"คลองยายดำ" จันทบุรี วิถีเก่า ที่ท่องเที่ยวใหม่

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย paang, 7 กุมภาพันธ์ 2006.

  1. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,326
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=left border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=350 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=350>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>วิถีชีวิตประมงพื้นบ้านแห่งคลองยายดำ</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=5>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ระหว่างความ"ขาว"กับ"ดำ" คือความตรงข้ามที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง

    แต่สำหรับความรักของ"ปู่ขาว'กับ"ยายดำ" แห่งเมืองจันทน์ กลับผิดแผกแตกต่างออกไป เพราะนี่คือความรักที่แนบแน่นหลอมรวมเป็นหนึ่ง จนกลายเป็นตำนานความรักอมตะอันเป็นที่มาของคลองยายดำ และหมู่บ้านคลองยายดำ แห่ง ต.พลิ้ว อ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี

    สำหรับความเป็นมาของคลองคลองยายดำนั้นตามตำนานพื้นบ้านได้เล่าขานว่า...ย้อนอดีตไปเมื่อ พ.ศ. 2290 สองสามีภรรยาคือปู่ขาวและยายดำได้มาริเริ่มสร้างหมู่บ้านขึ้นมา ณ ริมลำคลองสาขาที่แยกต่อมาจากคลองพลิ้ว พร้อมทั้งได้สร้างวัดขึ้นด้วยซึ่งเดิมนั้นชาวบ้านเรียกวัดนี้ว่า "วัดคงคานาวาจร" ส่วนบางคนก็เรียกว่า "วัดท่าเรือ"

    ปู่ขาวกับยายดำต่างก็ใช้ชีวิตเคียงคู่กันมาอย่างมีความสุข แต่มาวันหนึ่งหลานของปู่ขาวและยายดำที่ลงเล่นน้ำในคลองหน้าหมู่บ้านได้เกิดจมน้ำอย่างกะทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุ ยายดำที่อยู่ใกล้ๆเมื่อเห็นหลานจมน้ำก็กระโดดตามลงไปช่วยทั้งๆที่ตัวเองว่ายน้ำไม่เป็นทำให้ต่างก็จมน้ำลงไปทั้งคู่ ปู่ขาวเมื่อมาเห็นเข้าก็กระโดดน้ำลงไปช่วยอีกแรง แต่อนิจจาปู่ขาวช่วยได้ยายดำเท่านั้น ส่วนปู่ขาวและหลานพากันจมน้ำเสียชีวิต

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=right border=0><TBODY><TR><TD width=5>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=350 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=350>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ป่าจากทรัพยากรท้องถิ่นที่สร้างเงินสร้างงานให้กับชาวบ้าน</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ยายดำแม้ว่าจะรอดตายหวุดหวิดแต่ด้วยความที่ต้องเสียหลานและสามีอันเป็นที่รัก ทำให้ยายดำตรอมใจตายตามปู่ขาวและหลานในเวลาต่อมา

    จากเหตุการณ์นี้ชาวบ้านจึงได้สร้างศาลปู่ขาวและยายดำขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ความรักที่ยายดำมีต่อปู่ขาวในบริเวณวัดคงคานาวาจร พร้อมกับเรียกขานลำคลองแห่งนั้นว่า"คลองยายดำ"ส่วนหมู่บ้านที่ทั้งคู่ริเริ่มสร้างก็เรียกว่า "บ้านคลองยายดำ" ในขณะที่วัดคงคานาวาจร หรือ วัดท่าเรือ ชาวบ้านก็เปลี่ยนมาเรียกว่า"วัดคลองยายดำ"เช่นกัน

    นั่นคือตำนานที่มาของคลองยายดำ ซึ่งในอดีตที่บริเวณนี้เป็นท่าเรือรับส่งสินค้า และเป็นจุดพักของเรือโดยสาร โดยในปี พ.ศ. 2417 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ เอกอัครมเหสี ได้เสด็จมาแวะประทับที่ศาลา 8 เหลี่ยมริมคลองยายดำ ในการเสด็จประพาสมาทางเรือก่อนจะเดินทางต่อไปยังน้ำตกพลิ้ว

    วันเวลาผ่านผันมากว่า 200 ปี ในขณะที่ความเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงทางวัตถุแห่งโลกทุนนิยมจะสยายปีกไปทั่วโลก แต่วิถีของชุมชนคลองยายดำและพื้นที่ใกล้เคียงกลับเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน หาปู หาปลา เลี้ยงกุ้ง เลี้ยงหอย ท่ามกลางธรรมชาติของผืนป่าชายเลนที่ยังคงไว้ด้วยความอุดมสมบูรณ์

    และด้วยความที่คลองยายดำเป็นหนึ่งในสิ่งที่ขาดหายและเป็นหนึ่งในสิ่งที่โหยของผู้คนในผืนป่าคอนกรีต ทำให้อัจฉรา พูลชัย หรือ น้องเปิ้ล คนคลองยายดำโดยกำเนิดที่เพิ่งพกดีกรีปริญญาโทด้านการโรงแรมจากมหาวิทยาลัยชื่อดังมาหมาดๆ เล็งเห็นว่าควรจัดกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศขึ้นในบริเวณคลองยายดำและพื้นที่ใกล้เคียง

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=350 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=350>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>แพหอยนางรมพบเห็นได้ทั่วไปในคลองพลิ้ว</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> "หนูไปเรียนกรุงเทพฯอยู่ 10 กว่าปี เห็นความแตกต่างระหว่างกรุงเทพฯกับบ้านเรา(คลองยายดำ) เพราะเห็นว่าคลองยายดำยังมีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ มีป่าชายเลน มีประวัติศาสตร์ความเป็นมา ชาวบ้านใช้วิถีชีวิตแบบดั้งเดิมและเปี่ยมไปด้วยน้ำใจไมตรี จึงเห็นว่าน่าจะจัดกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และโฮมสเตย์ขึ้น"

    น้องเปิ้ลเล่าที่มาของโครงการท่องเที่ยวเชิงนิเวศคลองยายดำ จากนั้นเธอก็ได้ไปพูดคุยแลกเปลี่ยนทัศนะกับชาวบ้าน ซึ่งเมื่อส่วนใหญ่เห็นด้วย เธอก็ได้ทำพิธีขออนุญาตต่อศาลปู่ขาวและยายดำ เพื่อจัดกิจกรรมท่องเที่ยวขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางเลือกใหม่ในจังหวัดจันทบุรี และเพื่อให้คนต่างถิ่นได้มาท่องเที่ยว เรียนรู้ สัมผัสกับวิถีชีวิตพื้นบ้านและบรรยากาศแห่งผืนป่าชายเลนที่อยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างรายได้เสริมให้กับชาวบ้าน และปลูกจิตสำนึกให้ชาวบ้านช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรท้องถิ่นควบคู่ไปกับความสำคัญของประวัติศาสตร์ท้องถิ่น

    และแล้วกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศคลองยายดำก็ถือกำเนิดขึ้นมาในต้นปี พ.ศ. 2548 สำหรับกิจกรรมท่องเที่ยวเด่นๆแห่งคลองยายดำที่ถือเป็นน้องใหม่ในเมืองจันทน์ก็มี

    การนั่งเรือชม 2 ฝั่งคลองยายดำและคลองพลิ้วซึ่งในระหว่างทางจะได้พบกับบ้านเรือนที่แต่ละบ้านจะมีที่จอดเรือขนาดเล็กอยู่ทางด้านฝั่งคลอง หรือไม่ก็สร้างเป็นขนำกลางน้ำเอาไว้เฝ้าแพปลา แพหอย

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=left border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=250 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=250>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>หอยนางรมเก็บให้กินกันสดๆ</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=5>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ครั้นพอเรือล่องออกสู่บริเวณที่ทำการประมงพื้นบ้านก็จะได้พบกับการเพาะเลี้ยงปลากะพงและปลาเก๋าในกระชังซึ่งใครสนใจจะอาหารด้วยตัวเองก็สามารถทำได้ตามสะดวก นอกจากนี้ก็ยังมีวิธีการใช้โพงพาง(เครื่องมือจับปลาชนิดหนึ่งปัจจุบันเริ่มหายาก)ดักปลา การออกตกปลา ดำปลาของชาวบ้าน ที่หากใครออกล่องเรือช่วงเย็นๆก็จะได้พบกับการออกหาหลาของชาวบ้านจำนวนมาก(ชาวบ้านแถวนี้ออกหาปลาช่วงเย็นและกลับเข้าฝั่งดึกๆ การล่องเรือชมวิถีชีวิตชาวบ้านจึงมีทั้งกลางวันลักลางคืน)

    สำหรับอีกหนึ่งกิจกรรมอันโดดเด่นที่นักท่องเที่ยวชอบกันมากก็คือการจับหอย งมหอย โดยหอยที่ผู้จัดทัวร์พางมนั้นก็มีอาทิ หอยแครง หอยแมลงภู่ หอยหวาน ส่วนหอยที่จะพาไปจับก็คือหอยนางรมที่เลี้ยงไว้ในแพ ซึ่งย่านนี้เป็นแหล่งเลี้ยงหอยนางรมที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออก ที่พอมาถึงแพหอยก็จะมีการสาธิตการเลี้ยงหอยและเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวจับแบบเป็นๆเพื่อนำไปแกะกินสดๆกับยอดกระถินที่ให้หวานกลมกล่มลิ้นยิ่งนัก (หอยนางรมที่นี่จะตัวเล็กกว่าทางใต้ แต่รสชาติไม่แตกต่างกัน โดยช่วงเดือนมี.ค.-มิ.ย. จะมีรสอร่อย)

    หอยอีกชนิดหนึ่งที่เป็นดาวเด่นแห่งพื้นที่ท่องเที่ยวคลองยายดำก็คือ
     

แชร์หน้านี้

Loading...