ตะกาย"ภูสอยดาว" ฝ่าด่านเนินมรณะ

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 9 กุมภาพันธ์ 2006.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,173
    [​IMG] วันนี้จะมาชวนหลบความอบอ้าว(ในหน้าหนาว) และไอแดดจัดๆ มุ่งหน้าไปเทือกเขาแถบภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน น่าจะช่วยลดอุณหภูมิทำให้ใจเย็นเพิ่มรอยยิ้มได้บ้าง แต่ทางที่ดีควรจัดตารางเวลา รวมเวลาเดินทางด้วยสัก 3 วันเป็นอย่างน้อย เพราะเทือกเขาที่พูดถึงนี้มีชื่อไพเราะสวยงามว่า "อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว" ตั้งอยู่ในอาณาเขต 2 จังหวัดคือ อุตรดิตถ์และพิษณุโลก เป็นเทือกเขาที่มี "ภู" หรือเนินให้ประลองฝีเท้าหลายแห่งทีเดียว และแต่ละแห่งก็ต้องใช้ความอึดไม่ใช่เล่น

    ใช้เวลาประมาณ 8 ชั่วโมงของการเดินทางโดยรถโดยสารประจำทาง หากเริ่มต้นจากกรุงเทพฯ เดินทางได้ 2 เส้นทาง คือ ตีตั๋วโดยสารลงที่พิษณุโลก เที่ยวแรกออกจากกรุงเทพฯ เวลา 05.00 น. แล้วต่อรถโดยสารสายพิษณุโลก-ชาติตระการ เมื่อถึงอ.ชาติตระการ ให้เหมารถสองแถวไปส่งยังที่ทำการอุทยานฯ หรือถ้าไปทางอุตรดิตถ์ เส้นทางสายอ.น้ำปาดก็ได้ เพียงตีตั๋วลงจ.อุตรดิตถ์ และเหมารถรับจ้างไปส่งที่อุทยานฯ ราคาประมาณ 1,000 บาท การเดินทางแบบนี้เหมาะสำหรับมีเพื่อนเดินทางหลายคน เพื่อประหยัดค่ารถ

    ส่วนถ้าไปกันกลุ่มเล็กๆ ก็ประหยัดได้ด้วยการนั่งรถเมล์จากสถานีขนส่งไปลงที่อ.น้ำปาด จากอ.น้ำปาดมีรถสองแถววิ่งผ่านที่ทำการอุทยานฯ แต่ควรนัดรถสองแถวให้มารับกลับด้วย เพราะเส้นทางขากลับไม่มีรถวิ่ง หากเป็นรถยนต์ส่วนตัวให้เดินทางตามแผนที่ทางหลวงประเทศไทย เพื่อความถูกต้องของเส้นทาง เพราะมีป้ายและหมายเลขทางหลวงบอกชัดเจน ไม่ต้องกังวลว่าจะหลง
    <TABLE style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px dotted; BORDER-TOP: #ffffff 1px dotted; BORDER-LEFT: #ffffff 1px dotted; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px dotted" cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=1><TBODY><TR bgColor=#ffe9ff><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว มีพื้นที่ครอบคลุมสองจังหวัดอย่างที่ว่า และยังมีเทือกเขาที่เป็นเส้นแบ่งพรมแดนประเทศไทย-ลาว มียอดสูงถึง 2,102 เมตร อุณหภูมิหนาวเย็นตลอดทั้งปี สภาพป่าไม้มีความหลากหลายทางธรรมชาติ ทั้งป่าไผ่ ป่าเบญจพรรณ จนถึงป่าสนเขา นอกจากนี้ยังมีสัตว์ป่าเป็นจำนวนมาก เช่นเลียงผา กวาง เก้ง เม่น อีเห็น ไก่ฟ้าพญาลอ และเสือโคร่ง

    ฤดูที่เหมาะสำหรับท่องเที่ยวอยู่ระหว่างเดือนพ.ค.-ต.ค. เนื่องจากเป็นฤดูฝน ป่าจะเต็มไปด้วยดอกไม้นานาชนิด แต่หากต้องการสัมผัสอากาศหนาวเย็น ทิวทัศน์ที่สวยงาม ดูดอกกล้วยไม้รองเท้านารีพันธุ์อินทนนท์เบ่งบาน สามารถไปได้ตั้งแต่ช่วงเดือนต.ค-ม.ค.

    ก่อนออกเดินป่าสัมผัสธรรมชาติของภูสอยดาวแล้ว ควรทำภารกิจส่วนตัวให้พร้อม จัดเตรียมเสบียงอาหารให้เพียงพอกับจำนวนคนที่ไป จากนั้นแบ่งสัมภาระให้แบกกันเล็กน้อย นอกจากนั้นให้เป็นหน้าที่ลูกหาบชาวบ้านจัดการ เป็นการกระจายรายได้

    เริ่มต้นเดินเท้าเพื่อพิชิตภูสอยดาว ช่วงแรกของการเดินทางยังคงเป็นพื้นที่ราบ ลัดเลาะไปตามสายน้ำตก 5 แห่งของภูสอยดาว จากนั้นเริ่มเข้าสู่เส้นทางหลักของการพิชิตภูระยะทาง 6.7 กิโลเมตร ประเดิมบททดสอบแรงด้วย "เนินส่งญาติ" ระยะทาง 700 เมตร ภาพที่เงยหน้าเห็นเป็นหน้าผาสูงชันตระหง่าน จนมองไม่เห็นเส้นขอบฟ้า อาณาบริเวณเป็นป่าไผ่ มีไผ่หลากหลายชนิดทั้งไผ่ตง ไผ่ทอง ไผ่หก ทอดยาวเบียดเสียดสีกันดังซ่าๆ สร้างความเพลิดเพลินคลายความเหนื่อยได้เล็กน้อย สลับกับขั้นบันไดธรรมชาติที่เกิดจากการตกแต่งหน้าผาป่าไผ่ทีละขั้นทีละขั้น ให้ใช้เป็นบันไดในการพิชิต เส้นทางนี้ใช้เวลาเดินประมาณ 40 นาที จะมาถึงสันเขา <TABLE style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px dotted; BORDER-TOP: #ffffff 1px dotted; BORDER-LEFT: #ffffff 1px dotted; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px dotted" cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=2><TBODY><TR bgColor=#ffffe8><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    ถัดไปเป็น "เนินปราบเซียน" ชื่อเนินก็ชวนท้อเสียแล้ว แต่ถ้าใช้ความพยายามก็ผ่านไปได้ ระยะทาง 1,200 เมตร ถือเป็นเนินที่ยาวที่สุด ต่อด้วยเนินป่าก่อ ระยะทางอีก 900 เมตร และเนินเสือโคร่ง ที่ถัดไปอีก 300 เมตร ทั้งสองเนินใช้เวลาเดินเท้านานประมาณ 1 ชั่วโมง

    ยังไม่หมดเท่านี้ เบื้องหน้านักผจญป่าอาจต้องเหนื่อยหน่อย เพราะต้องเผชิญกับ "เนินมรณะ" เป็นเนินที่สูงชันสมชื่อ แต่ใจชื้นขึ้นมาหน่อยเพราะนี่เป็นเนินสุดท้ายแล้วที่จะต้องปีนป่าย

    ขึ้นไปถึงยอดเนินมรณะ สูดอากาศบริสุทธิ์-พักเอาแรงแล้ว เส้นทางต่อไปเป็นทางราบ มุ่งหน้าลัดเลาะไปตามสันเขาที่ปกคลุมได้ด้วยป่าหญ้าคาอีกประมาณ 100 เมตร จะถึงประตูสู่ลานสนภูสอยดาว ที่นี่นักท่องป่าจะประทับใจไปกับสนสามใบต้นใหญ่ๆ ละลานตา และยังเป็นจุดที่จะดื่มด่ำประทับใจกับภาพสุดท้ายก่อนพระอาทิตย์จะลับขอบฟ้าในวันนั้น

    ส่วนบริเวณที่เป็นที่พักคือ จุดลานสนภูสอยดาว เป็นบริเวณที่สามารถกางเต็นท์ท่ามกลางอุณหภูมิที่เริ่มลดต่ำลง หลายคนยังไม่งีบหลับทันที แต่นอนดูทะเลดาวบนท้องฟ้าให้ธรรมชาติยามค่ำคืนและสายลมหนาวกล่อมจนหลับไปเอง

    ตื่นขึ้นมาตอนเช้า หลังดวงอาทิตย์พ้นขอบฟ้า ได้เวลาลํ่าลาลานสนภูสอยดาว แต่ก่อนเดินทางกลับสามารถแวะไปชม "น้ำตกสายทิพย์" ที่ส่งสายน้ำกระเซ็นสายอยู่ใกล้ลานสนได้ด้วย

    นายบพิตร ปลิงโสภา หัวหน้าอุทยานาแห่งชาติภูสอยดาว กล่าวว่า ภูสอยดาวเป็นภูเขาหินทรายที่สูงที่สุดในประเทศไทย และเป็นภูเขาสูงเป็นอันดับ 4 ของประเทศ ยอดภูสอยดาวอยู่ห่างบริเวณที่กางเต็นท์ไปอีก 2.5 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินไปกลับประมาณ 6-7 ชั่วโมง หากนักท่องเที่ยวคนไหนต้องการพิชิตยอดภู ให้ติดต่อกับเจ้าหน้าที่อุทยานพาไปได้ แต่ควรฟิตร่างกายมาให้พร้อมจริงๆ เพราะสันเขาสูง บางจุดต้องไต่เชือกไปตามหน้าผาเสี่ยงอันตราย ใครขึ้นไปถึงได้ก็นับว่าเก่ง บนยอดภูมีไม้ดอกที่หาดูได้ยาก โดยเฉพาะกล้วยไม้ เช่น รองเท้านารีอินทนนท์ และพืชตระกูลเอื้องต่างๆ

    นักท่องเที่ยวที่ต้องการสัมผัสธรรมชาติอย่างแท้จริง และสนใจเดินทางมาพิชิตเนินต่างๆ รวมทั้งยอดภูสอยดาว ติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูสอยดาว โทรศัพท์ 0-5541-9234-5
     

แชร์หน้านี้

Loading...