กรมศิลป์ประกาศให้”วัดพิจิตรสังฆาราม” เป็นเขตโบราณสถาน

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 13 กุมภาพันธ์ 2022.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2565 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ตินโบราณสถาน ระบุว่า อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 กรมศิลปากรจึงประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดิน โบราณสถาน วัดพิจิตรสังฆาราม ตำบลโนนยาง อำเภอหนองสูง จังหวัตมุกดาหาร ให้มีพื้นที่โบราณสถาน 2 งาน 44 ตารางวา รายละเอียดดังปรากฏตามแผนผังแนบท้ายประกาศนี้

    ประกาศ ณ วันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

    พนมบุตร จันทรโชติ รองอธิบดีกรมศิลปากร รักษาราชการแทน อธิบดีกรมศิลปากร

    ทั้งนี้ วัดพิจิตรสังฆาราม ตั้งอยู่ในพื้นที่บ้านโนนยาง ตำบลโนนยาง อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2463 เป็นวัดที่มีของเก่าที่น่าสะสมไว้ คือ “ธรรมาสน์เสาเดียว” ซึ่งตั้งอยู่บนศาลาการเปรียญ

    “ธรรมาสน์เสาเดียว” เป็นธรรมาสน์ที่สร้างขึ้นให้ตั้งอยู่บนเสาไม้หนึ่งต้น ไม้ที่นำมาใช้ทำเสา และส่วนประกอบอื่นๆ เป็นไม้เนื้อแข็ง แบ่งความสูงของธรรมาสน์ออกเป็นสามส่วน ส่วนที่หนึ่งเป็นฐาน มีคันทวยแกะสลักเป็นรูปพญานาคสี่ตัว วางไว้สี่ทิศ เป็นแขนนาง ทำหน้าที่รับน้ำหนักของธรรมาสน์ ส่วนที่สอง เป็นชั้นธรรมาสน์ห้องสี่เหลี่ยมจตุรัส มีหน้าต่างสามบาน บานประตูหนึ่งบาน ซึ่งมีลักษณะคล้ายหน้าต่าง ส่วนที่สามเป็นหลังคาธรรมาสน์ สร้างเป็นเก๋งห้าชั้น ลดหลั่นขึ้นไปถึงยอดสูงสุด

    การตกแต่งเสาธรรมาสน์ แขนนาง ผนังภายนอก ภายใน และหลังคาเก๋งห้าชั้น แกะสลักลายกนก แล้วลงรัก ตกแต่งด้วยกระจกสี ธรรมาสน์ที่วัดพิจิตรสังฆาราม บ้านโนนยางนั้นมีลักษณะแตกต่างจากธรรมาสน์โดยทั่วไปในท้องถิ่นคือ มีลักษณะการก่อสร้างเป็น “ธรรมาสน์เสาเดียว” ฝังไว้กับพื้นดินภายในหอแจกของวัด

    จากข้อเขียนของ อ.สมชาย นิลอาธิ ในหนังสือเมืองมุกแม่น้ำโขง กล่าวถึงประวัติความเป็นมาว่าได้มีการก่อสร้างในปี 2484- 2485 มีจารคูสีสุก น้อยทรง ช่างพื้นบ้านเป็นผู้ก่อสร้าง โดยนำไม้เนื้อแข็งทั้งต้นทำเป็นเสา มีการแกะสลักแบบประติมากรรมนูนต่ำลายกนกลงรักอย่างสวยงามบริเวณเสาธรรมาสน์ แขนนาง ผนังภายใน และหลังคาเก๋ง มีส่วนประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน ได้แก่

    ส่วนที่ 1 เป็นฐานจากไม้เนื้อแข็ง โดยมีคันทวยแกะสลักเป็นรูปพญานาค 4 ตัว ติดไว้ทั้ง 4 ทิศ ทำหน้าที่เป็นแกนหลักในการรับน้ำหนักของตัวธรรมาสน์
    ส่วนที่ 2 เป็นชั้นธรรมาสน์ จะมีลักษณะเป็นห้องสี่เหลี่ยมจัตุรัส ประกอบด้วยประตู 1 บาน หน้าต่าง 3 บาน
    ส่วนที่ 3 เป็นส่วนของหลังคาธรรมาสน์ สร้างเป็นลักษณะเก๋ง 5 ชั้น มีขนาดลดหลั่นกันขึ้นไปจนถึงยอดสูงสุด

    ปัจจุบัน “หอแจก” หรือ “โรงธรรม” ซึ่งเป็นประดิษฐานของ “ธรรมาสน์เสาเดียว” ที่วัดพิจิตรสังฆาราม บ้านโนนยาง ยังคงมีการปฏิบัติธรรมของชาวบ้านทั้งในวันธรรมดาและในวันธรรมสวนะตามกิจวัตรของชาวพุทธโดยทั่วไป

    ขอขอบคุณที่มา
    https://mgronline.com/uptodate/detail/9650000014513
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...