ตรีมูลศาสตร์แห่งมรณะ

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย rinnn, 2 พฤษภาคม 2006.

  1. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,024
    ความตายเป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งในพุทธศาษสน์ศึกษา
    เป็นเรื่องจำเป็นต่อการเรียนรู้ วิธีบรรลุมรรควิถีแบบพุทธมีอยู่ ๓ วิธี คือ
    หินยาน มหายาน และวัชรยาน ทั้ง ๓ วิธีต่างก็มีการฝึกฝนให้มีมรณสติ
    เพียงแต่มีวิธีการปลีกย่อยต่างกันเท่านั้น

    มรณสติหมายถึง การพิจารณาสิ่ง ๓ สิ่งคือ

    ๑.ธรรมชาติอันแท้จริงของความตาย
    ๒.ความไม่แน่นอนของเวลาตาย
    ๓.เมื่อถึงเวลาตายไม่มีอะไรเลยที่มีคุณค่าอย่างแท้จริงนอกจากการฝึกจิต

    สิ่งทั้งสามนี้เรียกว่า"ตรีมูล"

    ๑.การพิจารณาธรรมชาติอันแท้จริงของความตาย

    ๑.๑พระยามัจจุราชจะมาทำลายเราวันใดวันหนึ่งอย่าง แน่นอน ไม่ช้าก็เร็ว ไม่มีอะไรต้านได้

    ๑.๒เวลาของเราล่วงพ้นไปทุกที ชีวิตของเรา ก้าวเข้าสู่จุดจบทุกขณะ

    ๑.๓ในชั่วชีวิตของเรา เราให้เวลากับความเพียรทางจิต น้อยมาก

    "ผู้ที่มีอายุถึง ๖๐ ปี หลังจากที่หักลบเวลานอน กิน แสวงหาปัจจัยสี่ และอื่นๆ เช่น กิจกรรมบันเทิงต่างๆออกไปแล้ว
    จะมีเวลาเหลือเพียง ๕ ปีสำหรับการบำเพ็ญเพียรทางจิต เวลาส่วนนี้อาจสูญไปกับการปฏิบัติที่ ผิดพลาดอีกด้วย"

    ๒.การพิจารณาความไม่แน่นอนของเวลาตาย

    ๒.๑ไม่ว่าจะเป็นคนหนุ่มสาว แก่เฒ่า หรืออยู่ในวัย กลางคนก็ตาม ความตายย่อมมาเยือนได้เสมอ
    ในเมื่อความตายมาถึงได้ทุกขณะ เราจึงต้องระลึกรู้อยู่เสมอว่าเราอาจตายเมื่อใดก็ได้

    ๒.๒สาเหตุของความตายมีอยู่มากมายนับไม่ถ้วน แต่เครื่องยังชีพมีอยู่น้อยมาก
    เครื่องยังชีพนั้นก็อาจเป็นสาเหตุให้เราตายได้ เช่นอาหารอาจเป็นพิษ บ้านอาจถล่ม
    เราอาจต้องเสียชีวิตในระหว่างการแสวงหาปัจจัยสี่ หรือระหว่างการปกป้องทรัพย์สินของเรา

    ๒.๓ ร่างกายของเราล้วนเปราะบาง ความเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยในสิ่งแวดล้อมของเราหรือ
    ในระบบภายในร่างกายของเรา ก็อาจทำให้เราตายได้

    ๓.การพิจารณาว่าเมื่อถึงเวลาตายไม่มีอะไรเลยที่มีคุณค่าอย่างแท้จริงนอกจากการฝึกจิต


    ๓.๑ แม้ว่าเราจะแวดล้อมอบอุ่นไปด้วยมิตรสหายนับร้อย แต่ย่อมไม่มีใครสักคนติดตามเราไปได้ในมรณภูมิ

    ๓.๒ แม้เราจะมีทรัพย์สินมากมาย เมื่อตายไปแล้วก็เอาไปไม่ได้สักเศษธุลี
    เราต้องก้าวสู่มรณภูมิอย่างเปล่าเปลือยและโดดเดี่ยว

    ๓.๓ร่างกายจะถูกทอดทิ้งไว้เบื้องหลัง ไม่มีสิ่งใด สืบเนื่อง ยกเว้นกระแสจิตสำนึกและกรรมดีกรรมชั่วที่จิตพาไปเท่านั้น
    ในช่วงที่เรายังมีชีวิตอยู่ หากเราผูกพันอยู่กับทรัพย์สมบัติ เราย่อมใช้ชีวิตอยู่อย่างสูญเปล่าและสร้างแต่กรรมชั่ว จิตของเราจะมีแต่ความทุกข์โทมนัส ราวกับบุคคลที่เพิ่งรู้ตัวว่าได้ดื่มยาพิษเข้าไปนานจนสายเกินแก้

    เราจึงควรตั้งใจมั่นแต่บัดนี้ แม้จะต้องเสี่ยงชีวิตก็ตามว่า เราจะไม่ยอมตกอยู่ใต้อิทธิพลของ โลกธรรมแปด เราต้องหลีกเลี่ยงประโยชน์สุขทางโลก เช่นเดียวกับหลีกเลี่ยงสิ่งปฏิกูลทั้งหลาย

    ข้อเสียของการละเลยมรณสติ

    ๑.ทำให้ไม่สนใจการปฏิบัติธรรม ปล่อยเวลาทั้งหมดไปกับการแสวงหาโลกียสุข

    ๒.แม้เราอาจปฏิบัติธรรมอยู่บ้าง แต่ก็จะเป็นเพียงการผัดวันประกันพรุ่ง

    ๓.การปฏิบัติอาจไม่บริสุทธิ์ ปะปนกับความทะเยอทะยานในทางโลกียะ เช่นจับจ้องจะเป็นผู้มีชื่อเสียง

    ๔.แม้เราจะเริ่มต้นปฏิบัติธรรม ตอนแรกเราอาจท้อถอย

    ๕.เราอาจจะสร้างกรรมชั่วอยู่เรื่อยๆ

    ๖.เราอาจตายด้วยความเสียใจ ความตายย่อมมาถึงสัก วันหนึ่งอย่างแน่นอน ถ้าเราขาดสติ
    ความตายจะมาถึงโดยไม่รู้ตัว
    ในช่วงเวลาอันวิกฤตนั้น เราย่อมมองเห็นได้ว่า ทรัพย์สมบัติอำนาจ ล้วนแต่ไร้ความหมาย
    เมื่อเราขาด มรณสติ เราย่อมทอดทิ้งการฝึกฝนทางจิตและเหลือแต่มือเปล่า
    ดวงจิตก็ท่วมท้นไปด้วยความวิปโยค

    ข้อดีของมรณสติ

    ๑.ทำให้ชีวิตมีเป้าหมาย เราจะมุ่งแสวงหาความเข้าใจชีวิตอย่างลึกซึ้ง

    ๒.มรณสติเป็นปฏิปักษ์อย่างร้ายแรงต่อความหลงผิด เช่นเดียวกับก้อนหินที่ถูกฆ้อนทุบจนแหลกละเอียด

    ๓.เป็นสิ่งสำคัญในการเริ่มปฏิบัติธรรมแต่ละอย่าง เพราะทำให้เราลงมือปฏิบัติธรรมและปฏิบัติได้อย่างดี

    ๔.เป็นสิ่งสำคัญในช่วงกลางของการปฏิบัติธรรมเพราะทำให้เรามีความพากเพียร
    ในการปฏิบัติอย่างจริงจังและอย่างบริสุทธิ์

    ๕.เป็นสิ่งสำคัญในตอนปลายของการปฏิบัติธรรม เพราะทำให้เราบรรลุการปฏิบัติได้อย่างสมบูรณ์

    ๖.เราจะตายอย่างมีความสุข และปราศจากความเสียใจแต่อย่างใด

    ย่อสาระสำคัญจากหนังสือ "มรณสติแบบธิเบต" โดย แววตะวัน


    เกลน เอช. มุลลิน เขียน
    ภัทรพร สิริกาญจน แปลและเรียบเรียง ศูนย์ไทย - ธิเบตศึกษา
    โทร. 223 - 4915 ,222 -5696-8



    รูปที่แนบมาด้วย
    [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...