จุดจบแห่งขุนโจร

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 21 ธันวาคม 2005.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,173
    เรื่องที่ฉันจะเล่าต่อไปนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับบาปกรรมที่ชายคนหนึ่ง ได้ก่อเอาไว้มากมาย ซึ่งตัวดิฉันเองก็ไม่ทราบว่า ผลกรรมที่เขาได้รับจากบาปที่ตนเองเป็นคนก่อนั้น คุ้มหรือไม่กับสิ่งที่เขาได้รับ หรือว่าน่าจะลงโทษให้มากกว่านี้สักกี่เท่าจึงจะสาสมกัน ท่านผู้อ่านลองพิจารณาดูก็แล้วกันนะคะ นายโหนก เป็นโจรใจร้ายที่ชอบเที่ยวปล้นจี้ไปทั่วหลายแห่งจนนับไม่ถ้วน ปล้นครั้งแรกนายโหนกไปปล้นตายายคู่หนึ่งที่นอนเฝ้าสวนอยู่ที่ปลายนา นายโหนกไปถึงก็ไปขอข้าวขอน้ำ ตายายคู่นั้นกิน กินเสร็จก็ปล้นเอาเงินทอง แล้วยิงสองตายาย แต่การปล้นครั้งนี้เป็นการปล้นครั้งแรกของนายโหนก แกอาจจะยังไม่ค่อยชำนาญ จึงยิงไม่ถูกจุดสำคัญ ตายายคู่นั้นจึงรอดชีวิต ปัจจุบันนี้ ยายท่านก็ยังมีชีวิตอยู่ แต่สามียายเป็นโรคชราเสียชีวิตไปแล้ว
    ต่อมานายโหนกได้แต่งงานกับหญิงคนหนึ่งที่หมู่บ้านของดิฉันนี่เอง หญิงคนนี้แหละพ่อแม่ของเธอรู้ดีว่าเสือโหนกเป็นโจร แต่ก็ชอบ เหตุที่เป็นเช่นนี้อาจจะเพราะว่า พ่อของหญิงคนนี้ก็เป็นนักเลงเก่าเหมือนกัน แกเคยฆ่าคนตายมาแล้ว และติดคุกอยู่ที่บางขวางหลายปี
    ต่อมาพอทั้งสองแต่งงานกันแล้ว นายโหนกก็พาภรรยาออกเรือนไปอยู่กับพ่อแม่ของนายโหนกที่จังหวัดอื่น ทั้งสองอยู่กินกันโดยนายโหนกก็ยังยึดอาชีพไปปล้นคนอื่นกิน เวลาพาภรรยากลับมาบ้าน เยี่ยมพ่อตายแม่ยายแต่ละครั้ง จะแต่งตัวโก้ เอาเงินมาให้พ่อตาแม่ยายใช้เป็นมัด ๆ พ่อตาแม่ยายก็พอใจ รักลูกเขยคนนี้มาก
    ต่อมานายโหนกถูกตำรวจจับได้ ติดคุกอยู่หลายปี นาน ๆ ครั้งจึงจะปล่อยพวกนักโทษนี้ ออกมาเยี่ยมครอบครัวได้บ้างเป็นครั้งคราว ซึ่งบางคนพอตำรวจปล่อยตัวออกมาอย่างนั้น เมื่อได้โอกาสหลบหนีไปก็มี แต่นายโหนกไม่หนี
    ตอนที่นายโหนกติดคุกอยู่หลายปีนั้น ภรรยาเขาก็ตั้งท้องขึ้น และได้คลอดลูกชาย มีผู้คนพูดกันเซ็งแซ่ว่า สามีติดคุก แต่ภรรยาอยู่กับปู่ย่า กลับตั้งท้องได้ยังไงกัน จึงมีผู้คนพูดกันว่า ภรรยานายโหนกเป็นลูกสะใภ้เมียปู่ ซึ่งมันก็เป็นความจริง แต่ภรรยานายโหนกก็ปฏิเสธว่าไม่ใช่ เธอบอกว่าท้องกับนายโหนก ตอนที่ตำรวจปล่อยนักโทษออกมาเยี่ยมครอบครัว พอนายโหนกรู้เรื่องนี้เข้าก็บอกว่า ถ้าได้ยินใครพูดว่าภรรยาเขาเป็นลูกสะใภ้เมียปู่อีกล่ะก็ จะฆ่าคนนั้นเสีย เรื่องนี้จึงได้เงียบไป
    ต่อมาเมื่อนายโหนกพ้นโทษแล้ว ก็ยังไม่ทิ้งนิสัยเดิม มีอาชีพจี้ปล้นเหมือนเดิม คราวนี้เสือโหนกไปปล้นที่ขอนแก่น เข้าไปปล้นเอาเงินทองชายคนหนึ่ง แล้วเอาชุดของชายคนนั้นมาใส่ หลังจากที่ฆ่าเขาแล้ว ก็เอารถจักรยานยนต์ของชายที่เขาปล้นและฆ่านั้นขับหนีมา คราวนี้ตำรวจก็จับตัวได้เหมือนเดิม
    นายโหนกถูกจับครั้งนี้ ทำให้พ่อแม่ของเขาต้องขายที่ขายนาไถ่ลูกชายออกมาจนได้ ซึ่งการที่นายโหนกได้ติดคุกซ้ำแล้วซ้ำเล่าเช่นนี้ มันก็น่าจะเป็นบทเรียนราคาแพงสำหรับเขา แต่ก็ไม่เป็นเช่นนั้นเลย เขายังทำตัวเหมือนเดิม กลับยิ่งประพฤติตัวร้ายแรงขึ้นกว่าคราวก่อน ๆ มา
    ต่อมาอีกหลายปี ภรรยาของนายโหนกก็มีลูกคนที่ ๒ คนที่ ๓ และ คนที่ ๔ รวมแล้วมีลูกทั้งหมด ๔ คน ชาย ๒ หญิง ๒ นายโหนกก็ปล้นจี้คนอื่นหาเลี้ยงลูกเมียเหมือนเดิม ที่สำคัญนายโหนกยังเป็นนักล่าผู้หญิงอีกด้วย และด้วยเหตุนี้จึงทำให้ภรรยานายโหนกไม่พอใจ นายโหนกกับภรรยามักจะทะเลาะกัน ตีกัน จนภรรยาของแกทนไม่ไหว ต้องหอบลูกหนีมาอยู่กับพ่อแม่ แต่ถึงยังไงก็ตาม ทั้งสองก็ยังเป็นสามีภรรยากัน จึงเข้าใจกันเหมือนเดิม นายโหนกจึงมาอยู่กับภรรยาที่บ้าน ซึ่งก็คือหมู่บ้านที่ดิฉันอยู่นั่นแหละ
    เมื่อนายโหนกมาอยู่ที่บ้านนี้ ก็ปล้นกินเหมือนเดิม แต่นายโหนกก็ไม่ปล้นคนในหมู่บ้านเดียวกัน ทุกคนไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่ ก็รู้ว่านายโหนกเป็นโจรที่ชั่วร้าย เลวทรามมากแค่ไหน แต่ก็พูดไม่ได้ ถ้าใครขืนพูดออกไป ไม่ได้อยู่เป็นสุขแน่ แต่ที่น่าสังเกตอยู่อย่างหนึ่งคือ ถ้าใครไปหานายโหนกคนนี้ เขาจะพูดจาปราศรัยดีมาก ขออะไรก็ให้หมด ตอนที่แกพูดดีกับเรานี่ แทบไม่น่าเป็นไปได้เลย ที่คนอย่างแกจะเป็นโจรชั่วไปได้ ก็คงจะเหมือนคำสุภาษิตที่ว่า ปากปราศรัย แต่น้ำใจเชือดคอ นั่นเอง
    นายโหนกมาอยู่ที่หมู่บ้านนี้ได้สักระยะหนึ่ง ครอบครัวของแกก็ร่ำรวยขึ้นมากผิดปกติ ลูกเมียก็แต่งตัวโก้หรู ไปไหน ๆ ก็เดินเชิดเชียว เราถามแทบไม่อยากพูดกับเรา และนายโหนกนี้ยังมีเพื่อนโจรอีก ๒
     
  2. นิรมิต

    นิรมิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    61
    ค่าพลัง:
    +171
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=549 align=center bgColor=#ffffcc border=0><TBODY><TR><TD colSpan=4>พรหมวิหาร 4

    </TD></TR><TR><TD> </TD><TD colSpan=4>ความหมายของพรหมวิหาร 4
    - พรหมวิหาร แปลว่า ธรรมของพรหมหรือของท่านผู้เป็นใหญ่ พรหมวิหารเป็นหลักธรรมสำหรับทุกคน เป็นหลักธรรมประจำใจที่จะช่วยให้เราดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์ หลักธรรมนี้ได้แก่
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=301 align=center border=0><TBODY><TR><TD width=55>เมตตา</TD><TD width=246>ความปรารถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข</TD></TR><TR><TD width=55>กรุณา</TD><TD width=246>ความปราถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์</TD></TR><TR><TD width=55>มุทิตา</TD><TD width=246>ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี</TD></TR><TR><TD width=55>อุเบกขา</TD><TD width=246>การรู้จักวางเฉย</TD></TR></TBODY></TABLE>
    คำอธิบายพรหมวิหาร 4
    1. เมตตา : ความปราถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข ความสุขเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา ความสุขเกิดขึ้นได้ทั้งกายและใจ เช่น ความสุขเกิดการมีทรัพย์ ความสุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์เพื่อการบริโภค ความสุขเกิดจากการไม่เป็นหนี้
    และความสุขเกิดจากการทำงานที่ปราศจากโทษ เป็นต้น 2. กรุณา : ความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ ความทุกข์ คือ สิ่งที่เข้ามาเบียดเบียนให้เกิดความไม่สบายกาย
    ไม่สบายใจ และเกิดขึ้นจากปัจจัยหลายประการด้วยกัน พระพุทธองค์ทรงสรุปไว้ว่าความทุกข์มี 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
    - ทุกข์โดยสภาวะ หรือเกิดจากเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของร่างกาย เช่น การเกิด การเจ็บไข้ ความแก่และ
    ความตายสิ่งมีชีวิตทั้งหลายที่เกิดมาในโลกจะต้องประสบกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งรวมเรียกว่า กายิกทุกข์
    - ทุกข์จรหรือทุกข์ทางใจ อันเป็นความทุกข์ที่เกิดจากสาเหตุที่อยู่นอกตัวเรา เช่น เมื่อปรารถนาแล้วไม่สมหวังก็เป็นทุกข์ การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ รวมเรียกว่า เจตสิกทุกข์
    3. มุทิตา : ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี คำว่า "ดี" ในที่นี้ หมายถึง การมีความสุขหรือมีความเจริญก้าวหน้า ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีจึงหมายถึง ความปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุขความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆขึ้น ไม่มีจิตใจริษยา ความริษยา คือ ความไม่สบายใจ ความโกรธ ความฟุ้งซ่านซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดีกว่าตน เช่น เห็นเพื่อนแต่งตัวเรียบร้อยแล้วครูชมเชยก็เกิดความริษยาจึงแกล้งเอาเศษชอล์ก โคลน หรือหมึกไปป้ายตามเสื้อกางเกงของเพื่อนนักเรียนคนนั้นให้สกปรกเลอะเทอะ เราต้องหมั่นฝึกหัดตนให้เป็นคนที่มีมุทิตา เพราะจะสร้างไมตรีและผูกมิตรกับผู้อื่นได้ง่ายและลึกซึ้ง
    4. อุเบกขา : การรู้จักวางเฉย หมายถึง การวางใจเป็นกลางเพราะพิจารณาเห็นว่า ใครทำดีย่อมได้ดี ใครทำชั่วย่อมได้ชั่ว ตามกฎแห่งกรรม คือ ใครทำสิ่งใดไว้สิ่งนั้นย่อมตอบสนองคืนบุคคลผู้กระทำ เมื่อเราเห็นใครได้รับผลกรรมในทางที่เป็นโทษเราก็ไม่ควรดีใจหรือคิดซ้ำเติมเขาในเรื่องที่เกิดขึ้น เราควรมีความปรารถนาดี คือพยายามช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์ในลักษณะที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม

    </TD></TR></TBODY></TABLE>http://www.learntripitaka.com/scruple/prom4.html
     

แชร์หน้านี้

Loading...