กรรมหนัก (ครุกกรรม)

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย phuang, 28 กรกฎาคม 2005.

  1. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    กรรมหนัก (ครุกกรรม)

    กรรมหนัก หรือครุกกรรม เป็นกรรมที่พลังอำนาจมากให้ผลก่อนกรรมอื่นๆ และไม่มีกรรมใดมาขวางกั้นได้ มีพลังแรงอย่างทันตาเห็นในชาติปัจจุบันและสามารถส่งผลถึงชาติหน้าได้ ในส่วนชั่ว หรือบาปหนัก นั้น เรียกว่า อนันตริยกรรม ซึ่งมีอยู่ห้าประการด้วยกัน คือ

    1. สังฆเภท คือการที่พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งหรือหลายรูป ได้กระทำการทำให้คณะสงฆ์ตั้งแต่สี่รูปขึ้นไปมีความเห็นผิดตามคำยุยงแห่งตนไปกระทำสังฆกรรมต่างหาก ไปสวดพระปาติโมกข์ต่างหาก ผู้ทำสังฆเภทได้นั้น หมายเฉพาะ พระสงฆ์ เท่านั้น แต่ถ้าผู้กระทำเป็นสามเณร อุบาสก อุบาสิกา ชาวพุทธทั่วไป หรือคนภายนอกพุทธศาสนา นักปราชญ์ ขี้เหล้าเมายา ทิดบาเรียนทั้งหลาย ไม่จัดอยู่ในบาปหนัก ในข้ออนันตริยกรรมนี้ แต่บาปหนักนั้นก็เสมออนันตริยกรรม ในบรรดาอนันตริยกรรมนี้ สังฆเภทเป็นกรรมที่หนักที่สุด ให้ผลก่อนอนัตริยกรรม ประเภทอื่น และสิ้นสุดลงในชาติหน้าเท่านั้น เพราะฉะนั้นถ้าหากได้ทำ อนันตริยกรรม ไว้หลายอย่าง ก็จะได้รับผลของ สังฆเภท อันเป็นกระทงที่หนักที่สุด และอนันตริยกรรมประเภทอื่นก็จะกลายเป็นอโหสิกรรม เมื่อสิ้นวาระของชาติหน้า
    2. โลหิตปาท คือ การทำร้ายพระพุทธเจ้าจนเกิดอาการห้อเลือดขึ้นไป ในสมัยพุทธกาล พระเทวทัต ได้เป็นผู้กระทำ อนันตริยกรรมข้อ โลหิตปาท นี้จนถูกธรณีสูบตกนรกอเวจีไป ในสมัยปัจจุบัน ก็มีบาปหนักเสมออนันตริยกรรม แต่ไม่ใช่อนันตริยกรรม กล่าวคือผู้มีเจตนาชั่วร้ายใฝ่หากรรมอันเป็นบาปหยาบช้า ทำลายล้างวัตถุที่พระพุทธเจ้า เช่น ทำลายพระพุทธรูป ทำลายเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ทำลายต้นไม้มหาโพธิ์ นี่เองที่คนโบราณจึงไม่กล้าทำลายพระพุทธรูป หรือพระเครื่องถึงแม้ว่าจะแตกหักแล้วก็ตาม แต่ผู้มีบาปมากไม่กลัว สามารถตัดเศียรพระพุทธรูปได้ อย่างที่อยุธยา หรือทำลายทุบตัดแขนขา หรืออย่างที่พม่าเผาผลาญ พระพุทธรูปและเจดีย์เพื่อจะเอาทองคำ ในคราวสมัยอยุธยาแตก
    3. อรหันตฆาต หรือ การฆ่าพระอรหันต์ บุคคลผู้ใดมีเจตนาชั่วร้าย ฆ่าพระอรหันต์ ได้ชื่อว่าเป็นอรหันต์ฆาตทั้งนั้นคฤหัสถ์ที่บรรลุธรรมวิเศษ เป็นพระอรหันต์ แต่ยังไม่ทันได้บวชเป็นพระสงฆ์ ผู้ใดฆ่าก็เป็นอนันตริยกรรม และถึงแม้ขณะเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ท่านถูกทำร้ายด้วยอาวุธหรือยาพิษในน้ำดื่มหรืออาหาร เกิดทุกขเวทนา แล้วท่านได้กำหนดเอาทุกขเวทนามาเป็นบาทแห่งวิปัสสนา จนเกิดมรรคผลสำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้วดับผลสู่นิพพาน ผู้ทำร้ายย่อมได้ชื่อว่า เป็นผู้ฆ่าพระอรหันต์ อย่างไรก็ตาม ผู้ฆ่าพระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี ถึงแม้จะไม่ได้ชื่อว่า เป็นอรหันตฆาต แต่ก็มีบาปหนักเสมอ อนันตริยกรรม
    4. มาตุฆาต คือ การฆ่าแม่บังเกิดเกล้า เท่านั้น แม่เลี้ยง แม่บุญธรรม แม่ยาย ไม่เข้าข่ายเป็นมาตุฆาต และต้องเป็นการฆ่าของลูกมนุษย์ต่อแม่มนุษย์เท่านั้น การที่สัตว์เดรัจฉานฆ่าพ่อแม่ของตนนั้นไม่จัดเป็นอนันตริยกรรม การฆ่าแม่นั้นถึงแม้ว่าจะสำคัญผิดหรือไม่รู้ก็จัดเป็นอนันตริยกรรม
    5. ปิตุมาต หรือการฆ่าพ่อบังเกิดเกล้า นัยเดียวกันกับ มาตุฆาต แต่ต่างกันตรงที่กรรมหนักใดจะเป็นผู้ให้ผลก่อน ธรรมดาแม่เป็นผู้อุ้มท้องลูกในครรภ์ และมีใจอ่อนโยนเอื้อเอ็นดูอุ้มชูเลี้ยงลูก ได้รับความลำบากมากกว่าพ่อ ถึงจะชั่วช้าเลวทรามขนาดไหน ก็ยังได้ชื่อว่า เป็นผู้มีคุณแก่ลูกมากอยู่ดี เพราะฉะนั้น ถ้า แม่กับพ่อ เป็นคนดีมีศีลธรรมเสมอกัน มาตุฆาต ย่อมให้ผลก่อนปิตุฆาต ยกเว้นในกรณีที่พ่อ เป็นผู้มีคุณธรรม มีศีลธรรมมากกว่า แม่ เท่านั้น ปิตุฆาต จึงจะให้ผลก่อนมาตุฆาต
    อนันตริยกรรม มีพลังโทษมาก เมื่อได้กระทำลงไปแล้ว และภายหลังรู้สึกสำนึกตนหวังให้พ้นทุกข์โทษในอเวจีมหานรก ด้วยการสร้างกุศลบุญใหญ่ ก็ไม่มีพลังอำนาจพอ ถึงแม้ว่าจะสร้างเจดีย์ทองคำสูงใหญ่ มากมายเต็มจักรวาล หรือจะถวายทานแก่พระสงฆ์ที่มีอยู่ในโลกทุกวันนี้ หรือโชคดีพบพระพุมธเจ้าแล้วเข้าอุปฏฐากใกล้ชิดจนสิ้นชีพ ก็ไม่มีพลังอำนาจพอที่จะลบล้าง อนันตริยกรรม ทั้งห้านี้ได้

    สำหรับครุกรรมส่วนดีนั้น เรียกว่าบุญหนัก ได้แก่ การบำเพ็ญสมถกรรมฐาน จนถึงระดับ ปฐมฌาน จนถึง จตุตถฌาน ซึ่งเป็นรูปฌาน และบำเพ็ญอรูปฌาน จนถึงระดับ อากาสานัญจายตนะ (เพ่งอากาศ) วิญญาณัญจายตนะ (เพ่งวิญญาณ) อากิญจัญญายตนะ (เพ่งความว่าง) เนวสัญญานาสัญญายตนะ (เพ่งความหลุดมิหลุดแหล่) ตามลำดับ

    ซึ่งพลังอำนาจของการบำเพ็ญฌานที่สูงกว่า ย่อมให้ผลก่อน แต่การสำเร็จอรหันต์ ย่อมเหนือกว่า
     
  2. วิทย์

    วิทย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,036
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,439
    อนุโมทนาครับ แต่ตรงข้อสังฆเภทผมสงสัยว่าสิ่งที่พระเทวทัตท่านทำเป็นสังฆเภท แต่ตอนที่ภิกษุชาวโกสัมพีที่แบ่งเป็นสองฝักสองฝ่ายคือฝ่ายผู้ที่ทรงพระธรรมวินัยไว้กับฝ่ายผู้ที่เป็นพระนักปฏิบัติกลับไม่เป็นการทำสังฆเภท

    เรื่องเริ่มจากท่านทะเลาะกันด้วยเรื่องเพียงเล็กน้อยระหว่างภิกษุสองรูปเกี่ยวกับอาบัติ ปรากฎว่าพอทะเลาะไปทะเลาะมาภิกษุแต่ละรูปต่างก็มีพรรคพวก จนในที่สุดก็เลยกลายเป็นสองกลุ่มใหญ่ๆที่ทะเลาะกันและไม่เข้ามาประชุมรวมกลุ่มกัน ขนาดภายหลังพระพุทธเจ้าท่านเสด็จมาตักเตือนด้วยพระองค์เอง แต่ภิกษุทั้งสองฝ่ายก็ยังไม่เลิกทะเลาะกัน จนกระทั่งพระพุทธเจ้าท่านต้องเสด็จปลีกวิเวกเข้าไปอยู่ในป่าแต่พระองค์เดียว โดยมีช้างเลยไลยกะ กับลิงคอยอุปัฎฐาก จนภายหลังต้องให้ชาวบ้านเข้ามาช่วยเหลือด้วยการไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับพระทั้งสองกลุ่ม จนทำให้ท่านเหล่านั้นคิดได้จึงได้กลับมาสามัคคีกันเหมือนเดิมและนิมนต์พระอานนท์ให้ไปนิมนต์พระพุทธเจ้าออกมาจากป่า ต่อมาภายหลังพระพุทธองค์ก็ได้ทรงอบรมเทศนาสั่งสอนจนท่านเหล่านั้นคิดได้และหมั่นบำเพ็ญเพียรจนได้บรรลุธรรมตามแต่วาสนาในที่สุด

    ปล.เรื่องนี้มีอยู่ในพระไตรปิฎกลองหาอ่านดูได้ครับ ผมมีคิดเหตุผลไว้เหมือนกัน แต่อยากทราบจากท่านอื่นว่าจะมีความคิดหรือเหตุผลอะไรเป็นข้าแตกต่างระหว่างพระเทวทัตกับภิกษุชาวโกสัมพี เพราะโดยผลแล้วก็มีการแตกแยกออกเป็นสองคณะเหมือนกันครับ
     
  3. imaginary

    imaginary Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +73
    ขอบคุณครับเข้าใจมากขึ้น
     
  4. มงกุฎเพชร

    มงกุฎเพชร Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    15
    ค่าพลัง:
    +71
    โดยผลแล้วเป็น2คณะเหมือนกันคับ แต่ต่างกันตรงขั้นตอน
    ของเทวทัตนั้น ท่านยุยงคับให้แตกคอกันคับสงฆ์เหล่านั้นไม่รู้อะไรด้วยแต่เพราะเทวทัตยุยงจึงเห้นผิดเป็นชอบ เทวทัตจึงผิดแบบเต็มๆ
    แต่ในส่วนของภิกษุชาวโกสัมพี ที่แตกคอกันนี่เพราะความเห็นไม่เหมือนกันเท่านนั้นคับจริงอยู่ที่เริ่มกันแต่เดิม2คนแต่ต่างคนก็มีเพื่อนซึ่งอาจทำให้เกิดดารแบ่งฝ่ายกัน แต่นั่นก้เป้นเพราะความเห็นแต่ละคนไม่ตรงกันแต่พอดีแค่ไม่ตรงกันเป็นกลุ่มๆ ไม่ได้เกิดเพราะใครยุยงคับ จึงไม่ถือเป็นสังฆเภท ตัวอย่างง่ายๆคล้ายๆกับ การโหวตลงมติในสภาน่ะคับว่ารับไม่รับ กลุ่มนี้อาจรับ อีกกลุ่มอาจไม่รับ ก็เกิดการแบ่งฝ่ายแบ่งกลุ่มกันขึ้นจึงต้องมานับคะแนนว่าอันไหนเสียงข้างมากไงคับ ทั้งนี้ก็ไม่เห็นต้องมีใครมายุยงเลยคับเพียงแต่แต่ละกลุ่มเห็นตรงกันเท่านั้น
     
  5. วิทย์

    วิทย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,036
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,439
    โดยผลแล้วเป็น2คณะเหมือนกันคับ แต่ต่างกันตรงขั้นตอน
    ครับผมขอเสริมนิดหนึ่ง คือพระเทวทัตท่านมีเจตนาที่จะแยกตัวออกเป็นอิสระ คือต้องการปกครองคณะสงฆ์แทนพระพุทธเจ้า ส่วนภิกษุชาวโกสัมพีนั้นก็เพียงแค่มีความเห็นขัดแย้งกันและไม่สามารถหาข้อสรุปได้ แต่ก็ยังศรัทธาและเคารพพระพุทธเจ้าอยู่เหมือนเดิมครับ ดังนั้นเมื่อพระเทวทัตสามารถนำพระภิกษุกลุ่มหนึ่ง(ซึ่งส่วนมากเป็นพระบวชใหม่)ติดตามตนและแยกตัวออกไปได้นั้น จึงเท่ากับว่าครบองค์ประกอบแห่งการทำผิดทั้งหมดจึงเท่ากับว่าเป็นการทำสังฆเภทครับ (ถ้าพระเทวทัตท่านเพียงแค่คิดหรือลงมือกระทำไปแล้วแต่ไม่สำเร็จก็ยังไม่ถือว่าเป็นสังฆเภทครับ แต่เผอิญว่าพระเทวทัตท่านทำได้สำเร็จก็เลยผิดเต็มๆครับ)
    <!-- / message -->
     
  6. omega

    omega เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2004
    โพสต์:
    134
    ค่าพลัง:
    +440
    โมทนาครับ สาธุ
     
  7. UFO99

    UFO99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2005
    โพสต์:
    294
    ค่าพลัง:
    +983
    สาธุอนุโมทนาบุญด้วยครับ
     
  8. Worapotj

    Worapotj สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +3
    ขอขอบคุณครับที่ให้ความกระจ่าง จากข้อที่1น่าจะรวมถึงฆระวาสที่ชอบยุแยงตะแคงรั่วให้หมู่คณะบริวารแตกความสามัคคีและหรือเป็นหนอนบ่อนไส้ชักศึกเข้าบ้านทำให้แผ่นดินมาตุภูมิแตกแยกเหมือนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาด้วยนะครับ.
     
  9. Attawat_Rx

    Attawat_Rx เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2005
    โพสต์:
    2,183
    ค่าพลัง:
    +18,400
    โมทนาครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...