มีข้อสงสัยเกี่ยวกับอานาปานสติ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ปัญญา ณ c, 6 มิถุนายน 2014.

  1. ปัญญา ณ c

    ปัญญา ณ c เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2014
    โพสต์:
    35
    ค่าพลัง:
    +172
    ผมเข้าใจว่าให้รู้ลมตลอดเวลา เพื่อนที่ปฎิบัติก็แนะนำว่าให้จิตตั้งมั่นสนใจแต่ลมหายใจ ไม่ต้องไปสนใจอะไรทั้งนั้น

    ผมก็ลองปฎิบัติลอง สนใจแต่ลมหายใจ เอาจิตเข้าไปอยู่ในลมหายใจ เพื่อให้รู้ลมตลอดเวลา โดยผมพยายามกำหนดให้ผมนั้นมีแต่ลมหายใจไม่มีกาย
    ปรากฎว่า รู้สึกปวดหัว


    แต่พอลองปฎิบัติอีกแบบคือ ไม่กำหนดตัวเองให้จดจ่อแต่ลมหายใจอย่างเดียว

    นั่งสบายๆ กลับทำให้ผมรู้สึกว่านั่งได้นานกว่าและได้สมาธิและปิติที่สบายๆมากกว่า

    ผมปฎิบัติแบบนี้ ก็รู้ลมหายใจแต่รู้แบบไม่ได้เค้นให้สนแต่ลมหายใจอย่างเดียว

    ผมเลยอยากรู้ว่า หลักอาปานสติจริงๆนั้น เป็นยังไงกันแน่ครับ
     
  2. Supop

    Supop เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    587
    ค่าพลัง:
    +3,154
    ขออนุโมทนาที่ยังมีความตั้งใจไม่ทิ้งการปฏิบัตินะครับ

    ลักษณะที่ทำแล้วเกิดอาการอึดอัด บีบคั้น ปวด เพราะไปเพ่งเกินไป บีบคั้นจิตเกินไป

    การกำหนดอานาปานสตินั้น บางคนก็ใช้ รู้การเข้าออกที่ปลายจมูก
    บางคนก็ใช้ การรู้ลมเข้าไล่ไปถึงท้อง รู้ลมออกจากท้องมาที่ปลายจมูก
    บางคนก็กำหนด รู้ที่หน้าอก
    แต่สำหรับข้าพเจ้านั้น ใช้การรู้ทั้งสามฐานพร้อมกัน แล้วมันจะค่อยรวมมาเป็นหนึ่งเดียว

    ถ้าเอาจากหลักปฏิบัติจริงๆ ก็คือ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า

    แต่สำหรับข้าพเจ้า
    เริ่มแรกการปฏิบัติ (ข้าพเจ้าขอเอาจากประสบการณ์ที่ได้กระทำมานะครับ) ให้วางการรู้ไว้อย่างสบายๆ อย่าเพิ่งไปรีบเร่ง พยายามบีบการรับรู้ให้มันเล็กจนเกินไป เพราะสมาธิเรายังไม่ดีพอที่จะทำ มันมีความรู้สึกถึงไหนให้รู้ถึงตรงนั้น (บางคนอาจจะรู้ได้ทั้งตัว) แต่เราจะเอาฐานจิตไว้ตรงไหนให้เป็นจุดสังเกตไว้ ค่อยๆไล่การรู้ไปยังจุดนั้นๆ รู้อย่างกว้างๆไว้ก่อน เมื่อสมาธิเริ่มละเอียดขึ้น จิตเริ่มนิ่งบ้างแล้ว จึงค่อยๆลดระยะการรับรู้ลงไปเรื่อยๆ อย่างช้าๆ จนกระทั่งการรับรู้ของเราอยู่ที่จุดนั้นเพียงจุดเดียวได้ โดยที่ไม่รู้สึกอึดอัด บีบคั้น และมีอาการปวดหัว จากนั้นก็ประครองสมาธิ ณ.จุดๆนั้นไปเรื่อยๆ

    ถ้าใครที่มีภาพนิมิตลมร่วมด้วย เมื่อจิตยังแส่ส่ายอยู่ภาพนิมิตจะเห็นเป็นคล้ายหมอกควันกระจายออกไปแบบไร้ทิศทางเมื่อหายใจออก และจะเข้ามาแบบสะเปะสะปะเมื่อหายใจเข้า แต่เมื่อสมาธิละเอียดขึ้นจิตนิ่งได้ดีขึ้น ภาพนิมิตของลมจะเข้าออกแบบมีทิศทางมากขึ้นเป็นระเบียบมากขึ้น. และเมื่อละเอียดเข้าไปอีกจะเห็นลมเข้าเป็นเส้นสายจนกระทั่งเห็นเป็นเม็ดอณูเป็นประกายเหมือนเพชร (ในขั้นตอนของการเห็นภาพนิมิตลมที่ค่อยๆละเอียดขึ้นนี้ การรับรู้ลมของเราก็จะละเอียดตามไปด้วย จนกระทั่งจิตตัดการรับรู้ของลมเข้าสู่ฌาณที่ลึกเข้าไปอีก แต่ถ้าเราหยุดที่การรับรู้ลมที่ละเอียดนี้ไว้ไม่ปล่อยเข้าไปสู่ฌาณที่ลึกเข้าไปอีก เราจะรู้ถึงลมหรืออากาศรอบๆกาย การเอาลมเข้าลมออกทางไหนก็ได้ของกาย หรือการให้ไหลเวียนไปตามส่วนต่างๆของกาย

    ตามคำสอนท่านพ่อลี ท่านให้หายใจเข้าออกลึกๆ 7 ครั้ง ก่อนเริ่มปฏิบัติ (ทำเพื่อไล่ลมหยาบออกไปก่อน)
    ตามคำสอนหลวงพ่อจรัญ ท่านให้ กำหนดอย่างช้าๆ ละเอียด ปราณีต (เพื่อการรู้โดยละเอียด)

    ผิดถูกประการใดขออภัย

    สุดท้ายนี้ขออย่าได้ยึดมั่นหรือเชื่อถือในสิ่งใดที่ข้าพเจ้ากล่าวไปเลย

    ขอให้เจริญในธรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 มิถุนายน 2014
  3. markdee

    markdee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    745
    ค่าพลัง:
    +1,911
    รู้ลมเข้า รู้ลมออก
     
  4. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    สติระลึกรู้อย่างสบายๆ จริงก็คือนำจิตไรู้ลมนั้นหละครับ แต่ทำอารมณ์ให้สบาย การที่คุณบอกว่าไม่นำจิตรู้ที่ลมเฉพาะจุดเพียงอย่างเดียว ตามคำกล่าวข้างล่าง

    การปฏิบัติอย่างนี้ไม่ถูกส่วนนักนะครับ ที่คุณมีความเข้าใจว่าตอนที่คุณทำอยู่มันมีความสุข สบาย ถามว่าตรงจุดนั้นถูกต้องไม ถูกต้องครับ จิตคุณกำลังเข้าสู่อุปจารสมาธิ ก็จะมีอาการความสุขบางๆ อย่างนั้นหละ แต่ใจมันก็ยังเคลื่อนได้อยู่ ให้คุณลองสังเกตด้วยตัวคุณเองดู จะรู้ชัด จิตมันเคลื่อนได้อยู่เพราะกำลังสมาธิไม่เป็นอัปณาสมาธิ เคลื่อนได้ง่ายอยู่ ถามว่าถ้าคุณจะเอาแค่อย่างนี้ได้หรือไม่ ตอบว่าได้ครับ สมาธินี้เพียงพอสำหรับการพักผ่อนทางจิต แต่สำหรับผู้ที่บำเพ็ญฌาน ชื่อว่ายังไม่เพียงพอ เพราะมีธรรมที่ละเอียดยิ่งกว่านั้นนะครับ ต้องถามว่าจุดประสงค์ที่ต้องการของคุณคืออะไร ถ้าต้องการเพียงแค่สงบบ้างในยามฟุ้งซ่าน สมาธิแค่นี้พอได้ แต่ถ้าต้องการบำเพ็ญเพื่อฌาน เพื่อความสงบระงับที่มากกว่า เพื่อความละเอียดของสมาธิที่มากกว่า แค่นี้ยังไม่พอครับ เพราะยังเป็นเพียงแค่ประตูแรกที่จะเข้าไปสู่ปฐมฌาน....

    เอาเป็นว่าผมจะให้คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐานจากครูบาอาจารย์ที่เชี่ยวชาญด้านกรรมฐานที่มีชื่อเสียงเป็นอันดับต้นๆของประเทศไทยท่านหนึ่ง ได้เขียนตำราแบบฝึกในเรื่องของวิธีฝึกอานาปานุสสติกรรมฐานที่ได้ผลดี และคุณสามารถตรวจสอบสภาวะได้ด้วยตัวคุณเอง ไม่ว่าจะเรื่องวิธีการปฏิบัติตั่งแต่เริ่มต้น อาการของสภาวะที่คุณผ่าน อาการของลำดับฌานต่างๆ ....อย่างไรลองไปศึกษาดูนะครับ เพื่อความเข้าใจ และไม่ผิดพลาดไปในการปฏิบัติ....

    [​IMG]

    วิธีฝึกกรรมฐานด้วยตนเองแบบง่ายๆ โดย พระสุธรรมยานเถระ (พระราชพรหมยานมหาเถระ หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มิถุนายน 2014
  5. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    "โดยผมพยายามกำหนดให้ผมนั้นมีแต่ลมหายใจไม่มีกายปรากฎว่า รู้สึกปวดหัว"
    การปฏิบัติไม่ว่าแบบใดคือการรู้เห็นตามความเป็นจริง การจะรู้ลมก็ต้องรู้กายเพราะลมนี้ตั้งอยู่กับกาย อาศัยกาย การจะรู้ลมก็เพราะเกิดผัสสะกับกาย การจะรู้ลมแต่ไม่รู้กายจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ลมภายนอกหรือลมภายในก็อาศัยผัสสะที่กายจึงจะรู้ได้
    1.การรู้ลมเริ่มแรก ให้รู้ทั่วๆกว้างๆทั่วๆกาย ตรงนี้เป็นการดึงความรู้สึกที่มีต่อสิ่งภายนอกเข้ามาใกล้ตัวมากที่สุด ตรงนี้ทำได้ง่าย จะรู้สึกสบายๆ
    2.ลำดับต่อไป ให้รู้ความละเอียดของลม รู้ว่าเป็นลมเข้าหรือลมออก รู้ว่าลมสั้นหรือลมยาว รู้ว่าลมหยาบหรือลมละเอียด
    3.ลำดับต่อไปให้ทำความรู้ลงที่จุดใดจุดหนึ่งที่ลมสัมผัสชัด ส่วนใหญ่ที่ปลายจมูกหรือริมผีปาก ให้รู้เหมือนลำดับที่สอง แต่รู้เพียงจุดเดียว
    ***ทั้ง 3 ลำดับ ก็อาจสลับไปมา ทำตรงไหนได้ก็ทำตรงนั้น อย่าบังคับ***
     
  6. chura

    chura เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    688
    ค่าพลัง:
    +1,971
    การเจริญอานาปานสติ

    (ตามนัยแห่งมหาสติปัฏฐานสูตร)

    ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็น

    กายในกายอยู่นั้น เป็นอย่างไรเล่า ?

    ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ ภิกษุไปแล้วสู่ป่า หรือ

    โคนไม้ หรือเรือนว่างก็ตาม, ย่อมนั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ

    (ขัดสมาธิ) ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า, เธอเป็นผู้มีสติ

    หายใจเข้า มีสติหายใจออก (๑) เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัด

    ว่าเราหายใจเข้ายาว, หรือเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเรา

    หายใจออกยาว; หรือว่า (๒) เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า

    เราหายใจเข้าสั้น, หรือเมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเรา

    หายใจออกสั้น, (๓) เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เรา

    เป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง จักหายใจเข้า, เราเป็น

    ผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง จักหายใจออก, (๔) เธอ

    ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราทำกายสังขารให้รำงับ

    จักหายใจเข้า, เราทำกายสังขารให้รำ งับ จักหายใจออก,

    เช่นเดียวกับนายช่างกลึงหรือลูกมือของนายช่างกลึง

    ผู้ชำ นาญ เมื่อเขาชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ชัดว่าเราชักเชือกกลึง

    ยาว, เมื่อชักเชือกกลึงสั้น ก็รู้ชัดว่าเราชักเชือกกลึงสั้น,

    ฉันใดก็ฉันนั้น.

    ด้วยอาการอย่างนี้แล ที่ภิกษุเป็นผู้มีปกติพิจารณา

    เห็นกาย ในกายอันเป็นภายในอยู่ บ้าง, ในกายอันเป็น

    ภายนอกอยู่ บ้าง, ในกายทั้งภายในและภายนอกอยู่ บ้าง;

    และเป็นผู้มีปกติพิจารณา เห็นธรรม อันเป็นเหตุเกิดขึ้น

    ในกายอยู่ บ้าง, เห็นธรรมเป็นเหตุเสื่อมไปในกายอยู่ บ้าง,

    เห็นทั้งธรรมเป็นเหตุเกิดขึ้นและเสื่อมไปในกายอยู่ บ้าง,

    ก็แหละ สติ ว่า “กายมีอยู่” ดังนี้ของเธอนั้น เป็นสติที่

    เธอดำ รงไว้เพียงเพื่อความรู้ เพียงเพื่ออาศัยระลึก, ที่แท้

    เธอเป็นผู้ที่ตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้ และเธอไม่ยึดมั่น

    อะไรๆ ในโลกนี้.

    ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้มีปกติพิจารณา

    เห็นกายในกายอยู่ แม้ด้วยอาการอย่างนี้.
     
  7. patdorn

    patdorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    138
    ค่าพลัง:
    +227
    ก็ทำถูกแล้วนิ๊
     
  8. ellb

    ellb สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มกราคม 2011
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +22
    ผมขอตอบว่าคุณทำถูกแล้ว ....กรรมฐานทุกกอง เจริญเพื่อให้สงบ และถึง เอกัคคตาเป็นที่สุด แต่ไม่เสียทั้งหมด
    อานาปานุสสติ....อธิบายง่ายๆก็เปรียบเสมือนมะพร้าว ถ้าพูดถึงเรื่องมะพร้าวเขาก็ต้องใช้เนื้อข้างใน ก่อนอื่นก็ต้องผ่านเปลือกก่อน พอผ่านเปลือกก็พบกะลา พอผ่านกะลาก็ถึงจะเจอเนื้อและน้ำ ส่วนใครจะใช้น้ำและเนื้อของมะพร้าวไปทำอะไรก็เป็นเรื่องของแต่ละบุคคลไป แต่ก่อนที่เราจะได้เนื้อและน้ำมะพร้าวนั้น เราต้องทิ้งอะไร ไปบ้าง หนึ่งหละเปลือก สองกะลา อานาปานุสสติก็เช่นกัน เมื่อ มาถึงจุดใดจุดหนึ่งก็ต้องทิ้งไปตามส่วน แต่คุณกลับไม่ทิ้งมัน ไม่ใช่คุณตั้งใจจะทิ้งมันนะมันจะทิ้งของมันเอง เช่น อาจบริกรรมพุทโธ พร้อมลมหายใจ ด้วย เมื่อถึงจุดหนึ่งพุทโธ มันจะหายไป มันยังเหลือลม ไปอีกหน่อย ลมมันก็หาย จากความรู้สึก แต่มันไม่หายหร่อก มันไม่รับรู้แล้ว.... ไม้ต้องไปเค้นหามันหร่อก เพราะเราจะเอาเนื้อและน้ำมาใช้ประโยชน์ สิ่งไหนไม่จำเป็นมันจะปล่อยของมันเอง....... มาถูกทางแล้วทำให้มากเจริญให้ มาก ไม่ต้องสงสัยในพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์.....
     
  9. aero1

    aero1 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +54
    ลมหายใจถึงแม้ไม่ตั้งใจที่จักหายใจ ร่างกายมันก็ทำการหายใจของมันเอง

    ฉะนั้นเบื้องต้นพระองค์ให้. 1.ตั้งใจรู้ลมหายใจ 2.รู้ว่าลมเข้าหรือลมออก 3.รู้ว่าลมนั้นๆ ยาวตามกาลเวลาอย่างไร(ยาวหรือสั้น)

    สมดังอุปกรณ์ที่พระพุทธองค์ใช้ในการเปรียบเทียบ อานาปานสติกับนายช่างกลึง ตามวีดีโอด้านล่าง

    <object width="480" height="385"><param name="movie" value="http://www.youtube.com/v/mjJgmeWBG1s?fs=1&amp;hl=en_US"></param><param name="allowFullScreen" value="true"></param><param name="allowscriptaccess" value="always"></param><embed src="http://www.youtube.com/v/mjJgmeWBG1s?fs=1&amp;hl=en_US" type="application/x-shockwave-flash" allowscriptaccess="always" allowfullscreen="true" width="480" height="385"></embed></object>

    อานาปานสติ โดยส่วนตัวข้าพเจ้าสรุปก็คือ รู้ 3 สิ่ง ตามพุทธพจน์ คือ
    1.อุ ชุง กายัง ปะณิธายะ ปะริมุขัง สะติง อุปัฏฐะเปต๎วา, ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นบริเวณ ปากทางเข้าออกแล้ว,
    2.โส สะโต วะ อัสสะสะติ, สะโต ปัสสะสะติ, เป็นผู้ มีสติอยู่นั่นเทียว หายใจเข้า มีสติอยู่ หายใจออก,
    3.ทีฆัง วา อัสสะสันโต ทีฆัง อัสสะปัสสะสามีติ ปะชานาติ, เมื่อหายใจเข้ายาว, ออกยาว เธอก็ รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว ออกยาว,
    แต่ในส่วนของลมหายใจยาว คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าเน้นที่ความยาว ที่วัดได้ หรืออาจเข้าใจว่าลมหายใจ ยาวคือตอนที่ทำให้ยาว แต่หากเราท่านได้พิจารณากับ พุทธพจน์ที่พระองค์ตรัสเปรียบเทียบ อานาปานสติกับการชักเชือกของนายช่างกลึง จะรู้ได้ว่าพระองค์ทรงหมายถึง ความยาวตามกาลเวลา และลมหายใจยาวก็คือลมหายใจปกตินี่แหละ โดยเนื้อ ความท่อนนี้มีคัมภีร์อรรถกถา(วิสุทธิ มรรค)อธิบายไว้ แต่เข้าใจยากมาก ด้วยสำนวนต่างเวลากันเป็น พันปี รวมทั้งข้อคำแปลจากพระบาลีอันเป็น พุทธพจน์ บางตอนที่สำคัญๆ ผู้แปลก็ไม่ได้แปลแบบกล้าฟันธง(อันนี้น่า เห็นใจ) ....อ่านต่อ


    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 มิถุนายน 2014
  10. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +2,983
    จิต คือผู้รู้ ไปรู้ที่ลมหายใจ เข้า และออก
    หาจิตได้แล้ว จึงเอาจิต มาฝึกให้รู้อยู่กับสิ่งนั้น เช่นลมหายใจ เป็นต้น
     
  11. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    ทำสมาธิให้ได้ผลแล้วออกภาคปัญญา ตีให้แตกว่าขันธ์5เป็นอนัตตาอย่างไร
     
  12. comxeoo

    comxeoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +214
    อานาปานสติปฏิบัติใหม่ๆ จขกท. อาจจะเหมือนตั้งใจเครียดครัดมากเกินไปครับ ทำให้การรู้ที่ลมไม่เป็นไปตามธรรมชาติ จึงทำให้อึดอัดได้ ลองแก้ไขโดยการลดความจงใจในการจดจ่อที่ลมหายใจลงแล้วปฏิบติแบบสบายๆ ... แต่ตั้งธงไว้ในใจว่า "เราจะเพียรเอาสติมารู้ที่ลม ให้ได้มากที่สุดเท่าที่ทำได้" ...การเจริญอานาปานสติในระหว่างวัน เป็นสิ่งสำคัญครับ เราสามารถเจริญได้เกือบตลอดทั้งวัน

    อานาปาสติ เป็นทั้งสมถะและวิปัสสนา... ปฏิบัติแรกๆ จขกท.ปฏิบัติไปจะเห็นว่าอานาปานสตินี้เป็นสมถะ คือ การที่จิตจดจ่ออยู่ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง คือ ลมหายใจ จะทำให้จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ถ้าจขกท. วางจิตถูกไม่ให้การจดจ่อนั้นไหลไปรวมเป็นความนิ่งแช่อยู่ จิตก็จะตั้งมั่นพร้อมเป็น"ผู้ดูผู้รู้" แต่ตรงนี้ไม่ต้องไปสำคัญถึง "ผู้ดูผู้รู้" นี้ แต่อาศัย ลมหายใจนี้เป็นหลักให้จิตยึดให้จิตตั้งมั่น พร้อมไปรู้ในสภาวะต่างๆ ใน กาย เวทนา จิต ธรรม จิตจะพลิกไปทุกมุมในอานาปานสติทั้ง 4 ฐาน โดยไม่ต้องไปจงใจว่าจะให้จิตไปรู้ในฐานใดฐานหนึ่ง เพราะธรรมชาติของจิตจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆไม่คงที่อยู่แล้ว... สติที่เข้าไปรู้ในฐานใดฐานหนึ่ง แล้วเปลี่ยนแปลงไป การเห็นอยู่อย่างนี้ ขึ้นชื่อว่าเจริญวิปัสสนาอยู่ แต่พอจิตที่เคลื่อนไปรู้ในสติปัฎฐาน ฐานต่างอยู่นั้นต้องกลับมาที่ลมหายใจเสมอ รู้แล้วแล้วกัน ผู้ที่จะรู้ได้ต้องละจะสิ่งนั้นก่อนไม่เข้าไปรวมกับสิ่งนั้น จิตจะผูกติดไม่ตั้งมั่นจริง ... เมื่อไหร่ที่จิตเปลี่ยนแปลงไปตามฐานต่างๆในสติปัฎฐาน ไม่ว่าจะ ไปรู้กาย รู้เวทนา รู้จิต รู้ธรรม ถ้าจะเอาให้เห็นความจริง ก็ต้องเพ่งเฉพาะเพื่อให้เห็นชัดๆถึงความเปลี่ยนแปลง ความไม่เที่ยง บังคับไม่ได้ จะเกิดปัญญาขึ้นเองครับว่าอะไรเป็นอะไร... แล้วปฏิบัติอย่างนี้ไปจนสุดคือ นิพพานได้เลย เพราะจิตที่เข้าไปเห็นสภาวะอย่างนี้บ่อยๆจะเกิดปัญญา พอเกิดปัญญาแล้ว แล้วซ้ำๆถึงความไม่แน่นอน ความไม่เที่ยงของขันธ์5 ที่เรายึดมั่นนักหนาว่าเป็นเราเป็นของเรานี้ ที่แท้ว่างจากตัวตน มีสภาพแปรป่วน ไม่เที่ยง หลักลอย เอาแน่อะไรไม่ได้ จนเกิดความเบื่อหน่ายถึงที่สุด ก็สลัดอุปทานความยึดที่มันเคยไปยึดเอาขันธ์5 เวียนว่ายตายเกิดมายาวนาน ทุกข์กับมันมายาวนาน สลัดความยึดนั้นแบบ "กูไม่เอากะมึงแล้วโว้ย"

    ถ้าพอศึกษาวงจรปฏิจฯ มา จะเห็นเองว่า "อานาปาสติ" มีประโยชน์มากแค่ไหน สามารถตัดได้ถึงต้นตอของทุกข์ ตัดภพตัดชาติ ตัดกรรม รื้อถอนอนุสัย และไปยันสุดทางคือ นิพพาน สลัดความยึดถือในขันธ์5 ได้เลย... ส่วนอานาปานสติจะพลิกไปในสติปัฎฐานทั้ง4 ได้อย่างไร ถ้ามีโอกาสจะอธิบายเพิ่มเติมให้นะครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...