จิตดูจิต (หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ)

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 15 ธันวาคม 2010.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    จิตดูจิต
    <?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p> </O:p>
    ให้ตั้งใจสำรวมใจของเราให้ดี ให้นึกว่าเรามาอยู่วัดวาศาสนานี้เข้ามาฝึกตนไม่ใช่มาอยู่เฉย ๆ ทั้งคฤหัสทั้งนักบวชเหมือนกันเข้ามาในวัดในวาแล้วต้องฝึกตน เพราะในวัดนี้ไม่มีอะไรที่จะเป็นสิ่งที่ให้ความต้องการปรารถนา เช่น เงินทองเข้าของอะไร บ่อเงินบ่อทองแบบนี้ไม่มี มีแต่เป็นสถานที่ สงบสงัด น่ารื่นรม บันเทิง แก่ผู้ที่มุ่งต่อความสงบ ระงับเป็นส่วนมาก ดังนั้นเราทุกคนที่มาอยู่ในวัดวาศาสนานี้ก็ให้เข้าใจความหมายดังกล่าวมานี้ แล้วก็พยายามทำตนให้สงบระงับให้ได้
    สงบภายนอก ได้แก่ สงบกาย สงบวาจา จากโทษต่าง ๆ ได้แก่ เว้นจากพุทธบัญญัติที่ตนได้สมาทานแล้ว ตามเพศตามภูมิของตน สงบภายใน ได้แก่ การทำจิตใจให้สงบ จากนิวรณ์ทั้ง 5 คือ ความรัก ความชัง ความง่วงเหงาหาวนอน ความฟุ้งซ่านรำคาญจิตใจ เอาสงสัย ลังเล เรื่องบาปบุญคุณโทษ ประโยชน์และไม่ใช่ประโยชน์ อย่าให้กิเลสเหล่านี้ครอบงำจิตใจ ถ้ากิเลสเหล่านี้ครอบงำจิตใจแล้วใจก็สงบไม่ได้ ก็ต้องสำรวจตรวจตราดู ในใจของใจของเรา ในขณะที่เรานั่งสมาธิ ภาวนาอยู่นี้ จิตดวงนี้เป็นยังไง มันตั้งมั่นอยู่ในปัจจุบันนี้หรือว่ามันคิดสงสัยไปทางไหนก็รู้ ทุกคนก็ย่อมรู้ตัวดี ถ้ารู้ว่ามันคิดสงสัยไปก็ แสดงว่าสติมันอ่อน สติที่ควบคุมจิตห้ามจิตนั้นมันอ่อน เราก็บำรุงสติให้มันเข้มแข็งเข้าไป คือ เพ่งจิต ระลึกเข้าไปหาที่จิต คือความรู้สึกอันนั้น โดยอาศัยลมหายใจเข้าออกนี้เป็นทางเพ่ง เพ่งเข้าไป ในขณะที่เพ่งเข้าไปอย่างนั้น กิเลสมันต่อต้านมันจะทำให้ จิตนี้หวั่นไหว เมื่อเราเพ่งไม่ถอย สติมันแก่กล้าเข้าไป จิตมันก็ไม่หวั่นไหว กิเลสมันก็สู้อำนาจสมาธิไม่ได้ มันก็ถอนตัวออกไป

    ถ้าใครไม่อดไม่ทน ไม่พยายามเพ่งอยู่ในปัจจุบันแล้ว จิตสงบไม่ได้เลย กิเลสมันมาชวนให้ จิตคิดไปโน่นไปนี่ อยากได้อันนั้น อันนี้ มันยึดเรื่องร้าย ๆ มันก็ปลุงก็แต่งเรื่องนั้น เรียกว่าอุปมาเหมือนอย่างคนขับรถ เมื่อสติมันเลื่อนลอยแล้วมันก็ไม่รู้จักบังคับรถให้วิ่งไปตามทางที่ถูกต้องได้ บางทีวิ่งอยู่ทางซ้ายมันก็เฉไปข้างขวา นั่นมันผิดทางแล้วเป็นงั้น มันก็มักจะเกิดอุบัติเหตุชนกัน ถึงซึ่งความเสียหายอันนี้ฉันใดก็ฉันนั้น จิตนี้ถ้าขาดสติควบคุม สติอ่อนแอแล้ว จิตนี้มันก็สงบอยู่เป็นปกติไม่ได้ แล้วก็ไม่มีปัญญากำกับจิตเลย ไม่มีปัญญามาสอนจิตทำให้กิเลสมันจะจูงไปยังไงก็ไปตามมัน กิเลสมันจูงให้รู้มันก็รู้ไป มันก็อยากได้อะไรต่ออะไรไม่มีที่สิ้นสุด กิเลสมันจูงให้โกรธก็โกรธไป เรื่องไม่ดีไม่งามกระทบกระทั่งมา มันก็ทนไม่ไหวก็โกรธไป

    อย่างนี้ก็เพราะเหตุว่า สติอ่อนแอ ควบคุมจิตไม่อยู่ไม่ผึกจิตมาแต่ก่อน ไม่ฝึกจิตให้สงบจากอารมณ์ต่าง ๆ เหล่านั้นมาแต่ก่อน หวั่นไหวได้เรื่อยมา พอมันกระทบอย่างแรงเข้าก็ระเบิดออกมา ทางกาย ทางวาจา อันนี้แหละมันสำคัญมาก ผู้ปฏิบัติธรรมอย่าไปเฉยเมยต้องพิจารณาให้รู้ให้เห็น เรื่องความเป็นจริง ก็เพราะว่าจิตใจที่มันสงบระงับไม่ได้ อาศัยกิเลสนี้มันรบกวนเอา แต่ตนไม่มีกำลังพอที่จะต้านทานกิเลสได้ เรื่องมันน่ะ กำลังใจอ่อนแอก็เพราะสมาธินั่นแหละ คือมันไม่ตั้งมั่นลงไป ที่มันไม่ตั้งมั่นก็เพราะสติมันอ่อน สติไม่เคยห้ามจิต

    ถ้ามีเรื่องไม่ดีมากระทบกระทั่งเข้ามันก็หงุดหงิด ขุ่นเคืองใจขึ้นมาทันที แล้วก็ไม่คิดที่จะระงับมัน ความขุ่นเคืองอันนั้นน่ะจะปล่อยให้มันเผาจิต ให้ร่าวร้อนไปอยู่นั้น บางทีมันก็ไม่ได้แสดงออกทางวาจา หรือทางกายแล้วมันก็ขุ่นอยู่ในจิตนั้น ครั้นเมื่อมันเผลอ ๆ ตัว มันมีเรื่องไม่ดีกระทบเข้ามามันก็ระเบิดออกมา เนื่องจากมันไม่ได้กำหนดละ ถ้ามีผู้มีสติสัมปชัญญะอยู่ หากว่าเผลอไป กิริยาอาการของจิตมันแสดงออกอย่างนั้นก็รู้ตัวได้ แล้วก็รีบระงับเลย รีบกำหนดใจละอารมย์อันนั้นเสีย ระงับโดยทางปัญญาวิปัสสะนา มองเห็นอารมย์เหล่านั้น มันไม่เที่ยงอะไรเกิดแล้วดับไป ไม่ใช่มีตัวมีตนอะไร
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    อ่าวมันต้องระงับด้วยวิปัสสะนา เมื่อใจตั้งมั่นลงไปแล้วอย่าไปข่มกิเลสไว้เฉย ๆ มันต้องใช้ปัญญาพิจารณาเหตุผล เรื่องที่บังเกิดขึ้นให้รู้ว่าตนหลงก็รู้ว่ามันหลงมันเผลอ เมื่อตนไม่หลงตนรู้อยู่ก็รู้ว่าตนรู้ ตนละมันแล้วก้รู้ว่าตนละ นี่ความรู้อันนี้น่ะ ต้องบำรุงให้มันแก่กล้าขึ้น

    ถ้าไม่เช่นนั้นแล้ว ก็บรรเทากิเลสไม่ได้เลย เนื่องจากไม่รู้นี่เองแหละ เวลากิเลสมันก้มลงเข้ามาแล้วลืมตัว มันจึงละมันไม่ได้ นี่สำคัญมาก เหมือนอย่างคนขับรถ พอรถมันเฉไปหน่อยมันรู้ตัวได้ มันก็ได้วูบเข้าทางที่ถูกต้องได้ ไม่ทันได้เกิดอุบัติเหตุ ถ้าหากว่าไม่รู้ตัวในขณะที่รถมันออกนอกทางแล้วมันก็ไม่ มักจะเกิดอุบัติเหตุแล้ว ไปชนกับรถอื่น เพราะทางมันจำกัด ข้ออุปมานี้ฉันใดก็ฉันนั้น

    เมื่อบุคคลมีสติสัมปชัญญะอ่อนแอ มีสมาธิอ่อน จิตใจก็ไม่เข้มแข็ง ไม่หนักแน่น การควบคุมจิตก็น้อย ไม่กี่ทาง เมื่อเป็นเช่นนี้ หากว่ามีเรื่องไม่ดีไม่งาม ภายนอกกระทบเข้ามามันจิตไม่มีสติห้ามประคับประคองอยู่แล้ว มันก็หวั่นไหวไปตามเรื่องนั้น ๆ เลย สำคัญผิดคิดว่าเขาด่าเรา เขาว่าเรา เขาทำไม่ดีกับเรา อย่างนั้นน่ะ มันก็เลยเห็นผิดไปอย่างนั้น หมายความว่าเห็นผิดไปไม่ตรงกับปรมัตะธรรม

    แต่ถ้าสมมุติของโลกแล้ว มันก็เป็นอย่างนั้นแหละ เพราะว่ามันถือมั่นว่าร่างกายนี้เป็นตัวเป็นตน เป็นเรา เป็นเขา ตา หู จมูก ลิ้น กาย มือเท้าต่าง ๆ หรือ เสียงต่าง ๆ ที่เปล่งออกมานั้น ก็เป็นของเราของเขาอยู่ มันเป็นอย่างนั้นเรื่องมันน่ะ สาเหตุที่มันจะห้ามจิตให้อยู่ ในเมื่อมาเจริญวิปัสสะนานี้บ่อย ๆ เพ่งพิจารณา ตา หู จมูก ลิ้น กาย มือ เท้า ต่าง ๆ เหล่านี้น่ะ มันเป็นยังไง แต่ทุกคนมันก็รู้อยู่นั้นแหละ ผู้สนใจในธรรมะ รู้ว่าธาตุ 4 ขันธ์ 5 นี้เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

    แต่เพียงรู้ตามตำรา เฉย ๆ มันก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร กิเลสก็ไม่ระงับ ไม่เกิดวิจิตราความเบื่อหน่าย พระพุทธเจ้าจึงสอนไว้ในพระธรรมคุณ โอปนายิโก ให้น้อมเอาคำสอนของพระพุทธเจ้า เข้ามาสู่จิตใจอันนี้ แล้วมาเพ่งดู ธาตุทั้ง 4 ขันธ์ทั้ง 5 อันนี้ ให้เห็นแจ่มแจ้ง ด้วยปัญญา ความเป็นจริงก็ความจริงของขันธ์ 5 มัน ก็ไม่เที่ยง มันแปรปรวนไป มันเป็นทุกข์ ทนได้ยาก ลำบาก มันเป็นอนัตตาบังคับไม่ได้ ไม่เป็นไปตามใจหวัง ในความจริงของธาตุ 4 ขันธ์ 5 มันก็มีอยู่อย่างนี้ แต่จิตมันไม่ยอมรับ

    จิตที่หลงที่เมาน่ะ ไม่ได้สำคัญว่าแต่ เป็นตัวเป็นตนอยู่อย่างนั้นน่ะ ในความรู้ความเห็น ตามความเป็นจริงเหล่านี้เราต้องบำเพ็ญ ให้สม่ำเสมอให้ติดต่อกันไปเรื่อยไป ไม่ว่ากลางวันไม่ว่ากลางคืน ไม่ว่ายืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม พูด จา ทำการงาน อะไรต่ออะไร ก็ต้องมีสติสัมปชัญญะ ประคับประคองความรู้ความเห็นอันนี้ไว้ในใจเสมอ ให้ความรู้ความเห็นอันนี้มันปรากฏอยู่ในใจ อยู่นั้น เมื่อรักษาความรู้ความเห็นนี้ไว้ได้ เวลามีเหตุอะไรกระทบกระทั่งมาก็รู้ทัน หรือมีเหตุดี หรือไม่ดีก็ชั่ง

    หมายความว่า เมื่อรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส มากระทบ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เหล่านี้ มันก็รู้ทัน รู้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างอันนี้ เกิดขึ้นแล้วก็แปรปรวนแตกดับไป ไม่มีอะไรเป็นตัวเป็นตน เป็นเขา เป็นเราไม่มี เราต้องฝึกจิตใจนี้ให้คิดให้นึก ให้กำหนดรู้ ความเป็นจริงอย่างนี้เสมอ ๆ ไป อย่างนี้น่ะ การเจริญวิปัสสนาน่ะ อย่าสักแต่ว่า รูปมากระทบตา แล้วก็ ให้มันผ่านไปเฉย ๆ ยินดีไปตามมัน ยินร้ายไปตามมัน ไม่ได้ทวนกระแสจิตเลย เสียงมากระทบหูก็เหมือนกันก็ปล่อยให้มันยินดียินร้ายไป

    กลิ่นมากระทบจมูก ก็เหมือนกัน รสกระทบลิ้นก็ดี เย็น ร้อน อ่อน แข็ง มากระทบกาย ก็ปล่อยให้จิตหลงยินดียินร้ายไปตามสัมผัสอันนั้น อยู่อย่างนี้ มันก็เป็นเรื่องของคนธรรมดาสามัญทั่วๆ ไป หมายความว่าเป็นเรื่องของบุคคลที่ไม่ได้ฝึกตน ไม่ได้เจริญสมถะวิปัสสะนาอะไร ผู้เจริญสมถะวิปัสสะนา ต้องพยายาม ควบคุมจิตนี้ให้ได้ เรียกว่าประคองจิตนี้อยู่เสมอตลอดทุกกิริยาบทอย่างที่ว่านั้น ทำความรู้ตัวอยู่ ระมัดระวัง เหตุภายนอกที่จะมากระทบกระทั่งเอา ต้องระวังอยู่เสมออย่างนี้น่ะ
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เพราะว่า เมื่อธาตุ 4 ขันธ์ 5 นี้ยังไม่แตกไม่ดับ มันก็ต้องได้สัมผัสกับโรคอันนี้อยู่อย่างนั้นเลย ตาก็ได้สัมผัสกับรูปทั้งรูปดีรูปชั่ว หูมันก็ได้สัมผัสกับเสียงดีเสียงชั่ว จมูกมันก็ได้สัมผัสกับกลิ่นเหม็นกลิ่นหอม ลิ้นมันก็ได้สัมผัสกับรสอาหารที่อร่อยกับไม่อร่อยหรือรสขม รสเค็ม รสเปรี้ยว ก็แล้วแต่เอาอาหารมีรสชนิดใดเข้าไป มันก็รู้ทั้งนั้นเลย กายมันก็จำเป็นต้องได้สัมผัส กับเย็น ร้อน อ่อน แข็ง อยู่เสมอไป

    ทีนี้ผู้เจริญสมถะวิปัสสะนา ก็ฝึกจิตนี้แหละให้มันเห็นความเกิดความดับของสิ่งต่าง ๆ อายุวรรถนะ ภายใน ภายนอก ที่มากระทบกันอยู่นี้ตลอดเวลา จะต้องกำหนดให้รู้ว่ามันเกิด มันดับ มันแปรปรวน มันไม่ใช่ของเขา ไม่ใช่ของเรา ที่เราต้องกำหนดรู้อยู่เรื่อย ๆ ไป ฝึกสติ ฝึกปัญญา ให้คล่องแคล่ว ให้เจริญ ไปเรื่อย ๆ จนมันมีความรู้ความเห็นขึ้น ในใจเสมอ ๆ ว่า วิสัตโตไม่ใช่สัต วิชีโวไม่ใช่ชีวิต

    ศูนย์โยเป็นของว่างเปล่าจากสัตว์จากบุคคล ทาตุมัตตะโภเป็นเศษจากวัด ธาตุทั้ง 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ ประชุมกันอยู่เท่านั้น เมื่อหมดเหตุปัจจัยแล้วมันก็แตกดับทำลายลง เวลาเหตุปัจจัยยังอยู่ มันก็ยังเป็นไปอยู่ เช่นร่างกายอันนี้ กัมมัตจรูปพระพุทธเจ้าตรัสไว้ รูปกายอันนี้มันเกิดด้วยกรรม มีกรรมชั่วที่ บุคคลกระทำมาแต่ชาติก่อน มันติดตามมาตกแต่งรูปร่างอันนี้ ให้ได้อาศัย อ่ากรรมที่ตกแต่งรูปร่างนี้มันก็ไม่เที่ยง มีขอบเขต แล้วก็แต่งให้มันแล้วมันก็รักษาไว้ กรรมดีกรรมชั่วที่ ทำมาแต่ก่อนนั้นน่ะ รักษารูปร่างอันนี้ไม่ให้แปรปรวน ไม่ให้แตกดับไปก่อน

    ครั้นพอเหตุปัจจัยดังกล่าวมานี้มัน ร่อยหรอลงไปมันใกล้จะหมดเข้าไป รูปกายอันนี้มันก็ชำรุดทรุดโทรมไป พอเหตุปัจจัยนี้มันหมดลงอินทรีย์มันก็ดับ มันก็แตกดับไป ร่างกายอันนี้ก็ตั้งอยู่ไม่ได้ อันนี้น่ะที่พระพุทธเจ้าว่า รูปัง อนิจจัง รูปมันไม่เที่ยง เพราะมันอาศัยเหตุอันไม่เที่ยง ปัจจัยไม่เที่ยง มันมีขอบเขต เหตุปัจจัยคือบุญและบาป แล้วมันหมดลงเมื่อใด รูปนี้ก็ตั้งอยู่ไม่ได้ ก็พิจารณาให้มันเห็น อย่างนี้อยู่เสมอ ๆ ไม่ใช่พิจารณาเพียงครั้งเดียว สองครั้งก็แล้วไปน่ะ ต้องพิจารณาเรื่อย ๆ ก็ต้องบำรุงความรู้ความเห็นอันนี้ ให้มันแจ่มกระจ่างขึ้นมา เรื่อย ๆ

    <?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p> </O:p>
    พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า
    มโหรี กโต ทำให้มากเจริญให้มาก
    อภิณญายะ จะเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง
    สัมโมธายะ จะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ หรือบรรลุ ความจริงให้ได้
    วิปปาณาญะจะ จะเป็นผู้ดับ

    หมายความว่า ดับราคะ ดับโทสะ ดับโมหะ จากจิตใจนี้หมดเลย กิเลสเหล่านี้ย่อมดับ จากจิตใจหมด เมื่อพิจารณาให้มาก ๆ เข้าไปน่ะ กิเลสอันนี้มันตั้งอยู่ไม่ได้ มันค่อยดับไปที่ละน้อย ละน้อยไป เพราะว่า อินทรีย์บารมียังอ่อนอยู่ จะไปพิจารณาให้รู้เห็นครั้งเดียวสองครั้งแล้ว กิเลสนี้มันจะดับไปเลยอย่างงี้ไม่ได้แล้ว

    มันขึ้นอยู่กับบุญบารมี ขึ้นอยู่กับปัญญาญาณ บุญบารมีบันดาลให้เกิดปัญญาญาณความรู้ยิ่ง อย่างนี้น่ะ ถ้าบุญบารมีน้อยปัญญามันก็น้อยความรู้ความเห็นในธรรมของจริงมันก็น้อย มันก็ปรากฏมาอยู่ชั่วระยะหนึ่งก็ดับไป ก็ไม่รู้ว่าเกิดขึ้นมา มีคนมีบารมีอินทรีย์ยังอ่อน การที่อินทรีย์จะแก่กล้าได้ ก็เพราะว่าเราเจริญอยู่บ่อย ๆ อย่างว่ามาแล้วนั้นแหละ

    พิจารณาอยู่อย่างนั้น อย่าให้มันเห็นว่า คนเป็นคนจริง ๆ หญิงเป็นหญิงจริง ๆ ชายเป็นชายจริง ๆ อย่างนี้ อย่าให้มันเห็นอย่างนั้น ให้มันเห็นอยู่ในใจว่าไม่ใช่ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล เป็นแต่เพียง ธาตุ 4 ขันธ์ 5 ประชุมกันอยู่เท่านั้น เมื่อมันหมดเหตุปัจจัยแล้วมันก็แตกทำลายลง เวลามันยังไม่แตกมันทำลายลงมันก็วิบัติแปรปรวนไป เวลาเจ็บโน้น ปวดนี้ เดี๋ยวก็ฟันชำรุด ปวดฟัน ต้องได้ถอนฟัน เดี๋ยวก็ปวดศรีษะ ปวดท้อง เดี๋ยวก็ปวดหัวเข่า คนอายุมากเข้ามาแล้ว หัวเข่า น้ำไขข้อที่มาเลี้ยงหัวเข่ามันแห้งไป หัวเข่านี้ก็เลยไม่มีกำลัง ลุกก็ยาก นั่งก็ยาก เดินเหินไปมาทางไหนก็ไม่มีกำลัง คอยแต่จะหกล้ม คนแก่มักจะหกล้มเป็นอย่างนี้แหละ มักขาดสติสัมปชัญญะอย่างหนึ่ง

    เมื่อเวลามีชีวิตอยู่มันก็แปรปรวนให้เห็นอย่างนี้แล้วน่ะเราจะไปสงสัยอะไร ผู้ที่ยังหนุ่มยังแน่นก็อาจจะยังไม่ปรากฏ แต่มันก็คงจะปรากฏได้เป็นบางคนแหละ ความวิบัติแปรปรวนของร่างกายนี้ แต่บางคนก็อาจจะยังอยู่ ปกติอยู่ ถึงปกติได้มันก็ไปได้ไม่นานเท่าใดนัก มันก็ชำรุดทรุดโทรม ถึงแม้คนที่มีอายุยืน เป็น 100 ปี แต่แล้วก็ต้องตายเหมือนกัน ต่างกันที่ตายแล้วเจ็บมากเจ็บน้อย คนบุญน้อยอายุสั้นและก็ตายง่าย

    ในปัจจุบันนี้คนเราอายุสั้น ดังนั้นเราต้องพิจารณาให้มันเห็น เห็นว่าความเป็นอยู่ของเรานี้มันน้อยเดียว ดูอย่างคนสมัยนี้น่ะ อายุ 11 ปี ก็แต่งงานได้แล้ว บางคนก็สมัครใจแต่ง หรือเป็นโสเภณี ต่างกับคนในสมัยก่อนอายุ 11 ปี ก็ยังคิดว่าเป็นเด็กอยู่ อายุ 18-19 นั่นแหละถึงรู้ มาเดี๋ยวนี้อายุสั้นกิเลสมันก็หนามากขึ้น

    <O:p> </O:p>
    <O:p> </O:p><O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    <O:p> http://www.thamprawes.com/page06-15.html</O:p>
     
  4. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,244
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,001

    ดู vdo ข้างบนนี้ก็ได้เช่นกันครับ อนุโมทนาครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...