กรรม!!!

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย rinnn, 9 พฤศจิกายน 2006.

  1. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,025
    พระปิยะลักษณ์: กรรมนั้นมี ๓ ด้าน คืออะไร
    'ความจงใจควา: การให้ผลหรือเปล่าเจ้าคะ
    ไม่ใช่จ๊ะ กรรมนั้นมี ๓ ทางๆ ไหนบ้าง
    กาย วาจา ใจ หรือเปล่าเจ้าคะ ยังเคยคิดว่า
    วาจา ไม่ใช่กายเหรอ มีผลจนต้องแยกออกมา

    ถูกต้องแล้ว
    กายนั้นหมายถึง การกระทำด้วยร่างกาย วาจานั้นหมายถึง การพูดออกมา ใจนั้นหมายถึงอะไรเอ่ย

    การพูด ไม่ใช่กายเหรอเจ้าคะ
    คิดเจ้าค่ะ คิด แต่ยังไม่ได้ทำ

    ถูกต้อง การคิดนั่นแหละเรียกว่ากรรมทางใจ
    กรรมทางใจ
    คิดดี ปรุงแต่งดี ก็เป็นกรรมดี คิดไม่ดี ปรุงแต่งไม่ดี ก็เป็นกรรมไม่ดี
    แต่ก็ยากนะเจ้าคะ เพราะกิเลสที่เผลอไผล ทำให้ความคิดไม่ดีได้
    ซึ่งตามหลักพระพุทธศาสนา ทรงแยกให้เห็นว่า ถ้าเพียงคิด จะเป็นมโนกรรม ถ้าพูดออกมาจะเรียกวจีกรรม ถ้ากระทำก็เรียกว่ากายกรรม
    งั้นการพูด ที่แยกออกมา ว่าไม่ใช่กายกรรม
    ก็เพราะว่า เป็นการแสดงออกทางมโนกรรม ที่แรงขึ้น หรือเปล่าเจ้าคะ

    ใข่แล้ว แต่เรียกเพียงว่า วจีกรรมเท่านั้น เพราะมโนกรรมเป็นพื้นฐานให้เกิดอยู่แล้ว
    เจ้าค่ะ การทำให้เกิด กายกรรม ต้องมีมโนกรรมมากก่อนทุกครั้ง
    หรือเปล่าเจ้าคะ ถึงจะเรียกว่าเป็นการทำกรรม

    ตอนนี้ล่ะ จะมาแยกให้เห็นว่า กรรม เริ่มเกิดขึ้นเมื่อไรเสียที
    ถูกต้อง

    งั้นกายกรรมอันใด ที่ไม่ตั้งใจให้เป็นผลอย่างที่เกิด
    ก็ไม่ใช่เป็นกรรม

    ถ้าไม่มีความจงใจกระทำไม่เรียกว่าเป็นกรรม
    แต่เคยได้ยินว่า ถ้าได้ทำให้พ่อแม่ตาย โดยรู้เท่าไม่ถึงการ เช่น
    ถูกต้อง เช่น เดินไปเหยียบมดโดยไม่เห็น
    ก็ไม่เป็นกรรม

    ยิงลูกศร ไปมั่วๆ แต่ไม่รู้ว่าทิศนั้นมีพ่อแม่อยู่ด้วย
    เกิดโดนท่านเสียชีวิตขึ้นมาก ก็ถือว่าเป็นกรรมหนักเหมือนกัน

    ไม่ใข่อย่างนั้น ถ้ายิงไปแล้ว ไม่มีเจตนาจะฆ่าใคร
    ก็ไม่เป็นปาณาติปาตกรรม

    เจ้าค่ะ ควรจะเป็นเช่นนั้น แต่ที่ได้ยินมานั้น
    ไม่ใช่ ไม่รู้ว่าเขาพิจารณาในเรื่องอะไร

    อันนี้จะซับซ้อนเล็กน้อย เช่น ถ้าเรายิงไปในพุ่มน้ำแล้วคิดว่าน่าจะเป็นไก่
    คือ คิดจะฆ่าไก่ แต่ปรากฏว่าเป็นพ่อแม่ อย่างนี้เป็นอนันตริยกรรมได้

    ฆาตกรรมธรรมดา กลายเป็น อนันตริยกรรม แต่เราไม่ได้เจตนาที่จะทำกรรมหนักถึงขนาดนั้น
    ใช่ ตรงนี้คุณเข้าใจไหม
    การเปลี่ยนผลของกรรมเหรอเจ้าคะ
    ไม่ใช่ คืออย่างนี้นะ คำว่า กรรม นั้น หมายถึง
    ความตั้งใจในการกระทำอย่างนั้นๆ ให้สำเร็จ เมื่อยิงไปเพื่อฆ่าวัตถุนั้นๆ วัตถุนั้นๆ
    ก็ได้ตายแล้วตามที่มีเจตนาจะฆ่าวัตถุนั้นๆ ไม่ว่าจะรู้หรือไม่ก็ตามว่าเป็นอะไร อันนั้นไม่สำคัญ
    สำคัญว่ากรรมนั้นสำเร็จด้วยเจตนาจะฆ่านั้นๆ งงไหม

    เจ้าค่ะ กรรมนั้นสำเร็จด้วยเจตนาฆ่า ไม่ว่าฆ่าอะไรก็คือการฆ่า
    อย่างนี้หรือเปล่าเจ้าคะ

    ถูกต้อง ในที่นี้หมายถึงต้องการฆ่าวัตถุนั้นๆ
    นะ

    การฆ่าก็บาปอยู่แล้ว แต่เรื่องที่กลายเป็นบาปที่ร้ายแรงมากขึ้นล่ะเจ้าคะ
    แต่ถ้าเราไม่ต้องการฆ่าวัตถุนั้นๆ ก็ไม่ใช่
    อย่างเช่นว่า เราพบพ่อของเรากำลังต่อสู้กับโจร เรายิงปืนไปต้องการฆ่าโจรเพื่อช่วยคุณพ่อ
    แต่ปรากฏว่าโดนพ่อ อย่างนี้ ไม่เป็นกรรมตามที่ตั้งใจ ถือว่ากรรมนั้นไม่สำเร็จตามเจตนา
    ไม่เป็นอนันตริยกรรมนะ
    คุณเข้าใจคำว่าอนันตริยกรรมใช่ไหม

    เป้ก็ว่าควรเป็นอย่างนั้นเจ้าค่ะ แต่ เหมือนเคยได้ยินจากวิทยุว่า
    ในพระไตรปิฎกบอกไว้ว่า กลายเป็น อนันตริยกรรม / คือกรรมหนักที่ทำให้ไม่สามารถสำเร็จอรหันต์ในภพชาตินี้
    อย่างองคุลีมารล่ะเจ้าคะ เขามีเจตนาฆ่าคนโดยคิดว่าเพื่อเปลี้ยงทุกข์ให้คนที่ถูกฆ่าและคนสุดท้ายก็คือแม่
    ถ้าเขาฆ่าก็กลายเป็นเขาประกอบกรรมหนัก

    ใช่ เขาทำปาณาติบาตมามาก แต่ยังไม่เป็นอนันตริยกรรม
    เจ้าค่ะ เพราะพอดีที่พระพุทธเจ้ามาห้ามไว้ทัน
    เอาล่ะ อาตมาคิดว่า เรามาเริ่มตรงจุดที่คุณสนใจในเรื่องกรรมดีไหม
    เจ้าค่ะ ช่วยอธิบายจนถึงการให้ผลของกรรมด้วย
    ที่ว่า อกุศลจิต กุศลจิต ทำให้เกิดอกุศลวิบากจิตหรือกุศลวิบากจิต ด้วยเจ้าค่ะ

    การกระทำทางใจนั้น มี ๒ อย่าง คือ กุศล
    และอกุศล เรียกว่า มีกุศลจิต และอกุศลจิต

    จิตที่เป็นกุศลและจิตที่เป็นอกุศล
    เมื่อคิดในสิ่งที่ดี หมายถึง มีสติระลึกในสิ่งที่ดี
    ก็เป็น กุศลจิต ในทางตรงกันข้าม ถ้านึกในสิ่งที่ไม่ดี ก็หมายถึง ไม่มีสติ ก็เป็น
    อกุศลจิต

    อะไรคือสิ่งไม่ดีเจ้าคะ
    ฉะนั้น การจะวัดว่า เป็นกุศลจิต หรืออกุศลจิต
    ก็อาจดูได้ตรงที่มีสติระลึกได้หรือไม่ หรือว่าเผลอใจคิดไปโดยที่ไม่รู้ตัว ด้วยอำนาจ
    โลภะ โทสะ โมหะ
    สิ่งที่ไม่ดี คือ หมายถึง การคิดใน ๓ ประการ คือ ๑.กามวิตก (ตรึกนึกในเรื่องกามคุณอารมณ์)
    ๒.พยาบาทวิตก (ตรึกนึกในเรื่องการพยาบาทจองเวร) และ ๓.วิหิงสาวิตก (ตรึกนึกในเรื่องการเบียดเบียนผู้อื่นด้วยความสนุกสนาน)

    กามคุณอารมณ์คือความพอใจในการได้สัมผัสกับสิ่งที่พึงพอใจทางตา
    หู จมูก ลิ้น กาย

    ใช่แล้ว
    อย่างนี้การระลึกถึงความสนุกสนานทางกาม ก็ไม่ดีหรือเปล่าเจ้าคะ
    มันจะเข้าปฏิจสมุปบาทได้ โสกะ ปริเวทะฯลฯ แห้งใจ พิรำพิไร ฯลฯ

    เอาล่ะ การคิดในเรื่องของกามคุณอารมณ์นั้นก็คิดด้วยความพึงพอใจในอารมณ์นั้นเป็นโลภะ
    ก็จะทำให้เกิดอกุศลจิตขึ้น
    การคิดในเรื่องที่เราไม่พอใจเกี่ยวด้วยวัตถุหรือบุคคลก็เป็นโทสะ
    การคิดสงสัยลังเลใจหรือในจิตใจฟุ้งซ่านในสงบก็เป็นโมหะ

    เจ้าค่ะ เป้ยังแยกโมหะไม่ถูกเจ้าค่ะ ว่าลักษณะเป็นอย่างไร
    ฉะนั้นการคิดจึงเป็นหยุดเริ่มต้นของทุกสิ่งทุกอย่าง
    โลภะนี่พอใจ เอาเข้ามาหาตัว โทสะนี่ไม่พอใจ
    ปฏิเสธให้ออกไปจากตัว

    โมหะ นั้นก็หมายถึง การหลงไปในอารมณ์ คือเผลอตัวนั้นเอง
    โมหะนี่คือไม่รู้อิโน่อิเน่ *-)
    ไม่ใช่ไม่รู้อิโน่อิเน่ แต่หมายถึงเผลอตัวไป
    หรือไม่รู้สภาพตามที่เป็นจริง

    ไม่รู้สภาพความเป็นจริง ไม่ตกอยู่ในทั้งสองด้วยหรือเปล่าเจ้าคะ
    โลภะ และโทสะ
    หรือว่าเป็นบ่อเกิดทั้งสองด้วย เพราะความไม่รู้สภาพความเป็นจริง

    อ๋อ ใช่ก็ได้ ไม่ใช่ก็ได้
    บางครั้ง ถ้าเราไม่รู้เท่านั้น หมายถึงคิดอะไรไม่ออก งงสงสัย หรือฟุ้งซ่านไป โดยที่ควบุคมไม่ได้
    ก็เป็นโมหะอย่างเดียวเท่านั้น
    แต่ถ้าการคิดนั้นอาศัยความพอใจเป็นเหตุ ก็เป็น โลภะ และโมหะประกอบกัน

    ไม่ทั้งยินดีและยินร้าย
    และถ้าการคิดนั้นอาศัยความไม่พอใจเป็นเหตุ
    ก็เป็น โทสะ และโมหะประกอบกันจ๊ะ

    อืมม การคิดที่มีความพอใจเป็นเหตุคือ โลภะและโมหะ
    เจ้าค่ะ
    แล้ว โลภะ หรือโทสะ ล้วนๆมีหรือเปล่าเจ้าคะ

    ถ้าไม่ยินดียินร้าย ก็เป็นอุเบกขา ซึ่งไม่แน่ว่า
    จะเป็นกุศลหรืออกุศล เช่น ถ้าไม่ยินดียินร้ายเพราะมีปัญญาก็เป็นกุศล ถ้าไม่ยินดียินร้ายเพราะยังงงอยู่ก็เป็นอกุศล
    โลภะ หรือโทสะ ล้วนๆ ไม่มีจ๊ะ อกุศลจิตทุกดวงต้องมีโมหะเป็นพื้นจิต

    มีปัญญาคือรู้ว่าควรทำอะไรที่เป็นกุศลต่อไป
    / อกุศลจิตทุกดวงต้องมีโมหะเป็นพื้นจิต อืมม เจ้าค่ะ

    ในอกุศลจิตทุกดวงนั้น จะมีโมหะเป็นองค์ประกอบเสมอ
    เรียกว่า หลง หรือเผลอ นั่นเอง ซึ่งจะตรงกันข้ามกับสภาพของจิตที่มีสติ คือ ระลึกได้
    ไม่เผลอจ๊ะ

    เจ้าค่ะ สติเจตสิกประกอบทุกดวง
    ซึ่งสตินั้นก็มี ๒ แบบ คือ สติระลึกถึงสิ่งที่ทำคำที่พูด
    ความทรงจำในอดีตได้ เพื่อนำมาใข้ในการพิจารณาให้เป็นปัญญา ประการหนึ่ง และ ๒. คือสติที่ระลึกถึงสภาพธรรมที่กำลังปรากฏขึ้นอยู่เฉพาะหน้า
    ประการหนึ่ง ซึ่งในลักษณะ มีชื่อเรียกว่า สติปัฏฐาน

    แล้วสติที่มีหน้าที่แยกถูกผิด เหมือนดังแยกดำกับขาว
    ล่ะเจ้าคะ

    ฉะนั้น สติมี ๒ แบบ คือ ขณะที่ตั้งใจคิดถึงความทรงจำเพื่อใช้ปัญญา
    และ ๒. กำหนดพิจารณา (เพ่งดูอารมณ์) อยู่เฉพาะหน้ากับสิงที่กำลังปรากฏ
    จ๊ะ สติมีหน้าที่แยกถุกผิดด้วย

    อารมณ ไม่ได้หมายถึงความรู้สึกที่เราเข้าใจกันใช่ไหมเจ้าคะ
    แต่สติที่จะสามารถแยกถูกผิดได้นั้น ต้องมีปัญญาเข้าประกอบด้วยเท่านั้น
    จึงจะแยกได้
    ไม่ใช่จ๊ะ คำว่าอารมณ์หมายถึง สิ่งที่ใจกำลังรับรู้อยู่ เช่น รูป เสียง กลิ่น รส
    สัมผัส และความนึกคิด ซึ่งจิตก็สามารถรู้ได้ เช่น ในขณะนี้ คุณกำลังมีคอมพิวเตอร์เป็นอารมณ์

    สติถ้าไม่มีปัญญาเข้าประกอบด้วย ก็จะไม่สามารถพิจารณาถูกผิดได้
    เพียงแต่จะไม่เผลอเท่านั้น

    มือสัมผัสคีย์บอร์ด ตาดู สัญญา สังขาร ช่วยกันแปลความหมาย
    ครบหรือเปล่าเจ้าคะ

    ใช่จ๊ะ ทั้งหมดที่คุณกำลังรู้นั่นแหละ เรียกว่า
    อารมณ์ของใจ

    เอ! ตอนนี้ต่อไม่ถูกแล้ว จะว่าอะไรต่อดี
    กรรม ถ้าจะอธิบายให้เข้าใจว่า ทำไมกรรมที่กระทำด้วยเจตนา
    จึงมีผลกรรมตอบกลับมา

    อ๋อ กรรม คือ การกระทำด้วย กาย วาจา และใจ
    นั้น เมื่อตั้งใจกระทำแล้ว ย่อมอาศัยการปรุงแต่งในทางดี-ร้าย แล้วจิตนั้นจะยึดถือทรงจำ
    ความคิดนั้น ความรู้สึกนั้นไว้เป็นเหตุให้จิตใจต้องรู้สึกดีและไม่ดี คือสบายดีแลไม่สบายใจติดตัวไปด้วย
    ตอนนี้วิบากกรรม ย่อมเกิดขึ้นในจิตก่อน คือ จิตเศร้าหมองไม่สบายใจเวลาคิดชั่ว และจิตย่อมสบายใจทุกครั้ง
    เป็นผลที่เกิดจากการคิดดี นี่แหละวิบากกกรมเกิดขึ้นก่อนทางใจ
    แล้วกรรมเหล่านี้จะสะสมไว้ในดวงจิตเรื่อยไป ส่งผลเป็นบุคลิกภาพและทัศนคติของบุคคลนั้นที่เคยชินและติดตัวไป
    ทำให้ในครั้งต่อๆ ไป ย่อมแสดงออกมีแนวโน้มไปทางนั้นๆ เรียกว่ามีสันดาน(สันตติ) อย่างนั้นๆ
    โดยไม่รู้ตัว เมื่อคิดอย่างนั้นบ่อยๆ เมื่อความรู้สึกนี้แพร่ออกไปสู่บุคคลภายนอก
    บุคคลอื่นย่อมรู้สึกได้ถึงความน่าไว้ใจหรือไม่น่าไว้ใจของเรา

    แต่บางคนมีความสุขกับการคิดชั่วล่ะเจ้าคะ
    ง่ายๆ คนเรามีความสุขกับโลภะ อย่างสุขที่จะได้ดูหนังล่ะ

    กรรมนั้นจะให้ผลต่อบุคคลนั้นในหลายด้าน
    ซึ่งทั้งบุคคลนั้นจะรู้ได้และรู้ไม่ได้ ตามแต่กำลังแห่งปัญญาสามารถเข้าถึงความจริงนั้นๆ
    กรรมที่ส่งผลเห็นได้ง่าย เช่น เราทำดี
    เราก็สุขใจ เราก็กล้าหาญ คนรู้คนก็รักงานที่ทำก็เกิดประโยชน์

    เราจะเป็นสุขใจที่เราได้ทำดีก็ต่อเมื่อเรามีปัญญารู้ว่าสิ่งที่เราทำนั้นเป็นสิ่งที่ดี

    'ความจงใจควา: ทำไมกรรมที่ทำจึงส่งผลออกมาเป็นรูปธรรมได้ล่ะเจ้าคะ
    นอกจากนามธรรมคือผลทางใจ

    พระปิยะลักษณ์: เอาเป็นว่า สรุปจากครั้งที่แล้ว คือ กรรมนั้นเริ่มแต่ใจเราคิดนะ
    อ๋อ คุณถามว่าทำไม่ส่งผลเป็นรูปธรรมได้หรือ
    ๑. เมื่อใจเราคิดไม่ดี กายเราก็เศร้าหมองก่อนนะ
    ๒. เมื่อใจเราทรงจำเรื่องนั้นไว้ มีความพอใจในกรรม(ไม่ดี)นั้น ก็ทำให้ทำไม่ดีต่อไปเรื่อยๆ เกิดเป็นผลร้ายตามมา
    ๓. คนที่อยู่รอบข้างจะรู้สึกไม่ไว้วางใจเรา คนดีก็จะเหินห่าง ไม่ช่วยเหลือ คนชั่วก็จะเข้าไกล้เพื่อต้องการผลประโยชน์
    ๔. เมื่อคนรอบข้างเรามีแต่คนไม่ดี วิถีชีวิตเราก็จะไม่ดี เราจะเลือกตัดสินใจผิดพลาด ตามคำชักชวนของคนพาล
    ๕. คนไม่ดีก็หวังแต่การเอาเปรียบกัน ไม่รักเราจริง เราจะถูกหลอกได้ง่าย หรือถูกชักชวนให้เข้าใจอะไรๆ ผิดเสมอๆ ส่วนคนที่ดีก็จะยิ่งไม่กล้าคบหา หรือตักเตือนเรา
    ๖. ในด้านจิตใจของเรา เมื่อเราประมาท เคยชินกับการคิดผิดๆ เราก็จะเลือกสิ่งต่างๆ เข้ามาในชีวิตอย่างผิดพลาด และส่งผลเสียตามมาไม่สิ้นสุด
    ตย. เช่น ไปเที่ยวกลางคืน เจอสาวสวย-หนุ่มหล่อ ที่ต่างก็เป็นนักเที่ยว ไม่เอาการงาน เราประพฤติไม่ดี(คือไปเที่ยว) เราก็เจอแต่คนไม่ดี (คือพวกชอบเที่ยว) ถ้าเราเลือกคบเป็นแฟน แฟนเราก็คือคนที่ไม่ดีนั่นแหละที่เราเลือก (แต่ตอนนี้เรายังไม่รู้หรอก เพราะความเคยชินพาไป


    แต่เขาก็ชอบกัน ยังรอด ทำงานได้ดี มีชีวิตที่ว่าอินเทรน ทันสมัย เหมือนว่าชีวิตเขามั่นคงได้เพราะแบบนี้

    ไม่หรอก เขาจะรู้ได้ภายหลังว่า ต่างก็ฟุ่มเฟือย มีแต่เพื่อนที่ไม่เอาไหน ต่างก็มีสุขภาพไม่แข็งแรง คิดแต่ในทางต่ำ

    คือเจอคนรวยๆ(มีตังค์จ่ายเที่ยว) ได้อยู่ในสังคมรวยๆ อยู่หรูๆ มีเครดิต ชั้นสูง(ในคติว่าแบบนี้สูง) เขาว่าสนุก มีความสุขกัน

    ใช่ แต่ชีวิตจะไม่มีความสงบร่มเย็น ไม่รู้จักความสงบ ไม่รู้จักการปล่อยวาง ไม่รู้จักความสุขที่สูงกว่านั้น มีแต่หิวกระหายความสุขแบบนั้นเรื่อยไป
    ไม่พบความสุขทีแท้จริง


    ทำไงให้เขาตระหนักถึงความสุขสงบแบบนี้ล่ะเจ้าคะ ทำไงให้เขามองเห็นความต้องการที่ไม่รู้จักเต็ม

    ยากนะ ถ้าเขาไม่เห็นความทุกข์หรือปัญหาที่เกิดขึ้น เขาจะเข้าใจว่า เป็นเพราะยังได้ไม่พอ ได้ยังไม่อิ่ม อย่างนี้ไปเรื่อยๆ

    บางที จิตเราเอง ยังไม่ค่อยจะเห็นความสงบเท่าไหร่
    ความอิ่มอย่างนี้คือสันโดษใช่ไหมเจ้าคะ

    ไม่เห็นความสงบ ไม่เป็นไร แต่จะต้องเห็นว่าสภาพนั้นมันยังมีปัญหาหรือทุกข์อยู่
    ใช่จ๊ะ ความอิ่มนี้คือสันโดษ
    คนเราเป็นธรรมดาว่า ถ้าเห็นปัญหา ก็จะเบื่อหน่ายในปัญหา และจะพยายามแก้ไขนะ
    ปัญญาเกิดขึ้น เมื่อเรามองสิ่งทั้งหลายตามที่เป็นจริงเท่านั้น


    ในเรื่องกรรม คนจะสงสัยว่า

    ว่า

    กรรมส่งผลข้ามชาติได้อย่างไร การประสบเคราะห์กรรมนั้นใช่แน่เหรอคือจากที่เราทำมา

    อันนี้เข้าใจได้นะ แต่วิสัยปุถุชนยากจะทำให้เข้าใจกระจ่างชัด
    เคราะห์กรรม มาจากที่เราทำจริงๆ นะคุณ และทุกอย่างด้วยนะ ที่เราประสบเป็นเพราะกรรมของเราทั้งนั้น
    อาตมาขอยืนยันด้วยเกียรติ์
    วิมุตตายตนะ(ทางแห่งการหลุดพ้น) มี ๕ ประการ และที่หลุดพ้นมากที่สุด คือ การฟังธรรม
    ๑. ฟังธรรม
    ๒. พิจารณาธรรม
    ๓. แสดงธรรม
    ๔. สาธยายธรรม
    และ ๕. นั่งสมาธิ
    พระพุทธเจ้าทรงแสดงให้เห็นว่า การฟังธรรม บรรลุธรรมมากที่สุด และน้อยที่สุดก็คือ สมาธิ


    แต่คนส่วนมากจะสมาธิกัน

    ใช่ เพราะมีรูปแบบที่ชัดเจน และใช้ได้ในการฝึกคนจำนวนมาก

    เพราะติดอยู่ในปิติ และเพราะคิดว่าใกล้ที่สุดหรือเปล่าเจ้าคะ

    คือว่า คนจำนวนมากไม่มีปัญหาจึงต้องเริ่มต้นด้วยการชักจูงให้เกิดความสุขจากสมาธิก่อน
    และแม้ยังไม่เกิดปัญญา ก็จะเป็นบาทฐานให้เกิดศรัทธาในการปฏิบัติ เพื่ออนาคตจะก้าวต่อไปสู่วิปัสสนา

    ถึงโลกกว้างไกล ใครๆ รู้ โลกภายในลึกซึ้งอยู่ รู้บ้างไหม มองโลกภายนอก มองออกไป มองโลกภายใน คือใจเรา

    โลกภายใน ต้องฝึกมองอีกเยอะเลยเจ้าค่ะ ใครๆก็ถูกฝึกแต่ให้มองภายนอก

    ใช่ แต่ตาปัญญานี่ รู้ได้โดยไม่ต้องลืมตา

    ที่ดีคือรู้ได้โดยไม่ต้องดึงมาท่องอีก

    หลับตา ยังรู้ได้ในสิ่งที่คนลืมตา ไม่รู้ มันเป็นสิ่งที่แปลก แต่ก็เป็นความจริง
    ไม่ต้องหรอกจ๊ะ ถ้าคุณเห็นแล้วจากภายใน คุณรู้ใจของคุณเอง พระไตรปิฎกจะเป็นของคุณ อยู่กับคุณ คุณพูดอะไรก็จะไม่ผิดไปจากพระไตรปิฎกเลย ถ้าคุณเห็นจากภายใน
    <!-- End main-->
     

แชร์หน้านี้

Loading...