ทำบุญเจือด้วยราคะ

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย bird2531, 24 พฤษภาคม 2013.

  1. bird2531

    bird2531 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2012
    โพสต์:
    167
    ค่าพลัง:
    +298
    ผมได้ยินมาว่าถ้าทำบุญเจือด้วยราคะจะทำให้เกิดเป็นพญานาค แต่ที่ผมสงสัยคือ
    ทำบุญยังไงถือเจือด้วยราคะ แล้วถ้าเกิดเป็นพญานาคแล้วนั้นจะมาโอกาศสร้างบารมีเหมือนมนุษย์หรือป่าว
     
  2. buakwun

    buakwun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    2,830
    ค่าพลัง:
    +16,613
    การทำบุญที่เจือด้วยราคะก็คือการทำบุญแล้วอธิษฐานขอในสิ่งที่เป็นไปได้ยาก เช่น ทำบุญแล้วเจาะจงว่าขอให้รวยขึ้น ขอให้ถูกหวย ทำบุญแล้วเจาะจงว่าขอให้สวย ขอให้หล่อ คือการทำบุญแล้วอธิษฐานด้วยความโลภนั่นเอง ถ้าทำบุญโดยยังมีจิตอันเป็นโลภะ โทสะ โมหะเจืออยู่ บุญนั้นก็จะเป็นอกุศล หรือกระเดียดไปในทางอกุศล หรืออย่างน้อยที่สุดถึงตั้งต้นเป็นกุศลจริงก็จะถูกแย่งพื้นที่ความสว่างไปด้วยเพราะมีเงาอกุศลทาบทับอยู่ดี เหตุที่ทำให้เกิดเป็นพญานาคเพราะการทำบุญที่เจือด้วยราคะ

    พญานาค เป็นราชาแห่งงู จัดเป็นเดรัจฉานด้วย เพราะมีลำตัวไปทางขวาง และไม่สามารถบรรลุธรรมได้ แต่ก็จัดอยู่ฝ่ายสุคติภูมิ อยู่สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา

    นาคแบ่ง ออกเป็น 4 ตระกูลใหญ่ คือ ตระกูลวิรูปักษ์ พญานาคตระกูลสีทอง
    ตระกูลเอราปถ พญานาคตระกูลสีเขียว ตระกูลฉัพพยาปุตตะ พญานาคตระกูลสีรุ้ง
    และตระกูลกัณหาโคตมะ พญานาคตระกูลสีดำ

    พญานาคเกิดได้ทั้ง 4 แบบ คือ

    เกิดแบบโอปปาติกะ
    เกิดแล้วโตทันที ผุดเกิดสำเร็จเป็นตัวเป็นตน เช่น พรหม เทวดา เปรต หรือสัตว์นรกทั้งปวง

    เกิดแบบสังเสทชะ
    เกิดในสิ่งที่หมักหมมในเปลือกในตม ในที่ชื้นแฉะหรือด้วยเหงื่อไคลโดยไม่อาศัยฟองไข่
    และครรภ์ของมารดา คือเกิดนอกครรภ์ เช่น หนอน หรือเชื้อแบคทีเรีย

    เกิดแบบชลาพุชะ
    เกิดจากครรภ์ อย่างสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

    เกิดแบบอัณฑชะ
    เกิดจากฟองไข่

    พญานาคชั้นสูงเกิดแบบโอปปาติกะ เป็นชนชั้นปกครอง

    ที่อยู่ของพญานาคมีตั้งแต่ในแม่น้ำ หนอง คลอง บึงต่าง ๆ ในอากาศ จนไปถึงสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ผู้ปกครองสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาด้านทิศตะวันตก

    เหตุที่มาเกิดเป็นพญานาคเพราะทำบุญเจือด้วยราคะหรือมีจิตผูกพันธ์กับแม่น้ำและพญานาค หรืออธิฐานจิตขอเกิดเป็นพญานาค (ถึงแม้ทำบุญมามากแค่ไหนพอที่จะไปเกิดสวรรค์ชั้นสูง ๆ กว่านี้ได้ แต่ถ้ามีจิตผูกพันธ์ ยึดติดกับอะไรตายไปก็จะไปตรงนั้น)

    พญานาคก็สามารถสร้างบุญสร้างบารมีของตนเพื่อเลื่อนชั้นภพภูมิของตนจนได้เกิดเป็นมนุษย์ได้
     
  3. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,207
    ค่าพลัง:
    +3,123
    "บุญกิริยาวัตถุ 10" ทำบุญ 10 วิธี

    เมื่อถึงวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ประชาชนต่างร่วมกันทำบุญ ตักบาตร เข้าวัดฟังธรรม เพื่อเสริมสร้างสิริมงคลให้แก่ตนเองและครอบครัว รวมถึงส่งผลให้มีจิตใจที่บริสุทธิ์ สดใส แต่ทราบกันหรือไม่ว่าในทางพระพุทธศาสนา การทำบุญมีด้วยกันถึง 10 วิธี เรียกว่า “บุญกิริยาวัตถุ 10” หรือ สิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งการทำบุญ 10 ประการ ได้แก่

    1. ให้ทาน หรือ ทานมัย อันหมายถึง การให้ การสละ หรือการเผื่อแผ่แบ่งปัน ไม่ว่าจะเป็นเงินทอง ข้าวของเครื่องใช้หรือสิ่งอื่นใด และไม่ว่าจะให้แก่ใครก็ถือเป็นบุญทั้งสิ้น เพราะการให้ทานเป็นการลดความเห็นแก่ตัว ความตระหนี่ถี่เหนียว และความคับแคบในจิตใจให้น้อยลง ทำให้เราไม่ยึดติดในวัตถุสิ่งของ อีกทั้งสิ่งที่เราบริจาคหรือให้ทานแก่ผู้อื่นก็จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อน และเป็นประโยชน์ต่อผู้รับ และสังคมโดยส่วนรวม การให้ทานนี้อยู่ที่ไหนๆ ก็ทำได้ และไม่จำเป็นต้องเป็นเงิน เช่น การแบ่งของกินให้กับแม่บ้านที่ทำงาน หรือยาม เป็นต้น ข้อสำคัญ สิ่งที่บริจาคหรือให้ทานแก่ผู้อื่น ควรเป็นสิ่งยังใช้ได้ มิใช่เป็นการกำจัดของเหลือใช้ที่หมดอายุ หมดคุณภาพให้ผู้อื่น ผลการให้ทานดังกล่าวจะทำให้ผู้ปฏิบัติเกิดความปีติอิ่มเอิบใจ

    2. รักษาศีล หรือ สีลมัย คำว่า ศีล หมายถึง ข้อบัญญัติทางพระพุทธศาสนา ที่กำหนดการปฏิบัติทางกายและวาจา เช่น ศีล 5 ศีล 8 หรืออาจจะหมายถึงการรักษากายวาจาให้เรียบร้อย การรักษาศีล เป็นการฝึกฝนมิให้ไปเบียดเบียนผู้อื่น ในขณะเดียวกันก็เป็นการลด ละ เลิกความชั่ว มุ่งให้กระทำความดี อันเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิต มิให้ตกต่ำลง เช่น ไม่ไปเป็นชู้เป็นกิ๊กกับใครที่ทำงาน ทำให้ครอบครัวเขาไม่แตกแยก เป็นแม่ค้าไม่โกหกหลอกขายของไม่ดีแก่ลูกค้า เป็นพ่อบ้านไม่กินเหล้าเมายา ทำให้ลูกเมียมีความสุข เพื่อนบ้านก็สุข เพราะไม่ต้องทนฟังเสียงรบกวน จากการทะเลาะวิวาทกัน เหล่านี้ล้วนเป็นการรักษาศีล และเป็นหนึ่งในการทำบุญอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งผลบุญข้อนี้จะทำให้เรากลายเป็นคนเยือกเย็น สุขุมด้วย

    3. เจริญภาวนา หรือภาวนามัย เป็นการทำบุญอีกรูปแบบ ที่มุ่งพัฒนาจิตใจและปัญญา ทำให้จิตใจสงบ เห็นคุณค่าสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง ซึ่งในข้อนี้หลายคนอาจจะทำเป็นประจำอยู่แล้ว เช่น นั่งสมาธิ วิปัสสนา แต่หลายคนอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องยากเกินกำลัง ดังนั้น อาจจะทำง่ายๆ ด้วยวิธีการสวดมนต์เป็นคาถาสั้นๆ บูชาพระที่เราเคารพบูชาก่อนนอนทุกคืน เช่น คาถาพระพุทธเจ้าชนะมาร คาถาหลวงปู่ทวด เป็นต้น การสวดมนต์เป็นประจำ อย่างน้อยก็เป็นการน้อมนำจิตใจของเรา ไปสู่สิ่งที่เป็นมงคลในชีวิต เป็นการเตือนสติให้เรายึดมั่นในการประพฤติปฏิบัติชอบ ตามสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เรานับถือ และผลบุญข้อนี้จะทำให้เกิดปัญญาแก่ผู้ปฏิบัติ

    4. การอ่อนน้อมถ่อมตน หรือ อปจายนมัย หลายคนคงคิดไม่ถึงว่า การประพฤติตนเป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตน จะถือเป็นบุญอย่างหนึ่ง ทั้งนี้ ก็เพราะว่าการอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ว่าจะเป็นผู้น้อยประพฤติต่อผู้ใหญ่ และการที่ผู้ใหญ่แสดงตอบด้วยความเมตตา หรือการอ่อนน้อมต่อผู้มีคุณธรรม รวมถึงการให้เกียรติ ให้ความเคารพต่อความคิด ความเชื่อ และวิถีปฏิบัติของบุคคล หรือสังคมอื่นที่แตกต่างจากเรานั้น เป็นการลดความยึดมั่นถือมั่นในความเป็นตัวตนของเรา ช่วยให้สังคมทุกระดับเกิดความเข้าใจต่อกัน และช่วยให้ชาติบ้านเมืองเกิดความสงบสุข จึงถือเป็นบุญอย่างหนึ่ง ผลบุญข้อนี้จะทำให้เกิดความเมตตาต่อกัน

    5. การช่วยขวนขวายทำในกิจที่ชอบ หรือไวยาวัจจมัย พูดง่ายๆ ว่า เป็นการให้ความช่วยเหลือแก่สังคมรอบข้าง ในการทำกิจกรรมความดีต่างๆ เช่น ช่วยพ่อแม่ค้าขายไม่นิ่งดูดาย ช่วยสอดส่องดูแลบ้านให้เพื่อนบ้าน ยามที่เขาต้องไปธุระต่างจังหวัด ช่วยงานเพื่อนที่ทำงานให้แล้วเสร็จทันเวลา ให้กำลังใจแก่เพื่อนที่มีความทุกข์ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ถือเป็นบุญอีกแบบหนึ่ง และผลบุญในข้อนี้ก็จะช่วยให้เกิดความรักความสามัคคีขึ้นด้วย

    6. การให้ผู้อื่นมาร่วมทำบุญกับเรา หรือ ปัตติทานมัย กล่าวคือ ไม่ว่าจะทำบุญอะไร ก็เปิดโอกาสให้คนอื่นได้มาร่วมทำบุญด้วย ไม่ขี้เหนียว หรืองกบุญเพราะอยากได้บุญใหญ่ไว้คนเดียว เช่น จะทำบุญสร้างระฆัง ก็ให้คนอื่นได้ร่วมสร้างด้วย ไม่คิดจะทำเพียงคนเดียว เพราะคิดว่าทำบุญระฆัง จะได้กุศลกลายเป็นคนเด่นคนดัง เลยอยากดังเดี่ยว ไม่อยากให้ใครมาร่วมด้วย เป็นต้น นอกจากนี้ การเปิดโอกาสให้คนอื่นมาร่วมทำงาน ร่วมแสดงความคิดเห็น รวมไปถึงการทำบุญ อุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว ก็ถือเป็นการทำบุญในข้อนี้ด้วย ผลบุญดังกล่าว จะช่วยให้เราเป็นคนใจกว้าง และปราศจากอคติต่างๆ เพราะพร้อมเปิดใจรับผู้อื่น

    7. การอนุโมทนาส่วนบุญ หรือ ปัตตานุโมทนามัย คือ การยอมรับหรือยินดีในการทำความดีหรือทำบุญของผู้อื่น เมื่อใครไปทำบุญมาก็รู้สึกชื่นชมยินดีไปด้วย โดยไม่คิดอิจฉาหรือระแวงสงสัยในการทำความดีของผู้อื่น เช่น เพื่อนเดินทางไปสักการะสังเวชนียสถานมา ก็ร่วมอนุโมทนา ที่เขามีโอกาสได้ไปทำบุญ ในดินแดนศักดิ์สิทธิ์ ไม่อิจฉาเขา แม้เราไม่ได้ไป ก็อย่าไปคิดอกุศลว่า เขาได้ไปเพราะชู้รักออกเงินให้ เป็นต้น การไม่คิดในแง่ร้าย จะทำให้เรามีจิตใจไม่เศร้าหมอง แต่จะแช่มชื่นอยู่เสมอ เพราะได้ยินดีกับกุศลผลบุญต่างๆ อยู่ตลอดเวลา แม้จะมิได้ทำเองโดยตรงก็ตาม



    8. การฟังธรรม หรือ ธรรมสวนมัย การฟังธรรม จะทำให้เราได้ฟังเรื่องที่ดี มีประโยชน์ทั้งต่อสติปัญญา และการดำเนินชีวิต ซึ่งการฟังธรรมนี้ ไม่จำเป็นต้องไปฟังที่วัด หรือจากพระท่านโดยตรง แต่อาจจะฟังจากเทป ซีดี หรือเป็นการฟังจากผู้รู้ต่างๆ และธรรมในที่นี้ ก็มิได้หมายถึงแต่เฉพาะหลักธรรม ในทางศาสนาเท่านั้น แต่ยังหมายรวมไปถึงเรื่องจริง เรื่องดีๆ ที่ทำให้ผู้ฟังเกิดความรู้และปัญญา ผลบุญข้อนี้จะทำให้ผู้ฟังเกิดการรู้แจ้งเห็นจริงยิ่งขึ้น

    9. การแสดงธรรม หรือ ธรรมเทศนามัย คือการให้ธรรมะหรือข้อคิดที่ดีๆ แก่ผู้อื่น ด้วยการนำธรรมะหรือเรื่องดีๆ ที่เป็นประโยชน์ไปบอกต่อ หรือให้คำแนะนำให้เขาได้รู้จักวิธีการดำเนินชีวิตที่ดี เช่น สอนวิธีการทำงานให้ แนะหลักธรรมที่ดีที่เราได้ยินได้ฟังมา และปฏิบัติได้ผลแก่เพื่อนๆ เป็นต้น ผลบุญในข้อนี้ นอกจากจะทำให้ผู้อื่นได้รับรู้สิ่งที่เป็นประโยชน์แล้ว ยังทำให้ผู้บอกกล่าวได้รับการยกย่องสรรเสริญอีกด้วย

    10. การทำความเห็นให้ถูกต้อง เหมาะสม หรือ ทิฏฐุชุกรรม คือ การไม่ถือทิฐิ เอาแต่ความคิดเห็นของตนเป็นใหญ่ แต่ให้รู้จักแก้ไข ปรับปรุงพัฒนาความคิดเห็น และความเข้าใจในเรื่องต่างๆ ให้ถูกต้องตามธรรมอยู่เสมอ หรือจะพูดง่ายๆ ว่า ให้คิดและประพฤติตนให้ถูกต้อง ตามทำนองครองธรรมก็ได้ ซึ่งข้อนี้แม้จะเป็นข้อสุดท้ายแต่ก็สำคัญยิ่ง เพราะไม่ว่าจะทำบุญใดทั้ง 9 ข้อที่กล่าวมา หากมิได้ตั้งอยู่ในทำนองครองธรรม การทำบุญนั้นก็ไม่บริสุทธิ์ และให้ผลได้ไม่เต็มที่ ดังจะได้กล่าวถึงเกณฑ์การวัดบุญต่อไป
     
  4. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    คุณ buak. ให้ความรู้ที่น่าสนใจดีนะ
    เเต่ไม่น่าแปลกใจหรอ คุณเรียกนาค ว่า เป็นสัตว์เดรัจฉาน เเล้ว ทำไมถึงบอกว่าเป็นเทวดาหล่ะ?
    ไม่ขัดเเย้งกันหรอ. คติ5 มีอยู่ นรก๑ กำเนิดเดรฉาน๒ เปรตวิสัย๓ มนุษย์๔ เทวดา๕
    เเล้วตกลงจะให้นาค เข้าไปอยู่จำพวกไหน? เเล้วทำไมนาคถึงอยากมาเป็นมนุษย์?
    ก็นาคคือสัตว์ คุณจะเรียกครึ่งๆกลางๆเเบบนี้ไม่ได้ ว่าเป็นสัตว์เทพหรืออะไร
    นาค หรือ พยานาค ถึงเเม้เป็นโอปปาติกะ ที่ผุดขึ้นมา ปราณีตสุดในหมู่นาค ก็อยู่ในภูมิของเดรฉาน
    เเละอัตภาพเเต่ละอย่างเกิดพร้อมๆกันไม่ได้ หรือ ครึ่งๆกลางๆไม่ได้
    เพราะฉะนั้น พวกที่นับถือนาคเป็นสรณะ พวกนี้ย่อมไปนรก หรือ กำเนิดเดรฉาน. เพราะวิบากของเค้ามีใจพูกพันกำเดรฉาน กลุ่มเดรฉานจะมี หมู หมา กา ไก่ เป็นต้น
    เเต่สมัยนี้ ผมเป็นหวงอยู่เรื่องเดียว คือการบวชนาค สมัยพุทธกาลไม่มีนะ เเล้วนาคมาบวชพระองค์บอกให้ศึกออกไปทันที (เดียวจะมีสูตรมายืนยัน)
    อีกกรณีมีการสึกออกมาเป็นคฤหัสก่อน พวกนี้พระองค์จะตำหนิไว้
     
  5. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    สมัยนี่ หาเรื่องกันจะไปเป็น นาค ทั่งที่การเป็นมนุษย์ เป็นภูมิที่สูงกว่านาคอยู่เเท้ๆ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุปสัมบัน คือ สัตว์ดิรัจฉาน ภิกษุไม่พึงให้อุปสมบท ที่อุปสมบท
    แล้ว ต้องให้สึกเสีย.
     
  6. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ทำบุญเจือด้วยราคะ ไม่จำเป็นว่า จะไปเกิดเป็น พยานาค

    ทำบุญด้วยจิตที่เจือราคะ อาจจะเกิดเป็น เทวดาก็ได้

    ทำบุญด้วยจิตที่เจือราคะ อาจจะเกิดเป็น พรหมก็ได้

    เช่น บุญที่เรียกว่า การภาวนา การทำกรรมฐาน บุญแบบนี้หาก
    ขณะประกอบการงานแต่จิตเจือด้วยราคะ จะไปเกิดเป็น พยานาค
    เป็นเทวดา เป็นพรหม ได้หมด

    แต่ถ้า ทำบุญด้วยราคะ คือ มีความจงใจอยากได้ผลบางประการ
    อย่างหนักแน่นแล้วจึงทำบุญ อันนี้ เกิดเป็น เปรต ได้

    เช่น มีพระธุดงค์ท่านหนึ่ง ท่านเดินจงกรมในป่า เดินอยู่อย่างนั้น
    ปฏิบัติด้วย ราคะ พอตายไป ก็กลายเป็น ผีเปรตเดินอยู่บนทาง
    จงกรมอยู่ตรงนั้น ( อันนี้ เป็นเรื่องเล่าของพระสาย หลวงปู่มั่น )

    ดังนั้น

    ให้คุณ จขกท ใคร่ครวญธรรมเกี่ยว ราคะ เข้ามาหน่อย ว่า "ทำบุญ
    แต่จิตยังเจือด้วยราคะ " นั้น ต่างกันกับ "จงใจทำบุญด้วยราคะ " นั้น
    มีความแตกต่างกันตรงไหน

    ระลึกเข้ามาที่ จิตมีราคะ ก็รู้ว่า จิตมีราคะ

    จิตมีราคะเพราะ จิตยังเจือราคะ ราคะไม่สิ้น ราคะยังกลุ้มรุมได้ ก็รู้ไปตรงๆ

    จิตมีราคะเพราะ จิตจมราคะ ราคะครอบงำ ก็รู้ไปตรงๆ

    ยามใดจิตไม่มีราคะ ทั้ง เจือ ทั้ง จงใจ ก็รู้ไปว่า จิตไม่มีราคะ

    พิจารณาเห็นจิตเข้ามาแบบนี้เนืองๆ จะไม่เกิดเป็น พยานาค
    และจะไม่เกิดเป็นเทวดา หรือ พรหมด้วย

    พิจารณาดีๆ ไม่คลอดแคลนไปจากการภาวนาเลย ไม่ต้องเกิดเลย
    อันนี้น่าสนใจหรือเปล่า สภาวะสิ้นตัณหา ไม่เกิดอีก ตรงนี้ น่าสนใจหรือ
    เปล่า ก็ลองพิจารณา เป้าหมาย นี้ดูว่า มี นมสิการ หรือ ไม่มีมนสิการ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 พฤษภาคม 2013
  7. นาคบุตร

    นาคบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    34
    ค่าพลัง:
    +826
    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 771

    ด้วยศัพท์ว่า อบาย ทรงแสดงถึงกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน.

    จริงอยู่ กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานชื่อว่า อบาย เพราะปราศจากภูมิ

    เป็นที่ไปดี ไม่จัดเป็นทุคติ เพราะเป็นที่เกิดของพญานาคเป็นต้น
     
  8. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    ภิกษุ นาคบางพวกที่เป็นอัณฑชะ ในโลกนี้มีความคิดอย่างนี้ว่า
    เมื่อก่อนพวกเราเป็นผู้กระทำกรรมทั้งสอง(สุจริตกับทุจริต)ด้วย กาย วาจา ใจ
    เมื่อตายไปจึงเข้าถึงความเป็นสหายของพวกนาคที่เป็นอัณฑชะ (กรรมทั้งดำทั่งขาว)
    ถ้าวันนี้พวกเราพึงประพฤติสุจริตด้วยกาย ด้วย วาจา ด้วยใจ ไซร์ (กรรมขาวฝ่ายเดียว)
    เมื่อเป็นอย่างนี้เมื่อตายไปพวกเราพึงเข้า"สุคติโลกสวรรค์"
    เชิญพวกเรามาประพฤติสุจริตด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจเสียในบัดนี้
    ภิกษุ ข้อนี้แล เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้นาคที่เป็นอัณฑชะบางพวก รักษาอุโบสถแล้วสละกายได้
    (ในกรณีพวกนาคที่เป็น ชลาพุชะ สังเสทชะ โอปปาติกะ ตรัสข้อความเหมือนเดิม)
     
  9. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,207
    ค่าพลัง:
    +3,123
    พระพุทธเจ้าเคยกำเนิดเป็นพญานาค



    พระพุทธเจ้าทรงแสดงอดีตนิทานว่า พระองค์เคยเกิดเป็นพญานาค
    ดังที่ปรากฏใน อรรถกถา จัมเปยยชาดก ขุททกนิกาย ชาดก
    เล่ม ๓ ภาค ๗ หน้า ๑๘๕


    พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภอุโบสถกรรม ความว่า “ดูก่อนอุบาสกบาสิกาทั้งหลาย การที่ท่านทั้งหลายอยู่รักษาอุโบสถกรรมเป็นความดี โบราณกบัณฑิตทั้งหลาย ละนาคสมบัติแล้ว อยู่รักษาอุโบสถกรรมเหมือนกัน” อุบาสกอุบาสิกาเหล่านั้นทูลอาราธนา จึงทรงนำอดีตนิทานมาตรัสดังต่อไปนี้



    รถกถา จัมเปยยชาดก ขุททกนิกาย ชาดก
    เล่ม ๓ ภาค ๗ หน้า ๑๘๕



    พระพุทธทรงดำริ ให้รักษา ศีลอุโบสถ
     
  10. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    ถึงเเม้ข้อความที่ผมกล่าวไปอาจจะดูแปลกไปหน่อย จึงต้องพิจรานา
    ก็เหมือนเรื่องที่คุณถามเเบบนี้ ไม่ใช่กับทุกคนนะที่ทำบุญเจือด้วยราคะ ต้องไปกำเนิดนาคเสมอไป
    ไม่ง่ายอย่างนั้น บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำกรรมทั้ง2ทุจริตบ้าง สุจริตบ้าง อาจจะได้ไป คือ พิเศษหน่อย ยังมีความดี
    เเต่คนที่กำลังประพฤติทุจริตอย่างเดียว. ต่อให้เอาถานเงิน ถาดทองไปโยนเเจก ก็ไม่ได้เป็นนาคด้วยซ้ำไป. ศิล5 ส่วนมโนอีก3 ต้องมีบ้าง
     
  11. bird2531

    bird2531 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2012
    โพสต์:
    167
    ค่าพลัง:
    +298
    สมัยนี่ หาเรื่องกันจะไปเป็น นาค ทั่งที่การเป็นมนุษย์ เป็นภูมิที่สูงกว่านาคอยู่เเท้ๆ



    ผมไม่ได้อยากเกิดเป็นนาค ผมแค่อยากรู้ว่าทำไมพวกเขาถึงได้เกิดเป็นนาคเท่านั้นเองครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 พฤษภาคม 2013
  12. รีล มาดริด

    รีล มาดริด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +717
    แวะมาอ่านกระทู้นี้

    ผม นึกถึง สำนัก รังสิต สถานี จานบิน ทันที เลย ผมเป็นห่วงคน ที่ เข้าร่วมกิจกรรม กับสำนักนั้นทันที พวกนี้ มี เจตนาในการทำบุญ มี การ สร้าง ภพ ในการทำบุญ..ผม รู้ว่าพวกนี้ ทำไม จึง นับถือ สำนัก นี้มากมายนัก และพร้อม ถวายหัวให้ด้วย เข้ากับ กระทุ้ ตรงๆเลย

    น่า เป็นห่วง ครับ...คนพวก ที่ไปศรๆัทธา สำนักนี้นั้นยเพราะ กังวล ชีวิตหลังความตายมากเกินไป กลัวว่า จะไปเกิด ที่ไม่ดี เมื่อ มี สำนักนี้มาเปิด และ ตั้งตน เป็น นาย ทะเบียน สวรรค์ ตั้งตนเป็น ผู้รับรอง สวรรค์ หลังความตาย คน จำนวนมากที่ไม่เรียนรู้ คำสอน ของพระศาสดา แท้ๆ จึงพากันไป ถวายหัว มอบตัว และหัวใจให้จนหมดสิ้น บางคนสิ้นเนื้อประดาตัวก็มี..น่า สงสารครับ
     
  13. คนแก้กรรม

    คนแก้กรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    155
    ค่าพลัง:
    +833
    ผมทำบุญทีไร ผมก็ขอทุกที ขอให้กิจการดีขึ้น ให้ขายของดีขึ้น แต่ไม่ได้ขอให้มันเกินกว่าที่เราทำไปเช่นขอให้ถูกหวย รวยโปประมาณนี้ แต่ถ้าขอแล้วมันเป็นบาปก็คงต้องเลิกทำบุญซะมั้ง ผมว่าเราเอาความสบายใจของเราเป็นหลักดีกว่าครับ ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงได้ด้วยบุญ โมทนาครับ
     
  14. สีลสิกขา

    สีลสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    1,271
    ค่าพลัง:
    +7,137
    นาคเป็นสัตว์เดรัจฉาน

    ก็โดยสมัยนั้นแล นาคตัวหนึ่งอึดอัด ระอา เกลียดกำเนิดนาค นาคนั้นได้มีความดำริว่า ด้วยวิธีอะไรหนอ เีราจึงจะพ้นจากกำเนิดนาคและกลับได้อัตภาพเป็นมนุษย์เร็วพลัน

    ครั้นแล้วได้ดำริต่อไปว่า สมณะเชื้อสายศากยบุตรเหล่านี้แลเป็นผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสงบ ประพฤติพรหมจรรย์ กล่าวแต่คำสัตย์ มีศีล มีกัลยาณธรรม หากเราจะพึงบวชในสำนักสมณะเชื้อสายศากยบุตร ด้วยวิธีเช่นนี้ เราก็จะพ้นจากกำเนิดนาคและกลับได้อัตภาพเป็นมนุษย์เร็วพลัน

    ครั้นแล้วนาคนั้นจึงแปลงกายเป็นชายหนุ่ม แล้วเข้าไปหาภิกษุทั้งหลายขอบรรพชา ภิกษุทั้งหลายจึงให้เขาบรรพชาอุปสมบท สมัยต่อมา พระนาคนั้นอาศัยอยู่ในวิหารสุดเขตกับภิกษุรูปหนึ่ง.

    ครั้นปัจจุสสมัยแห่งราตรี ภิกษุรูปนั้น ตื่นนอนแล้วออกไปเดินจงกรมอยู่ในที่แจ้ง ครั้นภิกษุรูปนั้นออกไปแล้ว พระนาคนั้นก็วางใจจำวัด วิหารทั้งหลังเต็มไปด้วยงู ขนดยื่นออกไปทางหน้าต่าง.

    ครั้นภิกษุรูปนั้นผลักบานประตูด้วยตั้งใจจักเข้าวิหาร ได้เห็นวิหารทั้งหลังเต็มไปด้วยงู เห็นขนดยื่นออกไปทางหน้าต่างก็ตกใจ จึงร้องเอะอะขึ้น

    ภิกษุทั้งหลายพากันวิ่งเข้าไปแล้วได้ถามภิกษุรูปนั้นว่า "อาวุโส ท่านร้องเอะอะไปทำไม? " ภิกษุรูปนั้นบอกว่า "อาวุโสทั้งหลาย วิหารนี้ทั้งหลังเต็มไปด้วยงู ขนดยื่นออกไปทางหน้าต่าง"

    ขณะนั้น พระนาคนั้นได้ตื่นขึ้นเพราะเสียงนั้น แล้วนั่งอยู่บนอาสนะของตน ภิกษุทั้งหลายถามว่า "อาวุโส ท่านเป็นใคร ?" พระนาคจึงตอบว่า "ผมเป็นนาคขอรับ" ภิกษุถามอีกว่า "อาวุโส ท่านได้ทำเช่นนี้เพื่อประสงค์อะไร ?"

    พระนาคนั้นจึงแจ้งเนื้อความนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายกราบทุลเรื่องนั้นแก่พระผู้มีพระภาค ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามุลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วได้ทรงประทานพระพุทธโอวาทนี้แก่นาคนั้นว่า:-

    "พวกเจ้าเป็นนาค มีความไม่งอกงามในธรรมวินัยนี้เป็นธรรมดา ไปเถิดเจ้านาค จงไปรักษาอุโบสถในวันที่ ๑๔ ที่ ๑๕ และที่ ๘ แห่งปักษ์นั้นแหละ ด้วยวิธีนี้ เจ้าจักพ้นจากกำเนิดนาค และจักกลับได้อัตภาพเป็นมนุษย์เร็วพลัน".

    ครั้นนาคนั้นได้ทราบว่า ตนมีความไม่งอกงามในธรรมวินัยนี้เป็นธรรมดา ก็เสียใจหลั่งน้ำตา ส่งเสียงดังแล้วหลีกไป.

    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า:-

    ภิกษุทั้งหลาย! เหตุแห่งความปรากฏตามสภาพของนาค มีสองประการนี้คือ :-
    เวลาเสพเมถุนธรรมกับนางนาคผู้มีชาติเสมอกัน ๑
    เวลาวางใจนอนหลับ ๑

    ภิกษุทั้งหลาย! นี้แล เหตุแห่งความปรากฎตามสภาพของนาค ๒ ประการ.
    ภิกษุทั้งหลาย! อนุปสัมบัน คือ สัตว์เดรัจฉาน ภิกษุไม่พึงให้อุปสมบท ที่อุปสมบทแล้ว ต้องให้สึกเสีย

    มหา. วิ. ๔/๑๗๕/๑๒๗
    คัดลอกจากหนังสือ พุทธวจน ฉบับ ๑๑ ภพภูมิ
     

แชร์หน้านี้

Loading...