ซ้ำๆซากๆแต่เกิดปัญญา กับ ซ้ำๆซากๆแต่ไม่เกิดปัญญา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย kengkenny, 6 เมษายน 2010.

  1. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ข้อแรกคือ คำว่า ซ้ำๆซากๆ หมายถึงอะไร คำว่า ซ้ำๆซากๆหมายถึง ทำบ่อยๆ ทำมากๆ ทำไปเรื่อยๆ ไม่ว่าผิดหรือถูกอย่างไร ก็ทำไป พอทำไปๆนานๆ มันจะรู้เองว่า มันไม่ใช่ต้องหาวิธีแก้ไข ไม่ใช่ดันทุรังทำไปเรื่อยๆ เป็นนักปฏิบัติต้องรู้จักสังเกต สังเกตอะไร ก็สังเกตสิ่งที่เป็นผลของการกระทบ อาจเป็นทางด้านอารมณ์ ความรู้สึก สติสัมปัชชัญญะ เป็นต้น ยกตัวอย่างเช่น นักวิทยาศาสตร์ ขึ้นชื่อว่านักวิทยาศาสตร์ ย่อมเป็นผู้มีใจชอบเรียนรู้ค้นหา สร้างสรรค์ดัดแปลง และทดลอง พิสูจน์ ความคิดต่างๆเหล่านั้น เราเคยเห็นไหมว่า ใครกันที่คิดเพียงครั้งเดียวแล้วทำแล้วสำเร็จเลยในความคิดและการพิสูจน์สิ่งต่างๆเหล่านั้น ก็ไม่มี นั้นเป็นความจริง เพราะกว่าจะมีเทคโนโลยีต่างๆก็อาศัยความซ้ำๆซากๆ แต่ว่าแบบเกิดปัญญา คือ รู้เหตุรู้ผล จึงทำให้สามารถแก้ไขปรับปรุงพัฒนาสิ่งต่างๆให้เกิดให้มีขึ้นได้ แล้วเราเคยเห็นคนแบบอื่นไหมซึ่งก็มี ทำไปเรื่อยๆ ไม่คิดอะไร ทำไปเรื่อยๆ พอมีคนถามว่า เป็นยังไง ทำได้ไหม ก็ตอบว่า ไม่ได้เลยไม่เห็นได้เลย เขาก็ถามต่อไปอีกว่า แล้วทำยังไงละ เขาก็ตอบว่า ก็ทำแบบเดิมซ้ำๆซากๆ คนถามก็ถามกลับไปว่า แล้วไม่คิดจะแก้ไขอะไรบ้างเลยเหรอ คนตอบก็นั่งงง ตัวอย่างนี้ คงเคยเห็นกันทุกคนใช่ไหมครับ ดังนั้น การทำสิ่งใดก็ตามนั้นไม่ใช่เพียงแค่ครั้งสองครั้งแล้วบอกว่าได้บอกว่าใช่ หรือบอกว่าไม่ได้หรือบอกว่าไม่ใช่ ตัวอย่างมีให้เห็นมากมายในอดีต แม้แต่นักวิทยาศาสตร์ใหญ่ๆ อย่าง ไอสไตน์ และใครต่อใครอีกหลายคน หากเราเอะใจพิจารณาสักนิดด้วยสติอย่างที่เรียกว่า เป็นจริงตามจริง ก็จะพบว่า แต่ละสิ่งแต่ละอย่างในด้านดีนั้น กว่าจะเกิดกว่าจะมีได้ อาศัยระยะเวลา และความซ้ำๆซากๆมาไม่รู้เท่าไหร่ เหมือนกับ ยารักษาโรค ถ้ารักษาได้ถูกโรคดีไหม ก็ต้องตอบว่าดี แต่ใครรู้บ้างว่ากว่าจะเป็นยารักษาโรคนั้นๆ อาศัยสิ่งใด นี้เป็นสิ่งที่ยกไว้เพื่อพิจารณาเพื่อให้เกิดกำลังใจ ในการปฏิบัติ
    ข้อสอง คือ ปัญญา หมายถึงอะไร คำว่า ปัญญา หมายถึง เมื่อเรามองเห็นปัญหาแล้วเราแก้ไขอธิบายได้นั่นแหละคือปัญญา และถามว่าปัญญามันมายังไงอยู่ๆมันก็มาอย่างนั้นเหรอ ถามตัวเองดูว่าเป็นไปได้ไหม นั่งๆนอนๆเดินๆยืนๆ ปัญญามันจะมาเหรอ ก็ต้องถามตัวเองดู ในทางโลกก็พบเห็นได้จากผู้เป็นนักวิจัยนักวิทยาศาสตร์ ที่ค้นคว้าสิ่งต่างๆ ใครอาจจะเถียงว่า นั่นปัญญาทางโลกนี่ แต่ถามคนเถียงหน่อยสิว่า สาเหตุของปัญญาทางโลกกับปัญญาทางธรรม นั้นแม้จะแตกต่างกัน แต่ความเหมือนกันคือ ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะความซ้ำๆซากๆที่ไม่มีสาระ ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะความซ้ำๆซากๆ ที่ขาดการพิจารณา ถ้าเรามองว่า วิทยาศาสตร์ยากเพราะเป็นกายภาพ ที่เป็นสมมุติ แล้วพุทธศาสตร์ ยิ่งไม่ยากกว่าเหรอ เพราะเป็น นาม ที่เป็นสมมุติ วิทยาศาสตร์หาเหตุผลเพื่อตอบโจทย์หรือพิสูจน์สมมุติ พุทธศาสตร์ ก็เช่นเดียวกัน หากพอมองเห็นภาพ ก็จะพบว่า มาจากความคิดคล้ายๆกัน นั่นคือ ไม่ได้ทำครั้งหรือสองครังแล้วได้ ไม่ได้ทำแบบเดิมๆ ซ้ำๆซากๆ อย่างไม่พินิจพิจารณาเหตุผล ต่างๆแล้วได้ ใครบ้างเคยสังเกต วิธีการคิดของนักวิทยาศาสตร์ เวลาเขาคิดก็มักจะคิดสิ่งใหม่ๆ แต่อาศัยรากฐานจากสิ่งเดิมๆ หรือเรียกว่า ต่อยอด พุทธศาสตร์ ก็เช่นกัน แต่จะมีการต่อยอดได้ก็จะต้องรู้ว่าตนเองอยู่ตรงไหนเสียก่อน ไม่ใช่อยู่ๆจะไปบนยอด หรือจะอยู่ตรงไหนก็ได้ เพราะพระธรรมในพระพุทธศาสนา นั้นกว้างใหญ่ไพศาลยิ่งนัก ดังนั้น ปัญญาคือ เหตุผลที่จะอธิบายสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นได้ด้วยสติปัญญาอย่างถูกต้องและเป็นที่ยอมรับโดยพร้อมกัน ทางโลกและทางธรรม คล้ายกันมากเลย ขอให้พินิจพิจารณา ให้ดีๆในเนื้อความนี้ แล้วเราทั้งหลาย จะได้มีกำลังใจในการปฏิบัติ แบบซ้ำๆซากๆแต่เกิดปัญญา ไม่ใช่ปฏิบัติแบบซ้ำๆซากๆแต่ไม่ได้ปัญญา
    ขอทุกท่านเจริญในธรรมครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 เมษายน 2010
  2. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ส่วนเรื่อง อะไรคือสิ่งที่ทำซ้ำๆซากๆนั้น ก็ไม่คิดว่าจะเป็นการรบกวนขอให้นักปฏิบัติทุกท่าน พิจารณาดูว่า สิ่งนั้นคืออะไร หากว่าด้วยธรรมปฏิบัติ ในพระสัทธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระสมณโคดมเจ้าของเราทุกๆคน
    อนุโมทนาครับ
     
  3. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    ซ้ำๆ ซากๆ และ ฟุ้งซ่าน วนเวียน วกวน
     
  4. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    ขออธิบายให้ฟังหน่อยว่า การปฏิบัติธรรม ไม่ใช่เรื่องความซ้ำซาก

    ความซ้ำซากมันเกิดจาก ใจของคนที่คิดว่า ตนรู้แล้ว มีเพียงเท่านี้ ทำซ้ำๆ ซากๆไป

    นั่นเขาเรียกว่า คนที่ ไม่เข้าใจธรรม วนเวียนแต่กับ สัญญาตนเอง

    มีคนๆ หนึ่ง เคยบอกว่า หลวงตามหาบัว พูดจาซ้ำไปซ้ำมา ผมก็เลยบอกไปว่า

    พิจารณาให้ดี ธรรมของหลวงตา ลึกซึ้ง พิจารณาลึกลงไป ก็เห็น ลึกซึ้งตามภูมิจิตของตน

    และ เราอย่าไปคิดว่า ธรรมของ พระอริยะเป็น ธรรม ซ้ำซาก

    คนปฏิบัติธรรมเป็น จะเห็น ความลึกซึ้ง และ น่าอัศจรรย์ ไปตามลำดับลำดา ไม่ใช่เห็นความซ้ำซาก

    ความซ้ำซากจะเกิดขึ้นกับ คนที่ ไม่ก้าวหน้า หรือ เรียกว่า เดินย่ำอยู่กับที่

    อริยสัจ มี 4 อย่าง
    พรหมวิหารมี 4 อย่าง

    แบบนี้ไม่ได้เรียกว่า ความซ้ำซาก แต่เรียกว่า หลักธรรม

    ต้องรุ้จักแยกคำว่า หลักธรรม และ ความซ้ำซาก
     
  5. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    [​IMG] [​IMG][​IMG]

    พระอรหันต์แห่งยุค อันเป็นเนื้อนาบุญ
    พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 เมษายน 2010
  6. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ร่วมกันพิจารณาครับ แต่เมื่อเกิดปัญญา มันก็เป็นเรื่องของใครของมัน ไม่มีใครช่วยใครได้ ต้องพิจารณาด้วยตนเองครับ ถ้าปัญหาคือกิเลส แล้วปัญญาคืออะไร ต้องทำอย่างไร จึงเกิดปัญญา ก็พิจารณากันเอาเองครับ
     
  7. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    บารมี ๓๐ ทัศ (แบบครูบาศรีวิชัย)

    ทานะ ปาระมี สัมปันโน , ทานะ อุปะปารมี สัมปันโน , ทานะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

    สีละ ปาระมี สัมปันโน , สีละ อุปะปารมี สัมปันโน , สีละ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
    เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

    เนกขัมมะ ปาระมี สัมปันโน , เนกขัมมะ อุปะปารมี สัมปันโน , เนกขัมมะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

    ปัญญา ปาระมี สัมปันโน , ปัญญา อุปะปารมี สัมปันโน , ปัญญา ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

    วิริยะ ปาระมี สัมปันโน , วิริยะ อุปะปารมี สัมปันโน , วิริยะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

    ขันตี ปาระมี สัมปันโน , ขันตี อุปะปารมี สัมปันโน , ขันตี ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
    เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

    สัจจะ ปาระมี สัมปันโน , สัจจะ อุปะปารมี สัมปันโน , สัจจะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

    อะธิฏฐานะ ปาระมี สัมปันโน , อะธิฏฐานะ อุปะปารมี สัมปันโน , อะธิฏฐานะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

    เมตตา ปาระมี สัมปันโน , เมตตา อุปะปารมี สัมปันโน , เมตตา ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

    อุเปกขา ปาระมี สัมปันโน , อุเปกขา อุปะปารมี สัมปันโน , อุเปกขา ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

    ทะสะ ปาระมี สัมปันโน , ทะสะ อุปะปารมี สัมปันโน , ทะสะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโนเมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

    พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ นะมามิหัง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 เมษายน 2010
  8. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500

    <TABLE dir=ltr cellSpacing=0 cellPadding=7 width=553 border=1><TBODY><TR><TD vAlign=top colSpan=2 height=64>
    หลวงปู่บุดดา ตอบเรื่อง นิพพาน และจิต ​
    [FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]
    โพสท์ในพันธุ์ทิพย์ กระทู้ที่ ​
    [/FONT]​
    [/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]K1741909 [[/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]ศาสนา[/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]-[/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]ปรัชญา[/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]] [/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]โดยคุณ [/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]: [/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]เรรวน [/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]- [ 8 [/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New][/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New].[/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New][/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]. 45 21]

    [/FONT]
    [/FONT]
    <TABLE dir=ltr cellSpacing=0 cellPadding=7 width=552 border=1><TBODY><TR><TD vAlign=top width="50%" height=32>[FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]
    ศิษย์ ​
    [/FONT]​
    [/FONT]​
    </TD><TD vAlign=top width="50%" height=32>[FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]
    หลวงปู่ครับ นิพพานโลกุตระ เป็นอย่างไร ​
    [/FONT]​
    [/FONT]​
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="50%" height=64>[FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]
    หลวงปู่ ​
    [/FONT]​
    [/FONT]​
    </TD><TD vAlign=top width="50%" height=64>[FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]
    มันก็หมดอาสวะซิ อวิชชาไม่เหลือ ​
    [/FONT]​
    [/FONT]​
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="50%" height=32>[FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]
    ศิษย์ ​
    [/FONT]​
    [/FONT]​
    </TD><TD vAlign=top width="50%" height=32>[FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]
    จิตยังอยู่ไหมครับ ​
    [/FONT]​
    [/FONT]​
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="50%" height=97>[FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]
    หลวงปู่ ​
    [/FONT]​
    [/FONT]​
    </TD><TD vAlign=top width="50%" height=97>[FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]
    จิตปรมัตถ์ไป เจตสิกปรมัตถ์ รูปปรมัตถ์จิตยังอยู่ มันเกิด​
    [/FONT]​
    [/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]-[/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]ดับ มันเป็นสังคตะไป ไม่ใช่สัตว์ คน เป็นสังคตธรรมสังคตธรรมมีอยู่ อสังคตะธรรมมีอยู่ วิราคะธรรมมีอยู่ แต่ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่คน เท่านั้น [/FONT][/FONT]​
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="50%" height=32>[FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]
    ศิษย์ ​
    [/FONT]​
    [/FONT]​
    </TD><TD vAlign=top width="50%" height=32>[FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]
    หมดสมมุติ หมดความยึดถือใช่ไหมครับ ​
    [/FONT]​
    [/FONT]​
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="50%" height=226>[FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]
    หลวงปู่ ​
    [/FONT]​
    [/FONT]​
    </TD><TD vAlign=top width="50%" height=226>[FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]
    .​
    [/FONT]​
    [/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]ฮื้อ[/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]! [/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]มันไม่มีอาสวะ ไม่มีอวิชชาสวะ ไม่มีอวิชชาสังโยชน์ ไม่มีอวิชชานุสัย ล่ะก็ กิเลส กรรม วิบาก มันก็ไม่มี จิตไม่มีนาม[/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]-[/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]รูปของขันธ์แล้ว มันเหนือนาม[/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]-[/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]รูปของขันธ์แล้ว สังคตะมันเหนือขันธ์ ๕ วิราคะธรรมมันเหนือขันธ์ ๕ [/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]([/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]เหนือ คือ ไม่ถูกครอบงำ ไม่มีอุปาทานขันธ์ ย่อมไม่กลับกำเริบอีก[/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New])[/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]ขันธ์ ๕ ยังมีนามรูปติดต่อกันทางอายตนะธาตุนี่ ส่วนนิพพาน ปรมัตถ์นี้ไม่เกิดไม่ดับเป็นอสังคตะธรรม แต่ จิต เจตสิก รูป ปรมัตถ์นี้ยังเกิดดับเป็นสังคตะธรรม วิราคะธรรม ไม่มีราคะ หมดราคะถึงโลกุตระแล้วนั่น ไม่มีราคะโทสะ โมหะ เผาลนแล้ว [/FONT][/FONT]​
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="50%" height=32>[FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]
    ศิษย์ ​
    [/FONT]​
    [/FONT]​
    </TD><TD vAlign=top width="50%" height=32>[FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]
    เมื่อดับจิต แล้ว นิพพาน สูญ ไม่เหลืออะไรเลยหรือปล่าวครับ​
    [/FONT]​
    [/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New].. [/FONT][/FONT]​
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="50%" height=259>[FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]
    หลวงปู่ ​
    [/FONT]​
    [/FONT]​
    </TD><TD vAlign=top width="50%" height=259>[FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]
    นิพพาน ไม่สูญ เป็นแต่อาสวะกิเลสสูญ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน กรรม วิบาก มันสูญ แต่ สังคตะธรรม อสังคะธรรม วิราคะธรรม มันไม่ได้หมดไปด้วย บารมี ๓๐ ทัศน์ที่พระพุทธเจ้าสร้างเป็นของไม่ตาย แต่ว่าตัวบุญต้องเปลี่ยนแปลงไปจนกว่าพระโพธิสัตว์ตรัสรู้ เพราะถ้าเป็นตัวบุญอยู่กับพระเวสสันดรก็ไม่ตรัสรู้ซิ ก็ได้เป็นกษัตริย์ ไม่ตรัสรู้ซิ แต่เพราะสละหมดอย่างพระเวสสันดร เที่ยวออกค้นคว้าถึง ๖ ปี​
    [/FONT]​
    [/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]([/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]ซึ่งก็ต้องอาศัยบารมี อันเป็นนิสัยที่สั่งสมมา[/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]) [/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]จึงตรัสรู้ พระพุทธเจ้าบางองค์ก็อายุไม่เท่ากันมาองค์ปัจจุบันอายุ ๘๐ ปี [/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]([/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]แล้วแต่บารมี[/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]) ([/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]ทัศนะของผมในส่วนนี้คือ เมื่อสำเร็จอรหันต์แล้ว ก็นิพพานในปัจจุบันแล้ว
    ที่ว่าไม่สูญก็ตรงนี้ล่ะ และจิตเกิดดับเป็นปกติ ส่วนเรื่องนิพพานหลังตายผมไม่ออกความเห็น เพราะไม่รู้และก็ไม่มีใครถามหลวงปู่ไว้ตรงๆ[FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]) [/FONT][/FONT] ​
    [/FONT]​
    [/FONT]​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New][/FONT][/FONT]​
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="50%" height=32>
    ศิษย์ ​
    </TD><TD vAlign=top width="50%" height=32>[FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]
    .[/FONT][/FONT]ที่เขาว่าไปเที่ยวเมืองนิพพาน น่ะเขาไปกันได้จริงหรือป่าวครับ
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="50%" height=64>
    หลวงปู่ ​
    </TD><TD vAlign=top width="50%" height=64>[FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]
    .[/FONT][/FONT]เที่ยวได้แต่ปริยัติน่ะซิ พูดเอาภาคปริยัติก็เที่ยวได้ ภาคปฏิเวธเที่ยวได้ที่ไหนล่ะ มันมีบอกเมื่อไหร่ล่ะ
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="50%" height=32>
    ศิษย์ ​
    </TD><TD vAlign=top width="50%" height=32>[FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]
    .[/FONT][/FONT]แล้วอย่างมโนมยิทธิล่ะครับ
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="50%" height=421>
    หลวงปู่ ​
    </TD><TD vAlign=top width="50%" height=421>[FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]
    .[/FONT][/FONT]นั่นมันเรื่อง พุทธนิมิต ธรรมนิมิต สังฆนิมิต ก็ตามใจซิ ก็นิมิตมันมีอยู่ หลับตาลืมตาก็มี มีของพระอริยะเจ้า พระพุทธเจ้าก็แสดงพุทธนิมิต ธรรมนิมิต สังฆนิมิต ได้ ให้เห็นกันทั่ว กามโลก รูปโลก อรูปโลก ให้เขาได้เห็นกันเมื่อครั้งเสด็จลงจากดาวดึงส์นี่ ก็จิตนี่ล่ะมันรับธรรมะ นอกจากกายกับจิตแล้วจะเอาอะไรไปรับล่ะ กายกับจิตนี่ล่ะมันรองรับพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้ารู้นรก ๒ ชั้น นรกชั้นนอก นรกชั้นใน สวรรค์ชั้นนอก สวรรค์ชั้นใน นิพพานชั้นนอก นิพพานชั้นใน มันต้องมีภายนอกภายในพิสูจน์กันดู ดูนิพพานกันอย่างนี้ อ่านพระไตรปิฎกกันอย่างนี้ซินิพพานไม่ใช่รูปขันธ์ ไม่ใช่นามขันธ์ มันเหนือรูปขันธ์ นามขันธ์ สร้างบารมีมาก็เอาเป็นเครื่องมือ สร้างบารมีต่างหากล่ะ นามรูปนี่ตรัสรู้แล้วเอาไปเมื่อไหร่ล่ะ บารมี ๓๐ ทัศน์ ไม่ใช่ตัวขันธ์ ๕ มันเหนือขันธ์ ๕พระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วก็เหลือขันธ์ ๕ พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกทั้งหลายตรัสรู้ ละสังโยชน์ แล้วก็เหลือยังขันธ์ ๕ เขายังเขียนรูปโลกไว้ให้ดู แต่อยู่เหนือขันธ์ ๕
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    จากคุณ [FONT=Angsana New,Angsana New]: [/FONT]เรรวน [FONT=Angsana New,Angsana New]- [ 8 [/FONT]ก[FONT=Angsana New,Angsana New].[/FONT]ย[FONT=Angsana New,Angsana New]. 45 ] ​
    [/FONT]
     
  9. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    เจตนา
    [FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC][FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC]หลวงปู่หล้า เขมปัตโต วัดบรรพตคีรี [/FONT][/FONT][FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC][FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC]([/FONT][/FONT][FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC][FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC]ภูจ้อก้อ[/FONT][/FONT][FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC][FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC]) [/FONT][/FONT][FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC][FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC][/FONT][/FONT][FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC][FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC]. [/FONT][/FONT][FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC][FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC]คำชะอี จ[/FONT][/FONT][FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC][FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC]. [/FONT][/FONT][FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC][FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC]มุกดาหาร

    โพสท์ในลานธรรมเสวนา กระทู้ที่
    [/FONT]​
    [/FONT][FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC][FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC]007145 - [/FONT][/FONT][FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC][FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC]โดยคุณ [/FONT][/FONT][FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC][FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC]: [/FONT][/FONT][FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC][FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC]ไก่แก้ว [/FONT][/FONT][FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC][FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC][ 19 [/FONT][/FONT][FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC][FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC][/FONT][/FONT][FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC][FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC].[/FONT][/FONT][FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC][FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC][/FONT][/FONT][FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC][FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC]. 2545]

    [/FONT]
    [/FONT]
    [FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC][FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC]
    ผู้ปฏิบัติพระพุทธศาสนา ย่อมเป็นไปตามเจตนาของตน เจตนาเป็นแม่เหล็กดึงดูดสำคัญมาก เจตนาว่าโดยย่อก็มีสองจำพวก จำพวกที่ต้องการพ้นทุกข์ในสงสารโดยแท้ย่อมเป็นโลกุตระเจตนา เจตนานั้นเล่าไม่มีท่านผู้ใดจะรับรองเจตนาได้ จะเท็จจริงประการใดก็ต้องเอาเจ้าตัวเป็นพยาน เว้นไว้แต่พระอรหันต์ที่ทรงเจโตปริญญะญาณเท่านั้น จะรู้จักเจตนาของท่านผู้อื่นได้โดยชัดแจ้ง เหลือนอกนั้นคาดคะเนเดาด้นผิดๆถูกๆทั้งนั้น และก็เดาผิดและด้นผิดนั้นแหละเป็นส่วนมากนัก
    ถึงแม้ว่าจะเจตนาพ้นทุกข์ในสงสารโดยจริงจังก็ดี แต่ทว่าปฏิบัติผิดก็เนิ่นช้าอีก ถึงจะขยันหมั่นเพียรสักเพียงไรก็ตาม ถ้าปฏิปทาไปทางผิดแล้วก็ไม่คุ้มค่า ไม่สามารถบรรลุธรรมขั้นสูงได้โดยง่าย เช่นการเจริญกรรมะฐานไม่ถูกกับจริตเป็นต้น และข้อวัตรต่างๆบกพร่อง หรือขาดพระอาจารย์ที่ปฏิบัติถูกปฏิบัติชอบแนะนำ หรือขาดกัลยามิตรสหายที่ดีปลุกจิตใจให้ และสถานที่ไม่อำนวยอัตคัตฝืดเคืองเกินไป หรูหราเกลื่อนกล่นเกินไปไม่วิเวกวังเวงคลุกคลี
    จะอย่างไรก็ตาม เมื่อผู้หวังพ้นทุกข์ในสงสารโดยแท้แล้ว สิ่งที่ขัดข้องภายนอกแล้ว ย่อมเป็นเรื่องเล็กน้อยไป เพราะจะช้าหรือเร็วก็ไม่มีการถอยหลังเสียแล้ว หนักก็เอาเบาก็สู้ สู้ทั้งนั้น เพราะตีความหมายว่าสู้กับกิเลสของตน กิเลสนั้นมันชวนสู้ในสิ่งที่ไม่ควรสู้ มันชวนถอยในสิ่งที่ไม่ควรถอย มันมีมายามากกว่าล้านๆนัยยะ แต่ก็เหลือวิสัยของสติปัญญาไปไม่ได้ ที่ว่าบาปไม่ชนะบุญนั้นเป็นของจริงผูกขาดอยู่แต่ดึกดำบรรพ์แล้ว ไม่ต้องสงสัย
    เจตนาโลกุตระชนะเจตนาโลกีย์ไปไม่ขบถคืน ปัญหาของโลกีย์จะรวมพลมาจากไหน ก่อนจะเลื่อมใสในโลกุตระเล่าก็มิใช่ตื่นข่าว เป็นอจาระศรัทธาอยู่ในตัวแล้ว เห็นภัยเกิดแก่เจ็บตายวิโยคพลัดพราก จิปาถะสารพัดฝังใจอยู่มิได้คุ้นเชื่องพอที่จะลืมใจลืมธรรม
    ลืมตัวตนอะไรเลย ความเพลินในโลกใดๆก็ผยองไม่ขึ้น เป็นตัวศีลสมาธิปัญญากลมกลืนเป็นกองทัพธรรมสามัคคีอยู่ ไม่ได้แตกแยกกันไปเข้าตู้เข้าหีบภายนอกที่ไหน ยิ่งสำเหนียกพิจารณาติดต่อเนืองๆ สติปัญญาก็สูงขึ้น ฝนตกอยู่บ่อยๆ แผ่นดินก็ชุ่มน้ำก็ขังขึ้นขังขึ้น ภาชนะไม่รั่วหงายรับฝนทนไม่ได้ก็ต้องเต็มด้วยน้ำ พิจารณาไตรลักษณ์เห็นประจักษ์แจ้งพร้อมลมออกเข้าอยู่ พร้อมด้วยอู่สติปัญญาไม่สุ่มเดาคาดคะเนไม่เรียงแบบ เห็นแยบคายกลมกลืนกันในปัจจุบันของธรรมและจิตติดต่ออยู่ ไม่มีอันใดก่อนไม่มีอันใดหลัง เป็นพลังจิตพลังธรรมแน่นหนามั่นคง ตัวหลงๆเหลงๆอวิชชาตัญหาอุปาทานเป็นต้น มันจะขี่ช้างสูบบุหรี่ ถือขอถือง้าวมาจากทิศไหนอีกเล่า ขอแต่ว่าเชื่อธรรมเชื่อวินัยเชื่อจิตเชื่อใจเชื่อสติเชื่อปัญญาตอนนี้ให้พออย่าได้ส่งส่าย ความหน่ายความคลายความหลุดความพ้นไม่ต้องร้องเรียกหาก็ได้ ฯ
    ย้อนหลังคืนมาปรารภจำพวกผู้ที่อุปสมบทหรือบรรพชาในพระพุทธศาสนามา แต่มิได้มีเจตนาพ้นทุกข์โดยด่วนในปัจจุบันชาติ เพราะเหตุใดหนอ เพราะเหตุว่าบารมีในชาติก่อนยังอ่อนอยู่มากนัก ไม่สามารถจะหนุนในปัจจุบันชาติให้แข็งแกร่งแก่กล้าได้ ก็ต้องจำเป็นยินดีในม้าก้านกล้วยอยู่นั้นเอง เจตนาและความหวังพอเป็นนิสสัย พอใจเลื่อมใสในอนาคตตะกาล อนาคตตะกาลเบื้องหน้านั้นเทอญ ดังนี้เสมอๆ แต่ก็ยังดีกว่าท่านผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาลัทธิถือว่าไม่มีบาปไม่มีบุญอันหาประมาณมิได้ และยังดีกว่าท่านผู้เคารพนับถือนอกจากศาสนาพุทธไปอักโขอีก เรื่องท่านผู้อื่นเอามาฝืนปรารภไว้
    ไฉนจึงเอาเรื่องจำพวกท่านผู้อื่นมาปรารภไว้ จะไม่เป็นอวดดียกตนข่มท่านดอกหรือประการใดล่ะ คำว่าธรรมก็ต้องยกอุทธาหรณ์กล่าวทั่วไปบ้าง เราไม่ออกชื่อพรรคพวกบุคคลเป็นการไม่กระเทือนเลย แม้ถึงอย่างนั้นเรื่องดีเรื่องชั่วก็มีทั่วไปในคำสอนของพระพุทธศาสนา ประวัติที่ดีเด่นก็ประวัติพระอริยะ มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นต้น เรื่องที่เลวทรามก็มีเรื่องพระเทวทัตเป็นต้น ฯ พระปุคคละปัญญัติ ก็กล่าวถึงจำพวกบุคคลทั่วไป เรียกว่ากล่าวตามเป็นจริงมิได้ดูหมิ่นกล่าวเท็จ เพราะทางใดดีท่านผู้ต้องการดีจะได้พยายามปฏิบัติเอา ถ้าจะปรารภอันใดที่ดีไม่ได้ เกรงจะผิดใจแต่ผู้ชอบชั่ว คนดีก็สืบโลกไปไม่ได้ คนชั่วบางรายก็ถอนตัวมาเป็นคนดีได้ เพราะเห็นโทษในชั่วของตน คนชั่วก็มาจากคนดีเพราะดียังไม่แน่นอน ไม่เหมือนพระโสดาบัน พระโสดาบันดีไปไม่ถอยหลังจนถึงที่สุดทุกข์โดยชอบ โลกีย์ดีโลกีย์ชั่วเป็นของไม่แน่นอน หมุนเวียนเปลี่ยนไป

    มาสาละวนอยู่บรรดาท่านผู้เข้าสู่อนุปาทิเสสะนิพพานไปแล้ว ก็ไปจากชั่วมาจากชั่วทั้งนั้น พระเทวทัต ก็จะพ้นจากชั่วแล้ว จะไปพระปัจเจกในอนาคต ฯ ที่กล่าวว่าพระอรหันต์ไม่มีบาปไม่มีบุญนั้นเป็นของจริงแท้ เพราะเหตุว่า พระอรหันต์นั้นสร้างบุญเต็มแล้ว จะเอาบุญไปเทใส่จิตใจขององค์ท่านก็ไหลทิ้งเพราะเต็มแล้ว และองค์ท่านก็เว้นบาปพอแล้ว
    เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องควรเข้าใจให้ชัดทั้งนั้น มิฉนั้นแล้วจะทำตนให้เป็นสุขก่อนห่ามจะเลยเถิดแต่กิเลสความเดือดร้อนทางใจยังเป็นฟืนไฟเผาขันธสันดานอยู่ แล้วฟิตตัวเองให้อยู่เหนือบาป เหนือบุญแบบดื้อๆ บุญสร้างยังไม่พอ บาปก็เว้นหรือละยังไม่พอ ก็ย่อมอยู่เหนือบาปบุญยังไม่ได้ พระอรหันต์ประเภทใดๆก็ตาม ไม่มีขณะใจใดจะเดือดร้อนใจเท่าเม็ดงาขาริ้นเลย เพราะมารเดือดมารร้อนตามไม่ถึงใจพระอรหันต์ พระอรหันต์ทอดบังสกุลความเดือดร้อนทางจิตใจแล้วด้วยพระปัญญาญาณอันถ่องแท้ เป็นสัมมาญาณะแท้ไม่ปลอมแปลง เป็นสัมมาวิวุติแท้ ไม่มัดใจให้เดือดร้อน
    ท่านผู้ต้องการให้เหือดแห้งจากทะเลหลง ต้องพิจารณาวิปัสนาอยู่แบบบรรจงไม่ลดละได้ สมาธิล้วนๆนั้นไซร้พักอยู่ได้เป็นบางครั้งบางคราว หมดกำลังแล้วก็ถอนออกมา เพราะอยู่ใต้อำนาจอนิจจะตาอันละเอียด หัดให้รู้ทุกกระเบียดแห่งอานิสงส์ ไม่ยืนยงคงถาวรถ้านอนใจ จิตติดสมาธิมากไม่อยากจะพอใจพิจารณาสังขาร นิพพิทาญาณก็ไม่เปิดประตู เพราะมัวแต่สำคัญว่าดูเราสงบได้ ใจชนิดนั้นธรรมชนิดนั้นเป็นขั้นพระพรหมโลก ยังมิได้ข้ามโอฆะแห่งโลกสงสาร ตัวอุปาทานยังติดต้อยห้อยดูอยู่ เพราะไม่มีการต่อสู้นิ่งอยู่ในหลุมเพาะ ทางที่เหมาะอย่าได้พักในสมาธินาน เปรียบเหมือนคนทำงานเมื่อพักอยู่นาน งานก็นานเสร็จสิ้น เมื่อไม่พักเสียเลยก็ไม่ได้กำลัง จงระวังอย่าให้เนิ่นช้า มุงเรือนยังไม่ทันเสร็จนั้นนา เมื่อฝนตกชุกมาก็หอบผ้าตะลีตะลานหาที่กำบัง อนิจจังฯ ​
    [FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC][FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC]
    ************************ ​
    [/FONT]
    [/FONT]
    คัดลอกจากหนังสือ ​
    [FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC][FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC]"[/FONT][/FONT]ธรรมะหลวงปู่หล้า เขมปัตโต[FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC][FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC]"[/FONT][/FONT]วัดบรรพตคีรี [FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC][FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC]([/FONT][/FONT]ภูจ้อก้อ[FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC][FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC])[/FONT][/FONT][FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC][FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC]. [/FONT][/FONT]หนองสูงใต้ อ[FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC][FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC]. [/FONT][/FONT]หนองสูง จ[FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC][FONT=AngsanaUPC,AngsanaUPC]. [/FONT][/FONT]มุกดาหาร

    [/FONT]
    [/FONT]
     
  10. 2ชาติตรัสรู้

    2ชาติตรัสรู้ គ្រប់គ្រាន់ รักษาดวงใจ.គ្រប់គ្រាន់

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,697
    ค่าพลัง:
    +1,559
    อ่านเจอพระเทวทัติจะได้เป็นพระปัจเจกในอนาคตแน่นอน เพราะได้รับการพยากรจากพระพุทธเจ้าแล้ว แต่ตอนนี้อยู่ในอเวจีมหานรก อย่างนี้แปลว่าถึงจะได้รับการพยากรแล้ว ก็ยังมีโอกาสลงไปเกิดอยู่ในอเวจีมหานรกได้สินะนี่ อืมๆๆ
     
  11. จื่อหลิง

    จื่อหลิง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    294
    ค่าพลัง:
    +698
    แล้วเรื่องนึกบริกรรมพุทโธเรื่อยๆถ้ามีสติก็บริกรรมอยู่อย่างนั้น แบบนี้เป็นการทำซ้ำ ๆ ซาก ๆ เพื่อให้เกิดทั้งสมาธิและสติปัญญาใช่มั้ยครับ
     
  12. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    นรกขุมต่าง ๆ ที่สัตว์อุบัติเกิดในนรก มหานรก นรกขุมใหญ่ได้นามบัญญัติว่า มหานรก มีอยู่ทั้งหมด ๘ ขุมด้วยกัน ตั้งซ้อนเรียงรายกันอยู่เป็นชั้น ๆ ไป โดยมีรายนามตามที่ท่านบัญญัติไว้ดังต่อไปนี้

    --------------------------------------------------------------------------------
    สัญชีพนรก ๑.
    สัญชีพนรกห่างไกลจากมนุษย์โลกเรานี้ไปทางเบื้องต่ำภายใต้พื้นดินธรณีประมาณ ๑๕,๐๐๐ โยนช์ ปรากฏว่าสัญชีมหานรกประดิษฐานอยู่ สัตว์นรกในมหานรกขุมนี้มีอายุถึง ๕๐๐ ปี ของนรกขุมนี้ ๙ ล้านปีของเมืองมนุษย์ เป็นหนึ่งวันของเมืองนรกขุมนี้ แล้วก็เดือนหนึ่งมี ๓๐ วัน แล้วก็ปีหนึ่งมี ๑๒ เดือนเหมือนกัน ท่านลองคุณกันเล่น ๆ ก็แล้วกันว่ามันนานเท่าไหร่ เหล่าสัตว์ผู้ไปเกิดเป็นถึงแม้ว่าจะได้รับทุกข์โทษอย่างเสนสาหัสจนขาดใจตายไปแล้ว ก็กลับเป็นขึ้นมาอีกได้ หมายความว่า บุคคลผู้มีใจบาปหยาบช้าลามกซึ่งตายไปตกนรกขุมนี้แล้ว เขาก็จะคล้าย ๆ กับว่ามีตัวตนเป็นกายสิทธิ์ คือไม่มีวันที่จะตายกันเลย ถึงแม้จะได้รับโทษอย่างแสนสาหัสจนทนไม่ไหวขาดใจตายไปก็จริง ถึงกระนั้นก็ต้องมีชีวิตชีวา กลับเป็นขึ้นมารับทุกข์โทษต่อไปอีก ฉะนั้นมหานรกนี้จึงมีชื่อว่า สัญชีวมหานรก = นรกขุมใหญ่ซึ่งทำให้ไม่มีวันตาย



    --------------------------------------------------------------------------------
    กาฬปุตตะ ๒.
    กาฬปุตตะมหานรก ห่างไกลจากสัญชีวมหานรกลงไปภายใต้ประมาณได้ ๑๕,๐๐๐ โยชน์ สัตว์ที่เสวยทุกขเวทนาอยู่ถึง ๑,๐๐๐ ปีนรก ๓๖ ล้านปีมนุษย์ เป็นหนึ่งวันของเมืองนรกขุมนี้ นรกขุมนี้มีกรรมหนักกกว่า แล้วก็มีอายุมากกว่า สัญชีพนรกอีก ปรากฏว่ามีกาฬปุตตะมหานรกประดิษฐานอยู่เหล่าสัตว์ผู้ไปเกิดเป็นสัตว์นรกขุมนี้ ย่อมถูกลงโทษโดยนายนิรยบาลพากันเอาเส้นเหล็กเเดงลุกเป็นไฟมาตีให้เป็นเส้นดำเข้าตามร่างกาย แล้วก็เอาเลื่อยนรกมาเลื่อย หรือเอาขวานนรกมาผ่า หรือเอามีดนรกมาเฉือนกรีดไปตามรอยเส้นดำที่ตีไว้นั้น ไม่มีผิดรอยได้ ฉะนั้นมหานรกขุมนี้จึงมีชื่อว่า กาฬปุตตะมหานรก = นรกขุมใหญ่ซึ่งมีการลงโทษตามเส้นบรรทัดดำ



    --------------------------------------------------------------------------------
    สังฆาฏ ๓.
    สังฆาฏมหานรก ห่างไกลจากกาฬสุตตมหานรกลงไปภายใต้ประมาณ ๑๕,๐๐๐ โยชน์ นรกขุมนี้มีอายุ ๒,๐๐๐ ปีนรก ๑๔๕ ล้านปีของมนุษย์เท่ากับหนึ่งวันของนรกขุมนี้ปรากฏว่าสังฆฏมหานรกประดิษฐานอยู่เหล่าสัตว์นรกในมหานรกขุมนี้

    ย่อมถูกลงโทษโดยถูกภูเขาเหล็กแดงกลิ้งไปกลิ้งมา กลิ้งเข้าหากัน บดบรรดาสัตว์ทั้งหลายให้แหลกเหลวไป เมื่อภูเขาเหล็กเลยไปแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็กลับฟื้นคืนชีพขึ้นมาใหม่ คือร่างกายเต็มตามเดิม แล้วก็พากันวิ่งหนีภูเขาไฟแต่ก็มาเจอนายนิริยบาลตีด้วยค้อนบ้างแทงด้วยหอกบ้าง เลยต้องพากันวิ่งไปบนแผ่นเหล็กแดง ซึ่งมีไฟเผาลุกโชนอยู่ตลอดเวลา

    และข้างก็ภูเขาไฟกลิ้งมาทางพวกสัตว์นรกวิ่งต่างก็วิ่งย้อนมาทางเดิมก็ต้องมาเจอกับนายนิริยบาลเคยทุบตีเข้าให้อีก ได้รับความทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัสอยู่ตลอดเวลาไม่ว่างเว้น ฉะนั้นมหานรกขุมนี้จึงมีชื่อว่า สังฆฏมหานรก = นรกขุมใหญ่ซึ่งมีการลงโทษโดยมีภูเขาไฟบดขยี้ร่างกาย



    --------------------------------------------------------------------------------
    โรรุวนรก ๔.
    โรรุวมหานรก ห่างไกลจากสังฆฏมหานรกลงไปในภายใต้ประมาณได้ ๑๕,๐๐๐ โยชน์ นรกขุมนี้มีอายุ ๔,๐๐๐ ปีนรก ๒๓๔ ล้านปีเมืองมนุษย์เท่ากับหนึ่งวัน ของนรกขุมนี้ ปรากฏว่าโรรุวมหานรกประดิษฐานอยู่เหล่าสัตว์ ดอกบัวเหล็กใหญ่มาก กลีบก็เป็นเหล็ก ซึ่งมีไฟนรกลุกแดงโพลงอยู่ตลอดเวลา ผู้ไปอุบัติเกิดเป็นสัตว์นรกในมหานรกขุมนี้ จะถูกบังคับให้ขึ้นไปนั่งบนดอกบัว เมื่อขึ้นไปบนดอกบัวแล้วกลีบบัวก็บานขึ้น บานแล้วก็เป็นเหล็กแดงมีกระแสไฟพวยพุ่งออกมาจากกลีบ คราวนี้ดอกบัวก็จะถูกไฟเผาจนแดง ไฟกรดยังเผาอยู่ตลอดเวลา พลุ่งอยู่ตลอดเวลาเขาบังคับ

    คือกฏของกรรมบังคับให้สัตว์ค่อย ๆ ก้มหัวลง ขึ้นไปยืนบนดอกบัวแล้วแหย่ขาลงไปในระหว่างกลีบ กรรมมันบังคับให้ตัวค่อย ๆ ก้มลง ๆ ในที่สุดก็จุ่มลงไปในโคนของกลีบดอกบัวมือทั้งสองข้างก็ยันลงไปในโคนของกลีบดอกบัว เมื่อพร้อมแล้วกลีบบัวก็งับเข้ามาเป็นกลับเหล็ก ร้อนก็ร้อน คมก็คม หัวจรดลงไปถึงแค่คาง มือจมลงไปถึงแค่ข้อมือ เท้าทั้งสองจมลงไปถึงแค่ข้อเท้า เจ็บก็เจ็บร้อนก็ร้อน ถูกไฟเผาอยู่ตลอดเวลา ดอกบัวเหล็กก็รัดเข้าไป ความทุกข์ทรมานก็คงอยู่อย่างนั้นนานหนักหนาจนกว่าจะสิ้นอายุ ๔,๐๐๐ ปีนรก เมื่อเป็นเช่นนี้

    เหล่าสัตว์นรกทั้งหลายก็ย่อมจะส่งเสียงร้องไห้ครวญครางเป็นธรรมดา ทุกถ้วนหน้าสัตว์นรกซึ่งมีอยู่มากมายหลายเป็นขุมนรกที่เต็มไปด้วยเสียงร้องไห้ร้องครวญคราง ฉะนั้นมหานรกขุมนี้จึงมีชื่อว่า โรรุมหานรก นรกขุมใหญ่ซึ่งเต็มไปด้วยเสียงร้องไห้ สัตว์เหล่านี้ไม่เคารพ กรรมบถ ๑๐ จึงต้องมาเสวยทุกข์ในนรกขุมนี้



    --------------------------------------------------------------------------------
    มหาโรรุวมหานรก ๕.
    มหาโรรุวมหานรก ห่างไกลจากโรรุวมหานรกลงไปในภายใต้ประมาณได้ ๑๕,๐๐๐ โยชน์ นรกขุมนี้มีอายุ ๘,๐๐๐ ปีนรก เทียบกับเมืองมนุษย์ได้ ๙๒๑๖ ล้านปีเป็น ๑ วันของนรกขุมนี้ ปรากฏว่ามหาโรรุวมหานรกประดิษฐานอยู่เหล่าสัตว์ผู้ไปเกิดเป็นสัตว์นรกในมหานรกขุมนี้ ย่อมถูกลงโทษโดยวิธีให้ยืนแข็งทื่ออยู่ในดอกบัวเหล็กตั้งบานสะพรั้งเหมือนกันเป็นดอกบัวที่น่าหวาดกลัว ไม่น่าชม ใกล้ ๆ ดอกบัวมีแหลนหลาวปักเอาปลายขึ้น มีไฟลุกโชนเหมือนกัน ดอกบัวนี้ไม่งับไม่กางงับไม่สนิทเหมือนดอกบัวขุมก่อน ขุมก่อนงับสนิทหนีไม่ได้

    ดอกบัวขุมนี้กลีบแต่ละกลีบคมเป็นกรดคมมากกว่าขุมก่อน มิหนำซ้ำยังร้อนแรงมากกว่าสัตว์นรกขึ้นไปบนนั้นแล้วถูกความร้อนเผาเพราะอำนาจความร้อนเต้นเร่า ๆ ๆ เต้นไปเต้นมากลีบดอกบัวมันก็บาดเข้าไปในเนื้อไฟก็เผาชะแลบแล่เนื้อหนังหล่นลงมา หมานรกก็คอยกินเนื้อหนังสัตว์เหล่านั้นอยู่ข้างล้าง บ้างก็หล่นลงมาถูกแหลนหลาวเสียบไฟก็เผาเนื้อหล่นลงมาหมาก็มารุมกิน รุมแทะเหลือแต่กระดูก ไม่ตายหรอก พอเหลือแต่กระดูกมันเจ็บแสบเหลือเกิน ร่างกายจับเข้าเป็นกายใหม่ พอเป็นกายเต็มแล้ว นายนิริยบาลก็เอาหอกเที่ยวไล่แทง บังคับให้ขึ้นไปอยู่บนดอกบัวอีก

    ทำให้สัตว์นรกได้รับความทุกข์ทรมานเป็นอย่างยิ่ง ส่งเสียงร้องโอดโอยครวญครางเสียงดังมากกว่ามาก ฉะนั้นมหาโรรุมหานรกขุมนี้จึงมีชื่อว่า มหาโรรุวมหานรก นรกขุมใหญ่ซึ่งเต็มไปด้วยเสียงร้องครวญครางมากกว่ามาก ถ้าจะถามว่าสัตว์เหล่านี้ต้องโทษอะไร ก็คือกรรมบถ ๑๐ ยังไงล่ะ



    --------------------------------------------------------------------------------
    ตาปะมหานรก ๖.
    ตาปะมหานรก ห่างไกลจากมหาโรรุวมหานรกลงไปในภายใต้ประมาณได้ ๑๕,๐๐๐ โยชน์ นรกขุมนี้ สัตว์มีอายุ ๑ หมื่น ๖ พันปีนรก ๑๘๔,๒๑๒ ล้านปีเมืองมนุษย์เท่ากับ ๑ วันของนรกขุมนี้ ปรากฏว่ามีตาปะมหานรกประดิษฐานอยู่เหล่าสัตว์ผู้อุบัติเกิดเป็นสัตว์นรกในมหานรกในขุมนี้ ย่อมถูกลงโทษโดยวิธีถูกย่างให้ร้อนบนปลายหลาวเหล็กซึ่งโตเท่าลำตาล แหลมหลาวทั้งหลายเหล่านั้น มันเที่ยวไล่เสียบไล่แทงบรรดาสัตว์ทั้งหลาย สิ่งเหล่านี้ ความจริงไม่มีชีวิต มันเสียบแทงสัตว์ทั้งหลายแล้วก็ตั้งขึ้นไว้ ไฟก็ไหม้ เนื้อหนังหล่นลงมาไหม้ เรียกว่าถูกไฟไหม้เนื้องหนังก็ทนไม่ไหว เนื้อก็ค่อย ๆ หล่น ขยายตัวลงมา

    ผลที่สุดบรรดาสัตว์นรกทั้งหลายก็ทนอยู่บนแหลนไม่ไหว หล่นลงมาข้างล้างถูกพื้นเหล็กแดงเป็นเพลิงข้าล้างร้อนจัด ไฟก็เผา สุนัขตัวใหญ่ ๆ พากันวิ่งมากัดกิน กัดกินเนื้อ มันทั้งเจ็บทั้งแสบทั้งร้อน พอเข้าไปถึงกระดูกมันก็แทะกระดูกอีก สัตว์ทั้งหลายเหลือแต่กระดูก ธรรมดาคนและสัตว์ในเมืองมนุษย์ ถ้ามันเหลือแต่กระดูกแล้วชีวิตมันก็ไม่เหลือ แต่ทว่าในเมืองนรกนี้หาความตายไม่ได้ เพราะว่าเขาเอามาเพื่อทรมาน ให้เข็ดหลาบจำกัน ฉะนั้นมหานรกขุมนี้จึงมีชื่อว่า ตาปะมหานรก นรกขุมใหญ่ซึ่งทำให้สัตว์นรกทั้งหลายเร่าร้อน



    --------------------------------------------------------------------------------
    มหาตาปนมหานรก ๗.
    มหาตาปนมหานรก ห่างไกลจากตาปนมหานรกไปในภายใต้ประมาณได้ ๑๕,๐๐๐ โยชน์ อายุของสัตว์นรกขุมนี้เขาไม่ได้บอกกำหลดเวลาไว้ ท่านบอกว่ามีอายุครึ้งกัป อายุหนึ่งกัปนั้นอุปมาว่า มีภูเขาหินแข็งแรงลูกหนึ่งสูง ๑ โยชน์ กว้างหนึ่งโยชน์ ยาว ๑ โยชน์ ถึงเวลา ๑๐๐ ปีจะมีเทวดาองค์หนึ่งเอาผ้าเนื้ออ่อนเหมือนสำลีมาปัดภูเขานั้นครังหนึ่ง ปัดทีหนึ่งแล้วก็กลับไป ๑๐๐ ปีมนุษย์ก็มาปัดอีกทีหนึ่ง จนกระทั้งภูเขาหินนี้เหี้ยนเตียนลงไป หาหินไม่ได้เลยเหลือแต่ดินล้วน ๆ นั้นเป็นอายุประมาณ ๑ กัป ปรากฏว่ามีมหานปนมหานรกประดิษฐานอยู่เหล่าสัตว์ผู้ไปอุบัติเกิดเป็นสัตว์นรกในมหานรกขุมนี้

    ท่านบอกว่ามีกำแพงกั้นทุกด้านมีไฟพุ่งเข้ามาทุกด้าน อันนี้เหมือนกับนรกขุมอื่น แต่ทว่าไฟนี่ไม่มีเปลวจริง ๆ คล้ายกับแสงสว่างธรรมดา แต่มีความร้อนแรงมาก แล้วก็มีภูเขาเหล็ก ในนรกนี่เเปลกมีภูเขาเหล็ก ตั้งอยู่ระหว่างขุมนรกเยอะแยะไปหมด ความร้อนก้มาก ไฟพุ่งมาทุกทิศ จากข้างล้างถึงข้างบน จากข้างบนลงข้างล้างจากทิศเหนือทิศใต้ ทิศซ้ายทิศขวา พุ่งเข้ามารวมกันในจุดกลาง เหล็กหรือก็แดงฉานสัตว์นรกเนื้อและกระดูกแดงเหมือนเหล็กถูกเผาสุก ไฟนี้มีความร้อนแรงมากกว่าเมืองมนุษย์หลายสิบล้านเท่า นายนิริยบาลบังคับให้สัตว์ขึ้นเขา ถ้าไม่ขึ้นก็เอาหอกเสียบ หอกแทง เอาค้อนทุบ ไล่ตีพวกสัตว์นรกทั้งหลายเหล่านี้มันก็เจ็บอยู่แล้วพอไฟเข้ามามันก็ร้อน พื้นก็ร้อน ถูกเขาบังคับแบบนั้นมันก็ต้องไป ต้องวิ่งขึ้นไป พากันวิ่งไปบนยอดเขา ภูเขาก็เป็นไฟทั้งลูก ร้อนแรงแล้วก็เป็นเหล็ก ไฟข้างนอกก็พุ่งเข้ามา พอหล่นลงมาก็เสียบกับแหลนแหลว ที่ปักเรียงรายอยู่รอบ ๆ เขา

    สัตว์ก็ดิ้นเร่า ๆ มีความร้อน มีความเจ็บ ทุกข์ทรมานมากที่สุดเมื่อโดนเสียบแบบนั้น ถูกไฟเผาหนักเข้า ในที่สุดก็หล่นลงมาจากแหลนหลาว ร่างกายก็เต็มบริบูรณ์ และก็ถูกไฟเผ่าตามเดิม นายนิริยบาลก็เข้าไปเอาค้อนทุบบ้างเอาหอกเสียบบ้าง บังคับให้ขึ้นเขาต่อไป สัตว์นรกเหล่านี้จึงได้รับความทุกข์ทรมานยิ่งกว่ามหานรกขุมที่ ๖ ที่กล่าวมาแล้วนั้นมากกว่า ฉะนั้นมหานรกขุมนี้จึงมีชื่อว่า มหาตาปะมหานรก นรกขุมใหญ่ซึ่งทำให้สัตว์นรกทั้งหลายเร่าร้อนมากกว่ามาก



    --------------------------------------------------------------------------------
    อเวจีมหานรก ๘.
    อเวจีมหานรก ห่างไกลจากมหาตาปนมหานรกลงไปในภายใต้ประมาณได้ ๑๕,๐๐๐ โยชน์ นรกขุมนี้มีอายุหนึ่งกัปพอดี การลงโทษของนรกขุมนี้มีเป็นพิเศษ นรกตั้งแต่ขุมที่ ๑ ถึงขุมที่ ๗ หรือว่าขุมอื่น บรรดาสัตว์ทั้งหลายมีการเคลื่อไหวได้ แต่ทว่าอเวจีมหานรกนี่ ไม่มีการเคลื่อไหว นรกขุมนี้มีกำแพงพิเศษทั้งข้างล้างข้างบน และทั้ง ๔ ด้านหนา สัตว์นรกเหล่านั้นยืนแล้วมีกำแพงทั้ง ๖ ด้าน ด้านข้าง ๔ ด้าน ข้างบนข้างล้าง ไฟก็พุ่งมาทั้ง ๖ ทิศ หอกทั้งเบื้องล้างเบื้องบน ด้ามหอกฝังอยู่กำแพงด้านบน ปลายหอกเสียบตั้งแต่หัวทะลุก้นและปักลงไปปักอยู่กำแพงด้านล้าง ด้านหน้า ด้านติดอยู่กับกำแพงด้านหน้า

    ตรงกลางหอกติดอยู่ที่อกของสัตว์นรกเหล่านั้น ด้านปลาย เอาหอกไปปักอยู่กำแพงด้านหลัง ด้านข้างก็เหมือนกันทั้งมือเท้า ทั้งตัว ถูกเสียบด้วยหอกหลายสิบเล่ม ได้รับความทุกข์ทรมานที่สุดไม่สามารถขยับเขยื่อนได้ เพราะถูกหอกมันตรึงเข้าไปหมด หอกก็เสียบ หอกเป็นเหล็กไฟ แล้วไฟก็พุ่งเข้ามาทั้ง ๖ ด้าน กระดูกแดงฉานเหมือนเหล็กสุก ไม่มีทางที่จะดิ้นรนได้

    ความทุกข์ที่ทรมานที่ได้รับนั้นมันเป็นความทุกข์ทรมานที่เสมอราบเรียบหนักหนาอยู่อย่างนั้นตลอดกาลนาน อยู่อย่างนั้น สิ้นเวลา ๑ กัป ไม่มีการผ่อนปรนเป็นความเบาบางเป็นบางครั้งบางคราวเหมือนมหานรกขุมอื่น เพราะเหตุที่นรกขุมนี้มีเปลวไฟนรกและความทุกข์หนักปรากฏอยู่เสมอ ไม่มีขณะที่ว่าง หรือขณะที่ผ่อนปรนให้เป็นความเบาบางเลยแม้แต่สักนิดเดียว ฉะนั้นมหานรกขุมนี้ จึงมีชื่อว่า อเวจีมหานรก นรกขุมใหญ่ซึ่งปราศจากคลื่อนกล่าวคือ ความเบาบางแห่งความทุกข์

    ขออ้างเอาข้อความจากไตรภูมิครับหรือไม่ก็พิจารณาใน อรรถกถาเทวทูตสูตร ดูครับ
    http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/tipitaka_pdf/tipitaka_23.pdf
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 เมษายน 2010
  13. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,801
    ค่าพลัง:
    +7,939
    <TABLE class=tborder border=0 cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%"><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 4 คน ( เป็นสมาชิก 4 คน และ บุคคลทั่วไป 0 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"><CENTER">[ แนะนำเรื่องเด่น ] </TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>เล่าปัง*, 2ชาติ บรรลุธรรม. . ., ธรรมะสวนัง, ไห่เฉากุหลาบไฟ </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  14. 2ชาติตรัสรู้

    2ชาติตรัสรู้ គ្រប់គ្រាន់ รักษาดวงใจ.គ្រប់គ្រាន់

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,697
    ค่าพลัง:
    +1,559
    แล้วตกลง1กัปนี้มันนานกี่ปีมนุษย์หละ บางครั้งเคยอ่านเจอว่า120ปีคือ1กัป
    แต่บางครั้งบอก1กัปประมาณหรือมากกว่า สามล้านสองแสนเจ็ดหมื่นหกพันแปดร้อยล้านล้านล้าน ปี
     
  15. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    นับเอาทั้ง ๓๑ ภูมิสิ้นจากพระสัทธรรมครับ เลยไม่รู้ว่านานแค่ไหนครับ แต่เราก็ไม่ต้องไปพูดถึงทุกขติภูมิ เรามาพูดถึงสุขคติภูมิตั้งแต่มนุษย์โลกจนจบพรหมโลกนั่นแหละครับ ก็ไม่รู้ว่านานแค่ไหน กว่าพระสัทธรรมจะไปจบที่นั่น รู้เพียงว่าวันนั้นเป็นวันที่พระบรมสารีริกธาตุทั้งหลายที่สถิตย์ทั่วทั้งจักรวาลทั้งสามแดนโลกธาตุจะมารวมกันแล้ว ประสานธาตุเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสมณโคดมเจ้า และทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรดเหล่าเทวดาตั้งแต่ชั้นดาวดึงส์ที่มีบารมีพอจะได้สดับธรรมนั้นขึ้นไป ให้บรรลุธรรม เป็นเวลา ๗ วัน ๗ คืน จากนั้นพระองค์ทรงกระทำยมกปาฏิหารย์อีกครั้ง และพระธาตุทรงอันตรธาน เป็นอันหมดกัปล์แห่งพระศาสนาและพระสัทธรรม แต่ไม่ทราบระยะเวลาที่แน่นอนว่ากี่ปีนับเอามนุษย์โลกครับ คงหลายล้านปีอยู่ครับ
     
  16. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขตธรรมก็ดี อสังขตธรรมก็ดี มีประมาณเท่าใด

    วิราคะ คือ ธรรมเป็นที่บรรเทาความเมา นำเสียซึ่งความกระหาย

    ถอนขึ้นด้วยดีซึ่งอาลัย ตัดซึ่งวัฏฏะ สิ้นไปแห่งตัณหา สิ้นกำหนัด ดับ นิพพาน

    บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าสังขตธรรมและอสังขตธรรมเหล่านั้น
    ^
    ^

    ;aa24
     
  17. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ถูกผิดต้องแยกแยะ ส่วนยึดหรือไม่ยึดนั้นอีกเรื่องหนึ่ง

    ถ้าถูกผิดยังไม่รู้จักแยกแยะแล้ว แต่กลับชอบพูดว่าอะไรๆก็อย่าไปยึดสิ

    คนพวกนี้ได้ชื่อว่าเป็นพวกไม่เอาไหน ได้แต่หลอกตนเองไปวันๆเท่านั้น

    ;aa24
     
  18. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    อืม เหมือนจะเคยกล่าวแบบนั้นไว้เช่นกันเมื่อครั้งหนึ่ง การไม่ยึดมั่นถือมั่นด้วยปัญญานั้น ให้อะไรมากกว่าที่คิด ปฏิบัติแล้วพิจารณาเห็น ก็จะเข้าใจว่า มันอาศัยกันและกันเป็นเหตุปัจจัย เมื่อเห็นกิเลสได้จริงย่อมจะเห็นวิธีแก้ไขด้วยเป็นธรรมดา แต่ผู้ไม่เคยเห็นกิเลสเลย ก็จะไม่รู้ว่าจะแก้ยังไง แต่จะพูดเพียงว่า อย่าไปยึดเห็นอะไรก็อย่าไปยึด การอ้างตำราใครเขาก็ทำได้แต่ผลการปฏิบัติมันหลอกกันไม่ได้ โดยเฉพาะตนเอง ยิ่งหลอกไม่ได้เลย แต่ที่หลอกกันได้หลอกกันอยู่นั้น ส่วนใหญ่ยังไม่รู้จักแยกแยะเลย แล้วจะเข้าถึงเรื่องสมาธิธรรมได้ยังไง จะไปหาปัญญา ได้ยังไง ขาดเหตุขาดผลที่ควรครับ
     
  19. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    วาสนา คือ อะไร แล้วคนเราตั้งใจว่าอย่างไร ตั้งใจจะเป็นแก้วน้ำธรรมดา จะเป็นตุ่มมังกร หรือจะเป็นโอ่งแดงกันละ คนที่เป็นแก้วธรรมดา พอน้ำเต็มแก้วก็พอกินเพียงคนเดียว คนที่เป็นโอ่งมังกรพอน้ำเต็มก็ใช้ดื่มกินได้หลายคนหน่อย พอเป็นโอ่งแดงก็มากขึ้นไปอีก ดังนั้นถ้าเปรียบเทียบอีกก็จะเป็น อ่างเก็บน้ำ ทะเลสาป และมหาสมุทร การที่จะให้น้ำเต็มนั้นอาศัยเวลาต่างกัน อินทรีย์๕ก็ดี อิทธิบาท๔ก็ดี มันต้องมีเป็นของที่ต้องมีให้เต็มตามที่ตั้งใจ เต็มก็ต้องรู้ว่าเต็ม ขาดก็ต้องรู้ว่าขาด จะอ้างเอาสิ่งใดมาบอกว่าที่ขาดเพราะว่าไม่ได้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้เขาเรียกว่า ข้ออ้างของกิเลส เหมือนกับคนเราไม่เคยมีไม่เคยได้ แต่ทำยังไงก็ไม่ได้เพราะไม่เคยแก้ไขสิ่งที่ทำนั้นก็เลยไม่ได้ แล้วบอกกับคนอื่นว่าเราเกิดมาเหมาะกับสิ่งนี้เป็นเพราะมีบางอย่างกำหนดไว้ ฟังแล้วขัดกับหลักธรรมอย่างมาก เพราะผู้ที่กำหนดจริงๆคือตัวเราการกระทำของเราในปัจจุบัน แม้ผลของอดีตจะมีอยู่แต่การกระทำในปัจจุบันนั้นสำคัญที่สุด คล้ายกับโทษว่าสิ่งอื่นพาให้เป็น พาให้เกิด พาให้ได้ไม่เหมือนเขา นี่แหละเขาเรียกว่า กิเลส ที่เป็น อวิชชา ตัวมืดบอด บอดแบบ บอดแล้วบอดอีก


    การรู้ตัวตนของตนเองว่าเป็นคนเช่นใดโดยไม่ให้กิเลสมาลวงกิเลสมาอ้างนั้นแหละประเสริฐสุด เพราะตำราก็ยังคือตำราใช้เพื่อพินิจพิจารณาเท่านั้น แต่ไม่ได้หมายความว่าพินิจพิจารณาตัวตำรา หลักการของเรื่องจริตนั้นคือฐานของอารมณ์ หาใช่เรื่องอื่นๆแต่อย่างใด คนที่เขาไม่รู้เขาก็พาคนอื่นให้ไม่รู้ตามตามเขา คำว่าไม่รู้นั้นก็เพราะมันมี กิเลส มีอวิชชาครอบงำอยู่ จึงเอามาทำเอามาพูดไป ทั้งๆที่ดูยังไง ก็เกี่ยวกับเรื่องของฐานของอารมณ์ที่ใช้ในกรรมฐานต่างๆ ยุคไหนเขาก็พิจารณากันอย่างนี้ และความแตกต่างของอารมณ์นั้นก็หมายถึง ความสัดส่ายไปของอารมณ์ ซึ่งก็มาจากจิต จึงหมายถึง จิตที่สัดส่ายไปตามอำนาจของกิเลส มันไม่ใช่ตัวบอกว่า เป็นแบบนี้ต้องหรือมีแบบนั้นแบบนี้มาก มันก็เป็นข้ออ้างของกิเลสอีกนั่นแหละ เพราะถ้าเอากันตามจริง ชนิดของอารมณ์ที่มีในจิตที่สัดส่ายนั้นมีมากมายหลายระดับ แต่จำแนกออกมาเป็น ๖ ระดับใหญ่ นึกถึงสายสปริงขดสิ มีตึง กลาง หย่อน และ ตึง กลาง หย่อนนั้น ดึงแรงและปล่อย กับดึงเบาแล้วปล่อย จะเห็นว่าลักษณะการกระเพื่อมของมัน ต่างกันถึงหกระดับ ปัญหาคือ เราเป็นแบบไหน ไม่ใช่ไปอ้างโน้นอ้างนี้ มันไม่ได้อะไร เลยฟังได้ก็ฟังนะอาจจะต่างกับใครอยู่หลายคนบนโลกใบนี้ ในเรื่องการพิจารณาในเรื่องนั้นๆ<!-- google_ad_section_end --> <!-- google_ad_section_end -->
     
  20. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>จริต ๖

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    จริต แปลว่า จิตท่องเที่ยว สถานที่จิตท่องเที่ยวหรืออารมณ์เป็นที่ชอบท่องเที่ยวของ
    จิตนั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาคทรงประมวลไว้เป็น ๖ ประการด้วยกัน คือ
    ๑. ราคจริต จิตท่องเที่ยวไปไปในอารมณ์ที่รักสวยรักงาม คือพอใจในรูปสวย เสียงเพราะ
    กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสนิ่มนวล รวมความว่าอารมณ์ที่ท่องเที่ยวไปในราคะ คือ ความกำหนัด
    ยินดีนี้ บุคคลผู้เป็นเจ้าของจริต มีอารมณ์หนักไปในทางรักสวยรักงาม ชอบการมีระเบียบ สะอาด
    ประณีต มีกิริยาท่าทางละมุนละไมนิ่มนวล เครื่องของใช้สะอาดเรียบร้อย บ้านเรือนจัดไว้อย่างมี
    ระเบียบ พูดจาอ่อนหวาน เกลียดความเลอะเทอะสกปรก การแต่งกายก็ประณีต ไม่มีของใหม่ก็
    ไม่เป็นไร แม้จะเก่าก็ต้องสะอาดเรียบร้อย ราคจริต มีอารมณ์จิตรักสวยรักงามเป็นสำคัญ อย่าตี
    ความหมายว่า ราคจริต มีจิตมักมากในกามารมณ์ ถ้าเข้าใจอย่างนั้นพลาดถนัด
    ๒. โทสจริต มีอารมณ์มักโกรธเป็นเจ้าเรือน เป็นคนขี้โมโหโทโส อะไรนิดก็โกรธ อะไร
    หน่อยก็โมโห เป็นคนบูชาความโกรธว่าเป็นของวิเศษ วันหนึ่งๆ ถ้าไม่ได้โกรธเคือง โมโหโทโส
    ใครเสียบ้างแล้ว วันนั้นจะหาความสบายใจได้ยาก คนที่มีจริตหนักไปในโทสจริตนี้ แก่เร็ว พูด
    เสียงดัง เดินแรง ทำงานหยาบ ไม่ใคร่ละเอียดถี่ถ้วน แต่งตัวไม่พิถีพิถัน เป็นคนใจเร็ว
    ๓. โมหจริต มีอารมณ์จิตลุ่มหลงในทรัพย์สมบัติ ชอบสะสมมากกว่าการจ่ายออก ไม่ว่า
    อะไรเก็บดะ ผ้าขาดกระดาษเก่า ข้าวของตั้งแต่ใดก็ตาม มีค่าควรเก็บหรือไม่ก็ตามเก็บดะไม่เลือก
    มีนิสัยเห็นแก่ตัว อยากได้ของของคนอื่น แต่ของตนไม่อยากให้ใคร ชอบเอารัดเอาเปรียบชาวบ้าน
    ไม่ชอบบริจาคทานการกุศล รวมความว่าเป็นคนชอบได้ ไม่ชอบให้
    ๔. วิตกจริต มีอารมณ์ชอบคิด ตัดสินใจไม่เด็ดขาด มีเรื่องที่จะต้องพิจารณานิดหน่อย
    ก็ต้องคิดตรองอยู่อย่างนั้น ไม่กล้าตัดสิน คนประเภทนี้เป็นโรคประสาทมาก มีหน้าตาไม่ใคร่สดชื่น
    ร่างกายแก่เกินวัย หาความสุขสบายใจได้ยาก
    ๕. สัทธาจริต มีจิตน้อมไปในความเชื่อเป็นอารมณ์ประจำใจ เชื่อโดยไร้เหตุไร้ผล พวกที่
    ถูกหลอกลวงก็คนประเภทนี้ มีใครแนะนำอะไรตัดสินใจเชื่อโดยไม่ได้พิจารณา
    ๖. พุทธจริต เป็นคนเจ้าปัญญาเจ้าความคิด มีความฉลาดเฉลียว มีปฏิภาณไหวพริบดี
    การคิดอ่านหรือการทรงจำก็ดีทุกอย่าง
    อารมณ์ของชาวโลกทั่วไป สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประมวลอารมณ์ว่า อยู่ในกฎ ๖
    ประการตามที่กล่าวมาแล้วนี้ บางคนมีอารมณ์ทั้ง ๖ อย่างนี้ครบถ้วน บางรายก็มีไม่ครบ มีมากน้อย
    ยิ่งหย่อนกว่ากันตามอำนาจวาสนาบารมีที่อบรมมาในการละในชาติที่เป็นอดีต อารมณ์ที่มีอยู่คล้าย
    คลึงกัน แต่ความเข้มข้นรุนแรงไม่เสมอกัน ทั้งนี้ก็เพราะบารมีที่อบรมมาไม่เสมอกัน ใครมีบารมี
    ที่มีอบรมมามาก บารมีในการละมีสูงอารมณ์จริตก็มีกำลังต่ำไม่รุนแรง ถ้าเป็นคนที่อบรมในการละ
    มีน้อย อารมณ์จริตก็รุนแรง จริตมีอารมณ์อย่างเดียวกันแต่อาการไม่สม่ำเสมอกันดังกล่าวแล้ว

    ประโยชน์ของการรู้อารมณ์จริต

    นักปฏิบัติเพื่อฌานโลกีย์ หรือเพื่อมรรคผลนิพพานก็ตาม ควรรู้อาการของจริตที่จิต
    ของตนคบหาสมาคมอยู่ เพราะการรู้อารมณ์จิตเป็นผลกำไรในการปฏิบัติเพื่อการละด้วยการ
    เจริญสมาธิก็ตาม พิจารณาวิปัสสนาญาณก็ตาม ความสำคัญอยู่ที่การควบคุมความรู้สึกของ
    อารมณ์ ถ้าขณะที่กำลังตั้งใจกำหนดจิตเพื่อเป็นสมาธิ หรือพิจารณาวิปัสสนาญาณอารมณ์จิต
    เกิดฟุ้งซ่าน ไปปรารถนาความรักบ้าง ความโกรธบ้าง ผูกพันในทรัพย์สมบัติบ้าง วิตกกังวลถึง
    เหตุการณ์ต่างๆ บ้าง เกิดอารมณ์สัทธาหวังในการสงเคราะห์ หรือมุ่งบำเพ็ญธรรมบ้าง เกิด
    อารมณ์แจ่มใส น้อมไปในความเฉลียวฉลาดบ้าง เมื่อรู้ในอารมณ์อย่างนี้ ก็จะได้น้อมนำเอา
    พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้มาประคับประคองใจให้เหมาะสมเพื่อผลในสมาธิ หรือ
    หักล้างด้วยอารมณ์วิปัสสนาญาณเพื่อผลให้ได้ญาณสมาบัติ หรือมรรคผลนิพพาน พระธรรมที่
    พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ เพื่อผลของสมาบัติ ท่านเรียกว่า "สมถกรรมฐาน" มีรวมทั้งหมด
    ๔๐ อย่างด้วยกัน ท่านแยกไว้เป็นหมวดเป็นกองดังนี้
    อสุภกรรมฐาน ๑๐ อนุสสติกรรมฐาน ๑๐ กสิณ ๑๐ อาหาเรฏิกูลสัญญา ๑ จตุธาตุววัฏฐาน ๑
    พรหมวิหาร ๔ อรูป ๔ รวมเป็น ๔๐ กองพอดี

    แบ่งกรรมฐาน ๔๐ ให้เหมาะแก่จริต

    เพราะอาศัยที่พระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญพระบารมี มีมาเพื่อเป็นศาสดาทรงสั่งสอนบรรดา
    สรรพสัตว์เพื่อให้บรรลุมรรคผล ด้วยหวังจะให้พ้นจากทุกข์อันเกิดจากการเวียนว่ายอยู่ในสังสารวัฏ
    ความเป็นสัพพัญญูของสมเด็จผู้ทรงสวัสดิ์ พระองค์ทรงทราบถึงความเหมาะสมในกรรมฐานต่าง ๆ
    ที่เหมาะสมกับอารมณ์จิตที่มีความข้องอยู่ในขณะนั้น ด้วยตรัสเป็นพระพุทธฎีกาไว้ว่า เมื่อใดอารมณ์
    จิตของท่านผู้ใดข้องอยู่ในอารมณ์ชนิดใดก็ให้เอากรรมฐานที่พระองค์ทรงประทานไว้ว่าเหมาะสมกัน
    เข้าพิจารณา หรือภาวนาแก้ไขเพื่อความผ่องใสของอารมณ์จิต เพื่อการพิจารณาวิปัสสนาญาณ เพื่อ
    มรรคผลนิพพานต่อไป ฉะนั้น ขอนักปฏิบัติทั้งหลายจงสนใจเรียนรู้กรรมฐาน ๔๐ กอง และจริต ๖
    ประการ ตลอดจนกรรมฐานที่ท่านทรงจัดสรรไว้เพื่อความเหมาะสมแก่จริตนั้นๆ ท่องให้ขึ้นใจไว้
    และอ่านวิธีปฏิบัติให้เข้าใจ เพื่อสะดวก เมื่อเห็นว่าอารมณ์เช่นใดปรากฏ จะได้จัดสรรกรรมฐานที่
    พระพุทธองค์ทรงกำหนดว่าเหมาะสมมาหักล้างอารมณ์นั้นๆ ให้สงบระงับ ถ้านักปฏิบัติทุกท่านปฏิบัติ
    ตามพระพุทธฎีกาตามนี้ได้ ท่านจะเห็นว่า การเจริญสมถะเพื่อทรงฌานก็ดี การพิจารณาวิปัสสนาญาณ
    เพื่อมรรคผลนิพพานก็ดี ไม่มีอะไรหนักเกินไปเลย ตามที่ท่านคิดว่าหนักหรืออาจเป็นเหตุสุดวิสัยนั้น
    ถ้าท่านปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว ท่านจะเห็นว่าไม่หนักเกินวิสัยของคนเอาจริงเลย
    กับจะคิดว่าเบาเกินไปสำหรับท่านผู้มีความเพียรกล้าเสียอีก กรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง ท่านจำแนกแยก
    เป็นหมวดไว้ เพื่อเหมาะสมกับจริตนั้นๆ มีดังนี้ คือ

    ๑. ราคจริต

    ราคจริตนี้ ท่านจัดกรรมฐานที่เหมาะสมไว้ ๑๑ อย่างคือ อสุภกรรมฐาน ๑๐ กับกายคตานุสสติ
    กรรมฐาน อีก ๑ รวมเป็น ๑๑ อย่างในเมื่ออารมณ์รักสวยรักงามปรากฏขึ้นแก่อารมณ์จิตจงนำกรรมฐาน
    นี้มาพิจารณา โดยนำมาพิจารณาอย่างใดอย่างหนึ่งจากกรรมฐาน ๑๑ อย่างนี้ ตามแต่ท่านจะชอบใจ
    จิตใจท่านก็จะคลายความกำหนัดยินดีในกามารมณ์ลงได้อย่างไม่ลำบากยากเย็นอะไรเลย ถ้าจิตข้อง
    อยู่ในกามารมณ์เป็นปกติ ก็เอากรรมฐานนี้พิจารณาเป็นปกติ จนกว่าอารมณ์จะสงัดจากกามารมณ์
    เห็นคนและสัตว์และสรรพวัตถุทั้งหลายที่เคยนิยมชมชอบว่าสวยสดงดงาม กลายเป็นของ น่าเกลียด
    โสโครกโดยกฎของธรรมดา จนเห็นว่าจิตใจไม่มั่วสุมสังคมกับความงามแล้วก็พิจารณาวิปัสสนาญาณ
    โดยยกเอาขันธ์ ๕ เป็นอารมณ์ ว่าไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่มีในเราโดย
    เอาอสุภกรรมฐานหรือกายคตานุสสติกรรมฐานเป็นหลักชัยทำอย่างนี้ไม่นานเท่าใดก็จะเข้าถึงมรรคผล
    นิพพาน การทำถูกไม่เสียเวลานานอย่างนี้

    ๒. โทสจริต

    คนมักโกรธ หรือขณะนั้นเกิดมีอารมณ์โกรธพยาบาทเกิดขึ้นขวางอารมณ์ไม่สะดวกแก่
    การเจริญฌาน ท่านให้เอากรรมฐาน ๘ อย่าง คือ พรหมวิหาร ๔ และ วัณณกสิณ ๔ วัณณกสิณ ๔
    ได้แก่ นีลกสิณ เพ่งสีเขียว โลหิตกสิณ เพ่งสีแดง ปีตกสิณ เพ่งสีเหลือง โอทาตกสิณ เพ่งสีขาว
    กรรมฐานทั้งแปดอย่างนี้ เป็นกรรมฐานระงับดับโทสะ ท่านจะเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งที่เหมาะสม
    แก่ท่าน คือตามแต่ท่านจะพอใจเอามาเพ่งและใคร่ครวญพิจารณา อารมณ์โทสะก็จะค่อยๆ คลายตัว
    ระงับไป

    ๓. โมหะ และ วิตกจริต

    อารมณ์ที่ตกอยู่ในอำนาจของความหลงและครุ่นคิดตัดสินใจอะไรไม่เด็ดขาด ท่านให้เจริญ
    อานาปานุสสติกรรมฐานอย่างเดียว อารมณ์ความลุ่มหลงและความคิดฟุ้งซ่านจะสงบระงับไป

    4. สัทธาจริต

    ท่านที่เกิดสัทธาความเชื่อ เชื่อโดยปกติ หรืออารมณ์แห่งความเชื่อเริ่มเข้าสิงใจก็ตาม
    ท่านให้เจริญกรรมฐาน ๖ อย่าง คือ อนุสสติ ๖ ประการ ดังต่อไปนี้ (๑) พุทธานุสสติกรรมฐาน
    (๒) ธัมมานุสสติกรรมฐาน (๓) สังฆานุสสติกรรมฐาน (๔) สีลานุสสติกรรมฐาน (๕) จาคา-
    นุสสติกรรมฐาน (๖) เทวตานุสสติกรรมฐาน อนุสสติทั้ง ๖ อย่างนี้ จะทำให้จิตใจของท่านที่
    ดำรงสัทธาผ่องใส

    ๕. พุทธิจริต
    คนเฉลียวฉลาดรู้เท่าทันเหตุการณ์ และมีปฎิภาณไหวพริบดี ท่านให้เจริญกรรมฐาน ๔
    อย่าง ดังต่อไปนี้ (๑) มรณานุสสติกรรมฐาน (๒) อุปสมานุสสติกรรมฐาน (๓) อาหาเรปฏิกูลสัญญา
    (๔) จตุธาตุววัฏฐาน รวม ๔ อย่างด้วยกัน
    กรรมฐานที่เหมาะแก่จริตทั้ง ๖ ท่านจัดเป็นหมวดไว้ ๕ หมวด รวมกรรมฐานที่เหมาะ
    แก่จริต โดยเฉพาะจริตนั้นๆ รวม ๓๐ อย่าง หรือในที่บางแห่งท่านเรียกว่า ๓๐ กอง กรรมฐาน
    ทั้งหมดด้วยกันมี ๔๐ กอง ที่เหลืออีก ๑๐ กอง คือ อรูป ๔ ภูตกสิณ ได้แก่ ปฐวีกสิณ เตโชกสิณ
    วาโยกสิณ อาโปกสิณ ๔ อย่างนี้เรียกภูตกสิณ อาโลกสิณ ๑ และอากาศกสิณอีก ๑ รวมเป็น
    ๑๐ พอดี กรรมฐานทั้ง ๑๐ อย่างนี้ ท่านตรัสไว้เป็นกรรมฐานกลางเหมาะแก่จริตทุกอย่าง รวม
    ความว่าใครต้องการเจริญก็ได้เหมาะสมแก่คนทุกคน แต่สำหรับอรูปนั้นถ้าใครต้องการเจริญ
    ท่านให้เจริญฌานในกสิณให้ได้ฌาน ๔ เสียก่อน แล้วจึงเจริญในอรูปได้ มิฉะนั้นถ้าเจริญอรูป
    เลยทีเดียวจะไม่มีอะไรเป็นผล เพราะอรูปละเอียดเกินไปสำหรับนักฝึกสมาธิใหม่

    ข้อมูลจาก คุณพี่ภานุเดช ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...