พอใจรูม

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย ppojai, 3 ตุลาคม 2010.

  1. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490

    " ชีวิตนักปฏิบัติธรรม เต็มด้วยความยินดี "

    พระพุทธองค์ตรัสว่า มีธรรม ๖ ข้อ ซึ่งทำให้เราอยู่ในปัจจุบันอย่างมีความสุขมาก และยังเป็นเหตุ

    เป็นปัจจัย เพื่อการสิ้นไปแห่งกิเลสอนาคตข้างหน้า อย่างนี้ฝรั่งเรียกว่า win-win situation คือ มี

    ความสุขในปัจจุบันด้วย เจริญอริยมรรคไปด้วยพร้อมกัน

    ธรรม ๖ ข้อ คือ...

    • เป็นผู้ยินดีในธรรม
    • เป็นผู้ยินดีในภาวนา
    • เป็นผู้ยินดีในการละ
    • เป็นผู้ยินดีในความวิเวก
    • เป็นผู้ยินดีในความไม่พยาบาท
    • เป็นผู้ยินดีในความไม่ปรุงแต่ง


    สิ่งแรกที่เราควรสังเกตก็คือ ความสุขทั้ง ๖ ข้อ เกิดจากความยินดี

    หลายคนยังเข้าใจว่า ชีวิตนักปฏิบัติธรรม ไม่น่าจะมีอะไรสนุก ที่มองอย่างนี้ เพราะยังจับหลักไม่

    ได้ ว่าตัวความสุข อยู่ที่ความยินดี มากกว่าสิ่งที่ยินดี นักปฏิบัติไม่ต้องสละความยินดีเสมอไป

    เพียงแต่ว่า ต้องย้ายความยินดีของตน ออกจากสิ่งที่ทำให้จิตตกต่ำ ไปไว้ในสิ่งที่น้อมนำจิตออก

    จากทุกข์


    ชยสาโรภิกขุ​
     
  2. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    [​IMG]

    หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ : Buddhadasa Indapanno Archives
    ความสุขที่ได้จาก รูป เสียง กลิ่น รส และการสัมผัสทางกาย
    คับแคบ และไม่ไปไหน
    คือ กี่ปี...กี่ปีก็เหมือนเดิม กี่ภพกี่ชาติก็แค่นั้นแหล่ะ

    อายุเรามากขึ้น สุขภาพร่างกายอ่อนลง...
    โรคประจำตัวเพิ่มมากขึ้น
    โอกาสจะได้ความสุขจากสิ่งนอกตัวน้อยลง

    สุดท้ายน่ากลัวจะเหมือนนกกระเรียนแก่
    ซบเซาอยู่ที่เปลือกตมไร้ปลา

    พระพุทธองค์ ให้เราเห็นว่า
    การช่วยคนอื่น
    การดำเนินชีวิตภายในกรอบของศีล
    การขัดเกลานิสัย การฝึกสมาธิ และการพัฒนาปัญญา
    เป็นทางไปสู่ความสุขที่แน่กว่า...และมีจุดจบ


     
  3. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    ทุกวันนี้คนเราชอบสับสน ระหว่างความสุขและความตื่นเต้น

    สิ่งใดกระตุ้นความรู้สึกได้มาก ก็ถือว่าสิ่งนั้นนำความสุขมาให้


    แต่ความสุขนั้นยังร้อนอยู่ ความสุขทางเนื้อหนังนั้นยิ่งเข้มข้น
    ก็ยิ่งชวนให้เราติด ติดแล้วอาจจะเป็นเหตุให้เบียดเบียนคนอื่น...
    หรือทำอะไรผิดกฎหมายเพื่อจะให้ได้มา

    อย่างน้อยก็ทำให้เราไม่เป็นตัวของตัวเอง
     
  4. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    [​IMG]

    "สิ่งที่ยอดเยี่ยม"

    พระองค์เห็นว่าชีวิตของมนุษย์ปถุชนเหมือนกรง
    เพราะถูกกักขังในที่คับแคบ
    ด้วยอำนาจของความโลภ ความโกรธ ความหลง...ถึงจะเป็นกรงทองคำ ก็ยังเป็นกรงอยู่ดี

    สิ่งใดมีหน้าที่แค่ประดับกรง เป็นของยอดเยี่ยมไม่ได้

    สิ่งใดช่วยให้เราพ้นจากกรง สิ่งนั้นแหล่ะยอดเยี่ยม


    ชยสาโรภิกขุ​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 10 พฤศจิกายน 2013
  5. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    การพัฒนาเมตตายากอยู่เหมือนกัน แต่ไม่เหลือวิสัย
    ที่ไม่ยากเกินไปเพราะว่าดินเราดี เมล็ดเรามี

    หมายความว่า
    ...
    จิตใจของมนุษย์เป็นที่เกิดและที่เจริญของเมตตาที่สมบูรณ์ เรียกว่า ดินเราดี

    สอง เมตตาเป็นสิ่งที่เคยปรากฏในจิตของทุกคนอยู่แล้ว ไม่มากก็น้อย

    เพียงแต่ว่าคนส่วนมาก ไม่เคยพัฒนาอย่างเป็นระเบียบและต่อเนื่อง



    ชยสาโรภิกขุ
     
  6. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490

    ถ้าระบบการศึกษาของเรา ผลิตคนออกมา
    ที่มีคุณสมบัติ ทุกข์ง่าย สุขยาก
    ผิดหวังอะไร นิดหน่อย ใครพูดอะไรไม่ถูกใจ นิดหน่อย
    ก็โกรธ เสียใจ น้อยใจ
    ก็ทำให้ครอบครัว ไม่มั่นคง...
    สามีภรรยาอยู่ด้วยกันปีสองปี
    ทะเลาะกัน หรือว่ามีอะไร ผิดใจกัน ก็หย่ากัน
    แล้วก็มีผลกระทบต่อตัวเขาเองมาก
    มีลูกหลาน ก็มีปัญหาที่เป็นลูกโซ่ต่อไป


    ชยสาโรภิกขุ​
     
  7. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490

    " การสั่งสอนลูกหลานของเราให้ตั้งอยู่ในธรรม "

    เรื่องของธรรมะก็เหมือนกัน
    เราจะบังคับเขาไม่ได้
    แต่ถ้าเราเป็นตัวอย่างที่ดี...
    ให้เขาเห็นความสงบของเรา

    ถ้าเขาเห็นความสุขของเรา
    ที่อาศัยการปฏิบัติธรรมแล้ว
    เขาต้องสนใจ ทำไมจะไม่สนใจ
    ถ้าเรามิได้ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเองอย่างนี้

    ทุกวันนี้เขาไม่รับ
    เขาบอกว่าฉันไม่สนใจหรอก
    พ่อแม่ของฉันเป็นชาวพุทธ
    แต่หน้าบูดเบี้ยวอยู่ทั้งวันทั้งคืน
    เขาจึงไม่สนใจ

    แต่ถ้าเขาเห็นว่าเราได้รับความสุข
    เราได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติธรรม
    เขาสนใจเองโดยธรรมชาติ
    โดยที่เราไม่ต้องแนะนำ เราไม่ต้องบังคับ


    ชยสาโรภิกขุ​
     
  8. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490

    "เบื้องหลังปัญหา"

    หยุดพิจารณาดูสักนิดหนึ่ง
    ก็ต้องเห็นความร้ายกาจของกิเลส
    ความเห็นแก่ตัว ความไม่ละอายต่อบาป...
    การบังคับตัวไม่เป็น ความอิจฉาพยาบาท
    ความหลงใหลมัวเมา
    ความยึดมั่นถือมั่นในเผ่าพันธุ์ สีผิว สัญชาติ ศาสนา ฯลฯ

    สิ่งเหล่านี้แหละที่อยู่เบื้องหลังปัญหาต่างๆ อยู่เสมอ
    และถ้าเราไม่หาทางยกระดับจิตของคน
    การแก้ไขรัฐธรรมนูญการปฏิรูประบบต่างๆ ในสังคม
    จะได้ผลจริงหรือ

    ประวัติศาสตร์สอนว่ากิเลสคน
    สามารถดึงระบบทุกระบบให้เข้ามารับใช้ตนได้
    มีไหมในประวัติศาสตร์โลกที่ไม่เคยเป็นอย่างนั้น


    ชยสาโรภิกขุ​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 10 พฤศจิกายน 2013
  9. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490


    "ไม่แน่"
    พระพุทธเจ้าสอนให้เราสนใจศึกษา
    ในเรื่องความไม่เที่ยง
    หลวงพ่อชาชอบใช้คำว่า “ไม่แน่”...
    ซึ่งมีความหมาย ตรงกับอนิจจัง

    ท่านแนะนำว่าเวลาไหนเรารู้สึกว่าชอบอะไรมากๆ
    ให้รีบบอกตัวเอง สอนตัวเองว่า “ไม่แน่”
    ไม่ชอบก็ไม่แน่ รักก็ไม่แน่ ชังก็ไม่แน่
    ชกมันไว้ก่อน ท่านว่าอย่างนั้น อย่าให้มันชกเรา

    อย่าให้สิ่งที่เราชอบ สิ่งที่เราไม่ชอบ
    ครอบงำจิตใจ
    เราตื่นเต้นก็ไม่แน่
    เบื่อหน่ายก็ไม่แน่

    การหมั่นคิดอย่างนี้เป็นการฝึกให้เรา
    ไม่หลงงมงายในอารมณ์
    ให้เห็นอารมณ์ตามความเป็นจริง
    ว่าเป็นแค่ธรรมชาติที่เกิดขึ้น ดับไป
    ตามเหตุตามปัจจัยของมัน



    ชยสาโรภิกขุ​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 10 พฤศจิกายน 2013
  10. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490

    ' นิพพิทา '


    ในชีวิตประจำวัน การยึดมั่นถือมั่น มักปรากฏในหลายรูปแบบ อย่างเช่นการที่เราจะหมายมั่นปั้นมือว่าต้องเป็นอย่างนั้นให้ได้ ต้องเป็นอย่างนี้ให้ได้ คนนั้นก็ต้องเป็นอย่างนั้น คนนี้ก็ต้องเป็นอย่างนี้ ทำไมไม่เป็นอย่างนั้น ทำไมไม่เป็นอย่างนี้ คิดอย่างนี้แล้วเราจึงชอบพยายามบังคับให้คนอื่นหรือสิ่งอื่นเป็นไปตามใจเรา

    เมื่อเราเห็นว่าความคิดอย่างนี้เป็นการเบียดเบียน เป็นการทรมานตัวเองโดยเปล่าประโยชน์ และเป็นความพยายามที่ลมๆ แล้งๆ ไม่มีวันที่เราจะสำเร็จได้ เราก็ยอมปล่อย

    ในขณะที่เราเห็นความโง่ในความยึดมั่นถือมั่นนั้นอย่างชัดแจ้ง ท่านให้ชื่อว่า "นิพพิทา" เป็นปัญญาที่ทำให้เกิดความเบื่อหน่ายคลายกำหนัดยินดีในสังขาร เพราะเล็งเห็นโทษของการยึดมั่น เป็นเหตุให้เราเข้าถึงความหลุดพ้นในที่สุด -


    ชยสาโรภิกขุ
     
  11. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    อนุโมทนาในธรรมทานทุกๆโพสต์ค่ะพี่ใจ
    ติงสมารถนำไปใช้ได้โดยไม่ต้องไปเสาะหาจากที่อื่นเลยค่ะ
    สาธุๆๆ
     
  12. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    [​IMG]

    สาธุ ๆ ๆ โมทนามิ..ค่ะน้องติง ติง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    ในพระพุทธศาสนา เราทุกคนจะต้องเป็นนักศึกษา

    การศึกษาคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น คือ

    การตั้งใจศึกษาเรื่องของเราเอง เพราะธรรมะของพระองค์ทั้งหมดทั้งสิ้น มีความมุ่งมั่นอยู่แต่ในสองเรื่อง คือ

    หนึ่ง การเปิดเผยธรรมชาติของมนุษย์และชี้แนวทางปฏิบัติต่อธรรมชาตินั้นให้ถูกต้อง เพื่อการพ้นทุกข์โดยสิ้นเชิง สองเรื่องเท่านั้น


    - ชยสาโรภิกขุ
     
  14. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    เมื่อเราไม่เข้าใจธรรมชาติของตนเอง ไม่เข้าใจธรรมชาติของโลก

    ตัณหาก็จะเป็นผู้สนตะพาย โดยเราหลงหวังไปว่าโลกจะให้สิ่งที่จริง ๆ แล้วโลกให้เราไม่ได้ คือ ความสุขที่ไม่รู้โรย ความสุขที่ยืนยงคงกระพัน


    - ชยสาโร
     
  15. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    คนที่ยังไม่มีปัญญามักปฏิเสธว่า "ฉันไม่มีปัญหา"
    เมื่อเริ่มสว่างขึ้นมาหน่อยก็ยอมรับว่า "ฉันมีปัญหา"
    ขั้นต่อไปก็คือ "ฉันคือปัญหา"
    ชยสาโรภิกขุ
     
  16. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490

    เมื่อเรายอมอยู่ในปัจจุบัน อยู่ด้วยสติ
    ไม่ปล่อยให้จิตใจคิดเรื่อยเปื่อยเรื่องอดีตเรื่องอนาคต
    แต่อยู่กับปัจจุบันด้วยการรู้ตัวทั่วพร้อม

    เรียนรู้จากประสบการณ์...
    ทบทวนประสบการณ์จากอดีต
    เพื่อประโยชน์ในปัจจุบันบ้าง
    นึกถึงอนาคตเพื่อเตรียมตัวและวางแผนให้ถูกบ้าง

    ถ้าเราอยู่ในปัจจุบันในลักษณะนี้เป็น
    คำว่า “เซ็ง” คำว่า “จำเจ” คำว่า “เบื่อ”
    ไม่ปรากฏเลย เราสามารถมีความสุขได้


    ชยสาโรภิกขุ
     
  17. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    ถึงแม้ว่าการปฏิบัติของเรานั้น
    ยังไม่ถึงขั้นที่ว่า “การปฏิบัติชอบ”
    ก็อย่างน้อยที่สุด
    ขอให้เรา “ชอบปฏิบัติ” เสียก่อน
    ...
    เมื่อยังไม่ได้ปฏิบัติ
    ธรรมะก็เป็นแค่ปรัชญาอันลึกซึ้งที่น่าสนใจ
    แต่ในโลกที่เป็นจริง
    พอกิเลสเกิดขึ้น
    เราก็ทนต่อกิเลสไม่ได้
    มันฉุดลากไปเลย
    ความรู้ของเรามันหายไปไหนก็ไม่รู้

    การจะฆ่ากิเลสหรือนิวรณ์นั้น
    ต้องเข้าใจคำว่า “ฆ่า”
    นั้นว่าหมายถึง การรู้เท่าทัน
    ฆ่าด้วยการรู้เท่าทัน

    การปฏิบัติทุกขั้นตอน
    อย่าไปปฏิบัติเพื่อจะ "เป็น" เพื่อจะ "เอา"
    เพราะจะเป็นการปฏิบัติ
    ที่เป็นการพายเรือในอ่าง
    ไม่เป็นการปฏิบัติที่จะข้ามไปฝั่งโน้น


    ชยสาโรภิกขุ​
     
  18. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    ที่จริงเราทุกคนก็มีปัญญาของตนเองอยู่แล้ว
    เพียงแต่ว่าปัญญานั้นถูกความคิดฟุ้งซ่านวุ่นวายทับถมเอาไว้
    แต่เมื่อเราสามารถปล่อยวาง
    และกล้าเสียสละความยินดีในสิ่งไร้แก่นสารสาระ
    ปล่อยวางความคิดเรื่อยเปื่อย...
    เมื่อนั้นความคิดสร้างสรรก็มีโอกาสบังเกิดขึ้น
    เพื่อประโยชน์แก่ชีวิตของเราได้

    ดังนั้น เรามีโอกาสที่จะฉลาดอยู่ตลอดเวลา
    แม้ในโอกาสที่มีการกระทบกระทั่ง
    เกิดความกดดัน มีสิ่งคุกคาม
    ถ้าเราภาวนาด้วยความจริงใจ
    ภาวนาสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
    เราก็สามารถสร้างที่พึ่งภายในได้
    มีหลักการของตนเองที่ยังคงทนอยู่
    ไม่หวั่นไหวตามการแปรปรวนของสิ่งภายนอก
    ทำยากแต่ไม่เหลือวิสัย

    ชยสาโรภิกขุดู
     
  19. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490

    เราจะเอาวัตถุวัดคนได้หรือ

    คนที่เคยทำงาน เคยถือว่าชีวิตของตนเองมีคุณค่า
    เพราะทำงาน เพราะมีเงินเดือน
    พอเกษียณแล้ว ไม่ทำงานแล้ว...
    ก็รู้สึกว่าชีวิตไม่มีค่าเสียแล้ว เป็นภาระแก่คนอื่น
    เพราะไม่ได้ทำงานไม่มีเงินเดือนแล้ว
    เป็นภาระแก่ลูกหลาน
    นี่เรียกว่าคิดผิด

    เพราะคุณค่าของชีวิตไม่ได้อยู่ที่เงินเดือน
    คุณค่าของชีวิตอยู่ที่สิ่งที่ดีงาม
    ภายในจิตในใจของเรา อยู่ที่สิ่งดีงามที่เรากระทำ
    ด้วยกาย ด้วยวาจา เมื่อเป็นเช่นนั้น
    เราจึงถือได้ว่าชีวิตของเรามีคุณค่า
    ได้จนถึงลมหายใจสุดท้ายเลย
    ตราบใดที่เรายังมีชีวิตอยู่
    เราก็ยังมีโอกาสละสิ่งที่ไม่ดี
    มีโอกาสทำสิ่งที่ดีที่งาม เป็นประโยชน์
    ทำสิ่งที่ให้ตนเองมีความสุข
    ทำให้ผู้อื่นมีความสุขได้ตลอดเวลา


    ชยสาโรภิกขุ
     
  20. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490

    รู้เท่าทันการเปรียบเทียบ

    สมัยก่อน ทางอุบลฯ ในชนบท ไฟยังไม่เข้า ที่สาขาวัดป่านานาชาติ ที่อำเภอโขงเจียม ภูจอมก้อม หมู่บ้านที่อยู่เชิงเขานั้น ตอนที่เราไปอยู่ใหม่ ๆ นี่ยังไม่มีไฟฟ้า แล้วอาตมาสามารถเห็นความเปลี่ยนแปลงของชาวบ้านหลังจากได้ไฟฟ้า เปลี่ยนเร็วมาก และที่ชัดที่สุดคือ เกิดความไม่พอใจในวิถีชีวิตของตน เพราะว่า มีไฟแล้ว ต้องซื้อทีวี ดูทีวี แล้วรายการทีวี ข่าวอะไร ไม่มีผลต่อจิตใจเขามากเท่าการโฆษณา... เพราะเขาเห็นการโฆษณา นั่นก็เป็นการสร้างภาพของชีวิตที่สมบูรณ์ให้เขาเห็น

    เมื่อเขาเทียบวิถีชีวิตของตัวเอง กับวิถีชีวิตของเด็กยิ้มแย้มแจ่มใสในการโฆษณา รู้สึกว่าสู้เขาไม่ได้ การแต่งตัว เครื่องใช้สอยต่าง ๆ ไม่มีเลย ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านั้น อาตมาว่า สำหรับชาวบ้าน เขาก็ไม่ได้เดือดร้อนมาก วัตถุต่าง ๆ น้อยก็จริง แต่เขาก็มีความสุขพอสมควร หลังจากมีทีวีแล้ว สิ่งแวดล้อมก็เหมือนเดิม ไม่แตกต่างกัน แต่ความสุขน้อยลงทันที เพราะเขาเปรียบเทียบตัวเขาเองกับเด็กในจอทีวี

    นี่ก็เป็นตัวอย่างของโทษของสิ่งที่เราละไม่ได้ เรื่องการเปรียบเทียบต้องมีแน่ และการเปรียบเทียบทำให้เราฉลาดขึ้นได้ ถ้าเรามีปัญญา เราเปรียบของเรากับคนอื่น อาจเห็นข้อบกพร่องของเราได้ เราควรปรับปรุงแก้ไขตรงนี้ ๆ ถ้าเราเปรียบไม่เป็น กลายเป็นอิจฉา รู้สึกตัวมีปมด้อย หรือถ้ารู้สึกว่าของตัวเองดีกว่า ก็กลายเป็นถือตัวถือตน ฉะนั้น การเปรียบเทียบเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตมนุษย์ แต่ว่าเป็นส่วนหนึ่งที่เราต้องรู้เท่าทัน

    ชยสาโรภิกขุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...