/// เอาสติมาระลึกที่ลมหายใจ แค่นี้เพียงพอไหม? ///

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย comxeoo, 6 พฤษภาคม 2014.

  1. comxeoo

    comxeoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +214
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 พฤษภาคม 2014
  2. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,480
    ค่าพลัง:
    +1,880
    ....ถามว่าเพียงพอใหม? ...อันที่จริง เจริญกุศล ละ อกุศล ก็ ดีหมดแหละครับ...การ รู้ธรรม ขึ้นอยู่กับอินทรีย์ พละ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา:cool:
     
  3. chura

    chura เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    688
    ค่าพลัง:
    +1,971
    เมื่อของเธอจิตที่จดจ่อที่ลมนั้น สติที่จดจ่อนั้นทำให้เกิดจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ มรรคในข้อ
    "สัมมาสมาธิ" จึงมีอยู่เต็มที่จิตตั้งมั่นเป็นขณะจากสติที่จดจ่อเพ่งเฉพาะ นี้ "สมาธิสัมโพชฌงค์" ก็ถึงความเต็มรอบเมื่อเกิดสมาธิสัมโพชฌงค์ มีผลให้จิตตั้งมั่น เป็นอุเบกขา "อุเบกขาสัมโพชฌงค์" ก็ถึงความเต็มรอบ
    ..............................................................................................
    จิตตั้งมั่น(แนวมรรค8)ไม่ใช่เพราะเพ่งลมน๊ะ ต้องไปดูสูตร อานาปานสติสูตรใหม่
    หรือลองเทียบกับสูตร กายคตาสติสูตร ซึ่งใช้แทนกันได้ ท่านว่า"ลม"ก็คือ
    กายอันนึง คำว่าลมคือกาย นั่นย่อมแสดงว่าเห็น"ลม"โดยความเป็นธาตุลม
    กายคือธาตุดิน คำว่าเอาสติมาเห็นกาย(ลม) ก็สามารถเอาสติมาเห็นลมได้
    (เห็นลมสั้น... เห็นลมยาว...เห็นนี้ยังไม่ชัดอาจจะเห็นลมหรือกายแบบลางๆ)
    การเห็นกระทั่งแจ้งกองลม(กองกาย)จึงมิใช่ลักษณะการเพ่งลมเพื่อให้เกิดจิตตั้งมั่น
    แต่เป็นการใช้สติเข้าไปเห็นกาย(หรือลม)ในลักษณะความเป็นธาตุ(ใช้การเห็นกาย
    หรือเห็นลมเป็นเครื่องอยู่ ลองหลับตาตัวเองแล้วยังเห็นกายได้อยู่แบบเห็นลางๆ)
    คนทั่วไปพออ่านวิธีตามมรรค8 กระทั่งมาเจอเรื่องเพ่งลมก็จะมุ่งมั่นเข้าไปเพ่งลม
    เพื่อให้จิตตั้งมั่นเลยพลาดตรงจุดนี้(ลองพิจารณาดูว่าจริงมั๊ย)แต่เนื้อหาส่วนอื่นดีมากๆ
    ครับผมขอเห็นแย้งเฉพาะ"จุดสำคัญ"นี้จุดเดียวครับ...ต้องเดินตามมรรค8 และฝึกให้
    เกิดสัมมาสติโดยใช้สติเข้าไปเห็น(กาย(ลม) เวทนาจิต ธรรม)เพื่อชำระกิเลสนำ
    ความยินดี ยินร้ายในโลก(ทางอายตนะ)ออกกระทั่งเหลืออุเบกขาสัมโพชงค์(จิต
    ตั้งมั่น สัมมาสมาธิเกิดจากมรรคสมังคี) จิตจึงพร้อมวิปัสสนา คือเห็นแจ้งในขันธ์5
    เห็นกายชัดทั้งกายภายนอกและกายภายใน ตับไต ไส้พุง เห็นชัดเจนเห็นได้กระทั่ง
    เวทนา จิต ธรรม เห็นเกิดดับ(ไตรลักษณ์) กระทั่งเบื่อหน่าย คลายความยึดมั่นในขันธ์5
    และสลัดคืนขันธ์5ให้โลกไป...
     
  4. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    ยังไม่รู้แจ้ง ยังเป็นความรู้ครึ่งๆ กลางๆ ไม่ถึงฝั่ง ก็อย่าเพิ่งประกาศตน
    อย่าเอาความคิดจินตนาการ คาดเดาเพิ่มเติม ในส่วนที่ตนยังปฏิบัติไม่ถึง
    รู้แค่ไหน แนะนำต่อเพียงเท่านั้น อย่าให้มันเลยภูมิของตนเอง
     
  5. tsukino2012

    tsukino2012 หยุดจึงพบ สงบจึงเกิด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    1,312
    ค่าพลัง:
    +3,090
    ไม่พอครับ ต้องใช่ความคิด ใช้ปัญญาพิจารณาสิ่งที่ควรพิจารณาด้วยครับ
    ไม่เพียงเท่านั้น การพิจารณานั้นก็ต้องหมั่นกระทำสม่ำเสมอ จนได้คำตอบที่ถูกต้อง
     
  6. Norlnorrakuln

    Norlnorrakuln เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    3,816
    ค่าพลัง:
    +15,099
    เพียงพอสำหรับขั้นพื้นฐานให้จิตสงบครับ
    แต่ต้องไม่พอใจหยุดอยู่เพียงแค่นั้น ต้องรู้จักนำความสงบที่ได้รับไปสอดส่องดูจิตดูกายของตนอย่างละเอียด จนเห็นสภาวะธรรมที่เนืองกันอยู่ตามความเป็นจริง เมื่อนั้นปัญญาจะเป็นเครื่องนำออกซึ่งเป็นสิ่งที่รู้ได้เฉพาะตนครับ ^_^
     
  7. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,480
    ค่าพลัง:
    +1,880
    พระวจนะ"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คำที่กล่าวกันว่า สัมมาทิฐฐิ สัมมาทิฐฐิ ดังนี้นั้น สัมมาทิฐฐิ ย่อมมีด้วยเหตุเพียงเท่าไร พระเจ้าข้า?...............กัจจานะ สัตว์โลกนี้ อาศัยแล้วซึ่งส่วนสุดทั้งสอง โดยมาก คือ ส่วนสุดว่าสิ่งทั้งปวงมี(อัตถิตา) และ ส่วนสุดว่าสิ่งทั้งปวงไม่มี (นตถิตา)............กัจจานะ เมื่อบุคคลเห็นด้วยปัญญา อันชอบตามที่เป้นจริง ซึ่งธรรมอันเป็นแดนเกิดแห่งโลก (โลกสมุทัย)อยู่ ทิฐฐิที่ว่า สิ่งทั้งปวงไม่มีในโลกย่อมไม่มี.............กัจจานะ เมื่อบุคคลเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามที่เป้นจริงซึ่ง ความดับไม่เหลือแห่งโลก(โลกนิโรธ)อยู่ ทิฐฐิที่ว่า สิ่งทั้งปวงมีในโลก ย่อมไม่มี.............กัจจานะ สัตวืโลกนี้โดยมาก มี อุปายะ อุปาทานะ และอภินิเวส เป็นเครื่องผูกพัน ส่วนสัมมาทิฐฐินี้ ย่อมไม่เข้าไป ย่อมไม่ยึดมั่น ย่อมไม่ตั้งทับ ซึ่งอุปายะและอุปาทานทั้งสองนั้น ในฐานะเป้นที่ตั้งทับ เป็นที่ตามนอน แห่งอภินิเวส ของจิตว่า "อัตตาของเรา" ดังนี้ ทุกข์นั้นแหละ เมื่อเกิดย่อมเกิด ทุกข์นั้นแหละเมื่อดับย่อมดับ ดังนี้ เป็นสัจจะที่ผู้มีสัมมาทิฐฐิ ไม่สงสัยไม่ลังเล ญานดังนี้นั้น ย่อมมีแก่เขา ในกรณีนี้ โดยไม่มีผู้อื่นเป็นปัจจัยเพื่อความเชื่อ กัจจานะ สัมมาทิฐฐิย่อมมีด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ----นิทาน.สํ.16/20-21/42-43..:cool: (ปัญหาตายแล้วเกิด ตายแล้วสูญ) อิทิปัจยตา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 พฤษภาคม 2014
  8. comxeoo

    comxeoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +214

    ภิกษุ ทั้งหลาย !
    สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายอันรำงับแล้ว มีความสุขอยู่ ย่อมเป็นจิตตั้งมั่น
    สมัยนั้นสมาธิสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว
    สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่าย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ;
    สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุนั้น ชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ.
    ภิกษุนั้น ย่อมเป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะ ซึ่งจิตอันตั้งมั่นแล้วอย่างนั้นเป็นอย่างดี.

    ภิกษุ ทั้งหลาย !
    สมัยใด ภิกษุเป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะ ซึ่งจิตอันตั้งมั่นแล้วอย่างนั้น เป็นอย่างดี
    สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว
    สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
    สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของภิกษุนั้น ชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ.

    ภิกษุ ทั้งหลาย ! สติปัฏฐานทั้ง ๔ อันบุคคลเจริญแล้ว
    ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมทำโพชฌงค์ทั้ง ๗ ให้บริบูรณ์ได้.


    ..........................


    คำว่า"เพ่ง" ในที่นี้คือ การเอาจิตมาจดจ่อที่ลมหายใจ
    เจริญอานาปานสติ ผู้ปฏิบัติจะหาสมดุลแห่งธรรมได้ด้วยตนเองครับ จะมีทั้งผ่อนมีทั้งเพ่ง... ไม่ได้ตั้งใจจะเพ่งที่ลมหายใจเพียงอย่างเดียวครับ
    เมื่อเราเพลินไปกลับอารมณ์โลกๆ เกิดมีสติว่าเราหลงไป สติก็กลับมาอยู่ที่ลมหายใจ สบายๆ(ตามความเป็นจริง) บางครั้งสบายๆอย่างนี้ความตั้งมั่นของจิตไม่พอจึงต้องมีจดจ่อ หรือ "เพ่งเฉพาะ" ในบางครั้ง ตรงนี้ผู้ปฏิบัติต้องหาความพอดีของตนเอง.. เพื่อให้จิตตั้งมั่น เป็นกลาง (ตรงนี้ถ้าจิตที่ฝึกมาดีจดจ่อจะเป็นฌานตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไป) ซึ่งเป็นสัมมาสมาธิในองค์มรรคด้วย เป็นสมาธิที่เกิดจากเราเจริญสัมมาสติ(เอาสติ(กายคตาสติ)เพ่งเฉพาะที่ลมหายใจ) จนจิตที่จดจ่อที่ลมหายใจนั้นตั้งมั่น(สมาธิสัมโพชฌงค์) เป็นกลาง(อุเบกขาสัมโพชฌงค์) แต่ขณะจิตที่ตั้งมั่นอยู่นี้ เพ่งที่ความตั้งมั่น แล้วเกิดมีความคิดผุดขึ้น ความจำผุดขึ้น หรือความปรุงแต่งเกิดขึ้น ทั้งๆที่เราเอาสติเพ่งที่จะรู้ที่ลมเพียงอย่างเดียวแล้ว ก็ยังเกิดสิ่งเหล่านั้นขึ้นมาอีก ตรงนี้คือ "วิปัสสนาที่แท้งจริง " จิตที่ตั้งมั่นดีแล้ว ให้จิตเห็นสภาวะธรรมด้วยจิตเอง ที่ไม่ใช่การคิดช่วย แต่เป็นการเห็นชัดๆ ด้วยการเจริญสัมมาสติ จนเกิด สัมมาสมาธิ ถ้าเห็นอย่างนี้ซ้ำๆ บ่อยๆ อย่างที่เราเพียรปฏิบัติ เห็นสภาวะไตรลักษณ์ เป็นของเกิด-ดับ บังคับไม่ได้ ... อุปมาเหมือนเราตั้งใจมองน้ำแข็ง ด้วยจิตที่เป็นสมาธิ เห็นน้ำแข็งละลายไปก้อนแล้วก้อนเล่า จนเราฟันธงได้เลยว่า มันเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... เช่นเดียวกัน ถ้าเราเฝ้าดูน้ำแข็งไปด้วย ฟังเพลงไปด้วย จิตไม่จดจ่อที่สิ่งๆนั้น จิตก็ไม่อาจฟันธงได้ ยังเห็นว่า เป็นของเที่ยงบ้าง ไม่เที่ยงบ้าง.. เราจึงต้องเจริญมรรคมีองค์8 ในข้อสัมมาสติ และสัมมาสมาธิ จนจิตตั้งมั่น เป็นกลาง เพื่อเป็นปัจจัย ให้เห็นสภาวะไตรลักษณ์ของขันธ์5


    ขออภัยด้วยครับ ที่อาจจะเขียนแบบรวบรัดไป ผมเพียงชี้รวมๆให้คนอ่านพอทราบได้ว่า อานาปานสติ นั้นเป็นการเจริญมรรคมีองค์ 8 หรือไม่ แล้วทำไมถึงทำให้สติปัฏฐานบริบูรณ์ โพชฌงค์บริบูรณ์ ได้อย่างไร รวมถึงการละสังโยชน์ด้วย และชี้ให้เห็นว่าธรรมะของพระพุทธองค์สอดคล้องเป็นเนื้อเดียวกัน ไม่ต้องแยกปฏิบัติ.... แต่ส่วนที่เป็น สติปัฏฐานไม่ได้อธิบายลงไป เพราะถ้าเขียนไปด้วยจะยาวยิ่งไปอีก จะกลายเป็นยิ่งเปอะ ส่วนการเจริญอานาปานสติ เป็นสติปัฏฐานและพลิกไปได้ทั้ง กาย เวทนา จิต ธรรม ยังไง .. มรรค์มีองค์8 เต็มรอบอย่างไร อ่านได้ที่ผมเปะลิงก์ไว้ครับ อาจเขียนได้ไม่ดี แต่ก็พยายามอธิบายให้เข้าใจง่ายที่สุดเท่าที่จะทำได้ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 พฤษภาคม 2014
  9. comxeoo

    comxeoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +214
    ข้อนั้น
    เพราะเหตุไร เพราะกระแสแห่งธรรมย่อมถูกต้องบุคคลนี้
    ใครเล่านอกจากตถาคตจะพึงรู้เหตุนั้น เพราะเหตุนั้นแหละ
    เธอทั้งหลายอย่าได้เป็นผู้ชอบประมาณในบุคคล และอย่าได้
    ถือประมาณในบุคคล
    เพราะผู้ถือประมาณในบุคคล
    ย่อมทำลายคุณวิเศษของตน เรา(พระพุทธเจ้า)หรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือ
    ประมาณในบุคคลได้ ฯ
     
  10. comxeoo

    comxeoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +214
    ภิกษุนั้น พึงกระทำซึ่งฉันทะ (ความพอใจ) วายามะ (ความพยายาม)
    อุสสาหะ อุสโสฬ๎หี (ความขมักเขม้น) อัปปฏิวานี (ความไม่ถอยหลัง)
    สติและสัมปชัญญะ อย่างแรงกล้า เพื่อละเสียซึ่งธรรมอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้น


    เช่นเดียวกับ บุคคลผู้มีเสื้อผ้าหรือศีรษะอันไฟลุกโพลงแล้ว จะพึงกระทำ
    ฉันทะ วายามะ อุสสาหะ อุสโสฬ๎หี อัปปฏิวานี สติและสัมปชัญญะอันแรงกล้า
    เพื่อจะดับไฟที่เสื้อผ้าหรือที่ศีรษะนั้นเสีย, ฉันใดก็ฉันนั้น.
     
  11. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    ไม่มีการถือประมาณอะไร

    มีแต่ ผู้ที่เห็นความจริงแล้ว จะเห็นในสิ่งเดียวกันทุกคน ไม่มีข้อยกเว้น
     
  12. comxeoo

    comxeoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +214
    "ทำอริยมรรคมีองค์ 8 ให้ถึงพร้อมได้อย่างไร"


    ภิกษุ ทั้งหลาย !

    เมื่อรู้เมื่อเห็นอยู่ ซึ่ง จักษุ ตามที่เป็นจริง

    เมื่อรู้เมื่อเห็นอยู่ ซึ่ง รูปทั้งหลาย ตามที่เป็นจริง

    เมื่อรู้เมื่อเห็นอยู่ ซึ่ง จักขุวิญญาณ ตามที่เป็นจริง

    เมื่อรู้เมื่อเห็นอยู่ ซึ่ง จักขุสัมผัส ตามที่เป็นจริง

    เมื่อรู้เมื่อเห็นอยู่ ซึ่ง เวทนา อันเกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย
    สุข ก็ตาม ทุกข์ ก็ตามอทุกขมสุขก็ตาม ตามที่เป็นจริง


    บุคคล ย่อมไม่กำหนัดยินดีในจักษุ ย่อมไม่กำหนัดยินดี ในรูปทั้งหลาย
    ย่อมไม่กำหนัดยินดี ในจักขุวิญญาณ ย่อมไม่กำหนัดยินดี ในจักขุสัมผัส
    ย่อมไม่กำหนัดยินดีในเวทนา
    อันเกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย สุข
    ก็ตาม ทุกข์ก็ตาม อทุกขมสุขก็ตาม.


    เมื่อบุคคลนั้นไม่กำหนัดยินดีแล้ว ไม่ประกอบพร้อมแล้ว
    ไม่หลงใหลแล้ว มีปกติเห็นโทษอยู่
    ปัญจุปาทานขันธ์ ย่อมถึงซึ่งความไม่ก่อขึ้นอีกต่อไป
    และ ตัณหา อันเครื่องนำมาซึ่งภพใหม่
    ประกอบอยู่ด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจแห่งความเพลิน
    ทำให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ ของบุคคลนั้น ย่อมละไป.

    ความกระวนกระวาย ทางกายและทางจิต ก็ละไป
    ความแผดเผา ทางกายและทางจิต ก็ละไป
    ความเร่าร้อน ทางกายและทางจิตก็ละไป
    บุคคลนั้นย่อมเสวยความสุขทั้งทางกายและทางจิต


    ทิฏฐิของผู้รู้ผู้เห็นอยู่เช่นนั้น เป็นสัมมาทิฏฐิ
    ความดำริของผู้รู้ผู้เห็นอยู่เช่นนั้น เป็นสัมมาสังกัปปะ
    ความเพียรของผู้รู้ผู้เห็นอยู่เช่นนั้น เป็นสัมมาวายามะ
    สติของผู้รู้ผู้เห็นอยู่เช่นนั้น เป็นสัมมาสติ
    สมาธิของผู้รู้ผู้เห็นอยู่เช่นนั้น เป็นสัมมาสมาธิ.

    ส่วน กายกรรม วจีกรรม และอาชีวะของเขา บริสุทธิ์มาแล้วแต่เดิม

    (ดังนั้นเป็นอันว่าสัมมากัมมันตะ สัมมาวาจา สัมมาอาชีวะ มีอยู่
    แล้วอย่างเต็มที่
    ในบุคคลผู้รู้อยู่ผู้เห็นอยู่เช่นนั้น).


    ด้วยอาการอย่างนี้ เป็นอันว่าอริยอัฏฐังคิกมรรค (อริยมรรคมีองค์ ๘) แห่ง
    บุคคลผู้รู้อยู่เห็นอยู่เช่นนั้น ย่อมถึงซึ่งความบริบูรณ์แห่งภาวนา ด้วยอาการอย่างนี้.


    เมื่อเขาทำอริยอัฏฐังคิกมรรคให้เจริญอยู่อย่างนี้
    สติปัฏฐานสี่ ...
    สัมมัปปธานสี่ ...
    อิทธิบาทสี่ ...
    อินทรีย์ห้า ...
    พละห้า ...
    โพชฌงค์เจ็ด ...

    ย่อมถึงความงอกงามบริบูรณ์ได้แท้
    ธรรมสองอย่างของเขาคือ สมถะและวิปัสสนา ชื่อว่าเข้าคู่กันได้อย่างแน่นแฟ้น...


    (ในกรณีแห่ง โสตะ(หู) ฆานะ(จมูก) ชิวหา(ลิ้น) กายะ
    (กาย) และมนะ(ใจ) ก็ได้ตรัสต่อไปด้วยข้อความอย่างเดียวกัน).


    ............................
    อุปริ.ม. ๑๔ / ๕๒๓–๕๒๕ / ๘๒๘–๘๓๐.
     
  13. comxeoo

    comxeoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +214
    แล้วคุณอินทรบุตรเห็นอย่างที่ผมเห็น อย่างเดียวกันหรือไม่ครับ... หรือเห็นต่้างไปจากนี้ ช่วยอธิบายด้วยนะครับ ว่าเห็นแตกต่างกันอย่างไร?
     
  14. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    ความรู้แจ้งในการปฏิบัติ มาจากภายใน ไม่ใช่มาจากภายนอก

    กลับไปเจริญสติให้ต่อเนื่อง และให้เลิกคิดเรื่องสภาวะ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพราะความคิดตัวนั้นมันปิดบังความจริง

    เมื่อไหร่ ที่จับตัวผู้ที่มันกำลังคิด อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ได้ ก็เห็นความจริงเมื่อนั้น

    และ เมื่อไหร่ ที่ทิ้งผู้ที่คิด อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ได้ ก็จะเริ่มพ้นทุกข์ ไปทีละขั้น
     
  15. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,428
    ค่าพลัง:
    +35,035
    ค่อยๆเป็น..ค่อยๆไปครับ..เริ่มต้นเดินให้ดีๆครับ..
    มันถึงปลายทางกันได้ทุกคนนั่นหละครับ..ช้าเร็ว
    ตามเหตุและปัจจัย..เริ่มสร้างสติทางธรรมกันก่อนครับ
    เจริญสติเอาไว้ในเบื้องต้นครับ.เพื่อเอาไว้คอยควบคุมจิต
    ควบคุมพฤติกรรมของจิต.เพื่อให้จิตคลายออกจากความคิด
    ออกจากขันธ์ ๕ ส่วนนามธรรมก่อน.

    เมื่อคลายได้แล้วปล่อยให้จิตรับรู้ตามสภาวะความเป็นจริงด้วยความเป็นกลาง.
    แต่สภาวะตรงนี้เราจะต้องเข้าใจกิริยาต่างๆของความคิดของขันธ์ ๕ ส่วนนามธรรมด้วย
    ก็จะก่อให้เรามีปัญญาทางธรรมขึ้นมาได้..อย่าพึงเอาความคิดหรือทิฐิมานะ
    ของตนเองเข้ามาคิดวิเคราะห์หรือตัดสินครับให้วางไว้ก่อน
    ..เพราะถึงแม้ว่ามันจะถูก
    มันก็ถูกในระดับของสมมุติ..มันยังเป็นปัญญาทางโลกๆอยู่ ยังไม่ใช่
    ปัญญาทางธรรมที่จะทำให้กิเลสในใจเรา ค่อยๆ ละ ค่อยๆคลายได้

    ใจเย็นๆกันอย่ารีบร้อน.ไม่ต้องเร่ง.สบายๆ..เจริญสติอยู่หลายคนก็ต้องสนุก
    อยู่คนเดียวก็ต้องสนุกครับ..จิตถ้าเค้าเครียดมากก็อย่าไปฝืน พักบ้างอะไรบ้าง
    เดี่ยวจะเกิดเวทนาทางจิตเอาได้...ถ้าจะสร้างสติทางธรรม ปรับระบบลมหายใจ
    เราให้มันละเอียดเป็นธรรมชาติก่อน หายใจเข้าออกปกติให้ลึกถึงท้องเข้าไว้นะครับ
    และทำให้เป็นระบบลมหายใจธรรมชาติของเรา อาจใช้เวลาเล็กน้อยในการปรับ

    แต่ก็จำเป็น..หลักการคืออยู่ที่กายอย่าออกนอกกาย.จะใช้การเคลื่อนไหวของร่าง
    กายก็ได้.วิธีไหนก็ได้แล้วแต่ถนัด บางคนนับนิ้ว นับก้าวเดิน ก็แล้วแต่จังหวะ.
    แต่ถ้าตามลมก็ใช้ทำความรู้สึกที่ปลายจมูกไว้.เพราะเป็นตำแหน่งจักระที่ส่งเสริม
    เรื่องการสร้างกำลังสติทางธรรมโดยตรง.แต่ควรควบคู่กับการหายใจให้ลึกถึงท้อง
    และทั้งการตามลมและการดูการเคลื่อนไหวของร่างกาย ควรทำควบคู่กันอย่าขาด
    เพื่อสร้างสติในระหว่างวันและสะสมกำลังสมาธิเล็กๆน้อยๆระหว่างวัน.จะทำให้นั่ง
    สมาธิแบบพิธีการได้ง่ายขึ้น.กำลังสติจะมากพอในการควบคุมความคิดในขณะนั่งอย่างเป็นพิธีการ..
    จะทำให้เป็นฐานในการปฏิบัติสมาธิแนวทางๆอื่นๆได้ง่ายขึ้นด้วย..

    ขอบคุณครับ..
     
  16. Supop

    Supop เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    587
    ค่าพลัง:
    +3,154
    ขออนุโมทนาผู้เจริญในธรรมทุกท่าน

    โปรดสังเกตเถิด อันความคิดที่เป็นสิ่งที่เชื่อถือไม่ได้ เป็นแค่ความฟุ้งซ่านเป็นแค่การคิดนึกไม่ได้เกิดจากการรู้ชัด จุดเกิดมันอยู่ที่สมองจะต่างจากความคิดที่เกิดจากการรู้ชัดซึ่งจะเกิดจากจุดที่เรากำหนดจิตไว้ ถ้าความคิดนึกฟุ้งซ่านนี้มันกวนการกำหนดของเราเหลือเกิน. ลองย้ายจิตไประลึกรู้ตรงตำแหน่งนั้นๆเลย รู้ตรงนั้นไว้หนอ

    การปล่อยวางได้นั้น ไม่ได้เกิดจากการคิดปล่อยละวาง แต่เกิดจากการที่เรารู้ชัด ในสภาวะ เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป เรารู้ชัด ว่าอะไรเกิด เกิดตรงไหน เหตุอะไรให้เกิด เมื่อครองสภาวะอยู่เป็นอย่างไร แล้วดับไปได้อย่างไร รู้จริงๆหนา ตรงนี้แหละที่เราจะรู้ว่า เราจะปล่อยอะไรปล่อยทำไม และปล่อยยังไง
    แต่การคิดเพื่อให้เกิดการปล่อยละวางจะทำให้เกิดอารมณ์ที่อยากจะปล่อยได้ ใช้สนับสนุนกันได้ แต่ต้องรู้ชัดถึงจะปล่อยได้จริง

    โปรดอย่าได้เชื่อถือหรือยึดมั่นในสิ่งใดในคำกล่าวของข้าพเจ้าเลย

    ขอให้เจริญในธรรมทุกท่าน
     
  17. Supop

    Supop เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    587
    ค่าพลัง:
    +3,154
    ขออภัยข้าพเจ้าไม่ได้คุยเรื่องหลักของกระทู้

    การจะปฏิบัติแค่ระลึกรู้ลมหายใจโดยตลอดนั้นเพียงพอไหม
    เพียงพอ แต่ต้องเป็นไปตาม "อริยมรรคมีองค์แปด" เสียก่อน ต้องเป็นไปตามลำดับ พระพุทธองค์ท่านวางไว้ดีแล้วหนอชอบแล้วหนอ ปฏิบัติตามลำดับเป็นการไล่ปิดภพหยาบเข้าไปเรื่อยๆ จนถึงที่สัมมาสติ สัมมาสมาธิ จึงเป็นการประครองตนไม่ให้หลงกลับไปภพหยาบอีก แล้วไล่ทำลายในภพที่ละเอียดกว่าต่อไป

    และเมื่อถึงขั้นที่เป็นหัวข้อแล้ว จะไม่ต้องไปถามใครอีกเลย เราจะรู้ไปเองเรื่อยๆ

    อีกอย่าง การปฏิบัติต้องเป็นไปตามขั้นตอนนะ อย่าข้ามขั้น ในธรรมชาติความเป็นจริงไม่มีอะไรที่ข้ามขั้นตอนได้ มันจะเป็นไปตามสภาวะธรรมชาติเอง อยู่ชั้นหนึ่งจะขึ้นชั้นสาม ก็ต้องผ่านชั้นสองก่อน จะขึ้นจะลงยังไงวิธีไหนก็ต้องผ่านชั้นสองไปอยู่ดี จะวาร์ปแบบในจินตนาการของมนุษย์ไม่ได้ ธรรมชาติก็คือธรรมชาติเป็นไปตามธรรมชาติ ถ้าไปผิดธรรมชาติมันก็จะวนอยู่ในความผิดธรรมชาตินั้นๆ

    การปฏิบัติตามธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์นั้นไม่ยากถ้าเอาจริง ที่ยากเพราะเอาไม่จริง

    สุดท้ายนี้ขออย่าได้ยึดติดถือมั่นในคำกล่าวของข้าพเจ้าเลย

    ขอให้ทุกท่านเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไป สาธุ.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 พฤษภาคม 2014
  18. ฟางฟืน

    ฟางฟืน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    31
    ค่าพลัง:
    +48
    จับสติกับปัจจุบัน จับได้มั่งไม่ได้มั่งสบายใจดี
     
  19. xeforce

    xeforce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2011
    โพสต์:
    140
    ค่าพลัง:
    +413
    ............................................

    ถึงคุณอินทรบุตร คุณนพกานต์ คุณSupop คุณนวลปราง คุณdawlong


    หลายคนเห็นพ้องต้องกันแล้วสรุปว่า "ทั้งหมดนี้ผมคิดเอา ไม่ได้มาจากการปฏิบัติ"
    ก็เป็นอันว่าผมคงไม่ไปเปลี่ยนความคิดใครนะครับ แต่ขอชี้แจงถึงเจตนาของผมที่เขียนกระทู้ต่างๆ
    จะเชื่อหรือไม่เชื่อ ถึงตัวของผม ก็เป็นสิทธิ์ของแต่ละท่าน แต่คำสอนที่ออกมาอันนี้ผมขอออกมาปกป้อง
    ธรรมทั้งหลายยึดโยงกับในคำสอน พระพุทธเจ้าทั้งหมด โดยช่วงหลังผมเอาคำสอนของพระพุทธองค์
    มาแสดงเทียบเคียงให้เห็น ถึงสิ่งที่ผมเคยโพสว่า ตรงกันหรือไม่


    ผมขอถามนะกลับแต่ละท่านนะครับ
    1.แต่ละท่านจะอ่านธรรมะที่ผมเคยโพสจนจบกันหรือไม่ เข้าใจกันอย่างไร แล้วเห็นทางที่เป็นทางเดียวกับพระพุทธองค์หรือเปล่า?

    2.มีซักกระทู้ไหมครับ ที่ผมเห็นผมบอกให้ "คิดช่วย ในการวิปัสสนา"

    3.คิดว่าทั้งหมดที่เห็นทุกกระทู้ เกิดจากคิดจินตนาการของผมเองหรือครับ ถ้าเห็นว่าการคิดจินตนาการเอาได้ "แต่ละท่านช่วยแสดงปฏิปทา
    อย่างละเอียด ตั้งแต่บรรลุธรรมขั้นแรก จนถึง ทำลายอุปปาทาน" แต่ถ้าจะเขียนว่า "เจริญสติไปเรื่อยๆ" อย่างนี้ไม่เอาครับ อย่างนี้คนไม่ได้ปฏิบัติ ก็แสดงปฏิปทาได้อย่างนี้ได้ ... ถ้าธรรมะเกิดจากคิดจินตนาการได้ "ลองช่วยจิตนาการอย่างละเอียดให้ทราบด้วยครับ"




    สิ่งที่ผมแสดงออก เพื่อยืนว่า "ชาวบ้านธรรมดา อย่างเราๆ ก็บรรลุธรรมได้ในชาตินี้ ถ้าปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า"
    ผมกล้าพูดได้เต็มปากเลยว่า ผมสนใจธรรมะเมื่อ 4 ปีที่แล้ว และสองปีแรกปฏิบัติและศึกษาแต่การทำสมาธิ ทำฌาน จนได้มีโอกาส
    ฟังอานาปานสติของพระพุทธเจ้า แล้วผมทำอานาปานสติอย่างที่เห็นในกระทู้ อยู่ตลอด 3 วันถึงเห็นธรรม จากคนไม่รู้อะไรเลย ศึกษาและทำมาแต่สมาธิ
    ธรรมะที่เห็นเป็นการกลั่นกรองมาหลังจากนั้น 6 เดือน... ทั้งเวลาที่ใช้ปฏิบัติ อายุของผม และระยะที่กลั่นกรองธรรมะอาจจะน้อยถ้าเทียบ
    กับหลายท่าน แต่ผมกล้ายืนยันในธรรมที่ผมกล่าวทั้งหมดจะผ่านไปอีกกี่ปีผมก็จะกล่าวธรรมนี้เหมือนเดิม จะเชื่อผมว่าเห็นธรรมหรือไม่
    ผมไม่สนใจ แต่ธรรมที่ผมแสดง เป็นธรรมของพระพุทธองค์ ผมต้องชี้แจง


    แต่ผมถึงบอกย้ำแล้วย้ำอีก ให้ทำตามคำพระพุทธองค์กัน และผมพยายามอธิบายโดยอาศัยประสบการณ์ เป็นตัวช่วยให้คนอ่านเข้าถึงง่าย
    พอตอนหลังมาอ่านคำสอนของพระพุทธองค์มากขึ้น ก็เห็นว่าสภาวะที่ผ่านมาตรงกับคำสอนสอนของพระพุทธเจ้า จึงหยิบ พุทธพจน์
    มาย้ำและแสดงให้เห็นว่า ปฏิบัติอย่างนี้ตรงตามคำสอนของพระพุทธองค์แน่




    ลองสังเกตุให้ดีนะครับ กระทู้ที่เห็นทุกกระทู้ "เป็นการปฏิบัติแบบเดียวกันทั้งสิ้น" ต่างไปแต่เนื้อเรื่องที่สมมุติเป็น
    การเล่าถึงคนนึงที่ถูกสมมุติขึ้น แทนตัวคนอ่านที่อาจจะมีความทุกข์เหมือนอย่างนี้ อาจได้เป็นจุดเปลี่ยนที่หันมาปฏิบัติธรรมก็ได้
    ที่ตอนหลังบอกว่าเป็นการปฏิบัติของผมเอง ก็เพราะ เมื่อกล่าวไปแล้วคนก็จะมุ่งตรงมาที่ตัวผมว่า "บรรลุธรรมจริงหรือไม่" แทนที่จะ
    มุ่งไปที่ธรรมที่ผมกล่าว พอเปลี่ยนแบบที่เขียนใหม่ก็เห็นว่าคนอ่านมุ่งกันไปที่"ธรรม" และป้องกันกันการปรามาสกัน
    โดยจิตที่คิดเพ่งโทษ แทนที่จะกล่าวแก้ไขกันในธรรม แต่มาเพ่งโทษที่บุคคล นั่นเป็นเจตนาที่แท้ของผมที่อยากให้ท่านๆทราบ
    ทุกกระทู้เป็นส่วนขยาย จากอานาปาสติทั้งสิ้น ทุกกระทู้ผมมีเจตนาต่างๆกันไป ไม่ได้ทำขึ้นมาลอยๆโดยไม่มีจุดประสงค์


    1.กระทู้ " อานาปานสติ " และ " ทางพ้นทุกข์ " มากจากการรวมกระทู้ อานาปานสติ นี้ ดีจริงหรือ กับกระทู้ อานาปานสติ" ตั้งแต่ต้น จน แจ้งธรรม

    เจตนาให้พอเป็นแนวทางในการปฏิบัติอานาปานสติ และทางมรรคมีองค์8 จะบริบูรณ์อย่างไร รวมทั้งธรรมะจะช่วยให้พ้นทุกข์ได้อย่างไร

    ..........................

    2.กระทู้ " ความรัก " และ " มรรคมีองค์ 8 " แตกมาจากกระทู้ " อานาปานสติ " และ " ทางพ้นทุกข์ "

    เจตนาให้เข้าใจความสำคัญของมรรคมีองค์8 และสร้างความเข้าใจแบบง่ายๆ โดยใช้เรื่องความรัก ที่ผมได้เห็นจากเพื่อนใน facebook
    เลยยืมเรื่องมา เขียนกระทู้ หวังให้ถ้าเกิดมีวัยรุ่นผิดหวังเรื่องความรักมา อาจจะนำธรรมะไปใช้แก้ทุกข์ได้

    ..........................

    3.กระทู้ "การเอาสติมาระลึกที่ลมหายใจ" เพียงพอไหม "จะทำให้แจ้งนิพพาน" แตกเรื่องมาจาก 2 กระทู้ด้านบน


    เจตนาให้ คนอ่านได้อัศจรรย์ใจกับคำสอนของพระพุทธองค์ ว่าทุกคำสอนสอดรับ สอดคล้อง เกื้อกูล เป็นเนื้อเดียวกันทั้งหมดด้วยการ
    ปฏิบัติอานาปานสติเพียงอย่างเดียว ทั้งสติปัฏฐาน มรรคมีองค์8 โพชฌงค์ สอดคล้องกันยังไง และเตรียมจิตอย่างไรก่อนปฏิบติ รวมถึง
    สังโยชน์ด้วย โดยยืมเนื้อบางส่วนโดยสมมุติเรื่องจากสมาชิกท่านหนึ่งที่ผมไปอ่านเจอในนี้เรื่องของทุกข์ ...


    ..........................

    ทุกกระทู้ลองอ่านให้ดีๆนะครับการปฏิบัติเหมือนกัน แสดงตั้งแต่ต้น จนเห็นธรรม มองให้ข้ามเรื่องสมมุติ
    อย่ามาสนใจเลยครับว่าผมจะเป็นอะไร หรือไม่ ..อ่านให้ถึงธรรม อย่าไปติดกับเนื้อเรื่องที่ "สมมุติขึ้น"

    ผมเพียงแค่ให้ธรรมะสามารถเข้าถึงได้กับทุกคน คนอ่านจะได้เปิดใจ ยืนอยู่
    ตรงไหนก็น้อมไปปฏิบัติได้ แม้จะเป็นผู้เริ่มต้นก็ตาม... ถ้าธรรมที่ผมกล่าวนั้น ท่านๆอ่านไม่เข้าใจ เห็นไม่เป็นสาระก็มองข้ามเสียไปก่อน วันหนึ่ง
    ถ้าเข้าใจ ก็เห็นธรรมนี้เอง


    ..............................
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 พฤษภาคม 2014
  20. xeforce

    xeforce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2011
    โพสต์:
    140
    ค่าพลัง:
    +413
    โสดาบัน อย่างนี้ อย่างนี้
    ผมอธิบายสภาวะไปหมดแล้ว จะไม่กล่าวซ้ำ ลองอ่านดูครับ
    comxeoo กับ xeforce คนเดียวกัน
     

แชร์หน้านี้

Loading...