ขอเชิญท่านที่มีความจงรักภักดีและเทิดทูนในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย จงรักภักดี, 28 เมษายน 2009.

  1. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    สัมผัสย้อนเวลา ......กรุงศรีอยุธยาก่อนวันดับสูญ (ต่อ)

    [​IMG]


    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]2 ระบบประปาของพระราชวัง รากฐานการประปามีมาตั้งแต่ครั้งสมเด็จพระนารายณ์ ที่ได้รับเทคโนโลยีมาจากชาวฝรั่งเศสโดยตรง โดยใช้แรงงานไพร่-ทาส ระบบกังหัน ระหัดวิดน้ำและท่ออัดน้ำล้น ผันน้ำจากแม่น้ำลพบุรีริมพระราชวังเข้ามาสู่ถังเก็บน้ำขนาดใหญ่ 2 จุด แล้วปล่อยน้ำลงในระบบท่อดินเผา ไปสู่ตำหนักต่าง ๆ (เชื่อว่ายังไม่มีการผสมคลอรีนเพื่อการฆ่าเชื้อโรค) ส่วนไพร่ฟ้าทั้งหลาย ก็ใช้น้ำจากคูคลองหนองบึงตามปกติ เรื่องโรคติดต่อไม่ต้องพูดถึง เป็นกันประจำ ตายเป็นเบือ โดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร อหิวาตกโรคหรือโรคห่า นี่แหละตัวดี[/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif] [/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif] 3 อู่เรือหลวง อยู่ตรงข้ามพระราชวัง ตรงปากคลองคูไม้ร้อง แถววัดเชิงท่า เป็นที่ตั้งของตลาดน้ำขนาดใหญ่และเป็นอู่เรือพระที่นั่ง จากหลักฐานคำให้การ มีจำนวนเรือพระที่นั่งมากกว่า 50 ลำ มีชื่อต่าง ๆ มากมาย “...... ศีศะพระครุธพาหนะ อสุราวายุภักษ ศีศะหงษพาหนะ (สุพรรณหงส์) ครุธพาหนะ แก้วจักรมณี สุวรรณจักรรัตนพิมานไชย สุวรรณพิมานไชย สาลิกาล่องลม เอกไชย สินธุประเวศ รัตนพิมานอำมเรศ ฯลฯ ......” ในคราวเสียกรุงปี 2310 เรือพระที่นั่งถูกทำลายทั้งหมด[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif][/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif][/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ภาพ หัวเรือพระที่นั่งรูปครุฑ ที่จมอยู่ในคลองหน้าวัดเชิงท่า[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif][/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif][/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif][​IMG][/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif] [/FONT]
     
  2. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    สัมผัสย้อนเวลา ......กรุงศรีอยุธยาก่อนวันดับสูญ (ต่อ)

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]


    [​IMG]
    [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif][/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]4 วัดมหาธาตุ เป็นวัดที่มีความสำคัญที่สุดของกรุงศรีอยุธยาร่องรอยหลักฐานที่เหลืออยู่ แสดงให้เห็นว่า บริเวณวัดมหาธาตุ วัดพระรามและวัดราชบูรณะ น่าจะเคยเป็นที่ปราสาทแบบเขมรโบราณ ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 16 และเป็นอโรคยศาลาในพุทธที่ 18 ก่อนการเปลี่ยนแปลงศาสนาและผู้ปกครองกลุ่มใหม่ ดัดแปลงให้ปราสาทกลายเป็นปรางค์ในคติ”พระมหาธาตุ” ในพุทธศตวรรษที่ 20 ร่องรอยของหินทรายสีเทา ที่เคยนำมาใช้เป็นโครงสร้างของปราสาท ได้ถูกรื้อเป็นก้อน ๆ และดัดแปลง สลักเป็นชิ้นส่วนของพระพุทธรูปขนาดเล็กใหญ่ กระจายตัวอยู่ในวัดและวัดใกล้เคียง[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif][/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif][​IMG][/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif][/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif][/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif][/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif][/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif] [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif] พระปรางค์วัดมหาธาตุ พังถล่มลงมาในช่วงปลายสมัยของรัชกาลที่ 6 หลังจากที่มีการลักลอบขุดกรุวัดราชบูรณะ จึงมีการขุดกรุวัดมหาธาตุเพื่อป้องกันการลักลอบขุดหาสมบัติ พบพระบรมสารีริกธาตุและเครื่องทองชั้นสูงอันเป็นพุทธบูชาโดยพระมหากษัตริย์ในสมัยแรกบรรจุ ปัจจุบันพระบรมสารีริกธาตุอันสูงค่าสมัยกรุงศรีอยุธยา ถูกนำมา “จัดแสดง” อยู่ในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติสามพระยา[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif][/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]

    [​IMG]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif][/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif][/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif][/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif][/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]5 ป้อมประตูข้าวข้าวเปลือก เป็นป้อมประตูน้ำ (ไม่ใช่ประตูบก) ปากคลองข้าวเปลือก (ปัจจุบันหลงเหลือซากโบราณสถานอยู่ริมถนนรอบเกาะและในเขตวัดราชประดิษฐ์ ) ปากคลองข้าวเปลือกเป็นย่านการค้าชั้น “ไฮโซ” มีตลาดที่มีผู้คนขวักไขว่ เรือใหญ่น้อยพายแจวเบียดไปมาบรรทุกผลผลิตมาแลกเปลี่ยนและค้าขาย คลองนี้เป็นเส้นเลือดสำคัญเพราะเป็นเส้นทางบรรทุกเข้าของข้าวเปลือกเหลืองทองสุกอร่ามจากท้องทุ่งเจ้าพระยาทางทิศเหนือ ลัดเลาะตามคลองลงมาทางใต้ยังบ้านสีข้าว บ้านข้าวสาร ก่อนที่จะกลายเป็นแกลบข้าว บรรทุกเรือออกไปยังประตูแกลบ ไปออกยังคลองแกลบทางทิศตะวันตกของพระนคร[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif][/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif][/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif][/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif][/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif][​IMG][/FONT]
    [/FONT]
     
  3. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    สัมผัสย้อนเวลา ......กรุงศรีอยุธยาก่อนวันดับสูญ (ต่อ)

    [​IMG]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]6 กรุงศรีอยุธยาก็มีเสาชิงช้าเช่นเดียวกับเสาชิงช้าที่กรุงเทพฯ [/FONT][FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]เป็นชุมชน ย่านผลิตและตลาดการ[/FONT][FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ค้าของผู้นับถือเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ ฮินดู [/FONT][FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]มีชื่อต่าง ๆ เช่น “.....ตลาดศาลพระกาฬ ตลาดชีกุน[/FONT][FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ตลาดบ้านพราหมณ์ บ้านช่างเงิน บ้านหล่อพระ ฯลฯ....” [/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]7 ถนนหลวงกลางพระนคร ชื่อ มหารัฐยา สร้างด้วยอิฐปูพื้นลายก้างปลา เป็นเส้นทางนำเข้าสินค้าหรูหราและอาวุธสมัยใหม่จากต่างประเทศเข้าสู่พระบรมหาราชวัง ใช้ในการต้อนรับราชทูตและพ่อค้าชาวต่างประเทศ ที่อนุญาตให้เข้าพระนครได้เฉพาะทางประตูไชย (อยู่ปลายถนนทางทิศใต้ของเกาะเมือง) เท่านั้น นอกจากนี้ใช้ในกระบวนแห่พยุหยาตราทางบก ขบวนกฐินหลวงพระราชทาน ขบวนแห่นาคหลวง ขบวนแห่พระบรมศพ [/FONT]


    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]8 ย่านชุมชนชาวจีน อยู่ทางตอนใต้ของเกาะเมือง แถวคลองสวนพลู ส่วนภายในพระพระนคร อยู่บริเวณประตูในไก่ ประตูคลองจีน ย่านนี้เป็นที่ครึกครื้นและวุ่นวายมากที่สุดในพระนคร เพราะเป็นท่าเรือใหญ่ เป็นที่จอดสำเภา (สำเภาสลุปกำปั่น) ของชาวตะวันตก จีน ที่เข้ามาทำการค้ากับอโยธยา[/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]มีป้อมเพชรและป้อมเกาะแก้วเป็นป้อมปืนใหญ่ที่ทันสมัยที่สุด คอยดักไม่ให้เรือทะเลชาวต่างประเทศสามารถรุกล้ำเข้าไปคูเมือง ที่สามารถแล่นเรือไปถึงพระบรมหาราชวังได้[/FONT]



    ภาพ ป้อมมหาไชย กรุงเทพ สร้างในแบบเดียวกับป้อมมหาไชยที่กรุงศรีอยุธยา

    [​IMG]



    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ชุมชนชาวจีน มีย่านการผลิตและการค้าขนาดใหญ่ มีตึกอาคารสร้างด้วยอิฐถือปูนเป็นคลังสินค้ามากมาย ทะลักเข้าไปในพระนคร และด้วยเป็นที่รวมของพ่อค้านานาชาติ จึงมีสินค้าหลากหลายชนิด “... เครื่องสำเภา เครื่องทองเหลือง ทองขาว กระเบื้อง ถ้วยโถโอชาม ผ้าแพรสีต่าง ๆ อย่างจีน ไหมสีต่าง ๆ เครื่องมือเหล็กและสรรพเครื่อง อาหารและผลไม้มาแต่เมืองจีน มีของสด สุกร เป็ด ไก่ ปลาทะเล ปู หอย ขนมจีน ขนมเปี๊ยะ ขนมโก๋ เครื่องจันอับ ขนมแห้งจีน สุรา เส้นหมี่แห้ง......แขกจามนำน้ำตาลทราย น้ำตาลกรวด สาคูเม็ดใหญ่เม็ดเล็ก กำมะถัน จันทน์แดง หวายตะค้า กระแซง เคย มาขาย..... ”[/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ประตูหอย เป็นย่านตลาดการค้าอาหารทะเลของชาวพระนครอันขึ้นชื่อ “.......มีเรือลูกค้าชาวเล มาจอดขายหอยแมงพู่ หอยตะพง ปูทะเล แมงดา ปลาทะเลย่างและสดบ้าง ชาวยี่สาร บ้านแหลมเมืองเพชร บ้านบางตะบูน นำ กะปิ น้ำปลา ปูเค็ม ปลากุเลา ปลากะพง ปลาทู ปลากะเบนย่าง มาจอดเรือขายแถวท้ายวัดพนัญเชิง.....”[/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ตลาดน้ำบ้านน้ำวนบางกะจะ ตั้งอยู่หน้าวัดพนัญเชิง วัดนี้สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระนเรศวรราชาธิราช ก็อีกนั่นแหละ ประวัติศาสตร์ไทยยกไปให้พระเจ้าสายน้ำผึ้งเป็นผู้สร้างโดยใช้ ”ตำนาน” เรื่องนางสร้อยดอกหมาก ผสมกับกับพงศาดารเหนือ แต่หลักฐานของชาวต่างประเทศที่เข้ามาในยุคสมัยนั้นกลับกล่าว่า พระองค์(พระนเรศ)โปรดให้สร้างพระพุทธรูปกลางแจ้ง ขึ้นที่วัดพะนางเชิง ก็ไม่รู้จะเชื่อใครดี ?[/FONT]


    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]9 แม่น้ำป่าสัก เป็นคูเมืองทิศตะวันออก ในยุคที่เรามาเยือนนี้ มีขนาดกว้างกว่าในปัจจุบันประมาณ 2.5 เท่า แม่น้ำป่าสักแต่เดิมเป็นคลองขุดขนาดเล็กเพื่อใช้เป็นคูเมือง แต่กระแสน้ำป่าของแม่น้ำรุนแรงมากในหน้าน้ำหลาก ได้เปลี่ยนทิศของแม่น้ำป่าสักเดิม ให้ไหลมาทางคลองขุด ขยายเป็นแม่น้ำใหญ่[/FONT]


    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]10 ย่านชาวต่างประเทศ บริเวณทิศใต้ของเกาะเมือง เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านชาวต่างประเทศที่เข้ามาติดต่อการค้ากับสยามตั้งแต่ในสมัยพระรามาธิบดีที่ 2 มีหมู่บ้านชาวโปตุเกส ชาวฮอลันดา ชาวฝรั่งเศส ชาวญี่ปุ่น และสถานีการค้าของ VOC ( สถานีการค้านี้ภายหลังอังกฤษเข้ามาถือหุ้นใหญ่และพัฒนากลายเป็นบริษัท อีสต์อินเดีย) [/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]“.......ครั้นถึงฤดูลมสำเภาพัดเข้ามาในกรุง เป็นมรสุมเทศกาลพวกลูกค้าพานิชสำเภาจีน และลูกค้าแขกสลุปลูกค้าฝรั่งกำปั่น ลูกค้าแขกกุศราชและพวกลูกค้าแขกสุรัด แขกชวามลายู แขกเทศฝรั่งเศส ฝรั่งโลกสง โปตุเกศ วิลันดา สเปน อังกฤษ และฝรั่งดำ ฝรั่งเรือรังกุนี แขกเกาะ เป็นพ่อค้าพานิชคุมสำเภาสลุปกำปั่นแล่นเข้ามาทอดสมออยู่ท้ายคู ขนสินค้าขึ้น มาไว้บนตึกห้างในกำแพงพระนครกรุงศรีอยุธยาตามที่ของตนซื้อและเช่าต่าง ๆ กัน เปิดร้านห้างตึกขายของตามเพศตามภาษา....”[/FONT]


    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]11 คลองตะเคียน เป็นที่ตั้งของอู่เรือรบทางทะเล แสงยานุภาพทางทะเลของกรุงศรีอยุธยาในยุคสมัยนี้ มีขึ้นเพื่อการคุ้มครองขบวนเรือสินค้าข้าวและสินค้าป่าจากสยามที่ไปขายยังมณฑลฟูเจี้ยนของราชวงศ์ชิง ซึ่งต้องผ่านน่านน้ำที่มีโจรสลัดอันนัมและตังเกี๋ยที่โหดร้าย คอยปล้นสดมภ์ การค้าข้าวทางทะเลนำมาซึ่งรายได้และผลประโยชน์มหาศาลในช่วงปลายกรุงศรีอยุธยา นี่แหละคือที่มาของความร่ำรวยและรุ่งโรจน์ของกรุงศรีอยุธยา จนพม่าอังวะอิจฉาต้องยกทัพมาปล้นชิง[/FONT]


    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ภาพ เรือสำเภา 2 ใบของชาวอยุธยา[/FONT]

    [​IMG]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]12 ปากคลองขุนละครไชย เป็นชุมชนชาวจีน ทางทิศใต้ของเกาะเมือง ตามคำให้การฉบับหอหลวงกล่าวว่า “......มีหญิงละครโสเภณี ตั้งโรงอยู่ท้ายตลาด “ รับจ้างทำชำเราแก่บุรุษ” ตลาดนี้เป็นตลาดใหญ่ใกล้ทางเรือแลทางบก มีตึกกว้านร้านจีนมาก ขายของจีนมากกว่าของไทย มีศาลเจ้าจีนศาลหนึ่งอยู่ท้ายตลาด.......” [/FONT]


    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ตึ๊ด ตึ๊ด .....ตู๊ด ตู๊ด.......เสียงเตือน หน้ากระดาษยาวไปแล้ว Time Machine จึงพากลับมาอย่างรวดเร็ว....อัตโนมัติ เรื่องราวย้อนอดีตอีกมากมายที่มหาราชธานีกรุงศรีอยุธยา ยังไม่ได้บอกเล่า น่าเสียดาย .......... ต้องรอ Set เครื่อง(Blog)ใหม่อีกครั้ง แต่ เอ..... ใครจะไปกับผมบ้างล่ะครับ........ช่วยบอกด้วย...พอชื่นใจ[/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ขอบคุณข้อมูลของ อาจารย์ วรณัย พงศาชลากร ในblog ʑ?ъ©͹?Ҡ......?Ø?ȃՍ˜?’?荹Ǒ??Ѻʙ? สนุกมากค่ะ[/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กรกฎาคม 2009
  4. ศรัทธา_พิสุทธิ์

    ศรัทธา_พิสุทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    138
    ค่าพลัง:
    +205
    <TABLE class=tborder id=post2302609 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid">เมื่อวานนี้, 06:28 PM </TD><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid" align=right>#100 </TD></TR><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175><!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->ธัมมนัตา<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_2302609", true); </SCRIPT>
    สมาชิก

    [​IMG]

    วันที่สมัคร: Aug 2006
    ข้อความ: 582
    Groans: 17
    Groaned at 2 Times in 2 Posts
    ได้ให้อนุโมทนา: 1,063
    ได้รับอนุโมทนา 6,559 ครั้ง ใน 568 โพส
    พลังการให้คะแนน: 436 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]



    </TD><TD class=alt1 id=td_post_2302609 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><!-- google_ad_section_start -->ฝากภาพเพื่อเป็นการสักการะพระองค์ท่านครับ<!-- google_ad_section_end -->


    <FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG] [​IMG] [​IMG]




    </FIELDSET>
    __________________
    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->สัพพปาปัสสอกรณัง กุสสลัสสูปสัมปทา สจิตตปริโยทปนัง<!-- google_ad_section_end -->



    -นำมาจากกระทู้เพลงพระนเรศวร ค่ะ


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  5. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    คุณไก่ฯเป็นผู้มีความจงรักภักดีมากๆคนหนึ่งทีเดียวค่ะ

    คนไทยรักชาติแหละศาสนา
    เทิดองค์เจ้าฟ้า ผู้ทรงเปี่ยมเนื้อนาบุญ


    ทางสายธาตุเชื่อมั่นว่าพระมหากษัตริย์นั้นท่านทรงเปี่ยมด้วยบุญบารมีที่สั่งสมมา คนไทยรักท่านไม่ใช่เพราะพระองค์ท่านเป็นพระเจ้าแผ่นดินแต่คนไทยศรัทธาพระองค์ท่านเพราะเชื่อว่า พระบารมีและพระมหากรุณาธิคุณจะนำพาชาติไทย สงบ ร่มเย็น เป็นถิ่นอาศัยอันปลอดภัย มีที่ทำกินเลี้ยงตัวได้ ไม่ถูกกดขี่ข่มเหง และได้รับคุณยุติธรรมต่างๆตามสมควรกับอัตถภาพ นี่คือความรักที่ทางสายธาตุมีให้กับพระเจ้าอยู่หัว ศรัทธาในพระบารมีของพระองค์ท่าน

    ด้วยเกล้า ด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
    ทางสายธาตุ

    ภาพของคุณศรัทธา พิสุทธ์ กลอนสุดท้ายอ่านแล้ว คิดถึงน้ำพระทัยของเจ้าหญิงองค์หนึ่งที่ทรงพยายามทำทุกอย่างเท่าที่พระองค์จะทำได้เพื่อประเทศชาติ พระองค์ท่านดำรงพระองค์สมกับเป็นขัตติยราชนารีของพระราชวงศ์นักสู้แห่งสยาม พระราชวงศ์สุโขทัยนั่นเอง


    อย่าลืมว่าท่านยังเป็นฝรั่งกันอยู่ เดินชมกรุงศรีอยุธยาแล้ว ตอนนี้จะแจกเอกสารประกอบการท่องเที่ยวนะคะ เรียกว่า ความรู้เรื่องเมืองสยาม มองซิเออ ก็ดีมาดาม ก็ดี ท่านทั้งหลาย (อิอิ) จะได้เข้าใจวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของชาวสยามมากขึ้นนะคะ รอเอกสารประกอบการท่องเที่ยวแป็บนึง
     
  6. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    เมอซี่ บูกู๊ ม้าดมัวแซลย์

    คุณทางสายธาตุ เอ่ยถึงน้ำพระทัยของเจ้าหญิงองค์หนึ่งที่

    ทรงพยายามทำทุกอย่างเพื่อประเทศชาติสมเป็นขัตติยราช

    นารี ของพระราชวงศ์นักสู้แห่งสยาม ครับผมเองยังติดค้าง

    พระองค์ท่านอยู่หนึ่งเรื่องตั้งใจว่าจะต้องเขียนถึงพระราช

    กรณียกิจนี้ ด้วยยังไม่เคยพบว่ามีใครได้เคยเขียนหรือเอ่ย

    ถึงมาก่อน

    เมื่อครั้งที่ไปร่วมงานพิธีเททองหล่อพระบรมรูปสมเด็จฯ ที่

    วัดเวียงเชียงรุ้ง ผมได้รับหนังสือเกี่ยวกับสมเด็จฯท่านมา

    เล่มหนึ่งแค่ชื่อเรื่องก็น่าสนใจแล้ว นักประพันธ์ผู้รจนาถ้า

    เห็นชื่อก็ต้องฮือฮากัน คุณเอื้อ บุษปะเกศ หงสกุล ครับ

    ท่านได้เขียนและพิมพ์จำหน่ายครั้งแรก เมื่อ 24 มิถุนายน

    2480 โน่นแน่ะครับ หนังสือชื่อว่า " ลัทธิชาตินิยม กับ

    สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของ

    คนไทย "

    ผมได้ตั้งใจว่าจะส่งให้คุณทางสายธาตุได้อ่านและพิจารณา

    นำเสนอ เพราะชอบสไตล์และลีลาในการนำเสนอของคุณ

    ทางสายธาตุ ครับ จะอย่างไรรบกวนคุณทางสายธาตุช่วย

    กรุณาแจ้งด้วยครับว่าจะให้ส่งหนังสือไปให้ที่ใดด้วยนะครับ
     
  7. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    และในระหว่างการรอคอย ผมขอเสนอบางข้อความของ

    หนังสือนี้พอเป็นน้ำจิ้มไปพลางก่อน

    -เมื่อ ...ข้าพเจ้าเดินทางไปจังหวัดพิษณุโลก เพื่อ

    นมัสการพระพุทธชินราชในงานเทศกาลประจำปี ภายหลัง

    นมัสการพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ อันเป็นที่เคารพอย่างสูงสุด

    ของ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชแล้ว ข้าพเจ้าก็ไปสักการะ

    บูชาต่อพระบรมรูปปฏิมาของพระนเรศวร......

    ข้าพเจ้าจุดธูปบูชาแล้วกราบลง เพ่งดูพระพักตร์ท่านพลาง

    นึกในใจว่า พระมหากษํตริย์พระองค์นี้ เคยเป็นผู้ที่เสียสละ

    ทุกสิ่งทุกอย่างตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์เพื่อสร้าง

    ความเป็นไทย ความวัฒนาถาวรมั่นคงของชาติไทย.....

    ข้าพเจ้าได้ฟังมาจากหลายทางว่าดวงพระวิญญาณของพระ

    องค์ท่านนั้นยังคงมีอยู่ จึงเกิดความคิดว่า ถ้าคนไทยทั้ง

    หลายพากันสักการะบูชา และทูลขอร้องต่อพระวิญญาณ

    ของพระองค์ท่านขออัญเชิญมาช่วยคุ้มครองชาติไทย...

    ก็เป็นสิ่งที่พึงควรกระทำ ครั้น คิดดังนั้นแล้ว ข้าพเจ้าจึง

    กราบพระบรมรูปอีกครั้ง และประณมมือทั้งสองกราบทูล

    ว่า.............ข้าพระพุทธเจ้าจึงขออัญเชิญใต้ฝ่าละ

    อองธุลีพระบาท ได้โปรดเสด็จมาให้ความคุ้มครองป้อง

    กัน ประเทศชาติและประชาชนคนไทยและพระบวรพุทธ

    ศาสนาให้พ้นภัยในกาลบัดเดี๋ยวนี้ด้วยเถิด พระพุทธเจ้า


    ข้า ขอเดชะ

    เมื่อได้กราบทูลดั่งนั้นแล้ว ข้าพเจ้าก็กราบลงอีกสาม

    ครั้งแล้วนิ่งอยู่เปล่า ข้าพเจ้ามิได้หวังจะให้พระบรมรูป

    นั้นมาตรัสตอบ.......แต่ข้าพเจ้าได้หลับตาลงและตั้ง

    ใจสำรวมเป็นสมาธิ.....เวลาผ่านไปสัก 15 นาที ก็มี

    ความรู้สึกแวบเข้ามาในห้วงนึกเหมือนพระองค์รับสั่งกับ

    ข้าพเจ้าว่า เออ ข้ารู้แล้ว เวลานี้มีคนมาขอร้องข้ามาก

    มาย ข้ากับน้องชายก็กำลังช่วยอยู่แล้ว แต่ว่าพวกเจ้า

    ก็จะต้องช่วยกันให้มากๆด้วย....
     
  8. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434

    ดีใจจะได้หนังสือเก่ามาอ่าน เก่าที่สุดเท่าที่เคยได้สัมผัสมา ทางสายธาตุเคยสงสัยมาตั้งแต่ต้นปีแล้วว่า แล้วเราจะมารู้เรื่องพวกนี้ไปทำไมนะ เพราะรู้แล้วมันก็คืออดีต อดีตนี่พระท่านสอนว่าอย่าไปยึดเพราะมันเป็นวันวานไปแล้ว แต่แล้วอีกใจก็คิดว่า ต้องมีเหตุผลซิ ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ ต้องมีหน้าที่อะไรสักอย่าง เพียงแต่ตอนนี้ยังไม่รู้ว่าคืออะไร คงจะเหมือนเรื่องราวต่างๆที่ผ่านมา ถ้าท่านอยากให้ทราบอะไร ก็พาไปแถบๆนั้นแล้วใครสักคนก็จะบอกอะไรเราเอง เอาปากเขาเป็นสื่อ ดังนั้นถ้าเทพเบี้องบนอยากให้ทำอะไร เดี๋ยวท่านก็ดลให้ใครมาบอกเป็นนัยยะเองนั่นแหละหนา

    ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ เรื่องพระราชวงศ์พระร่วง หรือ พระราชวงศ์สุโขทัย ด้วยเดชะพระบารมีที่พระราชวงศ์นี้สร้างสมมาเป็นเอนกประการตั้งแต่ดินแดนแถบนี้ยังเป็นถิ่นของขอมดำ ต้นพระราชวงศ์ก็ช่วยกันขับไล่การกดขี่ข่มเหงจากขอมดำ กดขี่คนไทยขนาดไก่ตายหนึ่งตัวยังต้องรายงาน ถ้าเขาไม่ให้เอาไปกิน คนไทยก็ห้ามกิน เวลาใช้แรงงานก็ให้กินข้าวเหนียวกับเกลือ ขอมดำนี่ก็ใจดำ ไม่ปราณีต่อประชาชนเลย ถึงจะเป็นแค่เชลยก็ตาม พระราชวงศ์พระร่วงนี้ก็มาช่วยให้ประชาชนในถิ่นนี้รอดจากมือขอมดำ

    พอมาตกในมือพม่าในคราวเสียกรุงครั้งที่ 1 พระราชวงศ์เดิมที่สืบเชื้อสายมานี้ก็มาช่วยให้พ้นจากมือพม่าอีก ครั้นเสียกรุงครั้งที่ 2 พระมหากษัตริย์อันสืบเนื่องจากพระราชวงศ์เก่าแก่นี้ก็ทรงมากู้ไว้อีก แล้วสายแห่งพระราชวงศ์อันมีบุญคุณเหลือแสนกับชาวไทยก็ยังคงอยู่คู่ไทยมาตลอดจนถึงปัจจุบัน เขียนไปขนลุกไป เป็นเรื่องของบุญญาธิการโดยแท้

    ที่อยู่ของทางสายธาตุจะส่ง PM ไปให้นะคะ ตอนเล่นที่พันทิพย์เราเรียกว่า ส่งหลังไมล์ แต่คำว่าหลังไมด์เป็นคำห้ามในเวปไซด์พันทิพย์ เวลาจะเขียนคำนี้หน้าบอร์ดจะเลี่ยงไปใช้คำว่า ส่งหลังแมว เห็นภาพเลยเอาจดหมาดผูกติดหลังแมวอ้วนให้มันเดินโยกโย้ สบัดหางไปมา แวะไซ้ตามมุมตึก กว่าจะไปถึงบ้านท่านพอดี จดหมายเหลืองอ๋อย ตากแดดนาน เป็นคนรักแมวค่ะ

    ป.ล. แอบแปลกใจนิดนึงด้วยว่า ราชวงศ์หมิงที่เขาตามล่าตามฆ่าทิ้งจนแน่ใจแล้วว่าหมดสิ้น ฆ่าทิ้งชนิด 9 ชั่วโคตร ขึ้นไป 3 รุ่น ลงมา 3 รุ่น เป็น 7 แล้วใช่ไหมคะ เพิ่ม เพื่อนๆ และ ครูบาอาจารย์ อีก 2 รุ่น ทั้งหมดเป็น 9 ชั่วโคตร ก็ยังคงเชื้อสายไว้ได้ .... ความเชื่อส่วนตัวห้ามดื่มเกินวันละ 2 ความเห็น... ทางสายธาตุ
     
  9. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ประกาศ ให้คณะลูกทัวร์อดีต มารับเอกสารความรู้เรื่องเมืองสยาม

    มาดมัวแซว มองซิเออ มาดาม ทั้งหลายคะ ชาวสยามที่ไม่ค่อยกล้าคุยกับท่านนี้ จริงๆพวกเขาน่ารักนะคะ แต่ว่าพวกมาดมัวแซว มองซิเออ มาดาม ตัวใหญ่อย่างกับยักษ์ ตาก็เป็นสีๆ พวกเขาไม่แน่ใจว่าพวกท่านเป็นคนเหมือนเขาหรือเปล่า ทำไมจึงต่างจากพวกเขามาก อิอิ

    ความรู้เรื่องเมืองสยาม
    [SIZE=+1]จากจดหมายเหตุ ลา ลูแบร์[/SIZE]

    เป็นจดหมายเหตุพงศาวดาร ราชอาณาจักรสยามในปลายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พ.ศ.๒๒๓๐ ลา ลูแบร์ เป็นอัครราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แห่งฝรั่งเศส ซึ่งเข้ามาทูลพระราชสาส์น ณ ประเทศสยาม ได้พรรณาถึงกรุงศรีอยุธยาไว้อย่างกว้างขวาง แม้ว่าเขาจะอยู่เพียง ๓ เดือน ๖ วัน จึงต้องอาศัยความรู้จากหนังสือที่ชาวตะวันตกซึ่งมากรุงสยามแต่ก่อนแต่งไว้อย่างคลาดเคลื่อนบ้าง สอบถามจากคนที่ไม่มีความรู้บ้าง ฟังจากคำบอกเล่าซึ่งจริงบ้างไม่จริงบ้าง บางเรื่องก็คาดเดาเอาเอง
    หนังสือที่ ลา ลูแบร์ เขียนถึงเสนาบดีมีความว่า ตามที่ได้สั่งการให้เขาไปกรุงสยาม แล้วสังเกตุเรื่องราวนานาประการที่แปลก ๆ เกี่ยวกับประเทศนั้น บรรดาที่เขาได้พบเห็นมาให้ถูกต้องที่สุดเท่าที่จะทำได้
    [SIZE=+1]ความมุ่งหมายของจดหมายเหตุ[/SIZE]
    <CENTER>[​IMG]

    </CENTER> เขาได้ออกเดินทางจากท่าเรือเมือง เบรสต์ เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ๑๙๘๗ (พ.ศ.๒๒๒๙) มาทอดสมอที่กรุงสยาม เมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน ๑๙๘๗ (พ.ศ.๒๒๓๐) เดินทางกลับเมื่อวันที่ ๓ มกราคม ๑๖๘๘ (พ.ศ.๒๒๓๐) ขึ้นบกที่ท่าเรือเมืองเบสต์ เมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๑๖๘๘ (พ.ศ.๒๒๓๑)
    [SIZE=-1] ความมุ่งหมายในการเขียน เพ่งเล็งในด้านอาณาเขต ความอุดมสมบูรณ์ คุณภาพของดินในการกสิกรรม ภูมิอากาศเป็นประการแรก ต่อมาเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีโดยทั่ว ๆ ไป และเฉพาะเรื่องเฉพาะราย เรื่องเกี่ยวกับรัฐบาล และศาสนาจะกล่าวในตอนท้าย เขาได้รวบรวมบันทึกความทรงจำ เกี่ยวกับประเทศนี้ ที่เขาได้นำติดตัวมาด้วยไปผนวกไว้ตอนท้าย และเพื่อให้ผู้อ่านได้รู้จักชาวสยามโดยแจ่มชัด จึงได้เอาความรู้เกี่ยวกับอินเดีย และจีนหลายประการมาประกอบด้วย เขาแถลงว่าจะต้องสืบเสาะให้รู้เรื่องราว พิจารณาสอบถาม ศึกษาให้ถึงแก่นเท่าที่จะทำได้ ก่อนเดินทางไปถึงประเทศสยาม ได้อ่านจดหมายเหตุทั้งเก่าและใหม่ บรรดาที่มีผู้เขียนขึ้นไว้เกี่ยวกับประเทศต่าง ๆ ในภาคพื้นตะวันออก ถ้าไม่มีสิ่งดังกล่าว เขาอาจใช้เวลาสักสามปี ก็คงไม่ได้ข้อสังเกตุ และรู้จักประเทศสยามดีเท่านี้[/SIZE]


    [​IMG]

    แผนที่ Siam Ludia ของ คูร์ตอแลง บาทหลวงชาวฝรั่งเศส ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
     
  10. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ความรู้เรื่องเมืองสยาม ตอนที่ 1 บทที่ 1

    <CENTER>
    [SIZE=+2]ตอนที่หนึ่งราชอาณาจักรสยาม[/SIZE]</CENTER>[SIZE=+1]บทที่หนึ่ง ลักษณะทางภูมิประเทศ[/SIZE]
    <CENTER>[​IMG]

    </CENTER>[SIZE=-1] ๑. เหตุใดราชอาณาจักรนี้จึงไม่ค่อยเป็นที่รู้จักกันนัก การเดินเรือได้ช่วยให้เรารู้จักตำบลชายฝั่งของอาณาจักรนี้บ้าง และมีผู้เขียนไว้บ้างแล้ว แต่ในส่วนที่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน แทบจะไม่รู้เรื่องราวกันเลย เพราะชาวสยามไม่ได้ทำแผนที่ขึ้นไว้ หรือหากทำไว้ก็คงปกปิดไว้เป็นความลับ แผนที่ที่เขานำมาแสดง เป็นงานของชาวยุโรปผู้หนึ่งทำไว้ โดยได้ทวนแม่น้ำไปถึงอาณาเขต[/SIZE]

    [SIZE=-1] ๒. พรมแดนด้านเหนือ ไปถึงองศาที่ ๒๒ และโดยที่อ่าวสยามอยู่ที่ ๑๓ องศา ดังนั้ขนาดของพื้นที่จะตกประมาณ ๑๗๐ ลี้ ตามวัดขึ้นไปเป็นเส้นตรง โดยคิด ๒๐ ลี้ต่อองศาละติจูด (ลี้กิโลเมตริก ๔ กิโลเมตร ลี้บก ๔,๔๔๔ กิโลเมตร ลี้ทะเล ๕,๕๕๖ กิโลเมตร)[/SIZE]

    [SIZE=-1] ๓. เชียงใหม่ และทะเลสาบ ชาวสยามกล่าวว่าเชียงใหม่อยู่ห่างจากพรมแดนราชอาณาจักรขึ้นไป ระยะเดินทาง ๑๕ วัน (๖๐ - ๗๐ ลี้) การนับวันคือ การเดินเรือทวนน้ำ มีผู้เล่าว่าเมื่อ ๓๐ ปีที่ผ่านมา พระเจ้าอยู่หัวได้ยกทัพไปตีเมืองนั้นแล้วทิ้งให้ร้าง โดยกวาดต้อนคนมาหมด ต่อจากนั้นว่าพระเจ้าอังวะ ซึ่งเมืองพะโค เป็นเมืองขึ้นได้มาส้องสุมผู้คนขึ้นใหม่ แต่ชาวสยามที่ขึ้นไปในกองทัพครั้งนั้น ไม่มีใครได้เห็น หรือรู้ว่ามีทะเลสาบลือนาม ซึ่งนักภูมิศาสตร์ของเราระบุว่าเป็นต้นแม่น้ำ (เจ้าพระยา) เมื่อทวนน้ำขึ้นไปต้นน้ำประมาณ ๕๐ ลี้ ก็มีลำน้ำพอที่เรือขนาดย่อม ๆ จะผ่านขึ้นไปได้เท่านั้น [/SIZE]
    [SIZE=-1]
    [SIZE=-1] ๔. ประเทศสยามเป็นที่ราบระหว่างหุบเขา มีอาณาเขตกันด้วยภูเขาสูง ตั้งแต่ด้านทิศตะวันออกจรดทิศเหนือ แบ่งเขตกับราชอาณาจักรลาว ทางทิศเหนือกับทิศตะวันตกก็มีภูเขากั้น แบ่งเขตกับราชอาณาจักรพะโคและอังวะ ระหว่างเทือกเขาทั้งสอง (มีคนอาศัยอยู่น้อย เป็นคนป่าและยากจนแต่เป็นอิสระไม่ขึ้นกับใคร) เป็นที่ราบใหญ่ บางตอนกว้าง ๕๐ - ๑๐๐ ลี้ มีแม่น้ำไหลผ่านไหลลงอ่าวสยาม แยกออกเป็นสามแคว [/SIZE]
    [/SIZE]

    [SIZE=-1][SIZE=-1]
    <CENTER>[​IMG]

    </CENTER>[SIZE=-1] ๕. เมืองที่ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำสายนี้ ลึกจากปากน้ำ ๗ ลี้ เป็นเมืองบางกอก ชาวสยามไม่นิยมปลูกเรือนอยู่ตามชายฝั่งทะเลนัก มักชอบอยู่ตามริมแม่น้ำ ที่ขึ้นล่องสะดวกแก่การค้าทางทะเล ชื่อตำบลมักขึ้นต้นด้วยบ้าน[/SIZE]

    [SIZE=-1] ๖. สวนผลไม้บางกอก มีอาณาบริเวณยาวไปตามริมฝั่งแม่น้ำ ถึง ๔ ลี้ จรดตลาดขวัญ[/SIZE]

    [SIZE=-1] ๗. เมืองอื่น ๆ บนฝั่งแม่น้ำ ตำบลสำคัญคือ แม่ตาก เป็นเมืองเอก ตั้งอยู่ทางทิศเหนือหนพายัพ ถัดไปเป็นเมืองเทียนทอง (เชียงทอง) กำแพงเพชร (กำแปง) แล้วถึงเมืองนครสวรรค์ ชัยนาท ตลาดขวัญ ตลาดแก้ว และบางกอก ถึงทางชัยนาทกับสยามค่อนไปทางตะวันออกเป็นเมืองละโว้ ตรงละติจูด ๑๔ ๔๒ ๓๒ ตามที่บาทหลวงเยซูฮิตได้คำนวณไว้ พระเจ้ากรุงสยาม โปรดไปอยู่เมืองนั้นเกือบตลอดปี เมืองเทียนทองร้างไปคงเนื่องจากสงครามเก่าแก่กับพระโค [/SIZE]
    [SIZE=-1]
    [SIZE=-1] ๘. [COLOR=#cc0000]ลำน้ำที่เรียกแม่น้ำเหมือนกัน[/COLOR] ที่เมืองนครสวรรค์ เป็นแควร่วมของแม่น้ำสายใหญ่ไหลจากเหนือ นักภูมิศาสตร์ฝรั่งเศสบอกว่าไหลจากทะเลสาบเชียงใหม่ แต่ยืนยันว่าต้นน้ำมาจากเทือกเขา ซึ่งอยู่ทางเหนือของเมืองขึ้นไปไม่ไกลนัก ไหลผ่านเมืองฝาง พิชัย พิษณุโลก พิจิตร นครสวรรค์ และบรรจบกับแม่น้ำสายอื่น[/SIZE]
    [SIZE=-1] [COLOR=#cc0000]เมืองพิษณุโลก[/COLOR][COLOR=#000099] มีเจ้าสืบวงศ์เช่นเมืองตากมีการค้าขายมาก มีหอรบ ๑๔ แห่งอยู่ละติจูด ๑๙[/COLOR][/SIZE]
    [COLOR=#000099][SIZE=-1] [COLOR=#cc0000]เมืองนครสวรรค์[/COLOR][COLOR=#000099] อยู่กึ่งกลางระหว่างเมืองพิษณุโลกกับเมืองสยาม (อยุธยา) ระยะทางขาขึ้น ๒๕ วัน โดยทางเรือ แต่อาจร่นมาเป็น ๑๒ วัน ถ้ามีฝีพาย และพายอย่างรีบเร่ง[/COLOR][/SIZE][/COLOR]


    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๙. [U][COLOR=#cc0000]เมืองไม้[/COLOR][/U][COLOR=#000099] เมืองเหล่านี้ไม่ผิดกับเมืองอื่น ๆ ในสยามคือเป็นหมู่เรือนจำพวกกระท่อม ล้อมรอบด้วยรั้วไม้เสา บางทีมีกำแพงหินและอิฐ แต่มีน้อย[/COLOR][/SIZE][/COLOR] [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๑๐. [U][COLOR=#cc0000]ความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของชาวเมืองฝาง[/COLOR][/U][COLOR=#000099] เพราะเมืองนั้นเป็นที่เก็บพระทันตธาตุ ชาวสยามจึงสร้างวิหารเจดีย์ไว้เพื่อบูชา บางคนเรียกเมืองพัน ทำให้มีชาวพะโค (มอญ) และชาวลาว นอกจากชาวสยามมาชุมนุมนมัสการด้วย[/COLOR][/SIZE][/COLOR] [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๑๑. [U][COLOR=#cc0000]ความเชื่อที่พระบาท[/COLOR][/U][COLOR=#000099] อยู่ห่างเมืองละโว้ไปทางตะวันออก ๕ - ๖ ลี้[/COLOR][/SIZE][/COLOR] [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๑๒. [U][COLOR=#cc0000]พระบาทคืออะไร[/COLOR][/U][COLOR=#000099] คือพิมพ์เท้ามนุษย์ โดยฝีมือช่างสลักอย่างหยาบ ๆ ลงในหิน ลึก ๑๓ - ๑๔ นิ้ว ยาวกว่าเท้าคนทั่วไป ๕ - ๖ เท่า กว้างทำนองเดียวกัน พระเจ้าอยู่หัวเสด็จไปนมัสการเป็นประจำทุกปี โดยขบวนพยุหยาตราเป็นพระราชพิธีใหญ่ พระพุทธบาทหุ้มด้วยแผ่นทองคำ อยู่ในมหามณฑปที่สร้างสวมไว้ ตามคำให้การของผู้เฒ่าผู้แก่ พระบาทนี้เพิ่งมีตำนานมาได้ไม่เกิน ๙๐ ปี[/COLOR][/SIZE][/COLOR] [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๑๓. [U][COLOR=#cc0000]มูลเหตุความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์นี้[/COLOR][/U][COLOR=#000099] คนสยามเป็นเพียงนักลอกแบบที่หยาบ ๆ พงศาวดารอินเดียได้บันทึกเรื่องพระเจ้ากรุงสิงหฬ (ซีลอน) องค์หนึ่งได้สงวนเขี้ยวลิงตัวหนึ่งไว้ด้วยความนับถือยิ่งยวด ซึ่งชาวอินเดียถือว่าเป็นพระบรมสารีริกธาตุองค์หนึ่ง พระองค์พยายามไถ่คืนจากอุปราชแห่งอินเดียว ซึ่งยึดเขี้ยวนั้นมาจากชาวอินเดีย แต่ไม่เป็นผล อุปราชอินเดียได้เผาเขี้ยวนั้นแล้วทิ้งแม่น้ำไป[/COLOR][/SIZE][/COLOR] [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๑๔. [U][COLOR=#cc0000]อะไรคือรอยเท้าอาดัมในลังกา[/COLOR][/U][COLOR=#000099] ชาวปอร์ตุเกศเรียกรอยเท้าในสิงหลว่า เท้าอาดัม และพวกเขาเชื่อว่าลังกานั้นคือ สวนสวรรค์ในไบเบิล[/COLOR][/SIZE][/COLOR]

    [/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT]
    [/SIZE]
    [/SIZE]
    [/SIZE]
     
  11. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ความรู้เรื่องเมืองสยาม ตอนที่ 1 บทที่ 2

    บทที่สอง ลักษณะทางภูมิศาสตร์ แห่งราชอาณาจักรสยามต่อจากที่ว่าด้วยเมืองหลวง

    [SIZE=-1] ๑. เมืองอื่น ๆ ติดเส้นแบ่งพรมแดนกับประเทศพะโค เป็นที่ตั้งของเมืองกาญจนบุรี ติดกับพรมแดนลาว มีเมืองโคราชเสมา และเมืองที่อยู่ระหว่างแม่น้ำสองสายเหนือนครสวรรค์คือ สุโขทัย ซึ่งอยู่ในระดับพื้นที่สูงเกือบเท่าเมืองพิจิตร กับเมืองสังคโลก ซึ่งตั้งอยู่คล้อยทางด้านทิศเหนือไปเล็กน้อย [/SIZE]
    [SIZE=-1]
    [SIZE=-1] ๒. บ้านเมืองที่มีลำคลองตัดกันมากมาย ชาวสยามขุดคลองเป็นอันมาก ถ้าจดจำไม่ดี จะนับบรรดาเมืองที่ตั้งอยู่ตามริมน้ำได้ไม่ถ้วน[/SIZE]
    [/SIZE]

    [SIZE=-1]
    <CENTER>[​IMG]

    </CENTER>[SIZE=-1] ๓. ลักษณะเมืองสยาม (อยุธยา) คลองทำให้เมืองสยามกลายเป็นเกาะ แต่ว่าอยู่ท่ามกลางเกาะหลายเกาะด้วยกัน อยุธยาอยู่ที่ละติจูด ๑๔ ํ ๒๐" ๔๐" ลองติจูด ๑๒๐ํ ๓๐' รูปร่างคล้ายถุงย่าม ปากถุงอยู่ทางทิศตะวันตก แม่น้ำใหญ่บรรจบกับลำคลองหลายสาย ซึ่งแล่นวงรอบกรุงตรงด้านเหนือ แล้วแยกลงด้านใต้เป็นหลายแพรกด้วยกัน พระบรมมหาราชวังอยู่ทางด้านทิศเหนือ พบลำคลองที่เป็นคูเมืองด้านตะวันออก มีทางเดินข้ามอยู่แห่งเดียว คล้ายคอคอด จะออกพระนครได้โดยไม่ต้องข้ามลำน้ำ[/SIZE]

    [SIZE=-1] ตัวพระนครกว้างขวางมาก มีกำแพงล้อมตัวเกาะ ในกำแพงเมืองมีคนอยู่ประมาณ ๑ ใน ๖ หมายถึงพื้นที่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ นอกนั้นรกเป็นป่ามีแต่วัดเท่านั้น เขตชานพระนครซึ่งมีชาวต่างประเทศอยู่ทำให้ เพิ่มจำนวนพลเมืองขึ้นอีกมาก ถนนในหมู่บ้านชาวต่างประเทศกว้างและเป็นเส้นตรง บางแห่งปลูกต้นไม้ และปูถนนด้วยแผ่นอิฐตะแคง บ้านชาวพื้นเมืองโดยมากเป็นเรือนต่ำสร้างด้วยไม้ ถนนส่วนใหญ่มักมีลำคลองขนานเป็นแนวตรงไปด้วย ทำให้เปรียบเมืองสยามได้กับเมืองเวนิช ตามคลองหลอดมีสะพานเชือกเล็ก ๆ ไม่มั่นคงนัก ทอดข้ามเป็นอันมาก บางแห่งมีสะพานก่ออิฐถือปูนสูงมาก และฝีมือหยาบเต็มที[/SIZE]

    [SIZE=-1] ๔. นามของสยาม คำว่า สยามไม่เป็นที่รู้จักของชนชาวสยามเอง เป็นคำที่พวกปอร์ตุเกศ ซึ่งอยู่ในชมพูทวีปใช้เรียก เป็นนามประชาชาติ ไม่ใช่นามแห่งราชอาณาจักร และคำนามว่า พะโค ลาว มะหง่ล (Mogol) กับชื่ออื่น ๆ เป็นอันมาก ซึ่งพวกเราใช้เรียกอาณาจักรต่าง ๆ ในชมพูทวีป ก็เป็นคำที่ใช้เรียกประชาชาติ[/SIZE]

    [SIZE=-1] ๕. นามอันแท้ของชาวสยามก็คือ ฟรังซ์ นั่นเอง ชาวสยามเรียกตนเองว่า ไทย แปลว่า อิสระ ผู้ที่รู้ภาษาพะโคยืนยันว่า สยาม แปลว่า อิสระ ในภาษานั้น คำว่า ฟรังซ์ เป็นนามที่บรรพบุรุษฝรั่งเศส ใช้เมื่อสลัดแอกชาติโกลออกจาก อำนาจปกครองของจักรวรรดิ์โรมัน[/SIZE]
    [SIZE=-1] ส่วนเมืองสยาม ชาวสยามเรียกว่า ศรีอโยธยา บางทีก็เรียกว่า กรุงเทพพระมหานคร[/SIZE]


    [SIZE=-1] ๖. ชนต่างจำพวกสองชาติเรียกตนเองว่าสยาม ชาวสยามที่กล่าวถึง เรียกตนเองว่า ไทยน้อย ยังมีชนอีกพวกหนึ่ง ยังป่าเถื่อนอยู่มาก เรียกกันว่า ไทยใหญ่ อยู่ตามภูเขาทางภาคเหนือ [/SIZE]
    [SIZE=-1]
    [SIZE=-1] ๗. ภูเขาอื่น ๆ และเขตแคว้นอื่น ๆ เทือกเขาอันเป็นพรมแดนระหว่างอังวะ พะโค และสยาม นั้น ค่อยราบลงทีละน้อย เมื่อแผ่ลงมาทางตอนใต้ กลายเป็นคาบสมุทรอินเดียน นับแต่ปากน้ำคงคาออกมา และสิ่นสุดลงที่เมืองสิงคะปุระ คั่น[COLOR=#cc0000]อ่าวสยาม[/COLOR][COLOR=#000099]กับ[COLOR=#cc0000]อ่าวเบ็งกะหล่า [/COLOR][COLOR=#000099]ให้เแยกจากกัน ซึ่งเมื่อรวมกับ[COLOR=#cc0000]เกาะสุมาตรา[/COLOR][COLOR=#000099] เข้าด้วยแล้วก็เกิดเป็น[COLOR=#cc0000]ช่องแคบมะละกา [/COLOR][COLOR=#000099] หรือ[COLOR=#cc0000]ช่องแคบสิงคะปุระ [/COLOR][COLOR=#000099] อันลือชื่อ มีลำน้ำหลายสายจากภูเขาต่าง ๆ ในคาบสมุทรนี้ หลั่งลงในอ่าว ภูเขาลูกอื่น ๆ อันเป็นพรมแดนสยามกับลาว ก็ยื่นลงมาทางใต้เหมือนกัน ค่อยเตี้ยลงทีละน้อยจนสิ้นสุดลงที่ [COLOR=#cc0000]แหลมกัมโพชา[/COLOR][COLOR=#000099] ซึ่งตั้งอยู่ตะวันออกสุดของทวีปเอเซีย อ่าวสยามเริ่มต้นตรงระดับเดียวกับแหลมจะงอยนี้ และอาณาจักรสยามก็แผ่ออกไปมากทางด้านใต้ ทั้งสองฟากอ่าวเป็นรูปเกือกม้าคือ ตามอ่าวทางตะวันออกถึง[COLOR=#cc0000]แม่น้ำจันทบูร [/COLOR][COLOR=#000099]อันเป็นจุดเริ่มต้นของ[COLOR=#cc0000]อาณาจักรกัมโพชา[/COLOR][COLOR=#000099] ทางตะวันตกของอ่าวสยาม อาณาเขตสยามแผ่ลงมาถึง[COLOR=#cc0000]เมืองเกคะ[/COLOR][COLOR=#000099] และเมืองปัตตานี อันเป็นดินแดน[COLOR=#cc0000]แคว้นของชาวมลายู[/COLOR][COLOR=#000099] ซึ่งแต่ก่อนนี้ [COLOR=#cc0000]เมืองมะละกา เป็นเมืองหลวง[/COLOR][/COLOR][/COLOR] [/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/SIZE]
    [SIZE=-1][COLOR=#000099][COLOR=#000099][COLOR=#000099][COLOR=#000099][COLOR=#000099][COLOR=#000099][COLOR=#000099][COLOR=#000099]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๘. [U][COLOR=#cc0000]ฝ่ายชายทะเลสยาม[/COLOR][/U][COLOR=#000099] ชายทะเลสยามยาวประมาณ ๑๐๐ ลี้ และทางอ่าวเบ็งกะหล่า อีกประมาณ ๑๘๐ ลี้[/COLOR][/SIZE][/COLOR] [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๙. [U][COLOR=#cc0000]เกาะของสยามในอ่าวเบ็งกะหล่า[/COLOR][/U][COLOR=#000099] มีเกาะใหญ่น้อยเป็นอันมาก เรียงรายอยู่หนาแน่น เกาะเหล่านี้ส่วนใหญ่มีท่าเรืออย่างดี สมบูรณ์ด้วยน้ำจืดและป่าไม้ เป็นเครื่องล่อให้ชวนกันมาตั้งอาณานิคมใหม่อย่างยิ่ง พระเจ้ากรุงสยามถือว่าพระองค์เป็นใหญ่เหนือแผ่นดินเหล่านี้ แม้ชาวสยามน้อยนัก จะอพยพไปตั้งถิ่นฐานอยุ่ในแหลมมลายา ทั้งพระองค์เองก็ไม่มีกำลังทางทะเลเพียงพอที่จะแผ่อำนาจ เพื่อกีดกันมิให้ชาวต่างประเทศอพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐานบ้านเรือน เอาตามอำเภอใจได้[/COLOR][/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๑๐. [U][COLOR=#cc0000]เมืองมะริด[/COLOR][/U][COLOR=#000099] ตั้งอยู่ที่แง่ด้านตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะใหญ่ ที่มีผู้คนมากเกาะหนึ่ง มีปลายแม่น้ำสวยงามสายหนึ่งล้อมรอบเป็นขอบคู ท่าเรือเมืองมะริด กล่าวกันว่า สวยงามที่สุดแห่งชมพูทวีป[/COLOR][/SIZE][/COLOR]
    [/FONT][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][FONT=MS Sans Serif][COLOR=darkgreen]มีทั้งหมด 9 บทสำหรับตอนที่ 1 นี้ จะลงไว้วันนี้แค่ 3 บทก่อนค่ะ อ่านมากจะเบื่อกันไปข้างหนึ่งค่ะ[/COLOR]
    [/FONT][/FONT][/FONT][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR]
    [/SIZE]
    [/SIZE]
    [/SIZE]
     
  12. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ความรู้เรื่องเมืองสยาม ตอนที่ 1 บทที่ 3

    บทที่สาม ประวัติศาสตร์และต้นกำเนิดของชนชาวสยาม
    [​IMG]

    แผนที่อุษาคเนย์สมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษ โดยไอแซค ไทริออน

    [SIZE=-1] ๑. ชาวสยามไม่ค่อยสนใจในประวัติศาสตร์ของตนนัก ประวัติศาสตร์เต็มไปด้วยนิยาย หนังสือก็มีน้อย เพราะชาวสยามยังไม่รู้จักใช้เครื่องตีพิมพ์ มีผู้กล่าวว่าชาวสยาม แสร้งปกปิดประวัติศาสตร์ของตนไว้ และยืนยันว่าชาวสยามมีประวัติย้อนขึ้นไปไม่ไกลเท่าใดเลย[/SIZE]

    [SIZE=-1] ๒. ศักราชสยาม ชาวสยามเริ่มศกใหม่ในเดือนธันวาคม การเริ่มศักราชนับจากวันปรินิพพานของสมเด็จพระสมณโคดม[/SIZE]

    [SIZE=-1] ๓. พระมหากษัตริย์สยาม ปฐมกษัตริย์สยาม พระนามว่า พระปฐมสุริยเทพนรไทยสุวรรณบพิตร พระนครแห่งแรกคือ ไชยบุรีมหานคร เมื่อปี พ.ศ.๑๓๐๐ ได้สืบสันตติวงศ์ต่อมาอีกสิบชั่วกษัตริย์ องค์สุดท้ายมีพระนามว่า พญาสุนทรเทศมหาเทพราช ได้ย้ายพระนครมาสร้างราชธานีใหม่ที่เมืองธาตุนครหลวง ในปี พ.ศ.๑๗๓๑ พระมหากษัตริย์องค์ที่ ๑๒ พระนามว่า พระพนมไชยศิริ ได้ให้ราษฎรอพยพตามไปยังเมืองนครไทย ซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำที่ไหลมาจากภูเขาแดนลาว และไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ตอนเหนือเมืองพิษณุโลก ขึ้นไปเล็กน้อยไกลกัน ๔๐ - ๕๐ ลี้ แต่พระมหากษัตริย์องค์นี้มิได้อยู่ที่เมืองนครไทยตลอดมา แต่ได้ไปสร้างและประทับอยู่ ณ เมืองพิบพลี บนฝั่งแม่น้ำสายหนึ่งอยู่ห่างจากปากน้ำราว ๑ ลี้ ทางทิศตะวันตกของปากน้ำเจ้าพระยา มีพระมหากษัตริย์สืบสันตติวงศ์ต่อมาอีกสี่ชั่วกษัตริย์ องค์สุดท้ายมีพระนามว่า รามาธิบดี ได้ทรงสร้างเมืองสยามขึ้น เมื่อปี พ.ศ.๑๘๙๔ และขึ้นครองราชย์ ณ ที่นั้น [/SIZE]
    [SIZE=-1]
    [SIZE=-1] ๔. พระชาติของพระมหากษัตริย์รัชกาลปัจจุบัน วัน วลิต ได้ทำให้เราได้รู้เหตุการณ์ชัดแจ้งขึ้น[/SIZE]

    [SIZE=-1] ๕. ตัวอย่างการกบฎจลาจลในกรุงสยาม[/SIZE]

    [SIZE=-1] ๖. ข้อสงสัยเกี่ยวกับต้นกำเนิดของชาวสยาม ยากที่จะวินิจฉัยลงไปได้ว่า เป็นชนชาติที่สืบพงศ์พันธุ์แต่ดึกดำบรรพ์ในประเทศสยาม ที่อยู่ในดินแดนสยามเอง หรือว่าสืบเผ่าพันธุ์มาจากมนุษย์ชาติอื่น แล้วอพยพย้ายมาตั้งถิ่นฐานในภูมิภาคส่วนนี้ แม้จะมีมีเจ้าของถิ่นดั้งเดิมตั้งรกรากอยู่ก่อนแล้ว[/SIZE]


    [SIZE=-1] ๗. ในสยามมีภาษาสองอย่าง ชาวสยามรู้จักใช้ภาษาสองอย่าง อย่างหนึ่งเป็นภาษาพื้นเมือง เป็นภาษาง่าย ๆ และเกือบจะเป็นคำโดด ไม่มีการกระจายคำกริยา หรือการเปลี่ยนตามการก กับอีกภาษาหนึ่งคือ ภาษาบาลี ซึ่งในทรรศนะของพวกเขาว่าเป็นภาษาที่ตายแล้ว เป็นที่รู้จักกันในหมู่ปวงปราชญ์ราชบัณฑิต ใช้ในการพระศาสนา ในตัวบทพระธรรมศาสตร์ ชื่อตำแหน่งหน้าที่ ใช้ในคำประพันธ์[/SIZE]

    [SIZE=-1] ๘. ชาวสยามบอกถึงมูลเดิมแห่งกฎหมายและศาสนา ชาวสยามยืนยันว่า กฎหมายของพวกเขาเป็นกฎหมายต่างประเทศ มาสู่สยามจากเมืองลาว ทั้งสยามและลาวมีศาสนาเดียวกัน และยังเหมือนกับชาวพะโค และตำนานหรือประเพณีดั้งเดิม ก็กล่าวว่ากฎหมายและแม้แต่พระมหากษัตริย์ของพวกเขา ก็มาจากเมืองลาว และทางลาวก็ว่าพระมหากษัตริย์ของพวกเขา และกฎหมายของลาว โดยมากก็ไปจากสยามเช่นเดียวกัน[/SIZE]

    [SIZE=-1] ๙. ภาษาบาลี ชาวสยามเชื่อว่า ตัวอักษรภาษาบาลี มีผู้รู้เฉพาะชาวสยามเท่านั้น แต่พวกนักสอนศาสนาคริสต์เชื่อว่า ภาษาบาลียังไม่ใช่ภาษาที่ตายแล้ว เพราะพวกเขาได้พบผู้ที่มาจากแหลมโกโมแร็ง (Comorin) พูดภาษาบาลีปนมาในคำพูดของเขา และยืนยันว่าเป็นภาษาที่พูดกันในบ้านเมืองของเขาตามปกติ[/SIZE]

    [SIZE=-1] ๑๐. ชาวสยามคล้ายคลึงกับชาวประเทศเพื่อนบ้าน ชาวสยามมีรูปพรรณทางใบหน้าแบบชาวชมพูทวีป ผิวผสมแดงกับน้ำตาลไหม้ ซึ่งไม่เหมือนกับชาวต่างชาติข้างเหนือของทวีปอาเซีย และยังมีจมูกสั้น ตอนปลายจมูกมีลักษณะมนเหมือนชาวประเทศเพื่อนบ้าน กระดูกโหนกแก้มโปน และยื่น หางตาเชิดชัน ใบหูใหญ่กว่าชาวยุโรป ท่าทางมีลักษณะห่อตัวเหมือนลิงทะโมน และยังมีอิริยาบทอีกหลายอย่าง ที่คล้ายสัตว์จำพวกนี้[/SIZE]

    [SIZE=-1] ๑๑. พระเจ้ากรุงสยามโปรดเด็ก จน ๗ หรือ ๘ ขวบ เมื่อพ้นจากการเป็นทารกแล้ว ก็ไม่โปรดอีกต่อไป[/SIZE]

    [SIZE=-1] ๑๒. [COLOR=#cc0000]ชาวสยามมิได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานในประเทศนี้จากที่ไกลนัก[/COLOR] ทุกปีจะมีน้ำท่วมอยู่หลายเดือน เต็มไปด้วยเหลือบยุง บุ้ง ร่าน ริ้น ตัวแมลงต่างๆ นับไม่ถ้วนชนิด อยู่ในเขตอากาศร้อนอบอ้าว เป็นการยากที่มนุษย์จากถิ่นไกลจะปลงใจอพยพมาตั้งถิ่นฐานได้ นอกจากหมู่ชนในดินแดนใกล้เคียง และเชื่อว่าเพิ่งเข้ามาอยู่ เมื่อไม่กี่ศตวรรษมานี้ โดยอาศัยอายุต้นไม้ใหญ่ที่มีอายุเป็นพันปีมีอยู่น้อยมาก จึงน่าจะสันนิษฐานว่า ชนชาติสยามน้อย (ไทยน้อย) น่าจะสืบตระกูลมาจากชนชาติสยามใหญ่ (ไทยใหญ่) และพวกสยามใหญ่ก็ถอยมาจากถิ่นเกิดขึ้นไปอยู่ตามภูเขา เพื่อหนีภัยการรุกรานของประเทศเพื่อนบ้าน[/SIZE]

    [SIZE=-1] ๑๓. [COLOR=#cc0000][U]คนต่างด้าวที่เข้าไปยังประเทศสยาม[/U] [/COLOR][COLOR=#000099] เลือดชาวสยามระคนปนกับเลือดต่างด้าวอยู่มาก โดยไม่ต้องนับพวกมอญ หรือลาว ซึ่งเกือบจะเป็นชนชาติเดียวกับสยาม กล่าวกันว่ามีชนต่างชาติเข้ามาพึ่งสยามอยู่ถึง ๔๐ ชาติ ความปั่นป่วนในด้านการค้า ของเมืองสยามในระยะหลัง ทำให้ชาวต่างชาติที่เคยตั้งหลักแหล่งอยู่ได้ถอนตัวออกไปมาก ปัจจุบันพวกที่อพยพมาจาก[COLOR=#cc0000]เบ็งกะหล่า[/COLOR][COLOR=#000099] พวกญวนสักสองสามครอบครัว เฉพาะ[COLOR=#cc0000]พวกมัวร์[/COLOR][COLOR=#000099] ก็แบ่งออกเป็นตั้ง ๑๐ ชาติแล้ว พวกมัวร์เป็น[COLOR=#cc0000]แขกชาติอาหรับ[/COLOR][COLOR=#000099] นับถือ[COLOR=#cc0000]ศาสนามะหะหมัด[/COLOR][COLOR=#000099] เป็นบรรพบุรุษของพวก[COLOR=#cc0000]แขกสาระเซ็น[/COLOR][COLOR=#000099] แขกชาตินี้แผ่ซ่านอยู่ในที่ต่าง ๆ เกือบทั่วทวีปยุโรป[/COLOR][/COLOR][/COLOR] [/COLOR][/COLOR][/COLOR][/SIZE]
    [SIZE=-1][COLOR=#000099][COLOR=#000099][COLOR=#000099]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๑๔. [U][COLOR=#cc0000]ประชากรแห่งราชอาณาจักรสยามมีไม่มากนัก[/COLOR][/U][COLOR=#000099] แยกอยู่ตามเขตแขวงต่าง ๆ ในตัวเมือง หรือตามหัวเมืองต่าง ๆ น่าจะอนุมานว่ารัฐบาลสยามไม่ปรารถนาที่จะให้พลเมืองเพิ่มขึ้นกว่านี้อีก เพราะได้มีการสำรวจสำมะโนประชากรทุกปี รัฐบาลสยามได้ทำทะเบียนคนชายหญิง และเด็กไว้อย่างครบถ้วน จาก[COLOR=#cc0000]การสำรวจครั้งล่าสุดมีเพียง ๑.๙ ล้านคน[/COLOR][/COLOR][/SIZE] [/COLOR][/FONT]

    [/COLOR][/COLOR][/COLOR][COLOR=darkgreen]ป.ล. ตอนนี้ท่านทั้งหลายยังเป็นฝรั่งกันอยู่นะคะ อย่าลืม อ่านแบบฝรั่งมองไทยนะคะ[/COLOR][/SIZE]
    [/SIZE]
     
  13. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    รายงานเรื่องการเดินทางไปพื่อร่วมถวายปัจจัยที่วัดวรเชษฐ

    วันนี้ (30 ก.ค. 52) ได้เดินทางไปวัดวรเชษฐ ตามที่นัด

    หมายกันไว้กับคุณแม่ชี เพื่อร่วมถวายปัจจัยทำบุญกับพระ

    อาจารย์สิงห์ทน สืบเนื่องจากเดิมที่คุณโมเย ได้มีจิตศรัท

    ธาถวายแผ่นซีดีเพลงสมเด็จพระนเรศวรมหาราชให้กับพระ

    อาจารย์จำนวน 50 แผ่น เพื่อเป็นทุนทรัพย์ไว้ซ่อมแซม

    อาคารที่ชำรุดเสียหายด้วยเหตุเพลิงไหม้ ยอดแรกจำนวน

    7,000 บาท ( เจ็ดพันบาท ) ปรากฎว่าพระอาจารย์ติด

    กิจนิมนต์ ก็ได้ฝากไว้กับคุณแม่ชี โดยได้กราบเรียนให้พระ

    อาจารย์ได้ทราบทางโทรศัพท์เป็นที่เรียบร้อย

    ในการไปวัดวรเชษฐในครั้งนี้โชคดีได้มีโอกาสได้รับรู้ใน

    เรื่องการเดินทางไปศึกษาดูงานของคณะอนุกรรมการ

    พิจารณา ติดตาม ตรวจสอบ ส่งเสริมกิจการศาสนา คุณ

    ธรรม จริยธรรมฯ ในคณะกรรมาธิการการศาสนา คุณธรรม

    จริยธรรมฯ วุฒิสภา เพื่อรับฟังข้อเท็จจริงจากผู้แทนหน่วย

    งานที่เกี่ยวข้องพร้อมทั้งศึกษาพื้นที่ในบริเวณวัดวรเชษฐ

    ในวันพุธที่ 7 มกราคม 2552 โดยทางวัดได้จัดทำเป็น

    เอกสารสำหรับแจกจ่าย ซึ่งผมได้นำมาด้วยจำนวนหนึ่ง

    ท่านใดต้องการกรูณา PM ไปนะครับจะจัดส่งไปให้ มี

    สาระที่น่าสนใจมากทีเดียวครับ แค่กล่าวถึงความเป็นมา

    ของวัดก็ต้องฮือฮากัน ดังนี้ครับ ...." วัดวรเชษฐเป็นวัด

    นอกเมือง อยู่ทางทิศตะวันตกของเมืองอยุธยา ชื่อเดิม

    วัดป่าแก้ว ตามลักษณะแบบวัดที่สำคัญของพระมหา

    กษัตริย์ มีศิลปการก่อสร้างตามแบบอโยธยาสมัยพระ

    ธรรมราชาที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง ) มีแห่งเดียวในจังหวัด

    พระนครศรีอยุธยา วัดป่าแก้ว เป็นวัดฝ่ายอรัญญวาสี

    เคยมีการปกครองด้วยปู่ทวดในตำแหน่งพระสังฆราช

    ต่อมาได้มอบตำแหน่งพระสังฆราชให้ พระพนรัตน์

    ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

    ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นที่พระราชทานเพลิงพระศพ

    สมเด็จพระนเรศวรมหาราช...."
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 กรกฎาคม 2009
  14. Fort_GORDON

    Fort_GORDON เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2008
    โพสต์:
    286
    ค่าพลัง:
    +488
    โอ้โฮ ครับ กระทู้นี้อัดแน่นไปด้วยเนื้อหาสาระที่เป็นความ

    รู้และเป็นประโยชน์มากทีเดียว ฟอร์ทขออนุโมทนากับ

    คุณทางสายธาตุ ด้วยครับ ข่าววัดวรเชษฐ ของพี่จงรัก

    ภักดี เป็นข่าวดีจริงๆครับ สาธุ
     
  15. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ดีใจที่คณะกรรมาธิการศาสนาให้ความสนใจค่ะ
    แผ่นดินนี้เจ้าท่านทุ่มทั้งชีวิต ยื้อแย่งกลับมาจากพม่า
    สมควรที่คนไทยจะได้รู้ซึ้งและระลึกถึงพระคุณท่าน
    พระราชวังอันมีที่นอนอ่อนนุ่ม เจ้าท่านแทบไม่ได้ทรงใช้
    เจ้าท่านอยู่กับทหารของท่านตลอด
    เสวยอาหารที่ไม่ต่างจากทหารท่านนัก
    ความรักที่เจ้าท่านมีให้กับแผ่นดินนี้
    ท่านให้ค่าสูงมากเกินกว่าชีวิตของพระองค์เองเสียอีก
     
  16. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    เข้ามาสมัครเวปไซด์นี้เพราะหาข้อมูลวัดวรเชษฐ์ แล้ว google ก็โชว์ข้อความของ The Third Eyes ไว้ (นำมาลงไว้ข้างล่างนี้) ทำให้สมัครเป็นสมาชิก แต่อย่างพวกมือใหม่นั่นแหละค่ะ หา The third eyes อยู่เดือนกว่า เพิ่งรู้ว่าย้ายไปห้องจิตวิทยา กว่าจะเจอหน้านี้อีกครั้ง เหงื่อตก หาอยู่นานมากค่ะ

    เรื่องเล่า ก่อนอน คืนนี้ เรื่องที่ สิบสี่
    คงจะเป็น เรื่อง ยาวมาก อีกเรื่อง... ต้อง ทะยอยมาเล่า ต่อ เป็น ตอนๆๆ

    .................................................................................................
    สมเด็จพระนเรศวร มหาราช
    กับ การยุทธหัตถี ชนช้าง กับ พระมหาอุปราช แห่ง พม่า
    ..................................................................
    ในปัจจุบัน เราจะได้ ยินเรื่อง ยุทธการชนช้าง
    ของ สมเด็จพระนเรศวรน มหาราช..ชนกับ พระมหาอุปราช
    และพระองค์ เป็น ฝ่ายชนะ..และส่งผลสะท้อน
    ทำให้ องค์ พระ สุพรรณกัลยา..พระพี่ นางเธอ
    ต้อง ถูก สังหาร สิ้นพระชนม์ ไปด้วย
    ความโกรธ แค้น ของ พระเจ้า นันทบุเรง
    ...............................................................................
    ความสงสัย ของ ผู้ คน ในปัจจุบัน คือ
    ชนช้างกัน ตรงไหน..ที่ ตำบลอะไร จังหวัดใด
    ......................................................................................
    เพราะ จุดแรก คือ ที่ ดอนเจดีย์ ในเขต สุพรรณบุรี
    ที่เมื่อเรา ผ่านเข้าไป..ก็จะเห็น
    รูปปั้น ของ องค์ สมเด็จ พระนเรศวร มหาราช
    ประทับ บนหลัง ช้าง...ยืนอยู่ บนแท่นสูง
    บริเวณ โดยรอบ จัดทำเป็น สวนหย่อมเล็กๆๆ..พองาม
    ......................................................................
    จุดที่ สอง คือ ที่ ต.ตระพังตรุ ดอนเจดีย์ อ.พนมทวน กาญจนบุรี
    ที่ นั่น ก็ มี รูปปั้น องค์ สมเด็จ พระนเรศวรมหาราช
    ประทับบนหลังช้าง อยู่ บนแท่นสูง เช่นกัน
    บริเวณ โดยรอบ กว้าง ขวางมาก
    มี รูปปั้น ไก่ ชน สูง ขนาด ตัวคนวางเรียงกันมากมาย
    มีเจดีย์เก่า เล็กๆๆ ที่ สันนิษฐานกันว่า เป็น จุด ที่ ชนช้างกัน จริงๆๆ
    ..........................................................................................<!-- google_ad_section_end -->
    ปัญหา ในปัจจุบัน ที่ นักปกครอง / นักประวัติศาสตร์/ นักโบราณ คดี
    กำลัง หาวิธีพิศูจน์ ว่า ทั้ง สอง สถานที่ เกี่ยวพันกันอย่างไร
    .....................................................................................
    ปัญหา ทั้งหมด..ไม่มีกรรมการ..จึงต้องใช้วิธี ถามโดยตรง
    ถามกับใคร ?????
    ถาม องค์ สมเด็จพระนเรศวร มหาราชโดยตรง
    พระองค์ ทรงเล่าให้ฟังอย่างละเอียด ว่า รบ กันอย่างไร
    พระองค์ ในขณะ นั้น ทรงมี ปุจฉา อย่างไร
    ......................................................................
    รายละเอียด บางอย่างที่พระองค์ ทรงเล่า..มีมุขขำ มุกฮา.
    อย่างที่ เรา ไม่เคยรู้มาก่อน..เพราะ พระองค์ ทรงรู้ องค์เดียว
    ...............................................................................

    เมื่อ หลายปี ก่อน ข้าพเจ้า ได้ รับ งานก่อสร้าง
    สถานีไฟฟ้า ของ กฟภ ที่ หันคา.
    .จึงต้องขับรถผ่าน สุพรรณบุรี สัปดาห์ ละ มากกว่า4 ครั้ง
    ทำอยู่ แปดเดือน..จึงผ่านมากว่า 30 ครั้ง
    ..........................................................................
    จนวันหนึ่ง..ก็จำได้ ว่า ที่ ดอนเจดีย์ สุพรรณ
    มีรูปปั้น สมเด็จ พระนเรศวมหาราช ทรงช้าง
    เป็นสัญญลักษณ์ ของการกู้ ฃาติ
    แต่เราก็ไม่เคย แวะเข้าไปสักที
    .....................................................................
    พอดี ขณะนั้น ผู้ก่อการร้าย แบ่งแยก ดินแดน
    ภาคใต้ กำลัง เหิมเกริม หนัก..อาละวาด
    ทำลาย ทรัพย์ สิน และ ชีวิตผู้ คนอย่างมาก มาย
    จน ครู และ พระสงฆ์ ต้องหนี ไป อยู่ ที่อื่น
    ..............................................................
    จำได้ ว่า ในอดีต พระองค์เคย ยกทัพ ลงไป ตี เมือง ปัตตานี
    เคยปราบกลุ่มปัตตานี มาก่อน..ถ้า ครา นี้ ถ้า อัญเชิญ พระองค์
    ให้ ลงไป ปราบอีก ครั้ง..ก็คงจะดี ไม่น้อย
    พอคิดได้..ก็เลยขับรถ แวะ เข้าไป ที่ ดอนเจดีย์
    ในเขตสุพรรณ เป็น ครั้งแรก
    ............................................................................
    พบว่า เข้าไป จาก ทางแยก ถนนใหญ่ ไม่มาก นัก
    มีการจัดเป็นสวนหย่อม ขนาด ย่อมๆๆ พระองค์
    ประทับอยู่ บนหลัง ช้าง สูง ต้องแหงนมอง
    ถ้า จะถ่ายรูปเต็ม องค์ ก็ ต้อง ถอยมาไกล จึงจะถ่ายได้
    ...................................................................................
    ด้านข้าง ของ รูปปั้น..มีตำหนักขนากกลางๆๆ
    ภายใน มีรูปปั้น องค์ พระนรเศวร..พร้อม พระเอกาทศรถ
    และ พระพี่ นาง สุพรรณกัลยา..ไว้ให้ผู้คน มาสักการะบูชา
    ข้พเจ้า ก็ กราบถวายบังคม และ ถวายดอกไม้ ตามธรรมเนียม ปฏิบัติ
    ถวายเสร็จ ก็ ออก มายืน ตรงหน้า รูปปํน ที่ พระองค์ ทรงช้าง
    ..................................................................................
    กำหนด จิต ว่า..." บัดนี้ ภาคใต้ มี ความวุ่นวาย มีการก่อการร้าย
    แบ่งแยกดินแดน..ทำให้ ผู้คน เดิอดร้อนไป ทั่ว.
    .พระองค์ เคยทรงปราบมาก่อนแล้วในอดีต กาล
    บัดนี้ ขอ อำนาจแห่งพระองค์..อีก ครั้ง..ที่ จะปราบยุคเข็ญ อีก ครั้ง.."
    ......................................................................................
    ..มีเสียงตรัสตอบมาในจิต.." มึงแน่ใจว่า กู ทำได้ รึ..เอ้า กู จะลอง ดู..."
    ว่า แล้ว ก็ดูด้วยคาที่สาม..ภาพ อัศจรรย์ ก็ ชัดเจนขึ้น
    พระองค์ ประทับ บนหลัง ช้าง..แล้ว ทั้งหมด ก็ ลอย ขึ้น ลงจากแท่น
    ลอยข้าม ศีรษะ ข้าพเจ้า..ขนาด ท้องช้าง เฉียด
    จนต้องก้ม หลบ เพราะ ขาช้างคู่หลัง จะ กระแทกเอา
    หันมองตาม...พระองค์ ลอยเหาะ ลิ่วไ มุ่งลงไป ทางใต้
    แล้ว ข้าพเจ้า ก็ กลับออกมา..พร้อมในใจคิด
    พระองค์เสด็จไป แล้ว..คงจะเรียบร้อย
    ...........................................................................<!-- google_ad_section_end -->
    เรื่องเล่า ก่อนนอนคืนนี้ ตอนที่ สิบสี่ (ต่อ)
    เย็นกลับถึงบ้าน ก็ นอน อย่างสะบายใจ
    องค์พระนเรศวร คง จะ จัดการปัญหา ทางใต้ ได้ อย่างราบคาบ
    พอถึง ตีห้า เศษ ของ วันรุ่งขึ้น..กำลัง เคลิ้มๆๆ
    ก็ได้ ยินเสียง ลั่นมาทาง จิต..อย่าง ชัดเจน
    ................................................................
    ..." ไอ้ บ้า เอ๊ย...ให้ กูไป คนเดียว..แล้วกูจะรบกับมันได้ ยังไง
    ต้องให้ ทหารไปกับกูด้วยสัก สามสี่พันคน..ถึงจะรบได้..."
    ..เราก็ถาม ต่อ.."ก็ พระองค์เป็น สุดยอด ของ ขุนพล.
    .พระองค์ก็ สั่งเองได้ ไม่ใช่หรือ พะย่ะ ค่ะ..."
    .............................................................
    ..." เฮ่ย... กูเป็น พระเจ้าแผ่นดิน..กูไม่มีหน้า ที่ เกณฑ์ คน เกณฑ์ ทหาร
    พวกแม่ทัพ..เขาทำกันหมด..กูเคยเกณฑ์กับเขา..ที่ไหน.."
    ................................................................
    เอาล่ะ พะย่ะ ค่ะ..ข้าพระพุทธเจ้า จะ ทำ พิธีใหม่..
    เกณฑ์ ทหารให้ พร้อม สี่พันคน
    แล้ว ลงไป ลุย กันใหม่
    .................................................................
    เอ้อ...จนป่านี้ มัวแต่ทำโน่น ทำนี่..จนลืมไป เลย..
    ต้องหาเวลาว่าง เหมาะ จะทำ พิธีที่ ว่า..ภาคใต้จะได้ เรียบ ร้อย เสียที
    .......................................................................
    ตอนที่ ได้ เฝ้า องค์พระนเรศวร..คราวนั้น.
    .ก็ มัว แต่ ห่วงเรื่อง ปักษ์ใต้
    ไม่ได้ถามพระองค์ เรื่อง การทำยุทธหัตถี ในครั้ง นั้น
    ....................................................................<!-- google_ad_section_end -->
    ขับรถวนไป วนมา..ในที่สุดก็มาถึง พนมทวน.เป้าหมายของ วันนี้
    เข้าไป จอด ที่หน้าตูทางเข้า.
    .ที่ ทำเป็น พระมาลา หมวก นักรบโบราณ ที่คล้ายหมวกกะโล่
    ก่อสร้างขนาดสูงใหญ่ เหมือนเป็น ประตูเมือง
    เลยจอดรถ..ถ่ายรูป เป็น รูปแรก ของการมาเยือน
    ยืนที่ ป้าย ต้อนรับ..ที่ วิษณุ เอามาลงก่อนหน้า นี้ แล้ว
    เสื้อ สีฟ้า คือ ผู้เล่า ...เสื้อเหลือง คือคุณ จักรพล โชเฟอร์ ในวันนี้
    ..........................................................................<!-- google_ad_section_end -->
    ที่หน้า ประตู..ตามธรรมเนียม คือ สงบจิต.
    .ขออนุญาต เจ้าที่เจ้าทาง..ขอเข้าไปในพื้นที่
    ท่านก็ไม่ว่า อะไร
    ..............................................
    ห่างเข้าไป ประมาณ 300เมตร ก็ไป ถึง วงเวียนเล็กๆๆ
    กลางวงเวียน เป็นแท่นสูง ประมาณ สามเมตร
    บนแท่น มีรูปหล่อ องค์ สมเด็จ พระนรศวร มหาราช ทรงช้างศึก
    พร้อม ศาสตราวุธ เต็ม ร้อย..ในท่าทางสง่า และพร้อมที่จะรบ
    .................................................................
    เราสามคนก็ เข้าไป ทำการสักการะ พระมหากษัตริย์ ผู้ ยิ่งใหญ่
    ที่ ทรงงานหนัก ทำสงครามกู้ ชาติ..
    จนสามารถทำให้ไทยเป็นไทย อยู่ได้ ถึงปัจจุบัน
    ........................................................................
    พอเสร็จ ก็ มอง มาทางขวา
    เป็นอาคารแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับ การศึก /และ อาวุโบราณ
    ทางขวามือ มี แถวไก่ ชน สูง ขนาด ตัวคน ..
    เรียงราย ต้อนรับเข้าสู่ อาคาร พิพิธภัณฑ์..มีอยู่ หลายตัว
    ................................................................
    เดินไป ก็คิดไป..นี่ คงเป็น กลุ่มไก่ ชน ของ องค์ มหาราช
    แล้ว ตัวไหนล่ะ ที่ เป็นเขา..ทันใด กายก็ถูกกระตุกที่ ขา เหมือนดึงไว้
    ก็หยุดมอง..ใช้ตาที่สามเพ่ง..เขาอยู่เป็น ตัว ที่ สอง จากหัวแถว
    ......................................................................
    ถามไป ..."เจ้าหรือ เป็นไก่ชน ของ องค์ มหาราช.."
    มีเสียงตอบมาในจิตว่า.." ใช่แล้ว."
    ในใจก็คิดถึงเรื่องเล่า..ที่เคยได้ ยินมา ว่า ไก่ ที่ ดี ที่ สุด
    ที่ ชนไก่ ชนะ กับไก่ ของ มังสามเกียด ที่หงสา ..สมัยเป็นตัวประกัน
    ชื่อ .." เจ้าหางเหลือง..จึงถามต่อ..จริงๆๆแล้ว เจ้า ชื่อ อะไร
    ......................................................................
    .."พระองค์ เรียก ข้า ว่า ม่อญลาย..ข้าเป็น พันธ์ จาก มอญ
    ข้าเก่งที่ สุด"....
    .อือๆๆ.ข้าพเจ้าคิด.. ถ้า อยู่ ในยุคปัจจุบัน ต้อง เรียก ว่า.
    ."คุณ ม่อญลาย..ในทำนองเดียวกับ ."คุณทองแดง.."
    ถามต่อ..เจ้ารู้เรื่อง การยุทธหัตถีใหม??
    ตอบ..คนละยุคกัน ข้าๆไม่รู้หรอก..ท่านสั่งให้ ข้าๆ มาเฝ้าที่ นี่ เท่านั้น
    แล้วข้าๆ ก็ มา
    คุยกันเสร็จ ก็ พอดี..คุณ จักรพล เข้ามาใกล้.
    .ก็ลอง ให้ เขาคุยกับคุณไก่ม่อญลายดู บ้าง
    ไม่รู้คุยกันยังไง..เห็นคุณ จักรพล..ตัวสั่นเอาสั่นเอา
    ........................................................
    ...........................................................................<!-- google_ad_section_end -->
    [​IMG]

    เรื่องเล่าก่อนนอนคืนนี้ ..
    .สมเด็จพระนเรศวร มหาราชกับ การยุทธหัตถี(ต่อ)

    .................................................................
    เดินวนดูที่จัด นิทรรศการ จนรอบ..พบว่า ในอาคาร เป็นปกติ
    ไม่มีพลัง แปลกๆๆอบแฝงเข้ามา..ก็เดินอย่างสะบาย ไม่ต้องระวังตัว
    ออกมาด้านนอก..มองไป ทางซ้ายมือ..เห็นพุ่มไม้ จัดเป็น สวนหย่อม
    มองลิบๆๆ เห็น เป็น วงเวียน ขนาด ย่อมๆๆ มีถนน เป็น วงโค้งโดยรอบ
    ตรงกลางมี สิ่งก่อสร้างเล็กๆๆ มองเห็น เป็น สี อิฐแดง..
    คงจะเป็นที่ สำคัญ
    .........................................................................
    เดินเข้าไปใกล้ ก็ มองเห็น เป็นสนามกลม มีเจดีย์เล็กๆๆ อยู่ ตรงกลาง
    นี่ คงจะเป็น จุด ที่ คาดกันว่า เป็น จุด ปะทะชนช้าง ทำยุทธหัตถี
    ระหว่าง องค์ ชายดำ สมเด็จ พระนเรศวร กับ
    พระมหาอุปราช แห่ง พม่า เป็นแน่
    .......................................................................
    ก็เดินเข้าใกล้ ชนิด ติดขอบ ถนนวงเวียน
    หลับตา ขอดู ภาพ สำคัญ ย้อนหลัง..
    ว่า เหตุการณ์เรียงต่อ กันอย่างไร
    .......................................................................
    เนื่องจาก สนามเป็นวงกลม..ลำบากในการกำหนดจุด
    จึงขอให้ หลัก นาฬิกา เป็น ฐานในการกำหนด
    โดยให้ 12.00 น เป็น เที่ยงตรง
    ถ้า อ้าง 14.00 น..แปลว่า อยู่ไปทางบ่าย คือ ทิศตะวันตก
    ถ้า อ้าง 7.00 น ตอนเช้า ก็แปลว่า..อยู่ทางทิศตะวันออก
    ..............................................................................<!-- google_ad_section_end -->
    ภาพที่เห็นจาก จอในจิต
    ก่อนที่จะ เกิดเหตุการณ์ อันน่าระทึกใจ..โดยเอาสนามเป็นจุดกลาง
    ขณะนั้นน่าจะเป็นเวลา ประมาณ บ่ายสามโมงเศษ เกือบ สี่โมง
    เห็นช้างทรงพระนเรศวร เจ้าพระยาไชยานุภาพ..วิ่งเข้ามาในทิศ 17.00 น
    วิ่งตลุยฝุ่นฟุ้ง เขามากลางวง..ที่ ว่าง
    โดยมีเหล่า ทหารพม่า จำนวนหลายร้อย ล้อมเป็นวงอยู่
    ................................................................
    ที่ มุมบ่ายสองโมง..มีช้างใหญ่ยืนอยู่ใต้ต้นไม้.
    .นั้นคือ ช้างทรงของ พระมหาอุปราช แห่งกองทัพ พม่า
    ................................................................
    ตอนช้างทรง ของ องค์ พระนเรศ ลุยฝ่าด่านเข้ามา
    มีฝุ่นเหมือนแป้ง นม สีน้ำตาล.ฟู้งตลบจนมอง อะไรๆๆ ไม่ชัด
    ช้างทรงหยุด นิ่ง..
    ต่อมา 10-20 วินาที ฝุ่นที่หนาและหนัก ก็ลดลง
    มองเห็น สถาพแวด ล้อมได้ ชัด
    ...................................................................
    องค์ พระนเรศ..ก็ ประทับ ชงักงัน กับ ภาพที่ ทอดพระเนตรเห็น
    โดยคาดไม่ถึง......สักพัก ก็ ทรง ส่งพระสุรเสียง ตะโกนสีหนาทออกไป
    ชั่วอึดใจต่อมา..ช้างใหญ่ที่อยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ ก็ ถลันออกมา
    อย่างทนไม่ได้..ที่มีใครมายืนช้างท้า ทาย
    ระยะ ที่ห่างกัน ช่วงแรก ประมาณ ไม่เกิน 50 เมตร
    ....................................................................
    ช้างทรงองค์พระนเรศ กำลัง ยืนนิ่งๆๆ เพราะ ความเหนื่อย
    ที่ ควบตลุยมาไกล
    ช้างใหญ่ มหาอุปราช ตัวใหญ่กว่า ก็ ถลันเอาหัวเข้า ชน
    ทางซ้าย ของ ช้างทรงไชยานุภาพ..ทำให้เสียหลัก เบนไป
    แล้วถูกตามมาเอาหัวลงไป ยก ส่วนหน้าขาหน้า
    ของเจ้าพระยาไชยาฯให้ลอยขึ้น
    .......................................................................
    องค์พระนเรศ..พอ ช้างทรง..ถูกงัดให้ ลอย..หัวช้างก็เอียง.
    .พระวรกายก็เอียง เซ ตามไปได้วย
    จังหวะ ต่อ มา..พระมหาอุปราชในลักษณะ ชนที่ได้เปรียบ
    ก็ ประทับโยงโย่ ยืน..เอาพระแสง ง้าว ฟันมาทันที
    ....................................................................
    ถึงแม้จะยังทรงองค์ได้ ไม่นิ่ง องค์พระนเรศก็ ทันทอดพระเนตรเห็น..
    พระแสงของ้าว ของ พระมหาอุปราชลอยมา
    ก็ทรงรีบทรุดองค์ ลงหมอบ
    ........................................................................
    พระมหาอุปราช ทรงฟัน พระแสงง้าวแนวดาบ กวาดพื้น
    หรือ ขนานไปกับพื้น เพื่อกะให้ ขาด กลางตัว
    พระแสงง้าวจึงฟันพระ มาลา ของ องค์พระนเรศ
    แบบ ยอดมาลาขาด ตามไป.
    ................................................................
    พลาดไป รอบ แรก..พระมหาอุปราช.
    .พลิก พระวรกายกลับมา ตั้งหลัก ฟันอีก ครั้ง
    กะเอาทีเดียวให้ เอวขาด..
    องค์พระนเรศ ก็ เบี่ยงหลบบนคอ ช้างทรงได้ อีก ครั้ง
    ...........................................................
    ช้างทรง เจ้าพระยาไชยยาฯ เริ่มมีสติ..สะบัด ตัวไป ทางขวาสุด
    ทำให้ หลุด จากการ โดนเสยงัด คอ..และด้วยแรงแห่งการตกมัน
    ก็ก้ม หัวมุดลง..ปล่อยให้ ช้าง พระมหาอุปราช เสียหลัก ถลันไปทางขวา
    ...........................................................................
    เบนหัวกลับมาช้อนงัด ช้าง พระมหาอุปราชทางซ้ายบ้าง
    ตีนของ ช้างพระมหาอุปราช ยกลอย..
    ส่วนหัวสูง บัง สายพระเนตร ของ องค์พระนเรศ
    .............................................................................
    พระองค์ จึง ถลันลุก ขึ้นประทับยืน..
    ทอดพระเนตรเห็น พระมหาอุปราช กำลัง เซองค์ ทรุด ลง
    จึงทรงเอาง้าวชนิด ดาบยาว ฟันลงไป แบบผ่า ฟืน
    ไม่ได้ ฟันแบบ กวาดพื้น ในแนวขนาน
    ...........................................................
    ง้าวดาบยาวนั้น ฟันลงไป ช่วงหัวไหล่
    พอทรงเห็นว่า ฟันถูกแล้ว ก็ ทรง ปล่อย ง้าว ดาบทันที..
    ไม่ทันประทับ ทอดพระเนตรว่า ผล ว่า เป็น เช่นไร
    ..................................................................
    ก็ทรง กระแทก กะโหลก ช้างทรง..
    ทำให้ เจ้าพระยาไขยานุภาพก้ม หัวลง
    มุด ลอดหลบ..วิ่งไป ทางทิศ บ่ายสามโมง
    วิ่งตลุยกลับไป ตามทิศที่ มา..เห็นฝุ่นฟุ้งตลบหลัง
    ออกไป ได้ ประมาณ600-700 เมตร
    ก็ สวนกับ ขบวนช้างที่ นำมาโดยสมเด็จพระเอกาทศรถ
    ................................................................<!-- google_ad_section_end -->
    พลันที่ พระมหาอุปราช ทรง ถูกฟันและ ฟุบกับ คอ ช้างทรง
    พลทหารพม่า ที่ มีปืน คาบศิลา ก็ ประทับ ปืน ยิง.
    .ยิงได้ เพียง สอง สาม นัด.ก็ไม่ถูก
    องค์พระนเรศ ควบช้างทรงหนีห่างออกไปแล้ว
    ............................................................
    ทหารพลประจำช้าง เห็น พระมหาอุปราช ถูกฟัน หมอบอยู่ บนหลังช้าง
    ก็รีบเอาพระองค์ ลงมา ข้างล่าง ที่เป็น ลานดิน..ในทิศ 13.00น.
    ............................................................................
    จากภาพที่เห็น
    พระมหาอุปราชา ทรง ถูกฟัน ที่บ่า ขวา..ตัดไหปลาร้าหัก
    คมดาบและแรงเหวี่ยง ทำให้ ดาบกินลึกเข้าไป ถึง
    ครึ่งส่วนบน ของ ปอด ขวา ..ปอด ฉีกแหว่ง ออกไป ทันที
    ....................................................................
    ทำให้ ปอด รั่ว..เมื่อ หายใจเข้า..ก็จะไป ทะลุในหลอด ลม
    ดันเลือดออกมาเป็น ฟอง..
    .เมื่อหายใจออก..เลือดลม ก็ มาออก ที่ พระโอษฐ์ และ พระนาสิก
    ..................................................................
    หายใจอยู่ได้ สี่ห้า นาที..ก็ สิ้น พระชนม์..
    บนสนามดิน อันเป็น จุด ชนช้าง..ครั้งประวัติศาสตร์
    ...................................................................
    ทันทีที่ สิ้นพระชนม์.นายทหารพม่า ระดับสูง ประกาศ ก้อง ว่า..
    พระมหาอุปราช..สิ้นพระชนม์แล้ว
    ทันทีที่สิ้นเสียงประกาศ
    ทหารพม่า ทั้งหมด..วางอาวุธ..ทรุด ตัว ลงกราบ ทั้ง กองทัพ
    ..................................................................
    ลองนึกภาพดู..ถ้า กองทหารไทย ที่ นำตามมาโดยพระเอกาทศรถ
    นำทัพลุยเข้ามา ในขณะที่ ทหารพม่า ทั้งหมด วาง อาวุธ
    ก้ม ลงกราบ พระศพ พระมหาอุราชา..จะเกิด อะไร ขึ้น
    .......................................................................<!-- google_ad_section_end -->
    เรา สามคน ผม / จักรพล/ วิษณู..ก็ ใช้ ตาที่สามสำรวจต่อ
    เพื่อหาตำแหน่ง ต่างๆที่ แน่นอน ในการทำ ยุทธครั้งประวัติศาสตร์
    พบว่า ต้นไม้ใหญ่ ( ต้นข่อย) ที่ พระมหาอุปราช ทรงพัก ร่มเงาไม้
    อยู่ ห่างออกไป ประมาณ 50 เมตร ทางทิศ 14.00 น
    ......................................................................
    จุด ชนช้าง คือ ตำแหน่ง เจดีย์เล็กๆๆ นั้น....ถูกต้อง.
    ตำแหน่ง ที่ พระมหาอุปราช ลงมาบรรทมสิ้นพระชนม์
    อยู่ ห่าง จาก จุด ชนช้าง ประมาณ 6 เมตร..ในทิศ12.00น
    ..............................................................
    ทุกจุดได้ มีการยืนยัน ทั้งสามคน
    และ ถ่ายรูปไว้ เป็น หลักฐาน ของการสำรวจ
    โดยใช้ ตาทิพย์ และ กระแสจิต สัมผัส
    ..................................................................
    การศึก ชนช้าง กระทำยุทธหัตถีครั้งสำคัญ
    ใช้เวลา สั้นมาก
    ช่วงสมเด็จ พระนเรศวร ลุยเข้ามา โผล่กลางวงล้อมของพม่า
    แล้ว เจรจาท้าทาย..ใช้เวลาไม่เกิน 3 นาที
    ฉาก ประจันบาน ดวลด้วยช้าง แค่ ไม่เกิน สองนาที
    รวมเวลาทั้งหมด ไม่เกิน 5 นาที..ก็จบ
    ..............................................................
    เหมือนดู มวย
    ฝ่ายแดง เดินออกมาจาก มุม..ชก ซ้ายขวา ได้สองหมัดในมุมกว้าง
    ฝ่ายน้ำเงิน มุด หลบก้มลง..แล้วเงย.. เสยวงในด้วย อัพเปอรฺ คัด ขวา
    ที่เดียว น็อค...คนดู ยังไม่ทันมันเลย<!-- google_ad_section_end -->

    ลครชีวิตจริง ปิด ฉากไปแล้ว..อย่างน่าระทึกใจ
    ทีนี้ ก็ ต้องมาลอง ขอ พระบรมราชานุญาติสัมภาษณ์ ตัวเอก
    ของเรื่อง..คือ สมเด็จ พระนเรศวร มหาราช ผู้ ยิ่งใหญ่..เพื่อให้ สมบูรณ์
    ..............................................................................
    สัมภาษณ์ ในโลก แห่ง อีกมิติ
    ." ขอ พระบรมราชานุญาติขอ พระองค์ ทรง ตรัสถึงเรื่องเก่าๆๆ
    สมัย ทรงกระทำยุทธหัตถี เมื่อ คราวทรงกู้ ชาติ..
    ชนช้างกับ พระมหาอุปราช..ด้วย พะย่ะ ค่ะ.."
    ..........................................................
    .." กูจำได้ แต่ว่า วันนั้น..เดินทัพ มาดีดี อย่างไม่เร่งรีบ
    จะไป ดัก โจมตี พวก ตะเลง ที่ ข้างหน้า..ตามที่ ส่วนหน้าแจ้งมา
    ทางมันเรียบๆๆ มีฝุ่นแยะ เวลาเดินช้าง..
    .กูก็รู้ว่า ไอ้ ช้างตัวนี้ มัน กำลัง จะตก มัน
    แต่ก็ ลอง ขี่มันดู..อยู่ดีดี..มันก็พรวด พราด วิ่ง ควบเอา
    วิ่งตลุยฝุ่นมา.กลัวว่า จะไป เจอ ไอ้ พวก ตะเลง มันดักอยู่
    ..............................................................
    เอ..วิ่งไป แล้ว มันก็หยุด วิ่ง เหมือนเจอ อะไร..
    อ้อ ข้างหน้า มี กอไม้ใหญ่กั้นอยู่..วิ่งต่อไม่ได้

    พอฝุ่นจางลง...อ้าวเฮ้ย..กลางพวกตะเลงเลย
    ทำไงดีว่ะ..ก็พอดี เห็นไอ้ มังสามเกียด.
    .คู่กัดกันมาแต่เด็ก.มันยืนซุ่มอยู่ ใต้ ต้นไม้..หลับเอางีบ
    .........................................................
    กูรู้นิสสัยมันดี..มันบ้า ผู้หญิง มาแต่ไหน แต่ไรแล้ว
    ที่ หงสา..บ้านไหน มี ลูกสาวสวยๆ มันกวาดมาหมด
    เดินทัพ มานี่ ..ก็เอามาด้วย หลายคน
    ตามรายทางรุกเข้ามา..ก็กวาดต้อน จับ เชลยมาตลอด ทาง
    คนไหนสวยก็เสร็จ มัน..นี่ก็คงหมดแรง เลยเอางีบไว้ก่อน
    ..........................................................
    ทำใจดี สู้เสือ..ท้า มันไว้ก่อน..ก่อนที่ พวก ตะเลง จะรุม เอา
    มันก็แน่..ออกมาจริงๆๆ... ช้างมันตัวใหญ่ ได้ เปรียบ
    แต่ของกู..มันกำลัง ตกมัน..แรงย่อมแยะ สูสีกัน
    ............................................................
    ของกูกำลัง พักเหนื่อย มัน ซัดก่อน..ก็เลยเอียง
    เราอยู่ ต่ำ มันอยู่สุง..ไอ้มังสามเกียด มันก็ เก่ง ฟันมาก่อน
    ดีที่ตาไวน่ะ..หลบทันที...มันฟันสองที..ก็หมอบติดๆๆไว้ก่อน
    ...................................................................<!-- google_ad_section_end -->
    พอดี ช้างกู มันคิดได้ ก็สะบัดหลุด
    ก้มลงงัดบ้าง..มันก็ลอย..หัวช้างของไอ้ มังสามเกียดมันโต
    มัน บังมองไม่เห็น...กูเลยลุกยืน เห็นมัน ทรุด ลงนั่ง ตะแคง
    ก็เลยเอาง้าวดาบยาวฟันผ่าลงไป
    ..................................................
    กูคิดไว้แต่ต้นแล้ว ว่า คราวนี้ ต้องใช้ ง้าวดาบยาว
    เพราะ มันมี หน้า ดาบส่วนคม ยาวเกือบ สองศอก
    ดีกว่า ง้าวธรรมดา ที่ มีหน้า ดาบ กว้างเพียง ศอกเดียว
    ฟันพลาดได้ ง่าย..จำได้ ว่า ฟันลงไป..เห็นแวบๆๆ ว่า ถูกมัน จังๆๆ
    ......................................................................
    แต่ไม่กล้าอยู่ แล้ว ..เผ่นดี กว่า..กูโยนดาบง้าวทิ้ง
    เจ้าช้างไชยา ก็แสนรู้ ลด หัวลง..
    มุดเผ่นออก ทางขวา..เผ่นกลับไปเลย
    กูไม่รู้ว่า ไอ้มังสามเกียด มันเป็นยังไง
    .........................................................
    รู้แต่ว่า พวกตะเลง มัน ค่อยๆๆ ถอยทัพ กลับ..
    แปลว่า มันคงสาหัส พากลับไป รักษาตัวที่ หงสา
    กูก็สั่ง ทหาร แอบเข้าโจมตี แบบกองโจร.
    .ตัด กลาง ขบวนบ้าง... ตีท้ายขบวนบ้าง.
    ได้ ทรัพย์สิน ช้าง ม้า มามาก พอควร.ฆ่า พวกตะเลงได้ อีก นับพัน
    ก่อนจะถึงชายแดน
    ตัดกำลัง มัน ในอนาคต..จะรบกับมันได้ ง่ายหน่อย
    ..........................................................
    นี่ คือ ส่วนหนึ่ง ของ การให้ สัมภาณ์ ทางจิต
    ของ องค์ สมเด็จ พระนเรศวร มหาราช ผู้เป็นพระมหากษัตริย์
    ผู้ มี พระมหากรุณาธิคุณ...บุญญาธิการ อย่างสุง ส่ง
    แก่ คนไทย ทั้งมวล
    ด้วยเกล้า ด้วยกระหม่อม ขอ เดชะ
    ............................................................
    จากจุดกลางของ การชนช้าง
    โดยรอบ จะเป็นวงกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง มากกว่า 50 เมตร
    มีแนวรั้วเตี้ยๆๆ สูงขนาด สะโพก
    มีช่องทางเดิน เข้า อยู่ สี่ ทิศ..
    มีเสาหัวหมุด เป็นสัญญลักษณ์ ของ ช่องเข้า
    ....................................................................
    ถัดออกมาก็เป็นถนน ขนาดรถ สวนกันได้ วนรอบ วงกลมนั้น
    ในทิศ 15.00 น..มีอาคารใหญ่ สีแดงหลังหนึ่ง สูงเด่นชัด
    คงจะมีผู้มาสร้างทำเป็น ตำหนัก เพื่อใคร สักอย่าง
    ......................................................................
    เรา สามคน ก็เพ่งมอง
    พบว่า มีพลังที่รุนแรงกระแทกเข้ามา ชนตัว
    พลังนั้นมาจาก ตำหนัก หรือ อาคารที่ว่า
    เป็นพลังที่อัดแน่น ที่ หน้า อก..ทำให้ หายไม่ออก
    .......................................................
    ลองเดินตรงเข้าไป ยังทิศที่ อาคาร นั้นตั้งอยู่
    พบว่า ยิ่งเข้าไปใกล้..พลังนั้นยิ่งรุนแรง
    จากจุดที่ ยืนอยู่ ห่างจาก ขอบ วง ประมาณ 10 ก้าว เดิน
    แต่ละก้าว ที่เดินเข้าไป..มันกดดันมากขึ้น
    ............................................................
    ไปได้ ครึ่งเดียว..คุณ จักรพล..ถอยแล้ว บอกว่า สู้ไม่ไหว
    ผม จึงต้องเอามือ คล้องแขนซ้าย พากันฉุดเดิน เข้าไป
    ก็อยากจะรู้ว่า..มันเป็นอะไร
    ทนเดินต้านพลัง ออกมาได้ จนถึง ขอบ ถนน
    หนักมากจริงๆๆ..ลองเอามือ แหย่ออกไป
    นอก หัวหมุดเสา ทางเข้า
    ....................................................
    มันแรงจริงๆๆ ขนาดดัน แบบ พายุ นากิส ที่ ถล่มพม่า
    แหย่ได้ แค่มือ..ไม่กล้า เอาตัวออกไป
    .....................................................................
    พลันก็เห็น ตัวอะไร ดำๆๆยาวๆๆ เหมือน จิ้งเหลนตัวอ้วนๆสั้นๆๆ
    มีสี่ตีนวิ่งออกมาจาก ตำหนัก..คลานมาอย่างเร็ว
    เอ..แบบนี้ เคยเห็นบ่อยนี่ หว่า.จิตบอก.เป็นเปรตตัวยาวนั่นเอง
    ....................................................................
    พอมาอยู่ห่างจาก จุดที่เรายืนอยู่
    ไอ้ตัวยาวเป็นเปรต ก็ ยืด ตัวขึ้นยืน
    มันยืดมาสูง ระดับ ตัวคน เท่าๆๆกับเรา
    กลายเป็นคน แต่งตัวแบบพม่า
    มายืนจ้องหน้า เรา สามคนเขม็ง
    ..............................................
    เราก็งง..ใครว่ะ..มาหลอกเรา
    ทันใด วิษณุ ที่อยู่ ซ้ายสุด ในการยืน
    ก็อุทานออกมา..."นี่ ไอ้คนที่ถูกฟันตายบนหลังช้าง นี่ น่า.."
    เราก็เลยมาถึงบางอ้อ
    ................................................................
    มังสามเกียด หรือ พระมหาอุปราชแห่ง หงสา
    ที่ ตายไป แล้ว..แต่ยังไม่ยอมไปเกิด..ด้วยแรงอาฆาต
    หรือ ยังไม่มีใครเชิญ พระวิญญาณ กลับไป หงสา นั้นเอง
    ...........................................................
    พอมีการวร้างอาคารหรือ ตำหนัก.
    .วิญญาณ มังสามเกียด ก็เลย สิง อยู่ ที่ นั่น.
    .กินบุญ คนที่ มาทำบุญ..นั่นเอง
    ..............................................................
    นี่คือ คำตอบ ปัญหา ข้อหนึ่ง
    ที่เราพบว่า..ไม่มีร่องรอย การมาประทับ ที่ บริเวณ
    นี้ ของ พระวิญญาณ ของ องค์ พระนเรศ
    พระองค์ คงทรงพระรำคาญที่ จะมา.
    .แล้วให้ วิญญาณ มังสามเกียด มายืนทวง
    .." มึง ฆ่า .. มึงฆ่ากู.. มึงฆ่ากู.." นั่นเอง
    ..........................................................<!-- google_ad_section_end -->
    จากการสัมผัสด้วยจิต
    บุคคลธรรมดา ทั่วไป ที่ไม่เกี่ยวกับ การสงคราม
    และแวะไปทำบุญ ที่ นั่น..ก็จะไม่พบ แรงดัน ต้านทานแต่อย่างใด
    เพราะ เอาบุญ ไป ให้
    ....................................................................
    แต่ถ้าใครเป็น ทหารไทย ในอดีตและเกี่ยวข้องกับ สงครามกู้ชาติ
    ในยุค องค์พระนเรศ แล้ว กลับมาเกิดใหม่.และมาที่นี่
    วิญญาณ เปรต ของ มังสามเกียด หรือ พระมหาอุปราช แห่งหงสา
    จะออกมาเล่นฤทธิ์ หลอก หลอน ด้วยธาตุลม ที่ ยังมีอยู่ในวิญญาณ
    .......................................................................
    แต่ถ้าใครเป็น ทหารพม่า ในยุคนั้น แล้ว กลับชาติมาเกิด เป็นคนไทย
    แล้วไป ที่ นั่น..วิญญาณ นั้น จะดีใจมาก เป็นพิเศษ
    ......................................................................
    ดังนั้น ถ้าใครไป ที่ นั่น
    ถ้า ถูกบีบหายใจไม่ออก.ก็แปลว่า ตัว เคยเกิด เป็น ทหารไทย ในยุคนั้น

    ถ้า ไม่มีอาการใดๆๆ เกิด ขึ้น..ก็แปลว่า เป็น คนธรรมดา..ไม่เกี่ยวข้อง

    ถ้าให้เลขหวย ถูกหวย ก็แปลว่า ทหารพม่า มาเกิดใหม่ เป็นคนไทย
    ......................................................................
    ใครอยากจะรู้ว่า เราเป็น ใครในอดีต..
    ก็ลองแวะไป พิศูจน์ ดู ด้วยตัวเอง ที่ นั่น
    น่าจะสนุกดี
    .........................................................................
    [​IMG][​IMG]

    แล้วคุณvisnu ก็มาเล่าเสริมตอนท้ายอีกนิดว่า

    มาเล่าเสริมที่อาจารย์เล่านิดนึงครับเนื่องจากอาจารย์บอกให้มาเล่าหน่อยในสิ่งที่เราเห็น

    เนื่องจากข้างบนให้เห็นเพื่อเป็นประโยชน์ ต่อผู้อื่นจริงๆเเล้วไม่คิดอยากจะเล่าเพราะกลัว


    โดนใครไม่เข้าใจสัมผัสไม่ได้มาว่าเอาครับ เกริ่นมาซะยาวเลยครับเอาเนื้อเนื้อแล้วกัน

    ตอนที่ช่วงอาจารย์เดินเวียนรอบเจดีนั้นผมก็นั่งดูการรพเพียงลำพังภาพที่เห็นคือพระนเรศ

    เพียงลำพังกล้าบอกได้เลยว่าเพียงแค่ทหารพม่าพร้อมใจกันเอาเสื้อที่เปียกเหงื่อบิดเอา

    น้ำเหงื่อของตัวเองมารวมกันก็สามารถจมช้างพระที่นั่งได้เลยคือ มีกันเรื่อนแสนก็ว่าได้

    หลังจากฝุ่นจางเป็นสภาพนั้นจริงๆพระองกับช้างพระที่นั่งทหารจตุรงค์บาทอีก 2นาย

    พระองค์ก็ได้เอยท้าพระมหาอุปราชออกจากเงาต้นไม้ รายละเอียดเหมือนของอาจารย์

    เล่าทุกอย่างครับแต่ตอนที่พระมหาอุปราชโดนฟันคือทุกอย่างหยุดชะงักไปหมด

    แล้วจึงมีการนำร่างพระองค์ซึงยังมีลมหายใจลงจากหลังช้างในภาพที่เห็นพระองค์ยังจะ

    กล่าวอะไรซักอย่างแต่กล่าวไม่ได้เนื่องจากโดนฟันเข้าที่ปอดดังนั้นพอจะพูดอะไรก็จะมี

    ฟองอากาศเกิดขึ้นที่แผลที่โดนฝันเป็นภาพที่ไม่หน้าดูเลย เนื่องจากพระองค์ไม่ได้สิ้นใจ

    ในทั้นที่บริเวณนั้นเหมือนใครมากดรีโมทไว่ไม่มีใครขยับเลย ส่วนพระนเรศได้ตะบึงช้าง

    ออกไปจากวงล้อมนานแล้ว พอพระมาอุปราชสิ้นใจทหารทุกนายก้มกราบแนบพื้น เป็นภาพ

    ที่ไม่อาจหาดูที่ไหนได้เลยแล้วทุกคนพูดเป็นภาษาพม่าซักอย่านึงดังกึงก้องไปทัวบริเวณ

    นั้นเลยเป็นภาพที่ผมไม่สามารถจะบรรยายได้เลยจริงๆครับแล้วหลังจากที่ทุกคนก้มกราบ

    ได้มีทัพของไทยเข้ามาถึงจะมีจำนวนน้อยกว่าอย่างเห็นได้ชัด แต่ทัพพม่าที่ขาดผู้นำไม่มี

    กระใจจะสู้แล้วได้แตกกระสานซ่านเซ็นกันไปแบบฝุ่นตลอบเลยครับหลังจากนั้นอาจารย์

    ก็ได้มาเรียกผมว่าดูอะไรผมก็ได้แต่ยิ้มๆ อยากจะบอกว่าต่อให้หนังที่ท่านมุ้ยสร้างยังไงก็

    ไม่สามารถจะได้เทียบเท่าแน่นอนครับ<!-- google_ad_section_end -->

    โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน รับชมค่ะ แต่ทางสายธาตุอ่านแล้วมันส์หยดติ๋งๆ

    ตลอดทางที่หลานชายขับรถไปวัดวรเชษฐ์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2552นั้น

    คุยแต่ฉากตอนทรงกระทำยุทธหัตถีนี้ ขออนุญาตขำพากย์เสียงของอาจารย์ที่บอกว่า

    คนเชียร์ยังไม่ทันเชียร์ อีกฝ่ายก็โดนน็อคเสียแล้ว เป็นเหตุการณ์ไม่เกิน 5 นาทีของประวัติศาสตร์

    แต่เหตุการณ์นี้ตรึงใจคนไทยนิจนิรันดร์

    จาก http://palungjit.org/threads/เรื่องเล่า-ก่อนนอนคืนนี้-ของเหล่าคนผู้มีตาทิพย์.158289/page-37
     
  17. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ความรู้เรื่องเมืองสยาม ตอนที่ 1 บทที่ 4,5,6

    มองซิเออ มาดมัวแซว มาดาม อีกสามบทนี้ไม่ยาวค่ะ ว่าด้วยเรื่องผลผลิต ไม้ เหมืองแร่ และการกสิกรรม ศึกษาไว้เผื่อจะวางแผนมาลงทุนนะคะ ^^


    [SIZE=+1]บทที่สี่ ผลผลิตของเมืองสยาม ข้อแรกคือ ป่าไม้[/SIZE] <CENTER>[​IMG]</CENTER>[SIZE=-1] ๑. ต้นไผ่ เมืองสยามเต็มไปด้วยป่าไม้ ในสยามใช้ไม้ไผ่มาสีกันให้เกิดเป็นไฟได้[/SIZE]

    [SIZE=-1] ๒. ต้นไทรย้อย หรือต้นไม้แห่งราก เนื้อไม้มีสรรพคุณสามารถกำจัดยุงได้[/SIZE]

    [SIZE=-1] ๓. ฝ้าย และนุ่น คล้ายสำลีอย่าละเอียดมาก แต่ไใยสั้นไม่สามารถปั่นเป็นเส้นด้ายได้ จึงใช้ยัดหมอน เบาะที่นอน[/SIZE]

    [SIZE=-1] ๔. ต้นไม้ที่ให้น้ำมันและยาง ชาวสยามใช้น้ำมันชนิดต่าง ๆ จากต้นไม้บางชนิดใช้ปนกับซีเมนต์ ทำให้มีความเหนียวยิ่งขึ้น ผนังที่ใช้ถมด้วยน้ำมันอย่างนี้ จะผ่องดีและเกลี้ยงเกลา เป็นมันราวกับหินอ่อน ใช้ทำปูนสออิฐได้มีคุณภาพดีกว่าปูนขาวของเรา[/SIZE]

    [SIZE=-1] ๕. ต้นไม้ที่ใช้เปลือกต่างกระดาษหรือทำเป็นกระดาษ ชาวสยามทำกระดาษจากผ้าฝ้ายเก่า ๆ และยังทำจากเปลือกไม้ชนิดหนึ่งคือ ต้นข่อย ต้องนำมาบดย่อยให้ละเอียด แต่กระดาษเหล่านี้มีความหนาไม่สม่ำเสมอ ความขาวก็หย่อนกว่าของเรา ดังนั้นชาวสยามจึงไม่ใช้หมึกจีนเขียน ส่วนมากชุบหมึกให้ดำ ซึ่งทำให้เนื้อกระดาษแน่นขึ้น แล้วเขียนด้วยดินสอ (สอ แปลว่า ขาว) หนังสือของพวกเขาไม่เย็บเล่มสัน หากทำเป็นแผ่นยาวเหยียด แลไม่ใช้วิธีม้วนเก็บ หากพับทบไปมา และทางที่ดีเส้นบันทัดเขียนตัวอักษรนั้น เป็นไปตามรอยพับไม่เขียนทางขวาง นอกจากสมุดกระดาษแล้ว ชาวสยามยังจารอักษรด้วยเหล็ก ลงบนใบไม้ชนิดหนึ่งจำพวกต้นปาล์ม เรียกใบลาน ตัดเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยาวมาก กว้างน้อย บนใบลานนี้ใช้เขียนชาดก และมนตร์ ซึ่งพระภิกษุใช้สวดในวัด [/SIZE]
    [SIZE=-1]
    [SIZE=-1] ๖. ไม้ที่ใช้ต่อเรือกำปั่น ชาวสยามมีไม้คุณภาพดี สำหรับต่อเรือและทำเสากระโดงเรือ แต่ไม่มีต้นปอใช้ฟั่นเชือก เชือกจึงทำด้วยใยกาบมะพร้าว ใบเรือทำด้วยเสื่อกกผืนใหญ่ ซึ่งเบาและอุ้มลมได้ดีกว่า[/SIZE]

    [SIZE=-1] ๗. ไม้ที่ใช้ประโยชน์อย่างอื่น ชาวสยามมีไม้เหมาะในการสร้างเรือน ทำตัวไม้ หรือใช้ในการแกะสลัก มีทั้งไม้เบาและหนักที่สุด ทั้งที่ผ่าง่าย และผ่าไม่เข้า ไม้ชนิดนี้ใช้ทำกงเรือได้ดีกว่าไม้ชนิดอื่น[/SIZE]

    [SIZE=-1] ๘. ไม้ที่ใช้ต่อเรือยาว สยามมีต้นไม้สูง ลำต้นตรงท่อนเดียว ยางตั้งแต่ ๑๖ - ๒๐ วา ใช้วิธีขุดลงในท่อนซุงนั้น ใช้ความร้อนเบิกปากเรือให้ผายออก แล้วเลือกไม้ท่อนยาวเท่ากันมาเสริมเป็นกราบ เอาไม้ต่อโขนหัวเรือ และท้ายเรือ โขนหัวเรือสู งเชิด ทางท้ายค่อนข้างยื่นออกไปทางเบื้องหลัง มักประดับด้วยจิตรกรรมจำหลัก และปิดทอง ลางลำก็ประดับด้วยสิ่งคล้ายมุก[/SIZE]

    [SIZE=-1] ๙. ชาวสยามไม่มีไม้อย่างที่เรามี[/SIZE]

    [SIZE=-1] ๑๐. ชาวสยามไม่มีไหมและป่านลินิน ชาวสยามไม่ได้ปลูกต้นหม่อน จึงไม่มีตัวไหม ต้นป่านลินินก็ไม่มี หรือมีก็ไม่มีผู้ใดพูดถึง ต้นฝ้ายสำลีมีอุดมสมบูรณ์ ผ้าที่ทอด้วยฝ้ายสำลีน่าใช้ ไม่เย็นชื้น เหมือนลินิน[/SIZE]

    [SIZE=-1] ๑๑. อบเชยและฝาง อบเชยมีคุณภาพด้อยกว่าของเกาะสิงหฬ มีไม้ฝาง กับไม้อื่น ๆ ใช้ย้อมผ้า[/SIZE]

    [SIZE=-1] ๑๒. ไม้ขอนดอก หรือไม้กฤษณา แต่ก่อนที่ปารีสราคาแพงมาก แต่ปัจจุบันราคาถูกลงมาก[/SIZE]

    [SIZE=+1]บทที่ห้า เหมืองแร่ในเมืองสยาม[/SIZE]

    [SIZE=-1] ๑. ชื่อเสียงของเหมืองแร่ในสยาม ไม่มีประเทศใดมีชื่อเสียงโด่งดังว่ามั่งคั่งด้วยเหมืองแร่เท่าสยาม มีพระพุทธรูปเป็นอันมาก กับวัตถุหล่อด้วยโลหะอยู่มากมาย เห็นได้ว่าชาวสยามสมัยก่อนชำนาญในการถลุงแร่ กว่าคนในปัจจุบันนัก มิใช่จะใช้ทองคำประดับพระพุทธรูปมากมายเท่านั้น ช่อฟ้า ใบระกา และเพดานในโบสถ์ วิหาร ก็ยังประดับด้วยทองคำ มีผู้พบเหมืองร้างอยู่ทุกวัน พร้อมทั้งเตาถลุงอีกเป็นอันมาก เข้าใจว่าได้ถูกละทิ้งไป ในสมัยทำสงครามกับชาวพะโค[/SIZE]

    [SIZE=-1] ๒. สถานภาพของเหมืองแร่ในปัจจุบัน แม้พระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบัน จะทรงใช้ชาวยุโรปมาค้นหาบ่อแร่ แต่พบเพียงบ่อแร่ทองแดง ที่มีเนื้อโลหะอยู่เพียงเล็กน้อย[/SIZE]

    [SIZE=-1] ๓. ตัมบาค เพื่อให้เนื้อโลหะมีคุณค่าขึ้น จึงให้เจือเนื้อแร่ทองคำเข้าไปด้วย ที่เรียกว่า ตัมบาค ชาวพะโคใช้วิธีผสมตะกั่ว เข้ากับทองแดง ใช้หล่อรูปประติมากร และทำเป็นเหรียญกษาปน์[/SIZE]

    [SIZE=-1] ๔. [COLOR=#cc0000]แพทย์ชาวเมืองโปรวังซ์[/COLOR] ซึ่งพระเจ้ากรุงสยามเอาตัวไว้ให้ทำเหมืองแร่[/SIZE]

    [SIZE=-1] ๕. [U][COLOR=#cc0000]คำบอกเล่าของแพทย์ขางเมืองโปรวัง เกี่ยวกับเหมืองแร่ในสยาม[/COLOR][/U][/SIZE]

    [COLOR=#000099][SIZE=-1] ๖. [U][COLOR=#cc0000]ดีบุกและตะกั่ว[/COLOR][/U][COLOR=#000099] ชาวสยามได้พบและรู้จักถลุงให้ได้เนื้อโลหะมานานแล้ว[/COLOR][/SIZE][/COLOR]

    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๗. [U][COLOR=#cc0000]เหมืองแร่แม่เหล็ก[/COLOR][/U][COLOR=#000099] บริเวณใกล้เมืองละโว้ มีภูเขาหินแม่เหล็กลูกหนึ่ง และอีกลูกอยู่ใกล้ ๆ กัน[/COLOR][/SIZE][/COLOR] [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๘. [U][COLOR=#cc0000]บ่อพลอย[/COLOR][/U][COLOR=#000099] ตามภูเขามีผู้พบโมราชนิดนี้[/COLOR][/SIZE][/COLOR] [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๙. [COLOR=#cc0000][U]เหล็กกล้า[/U] [/COLOR][COLOR=#000099] เมืองกำแพงเพชร ชึ้นชื่อว่าเป็นเมืองที่มีบ่อแร่เหล็กกล้าชั้นดี ชาวเมืองขุดเอามาทำสาตราวุธ ตามความนิยม ส่วนมีดที่เรียกว่า [COLOR=#cc0000]มีดเหน็บ[/COLOR][COLOR=#000099] ใช้กันทั้งบ้านทั้งเมือง และไม่ถือว่าเป็นสาตราวุธ ใบมีดกว้าง ๓ - ๔ นิ้ว ยาว ๑ ฟุต พระมหากษัตริย์พระราชทานดาบและมีดพกให้แก่ขุนนาง ขุนนางสยามเหน็บมีดพกไว้ที่เอวเบื้องซ้าย คล้อยมาข้างหน้าเล็กน้อย ชาวปอร์ตุเกศเรียกว่า คริสต์ เสื่อมจากคำว่า [COLOR=#cc0000]กริช [/COLOR][COLOR=#000099] คำนี้ยืมมาจากภาษามลายู เป็นที่นิยมกันตลอดทั่วภาคบูรพาทิศ กริชจากเมือง อะแจ (Achem) ในเกาะสุมาตรา นับว่าเยี่ยมกว่าที่อื่น สำหรับ[COLOR=#cc0000]ดาบ[/COLOR][COLOR=#000099] ปกติแล้ว ทาสผู้หนึ่งจะเชิญนำหน้าเจ้านายของตนไป โดยแบกไว้บนบ่าขวา[/COLOR][/COLOR][/COLOR] [/COLOR][/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1][COLOR=#000099]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๑๐. [U][COLOR=#cc0000]เหล็ก[/COLOR][/U][COLOR=#000099] ชาวสยามมีบ่อแร่เหล็ก และรู้จักวิธีถลุงนำมาใช้ประโยชน์ มีคนบอกว่าในกรุงสยามไม่มีแร่เหล็ก และเป็นช่างเหล็กที่หย่อนความชำนาญ พวกเขาจึงมีแต่[COLOR=#cc0000]สมอไม้[/COLOR] ต้องใช้ก้อนหินผูกถ่วงให้จมน้ำ ชาวสยามไม่มีเข็มกลัด เข็มเย็บผ้า ตะปู กรรไกร หรือกุญแจเหล็ก การสร้างเรือนไม่ใช้ตาปู ใช้หนามไผ่ต่างเข็มกลัด[/COLOR][/SIZE][/COLOR] [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๑๑. [U][COLOR=#cc0000]ดินประสิวและดินปืน[/COLOR][/U][COLOR=#000099] ชาวสยามทำดินปืนได้เลวมาก[/COLOR][/SIZE][/COLOR] [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif]

    [B][FONT=FreesiaUPC][COLOR=#cc0000][SIZE=+1]บทที่หก การกสิกรรมและอู่ข้าวอู่น้ำของสยาม[/SIZE][/COLOR][/FONT][/B]

    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๑. [COLOR=#cc0000][U]เมืองสยามเป็นดินโคลน[/U] [/COLOR][COLOR=#000099] เมืองสยามน่าจะเป็นเหมือนที่เมืองอียิปต์ ว่าพื้นดินเกิดจากดินโคลนที่น้ำฝนชะลงมาจากภูเขา ที่ตรงปากน้ำ (เจ้าพระยา) มีสันดอนโคลนอยู่แห่งหนึ่ง สกัดกั้นเรือกำปั่นขนาดใหญ่ไว้[/COLOR][/SIZE][/COLOR] [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๒. [COLOR=#cc0000][U]การมีน้ำท่วมทุกปี ทำให้พื้นดินสยามอุดมขึ้น[/U] [/COLOR][COLOR=#000099] ทำให้ราชอาณาจักรนี้เป็น[COLOR=#cc0000]อู่ข้าวอู่น้ำ[/COLOR][COLOR=#000099] ของหลายประเทศ[/COLOR][/COLOR][/SIZE] [/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๓. [U][COLOR=#cc0000]น้ำท่วมทำลายตัวแมลงต่าง ๆ[/COLOR][/U][/SIZE][/COLOR] [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๔. [U][COLOR=#cc0000]ปลวกในสยาม[/COLOR][/U][/SIZE][/COLOR] [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๕. [U][COLOR=#cc0000]บึ้ง[/COLOR][/U][COLOR=#000099] เหมือนตัวริ้น[/COLOR][/SIZE][/COLOR] [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๖. [U][COLOR=#cc0000]ตะขาบ[/COLOR][/U][/SIZE][/COLOR] [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๗. [U][COLOR=#cc0000]ความเขลาของชาวสยามในสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ[/COLOR][/U][COLOR=#000099] เรื่องตุ๊กแก เป็นความหลงเชื่อที่ประหลาดยิ่ง ที่รู้สึกว่าตับมันโต ก็จะส่งเสียงร้องเพื่อเรียกแมลงไปกินตับ[/COLOR][/SIZE][/COLOR] [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๘.[COLOR=#cc0000] [U]หิ่งห้อย[/U][/COLOR][COLOR=#000099] คล้ายแมลงภู่ คือ มีสี่ปีก เราไม่มีโอกาสเห็นมันเมื่อขึ้นบก มันมีแสงไฟอยู่ในลูกตา แต่แสงสว่างนั้นออกมาจากใต้ปีก[/COLOR][/SIZE][/COLOR] [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๙. [U][COLOR=#cc0000]ตัวแมลงในน้ำ[/COLOR][/U][COLOR=#000099] แมลงบางชนิดในแม่น้ำมีพิษสงน่ากลัว[/COLOR][/SIZE][/COLOR]

    [/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/COLOR][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/COLOR][/SIZE][/COLOR][/FONT][/FONT][/FONT]
    [/SIZE]
     
  18. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ความรู้เรื่องเมืองสยาม ตอนที่ 1 บทที่ 7,8,9

    ว่าด้วยเรื่องข้าว การทำนา และการทำสวนค่ะ
    บทที่เจ็ด เมล็ดพืชของประเทศสยาม

    ๑. ข้าว เป็นพืชผลอันสำคัญของชาวสยาม เป็นอาหารอันดีที่สุด
    ๒. วิธีหุงข้าวด้วยน้ำบริสุทธิ์ ชาวสยามไม่ได้กินข้าวสุก ปนไปกับอาหารคาวอย่างอื่น เมื่อเขากินเนื้อหรือปลา เขาก็จะกินกับสิ่งนั้นเปล่า ๆ โดยไม่มีข้าวปน เขาเอาปลายนิ้วขยุ้มข้าวให้เป็นคำแล้วเปิบเข้าปาก

    ๓. การหุงข้าวด้วยน้ำกะทิ

    [SIZE=-1]๔. ข้าวสาลี ข้าวสาลีมีในประเทศสยาม ตามที่ดอนน้ำท่วมไม่ถึง ในเมืองสยามมีแต่พระเจ้าแผ่นดินองค์เดียวที่มีไร่ข้าวสาลีอยู่ ชาวสยามเรียก ข้าวโพดสาลี คำว่า ข้าว หมายถึง ข้าวเจ้า มีคำบอกเล่าว่าชาวมัวร์เป็นผู้นำพันธุ์ข้าวสาลี ไปสู่เมืองสยาม ชาวฝรั่งเศสในเมืองสยาม สั่งแป้งสาลีมาจากเมืองสุรัต ทั้งที่ใกล้ ๆ กรุงสยาม (อยุธยา) ก็มีโรงสีลม สำหรับบดข้าวสาลีอยู่แห่งหนึ่ง ใกล้เมืองละโว้ ก็มีอีกแห่งหนึ่ง [/SIZE]

    [SIZE=-1]๕. ขนมปังสดที่ทำด้วยแป้งข้าวสาลีในสยามนั้นผากเกินไป [/SIZE]

    [SIZE=-1]๖. เมล็ดพืชอย่างอื่น ได้เห็นถั่วพรรณต่าง ๆ ชาวสยามเช่นเดียวกับพวกเรา คือปลูกต้นไม้ล้มลุกไว้หลาย ๆ พรรณด้วยกัน [/SIZE]

    [SIZE=-1]บทที่แปด การทำนา และฤดูกาลต่าง ๆ [/SIZE]

    [SIZE=-1]๑. วัวและควายในการไถนา เขาจูงมันไปด้วยเชือกเส้นหนึ่ง ที่ร้อยสนตะพายเข้าไปในกระดูกอ่อนที่แยกช่องจมูก และเพื่อมิให้เชือกนั้นเลื่อนไหลขณะดึง เขาจึงขอดปลายเชือกให้เป็นปมทั้งสองข้าง เชือกเส้นเดียวกันนี้ยังล่ามเข้าไปในรูพังงา ที่เจาะไว้ที่คานของคันไถ [/SIZE]


    [SIZE=-1]<CENTER>[​IMG][/SIZE]

    [SIZE=-1]</CENTER>๒. คันไถแบบสยาม ทำอย่างง่าย ๆ ไม่มีล้อเลื่อน ประกอบด้วยคานไม้ยาวท่อนหนึ่ง อันเป็นดูก อีกท่อนหนึ่งปลายงอนอันเป็นคันถือ อีกท่อนหนึ่งสั้นกว่าและใช้ไม้เนื้อแข็งกว่า ผูกขวางไว้เกือบจะทะแยงกันตรงใต้คันดูก และไม้ท่อนที่สามนี้เอง ที่ติดหัวผาน มิได้ใช้ตาปูตรึงไม้ทั้งสี่ท่อนให้ติดกัน หากใช้เชือกหนัวมัดให้ติดกันเข้าไว้ [/SIZE]

    [SIZE=-1]๓. วิธีนวดข้าว ใช้วัวควาย ย่ำให้เมล็ดข้าวหลุดออกจากรวง เมื่อเมล็ดข้าวเปลือกร่วงออกหมดแล้ว ก็ใช้วิธีกอบขึ้นโรยจากที่สูง เพื่อให้ลมพัดเอาข้าวลีบ และกากออกไป เอาข้าวเปลือกไปตำในครกไม้กระเดื่อง หรือขัดในเครื่องสีมือที่ทำด้วยไม้ [/SIZE]

    [SIZE=-1][SIZE=-1]๔. มีสามฤดู มีปีสองประเภท ฤดูหนาวเรียก หน้าหนาว อากาศเริ่มเย็น ฤดูร้อนน้อยเรียก หน้าร้อน คือเริ่มร้อน และฤดูร้อนใหญ่ เรียกหน้าร้อนใหญ่ คือ เริ่มร้อนมาก ปีมีอยู่สองประเภท ปีละ ๑๒ เดือน ติดต่ออยู่สองปี และปีที่สาม มี ๑๓ เดือน [/SIZE]

    [SIZE=-1]๕. วันสยามนับตามดาวเคราะห์ ไม่มีคำเรียกสัปดาห์ แต่เรียกวันทั้งเจ็ดตามชื่อ ดาวเคราะห์ อย่างเราและวันก็ตรงกัน แต่วันที่นี่เริ่มก่อนที่ยุโรปราว ๖ ชั่วโมง [/SIZE]

    [SIZE=-1]๖. สยามขึ้นศกใหม่เมื่อไร เริ่มศกใหม่ วันขึ้นหนึ่งค่ำทางจันทรคติ ในเดือนพฤศจิกายน หรือธันวาคม ชาวสยามหาได้นับปีตามศักราชที่ล่วงไปเสมอไปไม่ หากนับตามจำนวนรอบหกสิบปี ตามแบบชาวตะวันออกทั่วไป [/SIZE]

    [SIZE=-1]๗. รอบหกสิบปี (มหาจักร) ชาวสยามมีนามประจำปีนักษัตร [/SIZE]

    [SIZE=-1]๘. เดือนของชาวสยาม นับหยาบ ๆ มี ๓๐ วัน ใช้วิธีนับเดือนตามลำดับเป็นเดือนอ้าย เดือนยี่ และต่อ ๆ ไป [/SIZE]

    [SIZE=-1]๙. ฤดูกาลของสยามที่แผกกัน สองเดือนแรกตรงกับเดือนธันวาคม เป็นฤดูหนาว เดือน ๓.๔.๕ เป็นฤดูร้อนน้อย อีก ๗ เดือน เป็นฤดูร้อนใหญ่ [/SIZE]

    [SIZE=-1]๑๐. มรสุม ฤดูหนาวเป็นหน้าแล้ง อากาศแห้ง ฤดูร้อนฝนชุก อาการที่ลมประจำโลกตามฤดูกาล ชาวปอร์ตุเกศเรียก มองเซาส์ ฝรั่งเศสเรียก มูซอง เป็นสาเหตุให้เรือกำปั่นเข้าถึงสันดอนปากน้ำได้โดยยาก ในระยะหกเดือนที่มีมรสุมพัดจากทิศเหนือ และยากที่จะออกจากปากแม่น้ำในระยะหกเดือน ที่มีมรสุมพัดจากทิศใต้ [/SIZE]

    [SIZE=-1]๑๑. เวลาทำนา และเวลาเก็บเกี่ยว จะไถและหว่านเมื่อฝนตกชุ่มพอให้ดินอ่อนลง ว่ากันว่ารวงข้าวนั้น ย่อมหนีพ้นน้ำเสมอ [/SIZE]

    [SIZE=-1]๑๒. ข้าวชนิดอื่น ชาวสยามปลูกข้าวในที่ซึ่งน้ำท่วมไม่ถึงตามหัวเมืองต่าง ๆ ข้างชนิดนี้เป็นข้าวพันธุ์ดี (ข้าวนาดำ) เมื่อข้าวที่เพาะเป็นกล้าไว้ในดินงอกงามตามสมควร ก็ย้ายไปปลูกในที่แห่งอื่น ซึ่งได้ไถคราดไว้แล้ว แล้วไขน้ำเข้าเช่นเดียวกับที่เราทำนาเกลือ ต้องกักน้ำฝนไว้โดยยกคันนารอบ ๆ แล้วนำข้าวกล้ามาดำรากมิดลงไปในดิน ที่สะกอรายเรียงกันไปโดยใช้นิ้วหัวแม่มือกดลงไป [/SIZE]

    [SIZE=-1]๑๓. มูลเหตุที่ชาวสยามหันมาประกอบกสิกรรม เห็นคล้อยที่เชื่อว่า คนสยามครั้งโบราณเลี้ยงชีวิต ด้วยการกินผลไม้จับปลามาเป็นอาหาร ต่อมาชาวจีนมาสอนให้รู้จักทำไร่ไถนา [/SIZE]

    [SIZE=-1]๑๔. พิธีแรกนาขวัญในสยาม สมัยก่อนพระเจ้ากรุงสยาม เสด็จ ฯ แรกนาขวัญจรดพระนังคัล ด้วยพระองค์เอง ในวันฤกษ์ดีวันหนึ่งในรอบปี เป็นเวลาติดต่อกันมาเกือบศตวรรษแล้ว แต่แล้วเมื่อดูทางไสยศาสตร์เห็นว่า เป็นลางไม่ดีจึงไม่แรกนาด้วยพระองค์เองอีกต่อไป แต่ได้มอบหมายให้พิธีสำคัญนี้ ให้สมมติกษัตริย์ที่พอแต่งตั้งขึ้น [/SIZE]

    [SIZE=-1]๑๕. การแรกนานั้นเป็นรัฐประศาสโนบาย และการถือทางไสยศาสตร์ เรื่องแรกนา น่าจะเป็นเครื่องจูงใจให้ประชาชนมีความศรัทธาในการทำไร่ทำนา ตามแบบพระมหากษัตริย์ [/SIZE]

    [SIZE=-1]บทที่เก้า การสวนของชาวสยามและเครื่องดื่มเป็นครั้งคราว

    [SIZE=-1]๑. ผักและไม้เหง้า หัวมัน ฯลฯ มันเทศ ควรจะได้รับการกล่าวขวัญถึงเป็นพิเศษ[/SIZE]

    [SIZE=-1]๒. แตงกวา หอมหัวเล็ก กระเทียม หัวไชเท้า ชาวสยามกินแตงกวาทั้งดิบ ๆ ทำนองเดียวกับชาวตะวันออก[/SIZE]

    [SIZE=-1]๓. ดอกไม้[/SIZE]
    [SIZE=-1]๔. เหตุไรจึงไม่มีผลองุ่นมุสกาต์ที่เปอร์เซีย และเมืองสุรัต[/SIZE]
    [SIZE=-1]๕. ในสยามก็ไม่มีผลองุ่นดี[/SIZE]

    [SIZE=-1]๖. เครื่องดื่มสามัญของชาวสยามคือ น้ำบริสุทธิ์ เขาชอบดื่มเฉพาะที่อบมันให้หอม[/SIZE]

    [SIZE=-1]๗. น้ำที่เมืองละโว้และที่ทะเลชุบศร พระเจ้ากรุงสยามเสวยน้ำที่ตักมาจากอ่างเก็บน้ำใหญ่แห่งหนึ่ง ซึ่งขุดขึ้นกลางทุ่งนา มีเจ้าหน้าที่ประจำรักษาอยู่ตลอดปี ที่ทะเลชุบศร อยู่ห่างเมืองละโว้หนึ่งลี้ อ่างเก็บน้ำนี้ตั้งอยู่ชายที่ลุ่มแห่งหนึ่ง มีพื้นที่ประมาณ ๒ หรือ ๓ ลี้ รับน้ำฝนขังไว้ น้ำในบึงสะอาดและลึกมาก[/SIZE]

    [SIZE=-1]๘. ชา ชาวสยามดื่มน้ำชา แบบดื่มเล่น ๆ ไม่มีธรรมเนียมดื่มน้ำชาในแห่งอื่นในราชอาณาจักร แต่ที่พระนครนับสมัยนิยมดื่มน้ำชาได้ลงหลักปักแน่นแล้ว พวกชาวกรุงถือว่าเป็นมรรยาทผู้ดี อันจำเป็นต้องนำน้ำชามาเลี้ยงแขกที่มาเยี่ยม เรียกว่า ฉ่า (Tcha) เหมือนคนจีน ที่เรียกว่า เต (the') อีกคำเรียกว่า ชา (cha)[/SIZE]

    [SIZE=-1]๙. ชาสามชนิด[/SIZE]

    [SIZE=-1]๑๐. ชาเป็นซับเหงื่อ ชาวจีนและชาวตะวันออก ใช้น้ำชาเป็นยาแก้ปวดหัว แต่ต้องชงให้แก่มาก ๆ[/SIZE]

    [SIZE=-1]๑๑. วิธีชงชา มีกาทองแดงข้างในเคลือบตะกั่วเกรียบ เพื่อใช้ต้มน้ำ มีป้านทำด้วยดินแดง ใช้น้ำร้อนรินรดป้านดินเสียก่อน เพื่อให้การ้อนตัว แล้วใส่ชาลงไปหยิบมือหนึ่ง รินน้ำเดือดเติมลงไป เมื่อปิดฝากา แล้วยังใช้น้ำร้อนรินราดข้างนอกอีก ปิดพวยกา เมื่อชาอิ่มตัวพอสมควรคือ เมื่อใบชาหน่ายลงสู่ก้นป้านแล้ว ก็รินน้ำลงในถ้วยกระเบื้อง ในขั้นแรกกะเพียงครึ่งถ้วยก่อน ดูว่าน้ำมันแก่เกินไปหรือมีสีจัดเกินไป อาจทำให้พอดีด้วยการเติมน้ำ ซึ่งต้มให้เดือดในกาทองแดงอยู่เสมอ เมื่อต้องการน้ำชาเพิ่มก็เติมน้ำเดือดลงในป้านดิน เขาไม่ใส่น้ำตาลลงในถ้วย ใช้วิธีใส่น้ำตาลกรวดก้อนเล็ก ๆ ไว้ในปาก ขบให้แหลกและดื่มน้ำชาไปพร้อม ๆ กัน เมื่อไม่ต้องการดื่มต่อไป ก็คืนถ้วยให้โดยคว่ำปากถ้วยลงในจานรอง[/SIZE]

    [SIZE=-1]๑๒. จำเป็นต้องใช้น้ำดีในการชงชา[/SIZE]

    [SIZE=-1]๑๓. จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องดื่มน้ำชาเมื่อยังร้อน การดื่มเครื่องดื่มไม่ว่าชนิดใดด้วยความร้อนขนาดเดียวกัน บัดนี้ชาวตาร์ตาร์ ได้สอนให้รู้จีกดื่มชนิดใส่น้ำแข็งได้บ้างเป็นครั้งคราว[/SIZE]

    [SIZE=-1]๑๔. การชอบดื่มเหล้าองุ่น ชาวสยามไม่ยึดเอาการดื่มชาเป็นหลักนัก ชอบดื่มเหล้าองุ่นมากกว่า ถ้ามีให้ดื่มแม้ว่าเครื่องดองของเมาเป็นสิ่งต้องห้าม ตามทางพระศาสนาก็ตาม ชาวอังกฤษและฮอลันดาบางทีก็นำเหล้าองุ่นมาจากเมืองชีราช ในเปอร์เซียหรือจากยุโรป เหล้าองุ่นของฝรั่งเศสที่เมืองบองโดซ์ กับที่เมืองกาฮอร์ส มาถึงกรุงสยามในสภาพอันดี เขาจะไม่กล่าวถึงเหล้าองุ่นของเมืองจีน และเมืองญี่ปุ่น ซึ่งชั่วแต่เป็นเบียร์ผสมให้มีรสแรงขึ้นเท่านั้น[/SIZE]

    [SIZE=-1]๑๕. เครื่องดื่มอย่างอื่น ตารี เนรี ทำจากต้นไม้สองชนิดเรียกว่า ปาลมิสต์ (Palmiste) วิธีทำคือ ตอนเย็น ๆ เอามีดไปปาดกาบต้นไม้ (ต้นตาล ?) ที่คอต้นใกล้ยอด เอาขวดผูกรองไว้ รุ่งเช้าขวดนั้นก็เต็ม ขวดดังกล่าวจากกระบอกไผ่ลำเขื่อง ๆ ตารี ทำจากต้นมะพร้าวป่าพันธุ์หนึ่ง เนรี ทำจากต้นหมากชนิดหนึ่ง[/SIZE]

    [SIZE=-1]๑๖. เหล้าบรั่นดี เป็นเครื่องดื่มที่ชาวสยามชอบมากกว่าเหล้าชนิดอื่น และวิธีทำ ชาวสยามทำเหล้าบรั่นดีจากข้าวหมักไว้ด้วยน้ำปูนใส ในขั้นแรกทำเป็นเมรัยก่อน พวกเขาไม่ดื่ม (เบียร์) กันเลย แต่กลั่นออกมาเป็นบรั่นดี ซึ่งพวกเขาเรียกว่า เหล้า[/SIZE]

    [SIZE=-1]๑๗. บูลปองซ เครื่องดื่มอังกฤษ เครื่องดื่มอย่างหนึ่งเรียกว่า พั้นซ์ (Punch) เอาเหล้าบรั่นดีหนึ่งเหยือก ผสมด้วยน้ำมะนาวหนึ่งไปน์ กับผงจันทน์เทศ เอาขนมปังทะเลแห้งปิ้ง และป่นละเอียด คนจนเข้ากันีด[/SIZE]

    [SIZE=-1]๑๘. กาแฟกับโกโก้ แขกมัวร์ในสยามดื่มกาแฟ ซึ่งมาจากเมืองอาหรับ ชาวปอร์ตุเกศดื่มโกโก้ ส่งมาจากมนิลาเมืองหลวงของฟิลิปปินส์ ซึ่งนำมาจากอินเดียภาคตะวันออกในเขตคุ้มครองของสเปน[/SIZE]

    [SIZE=-1]๑๙. ผลไม้ ชาวสยามนิยมกินผลไม้ยิ่งกว่าอย่างอื่น นอกจาก ส้ม มะกรูด และทับทิมแล้ว ดูจะไม่มีผลไม้อื่นที่เรารู้จักเลย ส้มโอ เป็นมะกรูดพันธุ์เปรี้ยว[/SIZE]

    [SIZE=-1]๒๐. ผลไม้บางชนิดมีทุกฤดูกาล คือ กล้วย ส่วนผลไม้อย่างอื่นให้ผลเพียงชั่วคราว ต้นอ้อยยาว ๖ - ๑๐ ฟุต ก็มีขึ้นแต่ที่เมืองอะแจ เท่านั้น แต่ข้าวซึ่งเป็นอาหารสำคัญมักขาดแคลนบ่อย ๆ จึงหาซื้อกันด้วยราคาราวกับทองคำ ซึ่งมีอยู่มากมาย จนคนเห็นเป็นสิ่งสามัญธรรมดา[/SIZE]

    [SIZE=-1]๒๑. ความแตกต่างระหว่างผลไม้ของสยามกับของเรา ข้าพเจ้ากล่าวถึงแต่ หมาก (Arek) และผลไม้ของประเทศอินเดีย โดยทั่ว ๆ ไป[/SIZE]


    <CENTER>[​IMG]

    </CENTER>[SIZE=-1]๒๒. หมากกับพลู หมาก (Arek) ซึ่งชาวสยามเรียกว่า พลู (Plou) เป็นผลไม้จำพวกโอ๊ก แต่มิใช่มีเปลือกแข็งเหมือนผลโอ๊กของเรา เมื่อผลแก่จนสุกจะกลายเป็นสีเหลืองและแข็งกระด้างขึ้น เนื่อในก็พลอยแข็งไปด้วย เมื่อผ่าผลหมากออกเป็นสี่เสี้ยวแล้ว ใช้กินเสี้ยวละคำ ปนไปกับใบไม้ชนิดหนึ่ง เรียกว่า หมาก (ความจริงคือ พลู) เขาจีบใบไม้เข้าเป็นมวนเพื่อสอดเข้าปากได้สะดวก และใช้ปูนทำจากเปลือกหอยป้ายลงเล็กน้อย ปูนมีสีแดง พวกอินเดียมีปูนชนิดนี้ในเต้ากระเบื้องพกติดตัว วันหนึ่ง ๆ เขาใช้หมากกับพลู อยู่ไม่ขาดปาก[/SIZE]

    [SIZE=-1]๒๓. ประสิทธิผลของการกินหมาก ทำให้ผู้กกินต้องบ้วนน้ำลายอยู่บ่อย ๆ คราบปูนทำให้เหงือกสกปรก ไม่พบคนในสยามมีกลิ่นปาก[/SIZE]

    [SIZE=-1]๒๔. ประสิทธิผลอย่างอื่นของหมากกับพลู ที่ฟันคราบน้ำหมากจะคอยจับหนาขึ้นทีละน้อย จนกลายเป็นสีดำ[/SIZE]

    [SIZE=-1]๒๕. วิธีย้อมฟันและวิธีย้อมเล็บนิ้วก้อย การย้อมฟันให้ดำ เขาใช้ซีกมะนาวที่มีรสเปรี้ยวจัดอมไว้ในกระพุ้งแก้ม และที่หน้าฟันราวหนึ่งชั่วโมง หรือนานกว่า เพื่อให้ฟันน่วม และใช้น้ำยางชนิดหนึ่งทำจากรากไม้บางชนิด หรือจาก (กะลา) มะพร้าวเผาไปถูฟัน เป็นเสร็จพิธี การย้อมฟันใช้เวลาสามวัน ต้องนอนคว่ำและอดอาหารหนักจนกว่าจะครบกำหนด ชาวสยามยังนิยมย้อมเล็บมือนิ้วก้อยให้เป็นสีแดง โดยขุดเล็บออกแล้ว ใช้น้ำยางชนิดหนึ่งทา ทำจากข้าวบดในน้ำมะนาว ผสมกับใบไม้ชนิดหนึ่งคล้ายใบทับทิม[/SIZE]

    [SIZE=-1]๒๖. ต้นไม้ จำพวกปาลมิสต์ทั่วไป[/SIZE]


    ถ้าพวกมาดมัวแซว มาดาม ได้ท่องเที่ยวไปลึกๆเข้าไปในดินแดนจะเห็นท่าการค้าที่คนจีนไปสร้างไว้รับซื้อข้าว เป็นท่าข้าว เช่นท่าข้าวที่ชัยนาท
    (เรื่องท่าข้าวที่ชัยนาทนี้เกี่ยวข้องกับการทำการค้าขายของลูกหลานเจ้าพระยาโกษาปาน ชั้นหลานหรือชั้นเหลนค่ะ หากหาเจออีกทีจะเอามาโพสให้อ่านนะคะ ... ทางสายธาตุ)

    คำถามทิ้งท้ายก่อนจบตอนที่ 1 จะถามมาดมัวแซว หรือ มาดาม ใครก็ได้ ไปคิดเล่นๆ ว่า

    ภาษีสมัยก่อนใช้วิธี 10 ชัก 1 คำถามคือถ้ามีเครื่องกระเบี้องเคลือบที่สั่งทำอย่างงามวิจิตรครบเซ็ทลายเดียวกัน ช่างฝีมือทำมาอย่างดี นำเข้าจากเมืองจีน เช่น ชุดป้านน้ำชาจะต้องมีถ้วย 5 ใบมีลายเดียวกับกาน้ำชา หากถูกชักไป 1 ทำให้ไม่ครบเซ็ท พอจะเอาไปให้เป็นของกำนัลใคร ก็ทะเม่งๆเพราะไม่ครบเซ็ท แล้วจะทำอย่างไรดีเพื่อที่จะไม่ต้องเสียภาษีล่ะคะ แต่จะทำอะไรก็แล้วแต่ต้องไม่ผิดกฎบ้านกฏเมืองสมัยนั้นนะ แล้วจะทำอย่างไรดี ติ๊กต่อกๆๆ



    [/SIZE]
    [/SIZE]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 กรกฎาคม 2009
  19. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,921
    ค่าพลัง:
    +6,434
    เพลงระบำดอกบัว

    เหล่าข้าคณาระบำ
    ร้องรำกันด้วยเริงร่า
    ฟ้อนส่ายให้พิศโสภา
    เป็นทีท่าเยื้องยาตรนาฏกราย

    ด้วยจิตจงรักภักดี
    มิมีจะเหนื่อยแหนงหน่าย
    ขอมอบชีวิตและกาย
    ไว้ใต้เบื้องพระบาทยุคล
    เพื่อทรงเกษมสราญ
    และชื่นบานพระกมล
    ถวายฝ่ายฟ้อนอุบล
    ล้วนวิจิตรพิศอำไพ

    อันปทุมยอดพกา
    ทัศนาก็วิไล
    งามตระการดาลหทัย
    หอมจรุงฟุ้งขจร
    คล้ายจะยวนเย้าภมร
    บินวะว่อนฟ้อนสุคนธ์

    ได้ยินเพลงนี้ในเช้านี้ จึงนำเนื้อร้องนี้ขึ้นถวายพระพร
    ขอจงทรงพระสำราญในทุกภพทุกพิมานที่เสด็จ
    ถวายแด่ไท้ทั้งสามพระองค์
    สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระพี่นางสุพรรณกัลยา สมเด็จพระอนุชาพระเอกาทศรถ

    ด้วยเกล้า ด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
    ทางสายธาตุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 สิงหาคม 2009
  20. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
     

แชร์หน้านี้

Loading...