"ขนมเข่ง"ข้าวเหนียว ของคนพื้นเมืองที่ไม่ใช่จีน (ฮั่น)

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 27 มกราคม 2006.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,173
    คอลัมน์ สยามประเทศไทย

    สุจิตต์ วงษ์เทศ

    บ๊ะจ่างมีในพจนานุกรมคำพ้องคำจีน-คำไทย ของ "เกาเฟย" อธิบายว่า ขนมจ้างห่อด้วยใบไผ่ ไส้ขนมประกอบด้วยข้าวเหนียว, ถั่วยี่สง, กุ้งแห้ง, เห็ดหอม, หมูเค็ม

    แต่คำขนมเข่ง ผมหาคำอธิบายไม่ได้จากพจนานุกรมฉบับต่างๆ เลยไม่หาอีกเพราะขี้เกียจแล้ว ถือเป็นที่รู้กันทั่วไปว่าทำจากแป้งข้าวเหนียว ไม่มีไส้ มักทำคู่กับขนมเทียน มีไส้ ทั้งสองอย่างทำไหว้เจ้า (จีน) ตอนตรุษจีน แต่ทุกวันนี้จะทำตอนไหนก็ได้ที่มีคนจ่ายสตางค์ซื้อ

    ทั้งขนมเข่ง ขนมเทียน บ๊ะจ่าง ต่างรู้ทั่วกันว่าเป็นของจีน ตามประเพณีจีน ทำไหว้เจ้าตรุษจีน แม้บางคนจะบอกว่าใช้ขนมเข่งอย่างเดียวโดยไม่มีขนมเทียน บ๊ะจ่าง ก็สุดแท้แต่จะอธิบาย เพราะแต่ละท้องถิ่นมีความเชื่อต่างกันได้ แล้วเหมือนกันได้ ไม่ใช่เรื่องยุ่งยากอะไร

    แต่สิ่งที่อาจยุ่งยากตรงที่จีนฮั่นแท้ๆ หรือ "ต้าฮั่น" ไม่กินข้าวเหนียว แต่กินหมั่นโถวหรือซาลาเปา ทำจากแป้งข้าวสาลีมิใช่หรือ? ฉะนั้น เจ้าจีนก็ต้องกินหมั่นโถว-ซาลาเปา จากแป้งข้าวสาลีที่เห็นทั่วไปในเมืองจีน ยกเว้นจีนใต้อยู่ใต้แม่น้ำแยงซี เช่น กวางตุ้ง กวางสี ยูนนาน ที่เป็นดินแดนคนป่าเถื่อนร้อยพ่อพันแม่ (ในทรรศนะของฮั่น) ที่ปลูกข้าวเหนียว กินข้าวเหนียวเป็นอาหารหลักไม่น้อยกว่า 3,000 ปีมาแล้ว

    หลังยุคสามก๊ก จีนฮั่นขยายอำนาจลงมาควบคุมคนพื้นเมือง แล้วบังคับให้ยอมรับวัฒนธรรมจีนฮั่นที่ต้องไหว้เจ้าตรุษจีน คนพื้นเมืองเลยเอาขนมเข่ง ขนมเทียน บ๊ะจ่าง จากข้าวเหนียวไหว้เจ้าตรุษจีนแต่นั้นมา

    คนพื้นเมือง "ร้อยพ่อพันแม่" ทางกวางตุ้ง กวางสี ยูนนาน มีหลายชาติพันธุ์ แต่มีส่วนหนึ่งพูดภาษาในตระกูลมอญ-เขมร และไทย-ลาว กินข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก ปลูกเรือนเสาสูง (ต้นกำเนิดเรือนไทยไงล่ะ) ก็คนพวกนี้เองที่เคลื่อนย้ายมาอยู่สุวรรณภูมิบริเวณลุ่มน้ำโขง ลุ่มน้ำเจ้าพระยาราว 3,000 ปีมาแล้ว แต่งงานกับคนพื้นเมืองกลายเป็น "คนไทย" มีนิทานเช่นท้าวอู่ทอง

    ขนมเข่ง ขนมเทียน บ๊ะจ่าง จากข้าวเหนียว ใช้ไหว้เจ้าตรุษจีน เลยมีบทบาทสูงสืบมาจนปัจจุบัน
     

แชร์หน้านี้

Loading...