กรรมเก่า กรรมใหม่

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย rinnn, 1 ตุลาคม 2006.

  1. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,024
    <center>ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง กรรมทั้งหลาย ทั้งใหม่และเก่า (นวปุราณกัมม) กัมมนิโรธ(ความดับแห่งกรรม) และกัมนิโรธคามินีปฏิปทา (แนวปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งกรรม).

    ภิกษุ ท. ! กรรมเก่า (ปุราณกัมม) เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท. ! จักษุ(ตา) อันเธอทั้งหลายพึงเห็นว่าเป็นปุราณกรรม(กรรมเก่า) อภิสังขตะ(อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น), อภิสัญเจตยิต(อันปัจจัยทำให้เกิดความรู้สึกขึ้น), เวทนียะ(มีความรู้สึกต่ออารมณ์ได้).
    ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า กรรมเก่า.

    ภิกษุ ท. ! กรรมใหม่ (นวกัมม) เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท. ! ข้อที่บุคคลกระทำกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ในเวลา(กาล)บัดนี้ อันใด, อันนี้ เรียกว่า กรรมใหม่.

    ภิกษุ ท. ! นิโรธ(ความดับ)แห่งกรรม เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท. ! ข้อที่บุคคลถูกต้องวิมุตติ เพราะความดับแห่งกายกรรม(กรรมทางกาย) วจีกรรม(กรรมทางวาจา) มโนกรรม(กรรมทางใจ) อันใด, อันนี้ เรียกว่า กัมมนิโรธ (ความดับแห่งกรรม).

    ภิกษุ ท. ! แนวทางปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งกรรม (กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา) เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท. ! กัมมนิโรธคามินีปฏิปทานั้น คือ อริยอัฏฐังคิกมรรคนี้นั่นเอง ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ, สัมมาสังปัปปะ, สัมมาวาจา, สัมมากัมมันตะ, สัมมาอาชีวะ, สัมมาวายามะ, สัมมาสติ. สัมมาสมาธิ.
    ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า แนวปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งกรรม (กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา).

    *ภิกษุ ท. ! ด้วยประการดังนี้แล เป็นอันว่า กรรมเก่าเราได้แสดงแล้ว แก่เธอทั้งหลาย, กรรมใหม่ เราก็ได้แสดงแล้ว, กัมมนิโรธ เราก็ได้แสดงแล้ว, กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา เราก็ได้แสดงแล้ว.

    ภิกษุ ท. ! กิจอันใด ที่ศาสดาผู้เอ็นดู แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล, อาศัยความเอ็นดูแล้ว จะพึงทำแก่สาวกทั้งหลาย, กิจอันนั้น เราได้ทำแล้วแก่พวกเธอทั้งหลาย.
    ภิกษุ ท. ! นั่นโคนไม้ทั้งหลาย นั่นเรือนว่างทั้งหลาย. ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลายจงเพียรเผากิเลส อย่าได้ประมาท. พวกเธอทั้งหลายอย่าได้เป็นผู้ร้อนใจในภายหลังเลย. นี่แลเป็นวาจาพร่ำสอนพวกเธอทั้งหลายของเรา.
    (-สฬายตนะวรรค สังยุตตนิกาย ไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘/๑๖๖/๒๒๗- (อริย. ๑๓๙๙). </center>
    <!-- End main-->
     
  2. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,024
    กรรมที่เป็นเหตุให้ได้รับผลกระเสือกกระสน

    <center>ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงธรรมปริยาย อันแสดงความกระเสือกกระสนไปตามกรรม แก่พวกเธอ. เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟังให้ดี. ธรรมปริยายอันแสดงความกระเสือกกระสนไปตามกรรม (ของหมู่สัตว์) เป็นอย่างไรเล่า?

    ภิกษุ ท. ! สัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้มีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กระทำกรรมใดไว้ ดีก็ตามชั่วก็ตาม จักเป็นผู้รับผลแห่งกรรมนั้น.

    ภิกษุ ท. ! คนบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้มีปกติฆ่าสัตว์(ทำปาณาติบาต) หยาบช้า มีฝ่ามือเปื้อนเลือด มีแต่การทุบตี ไม่มีความเอ็นดู ในสัตว์มีชีวิต. เขากระเสือกกระสนด้วยกรรมทางกาย กระเสือกกระสนด้วยกรรมทางวาจา กระเสือกกระสนด้วยกรรมทางใจ.

    กายกรรมของเขาคด วจีกรรมของเขาคด มโนกรรมของเขาคด, คติของเขาคด อุปบัติ(การเข้าถึงภพ)ของเขาคด.

    ภิกษุ ท. ! สำหรับผู้มีคติคด มีอุปบัติคดนั้น เรากล่าวคติอย่างใดอย่างหนึ่ง แก่เขา คือ เหล่าสัตว์นรกมีทุกข์โดยส่วนเดียว, หรือว่า สัตว์เดรัจฉานผู้มีกำเนิดกระเสือกกระสน ได้แก่ งู แมลงป่อง ตะขาบ พังพอน แมว หนู นกเค้า หรือสัตว์เดรัจฉานเหล่าอื่น ที่เห็นมนุษย์แล้วกระเสือกกระสน.

    ภิกษุ ท. ! การเข้าถึงภพ ย่อมมีแก่ภูตสัตว์ด้วยอาการอย่างนี้, เขาทำกรรมใดไว้ เขาย่อมเข้าถึงภพ(อุปบัติ)ด้วยกรรมนั้น, ผัสสะทั้งหลาย ย่อมถูกต้องภูตสัตว์นั้นผู้เข้าถึงภพ(อุปบัติ)แล้ว.

    ภิกษุ ท. ! เรากล่าวว่า สัตว์ทั้งหลายเป็นทายาทแห่งกรรม ด้วยอาการอย่างนี้ .
    </center>
    <!-- End main-->
     
  3. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,024
    กรรม ๔ อย่าง (กรรมที่สิ้นกรรม)

    [SIZE=-1]ภิกษุ ท. ! กรรม ๔ อย่างเหล่านี้ เรากระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว ประกาศให้รู้ทั่วกัน.

    กรรม ๔ อย่าง อย่างไรเล่า? ภิกษุ ท. ! กรรมดำ มีวิบาก ดำ, ภิกษุ ท. ! กรรมขาว มีวิบาก ขาว, ภิกษุ ท. ! กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบาก ทั้งดำทั้งขาว, ภิกษุ ท. ! กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว เป็นไปเพื่อสิ้นกรรม ก็มีอยู่.

    ภิกษุ ท. ! กรรมดำ มีวิบากดำคือ บุคคลในกรณีนี้ ย่อมปรุงแต่งกายสังขาร อันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน, ย่อมปรุงแต่งวจีสังขารอันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน,
    ย่อมปรุงแต่งมโนสังขารอันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน

    ครั้นเขาปรุงแต่งสังขาร ดังนั้นแล้ว ย่อมเข้าถึงโลกอันเป็นกับด้วยความเบียดเบียน, ผัสสะทั้งหลาย อันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน ย่อมถูกต้องเขาซึ่งเป็นผู้เข้าถึงโลก อันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน.

    เมื่อผัสสะอันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนถูกต้องเขาแล้ว ย่อมเสวยค่าความรู้สึก (เวทนา) ที่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน อันเป็นทุกข์โดยส่วนเดียว. ดังเช่น พวกสัตว์นรก. ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า กรรมดำ มีวิบากดำ.

    ภิกษุ ท. ! กรรมขาว มีวิบากขาว เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคน ในกรณีนี้ ย่อมปรุงแต่งกาย กายสังขารย่อมปรุงแต่งกายสังขารอันไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน, ย่อมปรุงแต่งวจีสังขารอันไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน,
    ย่อมปรุงแต่งมโนสังขารอันไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน.

    ครั้นเขาปรุงแต่งสังขาร ดังนั้นแล้ว ย่อมเข้าถึงโลกอันไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน, ผัสสะทั้งหลายที่ไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน ย่อมถูกต้องเขาซึ่งเป็นผู้เข้าถึงโลก อันไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน.

    เมื่อผัสสะอันไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนถูกต้องเขาแล้ว ย่อมเสวยค่าความรู้สึก (เวทนา) ที่ไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน อันเป็นสุขโดยส่วนเดียว. ดังเช่น พวกเทพสุภกิณหา. ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า กรรมขาว มีวิบากขาว.

    ภิกษุ ท. ! กรรมทั้งดำทั้งขาว เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ ย่อมปรุงแต่งกาย สังขารอันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง, ย่อมปรุงแต่งวจีสังขารอันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง, ย่อมปรุงแต่งมโนสังขารอันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง.

    ครั้นเขาปรุงแต่งสังขาร ดังนั้นแล้ว ย่อมเข้าถึงโลกอันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง, ผัสสะทั้งหลายที่ไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ย่อมถูกต้องเขาซึ่งเป็นผู้เข้าถึงโลกอันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง.

    เมื่อผัสสะอันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ถูกต้องเขาแล้ว ย่อมเสวยค่าความรู้สึก (เวทนา) ที่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง อันเป็นค่าความรู้สึกที่เป็นสุขและทุกข์เจือกัน. ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว.

    ภิกษุ ท. ! กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมนั้น เป็นอย่างไรเล่า? คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.
    ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม.
    เหล่านี้แล กรรม ๔ อย่าง ที่เราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศให้รู้ทั่วกัน.(-จตุกกนิบาต อังคุตตรนิกาย เล่มที่ ๒๑/๓๒๐-/๒๓๗ (อริย. ๘๖๑).

    *กรรมให้ผลในอัตตภาพที่กระทำกรรม*
    ดูก่อนภิกษุ ท. ! เหตุทั้งหลหาย ๓ ประการเหล่านี้มีอยู่ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งกรรมทั้งหลาย. สามประการเหล่าไหนเล่า? สามประการคือ โลภะ เป็นเหตุเพื่อความเกิดขึ้นแห่งกรรมทั้งหลาย. โทสะ เป็นเหตุเพื่อความเกิดขึ้นแห่งกรรมทั้งหลาย. โมหะ เป็นเหตุเพื่อความเกิดขึ้นแห่งกรรมทั้งหลาย.

    ดูก่อนภิกษุ ท. ! กรรมอันบุคคลกระทำแล้วด้วยโลภะ มีโลภะเป็นเหตุ มีโลภะเป็นสมุทัย(เหตุให้เกิด)อันใด, กรรมอันนั้น ย่อมให้ผลในขันธ์ทั้งหลาย อันเป็นที่บังเกิดแห่งอัตตภาพของบุคคลนั้น. กรรมนั้น ให้ผลในอัตตภาพใด เขาย่อมเสวยวิบากแห่งกรรมนั้น ในอัตตภาพนั้นเอง ไม่ว่าจะเป็นไปอย่างในทิฏฐธรรม(ในขณะนั้น) หรือว่า เป็นไปอย่างอุปะปัชชะ(ในเวลาถัดมา) หรือว่า เป็นไปในอประปริยะยายะ(ในเวลาถัดมาอีก) ก็ตาม).

    ดูก่อนภิกษุ ท. ! กรรมอันบุคคลกระทำแล้วด้วยโทสะ มีโทสะเป็นเหตุ มีโทสะเป็นสมุทัย(เหตุให้เกิด)อันใด, กรรมอันนั้น ย่อมให้ผลในขันธ์ทั้งหลาย อันเป็นที่บังเกิดแห่งอัตตภาพของบุคคลนั้น. กรรมนั้น ให้ผลในอัตตภาพใด เขาย่อมเสวยวิบากแห่งกรรมนั้น ในอัตตภาพนั้นเอง ไม่ว่าจะเป็นไปอย่างในทิฏฐธรรม(ในขณะนั้น) หรือว่า เป็นไปอย่างอุปะปัชชะ(ในเวลาถัดมา) หรือว่า เป็นไปในอประปริยะยายะ(ในเวลาถัดมาอีก) ก็ตาม).

    ดูก่อนภิกษุ ท. ! กรรมอันบุคคลกระทำแล้วด้วยโมหะ มีโมหะเป็นเหตุ มีโมหะเป็นสมุทัย(เหตุให้เกิด)อันใด, กรรมอันนั้น ย่อมให้ผลในขันธ์ทั้งหลาย อันเป็นที่บังเกิดแห่งอัตตภาพของบุคคลนั้น. กรรมนั้น ให้ผลในอัตตภาพใด เขาย่อมเสวยวิบากแห่งกรรมนั้น ในอัตตภาพนั้นเอง ไม่ว่าจะเป็นไปอย่างในทิฏฐธรรม(ในขณะนั้น) หรือว่า เป็นไปอย่างอุปะปัชชะ(ในเวลาถัดมา) หรือว่า เป็นไปในอประปริยะยายะ(ในเวลาถัดมาอีก) ก็ตาม).


    ดูก่อนภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนเมล็ดพืชทั้งหลาย ที่ไม่แตกหัก ที่ไม่เน่า ที่ไม่ถูกทำลายท้วยลมและแดด เลือกเอาแต่เม็ดดี เก็บงำไว้ดี อันบุคคลหว่านไปแล้ว ในพื้นที่ซึ่งมีปริกรรมอันกระทำดีแล้ว ในเนื้อนาดี. อนึ่ง สายฝนก็ตกต้องตามฤดูกาล.

    ดูก่อนภิกษุ ท. ! เมล็ดพืชทั้งหลายเหล่านั้น จะพึงถึงซึ่งความเจริญ งอกงามไพบูลย์โดยแน่นอน ฉันใด, ดูก่อนภิกษุ ! ข้อนี้ก็ฉันนั้นคือ กรรมอันบุคคคลกระทำแล้วด้วยโลภะ เกิดจากโลภะ มีโลภะเป็นเหตุ มีโลภะเป็นสมุทัย อันใด, กรรมอันนั้น ย่อมให้ผลในขันธ์ทั้งหลาย อันเป็นที่บังเกิดแห่งอัตตภาพของบุคคลนั้น. กรรมนั้น ให้ผลในอัตตภาพใด เขาย่อมเสวยวิบากแห่งกรรมนั้น ในอัตตภาพนั้นเอง ไม่ว่าจะเป็นไปอย่างในทิฏฐธรรม หรือว่า เป็นไปอย่างในอุปะปัชชะ หรือว่า เป็นไปอย่างในอประปริยายะ ก็ตาม.

    กรรมอันบุคคคลกระทำแล้วด้วยโลภะ เกิดจากโทสะ มีโทสะเป็นเหตุ มีโทสะเป็นสมุทัย อันใด, กรรมอันนั้น ย่อมให้ผลในขันธ์ทั้งหลาย อันเป็นที่บังเกิดแห่งอัตตภาพของบุคคลนั้น. กรรมนั้น ให้ผลในอัตตภาพใด เขาย่อมเสวยวิบากแห่งกรรมนั้น ในอัตตภาพนั้นเอง ไม่ว่าจะเป็นไปอย่างในทิฏฐธรรม หรือว่า เป็นไปอย่างในอุปะปัชชะ หรือว่า เป็นไปอย่างในอประปริยายะ ก็ตาม.

    กรรมอันบุคคคลกระทำแล้วด้วยโลภะ เกิดจากโมหะ มีโมหะเป็นเหตุ มีโมหะเป็นสมุทัย อันใด, กรรมอันนั้น ย่อมให้ผลในขันธ์ทั้งหลาย อันเป็นที่บังเกิดแห่งอัตตภาพของบุคคลนั้น. กรรมนั้น ให้ผลในอัตตภาพใด เขาย่อมเสวยวิบากแห่งกรรมนั้น ในอัตตภาพนั้นเอง ไม่ว่าจะเป็นไปอย่างในทิฏฐธรรม หรือว่า เป็นไปอย่างในอุปะปัชชะ หรือว่า เป็นไปอย่างในอประปริยายะ ก็ตาม.

    ดูก่อนภิกษุ ท. ! เหตุทั้งหลาย ๓ ประการเหล่านี้แล เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งกรรมทั้งหลาย.

    ……………………………………นัยตรงข้าม………………………………………
    *ดูก่อนภิกษุ ท. ! เหตุทั้งหลหาย ๓ ประการเหล่านี้มีอยู่ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งกรรมทั้งหลาย. สามประการเหล่าไหนเล่า? สามประการคือ อโลภะ เป็นเหตุเพื่อความเกิดขึ้นแห่งกรรมทั้งหลาย. อโทสะ เป็นเหตุเพื่อความเกิดขึ้นแห่งกรรมทั้งหลาย. อโมหะ เป็นเหตุเพื่อความเกิดขึ้นแห่งกรรมทั้งหลาย.

    ดูก่อนภิกษุ ท. ! กรรมอันบุคคลกระทำแล้วด้วยอโลภะ มีอโลภะเป็นเหตุ มีอโลภะเป็นสมุทัย(เหตุให้เกิด)อันใด, เพราะปราศจากโลภะเสียแล้ว, ด้วยอาการอย่างนี้นี่เอง กรรมอันนั้น ย่อมเป็นกรรมอันบุคคลละขาดแล้ว มีรากอันถอนขึ้นแล้ว ถูกกระทำให้เหมือนตาลมีขั้วยอดอันด้วน ทำให้ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา.

    ดูก่อนภิกษุ ท. ! กรรมอันบุคคลกระทำแล้วด้วยอโทสะ มีอโทสะเป็นเหตุ มีอโทสะเป็นสมุทัย(เหตุให้เกิด)อันใด, เพราะปราศจากโทสะเสียแล้ว, ด้วยอาการอย่างนี้นี่เอง กรรมอันนั้น ย่อมเป็นกรรมอันบุคคลละขาดแล้ว มีรากอันถอนขึ้นแล้ว ถูกกระทำให้เหมือนตาลมีขั้วยอดอันด้วน ทำให้ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา.

    ดูก่อนภิกษุ ท. ! กรรมอันบุคคลกระทำแล้วด้วยอโมหะ มีอโมหะเป็นเหตุ มีอโมหะเป็นสมุทัย(เหตุให้เกิด)อันใด, เพราะปราศจากโมหะเสียแล้ว, ด้วยอาการอย่างนี้นี่เอง กรรมอันนั้น ย่อมเป็นกรรมอันบุคคลละขาดแล้ว มีรากอันถอนขึ้นแล้ว ถูกกระทำให้เหมือนตาลมีขั้วยอดอันด้วน ทำให้ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา.

    *ดูก่อนภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนเมล็ดพืชทั้งหลาย ที่ไม่แตกหัก ที่ไม่เน่า ที่ไม่ถูกทำลายท้วยลมและแดด เลือกเอาแต่เม็ดดี เก็บงำไว้ดี บุรุษพึงเผาเมล็ดพืชเหล่านั้นด้วยไฟ ครั้นเผาด้วยไฟแล้ว พึงกระทำให้เป็นผงขี้ถ้า ครั้นกระทำให้เป็นผงขี้เถ้าแล้ว พึงโปรยไปในกระแสลมอันพัดจัด หรือว่าพึงลอยไปในกระแสน้ำอันเชี่ยวในแม่น้ำ. เมล็ดพืชทั้งหลายเหล่านั้น เป็นพืชมีมูลอันตัดขาดแล้ว ถูกกระทำให้เหมือนตาลมีขั้วยอดอันด้วน ทำให้ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา โดยแน่นอน นี้ฉันใด,

    ดูก่อนภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น กล่าวคือ กรรมอันบุคคลกระทำแล้วด้วยอโลภะ มีอโลภะเป็นเหตุ มีอโลภะเป็นสมุทัย(เหตุให้เกิด)อันใด, เพราะปราศจากโลภะเสียแล้ว, ด้วยอาการอย่างนี้นี่เอง กรรมอันนั้น ย่อมเป็นกรรมอันบุคคลละขาดแล้ว มีรากอันถอนขึ้นแล้ว ถูกกระทำให้เหมือนตาลมีขั้วยอดอันด้วน ทำให้ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา.

    กรรมอันบุคคลกระทำแล้วด้วยอโทสะ มีอโทสะเป็นเหตุ มีอโทสะเป็นสมุทัย(เหตุให้เกิด)อันใด, เพราะปราศจากโทสะเสียแล้ว, ด้วยอาการอย่างนี้นี่เอง กรรมอันนั้น ย่อมเป็นกรรมอันบุคคลละขาดแล้ว มีรากอันถอนขึ้นแล้ว ถูกกระทำให้เหมือนตาลมีขั้วยอดอันด้วน ทำให้ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา.

    กรรมอันบุคคลกระทำแล้วด้วยอโมหะ มีอโมหะเป็นเหตุ มีอโมหะเป็นสมุทัย(เหตุให้เกิด)อันใด, เพราะปราศจากโมหะเสียแล้ว, ด้วยอาการอย่างนี้นี่เอง กรรมอันนั้น ย่อมเป็นกรรมอันบุคคลละขาดแล้ว มีรากอันถอนขึ้นแล้ว ถูกกระทำให้เหมือนตาลมีขั้วยอดอันด้วน ทำให้ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา.

    ดูก่อนภิกษุ ท. ! เหตุทั้งหลาย ๓ ประการเหล่านี้แล เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งกรรมทั้งหลาย.

    *กรรมอันใด อันผู้กระทำเห็นอยู่ว่า เกิดแต่โลภะ เกิดแต่โทสะ เกิดแต่โมหะ ก็ตาม, กระทำแล้ว น้อยก็ตาม มากก็ตาม, กรรมนั้น อันบุคคลนั้น พึงเสวยผลในอัตตภาพนี้นั่นเทียว. วัตถุอื่นหามีไม่ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ประจักษ์ ซึ่งโลภะ ซึ่งโทสะ ซึ่งโมหะ กระทำวิชชาให้เกิดขึ้นอยู่ ย่อมละทุคติทั้งหลายทั้งปวงได้*.
    (บาลี เทวทูตวรรค ติกกนิบาต อังคุตตรนิกาย ไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ หน้า ๑๗๑ ข้อ ๔๗๓(ปฏิจจ. ๑๓๑).

    "คำว่า วัตถุ หมายถึงพื้นที่ที่กรรมจะให้ผลแก่ผู้กระทำ ได้แก่ขันธ์ทั้งหลาย
    อันเป็นที่ตั้งแห่งอัตตภาพของบุคคล ผู้ทำกรรมและเสวยกรรมนั่นเอง. ไม่มีความหมายที่เล็งไปทางกาลเวลา ว่าชาตินี้ หรือชาติหน้าแต่ประการใด".

    ปราชญ์ผู้รวบรวม ได้ให้ข้อสังเกตไว้ว่า คำว่า ทิฏฐธรรม, คำว่า อุปะปัชชะ, และคำว่า อประปริยายะ. (บาลีว่า ทิฏฌบวะ ธัมเม อุปปัชเช วา อปเร วา ปริยาเย) สามคำนี้ เรารู้จักกันทั่วไปโดยคำว่า ทิฏฐธรรมเวทนียะ อุปปัชชะเวทนียะ และ อปราปรเวทนียะ ซึ่งถือเอาอย่างแรกว่า ชาตินี้ก่อนตาย สองอย่างหลัง หมายถึงในชาติต่อๆไป หลังจากตายแล้ว.

    ถ้าพิจารณาตามพระสูตรนี้ จะเห็นว่าไม่มีเวลามาคั่น ไม่มีพื้นที่อื่น เวลาอื่นให้เป็นกรรมอื่น ไม่มีชาติอื่น หลังจากตายแล้วแต่ประการใด. (คัดมาโดยย่อ).

    [/SIZE]<!-- End main-->
     
  4. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,024
    กรรมให้ผลในอัตตภาพที่กระทำกรรม

    ดูก่อนภิกษุ ท. ! เหตุทั้งหลาย ๓ ประการเหล่านี้มีอยู่ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งกรรมทั้งหลาย. สามประการอย่างไรเล่า? สามประการคือ โลภะ เป็นเหตุเพื่อความเกิดขึ้นแห่กรรมทั้งหลาย โทสะ เป็นเหตุเพื่อความเกิดขึ้นแห่งกรรมทั้งหลาย โมหะ เป็นเหตุเพื่อความเกิดขึ้นแห่งกรรมทั้งหลาย.

    ดูก่อนภิกษุ ท. ! กรรมอันบุคคลกระทำแล้วด้วยโลภะ เกิดจากโลภะ มีโลภะเป็นเหตุ มีโลภะเป็นสมุทัย(เหตุให้เกิด) อันใด, กรรมอันนั้น ย่อมให้ผลทั้งหลาย อันเป็นที่บังเกิดแห่งอัตตภาพของบุคคลนั้น.

    กรรมนั้นให้ผลในอัตตภาพใด เขาย่อมเสวยวิบากแห่งกรรมนั้น ในอัตตภาพนั้นเอง ไม่ว่าจะเป็นไปในทิฏฐธรรม(ทันที) หรือว่าเป็นไปอย่างในอุปปัชชะ(เวลาถัดมา) หรือว่าเป็นไปอย่างในอประปริยายะ(เวลาถัดมาอีก) ก็ตาม.

    ดูก่อนภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนเมล็ดพืชทั้งหลายที่ไม่แตกหัก ที่ไม่เน่า ที่ไม่ถูกทำลายด้วยลมแลแดด เลือกเอาแต่เม็ดดี เก็บงำไว้ดี อันบุคคลหว่านไปแล้ว ในพื้นที่ซึ่งมีปริกรรมอันกระทำดีแล้ว ในเนื้อนาดี อนึ่ง สายฝนก็ตกต้องตามฤดูกาล.

    ดูก่อนภิกษุ ท. ! เมล็ดพืชทั้งหลายเหล่านั้น จะพึงถึงซึ่งความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์โดยแน่นอน ฉันใด, ดูก่อนภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น คือ กรรมอันบุคคลกระทำแล้วด้วยโลภะ เกิดจากโลภะ มีโลภะเป็นเหตุ มีโลภะเป็นสมุทัย อันใด, กรรมอันนั้น ย่อมให้ผลในขันธ์ทั้งหลาย อันเป็นที่บังเกิดแห่งอัตตภาพของบุคคลนั้น.

    กรรมนั้น ให้ผลในอัตตภาพใด เขาย่อมเสวยวิบาก(ผล)แห่งกรรมนั้น ในอัตตภาพนั้นเอง. ไม่ว่าจะเป็นไปในทิฏฐธรรม หรือว่า เป็นไปอย่างในอุปะปัชชะ หรือว่า เป็นไปอย่างใน อประปริยายะ ก็ตาม.

    กรรมอันบุคคลกระทำแล้วด้วยโทสะ เกิดจากโทสะ มีโทสะเป็นเหตุ มีโทสะเป็นสมุทัย อันใด, กรรมอันนั้น ย่อมให้ผลในขันธ์ทั้งหลาย อันเป็นที่บังเกิดแห่งอัตตภาพของบุคคลนั้น.

    กรรมนั้น ให้ผลในอัตตภาพใด เขาย่อมเสวยวิบาก(ผล)แห่งกรรมนั้น ในอัตตภาพนั้นเอง. ไม่ว่าจะเป็นไปในทิฏฐธรรม หรือว่า เป็นไปอย่างในอุปะปัชชะ หรือว่า เป็นไปอย่างใน อประปริยายะ ก็ตาม.

    กรรมอันบุคคลกระทำแล้วด้วยโมหะ เกิดจากโมหะ มีโมหะเป็นเหตุ มีโมหะเป็นสมุทัย อันใด, กรรมอันนั้น ย่อมให้ผลในขันธ์ทั้งหลาย อันเป็นที่บังเกิดแห่งอัตตภาพของบุคคลนั้น.

    กรรมนั้น ให้ผลในอัตตภาพใด เขาย่อมเสวยวิบาก(ผล)แห่งกรรมนั้น ในอัตตภาพนั้นเอง. ไม่ว่าจะเป็นไปในทิฏฐธรรม หรือว่า เป็นไปอย่างในอุปะปัชชะ หรือว่า เป็นไปอย่างใน อประปริยายะ ก็ตาม.

    ดูก่อนภิกษุ ท. ! เหตุทั้งหลาย ๓ ประการเหล่านี้แล เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งกรรมทั้งหลาย.

    ……………………………………………………………………………………………

    ดูก่อนภิกษุ ท. ! เหตุทั้งหลาย ๓ ประการเหล่านี้มีอยู่ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งกรรมทั้งหลาย. สามประการอย่างไรเล่า? สามประการคือ อโลภะ เป็นเหตุเพื่อความเกิดขึ้นแห่กรรมทั้งหลาย อโทสะ เป็นเหตุเพื่อความเกิดขึ้นแห่งกรรมทั้งหลาย อโมหะเป็นเหตุเพื่อความเกิดขึ้นแห่งกรรมทั้งหลาย.

    ดูก่อนภิกษุ ท. ! กรรมอันบุคคลกระทำแล้วด้วยอโลภะ เกิดจากอโลภะ มีอโลภะเป็นเหตุ มีอโลภะเป็นสมุทัย(เหตุให้เกิด) อันใด, เพราะปราศจากโลภะเสียแล้ว, ด้วยอาการอย่างนี้เอง กรรมอันนั้น ย่อมเป็นกรรมอันบุคคลละขาดแล้ว มีรากอันถอนขึ้นแล้ว ถูกกระทำให้เหมือนตาลมีขั้วยอดอันด้วน ทำให้ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา.

    ดูก่อนภิกษุ ท. ! กรรมอันบุคคลกระทำแล้วด้วยอโทสะ เกิดจากอโทสะ มีอโทสะเป็นเหตุ มีอโทสะเป็นสมุทัย(เหตุให้เกิด) อันใด, เพราะปราศจากโทสะเสียแล้ว, ด้วยอาการอย่างนี้เอง กรรมอันนั้น ย่อมเป็นกรรมอันบุคคลละขาดแล้ว มีรากอันถอนขึ้น
    แล้ว ถูกกระทำให้เหมือนตาลมีขั้วยอดอันด้วน ทำให้ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา.


    ดูก่อนภิกษุ ท. ! กรรมอันบุคคลกระทำแล้วด้วยอโมหะ เกิดจากอโมหะ มีอโมหะเป็นเหตุ มีอโมหะเป็นสมุทัย(เหตุให้เกิด) อันใด, เพราะปราศจากโมหะเสียแล้ว, ด้วยอาการอย่างนี้เอง กรรมอันนั้น ย่อมเป็นกรรมอันบุคคลละขาดแล้ว มีรากอันถอนขึ้นแล้ว ถูกกระทำให้เหมือนตาลมีขั้วยอดอันด้วน ทำให้ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา.

    ดูก่อนภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนเมล็ดพืชทั้งหลายที่ไม่แตกหัก ที่ไม่เน่า ที่ไม่ถูกทำลายด้วยลมแลแดด เลือกเอาแต่เม็ดดี เก็บงำไว้ดี. บุรุษพึงเผาเมล็ดพืชนั้นด้วยไฟ ครั้นเผาด้วยไฟแล้ว พึงกระทำให้เป็นผงขี้เถ้า, ครั้นทำให้เป็นผงขี้เถ้าแล้ว พึงโปรยไปในกระแสลมอันพัดจัด หรือว่าพึงลอยไปในกระแสน้ำอันเชี่ยวในแม่น้ำ.

    เมล็ดพืชทั้งหลายเล่านั้นเป็นพืชมีมูลอันขาดแล้ว ถูกกระทำให้เหมือนตาลมีขั้วยอดอันด้วน ทำให้ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา โดยแน่นอน นี้ฉันใด

    ดูก่อนภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น กล่าวคือ กรรมอันบุคคลกระทำแล้วด้วยอโลภะ เกิดจากอโลภะ มีอโลภะเป็นเหตุ มีอโลภะเป็นสมุทัย อันใด, , เพราะปราศจากโลภะเสียแล้ว, ด้วยอาการอย่างนี้เอง กรรมอันนั้น ย่อมเป็นกรรมอันบุคคลละขาดแล้ว มีรากอันถอนขึ้นแล้ว ถูกกระทำให้เหมือนตาลมีขั้วยอดอันด้วน ทำให้ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา.

    กรรมอันบุคคลกระทำแล้วด้วยอโทสะ เกิดจากอโทสะ มีอโทสะเป็นเหตุ มีอโทสะเป็นสมุทัย อันใด, เพราะปราศจากโลภะเสียแล้ว, ด้วยอาการอย่างนี้เอง กรรมอันนั้น ย่อมเป็นกรรมอันบุคคลละขาดแล้ว มีรากอันถอนขึ้นแล้ว ถูกกระทำให้เหมือนตาลมีขั้วยอดอันด้วน ทำให้ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา.

    กรรมอันบุคคลกระทำแล้วด้วยอโมหะ เกิดจากอโมหะ มีอโมหะเป็นเหตุ มีอโมหะเป็นสมุทัย อันใด, เพราะปราศจากโลภะเสียแล้ว, ด้วยอาการอย่างนี้เอง กรรมอันนั้น ย่อมเป็นกรรมอันบุคคลละขาดแล้ว มีรากอันถอนขึ้นแล้ว ถูกกระทำให้เหมือนตาลมีขั้วยอดอันด้วน ทำให้ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา.

    ดูก่อนภิกษุ ท. ! เหตุทั้งหลาย ๓ ประการเหล่านี้แล เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งกรรมทั้งหลาย.

    กรรมใด อันผู้กระทำเห็นอยู่ว่า เกิดแต่โลภะ เกิดแต่โทสะ เกิดแต่โมหะ ก็ตาม, กระทำแล้ว น้อยก็ตาม มากก็ตาม, กรรมนั้น อันบุคคลนั้นเสวยผลในอัตตภาพนี้นั่นเทียว. วัตถุ(พื้นที่)อื่น หามีไม่, เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ประจักษ์ ซึ่งโลภะ โทสะ โมหะ กระทำวิชชาให้เกิดขึ้นอยู่ ย่อมละทุคติทั้งหลายทั้งปวงได้.
    (บาลี เทวทูตวรรค ติก. อัง. ไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐/๑๗๑/๔๗๓ (ปฏิจจ. ๑๓๑).

    (คำว่าวัตถุในที่นี้ หมายถึงพื้นที่ ที่กรรมจะให้ผลแก่ผู้กระทำ ได้แก่ขันธ์ทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งอัตตภาพของบุคคลผู้กระกรรมแลเสวยกรรมนั้นนั่นเอง ไม่มีความหมายที่ข้ามกาลเวลา ว่าชาตินี้ หรือชาติหน้า แต่ประการใด).

    *หมายเหตุผู้รวบรวม*
    พึงสังเกตให้เห็นว่า คำว่า ทิฏฐธรรม, คำว่า อุปะปัชชะ, และคำว่า อประปริยายะ นั้น = บาลีว่า ทิฏเฐวะ ธัมเม อุปะปัชเช วา อปเร วา ปริยาเย.. สามคำนี้เรารู้จักกันทั่วไปว่าโดยคำว่า ทิฏฐธรรมเวทนียะ อุปะปัชชะเวทนียะ และอปราเวทนียะ. และถือเอาความหมายกันว่า อย่างแรกหมายถึง เวลาในชาตินี้ก่อนตาย, สองอย่างหลัง หมายถึงในชาติต่อๆไป หลังจากตายแล้ว.

    ส่วนบาลีนี้ แสดงให้เห็นว่า ชาติ ทั้ง ๓ ชนิดนี้ ล้วนแต่เป็นไปในชีวิตนี้ หรือในอัตตภาพนี้ ตามความหมายของคำว่า ชาติ ในปฏิจจสมุปบาท กล่าวคือ เกิดอุปาทานหรือความทุกข์ครั้งหนึ่งก็ชาติหนึ่ง ซึ่งวันหนึ่งเพียงวันเดียว ก็มีได้หลายสิบชาติ, ดังนั้นคำว่า ทิฏฐธรรม หมายถึงทันที, อุปะปัชชะ หมายถึงเวลาต่อมา, อประปริยายะ หมายถึงเวลาต่อมาอีก คือหลังจากเกิดชาติที่ ๒ ชาติที่ ๓ ชาติที่ ๔ ตามนัยะแห่งปฏิจจสมุปบาทในเวลาถัดมานั่นเอง แม้อาจจะเกิดติดๆกันไปในชั่วโมงนั้น หรือหลายวันต่อมา หรือหลายปีต่อมา ซึ่งเป็นระยะเวลาในอัตตภาพนี่เอง ไม่จำเป็นจะต้องหมายความถึงต่อเมื่อตายแล้วเหมือนดังเข้าใจกัน.

    เรื่องต่างๆหลังจากตายแล้ว ยังไม่ต้องพูดถึง เพราะว่าในอัตตภาพนี้อัตตภาพเดียว ก็ยังมีชาติให้เรากระทำกรรม และเสวยผลกรรมตั้งร้อยชาติพันชาติ หมื่นชาติ แสนชาติ ล้านชาติ อยู่แล้ว. ขอให้สังเกตความหมายของคำว่าชาติ ให้ตรงตามความหมายแห่งภาษาปฏิจจสมุปบาท หรือภาษาปรมัตถ์ ดังกล่าว.

    ถึงแม้ภาษาศีลธรรมที่ใช้ในการสอนศีลธรรม ที่กล่าวถึงการระลึกชาติจำนวนนับไม่ไหว ก็ยังอาจเล็งถึงชาติในความหมายนี้ได้อยู่นั่นเอง ดังนั้น น่าจะเข้าใจความหมายของคำว่า "ชาติ" และความหมายของคำว่า ทิฏฐธรรม, คำว่า อุปะปัชชะเวทนียะ, คำว่า อประปริยายะเวทนียะ ให้ถูกต้องตามพุทธประสงค์กันเสียที.

    สรุปแล้ว มีความหมายว่า คำว่า ทิฏฐธรรม คือ ทันที, คำว่า สัมปรายะ (ซึ่งรวมทั้ง อุปะปัชชะและอปริยายะ) คือในเวลาถัดมา ซึ่งจะนานเท่าใดก็ได้.
    <!-- End main-->
     
  5. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,024
    ทรงแจ่มแจ้งแทงตลอดแห่งกรรม

    <table border="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody> <tr> <td><!--Last Update : 6 มีนาคม 2549 16:42:02 น.--> ทรงแจ่มแจ้งแทงตลอดแห่งกรรม
    <!-- Main -->[SIZE=-1]ภิกษุ ท. ! เรายังไม่รู้แจ้งเฉพาะซึ่งกรรม อันสัตว์กระทำสั่งสมแล้วด้วยเจตนา ก็ยังไม่กล่าวภาวะความสิ้นสุดของกรรมนั้น ไม่ว่าจะเป็นกรรมให้ผลในทิฏฐธรรม(ทันที) ในอุปะปัชชะ(เวลาต่อมา) หรือในอประปริยายะ(เวลาต่อมาอีก).

    ภิกษุ ท. ! เรายังไม่รู้แจ้งพร้อมเฉพาะซึ่งกรรม อันสัตว์กระทำสั่งสมแล้วด้วยเจตนา ก็ยังไม่กล่าวซึ่งการกระทำที่สุดแห่งทุกข์.

    ภิกษุ ท. ! ในข้อนั้น การถึงทั่วมีประการต่างๆซึ่งโทษแห่งการงานอันเป็นไปทางกาย อันประกอบด้วยเจตนาอันเป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นผล มีอยู่ ๓ อย่าง.

    ภิกษุ ท. ! ในข้อนั้น การถึงทั่วมีประการต่างๆซึ่งโทษแห่งการงานอันเป็นไปทางวาจา อันประกอบด้วยเจตนาอันเป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นผล มีอยู่ ๔ อย่าง.

    ภิกษุ ท. ! ในข้อนั้น การถึงทั่วมีประการต่างๆซึ่งโทษแห่งการงานอันเป็นไปทางใจ อันประกอบด้วยเจตนาอันเป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นผล มีอยู่ ๓ อย่าง.

    *การถึงทั่วมีประการต่างๆซึ่งโทษแห่งการงานอันเป็นไปทางกาย อันประกอบด้วยเจตนาอันเป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นผล มีอยู่ ๓ อย่าง คือ เจตนาฆ่าสัตว์ เจตนาลักทรัพย์ เจตนาประพฤติผิดในกาม.

    การถึงทั่วมีประการต่างๆซึ่งโทษแห่งการงานอันเป็นไปทางวาจา อันประกอบด้วยเจตนาอันเป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นผล มีอยู่ ๔ อย่าง คือ เจตนาพูดเท็จ เจตนาพูดส่อเสียด เจตนาพูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ.

    การถึงทั่วมีประการต่างๆซึ่งโทษแห่งการงานอันเป็นไปทางใจ อันประกอบด้วยเจตนาอันเป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นผล มีอยู่ ๓ อย่าง คือ โลภ(อภิชฌาโลภเพ่งเล็ง), โกรธ(พยาบาท), หลง (มิจฉาทิฏฐิ (มีความเห็นผิด).
    *หลักกรรมทางพุทธศาสนา* (ตรัสอธิบาย ตายไปสู่นรก).
    อานนท์ ! บรรดาบุคคลเหล่านั้น บุคคลใดในโลกแห่งปัจจุบันนี้ เป็นผู้กระทำปานาติบาต กระทำอทินนาทาน ประพฤติผิดในกาม.
    พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ.
    มากไปด้วยอภิชฌา มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ.
    ภายหลังแต่การตายเพราะการทำลายแห่งกาย ย่อมเข้าถึงทุคติวินิบาตนรก ข้อนี้เป็นเพราะในกาลก่อน เขาได้กระทำบาปกรรมอันมีทุกข์เป็นผลไว้, หรือว่า ในกาลภายหลัง เขาได้กระทำบาปกรรมอันเป็นทุกข์มีผลไว้, หรือว่า ในเวลาจะตาย เขาเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยมิจฉาทิฏฐิ เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้น ภายหลังแต่การตายเพราะการทำลายแห่งกาย ย่อมเข้าถึงทุคติวินิบาตนรก.

    ส่วนข้อที่เขา เป็นผู้กระทำปานาติบาต กระทำอทินนาทาน ประพฤติผิดในกาม.
    พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ.
    มากไปด้วยอภิชฌา มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ ในโลกแห่งปัจจุบันนี้นั้น เขาย่อมเสวยซึ่งวิบากแห่งกรรมนั้น ในกาลอันเป็นทิฏฐธรรม(ทันที)บ้าง, หรือในกาลอันเป็นอุปะปัชชะ(เวลาต่อมา)บ้าง, หรือในกาลอันเป็นอประปริยายะ(เวลาต่อมาอีก)บ้าง.

    *ตรัสอธิบาย ตายไปสู่สวรรค์*
    อานนท์ ! บรรดาบุคคลเหล่านั้น บุคคลใดในโลกแห่งปัจจุบันนี้ เป็นผู้กระทำปานาติบาต กระทำอทินนาทาน ประพฤติผิดในกาม.
    พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ.
    มากไปด้วยอภิชฌา มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ.
    ภายหลังแต่การตายเพราะการทำลายแห่งกาย ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ข้อนี้เป็นเพราะในกาลก่อน เขาได้กระทำกัลยาณกรรมอันมีสุขเป็นผลไว้, หรือว่า ในกาลภายหลัง เขาได้กระทำกัลยาณกรรมอันเป็นสุขมีผลไว้, หรือว่า ในเวลาจะตาย เขาเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยสัมมาทิฏฐิ เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้น ภายหลังแต่การตายเพราะการทำลายแห่งกาย ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์.

    ส่วนข้อที่เขา เป็นผู้กระทำปานาติบาต กระทำอทินนาทาน ประพฤติผิดในกาม.
    พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ.
    มากไปด้วยอภิชฌา มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ ในโลกแห่งปัจจุบันนี้นั้น เขาย่อมเสวยซึ่งวิบากแห่งกรรมนั้น ในกาลอันเป็นทิฏฐธรรม(ทันที)บ้าง, หรือในกาลอันเป็นอุปะปัชชะ(เวลาต่อมา)บ้าง, หรือในกาลอันเป็นอประปริยายะ(เวลาต่อมาอีก)บ้าง.

    *ตรัสอธิบาย เว้นจากบาปแล้ว ตายไปสู่สวรรค์*
    อานนท์ ! บรรดาบุคคลเหล่านั้น บุคคลใดในโลกแห่งปัจจุบันนี้ เป็นผู้กระทำปานาติบาต กระทำอทินนาทาน ประพฤติผิดในกาม.
    พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ.
    มากไปด้วยอภิชฌา มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ.
    ภายหลังแต่การตายเพราะการทำลายแห่งกาย ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ข้อนี้เป็นเพราะในกาลก่อน เขาได้กระทำกัลยาณกรรมอันมีสุขเป็นผลไว้, หรือว่า ในกาลภายหลัง เขาได้กระทำกัลยาณกรรมอันมีสุขเป็นผลไว้, หรือว่า ในเวลาจะตาย เขาเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยสัมมาทิฏฐิ เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้น ภายหลังแต่การตายเพราะการทำลายแห่งกาย ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์.

    ส่วนข้อที่เขา เป็นผู้กระทำปานาติบาต กระทำอทินนาทาน ประพฤติผิดในกาม.
    พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ.
    มากไปด้วยอภิชฌา มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ ในโลกแห่งปัจจุบันนี้นั้น เขาย่อมเสวยซึ่งวิบากแห่งกรรมนั้น ในกาลอันเป็นทิฏฐธรรม(ทันที)บ้าง, หรือในกาลอันเป็นอุปะปัชชะ(เวลาต่อมา)บ้าง, หรือในกาลอันเป็นอประปริยายะ(เวลาต่อมาอีก)บ้าง.

    *ตรัสอธิบาย เว้นจากบาปแล้ว ตายไปสู่นรก*
    อานนท์ ! บรรดาบุคคลเหล่านั้น บุคคลใดในโลกแห่งปัจจุบันนี้ เป็นผู้กระทำปานาติบาต กระทำอทินนาทาน ประพฤติผิดในกาม.
    พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ.
    มากไปด้วยอภิชฌา มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ.
    ภายหลังแต่การตายเพราะการทำลายแห่งกาย ย่อมเข้าถึงทุคติวนิบาตนรก ข้อนี้เป็นเพราะในกาลก่อน เขาได้กระทำบาปกรรมอันมีทุกข์เป็นผลไว้, หรือว่า ในกาลภายหลัง เขาได้กระทำบาปกรรมอันมีทุกข์เป็นผลไว้, หรือว่า ในเวลาจะตาย เขาเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยมิจฉาทิฏฐิ เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้น ภายหลังแต่การตายเพราะการทำลายแห่งกาย ย่อมเข้าถึงทุคติวินิบาตนรก.

    ส่วนข้อที่เขา เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต เว้นขาดจากอทินนาทาน เว้นขากจากประพฤติผิดในกาม.
    เว้นขาดจากพูดเท็จ เว้นขาดจากพูดส่อเสียด เว้นขาดจากพูดคำหยาบ เว้นขาดจากพูดเพ้อเจ้อ.
    ไม่เป็นผู้มากไปด้วยอภิชฌา ไม่มีมีจิตพยาบาท เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ในโลกแห่งปัจจุบันนี้นั้น เขาย่อมเสวยซึ่งวิบากแห่งกรรมนั้น ในกาลอันเป็นทิฏฐธรรม(ทันที)บ้าง, หรือในกาลอันเป็นอุปะปัชชะ(เวลาต่อมา)บ้าง, หรือในกาลอันเป็นอประปริยายะ(เวลาต่อมาอีก)บ้าง.

    อานนท์ ! ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้แล กรรมที่ไม่ควรทำแสดงตัวออกมาเป็นกรรมที่ไม่ควรทำก็มี, กรรมไม่ควรทำ แสดงตัวออกมาเป็นกรรมที่ควรทำก็มี, กรรมที่ควรทำ แสดงตัวออกมาเป็นกรรมที่ไม่ควรทำก็มี, ดังนี้แล.
    (บาลี มหากัมมวิภังคสูตร อุปริปัณณาสก์ มัชฌิมนิกาย. ๑๔/๓๙๔/๖๐๘ (พุทธ. ๔๐๘).

    [/SIZE]<!-- End main-->
    </td></tr></tbody></table>
     
  6. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,024
    การสิ้นกรรม ! ปฏิจจ.ในรูปปฏิบัติ

    [SIZE=-1]ดูก่อนวัปปะ ! ถ้าท่านจะพึงยินยอมข้อที่ควรยินยอม และคัดค้านข้อที่ควรคัดค้าน ต่อเรา. อนึ่ง ท่านไม่รู้ความแห่งภาษิตของเราข้อใด ท่านพึงซักถามเราในข้อนั้นให้ยิ่งขึ้นไปว่า ข้อนี้เป็นอย่างไร เนื้อความแห่งภาษิตข้อนี้ เป็นอย่างไรเล่าท่านผู้เจริญ? ดังนี้แล้วไซร้ การสนทนาระหว่างเราทั้งสอง ก็จะพึงมีได้.
    วัปปะศากยะยินยอมแล้ว พระองค์ตรัสข้อความดังต่อไปนี้ :-

    ดูก่อนวัปปะ ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร? คืออาสวะทั้งหลายเหล่าใดเกิดขึ้นเพราะกายสมารัมภะเป็นปัจจัย แล้วทำความคับแค้นเร่าร้อน.เมื่อบุคคลเว้นขาดแล้วจากกายสมารัมภะ อาสวะทั้งหลาย อันทำความคับแค้นเร่าร้อนเหล่านั้น ย่อมไม่มี. บุคคลนั้น ย่อมไม่ทำซึ่งกรรมใหม่ด้วย และย่อมกระทำกรรมเก่าที่ได้ถูกต้องมาแล้วให้สิ้นไปด้วย.
    "(สมารัมภะ คือปรารภการกระทำด้วยตัณหา(ความทะยานอยาก)".

    ปฏิปทาเป็นกลไกให้สิ้นกรรมอย่างนี้ เป็นธรรมอันผู้ปฏิบัติพึงเห็นเอง ไม่รู้จักเก่า ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกกันมาดู พึงน้อมเข้ามาในตน เป็นธรรมที่ผู้รู้ทั้งหลายพึงรู้ได้เฉพาะตน.

    อาสวะทั้งหลาย อันเป็นไปเพื่อทุกขเวทนา จะพึงไหลไปตามบุรุษ ในกาลต่อไปในเบื้องหน้า เนื่องมาแต่ฐานะใดเป็นเหตุ ท่านย่อมรู้ซึ่งฐานะนั้นหรือไม่? "ข้อนั้น หามิได้พระเจ้าข้า".

    *ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร?คืออาสวะทั้งหลายเหล่าใดเกิดเพราะวจีสมารัมภะเป็นปัจจัย แล้วทำความคับแค้นเร่าร้อน, เมื่อบุคคลเว้นขาดแล้วจากวจีสมารัมภะ, อาสวะทั้งหลาย อันทำความคับแค้นเร่าร้อนเหล่านั้น ย่อมไม่มี. บุคคลนั้น ย่อมไม่ทำกระทำซึ่งกรรมใหม่ด้วย และย่อมทำกรรมเก่าที่ได้ถูกต้องมาแล้วให้สิ้นไปด้วย.

    ปฏิปทาเป็นกลไกให้สิ้นกรรมอย่างนี้ เป็นธรรมอันผู้ปฏิบัติพึงเห็นเอง ไม่รู้จักเก่า ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกกันมาดู พึงน้อมเข้ามาในตน เป็นธรรมอันผู้รู้ทั้งหลายพึงรูได้เฉพาะตน.

    อาสวะทั้ง อันเป็นไปเพื่อทุกขเวทนา จะพึงไหลไปตามบุรุษ ในกาลต่อไปในเบื้องหน้า เนื่องมาแต่ฐานะใดเป็นเหตุ ท่านย่อมรู้ซึ่งฐานะนั้นหรือไม่? "ข้อนั้น หามิได้พระเจ้าข้า".

    *ท่านจะสำคัญข้อนี้ว่าอย่างไร? คือ อาสวะทั้งหลายเหล่าใดเกิดขึ้นเพราะมโนสมารัมภะเป็นปัจจัย แล้วทำความคับแค้นเร่าร้อน, เมื่อบุคคลเว้นขาดแล้วจากมโนสมารัมภะ, อาสวะทั้งหลาย อันทำความคับแค้นเร่าร้อนเหล่านั้น ย่อมไม่มี. บุคคลนั้น ย่อมไม่ทำกระทำซึ่งกรรมใหม่ด้วย และย่อมกระทำกรรมเก่าที่ได้ถูกต้องมาแล้วให้สิ้นไปด้วย.

    ปฏิปทาเป็นกลไกให้สิ้นกรรมอย่างนี้ เป็นธรรมอันผู้ปฏิบัติพึงเห็นเอง ไม่รู้จักเก่า ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกกันมาดู พึงน้อมเข้ามาในตน เป็นธรรมที่ผู้รู้ทั้งหลายรู้ได้เฉพาะตน.

    อาสวะทั้งหลาย อันเป็นไปเพื่อทุกขเวทนา จะพึงไหลไปตามบุรุษในกาลต่อไปเบื้องหน้า เนื่องมาแต่ฐานะใดเป็นเหตุ ท่านย่อมรู้ซึ่งฐานะนั้นหรือไม่? "ข้อนั้น หามิได้พระเจ้าข้า".

    *ท่านจะสำคัญข้อนี้ว่าอย่างไร? คืออาสวะทั้งหลายเหล่าใด เกิดขึ้นเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย แล้วทำความคับแค้นเร่าร้อน, เพราะการเกิดขึ้นแห่งอวิชชา เพราะความสำรอกออกเสียได้หมดซึ่งอวิชชา, อาสวะทั้งหลาย อันทำความคับแค้นเร่าร้อนเหล่านั้น ย่อมไม่มี. บุคคลนั้น ย่อมไม่กระทำซึ่งกรรมใหม่ด้วย และย่อมไม่กระทำซึ่งกรรมเก่าที่ได้ถูกต้องมาแล้วให้สิ้นไปด้วย.

    ปฏิปทาเป็นกลไกให้สิ้นกรรมอย่างนี้ เป็นธรรมอันผู้ปฏิบัติพึงเห็นเอง ไม่รู้จักเก่า ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกกันมาดู พึงน้อมเข้ามาในตน เป็นธรรมที่ผู้รู้ทั้งหลายพึงรู้ได้เฉพาะตน.

    อาสวะทั้งหลาย อันเป็นไปเพื่อทุกขเวทนา จะพึงไหลไปตามบุรุษ ในกาลเบื้องหน้า เนื่องมาแต่ฐานะใดเป็นเหตุ ท่านย่อมรู้ซึ่งฐานะนั้นหรือไม่? "ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า".

    *ดูก่อนวัปปะ ! เมื่อภิกษุมีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว สตตวิหารธรรมทั้งหลาย ๖ ประการ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นถึงทับแล้ว.

    ภิกษุนั้น เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่เป็นผู้ดีใจ ไม่เป็นผู้เสียใจ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่.

    ฟังเสียงด้วยโสตะแล้ว ไม่เป็นผู้ดีใจ ไม่เป็นผู้เสียใจ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัม ปชัญญะอยู่.

    รู้สึกกลิ่นด้วยฆานะแล้ว ไม่เป็นผู้ดีใจ ไม่เป็นผู้เสียใจ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัม ปชัญญะอยู่.

    ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว ไม่เป็นผู้ดีใจ ไม่เป็นผู้เสียใจ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัม ปชัญญะอยู่.

    ถูกต้องด้วยโผฏฐัพพะ(สัมผัสด้วยผิวกาย)แล้ว ไม่เป็นผู้ดีใจ ไม่เป็นผู้เสียใจ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่.

    รู้สึกธรรมารมณ์ด้วย มโน(อารมณ์กระใจ)แล้ว ไม่เป็นผู้ดีใจ ไม่เป็นผู้เสียใจ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่.

    ภิกษุนั้น เมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุดรอบอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยซึ่งเวทนามีกายเป็นที่สุดรอบอยู่, เมื่อเสวยซึ่งเวทนามีชีวิตเป็นที่สุดรอบอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุดรอบอยู่.

    เธอย่อมรู้ชัดว่า เวทนาทั้งหลายทั้งปวง อันเราไม่เพลิดเพลินแล้ว จักเป็นของเย็นในอัตตภาพนี้นั่นเทียว จนกระทั่งถึงที่สุดรอบแห่งชีวิต เพราะการแตกทำลายแห่งกาย ดังนี้.

    *(สตตวิหารธรรมคือ มีสติสัมปชัญญะติดต่อไม่ให้เผลอ เมื่อการสัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้เกิดยินดี ยินร้าย. การควบคุมอายตนะ ๖ เมื่อทำหน้าที่อยู่อย่างนี้ เรียกว่า "สตตวิหารธรรม").

    *เปรียบเหมือนเงาย่อมปรากฏเพราะอาศัยเสาสดมภ์(ถูนะ) ลำดับนั้น บุรุษถือเอาจอบและตะกร้า เขาตัดซึ่งเสานั้นที่โคน ครั้นตัดที่โคนแล้ว พึงขุด ครั้นขุดแล้ว พึงรื้อซึ่งรากทั้งหลาย ไม่ให้เหลือแม้ที่สุดเท่าต้นแฝก.

    บุรุษนั้นพึงตัดซึ่งเสานั้นให้เป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่ ครั้นตัดซึ่งเสานั้นให้เป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่แล้ว พึงผ่า ครั้นผ่าแล้ว พึงจักให้เป็นซีกเล็กๆ ครั้นจักให้เป็นซีกเล็กๆแล้ว พึงผึ่งให้แห้งด้วยลมและแดด ครั้นผึ่งให้แห้งด้วยลมและแดดแล้ว พึงเผาด้วยไฟ ครั้นเผาด้วยไฟแล้ว พึงทำให้เป็นผงเถ้าถ่าน ครั้นทำให้เป็นผงเถ้าถ่านแล้ว พึงโปรยไปในกระแสลมอันพัดจัด หรือว่าพึงให้ลอยไปในน้ำอันเชี่ยวแห่งแม่น้ำ.

    เงาอันใดที่อาศัยเสาสดมภ์ เงาอันนั้นย่อมถึงซึ่งความมีมูลเหตุอันขาดแล้ว ถูกกระทำเหมือนตาลมีขั้วยอดด้วน กระทำให้ถึงความไม่มี มีอันไม่บังเกิดขึ้นต่อไป เป็นธรรมดา นี้ฉันใด.

    ข้อนี้ก็ฉันนั้น กล่าวคือ เมื่อภิกษุมีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว สตตวิหารธรรมทั้งหลาย ๖ ประการ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นถึงทับแล้ว.
    ภิกษุนั้น เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่เป็นผู้ดีใจ ไม่เป็นผู้เสียใจ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่.

    ฟังเสียงด้วยโสตะแล้ว ไม่เป็นผู้ดีใจ ไม่เป็นผู้เสียใจ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่.

    รู้สึกกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ไม่เป็นผู้ดีใจ ไม่เป็นผู้เสียใจ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่.

    ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ไม่เป็นผู้ดีใจ ไม่เป็นผู้เสียใจ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่.

    ถูกต้องโผฏฐัพพะ(สัมผัสด้วยผิวกาย)แล้ว ไม่เป็นผู้ดีใจ ไม่เป็นผู้เสียใจ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่.

    รู้สึกธรรมารมณ์ด้วยมโน(อารมณ์กระทบใจ)แล้ว ไม่เป็นผู้ดีใจ ไม่เป็นผู้เสียใจ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่.

    ภิกษุนั้น เมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุดรอบอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุดรอบอยู่, เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุดรอบอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุดรอบอยู่,

    เธอย่อมรู้ชัดว่า เวทนาทั้งหลายทั้งปวง อันเราไม่เพลิดเพลินแล้ว จักเป็นของเย็นในอัตตภาพนี้นั่นเทียว จนกระทั่งที่สุดรอบแห่งชีวิต เพราะการแตกทำลายแห่งกาย ดังนี้.

    *เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว วัปปะ สาวกแห่งนิครนถ์ ได้กราบทูลว่า -
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้องการกำไร พึงเลี้ยงลูกม้าไว้ขาย เขาไม่ได้กำไรด้วย เป็นผู้มีส่วนแห่งความลำบากเดือดร้อนอย่างยิ่งด้วย นี้ฉันใด.
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น คือข้าพระองค์ต้องการด้วยประโยชน์ ได้เข้าไปคบหาซึ่งนิครนถ์ทั้งหลายผู้อ่อนด้วยปัญญา.

    ข้าพระองค์ผู้เจริญ ! ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ข้าพระองค์ขอโปรยเสียซึ่งความเลื่อมใสในนิครนถ์ทั้งหลายผู้อ่อนด้วยปัญญา ในกระแสลมอันพัดจัด หรือว่าลอยเสียซึ่งความเลื่อมใสนั้น ในกระแสอันเชี่ยวแห่งแม่น้ำ.

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! วิเศษนัก พระเจ้าข้า ! วิเศษนัก พระเจ้าข้า ! ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำอยู่ หรือว่าเปิดของที่ปิดอยู่ หรือว่าบอกทางให้แกบุคคลผู้หลงทาง หรือว่าจุดประทีปอันโพลงขึ้น ด้วยน้ำมันไว้ในที่มืด ด้วยความหวังว่า ผู้มีจักษุทั้งหลาย จักได้เห็นรูปทั้งหลาย ฉันใด. ธรรมอันพระผู้มีพระภาคประกาศแล้ว โดยปริยายเป็นอเนก ก็ฉันนั้น.

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์ขอถึงซึ่งพระผู้มีพระภาคด้วย ซึ่งพระธรรมด้วย ซึ่งพระสงฆ์ด้วย ว่าเป็นสรณะ. ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงทรงถือว่า ข้าพระองค์เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะแล้ว จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป จนตลอดชีวิต, ดังนี้แล.
    (-จตุกกนิบาต อังคุตตรนิกาย ไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑/๒๖๘/๑๙๕(ปฏิจจ. ๒๐๒). ตรัสแก่วัปปะศากยะ ที่นิโครธาราม.

    *พึงสังเกต การสิ้นกรรมที่แท้จริง เป็นการสิ้นกรรมในกระแสปฏิจจสมุปบาท คือ ไม่มี กาย วาจา ใจ สมารัมภะ หรืออวิชชาเป็นเหตุให้เกิด อาวสะ อันเป็นการเห็นได้ รู้สึกได้ ด้วยตนเองในทิฏฐธรรม(ปัจจุบัน) เมื่อกระแสปฏิจจสมุปบาทเกิดขึ้นอีกไม่ได้ในคราวหนึ่ง คือ ๑๑ อาการ กรรมก็สิ้นไปคราวหนึ่ง เมื่อปฏิจจสมุปบาทเกิดขึ้นอีกไม่ได้อย่างถาวร ก็เป็นอันว่า กรรมสิ้นไปโดยถาวร*

    [/SIZE]<!-- End main-->
     
  7. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,024
    พืชของภพ

    [SIZE=-1]"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! พระผู้มีพระภาคเจ้ากล่าวอยู่ว่า ภพ, ภพ, ดังนี้
    ภพ ย่อมมีได้ด้วยเหตุเพียงเท่าไรเล่า? พระเจ้าข้า".

    อานนท์ ! ถ้ากรรม มีกามธาตุเป็นวิบาก จักไม่ได้มีแล้วไซร้, กามภพ จะพึงปรากฏได้แลหรือ?. "หามิได้ พระเจ้าข้า"
    อานนท์ ! ด้วยเหตุแหละ กรรมจึงเป็นเนื้อนา, วิญญาณ(การรู้แจ้ง)เป็นเมล็ดพืช, ตัณหาเป็นยาง (เป็นเชื้องอก) ของพืช. วิญญาณของสัตว์ทั้งหลาย มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นกลไกผูกพัน ตั้งอยู่แล้ว ด้วยธาตุชั้นทราม, การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไป ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.

    อานนท์ ! ถ้ากรรม มีรูปธาตุเป็นวิบาก จักไม่ได้มีแล้วไซร้, รูปภพ จะพึงปรากฏได้แลหรือ?. "หามิได้ พระเจ้าข้า"

    อานนท์ ! ด้วยเหตุแหละ กรรมจึงเป็นเนื้อนา, วิญญาณ(การรู้แจ้ง)เป็นเมล็ดพืช, ตัณหาเป็นยาง (เป็นเชื้องอก) ของพืช. วิญญาณของสัตว์ทั้งหลาย มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นกลไกผูกพัน ตั้งอยู่แล้ว ด้วยธาตุชั้นกลาง, การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไป ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.

    อานนท์ ! ถ้ากรรม มีอรูปธาตุเป็นวิบาก จักไม่ได้มีแล้วไซร้, อรูปภพ จะพึงปรากฏได้แลหรือ?. "หามิได้ พระเจ้าข้า"

    อานนท์ ! ด้วยเหตุแหละ กรรมจึงเป็นเนื้อนา, วิญญาณ(การรู้แจ้ง)เป็นเมล็ดพืช, ตัณหาเป็นยาง (เป็นเชื้องอก) ของพืช. วิญญาณ ของสัตว์ทั้งหลาย มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นกลไกผูกพัน ตั้งอยู่แล้ว ด้วยธาตุชั้นประณีต(อรูปธาตุ, การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไป ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้. อานนท์ ! ภพย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้แล. (-ติกกนิบาต อังคุตตรนิกาย เล่มที่ ๒๐/๒๘๗/๕๑๖(อริย. ๒๘๔).

    [/SIZE]
     
  8. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,024
    เชื้องอกของภพ

    [SIZE=-1]<center>"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! พระผู้มีพระภาคเจ้ากล่าวอยู่ว่า ภพ, ภพ, ดังนี้
    ภพ ย่อมมีได้ด้วยเหตุเพียงเท่าไรเล่า? พระเจ้าข้า".

    อานนท์ ! ถ้ากรรม มีกามธาตุเป็นวิบาก จักไม่ได้มีแล้วไซร้, กามภพ จะพึงปรากฏได้แลหรือ?. "หามิได้ พระเจ้าข้า"

    อานนท์ ! ด้วยเหตุแหละ กรรมจึงเป็นเนื้อนา, วิญญาณ(การรู้แจ้ง)เป็นเมล็ดพืช, ตัณหาเป็นยาง (เป็นเชื้องอก) ของพืช. ความเจตนาก็ดี ความปรารถนาก็ดี ของสัตว์ทั้งหลาย ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นกลไกผูกพัน ตั้งอยู่แล้ว ด้วยธาตุชั้นทราม, การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไป ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.

    อานนท์ ! ถ้ากรรม มีรูปธาตุเป็นวิบาก จักไม่ได้มีแล้วไซร้, รูปภพ จะพึงปรากฏได้แลหรือ?. "หามิได้ พระเจ้าข้า"

    อานนท์ ! ด้วยเหตุแหละ กรรมจึงเป็นเนื้อนา, วิญญาณ(การรู้แจ้ง)เป็นเมล็ดพืช, ตัณหาเป็นยาง (เป็นเชื้องอก) ของพืช. ความเจตนาก็ดี ความปรารถนาก็ดี ของสัตว์ทั้งหลาย ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นกลไกผูกพัน ตั้งอยู่แล้ว ด้วยธาตุชั้นกลาง, การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไป ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.

    อานนท์ ! ถ้ากรรม มีอรูปธาตุเป็นวิบาก จักไม่ได้มีแล้วไซร้, อรูปภพ จะพึงปรากฏได้แลหรือ?. "หามิได้ พระเจ้าข้า"

    อานนท์ ! ด้วยเหตุแหละ กรรมจึงเป็นเนื้อนา, วิญญาณ(การรู้แจ้ง)เป็นเมล็ดพืช, ตัณหาเป็นยาง (เป็นเชื้องอก) ของพืช. ความเจตนาก็ดี ความปรารถนาก็ดี ของสัตว์ทั้งหลาย ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นกลไกผูกพัน ตั้งอยู่แล้ว ด้วยธาตุชั้นประณีต, การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไป ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.
    อานนท์ ! ภพย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้แล.
    (-ติกกนิบาต อังคุตตรนิกาย เล่มที่ ๒๐/๒๘๘/๕๑๗ (อริย. ๒๘๕).
    "ข้อนี้ แสดงให้เห็นว่า อวิชชาเป็นเครื่องกั้นเจตนา (กรรม) ซึ่งเป็นปัจจัยให้วิญญาณเจริญงอกงามไปตามความปรารถนาของสัตว์นั้นๆ".

    *ผัสสะ คือแดนเกิดส่วนมากของนิพเพธิกธรรม*
    ดูก่อนภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่งธรรมปริยาย ชื่อนิพเพธิกปริยาย แก่พวกเธอทั้งหลาย พวกเธอจงฟังซึ่งข้อความนั้น จงทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ เราจักกล่าวบัดนี้.

    ดูก่อนภิกษุ ท. ! ธรรมปริยายชื่อนิพเพธิกธรรมนั้น เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อน ภิกษุ ท. !
    ๑. กามทั้งหลายอันบุคคลพึงรู้แจ้ง, นิทานสัมภวะ(เหตุเป็นแดนเกิด)แห่งกามทั้งหลาย, เวมัตตา(ประมาณต่างๆ)แห่งกามทั้งหลาย, วิบาก(ผลสุกวิเศษ)แห่งกามทั้งหลาย, นิโรธ(ความดับไม่เหลือ)แห่งกามทั้งหลาย, แนวปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งกาม, แต่ละอย่างๆ เป็นธรรมที่บุคคลพึงรู้แจ้ง.

    ๒. เวทนาทั้งหลาย อันบุคคลพึงรู้แจ้ง, นิทานสัมภวะแห่งเวทนาทั้งหลาย, เวมัตตาแห่งเวทนาทั้งหลาย, วิบากแห่งเวทนาทั้งหลาย, นิโรธแห่งเวทนาทั้งหลาย, แนวปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งเวทนา, แต่ละอย่างๆ เป็นธรรมที่บุคคลพึงรู้แจ้ง.

    ๓. สัญญาทั้งหลาย อันบุคคลพึงรู้แจ้ง, นิทานสัมภวะแห่งสัญญาทั้งหลาย, เวมัตตาแห่งสัญญาทั้งหลาย, วิบากแห่งสัญญาทั้งหลาย, นิโรธแห่งสัญญาทั้งหลาย, แนวปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งสัญญา, แต่ละอย่างๆ เป็นธรรมที่บุคคลพึงรู้แจ้ง.

    ๔. อาสวะทั้งหลาย อันบุคคลพึงรู้แจ้ง, นิทานสัมภวะแห่งอาสวะทั้งหลาย, เวมัตตาแห่งอาสวะทั้งหลาย, วิบากแห่งอาสวะทั้งหลาย, นิโรธแห่งอาสวะทั้งหลาย, แนวปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ, แต่ละอย่างๆ เป็นธรรมที่บุคคลพึงรู้แจ้ง.

    ๕. กรรม อันบุคคลพึงรู้แจ้ง, นิทานสัมภวะแห่งกรรม, เวมัตตาแห่งกรรม, วิบากแห่งกรรม, นิโรธแห่งกรรม, แนวปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งกรรม, แต่ละอย่างๆ เป็นธรรมที่บุคคลพึงรู้แจ้ง.

    ๖. ทุกข์ อันบุคคลพึงรู้แจ้ง, นิทานสัมภวะแห่งทุกข์, เวมัตตาแห่งทุกข์, วิบากแห่งทุกข์, นิโรธแห่งทุกข์, แนวปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, แต่ละอย่างๆ เป็นธรรมที่บุคคลพึงรู้แจ้ง.

    ๑.๑. กามทั้งหลาย อันบุคคลพึงรู้แจ้ง เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุ ท. ! กามคุณ ๕ ประการเหล่านี้ คือรูปทั้งหลาย อันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ(ตา), เสียงทั้งหลายอันพึงจะได้ยินด้วยโสตะ(หู), กลิ่นทั้งหลายอันจะพึงรู้สึกด้วยฆานะ(จมูก), รสทั้งหลายอันพึงรู้สึกด้วยชิวหา(ลิ้น), สัมผัสทั้งหลาย อันจะพึงสัมผัสด้วยกายะ(กาย) อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา(อิฏฐา), น่าใคร่(กันตา), น่าพอใจ(มนาปา), มีลักษณะอันน่ารัก(ปิยรูปา), เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยแห่งความใคร่(กามูปสัญหิตา), เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด(รชนิยา) มีอยู่.

    ดูก่อนภิกษุ ท. ! อารมณ์ทั้งหลาย ๕ ประการเหล่านี้ หาใช่กามไม่. ในอริยวินัย เรียกอารมณ์ทั้งหลาย ๕ ประการเหล่านี้ว่า กามคุณ, แต่ว่า :-

    ความกำหนัดไปตามอำนาจความตริตรึก(สังกัปปะราคะ) นั่นแหละคือกามของคนเรา.
    อารมณ์อันวิจิตรทั้งหลายในโลก นั้น หาใช่กามไม่.
    ความกำหนัดไปตามอำนาจความตริตรึกนั่นแหละคือกามของคนเรา.
    อารมณ์อันวิจิตร ก็มีอยู่ในโลกตามประสาของมันเท่านั้น, ดังนั้น ผู้มีปัญญาจึงนำออกเสียซึ่งฉันทะ ในอารมณ์อันวิจิตรเหล่านั้น ดังนี้.

    *ดูก่อนภิกษุ ท. ! ก็นิทานสัมภวะ(เหตุเป็นแดนเกิด) ทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุ ท. ! นิทานสัมภวะแห่งกามทั้งหลายคือผัสสะ.

    *ดูก่อนภิกษุ ท. ! ก็เวมัตตาแห่งกามทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุ ท. ! เวมัตตาแห่งกามทั้งหลาย คือความใคร่ในรูปารมณ์ ก็อย่างหนึ่งๆ, ความใคร่ในสัททารมณ์ ก็อย่างหนึ่งๆ, ความใคร่ในคันธารมณ์ ก็อย่างหนึ่งๆ, ความใคร่ในรสารมณ์ ก็อย่างหนึ่งๆ, ความใคร่ในโผฏฐัพพารมณ์ ก็อย่างหนึ่งๆ, ดูก่อนภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า เวมัตตาแห่งกามทั้งหลาย.

    *ดูก่อนภิกษุ ท. ! วิบากแห่งกามทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุ ท. ! บุคคลมีความใคร่ในอารมณ์ใดอยู่ ย่อมยังอัตตภาพอันเกิดจากกามในอารมณ์นั้นๆ ให้เกิดขึ้น เป็นอัตตภาพมีส่วนแห่งบุญบ้าง มีส่วนแห่งมิใช่บุญบ้าง, ดูก่อนภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า วิบากแห่งกามทั้งหลาย.

    *ดูก่อนภิกษุ ท. ! นิโรธแห่งกาม เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุ ท. ! ความดับแห่งกามมี เพราะความดับแห่งผัสสะ.

    *ดูก่อนภิกษุ ท. ! แนวทางปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งกาม เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุ ท. ! อริยอัฏฐังคิกมรรคนี้แล คือ นิโรธคามินีปฏิปทาแห่งกาม, ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปา สัมมาวาจา สัมมากัมมันตา สัมมาอาชีวา สัมมาวายามา สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.

    *ดูก่อนภิกษุ ท. ! ในกาลใดแล อริยสาวกย่อมรู้ชัดซึ่งกามทั้งหลายอย่างนี้, ซึ่งนิทานสัมภวะแห่งกามทั้งหลายอย่างนี้, ซึ่งเวมัตตาแห่งกามทั้งหลายอย่างนี้, ซึ่งวิบากแห่งกามทั้งหลายอย่างนี้, ซึ่งนิโรธแห่งกามทั้งหลายอย่างนี้, ซึ่งนิทานสัมภวะแห่งกามทั้งหลายอย่างนี้, ซึ่งแนวทางปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งกามทั้งหลายอย่างนี้, ในกาลนั้น อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดซึ่งพรหมจรรย์อันเป็นเครื่องเจาะแทงกิเลสนี้ว่า เป็นที่ดับแห่งกาม.

    ๒.๒. ดูก่อนภิกษุ ท. ! ก็เวทนาทั้งหลาย อันบุคคลพึงรู้แจ้ง เป็นอย่างไรเล่า?

    *ดูก่อนภิกษุ ท. ! เวทนาทั้งหลาย ๓ ประการเหล่านี้ คือสุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา.

    *ดูก่อนภิกษุ ท. ! ก็นิทานสัมภวะแห่งเวทนาทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุ ท. ! นิทานสัมภวะแห่งเวทนาทั้งหลาย คือ ผัสสะ.

    *ดูก่อนภิกษุ ท. ! ก็เวมัตตาแห่งเวทนาทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุ ท. ! สุขเวทนาอันเป็นไปด้วยอามิส(เหยื่อ) ก็มีอยู่, สุขเวทนาอันปราศจากอามิส ก็มีอยู่. ทุกขเวทนา อันเป็นไปด้วยอามิส ก็มีอยู่, ทุกขเวทนาอันปราศจากอามิส ก็มีอยู่. อทุกขมสุขเวทนาอันเป็นไปด้วยอามิสก็มีอยู่, อทุกขมสุขเวทนา อันปราศจากอามิส ก็มีอยู่. ดูก่อนภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า เวมัตตาแห่งเวทนาทั้งหลาย.

    *ดูก่อนภิกษุ ท. ! ก็วิบากแห่งเวทนาทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุ ท. ! บุคคลเสวยเวทนาใดอยู่ ย่อมยังอัตตภาพอันเกิดจากเวทนานั้นให้เกิดขึ้น เป็นอัตตภาพมีส่วนแห่งบุญบ้าง เป็นอัตตภาพมีส่วนแห่งมิใช่บุญบ้าง. ดูก่อนภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า วิบากแห่งเวทนาทั้งหลาย.

    *ดูก่อนภิกษุ ท. ! นิโรธแห่งเวทนา เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุ ท. ! ความดับแห่งเวทนามี เพราะความดับแห่งผัสสะ.

    *ดูก่อนภิกษุ ท. ! แนวทางปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งเวทนา เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุ ท. ! อริยอัฏฐังคิกมรรคนี้แล คือ นิโรธคามินีปฏิปทาแห่งเวทนา, ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปา สัมมาวาจา สัมมากัมมันตา สัมมาอาชีวา สัมมาวายามา สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.

    *ดูก่อนภิกษุ ท. ! ในกาลใดแล อริยสาวกย่อมรู้ชัดซึ่งเวทนาทั้งหลายอย่างนี้, ซึ่งนิทานสัมภวะแห่งเวทนาทั้งหลายอย่างนี้, ซึ่งเวมัตตาแห่งเวทนาทั้งหลายอย่างนี้, ซึ่งวิบากแห่งเวทนาทั้งหลายอย่างนี้, ซึ่งนิโรธแห่งเวทนาทั้งหลายอย่างนี้, ซึ่งนิทานสัมภวะแห่งเวทนาทั้งหลายอย่างนี้, ซึ่งแนวทางปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งเวทนาทั้งหลายอย่างนี้, ในกาลนั้น อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดซึ่งพรหมจรรย์อันเป็นเครื่องเจาะแทงกิเลสนี้ว่า เป็นที่ดับแห่งเวทนา.

    ๓.๓. ดูก่อนภิกษุ ท. ! ก็สัญญาทั้งหลาย อันบุคคลพึงรู้แจ้ง เป็นอย่างไรเล่า?

    *ดูก่อนภิกษุ ท. ! สัญญาทั้งหลาย ๖ ประการเหล่านี้ คือรูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพะสัญญา ธัมมสัญญา.

    *ดูก่อนภิกษุ ท. ! ก็นิทานสัมภวะแห่งสัญญาทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุ ท. ! นิทานสัมภวะแห่งสัญญาทั้งหลาย คือ ผัสสะ.

    *ดูก่อนภิกษุ ท. ! ก็เวมัตตาแห่งสัญญาทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุ ท. ! สัญญาในอารมณ์คือรูปทั้งหลาย ก็อย่างหนึ่งๆ สัญญาในอารมณ์คือเสียงทั้งหลาย ก็อย่างหนึ่งๆ สัญญาในอารมณ์คือกลิ่นทั้งหลาย ก็อย่างหนึ่งๆ สัญญาในอารมณ์คือรสทั้งหลาย ก็อย่างหนึ่งๆ สัญญาในอารมณ์คือโผฏฐัพพารมณ์ทั้งหลาย ก็อย่างหนึ่งๆ สัญญาในอารมณ์คือ ธัมมารมณ์ทั้งหลาย ก็อย่างหนึ่งๆ. ดูก่อนภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า เวมัตตาแห่งเวทนาทั้งหลาย.

    *ดูก่อนภิกษุ ท. ! ก็วิบากแห่งสัญญาทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุ ท. ! เรากล่าวซึ่งสัญญาทั้งหลายว่า เป็นสิ่งที่มีผลออกมาเป็นคำพูด(โวหารเวปักกา) เพราะว่าบุคคลกระทำซึ่งสัญญาในสิ่งนั้นๆ ว่าอย่างไร เขาย่อมกล่าวออกมาอย่างนั้นๆ เช่นว่า เราเป็นผู้มีสัญญาอย่างนี้ๆ เป็นต้น. ดูก่อนภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า วิบากแห่งสัญญาทั้งหลาย.

    *ดูก่อนภิกษุ ท. ! นิโรธแห่งสัญญา เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุ ท. ! ความดับแห่งสัญญามี เพราะความดับแห่งผัสสะ.

    *ดูก่อนภิกษุ ท. ! แนวทางปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งสัญญา เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุ ท. ! อริยอัฏฐังคิกมรรคนี้แล คือ นิโรธคามินีปฏิปทาแห่งสัญญา, ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปา สัมมาวาจา สัมมากัมมันตา สัมมาอาชีวา สัมมาวายามา สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.

    *ดูก่อนภิกษุ ท. ! ในกาลใดแล อริยสาวกย่อมรู้ชัดซึ่งสัญญาทั้งหลายอย่างนี้, ซึ่งนิทานสัมภวะแห่งสัญญาทั้งหลายอย่างนี้, ซึ่งเวมัตตาแห่งสัญญาทั้งหลายอย่างนี้, ซึ่งวิบากแห่งสัญญาทั้งหลายอย่างนี้, ซึ่งนิโรธแห่งสัญญาทั้งหลายอย่างนี้, ซึ่งนิทานสัมภวะแห่งสัญญาทั้งหลายอย่างนี้, ซึ่งแนวทางปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งสัญญาทั้งหลายอย่างนี้, ในกาลนั้น อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดซึ่งพรหมจรรย์อันเป็นเครื่องเจาะแทงกิเลสนี้ว่า เป็นที่ดับแห่งสัญญา.

    ๔.๔…..ข้อความกล่าวถึงอาสวะ ท่านยกเว้น เพราะไม่เกี่ยวกับผัสสะ…………………

    ๕.๕. ดูก่อนภิกษุ ท. ! ก็กรรม อันบุคคลพึงรู้แจ้ง เป็นอย่างไรเล่า?

    *ดูก่อนภิกษุ ท. ! เราซึ่งเจตนาว่าเป็นกรรม เพราะว่าบุคคลมีเจตนาแล้ว ย่อมกระทำซึ่งกรรม ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ.

    *ดูก่อนภิกษุ ท. ! ก็นิทานสัมภวะแห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุ ท. ! นิทานสัมภวะแห่งกรรมทั้งหลาย คือ ผัสสะ.

    *ดูก่อนภิกษุ ท. ! ก็เวมัตตาแห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุ ท. ! กรรมอันทำสัตว์ให้เสวยเวทนาในนรก มีอยู่, กรรมอันทำสัตว์ให้เสวยเวทนาในกำเนิดเดรัจฉาน มีอยู่, กรรมอันทำสัตว์ให้เสวยเวทนาในเปรตวิสัย มีอยู่, กรรมอันทำสัตว์ให้เสวยเวทนาในมนุษยโลก มีอยู่, กรรมอันทำสัตว์ให้เสวยเวทนาในเทวโลก มีอยู่. ดูก่อนภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า เวมัตตาแห่งกรรมทั้งหลาย.
    *ดูก่อนภิกษุ ท. ! ก็วิบากแห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุ ท. ! เรากล่าวซึ่งวิบากแห่กรรมว่า มีอยู่ ๓ อย่าง คือวิบากในทิฏฐธรรม(ทันควัน) หรือว่า วิบากอุปะปัชชะ(เวลาต่อมา) หรือว่า วิบากในอประปริยายะ(เวลาถัดมาอีก). ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า วิบากแห่งกรรมทั้งหลาย.


    *ดูก่อนภิกษุ ท. ! นิโรธแห่งกรรม เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุ ท. ! ความดับแห่งกรรมทั้งหลายมี เพราะความดับแห่งผัสสะ.

    *ดูก่อนภิกษุ ท. ! แนวทางปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งกรรม เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุ ท. ! อริยอัฏฐังคิกมรรคนี้แล คือ นิโรธคามินีปฏิปทาแห่งกรรม, ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ สัมมาท
    ิฏฐิ สัมมาสังกัปปา สัมมาวาจา สัมมากัมมันตา สัมมาอาชีวา สัมมาวายามา สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.

    *ดูก่อนภิกษุ ท. ! ในกาลใดแล อริยสาวกย่อมรู้ชัดซึ่งกรรม อย่างนี้, ซึ่งนิทานสัมภวะแห่งกรรมทั้งหลายอย่างนี้, ซึ่งเวมัตตาแห่งกรรมทั้งหลายอย่างนี้, ซึ่งวิบากแห่งกรรมทั้งหลายอย่างนี้, ซึ่งนิโรธแห่งกรรมทั้งหลายอย่างนี้, ซึ่งนิทานสัมภวะแห่งกรรมทั้งหลายอย่างนี้, ซึ่งแนวทางปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งกรรมทั้งหลายอย่างนี้, ในกาลนั้น อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดซึ่งพรหมจรรย์อันเป็นเครื่องเจาะแทงกิเลสนี้ว่า เป็นที่ดับแห่งกรรม.

    ๖.๖. …..ข้อความกล่าวถึงทุกข์ ท่านยกเว้น เพราะไม่เกี่ยวกับผัสสะ…………………
    (บาลี มหาวรรค ฉักกนิบาต อังคุตตรนิกาย ไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ หน้า ๔๕๗ ข้อ ๓๓๔ ปฏิจจ. ๒๖๙). ตรัสแก่ภิกษุ ท. ! ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายที่เชตวัน.

    "พึงสังเกต คำว่าผัสสะนั้นมีความสำคัญเพียงไร อาการที่จะเกิดความคิด หรือเวทนา หรือสัญญา หรือทิฏฐิ ใดๆ ย่อมจะผ่านที่ผัสสะ".</center>[/SIZE]<!-- End main-->
     
  9. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,024
    ปฏิจจ. แห่งการเกิดสังขาร ๔ ประเภท

    <table border="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody> <tr> <td><!--Last Update : 17 มกราคม 2549 16:53:30 น.--> ปฏิจจ. แห่งการเกิดสังขาร ๔ ประเภท
    <!-- Main -->[SIZE=-1]*สังขารประเภทที่ ๑ ทิฏฐิปรารภขันธ์ ๕. กรณีรูปขันธ์*
    *ดูก่อนภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว ไม่ได้เห็นพระอริเจ้าทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า, ไม่เห็นสัปปบุรุษทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของสัปปบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัปปบุรุษ ย่อมสำคัญเห็นซึ่งรูป โดยความเป็นตน.

    ดูก่อนภิกษุ ท. ! การสำคัญเห็นซึ่งรูปโดยความเป็นตนนั้น อันใดแล, การสำคัญเห็นอันนั้น เป็นสังขาร. ก็สังขารนั้น มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด? เป็นกลไกก่อให้เกิด? เป็นกลไกกำเนิด? เป็นแดนเกิด? ดูก่อนภิกษุ ท. ! สังขารนั้น เป็นสิ่งเกิดจากตัณหา ซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่ปุถุชนผู้มิได้สดับ ผู้อันเวทนาที่เกิดแต่อวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว.

    ดูก่อนภิกษุ ท. ! ด้วยเหตุอย่างนี้แล แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ตัณหานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้เวทนานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ผัสสะนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. ดูก่อนภิกษุ ท. ! เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล อาสวะทั้งหลาย ย่อมสิ้นไปโดยลำดับ ไม่มีระหว่างขั้น.

    *ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จะไม่สำคัญเห็นซึ่งรูป โดยความเป็นตนก็จริง แต่ว่าเขาย่อมสำคัญเห็นซึ่งตนว่ามีรูป.

    ดูก่อนภิกษุ ท. ! การสำคัญเห็นซึ่งตนว่ามีรูป อันใดแล, การสำคัญเห็นอันนั้น เป็นสังขาร. ก็สังขารนั้น มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด? เป็นกลไกก่อให้เกิด? เป็นกลไกกำเนิด? เป็นแดนเกิด? ดูก่อนภิกษุ ท. ! สังขารนั้น เป็นสิ่งเกิดจากตัณหา ซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่ปุถุชนผู้มิได้สดับ ผู้อันเวทนาที่เกิดแต่อวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว.

    ดูก่อนภิกษุ ท. ! ด้วยเหตุอย่างนี้แล แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ตัณหานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้เวทนานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ผัสสะนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. ดูก่อนภิกษุ ท. ! เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล อาสวะทั้งหลาย ย่อมสิ้นไปโดยลำดับ ไม่มีระหว่างขั้น.

    *ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จะไม่สำคัญเห็นซึ่งรูป โดยความเป็นตน ไม่สำคัญเห็นซึ่งตนว่ามีรูปก็จริงแล แต่ว่าเขาย่อมสำคัญเห็นซึ่งรูปในตน.

    ดูก่อนภิกษุ ท. ! การสำคัญเห็นซึ่งรูปในตนนั้น อันใดแล, การสำคัญเห็นอันนั้น เป็นสังขาร. ก็สังขารนั้น มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด? เป็นกลไกก่อให้เกิด? เป็นกลไกกำเนิด? เป็นแดนเกิด? ดูก่อนภิกษุ ท. ! สังขารนั้น เป็นสิ่งเกิดจากตัณหา ซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่ปุถุชนผู้มิได้สดับ ผู้อันเวทนาที่เกิดแต่อวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว.

    ดูก่อนภิกษุ ท. ! ด้วยเหตุอย่างนี้แล แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ตัณหานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้เวทนานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ผัสสะนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. ดูก่อนภิกษุ ท. ! เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล อาสวะทั้งหลาย ย่อมสิ้นไปโดยลำดับ ไม่มีระหว่างขั้น.

    *ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จะไม่สำคัญเห็นซึ่งรูป โดยความเป็นตน ไม่สำคัญเห็นซึ่งตนว่ามีรูป ไม่สำคัญเห็นซึ่งรูปในตนก็จริงแล แต่ว่าเขาย่อมสำคัญเห็นซึ่งตนในรูป.

    ดูก่อนภิกษุ ท. ! การสำคัญเห็นซึ่งตนในรูปนั้น อันใดแล, การสำคัญเห็นอันนั้น เป็นสังขาร. ก็สังขารนั้น มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด? เป็นกลไกก่อให้เกิด? เป็นกลไกกำเนิด? เป็นแดนเกิด? ดูก่อนภิกษุ ท. ! สังขารนั้น เป็นสิ่งเกิดจากตัณหา ซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่ปุถุชนผู้มิได้สดับ ผู้อันเวทนาที่เกิดแต่อวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว.

    ดูก่อนภิกษุ ท. ! ด้วยเหตุอย่างนี้แล แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ตัณหานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้เวทนานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ผัสสะนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. ดูก่อนภิกษุ ท. ! เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล อาสวะทั้งหลาย ย่อมสิ้นไปโดยลำดับ ไม่มีระหว่างขั้น.

    *กรณีแห่งเวทนาขันธ์*
    *ดูก่อนภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว ไม่ได้เห็นพระอริเจ้าทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า, ไม่เห็นสัปปบุรุษทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของสัปปบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัปปบุรุษ ย่อมสำคัญเห็นซึ่งเวทนา โดยความเป็นตน.

    ดูก่อนภิกษุ ท. ! การสำคัญเห็นซึ่งเวทนาโดยความเป็นตนนั้น อันใดแล, การสำคัญเห็นอันนั้น เป็นสังขาร. ก็สังขารนั้น มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด? เป็นกลไกก่อให้เกิด? เป็นกลไกกำเนิด? เป็นแดนเกิด? ดูก่อนภิกษุ ท. ! สังขารนั้น เป็นสิ่งเกิดจากตัณหา ซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่ปุถุชนผู้มิได้สดับ ผู้อันเวทนาที่เกิดแต่อวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว.

    ดูก่อนภิกษุ ท. ! ด้วยเหตุอย่างนี้แล แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ตัณหานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้เวทนานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ผัสสะนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. ดูก่อนภิกษุ ท. ! เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล อาสวะทั้งหลาย ย่อมสิ้นไปโดยลำดับ ไม่มีระหว่างขั้น.

    *ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จะไม่สำคัญเห็นซึ่งเวทนา โดยความเป็นตนก็จริง แต่ว่าเขาย่อมสำคัญเห็นซึ่งตนว่ามีเวทนา.

    ดูก่อนภิกษุ ท. ! การสำคัญเห็นซึ่งตนว่ามีเวทนา อันใดแล, การสำคัญเห็นอันนั้น เป็นสังขาร. ก็สังขารนั้น มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด? เป็นกลไกก่อให้เกิด? เป็นกลไกกำเนิด? เป็นแดนเกิด? ดูก่อนภิกษุ ท. ! สังขารนั้น เป็นสิ่งเกิดจากตัณหา ซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่ปุถุชนผู้มิได้สดับ ผู้อันเวทนาที่เกิดแต่อวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว.

    ดูก่อนภิกษุ ท. ! ด้วยเหตุอย่างนี้แล แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ตัณหานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้เวทนานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ผัสสะนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. ดูก่อนภิกษุ ท. ! เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล อาสวะทั้งหลาย ย่อมสิ้นไปโดยลำดับ ไม่มีระหว่างขั้น.

    *ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จะไม่สำคัญเห็นซึ่งเวทนา โดยความเป็นตน ไม่สำคัญเห็นซึ่งตนว่ามีเวทนาก็จริง แต่ว่าเขาย่อมสำคัญเห็นซึ่งเวทนาในตน.

    ดูก่อนภิกษุ ท. ! การสำคัญเห็นซึ่งเวทนาในตนนั้น อันใดแล, การสำคัญเห็นอันนั้น เป็นสังขาร. ก็สังขารนั้น มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด? เป็นกลไกก่อให้เกิด? เป็นกลไกกำเนิด? เป็นแดนเกิด? ดูก่อนภิกษุ ท. ! สังขารนั้น เป็นสิ่งเกิดจากตัณหา ซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่ปุถุชนผู้มิได้สดับ ผู้อันเวทนาที่เกิดแต่อวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว.

    ดูก่อนภิกษุ ท. ! ด้วยเหตุอย่างนี้แล แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ตัณหานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้เวทนานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ผัสสะนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. ดูก่อนภิกษุ ท. ! เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล อาสวะทั้งหลาย ย่อมสิ้นไปโดยลำดับ ไม่มีระหว่างขั้น.

    *ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จะไม่สำคัญเห็นซึ่งเวทนา โดยความเป็นตน ไม่สำคัญเห็นซึ่งตนว่ามีเวทนา ไม่สำคัญเห็นซึ่งเวทนาในตนก็จริงแล แต่ว่าเขาย่อมสำคัญเห็นซึ่งตนในเวทนา.

    ดูก่อนภิกษุ ท. ! การสำคัญเห็นซึ่งตนในเวทนานั้น อันใดแล, การสำคัญเห็นอันนั้น เป็นสังขาร. ก็สังขารนั้น มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด? เป็นกลไกก่อให้เกิด? เป็นกลไกกำเนิด? เป็นแดนเกิด? ดูก่อนภิกษุ ท. ! สังขารนั้น เป็นสิ่งเกิดจากตัณหา ซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่ปุถุชนผู้มิได้สดับ ผู้อันเวทนาที่เกิดแต่อวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว.

    ดูก่อนภิกษุ ท. ! ด้วยเหตุอย่างนี้แล แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ตัณหานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้เวทนานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ผัสสะนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. ดูก่อนภิกษุ ท. ! เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล อาสวะทั้งหลาย ย่อมสิ้นไปโดยลำดับ ไม่มีระหว่างขั้น.

    *กรณีแห่งสัญญาขันธ์.
    *ดูก่อนภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว ไม่ได้เห็นพระอริเจ้าทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า, ไม่เห็นสัปปบุรุษทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของสัปปบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัปปบุรุษ ย่อมสำคัญเห็นซึ่งสัญญา โดยความเป็นตน.

    ดูก่อนภิกษุ ท. ! การสำคัญเห็นซึ่งสัญญาโดยความเป็นตนนั้น อันใดแล, การสำคัญเห็นอันนั้น เป็นสังขาร. ก็สังขารนั้น มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด? เป็นกลไกก่อให้เกิด? เป็นกลไกกำเนิด? เป็นแดนเกิด? ดูก่อนภิกษุ ท. ! สังขารนั้น เป็นสิ่งเกิดจากตัณหา ซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่ปุถุชนผู้มิได้สดับ ผู้อันเวทนาที่เกิดแต่อวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว.

    ดูก่อนภิกษุ ท. ! ด้วยเหตุอย่างนี้แล แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ตัณหานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้เวทนานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ผัสสะนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. ดูก่อนภิกษุ ท. ! เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล อาสวะทั้งหลาย ย่อมสิ้นไปโดยลำดับ ไม่มีระหว่างขั้น.

    *ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จะไม่สำคัญเห็นซึ่งสัญญา โดยความเป็นตนก็จริง แต่ว่าเขาย่อมสำคัญเห็นซึ่งตนว่ามีสัญญา.

    ดูก่อนภิกษุ ท. ! การสำคัญเห็นซึ่งตนว่ามีสัญญา อันใดแล, การสำคัญเห็นอันนั้น เป็นสังขาร. ก็สังขารนั้น มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด? เป็นกลไกก่อให้เกิด? เป็นกลไกกำเนิด? เป็นแดนเกิด? ดูก่อนภิกษุ ท. ! สังขารนั้น เป็นสิ่งเกิดจากตัณหา ซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่ปุถุชนผู้มิได้สดับ ผู้อันเวทนาที่เกิดแต่อวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว.

    ดูก่อนภิกษุ ท. ! ด้วยเหตุอย่างนี้แล แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ตัณหานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้เวทนานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ผัสสะนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. ดูก่อนภิกษุ ท. ! เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล อาสวะทั้งหลาย ย่อมสิ้นไปโดยลำดับ ไม่มีระหว่างขั้น.

    *ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จะไม่สำคัญเห็นซึ่งสัญญา โดยความเป็นตน ไม่สำคัญเห็นซึ่งตนว่ามีสัญญาก็จริง แต่ว่าเขาย่อมสำคัญเห็นซึ่งสัญญาในตน.

    ดูก่อนภิกษุ ท. ! การสำคัญเห็นซึ่งสัญญาในตนนั้น อันใดแล, การสำคัญเห็นอันนั้น เป็นสังขาร. ก็สังขารนั้น มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด? เป็นกลไกก่อให้เกิด? เป็นกลไกกำเนิด? เป็นแดนเกิด? ดูก่อนภิกษุ ท. ! สังขารนั้น เป็นสิ่งเกิดจากตัณหา ซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่ปุถุชนผู้มิได้สดับ ผู้อันเวทนาที่เกิดแต่อวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว.

    ดูก่อนภิกษุ ท. ! ด้วยเหตุอย่างนี้แล แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ตัณหานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้เวทนานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ผัสสะนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. ดูก่อนภิกษุ ท. ! เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล อาสวะทั้งหลาย ย่อมสิ้นไปโดยลำดับ ไม่มีระหว่างขั้น.

    *ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จะไม่สำคัญเห็นซึ่งสัญญา โดยความเป็นตน ไม่สำคัญเห็นซึ่งตนว่ามีสัญญา ไม่สำคัญเห็นซึ่งสัญญาในตนก็จริงแล แต่ว่าเขาย่อมสำคัญเห็นซึ่งตนในสัญญา.

    ดูก่อนภิกษุ ท. ! การสำคัญเห็นซึ่งตนในสัญญานั้น อันใดแล, การสำคัญเห็นอันนั้น เป็นสังขาร. ก็สังขารนั้น มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด? เป็นกลไกก่อให้เกิด? เป็นกลไกกำเนิด? เป็นแดนเกิด? ดูก่อนภิกษุ ท. ! สังขารนั้น เป็นสิ่งเกิดจากตัณหา ซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่ปุถุชนผู้มิได้สดับ ผู้อันเวทนาที่เกิดแต่อวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว.

    ดูก่อนภิกษุ ท. ! ด้วยเหตุอย่างนี้แล แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ตัณหานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้เวทนานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ผัสสะนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. ดูก่อนภิกษุ ท. ! เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล อาสวะทั้งหลาย ย่อมสิ้นไปโดยลำดับ ไม่มีระหว่างขั้น.

    *กรณีแห่งสังขารขันธ์.
    *ดูก่อนภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว ไม่ได้เห็นพระอริเจ้าทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า, ไม่เห็นสัปปบุรุษทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของสัปปบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัปปบุรุษ ย่อมสำคัญเห็นซึ่งสังขาร โดยความเป็นตน.

    ดูก่อนภิกษุ ท. ! การสำคัญเห็นซึ่งสังขารโดยความเป็นตนนั้น อันใดแล, การสำคัญเห็นอันนั้น เป็นสังขาร. ก็สังขารนั้น มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด? เป็นกลไกก่อให้เกิด? เป็นกลไกกำเนิด? เป็นแดนเกิด? ดูก่อนภิกษุ ท. ! สังขารนั้น เป็นสิ่งเกิดจากตัณหา ซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่ปุถุชนผู้มิได้สดับ ผู้อันเวทนาที่เกิดแต่อวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว.

    ดูก่อนภิกษุ ท. ! ด้วยเหตุอย่างนี้แล แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ตัณหานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้เวทนานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ผัสสะนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. ดูก่อนภิกษุ ท. ! เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล อาสวะทั้งหลาย ย่อมสิ้นไปโดยลำดับ ไม่มีระหว่างขั้น.

    *ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จะไม่สำคัญเห็นซึ่งสังขาร โดยความเป็นตนก็จริง แต่ว่าเขาย่อมสำคัญเห็นซึ่งตนว่ามีสังขาร.

    ดูก่อนภิกษุ ท. ! การสำคัญเห็นซึ่งตนว่ามีสังขาร อันใดแล, การสำคัญเห็นอันนั้น เป็นสังขาร. ก็สังขารนั้น มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด? เป็นกลไกก่อให้เกิด? เป็นกลไกกำเนิด? เป็นแดนเกิด? ดูก่อนภิกษุ ท. ! สังขารนั้น เป็นสิ่งเกิดจากตัณหา ซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่ปุถุชนผู้มิได้สดับ ผู้อันเวทนาที่เกิดแต่อวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว.

    ดูก่อนภิกษุ ท. ! ด้วยเหตุอย่างนี้แล แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ตัณหานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้เวทนานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ผัสสะนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. ดูก่อนภิกษุ ท. ! เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล อาสวะทั้งหลาย ย่อมสิ้นไปโดยลำดับ ไม่มีระหว่างขั้น.

    *ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จะไม่สำคัญเห็นซึ่งสังขาร โดยความเป็นตน ไม่สำคัญเห็นซึ่งตนว่ามีสังขารก็จริง แต่ว่าเขาย่อมสำคัญเห็นซึ่งสังขารในตน.

    ดูก่อนภิกษุ ท. ! การสำคัญเห็นซึ่งสังขารในตนนั้น อันใดแล, การสำคัญเห็นอันนั้น เป็นสังขาร. ก็สังขารนั้น มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด? เป็นกลไกก่อให้เกิด? เป็นกลไกกำเนิด? เป็นแดนเกิด? ดูก่อนภิกษุ ท. ! สังขารนั้น เป็นสิ่งเกิดจากตัณหา ซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่ปุถุชนผู้มิได้สดับ ผู้อันเวทนาที่เกิดแต่อวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว.

    ดูก่อนภิกษุ ท. ! ด้วยเหตุอย่างนี้แล แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ตัณหานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้เวทนานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ผัสสะนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. ดูก่อนภิกษุ ท. ! เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล อาสวะทั้งหลาย ย่อมสิ้นไปโดยลำดับ ไม่มีระหว่างขั้น.

    *ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จะไม่สำคัญเห็นซึ่งสังขาร โดยความเป็นตน ไม่สำคัญเห็นซึ่งตนว่ามีสังขาร ไม่สำคัญเห็นซึ่งสังขารในตนก็จริงแล แต่ว่าเขาย่อมสำคัญเห็นซึ่งตนในสังขาร.

    ดูก่อนภิกษุ ท. ! การสำคัญเห็นซึ่งตนในสังขารนั้น อันใดแล, การสำคัญเห็นอันนั้น เป็นสังขาร. ก็สังขารนั้น มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด? เป็นกลไกก่อให้เกิด? เป็นกลไกกำเนิด? เป็นแดนเกิด? ดูก่อนภิกษุ ท. ! สังขารนั้น เป็นสิ่งเกิดจากตัณหา ซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่ปุถุชนผู้มิได้สดับ ผู้อันเวทนาที่เกิดแต่อวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว.

    ดูก่อนภิกษุ ท. ! ด้วยเหตุอย่างนี้แล แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ตัณหานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้เวทนานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ผัสสะนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. ดูก่อนภิกษุ ท. ! เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล อาสวะทั้งหลาย ย่อมสิ้นไปโดยลำดับ ไม่มีระหว่างขั้น.
    *กรณีแห่งวิญญาณขันธ์.
    *ดูก่อนภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว ไม่ได้เห็นพระอริเจ้าทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า, ไม่เห็นสัปปบุรุษทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของสัปปบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัปปบุรุษ ย่อมสำคัญเห็นซึ่งวิญญาณ โดยความเป็นตน.

    ดูก่อนภิกษุ ท. ! การสำคัญเห็นซึ่งวิญญาณโดยความเป็นตนนั้น อันใดแล, การสำคัญเห็นอันนั้น เป็นสังขาร. ก็สังขารนั้น มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด? เป็นกลไกก่อให้เกิด? เป็นกลไกกำเนิด? เป็นแดนเกิด? ดูก่อนภิกษุ ท. ! สังขารนั้น เป็นสิ่งเกิดจากตัณหา ซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่ปุถุชนผู้มิได้สดับ ผู้อันเวทนาที่เกิดแต่อวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว.

    ดูก่อนภิกษุ ท. ! ด้วยเหตุอย่างนี้แล แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ตัณหานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้เวทนานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ผัสสะนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. ดูก่อนภิกษุ ท. ! เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล อาสวะทั้งหลาย ย่อมสิ้นไปโดยลำดับ ไม่มีระหว่างขั้น.

    *ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จะไม่สำคัญเห็นซึ่งวิญญาณ โดยความเป็นตนก็จริง แต่ว่าเขาย่อมสำคัญเห็นซึ่งตนว่ามีวิญญาณ.

    ดูก่อนภิกษุ ท. ! การสำคัญเห็นซึ่งตนว่ามีวิญญาณ อันใดแล, การสำคัญเห็นอันนั้น เป็นสังขาร. ก็สังขารนั้น มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด? เป็นกลไกก่อให้เกิด? เป็นกลไกกำเนิด? เป็นแดนเกิด? ดูก่อนภิกษุ ท. ! สังขารนั้น เป็นสิ่งเกิดจากตัณหา ซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่ปุถุชนผู้มิได้สดับ ผู้อันเวทนาที่เกิดแต่อวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว.

    ดูก่อนภิกษุ ท. ! ด้วยเหตุอย่างนี้แล แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ตัณหานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้เวทนานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ผัสสะนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. ดูก่อนภิกษุ ท. ! เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล อาสวะทั้งหลาย ย่อมสิ้นไปโดยลำดับ ไม่มีระหว่างขั้น.

    *ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จะไม่สำคัญเห็นซึ่งวิญญาณ โดยความเป็นตน ไม่สำคัญเห็นซึ่งตนว่ามีเวทนาก็จริง แต่ว่าเขาย่อมสำคัญเห็นซึ่งวิญญาณในตน.

    ดูก่อนภิกษุ ท. ! การสำคัญเห็นซึ่งวิญญาณในตนนั้น อันใดแล, การสำคัญเห็นอันนั้น เป็นสังขาร. ก็สังขารนั้น มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด? เป็นกลไกก่อให้เกิด? เป็นกลไกกำเนิด? เป็นแดนเกิด? ดูก่อนภิกษุ ท. ! สังขารนั้น เป็นสิ่งเกิดจากตัณหา ซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่ปุถุชนผู้มิได้สดับ ผู้อันเวทนาที่เกิดแต่อวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว.

    ดูก่อนภิกษุ ท. ! ด้วยเหตุอย่างนี้แล แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ตัณหานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้เวทนานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ผัสสะนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. ดูก่อนภิกษุ ท. ! เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล อาสวะทั้งหลาย ย่อมสิ้นไปโดยลำดับ ไม่มีระหว่างขั้น.

    *ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จะไม่สำคัญเห็นซึ่งวิญญาณ โดยความเป็นตน ไม่สำคัญเห็นซึ่งตนว่ามีวิญญาณ ไม่สำคัญเห็นซึ่งวิญญาณในตนก็จริงแล แต่ว่าเขาย่อมสำคัญเห็นซึ่งตนในวิญญาณ.

    ดูก่อนภิกษุ ท. ! การสำคัญเห็นซึ่งตนในวิญญาณนั้น อันใดแล, การสำคัญเห็นอันนั้น เป็นสังขาร. ก็สังขารนั้น มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด? เป็นกลไกก่อให้เกิด? เป็นกลไกกำเนิด? เป็นแดนเกิด? ดูก่อนภิกษุ ท. ! สังขารนั้น เป็นสิ่งเกิดจากตัณหา ซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่ปุถุชนผู้มิได้สดับ ผู้อันเวทนาที่เกิดแต่อวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว.

    ดูก่อนภิกษุ ท. ! ด้วยเหตุอย่างนี้แล แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ตัณหานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้เวทนานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ผัสสะนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. ดูก่อนภิกษุ ท. ! เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล อาสวะทั้งหลาย ย่อมสิ้นไปโดยลำดับ ไม่มีระหว่างขั้น. (นี้คือ สังขาร ๒๐ ชนิด).

    *สังขารที่ ๒ (สัสสตทิฏฐิ)*
    *ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จะไม่สำคัญเห็นซึ่งซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ โดยความเป็นตน, ไม่สำคัญเห็นซึ่งตนว่ามีรูป ว่ามีเวทนา ว่ามีสัญญา ว่ามีสังขาร ว่ามีวิญญาณ, ไม่สำคัญเห็นซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณในตน, ไม่สำคัญเห็นซึ่งตนในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ก็จริงแล, แต่ทว่าเขาเขายังเป็นผู้มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า อัตตา(ตน)ก็อันนั้น โลกก็อันนั้น เรานั้น ครั้นละไปแล้ว จักเป็นผู้เที่ยง(นิจโจ) ยั่งยืน(ธุโว) เที่ยงแท้(สัสสโต) มีความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา(อวิปริณามธัมโม).

    ดูก่อนภิกษุ ท. ! ทิฏฐิดังกล่าวนี้ อันใดแล, ทิฏฐิอันนั้น ชื่อว่าสัสสตทิฏฐิ. สัสสตทิฏฐินั้น เป็นสังขาร. ก็สังขารนั้น มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด? เป็นกลไกก่อให้เกิด? เป็นกลไกกำเนิด? เป็นแดนเกิด? ดูก่อนภิกษุ ท. ! สังขารนั้น เป็นสิ่งเกิดจากตัณหา ซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่ปุถุชนผู้มิได้สดับ ผู้อันเวทนาที่เกิดแต่อวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว.

    ดูก่อนภิกษุ ท. ! ด้วยเหตุอย่างนี้แล แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ตัณหานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้เวทนานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ผัสสะนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. ดูก่อนภิกษุ ท. ! เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล อาสวะทั้งหลาย ย่อมสิ้นไปโดยลำดับ ไม่มีระหว่างขั้น.

    *สังขารที่ ๓ (อุจเฉททิฏฐิ)*
    *ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จะไม่สำคัญเห็นซึ่งซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ โดยความเป็นตน, ไม่สำคัญเห็นซึ่งตนว่ามีรูป ว่ามีเวทนา ว่ามีสัญญา ว่ามีสังขาร ว่ามีวิญญาณ, ไม่สำคัญเห็นซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณในตน, ไม่สำคัญเห็นซึ่งตนในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ, ทั้งเป็นผู้ไม่มีทิฏฐิว่า อัตตา(ตน)ก็อันนั้น โลกก็อันนั้น เรานั้น ครั้นละไปแล้ว จักเป็นผู้เที่ยง(นิจโจ) ยั่งยืน(ธุโว) เที่ยงแท้(สัสสโต) มีความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา(อวิปริณามธัมโม) ดังนี้ ก็จริงแล, แต่ทว่าเขายังเป็นผู้มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า เราไม่พึงมีด้วย, ของเราไม่พึงมีด้วย, เราจักไม่มีด้วย, ของเราจักไม่มีด้วย, ดังนี้.

    ดูก่อนภิกษุ ท. ! ทิฏฐิดังกล่าวนี้ อันใดแล, ทิฏฐิอันนั้น ชื่อว่าอุจเฉททิฏฐิ อุจเฉททิฏฐินั้น เป็นสังขาร. ก็สังขารนั้น มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด? เป็นกลไกก่อให้เกิด? เป็นกลไกกำเนิด? เป็นแดนเกิด? ดูก่อนภิกษุ ท. ! สังขารนั้น เป็นสิ่งเกิดจากตัณหา ซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่ปุถุชนผู้มิได้สดับ ผู้อันเวทนาที่เกิดแต่อวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว.

    ดูก่อนภิกษุ ท. ! ด้วยเหตุอย่างนี้แล แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ตัณหานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้เวทนานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ผัสสะนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. ดูก่อนภิกษุ ท. ! เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล อาสวะทั้งหลาย ย่อมสิ้นไปโดยลำดับ ไม่มีระหว่างขั้น.

    *สังขารที่ ๔ (ลังเลสงสัยในพระสัทธรรม)*
    *ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จะไม่สำคัญเห็นซึ่งซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ โดยความเป็นตน, ไม่สำคัญเห็นซึ่งตนว่ามีรูป ว่ามีเวทนา ว่ามีสัญญา ว่ามีสังขาร ว่ามีวิญญาณ, ไม่สำคัญเห็นซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณในตน, ไม่สำคัญเห็นซึ่งตนในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ, ทั้งเป็นผู้ไม่มีทิฏฐิว่า อัตตา(ตน)ก็อันนั้น โลกก็อันนั้น เรานั้น ครั้นละไปแล้ว จักเป็นผู้เที่ยง(นิจโจ) ยั่งยืน(ธุโว) เที่ยงแท้(สัสสโต) มีความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา(อวิปริณามธัมโม) ดังนี้, ทั้งเป็นผู้ไม่มีทิฏฐิว่า เราไม่พึงมีด้วย, ของเราไม่พึงมีด้วย, เราจักไม่มีด้วย, ของเราจักไม่มีด้วย, ดังนี้, ก็จริงแล แต่ทว่า เขายังเป็นผู้มีความสงสัย(กังขี) มีความลังเล(วิจิกิจฉี) ไม่ถึงความมั่นใจในพระสัทธรรม(อนิฏฐังคโต สัทธัมโม).

    ดูก่อนภิกษุ ท. ! ความเป็นผู้มีความสงสัย มีความลังเล ไม่ถึงความมั่นใจ ในพระสัทธรรมนั้น, อันใดแล, อันนั้น เป็นสังขาร. ก็สังขารนั้น มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด? เป็นกลไกก่อให้เกิด? เป็นกลไกกำเนิด? เป็นแดนเกิด? ดูก่อนภิกษุ ท. ! สังขารนั้น เป็นสิ่งเกิดจากตัณหา ซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่ปุถุชนผู้มิได้สดับ ผู้อันเวทนาที่เกิดแต่อวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว.

    ดูก่อนภิกษุ ท. ! ด้วยเหตุอย่างนี้แล แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ตัณหานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้เวทนานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ผัสสะนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. ดูก่อนภิกษุ ท. ! เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล อาสวะทั้งหลาย ย่อมสิ้นไปโดยลำดับ ไม่มีระหว่างขั้น ดังนี้แล.

    (-ขันธวรรค สังยุตตนิกาย ไตรปิฎก ๑๗ หน้า ๑๑๖ ข้อ ๑๗๔ (ปฏิจจ. ๑๙๒). ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่ภัททสาลมูล ป่าปาลิเลยยกะ.

    [/SIZE]<!-- End main-->
    </td></tr></tbody></table>
     

แชร์หน้านี้

Loading...