คาถา บูชาเสด็จเตี่ย (กรมหลวงชุมพร) - เอื้ออังกูร

ในห้อง 'รวมบทสวดมนต์และคาถา' ตั้งกระทู้โดย torphak, 1 กุมภาพันธ์ 2021.

  1. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
     
  2. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
     
  3. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  4. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
    upload_2022-9-30_7-2-33.jpeg
    รอฉันรอเธออยู่....แต่ไม่รู้เธออยู่หนใด...เธอจะมาๆ เมื่อไร..นัดไว้ล่ะทำไมไม่มา?
    ตรงต่อเวลา พวกเราต้องมาให้ตรงเวลา ตร้ง ตรง ตรงเวลา ...วันคืนไม่คอยท่า วันเวลาไม่เคยคอยใคร
     
  5. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  6. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  7. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
    images?q=tbn:ANd9GcTC8YWw9blaX-ByRG0tRx5THO_WeDKc4WtrDA&usqp=CAU.jpg
    นี่ตื่นเช้า รึว่าไม่ได้นอน..บอกมานะ ต้องให้คาดคั้นกันแต่เช้า:D

    ดีมากมาแต่เช้า ...เรามอบสิ่งที่เป็นมงคลให้เลยเช้านี้..:)
    เอาเพลงเพราะๆ ไปฟังด้วยเลย..อิอิ

    ที่มา : youtube joboeii
    รักที่ต้องมนตรา (บุษยา รังสี - ต้นฉบับเดิม Stereo)
    www.youtube.com/watch?v=xIzXXXOUAMI
    โอมมะลุกกุ๊กกุ๋ยo_O
     
  8. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  9. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  10. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
    ขึ้นโขนชิงธง "ประเพณีที่ยิ่งใหญ่แห่งลุ่มน้ำหลังสวน"
    ผู้เขียน : วิโรจน์ คงจันทร์

    cover_104.jpg
    งานแข่งเรือ ที่ลือเลื่อง เมืองหลังสวน
    เป็นสื่อชวน ผู้คน ต่างกล่าวขาน
    งานขึ้นโขน ชิงธง ในตำนาน
    ร่วมสืบสาน กันมา กว่าร้อยปี
    ขบวนเรือ ตกแต่ง งามเฉิดฉาย
    เหล่าฝีพาย แต่งกาย ล้วนหลากสี
    เอกลักษณ์ เรือขุด แล่นเร็วดี
    และต้องมี คนปีนโขน ขึ้นชิงธง
    สองขารัด บนโขน โจนสุดแขน
    คว้าให้แม่น ธงผืนงาม ตามประสงค์
    ถ้าสองลำ ต่างคว้า ได้ผืนธง
    ก็จบลง เสมอกัน ทั้งสองลำ
    ครั้งก่อนเก่า บันทึก เอาไว้หนา
    พระองค์เจ้า ทิพย์อาภา อุปถัมภ์
    เสด็จมา งานขึ้นโขน คนจดจำ
    มีขันน้ำ พานรอง มาประทาน
    วัฒนธรรม แห่งสายน้ำ เพียงหนึ่งเดียว
    เชิญมาเทียว ร่วมด้วย ช่วยสืบสาน
    อนุรักษ์ สืบไว้ เป็นตำนาน
    เป็นมรดก ของลูกหลาน ตลอดไป
    ขึ้นโขนชิงธงในตำนาน /
    ประพันธ์โดยผู้เขียน : วิโรจน์คงจันทร์

    ประเพณีงานแข่งเรือในเทศกาลวันออกพรรษาซึ่งเป็นประเพณีแห่งสายน้ำนั้นหาชมได้ทั่วไป เพราะมีอยู่แทบทุกภูมิภาคในประเทศไทย กิจกรรมของแต่ละที่ล้วนมีขั้นตอนและกติกาการแข่งขันที่คล้ายคลึงกัน เรือลำไหนที่มีฝีพายฝึกซ้อมมาดีมีความพร้อมเพรียงและพายเข้าเส้นชัยก่อนก็จะเป็นฝ่ายชนะ แต่มีอยู่ที่หนึ่งที่แปลกกว่าที่อื่นเพราะไม่ถือเอาเส้นชัยเป็นเกณฑ์การตัดสิน แต่ตัดสินกันที่นายท้ายเรือต้องถือท้ายให้ตรงเพื่อให้นายหัวเรือสามารถคว้าธงที่ทุ่นเส้นชัยได้ก่อนก็จะเป็นผู้ชนะ งานแข่งเรือที่กล่าวมานี้ชื่อว่า งานแข่งเรือขึ้นโขนชิงธงที่อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพรนั่นเอง

    บรรยากาศการแข่งเรือของที่นี่เป็นที่กล่าวขานในเรื่องความเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นเพียงหนึ่งเดียวโดยมีข้อมูลบันทึกปรากฏเป็นหลักฐานว่า มีการแข่งขันมาตั้งแต่ พ.ศ. 2387 สมัยรัชกาลที่ 3 ด้วยอดีตของอำเภอหลังสวนนั้นเป็นหัวเมืองที่เก่าแก่ในแหลมมลายูและเป็นจังหวัดหนึ่งของมณฑลชุมพรในสมัยรัชกาลที่ 5 ความเป็นอยู่ของชุมชนที่นี่ผูกพันกับสายน้ำมาเนิ่นนาน การปลูกสร้างบ้านเรือนก็อาศัยริมแม่น้ำเป็นหลัก สมัยที่ผู้เขียนเคยรับราชการอยู่ที่ชุมพรมีผู้รู้อธิบายความเป็นมาของชื่ออำเภอหลังสวนว่า เพราะสมัยก่อนการเดินทางใช้แม่น้ำเป็นหลักและชาวบ้านปลูกสวนผลไม้ไว้ริมแม่น้ำ ส่วนบ้านก็จะอยู่ด้านหลังสวนผลไม้นั้นอีกทีเลยเรียกว่าหลังสวน

    12049284_873500109365188_4310318329312390417_n_0.jpg

    12049682_873500179365181_1118915382124670205_n.jpg บรรยากาสของนักท่องเที่ยวที่รอชมการแข่งเรือขึ้นโขนชิงธงบริเวณริมแม่น้ำหลังสวน

    สมัยนั้นเมื่อถึงวันออกพรรษาชาวบ้านจะแห่ขบวนเรือมาทอดกฐินที่วัด หลังเสร็จพิธีก็จะมีการประลองกำลังของฝีพายคนหนุ่ม ๆ ระหว่างหมู่บ้าน ฝีพายนั้นจะมีตั้งแต่ 30 - 32 คนโดยนั่งกันเป็นคู่ยกเว้นนายหัวเรือและนายท้ายเรือ ด้วยเหตุนี้แต่ละหมู่บ้านก็จะมีช่างที่ขุดเรือจากต้นไม้ทั้งต้นสำหรับประลองฝีพายกันสุดฝีมือ ลักษณะเรือที่ขุดนั้นมีความยาวประมาณ 18 - 19 เมตร โขนเรือ (หัวเรือ) จะกว้างท้ายเรือเรียวลักษณะคล้ายปลาช่อนส่วนท้องเรือจะแบน ส่วนโขนเรือนั้นช่างจะประดิษฐ์แบบที่ถอดออกมาประกอบได้ มีลักษณะไม่งอนมากเพราะตอนแข่งนายหัวเรือต้องปีนขึ้นชิงธงหากชันมากจะปีนลำบาก เรือที่เข้าแข่งขันนั้นแต่ละลำจะมีธงติดอยู่ประจำเรือมีการบอกให้จังหวะกันด้วยเสียงฆ้องหรือเสียงนกหวีด กติกาการแข่งเรือขึ้นโขนชิงธงในปัจจุบันจะแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ ฝีพาย 30 และผีพาย 32 สถานที่จัดกิจกรรมคือริมแม่น้ำหลังสวนบริเวณวัดด่านประชากร กำหนดระยะ 500 เมตร แบ่งสายด้วยวิธีการจับสลากโดยคัดเอาลำที่ชนะของแต่ละรอบมาชิงชนะเลิศของแต่ละประเภท ความสนุกสนานจะอยู่ที่กองเชียร์ของเรือแต่ละลำผสานกับเสียงพากย์อันน่าตื่นเต้น โดยเฉพาะช่วงจังหวะที่นายหัวเรือปีนขึ้นไปบนโขนเรือใช้สองขาเกี่ยวโขนเรือเลี้ยงตัวไว้ไม่ให้ตกน้ำทะยานขึ้นขิงธงจะสนุกคึกคักเป็นพิเศษ ลำไหนชิงได้ก่อนก็เป็นฝ่ายชนะ แต่ถ้านายหัวเรือคว้าธงพร้อมกันได้ธงไปลำละท่อนก็ถือว่าเสมอกันไป

    96250271_531760991034751_2379651996425650176_n.jpg 96417230_1109698422730039_503171301515460608_n%20(1).jpg ภาพนายหัวเรือปีนขึ้นโขนเรือตาจ้องธงเขม็ง

    95959211_626098514783902_4508098498238873600_n.jpg รัดขาไขว้ไว้กับโขนเรือแล้วกระชากธง

    สำหรับรางวัลการแข่งขันนั้นตามประวัติที่บันทึกไว้ในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์คือผ้าแถบมาประดับหัวเรือลำที่ชนะ ส่วนฝีพายได้ผ้าขาวม้าพร้อมน้ำมันก๊าดนำไปถวายวัดในชุมชน ต่อมาในปี พ.ศ. 2432 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จประพาสหลังสวน พระยาจรูญราชภาคากร เจ้าเมืองหลังสวนได้จัดขบวนเรือไปต้อนรับเสด็จ มีเรือ "มะเขือยำ” ของวัดดอนชัยซึ่งเป็นเรือที่ใช้แข่งขันขึ้นโขนชิงธงได้ร่วมขบวนเสด็จไปด้วย ทรงพระราชทานรางวัลให้เรือที่ชนะเลิศเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันเรือลำนี้ยังใช้เปิดขบวนแห่เปิดงานขึ้นโขนชิงธงทุกปี และในปี พ.ศ. 2482พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในรัชกาลที่ 8 ได้เสด็จประทานรางวัลขันน้ำพานรองให้แก่เรือลำที่ชนะเลิศ 3 ปีซ้อน จนกระทั่งปี พ.ศ. 2507 เป็นต้นมาเป็นการแข่งขันเพื่อชิงโล่พระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเป็นโล่พระราชทานใบแรกของ 14 จังหวัดภาคใต้ เป็นรางวัลที่ชาวอำเภอหลังสวนต่างสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง

    12193398_873500402698492_4889147852368091616_n.jpg
    ขบวนเรือพนมพระทางบกในงานแข่งเรือขึ้นโขนชิงธงของอำเภอหลังสวน

    งานแข่งเรือขึ้นโขนชิงธงเป็นกีฬาที่เชื่อมความสามัคคีหลังการแห่เรือพนมพระทั้งขบวนทางบกและทางน้ำ เป็นพระเพณีในเทศกาลวันออกพรรษาที่เป็นเอกลักษณ์เพียงหนึ่งเดียวของชาวอำเภอหลังสวน และเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่แสดงถึงความสามัคคีและความพร้อมเพรียงในการสืบทอดประเพณีนี้เอาไว้ บรรยากาศการแข่งขันมีความสนุกสนานเต็มไปด้วยรอยยิ้มและเสียงหัวเราะ หากท่านผู้อ่านอยากสัมผัสกับประเพณีนี้อย่างใกล้ชิดก็ขอเชิญมาร่วมงานได้ในช่วงเทศกาลวันออกพรรษาที่อำเภอหลังสวน แล้วท่านจะประทับใจในประเพณีนี้ไปตราบนานเท่านาน

    ที่มา : https://travel.trueid.net/detail/BQ7YYypj54MO

     
  11. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  12. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
    ที่มา : youtube หนุ่ม ธรรมรัตน์
    MV เพลงแข่งเรือคลองในหลวง
    www.youtube.com/watch?v=19PZirhA7Co


    ใครสัญญาอะไรไว้ แต่ไม่ทำตามคำพูด ขอให้จู๊ดๆๆๆๆ
    อะไรนะ! ดี..เพราะท้องผูกอยู่เหรอ
    images?q=tbn:ANd9GcQKZiRlphUMYnr9N4QLg01oZTYLiZfh33rV6g&usqp=CAU.jpg
     
  13. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
    “เสด็จเตี่ย” กรมหลวงชุมพรฯ ตอนที่ ๓๗ – โต้โผวงปี่พาทย์
    17 กุมภาพันธ์ 2022
    ศรัณย์ ทองปาน : เรื่อง

    ทั้งเจ้าจอมมารดาโหมดและพี่น้องในราชนิกุลบุนนาค ต่างรักดนตรี รักการร้องรำทำเพลงกันทุกคน จนถึงชั้นเสด็จในกรมฯ เองก็ทรงใฝ่พระทัยเรื่องเพลงการอยู่ไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายดนตรีไทย หรือเครื่องฝรั่งอย่างสากล

    phipat.jpg
    ตั้งแต่ราวปลายรัชกาลที่ ๕ กรมหมื่นชุมพรฯ ทรงมีวงปี่พาทย์ส่วนพระองค์ เช่นเดียวกับพระบรมวงศ์ฝ่ายหน้าอีกหลายพระองค์ยุคนั้น

    วงปี่พาทย์ประจำวังถือเป็นเครื่องประดับพระเกียรติยศ หรือ “เป็นหน้าเป็นตา” ของเจ้านายผู้อุปถัมภ์ ในวาระสำคัญจะมีการเชื้อเชิญวงดนตรีจากวังต่างๆ ไปบรรเลง “ประชัน” กัน อันเป็นเสมือนเวทีประกวด และเป็นโอกาสให้เจ้านายแต่ละพระองค์ได้อวดทั้งเครื่องดนตรีชุดพิเศษที่จัดสร้างขึ้นอย่างประณีตงดงาม ฝีไม้ลายมือของนักดนตรีในสังกัด ตลอดจน “ทางเพลง” อันวิจิตรพิสดาร
    เล่ากันว่าครั้งหนึ่งเมื่อไปบรรเลงประชันกับวงของ “สมเด็จวังบูรพาฯ” สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช นักร้องทางวังนางเลิ้งคือ “ขุนรวย” ร้องส่งเพลง “คุณลุงคุณป้า” ซึ่งเป็นเพลงโบราณรุ่นกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ปรากฏว่าทางวงฝั่งวังบูรพาฯ ซึ่งต้องบรรเลงรับ ไม่รู้จัก ไม่เคย “ต่อ” (ฝึกซ้อม) เพลงนี้มาก่อน ทว่าจางวางศร (หลวงประดิษฐ์ไพเราะ ศร ศิลปบรรเลง) หัวหน้าวง ใช้ความจำอันยอดเยี่ยม จดจำลูกตก (เสียงสุดท้ายของแต่ละท่อน) เอาไว้ได้ครบทั้งหมด ก่อนจะอาศัยปฏิภาณส่วนตัว “ด้น” ทางบรรเลงรับขึ้นเองใหม่ทั้งหมด ซึ่งแน่นอนว่าย่อมแปลกแปร่งไปบ้าง

    กรมหมื่นชุมพรฯ ทรงเห็นว่าควรตัดสินให้วงของวังบูรพาฯ เป็นฝ่ายแพ้ แต่กรรมการท่านอื่นแย้งว่า เพลงนี้เป็นเพลงครั้งกรุงเก่าซึ่งไม่เป็นที่รู้จัก อีกทั้งยังมีความยาวมาก เท่าที่จางวางศรบรรเลงรับได้โดยไม่ล่มกลางคัน ก็ต้องถือว่าให้ผ่านแล้ว

    ต่อมา จางวางศร หรือหลวงประดิษฐ์ไพเราะ จึงนำเอาเพลง “คุณลุงคุณป้า” มาปรับใหม่ แล้วตั้งชื่อว่า “อะแซหวุ่นกี้เถา” ขณะที่กรมหมื่นชุมพรฯ ทรงดัดแปลงทำนองเพลงเดียวกันนี้ให้เป็นเพลงมาร์ชอย่างฝรั่ง แล้วทรงพระนิพนธ์คำร้องขึ้นใหม่ ภายหลังประทานเป็นเพลงของทหารเรือ เรียกกันมาแต่เดิมว่าเพลง “เกิดมาทั้งที” เพราะขึ้นต้นเนื้อร้องว่า “เกิดมาทั้งที มันก็ดีอยู่แต่เมื่อเป็น…” (ภายหลังมีผู้ตั้งชื่อเพลงนี้ใหม่ว่า “เดินหน้า”)

    ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าเพลง “เกิดมาทั้งที” แต่งขึ้นเมื่อใด หากแต่เมื่อพิจารณาจากเนื้อร้องบางท่อน เช่น “ดีเคยพบ ชั่วเคยเห็น จนเคยเป็น มีเคยได้” หรือ “วันนี้ยอ พรุ่งนี้ด่า ไม่ใช่ขี้ข้า ขี้ปากของใคร” มีความเป็นไปได้ว่า กรมหมื่นชุมพรฯ ทรงนิพนธ์เป็นการระบายความคับแค้นที่อัดแน่นอยู่เต็มพระอุระ ในช่วงที่ทรงต้องถูกให้ออกจากราชการ และเป็นการ “ตอบโต้” ถ้อยคำติฉิน และ “ข่าวลือ” เกี่ยวกับพระองค์โดยตรง ในช่วงเวลาที่อาจเรียกได้ว่าเป็น “ปีที่หายไป” จากพระชนมชีพ

    ที่มา : https://www.sarakadee.com/2022/02/17/วงปี่พาทย์/

     
  14. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  15. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
    ที่มา : youtube สยามศิลปิน The Greatest Thai Artists
    สยามศิลปิน - หลวงประดิษฐไพเราะ มหาดุริยกวี ๕ แผ่นดิน
    www.youtube.com/watch?v=pvH10Kako-k


    ที่มา : youtube TheOngkhaphayop
    คุณลุงคุณป้า :: ดุริยางค์สากลกรมศิลปากร
    www.youtube.com/watch?v=1S5nScVjNFE


    ซอหวานฉ่ำ
    ที่มา : youtube Lerkiat Mahavinijchaimontri
    ลาวดวงเดือน Moonlight Serenade
    www.youtube.com/watch?v=BHdXct-Y9g0

    เหตุใดชายไทยในอดีตจึงเปรียบเปรยหญิงสาวเป็นดั่งพระจันทร์ ดวงจันทร์ ลองมาอ่านบทความนี้กัน:)


    ผู้เขียน :
    ญาดา อารัมภีร
    จันทรา-อาทิตย์

    คนไทยเราคุ้นเคยกับดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ เพราะเป็นสิ่งที่พบเห็นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน มีหน้าที่ให้แสงสว่างแก่โลก ต่างเวลา ต่างวาระ

    ดวงอาทิตย์ส่องแสงเจิดจ้าในเวลากลางวัน ดวงจันทร์ส่องแสงเย็นตาในเวลากลางคืน อาทิตย์และจันทร์จึงเป็นของคู่กันตามธรรมชาติ สมดังที่วรรณคดีเรื่อง เงาะป่า พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พรรณนาว่า

    โลกนี้มีอะไรที่ไม่คู่ ได้เห็นอยู่ทั่วถ้วนล้วนเป็นสอง
    ดวงจันทร์นั้นยังมีอาทิตย์ปอง เดินพบพ้องบางคราวเมื่อเช้าเย็น

    ภาษาไทยมีคำหลายคำเรียกดวงอาทิตย์และดวงจันทร์
    ใช้เป็นชื่อคนบ้าง ใช้เป็นศัพท์แสงในวรรณคดีบ้าง อย่างคำที่หมายถึงดวงอาทิตย์ มีตั้งแต่คำหน้าตาธรรมดาๆ เช่น อาทิตย์ พระอาทิตย์ ตะวัน ดวงตะวัน รวี รพี สุรีย์ สุริยะ สุริยา ฯลฯ

    ไปจนถึงคำสวยหรู อาทิ ทินกร ทิวากร ทิพากร ภากร ประภากร ภาณุ ภาณุมาศ ภาสกร รังสิมา รังสิมันต์ หรือคำหน้าตาแปลกๆ เช่น ไถง อังศุธร อังศุมาลี อังศุมาลิน ฯลฯ

    sunset-3320015_960_720.jpg

    ชื่อหลังสุดถ้าเป็นนักอ่านนวนิยายหรือแฟนหนังแฟนละครคงจำได้ว่าเป็นชื่อนางเอกในเรื่องคู่กรรม ของทมยันตี ที่พ่อโกโบริ พระเอกของเรื่องเขาชอบเรียกว่า “ฮิเดโกะ” นั่นแหละ

    ดวงจันทร์ก็ใช่ย่อย มีคำมากมายที่หมายถึงดวงจันทร์ เริ่มจากคำพื้นๆ เช่น ดวงเดือน จันทร์ ดวงจันทร์ พระจันทร์ จันทร จันทรา ศศิธร ไปจนถึงคำยากๆ เช่น ศศิ ศศิน ศศพินธุ์ รัชนี รัชนีกร นิศากร อินทุ แถง บุหลัน โสม สิตางศุ์ มนทกานติ ฯลฯ

    “กวี” หรือ ผู้แต่งวรรณคดี ผู้แต่งกวีนิพนธ์ก็ติดใจดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ไม่ต่างกับคนทั่วไป
    แต่แทนที่จะนำคำที่หมายถึงดวงอาทิตย์ดวงจันทร์มา “ตั้งชื่อ” อย่างที่คนทั่วไปเขาทำกัน กวีก็คิดไปไกลกว่านั้น ข้ามขั้นไปถึงการเปรียบเทียบ

    กวีมองดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ลึกซึ้งกว่าคนทั้งหลาย แสงร้อนแรงเจิดจ้าของดวงอาทิตย์ทำให้กวีนึกไปถึงความสง่างามและความเข้มแข็งของบุรุษ
    ในขณะที่แสงสว่างนวลเย็นตาของดวงจันทร์ทำให้นึกถึงความงดงามที่แฝงด้วยความละมุนละม่อมและความอ่อนโยนของสตรี

    กวีคิดเช่นนี้บนพื้นฐานความคิดที่ถือกันว่า บุรุษเป็นเพศเข้มแข็ง สตรีเป็นเพศอ่อนแอ
    กวีจึงนิยมเปรียบบุรุษกับดวงอาทิตย์ เปรียบสตรีกับดวงจันทร์
    ดังตอนหนึ่งในวรรณคดีเรื่อง ลิลิตพระลอ นางรื่นนางโรยพี่เลี้ยงชมโฉมพระเพื่อนพระแพงว่างามสมกันกับพระลอ โดยเปรียบพระลอกับ “ทินกร” หรือดวงอาทิตย์ และเปรียบพระเพื่อนพระแพงกับ “ศศิธร” หรือดวงจันทร์

    พิศไท้ไท้ว่าไท้ ทินกร
    พิศอ่อนคือศศิธร แจ่มฟ้า
    พิศดูอิ่มอกอร ใดดั่ง นี้นา
    เดือนตะวันแย้มหน้า ออกรื้อฉันใด ฯ

    super-moon-2011-tim-mccord-entiat-wash.jpg

    ความเหมาะสมในการครองคู่เป็นสิ่งที่พบเสมอในวรรณคดีไทยโดยเปรียบเทียบกับดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ วรรณคดีเรื่องอิเหนา ตอนอิเหนาเข้าเฝ้าท้าวดาหา พี่เลี้ยงและนางกำนัลเมืองนี้ล้วนอยากให้อิเหนาได้ครองคู่กับนางบุษบาเจ้านายของตน ถึงกับเอ่ยออกมาดังนี้

    บ้างว่าเหมือนสุริยากับพระจันทร์ ถ้าได้ครองกันจะสมควร
    พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงเปรียบอิเหนากับดวงอาทิตย์
    เนื่องจากอิเหนาเป็นผู้ชาย ถือกันว่ามีทั้งความแข็งแกร่ง ความองอาจงามสง่า เป็นที่น่าเกรงขามแก่ผู้พบเห็น เทียบได้กับดวงอาทิตย์ที่มีแสงร้อนแรงเจิดจ้าเปี่ยมอานุภาพจนไม่มีใครสามารถทนมองแสงอาทิตย์ได้นานนัก

    การเปรียบนางบุษบากับพระจันทร์ก็เพราะนางเป็นผู้หญิง มีทั้งความงดงามละเมียดละไม ความนุ่มนวลอ่อนหวาน เย็นตาเย็นใจแก่ผู้พบเห็น ยิ่งไปกว่านั้นชายหญิงคู่นี้ยังสูงส่งเสมอกันด้วยชาติตระกูล งดงามทัดเทียมกันด้วยรูปลักษณ์ จึงเหมาะสมที่จะครองคู่กันยิ่งนัก

    14587496631458749684l.jpg

    คู่ครองที่เหมาะสมนี้มิได้มีปรากฏในเรื่องอิเหนาเท่านั้น เรื่อง อุณรุท และ ดาหลัง ที่เป็นงานร่วมสมัยก็มีแนวคิดไม่ต่างกัน เรื่องแรกกล่าวถึงนางกำนัลหลงใหลความงดงามคู่ควรกันของพระอุณรุทและนางศรีสุดา ถึงกับรำพันว่า

    งามฉวีงามศรีงามทรง เพียงองค์สุริยันกับจันทรา
    วรรณคดีเรื่อง ดาหลัง ตอนที่ท้าวปันจะรากันเห็นปันหยีกับนางบุษบาส่าหรี ก็ปรารภว่า
    งามสมควรกันเป็นหนักหนา ดั่งสุริยากับพระจันทร์แจ่มใส

    โดยเฉพาะวรรณคดีเสภาเรื่อง ขุนช้างขุนแผน แนวคิดที่ว่ายิ่งเด่นชัด เพราะเป็นการเปรียบพระเอกคนเดียวกันกับนางเอกถึง 2 คน
    เริ่มจากพลายแก้วกับนางพิมพิลาไลย นางสายทองพี่เลี้ยงพยายามโน้มน้าวใจนางพิมให้เห็นดีเห็นงามว่า พลายแก้วกับนางพิมนั้นเหมาะสมกันอย่างยิ่ง

    พิศรูปสองรูปก็น่ารัก ชะอ้อนอ่อนวรพักตร์เจ้าเฉิดฉัน
    ดังอาทิตย์ชิดรถเข้าเคียงจันทร์ ถ้าได้กันแล้วเป็นบุญของสายทอง

    แม้ใน “บทสังวาส” หรือ “บทอัศจรรย์” ซึ่งเป็นการใช้สัญลักษณ์มาแทนความหมายของการร่วมรักระหว่างชายหญิง กวีก็นำเอาดวงอาทิตย์และดวงจันทร์มาแทนตัวขุนแผนกับนางแก้วกิริยาตอนเข้าด้ายเข้าเข็มว่า

    พระอาทิตย์ชิงดวงพระจันทร์เด่น ดาวกระเด็นใกล้เดือนดาราดับ
    หิ่งห้อยพร้อยไม้ไหวระยับ แมลงทับท่องเที่ยวสะเทือนดง

    วรรณคดีส่วนใหญ่มักจะเปรียบผู้ชายกับดวงอาทิตย์ เปรียบผู้หญิงกับดวงจันทร์ แต่มีอยู่เรื่องหนึ่งที่แปลกไปกว่าเขาเพื่อน คือเรื่อง วิวาหพระสมุทร พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้ทั้งดวงอาทิตย์และดวงจันทร์แทนตัวเจ้าหญิงอันโดรเมดา ดังตอนที่เจ้าชายอันเดรพระเอกของเรื่องยืนร้องเพลงเกี้ยวอยู่ใต้หน้าต่างของนางเอกด้วยทำนองเพลงคลื่นกระทบฝั่ง

    อันโดรเมดาสุดาสวรรค์ ยิ่งกว่าชีวันเสน่หา
    ขอเชิญสาวสวรรค์ขวัญฟ้า เปิดวิมานมองมาให้ชื่นใจ
    ถึงกลางวันสุริยันแจ่มประจักษ์ ไม่เห็นหน้านงลักษณ์ยิ่งมืดใหญ่
    ถึงราตรีมีจันทร์อันอำไพ ไม่เห็นโฉมประโลมใจก็มืดมน
    อ้าดวงสุรีย์ศรีของพี่เอ๋ย ขอเชิญเผยหน้าต่างนางอีกหน
    ขอเชิญจันทร์ส่องสว่างกลางสากล เยี่ยมมาให้พี่ยลเยือกอุรา

    %B8%9E%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A2%E0%B9%8C.jpg

    รัชกาลที่ 6 ทรงนำคำว่า ดวงสุรีย์ศรี ที่หมายถึง ดวงอาทิตย์ และคำว่า จันทร์ ในข้อความว่า “ขอเชิญจันทร์ส่องสว่างกลางสากล เยี่ยมมาให้พี่ยลเยือกอุรา” มาแทนตัวเจ้าหญิงอันโดรเมดา

    ต่อมาครูสุรพล แสงเอก นักแต่งเพลงตัดเอาข้อความตั้งแต่ “ถึงกลางวันสุริยันแจ่มประจักษ์” ไปจนถึง “เยี่ยมมาให้พี่ยลเยือกอุรา” มาบรรจุเพลงไทยสากลที่แต่งขึ้นและตั้งชื่อว่า สุริยัน-จันทรา เป็นเพลงจากวรรณคดีที่ได้รับความนิยมจากอดีตถึงปัจจุบัน

    อยากรู้ว่าเพลงไพเราะแค่ไหนก็ลองหามาฟังกัน

    ที่มา : https://www.matichonweekly.com/column/article_181257
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 ตุลาคม 2022
  16. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  17. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  18. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  19. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
    images?q=tbn:ANd9GcSMtCLLoUt-Tlqe0TJqb02DO-qFVbcr9KGEXw&usqp=CAU.jpg
    ห๊าาาา...อะไรนะ? จะมัดปมเสื้อทำไม อ้าว! ก็เสื้อมันหลวมไง ต้องมัดสิ
    อะไรนะ!!!! แน่ใจเหรอว่าหลวม อ้าวเธอนี่ถามแปลก ก็เห็นๆ กันอยู่ โว๊ะ...ถามอะไรไม่รู้ รมเสีย..o_O
     
  20. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
    รักข้ามขอบฟ้า

    images?q=tbn:ANd9GcSRRXAKiN6ix0_KEtYH-iOle27K4Iub25hYLQ&usqp=CAU.jpg

    ขอบฟ้า
    เหนืออาณาใดกั้น
    ใช่รักจะดั้น
    ยากกว่านกโบยบิน
    รักข้ามแผ่นน้ำรักข้ามแผ่นดิน
    เมื่อความรักดิ้น
    ฟ้ายังสิ้นความกว้างไกล
    ขอบฟ้าทิ้งโค้งมาคลุมครอบ
    อ้าแขนรายรอบ
    โอบโลกไว้ภายใน
    เหมือนอ้อมกอดรัก
    แม้ได้โอบใคร
    ชาติภาษาไม่
    สำคัญเท่าใจตรงกัน
    รักข้ามขอบฟ้า
    รักคือสื่อภาษาสวรรค์
    อาจมีใจคนละดวง
    ต่างเก็บอยู่คนละทรวง
    ไม่ห่วงถ้ามีสัมพันธ์
    ขอบฟ้าแม้จะคนละฟาก
    ห่างไกลกันมาก
    แต่ก็ฟ้าเดียวกัน
    รักข้ามขอบฟ้าข้ามมาผูกพัน
    ผูกใจรักมั่น
    สองดวงให้เป็นดวงเดียว
    รักข้ามขอบฟ้า
    รักคือ
    สื่อภาษาสวรรค์
    อาจมีใจคนละดวง
    ต่างเก็บอยู่คนละทรวง
    ไม่ห่วงถ้ามีสัมพันธ์
    ขอบฟ้าแม้จะคนละฟาก
    ห่างไกลกันมาก
    แต่ก็ฟ้าเดียวกัน
    รักข้ามขอบฟ้าข้ามมาผูกพัน
    ผูกใจรักมั่น
    สองดวงให้เป็นดวงเดียว

    พิกัดขอบฟ้า
    พิกัดขอบฟ้า (Horizontal coordinates) เป็นระบบพิกัดซึ่งใช้ในการวัดตำแหน่งของวัตถุท้องฟ้า โดยถือเอาตัวของผู้สังเกตเป็นศูนย์กลางของทรงกลมฟ้า โดยมีจุดและเส้นสมมติบนทรงกกลมฟ้าแสดงในภาพ
    • ทิศทั้งสี่ ประกอบด้วย ทิศเหนือ (North) ทิศตะวันออก (Earth) ทิศใต้ (South) ทิศตะวันตก (West) เมื่อหันหน้าเข้าหาทิศเหนือ ด้่านหลังเป็นทิศใต้ ซ้ายมือเป็นทิศตะวันตก ขวามือเป็นทิศตะวันออก
    • จุดเหนือศีรษะ (Zenith) เป็นตำแหน่งสูงสุดของทรงกลมฟ้า ซึ่งอยู่เหนือผู้สังเกต
    • จุดใต้เท้า (Nadir) เป็นตำแหน่งต่ำสุดของทรงกลมฟ้า ซึ่งอยู่ใต้เท้าของผู้สังเกต
    • เส้นขอบฟ้า (Horizon) หมายถึง แนวเส้นขอบท้องฟ้าซึ่งมองเห็นจรดพื้นราบ หรืออีกนัยหนึ่งคือ เส้นวงกลมใหญ่บนทรงกลมฟ้าที่อยู่ห่างจากจุดเหนือศีรษะ ทำมุม 90°กับแกนหลักของระบบขอบฟ้า
    • เส้นเมอริเดียน (Meridian) เป็นเส้นสมมติบนทรงกลมฟ้าในแนวเหนือ-ใต้ ซึ่งลากผ่านจุดเหนือศีรษะ

    B4%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2%201.png
    อ่านต่อได้ตามพิกัดด้านล่างเลยค่ะ

    ที่มา : http://www.lesa.biz/astronomy/celestial-sphere/horizon-coordinates

     

แชร์หน้านี้

Loading...