ความหวังใหม่ในป่าไผ่ เมื่อแพนด้าร่วมสำรวจแพนด้า

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย PyDE, 20 มกราคม 2006.

  1. PyDE

    PyDE เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2005
    โพสต์:
    811
    ค่าพลัง:
    +1,318
    กฤษกร วงค์กรวุฒิ ... เรื่อง
    ไผ่พริ้ว ... ถือของ
    WWF ประเทศไทย ... ภาพ




    <TABLE cellPadding=5 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width=162>[​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG] [​IMG]



    </TD><TD vAlign=top width=775>สวนสัตว์เชียงใหม่ เพิ่งจัดวันเกิดครบ 4 ขวบให้กับช่วง ช่วง หมีแพนด้าผู้เป็นขวัญใจของเด็กๆ ทั่วประเทศ (รวมทั้งหวานใจของหลินฮุ่ยด้วย) ไปเมื่อเร็วๆ นี้ แพนด้าทั้งคู่เป็นแพนด้าที่ถือกำเนิดในกรงเลี้ยง จึงค่อนข้างคุ้นเคยกับการถูกคนจำนวนมากมามะรุมมะตุ้ม แต่สำหรับแพนด้าในป่าธรรมชาติแล้ว การจะได้พบเห็นตัวจริงๆ เป็นเรื่องยากไม่น้อย รัฐบาลจีนถือว่างานสำรวจแพนด้าในธรรมชาตินั้นเป็นเรื่องใหญ่ระดับชาติทีเดียว จึงมีการระดมนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ เจ้าหน้าที่ป่าไม้ของรัฐ ตลอดจนอาสาสมัคร และที่สำคัญขาดไม่ได้ก็คือ เจ้าหน้าที่จาก WWF ประเทศจีน ที่มาช่วยสนับสนุนในด้านอุปกรณ์ และเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยเฉพาะการใช้ครื่องกำหนดพิกัดด้วยดาวเทียม หรือจีพีเอสในการติดตาม ลองมาดูกันครับว่า การสำรวจประชากรหมีแพนด้าในธรรมชาติแห่งชาติ ครั้งที่ 3 ของจีน เราได้ความรู้ใหม่ๆ อะไรบ้าง ทีมสำรวจชาวจีนบอกว่า การสำรวจแพนด้าคราวนี้เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างคน กับเครื่องมืออิเลกทรอนิค คณะสำรวจนับร้อยคน ใช้เวลา 3 ปี สำรวจพื้นที่ 23,000 ตร.กม. ในป่าแถบภูเขาตอนกลางของประเทศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของลุ่มแม่น้ำแยงซี
    แม่น้ำเจ้าพระยาสำคัญต่อประเทศไทยของเราอย่างไร แม่น้ำแยงซี ก็มีความสำคัญเฉกเช่นนั้น เพียงขยายสัดส่วนขึ้นไปอีกหลายสิบเท่า จึงถือได้ว่า แม่น้ำแยงซี เป็นหัวใจของจีนแผ่นดินใหญ่ทั้งในทางภูมิศาสตร์ และเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันยังเป็นแหล่งที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
    สภาพธรรมชาติตลอดแนวแม่น้ำแยงซี มีสัตว์ป่าที่หายาก สัตว์เฉพาะถิ่น และสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์หลายชนิด ตลอดจนพันธุ์พืชที่น่าสนใจอีกไม่น้อย ที่สำคัญสุดๆ ก็คือ แพนด้า นั่นเอง
    แม่น้ำแยงซีสำคัญสำหรับชาวจีนมากเท่าไร ก็เป็นเคราะห์ร้ายของสัตว์โลกผู้น่ารักชนิดนี้มากเท่านั้น เพราะคนกว่า 400 ล้านคนที่แห่เข้ามาทำมาหากินบนที่ราบสองฝั่งแม่น้ำมาตั้งแต่อดีตกาล ผลประโยชน์มหาศาลจากลำน้ำแยงซีในรูปของการประมง และเกษตรกรรมที่ยั่งยืน การคมนาคมขนส่ง กระแสไฟฟ้าพลังน้ำ แหล่งน้ำกินน้ำใช้ ตลอดจนการท่องเที่ยว ทำให้มีการคุกคามแพนด้าอย่างรุนแรง ทั้งการล่าโดยตรง และการทำลายถิ่นอาศัย
    รัฐบาลจีน สำรวจแพนด้ามาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกทำไปเมื่อกว่า 30 ปีก่อน คือระหว่างปีพ.ศ. 2516 - 2519 ได้ข้อมูลว่า มีหมีแพนด้าในธรรมชาติประมาณ 1,050 - 1,100 ตัว ส่วนการสำรวจครั้งที่ 2 เกิดขึ้นในระหว่างปี พ.ศ.2527 - 2530 ในครั้งนั้น WWF ได้เข้ามาร่วมสนับสนุน ผลการสำรวจได้ข้อมูลว่าประชากรหมีแพนด้าในธรรมชาติลดลงเหลือไม่เกิน 1,000 ตัว และจากการวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียม พบว่าป่าที่เป็นถิ่นอาศัยของแพนด้า ลดลงถึง 50%
    สำหรับการสำรวจครั้งล่าสุดที่เริ่มสำรวจมาตั้งแต่ปี 2541 โดยความร่วมมือระหว่าง WWF กับ กระทรวงบริหารจัดการป่าไม้แห่งรัฐของจีน กล่าวได้ว่า เป็นการสำรวจที่มีความพร้อมที่สุด ทั้งในด้านคณะสำรวจ และเครื่องไม้เครื่องมือ ซึ่งคณะสำรวจแสดงความมั่นว่าจะนับจำนวนแพนด้าในธรรมชาติให้ได้ทุกตัวโดยอาศัยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่มีอยู่ ทำให้ผลการสำรวจครั้งนี้ มีความแม่นยำสูง และจากการสำรวจใหม่หนนี้ มีข่าวดีว่า หมีแพนด้าในธรรมชาติเพิ่มขึ้นกว่า 40% หรือ 1600 ตัว และยังมีข้อมูลใหม่เกี่ยวกับพื้นที่ป่าที่แพนด้าอาศัยอยู่ ตลอดจนป่าไผ่ที่เป็นอาหารของแพนด้าด้วย การสำรวจได้ชี้ชัดลงไปถึงเหตุปัจจัยที่ทำให้แพนด้าลดลงว่ามาจาก การตัดไม้ทำลายป่า และการล่าสัตว์
    โครงการสำรวจครั้งที่ 3 นี้ มีนักวิทยาศาสตร์เข้าร่วมกว่า 170 คน นักสำรวจภาคสนาม และนักวิชาการด้านสัตว์ป่า ได้ร่วมกันเสาะค้นเทือกเขาอันห่างไกล ในมณฑลเสฉวน ซานซี และกวางซู หนึ่งในทีมสำรวจรวมไปถึง หลี่ เซี่ยง เฝง
    หลี่ เป็นลูกชายคนตัดไม้ เติบโตขึ้นมาพร้อมกับเสียงเลื่อยยนต์ พ่อของเขาเป็นคนตัดไม้มือฉมังในเขตที่เป็นบ้านของแพนด้า
     

แชร์หน้านี้

Loading...