อัลบั้มพระ ประวัติ และวัตถุมงคล

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย ปู ท่าพระ, 26 ธันวาคม 2013.

  1. Norr

    Norr เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,105
    ค่าพลัง:
    +127,437
    ขอบพระคุณพี่โญมากครับ...สำหรับของขวัญปีใหม่อันทรงคุณค่านี้..(^_^)

    เหรียญ100ปีหลวงตามหาบัวงดงามมากเลยครับ..

    File เสียงหลวงปู่โต๊ะแผ่นนี้โอเคมากเลยครับ..อนุโมทนาสาธุครับผม ^^


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]



    [​IMG]



    [​IMG]



    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]



    [​IMG]






     
  2. ryan boy

    ryan boy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    452
    ค่าพลัง:
    +22,021
    สวัสดีครับ คุณปู พี่โญ พี่ตี๋ คุณนอร์ คุณเอ็ม คุณโอ๊ต ^__^

    [​IMG]
     
  3. ryan boy

    ryan boy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    452
    ค่าพลัง:
    +22,021
    [​IMG]

    [​IMG]

    เหรียญรุ่นสุดท้าย หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม ปี2518
    เริ่มต้นคงต้องกล่าวถึงเรื่องการสร้างเสียก่อนว่าเหรียญรุ่นสุดท้ายนั้นมีที่มาจากเฮีย แห่งมูลนิธิสุขศาลานุเคราะห์ จังหวัดนครปฐม หรือประมาณมูลนิธิปอเต็กตึ๋งแห่งนครปฐม ได้มาทำพิธีล้างป่าช้าที่วัดดอนยายหอมราวปลายปี 2517 หรือต้นปี 2518 นี่ล่ะครับ พอได้พูดคุยสนทนากับหลวงพ่อเงินก็เลยได้ถือโอกาสขออนุญาตจัดสร้างพระของท่านสักรุ่น ทั้งนี้เพื่อจะหาทุนไว้ใช้ในการดำเนินงานของมูลนิธินั่นเอง หลวงพ่อเงินท่านได้ฟังแล้วก็เห็นว่าเป็นประโยชน์ของประชาชนจึงอนุญาตไป โดยท่านได้กำชับให้ใส่คำว่ารุ่นสุดท้ายไว้ในเหรียญด้วยเลย เพราะขณะนั้นท่านมีอายุถึง 82 ปีเข้าให้แล้ว แต่ก็นำความแปลกใจให้ทุกคนเพราะตอนนั้นท่านยังดูแข็งแรงอยู่มากทีเดียว

    เมื่อได้รับอนุญาตแล้วก็ได้มีการว่าจ้างช่างให้แกะแบบเป็นเหรียญไข่หูในตัว ด้านหน้ามีรูปหลวงพ่อเงินครึ่งองค์อยู่ตรงกลาง ซึ่งแกะได้เข้มขลังและเหมือนจริงมาก ราวกับหลวงพ่อมีชีวิตก็ไม่ปาน ใต้องค์หลวงพ่อมีคำว่าหลวงพ่อเงินอยู่ ในส่วนด้านหลังมียันต์พระเจ้าห้าพระองค์อยู่ตรงกลาง ซึ่งช่วงท้ายชีวิตท่านจะนิยมใช้ยันต์ตัวนี้แทนยันต์นะทรหด ด้านบนมีตัวหนังสือว่า พระราชธรรมาภรณ์ ด้านล่างมีคำว่า มูลนิธิสุขศาลานุเคราะห์นครปฐม ๒๕๑๘ มีดอกจันทร์ประกบหัวท้าย ใต้ยันต์ห้านั้นจะมีคำว่ารุ่นสุดท้ายเป็นแถวตรงกำหนดไว้

    ในส่วนของจำนวนนั้นไม่มีใครบันทึกไว้แต่ว่ากันว่าหลายหมื่นทีเดียวเพราะเห็นว่ารุ่นสุดท้ายแล้ว เลยจัดสร้างให้เยอะเลย บวกกับที่ต้องการนำพระถวายให้วัดดอนยายหอมไว้ให้เช่าทำบุญด้วย เลยตั้งใจสร้างพระมาให้เยอะหน่อย แต่มีบางคนคุยว่าพระนั้นเมื่อรวมทุกเนื้อ ทุกพิมพ์ ทุกบล็อก แล้วสร้างมาทั้งสิ้น 84,000 องค์เท่าพระธรรมขรรนั่นเอง ซึ่งตรงนี้ขอไม่ยืนยันข้อมูล

    ส่วนผิวพระนั้นในส่วนของเนื้อทองแดงจัดสร้างแบบรมน้ำตาลส่วนหนึ่ง ย้ำว่ารมน้ำตาลแม้พระบางองค์จะดูดำหน่อยเมื่อลงกล้องจะเป็นสีแดงเลือดหมูเข้ม แต่พระจะมีหลายโทนสี เพราะการรมทำครั้งเดียว พระที่อยู่ด้านล่างโดนรมมากสีจะเข้ม ตรงกลางจะออกแดง แดงเปลือกมังคุต แดงมะขามเปียก ซึ่งตรงกลางนี้จะหายากหน่อย ส่วนรอบนอกจะเป็นสีน้ำตาลออกมองเผินๆ เหมือนผิวเปิดนั่นเอง นอกจากนี้ยังมีอีกกลุ่มที่จะรมมันปู โดยกลุ่มนี้หากสภาพดีผิวจะเหมือนมีคราบน้ำมันคลุมเหรียญ แต่มองทะลุเห็นผิวทองแดงชัดเจน มองเหมือนไม่เรียบร้อยนั่นเอง



    ส่วนเนื้อหาที่ชัดเจนเลยคือ 4 เนื้อ มีทองคำ เนื้อเงิน เนื้อนวะโลหะ และทองแดง ซึ่งเหมือนกันทั้ง สองพิมพ์ โดยในส่วนของเนื้อทองคำพิมพ์ใหญ่นั้นให้เช่าจากวัดในราคาเหรียญละ 3,000 บาท ซึ่งสมัยนั้นทองคำบาทละไม่ถึงพันด้วย โดยคนที่จะสั่งจองต้องแจ้งไปยังสมาคมจั๊วหลีในกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นแม่งานในการจัดสร้างเนื้อทองคำให้ ส่วนเนื้อเงิน ให้ทำบุญในราคาเหรียญละ 150 บาท เนื้อนวะราคา 50 บาทเท่านั้น ส่วนเนื้อทองแดงก็เหรียญละ 30 บาท

    ในส่วนของเหรียญรุ่นสุดท้ายนั้นเรียกได้ว่ามีเกล็ดสาระเกี่ยวกับการสร้างมากพอตัว ชนิดที่เล่าให้ฟังก็ไม่เบื่อ เริ่มที่ประเด็นแรกคือเสียงร่ำลือของคนดอนยายหอมที่ว่ากันว่าตอนที่ได้มีการนำไปให้หลวงพ่อเสกนั้น มีหลวงพ่อเงิน หลวงพ่อแช่ม หลวงพ่อพร หลวงพ่อพันธ์ และอาจารย์รัตน์ร่วมกันเสก โดยหลวงพ่อเงินท่านเปรยว่ารุ่นสุดท้ายแล้วต้องทำให้ดีหน่อย นี่เองที่นับว่าเป็นเรื่องน่าสนใจประการที่หนึ่ง

    ประเด็นที่สองมีหลายคนสงสัยว่าทำไมในเมื่อเหรียญนั้นออกในปี 2518 แต่หลวงพ่อเงินท่านไปมรณภาพในวันที่ 13 มกราคม 2520 แล้วทำไมถึงไม่ได้สร้างพระรุ่นอื่นออกมาในปี 2519 เลย? คำตอบคือเนื่องจากจำนวนสร้างรุ่นสุดท้ายนั้นมากเสียจนต้องใช้เวลามาก ขนาดที่ว่าตัวตัดเหรียญยังมีถึง 4 ตัว เพื่อช่วยกันทำให้เร็วแล้ว แต่กว่าจะเสร็จตามจำนวนที่ต้องการก็ไปสำเร็จเอาในช่วงปลายปี 2518 และออกจำหน่อยในตอนต้นปี 2519 แล้ว อีกทั้งพอกลางปี 2519 หลวงพ่อเงินท่านเริ่มป่วยซึ่งเชื่อว่าท่านเองมีญาณรู้กาลสังขารของท่าน จึงได้กำหนดไว้เช่นนั้น และเมื่อพระสร้างไว้มากพอ ในปี 2519 ตอนที่สุขภาพท่านไม่สะดวกที่จะจัดสร้างพระแล้ว ก็ยังมีพระให้วัดดอนยายหอมได้นำออกให้เช่าอย่างเพียงพอ
     
  4. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,492
    ค่าพลัง:
    +53,107

    สวัสดีครับพี่บอย เหรียญหลวงพ่อเงิน สวยมากครับ :cool::cool:
     
  5. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,492
    ค่าพลัง:
    +53,107
    [​IMG] [​IMG]

    หลวงพ่อแพ กำเนิดใน วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2448 ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือนยี่ ปี มะเส็ง ณ ต.สวนกล้วย อ.ท่าช้าง จ.สิงห์บุรี บิดาของหลวงพ่อชื่อ นายเทียน มารดาชื่อ นางหน่าย ใจมั่นคง มีพี่น้อง ร่วมสายโลหิต 4 คน หลวงพ่อเป็นคนสุดท้อง แต่เมื่อท่านได้อายุ 8 เดือน มารดาก็เสียชีวิต หลังจากที่มารดา ท่านจากไปแล้ว นายบุญ ขำวิบูลย์ ผู้เป็นอา และ นางเพียร ภรรยา จึงได้ได้ขอหลวงพ่อมาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม

    การศึกษา

    เมื่อท่านอายุได้ 11 ปี พ่อแม่บุญธรรม ได้นำท่านไปฝาก กับ สมภารพันธ์ เจ้าอาวาส วัดพิกุลทอง ท่านได้ศึกษาจนพอรู้หนังสือบ้าง ประมาณ 3 เดือน สมภารจึง ให้พระอาจารย์ ป้อม จันทสุวัณโณ ซึ่งเป้นพระลูกวัดใ ที่มีความรู้ทางภาษาไทยและ ขอมอย่างแตกฉาน ทำให้หลวงพ่อมีความเชี่ยวชาญ รอบรู้ ทางด้าน ภาษา คัมภีร์พระธรรม พระสูตร พระมาลัย และเขียนจารึกอักษรขอมได้อย่างงดงาม

    ปี พ.ศ.2461 เพื่อนของบิดาบุญธรรมของท่าน มีความประสงค์ ให้ส่งหลวงพ่อมาเรียนต่อที่กรุงเทพฯ เพื่อ มาศึกษา ต่อ และ มาอยู่เป็นเพื่อนกับลูกชายของตนที่วัดชนะสงคราม บิดามารดาของหลวงพ่อจึงได้บอกกล่าวความให้ท่านทราบ ท่านจึงรับปากว่าจะไปเรียนต่อตามความประสงค์ เมื่อมาอยู่วัดชนะสงคราม หลวงพ่อจึงได้เรียน สูตรสนธิ (อัตโถ อักขระสัญญโต ฯ) กับพระอาจารย์สม อยู่ 1 ปี ต่อมาท่านเห็นว่าบาลีไวยากรณ์ง่ายกว่า จึงได้เปลี่ยนไปเรียน บาลีฯ ที่วัดมหาธาตุฯ

    ต่อมาปี พ.ศ. 2463 ท่านมีอายุได้ 16 ปี ได้เดินทางกลับ จ.สิงห์บุรี เพื่อเยี่ยม บิดาผู้ให้กำเนิดและบิดามารดาบุญธรรม ๆของท่านเห็นว่าท่านโตแล้ว จึงได้ร่วมบรรพชาเป็นสามเณร ในวันที่ 15 เมษายน พ.ศ.2463 โดยมี พระอธิการพันธ์ เจ้าอาวาสวัดพิกุลทอง เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากนั้น ท่านก็เดินทางกลับมายังวัดชนะสงคราม อยู่กับ พระอาจารย์เทศ คณะ10 ต่อมาไม่นานทางบ้านก็ส่งข่าวมาบอกว่า โยมเทียน บิดาผู้ให้กำเนิดถึงแก่กรรม จึงเดินทางกลับไปสิงห์บุรี เพื่อ จัดการศพบิดา แล้วกลับมา อยู่ที่คณะ 10 เช่นเดิม

    ปี พ.ศ.2466 หลวงพ่อสอบนักธรรมตรีได้ (ในสมัยนั้นผู้เข้าสอบ ต้องอายุ 19 ปีจึงจะมีสิทธิ์ เข้าสอบได้)

    ปี พ.ศ.2468 สามารถสอบเปรียญธรรม 3 ประโยค ได้ตั้งแต่เป็นสามเณร นับว่าได้นำเกียรติมาสู่วัดชนะสงคราม เป็นอย่างมาก จากนั้นหลวงพ่อได้ไปเล่าเรียนที่ วัดมหาธาตุฯ โดยเป็นศิษย์ ของเจ้าพระคุณสมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี)

    ปี พ.ศ. 2469 ท่านอายุ ได้ 21 ปี จึงอุปสมบท อย่างสมเกียรติสามเณรเปรียญ ซึ่งในสมันนั้น หาได้ไม่มากนัก เมื่อวันที่ 21 เมษายน ณ พระอุโบสถวัดพิกุลทอง โดยมี พระมงคลทิพย์มุนี วัดจักรวรรดิ์ราชาวาส เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสิทธิเดช วัดชนะสงคราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการอ่อน วัดจำปาทอง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ซึ่งภายหลังอุปสมบทแล้วหลวงพ่อได้กลับมาอยู่วัดชนะสงครามตามเดิม และในปีเดียวกันหลวงพ่อนักธรรมชั้นโทได้

    ปี พ.ศ. 2470 หลวงพ่อสอบได้เปรียญธรรม 4 ประโยคได้ แต่หลังจากนี้ไม่นานหลวงพ่อ ก็จำเป็น ต้องหยุดศึกษา เนื่องด้วยปัญหาทางด้านสายตาเนื่องจาก จะเห็นได้ว่า ท่านได้มีวิริยะ อุตสาหะในการศึกษาตั้งแต่เด็ก โดยถือว่าการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญต่อปฏิบัติธรรมให้ได้ถูกต้อง ทำให้หลวงพ่อคร่ำเคร่ง ในการอ่านหนังสือ ในที่แสงสว่างไม่เพียงพอ

    เพราะในสมัยนั้นไฟฟ้ายังไม่มีใช้ จำเป็นต้องใช้แสงสว่างจากเทียน หรือตะเกียง นัยน์ตา ซึ่งได้ตรากตรำจากการดูหนังสือมากเกินไป เกิดอาการตาอักเสบแดง ปวดแสบ นายแพทย์โรงพยาบาลจุฬาฯ จึงแนะนำให้ท่านหยุด ใช้สายตา มิฉะนั้นนัยน์ตาอาจจะพิการ จึงเป็นที่เสียดายเป็นอย่างยิ่งของท่านเพราะหลวงพ่อ ตั้งใจไวมุ่งมั่นในการศึกษามาก ระหว่าง ปี พ.ศ.2471-2472 ได้รับหน้าที่เป็นครูสอนบาลี โดยสอนตามคณะต่างๆ ของวัดชนะสงคราม รับเป็นเจ้าอาวาสวัดพิกุลทอง

    ปี พ.ศ. 2474 เจ้าอาวาส วัดพิกุลทอง ได้ลาสิกขาบท ทำตำแหน่งเจ้าอาวาสว่างลง ชาวบ้านพิกุลทองและจำปาทองได้ร่วมกันปรึกษา ที่จะขอให้ท่านมารับเป็นเจ้าอาวาสวัดพิกุลทอง ขณะนั้นหลวงพ่อได้เดินทางกลับมาเยี่ยมบิดาและญาติพี่น้อง ซึ่งท่านได้พักที่วัดพิกุลทอง ท่านจึงเห็นว่า เป็นวัดพิกุลทองบ้านเกิดเมืองนอน ตอนนี้ เสนาสนะชำรุดทรุดโทรมมาก โดยเฉพาะพระอุโบสถซึ่งสร้างมา ตั้งแต่ พ.ศ.2440

    และขณะนั้นท่านได้หยุดพักรักษานัยน์ตา ประสงค์จะพักผ่อนหาความสงบ คิดว่าเมื่อตาหายดีแล้ว ก็จะศึกษาบาลีลันักธรรมต่อตามความตั้งใจเดิม จึงรับปากว่าจะมาอยู่วัดพิกุลทอง ในระหว่างที่ยังว่างเจ้าอาวาสอยู่ปี พ.ศ. 2482 คณะสงฆ์แต่งตั้งให้ท่านดำรงตำแหน่ง เจ้าคณะตำบลถอนสมอ และในปีเดียวกันหลวงพ่อพิจารณาเห็นว่าพระอุโบสถชำรุดทรุดโทรมมาก พระสงฆ์ประกอบพิธีสังฆกรรมแต่ล่ะครั้ง ต่างกลัวไม้หลังคากระเบื้องหล่นถูกศีรษะ ไม่มีจิตเป็นสมาธิ จึงเริ่มคิดที่จะปฏิสังขรพระอุโบสถ

    เริ่มเรียนจิตศาสตร์

    เมื่อท่านอายุประมาณ 24-25ปี สมัยยังศึกษาอยู่ที่กรุงเทพฯ ท่านได้เริ่มสนใจในทางปฏิบัติ เพื่อหา ความสงบทางใจ จึงเข้าอบรมและปฎิบัติวิปัสสนากรรมฐานในสำนัก พระครูภาวนาฯ วัดพระเชตุพนฯ(วัดโพธิ์ท่าเตียน) ได้ความรู้ในแถวทางปฏิบัติมาพอสมควร และยังได้ศึกษาจากท่านอาจารย์พระครูใบฎีกา เกลี้ยง วัดสุทัศน์เทพวราราม ซึ่งเป็นพระฐานานุกรม และศิษย์ ผู้ใกล้ชิด สมเด็จพระสังฆราชแพ วัดสุทัศน์ฯ (ซึ่งทางเชี่ยวชาญ ทางด้าน สร้าง-ลบผง พุทธคุณ พระครูใบฎีกา เกลี้ยงท่านได้เมตตาสั่งสอนอบรมและมอบตำราเกี่ยวกับจิตศาสตร์วิทยาคมให้

    ต่อมาทราบว่าในท้องที่ อำเภอบางระจันมีพระอาจารย์เรืองวิทยาคมอยู่รูปหนึ่ง มีคนนับถือและเกรงกลัวมาก เพราะวาจาศักดิ์สิทธิ์ ชื่อหลวงพ่อศรี เจ้าอาวาสวัดพระปรางค์ หลวงพ่อจึงได้เดินทาง ไปฝากตัวเป็นศิษย์จนมี ความสามารถและเป็นที่โปรดปรานของหลวงพ่อศรี เป็นอย่างยิ่ง หลวงพ่อเล่าว่า หลวงพ่อศรี เมตตาสอนวิทยาคมให้อย่างไม่ ปิดบังอำพราง และในขณะที่ก่อสร้างพระอุโบสถ หลวงพ่อศรีท่านก็แนะนำให้ หลวงพ่อแพ สร้างแหวน และทุกครั้งที่พลวงพ่อแพท่านได้สร้างเสร็จ ท่าจะนำไปถวายหลวงพ่อศรีปลุกเสก (หลวงพ่อแพ ท่านถามหลวงพ่อศรีว่าสร้างแล้วคนนิยมกันไหม หลวงพ่อศรี ท่าน บอกว่านิยมมาก ให้สร้างมากๆ ท่านจะสนับสนุน) ด้วยความเมตตาของหลวงพ่อศรีนี้เอง ทำให้หลวงพ่อได้สร้างพระอุโบสถหลังใหม่ ได้สำเร็จ ในเวลา 2 ปีเศษ

    หล่อสมเด็จทองเหลือง

    เมื่อหลวงพ่อมีบารมีมากขึ้นตามลำดับ วัดหลายวัดต่างนิมนต์ ท่านเป็นประธานในการก่อสร้างวัด วิหาร ถาวรวัตถุต่างๆมากมายหลายวัด และ เมื่อ เดือนมีนาคม พ.ศ. 2493 ทางวัด แถบ อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี ก้อได้นิมนต์ท่านร่วมงาน หลวงพ่อเล่าว่า ท่านเพลียมากจึงชวนศิษย์ไปจำวัด ที่หอสวดมนต์ โดยมีคนหลายนอนอยู่ก่อนแล้ว ก่อนนอนท่านเอาผ้าอาบน้ำฝนใส่ไว้ในย่าม จึงรู้สึกว่าย่ามใหญ่ คิดว่าคนที่นอนอยู่คงเข้าใจว่าเป็นเงิน

    ด้วยความอ่อนเพลียท่านจึงหลับไป พอท่านตื่นจากจำวัดเวลาเช้ามืด พบว่าย่ามหายไปแล้ว จึงแจ้งทางวัดทราบ สำหรับสิ่งของในย่าม มีเพียงของเล็กๆน้อยๆ แต่ของที่สำคัญก็คือ พระสมเด็จวัดระฆังฯ ซึ่งได้รับจากสมบัติของโยมวัดชนะสงคราม จึงเป็นของที่แท้ และทรงคุณค่าทางด้านจิตใจของหลวงพ่อมาก ท่านจึงเสียดายเป็นอย่างมาก ญาติโยมช่วยกันติดตาม ปรากฏว่าได้รับของอื่นคืนครบทุกชิ้น ยกเว้นพระสมเด็จ สอบถามผู้ขโมยได้ความว่าได้นำไปขายให้บุคคลไม่ทราบชื่อ ไม่สามารถติดตามคืนได้หลวงพ่อเล่าว่าท่านเสียดายมาก ระหว่างนั้นต้องไปขอยืมสมเด็จวัดระฆังจาก อาจารย์หยด ซึ่งเคยเป็นเจ้าอาวาส มาติดตัวไปก่อนด้วยความเคารพในบารมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต เป็นอย่างยิ่ง

    ทำให้หลวงพ่อ อธิษฐานขอบารมี ณ วัดไชโยวรวิหาร ขอสร้างพระโลหะพิมพ์สมเด็จ ขึ้นใช้เอง และแจกจ่ายให้กับผู้เคารพศรัทธา ในปี 2494 ประมาณเดือน 6 โดยนำช่างมาเททองหล่อ ที่ด้านใต้ โบสถ์หลังเก่า ได้รับโลหะจากผู้ที่มาร่วมพิธี นำมาหล่อเช่น เครื่องเงิน ขันลงหิน โต๊กทาน เชียนหมาก ตะบันหมาก สตางค์แดง สตางค์ข้าว สตางค์สิบ ทองเหลือง เป็นจำนวนมาก

    ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์

    ในปี พ.ศ. 2484 หลวงพ่อได้รับ สมณศักดิ์ พระครูสัญญาบัตรตำแหน่ง พระครูผู้จัดการทางประปริยัติธรรมและพระธรรมวินัย ที่ พระครูศรีพรหมโสภิต

    ในปี พ.ศ. 2486 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ และเป็นกรรมการตรวจธรรมสนามหลวง

    ในปี พ.ศ. 2506 ได้รับตำแหน่ง ให้รักษาการเจ้าคณะอำเภอท่าช้าง และ ปี พ.ศ.2509 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอท่าช้าง

    ไปประเทศอินเดีย

    ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 ซึ่งวันนั้นเป็นวันที่คับคั่ง ไปด้วยศิษยานุศิษย์ เกือบจะเต็มศาลา การเปรียญ วันนั้นหลวงพ่อได้กล่าวออกมาด้วยความปิติต่อชุมชนว่า การเดินทางไปอินเดียครั้งนี้ เสมือนกับ บุตรไปเยี่ยมภูมิประเทศบิดา เพื่อเป็นการถวายสักการะ เป็นการแสดงกตัญญูกตเวทิตาคุณ ในเมื่อมีโอกาสก็ควรจะกระทำ การเดินทางในครั้งนี้จะประกอบกิจเป็นกรณีพิเศษ 2อย่างคือ

    ประการที่หนึ่ง เพื่อตั้งใจนมัสการสังเวชนียสถาน ทั้ง 4 ตำบลอันได้แก่ สถานที่ประสูติ สถานที่ตรัสรู้ สถานที่ปฐมเทศนา และ สถานที่ปรินิพพาน ซึ่งนับว่าเป็นมหากุศลพิเศษ

    ประการที่สอง เพื่อเดินทางไปสร้าง พระสมเด็จรุ่นพิเศษ พิมพ์ปรกโพธิ์ เนื้อมวลสารประกอบด้วยผงวิทยาคม ที่(ได้ลบผง)สะสมไว้แล้ว จะผสมดินที่พระพุทธเจ้าของเรา ประสูติ ตรัสรู้ และปฐมเทศนาด้วย

    เวลา 14.00น. หลวงพ่อเข้าสู่พระอุโบสถ นมัสการพระประธานแล้ว ไปนมัสการสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ณ วิหารสมเด็จของวัด แล้วเดินทางเข้ากรุงเทพ พักที่วัดชนะสงคราม คณะ 10 หนึ่งคืน

    วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 ออกเดินทางจากท่าอากาศยานกรุงเทพฯ ถึง ประเทศอินเดีย จากนั้นเที่ยวชมสถานที่ต่างๆของอินเดีย และเดินทางสู่ พุทธคยาในตอนค่ำ

    วันที่ 25 กุมภาพันธ์ เวลาเช้า ได้เดินทางไป นมัสการต้นศรีมหาโพธิ์ ซึ่งเป็นสถานที่ ตรัสรู้ พหลวงพ่อและคณะได้นมัสการด้วยความเคารพอย่างสูงแล้ว ได้เริ่มผสมผงเพิ่อพิมพ์ สมเด็จปรกโพธิ์เป็นปฐมฤกษ์ หลวงพ่อท่านได้นั่งสมาธิจิตรำลึกถึงคุณพระศรีรัตนตรัย เสกพิมพ์พระปรกโพธิ์ แล้วจึงกดพิมพ์ ด้วยจิตที่มุ่งส่งกระแสจิตเพื่อบรรจุในองค์พระ ณ ควงไม้โพธิ์ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ ว่าพิมพ์ปรกโพธิ์ที่สร้างขึ้น มีมงคลฤกษ์ ณ สถานที่ตรัสรู้ พุทธคยา ประเทศอินเดีย ก่อให้เกิดสิริมงคลแก่ผู้นำไปบูชา

    เวลา 11.00 เดินทางกลับมาที่วัดไทยพุทธคยา เพื่อฉันภัตตาหารเพล พักผ่อนพอสมควรแล้ว ตอนบ่าย หลวงพ่อได้เดินทางไปที่ ณ ควงต้นศรีมหาโพธิ์อีกครั้งหนึ่งเพื่อนมัสการ เป็นคำรบสองและปลุกเสกพิมพ์พระ และผงที่ผสมในดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์โดยประสงค์เพื่อจะนำกลับมาเพื่อเป็นชนวนผสม สร้างพระให้พอเพียงแก่ผู้มีจิตศรัทธาในตัวหลวงพ่อ จะได้นำไปบูชาสักการะและติดตัว เพื่อคุ้มครองทุกหนทุกแห่ง และหลังจากนั้นหลวงพ่อได้เดินทางไปยัง สถานที่ปฐมเทศนา ปรินิพพาน และประสูติ ตามลำดับ และยังได้เดินทางไปตามสถานที่สำคัญต่างๆอีกมากมาย ท่านได้เดินทางกลับประเทศไทย ในวันที่ 9 มี.ค. 2514 ใช้เวลาเดินทางรวม 13 วัน

    บูรณะค่ายบางระจัน

    ค่ายบางระจันเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่ประจักษ์ แก่ประชาชนท้องถิ่นและผู้ไปเที่ยวชมมากต่อมาก โดยเฉพาะก้อนอิฐ ซึ่งแต่ละก้อนจะประทับดอกจันทร์ไว้ ชาวบ้านเกรงกลัวเป็นอย่างยิ่งและต้นไม้แดง ซึ่งมีมากบริเวณค่าย ไม่มีใครสามารถตัดได้ แม้แต่กิ่งแห้งเหี่ยวหักตกลงมา ชาวบ้านหรือแม้กระทั่งพระในวัด นำไปเป็นฟืนหุงต้มยังวิบัติ และสิ่งสำคัญและศักดิ์สิทธิ์ อีกอย่างหนึ่งก็คือสระน้ำหน้าวิหารพระอาจารย์ธรรมโชติ สมัยก่อนมีปลาชุมคลักอยู่ก้นบ่อ ผู้ใดจับไปกินจะเกิดอาเพศต่างๆ แม้น้ำในบ่อเคยมีคนนำไปเติมหม้อน้ำรถ หม้อน้ำก็ยังระเบิด

    ชาวบ้านบางระจันจึงพร้อมใจยอมรับกันว่า มีแต่หลวงพ่อเท่านั้นที่จะเป็นผู้นำในการบูรณะครั้งนี้ โดยแต่เดิมท่านก็ได้ดูแลมาตั้งแต่ พ.ส.2488 จนในปีพ.ศ. 2508 คณะรัฐมนตรีมีมติ แต่งตั้งให้ท่านเป็นกรรมการฟื้นฟูและบูรณะค่ายบางระจัน และปลูกต้นโพธิ์ อีก 8 ต้น รวมกับ ต้นเก่าที่มีอยู่แล้ว อันเป็นสัญลักษณ์ของวักโพธิ์เก้าต้น

    ไปศรีลังกา

    วันที่ 21 พฤษภาคม 2515 หลวงพ่อท่านได้เดินทางไปกับคณะพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก เพื่อไปร่วมประชุมและสังเกตการณ์ โดยมีพุทธศาสนิกชนจากหลายประเทศเข้าร่วมประชุม ณ ประเทศศรีลังกา ซึ่งการเดินทางครั้งนี้หลวงพ่อแพท่านได้ประทับพิมพ์พระสมเด็จฐานสิงห์เป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2515 ณ วัดศรีมหาโพธิ์

    สร้างพระอุโบสถหลังใหม่

    หลวงพ่อแพ ท่านได้ตัดสินใจสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ ในวันเพ็ญเดือน 3 ตรงกับวันมาฆบูชา เพื่อให้ เพียงพอสำหรับ พระภิกษุและสามเณรที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น และในวันสำคัญในศาสนา ประชาชน จะได้มีโอกาสเข้าร่วม บำเพ็ญกุศลในพระอุโบสถได้มากขึ้นด้วย แต่อุปสรรคสำคัญก็คือ การหาเงินปัจจัยในการสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ ซึ่งท่านต้องใช้งบจำนวนมาก ซึ่งท่านได้เตรียมพระสมเด็จปรกโพธิ์ซึ่งท่านได้ตั้งใจสร้างล่วงหน้าไว้ ณ ประเทศอินเดีย เพื่อมอบให้แก่ผู้ร่วมบริจาคทรัพย์สร้างพระอุโบสถ จึงได้วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2515 ใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 1 ปีเศษ เป็นพระอุโบสถที่หลังใหญ่ที่สุดในบรรดาวัดที่มีอยู่ในภูมิภาค เป็นปูชนียสถานที่มีการแกะสลัก ลวดลายประตูหน้าต่าง อย่างวิจิตรงดงามตระการตา เป็นที่กล่าวขวัญและชื่นชมของผู้พบเห็น

    อีกทั้งยังสร้างพระใหญ่ปางประทานพรใหญ่ที่สุดในประเทศ หน้าตักกว้าง 11 วา 2 ศอก 7 นิ้ว สูง 21 วา 1 คืบ 3 นิ้ว ใช้ งบประมาณก่อสร้างประมาณ 20 ล้านบาท ด้านการศึกษาท่านได้ตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรม ทำการเปิดสอนแผนกธรรมและภาษาบาลีขึ้นในวัดพิกุลทองตั้งแต่ ปี2475 อีกทั้งหลวงพ่อยังได้พัฒนาและการก่อสร้างศาสนสถาน วัดอื่นๆอย่างมากมาย รวมทั้งเป็นองค์อุปถัมภ์หาทุนก่อสร้างอาคารต่างๆ ให้กับโรงพยาบาลสิงห์บุรี เช่นล่าสุดท่านได้หาทุนก่อสร้างอาคาร “หลวงพ่อแพ เขมังกโร 94 ปี สูง 9 ชั้น งบก่อสร้าง 120 ล้านบาท


    เป็นพระราชาคณะ

    ในปี พ.ศ.2521 ท่านได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะสามัญที่ พระสุนทรธรรมภาณี

    ในปี พ.ศ. 2525 ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี

    ในปี พ.ศ. 2530 ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระชนมายุครบ 60 พรรษา วันที่ 5 ธันวาคม ได้ทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็น “พระราชสิงหคณาจารย์”

    ในปี พ.ศ. 2535 ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระชนมายุครบ 60 พรรษา วันที่ 12 สิงหาคม ได้ทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็น “พระเทพสิงหบุราจารย์”

    ในปี พ.ศ. 2539 ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองราชครบ 50 ปี (พระราชพิธีกาจญนาภิเษก) ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง ได้ทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระสมณศักดิ์ พระสงฆ์ 59 รูป หลวงพ่อแพก็ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็น “พระธรรมมุนี”

    ในระยะหลัง หลวงพ่อได้งดรับกิจนิมนต์ โดยคำแนะนำจากผู้อำนวยการ โรงพยาบาลสิงห์บุรี เนื่องจากไม่สามารถพยุงตัวเองได้ รวมทั้งมีโรคประจำตัว คือ เบาหวาน และโรคชรา จนเมื่อ วันที่24 ส.ค. 41 ทางคณะแพทย์ไดเห็นสมควรนำหลวงพ่อเข้าพักรักษาพยาบาล ที่โรงพยาบาลสิงห์บุรี เนื่องจากตรวจพบว่าหลวงพ่อ เป็นโรคปอดอักเสบ ทางคณะแพทย์ได้ถวายการรักษาจนอาการดีขึ้น ต่อมาในวันที่ 7 ก.ย.41 ท่านอาการทรุดลง จนกระทั่งเวลา 01.30 น. ของวันที่ 8 ก.ย. 41 ท่านได้มีอาการหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ไม่รู้สึกตัว และหัวใจหยุดเต้น ทางคณะแพทย์ได้ทำการช่วยจนหลวงพ่อฟื้นคืนชีพได้สำเร็จ และทางได้ถวายดูแลรักษาจนอาการดีขึ้น

    จนกระทั่งวันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ 2542 เวลา 12.36 น. หลวงพ่อท่านก็ได้ละสังขารอย่างสงบ ณ ห้อง 901 ชั้น 9 อาคารหลวงพ่อแพ เขมังกโร โรงพยาบาลสิงห์บุรี สิริอายุ 94 ปี 73 พรรษา
     
  6. ryan boy

    ryan boy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    452
    ค่าพลัง:
    +22,021
    [​IMG]

    [​IMG]
     
  7. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,492
    ค่าพลัง:
    +53,107
    [​IMG] [​IMG]

    “พระมงคลสิทธิการ” หรือ “หลวงพ่อพูล อตฺตรกฺโข” มีนามเดิมว่า พูล ปิ่นทอง เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2455 ตรงกับปีชวด ร.ศ.131 เป็นปีที่ 3 ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระมงกุฎ เกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ณ บ้านเลขที่ 75 หมู่ที่ 3 ต.ดอนยายหอม อ.เมือง จ.นครปฐม เป็นบุตรคนที่ 6 ในจำนวนพี่น้องทั้งหมดรวม 10 คน โยมบิดาชื่อ นายจู ปิ่นทอง โยมมารดาชื่อ นางสำเนียง ปิ่นทอง

    โยมบิดา-โยมมารดาได้ช่วยกันเลี้ยงดูอบรมสั่งสอนให้ ด.ช.พูล ปิ่นทอง เป็นคนดี อยู่ในโอวาท และอยู่ในศีลในธรรม ซึ่งอุปนิสัยของเด็กคนนี้คือ เป็นผู้มีจิตใจเมตตาโอบอ้อมอารี จริงใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ต่อทั้งเพื่อนมนุษย์และสรรพสัตว์ ชอบช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่ต้องรอให้ร้องขอ และอุปนิสัยที่เด่นชัดที่สุด คือ เป็นคนเงียบๆ พูดน้อย ด้วยเหตุนี้ทำให้ไม่มีใครคาดคิดเลยว่า “ต่อไปในภายภาคหน้า หนูน้อยผู้นี้จะเติบใหญ่ภายใต้ร่มกาสาวพัตร์ เป็นสุดยอดอริยสงฆ์ที่ผู้คนกราบไหว้ทั้งแผ่นดิน”


    ๏ การศึกษาหาความรู้

    เมื่ออายุถึงเกณฑ์ ด.ช.พูล ปิ่นทอง ได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนวัดห้วยจระเข้ อ.เมือง จ.นครปฐม ซึ่งเป็นโรงเรียนใกล้บ้าน ด้วยความอุตสาหะขยันหมั่นเพียร จึงสามารถอ่านออกเขียนได้แตกฉานกว่าเพื่อนรุ่นเดียวกัน กระทั่งเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในปี พ.ศ.2471

    แต่ด้วยชาติตระกูลที่ถือกำเนิดในครอบครัวชาวสวนผลไม้ ไม่ได้มีฐานะร่ำรวยอะไรมากมาย กอปรกับมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันถึง 10 คนทำให้ ด.ช.พูล ไม่ได้ศึกษาต่อเพราะต้องออกมาช่วยงานทางบ้าน แต่เพราะเป็นคนสนใจใฝ่รู้ จึงได้ฝึกการอ่านและเขียนอักขระขอม และวิชาแพทย์แผนโบราณจนมีความเชี่ยวชาญ จากปู่แย้ม ปิ่นทอง (ผู้เป็นปู่แท้ๆ) ฆราวาสผู้มีภูมิรู้ในเรื่องไสยศาสตร์ โหราศาสตร์ และการแพทย์แผนโบราณ

    จวบจนถึงวัยหนุ่มฉกรรจ์ นายพูล ปิ่นทอง ผู้มีอุปนิสัยนิ่งเงียบ ไม่ค่อยพูดค่อยจาและรักสันโดษ มีความชอบวิชาการต่อสู้ตามแบบฉบับลูกผู้ชาย จึงได้ฝึกฝนและศึกษาศิลปะแม่ไม้มวยไทย จนมีความชำนาญและเป็นนักมวยฝีมือดีคนหนึ่ง ว่างจากซ้อมเชิงมวยแล้ว ว่างจากทำไร่ไถนา ก็จะไปหัดเล่นลิเกกับครูจันทร์ คณะแสงทอง แต่ใจไม่รักลิเก ฝึกได้ระยะหนึ่งก็เบื่อ

    กระทั่งอายุครบเกณฑ์ทหาร ท่านได้ทำหน้าที่พลเมืองดีของชาติ ด้วยการเข้ารับราชการเป็นทหาร สังกัดทหารม้ารักษาพระองค์ เมื่อปี พ.ศ.2477 (กองบัญชาการเดิมอยู่ที่สะพานมัฆวาน กรุงเทพมหานคร ตรงกับในช่วงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7) หลังครบกำหนด 1 ปี 6 เดือนจึงปลดประจำการ โดยได้รับยศเป็นนายสิบตรี มีเงินเดือนขณะนั้นเดือนละ 2 บาท สร้างความภูมิใจให้ท่านเป็นอย่างมาก

    หลวงพ่อพูลมักเล่าประสบการณ์สมัยเป็นทหารให้บรรดาลูกศิษย์ลูกหาฟังอย่างสนุกสนาน ท่านภูมิใจในชีวิตทหาร ท่านได้ให้ช่างวาดภาพแต่งเครื่องแบบทหารเต็มยศไว้เป็นอนุสรณ์ ทุกวันนี้ภาพนี้ยังแขวนติดอยู่ภายในกุฏิหลวงพ่อที่วัดไผ่ล้อม “ชีวิตทหารมีแต่เรื่องสนุก หลวงพ่อ...ชอบเล่าให้ศิษย์ฟัง อายุกว่า 90 ปี ท่านก็มีความจำดี เล่ากี่ครั้ง...กี่รอบ...ก็ไม่มีพลาด”


    ๏ สู่ร่มกาสาวพัตร์

    หลังปลดจากทหารประจำการแล้ว ท่านจึงได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุเพื่อทดแทนคุณของบิดา มารดา เมื่อวันอาทิตย์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ.2480 ตรงกับวันแรม 14 ค่ำ เดือน 6 ปีฉลู ณ พัทธสีมาวัดพระงาม อ.เมือง จ.นครปฐม โดยมี พระครูอุตรการบดี (หลวงปู่สุข ปทุมสุวณฺโณ) เจ้าคณะอำเภอเมืองนครปฐม และเจ้าอาวาสวัดห้วยจระเข้ อ.เมือง จ.นครปฐม เป็นพระอุปัชฌาย์, พระปลัดมณี เจ้าอาวาสวัดพระงาม อ.เมือง จ.นครปฐม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระสมุห์ปุ่น เจ้าอาวาสวัดลาดปลาเค้า อ.เมือง จ.นครปฐม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า “อตฺตรกฺโข”

    หลังบวชแล้วพระพูลได้พำนักอยู่ที่วัดพระงาม ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยด้วยความพากเพียร จนสามารถสอบไล่ได้นักธรรมตรี เมื่อ พ.ศ.2482 ที่วัดพระงามแห่งนี้ ท่านได้มีโอกาสฝากตัวเป็นศิษย์พระเถระชื่อดังหลายรูปด้วยกัน อาทิ หลวงพ่อพร้อม, หลวงปู่สุข วัดห้วยจระเข้, หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม เป็นต้น

    ในระหว่างนี้เอง พระพูลได้ให้ความสนใจการศึกษาด้านการเจริญสมาธิจิต ฝึกฝนวิปัสสนากรรมฐาน ควบคู่กับการศึกษาวิชาจากคัมภีร์ต่างๆ อย่างคร่ำเคร่ง โดยฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่อพร้อม พระเถระชื่อดังแห่งวัดพระงาม พระเกจิอาจารย์รุ่นสงครามอินโดจีน ผู้ทรงคุณในด้านการสร้างพระปิดตาเนื้อทอง ด้วยพื้นฐานวิชาคาถาอาคมซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากปู่แย้ม ตั้งแต่สมัยเยาว์วัย จึงทำให้ท่านสามารถเจริญพุทธาคมได้รุดหน้าอย่างรวดเร็ว

    ขณะเดียวกัน พระพูลได้ฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของ “หลวงพ่อเงิน จนฺทสุวณฺโณ” แห่งวัดดอนยายหอม ต.ดอนยายหอม อ.เมือง จ.นครปฐม สุดยอดแห่งบูรพาจารย์แห่งแผ่นดินเมืองนครปฐม โดยเฉพาะหลวงพ่อเงินนั้นได้ให้ความเมตตาแก่ท่านเป็นพิเศษ ให้คำแนะนำสั่งสอนเรื่องการเจริญสมาธิภาวนา การเขียนอักขระเลขยันต์ ปลุกเสกวัตถุมงคล และวิชาอาคมต่างๆ อย่างไม่ปิดบังและไม่หวงวิชาแต่อย่างใด

    เมื่อได้รับคำแนะนำสั่งสอนจนเกิดความมั่นใจแล้ว หลวงพ่อพูลจึงออกธุดงควัตรไปตามป่าเขาลำเนาไพร มุ่งหน้าไปทาง จ.ลพบุรี นครสวรรค์ พิษณุโลก แสวงหาความวิเวกอยู่พื้นที่ภาคเหนือ เพื่อลดละกิเลส อานิสงส์การธุดงควัตรทำให้ท่านมีร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ สมาธิจิตสูง

    ๏ ด้วยเนื้อนาบุญ

    ในปี พ.ศ.2486 วัดไผ่ล้อมเกิดขาดเจ้าอาวาสปกครองวัด เนื่องจากเจ้าอาวาสแต่ละรูปไม่อยู่ในศีลในธรรมแห่งเพศบรรพชิต อยู่ปกครองวัดได้ไม่นานก็ต้องลาสิขาไป สร้างความเอือมระอาจนชาวบ้านหมดศรัทธาไม่ใส่บาตรทำบุญ ทำให้วัดไผ่ล้อมกลายเป็นวัดร้าง สมัยนั้นวัดไผ่ล้อมมีสภาพเป็นเพียงวัดเก่ารกร้าง เดิมทีเป็นป่าไผ่ชาวมอญ ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เกณฑ์เป็นแรงงานบูรณะองค์พระปฐมเจดีย์ ใช้เป็นที่พัก บรรยากาศของวัดร่มรื่นเหมาะแก่สมณปฏิบัติธรรม

    กระทั่งผู้นำและชาวบ้านกลุ่มหนึ่งฉุกคิดว่ายังมีพระสงฆ์รูปหนึ่ง มีวัตรปฏิบัติที่หมดจดงดงาม จำพรรษาอยู่ที่วัดพระงาม นามว่า พระพูล อตฺตรกฺโข จึงพากันไปกราบนมัสการพระพูล ให้ย้ายมาประจำพรรษาอยู่ที่วัดไผ่ล้อม เพื่อกอบกู้วัดพลิกฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง โดยเข้ารับตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาส จนกระทั่งได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ.2492

    สมัยท่านรักษาการเจ้าอาวาส เห็นว่าวัดไผ่ล้อมยังไม่มีอุโบสถ จึงปรึกษากับพระเถระผู้ใหญ่และญาติโยมผู้มีจิตศรัทธา ดำเนินการสร้างอุโบสถ โดยได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ.2490 กระทั่งเสร็จสมบูรณ์เป็นพระอุโบสถหลังแรก ในปี พ.ศ.2492 หลังจากนั้นท่านก็พัฒนาวัดต่อไป บุกเบิกถางป่าไผ่ จนได้สร้างศาลาการเปรียญในปี พ.ศ.2535 จากนั้นวัดไผ่ล้อมมีความเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าตามลำดับ ด้วยบุญบารมีของหลวงพ่อพูล ทั้งนี้ หลวงพ่อพูลเป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังในเมตตามหานิยม และด้านการปลุกเสกพระขุนแผน-กุมารทอง จนเป็นที่ศรัทธาเลื่อมใสของศิษยานุศิษย์ทั่วประเทศ

    วัดมีโบสถ์มีศาลาการเปรียญ ไม่ช้าวัดไผ่ล้อมก็ได้โรงเรียนพระปริยัติธรรม ญาติโยมยิ่งหลั่งไหลเข้ามาทำบุญ บำเพ็ญศีลสมาธิ และศึกษาปฏิบัติธรรม ก็ได้ช่วยสร้างเสนาสนะต่างๆ จากกุฏิสองสามหลัง ก็เพิ่มขึ้นมาจนเต็มพื้นที่ จำนวนพระภิกษุสามเณรเข้ามาจำพรรษาก็มากขึ้น

    ต้นปี พ.ศ.2539 อุโบสถหลังเก่าเริ่มทรุดโทรมมาก ประกอบกับน้ำก็ท่วมบ่อยๆ จึงได้สร้างอุโบสถเฉลิมพระเกียรติหลังใหม่ ปลายปีก็สร้างศาลากลางน้ำ ศาลากลางน้ำเป็นบ่อน้ำ ญาติโยมใช้กันมาตั้งแต่โบราณ ท่านเลยปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น ต่อมาดำเนินการสร้างฌาปนสถานไร้มลพิษ พร้อมศาลาอเนกประสงค์ไว้ใช้ในพิธีต่างๆ ในวัด ซึ่งดำเนินการรุดหน้าไปมาก นอกจากนี้ ท่านยังเป็นผู้อุปถัมภ์สร้างโรงเรียนวัดไผ่ล้อม (พูลประชาอุปถัมภ์) เพื่อเป็นสถานศึกษาสำหรับเยาวชนด้วย

    ต่อมาสวนอายุวัฒนมงคล 90 ปี ถูกสร้างขึ้นใช้เป็นที่สำหรับญาติโยมได้พักผ่อนจิตใจ เดินดูต้นไม้ พูดคุยกับต้นไม้ “ต้นไม้ทุกต้น มีธรรมะของพระพุทธเจ้า” หลวงพ่อพูลสอนเป็นปริศนา

    นับเป็นบุญของชาวบ้านโดยแท้ เพราะหลังจากหลวงพ่อพูลได้เข้ามาปกครองวัดไผ่ล้อม ท่านก็ให้ความสงเคราะห์ชาวบ้าน ไม่ว่าจะยากดีมีจนก็เข้าหาท่านได้ทุกคน สร้างความศรัทธาให้ญาติโยมทั้งใกล้และไกล หากใครมีความเดือดเนื้อร้อนใจ พวกเขาจะพากันมากราบขอบารมีหลวงพ่ออยู่เนืองๆ จนท่านกลายเป็นศูนย์รวมแห่งความรักความศรัทธา มีลูกศิษย์ลูกหาทั่วประเทศ และต่างกล่าวขวัญถึงหลวงพ่อของเขาว่าเป็นพระอริยสงฆ์ผู้เปี่ยมด้วยเมตตา

    รูปภาพ
    หลวงพ่อพูล อตฺตรกฺโข


    ๏ หลวงพ่อคือผู้ให้

    วัตรปฏิบัติอย่างหนึ่งที่ศิษยานุศิษย์ได้สัมผัสหลวงพ่อพูล มากว่าครึ่งศตวรรษ คือท่านเป็นพระสงฆ์ที่ไม่สะสมกิเลส ไม่สนใจชื่อเสียงเงินทอง และลาภยศสรรเสริญ จตุปัจจัยไทย ทานที่สาธุชนได้บริจาคมา ท่านไม่เคยสะสม มีเท่าไหร่ท่านก็นำไปบริจาคสร้างวัตถุสร้างความเจริญไว้แก่วัดไผ่ล้อม จนเกิดความเจริญรุ่งเรือง แลดูสวยงามสบายตา เหมาะสมที่จะเป็นสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนา นอกจากนี้ยังขจรขจายไปถึงชุมชนรอบๆ วัด ทั้งสร้างโรงเรียน โรงพยาบาล สถานที่ราชการ เรียกว่าใครที่มาขอให้ท่านช่วย หลวงพ่อไม่เคยขัด รวมทั้งกิจนิมนต์ต่างๆ ไม่ว่าใกล้-ไกลท่านก็เมตตาไปให้ แม้สุขภาพร่างกายจะไม่ค่อยเอื้ออำนวยนักก็ตาม

    คนเขามาให้เราช่วยก็ต้องช่วยเขาไปมันได้บุญ หลวงพ่อมักพร่ำสอนลูกศิษย์อยู่เนืองๆ แม้วัยและสังขารจะร่วงโรยไปตามกาลเวลา จวบจนอายุ 93 ปี แต่ในฐานะเจ้าอาวาส หลวงพ่อพูลได้ใช้ความรู้ความสามารถสร้างสรรค์ผลงานให้กับคณะสงฆ์เป็นอย่างดี ไม่มีขาดตกบกพร่อง ท่านปกครอง ลูกวัดให้อยู่ในพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด ใครมาอยู่กับหลวงพ่อ ห้ามขี้เกียจ ต้องหมั่นสวดมนต์เจริญสมาธิวิปัสสนา ปัดกวาดอาสนะ กุฏิ และพัทธสีมา ให้สะอาดสวยงาม เหตุนี้เองจึงทำให้พุทธศาสนิกชนจากทั่วสารทิศหลั่งไหลมาที่วัดไผ่ล้อม

    หลวงพ่อพูลถือเป็นสัญลักษณ์แห่งเมตตามหานิยม ที่ชาวนครปฐมและจังหวัดใกล้เคียงนับถือเลื่อมใส เป็นหนึ่งในพระครูสี่ทิศผู้พิทักษ์ องค์พระปฐมเจดีย์ ในสมณศักดิ์ “พระครูปุริมานุรักษ์” (ประจำทิศตะวันออก) ร่วมกับ พระครูทักษิณานุกิจ (ประจำทิศใต้) คือ หลวงพ่อเสงี่ยม วัดห้วยจระเข้, พระครูปัจฉิมทิศบริหาร (ประจำทิศตะวันตก) คือ หลวงพ่อชิด วัดม่วงตารส และพระครูอุตรการบดี (ประจำทิศเหนือ) คือ หลวงพ่อศรีสุข วัดปฐมเจดีย์ฯ

    จากวัดรกร้าง วัดไผ่ล้อมกลายเป็นวัดพัฒนา เป็นศูนย์กลางของชุมชนมีผู้คนหนาแน่น แต่ปัญหาของชุมชนที่เจริญก็มักมีปัญหายาเสพติดตามมา หมดปัญหาเรื่องเสนาสนะที่เป็นวัตถุ หลวงพ่อพูลก็ต้องรับภาระแก้ปัญหาคน

    “ระยะหลังเงินบริจาคที่หลวงพ่อได้ ส่วนใหญ่ใช้ในเรื่องยาเสพติด บางส่วนท่านช่วยจังหวัดจัดซื้อเครื่องตรวจสอบยาเสพติด เมื่อท่านรู้ว่าเด็กนักเรียนในโรงเรียนมีปัญหาติดยาเสพติด ท่านก็ให้เงินใช้ในการรณรงค์ต้านยาเสพติด ท่านบอกว่ารู้ว่าลูกหลานติดยาแล้ว ท่านก็กลุ้มใจนอนไม่ค่อยหลับ” นี่คือภารกิจล่าสุดของหลวงพ่อพูล ซึ่งเริ่มมีคนเรียกท่านว่า เทพเจ้าแห่งวัดไผ่ล้อม

    ด้วยความเป็นศิษย์กตัญญูกตเวทีต่อบูรพาจารย์ ในวันวิสาขะ วันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี หลวงพ่อจะจัดพิธีไหว้ครู เพื่อรำลึกพระคุณอาจารย์ทั้งหลาย ในทุกวันพระจะนิมนต์พระสงฆ์ภายในวัดมารับสังฆทาน เพื่ออุทิศกุศลผลบุญให้บรรพชนและครูบาอาจารย์ ตลอดทั้งเจ้ากรรมนายเวร โดยปฏิบัติต่อเนื่องมาเป็นประจำ


    ๏ ลำดับสมณศักดิ์

    เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระนาง เจ้าสิริกิติ์ฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ 72 พรรษา ในวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ.2547 พระครูปุริมานุรักษ์ (หลวงพ่อพูล อตฺตรกฺโข) วัดไผ่ล้อม ต.พระปฐมเจดีย์ อ.เมือง จ.นครปฐม ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ในพระราชทินนามที่ “พระมงคลสิทธิการ” ในฐานะพระสงฆ์ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระศาสนาและประเทศชาติเป็นกรณีพิเศษ สร้างความปลาบปลื้มปีติแก่คณะศิษยานุศิษย์อย่างหาที่สุดมิได้

    ๏ สังขารนี้ไม่เที่ยง

    แม้อายุขัยเพิ่มมากขึ้น แต่หลวงพ่อพูลไม่เคยว่างเว้นการปฏิบัติศาสนกิจ กลางวันจะฝึกสมาธิ ภาวนาจิต แผ่เมตตาให้แก่สรรพสัตว์ทั้งปวง อันเป็นหนทางแห่งการไม่ยึดติดวัตถุจนเกิดกิเลส

    เวลาเช้าจรดบ่าย จะแบ่งเวลาให้ญาติโยมที่มาหาได้พูดคุยปรับทุกข์ สนทนาข้อธรรมะ รวมทั้งการรักษาผู้เจ็บป่วยด้วยวิชาแพทย์แผนโบราณ เป็นการสงเคราะห์ผู้หนีร้อนมาพึ่งเย็น โดยไม่มีการแบ่งแยกชนชั้นวรรณะแต่อย่างใด

    การที่หลวงพ่อต้องตรากตรำทำงานหนัก ทั้งงานราษฎร์ งานหลวง ไม่เคยขาดตกบกพร่อง ไม่ได้มีเวลาพักผ่อน จนสังขารล่วงโรยมีสุขภาพไม่ค่อยแข็งแรง เจ็บไข้ได้ป่วยบ่อยครั้ง ต้องวนเวียนเข้าออกแต่โรงพยาบาลเพื่อตรวจเช็คร่างกายอยู่เป็นนิจ แต่ไม่มีใครได้ยินท่านบ่นว่าเหนื่อยล้าสักคำ นี่คงเป็นพราะผลแห่งการฝึกฝนเจริญสมาธิวิปัสสนากรรมฐานมาตั้งแต่สมัยหนุ่มๆ กระทั่งวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2547 หลวงพ่อได้ล้มป่วยลงอีกครั้ง คราวนี้คณะศิษยานุศิษย์ใกล้ชิดนำท่านเข้าตรวจเช็คร่างกาย ณ โรงพยาบาลนครปฐม คณะแพทย์ได้ลงความเห็นว่าท่านควรพักรักษาตัวที่ตึกสงฆ์

    จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม ในปีเดียวกัน คณะสงฆ์และคณะศิษยานุศิษย์ได้จัดพิธีฉลองสมณศักดิ์พัดยศที่ “พระมงคลสิทธิการ” ถวายหลวงพ่อ ณ วัดไผ่ล้อม ซึ่งขณะนั้นอาการของหลวงพ่อยังไม่ดีขึ้น ศิษยานุศิษย์จึงได้พาไปรักษาตัวต่อที่โรงพยาบาล โดยได้อยู่ในการดูแลของนายแพทย์วิวัฒน์ สุรางค์ศรีรัฐ และนายแพทย์มิตร รุ่งเรืองวานิช ซึ่งแพทย์ลงความเห็นว่าหลวงพ่อมีอาการลิ้นหัวใจรั่ว และน้ำท่วมปอด

    ต่อมาเมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ.2548 นายไชยา สะสมทรัพย์ ส.ส. จังหวัดนครปฐม และพระครูปลัดสิทธิวัฒน์ หรือหลวงพี่น้ำฝน ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อม ได้ย้ายหลวงพ่อไปรักษาตัวยังโรงบาลสมิติเวช กรุงเทพมหานคร โดยอยู่ในการดูแลของนายแพทย์รังสรรค์ รัตนปราการ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจ ซึ่งขณะนั้นหลวงพ่อก็ยังมีอาการระบบลิ้นหัวใจรั่ว และน้ำท่วมปอด ต้องเข้ารักษาตัวในห้องไอซียู และทำการฟอกไต เพื่อให้ระบบต่างๆ กลับมาดังเดิม


    ๏ สัญญาก็คือสัญญา

    ตลอดเวลาแห่งการเจ็บไข้ได้ป่วย หลวงพ่อพูลยังมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ เจริญพระพุทธมนต์กำเนิดจิตเป็นสมาธิเพื่อระงับความเจ็บปวด ดังนั้นจึงไม่มีใครเคยได้ยินท่านเอ่ยปากบ่นว่าเจ็บปวดใดๆ เลย แต่เนื่องจากสภาพสังขารที่เกิดชราภาพมากแล้ว อาการจึงไม่ดีขึ้นมีแต่ทรงกับทรุด ตลอดเวลาที่พักรักษาตัวอยู่ในโรงบาลสมิติเวช หลายต่อหลายครั้งที่อาการของท่านทรุดลงหนัก ขนาดแพทย์ยังกล่าวว่าหมดปัญญารักษาแล้ว แต่เมื่อศิษย์ใกล้ชิดเข้าไปกระซิบที่ข้างหูท่านว่า “หลวงพ่ออย่าลืมสัญญาน่ะ” ท่านจะพยักหน้าเข้าใจ และนิ่งสงบเข้าสู่สมาธิ กำหนดจิตภาวนาจนอาการพ้นขีดอันตรายทุกครั้ง

    สัญญาใจที่หลวงพ่อพูลได้ให้ไว้แก่ลูกศิษย์มีอยู่ 2 ข้อ คือ ข้อแรกคือ ท่านรับปากว่าจะอยู่เป็นประธานพิธีอธิษฐานปลุกเสกพระเครื่อง รุ่นพระขุนแผน-กุมารทอง ที่ทางวัดสร้างขึ้นเพื่อหาปัจจัยมาสร้างเมรุปลอดมลพิษ ที่ต้องใช้งบประมาณในการก่อสร้างกว่า 35 ล้านบาท ซึ่งเป็นสิ่งหนึ่งที่หลวงพ่อพูลต้องการมอบให้กับชาวเมืองนครปฐมที่ท่านรัก เนื่องจากท่านตระหนักเล็งเห็นว่า เวลาวัดไผ่ล้อมมีการจัดงานเผาศพ ฝุ่นและควันได้ฟุ้งกระจายไป สร้างความเดือดร้อนรำคาญให้กับชาวบ้านใกล้เคียง ท่านจึงมีดำริให้ก่อสร้างเมรุปลอดมลพิษขึ้น แม้ต้องใช้ทุนทรัพย์มหาศาล แต่เพื่อสาธารณประโยชน์หลวง พ่อไม่เคยเสียดาย

    สัญญาอีกข้อหนึ่งคือ ท่านรับปากไว้ตั้งแต่ปีก่อนว่าจะอยู่เป็นประธานพิธีไหว้ครูบูรพาจารย์ ที่ทางวัดไผ่ล้อมจัดขึ้นทุกวันวิสาขบูชาเป็นประจำต่อเนื่องนานนับสิบปี ซึ่งพิธีนี้ได้รับความเลื่อมใสศรัทธาจากบรรดาพุทธศาสนิกชน ศิลปิน นักร้อง นักแสดงชั้นนำของเมืองไทย เข้าร่วมพิธีอย่างคับคั่ง และในปี พ.ศ.2548 นี้ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม ซึ่งคณะศิษยานุศิษย์ทุกคนก็ต่างหวังว่าจะได้รับความเมตตาจากหลวงพ่ออีกครั้ง แม้นในใจลึกๆ แล้วจะหวั่นวิตกว่าอาจจะเป็นครั้งสุดท้ายก็ตาม

    ๏ ปาฏิหาริย์มีจริง

    กว่า 4 เดือนที่หลวงพ่อต้องนอนอยู่บนเตียงคนป่วย โดยไม่มีวี่แววว่าอาการจะดีขึ้น คณะศิษยานุศิษย์ได้แต่หวังว่าสักวันหนึ่งจะเกิดปาฏิหาริย์ให้หลวงพ่อหายจากอาการเจ็บไข้ได้ป่วย แต่รอแล้วรอเล่าทุกคนแทบหมดกำลังใจ

    และเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ.2548 ที่ผ่านมา ก็เกิดปาฏิหาริย์ขึ้นจริงๆ เมื่อจู่ๆ อาการหลวงพ่อพูลก็กลับกระเตื้องดีขึ้นอย่างผิดหูผิดตา จนแพทย์ผู้ให้การรักษาเองยังแปลกใจและอนุญาตให้หลวงพ่อพูลออกจากโรงพยาบาลกลับสู่วัดไผ่ล้อม

    ต่อมาวันที่ 17 พฤษภาคม หลวงพ่อก็ได้ร่วมประกอบพิธีพุทธาภิเษกพระขุนแผน-กุมารทอง ตามที่ได้รับปากไว้ แม้ท่านจะนอนอยู่บนเตียงผู้ป่วย ซึ่งทางวัดได้จัดสร้างห้องผู้ป่วยไอซียู พร้อมอุปกรณ์ทางการแพทย์ทันสมัยไว้ในกุฏิของท่านเป็นการเฉพาะ โดยทางคณะศิษยานุศิษย์ได้โยงสายสิญจน์จากปะรำพิธีที่อยู่กลางแจ้งหน้าอุโบสถ ไปยังกุฎิของหลวงพ่อ และให้ท่านถือไว้จนเสร็จพิธี
    ต่อมาเมื่อวันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม เวลา 6 โมงเช้า ก่อนหน้าพิธีไว้ครูบูรพาจารย์ 1 วัน ปรากฏว่าหลวงพ่อพูลเกิดอาการหน้ามืดและขับถ่ายเป็นมูกเลือด อาการได้ทรุดลงอีกครั้ง จนต้องรีบนำท่านส่งโรงพยาบาลสมิติเวช อย่างกะทันหัน แพทย์ตรวจพบว่าท่านเกิดอาการติดเชื้อในกระเพาะอาหาร มีเลือดออกในกระเพาะอาหารอย่างมาก และไม่สามารถทำการผ่าตัดได้เพราะร่างกายอ่อนแอ อาจละสังขารในวันเดียวกันนี้

    แต่แล้วปาฏิหาริย์ครั้งที่ 2 ก็เกิดขึ้นโดยเมื่อช่วงเย็นวันเดียวกัน อาการของหลวงพ่อก็กระเตื้องขึ้นมาอีกครั้ง แม้แต่แพทย์เองก็รู้สึกประหลาดใจว่า ทำไมชายชราอายุร่วมร้อยปีสามารถต่อสู้กับโรคร้ายและความเจ็บปวดทรมานได้ถึงเพียงนี้ ด้านคณะศิษยานุศิษย์ที่ทราบข่าวก็ปลาบปลื้มดีใจเป็นอย่างมาก ที่ยังมีหลวงพ่ออยู่เป็นมิ่งขวัญ และมีกำลังใจที่จะจัดงานใหญ่ให้สำเร็จลุล่วงในวันรุ่งขึ้นตามที่ตั้งใจไว้

    ๏ จิตสงบสู่สมาธิ

    อากาศยามเช้าของวันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ.2548 สดใสไร้เมฆฝน พุทธศาสนิกชนต่างหลั่งไหลมาสู่วัดไผ่ล้อมเป็นจำนวนมาก เพื่อร่วมทำบุญตักบาตรเนื่องในวันวิสาขบูชา นอกจากนี้ยังถือโอกาสร่วมพิธีไหว้ครูบูรพาจารย์ประจำปี เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต

    กระทั่งตกสายแดดกล้า เหล่าศิลปินดารา นักร้อง นักแสดงชื่อก้องฟ้าเมืองไทยกว่า 50 ชีวิต ได้เดินทางมาร่วมพิธีอย่างพร้อมเพรียงกัน โดยมีพระครูปลัดสิทธิวัฒน์ (หลวงพี่น้ำฝน กิตฺติจิตฺโต) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อม (ในขณะนั้น) ศิษย์เอกของหลวงพ่อพูล เป็นผู้ประกอบพิธีให้ ซึ่งพิธีดำเนินไปอย่างราบรื่นไร้อุปสรรค แม้ฟ้าฝนก็ยังเป็นใจส่งเมฆครึ้มมาปกคลุมบริเวณวัดให้เกิดความร่มเย็น แต่ไร้ซึ่งเมฆฝนสักหยด ขณะเดียวกันที่โรงบาลสมิติเวช หลวงพ่อพูลได้กำหนดจิตเจริญสมาธิภาวนา สวดมนต์อยู่บนเตียงผู้ป่วยอย่างเงียบๆ โดยไม่แสดงอาการเจ็บปวดใดๆ ให้เห็น


    ๏ วาระสุดท้ายแห่งชีวิต

    หลังเสร็จพิธีช่วงบ่าย คณะศิษยานุศิษย์ได้รับแจ้งจากโรงพยาบาลว่า หลวงพ่อทรุดหนักมากเกินกว่าที่แพทย์จะเยียวยารักษาได้แล้ว ทุกคนจึงรีบเดินทางไปให้เร็วที่สุดเพื่อให้ทันดูใจเป็นครั้งสุดท้าย และเมื่อไปถึงโรงพยาบาล ภาพที่ศิษย์ทุกคนได้เห็นคือ ร่างของชายชราวัยเฉียดร้อยที่นอนสงบนิ่งอยู่บนเตียง แม้ร่างกายภายนอกดูผ่ายผอม แต่ใบหน้ากับเอิบอิ่มด้วยบุญญาบารมีฉายแววแจ่มชัด และไม่ปรากฏอาการทุรนทุรายจากความเจ็บป่วยภายในให้เห็นแม้แต่น้อย จิตใจท่านเข้มแข็งเด็ดเดี่ยว แกร่งเกินกว่าคนวัยนี้จะทำได้

    หลวงพ่อพูลท่านได้กำหนดจิตเข้าญาณสมาธิตามลำดับชั้น ภายในห้องไอซียูเงียบสงัด ไม่มีใครพูดคุยกันเพราะทุกคนต่างตกอยู่ในภวังค์ มีเพียงเสียงดัง ต๊อด....ต๊อด....จากเครื่องวัดสัญญาณชีพ ที่ยังแสดงให้รู้ว่าหลวงพ่อพูลท่านยังมีลมหายใจอยู่ แต่ก็เริ่มเสียงแผ่วเบาลงเรื่อยๆ คล้ายๆ จะบอกว่า ร่างนี้กำลังจะแตกดับไปตามกฎธรรมชาติในเวลาอันใกล้นี้


    ๏ ถึงเวลาละสังขาร

    จนกระทั่งเวลา 14.55 น. ของวันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ.2548 เสียงเครื่องวัดสัญญาณชีพสงบลง ปลุกศิษย์ทุกคนให้ตื่นจาภวังค์กลับสู่โลกความเป็นจริง เพื่อให้รับรู้ว่าหลวงพ่อพูลได้ละสังขารมรณภาพจากพวกเขาไปอย่างสงบแล้ว ในวันวิสาขบูชา ด้วยโรคกระเพาะอาหารติดเชื้อและเสียเลือดในกระเพาะอาหารอย่างเฉียบพลัน ทิ้งไว้เพียงธรรมคำสั่งสอนและคุณงามความดีที่สั่งสมมาตลอด 93 ปีแห่งอายุขัย พรรษา 68

    แม้ตระหนักดีว่าทุกสรรพชีวิต ทุกสรรพสิ่งที่เกิดขึ้น ย่อมดำรงอยู่ และท้ายสุดต้องดับไป แต่ ณ ห้วงเวลานี้ศิษย์ทุกคนก็ยังไม่หลุดพ้นกิเลสทั้งมวล ต่างก้มลงกราบร่ำไห้แทบเท้าหลวงพ่ออันเป็นที่เคารพรักอย่างไม่อาย ไม่เว้นแม้ แต่แพทย์และพยาบาลก็ร่วมประสานเสียงสะอื้นไห้ดังระงมไปทั่ว เนื่องจากอาลัยรักในตัวหลวงพ่ออย่างสุดซึ้ง เพราะตลอดเวลาที่ท่านรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล ท่านได้มีความเมตตากรุณาแก่ทุกคน จนเป็นที่ประจักษ์แก่ใจแล้วว่า นาม พูล อตฺตรกฺโข ศิษย์แห่งตถาคตผู้นี้ ได้เจริญรอยตามแนวทางพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้อย่างหมดจดงดงาม

    ตลอดเวลาที่ผ่านมาจวบจนวาระสุดท้ายของชีวิต หลวงพ่อได้อุทิศตนแล้วแด่บวรพระพุทธศาสนา ทุ่มเทด้วยแรงกาย แรงใจ แรงสติปัญญา ช่วยเหลือผู้ยากไร้มิเคยขาด ที่สำคัญท่านพ้นวังวนของกิเลสและตัณหาทั้งปวง มุ่งแผ่เมตตาธรรมโดยถ้วนหน้าแก่ทุกชีวิตที่เข้ามาพึ่งใบบุญ โดยไม่เลือกชั้นวรรณะ สายตาของท่านมองทุกคนด้วยความเท่าเทียม ทุกคนจึงได้รับการปฏิบัติจากหลวงพ่ออย่างดีมาโดยตลอด หลวงพ่อพูลเป็นพระสงฆ์ที่เคร่งครัดพระธรรมวินัย ด้วยความสมถะท่านจะนิ่ง พูดน้อย จนได้รับสมญา “พระจริงต้องนิ่งใบ้”


    ๏ พลังศรัทธาหลั่งไหล

    คณะสงฆ์และคณะศิษยานุศิษย์ได้อัญเชิญ ศพหลวงพ่อพูล กลับมาตั้งบำเพ็ญกุศล ณ ศาลาปุริมานุสรณ์ (พูล อตฺตรกฺโข) วัดไผ่ล้อม ในวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ.2548 ในการนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานน้ำหลวงสรงศพ และหีบทองทึบตั้งหน้าศพพระมงคลสิทธิการหรือหลวงพ่อพูล ก่อนนำร่างของท่านบรรจุใส่โลงทำด้วยไม้สักทองคำ เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้กราบไหว้บูชา

    ขณะที่ศิษยานุศิษย์ทั่วประเทศทราบข่าวการมรณภาพของหลวงพ่อจากสื่อมวลชนทุกแขนง ที่ได้นำเสนอข่าวอย่างพร้อมเพรียงกัน มหาชนนับหมื่นต่างหลั่งไหลเดินทางกันมาที่วัดไผ่ล้อมด้วยอาการเศร้าสลด มองไปมุมไหนก็มีแต่คนร้องไห้ตาแดงก่ำ บางคนถึงกับสะอึกสะอื้นปิ่มว่าจะขาดใจ.....สิ่งนี้คงเป็นภาพที่สื่อให้เห็นถึงความรักที่สาธุชนมีต่อองค์หลวงพ่อพูลได้อย่างแจ่มชัด 93 ปีมา
     
  8. ddd445

    ddd445 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2013
    โพสต์:
    7,468
    ค่าพลัง:
    +38,819
    ขอขอบคุณ หนุ่มขอนแจ่น ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_5315.JPG
      IMG_5315.JPG
      ขนาดไฟล์:
      2.1 MB
      เปิดดู:
      74
    • IMG_5316.JPG
      IMG_5316.JPG
      ขนาดไฟล์:
      2.3 MB
      เปิดดู:
      82
  9. ddd445

    ddd445 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2013
    โพสต์:
    7,468
    ค่าพลัง:
    +38,819
    ขอขอบคุณ คนกิ่งแก้วครับ
    ชอบครับ ฟังเพลินดีครับ ได้อะไรมากเลยครับ แม้จะมีเสียงโขนแทรกก็ได้อรรถรสครับ
     
  10. ddd445

    ddd445 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2013
    โพสต์:
    7,468
    ค่าพลัง:
    +38,819
    ขอขอบคุณ คนกิ่งแก้วครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_5077.JPG
      IMG_5077.JPG
      ขนาดไฟล์:
      2.2 MB
      เปิดดู:
      69
    • IMG_5079.JPG
      IMG_5079.JPG
      ขนาดไฟล์:
      2 MB
      เปิดดู:
      141
  11. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326
    หลวงพ่อเงิน เทพเจ้าแห่งดอนยายหอม


    [​IMG]


    นครปฐมเป็นเมืองใหญ่เมืองหนึ่งขุนนาง ข้าราชการที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาปกครองเมืองนครปฐม จึงมีทั้งที่เป็นเจ้าคนนายคนแบบเจ้าขุนมูลนาย นักบริหารที่เป็นประชาธิปไตย และพวกนักเรียนนอกหัวสมัยใหม่ แต่ไม่ว่าจะเป็นใครเมื่อมาพบกับเทพเจ้าดอนยายหอมแล้วมักจะยอมรับในความเป็นพระที่ทันสมัยกับความเปลี่ยนแปลงของโลก ซึ่งนักเรียนนอกที่เป็นนักปกครองผู้มาลองดีกับสมภารวัดดอนยายหอมถึงกับเดินคอตกกลับออกไปจากวัดเหมือนนกปีกหัก ผิดกับตอนที่เข้ามาวัดเหมือนหน้ามือกับหลังมือ เรื่องมีอยู่ว่า

    เช้าวันนั้นมีชายแปลกหน้าเดินเข้ามาในเขตวัดดอนยายหอมเขาสวมเสื้อราชประแตน นุ่งผ้าม่วงสวมหมวกราคาแพงปากคาบกล้องยาเส้น ท่าทางบอกว่าเป็นคนหัวสมัยใหม่อย่างเห็นได้ชัด กริยาท่าทางหยิ่งยโสถามหาทางมากุฎิหลวงพ่อเงินกับชาวบ้านเหมือนกับกำลังพูดอยู่กับพวกทาสในเรือนเบี้ยทั้งๆที่ ร.๕ทรงประกาศเลิกทาสมานานแล้ว
    หลวงพ่อเงินกำลังนั่งพักผ่อนอยู่ที่หน้ากุฎิชายคนนั้นก็เดินเข้าไปหาศิษย์วัด และชาวบ้านเริ่มทยอยกันมาที่กุฎิหลวงพ่อเงิน เพราะท่าทางของชายคนนั้นไม่บอกว่ามาดี แทนที่จะยกมือไหว้แบบพุทธศาสนิกชนที่ดี กลับยืนเผชิญหน้ากับหลวงพ่อเงิน กวาดสายตาข้ามศรีษะหลวงพ่อเข้าไปในกุฎิ พอเห็นโหลยาและสมุนไพรแห้งต่างๆอยู่ในตู้และบนหิ้งก็พูดออกมาด้วยเสียงอันดังว่า

    "ท่านเป็นหมอรักษาโรคหรือถึงได้มีหยูกยามากมายเป็นหมอน่ะเขาต้องมีใบอนุญาตประกอบโรคศิลป์"

    "อาตมาเอาไว้ฉันเอง และเมื่อชาวบ้านเขามีความเจ็บไข้ได้ป่วยก็แจกให้เขาไปกินเป็นทาน มิได้คิดราคาค่างวดอะไร"

    เทพเจ้าแห่งดอนยายหอมตอบด้วยน้ำเสียงอันเรียบๆตามแบบฉบับของท่าน เพราะท่านถือว่าคนพาลต้องอย่าไปพาลตอบ

    "แล้วกัน ไม่มีความรู้ทางหมอแล้วแจกยาส่งเดชไป คนไข้เกิดตายไป ใครจะรับผิดชอบท่านนี่นอกเรื่องนอกราวไม่ทำในกิจของสงฆ์ควรจะกระทำเสียแล้วนี่ ถ้าคนกินยาตายลงไปละก็ กฎหมายไม่ปล่อยท่านไว้แน่ อย่างนี้ผิดกฎหมายโต้งๆ"

    ถ้าเป็นพระอื่นหรือเป็นคนอื่น นายคนนั้นมีหวังเปิง แต่เทพเจ้าแห่งดอนยายหอมกลับโต้แย้งด้วยความใจเย็นเป็นที่สุด

    "งั้นหรือ อาตมานอกเรื่องแต่อาตมาไม่มีเจตนาแกล้งคนไข้ให้ต้องได้รับทุกข์ ที่ให้ยาไปเพราะต้องการให้เขามีสุขพ้นจากทุกข์เท่านั้น กฎหมายที่คุณว่าคือกฎหมาย แต่ร้อยวันพันปีกฎหมายไม่เคยช่วยให้คนไข้คนป่วยในดอนยายหอมได้หายจากโรคเลย ดังนั้นอาตมาจึงทำให้คนหายจากโรคได้มากกว่ากฎหมายของคุณเสียอีก

    หยูกยาหมอเก่งๆ เขาอยู่กันแต่ในเมือง ที่บ้านดอนกันดารนอกเมืองใครเขาจะมาดูแลเอาใจใส่ สุขศาลายังหาทำยายากมีไว้บ้าง หมอก็ไม่มาอยู่ประจำ คนไข้ไปหาหมอพบหมอถือว่าโชคดี จะไปรักษาในเมืองก็ไม่มีเงินมีทองค่ารถค่ายาคนที่ยากจนนั้นถึงกับพูดอย่างปลงตกว่าตายมันอยู่ที่บ้านนี่แหละ ช่างหัวมันเรามันคนจน อาตมาจึงต้องช่วยเขา จะให้อาตมาดูดายเพื่อเห็นแก่กฎหมายนั้นอาตมาทำไม่ได้ เพราะมันเป็นการไร้มนุษยธรรม
    ยาต่างๆที่เห็นอยู่ มันก็เป็นตำราโบราณที่โยมพ่ออาตมาที่เป็นหมอยาได้จดบันทึกเอาไว้เป็นสมบัติตกทอดกันมา ไม่เคยทำให้คนไข้ตายสักราย ที่ตายเพราะเขามีโรคร้ายจนเกินกำลังยาต่างหาก หากไม่ดีจริงคงไม่ตกทอดมาถึงยุคของอาตมาหรอกน่า คนกินตายหนักเข่าก็คงจะเผาตำราทิ้งเป็นแน่"


    ชายคนนั้นเห็นได้ที จึงสวนขึ้นมาทันใด เพราะเห็นว่าคราวนี้น่าจะถือไพ่เหนือกว่าหลวงพ่อเงิน

    "จ่ายยาให้เขาไปกินรู้หรือว่าเขาเป็นโรคอะไร ส่งเดชให้เขาไปเหมือนคนตาบอดหยิบยาให้คนกิน โรคมีกี่ชนิดหมอเขารู้เพราะเขาเรียนมา"

    เสียงตอบของเทพเจ้าแห่งดอนยายหอม ทำให้ชายคนนั้นสะดุ้งเล็กน้อย เพราะไม่คาดว่าจะได้ยิน

    "ทำไมจะไม่รู้ล่ะ โรคมีอยู่เพียงสามโรคเท่านั้นเอง ไม่มีมากกว่านี้ไปได้"

    "ไหนนะ โรคมีเพียงสามโรคเท่านั้นไหนลองตอบให้ผมเข้าใจหน่อยซิว่าเป็นอย่างไร"

    "ไม่ยากเลย ฟังให้ดี ถ้าไม่จริงแย้งมาได้เลย ไม่ต้องเกรงใจอาตมา
    โรคชนิดแรก รักษาก็หายไม่รักษาก็หาย ได้แก่ พวกปวดหัวตัวร้อนเล็กๆน้อยๆ
    โรคชนิดที่สองรักษาจึงหายไม่รักษาไม่หาย ได้แก่ ไข้ป่า บิด ป่วง และโรคเกี่ยวกับธาตุต่างๆ
    โรคชนิดที่สาม รักษาก็ตายไม่รักษาก็ตาย ได้แก่ โรคที่ถึง
    คราวตายแล้วทำอย่างไรก็ไม่หายตายลูกเดียว
    โรคทั้งหลายเป็นร้อยเป็นพันชนิดก็อยู่ในโรคสามจำพวกนี้แหละ ไม่นอกเหนือไปได้หรอก"


    ชายคนนั้นหน้าถอดสีทันทีเพราะรู้ว่าเสียท่าเทพเจ้าดอนยายหอมเสียแล้ว เพราะชาวบ้านพากันหัวเราะกันยกใหญ่ สายตากวาดไปเจอตุ่มน้ำมนต์เข้า ดวงตาเริ่มเปล่งประกายแห่งความได้ทีสำทับด้วยเสียงอันดังว่า

    "นั่นไงล่ะนึกแล้วว่านอกจากเป็นหมอเถื่อนแล้วยังเป็นหมอผีอีก รดน้ำมนต์ไล่ผีเอาหวายตีไล่ปอบมันมีที่ไหนกันล่ะ มีแต่เขาว่ากันว่าปอบกินคนนั้นคนนี้แล้วเอาน้ำมนต์รดมันไล่ได้หรือเปล่าล่ะ"

    "คุณนั่นแหละเข้าใจผิดปอบมันเพี้ยนมาจากคำว่า ปอด คือคนสมัยก่อนเป็นโรคปอดหรือที่เรียกกันว่าฝีในท้องก็ผอมแห้งแรงน้อย กินข้าวกินปลาไม่ได้ ต้องนอนซมอยู่กับบ้านเลยเรียกผีปอดกินแล้วก็เพี้ยนเป็นปอบ"

    เสียงชาวบ้านหัวเราะงอหาย ชายคนนั้นรู้สึกได้ทันทีว่าเขากำลังถูกต้อนจากเทพเจ้าดอนยายหอมให้เข้ามุมอับแต่วิสัยอันธพาลย่อมต้องออกจากมุมอับให้ได้ จึงสวนออกมาอย่างเต็มเหนี่ยว

    "รดน้ำมนต์ไล่ผี เชื่อหรือว่า ผีมีจริง"

    "เชื่อซี่ ทำไมจะไม่เชื่อ ผีมีจริงๆ"

    "ฮะฮ่า บวชเรียนมาเป็นนานกลับงมงายเชื่อว่าผีมีจริงแล้วอย่างนี้เป็นผู้นำชาวบ้านได้อย่างไรกันเล่า เจ้าข้าเอ่ย"

    "ที่เชื่อเพราะว่ามีหลักฐานชัดเจน"

    "ใครล่ะที่เป็นคนอ้างว่าผีมีจริง บอกมาซิ หลักฐานอยู่ที่ไหน บอกมาเลย"

    "คุณเป็นชาวพุทธหรือเปล่าล่ะ บอกมาก่อน"

    "ผมเป็นชาวพุทธ ศาสนิกชนผู้อยู่ในเหตุในผล ไม่ใช่ว่าหลงงมงายไปหมด ผมมีวิจารณญาณของผม"

    "อ้อ ถ้างั้นคุณก็ต้องนับถือพระพุทธเจ้าซี เพราะท่านเป็นผู้รู้แจ้งเห็นจริงใช่ไหมล่ะ"

    "แน่นอน เพราะพระพุทธเจ้าท่านรู้แจ้งเห็นจริงและพูดจริงทุกอย่าง มีเหตุผลสามารถพิสูจน์ได้"

    "ถ้างันฟังให้ดีนะคุณผู้ที่บอกว่าผีมีจริง ก็คือพระบรมศาสดาสัมมาสัสพุทธเจ้านั่นเอง ท่านได้บัญญัติไว้ในพระวินัยบัญญัติว่า พระภิกษุรูปใดถูกผีเข้าสิง ไม่ต้องลงทำสังฆกรรม ฉันเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าจึงเชื่อว่าผีมีจริง"

    สิ้นเสียงของเทพเจ้าแห่งดอนยายหอมชายแปลกหน้าก็ตัวสั่นหน้าซีดมือสั่นระริก ค่อยๆถอดหมวกออกแล้วเดินขึ้นบันไดมา คุกเข่าตรงหน้าหลวงพ่อเงิน แล้วกราบลงไปงามๆสามครั้ง เอ่ยด้วยเสียงของคนที่ยอมแพ้ละทิฐิแล้วว่า

    "ผมไม่นึกเลยว่า พระบ้านนอกอย่างท่านจะฉลาดปราดเปรื่องถึงขนาดนี้ ผมไม่เคยเห็นองค์ไหนที่จะทันสมัยและโต้ตอบกับผมได้เหมือนกับท่านเลย ผมปราบพวกสมภารเถื่อนมามากต่อมากแล้ว แต่มาถึงที่นี่ผมยอมแพ้ ขอมอบตัวเป็นศิษย์ตั้งแต่บัดนี้"


    ที่มา: นะโมฉบับที่ 327
     
  12. ddd445

    ddd445 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2013
    โพสต์:
    7,468
    ค่าพลัง:
    +38,819
    พระภาคเหนือครับ
    หลวงพ่อโอภาส โอภาโส วัดจองคำ งาว ลำปาง หลัง จตุคาม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_5322.JPG
      IMG_5322.JPG
      ขนาดไฟล์:
      2 MB
      เปิดดู:
      82
    • IMG_5320.JPG
      IMG_5320.JPG
      ขนาดไฟล์:
      1.7 MB
      เปิดดู:
      70
    • IMG_5321.JPG
      IMG_5321.JPG
      ขนาดไฟล์:
      1.9 MB
      เปิดดู:
      120
  13. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,492
    ค่าพลัง:
    +53,107

    ขอบคุณพี่ปูมากๆครับ เรื่องราวของหลวงพ่อเงิน ผมอ่านแล้วชอบมากๆ จำได้ว่าเคยอ่านแบบกระทัดรัดเกี่ยวกับ การห้อยพระเครื่อง ไม่นึกว่า ท่านจะมีเรื่องราวแบบนี้ด้วย ว่างๆ รบกวนอีกนะครับ อยากอ่านครับ ชอบมาก:cool::cool:
     
  14. ddd445

    ddd445 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2013
    โพสต์:
    7,468
    ค่าพลัง:
    +38,819
    หลวงปู่ทา จารุธมโม (ต่อ)
    ปี ๒๕๐๓ หลวงปู่มี หลวงปู่ทองพูล และหลวงพ่อสุพีร์ ขึ้นไปจำพรรษาที่วัดดอยพระเกิด อ. จอมทอง จ.เชียงใหม่ โดยให้หลวงปู่ทา อยู่ดูแลวัดป่าสูงเนิน เพื่อคุมงานต่อเติมศาลาการเปรียญและกิจการในวัดต่างๆ
    ปี๒๕๐๔-๒๕๐๕ หลวงปู่มี ยังคงจำพรรษาเที่ยวเจริญภาวนาตามป่าเขาในเขตจังหวัดเชียงใหม่ ส่วนหลวงปู่ทายังคงจำพรรษาที่วัดป่าสูงเนิน วัดป่าสระเพลง
    ปี๒๕๐๖ หลวงปู่ทา ได้ขึันไปจำพรรษาที่วัดถ้ำซับมืด ซึ่งยังเป็นป่าดงดิบ ไข้มาลาเรียยังคงชุกชุม สัตว์ป่ายังคงมากมาย ห่างไกลจากผู้คนกว่าจะถึงหมู่บ้านก็ทำเอาเหงื่อโชกท่วมตัวเหมือนได้อาบน้ำเป็นตุ่มๆๆ ภายหลังการต่อเติมศาลาการเปรียญเสร็จ หลวงปู่มี หลวงปู่ทองพูล กลับจากเชียงใหม่เพื่อจัดงานฉลองศาลาการเปรียญ
    ปี๒๕๐๗-๒๕๑๐ หลวงปู่มี หลวงปู่ทา หลวงพ่อสุพีร์ ได้เดินทางกลับขึ้นไปเชียงใหม่จำพรรษาที่ดอยพระเกิด อีกครั้ง หลวงปู่ทาได้เล่าเรื่องพระบรมธาตุในคราวพักที่ดอยพระเกิด "ขณะพักจำพรรษาที่วัดดอยพระเกิดคือมีวัดหลวงจอมทอง อันไม่ไกลจากวัดที่จำพรรษามากนัก มีพระธาตุพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งน่าสังการะบูชาและน่าเลื่อมใสเป็นอย่างยิ่ง บางคืนจะมีแสงสว่างลูกกลมโตพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้า เห็นได้ถนัดตา
    หลวงปู่ทา นอกจากจำพรรษาที่วัดป่าสูงเนิน โคราช วัดดอยพระเกิด เชียงใหม่ วัดป่าบ้านกอกโคราช วัดป่ากุดจิก วัดป่าสระเพลง โคราชฯ
    ท่านยังได้เล่าเรื่องกรรมเก่าของท่านเมื่อคราวที่จำพรรษาที่วัดป่าบ้านกอกว่า " มีอยู่วันหนึ่งเป็นไข้หนัก โยมได้นิมนต์ไปสวดมาติกาบังสกุล เมื่อกลับมาที่วัดก็เข้ากุฏิ นั่งสมาธิหันหน้าออกไปทางหน้าต่าง จิตสงบมากแล้วเกิดนิมิตเห็นควายกับฮวงหีบอ้อย จึงน้อมรำลึกถึงอดีตเมื่อครั้งเป็นฆราวาส ท่านได้เคยบังคับควายหีบอ้อยซึ่งมันเพิ่งกินหญ้ามาใหม่จนพุงกางอุ้ยอ้ายด้วยความอิ่ม ท่านก็ยังบังคับมัน มันก็ไม่อยากจะเดินท่านก็ยังบังคับมัน มันทนไม่ไหวจึงอ๊วกหญ้าอ่อนที่มันกินจนอิ่มอย่างน่าสงสาร เพราะกรรมนี้เอง ท่านจึงเป็นโรคลม อาเจียร เป็นประจำรักษาอย่างไรก็ไม่หาย
    ปี๒๕๑๒ หลวงปู่ทา ได้กลับไปจำพรรษา ที่วัดถ้ำซับมืดกับหลวงปู่มีและหลวงพ่อสุพีร์ สุสัญญโม แม้หลวงปู่มี จะมรณะภาพแล้วก็ตาม ท่านก็ยังจำพรรษาอยู่กับหลวงพ่อสุพีร์ และคอยอบรมสั่งสอนพระและฆราวาสที่เป็นลูกศิษย์ ด้วยการทำให้ดูเป็นตัวอย่างเสมอมา
    สหธรรมิกที่เดินทางมาเยี่ยมเยือนสนทนาธรรมด้วยเสมอที่วัดถ้ำซับมืดคือ หลวงปู่สิม พุทธาจาโร หลวงปู่บุญญฟทธิ์ ปณฑิโต หลวงปู่หลวง กตปุญโญ พระมหาเนียม สุวโจ รวมถึงพระฝรั่งสายหลวงปู่ชา ท่านพระอาจารย์ ชยสาโรและพระฝรั่งอีกหลายรูป นับได้ว่าท่านเป็นหนึ่งในวงศ์กรรมฐานสาย หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต แม้จะอาพาธรุมเร้า ท่านก็ยังรักษาปฏิปทาและแนวทางปฏิบัติได้อย่างสม่ำเสมอ
    หลวงปู่ทา มักจะสอนพระลูกศิษย์ที่มาอุปฐากเสมอว่า
    "บวชเข้ามาเพื่อที่จะดูเจ้าของ ของเจ้าของมีหมดทุกอย่างแลว้ อยู่กับเจ้าของหมดแล้ว ตับ ไต ไส้ พุง ผม ขน เล็บ ฟัน เนื้อ เอ็น กระดูก ตลอดจนอาการ ๓๒ ดูทั้งข้างนอกข้างใน"
    "ความรัก ความคุ้นเคย นั่นแหละ พาให้เศร้าใจ"
    วันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ท่านได้เข้าพักรักษาที่โรงพยาบาล แต่อาการไม่ดีขึ้น จึงได้นำกลับวัดถ้ำซับมืดตอนบ่าย การนำหลวงปู่กลับวัดก็เพื่อให้เป็นเจตนารมณ์ของท่าน เพราะท่านเน้นย้ำเสมอว่า ท่านจะละสังขารที่วัด ถ้าท่านมรณะภาพให้จัดเผาศพอย่างเรียบง่ายแบบพระกรรมฐาน"
    วันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๐ หลวงปู่ทา ได้ละสังขาร ที่เสนาสนะอันเป็นที่พักของท่านที่วัดถ้ำซับมืด สิริอายุ ๙๘ ปี ๖๔ พรรษา
    ขอพักก่อนครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_3342.JPG
      IMG_3342.JPG
      ขนาดไฟล์:
      6.8 MB
      เปิดดู:
      89
    • IMG_3347.JPG
      IMG_3347.JPG
      ขนาดไฟล์:
      8 MB
      เปิดดู:
      191
  15. Norr

    Norr เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,105
    ค่าพลัง:
    +127,437
    ลป.ดูลย์ ออกวัดโพธ์แก้ว จ.บุรีรัม คับ ^^

    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]



    [​IMG]
     
  16. MrCHAN

    MrCHAN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    5,812
    ค่าพลัง:
    +97,448
    สวัสดียามค่ำครับทุก ๆ ท่าน ไปยุดยา มาครับ...:cool:


     
  17. Norr

    Norr เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,105
    ค่าพลัง:
    +127,437
    สวัสดีครับพี่โญ...ก็ว่าอยู่ นึกว่าหายไปไหนทั้งวัน ที่แท้ไปยุดยาน่ะเอง ^_^
     
  18. MrCHAN

    MrCHAN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    5,812
    ค่าพลัง:
    +97,448

    ;aa44 สวัสดีครับคุณบอย
     
  19. MrCHAN

    MrCHAN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    5,812
    ค่าพลัง:
    +97,448

    [​IMG] สวัสดีคร๊าาาาาบ....
     
  20. nitikoon kongkhaw

    nitikoon kongkhaw เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,314
    ค่าพลัง:
    +53,508
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    พระปิดตามหาลาภ ฐานบัว หลวงปู่จันทร์หอม สุภาทโร รุ่นเจริญพร เนื้อทองชนวน ตะกรุดทองแดงหัวใจเศรษฐี อุดผงรังต่อเงินต่อทอง เส้นเกศาหลวงปู่จันทร์หอม เม็ดแร่ และ เศษแบงค์เก่า สร้าง 2,556 องค์ ตอกโค๊ด อ.1
     

แชร์หน้านี้

Loading...