ซ้ำๆซากๆแต่เกิดปัญญา กับ ซ้ำๆซากๆแต่ไม่เกิดปัญญา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย kengkenny, 6 เมษายน 2010.

  1. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ความโง่ของคนโง่<!-- google_ad_section_end -->
    <HR style="COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- google_ad_section_start -->
    แสดง ณ วัดหินหมากแป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย

    วันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.. ๒๕๒๓

    วันนี้ขอได้พากันฟังเทศน์เรื่อง ความโง่ ได้เทศน์เรื่องความฉลาดมานานแล้ว ความโง่ นั้นไม่มีขอบเขต ไม่มีใครให้ประกาศนียบัตรชั้นเอก ชั้นโท ชั้นตรี ไม่มีเลย ทั้ง ๆ ที่คนก็มีโง่อยู่แล้ว แต่ไม่ชอบให้คนอื่นพูดว่าตนโง่ แล้วคนที่พูดนั้นถ้าพูดด้วยความเหยียดหยามดูถูกคนอื่นก็ยิ่งโง่กว่าเขาเสียอีก
    เราพากันโง่อยู่ตลอดเวลา ความโง่อันนี้แหละทำให้เราเป็นคนจม ทำให้เราไม่สามารถจะฟื้นฟูตัวเราให้ขึ้นมาได้ โง่มีหลายอย่าง โง่ในการทำมาหาเลี้ยงชีพ โง่ในความไหวพริบ โง่ในการที่จะนำตนให้รอดปลอดภัย ฯลฯ ความโง่ที่หมักหมมอยู่ในใจของเรานั้น เราเรียนมาเท่าไรก็เรียนไปเถิดไม่จบไม่สิ้นสักที คนนิยมเรียนความฉลาดข้างนอก เช่น เรียนวิชาวิทยาศาสตร์แผนใหม่อะไรต่าง ๆ เรียนไปหมดทุกอย่าง แต่ตัวของเราเองภายในนั้นไม่รู้เรื่อง มันโง่อยู่ภายใน นั่นคือความผิดความถูกที่เกิดขึ้นในใจของตน คิดว่าตนดี คิดว่าตนวิเศษ อันนั้นแสนโง่ทีเดียว ถ้าเข้าใจว่าตนดี ตนฉลาด ตนวิเศษ ตนเลอเลิศด้วยสติปัญญาอุบายต่าง ๆ อันนั้นแหละเป็นการโง่ที่สุด ถ้าคนใดเข้าใจว่าตนโง่ คนนั้นฉลาดบ้าง เหมือนดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า คนใดเข้าใจว่าตนโง่ คนนั้นฉลาดขึ้นมาบ้าง
    วิชาทุกอย่างที่เราเรียนเป็นการเรียนออกไปภายนอก ออกไปจากตัวของเราไม่ใช่เรียนเข้ามาในตัวของเรา เรียนส่งออกไปปรุงแต่งออกไปนอกจากภายนอกจากใจ คำว่า กาย มันเพี้ยนเป็น กราย ไปเสีย มันกรายออกไปจากกาย มันข้ามกรายไปนั่นเอง จึงไม่เห็นตนของตน เปรียบเหมือนกับตาไม่เห็นลูกตา หรือตาไม่เห็นก้ำด้น (ก้ำด้นคือท้ายทอยนั่นเอง) โบราณท่านว่าตากับก้ำด้นอยู่ด้วยกันไม่ทราบว่ากี่ปีกี่ชาติ แต่ไม่เคยเห็นกันเลย ก้ำด้นของตนแท้ ๆ ไม่เคยเห็นสักที จึงว่ามันโง่ฝังอยู่นั่นแหละไม่เห็นตัวของเราเอง การเรียนภายนอกนั้นมันปรุงแต่งออกไปไม่มีที่สิ้นสุด แต่เขาก็ว่าจบแล้วละ ให้ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก อะไรต่าง ๆ ได้ปริญญาเขาก็ว่าจบแล้ว วิชานั้นมันจบที่ไหน อันของที่ไม่รู้ยังมีอีกเยอะแยะมากมายก่ายกอง ความรู้มันเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการไปเรื่อย ๆ มันไม่อยู่คงที่ จะว่าเรียนจบได้อย่างไร
    หากเราพากันมาเรียนวิชาความโง่ เรียนสิ่งที่ไม่รู้ในกาย วาจา ใจของเราให้มันรู้ขึ้นมา จึงจะหมดความโง่ไป ถ้าไม่เห็นกายเห็นใจของตนมันก็ยังโง่อยู่นั่นเอง ถ้าเห็นแล้วมันเห็นจริงหรือไม่ มันเบื่อมันหน่ายมันคลายไหม หรือว่ามันยังยึดถืออยู่ ความยึดความถือนั่นน่ะเรียกว่าไม่เห็นจริง
    ตัวของเราเป็นอนัตตา สิ่งสารพัดวัตถุทิ้งปวงทั้งหมดก็เป็นอนัตตา อนัตตาคือว่ามันไม่อยู่ในบังคับบัญชาของเรา อนัตตาไม่ได้หมายว่าสิ่งนั้น ๆ ไม่มี ของมีอยู่แต่มันไม่อยู่ในบังคับบัญชา เช่น กายของเรานี้จะไม่ให้แก่มันก็แก ไม่ให้เจ็บมันก็เจ็บ ไม่ให้ตายมันก็ตาย ไม่ให้พลัดพรากจากกัน มันก็พลัดพรากจากไป ทำอย่างไรมันก็ไม่อยู่ในบังคับบัญชา นี่แหละท่านเรียกว่า อนัตตา การที่มันเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ อันนั้นแหละท่านเรียกว่า อนิจจัง ของไม่เที่ยง อนิจจังเป็นอนัตตานี่แหละมันจึงได้เป็นทุกข์หรือ ทุกขัง ความจริงเรื่องกายและใจของเราเป็นอย่างนี้ เราเห็นเช่นนี้แล้วหรือยังใคร ๆ ก็เห็นกายกันทุกคนละ แต่มันไม่เห็นจริง ไม่เห็นเป็นอนัตตา ไม่เห็นเป็นอนิจจัง ไม่เห็นเป็นทุกขัง ไม่เห็นตามสภาพเป็นจริงทุกอย่าง จึงปล่อยวางไม่ได้ จึงได้เป็นทุกข์ที่เราเดือดร้อนกันอยู่ทุกวี่ทุกวันนี้ก็เพราะเหตุเห็นไม่จริงนั่นแหละ
    พระพุทธเจ้าทรงเห็นกายและใจตามสภาพที่เป็นจริง อริยสงฆ์สาวกท่านก็เห็นตามเป็นจริง เรียกว่า อริยสัจ นั่นคือ รูปเป็นอนัตตา รูปเป็นอนิจจัง รูปจึงเป็น ทุกข์ เมื่อยังไม่เห็นจริงด้วยใจ เห็นแต่ตามสัญญา ก็เห็นเป็นแต่เพียง สัจจะ เฉย ๆ ถ้าเห็นจริงเห็นชัดลงไปด้วยใจแล้วเรียกว่าเห็น อริยสัจ อันนั้นเป็นการเห็นของจริงของแท้ของพระอริยเจ้า ดังนั้น พวกเราอย่าไปหาธรรมะที่อื่นไกลเลย หาเอาในตัวของเรานี่ ผสมกันขึ้นในที่นี้ ให้ปรากฏเห็นชัดขึ้นมาในที่นี้แหละ ในเป็นคนเห็นกาย จึงอุปมาเหมือนกับเรียนสระกับพยัญชนะผสมกัน ผสมกันได้แล้วก็เขียนข้อความไปได้หมดทุกอย่าง จะขีดเขียนเรื่องอะไร ๆ เขียนได้หมด มันออกจากสระกับพยัญชนะเท่านั้น ธรรมทั้งหลายก็ออกมาจากกายกับใจ ไม่นอกเหนือจากกายกับใจ ใจมาพิจารณาเห็นกายตามเป็นจริง ถ้าหากไม่มีกาย ก็ไม่มีเรื่องทุกข์ ไม่มีอนัตตา ไม่มีอนิจจัง ไม่มีทุกขัง เพราะมีกายจึงมีอนิจจัง มีทุกขัง มีอนัตตา จึงมีวิปัสสนา มีมรรคผล นิพพาน มีฌาณสมาธิ มีธรรมทั้งหลาย พระพุทธเจ้าตรัสรู้อย่างอื่นที่ไหนหรอก พระสงฆ์ สาวกทั้งหลายสำเร็จมรรคผลนิพพานก็สำเร็จที่กายกับใจนี่แหละ พวกเทพทั้งหลายมีแต่ใจเป็นพวกอทิสสมานกาย ไม่มีรูปปรากฏ พวกพรหมก็ไม่ปรากฏรูปไม่มีรูป พระพุทธเจ้าไม่ได้ไปตรัสรูไม่ได้ทรงสอนที่โน่นหรอก ทรงเทศนาสอนมนุษย์พวกเราที่มีกายหยาบ ๆ เห็นกันอยู่ด้วยตานี่เอง
    การเห็นด้วยตาเรียกว่า ทัศนะ มันยังเห็นไม่จริงไม่แท้ ต้องใจเข้าไปเห็นจึงจะเป็นการเห็นอย่างแท้จริง การเห็นด้วยใจจึงเรียกว่า ญาณทัศนะ คำว่าเห็นด้วยใจคือมันชัดด้วยใจนั่นเอง ถ้าไม่ชัดก็ไม่เรียกว่าเห็นด้วยใจ เมื่อเห็นชัดแล้ว กายมันเป็นอนัตตา เป็นอนิจจัง เป็นทุกขัง ดังที่อธิบายในเบื้องต้น มันก็ปล่อยวางได้ นั่นคือปล่อยวางไว้ตามสภาพเดิมของมัน เห็นมันเป็นอนัตตาแล้วไม่ยึดถืออีก ปล่อยไปตาม สภาพอนัตตา เห็นมันเป็นอนิจจังก็ไม่ยึดไว้ ปล่อยไปตาม สภาพอนิจจัง มันเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยไป ก็ปล่อยไปตามเรื่องของมัน มันเป็นทุกขัง มันเกิดเป็นทุกข์เพราะเหตุที่มันแปรปรวนบังคับไม่ได้ ก็ปล่อยไปตาม เรื่องของทุกข์ จึงว่ามันเป็นจริงอย่างไรให้เห็นตามเป็นจริง พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า ยถาภูตํ สมฺสปฺปญฺญาย ทฎฺฐพฺพํ ควรให้เห็นของสิ่งนั้น ๆ ตามเป็นจริง นี่จึงจะได้ชื่อว่าเรียนความโง่ ไม่ใช่เรียนความฉลาด มันโง่ตรงนี้ โง่ที่ไม่เห็นกายของเรา ไม่เห็นใจของเราเอง
    แต่ไหนแต่ไรมาแล้ว ทุก ๆ คนที่เกิดขึ้นมาได้ชื่อว่าโง่ด้วยกันทั้งนั้น ครูบาอาจารย์ท่านสั่งสอนแนะนำตักเตือนอะไรต่าง ๆ เพื่อให้รู้ความโง่นั่นแหละ ไม่ใช่เรียนความฉลาดหรอก ให้รู้ความโง่ทั้งนั้นแหละ อันของที่ไม่รู้จึงค่อยเรียน ความไม่รู้ความไม่เข้าใจนั่นแหละมันโง่ ผู้ที่เข้าใจเรื่องเหล่านี้ทั้งปวงเขาไม่ถือว่าฉลาด ความโง่ของคนเรามันยังลึกซึ้งละเอียดมากเหลือมาก ยิ่งเรียนเท่าไรยิ่งเห็นความโง่ของตนมากขึ้นเท่านั้น พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เราเรียนความโง่ ไม่ใช่สอนให้เราเรียนความฉลาด เมื่อรู้จักโง่ เห็นโง่แล้ว ความรู้นั้นแลเป็นความฉลาด การไม่เห็นความโง่ของตน แต่สำคัญว่าตนฉลาด นั่นยิ่งโง่เข้าทุกที เหตุนั้น การปฏิบัติของพวกเรา จงปฏิบัติตรงที่กายกับใจนี่แหละ อย่าส่งออกไปภายนอก ใครจะเรียนอะไรที่ไหนก็เรียนไปเถิด ถ้าเพ่งเข้ามาภายในตัวนั้นเรียกว่าเรียนความโง่ของตน อย่าส่งออกไปภายนอกก็แล้วกัน
    การเรียนกัมมัฏฐานแบบต่าง ๆ หลายเรื่องหลายอย่าง หลายครูหลายอาจารย์ เช่น ยุบหนอพองหนอ สัมมาอรหัง อานาปานสติ พุทโธ ทั้งหมดนี้ก็เรียนโง่ด้วยกันทั้งนั้น คือเรียนให้เห็นตัวโง่ ตั้งใจให้มีสติควบคุมจิตที่มันนึกคิดที่มันปรุงแต่ง ให้รู้เรื่องของจิต ให้เห็นจิต รู้จักจิตเสียก่อน ถ้าไม่เห็นจิตมันก็รักษาจิตไว้ไม่ได้ คุมจิตไม่ได้ ชำระจิตไม่ได้ เพราะไม่ทราบว่าจิตมันคิดมันนึกปรุงแต่งอะไรบ้าง มันส่งส่ายไปไหนก็ไม่ทราบ ใคร ๆ ก็พูดถึงจิตถึงใจ จิตเป็นทุกข์ จิตเดือดร้อน จิตยุ่งวุ่นวาย จิตกระวนกระวาย จิตกระสับกระส่าย มันเรื่องของจิตทั้งนั้นแหละ แต่ยังไม่เคยเห็นจิตสักที จิตแท้เป็นอย่างไรก็ไม่ทราบ เมื่อไม่เห็นจิตไม่เห็นใจ มันก็ไม่มีโอกาสที่จะชำระได้ ต้องเห็นตัวมันเสียก่อน รู้จักตัวที่เราพูดถึงเสียก่อน พอเราเดือดร้อนเรายุ่งเหยิงหรือส่งส่ายเราก็แก้ตรงนั้นเอง
    อาการของใจเรียกว่า จิต คือ ผู้คิด ผู้นึก ผู้ปรุงแต่ง ผู้ส่งส่ายไปมาหน้าหลังสารพัดทุกอย่างรอบด้านรอบข้าง ผู้นั้นแหละเรียกว่า จิต เราเอาสติไปคุมไว้ให้รู้ตัวจิตนั้นอยู่เสมอ ตลอดเวลา เห็นจิตของตนอยู่เสมอว่าจิตเป็นอย่างไร มันคิดดีคิดชั่วคิดหยาบคิดละเอียด คิดปรุงคิดแต่งอะไร ก็ให้รู้เห็นอยู่ทุกขณะ ควบคุมมันอยู่อย่างนั้นเป็นนิจ เมื่อเห็นจิตแล้ว ควบคุมจิตอยู่แล้ว เวลาจะคิดก็ให้นึกก็อยู่ได้ ไม่ให้ปรุงแต่งก็อยู่ได้อย่างนี้จึงจะเรียกว่า บังคับจิตอยู่ อย่าให้จิตบังคับเรา โดยทั่วไปจิตบังคับให้เรากระทำทุกสิ่งทุกอย่าง เราอยู่ในอำนาจของจิต มันเป็นไปตามวิสัยอำนาจของจิต คนปุถุชนมันตัดเป็นอย่างนั้น เมื่อเรากำหนดสติควบคุมจิตได้แล้ว เราจึงไม่อยู่ในอำนาจของจิต แต่จิตอยู่ในอำนาจของเรา มันชักชวนไปทางดีทางชั่วอีกทีก็ไม่ให้ไป นิ่งอยู่ได้ เช่น มันชักชวนไปในทางชั่วให้โลภ ให้โกรธ ให้หลง ให้คิดประหัตประหารฆ่าตีเขาก็บอกมันว่าไม่ดี อย่าทำ คิดทางดีให้สร้างบุญสร้างกุศลก็ไม่ให้ไป ให้อยู่คงที่ เมื่อหยุดส่งส่ายอยู่คงที่มันก็เข้าถึง ใจ คือความเป็นกลาง
    ถ้าพิจารณาดูแล้วจะเห็นว่าจิตกับใจมันต่างกัน คนละอันกัน แต่แท้ที่จริงท่านพูดอันเดียวกันนั่นแหละ จิตอันใดใจอันนั้น ใจอันใดจิตอันนั้น แต่ทำไมจึงเรียกว่าจิต ทำไมจึงเรียกว่าใจ ก็ลองคิดดูซิ มันต้องมีแปลกกันอยู่ ใจมันต้องอยู่เฉย ๆ คืออยู่กลางสิ่งใดเป็นกลาง ๆ จะเรียกสิ่งนั้นว่าใจ เช่น ใจมือ ใจเท้า ก็ชี้ลงตรงกลางมือ กลางเท้า ในคนก็ชี้ลงท่ามกลางหน้าอก ไม่ทราบว่าอยู่ที่ไหนหรอก แต่ชี้ลงท่ามกลางอกเรียกว่าใจ ที่เรียกว่าใจ คือมันอยู่ท่ามกลางสิ่งต่าง ๆ ไม่คิดดี ไม่คิดชั่ว ไม่คิดหยาบ ไม่คิดละเอียด ไม่ปรุง ไม่แต่งอะไรทั้งหมด แต่มีความรู้สึกอยู่เฉย ๆ ตรงนั้นแหละเป็นใจ เมื่อใจเราตั้งสติกำหนดจิตที่มันกระสับกระส่ายดิ้นรน เดือดร้อนวุ่นวาย คอยควบคุมระวังตัวนั้นไว้จนหยุดดิ้นรน หยุดแส่ส่าย มีความรู้สึกเฉย ๆ รู้สึกเฉพาะตัวของมันเอง ไม่คิดไม่นึกอะไร อันนั้นแลเป็นใจตัวเดิมแท้
    ใจนี้มักจะดีอย่างไร ลองคิดดูซิ ถ้าเมื่อคุมจิตได้ เข้าถึงใจได้ ก็ไม่มีอะไร มีความรู้สึกเฉย ๆ เฉพาะตัว ความวุ่นวายเดือดร้อนต่าง ๆ มันก็หายไปหมด มีแต่ความสุขอันเกิดจากความสงบนั้น เอาความสุขแค่นั้นเสียก่อน สุขอันนั้นถ้าอยู่ได้นานเท่าไรยิ่งดี แต่คนเราไม่ชอบ ชอบให้จิตมันบังคับให้เราเดือดร้อนวุ่นวี่วุ่นวาย เดี๋ยวก็ร้องไห้ร้องห่ม เดี๋ยวก็หัวเราะเฮฮาเพลิดเพลิน เดี๋ยวก็เอะอะโวยวายสารพัดทุกอย่าง เราร้องไห้ก็เพราะมันบังคับให้เราร้องทั้งที่เราไม่อยากร้องไห้ การร้องไห้น่าเกลียดจะตาย น่าอับอายขายขี้หน้าคนอื่น แต่มันก็บังคับเอาจนร้องไห้ให้ได้ การหัวเราก็เหมือนกัน หัวเราะมันเพลิดเพลินสนุกสนานก็ดี มันชอบใจ มันน่าที่จะหัวเราะเพลิดเพลินอยู่เสมอตลอดไป แต่ก็ไม่เป็นเช่นนั้น จิตมันทำให้ร้องไห้ก็ได้ หัวเราะก็ได้ นั่นเพราะเราบังคับมันไม่ได้ ถ้าเราบังคับมันได้แล้วมันก็หยุด เอาสติเข้าไปตั้งเมื่อไรหยุดเมื่อนั้น สตินี้ดีมาก เป็นเครื่องควบคุมจิตได้ทุกอย่าง
    ได้พูดถึงเรื่องความโง่แล้ว เรามาเรียนความโง่กันเถิด เรียนอย่างวิธีที่อธิบายมานี่แหละ มันจึงจะค่อยหายโง่ ความโง่ไม่มีที่สิ้นสุดหรอก ยิ่งเรียนก็ยิ่งเห็นความโง่ของตน มันลึกจมอยู่ในก้นบึ้งโน่น ท่านเรียกว่า อนุสัย ตราบใดที่ยังไม่ถึงมรรค ผลนิพพาน ตราบนั้นยังมีความโง่อยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้น จงพากันเรียนความโง่กันเสียวันนี้
    อธิบายมาก็สมควรแก่เวลา เอวํ ฯ
    นั่งกัมมัฏฐานหาความโง่

    ท่านอาจารย์อบรมนำก่อน

    เคยได้ยินบางคนพูดเป็นเชิงเหยียดหยามดูถูกกัมมัฏฐานว่า "นั่งหลับตาภาวนาโง่อย่างกัมมัฏฐาน" พวกเราจงพากันทำกัมมัฏฐานให้โง่อย่างเขาว่าดูซิมันจะโง่จริงหรือไม่
    นั่งหลับตาแล้วพิจารณาผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เอา ๕ อย่างนี้เสียก่อน ให้เห็นเป็นอสุภะของไม่งาม เมื่อจะพิจารณาให้เลือกเอาอันเดียว ไม่ต้องเอามากอย่าง เช่น เลือกผม ก็พิจารณาแต่ผมอย่างเดียว พิจารณาจนให้เห็นชัดว่าผมเป็นของปฏิกูลจริง ๆ จนเบื่อหน่าย คลายเสียจากความรักใคร่ว่าผมเป็นของสวยงามจนเป็นเหตุให้เกิดความใคร่ นี่หายจากโง่ขั้นหนึ่งละ
    ขั้นที่สอง เห็นเป็นอสุภะทุกอวัยวะทั่วหมดทั้งตัวด้วยใจ ไม่ได้ลังเลแต่อย่างใดจะเห็นเปื่อยเน่าเฟะไปหมดไม่มีชิ้นดีแม้แต่นิดเดียว คราวนี้ไม่ใช่เพียงผม ขน เล็บ ฟัน หนัง แต่ทั้งหมดด้วยกันจะเป็นอสุภะทั้งนั้น แล้วอยากจะทอดทิ้งถ่ายเดียว ถ้าสติคุมจิตไว้ได้ก็จะเสียคน ที่เรียกว่า วิปลาส (คำว่าวิปลาสนักปฏิบัติทั้งหลายกลัวนักกลัวหนา แต่หลงในกามไม่ยักกลัว เพราะคนส่วนมากรู้จักกันดี)
    ขั้นที่สาม เมื่อสติคุมจิตให้อยู่ในที่เดียวแล้ว ก็จะพิจารณาทวนทบไป ๆ มา ๆ ว่า ที่เราพิจารณาเห็นเป็นอสุภะนั้น แท้ที่จริงแล้วกายนี้มันยังปรกติตามเดิมนั้นเองที่เราเห็นเป็นอสุภะนั้นเพราะจิตเราเป็นสมาธิต่างหาก เมื่อจิตถอนออกมาจากสมาธิแล้วมันก็เป็นอยู่อย่างเดิม
    ใช่อันนี้หรือเปล่าที่เรียกว่านั่งหลับตาภาวนาโง่อย่างกัมมัฏฐานนั้น แท้จริงกัมมัฏฐาน คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง มีอยู่ด้วยกันทุก ๆ คนมิใช่หรือ ผู้มาเพ่งพิจารณาให้เห็นอสุภะตามเป็นจริง ทำไมจึงเรียกว่าโง่ ผู้ไม่ได้เพ่งพิจารณาให้เห็นอสุภะตามสภาพเป็นจริงนั้นหรือเป็นผู้ฉลาด แปลกจริงหนอ ความเห็นของคนเรานี้ ผู้เห็นตามสภาพความเป็นจริง แทนที่จะเรียกว่าผู้ฉลาด กลับเห็นว่าโง่ไปได้ ผิดวิสัยของคนทั่วไปเสียแล้ว
    ยิ่งกว่านั้น พระบางองค์ (ขอโทษ) เป็นถึงอุปัชฌาย์อาจารย์สอนกัมมัฏฐาน ๕ แก่ลูกศิษย์ ลูกศิษย์ได้แล้วไปถามเข้า เลยหาว่าโง่เข้าไปโน่นอีก ผู้เห็นเข้าเช่นนี้มิเป็นการเหยียดหยามดูถูกเราพร้อมทั้งต้นตระกูลของเรานี่เป็นพระสงฆ์ (คือพระพุทธเจ้า) เสียหรือ เมื่อเหยียดหยามดูถูกเช่นนั้นได้แล้ว ความเป็นพระจะมีอะไรเหลืออยู่อีกเล่า เราผู้เป็นสงฆ์ฆราวาสญาติโยมเขาเคารพนับถือ ควรที่จะระวังสังวร ถึงแม้จะพูดเล่นก็ไม่เป็นการสมควรโดยแท้
    ความโง่มันซ่อนเร้นอยู่ตามผม ขน เล็บ ฟัน หนัง นี้แหละ ฉะนั้นจงค้นให้เห็นตัวมัน ถ้าค้นหาตัวความโง่เห็นแล้วจะอุทานว่า อ๋อ! มันเป็นอย่างนี้เอง ท่านจึงสอนให้พิจารณา เราทอดทิ้งมาเป็นเวลานมนาน มีแต่เห็นว่า ผมมันสวยงาม มันหงอกก็หายามาย้อมไว้ให้คนหลงว่ายังดำอยู่ ขนก็เช่นเดียวกัน มันรกรุงรังก็โกนให้คนอื่นเห็นว่าเกลี้ยงเกลาไม่มีขน เล็บมันไม่แดง ก็เอาสีมาทาไว้เพื่อให้คนเข้าใจว่าเล็บแดง ฟันก็เอาทองมาหุ้มไว้ให้เหลืองอร่ามไปหมด หนังมันย่นยู่หดหู่ก็ลอกให้มันเป็นหนัง

    อนุโมทนาครับ<!-- google_ad_section_end -->
     
  2. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ขอให้ทุกท่านที่ต้องเดินทางกลับสู่ภูมิลำเนาในวันปีใหม่ไทย ด้วยความดีที่ข้าพเจ้ามีด้วยอานิสงค์แห่งกุศลกรรม อันมี ทาน ศีล ภาวนา เป็นต้นที่ข้าพเจ้าทำ ขอจงอำนวยอวยชัยให้ทุกๆท่าน ทั้งเด็กและผู้ใหญ่จงสมความปราถนา เดินทางปลอดภัย ภยันตรายใดๆอย่าได้กร่ำกราย ทั้งไปและกลับก็ให้เกิดสิริมงคลแก่ทุกๆท่านเทอญ<!-- google_ad_section_end --> <!-- / message -->
     
  3. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    อกุศลมูล ๓
    อกุศลมูล ๓ (อกุศล=ความไม่ฉลาด, มูล=รากเหง้า)แปลตามตัวอักษรว่า รากเหง้าของความไม่ฉลาด หมายถึง รางเหง้าหรือต้นตอของความชั่วทั้ง
    ปวง เมื่อกำเริบจะแสดงออกมาเป็นทุจริตทางกาย วาจา ใจ รวมเป็นเหตุให้เกิดกิเลส มี ๓ ประการ คือ

    ๑. โลภะ ความอยากได้ โลภะ คือ ความอยากได้ของคนอื่นมาเป็นของตน อยากให้ตนมีเหมือนคนอื่น หรือมีมากกว่าผู้อื่น ความอยากมีหลายรูปแบบซึ่งจะก่อให้เกิดรากเหง้าของความชั่วทั้งปวง เช่น อิจฉา ความอยาก ปาปิจฉา ความอยากอย่างชั่วช้าลามก มหิจฉา ความอยากรุนแรง อภิชฌาวิสมโลภะ
    ความอยากได้ถึงขั้นเพ่งเล็ง ความอยากจะเกิดมากขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดความชั่วในตัวเอง วิธีแก้ไขความอยากคือการใช้สติ ระลึกรู้ในตน

    ๒. โทสะ ความคิดประทุษร้าย โทสะ คือ ความคิดประทุษร้าย ได้แก่ การอยากฆ่า การอยากทำลายผู้อื่นๆ ความคิดประทุษร้ายเป็นรากเหง้าให้เกิดกิเลสได้หลายอย่าง เช่น ปฏิฆะ ความหงุดหงิด โกธะ ความโกรธ อุปนาหะ ความผูกโกรธ พยาบาท ความคิดปองร้าย ถ้าปล่อยให้มีโทสะมาก ผู้นั้นจะเป็นคนชั่ว คน
    พาล และเป็นภัยต่อสังคม วิธีแก้ไขโทสะ คือการใช้สติระงับตน และฝึกตนให้เป็นผู้มีอโทสะ

    ๓. โมหะ ความหลงไม่รู้จริง โมหะ คือ ความหลงไม่รู้จริง ได้แก่ ความไม่รู้ไม่เข้าใจ ความมัวเมา ความประมาท เป้นรากเหว้าให้เกิดกิเลสได้ต่างๆมากมาย เช่น มักขะ ลบหลู่คุณท่าน ปลาสะ ตีเสมอ มานะ ถือตัว มทะ มัวเมา ปมาทะ เลินเล่อ โมหะทำให้ขาดสติ ไม่รู้ผิดชอบร้ายแรงกว่าโลภะ และโทสะ รวมทั้งส่งเสริมให้โลภะและโทสะมีกำลังมากขึ้นยิ่งด้วย วิธีที่จะทำให้โมหะลดลงนั้นจะต้องปฏิบัติตนเป็นผู้ที่มี อโมหะ ความไม่หลงงมงาย

    อุปกิเลส ๑๖ ก็คือ กิเลส แต่เป็นการจำแนกแตกธรรมของกิเลส ไปในลักษณะอาการที่เกิดหรือแสดงออกมา อันท่านจำแนกแตกธรรมออกเป็น ๑๖ อาการ ดังนี้๑. อภิชฌมวิสมโลภะ คือความละโมภ อยากได้ อยากมี อยากเป็นอย่างไม่รู้จักพอ เห็นแก่ได้จนลืมตัว
    ๒. พยาบาทคือความคิดร้าย มุ่งจะทำร้ายเขา ใครพูดไม่ถูกใจก็คิดตำหนิเขา คิดจะทำร้ายฆ่าเขาก็มี บางครั้งทำร้ายผู้อื่นไม่ได้ ก็หันมาตำหนิตัวเอง ทำร้ายตัวเอง จนฆ่าตัวตายก็มีซึ่งเป็นเพราะอำนาจพยาบาท เป็นอาการอย่างหนึ่งของโทสะ
    ๓. โกธะคือความโกรธ มีอะไรมากระทบก็โกรธ เป็นลักษณะโกรธง่าย แต่เมื่อหายแล้วก็เหมือนกับไม่มีอะไรเกิดขึ้น คือไม่ผูกใจเจ็บ ไม่พยาบาท เป็นอาการอย่างหนึ่งของโทสะ
    ๔. อุปนาหะ คือการผูกโกรธ ใครพูดอะไร ทำอะไรให้เกิดความโกรธแล้วจะผูกใจเจ็บ เก็บไว้ ไม่ปล่อย ไม่ลืม เป็นทุกข์อยู่อย่างนั้น กระทบอารมณ์เมื่อไร ก็เอาเรื่องเก่ามาคิดรวมกันคิดทวนเรื่องในอดีตว่าเขาเคยทำไม่ดีกับเราขนาดไหน เป็นอาการอย่างหนึ่งของโทสะ
    ๕. มักขะ คือการลบหลู่คุณท่าน ปิดบังความดีของผู้อื่น ลบหลู่ความดีของผู้อื่น เช่น เขาให้ของแก่เรา แทนที่จะขอบคุณกลับนึกตำหนิเขาว่า เอาของไม่ดีมาให้ หรือเมื่อมีใครพูดถึงความดีของเขา เราทนไม่ได้ เราไม่ชอบ จึงยกเรื่องที่ไม่ดีของเขามาพูด เพื่อปฏิเสธว่าเขาไม่ใช่คนดีถึงขนาดนั้น เป็นต้น
    ๖. ปลาสะ คือการตีเสมอ ยกตัวเทียมท่าน ไม่ยอมยกให้ใครดีกว่าตน แต่ชอบยกตัวเองดีกว่าเขา มักแสดงให้เขาเห็นว่าเราคิดเก่งกว่า รู้ดีกว่า ถ้าให้เราทำ เราจะทำให้ดีกว่าเขาได้
    ๗. อิสสาคือความริษยา เห็นเขาได้ดี ทนไม่ได้ เมื่อเห็นเขาได้ดีมากกว่าเรา เขาได้รับความรักความเอาใจใส่มากกว่าเรา เรารู้สึกน้อยใจ อยากจะได้เหมือนอย่างเขา ความจริงเราอาจจะมีมากกว่าเขาอยู่แล้ว หรือเรากับเขาต่างก็ได้รับเท่ากัน แต่เราก็ยังเกิดความรู้สึกน้อยใจ ทนไม่ได้ก็มี
    ๘. มัจฉริยะ คือความตระหนี่ ขี้เหนียว เสียดายของ ยึดในสิ่งของที่เราครอบครองอยู่อย่างเหนียวแน่น อยากแต่จะเก็บเอาไว้ ไม่อยากให้ใคร
    ๙. มายา คือเจ้าเล่ห์หลอกลวง ไม่จริงใจ พยายามแสดงบทบาทตัวเองเกินความจริง หรือจริงๆ แล้วเรามีน้อยแต่พยายามแสดงออกให้คนอื่นเข้าใจว่ามั่งมี เช่น ด้วยการแต่งตัว กินอยู่อย่างหรูหรา หรือบางกรณี ใจเราคิดตำหนิติเตียนเขา แต่กลับแสดงออกด้วยการพูดชื่นชมอย่างมาก หรือบางทีเราไม่ได้มีความรู้มาก แต่ของคุยแสดงว่ารู้มาก เป็นต้น
    ๑๐. สาเถยยะ คือการโอ้อวด หลอกลวงเขา ชอบอวดว่าดีกว่าเขา เก่งกว่าเขา พยายามแสดงให้เขาเห็น เพื่อให้เขาเกิดอิจฉาเรา เมื่อได้โอ้อวดแล้วมีความสุข
    ๑๑. ถัมภะคือความดื้อ ความกระด้าง ยึดมั่นถือมั่นในตัวเอง ใครแนะนำอะไรให้ก็ไม่ยอมรับฟัง
    ๑๒. สารัมภะคือการแข่งดี มุ่งแต่จะเอาชนะเขาอยู่ตลอด จะพูดจะทำอะไรต้องเหนือกว่าเขาตลอด เช่นเมื่อพูดเถียงกันก็อ้างเหตุผลต่าง ๆ นานา เพื่อเอาชนะให้ได้ ถึงแม้ความจริงแล้วตัวเองผิด ก็ไม่ยอมแพ้
    ๑๓. มานะคือความถือตัว ทะนงตน
    ๑๔. อติมานะ คือการดูหมิ่นท่าน ความถือตัวว่าเราดียิ่งกว่าเขา ทำให้ดูถูกดูหมิ่นคนอื่น
    ๑๕. มทะคือความัวเมา หลงว่ายังเป็นหนุ่มเป็นสาว ยังไม่แก่ ยังไม่ตาย หลงในอำนาจ หลงในตำแหน่ง คิดว่าเราจะเป็นอย่างนี้ตลอดไปแล้วทำอะไรเกินเหตุ
    ๑๖. ปมาทะ คือความประมาท เลินเล่อ ไม่คิดให้รอบคอบ อาการที่ขาดสติ ขาดปัญญา
     
  4. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ดูจิตจริงๆมันต้องเจอ ทั้งความสุขและความทุกข์ ที่เกิดจากตัณหาและวิภาวะตัณหา

    วันนี้เราถามเขาว่า สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา อันเดียวกับสุขวิปัสสโก ใช่ไหมครับ แล้วถามเขาต่อไปว่า แล้วรู้ไหมว่าท่านเหล่านั้นไม่ได้กำหนดตนว่าทำแบบนี้แล้วเป็น ท่านพิจารณาธรรมตามสมควรจนถึงที่สุด ไม่ใช่บอกว่า เอารู้กับเห็น เพราะรู้กับเห็นเหี้ยมันไม่ตาย ยังไม่อาจเข้าข่ายความหมายของสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญากับสุขวิปัสสโกได้ และแนวทางก็ไม่ใช่ เพราะไม่ว่าแต่เจโตวิมุติ ก็รู้เห็นเช่นเดียวกัน และการรู้กับเห็นมีได้ทุกแบบไม่ได้เลือกว่า แบบไหนต้องเป็นแบบนั้น มันเป็นเพียงจุดเริ่มต้น คนธรรมดาที่ฝึกมาใหม่หากพิจารณาดีๆยังรู้ได้เห็นได้เลยมันขึ้นอยู่กับสิ่งที่ฝังลึกอยู่ในจิตว่ามากหรือน้อย ถ้ามากก็ไม่อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญาหรือสุขวิปัสสโก เพราะไม่ใช่ฐานะจะมีได้ นี่แหละที่ต้องพิจารณาว่า เหี้ย ที่มีในตนนั้นมันมีมากคำว่ามากคือกำลังมาก มันไม่เหนื่อยมันเทียวเข้าเทียวออกผลุบๆโผล่ๆ อย่างกับเด็กวัยรุ่นไหม แล้วต้องพิจารณาว่าทำไมแรงมันเยอะจัง เพราะแบบนี้รู้กับเห็นก็ยังไม่สามารถจับมันได้ จึงไม่น่าจะกล่าวได้ว่า เป็นแบบสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญาหรือสุขวิปัสสโก เพราะเมื่อรู้ว่า กำลังของเหี้ยนั้นมีมาก ผู้มีปัญญาจะรู้แล้วว่าจะต้องลดทอนกำลังมันลง วิธีการลดทอนก็มีหลายวิธีคือ กดข่ม อุดรู แต่อุดหมดไม่ได้เพราะมันไม่เห็นเหี้ย และวิธีการกดข่มก็คือการตัดกำลังของมัน มันเหี้ยแบบไหนก็เอาธรรมที่ตรงกันข้ามมาประกบ ต้องขออภัยที่มีคำไม่ดีมากนะครับแต่ยังไงเสียผมก็หมายถึงเพียงเหล่ากิเลสทั้งหลาย หาได้อยากด่าหรือว่าใครครับ มาดูลักษณะของมันกันว่ามันมีอะไร เพราะแท้ที่จริงมันก็คือ อกุศลมูล ๓ ดีๆนั่นเอง และก็เป็นเหตุของ อุปกิเลส ๑๖ นั่นเอง จะทอนกำลังมันลงก็ต้องอย่าไปให้อาหารมันอย่าไปสงสารมัน มันชอบกินโทสะ ก็เอาเมตตาให้มันกิน มันชอบกินมานะก็เอาความนอบน้อมถ่อมตน(พรหมวิหารธรรม)ให้มันกิน สรุปคือมันชอบอะไรก็ไม่เอาไอ้นั่นให้มันกิน เท่านี้มันก็หมดกำลัง ที่กล่าวมานี้คือวิธีการหนึ่งในการทำจิตให้เป็นสมาธิเพื่อทอนกำลังมันลง จึงยังกล่าวไม่ได้ว่าเพียงรู้กับเห็นจะเป็นสิ่งใด ขอให้พิจารณาดีๆครับ ลองอ่านดูครับในลิ้งค์ว่ามันเป็นแบบไหนแล้วจะทำยังไง

    แล้วรู้ไหมว่า มันเป็นเรื่องของอุปมา หรือ อุบาย เท่านั้น แต่คนเรานั้นเวลาที่ไม่รู้ว่า อะไรสุขอะไรทุกข์ เพราะไม่รู้สาเหตุของมันก็จะไม่เข้าใจ ไปยึดไปถือเอามาเป็นอารมณ์ว่า เขาด่าเรา เราจึงต้องหาทางเอาคืน ทั้งๆที่ เหมือนจะรู้ว่าไม่ควรทำแบบนั้น แต่ก็ยังทำ จึงพอพิสูจน์ได้อย่างหนึ่ง คือ แม้การเห็นจิตก็ไม่ใช่ เพราะเมื่อใดก็ตามที่เห็นจิต ก็จะต้องเห็นกิเลสด้วย เพราะจิตและเจตสิกมันของคู่กัน ใครที่ชอบยกตำรามาอ้างว่ามี ๑๒๑ ดวง นั้น นั่นมันตำรา แต่ความจริงแล้ว มันดวงเดียวกันแต่ความปรุงแต่งไปของเจตสิกแต่ละชนิดที่แตกต่างกันจึงทำให้เห็นเป็นหลายดวง เหมือนกับ เหี้ย ตัวเดียวแต่เวลามันออกมาแต่ละครั้ง สีมันไม่เหมือนเดิม อาจเพราะเป็นเวลาหิวเวลาโกรธเวลาเกิดกำหนัด มันเลยมีสีไม่เหมือนกัน ท่วงท่าก้าวย่างเลยไม่เหมือนกัน เป็นไปตามปัจจัย เช่นเดียวกันกับ เจตสิก ที่ปรุงแต่งนั้นทำให้เหมือนมีหลายอัน หลายดวง ทั้งๆที่มันดวงเดียวกันแต่พอมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยมันจึงเป็นจิตสังขารมีเกิดดับ ถ้าจิตเพียวๆ หรือจิตบริสุทธิ์อย่างที่บางท่านเคยเห็นนั้น ที่ปราศจากกิเลสจรมาคือไม่มีเจตสิกอื่นปะปน มันจึงไม่ใช่จิตสังขาร แต่ที่เราพิจารณากันนั้นเราจะพิจารณาจิตสังขาร คือ จิตที่มีเจตสิกร่วมด้วยเสมอจึงจะเห็นความเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปได้ และเห็นเหตุต่างๆของมัน จึงจะใช้ปัญญาดับลงได้ แต่ปัญหาคือ เขาเห็นอะไรกัน ดูแล้วไม่เหมือนเห็น เหมือนกำลังโดนเห็นโดนสั่งการมากกว่า เพราะอะไรเพราะไม่ได้ขัดเกลาจิต ทอนกำลังกิเลสลงไง มันก็มีเท่านี้แหละ ชีวิตและวัฏสงสารของสัตว์ทั้งหลาย

    "กัมมุนา วัตตติ โลโก"
    สัตว์โลกทั้งหลายต้องเป็นไปตามกรรม
    อุทฺเทส กมฺมปจฺจโย เพราะมีเจตนาตั้งใจเป็นปัจจัย
    กัมมปัจจัย หมายถึงการกระทำของจิตใจที่เป็นเหตุให้เกิดผล หรือให้สำเร็จกิจในหน้าที่ของตนเรียกว่า "กรรม"
    ดังพุทธภาษิตกล่าวไว้ในอังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาตว่า...
    "เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ เจตยิตฺวา กมฺมํ กาเยน วาจาย มนสา"
    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า เจตนาคือตัวกรรม สัตว์ทั้งหลายที่ทำกรรม ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจก็ดี ย่อมมีการปรุงแต่ง คือคิดนึกก่อนแล้วจึงทำ
    ดังจะเห็นได้ว่าการกระทำด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ จะเป็นกุศล หรืออกุศลก็ตาม ต้องอาศัยเจตนาเป็นใหญ่ เป็นหัวหน้าในการกระทำนั้นๆ ฉะนั้น เจตนาจึงเป็นตัวกรรม หรือเป็นหัวหน้าของสังขารขันธ์ทั้งหลาย
    [FONT=courier new,courier,monospace]กัมมปัจจัยที่กล่าวว่า เป็นปัจจัยให้เกิดผล ก็เพราะทำหน้าที่เพาะพืชพันธุ์ให้เกิดผลในอนาคต เรียกว่า พีชนิธานกิจ คือ ทำกิจสั่งสมพืชเชื้อเพื่อให้งอกต่อไปในอนาคต เป็นนานักขณิกกัมมปัจจัย[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]พุทธศาสนา เป็นศาสนาที่ถือการกระทำเป็นใหญ่ เป็นกรรมนิยม ซึ่งผิดกับศาสนาอื่นที่ถือเทวนิยม เป็นต้น เพราะเข้าใจว่าทุกสิ่งเกิดขึ้นด้วยการบันดาลของเทพเจ้า[/FONT]
    แต่ส่วนของพระพุทธศาสนาถือว่า สัตว์ทั้งหลายจะดีหรือชั่วย่อมขึ้นอยู่กับการกระทำของตนเอง ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับผู้อื่น หรือขึ้นอยู่กับวงศ์ตระกูล เพราะการทำดีทำชั่วต้องทำด้วยตนเอง ไม่ใช่มีผู้อื่นมาทำให้ได้ เหตุนี้สัตว์ทั้งหลายจึงมีกรรมเป็นของตน เรียกว่า...
    กมฺมสฺสโกมฺหิ เมื่อทำกรรมไว้อย่างไร ก็ต้องรับผลของกรรมนั้นตามที่ทำไว้
    กมฺมทายาโท คือเป็นทายาทของกรรมที่ทำแล้ว จึงจำแนกสัตว์ให้ไปเกิดในที่ต่างๆกัน
    กมฺมโยนิ คือมีกรรมเป็นกำเนิด และกรรมที่ทำแล้วยังจะติดตามไปทุกหนทุกแห่ง จะไม่สูญหายไปใหน
    กมฺมพนฺธู คือมีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ แม้พ่อ-แม่ญาติพี่น้อง ก็ไม่ชื่อว่าเป็นเผ่าพันธุ์วงศ์ญาติที่แท้จริง คือชาตินี้เป็นญาติกัน แต่พอตายแล้วก็แยกย้ายกันไป แต่ส่วนกรรมที่ทำแล้วย่อมจะติดตามตนไปทุกภพทุกชาติ จนกว่าจะเข้าสู่พระนิพพาน.
    ถ้าทำกรรมดีก็เหมือนมีวงศ์ญาติที่ดี ญาติดีก็จะอุปถัมภ์ค้ำชูให้มีความสุข ความเจริญ แต่ถ้าทำกรรมชั่ว ก็เหมือนมีวงศ์ญาติที่ชั่ว ญาติชั่วก็จะติดตามล้างผลาญให้เป็นทุกข์เดือดร้อนเรื่อยไป กรรมจึงเป็นที่พึ่งอาศัยของสัตว์โลก
    กมฺมปฏิสรโณ เพราะเมื่อกรรมชั่วให้ผลอยู่ แม้ญาติพ่อ-แม่พี่น้องตลอดจนผู้มีอำนาจราชศักดิ์ ก็ไม่อาจช่วยให้พ้นจากทุกข์ได้ แต่ถ้ากรรมดีให้ผลอยู่ แม้ใครจะคิดร้ายทำลาย ชีวิตก็ไม่อาจถูกทำลายได้เลย.
    อีกนัยหนึ่ง ท่านเปรียบกรรมคือการทำกุศล อกุศล ส่วนผลคือวิบาก เปรียบเหมือนเงา เมื่อมีคนที่ใหนก็ต้องมีเงาที่นั่น คือมีกรรมก็ต้องมีวิบากรับผล.
    <!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 เมษายน 2010
  5. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ๕. เรื่องพระโปฐิลเถระ [๒๐๘]

    ข้อความเบื้องต้น

    พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระเถระ

    นามว่าโปฐิละ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " โยคา เว " เป็นต้น.



    รู้มากแต่เอาตัวไม่รอด (เหมือนใครบ้างคนในห้องนี้หรือเปล่าเนอ ว่า เห็นโน่น เห็นนี็้้)

    ดังได้สดับมา พระโปฐิละนั้นเป็นผู้ทรงพระไตรปิฎกในศาสนาของ

    พระพุทธเจ้า ๗ พระองค์ บอกธรรมแก่ภิกษุ ๕๐๐ รูป. พระศาสดา

    ทรงดำริว่า " ภิกษุนี้ ย่อมไม่มีแม้ความคิดว่า ' เราจักทำการสลัดออก

    จากทุกข์แก่ตน; เราจักยังเธอให้สังเวช."

    จำเดิมแต่นั้นมา พระองค์ย่อมตรัสกะพระเถระนั้น ในเวลาที่พระ-

    เถระมาสู่ที่บำรุงของพระองค์ว่า " มาเถิด คุณใบลานเปล่า, นั่งเถิด คุณ

    ใบลานเปล่า, ไปเถิด คุณใบลานเปล่า, แม้ในเวลาที่พระเถระลุกไป ก็

    ตรัสว่า " คุณใบลานเปล่า ไปแล้ว." พระโปฐิละนั้นคิดว่า " เราย่อม

    ทรงไว้ซึ่งพระไตรปิฎกพร้อมทั้งอรรถกถา, บอกธรรมแก่ภิกษุ ๕๐๐ รูป

    ถึง ๑๘ คณะใหญ่, ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น พระศาสดายังตรัสเรียกเราเนือง ๆ

    ว่า ' คุณใบลานเปล่า ' พระศาสดาตรัสเรียกเราอย่างนี้ เพราะความไม่มี

    คุณวิเศษ มีฌานเป็นต้นแน่แท้." ท่านมีความสังเวชเกิดขึ้นแล้ว จึงคิดว่า

    " บัดนี้ เราจักเข้าไปสู่ป่าแล้วทำสมณธรรม" จัดแจงบาตรและจีวรเอง

    ทีเดียว ได้ออกไปพร้อมด้วยภิกษุผู้เรียนธรรม แล้วออกไปภายหลังภิกษุ

    ทั้งหมดในเวลาใกล้รุ่ง. พวกภิกษุนั่งสาธยายอยู่ในบริเวณ ไม่ได้กำหนด

    ท่านว่า " อาจารย์." พระเถระไปสิ้นสองพันโยชน์แล้ว, เข้าไปหาภิกษุ

    ๓๐ รูป ผู้อยู่ในอาวาสราวป่าแห่งหนึ่ง ไหว้พระสังฆเถระแล้ว

    กล่าวว่า " ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงเป็นที่พึ่งของกระผม."

    พระสังฆเถระ. " ผู้มีอายุ ท่านเป็นพระธรรมกถึก, สิ่งอะไรชื่อว่า

    อันพวกเราพึงทราบได้ ก็เพราะอาศัยท่าน, เหตุไฉนท่านจึงพูดอย่างนี้ ?"

    พระโปฐิละ. ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงอย่าทำอย่างนี้,

    ขอท่านจงเป็นที่พึ่งของกระผม.



    วิธีขจัดมานะของพระโปฐิละ

    ก็พระเถระเหล่านั้นทั้งหมด ล้วนเป็นพระขีณาสพทั้งนั้น. ลำดับนั้น

    พระมหาเถระ ส่งพระโปฐิละนั้นไปสู่สำนักพระอนุเถระ ด้วยคิดว่า

    " ภิกษุนี้มีมานะ เพราะอาศัยการเรียนแท้." แม้พระอนุเถระนั้นก็กล่าว

    กะพระโปฐิละนั้น อย่างนั้นเหมือนกัน. ถึงพระเถระทั้งหมด เมื่อส่ง

    ท่านไปโดยทำนองนี้ ก็ส่งไปสู่สำนักของสามเณรผู้มีอายุ ๗ ขวบ ผู้ใหม่

    กว่าสามเณรทั้งหมด ซึ่งนั่งทำกรรมคือการเย็บผ้าอยู่ในที่พักกลางวัน.

    พระเถระทั้งหลายนำมานะของท่านออกได้ ด้วยอุบายอย่างนี้.



    พระโปฐิละหมดมานะ

    พระโปฐิละนั้น มีมานะอันพระเถระทั้งหลายนำออกแล้ว

    จึงประคองอัญชลีในสำนักของสามเณรแล้วกล่าวว่า

    " ท่านสัตบุรุษ ขอท่านจงเป็นที่พึ่งของผม."

    สามเณร. ตายจริง ท่านอาจารย์ ท่านพูดอะไรนั่น, ท่านเป็น

    คนแก่ เป็นพหูสูต, เหตุอะไร ๆ พึงเป็นกิจอันผมควรรู้ในสำนักของท่าน

    พระโปฐิละ. ท่านสัตบุรุษ ท่านอย่าทำอย่างนี้,

    ขอท่านจงเป็นที่พึ่งของผมให้ได้.

    สามเณร. ท่านขอรับ หากท่านจักเป็นผู้อดทนต่อโอวาทได้ไซร้, ผมจักเป็นที่พึ่งของท่าน.

    พระโปฐิละ. ผมเป็นได้ ท่านสัตบุรุษ, เมื่อท่านกล่าวว่า ' จงเข้า

    ไปสู่ไฟ,' ผมจักเข้าไปแม้สู่ไฟได้ทีเดียว.



    พระโปฐิละปฏิบัติตามคำสั่งสอนของสามเณร

    ลำดับนั้น สามเณรจึงแสดงสระ ๆ หนึ่งในที่ไม่ไกล แล้วกล่าวกะ

    ท่านว่า " ท่านขอรับ ท่านนุ่งห่มตามเดิมนั่นแหละ จงลงไปสู่สระนี้."

    จริงอยู่ สามเณรนั้น แม้รู้ความที่จีวรสองชั้นซึ่งมีราคามาก อันพระเถระ

    นั้นนุ่งห่มแล้ว เมื่อจะทดลองว่า " พระเถระจักเป็นผู้อดทนต่อโอวาทได้

    หรือไม่" จึงกล่าวอย่างนั้น. แม้พระเถระก็ลงไปด้วยคำ ๆ เดียวเท่านั้น.

    ลำดับนั้น ในเวลาที่ชายจีวรเปียก สามเณรจึงกล่าวกะท่านว่า " มาเถิด

    ท่านขอรับ" แล้วกล่าวกะท่านผู้มายืนอยู่ด้วยคำๆ เดียวเท่านั้นว่า " ท่าน

    ผู้เจริญ ในจอมปลวกแห่งหนึ่ง มีช่องอยู่ ๖ ช่อง, ในช่องเหล่านั้น เหี้ย

    เข้าไปภายในโดยช่อง ๆ หนึ่ง บุคคลประสงค์จะจับมัน จึงอุดช่องทั้ง ๕

    นอกนี้ ทำลายช่องที่ ๖ แล้ว จึงจับเอาโดยช่องที่มันเข้าไปนั่นเอง; บรรดา

    ทวารทั้งหก แม้ท่านจงปิดทวารทั้ง ๕ อย่างนั้นแล้ว จงเริ่มตั้งกรรมนี้ไว้

    ในมโนทวาร." ด้วยนัยมีประมาณเท่านี้ ความแจ่มแจ้งได้มีแก่ภิกษุผู้

    เป็นพหูสูต ดุจการลุกโพลงขึ้นแห่งดวงประทีปฉะนั้น. พระโปฐิละนั้น

    กล่าวว่า " ท่านสัตบุรุษ คำมีประมาณเท่านี้แหละพอละ" แล้วจึงหยั่งลง

    ในกรชกาย๒ ปรารภสมณะธรรม.



    ทางเจริญและทางเสื่อมแห่งปัญญา

    พระศาสดาประทับนั่งในที่สุดประมาณ ๑๒๐ โยชน์เทียว ทอด

    พระเนตรดูภิกษุนั้นแล้วดำริว่า " ภิกษุนั้นเป็นผู้มีปัญญา (กว้างขวาง)

    ดุจแผ่นดิน ด้วยประการใดแล; การที่เธอตั้งตนไว้ด้วยประการนั้นนั่นแล

    ย่อมสมควร." แล้วทรงเปล่งพระรัศมีไป ประหนึ่งตรัสอยู่กับภิกษุนั้น

    ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

    ๕. โยคา เว ชายตี ภูริ อโยคา ภูริสงฺขโย

    เอตํ เทฺวธา ปถํ ญตฺวา ภวาย วิภวาย จ

    ตถตฺตานํ นิเวเสยฺย ยถา ภูริ ปวฑฺฒติ.

    " ปัญญาย่อมเกิดเพราะการประกอบแล, ความ

    สิ้นไปแห่งปัญญาเพราะการไม่ประกอบ, บัณฑิตรู้

    ทาง ๒ แพร่ง แห่งความเจริญและความเสื่อมนั่น

    แล้ว พึงตั้งตนไว้โดยประการที่ปัญญาจะเจริญขึ้นได้."​
     
  6. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    กรรมที่ทำให้เป็นมารเพราะมิจฉาทิฐิ เพราะไม่รู้ในมิจฉาทิฐินั้นว่าเป็นยังไง เพราะสำคัญตนผิดว่าเป็นนั่นว่าเป็นนี่ก่อกรรมทำอกุศลเพราะหลงผิด ด้วยมิจฉาทิฐิจึงเป็นมาร มารในที่นี้เป็นมาร หมายถึง ผู้เป็นมิจฉาทิฐิ อย่างแท้จริง คิดเห็นสิ่งใดก็จะกำหนดให้เข้ากับความคิดตนไม่ยอมความให้ผู้หนึ่งผู้ใดเหล่านี้เรียกว่า ความเป็นมารได้สิงสู่ใจเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เอาเพียงหากยังเห็นว่าตนนั้นดีกว่าผู้หนึ่งผู้ใด เหนือกว่าผู้หนึ่งผู้ใด อยู่นั้น หากยังสำคัญผิดคิดว่าทำแบบนั้นแล้ว เป็นกุศลกรรม เป็นกุศลจิตแล้ว ผู้นั้นหละจักเป็นมารเสียเองโดยไม่รู้เนื้อรู้ตัวเลย ทั้งหมดเกิดจากความสำคัญตนผิดๆมาโดยตลอด เห็นกลับด้านกับสัมมาทิฐิมาโดยตลอด หรือเรียกว่า เป็นมิจฉาทิฐิ โดยความไม่รู้อย่างไม่ลดละ เป็นแล้วเป็นอีกและพอใจในสิ่งที่เป็นนั้นว่าเป็นสิ่งดี คนเมื่อมีมิจฉาทิฐิแล้ว การจะไม่มีอิจฉา ริษยา ถือตัว ถือตนและอื่นๆอีกมากมายนั้น ไม่ใช่ฐานะจะเป็นไปได้เลย นี่แหละคือเหตุแห่งการมีการเป็น มาร<!-- google_ad_section_end -->
     
  7. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    แต่คนเราเนี่ยแปลก หากไม่ถูกใจใครก็จะไปกล่าวว่าเขาเป็นมารเพราะเขาไปขัดขวางการทำกุศลของตน คนชนิดนี้แหละที่น่ากลัวเพราะเหตุว่า กุศลกับอกุศลที่มีในตนเองยังแยกไม่ออก แล้วยังคิดว่าทำกุศลด้วยการนำธรรมต่างๆนานามาสาธยาย และเมื่อมีผู้ขัดแย้งกับตนทั้งๆที่ยังไม่ได้พิจารณาหาเหตุและผลของข้อโต้แย้ง ยังไม่พิจารณาถึงเหตุและผลของการโต้แย้ง เหตุที่ไม่พิจารณาเพราะถือตัวถือตนว่าสิ่งที่ตนเองคิดนั้นต้องถูกต้องที่สุดผู้อื่นนั้นผิดหมด อาการอย่างนี้ความรู้สึกอย่างนี้หากเรียกว่ากุศลได้อีก ก็แสดงว่า เป็นผู้ไม่รู้จักกุศลและอกุศล อย่างถ่องแท้เลย ดังนั้นการจะพิจารณาสิ่งใดควรจะพิจารณารับฟังให้ถึงที่สุด เพราะสาเหตุที่ไม่สามารถตอบได้อธิบายได้ให้ความกระจ่างได้นั้น มีเพียงความไม่รู้เท่านั้น ความไม่รู้ไม่ใช่ความผิด แต่ความไม่รู้จะนำพาให้รู้ได้เมื่อพิจารณา เหตุที่ทุกคนนั้นกลัวในสิ่งที่ยังไม่รู้ และถือในสิ่งที่รู้แล้วว่าเป็นสิ่งที่เลิศกว่าใคร ดังนี้แล้ว การจะเห็นว่า ตนเหนือกว่าผู้อื่น เห็นผู้อื่นแย่กว่า เห็นว่าการขัดแย้ง การตำหนิติเตียน เป็นของฝ่ายอื่นที่ต่ำกว่าตน เป็น มาร บ้าง เป็นเดรัจฉาน บ้าง เป็นเปรต บ้าง ควรแล้วหรือที่จะพึงคิดกับผู้อื่นผู้ใดเช่นนั้น
    หากยังมีการสำคัญตนผิดอยู่เช่นนี้ ก็ไม่แปลกอะไร เพราะมารก็จะยังคงมีอย่างไม่มีวันหมด จะมีอยู่อย่างนี้ทุกยุคทุกสมัย เพราะการที่ไม่ยอมรับความคิดเห็นใคร อาศัยเพียงความคิดเห็นตน เห็นตนเหนือผู้อื่นอย่างนี้ เรียกว่า มิจฉาทิฐิ เช่นเดียวกัน
    <!-- google_ad_section_end -->
     
  8. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    จิตหนอจิต เป็นสิ่งสูงส่งก็ได้ เป็นสิ่งต่ำทรามก็ได้ ไม่มีใครทำให้เขาเป็นได้ ด้วยตัวเขาเอง ทุกสิ่งในโลก ในจักรวาลนี้มันมีสองด้านเสมอ แม้จะเห็นชัดเจนในด้านหนึ่งแต่อีกด้านหนึ่งแม้ไม่เห็นก็ใช่ว่าจะไม่มี เช่นเดียวกับจิตใจคน เมื่อจิตที่เป็นกุศลมีมากกว่าเพราะทำเพราะสร้างไม่ใช่เพราะรอแล้ว ด้วยสิ่งที่รู้ตามสติปัญญาตน จิตที่เป็นอกุศลย่อมไม่เกิดขึ้นเป็นธรรมดา ทำสิ่งใดก็เป็นบุญเป็นกุศล เหมือนเมื่อพระอาทิตย์ขึ้นความมืดก็หายไป ดังนั้นคนเราก็ควรจะทำจิตใจตนให้สว่างเหมือนกับเวลาเมื่อพระอาทิตย์ขึ้นให้บ่อยๆ ให้มากๆอย่าเผลอไป เพราะหากเผลอไปก็กลายเป็นตอนมืด มีความมืดมิดเหมือนกับอกุศลเป็นใหญ่ในจิตแล้วย่อมจะมีแต่ความมืดมิด เห็นอะไรก็เพียงลางๆ เห็นอย่างชัดเจนไม่ได้เพราะมันเป็นเงื่อนไขของความมืดที่มีผลต่อสิ่งต่างๆ เช่นเดียวกันเมื่อจิตเป็นอกุศลเห็นสิ่งใดก็เห็นเพียงลางๆ รู้สิ่งใดก็รู้เพียงลางๆ แต่นั่นแหละ เพราะกรรมของแต่ละคนต่างกัน บางคนชอบอยู่ที่สว่าง บางคนชอบอยู่ที่มืด มันเป็นของเฉพาะตนจริงๆ
    หากคิดว่าหลอกด่าก็ได้ แต่หากคิดว่าหลอกสอนก็ได้ หรือหากจะคิดว่าหลอกให้คิดพิจารณาก็ได้ เพราะสุดท้ายตนเองนั่นแหละเป็นผู้เลือกว่า จะอยู่ในที่ๆใดตามที่ตนต้องการ
    <!-- google_ad_section_end --> <!-- / message -->
     
  9. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ความเข้ากันได้โดยธาตุ โดยอัธยาศัย

    วันหนึ่ง พระพุทธองค์ประทับ ณ ภูเขาคิชกูฏ วันนั้นพระสารีบุตรกำลังเดินจงกรม (เดินกลับไปกลับมาเพื่อพักผ่อนหรือพิจารณาธรรม) อยู่กับภิกษุผู้เป็นบริวารจำนวนมาก พระมหาโมคคัลลานะ, พระมหากัสสป, พระอนุรุทธ์, พระปุณณะ มันตานีบุตร พระอานนท์ และพระเทวทัต ก็กำลังเดินจงกรมอยู่กับภิกษุผู้เป็นบริวารจำนวนมาก

    พระผู้มีพระภาคตรัส กับภิกษุทั้งหลายว่า

    “ดูเถิดภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรจงกรมอยู่กับภิกษุเป็นอันมาก ภิกษุเหล่านั้นล้วนมีปัญญามากทั้งสิ้น ที่จงกรมอยู่กับมหาโมคคัลลานะ ล้วนมีฤทธิ์ กับมหากัสสปล้วนเคร่งครัดในธุดงค์ กับอนุรุทธ์ล้วนมีทิพยจักษุ กับปุณณะล้วนเป็นธรรมธึก กับอานนท์ล้วนเป็นพหูสูตร กับอุบาลีล้วนทรงวินัย แต่ที่จงกรมอยู่กับเทวทัตล้วนมีความปรารถนาลามกทั้งสิ้น
    ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย ย่อมเข้ากันได้ด้วยธาตุ ด้วยอัธยาศัย (อธิมุตติ) สัตว์ผู้มีอัธยาศัยทรามย่อมเข้ากันได้กับผู้มีอัธยาศัยทราม ผู้มีอัธยาศัยประณีตย่อมเข้ากันได้กับผู้มีอัธยาศัยประณีต เรื่องทำนองนี้ได้มีมาแล้วในอดีต กำลังเป็นอยู่ในปัจจุบัน และจักเป็นต่อไปในอนาคต เปรียบเหมือนอุจจาระเข้ากับอุจจาระ น้ำลายเข้ากับน้ำลาย เลือดเข้ากับเลือด น้ำนมเข้ากับน้ำนม และน้ำตาลเข้ากับน้ำตาล ฯ ”

    พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๘
    สังยุตตนิกาย นิทานวรรค ธาตุสังยุตต์ ทุติยวรรค
    จังกมสูตร


    ๕. จังกมสูตร
    [๓๖๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ เขต
    พระนครราชคฤห์ ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระสารีบุตรจงกรมอยู่ด้วยกันกับ
    ภิกษุหลายรูปในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค ท่านพระมหาโมคคัลลานะก็จงกรม
    อยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูป ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค ท่านพระมหากัสสปก็
    จงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค ท่านพระอนุรุทธก็
    จงกรมอยู่ ด้วยกันกับภิกษุหลายรูป ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค ท่านพระปุณณ-
    มันตานีบุตรก็จงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูป ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค ท่าน
    พระอุบาลีก็จงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูป ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค ท่าน
    พระอานนท์ก็จงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูป ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค แม้
    พระเทวทัตต์ก็จงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูป ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค ฯ
    [๓๖๖] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกร-
    ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเห็นสารีบุตรกำลังจงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปหรือ
    ไม่ ฯ
    ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เห็น พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหมดนี้ ล้วนมีปัญญามาก พวกเธอเห็น
    มหาโมคคัลลานะกำลังจงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปหรือไม่ ฯ
    ภิ. เห็น พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ภิกษุทั้งหมดนี้ ล้วนมีฤทธิ์มาก พวกเธอเห็นมหากัสสปกำลัง
    จงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปหรือไม่ ฯ
    ภิ. เห็น พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ภิกษุทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นธุตวาท พวกเธอเห็นอนุรุทธ กำลังจงกรม
    อยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปหรือไม่ ฯ
    ภิ. เห็น พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ภิกษุทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นผู้มีทิพยจักษุ พวกเธอเห็นปุณณมันตานีบุตร
    กำลังจงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปหรือไม่ ฯ
    ภิ. เห็น พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ภิกษุทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นธรรมกถึก พวกเธอเห็นอุบาลีกำลังจงกรม
    อยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปหรือไม่ ฯ
    ภิ. เห็น พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ภิกษุทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นผู้ทรงวินัย พวกเธอเห็นอานนท์ กำลัง
    จงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปหรือไม่ ฯ
    ภิ. เห็น พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ภิกษุทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นพหูสูต พวกเธอเห็นเทวทัตต์กำลังจงกรม
    อยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปหรือไม่
    ภิ. เห็น พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ภิกษุทั้งหมดนี้ ล้วนมีความปรารถนาลามก ฯ
    [๓๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน
    โดยธาตุเทียว คือสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับ
    สัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว สัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี ย่อมคบค้ากัน ย่อม
    สมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี แม้ในอดีตกาล สัตว์ทั้งหลายก็ได้
    คบค้ากันแล้ว ได้สมาคมกันแล้ว โดยธาตุเทียว คือสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว
    ได้คบค้ากันแล้ว ได้สมาคมกันแล้ว กับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว สัตว์จำพวก
    ที่มีอัธยาศัยดี ได้คบค้ากันแล้ว ได้สมาคมกันแล้ว กับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี
    แม้ในอนาคตกาล สัตว์ทั้งหลายก็จักคบค้ากัน จักสมาคมกัน โดยธาตุเทียว
    คือสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว จักคบค้ากัน จักสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มี
    อัธยาศัยเลว สัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี จักคบค้ากัน จักสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่
    มีอัธยาศัยดี แม้ในปัจจุบันกาล สัตว์ทั้งหลายก็ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน โดย
    ธาตุเทียว คือสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับ
    สัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว สัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคม
    กันกับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี ฯ

    จบสูตรที่ ๕
    อนุโมทนากับท่านผู้อ่านทุกท่านครับ<!-- google_ad_section_end -->
     
  10. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ดังนั้นการจะมั่นใจว่าผลนั้นเป็นจริงได้ จึงควรมีการทำซ้ำเพื่อให้แน่ใจ และในผู้ที่ยังไม่รู้ผลก็ควรทำด้วยปัญญาแก้ไข ในทุกขณะ เรียกว่า ช๊อตต่อช๊อต อย่าพึ่งแน่ใจในผลสิ่งต่างๆในครั้งเดียว เพราะมันจะพาให้หลง ยกตัวอย่างเช่น เกิดนิมิตขึ้นว่าตนเป็นนั่นตนเป็นนี่ พอออกจากสมาธิ ก็เข้าไปใหม่อีกทีสิแล้วพิจารณาว่านิมิตนั้นจะเกิดขึ้นอีกไหม ทำหลายๆครั้งหากไม่เกิด แล้วใจไปเกาะเกี่ยวครุ่นคิดสงสัยว่าทำไมมันถึงไม่เห็นเป็นอย่างเดิม นั่นแสดงว่า มันไม่ได้เป็นความจริงเป็นนิมิตแห่งความคิด เป็นผลของกิเลส และเหตุที่ครุ่นคิดนั้นก็เพราะว่าเกิดวิจิกิจฉา ก็จะเป็นอันทำให้การปฏิบัติธรรมนั้นไม่ได้ผลอย่างที่ควร นี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำไมต้องพิจารณาอยู่เนืองๆ ในสิ่งที่ผุดขึ้นมาในจิตใจ จึงจะเรียกว่า เกิดปัญญา รู้ว่าเหตุมาจากอะไร
    อนุโมทนาครับ
     
  11. ชื่อใหม่นะ5

    ชื่อใหม่นะ5 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2020
    โพสต์:
    917
    ค่าพลัง:
    +346
    ถ้าเรื่องความซ้ำซาก ก็เคยพูดไปแล้ว คนไหนซ้ำซากแบบไหนลองทบทวนดูครับ เช่นเดิม ในนั้นอ่านดีดีก็มีประโยชน์ อ่านไม่ดีเป็นโทษต่อตนเอง
     
  12. กระร่อน

    กระร่อน จิตฺเตน นียติ โลโก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2020
    โพสต์:
    8,909
    ค่าพลัง:
    +994
    ผมกะเคยสงสัยนะข้าวกินมาแต่เด็กละ
    ทำมัยทุกวันนี้ยังต้องกินข้าวอยู่
     
  13. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,069
    ค่าพลัง:
    +372
    ตอนนี้รู้ยังวะร่อน เอามาอ่านเตือนจิตนะ ถ้าศรัทธาหรือยังศรัทธา
     

แชร์หน้านี้

Loading...