พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://gotoknow.org/blog/dhammasakajcha/135106

    เล่าเรื่องสิงคาลกสูตร ๑๗ <SUP></SUP>
    เล่าเรื่องสิงคาลกสูตร ๑๗
    ดูกรลูกนายบ้าน มิตร ๔ จำพวกเหล่านี้ คือ มิตรมีอุปการะ ๑ มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ ๑ มิตรแนะนำประโยชน์ ๑ มิตรมีความรักใคร่ ๑ ท่านพึงทราบว่า เป็นมิตรมีใจดี (มิตรแท้) ฯ
    มิตรมีอุปการะ....
    • รักษาเพื่อนผู้ประมาทแล้ว
    • รักษาทรัพย์สมบัติของเพื่อนผู้ประมาทแล้ว
    • เมื่อมีภัยเป็นที่พึ่งพำนักได้
    • เมื่อกิจที่จำต้องทำเกิดขึ้นเพิ่มทรัพย์ให้สองเท่า (เกินกว่าที่ออกปาก)
    .........
    มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์.....
    • บอกความลับ (ของตน) แก่เพื่อน
    • ปิดความลับของเพื่อน
    • ไม่ละทิ้งในเหตุอันตราย
    • แม้ชีวิตก็อาจสละเพื่อประโยชน์แก่เพื่อนได้
    ............
    มิตรแนะนำประโยชน์.....
    • ห้ามจากการทำความชั่ว
    • ให้ตั้งอยู่ในความดี
    • ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
    • บอกทางสวรรค์ให้
    .........
    มิตรมีความรักใคร่.....
    • ไม่ยินดีด้วยความเสื่อมของเพื่อน
    • ยินดีด้วยความเจริญของเพื่อน
    • ห้ามคนที่กล่าวโทษเพื่อน
    • สรรเสริญคนที่สรรเสริญเพื่อน
    ต่อจากนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าได้สรุปมิตรมีใจดีเหล่านี้ด้วยคาถาประพันธ์ว่า...
    • บัณฑิตรู้แจ้งมิตร ๔ จำพวกเหล่านี้ คือ มิตรมีอุปการะ ๑ มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ ๑ มิตรแนะนำประโยชน์ ๑ มิตรมีความรักใคร่ ๑ ว่าเป็นมิตรแท้ ฉะนี้แล้ว พึงเข้าไปนั่งใกล้โดยเคารพเหมือนมารดากับบุตร ฉะนั้น ฯ
    คาถาประพันธ์ส่วนนี้ยังมีต่อ แต่ผู้เขียนเห็นว่าไม่เกี่ยวกับการสรุปเรื่องมิตรแท้ จึงยกยอดไปเล่าในตอนต่อไป....
    ...............
    อนึ่ง มีประเด็นเปรียบเทียบที่แตกต่างกันในข้อสรุประหว่างมิตรเทียมกับมิตรแท้ ซึ่งผู้เขียนใคร่จะเพิ่มเติมอีกนิด กล่าวคือ มิตรเทียม ควรหลีกให้ไกลเหมือนคนเดินทางเว้นทางที่มีภัย (ดู เล่า... ๑๖ ) ... ส่วน มิตรแท้ ควรเข้าไปนั่งใกล้โดยเคารพเหมือนมารดากับบุตร ....
    เมื่อเราเดินทางไกล ถนนที่กำลังก่อสร้าง มีน้ำท่วมข้างหน้า เปลี่ยวเกินไป หรือมีจราจรติดขัดข้างหน้า เป็นต้น.... เรามักจะหลีกเลี่ยงถนนลักษณะนี้.... มิตรเทียมก็เช่นเดียวกับถนนลักษณะนี้ เป็นผู้ที่เราควรหลีกเลี่ยงไปให้ไกล เพราะทำให้เสียเวลาโดยใช่เหตุ และอาจก่ออันตรายได้... ประมาณนั้น
    ส่วนลูกและแม่ย่อมมีความรักใคร่ห่วงใยซึ่งกันและกันอย่างไร ไม่จำเป็นต้องขยายความ... ในที่นี้ พระพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบว่า การอยู่ร่วมกับมิตรแท้นั้น ก็คล้ายๆ กับการอยู่ร่วมระหว่างแม่กับลูกนั่นเอง กล่าวคือ มีความรักใคร่ห่วงใยซึ่งกันและกัน มีความอบอุ่น สบายใจ.... ประมาณนั้น
    ข้อเปรียบเทียบทำให้เห็นชัดเจน และการเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างก็จะทำให้ชัดเจนยิ่งขึ้นไปอีก.... ประมาณนั้น


    หมวดหมู่: ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา
    คำสำคัญ: สิงคาลกสูตร มิตรแท้ มิตรมีอุปการะ มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ มิตรมีความรักใคร่ มิตรแนะนำประโยชน์
    สร้าง: ศ. 05 ต.ค. 2550 @ 10:14 แก้ไข: ศ. 05 ต.ค. 2550 @ 10:14 ขนาด: 6619 ไบต์
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://gotoknow.org/blog/dhammasakajcha/136468

    ยาแก้โรคทางวิญญาณ <SUP></SUP>
    ยาแก้โรคทางวิญญาณ
    บิณฑบาตเช้านี้ (ซึ่งปกติผู้เขียนก็บิณฯ บ้างไม่บิณฯ บ้าง) ทายกถวายหนังสือของท่านพุทธทาสมาหนึ่งเล่ม ชื่อว่า ยาระงับสรรพโรค เปิดดูก็ทราบว่าเคยอ่านมานานแล้ว และที่ชอบใจก็คือบทกลอน ยาแก้โรคทางวิญญาณ ซึ่งผู้เขียนชอบใจมาก...
    บทกลอนนี้ เจอครั้งแรกตั้งใจว่าจะท่องให้จำก็ยังไม่จำ... เห็นเขียนไว้ตามวัดก็ไม่มีโอกาสได้จดไว้... ครั้งนี้ตั้งใจว่าจะท่องให้จำ แต่ก่อนจะท่องก็นำมาฝากบรรดาสหายธรรมในโกทูโนก่อน.....
    • ต้น "ไม่รู้ - ไม่ชี้ " นี้เอาเปลือก
    • ต้น "ช่างหัวมัน" นั้นเลือก เอาแก่นแข็ง
    • "อย่างนั้นเอง" เอาแต่ราก ฤทธิ์มันแรง
    • ต้น "ไม่มีกู-ของกู" นี้แสวง เอาแต่ใบ
    • ต้น"ไม่น่าเอา- ไม่น่าเป็น" เฟ้นเอาดอก
    • "ตายก่อนตาย" เลือกออก ลูกใหญ่ๆ
    • หกอย่างนี้ อย่างละชั่ง ตั้งเกณฑ์ไว้
    • "ดับไม่เหลือ" สิ่งสุดท้าย ใช้เมล็ดมัน
    • หนักหกชั่ง เท่ากับ ยาทั้งหลาย
    • เคล้ากันไป เสกคาถา ที่อาถรรพ์
    • "สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย " อัน
    • เป็นธรรมชั้น หฤทัย ในพุทธนาม
    • จัดลงหม้อ ใส่น้ำ พอท่วมยา
    • เคี่ยวไฟกล้า เหลือได้ หนึ่งในสาม
    • หนึ่งช้อนช้า สามเวลา พยายาม
    • กินเพื่อความ หมดสรรพโรค เป็นโลกอุดรฯ
    *** ส่วนคำอธิบายตัวยาเหล่านี้ผู้สนใจไปค้นหาเอาเอง ***


    หมวดหมู่: ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา
    คำสำคัญ: พุทธทาส ยาแก้โรคทางวิญญาณ ยาระงับสรรพโรค
    สร้าง: อ. 09 ต.ค. 2550 @ 07:18 แก้ไข: อ. 09 ต.ค. 2550 @ 07:22 ขนาด: 6480 ไบต์
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://gotoknow.org/blog/dhammasakajcha/136597

    เล่าเรื่องสิงคาลกสูตร ๑๘ <SUP></SUP>
    เล่าเรื่องสิงคาลกสูตร ๑๘
    จากครั้งก่อน ( เล่า... ๑๗ ) ซึ่งผู้เขียนได้เล่าว่า หลังจากพระพุทธเจ้าทรงขยายความคุณสมบัติของมิตรแท้และมิตรเทียมแล้ว พระองค์ก็ได้ตรัสคาถาประพันธ์ไว้...
    คาถาประพันธ์นี้อาจจำแนกออกเป็น ๓ ส่วน ในส่วนแรกเป็นการสรุปประเภทของมิตรแท้ว่าควรจะคบหาสมาคมเพราะนำมาซึ่งความอบอุ่นทางใจประดุจการอยู่ร่วมระหว่างแม่กับบุตรฉะนั้น... และในส่วนที่สองพระองค์ตรัสถึงความเป็นผู้มีศีลว่าจะมีความรุ่งเรือง รวมทั้งจะต้องเป็นคนขยันหมั่นเพียรในการทำงาน ดังคาถาประพันธ์ส่วนนี้ว่า...
    • บัณฑิตผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมรุ่งเรืองส่องสว่างเพียงดังไฟ เมื่อบุคคลออมโภคสมบัติอยู่เหมือนแมลงผึ้งผนวกรัง โภคสมบัติย่อมถึงความสั่งสมดุจจอมปลวกอันตัวปลวกก่อขึ้น ฉะนั้น
    ผู้อ่านที่ติดตามมาตั้งแต่ต้น เคยสังเกตหรือไม่ว่า ในสิงคาลกสูตรนี้ พระพุทธเจ้ายังไม่ได้ตรัสเรื่องศีลเลย เพียงแต่สิ่งที่พระองค์ตรัสก็ครอบคลุมศีลห้าไว้ด้วย กล่าวคือ พระองค์ตรัสเรื่องกรรมกิเลส ๔ อบายมุข ๖ ซึ่งการละกรรมกิเลสเหล่านั้นก็คือศีลสี่ข้อแรก ส่วนการเว้นการดื่มสุราก็คือศีลข้อสุดท้ายในศีลห้านั่นเอง.... แต่ในคาถาประพันธ์ตอนนี้ พระองค์ตรัสว่า ผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ...
    ผู้เขียนคิดว่า นี้คือความยักเยื้องแห่งเทศนาวิธีของพระผู้มีพระภาคเจ้า... ซึ่งผู้สดับฟัง เมื่อเงี่ยหูลงสดับฟัง ก็จะค่อยๆ ซึมลึกด้วยความศรัทธาเลื่อมใส และจะค่อยๆ เข้าใจไปเองโดยอัตโนมัติ... ถ้าพระองค์เริ่มต้นว่า จะต้องเป็นผู้มีศีล ข้อแรกคือ.... ทำนองนี้ .... ผู้เขียนคิดว่า นายสิงคาลกะ ลูกนายบ้านคนนี้คงจะรู้สึกต่อต้าน เบื่อ และล้มเลิกการฟังในที่สุด...
    แต่เมื่อมาถึงตอนนี้ พระองค์ทรงเริ่มต้นว่า บัณฑิตผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ... นั่นคือ เมื่อดำเนินชีวิตตามกรอบข้างต้น กล่าวคือ ละกรรมกิเลส เว้นอคติ ไม่มัวเมาอบายมุข หลีกห่างคนเทียมมิตร และคบหามิตรแท้ ตามนัยข้างต้น ก็อาจสรุปได้ด้วยคำว่า บัณฑิตผู้สมบูรณ์ด้วยศีล นั่นเอง ซึ่งลูกนายบ้านคนนี้ก็อาจเข้าใจได้ด้วยความนึกคิดของตัวเอง โดยไม่จำเป็นต้องตรัสบอกว่า ต้องเป็นบัณฑิต ต้องเป็นผู้มีศีล.... ประมาณนี้
    ส่วนข้อเปรียบเทียบว่า ย่อมรุ่งเรืองส่องสว่างเพียงดังไฟ นั้น ผู้เขียนคิดว่าชัดเจนแล้ว เพราะใครๆ ก็เข้าใจว่า เมื่อความสว่างเกิดขึ้นย่อมทำลายความมืด และสิ่งต่างๆ ก็ย่อมปรากฎชัดเจนเพราะความสว่างฉันใด... ในการดำเนินชีวิตก็เช่นเดียวกัน ถ้าเป็นบัณฑิตคือเป็นผู้ฉลาดดำเนินชีวิตด้วยปัญญา ประกอบกับเป็นผู้มีศีล คอยเป็นกรอบป้องกันไม่ให้ออกนอกลู่ทางแล้ว การดำเนินชีวิตของเขาก็ย่อมมีแต่ความรุ่งเรืองก้าวหน้า... ประมาณนั้น
    ..............
    เมื่อมีปัญญาและมีศีลแล้ว ก็ต้องเป็นผู้ขยันในการทำงาน ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบการทำงานว่าให้รู้จักเก็บสะสม หรือรู้จักออมเหมือนดังแมลงผึ้ง... และถ้าทำงานได้เช่นแมลงผึ้งแล้วทรัพย์สมบัติก็จะค่อยๆ เพิ่มพูนขึ้นมาอย่างมั่นคงเหมือนดังจอมปลวก....
    ประเด็นเปรียบเทียบการทำงานเหมือนดังแมลงผึ้ง และการเพิ่มพูนของโภคทรัพย์เหมือนดังจอมปลวกนี้ มีนัยควรจะขยายความเพิ่มเติมอีกเล็กน้อย ซึ่งผู้เขียนจะยกยอดไปตอนต่อไป....

    หมวดหมู่: ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา
    คำสำคัญ: สิงคาลกสูตร ศีล บัณฑิต แมลงผึ้ง จอมปลวก การออมทรัพย์
    สร้าง: อ. 09 ต.ค. 2550 @ 13:29 แก้ไข: อ. 09 ต.ค. 2550 @ 13:29 ขนาด: 8052 ไบต์

    http://gotoknow.org/blog/dhammasakajcha/136707
    เล่าเรื่องสิงคาลกสูตร ๑๙ <SUP></SUP>
    เล่าเรื่องสิงคาลกสูตร ๑๙
    จากครั้งก่อน ( เล่า...๑๘) ค้างอยู่ในข้อเปรียบเทียบว่า ออมโภคสมบัติเหมือนแมลงผึ้งผนวกรัง และ โภคสมบัติย่อมถึงความสั่งสมดุจจอมปลวกอันตัวปลวกก่อตัวขึ้น ซึ่งในครั้งนี้จะนำมาขยายความต่อไป...
    ประการแรกนั้นหมายถึง ให้ขยันทำงานเก็บออมเหมือนแมลงผึ้ง ซึ่งประเด็นนี้ก็เข้าใจไม่ยากนัก... ส่วนในอรรถกถาท่านขยายความว่า ค่อยๆ เก็บให้ทรัพย์สมบัติเพิ่มพูนขึ้นมา เหมือนดัง แมลงผึ้งก่อสร้างรวงรัง โดยการนำเกสรดอกไม้มาด้วยจงอยปากบ้าง โดยขาและปีกสองบ้าง สามารถสร้างรังให้มีขนาดเท่าล้อรถได้... ประมาณนั้น
    อนึ่ง อีกประเด็นหนึ่งก็คือวิธีการทำงานของผึ้ง เฉพาะในอรรถกถาสิงคาลกสูตร ท่านกล่าวไว้แต่เพียงว่า ผึ้งไม่ได้ทำลายสีและกลิ่นของดอกไม้ นำมาแต่เพียงเกสรเท่านั้น ซึ่งนั้นคือ ลักษณะการทำงานอย่างหนึ่งของผึ้งนั่นเอง.... ส่วนในที่อื่น (จำที่มาไม่ได้) ผู้เขียนฟังพระเถระท่านหนึ่งปาฎกถาลักษณะการทำงานของผึ้งไว้ ๕ ประการ กล่าวคือ
    • ขยันทำมาหากิน
    • บินไม่สูงนัก
    • รักษาความสะอาด
    • ฉลาดสะสม
    • นิยมความสามัคคี
    ความขยันของผึ้ง หลายท่านก็คงจะเข้าใจดี ดังคำพังเพยว่า ขี้เกียจเป็นแมลงวัน ขยันเป็นแมลงผึ้ง ... บินไม่สูงนัก นั่นคือ รู้จักประมาณกำลังและความสามารถของตน... รักษาความสะอาด กล่าวคือ ผึ้งแม้จะอยู่กับน้ำหวานมียางเหนียว แต่ก็ไม่ติดยางเหนียวฉันใด ในการทำงานของคนเราก็ควรจะรักษาความสุจริตซึ่งเป็นความสะอาด และหลีกเลี่ยงความสกปรกซึ่งเป็นทุจจริต ฉันนั้น...
    ฉลาดสะสม ก็คือเก็บมาครั้งละเล็ก ครั้งละน้อย จนสามารถก่อเป็นรวงผึ้งได้ ซึ่งตรงกับข้อเปรียบเทียบในคาถาประพันธ์บทนี้ .... และ นิยมความสามัคคี นั่นคือ ผึ้งทำงานเป็นทีม มีระบบการจัดการเป็นเยี่ยม เช่น มีผึ้งงาน ผึ้งตัวผู้ทำหน้าที่ผสมพันธ์ และนางพญาผึ้งทำหน้าที่วางไข่ เป็นต้น ซึ่งในการทำงานของคนเราก็ควรจะเน้นความสามัคคีกลมเกลียว... ทำนองนี้
    ................
    ส่วนการก่อตัวขึ้นมาของทรัพย์สมบัติที่เกิดจากความขยันหมั่นเพียรนั้น ในคาถาประพันธ์เปรียบเหมือนตัวปลวกที่สร้างจอมปลวกขึ้นมาได้อย่างมั่นคงแข็งแรง ซึ่งข้อนี้ก็เข้าใจไม่ยากเช่นเดียวกัน....
    ในคัมภีร์อรรถกถาสิงคาลกสูตร ท่านมิได้กล่าวแก้ประเด็นความเหมือนและความต่างระหว่าง รวงผึ้ง กับ จอมปลวก (อาจมีแก้ไว้ในที่อื่น แต่ผู้เขียนไม่เคยเจอ) ซึ่งผู้เขียนมีความเห็นเพิ่มเติมดังนี้...
    ข้อเปรียบเทียบทั้งสองประการนี้ เป็นความงามด้านการเปรียบเทียบ นั่นคือ ผึ้งสร้างรวงรังขึ้นมาใหญ่โตได้ เราก็เห็นชัดเจน... ปลวกสร้างจอมปลวงขึ้นมาใหญ่โตได้ เราก็เห็นชัดเจน... เมื่อนำข้อเปรียบเทียบนี้มาซ้อนกัน ก็ทำให้เรามองเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น... นัยนี้บ่งชี้ถึงความงามด้านการเปรียบเทียบของพระผู้มีพระภาคเจ้าในฐานะพระบรมครูนั่นเอง...
    อีกนัยหนึ่ง การทำงานของผึ้ง เราเห็นได้ง่ายและชัดเจน ถ้าบอกว่าให้ขยันทำงานเก็บออมรอมริบเหมือนแมลงผึ้ง ทำนองนี้ เราก็เข้าใจ... แต่ถ้าถามว่า รวงรังของแมลงผึ้งมั่นคงหรือไม่ ? ก็อาจไม่มั่นคง เพราะอาจถูกทำลายได้ง่าย ดังนั้น จึงอาจมีข้อบกพร่องอยู่ในการก่อตัวขึ้นมาของรังผึ้ง.... ประมาณนี้
    แต่ การทำงานของปลวก เราเห็นได้ยากและไม่ชัดเจนนัก เฉพาะจอมปลวกที่โตใหญ่เท่านั้นที่เราเห็นชัดเจน ซึ่งนี้คือข้อแตกต่างกันระหว่างผึ้งกับปลวกที่เราสามารถสังเกตได้...
    อีกอย่างหนึ่งก็คือ จอมปลวกมีความมั่นคงแข็งแรง ทำลายให้สูญสิ้นได้ยาก เพราะมีทั้งส่วนที่ก่อตัวขึ้นมาสูงอยู่เหนือภาคพื้น และมีส่วนที่ซ่อนอยู่ใต้ภาคพื้น... ดังนั้น การสะสมทรัพย์สมบัตินั้นจะต้องมีความมั่งคงแข็งแรงเหมือนจอมปลวก และยากที่จะสูญสลาย ล้มละลาย หรือใครๆ ไม่อาจทำลายได้ง่ายๆ ซึ่งมีนัยตรงกันข้ามกับรังผึ้ง... ประมาณนี้
    เมื่อถามว่า ทรัพย์สมบัตินี้เพื่อประโยชน์อะไร และเราจะใช้จ่ายอย่างไร ? ประเด็นนี้มีคำตอบในคาถาประพันธ์ตอนสุดท้าย ซึ่งผู้เขียนจะนำมาเล่าต่อไป....

    หมวดหมู่: ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา
    คำสำคัญ: รังผึ้ง จอมปลวก การเก็บออม การทำงานของผึ้ง สิงคาลกสูตร
    สร้าง: อ. 09 ต.ค. 2550 @ 16:37 แก้ไข: อ. 09 ต.ค. 2550 @ 16:41 ขนาด: 10004 ไบต์
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://gotoknow.org/blog/dhammasakajcha/136919

    เล่าเรื่องสิงคาลกสูตร ๒๐ <SUP></SUP>
    เล่าเรื่องสิงคาลกสูตร ๒๐
    จากครั้งก่อน (เล่า... ๑๙) ผู้เขียนได้ทิ้งคำถามไว้ว่า ทรัพย์สมบัติเพื่อประโยชน์อะไร ? และ จะใช้จ่ายทรัพย์สมบัติอย่างไร ? ซึ่งคำตอบมีอยู่ในส่วนสุดท้ายของคาถาประพันธ์ดังนี้ คือ
    • คฤหัสถ์ในตระกูลผู้สามารถ ครั้นสะสมโภคสมบัติได้อย่างนี้แล้ว พึงแบ่งโภคสมบัติออกเป็นสี่ส่วน เขาย่อมสมานมิตรไว้ได้ พึงใช้สอยโภคสมบัติส่วนหนึ่ง พึงประกอบการงานด้วยสองส่วน พึงเก็บส่วนที่สี่ไว้ด้วย หมายว่าจักมีไว้ในยามอันตราย ดังนี้ ฯ
    เมื่อพิจารณาในคาถาประพันธ์นี้ เนื้อความอื่นๆ สอดรับกันดี กล่าวคือ ครั้นสะสมทรัยพ์ได้แล้วก็ให้แบ่งเป็น ๔ ส่วน โดย
    • ใช้สอยจ่าย ๑ ส่วน
    • ประกอบอาชีพ ๒ ส่วน
    • สำรอง ๑ ส่วน
    ซึ่งประเด็นนี้ สามารถตอบคำถามในการใช้จ่ายทรัพย์สมบัติเบื้องต้นได้ ซึ่งผู้เขียนจะขยายความต่อไป... แต่จะพักประเด็นนี้ไว้ก่อน โดยจะกลับไปพิจารณาคาถาประพันธ์อีกครั้ง...
    ......
    จะเห็นได้ว่าในคาถาประพันธ์จะมีข้อความว่า เขาย่อมสมานมิตรไว้ได้ แทรกเข้ามา ซึ่งผู้เขียนก็ไม่เข้าใจประเด็นนี้นัก จึงลองไปค้นหาในคัมภีร์อรรถกถา ซึ่งท่านขยายความไว้ว่า...
    • ผู้ที่มีโภคะย่อมสามารถประสานมิตรไว้ได้ คนนอกนั้นไม่สามารถ
    ซึ่งคำอธิบายสั้นๆ เพียงแค่นี้ ผู้เขียนว่าชัดเจนแล้ว เมื่อมาพิจารณาสำนวนไทยๆ ว่า...
    • มีเงินนับว่าน้อง มีทองนับว่าพี่ หมดเงินหมดทอง พี่น้องไม่มี
    นั่นคือ คนมีโภคทรัพย์เท่านั้นย่อมผูกมิตรไว้ได้... ส่วนคนไร้โภคทรัพย์ แม้จะมีคุณสมบัติอื่นๆ ผูกมิตรไว้ได้ แต่ความสามารถจะหมดไปหรือด้อยลงทันที เมื่อไร้โภคทรัพย์... หรือคนมีโภคทรัพย์จะมีความสามารถในการผูกมิตร ชนิดที่คนไร้ทรัพย์ไม่สามารถกระทำได้... ประมาณนี้
    ประเด็นนี้ บางคนอาจรู้สึกขัดแย้ง หรือไม่ค่อยจะ่เห็นด้วย... แต่นี้คือปรากฎการณ์ทางสังคมที่ค่อนข้างจะเป็นจริง มากกว่าสิ่งที่เราต้องการจะให้เป็น... ซึ่งปรากฎการณ์ทางสังคมทำนองนี้ อาจพิจารณาได้จากคำกลอนที่มีผู้แต่งล้อว่า....
    • เมื่อมั่งมี มากมาย มิตรหมายมอง
    • เมื่อมัวหมอง มิตรมอง เหมือนหมูหมา
    • เมื่อไม่มี หมดมิตร มุ่งมองมา
    • เมื่อมอดม้วย แม้หมูหมา ไม่มามอง
    ดังนั้น จากข้อความว่า เขาย่อมสมานมิตรไว้ได้ จึงมีนัยปรากฎการณ์ทางสังคมที่เป็นจริงทำนองนี้แฝงเร้นอยู่...
    ........
    อนึ่ง สิงคาลกสูตรตอนนี้ จะเน้นที่ การคบมิตร และการขยันทำงานเพื่อสะสมโภคทรัพย์ (หรือเพื่อความมีฐานะทางเศรษฐกิจตามสำนวนปัจจุบัน)... และเมื่อมาเชื่อมกันว่า ผู้มีโภคะนั้นสามารถผูกประสานมิตรไว้ได้อีกครั้ง.... ผู้เขียนว่า ประเด็นนี้ มีนัยลึกซึ้งแฝงอยู่อีกชั้นหนึ่ง เมื่อมาพิจารณาจากบาลีภาษิตที่ผู้เขียนจดจำไว้ดังนี้
    • อลสสฺส กุโต สิปฺปํ อสิปฺปสฺส กุโต ธนํ
    • อธนสฺส กุโต มิตฺตํ อมิตฺตสฺส กุโต สุขํ
    • อสุขสฺส กุโต ปุญฺญํ อปุญฺญสฺส กุโต วรํ
    • คนเกียจคร้านจะมีวิชาแต่ที่ไหน คนไร้วิชาจะมีทรัพย์แต่ที่ไหน
    • คนไร้ทรัพย์จะมีมิตรแต่ที่ไหน คนไร้มิตรจะมีความสุขแต่ที่ไหน
    • คนไร้ความสุขจะมีบุญแต่ที่ไหน คนไร้บุญจะประเสริฐแต่ที่ไหน
    นั่นคือ โภคทรัพย์เพื่อความสุข นั่นเอง... ประเด็นนี้ อาจเพ่งเฉพาะความเป็นคนธรรมดา และปรากฎการณ์ทางสังคมทั่วๆ ไป เท่านั้น มิได้มุ่งหมายประเด็นอื่นๆ ที่กว้างออกไป...และจากสิงคาลกสูตรตอนนี้ อาจสรุปได้ง่ายๆ สั้นๆ ว่า...
    • คบเพื่อน ขยัน มีทรัพย์ ความสุข
    แค่นี้เอง...
    ส่วนประเด็นอื่นๆ ผู้เขียนจะนำมาเล่าในตอนต่อไป...


    หมวดหมู่: ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา
    คำสำคัญ: สิงคาลกสูตร การคบมิตร การแบ่งโภคสมบัติ ความสุข
    สร้าง: พ. 10 ต.ค. 2550 @ 10:30 แก้ไข: พ. 10 ต.ค. 2550 @ 10:35 ขนาด: 9565 ไบต์

    http://gotoknow.org/blog/dhammasakajcha/137250
    เล่าเรื่องสิงคาลกสูตร ๒๑ <SUP></SUP>
    เล่าเรื่องสิงคาลกสูตร ๒๑
    จากครั้งก่อน (เล่า... ๒๐) ในการจัดแบ่งโภคทรัพย์นั้น พระพุทธเจ้าตรัสว่า ให้แ่บ่งเป็น ๔ ส่วน โดยใช้จ่ายหนึ่งส่วน ประกอบอาชีพสองส่วน และเก็บไว้อีกหนึ่งส่วนเพื่อเป็นทุนสำรอง... ซึ่งในสิงคาลกสูตรมีปรากฎแต่เพียงแค่นี้... ผู้เขียนคาดหมายว่า พระพุทธเจ้าอาจดำริว่า ประเด็นนี้นายสิงคาลกะ เข้าใจดีอยู่แล้ว และมิใช่ประเด็นหลักเพื่อนำไปสู่เรื่องการนอบน้อมทิศ... ประมาณนี้
    เมื่อไปตรวจสอบจากอรรถกถา ท่านก็ขยายความไว้สั้นๆ ทำนองว่า พึงประกอบการงานมีกสิกรรมและพาณิชยกรรมเป็นต้นด้วยโภคทรัพย์สองส่วน...และส่วนสุดท้ายที่เก็บไว้นั้น ท่านให้เหตุผลว่า เพราะบางครั้งการงานมิใช่ว่าจะเป็นไปเหมือนกับทุกวัน (เทียบปัจจุบัน บางช่วงเศรษฐกิจไม่ดี) และใช้แก้ปัญหาในคราวมีอันตราย เป็นต้น.....
    อย่างไรก็ตาม ในอรรถกถาก็ได้ตั้งประเด็นปัญหาขึ้นว่า ควรจะใช้ส่วนไหนในการบำเพ็ญกุศล เช่น ถวายทานภิกษุ บริจาคคนเดินทางหรือคนกำพร้า เป็นต้น... หรือจะเอาส่วนไหนมาให้เป็นค่าจ้างช่างเย็บผ้า หรือช่างตัดผม เป็นต้น.... ประเด็นนี้ ท่านเฉลยว่า ได้แก่ส่วนแรกที่แบ่งไว้ใช้จ่ายนั่นเอง....
    เมื่อมาถึงตอนนี้ บางท่านอาจสงสัยว่า สำหรับคนยากจนเข็ญใจ หรือผู้ที่มีรายได้น้อยหาเช้ากินค่ำแล้ว อาจจัดแบ่งให้เป็นไปตามนี้ได้ยาก.... ซึ่งผู้เขียนก็มีความเห็นทำนองนี้เช่นเดียวกัน...
    แต่เมื่อมาย้อนพิจารณาว่า นายสิงคาลกะ ลูกนายบ้าน ฐานะมั่งคั่ง มีกิจการส่วนตัว... ซึ่งผู้เขียนคิดว่าคงจะไม่มีปัญหาในประเด็นนี้่ นั่นคือ พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมพอควรแก่อุปนิสัยและสภาพแวดล้อมของเขา... และจะเห็นได้ว่า พระองค์มิได้ทรงจำแนกการใช้จ่ายโภคทรัพย์ไว้อย่างละเอียด อาจเป็นเพราะว่า เขาอาจมีความเข้าใจในเรื่องนี้อยู่แล้วระดับหนึ่ง พระองค์จึงตรัสเพียงเพื่อเป็นการย้ำเตือนเท่านั่น.... น่าจะเป็นไปทำนองนี้
    อันที่จริง หลักธรรมเรื่องการก่อสร้างฐานะสำหรับผู้ยากจนเข็ญใจ และวิธีการใช้จ่ายโภคทรัพย์อย่างละเอียด เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสไว้เหมือนกันในที่อื่นๆ... ซึ่งถ้าผู้เขียนจะนำมาเล่าก็อาจเนิ่นช้าและนอกเรื่องเกินไป จึงพักไว้เพียงแค่นี้ จะำดำเนินเรื่องราวตามสิงคาลกสูตรต่อไป
    ..............
    หลังจากจบคาถาประพันธ์นี้แล้ว พระองค์ก็ตรัสถึงการปกปิดทิศทั้งหก โดยพระองค์ใช้คำว่า ปกปิด แทนคำว่า นอบน้อม ซึ่งประเด็นนี้มีนัยลึกซึ้งแฝงอยุ่...
    เมื่อถือเอาตามนัยอรรถกถาก็อาจอธิบายได้ว่า...ภัยหรือเป็นอันตรายทั้งหลายมาจากสภาพแวดล้อม นั่นคือ บรรดาคนทั้งหลายที่เกี่ยวข้องโยงใยอยู่กับเรา จะเป็นผู้นำภัยมาให้เราในเมื่อเราดำเนินการไม่เหมาะสม... แต่เมื่อเราดำเนินการเหมาะสม ภัยเหล่านั้นก็จะไม่บังเกิด คล้ายๆ กับการปกปิด ภัยเหล่านั้นนั่นเอง....
    บุคคลเกี่ยวข้องกับเรานี้ จำแนกเป็น ๖ กลุ่ม โดยเปรียบเทียบกับทิศที่รอบล้อมตัวเราอยู่ซึ่งมี ๖ ทิศ กล่าวคือ หน้า หลัง ซ้าย ขวา บน และล่าง ซึ่งผู้เขียนจะนำมาเล่าในตอนต่อไป.....

    หมวดหมู่: ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา
    คำสำคัญ: สิงคาลกสูตร ทิศ ๖ การแบ่งโภคสมบัติ
    สร้าง: พฤ. 11 ต.ค. 2550 @ 00:48 แก้ไข: พฤ. 11 ต.ค. 2550 @ 00:48 ขนาด: 7258 ไบต์
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://gotoknow.org/blog/dhammasakajcha/137571

    เล่าเรื่องสิงคาลกสูตร ๒๒ <SUP></SUP>
    เล่าเรื่องสิงคาลกสูตร ๒๒
    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปรียบเทียบบุคคลรอบตัวเราด้วยทิศทั้ง ๖ ตามเนื้อความในพระไตรปิฏกดังต่อไปนี้....
    • ดูกรลูกนายบ้าน ก็อริยสาวกเป็นผู้ปกปิดทิศทั้ง ๖ อย่างไร ? ท่านพึงทราบทิศ ๖ เหล่านี้ คือ พึงทราบว่ามารดาบิดาเป็นทิศเบื้องหน้า อาจารย์เป็นทิศเบื้องขวา บุตรและภรรยาเป็นทิศเบื้องหลัง มิตรและอำมาตย์เป็นทิศเบื้องซ้าย ทาสและกรรมกรเป็นทิศเบื้องต่ำ สมณพรามณ์เป็นทิศเบื้องบน ฯ
    ชาวไทยทั่วไป แม้จะไม่ค่อยสนใจหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนามากนัก หรือแม้แต่ศาสนิกชนศาสนาอื่น ก็มักจะรู้หลักคำสอนเรื่องทิศทั้ง ๖ นี้... สาเหตุอาจเป็นเพราะเรื่องนี้มีบรรจุอยู่ในคำสอนพื้นฐานพระพุทธศาสนาทั่วไป เช่น หนังสือนวโกวาท ซึ่งเป็นคู่มือสำหรับพระใหม่ และเป็นแบบเรียนนักธรรม-ธรรมศึกษาตรี จะมีเรื่องทิศทั้ง ๖ อยู่ด้วย... เป็นต้น
    อย่างไรก็ตาม แม้จะรับทราบกันทั่วไป แต่ถ้าถามว่า ทิศไหนหมายถึงใคร ? หลายๆ คนก็อาจตอบผิดบ้างถูกบ้าง นั่นก็เป็นเรื่องธรรมดา ซึ่งผู้เขียนในสมัยก่อนก็เป็นเช่นนั้นเหมือนกัน.....
    ผู้เขียนเพ่งพินิจแล้ว จึงกำหนดความเป็นทิศทั้ง ๖ ดังนี้....
    มารดาบิดา เกิดก่อนเรา มาก่อนเรา ดังนั้น ต้องอยู่ข้างหน้า... ประเด็นนี้ชัดเจน
    ระหว่างครูกับเพื่อน ควรจะเชื่อครูมากกว่าเชื่อเพื่อน... คล้ายๆ กับระหว่างมือขวากับมือซ้าย คนทั่วไปมักถนัดขวามากกว่าซ้าย นั่นคือ ใช้มือขวามากกว่ามือซ้าย... ดังนั้น ขวาจึงหมายถึงครูหรืออาจารย์ ส่วนซ้ายหมายถึงเพื่อนหรือมิตร นั่นเอง ...(แต่ ..กรณีที่ผู้เขียนหรือกัลยาณมิตรบางท่าน ถนัดซ้าย เป็นเรื่องเรื่องส่วนน้อย ไม่เกี่ยวกับนัยนี้)
    ทาสและกรรมกร หรือลูกน้องและบริวาร เป็นทิศเบื้องล่าง เพราะเป็นผู้สนับสนุนเราให้ดำรงอยู่ได้ในสถานภาพปัจจุบัน... ประเด็นนี้ก็ไม่ยาก
    บุตรและภรรยา จัดเป็นทิศเบื้องหลัง เพราะเวลาไปไหนภรรยาและลูกมักจะเดินตามหลังบิดาหรือสามีเสมอ... นี้เป็นธรรมเนียมทั่วไป
    และ สมณพราหมณ์ คือนักบวชหรือพระสงฆ์ จัดเป็นทิศเบื้องบน หมายถึงผู้ที่เราควร เคารพบูชา ซึ่งก็ชัดเจนเช่นเดียวกัน.....
    .............
    ส่วนในคัมภีร์อรรถกถา ท่านขยายความต่างไปจากความเห็นของผู้เขียนบางประเด็นดังต่อไปนี้....
    มารดาบิดา ได้ชื่อว่าเป็นทิศเบื้องหน้า เพราะเป็นผู้มีอุปการะก่อน
    ครู - อาจารย์ ได้ชื่อว่าเป็นทิศเบื้องขวา เพราะเป็นผู้ควรแก่ทักษิณา (คำว่า ขวา บาลีเรียก ทักขิณา ซึ่งมีความหมายอีกอย่างว่า ควรแก่การทำความเคารพบูชา... ประมาณนี้)
    บุตรและภรรยา ได้ชื่อว่าทิศเบื้องหลัง เพราะสามารถติดตามมาข้างหลัง
    มิตรสหาย ได้ชื่อว่าทิศเบื้องซ้าย เพราะแม้กุลบุตรนั้นอาศัยมิตรและสหาย จึงข้ามพ้นทุกข์พิเศษนั้นๆ
    ทาสและกรรมกร ได้ชื่อว่าเป็นทิศเบื้องต่ำ เพราะสามารถดำรงอยู่ ณ แทบเท้า (ทำนองนี้เป็นไปตามธรรมเนียมโบราณ ซึ่งปัจจุบันอาจพอมีอยู่บ้าง)
    สมณพราหมณ์ ได้ชื่อว่าเป็นทิศเบื้องบน เพราะความเป็นผู้ตั้งอยู่ในเบื้องบนด้วยคุณธรรมทั้งหลาย
    .........
    เมื่อพิจารณาทำนองนี้ ก็อาจมิใช่สิ่งที่ยากในการกำหนดเปรียบเทียบบุคคลกับทิศต่างๆ อีกต่อไป...
    ส่วนรายละเอียดความสัมพันธ์กับบุคคลหรือทิศเหล่านี้ จะนำมาเล่าเป็นลำดับต่อไป....

    หมวดหมู่: ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา
    คำสำคัญ: สิงคาลกสูตร ทิศทั้ง ๖ มารดาบิดา ครูอาจารย์ บุตรและภรรยา ทาสและกรรมการ สมณพราหมณ์ มิตรสหาย หนังสือนวโกวาท
    สร้าง: พฤ. 11 ต.ค. 2550 @ 20:38 แก้ไข: พฤ. 11 ต.ค. 2550 @ 20:38 ขนาด: 8574 ไบต์

    http://gotoknow.org/blog/dhammasakajcha/137960
    เล่าเรื่องสิงคาลกสูตร ๒๓ <SUP></SUP>
    เล่าเรื่องสิงคาลกสูตร ๒๓
    รายละเอียดในการปฏิบัติต่อบุคลรอบข้างนั้น พระพุทธเจ้าเริ่มต้นด้วยทิศเบื้องหน้า และให้ความสำคัญของความเป็นบุตรที่ควรปฏิบัติต่อมารดาบิดาเป็นอันดับแรกว่า....
    ดูกรลูกนายบ้าน มารดาบิดาเป็นทิศเบื้องหน้า อันบุตรพึงบำรุงด้วยสถาน ๕ คือ
    • ด้วยตั้งใจไว้ว่าท่านเลี้ยงเรามา เราจักเลี้ยงท่านตอบ ๑
    • จักรับทำกิจของท่าน ๑
    • จักดำรงวงศ์สกุล ๑
    • จักปฏิบัติตนให้เป็นผู้สมควรรับทรัพย์มรดก ๑
    • ก็หรือเมื่อท่านละไปแล้ว ทำกาลกิริยาไปแล้ว จักตามเพิ่มให้ซึ่งทักษิณา
    ผู้เขียนคิดว่า หน้าที่ ๕ ประการเหล่านี้ น่าจะชัดเจนแล้ว เพียงแต่บรรดาลูกทั้งหลาย จะทำได้สมบูรณ์หรือไม่ ? อย่างไร ? เท่านั้น
    ดังเช่นในข้อแรก ลูกทั้งหลายที่ไม่มีโอกาสเลี้ยงดูพ่อแม่ ด้วยเหตุว่าอยู่ไกลกันบ้าง มีลูกหลานคนอื่นคอยดูแลแล้ว และหรือว่า ท่านยังสุขภาพแข็งแรงดีอยู่ เป็นต้น... ทำนองนี้
    แต่เมื่อพิจารณาเนื้อหาในข้อแรกอีกครั้ง มีคำว่า ด้วยตั้งใจว่า ปรากฎอยู่ นั่นก็คือ สำหรับ ผู้เป็นลูกจะต้องมี ความตั้งใจว่า จะเลี้ยงดูพ่อแม่เสมอ ...ข้อความตอนนี้ เป็นการย้ำเตือนให้เห็นถึง ความสำนึกในใจของลูกว่าจะต้องมีข้อนี้อยู่เสมอ แม้โอกาสในการกระทำอาจมีน้อยบ้างมากบ้างแตกต่างกันไปก็ตาม........
    ประเด็นการเลี้ยงดูพ่อแม่นี้สำคัญสำหรับพระภิกษุเช่นเดียวกัน เพราะในพระวินัยลดหย่อนวินัยไว้หลายข้อเพื่อพ่อแม่ เช่น อาหารหรือสิ่งของต่างๆ ถ้ายังไม่ได้ฉันหรือใช้ แต่นำไปให้ชาวบ้านอื่นๆ ถือว่าเป็นการทำศรัทธาไทยให้ตกไป (คือทำให้ญาติโยมเสื่อมศรัทธา) แต่สำหรับพ่อแม่ของพระภิกษุรูปนั้นเอง ไม่ถือว่าผิด ในข้อนี้... เป็นต้น
    ................
    ส่วนในอรรถกถาก็เช่นเดียวกัน ท่่านก็ขยายความต่อไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ที่น่าสนใจก็คือที่สาม จักดำรงวงศ์สกุล ท่านขยายความไว้ ๒ นัย ทำนองว่า...
    นัยแรก หมายความว่า จะรักษาทรัพย์สมบัติของวงศ์ตระกูล เช่น เงินทอง ไร่นา ฯลฯ ให้สูญหายไป.... ซึ่งประเด็นนี้ อาจเทียบได้กับคนทั่วไป ที่ไม่ค่อยจะยอมขายสมบัติตกทอดมาจากปู่ย่าตายาย แม้จะขัดสนเดือดร้อนในบางคราวก็ตาม... การไม่ยอมขายทำนองนี้ บางคนก็เกรงชาวบ้านหรือพี่น้องจะครหานินทา บางคนก็เกรงความรู้สึกผิดต่อบรรพบุรุษ บางคนก็ต้องการความภูมิใจส่วนตัว....อย่างไรก็ตาม ข้ออ้างเหล่านี้ สงเคราะห์ได้กับนัยนี้
    อีกนัยหนึ่ง ท่านแก้ว่า วงศ์ตระกูลที่สืบต่อมานั้น อาจประกอบด้วย ธรรมบ้าง อธรรม บ้าง (คืออาจประพฤติกันมาผิดบ้าง ถูกบ้าง) ในส่วนที่เป็นอธรรมคือผิด ถ้าเรามาปรับปรุงแก้ไขให้เป็นธรรมคือถูก ไม่จัดว่าเป็นการทำลายวงศ์ตระกูล... แต่จัดว่าเป็นการพัฒนาวงศ์ตระกูลให้เจริญขึ้นทีเดียว... ส่วนที่เป็นธรรมคือถูกต้องเหมาะสมอยู่แล้ว เมื่อยังคงรักษาไว้ ไม่ทำลายระเบียบปฏิบัติเดิมๆ ก็ถือว่า ดำรงวงศ์ตระกูลไว้ ... ประมาณนี้
    ผู้เขียนคิดว่า นัยหลังนี้ ครอบคลุมนัยแรกไว้ด้วย กล่าวคือ ทรัพย์สมบัติประจำตระกูล ไม่สมควรขาย แต่ถ้าประกอบด้วยธรรม มิใช่เป็นการทำให้วงศ์ตระกูลเสื่อมเสีย แต่กลับทำให้วงศ์ตระกูลเจริญขึ้น ก็อาจขายได้... ทำนองนี้
    ............
    ในข้อว่า ปฏิบัติตนให้สมควรแก่ความเป็นผู้รับทรัพย์มรดก นี้ อรรถกถาขยายความว่า พ่อแม่สามารถไปยังศาลแล้วแจ้งความเพื่อปลดลูกคนหนึ่งคนใดที่ไม่เชื่อฟังคำของตนออกจากกองมรดก แล้วยกมรดกทั้งหมดให้ลูกเพียงบางคน ซึ่งเชื่อฟังตนเพียงเท่านั้น...
    ดังนั้น หน้าที่ของลูกก็คือต้องปฏิบัติใ้ห้เหมาะสมในการนี้ กล่าวคือ มิใช่ว่าจะต้องเชื่อฟังพ่อแม่ แต่ต้องปฏิบัติให้เหมาะสมในการรับทรัพย์มรดก เพราะถ้าปฏิบัติไม่เหมาะสมแล้ว พ่อแม่ก็อาจตัดออกไปจากกองมรดกได้... ทำนองนี้ (จะขยายความอีกครั้งในตอนต่อไป)
    ส่วนประเด็นสุดท้ายคือ การทำบุญอุทิศไปให้หลังจากพ่อแม่ถึงแก่กรรมแล้วนั้นชัดเจนแล้ว...

    หมวดหมู่: ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา
    คำสำคัญ: สิงคาลกสูตร
    สร้าง: ศ. 12 ต.ค. 2550 @ 23:02 แก้ไข: พ. 17 ต.ค. 2550 @ 11:38 ขนาด: 9488 ไบต์

    http://gotoknow.org/blog/dhammasakajcha/139446
    เล่าเรื่องสิงคาลกสูตร ๒๔ <SUP></SUP>
    เล่าเรื่องสิงคาลกสูตร ๒๔
    สำหรับหน้าที่ของพ่อแม่ที่จะพึงปฏิบัติต่อลูก พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในสิงคาลกสูตรว่า....
    ดูกรลูกนายบ้าน มารดาบิดาผู้เป็นทิศเบื้องหน้าอันบุตรบำรุงด้วยสถาน ๕ เหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์บุตรด้วยสถาน ๕ คือ
    • ห้ามจากความชั่ว ๑
    • ให้ตั้งอยู่ในความดี ๑
    • ให้ศึกษาศิลปวิทยา ๑
    • หาภรรยาที่สมควรให้ ๑
    • มอบทรัพย์ให้ในสมัย ๑
    อรรถกถาขยายความไว้ว่า พ่อแม่ย่อมกล่าวโทษแห่งความชั่วที่จะพึงเกิดขึ้นในชาตินี้และชาติหน้า จึงห้ามลูกจากความชั่ว เช่น ฆ่าสัตว์ พูดเท็จ หรือลักขโมย เป็นต้น... แล้วก็ตำหนิ ติเตียน ดุด่า หรือลงโทษ เมื่อลูกทำความชั่วเหล่านั้น... ทำนองนี้เรียกว่า ห้ามจากการทำความชั่ว
    ในข้อที่สองคือ การให้ลูกตั้งอยู่ในคุณความดี นั้น ท่านขยายความว่า บางครั้งพ่อแม่ก็ยอมจ้างลูกเพื่อจะได้ตั้งอยู่ในคุณความดี โดยท่านยกตัวอย่างอนาถบิณฑิกเศรษฐีที่จ้างลูกชายให้ไปฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า ดังนั้น เราลองไปดูเรื่องย่อเล็กน้อย...
    อรรถกถาธรรมบท.... เศรษฐีมีลูกชายชื่อนายกาล ซึ่งขาดศรัทธา ไม่ชอบไปวัดรับศีล ฟังธรรม หรือถวายทาน รวมทั้งมีความเห็นผิดอื่นๆ อีกด้วย... ท่านเศรษฐีเกรงว่าลูกจะตกอบายภูมิ จึงจ้างลูก ๑ พัน ให้ไปรักษาอุโบสถศีลที่วัด.... หลังจากย้ำข้อตกลงกับพ่ออย่างจริงจังแล้ว นายกาลก็ไปวัดเพื่อรักษาอุโบสถศีล แต่ก็มิได้ร่วมฟังธรรมหรือปฏิบัติเหมือนคนอื่น พอไปถึงก็หาที่เหมาะๆ นอน ตอนเช้าจึงกลับมาบ้าน รับค่าจ้างจากพ่อ....
    ท่านเศรษฐีรู้ว่ายังไม่ได้ผล อีกวันจึงจ้างใหม่... ครั้งนี้ จ้างอีก ๑ พัน เพื่อให้ลูกจำคาถามาบทหนึ่งจากพระพุทธเจ้า... เขาจึงไปวัดอีกครั้ง ตอนแรกคิดว่า พอจำบทหนึ่งก็เลิกฟัง แต่ก็ไม่จำ จึงคิดว่าจะฟังบทต่อไปให้จำ... พออีกบทก็ไม่จำ จึงคิดว่า จะท่องบทต่อไปให้จำ... เมื่อยังไม่จำ เขาก็ต้องตั้งใจฟังเพื่อจะได้กำหนดจดจำให้ได้ การที่เขาต้องตั้งใจฟังอย่างจริงจัง ทำให้ค่อยๆ เข้าใจและบรรลุโสดาบันซึ่งเป็นคุณธรรมเบื้องต้นในที่สุด...
    เรื่องมีอีกยาว ผู้สนใจอ่านต่อได้ที่ http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=23&p=11
    อนาถปิณฑิกเศรษฐีในฐานะเป็นพ่อ จึงจ้างลูกไปฟังธรรม..เรื่องราวทำนองนี้เป็นน้ำใจของพ่อจากคัมภีร์.. และเมื่อเทียบกับปัจจุบัน ผู้เขียนคิดว่า ความเป็นพ่อแม่ที่หวังให้ลูกทำความดีหรือเป็นคนดียังคงมีอยู่ไม่เสื่อมคลาย เช่น พ่อแม่มักจะให้เงินลูกเล็กๆ ทำบุญในวันหรือโอกาสสำคัญ... และเมื่อลูกโตขึ้น พ่อแม่บางครอบครัวก็จ้างลูกที่ขี้เกียจและค่อนข้างโง่ไปเรียนพิเศษ แล้วยังตั้งรางวัลเพิ่มเติม เมื่อได้คะแนนสูงขึ้น เป็นต้น
    ผู้เขียนคิดว่า ความสำนึกของพ่อแม่ที่ต้องการใ้ห้ลูกหลีกห่างจากความชั่วและเป็นคนดี คงจะมีต่อไปทุกยุคสมัย....
    .......
    ข้อที่สามคือ ให้ศึกษาศิลปวิทยา ชัดเจนแล้ว แต่ผู้เขียนก็สังเกตได้เหมือนกันว่า ในโลกแห่งความเป็นจริง พ่อแม่บางคนก็มิได้ส่งเสริมให้ลูกได้ศึกษาเล่าเรียนเท่าที่ควร ข้อนี้อาจเป็นเพราะพ่อแม่บางคนมีความเห็นผิดก็ได้...
    ในนิทานหิโตปเทสตอนเริ่มเรื่องจะเน้นประเด็นนี้มาก โดยกล่าวตำหนิว่า พ่อแม่ถ้าปิดกั้นไม่ให้ลูกได้ศึกษาเล่าเรียน จัดเป็นไพรีหรือศัตรูของลูก .... และได้แนะำนำว่าพ่อแม่จำเป็นจะต้องให้ลูกได้ศึกษาเล่าเรียนดังโศลกที่ว่า
    • ไม่มีลูก ๑ มีลูกแต่ตายไปแล้ว ๑ ลูกโง่ ๑ สามประการนี้ ควรเลือกเอาสองประการแรก เพราะเป็นทุกข์เพียงครั้งเดียว ส่วนประการสุดท้ายคือลูกโง่นั้น จำต้องเป็นทุกข์ร่ำไป....
    อีกอย่างหนึ่ง พ่อแม่ แม้จะมีหน้าที่ว่า ห้ามลูกมิให้ทำความชั่ว ให้ทำแต่ความดี... แต่ในหน้าที่ของลูก (ดู เล่า... ๒๓) ไม่มีข้อว่าจะต้องเชื่อฟังและทำตามพ่อแม่ มีเพียงว่าให้ทำตัวเหมาะสมเพื่อควรแก่การรับทรัพย์มรดก เท่านั้น
    ประเด็นนี้ ผู้เขียนคิดว่า เพราะลูกบางคนอาจเป็น อภิชาตบุตร กล่าวคือ เป็นผู้มีความคิดความอ่านยิ่งกว่าพ่อแม่ ก็ไม่จำเป็นจะต้องเชื่อตามพ่อแม่สอน นั่นคือ ระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงสอนว่าลูกจะต้องเชื่อและทำตามพ่อแม่ ... แต่พระองค์ทรงสอนว่า ลูกจะต้องทำตัวให้เหมาะสมกับพ่อแม่ เพื่อควรแก่การรับทรัยพ์มรดก และจะต้องดำรงวงศ์ตระกูลไว้... ซึ่งประเด็นนี้ ผู้เขียนคิดว่า เป็นความลุ่มลึกของคำสอน....
    ...................
    ข้อว่า จัดหาภรรยาที่สมควรให้ ท่านขยายความว่า ภรรยาควรจะเป็นผู้เหมาะสมกับบุตร ด้วยฐานะ ตระกูล อุปนิสัย เป็นต้น... กรณีนี้เป็นทำนองโบราณ แต่ปัจจุบัน พ่อแม่ก็มักจะพิจารณาตรวจสอบเพื่อนต่างเพศของลูกว่า ผู้นี้สมควรกับลูกของตนหรือไม่ เพื่อจะได้จัดการให้ตามความเหมาะสม... ประมาณนี้
    และข้อสุดท้ายว่า มอบทรัพย์ให้ในสมัย ท่านแก้ว่า สมัยมี ๒ อย่าง คือ นิจสมัย คือ พ่อแม่ก็ให้ทรัพย์สมบัติต่อลูกตั้งแต่เล็กๆ จนเติบโตตามความเหมาะสม.... และ กาลสมัย คือ บางครั้งลูกอาจเจ็บไข้ไม่สบายใกล้ตาย พ่อแม่ก็ควรจะให้ทรัพย์สมบัติต่อลูกในโอกาสนี้เพื่อจะได้ทำบุญกุศลสะสมไปในชาติหน้า.... ประมาณนี้
    .....
    เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสหน้าที่ของลูกและพ่อแม่แล้ว ก็ได้สรุปอีกครั้ง ซึ่งผู้เขียนจะนำมาเล่าต่อในตอนต่อไป...


    หมวดหมู่: ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา
    คำสำคัญ: สิงคาลกสูตร มารดาบิดา ทิศเบื้องหน้า บุตร อภิชาตบุตร
    สร้าง: พ. 17 ต.ค. 2550 @ 15:45 แก้ไข: พ. 17 ต.ค. 2550 @ 15:45 ขนาด: 13076 ไบต์
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://gotoknow.org/blog/dhammasakajcha/140065
    เล่าเรื่องสิงคาลกสูตร ๒๕ <SUP></SUP>
    เล่าเรื่องสิงคาลกสูตร ๒๕
    พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสหน้าที่ในฐานะบุตรและมารดาบิดาพึงกระทำแล้วก็ทรงสรุปอีกครั้งว่า ...
    • ดูกรลูกนายบ้าน มารดาบิดาผู้เป็นทิศเบื้องหน้าอันบุตรบำรุงด้วยสถาน ๕ เหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์บุตรด้วยสถาน ๕ เหล่านี้ ทิศเบื้องหน้านั้น ชื่อว่าอันบุตรปกปิดให้เกษมสำราญ ให้ไม่มีภัยด้วยประการฉะนี้ ฯ
    รายละเอียดของหน้าที่เหล่านี้ เล่า...๒๓ และ เล่า...๒๔ ซึ่งผู้สนใจอาจกลับไปดูได้อีกครั้ง.... ส่วนในอรรถกถาได้ขยายความไว้ทำนองว่า...
    ถ้าว่าบุตรปฏิบัติผิด แต่มารดาบิดาเป็นผู้ปฏิบัติชอบ ... บุตรนั้นก็ไม่สมควรแก่มารดาบิดา เมื่อเป็นอย่างนี้ ภัยก็จะพึงมาถึงบุตรทั้งหลาย
    ถ้าว่าบุตรปฏิบัติชอบ แต่มารดาบิดาเป็นผู้ปฏิบัติผิด ... มารดาบิดานั้นก็ไม่สมควรแก่บุตรทั้งหลาย เมื่อเป็นอย่างนี้ ภัยก็จะพึงมาถึงมารดาบิดาเหล่านั้น
    เมื่อทั้งสองฝ่ายปฏิบัติผิด ก็จะพึงมีภัยทั้งสองฝ่าย... แต่ถ้าทั้งสองฝ่ายปฏิบัติชอบ ก็จะไม่มีภัยทั้งสองฝ่าย จะมีความเป็นอยู่อย่างเกษมสำราญ .... ประมาณนี้
    และในอรรถกถายังย้ำเพิ่มเติมว่า ก็แลพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว ได้ตรัสกะสิงคาลกะว่า ดูก่อนลูกนายบ้าน บิดาของเธอไม่ได้ให้เธอนอบน้อมทิศเบื้องหน้าที่โลกสมมติกัน แต่บิดาของเธอกระทำมารดาบิดาให้เป็นเช่นกับทิศเบื้องหน้าแล้วให้เธอนอบน้อม บิดาของเธอกล่าวถึงทิศเบื้องหน้าอย่างนี้ ไม่ใช่อย่างอื่น
    หลังจากทรงสรุปทิศเบื้องหน้าแล้ว พระพุทธเจ้าก็ตรัสทิศเบื้องขวาคือ อาจารย์ ซึ่งผู้เขียนจะนำมาเล่าในตอนต่อไป


    หมวดหมู่: ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา
    คำสำคัญ: สิงคาลกสูตร ทิศเบื้องหน้า มารดาบิดา บุตร
    สร้าง: ศ. 19 ต.ค. 2550 @ 12:59 แก้ไข: ศ. 19 ต.ค. 2550 @ 12:59 ขนาด: 4086 ไบต์

    http://gotoknow.org/blog/dhammasakajcha/140219
    เล่าเรื่องสิงคาลกสูตร ๒๖ <SUP></SUP>
    เล่าเรื่องสิงคาลกสูตร ๒๖
    ดูกรลูกนายบ้าน อาจารย์ผู้เป็นทิศเบื้องขวาอันศิษย์พึงบำรุงด้วยสถาน ๕ คือ
    • ด้วยลุกขึ้นยืนรับ ๑
    • ด้วยเข้าไปยืนคอยรับใช้ ๑
    • ด้วยการเชื่อฟัง ๑
    • ด้วยการปรนนิบัติ ๑
    • ด้วยการเรียนศิลปวิทยาโดยเคารพ ๑
    ความหมายของหน้าที่เหล่านี้ค่อนข้างชัดเจน... และเมื่อตรวจสอบดูในอรรถกถา ท่านก็ขยายความตามธรรมเนียมโบราณ โดยศิษย์ต้องไปอยู่ในสำนักอาจารย์... แต่ปัจจุบันการเรียนและความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์กับศิษย์มีนัยหลากหลายเกินไป...
    อย่างไรก็ตาม หน้าที่เหล่านี้ ก็ยังคงนำมาประยุกต์ใช้ตามความเหมาะสม เช่น ด้วยการลุกขึ้นยืนรับ ท่านขยายความว่า เมื่อเห็นอาจารย์มาแต่ไกลก็ให้รีบเข้าไปต้อนรับ ช่วยถือสิ่งของ และจัดเตรียมอาสนะที่นั่งให้ท่าน ฯลฯ ซึ่งอาจประยุกต์ว่า ศิษย์ไม่เมินเฉยเมื่ออาจารย์เข้ามาภายในห้องเรียน หรือเมื่ออาจารย์เดินผ่าน ก็ทำความเคารพตามสมควร เป็นต้น
    ....................
    ดูกรลูกนายบ้าน อาจารย์ผู้เป็นทิศเบื้องขวา อันศิษย์บำรุงด้วยสถาน ๕ เหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์ศิษย์ด้วยสถาน ๕ คือ
    • แนะนำดี ๑
    • ให้เรียนดี ๑
    • บอกศิษย์ด้วยดีในศิลปวิทยาทั้งหมด ๑
    • ยกย่องให้ปรากฎในเพื่อนฝูง ๑
    • ทำความป้องกันในทิศทั้งหลาย ๑
    อรรถกถาขยายความเพิ่มเติมว่า การแนะนำดี ก็เช่น ควรนั่งอย่างนี้ ควรเดินอย่างนี้ ควรบริโภคอย่างนี้ ตลอดจนถึงการแนะนำว่า ควรเว้นจากคนชั่วๆ ให้คบคนดีๆ เป็นต้น... ซึ่งประเด็นนี้ก็คือ หน้าที่ของอาจารย์จะต้องสอนจริยธรรมด้วยเสมอ... ประมาณนั้น
    ให้เรียนดี ก็คือสอนให้ศิษย์รู้ เข้าใจ หรือทำได้ ตามความสามารถของศิษย์แต่ละคน.... ประเด็นนี้ ผู้เป็นครูบาอาจารย์คงจะเข้าใจ เพราะศิษย์แต่ละคนความถนัดและความฉลาดต่างกัน ดังนั้น หน้าที่ของครูก็ต้องใช้วิธีการเพื่อให้เขาประสบความสำเร็จในการเรียนตามสมควร... ทำนองนี้
    ข้อต่อมาก็คือ สอนให้อย่างหมดเปลือกโดยไม่ปิดปัง (ไม่มีกำมือ สำหรับลูกศิษย์)... ส่วนอาจารย์บางท่านในปัจจุบัน ที่ไม่ค่อยสอนกลเม็ตบางอย่างในเวลาเรียนปกติ... แต่เอาไว้สอนเวลาเรียนพิเศษ ซึ่งศิษย์ต้องเสียค่าเรียนเพิ่มเติม... ภายหลังศิษย์อาจไม่ค่อยเคารพนับถือด้วยใจ ก็อาจเทียบได้ว่ามีข้อบกพร่องในข้อนี้หรือไม่ ลองพิจารณาดู
    ยกย่องให้ปรากฎในเพื่อนฝูง อาจเพิ่มเติมได้ตามสภาพปัจจุบันก็คือ ส่งเสริมให้มีงานทำ หรือช่วยรับรองความสามารถให้ตามสมควร เป็นต้น
    .....
    และข้อสุดท้ายคือ ทำความป้องกันในทิศทั้งหลาย ในอรรถกถาท่านแก้ไว้น่าสนใจ แม้จะเป็นเรื่องโบราณก็ตาม ถอดความเป็นสำนวนร่วมสมัยของผู้เขียนได้ทำนองว่า....
    ศิษย์เมื่อสำเร็จวิชาแล้ว แม้ไปอยู่ที่ใดก็ตาม ลาภผลที่เกิดจากการทำงานเพราะวิชานั้นๆ ย่อมชื่อว่าเกิดจากอาจารย์ หรืออาจกล่าวว่าเป็นของอาจารย์ก็ได้ แม้จะมีมากมายเพียงใดก็ตาม...
    และเมื่อสังคมในที่นั้นๆ จะยกย่องเชิดชูก็จะยกย่องอาจารย์ที่ถ่ายทอดวิชามาให้... ซึ่งประเด็นนี้ อาจเทียบได้กับปัจจุบันว่า ศิษย์ของโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยใด เมื่อมีชื่อเสียงขึ้นมา ย่อมทำให้โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยนั้นพลอยมีชื่อเสียงไปด้วย เพราะวิชาความรู้ต่างๆ เป็นของสำนักที่เขาเรียนมา.... ทำนองนี้
    สรุปว่า การที่ศิษย์สามารถประกอบอาชีพ เป็นอยู่ หรือมีชื่อเสียงในท้องถิ่นนั้นๆ ได้ ชื่อว่า อาจารย ์นั่นเองเป็นผู้ป้องกันในทิศทั้งหลาย เพราะถ้าไม่ได้อาจารย์เป็นผู้อบรมสั่งสอนให้ เขาก็อาจถึงประสบภัยพิบัติหรือความฉิบหายเพราะความโง่หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เป็นต้น
    ประเด็นนี้ อาจกล่าวทำนองตรรกศาสตร์ได้ว่า
    • อาจารย์มิได้เป็นผู้ป้องกันศิษย์ แต่สอนศิลปวิทยาให้แก่ศิษย์
    • ศิษย์ที่มีศิลปวิทยา สามารถใช้ศิลปวิทยาเพื่อป้องกันตัวเองได้
    • ดังนั้น อาจารย์จึงชื่อว่าเป็นผู้ป้องกันศิษย์ เพราะเป็นผู้สอนศิลปวิทยาให้แก่ศิษย์
    ......
    อนึ่ง ความหมายของอาจารย์หรือครู ผู้เขียนเล่าไว้แล้วที่่ ครู ... ส่วนความหมายของศิษย์ ที่ ศิษย์ ซึ่งผู้สนใจอาจเข้าไปดูได้....
    หลังจากพระพุทธเจ้าได้ตรัสหน้าที่ของศิษย์และอาจารย์แล้ว ก็ทรงสรุปอีกครั้ง ทำนองว่า ถ้าศิษย์หรือาจารย์จัดการถูกต้องเหมาะสมทำนองนี้ก็ชื่อว่า ปิดกั้นภัยที่จะพึงเกิดขึ้น ทำนองเดียวกับทิศเบื้องหน้าคือมารดาบิดาและบุตร ซึ่งผู้เขียนเล่าไว้ที่ เล่า... ๒๕ ดังนั้น ผู้เขียนจะเว้นประเด็นนี้ไป เพราะผู้อ่านสามารถเทียบเคียงได้ไม่ยาก...
    ต่อจากทิศเบื้องขวา ก็คือทิศเบื้องหลังได้แก่ ภรรยาและบุตร ซึ่งผู้เขียนจะนำมาเล่าในตอนต่อไป....

    หมวดหมู่: ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา
    คำสำคัญ: สิงคาลกสูตร ครู ศิษย์ อาจารย์
    สร้าง: ศ. 19 ต.ค. 2550 @ 23:29 แก้ไข: ศ. 19 ต.ค. 2550 @ 23:31 ขนาด: 11393 ไบต์

    http://gotoknow.org/blog/dhammasakajcha/140261
    เล่าเรื่องสิงคาลกสูตร ๒๗ <SUP></SUP>
    เล่าเรื่องสิงคาลกสูตร ๒๗
    ในทิศเบื้องหลังนั้น แม้พระพุทธเจ้าตรัสว่า คือ บุตรและภรรยา ก็ตาม แต่เมื่อทรงจำแนกหน้าที่จะพึงปฏิบัติต่อทิศเบื้องหลัง พระองค์ตรัสเฉพาะภรรยา เท่านั้น เหตุเพราะว่าพระองค์ตรัสเกี่ยวกับบุตรไว้ในทิศเบื้องหน้าแล้วนั่นเอง....
    ดูกรลูกนายบ้าน ภรรยาผู้เป็นทิศเบื้องหลังอันสามีพึงบำรุงด้วยสถาน ๕ คือ
    • ด้วยยกย่องว่าเป็นภรรยา ๑
    • ด้วยไม่ดูหมิ่น ๑
    • ด้วยไม่ประพฤตินอกใจ ๑
    • ด้วยมอบความเป็นใหญ่ ๑
    • ด้วยให้เครื่องแต่งตัว ๑
    ขยายความตามนัยอรรถกถาดังนี้ ในข้อแรกว่า ด้วยการยกย่องว่าเป็นภรรยา ก็คือควรพูดจากับภรรยาด้วยคำอันไพเราะ เช่น ถ้าภรรยาชื่อ เทพ หรือ ดิส ก็ควรเรียกว่า แม่เทพ ! หรือ แม่ดิส ! เป็นต้น...
    ผู้เขียนคิดว่า ประเด็นนี้จะต้องเป็นเรื่องสำคัญ เพราะพระพุทธเจ้าตรัสไว้สองพันห้าร้อยกว่าปีแล้ว ดังนั้น ผู้ใดเป็นสามี (ที่มาอ่านบันทึกนี้) หากพูดกับภรรยาด้วยคำพูดอันไม่ไพเราะเสนาะโสต พูดกับภรรยาด้วยคำไม่สุภาพนานัปประการ ก็ควรทราบว่า ท่านได้ทำผิดหน้าที่ของสามีตามนัยนี้
    อีกอย่างหนึ่ง สามีบางคน ปล่อยให้ภรรยาอยู่แต่ภายในบ้าน ไม่ค่อยจะพาไปไหน หรือค่อนข้างจะวางเฉย ไม่ค่อยจะ่แนะนำให้ใครรู้จัก ก็อาจผิดหน้าที่ตามข้อนี้เช่นเดียวกัน....
    (โยมผู้หญิงคนหนึ่ง ซึ่งแยกกันอยู่กับสามีเพราะหน้าที่การงาน เธอเคยบ่นให้ฟังว่า เมื่อไปหาสามี เขาจะพาไปเที่ยวและแนะนำให้รู้จักคนโน้นคนนี้ เธอรู้สึกเบื่อไม่ค่อยอยากจะไปหา... ผู้เขียนจึงบอกว่า ให้ภูมิใจในสามีเถิด เพราะเขาได้ทำหน้าที่ในข้อว่า ด้วยการยกย่องว่าเป็นภรรยา ได้อย่างถูกต้อง)
    ด้วยการไม่ดูหมิ่น ท่านว่า ด้วยการไม่ดุด่า เฆี่ยนตี ทำร้าย หรือเบียดเบียนอื่นๆ อย่างที่ทำกับพวกทาสหรือกรรมกร... โดยท่านให้ความเห็นว่า ถ้าเราดูหมิ่นภรรยาของเราเองแล้ว คนอื่นๆ เช่นญาติของเรา หรือคนบ้านใกล้เรือนเคียงก็อาจดูหมิ่นภรรยาของเราได้... ประมาณนี้
    สองข้อนี้อาจรวมได้ว่า ถ้าสามียกย่องภรรยาและไม่ดูหมิ่นแล้ว คนอื่นๆ ก็จะเกรงใจไม่กล้าทำร้ายภรรยาของเขา เพราะเกรงว่า เขาผู้เป็นสามีจะไม่พอใจและอาจออกมาปกป้องหรือตอบโต้อย่างใดอย่างหนึ่ง... ทำนองนี้
    ด้วยการไม่ประพฤตินอกใจ ท่านขยายความว่า สามีละเลยภรรยาตนเอง ไปบำเรอหญิงอื่น ด้วยการไม่กระทำอย่างนั้น... กล่าวคือ สามีจะต้องไม่่ละเลยหรือทอดทิ้งภรรยาของตนแล้วไปปรนเปรอบำเรอหญิงอื่นนั่นเอง
    ...........
    ด้วยมอบความเป็นใหญ่ ก็คือ ด้วยสละความเป็นใหญ่ให้แก่ภรรยา ... ประเด็นนี้อรรถกถาขยายความไว้น่าสนใจ โดยท่านบอกว่า ธรรมดาผู้หญิง แม้จะได้เครื่องประดับล้ำค่าดังเช่นมหาลดาภรณ์ แต่เมื่อไม่ได้จัดการเรื่องอาหารให้สามีก็ย่อมโกรธ... เมื่อสามียื่นทัพพีให้แก่ภรรยา พลางพูดว่า แม่จงทำตามใจชอบของแม่เถิด ! แล้วมอบการจัดการเรื่องในครัวให้ภรรยาดังนี้ ชื่อว่า มอบความเป็นใหญ่ให้แก่ภรรยา... ทำนองนี้
    ผู้เขียนไม่เคยมีครอบครัว จึงไม่ค่อยเข้าใจเรื่องทำนองนี้นัก แต่เคยตั้งข้อสังเกตตอนอ่านเรื่อง สี่แผ่นดิน (ของ มรว. คึกฤทธิ์ ปราโมช) ... กล่าวคือ เมื่อคุณเปรมแต่งงานกับแม่พลอยแล้ว ในวันแรกที่แม่พลอยไปอยู่บ้านของคุณเปรมผู้เป็นสามี เขาก็ได้มอบกุญแจบ้านทั้งหมดให้แก่แม่พลอยผู้เป็นภรรยา... ผู้เขียนอ่านมาถึงตอนนี้ ก็นึำกได้ว่า ทำนองนี้ตรงกับคำว่า มอบความเป็นใหญ่ให้ ตามนัยสิงคาลกสูตร
    และข้อสุดท้าย ด้วยให้เครื่องแต่งตัว ในอรรถกถาท่านแก้สั้นๆ ว่า ด้วยมอบเครื่องประดับให้ตามสมควรแก่สมบัติของตน... เท่านั่น
    ส่วนในคัมภีร์ระดับฎีกา (เป็นคัมภีร์ขยายความอรรถกถาอีกชั้นหนึ่ง ผู้สนใจดู การตรวจสอบพระธรรมวินัย ๑) ท่านขยายเพิ่มเติมอีกนิดว่า...
    การให้เครื่องแต่งตัวนี้ ถือว่าเป็นหน้าที่ของสามีที่ควรให้แก่ภรรยาตามโอกาส เช่น ในโอกาสครบรอบวันแต่งงาน วันเกิด วันขึ้นปีใหม่ หรือตามเทศกาลต่างๆ ตามสมควร... เครื่องประดับเหล่านี้ไม่จำเป็นจะต้องมีราคาแพงนัก เช่น แหวนสักวง ผ้าสักผืน หรือรองเท้าสักคู่ ฯลฯ โดยคำนึงถึงฐานะของครอบครัวเป็นสำคัญ
    ............
    เมื่อแรกแปลคัมภีร์ที่เกี่ยวกับคำอธิบายสองข้อสุดท้ายนี้... ก็นึกยิ้มๆ ว่า พระอรรถกถาจารย์และพระฎีกาจารย์ที่ขยายความเรื่องนี้ ท่านคงจะเคยมีครอบครัวมาแล้วตอนที่ยังไม่ได้บวชอย่างแน่นอน จึงเข้าใจเรื่องทำนองนี้ได้ดี ...ประมาณนั้น
    คู่กับหน้าที่ของสามีก็คือ หน้าที่ของภรรยา ซึ่งผู้เขียนจะนำมาเล่าในตอนต่อไป...

    หมวดหมู่: ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา
    คำสำคัญ: สิงคาลกสูตร ทิศเบื้องหลัง หน้าที่ของสามี ทิศทั้งหก
    สร้าง: ส. 20 ต.ค. 2550 @ 10:20 แก้ไข: ส. 20 ต.ค. 2550 @ 10:26 ขนาด: 11440 ไบต์

    http://gotoknow.org/blog/dhammasakajcha/140383
    เล่าเรื่องสิงคาลกสูตร ๒๘ <SUP></SUP>
    เล่าเรื่องสิงคาลกสูตร ๒๘
    ดูกรลูกนายบ้าน ภรรยาผู้เป็นทิศเบื้องหลังอันสามีบำรุงด้วยสถาน ๕ เหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์สามีด้วยสถาน ๕ คือ
    • จัดการงานดี ๑
    • สงเคราะห์คนข้างเคียงดี ๑
    • ไม่ประพฤตินอกใจผัว ๑
    • รักษาทรัพย์ที่ผัวหามาให้ ๑
    • ขยันไม่เกียจคร้านในกิจการทั้งปวง ๑
    อรรถกถาได้ขยายความเพิ่มเติมทำนองว่า ในหัวข้อว่า จัดการดี นี้ หมายถึง ภรรยาไม่ละเลยเวลาหุงต้ม จัดเตรียมข้าวปลาอาหาร และการงานอื่นๆ เพื่อสามีตามสมควร....
    ในหัวข้อว่า สงเคราะห์คนข้างเคียงดี นี้ ท่านขยายความว่า ญาติของตนและของสามี ชื่อว่า คนข้างเคียง ... หน้าที่ของภรรยาจะต้องสงเคราะห์ญาติทั้งสองฝ่ายนี้ด้วยการเคารพนับถือและด้วยการส่งข่าว เป็นต้น
    คัมภีร์มงคลัตถทีปนี ขยายความเพิ่มเติมประเด็นนี้ว่า พ่อแม่ของตนและของสามี ไม่ชื่อว่าคนข้างเคียงในหัวข้อนี้ เนื่องจากพ่อแม่ทั้งสองฝ่ายนี้ ทั้งตนและสามีจะต้องบำรุงเป็นนิตย์ในฐานะเป็นทิศเบื้องหน้าแล้ว.... ดังนั้น คนข้างเคียงในหัวข้อนี้ หมายถึงบรรดาญาติที่อยู่ห่างออกไป ภรรยาผู้เป็นแม่ศรีเรือนจะต้องสงเคราะห์ด้วยการกล่าววาจาไพเราะและด้วยการเลี้ยงดูด้วยข้าวปลาอาหาร เป็นต้น ในเมื่อคนข้างเคียงเหล่านั้นมาเยือน... และด้วยการส่งของฝากของที่ระลึกไปให้ในวันเทศกาลต่างๆ ตามสมควร.... ประมาณนี้
    .......
    ไม่ประพฤตินอกใจผัว ท่านว่าภรรยาไม่ควรละทิ้งสามีแล้วปรารถนาบุรุษอื่นด้วยใจ... เมื่อถือเอาตามนัยของพระอรรถกถา จะเห็นได้ว่า ผู้เป็นภรรยาแม้เพียงแต่คิดถึงชายอื่น ตามที่เรียกกันว่า ชู้ทางใจ ก็ถือว่าไม่ถูกต้องตามนัยนี้
    รักษาทรัพย์สมบัติที่ผัวหามาให้ ท่านว่า ทรัพย์ที่สามีหามาได้จากกสิกรรมและพาณิชยกรรมเป็นต้น ซึ่งเป็นทรัพย์ที่นำมาจากนอกเรือนเข้าสู่ภายในเรือน ภรรยาผู้เป็นแม่ศรีเรือนจะต้องเก็บรักษาไว้ให้เรียบร้อย... ทำนองนี้
    ขยันไม่เกียจคร้านในกิจการทั้งปวง ท่านว่าผู้เป็นศรีภรรยาจะต้องเฉลียวฉลาดละเอียดละออในกิจการต่างๆ เริ่มต้นตั้งแต่การตกแต่งอาหารการกิน กิจการน้อยใหญ่ภายในบ้าน ตลอดถึงการสงเคราะห์บุตรและคนข้างเคียง เป็นต้น

    สำหรับ ความไม่เกียจคร้าน นั้น ท่านว่าหญิงอื่นๆ นั่งแฉะๆ ในที่ตนนั่ง ยืนแฉะๆ ในที่ตนยืน ฉันใด... ศรีภรรยาจะต้องไม่เป็นอย่างนั้น กล่าวคือ ผู้เป็นศรีภรรยาจะต้องมีจิตเบิกบาน ใบหน้าผ่องใส แล้วทำในสิ่งที่ควรทำต่างๆ ตามสมควร... ทำนองนี้
    ...........
    ตามที่เล่ามา จะเห็นได้ว่าผู้ที่จะเป็นศรีภรรยาได้ตามนัยนี้ มีสิ่งที่พึงกระทำมากมาย... แต่แม้กระทั้งปัจจุบันก็ยังมีข่าวว่าสามีกระทำทารุณกรรมภรรยาตัวเองเสมอ ซึ่งภรรยาผู้ถูกสามีทำทารุณกรรมเหล่านั้นจะปฏิบัติสมควรตามนัยนี้หรือไม่ ประเด็นนี้ไม่อาจทราบได้ จึงฝากไว้เป็นข้อคิด...
    อีกประเด็นหนึ่ง แนวคิดเรื่องหน้าที่เชิงจริยธรรมระหว่างสามีกับภรรยานี้ ผู้เขียนเคยเจอมากมายและหลายนัย เช่นปรากฎในสักกสังยุตตอนหนึ่งว่า... ชายผู้เป็นสามี เมื่อเลี้ยงภรรยาโดยธรรมแล้ว แม้ท้าวสักกเทวราชก็ทรงนอบน้อมผู้นั้น ดังคาถาประพันธ์ตอนหนึ่งที่ท้าวเธอตรัสว่า
    • ดูกรมาตลี คฤหัสถ์เหล่าใด ทำบุญ มีศีล เป็นอุบาสก เลี้ยงภรรยาโดยธรรม เราย่อมนอบน้อมคฤหัสถ์เหล่านั้น
    ผู้สนใจประเด็นนี้อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=7544&Z=7578
    อนึ่ง ผู้เขียนคิดว่า แนวคิดเชิงจริยธรรมของสามีและภรรยาในพุทธปรัชญา น่าสนใจมาก และผู้เขียนก็ไม่ได้เห็นหรือได้ยินว่า เคยมีใครทำวิจัยประเด็นนี้แล้วบ้าง ดังนั้น จึงคิดว่า ประเด็นนี้สามารถทำวิจัยได้ สำหรับผู้สนใจ....
    ต่อจากทิศเบื้องหลังคือ ทิศเบื้องซ้าย ได้แก่ มิตรสหาย ซึ่งผู้เขียนจะนำมาเล่าในตอนต่อไป...

    หมวดหมู่: ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา
    คำสำคัญ: สิงคาลกสูตร สามีและภรรยา ทิศหก พุทธปรัชญา
    สร้าง: ส. 20 ต.ค. 2550 @ 19:27 แก้ไข: ส. 20 ต.ค. 2550 @ 19:33 ขนาด: 9337 ไบต์
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://gotoknow.org/blog/dhammasakajcha/140434

    เล่าเรื่องสิงคาลกสูตร ๒๙ <SUP></SUP>
    เล่าเรื่องสิงคาลกสูตร ๒๙
    ดูกรลูกนายบ้าน มิตรผู้เป็นทิศเบื้องซ้ายอันกุลบุตรพึงบำรุงด้วยสถาน ๕ คือ
    • ด้วยการให้ปัน ๑
    • ด้วยเจรจาถ้อยคำอันเป็นที่รัก ๑
    • ด้วยประพฤติประโยชน์ ๑
    • ด้วยความเป็นผู้มีตนเสมอ ๑
    • ด้วยไม่แกล้งกล่าวให้คลาดจากความเป็นจริง ๑
    หัวข้อเหล่านี้ชัดเจนแล้ว แม้ในอรรถกถาท่านก็แก้ไว้เฉพาะคำศัพท์ของข้อสุดท้ายเท่านั้น... ทำนองว่า ถ้าเป็นเพื่อนกันก็ไม่ควรจะแกล้งพูดเพื่อให้เพื่อนเข้าใจผิด
    ..............
    ดูกรลูกนายบ้าน มิตรผู้เป็นทิศเบื้องซ้ายอันกุลบุตรบำรุงด้วยสถาน ๕ เหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรด้วยสถาน ๕ คือ
    • รักษามิตรผู้ประมาทแล้ว ๑
    • รักษาทรัพย์ของมิตรผู้ประมาทแล้ว ๑
    • เมื่อมิตรมีภัยเอาเป็นที่ึ่พึ่งพำนักได้ ๑
    • ไม่ละทิ้งในยามวิบัติ ๑
    • นับถือตลอดถึงวงศ์มิตร ๑
    หน้าที่ของเพื่อนที่พึงช่วยเหลือเพื่อนก็เช่นเดียวกัน ท่านขยายความเฉพาะข้อสุดท้ายเท่านั้น... ทำนองว่า เพื่อนย่อมนับถือและรักใคร่ห่วงใยญาติของเขาฉันใด เราก็ควรจะนับถือและรักใคร่ห่วงใยญาติของเพื่อนฉันนั้น
    ............
    สาเหตุที่ท่านไม่ขยายไว้ คงเป็นเพราะรายละเอียดเรื่องการคบมิตรนี้ พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้แล้วในตอนต้น ดังนั้น เมื่อมาตรัสย้ำในฐานะเป็นทิศเบื้องซ้าย จึงทรงตรัสในฐานะที่มิตรพึงกระทำต่อมิตรด้วยกันเท่านั้น...
    ผู้สนใจประเด็นเหล่านี้ สามารถกลับไปดูได้ที่ เล่า...๑๗ , เล่า...๑๘ และ เล่า...๒๐ ได้ตามลำดับ
    ต่อจากทิศเบื้องซ้าย ก็คือทิศเบื้องล่างได้แก่ ทาสและกรรมกร ซึ่งผู้เขียนจะนำมาเล่าในตอนต่อไป...

    หมวดหมู่: ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา
    คำสำคัญ: สิงคาลกสูตร ทิศเบื้องซ้าย มิตรสหาย หลักการคบมิตร
    สร้าง: อา. 21 ต.ค. 2550 @ 01:37 แก้ไข: อา. 21 ต.ค. 2550 @ 01:37 ขนาด: 4438 ไบต์


    ความคิดเห็น
    หน้า: 1
    [​IMG] 1. พัชรา
    เมื่อ อ. 23 ต.ค. 2550 @ 16:51
    432425 [ลบ]


    -/\- นมัสการค่ะพระอาจารย์
    การคบมิตรกับการคบสัตบุรุษเกี่ยวโยงกันอย่างไรคะ
    -/\-นมัสการค่ะ


    [​IMG] 2. BM.chaiwut
    เมื่อ อ. 23 ต.ค. 2550 @ 17:28
    432459 [ลบ]


    [​IMG]
    พัชรา
    สัตบุรุษ แปลง่ายๆ ว่า คนดี
    มิตร หมายถึง เพื่อน
    ดังนั้น สัตบุรุษ มีความหมายกว้างกว่า มิตร

    แต่ถ้าได้เพื่อนที่เป็นคนดีด้วย ก็น่าจะประเสริฐกว่า...
    ทำนองเกียวกับ อาจารย์ อาจเป็นสัตบุรุษหรือไม่เป็นก็ได้ แต่อาจารย์มิใช่เพื่อนแน่นอน...
    แต่บางกรณี ที่เป็นทั้งอาจารย์และเพื่อนนั้น ขึ้นอยู่กับเวลาและสถานที่ มิใช่ในขณะเดียวกัน....
    เจริญพร
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://gotoknow.org/blog/dhammasakajcha/141282

    เล่าเรื่องสิงคาลกสูตร ๓๒ <SUP></SUP>
    เล่าเรื่องสิงคาลกสูตร ๓๒
    ระบบอุปถัมภ์ ตามความเข้าใจของผู้เขียนก็คือ ระบบที่ช่วยเหลือซึ่งกันโดยเน้นผู้ใหญ่ เจ้านาย ผู้มั่งคั่ง หรือผู้มากบารมี ฝ่ายหนึ่ง กับอีกฝ่ายหนึ่งคือ ผู้น้อย ลูกน้อง ผู้ขัดสน หรือผู้ไร้บารมี.... เมื่อเล่าเรื่องในสิงคาลกสูตรมาถึงเรื่องทิศทั้งหก ผู้เขียนก็พบว่าแนวคิดอุปถัมภ์ในเรื่องทิศทั้งหกก็น่าสนใจ จึงนำมาเล่าเป็นข้อคิดเห็นเพิ่มเติม...
    ผู้ที่ติดตามมาตั้งแต่ต้นอาจสังเกตได้ว่า ในทิศต่างๆ จะมีข้อความที่เกี่ยวโยงกันเป็นคู่ๆ ดังนี้
    • มารดาบิดาผู้เป็นทิศเบื้องหน้า อันบุตรพึงบำรุงด้วยสถาน ๕ คือ...
    • มารดาบิดาผู้เป็นทิศเบื้องหน้าอันบุตรพึงบำรุงด้วยสถาน ๕ เหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์บุตรด้วยสถาน ๕ คือ...
    • อาจารย์ผู้เป็นทิศเบื้องขวา อันศิษย์พึงบำรุงด้วยสถาน ๕ คือ...
    • อาจารย์ผู้เป็นทิศเบื้องขวาอันศิษย์พึงบำรุงด้วยสถาน ๕ เหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์ศิษย์ด้วยสถาน ๕ คือ...
    • ภรรยาผู้เป็นทิศเบื้องหลัง อันสามีพึงบำรุงด้วยสถาน ๕ คือ...
    • ภรรยาผู้เป็นทิศเบื้องหลังอันสามีพึงบำรุงด้วยสถาน ๕ เหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์สามีด้วยสถาน ๕ คือ...
    • มิตรผู้เป็นทิศเบื้องซ้าย อันกุลบุตรพึงบำรุงด้วยสถาน ๕ คือ...
    • มิตรผู้เป็นทิศเบื้องซ้ายอันกุลบุตรพึงบำรุงด้วยสถาน ๕ เหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรด้วยสถาน ๕ คือ...
    • ทาสและกรรมกรผู้เป็นทิศเบื้องต่ำ อันนายพึงบำรุงด้วยสถาน ๕ คือ...
    • ทาสและกรรมกรผู้เป็นทิศเบื้องต่ำอันนายพึงบำรุงด้วยสถาน ๕ เหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์นายด้วยสถาน ๕ คือ...
    บรรดาทิศเหล่านี้ผู้เขียนเล่ามาแล้วตามลำดับ ส่วนทิศเบื้องบนผู้เขียนจะเล่าในตอนต่อไป มีข้อความว่า....
    • สมณพราหมณ์ผู้เป็นทิศเบื้องบน อันกุลบุตรพึงบำรุงด้วยสถาน ๕ คือ...
    • สมณพราหมณ์ผู้เป็นทิศเบื้องบนอันกุลบุตรพึงบำรุงด้วยสถาน ๖ เหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรด้วยสถาน ๖ คือ...
    .........
    คู่แรกคือ มารดาบิดากับบุตร นั้น... บุตรพึงบำรุง ขึ้นก่อน ส่วนคำว่า มารดาบิดาย่อมอนุเคราะห์ ตามหลังมา .... ซึ่งในตอนแรกผู้เขียนค่อนข้างสับสน และคาดเดาไปว่า พระพุทธเจ้าตรัสเรื่องนี้กับนายสิงคาลกะ ดังนั้น นายสิงคาลกะในฐานะเป็นบุตร พึงบำรุงมารดาบิดาของเขา... และนายสิงคาลกะในฐานะเป็น(มารดา)บิดา ย่อมอนุเคราะห์บุตรของเขา...
    ตามนัยนี้ ผู้เขียนคาดเดาเอาเอง เพราะเป็นไปไม่ได้ที่ว่า บุตรจะพึงบำรุงมารดาบิดาก่อนแล้วมารดาบิดาจะอนุเคราะห์บุตร... เนื่องจากมารดาบิดาเกิดก่อนบุตร....
    (นัยนี้ไม่ยืนยันว่าถูกต้อง)
    อีกอย่างหนึ่ง ในหน้าที่ของบุตร พระพุทธเจ้าทรงใช้คำว่า พึงบำรุง ซึ่งบ่งความว่า บังคับ นั่นคือ การกำหนดให้บุตรจะต้องกระทำนั่นเอง
    ส่วนในหน้าที่ของมารดาบิดา พระองค์ใช้คำว่า ย่อมอนุเคราะห์ ซึ่งบ่งชี้ความว่า เป็นไปอยู่ นั่นคือ การดำเนินการอย่างสม่ำเสมอนั่นเอง
    ดังนั้น ระบบอุปถัมภ์คู่แรกนี้มีความเป็น ลูกโซ่ คือต่อเนื่องกันไป ซึ่งประเด็นนี้ อาจเชื่อมโยงกับคาถาประพันธ์ตอนสุดท้ายในสิงคาลกสูตรที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ (จะนำเสนอหลังจากจบเรื่องทิศทั้งหก)
    .......
    ศิษย์กับอาจารย์ ในคู่นี้ ศิษย์ซึ่งหมายถึงผู้น้อย จะต้องบำรุงอาจารย์ก่อน... แล้วอาจารย์ซึ่งหมายถึงผู้ใหญ่ จะอนุเคราะห์ศิษย์ในภายหลัง ...
    เมื่อพิจารณาคู่นี้ ถ้าแม้นว่าศิษย์ไม่พึงบำรุงอาจารย์แล้ว อาจารย์จะไมอนุเคราะ่ห์ศิษย์ ใช่หรือไม่ ?
    ระบบอุปถัมภ์คู่นี้ ชัดเจนว่า ผู้น้อย (ศิษย์) ช่วยเหลือผู้ใหญ่ (อาจารย์) ก่อน
    .......
    ภรรยากับสามี ในคู่นี้ สามีจะต้องบำรุงภรรยาก่อน ภรรยาจึงจะอนุเคราะห์สามี.... ดังนั้น คู่นี้ก็อาจตั้งคำถามได้เช่นเดียวกันว่า ถ้าสามีไม่บำรุงภรรยาแล้ว ภรรยาก็ไม่จำเป็นในการอนุเคราะห์สามี ใช่หรือไม่ ?
    อนึ่ง เมื่อพิจารณาผู้ใหญ่กับผู้น้อย ในคู่นี้สามีน่าจะเป็นผู้ใหญ่ เพราะหน้าที่ของสามีอย่างหนึ่งคือ มอบความเป็นใหญ่ให้ภรรยา ... เมื่อพิจารณาตามนี้ จะเห็นได้ว่าต่างไปจากคู่ศิษย์กับอาจารย์ข้างต้น
    .....
    มิตรกับกุลบุตร ในคู่นี้ คำว่า กุลบุตร เป็นเพียงโวหารสุภาพที่ใช้เรียกแทนมิตรเท่านั้น... ดังนั้น สำหรับคู่นี้ อาจพิจารณาว่า มิตรกับมิตร และศักดิ์ศรีทั้งสองฝ่ายเท่ากัน...
    เมื่อพิจารณาในเชิงระบบอุปถัมภ์ คู่นี้อาจกำหนดเป็นผู้ใหญ่กับผู้น้อยไม่ได้ น่าจะเป็นเพียงการพึงพาอาศัยช่วยเหลือซึ่งกันและกัน... ประมาณนั้น
    .......
    ทาสและกรรมกรกับนาย ในคู่นี้ ชัดเจนว่า นายจะต้องบำรุงทาสและกรรมกรเป็นลำดับแรก แล้วทาสและกรรมกรจึงจะอนุเคราะห์นาย...
    ระบบอุปถัมภ์คู่นี้ ชัดเจนเลยว่า นายคือผู้ใหญ่จะต้องช่วยเหลือทาสและกรรมกรคือผู้น้อยก่อน... ดังนั้น เมื่อถือเอาตามนัยนี้ ผู้ใหญ่ต้องช่วยเหลือผู้น้อยก่อนจึงจะหวังการตอบแทนจากผู้น้อยได้....
    .........
    และคู่สุดท้าย สมณพราหมณ์กับกุลบุตร ซึ่งอาจเทียบง่ายๆ ตามสังคมไทยปัจจุบันว่าระหว่าง พระสงฆ์กับญาติโยม ... เมื่อถือเอาตามนัยนี้ ก็อาจหมายความว่า ญาติโยมจะต้องบำรุงพระสงฆ์่ก่อน แล้วพระสงฆ์จะอนุเคราะห์ญาติโยม... ทำนองนี้
    คู่สุดท้ายนี้ ผู้เขียนยังไม่ได้ขยายความ เพียงแต่นำมาเปรียบเทียบให้เห็นเชิงอุปถัมภ์ให้ครบทิศทั้งหกเท่านั้น...
    แนวคิดอุปถัมภ์ตามที่ว่ามา เป็นเพียงสิ่งที่ผู้เขียนสังเกตเห็น จึงนำมาเล่าเล่นๆ เผื่อใครสนใจก็อาจนำไปคิดต่อ และนำไปเปรียบเทียบกับแนวคิดแขนงอื่น หรือนำแนวคิดเหล่านี้มาเทียบเคียงกับสังคมปัจจุบันว่าคล้ายคลึงหรือแย้งกันอย่างไรบ้าง....
    ก็ยุติแนวคิดเรื่องระบบอุปถัมภ์ในสิงคาลกสูตรไว้เพียงแค่นี้

    หมวดหมู่: ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา
    คำสำคัญ: สิงคาลกสูตร ระบบอุปถัมภ์ ทิศทั้งหก
    สร้าง: พ. 24 ต.ค. 2550 @ 05:51 แก้ไข: พ. 24 ต.ค. 2550 @ 15:16 ขนาด: 14327 ไบต์


    ความคิดเห็น
    หน้า: 1
    [​IMG] 1. พัชรา
    เมื่อ พ. 24 ต.ค. 2550 @ 07:45
    433067 [ลบ]


    -/\- นมัสการค่ะ
    พิจารณาตามนัยที่กล่าวถึง ระบบอุปถัมภ์ น่าจะคล้ายกับสังคหวัตถุ 4 รึเปล่าคะ
    -/\-นมัสการค่ะ


    [​IMG] 2. BM.chaiwut
    เมื่อ พ. 24 ต.ค. 2550 @ 14:32
    433574 [ลบ]


    [​IMG]
    พัชรา
    น่าจะต่างความมุ่งหมายออกไป กล่าวคือ
    • สังคหวัตถุ 4 มีการยึดเหนี่ยวน้ำใจผู้คนรอบข้างเป็นจุดมุ่งหมาย
    • ระบบอุปถัมภ์์ มีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันเป็นจุดมุ่งหมาย
    เพียงแต่ในระบบอุปถัมภ์นั้น ต้องอาศัยสังคหวัตถุ 4 เป็นส่วนหนึ่งด้วยเท่านั้น...
    อนึ่ง ในสิงคาลกสูตรนี้ พระพุทธเจ้าตรัสสังคหวัตถุ 4 ไว้ด้วยในคาถาประพันธ์ก่อนจบ ซึ่งอาตมาค่อยนำมาเล่าต่อไป....
    เจริญพร
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://www.84000.org/tipitaka/book/bookpn01.html



    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450 align=center background="" border=0><TBODY><TR><TD align=middle colSpan=2 vspace="0" hspace="0">พระพุทธพจน์ </TD></TR><TR><TD vspace="1" hspace="0">

    เย นํ ททนฺติ สทฺธาย
    </PRE>
    </TD><TD width="60%" vspace="1" hspace="0">

    วิปฺปสนฺเนน เจตสา
    </PRE>
    </TD></TR><TR><TD vspace="1" hspace="0">

    ตเมว อนฺนํ ภชติ
    </PRE>
    </TD><TD vspace="1" hspace="0">อสฺมึ โลเก ปรมฺหิ จ</TD></TR><TR><TD colSpan=2 vspace="0" hspace="0">บุคคลเหล่าใดมีใจผ่องใส ย่อมให้ข้าวด้วยศรัทธา
    บุคคลเหล่านั้นย่อมได้ข้าวนั้นเอง ทั้งโลกนี้และโลกหน้า
    </TD></TR><TR><TD vspace="1" hspace="0">
    ตสฺมา วิเนยฺย มจฺเฉรํ
    </TD><TD width="60%" vspace="1" hspace="0">
    ทชฺชา ทานํ มลาภิภู
    </TD></TR><TR><TD vspace="1" hspace="0">ปุญฺญานิ ปรโลกสฺมึ</TD><TD vspace="1" hspace="0">

    ปติฏฺฐา โหนฺติ ปาณินํ
    </PRE>
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2 vspace="1" hspace="0">เพราะเหตุนั้นพึงเปลื้องความตระหนี่เสีย แล้วให้ทาน
    บุญเท่านั้น เป็นที่พึ่งของสัตว์ในโลกหน้า
    </TD></TR><TR><TD align=middle colSpan=2 vspace="1" hspace="0"><SMALL>จาก เสรีสูตร สังยุตตนิกาย สคาถวรรค ข้อ ๒๘๔</SMALL></TD></TR></TBODY></TABLE></P>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center bgColor=white border=0><TBODY><TR><TD align=middle vspace="0" hspace="0">ทานที่มีผลมาก มีอานิสงส์มาก</TD></TR><TR><TD align=right vspace="0" hspace="0">ประณีต ก้องสมุทร</TD></TR></TBODY></TABLE>

    <CENTER>สารบัญ</CENTER>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="80%" align=center background="" border=0><TBODY><TR><TD width="80%" vspace="0" hspace="0">

    เรื่อง
    </PRE></TD></TR><TR><TD width="80%" vspace="0" hspace="0">[SIZE=+0]ทานที่มีผลมาก มีอานิสงส์มาก[/SIZE]</TD></TR><TR><TD vspace="0" hspace="0">[SIZE=+0]การใช้ทรัพย์ ๕ ประการ[/SIZE]</TD></TR><TR><TD vspace="0" hspace="0">[SIZE=+0]มหาทาน[/SIZE]</TD></TR><TR><TD vspace="0" hspace="0">[SIZE=+0]ทานของสัตบุรุษนัยที่ ๑[/SIZE]</TD></TR><TR><TD vspace="0" hspace="0">[SIZE=+0]ทานของสัตบุรุษนัยที่ ๒[/SIZE]</TD></TR><TR><TD vspace="0" hspace="0">[SIZE=+0]กาลทาน ๕ อย่าง[/SIZE]</TD></TR><TR><TD vspace="0" hspace="0">[SIZE=+0]ให้ทานในที่ใดมีผลมาก[/SIZE]</TD></TR><TR><TD vspace="0" hspace="0">[SIZE=+0]ทานที่เจาะจงและไม่เจาะจง ๒๑ ประเภท[/SIZE]</TD></TR><TR><TD vspace="0" hspace="0">[SIZE=+0]สังฆทาน ๗ ประเภท[/SIZE]</TD></TR><TR><TD vspace="0" hspace="0">[SIZE=+0]ถวายภิกษุรูปเดียว ก็เป็นสังฆทาน[/SIZE]</TD></TR><TR><TD vspace="0" hspace="0">[SIZE=+0]ทัททัลลวิมาน-แสดงอานิสงส์ของสังฆทาน[/SIZE]</TD></TR><TR><TD vspace="0" hspace="0">[SIZE=+0]เรื่องเศรษฐีเท้าแมว[/SIZE]</TD></TR><TR><TD vspace="0" hspace="0">[SIZE=+0]ความบริสุทธิ์แห่งทักษณาทาน ๔[/SIZE]</TD></TR><TR><TD vspace="0" hspace="0">[SIZE=+0]อานิสงส์ของทาน ๕ อย่าง[/SIZE]</TD></TR><TR><TD vspace="0" hspace="0">[SIZE=+0]ทานที่มีผลมาก อานิสงส์มาก ๗[/SIZE]</TD></TR></TBODY></TABLE></P><CENTER>-------------------------------------------------------------------------------

    <BIG>ทานที่มีผลมาก มีอานิสงส์มาก</BIG></CENTER>[SIZE=+0]
    คนเราที่มีชีวิตอยู่ในโลกนี้ มิได้อยู่โดยลำพังเพียงคนเดียว ย่อมมี พ่อ แม่ พี่ น้อง ญาติ มิตร สหาย ข้าทาส บริวาร และบุตร ภรรยา สามีด้วยกันทั้งนั้น การที่เราจะอยู่ร่วมกับคนเหล่านั้นด้วยความสุข และเป็นที่รักของคนเหล่านั้น นอกจากจะต้องเป็นคนดี มีเมตตากรุณา มีสัมมาคารวะต่อ ผู้ที่ควรคารวะ พูดวาจาอ่อนหวานแล้ว ยังต้องอาศัยความมีใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ อุดหนุน เจือจานกันเป็นเครื่องผูกใจคนเหล่านั้นด้วย​
    [/SIZE]

    [SIZE=+0] ผู้ขอบ่อยๆ ย่อมเป็นที่รังเกียจของผู้อื่นฉันใด ผู้ให้ก็ย่อมเป็นที่รักของผู้อื่นฉันนั้น[/SIZE]​

    [SIZE=+0] ด้วยเหตุนี้ การให้จึงเป็นการผูกน้ำใจผู้อื่นไว้ได้ประการหนึ่ง ปกตินั้นคนเรามักจะมีความตระหนี่หวงแหนอยู่เป็นประจำใจ ยากนักที่จะหยิบยื่นสิ่งใดให้แก่ใครๆ ได้โดยง่าย เพราะฉะนั้น คนที่สามารถหยิบยื่นของๆ ตนให้แก่ผู้อื่นได้นั้นนับว่าน่าสรรเสริญอย่างยิ่ง ถ้ารู้จักให้เสียครั้งหนึ่งแล้ว ก็ไม่ยากเลยที่จะให้ในครั้งต่อๆไป[/SIZE]​

    [SIZE=+0] ทั้งๆที่ทุกคนรู้จักการรับ และการให้มาตั้งแต่เด็กๆ เพราะต่างก็เคยรับและเคยให้กันมาแล้ว การรับนั้นไม่ยาก ขอให้รับด้วยความอ่อนน้อมเป็นพอ ส่วนการให้นั้นเชื่อว่าคงมีคนไม่มากนักที่จะให้ได้ถูกต้องให้เกิดประโยชน์ ทั้งฝ่ายผู้ให้และผู้รับ เป็นการให้แบบสัตบุรุษ คือคนดีทั้งหลาย ตามที่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ ถ้าไม่ได้ศึกษาเรียนรู้มาก่อน น้อยคนนักที่จะประพฤติปฏิบัติได้ถูกต้อง แม้แต่ทรัพย์ที่เราขวนขวายแสวงหามา เราก็ยังไม่ทราบว่าจะใช้ทรัพย์นั้นไปในทางใดจึงจะเกิดประโยชน์ ทั้งๆที่พระพุทธเจ้าก็ได้ทรงแสดง เรื่องการใช้ทรัพย์ ไว้ในอังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต อาทิยสูตรที่ ๑ (ข้อ ๔) ๕ ประการ คือ[/SIZE]​

    [SIZE=+0] ๑. ใช้ทรัพย์ที่หามาได้โดยสุจริตชอบธรรม บำรุงเลี้ยงตนเอง บิดา มารดา บุตร ภรรยาและบ่าวไพร่ให้มีความสุข ไม่อดยาก[/SIZE]​

    [SIZE=+0] ๒. ใช้ทรัพย์ที่หามาได้โดยสุจริตชอบธรรม เลี้ยงดูมิตรสหายให้อิ่มหนำสำราญ[/SIZE]​

    [SIZE=+0] ๓. ใช้ทรัพย์ที่หามาได้โดยสุจริตชอบธรรม ป้องกันอันตรายอันเกิดจากไฟ จากน้ำ พระราชา โจร หรือทายาทผู้ไม่เป็นที่รัก เพื่อให้ตนปลอดภัยจากอันตรายนั้นๆ[/SIZE]​

    [SIZE=+0] ๔. ใช้ทรัพย์ที่หามาได้โดยชอบธรรม ทำพลี คือบูชา หรือบำรุงในที่ ๕ สถาน คือ ญาติพลี บำรุงญาติ อติถิพลี ต้อนรับแขก ปุพเปตพลี ทำบุญอุทิศให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ราชพลี บำรุงราชการมีการเสียภาษีอากรเป็นต้น และเทวตาพลี ทำบุญแล้วอุทิศให้แก่เทวดา เพราะว่าเทวดาย่อมคุ้มครองรักษาผู้นั้นด้วยคิดว่า "คนเหล่านี้แม้ไม่ได้เป็นญาติของเราเขาก็ยังมีน้ำใจให้ส่วนบุญแก่เรา เราควรอนุเคราะห์เขาตามสมควร"[/SIZE]​

    [SIZE=+0] ๕. ใช้ทรัพย์ที่หามาได้โดยชอบธรรม บำเพ็ญทักษิณาทานที่มีผลเลิศ เกื้อกูลแก่สวรรค์ มีวิบากเป็นสุข ไว้ในสมณะพราหมณ์ผู้เว้นจากความประมาท มัวเมา ตั้งอยู่ในขันติโสรัจจะเป็นผู้หมั่นฝึกฝนตนให้สงบระงับจากกิเลส ในข้อ ๕ นี้ตรัสสอนให้ใช้ทรัพย์ที่หามาได้ให้ทานแก่ผู้มีศีล ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ ปฏิบัติเพื่อความหมดจดจากกิเลส ผู้เป็นทักขิเณยยบุคคล เพราะทานที่ให้แก่ผู้มีศีลมีผลมาก ทำให้เกิดในสวรรค์ ได้รับความสุขอันเป็นทิพย์ นอกจากนั้นผู้ถวายยังอาจบรรลุคุณวิเศษ เพราะธรรมที่ท่านผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบเหล่านั้นยกมาแสดงให้ฟังได้อีกด้วย ผู้มีปัญญาย่อมไม่เสียดายทรัพย์ที่หมดเปลืองไปเพราะเหตุเหล่านี้ เพราะว่าท่านได้ใช้ทรัพย์นั้นถูกทางแล้วเกิดประโยชน์แก่ตนและผู้อื่นแล้ว โดยเฉพาะทรัพย์คือบุญที่ท่านถวายไว้ในผู้มีศีลเหล่านั้น ยังสามารถติดตามตนไปในโลกหน้าได้อีกด้วย[/SIZE]​

    [SIZE=+0] ควรหรือไม่ที่เราจะใช้ทรัพย์ให้ถูกต้องตามที่พระพุทธองค์ตรัสสอนไว้[/SIZE]​

    [SIZE=+0] และควรหรือไม่ที่เราจะใช้ทรัพย์นั้นจำแนกแจกทาน[/SIZE]​

    [SIZE=+0] ด้วยเหตุนี้ จึงควรที่จะรับรู้เรื่องของทาน ตลอดจนการให้ทานที่ถูกต้องไว้บ้าง เพื่อทานของเราจะได้เป็นทานที่มีผลมาก มีอานิสงส์มาก[/SIZE]​

    [SIZE=+0] คำว่า ทาน ที่แปลว่า การให้ นั้น จัดเป็นบุญเป็นกุศล เป็นความดีอย่างหนึ่ง หมายถึง เจตนาที่เป็นเหตุให้เกิดการให้ก็ได้ หมายถึงวัตถุ คือสิ่งของที่ให้ก็ได้ ทานจึงมีความหมายที่เป็นทั้งนามธรรมและรูปธรรม ถ้าหมายถึงเจตนาที่ให้ก็เป็นนามธรรม ถ้าหมายถึงวัตถุที่ให้ก็เป็นรูปธรรม ในที่นี้จะขอกล่าวถึงทานในความหมายทั้งสองอย่างนี้รวมๆกันไป[/SIZE]​

    [SIZE=+0] เจตนาที่เป็นเหตุให้เกิดการให้ทานนั้น แบ่งตามกาลเวลาได้ ๓ กาล คือ ปุพเจตนา เจตนาที่เกิดขึ้นก่อน คือเมื่อนึกจะให้ ก็แสวงหาตระเตรียมสิ่งที่จะให้นั้นให้พร้อม มุญจเจตนา เจตนาที่เกิดขึ้นในขณะกำลังให้ของเหล่านั้น อปรเจตนา เจตนาที่เกิดขึ้นหลังจากได้ให้เรียบร้อยแล้ว แล้วเกิดความปีติยินดีในการให้ของตน[/SIZE]​

    [SIZE=+0] บุคคลใดที่ทำบุญหรือให้ทานด้วยจิตใจที่โสมนัสยินดี ทั้งประกอบด้วยปัญญา เชื่อกรรมและผลของกรรมครบทั้ง ๓ กาลแล้ว บุญของผู้นั้นย่อมมีผลมาก[/SIZE]​

    [SIZE=+0] เจตนาทั้ง ๓ กาลนี้ เมื่อเกิดขึ้นมาแล้วก็ต้องดับไปเช่นเดียวกับสังขารธรรมอื่นๆ และเมื่อดับไปแล้วสามารถจะส่งผลนำเกิดในสุคติภูมิเป็นมนุษย์และเทวดาได้ ใน พระไตรปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน แสดงความบุพกรรม คือกรรมในชาติก่อนๆ ของผู้ที่สำเร็จเป็นพระอรหันต์ที่เกี่ยวกับทานไว้มากมาย ตัวอย่างเช่น พระอรหันต์รูปหนึ่งในอดีตชาติได้ถวายผลมะกอกผลหนึ่งแก่พระพุทธเจ้าที่ประทับอยู่ในป่าใหญ่ รูปหนึ่งเคยถวายดอกบุนนาค รูปหนึ่งเคยถวายขนม รูปหนึ่งเคยถวายรองเท้า เป็นต้น นับแต่นั้นมาท่านเหล่านั้นไม่เคยเกิดในทุคติภูมิเลย เกิดอยู่แต่ในสุคติภูมิ เป็นมนุษย์และเทวดาเท่านั้น ตราบจนในชาติสุดท้ายได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์[/SIZE]​

    [SIZE=+0] วัตถุทาน คือสิ่งของที่ให้นั้นก็มีหลายอย่าง กล่าวกว้างๆ ก็ได้แก่ปัจจัย ๔ คือ จีวร ซึ่งรวมทั้งเครื่องนุ่งห่มด้วย บิณฑบาต ซึ่งรวมทั้งอาหารเครื่องบริโภคทุกอย่าง เสนาสนะ ที่อยู่อาศัย คิลานเภสัช คือยารักษาโรค [/SIZE]​

    [SIZE=+0] ในโภชนทานสูตร อัง. ปัญจก. ข้อ ๓๗ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ทายกผู้ให้โภชนะเป็นทาน ชื่อว่าให้ฐานะ ๕ อย่างแก่ปฏิคาหก คือ ผู้รับ ๕ อย่าง คือ ๑. ให้อายุ ๒. ให้วรรณะ คือผิวพรรณ ๓. ให้ความสุข คือ สุขกาย สุขใจ ๔. ให้กำลัง คือความแข็งแรงของร่างกาย ๕. ให้ปฏิภาณ คือฉลาดในการตั้งปัญหาและตอบปัญหา[/SIZE]​

    [SIZE=+0] ถ้าจะพูดให้ละเอียดขึ้นไปอีก พระพุทธองค์ก็ทรงจำแนกวัตถุทานไว้ ๑๐ อย่างคือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน (พาหนะ) ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่อยู่ ที่อาศัย และประทีปดวง[/SIZE]​
    [SIZE=+0]
    </PRE>[/SIZE]
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ใน กินททสูตร สัง. สคาถ. ข้อ ๑๓๘ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

    การให้ข้าวและน้ำ ชื่อว่า ให้กำลัง
    การให้ผ้า เครื่องนุ่งห่ม ชื่อว่า ให้ผิวพรรณ
    การให้ยานพาหนะ ชื่อว่า ให้ความสุขทั้งกายและใจ
    การให้ประทีบดวงไฟ ชื่อว่าให้ดวงตา
    การให้ที่อยู่อาศัย ชื่อว่า ให้ทุกอย่าง คือให้กำลัง ให้ผิวพรรณ ให้ความสุข และให้ดวงตา

    แต่การพร่ำสอนธรรม คือการให้ธรรมะ ชื่อว่าให้สิ่งที่ไม่ตาย เพราะบุคคลจะพ้นจากความตาย
    ไม่ต้องเกิดอีกได้ ก็เพราะอาศัยการได้สดับตรับฟังธรรม ด้วยเหตุนี้พระพุทธองค์จึงตรัสว่า

    การให้ธรรมะชนะการให้ (สิ่งอื่น) ทั้งปวง แม้การจะทำทานให้ถูกต้องก็ต้องอาศัยการฟังธรรม

    ใน วนโรปสูตร สัง สคาถ. ข้อ ๑๔๖ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบเทวดาที่มาทูลถามว่า ชนพวก
    ไหนมีบุญเจริญในกาลทุกเมื่อ ทั้งกลางวันและกลางคืน ชนพวกไหนตั้งอยู่ในธรรมสมบูรณ์ด้วยศีล เป็นผู้ไป
    สวรรค์ ด้วยข้อความว่า
    ชนเหล่าใดสร้างอาราม (คือสวนดอกไม้ สวนผลไม้) ปลูกหมู่ไม้ (เพื่อให้ร่มเงา) สร้างสะพาน
    และชนเหล่าใดให้โรงน้ำดื่มเป็นทาน บ่อน้ำ บ้านเป็นที่พักอาศัย ชนเหล่านั้นย่อมมีบุญเจริญในกาลทุกเมื่อ
    ทั้งกลางวันและกลางคืน ชนเหล่านั้นตั้งอยู่ในธรรม สมบูรณ์ด้วยศีล เป็นผู้ไปสวรรค์

    ซึ่งมีความหมายว่า ชนเหล่าใดทำกุศลมีการสร้างอารามเป็นต้น เหล่านี้ เมื่อระลึกถึงการทำกุศลนั้น
    ในกาลใด ในกาลนั้นบุญย่อมเจริญ คือเพิ่มขึ้น และเมื่อชนเหล่านั้นตั้งอยู่ในธรรม คือกุศลธรรม ๑๐ มีการไม่
    ฆ่าสัตว์ เป็นต้น ย่อมเป็นผู้มีศีลสมบูรณ์ ละโลกนี้ไปแล้วย่อมเกิดในสวรรค์

    นอกจากนั้น เจตนาที่เป็นเครื่องงดเว้นจากปาณาติบาต เป็นต้น พระพุทธองค์ก็ตรัสว่าเป็น
    มหาทาน
    เป็นทานที่ยิ่งใหญ่ดังที่ตรัสไว้ในปุญญาภิสันทสูตร อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต ข้อ ๑๒๙ ว่า

    การงดเว้นจากปาณาติบาต คือการไม่ฆ่าสัตว์ทั้งด้วยตนเองและใช้ผู้อื่น เป็นการให้ความไม่มีเวร
    ไม่มีภัยแก่สัตว์ทั้งหลาย เป็นการให้ความปลอดภัยแก่ชีวิตสัตว์

    การงดเว้นจากอทินนาทาน คือการถือเอาของที่เจ้าของเขามิได้ให้ทั้งโดยตนเอง และใช้ผู้อื่น
    เป็นการให้ความปลอดภัยแก่ทรัพย์สินของผู้อื่น

    การงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร คือการประพฤติผิดในบุตร ภรรยา สามีของผู้อื่น ชื่อว่า ให้ความ
    บริสุทธิ์แก่บุตร ภรรยา สามีของผู้อื่น

    การงดเว้นจากมุสาวาท คือการกล่าวเท็จ กล่าวไม่จริงชื่อว่าให้ความจริงแก่ผู้อื่น

    การงดเว้นจากสุรา เมรัย และของมึนเมา เสพติด อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ชื่อว่าให้ความ
    ปลอดภัยแก่ทุกสิ่ง คือให้ความปลอดภัยแก่ชีวิตสัตว์ แก่ทรัพย์สินของผู้อื่น แก่บุตร ภรรยา สามีของผู้อื่น
    และให้แต่คำพูดที่เป็นจริงแก่ผู้อื่น ทั้งนี้เพราะผู้ที่มึนเมาแล้วย่อมขาดสติ เป็นผู้ประมาท สามารถจะประพฤติ
    ล่วงศีลได้ทุกข้อ รวมทั้งประพฤติผิดอื่นๆด้วย ด้วยเหตุนี้ผู้ที่อัตคัตขาดแคลนทรัพย์สิ่งของที่จะนำออกให้เป็น
    ทานก็ไม่ควรเดือดร้อนใจ เพราะเราสามารถจะบำเพ็ญทานที่ยิ่งใหญ่เป็นมหาทาน เป็นทานที่ไม่เจาะจง
    เป็นทานที่แผ่ไปยังสัตว์ทั้งหลายหาประมาณมิได้ ด้วยการรักษาศีล ๕ ยิ่งถ้าสามารถจะทำได้ทั้งสองอย่างก็
    ยิ่งประเสริฐ

    ขอกล่าวถึง ทาน ที่พระพุทธเจ้าตรัสเรียกว่า ทานของอสัตบุรุษและทานของสัตบุรุษ ตามที่แสดง
    ไว้ใน อสัปปุริสสูตร และ สัปปุริสสูตร อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ดังต่อไปนี้

    ทานของอสัตบุรุษ คือทานของคนไม่ดี มีอยู่ ๕ อย่าง คือ ให้โดยไม่เคารพ ๑ ให้โดยไม่ยำเกรง ๑
    ไม่ให้ด้วยมือของตนเอง ๑ ให้โดยทิ้งขว้าง ๑ ไม่เห็นผลในอนาคตแล้วให้ ๑

    ส่วน สัตบุรุษ ย่อมให้ทานโดยเคารพ ๑ ให้โดยยำเกรง ๑ ให้ด้วยมือของตนเอง ๑ ให้โดยไม่ทิ้ง
    ขว้าง ๑ เห็นผลในอนาคตจึงให้ ๑

    อีกนัยหนึ่ง แสดงว่า ทานของสัตบุรุษ มี ๕ อย่าง คือให้ทานโดยศรัทธา ๑ ให้ทานโดยเคารพ ๑
    ให้ทานตามกาลอันควร ๑ เป็นผู้มีจิตคิดอนุเคราะห์ให้ทาน ๑ ให้ทานโดยไม่กระทบตนและผู้อื่น ๑ ถ้าตรง
    ข้ามกับ ๕ ข้อนี้ก็ชื่อว่าเป็นทานของอสัตบุรุษ



    <CENTER><BIG>ทานของสัตบุรุษนัยที่ ๑</BIG></CENTER>
    ๑. ให้ทานโดยเคารพ คือให้โดยความเต็มใจ ไม่ได้ให้ด้วยความเกรงกลัวหรือจำใจให้ เวลาให้
    ก็ให้ด้วยกิริยาที่นอบน้อมยิ้มแย้มแจ่มใส

    ๒. ให้ทานโดยยำเกรง คือเคารพในทานของตนและเคารพในผู้รับ การเลือกให้แต่ของดี ของมี
    ประโยชน์ ของสะอาดมีรสดี เป็นต้น ชื่อว่าเคารพทานของตน อีกประการหนึ่งผู้ที่ให้ของที่พอใจ ย่อมได้ของที่
    พอใจ ผู้ที่ให้ของที่เลิศ ย่อมได้ของที่เลิศ ผู้ที่ให้ของที่ดี ย่อมได้ของดี ผู้ที่ให้ของที่ประเสริฐย่อมเข้าถึงสถานที่
    ประเสริฐ นรชนใดให้ของที่เลิศ ให้ของที่ดี ให้ของที่ประเสริฐ นรชนนั้นจะบังเกิดในที่ใดๆ ย่อมมีอายุยืน มียศ
    นี้เป็นพระดำรัสของพระพุทธเจ้า

    การเลือกผู้รับที่สมควรแก่ของ และเลือกผู้รับที่เป็นผู้มีศีล มีคุณธรรม ชื่อว่า เคารพในผู้รับ ข้อนี้
    มิได้หมายความว่าถ้าผู้รับเป็นสัตว์ดิรัจฉาน หรือเป็นผู้ไม่มีศีลแล้ว ไม่ต้องให้ ควรให้ทั้งสิ้น แต่ของที่ดี ของที่
    ประณีต ของที่สะอาด มีรสเลิศ ย่อมสมควรแก่ผู้รับที่เลิศ คือผู้ที่ประพฤติปฏิบัติธรรม ผู้มีศีลยิ่งกว่าผู้อื่น ยิ่งให้
    แก่ผู้มีศีลจำนวนมากเป็นประโยชน์สุขแก่ผู้มีศีลจำนวนมาก ที่เรียกว่า สังฆทาน ยิ่งมีผลมากจนประมาณไม่
    ได้ว่าเท่านั้นเท่านี้ชาติ

    ๓. ให้ด้วยมือของตน ข้อนี้หมายความว่า เวลานี้เราเป็นมนุษย์ มีมือ มีเท้า มีอวัยวะครบบริบูรณ์
    เราจึงควรทำทานนั้นด้วยมือตนเอง ไม่ควรใช้ผู้อื่นทำแทนอยู่เสมอๆ ถ้าจะใช้ก็ควรใช้เป็นบางครั้งบางคราว
    ในเวลาจำเป็น นอกจากนั้นแล้วควรทำทานด้วยมือของตนเอง เพราะนอกจากจะทำให้เกิดเจตนาที่เป็นบุญ
    ในขณะที่กำลังให้แล้ว ในวัฏฏะอันยาวนานนี้ เราไม่อาจทราบได้ว่าเราจะเกิดเป็นคนมือขาดเท้าขาดเมื่อใด
    ถ้าเราเกิดเป็นคนมือขาดแล้ว แม้ของมีอยู่และเราอยากให้ทานด้วยมือของเราเอง เราจะให้ได้อย่างไร นอก
    จากจะอาศัยผู้อื่นทำแทนเท่านั้น

    ๔. ให้โดยไม่ทิ้งขว้าง ข้อนี้หมายถึงไม่ทิ้งขว้างการให้ คือให้อยู่โดยสม่ำเสมอ ให้อยู่เป็นประจำ

    ๕. เห็นผลในอนาคตจึงให้ หมายความว่า ให้เพราะเชื่อว่า ทานมีจริง ผลของทานมีจริง ทาน
    ทำให้เกิดในสวรรค์ได้จริง แม้เกิดเป็นมนุษย์ก็เป็นผู้มั่งคั่งบริบูรณ์ด้วยทรัพย์สิน หรือเชื่อว่าทานเป็นการขัด
    เกลาความตระหนี่ เป็นบันไดก้าวไปสู่สวรรค์และมรรคผล นิพพานได้ สัตบุรุษท่านเชื่ออย่างนี้จึงให้ทาน

    ถ้าเป็นทานของอสัตบุรุษ ก็มีนัยตรงข้ามกับที่กล่าวนี้



    <CENTER><BIG>ทานของสัตบุรุษนัยที่ ๒</BIG></CENTER>
    ๑. ให้ทานโดยศรัทธา ผู้ที่เป็นสัตบุรุษ คือคนดีทั้งหลายนั้นย่อมให้ทานเพราะเชื่อกรรม และผล
    ของกรรมว่ามีจริงจึงให้ ครั้นให้แล้วย่อมเป็นผู้มั่งคั่งมีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และเป็นผู้มีรูปงาม น่าดูน่าเลื่อม
    ใส มีผิวพรรณงดงามในที่ๆ ทานนั้นเผล็ดผล

    ๒. ให้ทานโดยเคารพ คือ ให้ด้วยกิริยาที่เคารพ นอบน้อม ครั้นให้แล้วย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์
    มาก มีโภคะมาก และเป็นผู้มีบุตร ภรรยา ทาส และคนใช้หรือคนงาน เป็นผู้เคารพเชื่อฟัง สนใจสดับรับ
    ฟังคำสั่ง ตั้งใจใคร่รู้ในที่ๆ ทานนั้นเผล็ดผล

    ๓. ให้ทานตามกาลอันควร ครั้นให้แล้ว ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และย่อม
    เป็นผู้มีความต้องการที่เกิดขึ้นตามกาลบริบูรณ์ ในที่ๆ ทานนั้นเผล็ดผล คือ เป็นผู้มีทรัพย์มาตั้งแต่วัยเด็ก
    สามารถจะนำทรัพย์สินนั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ในขณะที่ยังมีกำลังวังชาแข็งแรง สติปัญญาเฉียบแหลม
    ไม่ใช่ได้ทรัพย์มาเมื่อหมดกำลังกายและกำลังปัญญาจะนำทรัพย์สินนั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์แล้ว

    กาลทาน หรือทานที่ให้ในกาลอันควรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงไว้ใน กาลทานสูตร
    อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ว่ามีอยู่ ๕ อย่าง คือ

    ๑. อาคันตุกะทาน คือทานที่ให้แก่ผู้มาสู่ถิ่นของตน หมายความว่าผู้นั้นเป็นผู้มาใหม่ ยังไม่รู้จัก
    สถานที่และบุคคลในถิ่นนั้น เราก็ช่วยสงเคราะห์ให้ที่พักหรือข้าวของต่างๆ เพื่อให้เขาได้รับความสะดวกสบาย
    แม้พระภิกษุที่จรมาจากที่อื่น ท่านยังไม่รู้จักทางที่จะไปบิณฑบาตเป็นต้น ภิกษุที่อยู่ก่อนหรืออุบาสก อุบาสิกา
    ก็ช่วยอนุเคราะห์ท่าน ด้วยการถวายอาหารบิณฑบาต และของใช้ที่จำเป็นแก่สมณะ ทำให้ท่านได้รับความ
    สะดวกสบายไม่เดือดร้อน อย่างนี้จัดเป็น อาคันตุกะทาน และเป็นกาลทาน

    ๒. คมิกะทาน คือทานที่ให้แก่ผู้เตรียมตัวจะไป หมายความว่า ให้แก่บุคคลที่เตรียมตัวจะไปยัง
    ถิ่นอื่น สัตบุรุษย่อมสงเคราะห์คนที่จะเดินทางไปนั้น ด้วยค่าพาหนะ หรือด้วยยานพาหนะ ตลอดจนเครื่อง
    อุปโภคบริโภคที่สมควร

    ๓. ทุพภิกขทาน คือ ทานที่ให้ในสมัยข้าวยากหมากแพง ผู้คนอดอยาก ได้รับความเดือดร้อน
    แม้ในสมัยที่น้ำท่วม ไฟไหม้ ผู้คนเดือดร้อนไร้ที่อยู่ การให้ที่พักอาศัย และข้าวของ เครื่องใช้ข้าวปลาอาหาร
    ในเวลานั้น ก็จัดเป็นกาลทาน

    ๔. นวสัสสะทาน การให้ข้าวใหม่แก่ผู้มีศีล
    ๕. นวผละทาน การให้ผลไม้ใหม่แก่ผู้มีศีล

    ที่ข้อ ๔ และข้อ ๕ จัดเป็นกาลทาน เพราะข้าวใหม่ก็ดีผลไม้ที่ออกใหม่ตามฤดูกาลก็ดี มิใช่ว่า
    จะมีอยู่เสมอตลอดปี มีเป็นครั้งเป็นคราวตามฤดูกาลเท่านั้น สัตบุรุษย่อมนำข้าวใหม่และผลไม้ที่เพิ่งออกใหม่
    ถวายแก่พระภิกษุสงฆ์ผู้ทรงศีล แล้วจึงบริโภคเองต่อภายหลัง ท่านที่เคยมีชีวิตอยู่ในชนบทคงจะเคยพบเห็น
    ว่า เวลาที่ข้าวออกรวงเป็นน้ำนม ชาวนาก็จะเก็บเอารวงข้าวอ่อนมาทำเป็นข้าวยาคูถวายพระ ข้าวแก่อีกนิด
    ก็เอามาทำเป็นข้าวเม่า ข้าวสุกแล้วก็เอามาสีเป็นข้าวสารหุง ถวายพระภิกษุผู้ทรงศีลก่อน แม้ชาวสวนเมื่อ
    ผลไม้แก่จัดเขาก็จะเก็บเอามาถวายพระเสียก่อน แล้วจึงนำออกขายหรือบริโภคเอง คนที่มิใช่ชาวนาชาวสวน
    บางคน เมื่อเห็นข้าวใหม่หรือผลไม้ออกใหม่วางขายตามตลาด ก็ซื้อมาแบ่งถวายพระเสียก่อนแล้วจึงบริโภค
    นับว่าท่านเหล่านี้ ได้ทำบุญของท่านถูกกาละเทศะเป็นอย่างยิ่ง ตรงต่อคำสอนของพระบรมศาสดา ในข้อ
    กาลทาน

    บางแห่งท่านรวมเอาการให้ข้าวใหม่ และการให้ผลไม้ใหม่ไว้เป็นข้อเดียวกัน แล้วเพิ่ม คิลานทาน
    คือ การให้ทานแก่คนเจ็บไข้ไร้ที่พึ่ง ด้วยยา และอาหารเป็นต้น ซึ่งคิลานทาน นี้ก็สมควรจะเป็นกาลทานได้
    เช่นกัน

    เพราะเหตุที่กาลทาน เป็นทานที่ให้ในเวลาจำกัดทำไม่ได้โดยสม่ำเสมอ พระผู้มีพระภาคเจ้า
    จึงตรัสว่าเป็นทานที่มีผลมาก ยิ่งให้ในผู้มีศีลผู้ประพฤติตรงยิ่งมีผลมาก แม้บุคคลผู้อนุโทนาต่อทานของผู้นั้น
    หรือช่วยเหลือให้ทานของผู้นั้นสำเร็จผล ก็ได้รับผล ทั้งบุญของผู้ให้ก็ไม่บกพร่อง เพราะฉะนั้นบุคคลจึงควร
    ยินดีในการให้ทาน ทานที่บุคคลให้แล้วย่อมมีผลมาก ทั้งยังติดตามไปเป็นที่พึ่งแก่เขาในโลกหน้าด้วย

    ๔. มีจิตคิดอนุเคราะห์จึงให้ หมายความว่า สัตบุรุษนั้นเมื่อเห็นผู้ใดได้รับความลำบาก ขาด
    แคลนสิ่งใด ก็มีจิตคิดช่วยเหลือคนเหล่านั้นด้วยความเต็มใจ โดยไม่หวังผลตอบแทนโดยไม่คิดว่าเมื่อเรา
    ช่วยเหลือเขาแล้ว เขาจะต้องตอบแทนคุณของเรา แต่ช่วยเหลือเพราะต้องการให้คนเหล่านั้นได้รับความสุข
    สบาย ครั้นให้แล้วย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีโภคะมาก และเป็นผู้มีจิตน้อมไปเพื่อบริโภคกามคุณ ๕ ที่สูงๆที่ประณีต
    ที่เป็นของดียิ่งๆ ขึ้นไปในที่ที่ทานนั้นเผล็ดผล

    ๕. ให้ทานโดยไม่กระทบตนและผู้อื่น หมายความว่าไม่กระทบคุณงามความดีของตน และ
    ไม่กระทบคุณงามความดีของผู้อื่น บางคนเคยทำทานด้วยทรัพย์สินและเงินทองครั้งละมากๆ แต่บางคนก็ทำ
    เพียงครั้งละเล็กๆ น้อยๆ ตามฐานะของตน คนที่ทำมากบางคนทำแล้วก็ชอบข่มคนอื่น ชอบกล่าววาจาดูถูก
    ผู้อื่นที่ทำน้อยกว่า เป็นการยกตนข่มท่านอย่างนี้ชื่อว่าทำให้คุณงามความดีของตนลดน้อยลง

    เพราะอะไร
    เพราะเราอุตส่าห์ละความตระหนี่ นำทรัพย์สินเงินทองออกทำบุญให้ทาน แต่แล้วเราก็กลับทำลาย
    ความดีของเราเองด้วยการเพิ่มกิเลส คือดูถูก ดูหมิ่นผู้อื่น ทั้งผู้ที่ทำบุญให้ทานน้อยนั้นเกิดได้ยินคำพูดอันไม่
    เพราะหูนั้นเข้า ถ้าเขาขาดโยนิโสมนสิการ จิตใจที่เป็นกุศลของเขาก็ดับวูบลง แล้วอกุศลคือความโทมนัสเสีย
    ใจก็จะเกิดขึ้นแทน อย่างนี้ชื่อว่าทำลาย คุณงามความดีของผู้อื่น ทำให้ผู้อื่นเสื่อมจากคุณความดี คือกุศลที่มี
    อยู่ หรือบางคนเป็นผู้รักษาศีล ๕ โดยเคร่งครัดแต่ได้ให้สุรายาเมาเป็นทานแก่ผู้อื่นไม่ว่าจะด้วยกรณีใดๆ ก็
    ตามทำให้ผู้รับมึนเมา ขาดสติ สามารถจะกระทำบาปอกุศลต่างๆ มีการฆ่าสัตว์เป็นตนได้ อย่างนี้ก็เป็นการ
    ให้ที่กระทบความดีของตนและผู้อื่นเช่นกัน เพราะเราเป็นผู้มีศีลอยู่แล้ว แทนที่จะชักชวนคนอื่นให้เขามีศีล
    อย่างเรา กลับทำให้เขาเสื่อมเสียจากศีล ทานอย่างนี้สัตบุรุษท่านไม่กระทำ สัตบุรุษครั้นให้ทานโดยไม่กระทบ
    ตนและผู้อื่นแล้ว ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และโภคทรัพย์นั้น ย่อมไม่เป็นอันตรายจากไฟ
    จากน้ำ จากพระราชา จากทายาทหรือจากคนที่ไม่เป็นที่รักในที่ๆ ทานนั้นให้ผล

    นี่คือการให้ทานของสัตบุรุษ ถ้าตรงกันข้ามก็เป็นทานของอสัตบุรุษ
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ ถ้าไม่มีเหตุ ผลก็เกิดไม่ได้ทั้งเหตุก็สมควรแก่ผลด้วย คือเหตุดี ผลต้องดี
    เหตุชั่วผลต้องชั่ว ไม่ใช่เหตุดีแล้วผลชั่ว หรือเหตุชั่วแล้วผลดี ถ้าเป็นอย่างนั้นเหตุก็ไม่สมควรแก่ผล สัตบุรุษ
    ท่านทำเหตุ คือทานของท่านดีผลที่ได้รับก็ต้องดีเป็นธรรมดา

    ใน อิสสัตถสูตร สัง. สคาถ. ข้อ ๔๐๕ พระเจ้าปเสนทิโกศล ได้กราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลควรให้ทานในที่ไหน

    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า มหาบพิตร ควรให้ทานในที่ที่จิตเลื่อมใส คือจิตเลื่อมใสในที่ใด
    ในบุคคลใด ควรให้ในที่นั้น ในบุคคลนั้น

    พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลถามต่อไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทานที่ให้แล้วในที่ไหนจึงมีผลมาก
    พระเจ้าข้า

    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ทานที่ให้แล้วแก่ท่านผู้มีศีล มีผลมาก ให้ในท่านผู้ไม่มีศีล
    หามีผลมากไม่

    เพราะฉะนั้น การให้ทานในที่ใด จึงเป็นอย่างหนึ่ง ที่นั้นมีผลมากหรือไม่ เป็นอีกอย่างหนึ่ง

    ด้วยเหตุนี้ หากบุคคลที่ท่านเลื่อมใสเป็นผู้มีศีลทานของท่านย่อมมีผลมาก ยิ่งผู้มีศีลนั้นเป็นผู้
    ละกิเลสทั้งปวงได้แล้ว เป็นพระอรหันตขีณาสพแล้ว ทานของท่านที่ถวายในท่านผู้มีศีลนั้น ด้วยจิตผ่องใส
    ยิ่งมีผลมาก

    ถึงแม้พระผู้มีพระภาคเจ้า จะทรงแสดงว่า ควรให้ทานในผู้ที่ท่านเลื่อมใส และมีศีลก็จริง
    แต่พระองค์ก็มิได้ทรงสอนให้ละเลยบุคคลที่ท่านมิได้เลื่อมใส ตลอดจนสัตว์เดรัจฉาน ยาจก วณิพก
    เป็นต้นเสีย เพราะเห็นว่าได้ผลน้อย ทั้งนี้เพราะขึ้นชื่อว่าบุญแล้วแม้เล็กน้อย ก็ไม่ควรประมาท ปล่อย
    ให้ผ่านไปโดยไม่สนใจ ด้วยว่าน้ำที่หยดลงในตุ่มทีละหยด ก็ยังเต็มตุ่มได้ ฉันใด บุญที่ว่าเล็กน้อยนั้น
    เมื่อสะสมไว้บ่อยๆ เนืองๆ ก็เป็นบุญมากได้ฉันนั้น

    พระพุทธองค์ตรัสว่า การสาดน้ำล้างภาชนะลงไปในบ่อน้ำครำ ด้วยเจตนาที่จะให้สัตว์
    ที่อาศัยอยู่ในที่เหล่านั้นได้รับความสุข ก็ยังมีอานิสงส์ไม่น้อย จะป่วยกล่าวไปไยกับการให้ทาน
    ในผู้มีศีล หรือในบุคคลหมู่มากที่ประพฤติปฏิบัติตรง ทั้งโดยเจาะจงและไม่เจาะจง

    ใน ทักขิณาวิภังคสูตร มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงจำแนกอานิสงส์
    ของทานที่ให้โดยเจาะจงและไม่เจาะจงไว้ตามลำดับขั้น ถึง ๒๑ ประเภท คือ

    ๑. ให้ทานแก่ดิรัจฉาน มีอานิสงส์ร้อยชาติ คือ ให้อายุ วรรณะ สุขะ พละ และปฏิภาณ
    ถึง ๑๐๐ ชาติ
    ๒. ให้ทานแก่ปุถุชนทุศีล มีอานิสงส์พันชาติ
    ๓. ให้ทานแก่ปุถุชนผู้มีศีล มีอานิสงส์แสนชาติ
    ๔. ให้ทานแก่ปุถุชนผู้ปราศจากความยินดีในกาม นอกพุทธศาสนา อย่างพวกนักบวชหรือฤาษี
    ที่ได้ฌานเป็นต้น แม้ไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนา ก็ยังมีอานิสงส์ถึงแสนโกฏิชาติ

    สี่ประเภทนี้เป็นปาฏิปุคคลิกทาน เป็นทานที่ให้โดยเจาะจง คือให้แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งโดย
    เฉพาะ และมีผลจำกัด ยังมีปาฏิปุคคลิกทานที่มีผลไม่จำกัด คือให้ผลนับประมาณชาติไม่ได้ มากน้อย
    ตามลำดับขึ้นอีก ๑๐ ประเภท ดังต่อไปนี้

    ๑. ให้ทานแก่บุคคลผู้ปฏิบัติ เพื่อทำให้แจ้งซึ่ง โสดาปัตติผล
    ๒. ให้ทานแก่พระโสดาบันบุคคล คือผู้ที่บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว
    ๓. ให้ทานแก่บุคคลผู้ปฏิบัติ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล
    ๔. ให้ทานแก่พระสกทาคามีบุคคล
    ๕. ให้ทานแก่บุคคลผู้ปฏิบัติ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล
    ๖. ให้ทานแก่พระอนาคามีบุคคล
    ๗. ให้ทานแก่บุคคลผู้ปฏิบัติ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล
    ๘. ให้ทานแก่พระอรหันต์
    ๙. ให้ทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า
    ๑๐. ให้ทานแก่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

    รวมเป็นปาฏิปุคคลิกทาน คือทานที่ให้โดยเจาะจง ๑๔ ประเภท ใน ๑๔ ประเภทนี้
    ประเภทที่ ๑ มีผลน้อยที่สุด ประเภทที่ ๑๔ มีผลมากที่สุด

    ทานที่ให้โดยไม่เจาะจงผู้ใดผู้หนึ่งที่เรียกว่า สังฆทาน มี ๗ อย่าง

    ๑. ให้ทานในสงฆ์ ๒ ฝ่าย (คือภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์) มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข
    ๒. ให้ทานในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ในเมื่อพระตถาคตปรินิพพานไปแล้ว
    ๓. ให้ทานในภิกษุสงฆ์
    ๔. ให้ทานในภิกษุณีสงฆ์
    ๕. ให้ทานในบุคคลที่ขอมาจากสงฆ์ ๒ ฝ่าย ด้วยคำว่าขอได้โปรดจัดภิกษุและภิกษุณีจำนวน
    เท่านี้ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า
    ๖. ให้ทานในบุคคลที่ขอมาจากภิกษุสงฆ์ ด้วยคำว่าขอได้โปรดจัดภิกษุจำนวนเท่านี้ขึ้นเป็น
    สงฆ์แก่ข้าพเจ้า
    ๗. ให้ทานในบุคคลที่ขอมาจากภิกษุณีสงฆ์ ด้วยคำว่าขอได้โปรดจัดภิกษุณีสงฆ์จำนวนเท่า
    นี้ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า

    สังฆทานทั้ง ๗ อย่างนี้ ปัจจุบันเราทำได้เพียง ๒ อย่าง คือให้ทานในภิกษุสงฆ์ และให้ทาน
    ในบุคคลที่ขอมาจากภิกษุสงฆ์เท่านั้นเพราะพระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้ว ภิกษุณีสงฆ์ก็สูญวงศ์แล้ว

    ขึ้นชื่อว่าสังฆทานย่อมมีผลมาก มากจนประมาณไม่ได้ว่าเท่านั้นเท่านี้ชาติ แม้ในอนาคตกาล
    จักมีแต่ โคตรภูภิกษุ มีผ้ากาสาวะพันที่คอ หรือผูกข้อมือ เป็นคนทุศีล มีธรรมลามก พระพุทธองค์
    ก็ยังตรัสว่า คนทั้งหลายจักถวายทานเฉพาะสงฆ์ได้ในเหล่าภิกษุทุศีลนั้น ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์
    แม้ในเวลานั้นก็มีผลนับประมาณไม่ได้ ปาฏิปุคคลิกทานจะมีผลมากกว่าสังฆทาน คือทักษิณาที่ถึง
    แล้วในสงฆ์แม้โคตรภูสงฆ์ หาเป็นไปได้ไม่

    แต่ว่าสังฆทาน จะเป็นสังฆทานได้ก็ต่อเมื่อผู้ถวายมีความเคารพยำเกรงต่อสงฆ์เท่านั้น
    วางใจในสงฆ์เสมอเหมือนกันหมด ไม่ยินดีเมื่อได้พระหรือสามเณรที่ชอบใจ หรือไม่ยินร้ายเมื่อได้พระหรือ
    สามเณรที่ไม่ชอบใจ หรือต้องการผู้แทนของสงฆ์ที่เป็นพระเถระ แต่ได้พระนวกะหรือสามเณรก็เสียใจ หรือ
    ได้พระเถระผู้ใหญ่ก็ดีใจอย่างนี้ ทานของผู้นั้นก็ไม่เป็นสังฆทานเพราะขาดความเคารพในสงฆ์ หรือผู้แทนที่
    สงฆ์ส่งไปในนามของสงฆ์ ด้วยเหตุนี้การถวายสังฆทานที่ถูกต้องจึงทำได้ไม่ง่ายนัก

    ในทางพระวินัย ภิกษุ ๔ รูปขึ้นไป จึงเรียกว่า สงฆ์แต่การถวายไทยธรรมแก่ภิกษุแม้รูปเดียว
    ที่สงฆ์จัดให้เป็นองค์แทนของสงฆ์ ก็จัดเป็นสังฆทาน
    เหมือนกัน ดังมีเรื่องเล่าไว้ใน อรรถกถาปปัญจสูทนี
    ภาค ๓ (หน้า ๗๑๗) อรรถกถาทักขิณาวิภังคสูตร ว่า

    กุฎุมพี คือ เศรษฐีคนหนึ่งเป็นเจ้าของวัดวัดหนึ่ง ได้ไปขอภิกษุรูปหนึ่งมาจากสงฆ์ ด้วยคำว่า
    ขอพระคุณเจ้าทั้งหลายจงให้ภิกษุรูปหนึ่งจากสงฆ์แก่ข้าพเจ้า แม้เขาจะได้ภิกษุทุศีลรูปหนึ่งเขาก็ปฏิบัติต่อ
    ภิกษุรูปนั้นด้วยความเคารพนอบน้อม ตกแต่งเสนาสนะและเครื่องบูชาสักการะพร้อม ล้างเท้าให้ภิกษุนั้น
    เอาน้ำมันทาเท้าให้ แล้วถวายไทยธรรมด้วยความเคารพยำเกรงต่อสงฆ์เหมือนกับบุคคลเคารพยำเกรงต่อ
    พระพุทธเจ้า ภิกษุรูปนั้นฉันภัตตาหารแล้วก็กลับวัด หลังจากนั้นได้กลับมาขอยืมจอบที่บ้านของกุฎุมพีนั้น
    อีกครั้งหนึ่ง คราวนี้กุฎุมพีเอาเท้าเขี่ยจอบให้ คนที่เห็นกิริยาของกุฎุมพีนั้นก็ถามว่า เมื่อเช้านี้ท่านถวายทาน
    แก่ภิกษุรูปนี้ด้วยความเคารพนบนอบอย่างยิ่ง แต่บัดนี้แม้สักว่ากิริยาที่เคารพก็ไม่มี กุฎุมพีตอบว่า
    เมื่อเช้านี้เราเคารพยำเกรงต่อสงฆ์ เราหาได้เคารพยำเกรงต่อภิกษุรูปนี้เป็นส่วนตัวไม่

    การถวายทานในสงฆ์ที่เรียกว่าสังฆทานนั้น คำว่า สงฆ์ ท่านมุ่งเอา พระอริยสงฆ์ คือ
    พระโสดาปัตติมรรค พระโสดาปัตติผล พระสกทาคามิมรรค พระสกทาคามิผล พระอนาคามิมรรค พระ
    อนาคามิผล พระอรหัตตมรรค และพระอรหัตตผล รวมเป็น ๔ คู่ ๘ บุคคล หาได้หมายเอาสมมุติสงฆ์ไม่
    ทั้งนี้เพราะพระอริยสงฆ์นั้นเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุปฏิปันโน คือ ปฏิบัติดี อุชุปฏิปันโน ปฏิบัติ
    ตรง ญายปฏิปันโน ปฏิบัติแล้วเพื่อญายธรรม สามีจิปฏิปันโน ปฏิบัติชอบ ทั้งพระอริยสงฆ์เหล่านั้นยังเป็น
    อาหุเนยโย คือ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาบูชา ปาหุเนยโย เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาต้อนรับ
    ทักขิเณยโย เป็นผู้ควรแก่ไทยธรรมที่เขานำมาถวายด้วยศรัทธา อัญชลีกรณีโย เป็นผู้ควรแก่การกระทำ
    อัญชลี อนุตตรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ เป็นนาบุญอันเยี่ยมของโลก ไม่มีนาบุญอื่นที่ยิ่งกว่า


    [SIZE=+0]
    ใน ขุ. วิมานวัตถุ ทัททัลลวิมาน ข้อ ๓๔ กล่าวถึง อานิสงส์ของสังฆทานว่า มากกว่า ทานธรรมดาดังนี้​
    [/SIZE]

    [SIZE=+0] นางภัททาเทพธิดาผู้พี่สาว ได้ถามนางสุภัททาเทพธิดาผู้น้องสาวว่า ท่านรุ่งเรืองด้วยรัศมี ทั้งเป็นผู้เรืองยศ ย่อมรุ่งโรจน์ล่วงเทพเจ้าชาวดาวดึงส์ทั้งหมดด้วยรัศมี ดิฉันไม่เคยเห็นท่าน เพิ่งจะมาเห็นในวันนี้เป็นครั้งแรก ท่านมาจากเทวโลกชั้นไหน จึงมาเรียกดิฉันด้วยชื่อเดิมว่า ภัททา ดังนี้เล่า[/SIZE]​

    [SIZE=+0] นางสุภัททาเทพธิดาผู้น้องสาวตอบว่า ข้าแต่พี่ภัททา ฉันชื่อว่าสุภัททา ในภพก่อนครั้งยังเป็นมนุษย์อยู่ ดิฉันได้เป็นน้องสาวของพี่ ทั้งได้เคยเป็นภริยาร่วมสามีเดียวกับพี่ด้วย ดิฉันตายจากมนุษย์โลกนั้นมาแล้ว ได้มาแล้วเกิดเป็นเทพธิดาประจำสวรรค์ ชั้นนิมมานรดี[/SIZE]​

    [SIZE=+0] นางภัททาเทพธิดา ถามต่อไปว่า ดูก่อนแม่สุภัททา ขอเธอได้บอกการอุบัติของเธอในหมู่เทพเจ้าเหล่านิมมานรดี ซึ่งเป็นที่ ๆ สัตว์ได้สั่งสมบุญกุศลไว้มากแล้วจึงได้มาบังเกิด เธอได้มาเกิดในที่นี้ เพราะทำบุญกุศลสิ่งใดไว้ และใครเป็นครูแนะนำสั่งสอนเธอ เธอเป็นผู้เรืองยศ และถึงความสุขพิเศษไพบูลย์ถึงเช่นนี้ เพราะได้ให้ทานและรักษาศีลเช่นไรไว้ ดูก่อนแม่เทพธิดา ฉันถามเธอแล้ว นี่เป็นผลของกรรมอะไร โปรดตอบฉันด้วย[/SIZE]​

    [SIZE=+0] นางสุภัททาเทพธิดา ตอบว่า เมื่อชาติก่อน ดิฉันมีใจเลื่อมใส ได้ถวายบิณฑบาต ๘ ที่แก่สงฆ์ผู้เป็นทักขิไณยบุคคล ๘ รูป ด้วยมือของตน เพราะบุญกรรมนั้น ดิฉันจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรมนั้น[/SIZE]​

    [SIZE=+0] นางภัททาเทพธิดาได้ถามต่อไปอีกว่า พี่เลี้ยงดูพระภิกษุทั้งหลาย ผู้สำรวมดี ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ให้อิ่มหนำสำราญด้วยข้าวและน้ำ ด้วยมือของตนเองมากกว่าเธอ ครั้นให้ทานมากกว่าเธอแล้ว ก็ยังได้บังเกิดในเหล่าเทพเจ้าต่ำกว่าเธอ ส่วนเธอได้ถวายทานเพียงเล็กน้อย อย่างไรจึงมาได้ผลอย่างพิเศษไพบูลย์ถึงเช่นนี้เหล่าแน่ะแม่เทพธิดา ฉันถามเธอแล้ว นี่เป็นผลเป็นกรรมอะไร โปรดตอบฉันด้วย[/SIZE]​

    [SIZE=+0] นางสุภัททาเทพธิดาตอบว่า เมื่อชาติก่อน ดิฉันได้เห็นพระภิกษุผู้อบรมทางจิตใจเพื่อคุณอันยิ่งใหญ่ จึงได้นิมนต์ท่านรวม ๘ รูปด้วยกัน มีพระเรวตเถระเป็นประธาน ด้วยภัตตาหาร ท่านพระเรวตเถระนั้นมุ่งจะให้เกิดประโยชน์ อนุเคราะห์แก่ดิฉัน จึงบอกดิฉันว่าจงถวายสงฆ์เถิด ดิฉันได้ทำตามคำของท่าน ทักขิณาของดิฉันนั้นจึงเป็นสังฆทาน อันดิฉันให้เข้าไปตั้งไว้ในสงฆ์ เป็นทานที่ไม่อาจปริมาณผลได้ว่ามีอยู่เท่าไร ส่วนทานที่คุณพี่ได้ถวายแก่ภิกษุด้วยความเลื่อมใสนั้น เป็นรายบุคคล จึงมีผลไม่มาก[/SIZE]​

    [SIZE=+0] นางภัททาเทพธิดา เมื่อจะรับรองความข้อนั้น จึงกล่าวว่า พี่เพิ่งรู้เดี๋ยวนี้เองว่า การถวายสังฆทานนี้ มีผลมาก ถ้าว่าพี่ได้ไปบังเกิดเป็นมนุษย์อีก จักเป็นผู้รู้ความประสงค์ของผู้ขอ ปราศจากความตระหนี่ถวายสังฆทาน และไม่ประมาทเป็นนิตย์[/SIZE]​

    [SIZE=+0] เมื่อสนทนากันแล้ว นางสุภัททาเทพธิดาก็กลับไปสู่ทิพวิมานของตนบนสวรรค์ขั้นนิมมานรดี ท้าวสักกเทวราชได้ทรงสดับการสนทนานั้น จึงตรัสถามนางภัททาเทพธิดาว่า เทพธิดาผู้นั้นเป็นใคร มาสนทนากับเธอ มีรัศมีรุ่งโรจน์กว่าเทพเจ้าเหล่าดาวดึงส์ทั้งหมด[/SIZE]​

    [SIZE=+0] นางภัททาเทพธิดา เมื่อจะบรรยายข้อที่สังฆทานของเทพธิดาผู้น้องสาวว่ามีผลมาก จึงทูลว่า ขอเดชะ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมเทพ เทพธิดาผู้นั้นเมื่อชาติก่อนยังเป็นมนุษย์อยู่ในมนุษย์โลก เป็นน้องสาวของหม่อมฉัน และยังได้เคยร่วมสามีเดียวกับหม่อมฉันด้วย เธอสั่งสมบุญกุศล คือ ถวายสังฆทาน จึงได้ไพโรจน์ถึงอย่างนี้เพคะ[/SIZE]​

    [SIZE=+0] สมเด็จอมรินทราธิราช เมื่อจะทรงสรรเสริญสังฆทานจึงตรัสว่า ดูก่อนนางภัททา น้องสาวของเธอไพโรจน์กว่าเธอ ก็เพราะเหตุในปางก่อน คือ การถวายสังฆทานที่ไม่อาจปริมาณผลได้ อันที่จริง ฉันได้ทูลถามพระพุทธเจ้า ครั้งประทับอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ ถึงผลแห่งไทยธรรมที่ได้จัดแจงถวายในเขตที่ผลมากของมนุษย์ทั้งหลาย ผู้มุ่งบุญ ให้ทานอยู่หรือทำบุญปรารภเหตุแห่งการเวียนเกิดเวียนตาย จะถวายในบุคคลประเภทใดจึงจะมีผลมาก[/SIZE]​

    [SIZE=+0] พระพุทธเจ้าตรัสตอบข้อความนั้นแก่ฉันอย่างแจ่มแจ้งว่า ท่านผู้ปฏิบัติเพื่ออริยมรรค ๔ จำพวก และท่านผู้ตั้งอยู่ในอริยผล ๔ จำพวก พระอริยบุคคล ๘ จำพวกนี้ ชื่อว่าสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติตรง ดำรงมั่นอยู่ในปัญญาและศีล เมื่อมนุษย์ทั้งหลายผู้มุ่งบุญถวายทานในท่านเหล่านี้ หรือทำบุญปรารภการเวียนเกิดเวียนตาย ทานที่ถวายในสงฆ์ย่อมมีผลมาก พระสงฆ์นี้เป็นผู้มีคุณความดีอันยิ่งใหญ่ ยังผลให้เกิดแก่ผู้ถวายทานในท่านอย่างไพบูลย์ ยากที่ใครจะปริมาณว่าเท่านี้ๆ ได้ เหมือนทะเลยากที่คาดคะเนได้ว่ามีน้ำเท่านี้ๆ ฉะนั้น[/SIZE]​

    [SIZE=+0] พระสงฆ์เหล่านี้แล เป็นพระผู้ประเสริฐสุด เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าผู้มีความเพียรเป็นเยี่ยมในหมู่นรชน เป็นแหล่งสร้างแสงสว่าง คือญาณของชาวโลก ได้แก่ นำเอาแสงสว่าง คือ พระสัทธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศไว้แล้วมาชี้แจง ปวงชนผู้ใคร่ต่อบุญเหล่าใด ถวายทานมุ่งตรงต่อสงฆ์ทักขิณาของเขาเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นทักขิณาที่ถวายดีแล้ว เป็นยัญวิธีที่เซ่นสรวงถูกต้อง จัดเป็นบูชากรรมที่บูชาแล้วชอบเพราะทักขิณานั้นจัดเป็นสังฆทาน มีผลมาก อันพระสัมมาสัมมาพุทธเจ้าทั้งหลายผู้รู้แจ้งโลก ทรงสรรเสริญ[/SIZE]​

    [SIZE=+0] ชนเหล่าใดยังท่องเที่ยวอยู่ในโลก มาหวนระลึกถึงบุญเช่นนี้ได้ เกิดปีติโสมนัส ก็จะกำจัดมลทิน คือความตระหนี่ทั้งความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ความลังเลในใจ และความวิปลาสอันเป็นมูลฐานเสียได้ ทั้งจะไม่เป็นผู้ถูกผู้รู้ติเตียน ชนเหล่านั้นก็จะเข้าถึงสถานที่ที่เป็นแดนสวรรค์[/SIZE]​

    [SIZE=+0] จากวิมานวัตถุเรื่องนี้ แสดงชัดว่า สังฆทาน ที่ถวายเจาะจงแด่พระอริยสงฆ์นั้น มีผลมาก มีอานิสงส์มากจริง ทั้งนี้ เพราะเหตุที่พระอริยสงฆ์ท่านประกอบด้วย พระคุณ ๙ ประการดังกล่าวมาแล้ว ทานที่ถวายในท่านเหล่านี้จึงมีผลมาก ถ้ายังเกิดอยู่ตราบใดสังฆทานนี้ก็ให้ผลไปเกิดในที่ดีมีความสุขนับชาติไม่ได้ทีเดียว ยิ่งกว่านั้น พระอริยสงฆ์ท่านยังอาจแสดงธรรมที่ท่านได้เห็นแล้วบรรลุแล้วให้ผู้ถวายได้เห็นตามบรรลุตามเป็นผู้บริสุทธิ์ หมดจดจากกิเลสเช่นเดียวกับท่านได้อีกด้วย การหมดจดจากกิเลสนี้เป็นอานิสงส์สูงที่สุดสำหรับบุคคลที่ถวายในสงฆ์ ด้วยเหตุนี้ ทานที่ถวายในสงฆ์หรือสังฆทานจึงมีผลมากและอานิสงส์มากอย่างนี้[/SIZE]​

    [SIZE=+0] ก็พระคุณ ๙ ประการ ของพระอริยสงฆ์นั้น ๔ ประการแรก เป็นพระคุณเฉพาะส่วนตัวของท่าน ๕ ประการหลัง มีอาหุเนยโยเป็นต้น เป็นพระคุณที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ที่ถวายทานแก่ท่าน คือให้ได้รับผลมาก แม้อุทิศให้แก่เปรต เปรตทราบแล้วอนุโมทนาชื่นชมยินดี ก็ยังพ้นสภาพเปรต เป็นเทวดาได้[/SIZE]​

    [SIZE=+0]
    </PRE>[/SIZE]
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ขอนำเรื่องของ เศรษฐีเท้าแมว ใน ธรรมบทภาค ๕ มาเล่าประกอบไว้ด้วย เรื่องนี้เกิดขึ้น
    ในสมัยที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่

    อุบาสกผู้หนึ่ง ไปฟังธรรมที่วัดเชตวัน ในกรุงสาวัตถีได้ยินพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "บุคคล
    บางคนให้ทานด้วยตนเอง แต่ไม่ชักชวนผู้อื่น เพราะฉะนั้นเมื่อเขาตายไป เขาย่อมได้รับโภค
    สมบัติ แต่ไม่ได้รับบริวารสมบัติในที่ๆ เขาไปเกิด

    ส่วนบางคนตนเองไม่ให้ทาน แต่เที่ยวชักชวนคนอื่นให้ให้ทาน เพราะฉะนั้นเมื่อเขา
    ตายไป เขาก็ย่อมได้รับแต่บริวารสมบัติ แต่ไม่ได้รับโภคสมบัติในที่ๆ เขาไปเกิด

    ส่วนบางคนตนเองก็ไม่ให้ทาน ทั้งไม่ชักชวนคนอื่นให้ให้ทานด้วย เพราะฉะนั้นเมื่อเขา
    ตายไป เขาก็ย่อมไม่ได้รับทั้งโภคสมบัติ และบริวารสมบัติในที่ๆ เขาไปเกิด

    ส่วนบางคนตนเองก็ไห้ทาน ทั้งยังชักชวนคนอื่นให้ให้ทานด้วย เพราะฉะนั้นเมื่อเขา
    ตายไป เขาก็ได้รับทั้งโภคสมบัติ และบริวารสมบัติในที่ๆ เขาไปเกิด"

    อุบาสกผู้นี้เป็นบัณฑิต ได้ฟังดังนั้นก็คิดจะทำบุญให้ได้รับผลครบทั้งโภคสมบัติและบริวารสมบัติ
    เขาจึงเข้าไปกราบทูลขอถวายภัตตาหารแก่พระพุทธเจ้าและพระสงฆ์สาวกทั้งหมดในวันรุ่งขึ้น พระพุทธเจ้า
    ก็ทรงรับคำอาราธนานั้น อุบาสกนั้นจึงได้เที่ยวป่าวร้องไปตามชาวบ้านร้านตลาดทั้งหลาย ชักชวนให้บริจาค
    ข้าวสารและของต่างๆ เพื่อนำมาประกอบอาหารถวายก็ได้รับสิ่งของต่างๆ มากบ้างน้อยบ้างตามศรัทธาและ
    ฐานะของผู้บริจาค อุบาสกคนนั้นเที่ยวป่าวร้องไปอย่างนี้ จนมาถึงร้านค้าของท่านเศรษฐีผู้หนึ่ง ท่านเศรษฐี
    เกิดไม่ชอบในที่เห็นอุบาสกนั้นเที่ยวป่าวร้องไปอย่างนั้น ท่านคิดว่า "อุบาสกคนนี้เมื่อไม่สามารถถวาย
    อาหารแก่พระพุทธเจ้า และพระสงฆ์สาวกทั้งวัดเชตวันได้ ก็ควรจะถวายตามกำลังของตน
    ไม่ควรจะเที่ยวชักชวนคนอื่นเขาทั่วไปอย่างนี้"

    เพราะเหตุที่คิดอย่างนี้ แม้ท่านจะร่วมทำบุญกับอุบาสกนั้นด้วย แต่ท่านก็ทำด้วยความไม่เต็มใจ
    ได้หยิบของให้เพียงอย่างละนิดละหน่อย คือใช้นิ้ว ๓ นิ้วหยิบของนั้น จะหยิบได้สักเท่าไร เวลาให้น้ำผึ้ง
    น้ำอ้อย ก็ให้เพียงไม่กี่หยด เพราะเหตุที่ท่านมือเบามาก หยิบของให้ทานเพียงนิดหน่อย คนทั้งหลายก็เลย
    ตั้งชื่อท่านว่า เศรษฐีเท้าแมว เป็นการเปรียบเทียบความมือเบาของท่านกับความเบาของเท้าแมว

    อุบาสกนั้นเป็นคนฉลาด เมื่อรับของจากท่านเศรษฐีจึงได้แยกไว้ต่างหาก ไม่ได้รวมกับของที่ตนรับ
    มาจากผู้อื่นเศรษฐีก็คิดว่า "อุบาสกนี้คงจะเอาเราไปเที่ยวประจานเป็นแน่" เมื่อคิดอย่างนี้ จึงใช้ให้คน
    ใช้ติดตามไปดู คนรับใช้ได้เห็นว่าอุบาสกนั้นนำเอาของของเศรษฐีไปแบ่งใส่ลงในหม้อที่ใช้หุงต้มอาหารนั้นหม้อ
    ละนิด อย่างข้าวสารก็ใส่หม้อละเมล็ดสองเมล็ดเพื่อให้ทั่วถึง พร้อมกับกล่าวให้พรท่านเศรษฐีด้วยว่า "ขอให้ทาน
    ของท่านเศรษฐีจงมีผลมาก" คนรับใช้ก็นำความมาบอกนาย ท่านเศรษฐีก็คิดอีกว่า "วันนี้เขายังไม่
    ประจานเราพรุ่งนี้เวลานำเอาอาหารไปถวายพระที่วัดเชตวัน เขาคงจะประจานเรา ถ้าเขาประจานเรา
    เราจะฆ่าเสีย" ดังนั้นในวันรุ่งขึ้นท่านจึงเหน็บกริชซ่อนไว้แล้วไปที่วัดเชตวัน ในเวลาที่อุบาสกและชาวเมือง
    ช่วยกันอังคาสเลี้ยงดูพระพุทธเจ้าและพระภิกษุสงฆ์ เมื่อช่วยกันถวายภัตตาหารแล้ว อุบาสกผู้นั้นได้กราบ
    ทูลพระพุทธเจ้าว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้เที่ยวชักชวนมหาชนให้ถวายทานนี้ขอให้
    คนทั้งหลายผู้ที่ข้าพระองค์ชักชวนแล้ว บริจาคแล้ว ทั้งผู้บริจาคของมาก ทั้งผู้บริจาคของน้อย
    จงได้รับผลมากทุกคนเถิด" ท่านเศรษฐีได้ยินแล้วก็ไม่สบายใจ กลัวอุบาสกจะประกาศว่า ท่านให้ของเพียง
    หยิบมือเดียว คิดอีกว่า "ถ้าอุบาสกเอ่ยชื่อเรา เราจะแทงให้ตาย" แต่อุบาสกนั้นกลับกราบทูลว่า "แม้ผู้ที่
    บริจาคของเพียงหยิบมือเดียว ทานของผู้นั้นก็จงมีผลมากเถิด"

    ท่านเศรษฐีได้ฟังดังนั้นก็ได้สติ คิดเสียใจว่า "เราได้คิดร้ายล่วงเกิดต่ออุบาสกนี้อยู่ตลอดเวลา
    แต่อุบาสกนี้เป็นคนดีเหลือเกิน ถ้าเราไม่ขอโทษเขา เราก็เห็นจะได้รับกรรมหนัก" คิดดังนี้แล้ว จึงเข้า
    ไปหมอบแทบเท้าของอุบาสกนั้น เล่าเรื่องให้ฟังพร้อมทั้งขอให้ยกโทษให้ พระพุทธองค์ทอดพระเนตรเห็น
    กริยาอาการของท่านเศรษฐีอย่างนี้ก็ตรัสถามขึ้น เมื่อทรงทราบแล้วจึงได้ตรัสว่า "ขึ้นชื่อว่าบุญแล้ว ใครๆ
    ไม่ควรดูหมิ่นว่าบุญนี้เล็กน้อย ทานที่บุคคลถวายแล้วแก่ภิกษุสงฆ์ อันมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขเช่นนี้ ไม่
    ควรดูหมิ่นว่าบุญนี้เล็กน้อย คนที่ฉลาดทำบุญอยู่ ย่อมเต็มด้วยบุญ เหมือนหม้อน้ำที่เปิดปากไว้ ย่อมเต็ม
    ด้วยน้ำฉันนั้น" ในตอนท้าย พระพุทธองค์ตรัสพระคาถาว่า "บุคคลไม่ควรดูหมิ่นบุญเล็กน้อยว่าจะไม่
    มาถึง แม้หม้อน้ำก็ยังเต็มด้วยหยาดน้ำที่ตกลงมาฉันใด ผู้ฉลาดเมื่อสะสมบุญแม้ทีละน้อยทีละ
    น้อย ก็ย่อมเต็มด้วยบุญฉะนั้น"

    ท่านเศรษฐีได้ฟังแล้วก็ได้ดวงตาเห็นธรรม บรรลุเป็นพระโสดาบันบุคคล พระธรรมเทศนาของ
    พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ประกอบด้วยประโยชน์อย่างยิ่งอย่างนี้ ถ้าเราหมั่นฟังอยู่เสมอและฟังด้วยความตั้งใจ
    ก็ย่อมได้ปัญญา ดังเศรษฐีท่านนี้เป็นตัวอย่าง

    จากเรื่องของท่านเศรษฐีผู้นี้ ทำให้ทราบว่าการให้ทานนั้น เป็นเหตุให้ได้รับโภคสมบัติ การชัก
    ชวนผู้อื่นให้ทานนั้นเป็นเหตุให้ได้รับบริวารสมบัติ ในที่ๆ ตนไปเกิด

    เพราะฉะนั้น เมื่อใครเขาทำบุญ หรือใครเขาชักชวนใครๆ ทำบุญ ก็อย่างได้ขัดขวางห้ามปราม
    เขาเพราะการกระทำเช่นนี้เป็นบาป เป็นการทำลายประโยชน์ของบุคคลทั้ง ๓ ฝ่าย คือตนเองเกิดอกุศลจิต
    ก่อน ๑ ทำลายลาภของผู้รับ ๑ ทำลายบุญของผู้ให้ ๑

    และจากเรื่องนี้ก็ทำให้เห็นชัดว่า สังฆทานนั้นมีผลมาก และมีอานิสงส์มาก การที่กิเลสคือความ
    ตระหนี่ได้ถูกขัดเกลาออกไป ทำให้จิตใจที่หนาอยู่ด้วยกิเลสเบาบางลงไปได้ชั่วขณะนี้แหละ คืออานิสงส์ที่แท้
    จริงของบุญ ยิ่งกิเลสถูกขัดเกลาไปได้มากเท่าไร ทานของผู้นั้นก็มีอานิสงส์มากเท่านั้น

    เสื้อผ้าที่สกปรกเปรอะเปื้อนต้องการสบู่หรือผงซักฟอกเข้าไปช่วยชำระล้างให้สะอาดฉันใด
    จิตใจที่เปรอะเปื้อนด้วยกิเลสก็ต้องการบุญ มีทานเป็นต้น เข้าไปช่วยชำระล้างขัดเกลาให้สะอาดหมด
    จดฉันนั้น

    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงความบริสุทธิ์แห่งทักษิณา คือทานไว้ ๔ อย่าง คือ

    ๑. ทักษิณาบางอย่างบริสุทธิ์ฝ่ายทายกคือผู้ให้ แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคคาหกคือผู้รับ
    กล่าวคือผู้ให้เป็นผู้มีศีลงาม มีธรรมงาม ได้ของมาโดยชอบธรรม เป็นผู้เชื่อกรรมและผลของกรรม แต่
    ผู้รับเป็นผู้ทุศีล มีธรรมลามก

    ๒. ทักษิณาบางอย่างบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคคาหก แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก กล่าวคือผู้รับ
    เป็นผู้มีศีลงาม มีธรรมงาม แต่ผู้ให้เป็นผู้ทุศีล มีธรรมลามก ได้ของมาโดยไม่ชอบธรรม เป็นผู้ไม่เชื่อ
    กรรมและผลของกรรม

    ๓. ทักษิณาบางอย่าง ไม่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและปฏิคคาหก คือทั้งผู้ให้และผู้รับ
    เป็นผู้ทุศีล มีธรรมลามก

    ๔. ทักษิณาบางอย่างบริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและปฏิคคาหก คือทั้งผู้ให้และผู้รับเป็นผู้มี
    ศีลงาม มีธรรมงามทานที่บริสุทธิ์ทั้งสองฝ่ายอย่างนี้ย่อมมีผลไพบูลย์

    อนึ่ง พระบรมศาสดาตรัสว่า ถ้าทายกคือผู้ให้เป็นผู้มีศีลงาม มีธรรมงาม ได้ของมา
    โดยชอบธรรม มีศรัทธาเชื่อกรรมและผลของกรรม และปฏิคคาหกคือผู้รับ เป็นผู้มีศีลงาม
    มีธรรมงาม ปราศจากราคะแล้วทานของผู้นั้นเลิศกว่าอามิสทานทั้งหลาย

    อนึ่งใน ทานานิสังสสูตร อัง. ปัญจก. ข้อ ๓๕ พระพุทธองค์ทรงแสดงอานิสงส์ของทาน
    ไว้ ๕ อย่าง
    คือ

    ๑. ผู้ให้ทาน ย่อมเป็นที่รักที่ชอบใจของชนหมู่มาก
    ๒. สัปบุรุษ ผู้สงบ มีพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และสาวกของพระพุทธเจ้า
    ย่อมคบหาผู้ให้ทาน
    ๓. กิตติศัพท์อันงามของผู้ให้ทาน ย่อมขจรขจายไปทั่ว
    ๔. ผู้ให้ทาน ย่อมไม่เหินห่างจากธรรมของคฤหัสถ์ คือมีศีล ๕ ไม่ขาด
    ๕. ผู้ให้ทาน เมื่อตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

    แล้วทรงสรุปเป็นคาถาว่า
    ผู้ให้ทานย่อมเป็นที่รักของชนเป็นอันมาก ชื่อว่าดำเนินตามธรรมของสัปบุรุษ (คือ มหาบุรุษ
    หรือพระโพธิสัตว์) สัปบุรุษผู้สงบ ผู้สำรวมอินทรีย์ ประพฤติพรหมจรรย์ ย่อมคบหาผู้ให้ทานทุกเมื่อ
    สัปบุรุษเหล่านั้น ย่อมแสดงธรรมเป็นที่บรรเทาทุกข์แก่เขา เขาได้ทราบชัดแล้ว ย่อมเป็นผู้หาอาสวะมิได้
    ปรินิพพานในโลกนี้

    ควรอย่างยิ่งที่เราจะสะสมบุญ มีทานเป็นต้น ให้งอกงามเพิ่มพูนขึ้นในจิตใจของเรา เพราะว่า
    เมื่อไรที่จิตใจของเราเต็มเปี่ยมไปด้วยบุญ เมื่อนั้นกิเลสจะไม่มีหลงเหลืออยู่ในจิตใจของเราเลย

    ใน ทานสูตร อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ข้อ ๔๙ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงเหตุปัจจัยที่ทำให้
    ทานที่ให้แล้ว มีผลมาก แต่ไม่มีอานิสงส์มาก และเหตุปัจจัยที่ทำให้ทานที่ให้แล้วมีผลมาก และมีอานิสงส์
    มาก ไว้ดังต่อไปนี้

    ๑. บุคคลบางคน ให้ทานด้วยความหวังว่า เมื่อตายไปแล้ว จักได้เสวยผลของทานนี้
    เมื่อตายไป ได้เกิดในเทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกา สิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่ในเทวโลก
    แล้ว ก็กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ คือกลับมาเกิดในโลกนี้อีก ทานอย่างนี้มีผลมาก แต่ไม่มีอานิสงส์มาก

    ๒. บุคคลบางคนไม่ได้ให้ทาน เพราะหวังผลของทาน แต่ให้ทานเพราะรู้ว่าทานเป็นของดี
    เป็นบุญ เป็นกุศล จึงให้เมื่อตายไป ได้เกิดในเทวโลกชั้นดาวดึงส์ สิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความ
    เป็นใหญ่ในเทวโลกแล้ว ก็กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ คือกลับมาเกิดในโลกนี้อีก ทานอย่างนี้มีผลมากแต่
    ไม่มีอานิสงส์มาก

    ๓. บุคคลบางคนไม่ได้ให้ทาน เพราะหวังผลของทาน ไม่ได้ให้ทานเพราะรู้ว่าทานเป็นของดี
    แต่ให้ทานเพราะละอายใจที่ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย บรรพบุรุษเคยทำมา ถ้าไม่ทำก็ไม่สมควร
    ครั้นตายลงได้เกิดในเทวโลกชั้นยามา สิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่ในเทวโลกแล้ว ก็
    กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ คือกลับมาเกิดในโลกนี้อีก ทานอย่างนี้มีผลมาก แต่ไม่มีอานิสงส์มาก

    ๔. บุคคลบางคน ไม่ได้ให้ทานเพราะหวังผลของทาน ไม่ได้ให้ทานเพราะรู้ว่าทานเป็นของดี
    ไม่ได้ให้ทานตามบรรพบุรุษ แต่ให้ทานเพราะเห็นสมณพราหมณ์เหล่านั้นหุงหากินไม่ได้ เราหุงหา
    กินได้ ถ้าไม่ให้ก็ไม่สมควร ครั้นตายลงได้เกิดในเทวโลกชั้นดุสิต สิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความ
    เป็นใหญ่ในเทวโลกแล้ว ก็กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ คือกลับมาเกิดในโลกนี้อีก ทานอย่างนี้มีผลมาก
    แต่ไม่มีอานิสงส์มาก

    ๕. บุคคลบางคน ไม่ได้ให้ทานเพราะหวังผลของทาน ไม่ได้ให้ทานเพราะรู้ว่าทานเป็นของดี
    ไม่ได้ให้ทานตามบรรพบุรุษ ไม่ได้ให้ทานเพราะเห็นว่า สมณพราหมณ์หุงหากินไม่ได้ แต่ให้ทานเพราะ
    ต้องการจำแนกแจกทานเหมือนกับฤาษีทั้งหลายในปางก่อนได้กระทำมหาทานมาแล้ว เขาตาย
    ไปได้เกิดในเทวโลกชั้นนิมมานรดี สิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ก็กลับมาสู่ความ
    เป็นอย่างนี้ คือกลับมาเกิดในโลกนี้อีก ทานอย่างนี้มีผลมาก แต่ไม่มีอานิสงส์มาก

    ๖. บุคคลบางคน ไม่ได้ให้ทานเพราะหวังผลของทาน ไม่ได้ให้ทานเพราะว่าทานเป็นของดี
    ไม่ได้ให้ทานตามบรรพบุรุษ ไม่ได้ให้ทานเพราะเห็นว่าสมณพราหมณ์หุงหากินไม่ได้ ไม่ได้ให้ทานเพราะ
    ต้องการจำแนกแจกทานเหมือนฤาษีทั้งหลายในปางก่อนได้กระทำมหาทาน แต่ให้ทานเพราะคิดว่า
    เมื่อให้แล้ว จิตจะเลื่อมใสโสมนัสจึงให้ ครั้นตายไปย่อมเกิดในเทวโลกชั้นปรนิมมิตวสวัตดี สิ้นกรรม
    สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ก็กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ คือกลับมาเกิดในโลกนี้อีก ทาน
    อย่างนี้มีผลมาก แต่ไม่มีอานิสงส์มาก

    ๗. บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ให้ทานเพราะเหตุที่กล่าวแล้วทั้ง ๖ อย่างข้างต้นนั้น แต่ให้
    ทานเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต คือให้ทานนั้นเป็นเครื่องขัดเกลาจิตใจหมดจดจากกิเลสด้วยอำนาจของ
    สมถะและวิปัสสนา จนได้ฌานและบรรลุ จนได้ฌานและบรรลุเป็นพระอนาคามีบุคคล ตายแล้วได้ไปเกิดใน
    พรหมโลก เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่ในพรหมโลกแล้ว เป็นผู้ไม่ต้องกลับมาเกิด
    ในโลกนี้อีก คือปรินิพพานในพรหมโลกนั้นเอง ทานชนิดนี้เป็นทานที่มีผลมาก และมีอานิสงส์มาก

    สรุปรวมความว่า ทานชนิดใดก็ตาม เป็นปัจจัยให้ต้องเกิดอีก ทานชนิดนั้นแม้มีผลมาก ได้เกิด
    ที่ดีมีความสุขอันเป็นทิพย์ แต่ทานนั้นก็ไม่มีอานิสงส์มาก เพราะไม่สามารถจะทำให้หมดจดจากกิเลสได้

    ส่วนทานชนิดใดเป็นปัจจัยให้ไม่ต้องเกิดอีก ทานชนิดนั้นชื่อว่ามีผลมากด้วย มีอานิสงส์
    มากด้วย เพราะทำให้หมดจดจากกิเลส

    ฉะนั้นคำว่า "อานิสงส์มาก" ในที่นี้ จึงหมายถึงการหมดจดจากกิเลสทั้งปวง ไม่ต้องเกิดอีก

    จริงอยู่ การเกิดในสวรรค์แต่ละชั้นนั้น มีความสุขมาก เพราะได้รับกามคุณอันเลอเลิศที่เป็น
    ทิพย์ ละเอียดประณีตขึ้นไปตามลำดับชั้น แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสว่า กามคุณนั้นเป็นของเลว เป็น
    ของชาวบ้าน เป็นของชวนให้หลงใหล เป็นของมีสุขน้อย แต่มีโทษมาก เพราะฉะนั้นเมื่อพระองค์ทรง
    แสดงธรรม คือ อนุปุพพิกถา แก่คฤหัสถ์ จึงได้ทรงแสดงโทษของกามไว้ด้วย ผู้ที่ยินดีหลงไหลเพลิด
    เพลินในกาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อันน่าใคร่ น่าพอใจ ย่อมไม่อาจล่วงทุกข์ไปได้ ผู้ที่จะล่วง
    ทุกข์ได้ก็เพราะเห็นโทษของกาม ก้าวออกจากกามด้วยสมถะและวิปัสสนาเท่านั้น

    ด้วยเหตุนั้น ทานที่เป็นเครื่องปรุงแต่งจิต ขัดเกลาจิตให้อ่อน ให้ควรแก่การเจริญสมถะและ
    วิปัสสนาจนบรรลุมรรคผลไม่ต้องกลับมาเกิดอีก จึงเป็นทานที่มีผลมาก และมีอานิสงส์มากแม้สังฆทานที่
    กล่าวว่ามีผลมาก มีอานิสงส์มาก ก็เพราะผู้ถวายมีโอกาสได้ฟังธรรมจากสงฆ์แล้วบรรลุอริยสัจธรรม ก้าว
    ล่วงทุกข์ทั้งปวงไม่ต้องกลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้อีก

    พระพุทธองค์ทรงมีพระมหากรุณาอันยิ่งใหญ่แก่สัตว์โลกแม้เมื่อทรงแสดงเรื่องทาน ก็ทรงแสดงให้
    พุทธบริษัทได้รับประโยชน์ครบทั้ง ๓ ประการ คือ ประโยชน์ในโลกนี้ ประโยชน์ในโลกหน้า และประ
    โยชน์อย่างยิ่ง คือ มรรค ผล นิพพาน ด้วยเหตุนี้ จึงควรทำใจให้เลื่อมใส บำเพ็ญทานให้เกิดประโยชน์
    ทั้ง ๓ ประการ จึงจะได้ชื่อว่า ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระองค์อย่างแท้จริง

    ควรหรือไม่ ที่เราจะทำทานชนิดที่มีผลมาก มีอานิสงส์มาก

    *********************************************

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center background="" border=0><TBODY><TR><TD align=right vspace="0" hspace="0">
    <B><BIG></BIG></B> ​
    <B><BIG></BIG></B>
    <B><BIG>ทานที่มีผลมาก มีอานิสงส์มาก</BIG></B>

    ประณีต ก้องสมุทร
    </TD></TR><TR><TD align=right vspace="0" hspace="0">ขอขอบคุณ
    คุณนวชนก โพธิ์เจริญ
    [ ผู้คัดลอก และตรวจทาน ]
    </TD></TR><TR><TD vspace="0" hspace="0"><SMALL>จัดทำเมื่อ 21 เมษายน พ.ศ. 2545</SMALL></TD></TR></TBODY></TABLE>

    http://www.84000.org/tipitaka/book/bookpn01.html
     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 7 คน ( เป็นสมาชิก 2 คน และ บุคคลทั่วไป 5 คน ) </TD><TD class=thead width="14%">

    </TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>sithiphong, nongnooo+ </TD></TR></TBODY></TABLE>

    มาจ๊ะเอ๋คุณnongnooo ตอนเช้ามืดครับ
    5 5 5 5 5
    ha ha ha ha ha
    .
     
  14. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    5555ถึงคราวผมไม่เห็นด้วยล่ะ ตามที่คุณเพชรว่านั้น เป็นเพราะสุมาอี้ดูแค่เทคนิคอย่างเดียว ไม่เข้าใจในวิชาศาสตร์นี้อย่างลึกซึ้ง เรื่องเทคนิเคิลนี้ถ้าจะพูดยาวครับ การสร้างกราฟทำไม่ยากแต่ผู้ชำนาญจะดูออกครับ จริงๆแล้วบางท่านอาจจะเถียงว่าจะบอกอะไรได้ ผมจะกระซิบบอกนิดครับว่า มันสามารถบอกภาวะทางเศรษฐกิจ การเมือง ชะตาของบ้านเมืองและภาวะอากาศได้อย่างแม่นย้ำครับ ฮิๆผมขอโม้นิดว่าผมเป็นtop 5นักเทคนิคของประเทศครับ ก่อนพฤษภาทมิฬ ก่อนปฏิวัติ แม้ ก่อนผู้บริหารเกิดอุบัติเหตุก็ยังทราบเลยครับ เพราะฉะนั้นไม่เห็นด้วยครับ เป็นเพราะคนอ่านกราฟ อ่อนเองครับ....
     
  15. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    อ้าวมาเวลาหากินของผม กำลังแนะนำคุณเพชรเรื่องเทคนิคอยู่เลยครับ อีกเรื่อง ท่าน ปา-ทานนี่ไม่ธรรมดาเหมือนกัน รู้จัก จี้จุดให้บางคนที่เก็บความคิดไว้ พูดบอกออกมาได้ครับ(eek)
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://hilight.kapook.com/view/17952

    10 วิธีบอกรักพ่อแบบอินเทรนด์




    <CENTER>
    บทความ เกร็ดความรู้ วันนี้ เป็นเรื่องราวดีๆ ที่เรานำมาฝากเพื่อนๆ เนื่องจากใกล้ถึง วันพ่อแห่งชาติ เข้ามาทุกที เราจึงรวม กลอนวันพ่อ คำขวัญวันพ่อ การ์ดวันพ่อ เรียงความวันพ่อ กลอนในหลวง สำหรับ วันพ่อ 5 ธันวาคม วันพ่อแห่งชาติ เรื่อง 10 วิธีบอกรักพ่อแบบอินเทรนด์ มาฝาก... ว่าแล้วเราไปอ่าน บทความ นี้พร้อมๆ กันดีกว่าค่ะ

    [​IMG]


    ข้อมูลจาก Forward Mail
    ภาพประกอบโดยกระปุกดอทคอม​

    1. กราบแทบเท้า กอดพ่อบอกพ่อว่า "เรารักพ่อมากที่สุดในโลก เราภูมิใจและดีใจที่ได้เกิดเป็นลูกพ่อ"

    2. ส่งการ์ดอวยพรวันพ่อ / โทรศัพท์หรือส่งของขวัญพิเศษไปให้พ่อ หากอยู่ห่างไกล และไม่สะดวกไปหาด้วยตนเอง ​

    3. หากอยู่คนละบ้านและมีครอบครัวใหม่แล้ว ควรพาลูก - ภรรยาไปกราบคารวะพ่อที่บ้าน พร้อมหาของขวัญ เช่น เสื้อผ้า ดอกไม้ ของกินของใช้ ไปให้พ่อ หรือพาพ่อออกไปหาอาหารพิเศษรับประทาน ​

    4. พาพ่อไปนวดตัว นวดเท้า เพื่อสุขภาพ หรือพาไปเข้าคอร์สสุขภาพในต่างจังหวัดที่อากาศดีๆ

    5. พาไปทำบุญทำทานที่วัดหรือให้ไปทัวร์มหากุศลต่างๆ เช่น ทัวร์ 9 วัดมงคล เป็นต้น​

    6. พาไปเที่ยวต่างจังหวัด หรือต่างประเทศหากสุขภาพพ่อแข็งแรงพอและเป็นสถานที่ที่พ่ออยากไป ​

    7. ซื้อคอมพิวเตอร์ให้พ่อ พร้อมสอนให้ใช้เพื่อความเพลิดเพลิน เช่น ส่งเมล์โต้ตอบกับหลานๆ หรือเพื่อนๆ ทางอินเทอร์เน็ต เล่นเกม หรือเปิดหาความรู้ต่าง ๆ ​

    8. ซื้อหนังสือประเภทที่พ่อชอบอ่านให้ พร้อมตัดแว่นตาให้ใหม่หรือพาไปเลสิกสายตา

    9. สอบถามหรือสืบถามความปรารถนาของพ่อว่าอะไรที่พ่ออยากทำ และยังไม่ได้ทำ แล้วพยายามจัดหาให้ เช่น อยากเรียนดนตรี แต่ยังไม่เคยมีโอกาสในสมัยเด็กๆ หรือหนุ่มๆ ก็พาพ่อไปสมัครเรียนและให้กำลังใจ เป็นต้น ​

    10. หากพ่อถึงแก่กรรมไปแล้ว ก็อย่าลืมทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้พ่อ หรือไปเลี้ยงคนชรา พระภิกษุป่วย เพื่อส่งผลบุญให้แก่พ่อ ​





    [​IMG]
    </CENTER>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Dad01.gif
      Dad01.gif
      ขนาดไฟล์:
      47.8 KB
      เปิดดู:
      1,725
    • ann53.gif
      ann53.gif
      ขนาดไฟล์:
      1.8 KB
      เปิดดู:
      470
    • ann45.gif
      ann45.gif
      ขนาดไฟล์:
      3.7 KB
      เปิดดู:
      362
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ผมนำเรื่องของสัตบุรุษและโมฆะบุรุษ นำไปลงใน<TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR vAlign=bottom><TD>[​IMG]</TD><TD></TD><TD width="100%">palungjit.org > พุทธศาสนา > พุทธศาสนา </TD></TR><TR><TD class=navbar style="FONT-SIZE: 10pt; PADDING-TOP: 1px" colSpan=3>[​IMG] เรื่องของสัตบุรุธและโมฆะบุรุษ </TD></TR></TBODY></TABLE>

    เรื่องของสัตบุรุธและโมฆะบุรุษ
    http://palungjit.org/showthread.php?p=844028#post844028

    ขอโมทนาบุญกับท่านผู้เขียนและผู้โพสด้วยครับ

    .
     
  18. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ผมพยายามโน้มนำให้ยอมๆกันบ้างนะครับ มาดูบรรยากาศงานบุญที่ได้เคยร่วมบุญกันมาก่อน..ผ้าป่ามหากุศล สมทบทุนสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมเพื่อพระสงฆ์-สามเณร วัดบ่อเงินบ่อทอง

    <TABLE class=tborder id=post277484 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead id=currentPost style="BORDER-RIGHT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid">[​IMG] 11-07-2006, 12:29 AM <!-- / status icon and date --></TD><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid" align=right>#450 </TD></TR><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175>พันวฤทธิ์<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_277484", true); </SCRIPT>
    สมาชิก

    [​IMG]

    เข้ามาครั้งสุดท้ายเมื่อ: เมื่อวานนี้ 10:19 PM
    วันที่สมัคร: Jul 2006
    ข้อความ: 294 <!-- Start Post Thank You Hack -->
    ได้ให้อนุโมทนา 183 ครั้ง
    ได้รับอนุโมทนา 2,814 ครั้ง ใน 288 โพส <!-- End Post Thank You Hack -->
    พลังการให้คะแนน: 328 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]





    </TD><TD class=alt1 id=td_post_277484 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><!-- message -->อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong
    <TABLE class=tborder id=post277333 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead style="FONT-WEIGHT: normal">[​IMG] วันนี้, 03:47 PM <!-- / status icon and date --></TD><TD class=thead style="FONT-WEIGHT: normal" align=right>#931 </TD></TR><TR vAlign=top><TD class=alt2 width=175>โสระ<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_277333", true); </SCRIPT>
    สมาชิก

    เข้ามาครั้งสุดท้ายเมื่อ: วันนี้ 05:05 PM
    วันที่สมัคร: Sep 2005
    อายุ: 29
    ข้อความ: 13 <!-- Start Post Thank You Hack -->
    Thanks: 1
    Thanked 44 Times in 6 Posts <!-- End Post Thank You Hack -->
    พลังการให้คะแนน: 0[​IMG]






    </TD><TD class=alt1 id=td_post_277333><!-- message -->อนุโมทนาในความเสียสละของทุกๆท่านที่ช่วยให้งานบุญครั้งนี้สำเร็จ และเต็มเปี่ยมด้วยกุศล ได้รับกันถ้วนหน้าทั้งที่ได้ไปในงานและไม่ได้ไป แต่สำหรับผู้ที่ได้ไปถ้าช่างสังเกตุจะเห็นว่าเวลาพระท่านให้พรกรวดน้ำ มักจะมีลมกรรโชกพัดมาตลอด ทุกครั้ง จนครั้งสุดท้ายก่อนจะกลับเหลือแต่คณะของพวกเรา เกิดเสียงดังตอนพระให้พร ตอนหลังกลับมาแล้วถึงรู้ว่า ทั้งท่านอาจารย์ประถม คุณsithiphong คุณปุ๊ ตัวผมเอง และคงอาจมีท่านอื่นๆอีก ได้อารธนาเชิญหลวงปู่ให้มาในงานวันนี้ด้วยท่านคงจะรับรู้และแสดงให้เห็นพอกับที่พวกเรารับรู้ได้ อีกประการถ้าท่านใดมีจิตสัมผัสได้บ้างจะรู้ว่าตอนพระให้พรกรวดน้ำมีพลังที่แผ่ออกมาสัมผัสได้ว่าเป็นบุญที่มีการอนุโมทนาจากพระหรือเทพระดับสูงๆมาในที่นั้นด้วย ทั้งหมดเป็นความรู้และความเห็นส่วนตัวผมที่อาจไม่ตรงกับความจริงก็ตามแต่จะพิจารณานะครับ
    <!-- / message -->



    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    <TABLE class=tborder id=post277337 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead style="FONT-WEIGHT: normal"><!-- status icon and date -->[​IMG] วันนี้, 04:05 PM <!-- / status icon and date --></TD><TD class=thead style="FONT-WEIGHT: normal" align=right>#932 </TD></TR><TR vAlign=top><TD class=alt2 width=175>โสระ<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_277337", true); </SCRIPT>
    สมาชิก

    เข้ามาครั้งสุดท้ายเมื่อ: วันนี้ 05:05 PM
    วันที่สมัคร: Sep 2005
    อายุ: 29
    ข้อความ: 13 <!-- Start Post Thank You Hack -->
    Thanks: 1
    Thanked 44 Times in 6 Posts <!-- End Post Thank You Hack -->
    พลังการให้คะแนน: 0[​IMG]






    </TD><TD class=alt1 id=td_post_277337><!-- message -->ส่วนอีกเรื่องที่อยากจะบอกว่าท่านใดได้บูชาพระหลวงปู่กรุเนปาลจากอาจารย์ประถมถือว่าเป็นผู้โชคดีมากครับ พลังแรงเด็ดขาดมากครับ


    <!-- / message -->



    </TD></TR></TBODY></TABLE>



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    กรุเนปาลครับ คุณสิทธิพงษ์



    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    "ปู่"รู้เข้าจะเสียใจมากที่มาขัดกันเอง ความขัดแย้งกันนี้หากสัมผัสกระแสหลวงปู่ได้จริง ทำไมจะไม่รู้ว่า"หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร"ท่านก็ทราบ...กลับมารวมกันเป็น"คณะเรา"เหมือนเดิมนะ(kiss)

    http://palungjit.org/showthread.php?p=844099#post844099
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 ธันวาคม 2007
  19. chaipat

    chaipat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,282
    ค่าพลัง:
    +11,099
    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]

    สาธุครับ
     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    โมทนาสาธุครับ

    .
     

แชร์หน้านี้

Loading...