คาถา บูชาเสด็จเตี่ย (กรมหลวงชุมพร) - เอื้ออังกูร

ในห้อง 'รวมบทสวดมนต์และคาถา' ตั้งกระทู้โดย torphak, 1 กุมภาพันธ์ 2021.

  1. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
    images?q=tbn:ANd9GcTYfZpWPz1Ti5zrJ_mjzgRETRITZ1IlrGaduw&usqp=CAU.jpg
    หวัดดีเธอ
     
  2. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
    วันนี้เรามีเรื่องบ่นให้ฟัง หรือเรียกว่าเพ้อก็ได้ ต่อจากเมื่อวานวันนี้ความคิดตอนขับรถก็มาอีก พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนภิกษุว่าให้เจริญฌานเป็นนิจและให้เจริญปัญญาพยุง (อย่าถือสานะศัพท์ที่เราพูดแบบเราเข้าใจ ไม่ทราบว่าคนอื่นจะเข้าใจไหม) เรียกว่าฌานกับญาณ หรืออีกนัยคือ สมาธิ กับ วิปัสสนา นั่นเอง

    จากนั้นเราต่อว่า ในโลกใบมนุษย์ สร้างเครื่องบิน วิวัฒนาการล้ำยุค คุย/เห็นหน้า ทำอะไรได้สารพัด แต่ในทุกสิ่งต้องใช้เงินใช้ทรัพยากรมากมายเท่าใด แต่สำหรับผู้ที่ปฏิบัติทางจิต สมาธิฌานในระดับสูง พระอรหันต์ที่ปฏิบัติทางสายเตวิชโช ท่านสามารถท่องนรก สวรรค์ (ไม่ใช้แค่ในโลกเล็กๆใบนี้) เราคิดต่อ นั่นเป็นเพราะพระท่านรู้ดีว่าในโลกใบนี้ไม่มีอะไรจีรังยั่งยืน เครื่องบินพัง ของทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีวันแตกสลาย ดับไปแม้แต่เราท่านก็ดับ (เร็วกว่าของนะบางที)

    เพราะเหตุนี้ พระอริยสงฆ์ จึงเน้นวิเวก เข้าป่าไปในสถานที่สงัดไร้ผู้คน เพื่อเร่งความเพียรให้หลุดพ้นในชาตินี้ เมื่อบรรลุแล้วท่านจึงมาโปรดญาติโยม ทีนี้มาถึงเรา ต้องฟังหลายรอบ (รอบนี่คือ 1 ชาตินะ สรุปไม่รู้อีกกี่ชาติจึงจะเข้าใจ และอีกกี่ชาติจึงจะปฏิบัติได้มรรคผล) เพราะเราไม่ใช่ฟังเพียงครั้งเดียวก็บรรลุธรรมเหมือนพระสงฆ์สาวกในสมัยพุทธกาล

    คนอ่าน อาจจะคิดว่าหากคนหันมาปฏิบัติสมาธิกันหมด ประเทศชาติคงล้าหลัง กลายเป็นประเทศด้อยและไม่พัฒนาในสายตาชาวโลก แต่เราว่านะหากคนสัก 10% หรือ 20% หากทั้งหมดนี้บรรลุธรรม เราว่าประเทศเราจะดีขึ้นนะ ชีวิตคนเรามีเพียงปัจจัย 4 จริงๆ ก็เพียงพอ ทีนี้ปัจจัย 4 ของแต่ละคนที่ไม่พอคือต้อง upgrade ให้หรูหรา สวยงาม ดูดีก็ว่าไป ซึ่งคนในกลุ่ม 10-20% นั้น ปัจจัย 4 ย่อมหาได้แบบไม่ต้องใช้ทรัพยากรหรือใช้เงินทองที่มากมายที่ต้องหาเงินเพื่อตอบสนองแบบคน 80% ก็อยู่ได้อย่างสบายเช่นกัน

    ตัวเราเองอยากเป็น 20% ที่ว่าแต่ยังคิดไม่ตก กิเลสหนาแน่น แต่อย่างน้อยเราก็เริ่มมองเห็นทาง หากใครทำได้ก่อนเราขออนุโมทนาบุญกับทุกท่าน ค่ะ
     
  3. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
    images?q=tbn:ANd9GcSk5UlWDJ2nQBBNsQFMv0lILaTH4TP0RBL3Kw&usqp=CAU.jpg
    อุ๊ย! ยิ้มแล้วหุบไม่ลง คือเหงือกแห้งเลยวันนี้ วันนี้เราทำสถิติเดินกว่า 2 หมื่นก้าว เราไปเดินแถวไหนมาน่ะเหรอ สนามหลวงน่ะสิ วันนี้เรานัดเพื่อนไปวัดโพธิ์ รอบนี้เราไปวัดโพธิ์ถือเป็นรอบที่ 4 แล้ว เดินหาวิหารคตเพื่อจะไปกราบเสด็จเตี่ยด้วย หาไม่เคยเจอเลย ใครรู้บ้างอยู่ตรงไหนกันนี่ คงต้องมีรอบที่ 5 พักก่อนวันนี้เดินไปเดินมา เดินมาเดินไป ไปตรงโน้น ไปตรงนี้ ไปตรงนั้น เดินยิ่งกว่างานวิ่งมินิมาราธอนที่ผ่านอีก เลยยิ้มได้แบบนี้แหละทุกคน แน่นอนเราไปเดินที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติพระนครอีกแล้วครับท่าน ก็คนมันชอบนี่นาเพื่อนบอกสวยนะบางห้องก็หลอนๆ น่านแหละที่เราชอบ อียิปต์จึงเป็นประเทศที่เราอยากไป แต่คงไม่ได้ไปเพราะแพง แถมไม่มีคนอยากไปด้วย จบข่าว (คงต้องเอามือเราหยิบปากบนลงมาสะทีมันคงไม่ลงมาเองเป็นแน่)o_O
     
  4. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  5. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
    grHP-696x435.jpg
    ปริศนาโบราณคดีตอนที่ 206

    เอ่ยถึงหมวก “ก๊อกแฮท” เชื่อว่าคนไทยน้อยคนนักที่จะรู้จักหรือเคยได้ยิน หากไม่ได้คลุกวงในกันจริงๆ
    คำว่า “ก๊อก” เป็นการเรียกทับศัพท์ภาษาอังกฤษ ซึ่งอันที่จริงควรเรียกว่า “ค็อก” มากกว่า มาจากคำว่า Cock ที่แปลว่า “ไก่ตัวผู้” นั่นเอง
    ส่วน “แฮท” ก็คือ Hat ที่แปลว่าหมวกเมื่อนำสองคำมารวมกัน Cocked Hat หมายถึงหมวกที่มีรูปทรงคล้ายหงอนไก่

    หมวกก๊อกแฮทมีความเป็นมาอย่างไร ทำไมจึงจั่วหัวบทความว่า จากนโปเลียนถึงพระพุทธเจ้าหลวง สู่ราชนาวีสยาม?

    หมวกก๊อกแฮทของพลตรี มหาอำมาตย์โท เจ้าจักรคำขจรศักดิ์
    จุดเริ่มต้นที่ทำให้ดิฉันสนใจ “หมวกก๊อกแฮท” ก็เนื่องมาจากการที่เคยนั่งพินิจพิเคราะห์หมวกใบหนึ่งในตู้จัดแสดงของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชยอยู่นานหลายนาน
    หมวกใบนั้นสภาพยังดี มีขนาดกระชับ กว้างประมาณ 47 ซ.ม. สูง 14 ซ.ม. ทำด้วยหนังสัตว์ ประเภทหนังกลับและหนังฟอกสีดำ ประดับไหมถักดิ้นทอง และพู่ขนแกะสีขาว ได้มาพร้อมกล่องเหล็กสำหรับเก็บบรรจุ แต่ตัวกล่องชำรุด
    เจ้าพงษ์ธาดา ณ ลำพูน โอรสองค์โตของพลตรี มหาอำมาตย์โท เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์สุดท้าย เป็นผู้มอบให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2520
    ซึ่งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย ได้นำหมวกใบนั้นมาจัดแสดงคู่กับเสื้อครุยปักดิ้นเงินดิ้นทองของเจ้าหลวงจักรคำฯ เช่นกัน แต่ทั้งคู่ไม่มีรายละเอียดข้อมูลสำหรับจัดทำคำบรรยายในเชิงกายภาพแต่อย่างใดเลย
    พยายามสอบถามผู้รู้เรื่องผ้าและเครื่องแต่งกายในแถบล้านนา ก็ไม่ค่อยได้รับความกระจ่างเท่าใดนัก เนื่องจากมีแต่ผู้เชี่ยวชาญเรื่องผ้าพื้นเมืองเสียส่วนใหญ่
    ในขณะที่หมวกก๊อกแฮทนั้นเป็นเครื่องแต่งกายที่นำเข้ามาจากสยาม แถมยังรับวัฒนธรรมมาจากตะวันตกอีก
    ในที่สุดก็พยายามศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จนได้ข้อสรุปว่า มาลาหรือหมวกของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ใบนี้ เรียกว่า มาลาทรงก๊อกแฮท (Cocked Hat) เป็นหมวกที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6

    %E0%B8%81%E0%B9%8A%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%AE%E0%B8%97.jpg
    หมวกก๊อกแฮทคือหมวกนโปเลียน
    ดังที่ได้เกริ่นตั้งแต่ตอนต้นว่า หมวกก๊อกแฮท เป็นการเรียกทับศัพท์คำว่า Cocked Hat ซึ่งหากแปลตรงตัวจะหมายถึงหมวกที่มีส่วนหน้ายื่นยาวคล้ายหงอนไก่ และมีส่วนท้ายบานออกคล้ายพัด มีต้นกำเนิดมาจากหมวกแม่ทัพของกษัตริย์นโปเลียนแห่งฝรั่งเศส ตั้งแต่ปลายสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18 ราวปี ค.ศ.1790 และใช้เรื่อยมาจนถึงปี ค.ศ. 1914 ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ในประเทศฝรั่งเศสจึงเลิกใช้ไป
    ภาษาฝรั่งเศสเรียกว่าหมวก Bicorne (หรือ Bi-corn ในภาษาอังกฤษ) เพราะดูคล้ายกับว่ามีเขายื่นออกมาหนึ่งคู่ โดยยุคนโปเลียนได้กำหนดให้นายพลระดับสูง ผู้บัญชาการกองทัพทหารเรือของฝรั่งเศสสวมหมวกผ่ากลางทรงกระชับ เน้นความยาวด้านหน้า-หลัง
    ตกแต่งขลิบตอนบนที่ปีกสองข้างพับมาบรรจบกัน ทำเป็นพู่ระบายด้วยขนนกกระจอกเทศหรือขนหงส์ เน้นลวดลายความงามด้านข้างที่มีการปักลายเครื่องหมายประจำตำแหน่ง เวลาสวมอาจเขยิบให้เอียงด้านข้างเล็กน้อยให้ดูเท่ยิ่งขึ้น
    หมวกแบบ Bi-corn หรือ Cocked Hat ได้แพร่หลายจากฝรั่งเศสไปยังประเทศต่างๆ ในยุโรปอย่างรวดเร็วในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 อาทิ อังกฤษ อิตาลี สหรัฐอเมริกา ทุกประเทศล้วนแต่นำไปเป็นเครื่องแบบนายทหารเรือ
    อาจมีบ้างเช่น ประเทศเสปนและออสเตรียนำหมวก Bi-corn ไปใช้ในกองทัพทหารม้า บางประเทศเช่นเบลเยียม สวีเดน ใช้กับนักการทูต และยังมีหลักฐานว่านอกเหนือไปจากกองทัพเรือแล้ว ในฝรั่งเศสหมวกก๊อกแฮทยังกลายเป็นเครื่องแบบของนิสิตแพทย์ที่กรุงปารีสอีกด้วย จากนั้นจึงได้เป็นที่นิยมในประเทศแถบเอเชียและแอฟริกาในยุคล่าอาณานิคม
    %E0%B8%A3.%E0%B9%94.jpg
    สามพระมหากษัตริย์ไทยทรงพระมาลาก๊อกแฮท
    ได้ปรากฏภาพพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 และสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชอนุชา ทรงพระมาลาแบบก๊อกแฮท พร้อมด้วยฉลองพระองค์ ที่ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้น Legion d’Honneur ของฝรั่งเศส ที่จักรพรรดินโปเลียนที่ 3 แห่งประเทศฝรั่งเศสทรงถวายให้ผ่านสังฆราชปัลเลอกัวซ์ สะท้อนให้เห็นว่าราชสำนักสยามเริ่มรู้จักหมวกแบบ Bi-corn หรือ Cocked Hat แล้วตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4

    S__10608657.jpg
    ด้วยเหตุนี้ ตอนที่พระพุทธเจ้าหลวงทรงเสด็จออกตรวจราชการในฐานะองค์จอมทัพแห่งกองทัพเรือ จักทรงสวมพระมาลาก๊อกแฮททุกครั้งในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเครื่องแบบทหารเรือหลายครั้ง ครั้งสำคัญคือปี พ.ศ.2455 กำหนดให้มีการปักไหมดิ้นทองร้อยเป็นเปียตาข่ายคู่มีรูปพระครุฑพ่าห์ทองประดับอยู่ตอนบนทับลายชัยพฤกษ์บนหมวกก๊อกแฮท ซึ่งเป็นหมวกรุ่นเดียวกับของเจ้าหลวงจักรคำฯ ชิ้นนี้

    แต่หลังจากนั้นมาไม่นานนักก็มีการยกเลิกการใช้หมวกก๊อกแฮทสำหรับนายพลทหารเรือระดับสูง เปลี่ยนมาเป็นหมวกทรงที่ใช้กันในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าเมื่อประเทศฝรั่งเศสยกเลิกการใช้หมวกแบบนโปเลียน อาจเพื่อประกาศให้โลกรับรู้ว่าฝรั่งเศสยุติบทบาทของการเป็นรุกรานประเทศอื่นๆ ลงแล้ว กระแสดังกล่าวได้เป็นที่รับรู้ของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 เช่นกัน จึงได้ยกเลิกหมวกก๊อกแฮทตามไปด้วย

    แต่ก็ยังไม่หายคาใจว่าทำไมหมวกก๊อกแฮท ที่ใช้ในราชการทหารเรือ ไยจึงมาปรากฏอยู่กับเจ้านายฝ่ายเหนือหลายองค์ ไม่เพียงแต่ที่ลำพูนเท่านั้น ยังพบในหอวัฒนธรรมนิทัศน์ วัดศรีโคมคำ จังหวัดพะเยา และในพิพิธภัณฑ์คุ้มเจ้าหลายแห่งอีกด้วย

    พระมหากษัตริย์พระองค์ถัดมาที่เราเห็นพระบรมฉายาลักษณ์ทรงสวมพระมาลาก๊อกแฮท ค่อนข้างบ่อยราวกับเป็นพระราชนิยมคือ “พระพุทธเจ้าหลวง” หรือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยในปี พ.ศ. 2448 รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกำหนด “เครื่องแบบทหารเรือ” ขึ้นเป็นหลักฐานฉบับแรก บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2448 ด้วยการกำหนดให้หมวกก๊อกแฮทสีดำที่มีเครื่องหมายด้านข้างเป็นหมวกที่แสดงถึงยศชั้นสูงสุดของนายทหารเรือชั้นสัญญาบัตร ส่วนหมวกเฮลเม็ตขาว และหมวกแก๊ปสักหลาดดำ เป็นหมวกชั้นรองลงมา

    ที่มา : https://www.matichonweekly.com/column/article_142416
     
  6. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
    เห็นหมวกแบบนี้แล้วนึกถึงใครเอ่ย ติ๊กตอก ติ๊กตอก
    ใครไม่รู้ก็ไปดูชื่อกระทู้นี้ก็แล้วกัน:D

    ที่มา : youtube กรมศิลปากร
    พระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า)
    www.youtube.com/watch?v=tmehGcdunGc


    ที่มา : youtube Nanthaabha Abhakara
    ๛สายโลหิต (สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท) - สุทธิพงษ์ วัฒนจัง๛
    www.youtube.com/watch?v=UQTuWU5BIu0


    ที่มา : youtube Siam Historical Cafe
    เครื่องแบบทหารไทย ยุคสุโขทัย อยุธยา รัตนโกสินทร์ : จากอดีต จนถึง ปัจจุบัน
    www.youtube.com/watch?v=QqiZA72ukOs


    ที่มา : youtube Thai Disco / Funk & Soul
    ทหารเรือมาแล้ว (Thahan Reụ̄x Ma Leaw) -The Oreintal Funk (Thai Disco Funk & Soul)
    www.youtube.com/watch?v=YdbPeygxxAo


    เพลงสุดท้ายของคืนนี้ มอบให้ทุกท่านเป็นกำลังใจให้กันและกันเนาะ
    ที่มา : youtube AtimeOnline
    เล่าสู่กันฟัง - โรส ศิรินทิพย์ / ชาติ สุชาติ Cover Night Plus The Guitar Duet
    www.youtube.com/watch?v=eVcZCxYXggc
    ยังนอนดึกอยู่ใช่ไหม เธอผอมไปหรือเปล่า (ไม่เหมือนเรา)o_O อย่าลืมเล่าสู่กันฟังนะ:) ปล.ไม่ใช่เหล้ากับโซดานะo_O
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 มิถุนายน 2022
  7. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  8. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  9. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  10. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  11. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  12. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
     
  13. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
    upload_2022-6-26_12-48-0.jpeg
    ใส ใส วันหยุด ตามหาคาปูเย็น :D
     
  14. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  15. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
    วินัย จุลละบุษปะ
    %B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%9B%E0%B8%B02465-2542.jpg
    สารนิเทศภูมิหลัง
    เกิด 12 มิถุนายน พ.ศ. 2465
    วัฒนา จุลละบุษปะ
    จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม
    เสียชีวิต 14 กันยายน พ.ศ. 2542 (77 ปี)
    กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
    คู่สมรส ศรีสุดา รัชตะวรรณ (พ.ศ. 2499 - พ.ศ. 2542)
    อาชีพ นักร้อง
    ปีที่แสดง พ.ศ. 2485 - พ.ศ. 2542
    ผลงานเด่น เพลงพรหมลิขิต
    ฟลอร์เฟื่องฟ้า
    เย็นลมว่าว
    ดาวล้อมเดือน
    สังกัด วงดนตรีสุนทราภรณ์

    วินัย จุลละบุษปะ (12 มิถุนายน พ.ศ. 2465 — 14 กันยายน พ.ศ. 2542) เป็นอดีตนักร้องนำวงดนตรีสุนทราภรณ์ และหัวหน้าวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ และวงสังคีตสัมพันธ์ และหลายเพลงเป็นที่รู้จักคุ้นหูกันดี เช่น พรหมลิขิต เย็นลมว่าว ดาวล้อมเดือน ฟลอร์เฟื่องฟ้า ทะเลบ้า ทาสชีวิต ปทุมไฉไล ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่ท่านจะร้องเพลงในจังหวะแทงโก้จนได้รับฉายาว่า ราชาแทงโก้

    ประวัติ
    วินัย จุลละบุษปะ เดิมชื่อ วัฒนา จุลละบุษปะ เป็นบุตรของรองอำมาตย์โท ขุนประมาณธนกิจ (วงศ์ จุลละบุษปะ) และนางน้อม เกิดที่บ้านข้าง
    วัดมหรรณพาราม กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2465 อันเป็นช่วงปลายสมัยรัชกาลที่ 6 มีพี่น้อง 5 คน เป็นบุตรคนโต ใน 5 คน ในสมัยที่ยังเป็นเด็กขุนประมาณธนกิจผู้เป็นพ่อรับราชการเป็นคลังจังหวัดซึ่งต้องโยกย้ายไปตามจังหวัดต่างๆ อยู่เสมอ ทำให้ต้องย้ายโรงเรียนตามพ่อบ่อยๆ ครอบครัวของคุณวินัยอยู่ที่กาฬสินธุ์หลายปี ที่สุดจึงมาเรียนในกรุงเทพฯ ที่โรงเรียนวัดราชบพิธกระทั่งสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยม 6 ส่วนสถานที่พักคือบ้านของแม่ที่สี่เสาเทเวศร์ซึ่งได้อยู่อาศัยต่อมาอีกนาน พ่อและแม่ของท่านไม่เกี่ยวพันกับวงการเพลง ในขณะที่คุณวินัยชอบร้องเพลงมาตั้งแต่เล็กๆ และนักร้องที่ชื่นชอบคือ ครูล้วน ควันธรรมซึ่งเป็นนักร้องที่มีชื่อเสียงมากในยุคนั้น

    โลกเสียงเพลง
    เมื่อจบการศึกษาแล้วญาติผู้ใหญ่คนหนึ่งซึ่งรู้จักกับทางกรมโฆษณาการ เห็นว่าท่านรักการร้องเพลงจริงจึงช่วยฝากงานที่กรมโฆษณาการให้ จากจิตใจอันแน่วแน่ที่จะเป็นนักร้องอาชีพ ระหว่างยังไม่สอบบรรจุวิชาข้าราชการพลเรือนตามระเบียบ ท่านได้ไปฝึกหัดร้องเพลงกับครูเวส สุนทรจามร ซึ่งเป็นรองหัวหน้าวงดนตรีกรมโฆษณาการ รองจากครูเอื้อ สุนทรสนาน ที่บ้านข้างถนนตะนาวจนเข้าที่ ครูเวสได้สอนหลักการร้องให้แก่คุณวินัยพร้อมกับศิษย์อีกคนคือ คุณเพ็ญศรี พุ่มชูศรี ครูวินัยร้องเพลงอยู่กับวงสุนทราภรณ์จนได้บรรจุเป็นข้าราชการกรมโฆษณาการเมื่อ พ.ศ. 2488 ขณะที่คุณวินัยอายุได้ 23 ปี หลังจากสอบบรรจุเป็นข้าราชการแล้ว ชีวิตต่อจากนี้ก็อยู่กับเสียงเพลงตลอดและไม่เคลื่อนย้ายไปทำงานที่ไหนเลย รวมแล้วรับราชการอยู่ที่กรมโฆษณาการซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นกรมประชาสัมพันธ์นานถึง 38 ปี กระทั่งปลดเกษียณเมื่อ พ.ศ. 2526 คุณวินัยเคยหัดเล่นไวโอลิน แต่ก็ไม่เอาจริงเอาจังแต่อย่างใด

    การเป็นนักร้องของคุณวินัยไม่มีข้อมูลว่าเคยไปร้องเพลงประกวดตามงานวัดที่ไหนบ้าง ท่านออกร้องเพลงต่อสาธารณชนจริงๆ เป็นครั้งแรกที่โรงภาพยนตร์โอเดียน โดยครูเวสพาไปร้องเพลง "ทาสน้ำเงิน" ที่ครูเวสแต่งทำนอง ครูเอิบ ประไพเพลงผสมแต่งคำร้อง เพลงนั้นขึ้นต้นว่า " รำพึงครวญคิดชีวิตเรา มีความโศกเศร้าหมองหม่น ก็เนื่องด้วยความยากจน ต้องจำทนทุกข์เวทนาอาวรณ์ … " ปรากฏว่าจากรูปลักษณ์อัน "ไม่หล่อ" ที่ปรากฏต่อสายตาสาธารณชนครั้งแรกทำให้ผู้คนแสดงอาการฮือฮา หัวเราะขำว่านักร้องคนนี้เห็นจะร้องเพลงไม่ได้การเป็นแน่ แต่ที่ไหนได้ด้วยเสียงอันนุ่มเย็นแจ่มชัดเท่านั้น ผู้ฟังทุกคนก็พลันนั่งฟังอย่างเงียบกริบกระทั่งจบเพลงก็ปรบมือให้ด้วยความชื่นชมอย่างสนั่นหวั่นไหว นับแต่นั้นชื่อวินัยก็เริ่มเป็นที่รู้จักของผู้คนทั่วไป ท่านอัดเพลงลงแผ่นเสียงเป็นเพลงแรกเมื่อปีใดไม่ทราบ ทราบแต่ว่าเพลงแรกที่อัดลงแผ่นคือเพลงเรารักกัน บันทึกเสียงโดยห้างกมล สุโกศล ส่วนเพลงที่สร้างชื่อเสียงให้เป็นอย่างมากคือ เย็นลมว่าว ที่ขึ้นต้นว่า เย็น .. ยามเมื่อเย็นลมว่าว … เมื่อถึงหน้าร้อนหรือหน้าว่าวคราวใด ทุกคนที่ได้ฟังเพลงนี้จะรู้สึกปลอดโปร่งชื่นชมในสายลมและท้องฟ้ายิ่งนัก

    ชีวิตรักของคุณวินัยเป็นไปอย่างเรียบง่าย หลังพ.ศ. 2495 ที่ศรีสุดา รัชตะวรรณ นักร้องสาวคนหนึ่งเข้ามาอยู่ในวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ด้วย ทั้งสองท่านก็ต้องตาต้องใจกระทั่งผูกสมัครรักใคร่และแต่งงานร่วมครองรักกันตั้งแต่ พ.ศ. 2499

    คุณวินัยเริ่มดำรงตำแหน่งหัวหน้าวงแทนครูเอื้อ สุนทรสนาน ซึ่งเกษียณอายุเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2515 และเกษียณอายุเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2526 ในระหว่างเป็นหัวหน้าวง

    บั้นปลายชีวิต
    หลังเกษียณอายุราชการ เมื่อ พ.ศ. 2526 วินัยและศรีสุดาได้ร่วมกันตั้งวงดนตรีชื่อว่า วงดนตรีสังคีตสัมพันธ์ โดยมีครูเสถียร ปานคง อดีตข้าราชการกรมประชาสัมพันธ์ เป็นผู้ควบคุมวง

    วินัย จุลละบุษปะถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2542 อายุ 77 ปี พิธีพระราชทานเพลิงศพ จัดขึ้น ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร เมื่อวันอังคารที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2542

    ผลงานเพลง
    วินัย จุลละบุษะปะ ขับร้องไว้ทั้งหมด 300 กว่าเพลงและเป็นนักร้องนำของวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์และวงดนตรีสุนทราภรณ์ โดยได้รับฉายาว่า "ราชาแทงโก้" ซึ่งมาจากเพลงที่มีจังหวะแทงโก้หลายเพลงที่วินัยร้องไว้ ซึ่งผลงานเพลงที่ได้รับความนิยม เช่น

    ฟอร์เฟื่องฟ้า, พรหมลิขิต, เย็นลมว่าว, พรานล่อเนื้อ, น้ำตาลใกล้มด, กลิ่นสไบนาง, ม่านมงคล, ดาวล้อมเดือน, กลิ่นแก้มนาง, จ้าวไม่มีศาล, กลิ่นเนื้อนาง, น่าน้อยใจ, ทะเลบ้า, กลิ่นร่ำ, ปทุมไฉไล ,ปทุมมาลย์, เสียดายเดือน, แรกเจอ, สุดสงวน, คำสารภาพ, ทาสน้ำเงิน, แว่วเสียงเธอ, มนต์เทวี, พันธุ์ไม้เลื้อย, สั่งธาร, เพ็ญโฉม, ในอ้อมพฤกษ์, แจ่มใจ, ลืมไม่ลง, ยอดกัลยาณี, ถ้าเธอรักฉัน, คอยขวัญใจ, มนต์สวาท, คอยนาง, บุหรงทอง, ดาวจุฬา, ห่วงอาลัย, ชั่วคืนเดียว, นางบุญใจบาป, ม่านฟ้า, ทาสรัก, จอมนางในดวงใจ, จอมขวัญพี่, จูบลมชมเงา, คิมหันต์หัวหิน, คิดไม่ถึง, ตกดึกนึกเศร้า, ขวัญมอดินแดง, ท่องทะเลทอง เป็นต้น

    ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/วินัย_จุลละบุษปะ
     
  16. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283

    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส


    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า
    กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า พระองค์เจ้าชั้นเอก
    B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%AA1.jpg
    สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ 7
    ดำรงพระยศ พ.ศ. 2394 - 9 ธันวาคม พ.ศ. 2396
    สมณุตตมาภิเษก พ.ศ. 2394
    ก่อนหน้า สมเด็จพระอริยวงษญาณ (นาค)
    ถัดไป สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
    ศาสนา พุทธ

    ประสูติ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2333
    พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าวาสุกรี
    สิ้นพระชนม์ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2396 (62 ปี)
    วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร
    พระบิดา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
    พระมารดา ท้าวทรงกันดาล (เจ้าจอมมารดาจุ้ย ในรัชกาลที่ 1)

    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส (11 ธันวาคม พ.ศ. 2333 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2396) พระนามเดิม พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าวาสุกรี เป็นสมเด็จพระสังฆราชไทยพระองค์ที่ 7 แห่งอาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์) และเป็นพระราชวงศ์พระองค์แรกที่ทรงได้รับสถาปนาให้ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช นอกจากนี้ยังเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์แรกที่ประสูติในสมัยรัตนโกสินทร์ ทรงสถิต ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดำรงสมณศักดิ์เมื่อปี พ.ศ. 2394 ถึงปี พ.ศ. 2396 รวม 2 ปี สิ้นพระชนม์เมื่อพระชันษาได้ 62 ปี 364 วัน

    พระประวัติ[แก้]

    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 28 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาจุ้ย (ต่อมาได้เลื่อนยศเป็นท้าวทรงกันดาล) เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2333 มีพระนามว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าวาสุกรี ผนวชเป็นสามเณรเมื่อพระชันษาได้ 12 ปี เมื่อปี พ.ศ. 2345 ผนวชเป็นพระภิกษุ แล้วเสด็จไปประทับ ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ทรงศึกษาหนังสือไทยและภาษาบาลีตลอดทั้งวิชาอื่น ๆ จากสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน จนมีพระปรีชาสามารถ ทั้งทางคดีโลก และคดีธรรม มีผลงานอันเป็นพระราชนิพนธ์เรื่องต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก

    ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงให้รวมวัดในแขวงกรุงเทพมหานคร ขึ้นเป็นคณะหนึ่งเรียกว่า คณะกลาง แล้วได้สถาปนากรมหมื่นนุชิตชิโนรสให้ดำรงสมณศักดิ์เสมอพระราชาคณะเจ้าคณะรอง และทรงตั้งเป็นเจ้าคณะกลาง

    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นนุชิตชิโนรส ขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ศรีสุคตขัตติยวงศบรมพงศาธิบดี จักรีบรมนารถ ปฐมพันธุมหาราชวรังกูร ปรเมนทรเรนทรสูริย์สัมมานาภิสักกาโรดมสถาร อริยสมศีลาจารพิเศษมหาวิมล มงคลธรรมเจดีย์ ยุตมุตวาทีสุวิรมนุญ อดุลยคุณคณาธาร มโหฬารเมตยาภิธยาศรัย ไตรปิฎกกลาโกสล เบญจปดลเศวตฉัตร สิริรัตโนปลักษณมหาสมณุตมาภิเศกาภิสิต ปรมุกกฤษฐสมณศักดิธำรง มหาสงฆปรินายก พุทธศาสนดิลกโลกุตตมมหาบัณฑิตย สุนทรวิจิตรปฏิภาณ ไวยัติญาณมหากระวี พุทธาทิศรีรัตนตรัยคุณารักษ เอกอรรคมหาอนาคาริยรัตน์ สยามาทิโลกปฏิพัทธพุทธบริษัทยเนตร สมณคณินทราธิเบศรสกลพุทธจักโรประการกิจ สฤษดิศุภการ มหาปาโมกษประธานวโรดม บรมนารถบพิตร (ต่อมาในรัชกาลที่ 6 จึงโปรดให้เปลี่ยนเป็นกรมพระตามยศเจ้ากรม) ทรงสมณศักดิ์เป็นพระมหาสังฆปริณายก ทั่วพระราชอาณาเขต ให้จัดตั้ง พระราชพิธีมหาสมณุตมาภิเษก ที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามมีทั้งพิธีสงฆ์ และพิธีพราหมณ์ คล้ายกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกของคณะสงฆ์ไทย

    เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์แล้ว ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชก็ว่างตลอดรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากไม่มีพระเถระรูปใดมีคุณสมบัติอยู่ในฐานะที่จะทรงสถาปนาตามหลักเกณฑ์ กล่าวคือ ตามพระราชประเพณีนิยมที่มีมาแต่โบราณ พระเถระที่จะทรงตั้งเป็น สมเด็จพระสังฆราช และสมเด็จพระราชาคณะ นั้น ก็เฉพาะผู้ทรงคุณสมบัติพิเศษ คือเป็นพระอุปัชฌาย์ เป็นอาจารย์เป็นที่ทรงนับถือเหมือนอย่างพระอุปัชฌาย์ หรือพระอาจารย์ หรือเป็นผู้ใหญ่ ผู้เฒ่า มีอายุแก่กว่าพระชนมพรรษา

    แม้ว่าจะว่างสมเด็จพระสังฆราช แต่การปกครองคณะสงฆ์ก็สามารถดำเนินไปได้ด้วยดี เนื่องจากแต่โบราณมา พระมหากษัตริย์ทรงถือเป็นพระราชภาระในการปกครองดูแลคณะสงฆ์ โดยมีเจ้านาย หรือขุนนางผู้ใหญ่ในตำแหน่ง เจ้ากรมสังฆการี เป็นผู้กำกับดูแลแทนพระองค์ สมเด็จพระสังฆราชมิได้ทรงบัญชาการคณะสงฆ์โดยตรง ทรงดำรงฐานะปูชนียบุคคล การปกครองในลักษณะนี้ ได้มาเปลี่ยนแปลงไปในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

    ภายหลังพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริว่า การเรียกพระนามพระบรมราชวงศ์ซึ่งดำรงสมณศักดิ์เป็นพระประมุขแห่งสังฆมณฑลแต่เดิมนั้นเรียกตามพระอิสริยยศแห่งพระบรมราชวงศ์ ไม่ได้เรียกตามสมณศักดิ์ของพระประมุขแห่งสังฆมณฑล คือ "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ" หรือที่เรียกอย่างย่อว่า "สมเด็จพระสังฆราช" พระองค์จึงเปลี่ยนคำนำพระนามของพระบรมวงศานุวงศ์ซึ่งดำรงสมณศักดิ์เป็นพระประมุขแห่งสังฆมณฑลว่า "สมเด็จพระมหาสมณเจ้า" เพื่อให้ปรากฏพระนามในส่วนสมณศักดิ์ด้วย ดังนั้น จึงเปลี่ยนคำนำพระนามเป็น "สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส"

    พระอัจฉริยภาพ

    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส มีพระอัจฉริยภาพหลายด้าน ในทางอักษรศาสตร์ ก็ได้นิพนธ์เรื่องฉันท์มาตราพฤติ และวรรณพฤติ ตำราโคลงกลบท คำกฤษฎี เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้นิพนธ์บทกวีอีกเป็นจำนวนมาก ที่ล้วนมีคุณค่าเป็นเพชรน้ำเอกทางวรรณกรรมของไทยตลอดมา

    สำหรับวรรณกรรมศาสนา ได้ทรงพระนิพนธ์เรื่องปฐมสมโพธิกถา ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก หรือร่ายยาวมหาชาติ ซึ่งนับเป็นวรรณกรรมชิ้นเอกทางพระพุทธศาสนาในสมัยรัตนโกสินทร์ นอกจากนี้ได้ทรงพระนิพนธ์เรื่องต่าง ๆ ไว้มากเช่น ลิลิตตะเลงพ่าย พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส เทศนาพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ลิลิตกระบวนพยุหยาตราพระกฐินสถลมารค และชลมารค เป็นต้น

    ในทางพระพุทธศิลป์ ได้ทรงคิดแบบพระพุทธรูปปางต่าง ๆ ถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงเลือกพระอิริยาบถต่าง ๆ จากพุทธประวัติเป็นจำนวน 37 ปาง เริ่มตั้งแต่ปางบำเพ็ญทุกขกิริยา จนถึงปางห้ามมาร พระพุทธรูปปางต่าง ๆ เหล่านี้

    ในปี พ.ศ. 2533 องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้ประกาศยกย่องสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสเป็นบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรมระดับโลก ประจำปี พ.ศ. 2533 นับเป็นพระสงฆ์รูปแรกที่ได้รับการถวายเกียรตินี้

    พระนิพนธ์



      • สรรพสิทธิคำฉันท์
      • สมุทรโฆษคำฉันท์ตอนปลาย
      • กฤษณาสอนน้องคำฉันท์
      • ฉันท์ดุษฏีสังเวยกล่อมช้างพัง
      • กาพย์ขับไม้กล่อมช้างพัง
      • ฉันท์มาตราพฤติ
      • ฉันท์วรรณพฤติ
      • ลิลิตกระบวนพยุหยาตราพระกฐินสถลมารคและชลมารค
      • โคลงยอพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อปฏิสังขรวัดพระเชตุพน
      • ร่ายทำขวัญนาค
      • เทศน์มหาชาติ ๑๑ กัณฑ์
      • ตำราพระพุทธรูปต่าง ๆ
      • พระธรรมเทศนาพงศาวดากรุงศรีอยุธยา
      • ลิลิตจักรทีปนี (เป็นตำราโหราศาสตร์)
      • กลอนเพลงยาวเจ้าพระ
      • คำฤษฏี (หนังสือรวบรวมศัพท์)
      • โคลงเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ เช่น โคลงฤษีดัดตน โคลงภาพต่างภาษา
      • ฉันท์สังเวยกลองวินิจฉัยเภรี
      • กุรุธรรมชาฏก ฯลฯ
    ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/สมเด็จพระมหาสมณเจ้า_กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
    02-chaturathit-new.jpg
    กลบทดาวล้อมเดือน : ชื่อจารึก
    จารึกโคลงกลบท แผ่นที่ 2 (กลโคลงจาตุรทิศ กลโคลงจักรราษี กลโคลงนาคโสณฎิก และกลโคลงดาวล้อมเดือน)
    อักษรที่มีในจารึก : ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์
    ศักราช : ไม่ปรากฏศักราช
    ภาษา : ไทย
    ด้าน/บรรทัด : จำนวน 1 ด้าน มี 24 บรรทัด
    วัตถุจารึก : หิน
    ลักษณะวัตถุ : แผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้า
    ปีที่พบจารึก : ไม่ปรากฏหลักฐาน
    สถานที่พบ : วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
    ผู้พบ : ไม่ปรากฏหลักฐาน
    ปัจจุบันอยู่ที่ : วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
    พิมพ์เผยแพร่ : ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2544), 552-553.

    ประวัติ
    จารึกโคลงกลบทนี้ติดอยู่ที่เสาข้างประตูพระระเบียงพระอุโบสถ ชั้นนอก บริเวณวิหารทิศ 3 ทิศได้แก่ ทิศใต้ ทิศเหนือ และทิศตะวันออก ใน “จดหมายเหตุเรื่องการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน : ถอดจากโคลงดั้นพระนิพนธ์กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส” กล่าวถึงเพียงเล็กน้อยว่า “ฐานชุกชีประดับศิลาลายเหมือนพระระเบียงชั้นใน ผนังหลังพระพื้นม่วงเขียนลายประแจจีน รายดอกไม้ ผีเสื้อ ค้างคาว คอสองข้าง บนริ้วสายบัวเขียนรูปนกบินต่างๆ (ภาพเหล่านี้ไม่มีเหลือเลย) มุขมุมผนังทั้งหมดเขียนเรื่องนิทานในปีศาจปกรณัม (ภาพไม่มีแล้ว) บานประตูพระระเบียงชั้นนอก ข้างนอกเขียนลายรดน้ำ เป็นรูปกุมภัณฑ์ อสูรต่างๆ กัน มีมารแบก หลังบานเขียนเป็นม่านไข รูปโต๊ะเครื่องบูชา (บานข้างนอกลายยังมีบ้าง แต่ข้างในว่าเขียนใหม่ทั้งนั้น) ผนังข้างๆ (หรือเสาพะเนก) ตรงประตูทั้ง 8 ติดแผ่นศิลาขาวจารึกแบบฉันท์มาตราพฤติและโคลงกลบท 40 บท ประตูละคู่ รวม 16 แผ่น”

    เนื้อหาโดยสังเขป
    แสดงแผนผังของโคลงกลบท ได้แก่ กลโคลงจาตุรทิศ กลโคลงจักรราษี กลโคลงนาคโสณฎิก และกลโคลงดาวล้อมเดือน พร้อมตัวอย่างกลอนซึ่งประพันธ์โดยหลวงชาญภูเบศร (กลโคลงจาตุรทิศ) ขุนมหาสิทธิโวหาร (กลโคลงจักรราษีและกลโคลงนาคโสณฎิก) มีเนื้อหาเกี่ยวกับความทุกข์ใจที่ต้องอยู่ห่างไกลจากหญิงคนรัก

    ผู้สร้าง : พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3)
    การกำหนดอายุ : กำหนดอายุจากประวัติการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3)

    ที่มา : https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/18147
     
  17. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
    กลบท คืออะไร
    กลบท คือ คำประพันธ์ที่นักกวีแต่งเพื่อพลิกแพลงให้มีลักษณะวิจิตรพิสดารมากขึ้น ลักษณะบังคับตามปรกติ แล้วทำให้เป็นระเบียบที่สม่ำเสมอ เพื่อแสดงถึงชั้นเชิงและการใช้ฝีปากในบทกวี และเพื่อให้คำประพันธ์นั้นงดงามขึ้น อาจมีชื่อเรียกต่างกัน ตามแต่ที่นักกวีกำหนด โดยกลบทมีทั้งหมด ๕ ประเภท ได้แก่ กลโคลง กลฉันท์ กลกาพย์ กลกลอน และกลร่าย

    กลบท แบ่งออกเป็น ๒ แบบ
    แบบแรกคือ กลบทแบบกำหนดบังคับเพิ่มมากกว่าปกติ แบบย่อยได้อีก ๕ แบบ ได้แก่ บังคับเสียง บังคับคำ บังคับทั้งเสียงและคำ บังคับอักขรวิธี และบังคับฉันทลักษณ์ กลบทแบบกำหนดบังคับเพิ่มมากกว่าปกติใช้เป็น เสมือนเครื่องปรุงเสน่ห์ให้กับงานประพันธ์ ตัวอย่างงานประพันธ์ที่มีการใช้กลบทลักษณะนี้เข้ามา เช่น กลบทศิริวิบุลกิตติ์, หนังสือจินดามณี หรือประชุมจารึกวัดพระเชตุพน

    แบบที่สองคือ กลบทแบบวางอักษรซ่อนรูปลวงตาให้ฉงนเรียก “กลอักษร” หรือ “กลแบบ” แบ่งได้เป็นหลายแบบ ดังนี้
    กลอักษรแบบแทนรหัส
    ในตำราจินดามณีนั้น ได้มีการเรียนการสอนถึงอักษรเลข ซึ่งแทนสระต่างๆ ดังนี้

    เลข ๑ เป็น ตีนหนึ่ง (สระ อุ)
    เลข ๒ เป็น ตีนคู้ (สระ อู)
    เลข ๓ เป็น ไม้เอ (สระ เอ)
    เลข ๓ สองตัวเป็น ไม้แอ (สระ แอ)
    เลข ๔ เป็น วิสรรชนีย์ (สระ อะ)
    เลข ๕ เป็น ไม้ผัด (ไม้หันอากาศ)
    เลข ๖ เป็น ไม้ไอ (สระ ไอ หรือ สระ ใอ)
    เลข ๗ เป็น พินหัว (สระ อิ)
    เลข ๘ เป็น ไม้โอ (สระ โอ)
    เลข ๙ เป็น ลากข้าง (สระ อา)

    จะเห็นได้ว่า ในอักษรเลขนั้น ไม่มีสระ อี สระ อึ หรือสระ อือ อยู่ด้วย ซึ่งความจริงแล้ว สระ อึ มาจากการรวมของ เลข ๗ กับ ํ (ํ เรียกว่า นฤคหิต หรือ หยาดน้ำค้าง) เช่น ถ๗ํง = ถึง ในส่วนของ สระ อือ มาจากการรวมของ เลข ๗ กับ ” (” เรียกว่า ฟันหนู) และสุดท้าย สระ อี มาจากการรวมของ เลข ๗ กับ ‘ (‘ เรียกว่าฝนทอง)

    นอกจากการแทนรหัสด้วยตัวเลขแล้ว ในหนังสือประชุมลำนำฯ ของหลวงธรรมมาภิมณฑ์ (ถึก จิตรถึก)(น.๗) กล่าวถึงสูตรที่พระปิฎกโกศล (อ่วม) ทำไว้ในปทานุกรม ว่า
    กาเหงา เจ่าอยู่ เขาคูขัน ตนนั้น โบกทง ลงร่าร่อน ชังโฉ โอหัง สังวาลวอน ฆ่าฌาน ญานฑอน ซ้อนเฒ่าฒอ ไปมา ผ่าพง ธงฝา ไฟฮือ ฬือภา ด เป็น ถ

    อธิบายเพิ่มเติมได้ว่า นอกจากการแทนรหัสด้วยตัวเลข ยังมีการแทนรหัสด้วยอักษร ในบทประพันธ์จะหมายความว่า ‘ก’ สลับกับ ‘ง’ ‘จ’ สลับกับ ‘ย’ ในบทประพันธ์นี้ จะไม่พบ ‘ฎ’ และ ‘ฏ’ ใช้เหมือนกับ ‘ด’ ได้เลย ดังนั้นจากหัวข้อแรกที่ว่า ดหถลอัว “งรหังวล” ไบจ จะแปลงเป็นได้ว่า ถอดรหัส “กลอักษร” ไทย

    กลอักษรแบบจัดบังคับ
    ในที่บรรยายในวันนี้ คือ จัดบังคับให้อยู่ในรูปของ โคลงสี่สุภาพ

    กลอักษรแบบนับ
    มีการนับ ๒ แบบ คือ กลไทนับ ๓ และ กลไทนับ ๕ ในที่บรรยายได้ยก โคลงบทสังขยา โคลงกลบทวัดพระเชตุพน, ๒๕๔๔ คือ

    งามคมเนตรคิ้วพื้นภพสามดูฤๅเหนเทียบสวาสดิ์ทรามถนอมนึกน้องเสน่ห์ตื้น
    ถอดได้เป็น
    งามคมเนตรคิ้วเนตร คมงามพื้นภพสามดูสาม ภพพื้นฤๅเหนเทียบสวาสดิ์ทราม สวาสดิ์เทียบ เหนฤๅถนอมนึกน้องเสน่ห์ตื้น เสน่ห์น้องนึกถนอม

    กลอักษรแบบสลับ
    ในที่บรรยายนี้เราใช้ กลฤๅษีแปลงสาร คือการแต่งยักเยื้องออกไปให้ผิดธรรมดา เช่น

    กอัรษรวณษกลันวล้ งลพเลพาอชื่ฤรีษงลปแรสา บสืว้ไดลัผนยพี้เนยลี่ปเนอลกรกา ยลากบลักนสห์ท่เห์ล่เบลัห้ใ นอ่านล้หเนป็เมษกเ

    ถอดได้เป็น
    อักษรวรลักษณล้วน เพลงพาลชื่อฤษรีแปลงสาร สืบไว้ผลัดเพี้ยนเปลี่ยนกลอนการ กลายกลับสนเท่ห์เล่ห์ลับให้ อ่านเหล้นเป็นเกษม

    กลอักษรแบบ จับตัวซ้ำ ย้ำเดินหน้า ย้ำถอยหลัง
    กลโคลงที่นำมาอธิบายวิธีการนี้ ได้แก่ กลโคลงดาวล้อมเดือน

    2018-09-19_09-40-54_.jpg

    รูปถ่ายกลโคลงดาวล้อมเดือน จากตำราประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ
    ถอดออกมาได้บทประพันธ์ว่า
    ผลบุญบุญเกื้อกอบ ยศศักดิ์ผลบาปบาปชวนชัก ชั่วให้ผลสัตย์สัตย์ประจักษ์ คุณแน่ นาพ่อผลเท็จเท็จโทษได้ เที่ยงแท้แก่ตน

    ที่มา : https://www.zipeventapp.com/blog/2018/09/20/ถอดรหัส-กลอักษร-ไทย-2/
     
  18. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  19. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
    ที่มา : youtube วัดโพธิ์ ท่าเตียน
    จารึกวัดโพธิ์ ตอน โคลงกลบท
    www.youtube.com/watch?v=hzxOG6JocN8


    ที่มา : youtube one31
    ดาวล้อมเดือน (เพลงสุนทราภรณ์) : เบิร์ด ธงไชย | เบิร์ด ธงไชย & The Golden Song EP.1 | one31
    www.youtube.com/watch?v=Zc5k12Woccw

    ภูมิใจนัก เกิดเป็นไทย ใครจะเท่า
    ภาษาเรา วัฒนธรรม อันล้ำค่า
    ชนรุ่นหลัง ควรแหนหวง ดั่งชีวา
    ให้คุ้มค่า บรรพชน หนหลังเอย

    โดย ทอภัค ประพันธ์เมื่อกี้เลยจ๊ะ ;)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 มิถุนายน 2022
  20. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283

แชร์หน้านี้

Loading...