิทธนิวรณ์ผมเข้าใจแล้ว ตอนที่หลวงพ่ออธิบายให้โยมทองรินฟัง แต่ทีนี้ผมมีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติอีกอย่างหนึ่ง ที่จะเรียนถามหลวงพ่อ คือหมู่นี้ไม่รู้เป็นอะไร เวลาฉันอาหารผมรู้สึกว่ามันอร่อยไปหมด แม้แต่น้ำที่ดื่มลงไปก็ยังรู้สึกว่ามันอร่อย"
    "นั่นเป็นเพราะเธอติดในรส กามฉันทนิวรณ์ กำลังครอบงำเธอ เพราะรสจุดเป็นกามคุณอย่างหนึ่งใน ๕ อย่าง"
    "แบบนี้ผิดไหมครับ"
    "ผิดสิ ถ้าเป็นคนทั่วไปก็ไม่ถือว่าผิด แต่เป็นนักปฏิบัติถือว่าผิด เพราะถ้ามัวติดในรูป รส กลิ่น เสียง หรือ สัมผัส การปฏิบัติมันก็ไม่ก้าวหน้า นี่มันผิดในแง่นี้"

    <TABLE style="FONT-SIZE: 12px" cellSpacing=0 cellPadding=10 width="100%" background=../images/dot01.gif border=0><TBODY><TR style="FONT-SIZE: 12px"><TD style="FONT-SIZE: 12px">"แล้วจะแก้ได้อย่างไรครับ"
    "ก็ตั้งสติพิจารณาเสียก่อนจึงค่อยฉัน พระพุทธองค์ตรัสสอนไว้ว่า "กายนี้เกิดขึ้นด้วยอาหาร อาศัยอาหารแล้ว พึงละอาหารเสีย" อันนี้หมายความว่าอย่างไร หมายความว่า...." ท่านถามเองตอบเองเสร็จ "ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ทุกครั้งที่บริโภคอาหารต้องพิจารณาโดยถ่องแท้เสียก่อน ว่าจะไม่บริโภคเพื่อเล่น ไม่บริโภคเพื่อมัวเมา ไม่บริโภคเพื่อประเทืองผิว ไม่บริโภคเพื่อตกแต่งร่างกายให้งดงาม แต่บริโภคเพื่อธงรงไว้เพื่อกายนี้ พอให้อัตภาพนี้ดำเนินไปได้ กับเพียงเพื่อระงับความหิวกระหาย เพื่อประพฤติพรหมจรรย์ โดยคิดว่า บริโภคนี้จะเป็นเครื่องระงับเวทนาใหม่มิให้เกิดขึ้น จะได้ประพฤติธรรมสืบไป ได้ความสะดวก ได้ความผาสุกพอสมควร เริ่มแต่ภิกษุนั้นอุปสมบท ก็เริ่มละอาหาร ไม่บริโภคในเวลาที่เขาบริโภคกัน วันละหนึ่งเวลาบ้างสองเวลาบ้าง ละอาหารที่พระวินัยห้ามบ้าง บริโภคอาหารตามมีตามได้ โดยบริโภคเพียงแต่ว่าเป็นธาตุ เพื่อเป็นที่ดำรงอยู่ของธาตุในกายนี้เป็นอยู่ นี่ เป็นภิกษุในพระธรรมวินัย ต้องปฏิบัติอย่างนี้ ไม่ใช่ไปติดในรสอาหาร"

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    "กล่าวโดยสรุปก็คือ ต้องมีโยนิโสมนสิการใช่ไหมครับ"
    "ถูกแล้ว โยนิโสมนสิการมีความสำคัญมากในการละนิวรณ์ทั้ง ๕ ขาดโยนิโสมนสิการเสียแล้วก็ละไม่ได้เลย ไม่ว่าจะเป็นกามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ หรือ วิจิกิจฉา"

    <TABLE style="FONT-SIZE: 12px" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR style="FONT-SIZE: 12px"><TD style="FONT-SIZE: 12px" width="79%">"หมายความว่า นิวรณ์แต่ละอย่าง ๆ นั้นจะละไม่ได้เลย ถ้าไม่มีโยนิโสมนสิการ ใช่หรือเปล่าครับ"
    "ถูกแล้ว เอาเถอะเมื่อเธอปฏิบัติสูงขึ้นไปก็จะเข้าใจ" พระอุปัชฌาย์แนะนำ เนื่องจากมีประสบการณ์มาก่อน

    "หลวงพ่อครับ ทำไมคนเข้าวัดถึงยังเอาดีไม่ได้ล่ะครับ อย่างโยมบุญรับนั้น หลวงพ่อบอกเข้าวัดมาหลายปี ผมก็เห็นแกยังละอะไรไม่ได้สักอย่างเดียว รู้สึกแกเที่ยวขวางเขาไปหมด คนเข้าวัดเข้าวาน่าจะเป็นคนดี" พระหนุ่มตำหนิกราย ๆ
    </TD><TD style="FONT-SIZE: 12px" width="21%"><TABLE style="FONT-SIZE: 12px" cellSpacing=5 cellPadding=0 width=90 align=right border=0><TBODY><TR style="FONT-SIZE: 12px"><TD style="FONT-SIZE: 12px" width=45>[​IMG]</TD><TD style="FONT-SIZE: 12px" width=45>[​IMG]</TD></TR><TR style="FONT-SIZE: 12px"><TD style="FONT-SIZE: 12px">[​IMG]</TD><TD style="FONT-SIZE: 12px">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    "ก็พระอยู่ในวัดแท้ ๆ ยังเอาดีไม่ได้ก็ยังมีนี่นา บางคนบวชตั้งแต่เณร อายุพรรษาตั้งหกสิบเจ็ดสิบยังไม่ได้เรื่อง นับประสาอะไรกับคนอย่างยายบุญรับเล้า" ท่านออกเสียง "เล่า" เป็น "เล้า"
    "นินทาอะไรฉันอีกล่ะ" นางบุญรับเข้ามาทันได้ยินชื่อตนเข้าพอดี เลยถามพาล ๆ
    "มาก็ดีแล้ว ไงได้ที่พักเป็นที่พอพระราชหฤทัยหรือยัง" ท่านพระครูถามประชด หากนางบุญรับก็ตอบว่า
    "ได้แล้วเพคะเสด็จพี่ หม่อมฉันกำลังจะมากราบทูลให้ทรงทราบอยู่พอดี"
    "พอแล้ว ๆ แม่บุญรับไม่ไหว" ท่านพระครูรีบโบกมือห้าม

    "บุญรับเฉย ๆ จ้ะ แหม กำลังเล่นลิเกสนุก ๆ ไม่น่ามาห้าม ถึงจะเป็นลิเกหลงโรงก็เถอะ ฉันจะมาบอกหลวงพี่ว่าได้ที่พักตรงข้ามกุฏิแม่นั้น ประเดี๋ยวเถอะแม่จะแกล้งให้สะเด็ดไปเลย" นางพูดอย่างหมายมั่น
    "ขอที ๆ แม่คุณแม่มหาจำเริญ คนเขาจะมาสร้างบุญสร้างกุศล อย่าไปเป็นมารขัดขวางเขาเลย นี่ฉันจะถือโอกาสเทศน์แกสักหน่อย แกนะมันแย่นาบุญรับนา กรรมฐานก็เคยเข้ามาแล้ว ไหงถึงไม่ดีขึ้นเลย"
    "แย่ยังไงล่ะหลวงพี่ ฉันอุตส่าห์หวังดีจะเข้ามาช่วยทำครัว หลวงพี่ยังมาว่าฉันอีก" นางเถียงฉอด ๆ
    "ยัง ยังไม่รู้ตัวอีก เอาเถอะ ๆ นั่งลงเสียให้เรียบร้อย ยืนพูดกับพระมันไม่สวย" หญิงวัยเกือบห้าสิบจึงนั่งลง ท่านพระครูพูดต่อไปว่า "ฟังให้ดี ฉันจะสอนให้เอาบุญ การที่แกตั้งใจมาช่วยทำครัวนั่นก็ดีแล้ว ถือว่ามาสร้างกุศล ก็ในเมื่อตั้งใจมาทำบุญและจะมาทำบาปเสียทำไมล่ะ"

    <TABLE style="FONT-SIZE: 12px" cellSpacing=0 cellPadding=10 width="100%" background=../images/dot01.gif border=0><TBODY><TR style="FONT-SIZE: 12px"><TD style="FONT-SIZE: 12px">"ฉันไปทำบาปอะไรที่ไหน" นางบุญรับไม่วายเถียง
    "ทำไมจะไม่ทำบาป ก็วจีทุจริตนั้นยังไง ทั้งพูดปด พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ครบเลยในตัวแก เสียงแรงที่อุตส่าห์มาเข้าวัด สู้บางคนที่เขาอยู่บ้านก็ยังไม่ได้" นางบุญรับรู้สึกรำคาญเนื่องจากไม่ชอบให้ใครมาติ จึงแกล้งปดท่านว่า

    "จ้ะหลวงพี่ ฉันก็จะพยายามแก้ไข ให้เวลาฉันบ้าง ฉันขอตัวไปช่วยเขาทำครัวละนะ" กราบประหลก ๆ สามครั้งแล้วลุกออกไป ท่านพระครูส่ายหน้าอย่างระอา พูดกับพระบัวเฮียวว่า "ไม่ไหว ไม่ซึมซับสิ่งดี ๆ เลย คนอย่างยายบุญรับนับวันก็จะมีมากขึ้น ประเภทเข้าวัดแล้วมานั่งนินทาคนโน้นคนนี้ ที่เขาว่า มือถือสากปากถือศีล มันก็เป็นวิบากของเขา"
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    "คนที่มาเข้ากรรมฐานน่าจะละกิเลสได้นะครับหลวงพ่อ"
    "มันก็ละได้ แต่เป็นการละได้ชั่วคราว คือตอนเจริญกรรมฐานจิตเป็นสมาธิ มันก็บริสุทธิ์ผ่องใส เพราะกิเลสมันถูกข่ม ถูกกดเอาไว้ แต่พอออกจากรรมฐาน กิเลสมันก็ฟุ้งขึ้นมาอีก เหมือนน้ำใสที่มีตะกอนนอนก้น เอามือไปกวน มันก็ขุ่น การจะขจัดกิเลสให้หมดไปโดยสิ้นเชิงจึงไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องมีขั้นตอนการปฏิบัติที่ละเอียดลึกซึ้ง ที่สำคัญที่สุดคือผู้ปฏิบัติจะต้องมีความเพียรอย่างยิ่งยวด จึงจะประสบความสำเร็จ ก็กิเลสตัณหามันอยู่กับเรามาตั้งนมนานหลายภพหลายชาติ มีหรือที่มันจะยอมออกไปง่าย ๆ"

    <TABLE style="FONT-SIZE: 12px" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR style="FONT-SIZE: 12px"><TD style="FONT-SIZE: 12px" width="79%">"ถึงต้องปฏิบัติกันข้ามภพข้ามชาติเลยใช่ไหมครับ"
    "ถูกแล้ว แต่บางคนก็ท้อถอย ใจไม่สู้ เลยไม่อาจตัดออกจากสงสารวัฏไปได้ ความเพียรนี่สำคัญมากนะบัวเฮียว แล้วก็ต้องเป็นความเพียรที่ถูกต้องที่เรียกว่า สัมมาวายามะ ถ้าเป็น มิจฉาวายามะ แทนที่จะทำให้หลุดพ้น กลับทำให้ติดแน่นอยู่ในสงสารวัฏหนักเข้าไปอีก"

    </TD><TD style="FONT-SIZE: 12px" width="21%"><TABLE style="FONT-SIZE: 12px" cellSpacing=5 cellPadding=0 width=90 align=right border=0><TBODY><TR style="FONT-SIZE: 12px"><TD style="FONT-SIZE: 12px" width=45>[​IMG]</TD><TD style="FONT-SIZE: 12px" width=45>[​IMG]</TD></TR><TR style="FONT-SIZE: 12px"><TD style="FONT-SIZE: 12px">[​IMG]</TD><TD style="FONT-SIZE: 12px">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    "เรียกว่า การทำความเพียรก็ต้องมีโยนิโสมนสิการใช่ไหมครับ"
    "ถูกแล้ว แหม รู้สึกว่าเธอจะเก่งขึ้นมาเชียวนะ สงสัยว่าจะหลุดพ้นในชาตินี้เสียละมัง" พระอุปัชฌาย์สัพยอก

    "สาธุ สมพรปาก" พูดพร้อมกับยกมือขึ้น "สาธุ"
    "ถ้าอย่างนั้นก็กลับไปปฏิบัติที่กุฏิของเธอได้ อ้อ พรุ่งนี้ออกตีสี่ครึ่งฉันเปลี่ยนเวลาแล้ว เลื่อนออกไปอีกครึ่งชั่งโมง ประเดี๋ยวจะให้สมชายไปบอกคนอื่น ๆ พระบัวเฮียวกราบเบญจางคประดิษฐ์สามครั้งแล้วลุกออกมา ขณะเดินกลับกุฏิแทนที่จะกำหนด "ซ้าย - ขวา ซ้าย - ขวา" เหมือนเช่นเคย ก็เปลี่ยนมากำหนดว่า "โยนิโสมนสิการ โยนิโสมนสิการ... ไปจนถึงที่พัก


    ที่มาจาก
    http://www.jarun.org/v5/th/lgeneral041901.html
     
  2. wong3210

    wong3210 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    553
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,392
    ขออนุโมทนาครับ เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นฝึกสมาธิเลยครับ เป็นแนวบันเทิงธรรม ครับ (แต่ยาวจังครับ อ่านจนปวดตาเลย โฮ๊ะๆๆ)



    แต่ขอถามว่า ทำไมต้องลง ชื่อ-นามสกุล และ วัน-เวลาเกิด ในลายเซนต์ด้วยครับ

     
  3. chue27

    chue27 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    183
    ค่าพลัง:
    +1,358
    โมทนาครับ กระทู้ดีจัง
     
  4. Wisdom

    Wisdom ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,669
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +26,542
    โมทนาครับ....
     
  5. mayongnes

    mayongnes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2006
    โพสต์:
    180
    ค่าพลัง:
    +2,449
    อนุโมทนา ครับ
     
  6. cheterk

    cheterk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    512
    ค่าพลัง:
    +1,568
    ดีครับ สาธุ


    พระนิพพาน จากคำครูอาจารย์
    http://www.geocities.com/pranipan/

    VDO ของสัตว์ต่างๆ ที่จะต้องถูกนำมาเป็นอาหารให้เราได้กิน เรื่องจริงที่หลายคนไม่เคยเห็น ว่าน่าสงสารแค่ไหน
    อานิสงส์ ๑๐ ประการ ของการไม่กินเนื้อสัตว์ ( อันนี้ผมผิมตามหน้าปก CD นะครับ )
    1. เป็นที่รักของบรรดาเทพพรม ตลอด จนมนุษและสัตว์ทั้งหลาย
    2. จิตอันเป็นมหาเมตตาย่อมบังเกิดขึ้น
    3. สามารถตัดขาดความอาฆาต ดับอารมณ์ เหี้ยมโหดเคียดแค้นในใจลงได้
    4. ปราสจากโรคภัยร้ายแรงมาเบียดเบียนร่างกาย
    5. มีอายุมั่นขวัญยืน
    6. ได้รับการปกป้องคุ้มครองจากวัชรเทพทั้งแปด
    7. ยามหลับนิมิครเห็นแต่สิ่งที่ดีงาม เป็นศิริมงคล
    8. ย่อมระงับการจองเวร สลายความอาฆาตแค้นซึ้งกันและกัน
    9. สามารถดำรงอยู่ในกระแสแห่งนิพาน ไม่พลัดหลงตกลงสู่อบายภูมิ
    10. ทันทีที่ละสังขารจากโลกนี้ จิตญาณจะมุ่งสู่คติภพ

    เปิด
    http://thaihotbiz.com/dmc/ก่อนที่จะมาเป็นอาหารให้เราได้กิน2.wmv

    Save
    http://thaihotbiz.com/dmc/ก่อนที่จะมาเป็นอาหารให้เราได้กิน2.zip

    อิทัง เม มาตาปิตูนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ มาตาปิตะโร
    ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่มารดา บิดาของข้าพเจ้า ขอให้มารดาบิดาของข้าพเจ้ามีความสุข
    อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย
    ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้ามีความสุข
    อิทัง เม คุรูปัชฌายาจริยานัง โหตุสุขิตา โหนตุ คุรูปัชฌายาจริยา
    ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้าขอให้ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้ามีความสุข
    อิทัง สัพพะเทวะตานัง โหตุสุขิตา โหนตุ สัพเพเทวา
    ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เทวดาทั้งหลายทั้งปวงขอให้เทวดาทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข
    อิทัง สัพพะเปตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุสัพเพ เปตา
    ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เปรตทั้งหลายทั้งปวงขอให้เปรตทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข
    อิทัง สัพพะเวรีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุสัพเพเวรี
    ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวงขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข
    อิทัง สัพพะสัตตานัง โหตุ สุขิตาโหนตุ สัพเพ สัตตา
    ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงมีความสุขทั่วหน้ากันเทอญ

    ดาวธรรม ถ่ายทอดสด รายการธรรมะ 24 ชม. ทั่วโลก
    และเสนอ Case Stady กฏแห่งกรรม

    http://www.dmc.tv/multimedia.php?mediaURL=http://203.146.251.191/vcont100k_2
     
  7. KEN_BP

    KEN_BP เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    61
    ค่าพลัง:
    +544
    โมทนาครับ กระทู้ดีจัง
    แต่ยาวจัง กระผมยังอ่านไม่หมดครับ
    คนที่ตั้งใจจะทำความดี แม้ชีวิตก็ไม่เสียดาย
    เมื่อไม่เสียดายชีวิตเสียแล้ว จะเอาความเลวมาจากไหน
     
  8. วิทย์

    วิทย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,036
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,439

    หนังสือของคุณ สุทัสสา อ่อนค้อม มีหลายเล่มที่น่าอ่านและน่าสนใจครับ เนื้อหานี้คัดมาเพียงบางส่วนจากหนังสือ ชุด "สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม" ที่ยาวหน่อยก็เป็นไปตามความเหมาะสม ใจความของธรรมจะได้ครบถ้วนครับ

    ป้องกันคนแอบอ้างชื่อหรือตัวผมไปใช้ในทางไม่ดีครับ
     
  9. tawanna

    tawanna สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +0
    โมทนาด้วยค่ะ แต่อยากทราบว่าโยนิโสมนสิการหมายถึงอะไรคะ
     
  10. วิทย์

    วิทย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,036
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,439
    โยนิโสมนสิการ - การพิจารณาในใจโดยละเอียดและแยบคายคือตามความเป็นจริงของสภาวะธรรม(ชาติ)นั้นๆ อย่างชาญฉลาด เช่นคิดค้นหาข้อสงสัย เปรียบเทียบสภาวะธรรมอื่นๆอันเห็นได้ชัดแจ้งกับสภาวะธรรมอื่นๆที่ติดขัด ฯลฯ. อันสามารถทําได้ในทุกอิริยาบถ หรือทุกขณะ และดีที่สุดคือในระดับขณิกสมาธิอันคือสมาธิอ่อนๆระดับใจที่แน่วแน่ ไม่วอกแวก ไม่ซัดส่ายไปในเรื่องคิดนึกปรุงแต่งอื่นๆ, ในบันทึกธรรมนี้กล่าวไว้บ่อยครั้งที่สุด เพราะเป็นสิ่งจําเป็นอย่างยิ่งในการเข้าใจธรรม หรือธรรมะวิจยะอันถูกต้องแท้จริง, ไม่ใช่เพราะทิฎฐิ(ความเชื่อ,ความยึด)หรือศรัทธา, อคติใดๆ มานําให้เห็นผิด
     
  11. kamm

    kamm เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    54
    ค่าพลัง:
    +278
    เชิญร่วมทำบุญแรง ปลูกป่าถวายในหวลง ที่พุทธอุทยานวัดเขาหว้าเอน จ.ปราจีนบุรีนะค่ะ พร้อมทั้งร่วมกันทอดผ้าป่าแรงช่วยกันสร้างสถานปฎิบัติธรรม ศาลาบ้านดินกันนะค่ะ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่งเติมสำหรับผู้ที่สนใจได้ที่ 04-0889422 09-1757912 เชิญไปร่วมด้วยช่วยกันนะค่ะ
     
  12. matakalee

    matakalee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    160
    ค่าพลัง:
    +367
    <TABLE id=HB_Mail_Container height="100%" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0 UNSELECTABLE="on"><TBODY><TR height="100%" UNSELECTABLE="on" width="100%"><TD id=HB_Focus_Element vAlign=top width="100%" background="" height=250 UNSELECTABLE="off">โมทนา สาธุคะ แก่ผู้จะเจริญในธรรมทั้งหลาย ที่พึงควรละเสียซึ่ง นิวรณ์ 5
    นิวรณ์ 5 (ธรรมอันกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี-เครื่องกังวลที่ทำให้ปัญญาอ่อน กำลังเป็นอกุศลราศี)
    1. กามฉํนทะ (ความพอใจรักใคร่ในอารมณ์ที่ชอบมีรูป เป็นต้น เปรียบเหมือน หนี้
    2. พยาบาท ( การปองร้ายผู้อื่น) เปรียบเหมือน โรค
    3. ถินมิทธะ (จิตหดหู่ และเซื่องซึมเคลิบเคลิ้ม) เปรียบเหมือน เรือนจำ
    4. อุทธัจจะ กุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่าน และรำคาญ) เปรียบเหมือน ความเป็นทาส
    5. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัยไม่ตกลงได้) เปรียบเหมือน ทางไกลกันดาร
    โดยเฉพาะโทษวิจิกิจฉา ทำไห้ทุกข์ ชอกระกำช้ำระบม ไร้พลัง ไม่บรรลุเร็ว ไม่เด็ดขาด

    ส่วนเรื่องนิวรณ์ 5 ประการ ที่หลวงพ่อฤาษีลิงดำ ได้เขียนไว้ในหนังสือคำสอนหลวงพ่อ เล่ม 3 คือ
    1. ความรักระหว่างเพศ ที่เรียกว่า กามฉันทะ รักรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสระหว่างเพศ เวลานั่งปฏิบัติอยู่อย่าให้มี จะที่วัดหรือที่บ้านก็ตาม
    2.ความไม่พอใจ อย่าให้เกิดขึ้น
    3.ความง่วง
    4.อารมณ์ฟุ้งซ่านนอกรีตนอกรอย คิดโน่นคิดนี่5.ความสงสัยในผลการปฏิบัติ อันนี้สำคัญ โดยเฉพาะข้อ 4 และ 5 อย่าให้มี ถ้ามีแล้วเจ๊ง รวมความว่านิวรณ์ 5 อย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้ามีในกำลังใจของญาติโยมพุทธบริษัทที่กำลังปฏิบัติ ก็ขอยืนยันได้เลยว่า วันนั้นไม่มีผลเลย
    </TD></TR><TR UNSELECTABLE="on" hb_tag="1"><TD style="FONT-SIZE: 1pt" height=1 UNSELECTABLE="on">

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กรกฎาคม 2006
  13. pitipornsn

    pitipornsn Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    137
    ค่าพลัง:
    +95
    สาธุครับ
     
  14. pitipornsn

    pitipornsn Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    137
    ค่าพลัง:
    +95
    สาธุครับ
     
  15. matakalee

    matakalee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    160
    ค่าพลัง:
    +367
    การกำจัดนิวรณ์ 5 ประการ
    การแก้นิวรณ์ ตัวที่ 1 ด้วย กายคตานุสสติ และ อสุภกรรมฐาน
    นิวรณ์ตัวที่ 2 โทสะความโกรธ แก้ด้วย พรหมวิหาร 4 และวรรณะกสิณ คือ กสิณสีแดง สีเหลือง สีขาว สีเขียว อย่างใดอย่างหนึ่ง

    นิวรณ์ตัวที่ 3 ความง่วงเหงาหาวนอน ตัวนี้แก้ไม่ยาก ให้ลืมตาให้กว้างบ้าง เอามือขยี้ตาบ้าง เอาน้ำล้างหน้าบ้าง แหงนดูดาวบ้าง เดินไปเดินมาบ้าง นี่ตามวิธีที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำกับ พระมหาโมคคลานะ

    การแก้นิวรณ์ข้อที่ 4 ความฟุ้งซ่านและรำคาญ ให้ใช้ อานาปานุสสติกรรมฐาน โดยเฉพาะไม่ต้องภาวนาบทใด ๆ ทั้งหมด ถ้าขืนไปภาวนาและพิจารณาเจ้า จิตที่ซ่านอยู่แล้วมันจะช่วยกันซ่านใหญ่ คือให้กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก เวลาหายใจเข้ารู้ อยู่ว่าหายใจเข้า เวลาหายใจออกรู้อยู่ว่าหายใจออก เอาเพียงเท่านี้

    การแก้นิวรณ์ที 5 วิฉิกิจฉา เรื่องนี้เห็นจะไม่ต้องบอกละมั้ง ถ้าสงสัยจะมานั่งทำเกลือกันทำไมละ นอนเสียดีกว่า ข้อนี้ไม่ต้องอธิบาย เพราะคนที่นั่งปฏิบัติทั้งหมดแสดงว่า ไม่มีความสังสัยในคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    ถ้าเราปราบนิวรณ์ได้จิตเราก็เข้าปฐมฌานได้ นี้การเจริญพระกรรมฐานไม่จำเป็นจะต้องใช้เฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่งตลอดกาลตลอดสมัย ให้เป็นไปตามอารมณ์ที่เกิด
    ขอให้ทุกท่านประสบความสำเร็จในการแก้นิวรณ์ทั้ง 5 ขอจงเป็นผู้ที่เจริญในธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไป


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 กรกฎาคม 2006
  16. มิสเตอร์ทราย

    มิสเตอร์ทราย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    19
    ค่าพลัง:
    +49
    ขออนุโมทนา..ในความรู้เรื่อง นิวรณ์และวิธีแก้ไข เคยรู้มาบ้างแต่ไม่ละเอียดเหมือนที่คณุ MataKalee อธิบายครับ....ขอบคณุครับ(verygood)(bb-flower
     

แชร์หน้านี้

Loading...