///// เชิญน้อมนำคำสอนของพระพุทธเจ้า ไปปฏิบัติกัน /////

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย comxeoo, 1 พฤษภาคม 2014.

  1. comxeoo

    comxeoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +214
    กัลยณมิตร คือ อริยมรรค

    อานนท์ !
    ภิกษุผู้ชื่อว่า มีมิตรดี มีสหายดี
    มีเพื่อนดี ย่อมเจริญทำให้มาก ซึ่งอริยมรรคมีองค์แปด

    โดยอาการอย่างไรเล่า ?
    อานนท์ !
    ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมเจริญ ทำให้มาก
    ซึ่งสัมมาทิฏฐิ
    สัมมาสังกัปปะ
    สัมมาวาจา
    สัมมากัมมันตะ
    สัมมาอาชีวะ
    สัมมาวายามะ
    สัมมาสติ
    สัมมาสมาธิ
    ชนิดที่วิเวกอาศัยแล้ว ชนิดที่วิราคะอาศัยแล้ว ชนิด
    ที่นิโรธอาศัยแล้ว ชนิดที่น้อมไปรอบเพื่อการสลัดคืน.

    อานนท์ !
    อย่างนี้แล ชื่อว่าภิกษุผู้มีมิตรดี
    มีสหายดี มีเพื่อนดี ย่อมเจริญ ทำให้มาก ซึ่งอริยมรรค
    มีองค์แปด.

    อานนท์ !
    ข้อนั้นเธอพึงทราบโดยปริยายอันนี้เถิด คือว่า
    พรหมจรรย์นี้ทั้งหมดนั่นเทียว ได้แก่
    ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี, ดังนี้.

    อานนท์ !
    จริงทีเทียว, สัตว์ทั้งหลาย ผู้มี
    ความเกิดเป็นธรรมดา ได้อาศัยกัลยาณมิตรของเราแล้ว
    ย่อมหลุดพ้นหมดจากชาติ, ผู้มีความแก่ชรา ความเจ็บป่วย
    ความตาย ความโศก ความคร่ำครวญ ความทุกข์กาย
    ความทุกข์ใจ ความแห้งผากใจ เป็นธรรมดา
    ครั้นได้อาศัยกัลยาณมิตรของเราแล้ว ย่อม
    หลุดพ้นหมดจากชาติ, ความแก่ชรา ความเจ็บป่วย
    ความตาย ความโศก ความคร่ำครวญ ความทุกข์กาย
    ความทุกข์ใจ ความแห้งผากใจ.

    อานนท์ !
    ข้อนั้น เธอพึงทราบโดยปริยายอันนี้เถิด คือว่า
    พรหมจรรย์นี้ทั้งหมดนั่นเทียว ได้แก่
    ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี, ดังนี้.

    .........................
    สคา. สํ. ๑๕/๑๒๗/๓๘๓.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 พฤษภาคม 2014
  2. comxeoo

    comxeoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +214
    “ราหุล ! กระจกเงามีไว้สำหรับทำอะไร ?

    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !
    กระจกเงามีไว้สำาหรับส่องดู พระเจ้าข้า !”



    “ราหุล ! กรรมทั้งหลาย ก็เป็นสิ่งที่บุคคลควรสอดส่อง
    พิจารณาดูแล้วดูเล่าเสียก่อน จึงทำลงไป
    ทางกาย, ทางวาจา หรือ ทางใจ
    ฉันเดียวกับกระจกเงานั้นเหมือนกัน”.

    ม. ม. ๑๓/๑๒๕/๑๒๘
     
  3. comxeoo

    comxeoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +214
    กายนี้ เป็น “กรรมเก่า”

    ภิกษุทั้งหลาย !
    กายนี้ ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย
    และทั้งไม่ใช่ของบุคคลเหล่าอื่น.

    ภิกษุทั้งหลาย !
    กรรมเก่า (กาย) นี้ อันเธอ
    ทั้งหลาย พึงเห็นว่าเป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น (อภิสงฺขต),
    เป็นสิ่งที่ปัจจัยทำให้เกิดความรู้สึกขึ้น (อภิสญฺเจตยิต),
    เป็นสิ่งที่มีความรู้สึกต่ออารมณ์ได้ (เวทนีย).

    ภิกษุทั้งหลาย !
    ในกรณีของกายนั้น อริยสาวก
    ผู้ได้สดับแล้ว ย่อมทำไว้ในใจโดยแยบคายเป็นอย่างดี
    ซึ่ง ปฏิจจสมุปบาท นั่นเทียว ดังนี้ว่า “ด้วยอาการอย่างนี้ :

    เพราะสิ่งนี้มี, สิ่งนี้จึงมี;
    เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้, สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น;
    เพราะสิ่งนี้ไม่มี, สิ่งนี้จึงไม่มี;
    เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้, สิ่งนี้จึงดับไป :
    ข้อนี้ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ
    เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย;
    เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ;
    เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป;
    เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ;
    เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ;
    เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา;
    เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา;
    เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน;
    เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ;
    เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ;
    เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะ
    ทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน :
    ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี
    ด้วยอาการอย่างนี้.
    เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่ง
    อวิชชานั้น นั่นเทียว, จึงมีความดับแห่งสังขาร, เพราะมี
    ความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ; ... ฯลฯ ...
    ฯลฯ ... ฯลฯ ... เพราะมีความดับแห่งชาติ นั่นแล ชรามรณะ
    โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น :
    ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้”
    ดังนี้ แล.

    นิทาน. สํ. ๑๖/๗๗/๑๔๓.
     
  4. comxeoo

    comxeoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +214
    อานนท์ !
    เราได้กล่าวกะปริพาชกทั้งหลาย
    เหล่านั้นว่า

    ปริพาชกทั้งหลาย !
    เรากล่าวว่า ทุกข์ อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น.

    มันอาศัยเหตุปัจจัยอะไรเล่า ?
    อาศัยปัจจัยคือ ผัสสะ.
    ผู้กล่าวอย่างนี้แล ชื่อว่ากล่าวตรงตามที่เรากล่าว.

    นิทาน. สํ. ๑๖/๔๑/๗๖.
     
  5. comxeoo

    comxeoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +214
    บุคคลเป็นพราหมณ์ เพราะชาติ (กำเนิด) ก็หามิได้;
    จะมิใช่พราหมณ์ เพราะชาติก็หามิได้ :

    บุคคลเป็นพราหมณ์ เพราะกรรม;
    ไม่เป็นพราหมณ์ ก็เพราะกรรม.

    บุคคลเป็นชาวนา ก็เพราะกรรม;

    เป็นศิลปิน ก็เพราะกรรม,

    บุคคลเป็นพ่อค้า ก็เพราะกรรม;

    เป็นคนรับใช้ ก็เพราะกรรม,

    บุคคลแม้เป็นโจร ก็เพราะกรรม;

    เป็นนักรบ ก็เพราะกรรม,

    บุคคลเป็นปุโรหิต ก็เพราะกรรม;

    แม้เป็นพระราชา ก็เพราะกรรม,


    บัณฑิตทั้งหลาย
    ย่อมเห็นซึ่งกรรมนั้น ตามที่เป็นจริงอย่างนี้.
    ชื่อว่า เป็นผู้เห็นซึ่งปฏิจจสมุปบาท
    เป็นผู้ฉลาดในเรื่องวิบากแห่งกรรม.
    โลก ย่อมเป็นไปตามกรรม
    หมู่สัตว์ ย่อมเป็นไปตามกรรม
    สัตว์ทั้งหลาย มีกรรมเป็นเครื่องรึงรัด
    เหมือนลิ่มสลักขันยึดรถที่กำลังแล่นไปอยู่



    สุ. ขุ. ๒๕/๔๕๗/๓๘๒.
     
  6. comxeoo

    comxeoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +214
    "ข้อปฏิบัติให้ถึงความสิ้นกรรม"

    ภิกษุทั้งหลาย !
    เราจักแสดง จักจำแนก ซึ่ง
    อริยอัฏฐังคิกมรรค (อริยมรรคมีองค์แปด) แก่เธอทั้งหลาย.
    เธอทั้งหลายจงฟังความข้อนั้น จงทำในใจให้สำเร็จประโยชน์
    เราจักกล่าว.

    ภิกษุทั้งหลาย !
    อริยอัฏฐังคิกมรรค (อริยมรรคมีองค์แปด) เป็นอย่างไรเล่า ?

    ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ
    สัมมาทิฏฐิ
    สัมมาสังกัปปะ
    สัมมาวาจา
    สัมมากัมมันตะ
    สัมมาอาชีวะ
    สัมมาวายามะ
    สัมมาสติ
    สัมมาสมาธิ.

    ภิกษุทั้งหลาย !
    สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ)
    เป็นอย่างไรเล่า ?
    ภิกษุทั้งหลาย !
    ความรู้อันใดเป็นความรู้ในทุกข์
    เป็นความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์ เป็นความรู้ในความดับแห่งทุกข์
    เป็นความรู้ในทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.

    ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาทิฏฐิ.

    ..............................

    ภิกษุทั้งหลาย !
    สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ)
    เป็นอย่างไรเล่า ?
    คือ ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในการ
    ไม่มุ่งร้าย ความดำริในการไม่เบียดเบียน.

    ภิกษุทั้งหลาย !อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาสังกัปปะ.

    ..............................

    ภิกษุทั้งหลาย !
    สัมมาวาจา (การพูดจาชอบ)
    เป็นอย่างไรเล่า ?
    คือ เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดไม่จริง เจตนา
    เป็นเครื่องเว้นจากการพูดส่อเสียด เจตนาเป็นเครื่องเว้นจาก
    การพูดหยาบ เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ.

    ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาวาจา.

    ..............................

    ภิกษุทั้งหลาย !
    สัมมากัมมันตะ (การทำการงานชอบ)
    เป็นอย่างไรเล่า ?
    คือ เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการฆ่า เจตนาเป็น
    เครื่องเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้แล้ว
    เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม.

    ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมากัมมันตะ.

    ..............................

    ภิกษุทั้งหลาย !
    สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีวิตชอบ)
    เป็นอย่างไรเล่า ?
    ภิกษุทั้งหลาย ! สาวกของพระอริยเจ้าในกรณีนี้
    ละการหาเลี้ยงชีวิตที่ผิดเสีย ย่อมสำเร็จความเป็นอยู่ด้วย
    การเลี้ยงชีวิตที่ชอบ.

    ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่าสัมมาอาชีวะ.

    ..............................

    ภิกษุทั้งหลาย !
    สัมมาวายามะ (ความเพียรชอบ)
    เป็นอย่างไรเล่า ?
    ภิกษุทั้งหลาย !
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมปลูก
    ความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อม
    ประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อความไม่บังเกิดแห่งอกุศลธรรม
    อันเป็นบาปทั้งหลายที่ยังไม่ได้บังเกิด;

    ย่อมปลูกความพอใจ
    ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิตย่อมตั้งจิตไว้
    เพื่อการละเสียซึ่งอกุศลธรรมอันเป็นบาปทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้ว;

    ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร
    ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อการบังเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรม
    ทั้งหลายที่ยังไม่บังเกิด;

    ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อม
    ประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อความยั่งยืน ความไมเลอะเลือน
    ความงอกงามยิ่งขึ้น ความไพบูลย์ ความเจริญ ความเต็มรอบ
    แห่งกุศลธรรมทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นแล้ว.

    ภิกษุทั้งหลาย !อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาวายามะ.

    ..............................

    ภิกษุทั้งหลาย !
    สัมมาสติ (ความระลึกชอบ)
    เป็นอย่างไรเล่า ?
    ภิกษุทั้งหลาย !
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มี
    ปกติพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียรเครื่องเผา
    กิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและ
    ความไม่พอใจในโลกออกเสียได้;

    เป็นผู้มีปกติพิจารณา
    เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียรเครื่องเผา
    กิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและ
    ความไม่พอใจในโลกออกเสียได้;

    เป็นมีปกติผู้พิจารณา
    เห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีความรู้สึก
    ตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลก
    ออกเสียได้;

    เป็นผู้ปกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย
    อยู่ มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
    มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้.

    ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาสติ.

    ..............................

    ภิกษุทั้งหลาย !
    สัมมาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นชอบ)
    เป็นอย่างไรเล่า ?
    ภิกษุทั้งหลาย !

    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดแล้ว
    จากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึง
    ปฐมฌาน อันมีวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่;

    เพราะความที่วิตก วิจารทั้งสองระงับลง เข้าถึงทุติยฌาน
    อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรม
    อันเอกผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิด
    จากสมาธิ แล้วแลอยู่;

    อนึ่ง เพราะความจางคลายไปแห่ง
    ปีติ ย่อมเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
    และย่อมเสวยสุขด้วยนามกาย ชนิดที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย
    ย่อมสรรเสริญผู้นั้นว่า “เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นปกติสุข”
    ดังนี้ เข้าถึงตติยฌาน แล้วแลอยู่;

    เพราะละสุขและทุกข์
    เสียได้ เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสทั้งสอง
    ในกาลก่อน เข้าถึงจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีแต่
    ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่.

    ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาสมาธิ.

    ..............................

    มหาวาร. สํ. ๑๙/๑๐-๑๒/๓๓-๔๑.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กรกฎาคม 2014
  7. comxeoo

    comxeoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +214
    "สัมมากัมมันตะ นัยยะที่หนึ่ง"


    (ปาณาติปาตา เวรมณี) เธอนั้น ละปาณาติบาต
    เว้นขาดจากปาณาติบาต (ฆ่าสัตว์) วางท่อนไม้และศัสตรา
    เสียแล้ว มีความละอาย ถึงความเอ็นดูกรุณา หวังประโยชน์
    เกื้อกูลในบรรดาสัตว์ทั้งหลาย อยู่.

    (อทินนาทานา เวรมณี) เธอนั้น ละอทินนาทาน
    เว้นขาดจากอทินนาทาน (ลักทรัพย์) ถือเอาแต่ของที่เขาให้แล้ว
    หวังอยู่แต่ของที่เขาให้ ไม่เป็นขโมย มีตนเป็นคนสะอาด
    เป็นอยู่.

    (กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี-สำหรับฆราวาส)
    เธอนั้น ละการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการ
    ประพฤติผิดในกาม (คือเว้นขาดจากการประพฤติผิด) ในหญิง
    ซึ่งมารดารักษา บิดารักษา พี่น้องชาย พี่น้องหญิง หรือ
    ญาติรักษา อันธรรมรักษา เป็นหญิงมีสามี หญิงอยู่ในสินไหม
    โดยที่สุดแม้หญิงอันเขาหมั้นไว้ (ด้วยการคล้องพวงมาลัย)
    ไม่เป็นผู้ประพฤติผิดจารีตในรูปแบบเหล่านั้น.

    ในกรณีศีล ๕ อีกสองข้อที่เหลือ คือ การเว้นขาด
    จากมุสาวาท และการเว้นขาดจากการดื่มน้ำเมา คือ
    สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ก็ตรัสอย่าง
    เดียวกัน.

    ..............................

    สี. ที. ๙/๘๓/๑๐๓.;
    ทสก. อํ. ๒๔/๒๘๗-๒๘๘/๑๖๕.

    ..............................


    "สัมมากัมมันตะ ปริยายสองอย่าง (อันเป็นอริยะ)"


    ภิกษุทั้งหลาย !
    สัมมากัมมันตะ เป็นอย่างไรเล่า ?

    ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าว แม้สัมมากัมมันตะว่า
    มีโดยส่วนสอง คือ

    สัมมากัมมันตะ ที่ยังเป็นไปกับด้วยอาสวะ
    เป็นส่วนแห่งบุญ มีอุปธิเป็นวิบาก ก็มีอยู่,

    สัมมากัมมันตะ อันเป็นอริยะ ไม่มีอาสวะ
    เป็นโลกุตตระ เป็นองค์แห่งมรรค ก็มีอยู่.

    ภิกษุทั้งหลาย !
    สัมมากัมมันตะ ที่ยังเป็นไปกับด้วยอาสวะ
    (กิเลสที่หมักหมม) เป็นส่วนแห่งบุญ มีอุปธิ เป็นวิบากนั้น
    เป็นอย่างไรเล่า ?

    ภิกษุทั้งหลาย ! เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการ
    ทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการถือ
    เอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการ
    ประพฤติผิดในกามทั้งหลาย มีอยู่.

    ภิกษุทั้งหลาย !
    นี้คือสัมมากัมมันตะ ที่ยังเป็นไปกับด้วยอาสวะ
    เป็นส่วนแห่งบุญ มีอุปธิเป็นวิบาก.

    ภิกษุทั้งหลาย !
    สัมมากัมมันตะ อันเป็นอริยะ ไม่มีอาสวะ เป็น
    โลกุตตระ เป็นองค์แห่งมรรค นั้นเป็นอย่างไรเล่า ?

    คือ การงด การเว้น การเว้นขาด เจตนาเป็นเครื่องเว้น
    จากกายทุจริตทั้งสาม (ตามที่กล่าวแล้วข้างบน) ของผู้มีอริยจิต
    ของผู้มีอนาสวจิต (ผู้มีจิตที่ไม่มีอาสวะ) ของผู้เป็นอริยมัคคสมังคี
    ผู้เจริญอยู่ซึ่งอริยมรรค.

    ภิกษุทั้งหลาย !
    นี้คือ สัมมากัมมันตะ อันเป็นอริยะ ไม่มีอาสวะ
    เป็นโลกุตตระ เป็นองค์แห่งมรรค.

    ..............................

    อุปริ. ม. ๑๔/๑๘๔/๒๗๑-๒๗๓.
     

แชร์หน้านี้

Loading...