ช่องทางทั้ง๖ ของกุศลและอกุศลธรรม...หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย rinnn, 23 สิงหาคม 2006.

  1. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,024
    <table style="font-size: 12px;" align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="500"><tbody><tr style="font-size: 12px;"><td style="font-size: 12px;" colspan="3" class="title1" align="right" background="../images/box10.gif" height="72" valign="bottom">ช่องทางทั้ง๖ ของกุศลและอกุศลธรรม...หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม[​IMG]</td> </tr> <tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;" background="../images/box12.gif" width="20">[​IMG]</td> <td style="font-size: 12px;" height="100" valign="top" width="460">[​IMG]
    การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
    คือ การอัญเชิญสติที่ถูกทอดทิ้งไว้ในความต่ำต้อย
    ขึ้นมานั่งบนบัลลังก์ของชีวิต
    และเมื่อสติขึ้นสู่บัลลังก์แล้ว
    ใจก็จะคลานเข้ามาหมอบถวายบังคมอยู่เบื้องหน้าสติ
    สติจะบังคับมิให้ใจแส่ออกไป
    คบหากับอารมณ์ต่างๆ ภายนอก
    และใจก็จะค่อยคุ้นกับการสงบอยู่กับอารมณ์อันเดียว
    ที่สติคอยบังคับให้สงบอยู่
    เมื่อใจตั้งมั่นดีแล้ว
    การรู้ตามความเป็นจริงก็จะเป็นผลติดตามมา
    และเมื่อนั้นแหละเราก็จะทราบได้ว่า
    ความทุกข์มันมาจากไหน
    และจะสะกัดกั้นมันได้อย่างไร
    นั่นแหละคือผลงานของสติ
    นั่นแหละคืออานิสงส์ของวิปัสสนากรรมฐาน

    ภายหลังที่ได้ทุ่มเทกำลังลงไปอย่างเต็มที่
    จิตใจของผู้ปฏิบัติก็จะได้สัมผัส
    กับสัจจะแห่งสภาวะธรรมต่างๆ
    อันผู้ปฏิบัติไม่เคยเห็นอย่างซึ้งใจมาก่อน
    ผลงานอันมีค่าล้ำเลิศของสติบวกกับกำลังของสมาธิจิต
    จะทำให้เราเห็นอย่างแจ้งชัดว่า
    ความทุกข์ร้อนนานาประการนั้น
    มันไหลเข้ามาสู่ชีวิตของเรา
    ทางช่องทางทั้งหกคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี้
    ความทุกข์สารพัดชนิด
    รวมทั้งกุศลและอกุศลธรรมสารพัดชนิด
    ตลอดจนการกระทำบ้าบอคอแตกทุกชนิด
    ตัณหาทั้ง ๓ รูปและอกุศลมูลทั้ง ๓ ประการ
    คือ โลภะ โทสะ โมหะ
    ก็มาจากช่องทางทั้ง ๖ นี้เท่านั้น
    และมิได้มาจาทางอื่นอีกเลย
    การสะกัดกั้นความทุกข์และบาปอกุศลทั้งปวง
    จึงจะต้องทำกันที่ช่องทางทั้งหมดนี้
    จะต้องสร้างทำนบขึ้น ณ ที่แห่งนี้
    และตัวทำนบนั้น ก็คือสติอีกนั่นแหละ

    พุทธศาสนาเรียกช่องทางทั้ง ๖ นี้ว่า
    อายตนะ แปลว่าที่ต่อ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
    คือ อายตนะภายใน ๖ ทุกข์และบาปอกุศล
    ดำเนินเข้ามาสู่ชีวิตโดยอายตนะหรือที่ต่อภายในทั้ง ๖ นี้
    เข้าทำการติดต่อกับอายตนะภายนอก
    คือ ที่ต่อภายนอก ๖ อย่าง
    ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์
    อายตนะภายในและภายนอกรวม ๑๒ นี้
    เข้าติดต่อกันเป็นคู่ๆ
    ตากับรูป หูกับเสียง
    จมูกกับกลิ่น ลิ้นกับรส
    กายกับโผฏฐัพพะ (ได้แก่สิ่งที่มาถูกต้องกาย) ใจกับธรรมารมณ์
    เมื่ออายตนะคู่ใดคู่หนึ่ง ติดต่อกันเข้าแล้ว
    จิตก็เกิดขึ้น ความติดต่อกันระหว่างอายตนะภายใน
    และภายนอกนี้เอง
    เป็นที่เกิดของจิต และ ณ ที่นี้เองที่เราได้ทราบว่า
    จิตมิใช่เป็นสิ่งที่มีตัวตนเป็นเอกเทศ
    จิตได้เกิด ณ ที่นี้ และได้ดับลงไป ณ ที่นี้เช่นกัน
    การที่เรารู้สึกเหมือนหนึ่งว่า จิตเป็นตัวตน เป็นจิตของเรา
    มีอยู่เป็นเอกเทศนั้น ก็เพราะว่าการดับของจิตเป็นสันตติ
    คือเกิดดับสืบเนื่องกันอยู่ไม่ขาดสาย
    การใช้ชีวิตแบบตะบึงไปกับชีวิตนั้น
    จะไม่มีทางทราบถึงความไม่มีตัวตนของจิต
    หรือความเกิดดับของจิต ที่เป็นอยู่เป็นนิจได้เลย
    ต่อเมื่อเราได้นั่งลงทำการกำหนดรูป-นาม
    ตามระบบของวิปัสสนากรรมฐาน
    ทำความสำรวมสติและสำรวมจิตอย่างมั่นคง
    จนสติไพบูลย์แล้ว จนจิตตั้งมั่นดีแล้ว
    เราจึงจะรู้เห็นความเกิดดับของจิต
    รวมทั้งรู้เห็นสภาวะธรรมต่างๆ ตามความเป็นจริง
    เมื่ออายตนะภายในและภายนอกติดต่อกัน
    เป็นต้นว่า ตากระทบรูป เกิดจักขุวิญญาณ
    คือ เกิดจิตที่อาศัยจักขุขึ้นแล้ว
    แต่นั้นเจตสิกต่างๆ ก็เกิดติดตามมา
    กล่าวคือ จำรูปนั้นได้ พอใจหรือไม่พอใจรูปนั้น
    และทำความคิดนึกต่างๆ เกี่ยวกับรูปนั้น
    ครั้นแล้วโลภะ โทสะ โมหะก็เกิดขึ้น
    บันดาลอกุศลกรรมต่างๆ ให้เกิดติดตามมา
    การประทุษร้าย การทำทุจริตคอรัปชั่น
    และความประพฤติชั่วร้ายอารมณ์ต่างๆ
    ก็เกิด ณ ที่ตรงนี้ทั้งนั้น
    ตรงอายตนะคือที่ต่อทั้ง ๖ นี้แหละ
    คือที่เกิดและไหลเข้ามาสู่ชีวิต
    ซึ่งกระแสแห่งความทุกข์และก็ ณ ที่ตรงนี้อีกเหมือนกัน
    จะเป็นที่ดับของจิตและอกุศลธรรมทั้งปวง

    การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
    โดยเอาสติเข้าไปตั้งกำกับจิตตามช่องทาง ๖ นั้น
    เมื่อปฏิบัติได้ผลแก่กล้าแล้ว
    ก็จะเข้าตัดที่ต่อทั้ง ๖ คู่นั้น
    มิให้ต่อกันติดได้ ถือว่าเมื่อเห็นรูปก็สักแต่ว่าเห็น
    เมื่อได้ยินเสียง ก็สักแต่ว่าได้ยิน
    ไม่ทำความรู้สึกนึกคิดปรุงแต่ง
    ให้เกิดความพอใจ หรือไม่พอใจในสิ่งที่มาปรากฏให้เห็น
    และให้ได้ยิน รูปและเสียงที่ได้เห็นได้ยินนั้นก็ดับไป
    เกิดและดับอยู่ ณ ที่นั้นเอง
    ไม่ไหลเข้ามาภายใน อกุศลธรรมและความทุกข์ร้อนใจ
    ที่คอยจะติดตามหลังรูปและเสียง
    อายตนะภายนอกอื่นๆ เข้ามาก็เข้ามาไม่ได้
    ต้องจนแต้มอยู่ ณ ที่นั้นเอง

    สติที่เกิดขึ้นขณะปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้น
    นอกจากจะคอยสกัดกั้นอกุศลธรรมและความทุกข์ร้อนใจ
    ที่จะเข้ามาในทางอายตนะภายในทั้ง ๖ แล้ว
    ยังเพ่งอยู่ที่รูปกับนาม
    เมื่อเพ่งอยู่ก็ย่อมเห็นความเกิดดับของรูปนาม
    ที่ดำเนินไปตามทวารทั้ง ๖ อย่างไม่ขาดสาย
    การเห็นการเกิดดับของรูปนามนั้น
    จักนำไปสู่การเห็นไตรลักษณ์
    คือ ความไม่เที่ยง ความทุกข์
    และความไม่มีตัวตนของสังขาร
    หรืออัตภาพอย่างแจ่มแจ้ง

    </td> <td style="font-size: 12px;" background="../images/box13.gif" width="20">[​IMG]</td> </tr> <tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;" colspan="3" align="right" background="../images/box11.gif" height="51">
    </td></tr></tbody></table>
     

แชร์หน้านี้

Loading...