พอใจรูม

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย ppojai, 3 ตุลาคม 2010.

  1. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,779
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,038
    ==================
    ปล่อยวางเสียเถอะ จะได้ว่างๆๆ และเบาๆ สบายๆ สาธุธรรมค่ะ
    ;aa59hello10;41;aa53 4 the nice and wonderful conversation
     
  2. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    สาธุ ๆ ๆ ค่ะ พี่ต้อย ยิ่งแบก ยิ่งหนัก ยอมวาง ก็ไม่ต้องแบก รู้สึกเบา ไม่ต้องหิ้วอีกต่อไปแล้วค่ะ
     
  3. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    [​IMG]

    ฟังธรรม ...เพื่อ..พึงละชั่ว ทำดี ไม่ยึดมั่นถือมั่น จิตใจผ่องใสเบิกบาน..​
     
  4. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    ความคิดเป็นงานของจิต

    "หลายท่านเกิดความท้อแท้ หมดหวังในการปฏิบัติของตนเอง เพราะปฏิบัติเท่าไรจิตก็ไม่นิ่งสักที จิตคอยแต่จะออกไปคิด ฟุ้งปรุงแต่ง เสียใจกับอดีตบ้าง ฝันหวานกับอนาคตบ้าง ก่อความรำคาญอึดอัดให้กับตัวผู้ปฏิบัติเป็นอย่างมาก ขอท่านอย่าได้วุ่นวายใจเพราะความซุกซนของจิตไปเลย จิตมีธรรมชาติเป็นเช่นนั้นแล...


    ธรรมชาติของจิตนั้นเป็นธาตุรู้ เป็นผู้รับรู้อารมณ์ความคิดต่างๆ ที่มากระทบอายตนะ แต่ถึงแม้ไม่มีปัจจัยภายนอกใดๆ มากระทบจิตก็สามารถส่งออกไปคิดปรุงแต่งได้เอง เพราะความคิดเป็นงานของจิต
    ... การเจริญสมถะกรรมฐานเป็นการสะสมพลังงาน โดยการให้จิตได้หยุดนิ่งเพื่อพักผ่อน เมื่อจิตอิ่มตัวแล้วจึงใช้จิตนี้ออกไป ทำงานต่างๆ เช่นคิดสร้างสรรค์ แก้ปัญหา รวมถึงการพิจาณาธรรมะเพื่อความหลุดพ้นด้วย ดังนี้แล้วจะเห็นได้ว่าความคิดนั้น เป็นธรรมชาติและเป็นงานหลักของจิตเลยทีเดียว จิตที่นิ่งเฉยสงบอยู่ภายใน ไม่คิดไม่สนใจอะไรแท้จริงคือ จิตขี้เกียจ จิตหดหู่ จิตซึมเศร้า จิตที่มีพลังงานนั้นเขาจะนึกคิดอยู่ตลอดเวลา ขอให้เข้าใจประเด็นตรงนี้ด้วย

    เมื่อท่านรู้ว่าธรรมชาติของจิตเป็นเช่นนั้นแล้ว ท่านก็ต้องรู้ด้วยว่าจิตนี้ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ของเรา ดังนั้นขอให้ท่านใช้สติตามดูสภาวะที่เกิดขึ้นกับจิตอย่างเป็นกลางที่สุด หากท่านต้องการรู้ธรรมเห็นธรรมตามที่พระพุทธองค์ตรัสสั่งสอนไว้ ท่านต้องศึกษาหาความจริงในจิตตนเองนี้แหล่ะจึงจะถูกต้องและตรงเป้าที่สุด ดูอย่างเป็นกลาง ดูอย่างเป็นธรรมชาติเมื่อท่านเอาจิตเกาะพระอยู่เรื่อยๆ เนืองๆ ก็ถือว่าท่านได้ฝึกสะสมพลังงานให้กับจิตของตนเองแล้ว ต่อไปเมื่อจิตอิ่มตัวจิตจะออกทำงานของเขาเองอัติโนมัติ ถึงตรงนี้ให้ท่านใช้สติตามรู้อย่างเดียวว่าจิตเขาเป็นยังไง คิดอะไรอยู่บ้าง อย่าบังคับให้คิด อย่าข่มให้เลิกคิด ให้ทำความรู้สึกว่าจิตนี้ไม่ใช่เราเราเป็นอีกคนนึงที่คอยสะกดรอย ตามดูพฤติกรรม ท่านจะได้พบกับความจริงตามธรรมชาติของจิต เปรียบเสมือนเด็กน้อยที่เมื่อมีกำลังก็วิ่งเล่นเรียนรู้สิ่งต่างๆ ไม่หยุดหย่อน แต่เมื่อเหนื่อยแล้วก็จะกลับมาพักผ่อน กินนอนให้อิ่มหนำสำราญแล้วก็ออกไปเล่นอีก ฉันใดก็ฉันนั้น เมื่อจิตมีพลังงานก็จะออกไปคิดฟุ้งเรื่องราวต่างๆ เมื่อเหนื่อยก็จะหลบเข้าไปจำศีลอยู่ภายใน นิ่งเฉยไม่คิดฟุ้งใดๆ บางครั้งก็เข้าไปอยู่ในสมาธิของเขาเองโดยที่เราไม่ต้องกำหนดให้เป็นไปแต่อย่างใดสลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนอยู่อย่างนี้เรื่อยๆ เราก็แค่รู้ให้ทันว่าจิตมีสภาวะเช่นไร ไม่ต้องไปวุ่นวายบังคับขู่เข็ญให้เขาเป็นอย่างที่เราต้องการ

    เหตุที่ท่านทุกข์ใจก็เพราะท่านไปบังคับจิต ไม่ยอมปล่อยให้จิตทำหน้าที่ของเขาตามธรรมชาติความอึดอัดท้อแท้เป็นทุกข์ ความยึดมั่นถือมั่นว่าจิตนี้เป็นเราเป็นของเราคือสมุทัย การเพียรพยายามเอาสติตามรู้ดูจิตอย่างเป็นกลางคือมรรค ต้องเจริญให้มากๆ เช่นนี้แล้วท่านก็จะรู้สึกเบาสบาย ไม่ทุกข์ร้อนกับจิตดวงนี้อีกต่อไปจะคิดก็คิดไป ฉันก็เอาสติตามดูเธอ จะฟุ้งก็ฟุ้งไป จะนิ่งสงบก็นิ่งไป ฉันไม่เดือดร้อนใดๆ ด้วยอีกแล้ว จิตนี้แท้จริงคือตัวทุกข์ เพราะเกิด-ดับอยู่ตลอดเวลา แสดงความเป็นไตรลักษณ์ให้เห็นบ่อยที่สุด บ่อยครั้งกว่าธรรมธาตุใดๆ ในจักรวาล"
    ที่มา : กระทู้หน้า 129 # 2572 By คุณนก(ชาย)
     
  5. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    วิธีแยกจิตกับอารมณ์

    จิตกับอารมณ์เป็นเรื่องละเอียดสุขุมจะแยกออกจากกันไม่ใช่เป็นเรื่องง่ายๆ ที่ร้ายที่สุดก็คือคนที่ไม่ยอมเชื่อว่า จิตกับอารมณ์จะแยกออกจากกันได้ โดยสำคัญว่า จิตกับอารมณ์เป็นอันเดียวกัน
    ความจริง จิตกับอารมณ์ไม่ใช่อันเดียวกันและแยกออกจากกันได้ อารมณ์เป็นสิ่งที่มาทีหลัง อาคันตุเกหิ เป็นสิ่งที่จรเข้ามาจับต้อง เหมือนฝุ่นธุลีสิ่งสกปรกเข้ามาจับต้องผ้าขาวหรื่อแก้วที่สุกใสแวววาว ทำให้ผ้าขาวหรื่อแก้วนั้นเปลี่ยนลักษณะไปคือกลายเป็นของเศร้าหมอง หรือจะว่าสภาพเดิมหายไปก็ใช่
    อารมณ์นั้นมี ๒ คือที่ชอบใจและไม่ชอบใจ และเป็นไปในกาล ๓ คือปัจจุบันกาล อดีตกาล อนาคตกาล
    อารมณ์นั้นเข้ามาระหว่างตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายได้สัมผัส
    อารมณ์นั้นเข้ามาแล้วๆ ก็มาติดมาค้างอยู่ในจิตในใจไม่หายไปง่ายๆ จิตใจเป็นดังผ้าขาวหรือดวงแก้วก็กลายเป็นสิ่งเศร้าหมองไป
    อารมณ์แปลว่าความยินดี หรือธรรมชาติที่มายินดีแห่งจิต ได้แก่ รูปเสียง กลิ่น รส สัมผัส เมื่อจิตยินดีก็บังเกิดเป็นจิตสังขารขึ้นมา และก็กลับเป็นเครื่องปรุงแต่งจิตอีก อารมณ์มีตัณหาอุปาทานเป็นแก่นใน จึงผสมผสานเป็นเรื่องเป็นราวขึ้นมา สำเร็จเป็นตัวนึกคิด หรือตัวห่วงตัวอาลัยจึงเป็นไปในอดีตบ้าง อนาคตบ้าง ในปัจจุบันบ้าง
    ต่อเมื่อท่านผู้ใดมารู้จักอารมณ์ แล้วกำหนดละวางอารมณ์ ไม่นึกถึงเรื่องที่เป็นอดีต และไม่นึกถึงเรื่องที่เป็นอนาคต และไม่นึกถึงเรื่องที่เป็นปัจจุบันได้ ท่านผู้นั้นกก็จะพบความว่าง พบความสงบ มีจิตเป็นตัวของตัวเอง ย่อมพ้นทุกข์ทั้งปวง
    อุคคเสน บุตรเขยของช่างฟ้อน พระพุทธเจ้าตรัสว่า เธอจงละวาง ห่วงอาลัยในอดีต ละวางห่วงอาลัยในอนาคต ละวางห่วงอาลัยในปัจจุบัน จะเป็นผู้ถึงฝั่งแห่งภพ มีใจพ้นแล้วในธรรมทั้งปวง ไม่ต้องเข้าถึงชาติและชราอีก
    เมื่อพระพุทธองค์ตรัสจบลง อุคคเสนผู้ยืนอยู่บนปลายแผ่นไม้ ก็ได้สำเร็จพระอรหันต์ทันที
    การละ การวาง ก็คือละวาง ไม่นึกน้อมไปในสิ่งทั้ง ๕ นั่นเอง มีรูปเป็นต้น เมื่อใดละวาง ไม่นึกถึง ไม่คิดหา เมื่อนั้นอารมณ์ก็หายไป ความที่อารมณ์หายไปนั่นเอง จิตได้แยกตัวออกจากอารมณ์แล้ว จิตนั้นก็จะเปล่งปลั่ง สุกใส ไม่หายไปไหน ดังผ้าขาวและแก้วอันได้ ซักฟอกกปัดเป่าดีแล้วนั่นแล
    บางคนบอกว่า ปล่อยวางให้จิตว่าง ไม่นึกคิด อะไรๆ เลยทำไม่ได้ เพราะไม่รู้จะเอาจิตไปไว้ที่ไหน ต้องคิดเรื่องนั้นเรื่องนี้อยู่เสมอ
    จริงอยู่นี่ก็เป็นเรื่องของคนส่วนมาก ว่าไปก็คือไม่รู้จักอารมณ์ ไม่รู้จักจิตนั่นเอง เหมือนคนไม่รู้จักแกลบ ไม่รู้จักข้าวสาร ก็ไม่อาจจะแยกได้ในเมื่อสิ่งนั้นปนกันอยู่

    อารมณ์เป็นสิ่งที่ต้องละทิ้ง จิตเป็นสิ่งที่ต้องทำให้แจ้งเหมือนแกลบ กับข้าวสารนั่นเอง ละทิ้งอารมณ์ได้ ก็ย่อมจะพบจิต จะพบจิต ก็ต้องทำให้ว่าง จากอารมณ์
    ว่าถึง ผู้ปล่อยวางละทิ้งอารมณ์ไม่ได้ หรือละวางยากจะหันไปดูจิตว่างอย่างเดียวไปเลยก็ได้ เป็นวิธีมุ่งขุดคุ้ยหาจิตว่างอย่างเดียว เป็นสัจฉิกาตัพพันต์ หมายความว่าทำให้แจ้ง ซึ่งธรรมชาติ ที่สงบ ที่ประณีต วิธีนี้ไม่ต้องไปสนใจ กับการปล่อยวางละทิ้งอารมณ์ เมื่อมุ่งใจหาความสงบ ความประณีตมันจะเป็นการตัด อารมณ์นึก อารมณ์คิดไปในตัว เช่นเดียวกับเราเห็น แสงสว่างอยู่เบื้องหน้า แล้วเดินเข้าไป จนถึงที่สว่าง ความมืดจะหายไปเอง
    ความจริง จิตว่างจากอารมณ์นั้นมีอยู่แล้ว เป็นของเดิม แต่ไม่ปรากฏชัดเป็นนามธาตุ มีความบริสุทธิ์และ ใสสว่าง อยู่ในตัวเหมือนดวงแก้วมณี ไม่มีรักมีชังมาก่อน เมื่อเราต้องการจะขุดคุ้ยหากันจริงๆ ก็ย่อมจะพบได้
    จิตเดิมแม้ไม่มีรูปร่าง สูงต่ำ ดำแดงอย่างใด ก็ยังบ่งบอกความสุขสงบ ของตัวเองให้รู้อยู่บ้าง เช่นเวลารู้สึกตัวตื่นจากหลับ หรือเวลาก่อนจะหลับ จิตยังมิได้คิดอะไร และจิตสู่ภวังค์ขาดความคิด นั่นบ่งบอกถึงสภาพเดิมว่าเป็นธรรมชาติสงบ ผุดผ่องไม่มีอารมณ์นึกอารมณ์คิด มีอยู่แล้วแต่เพราะเราไม่มีเวลาที่จะ ทรงความรู้สึกนั้นไว้ได้
    มีอยู่แล้ว อย่างไร ที่ไหน คือมีอยู่คู่กับความรู้สึกตัว และทั่วไปในความรู้สึกตัว
    การขุดคุ้ยค้นหานี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าตามหา พุทโธ พุทโธ แปลว่า ผู้รู้ ผู้เบิกบาน ผู้เป็นตัวของตัวเอง ผู้เป็นไท ไม่เป็นทาสใคร พุทโธ ก็คือ จิตนั่นเอง
    อย่างไรก็ดี จิตนั้นไม่มีรูปร่าง รู้เห็นได้ยาก แต่ก็จิตนั้นละเอียด สงบ มีความสะอาดผุดผ่อง รู้เห็นได้ พบเห็นได้ ผู้เข้าถึงจะรู้ จะพบเห็น หลับตาโน้มจิตก่อนจะเข้าหาแหล่งว่าง ให้ถามรูปละเอียดดูก่อนคือ นึกถึงรูปละเอียด นึกขึ้นมาเป็นรูปนิมิต พอให้เห็นว่าเป็นรูปคือเป็นรูป คือเป็นวัตถุที่ไม่มีวิญญาณ สักว่าเป็นของลอยอยู่ ในความว่างเพื่อเอาเทียบกัน รูปละเอียดที่เห็นนั้นจะบอกว่า ตูข้านี่แหละ อาศัยความว่าง ความสงบอยู่ ตูข้าไม่เที่ยง ตูข้าไม่ใช่ของจริง ความว่างนั่นแหละเที่ยง ความว่างสงบนั่นแหละของจริง ท่านจงผละจากตูข้าไปอยู่กับความว่าง ความสงบเถิด
    ความว่างไม่มีรูปร่าง ไม่เป็นใน ไม่เป็นนอก ไม่เป็นใกล้ ไม่เป็นไกล ไม่ใช่ทิศนั้นทิศนี้ ความว่างเป็นที่อยู่ของจิตดับทุกข์ ไม่มีความยึดถือเกาะเกี่ยวอะไรๆ
    ความว่างเป็นเรือนว่างที่อิสระ สงบ เป็นสุข ปลอดภัย ผู้พบความว่างย่อมพบพุทโธ ผู้พบพุทโธ ก็คือผู้พบจิตเดิม ผู้พบจิตเดิมย่อมจะ ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย ต่อไปอีกแล
    เมตตาธรรม โดย พระคุณเจ้า หลวงพ่อ ดาบส สุมโณ
     
  6. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490


    [​IMG]

    [​IMG]


    นิพพาน มีอยู่ ๓ อย่าง

    --------------------------------------------------------------------------------​

    นิพพาน ๓ อย่าง



    นิพพานนั้นองค์สมเด็จพระบรมศาสดา สัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงสอนได้ว่า มีอยู่ ๓ อย่าง คือ



    ๑. นิพพานชั่วขณะเรียกว่า “ตะทังคะนิพพาน” หมายความว่าจิตเข้าสู่ความพ้นจากกิเลส คือความหลุดพ้นชั่วขณะ ในขณะที่จิตเข้าสู่ความหลุดพันอย่างนั้นก็เป็นเหตุให้เดความสุขอย่างสุดยอดทีเดยวแต่เมื่อเหตุยังมี ทิษฐิคือความคิดความเห็นยังอยู่ ย่อมนำจิตเข้ามาสู่ในโลกีย์วิสัยอีกได้ นิพพานอย่างนี้ท่านเปรียบเสมือนหนึ่งลิงที่อยู่นิ่งได้ชั่วขณะเดียว แต่ก็ยังดีกว่าผู้ที่ไม่ได้เสียเลยนิพพานชนิดนี่ท่านเรียกว่า “ตะทังคะนิพพาน” คือนิพพานชั่วขณะ


    ส่วนอีกสองประการนั้น เป็น นิพพานอยู่ชั่วกาลนาน เรียกว่า “สะอุปาทิเสสะนิพพาน” เป็นการที่นำดวงจิตเข้าสู่นิพพานอย่างถาวร ไม่กลับออกมาอีกแล้ว เพราะว่าตัดเสียหมดทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีอะไรเหลือคงอยู่แต่ร่างกายเท่านั้น ยังกิน ยังเดิน ยังพูด ยังนอนอยู่

    ส่วนอีกอย่างหนึ่งนั้นเรียกว่า “อะนุปาทิเสสะนิพพาน” นิพพานชนิดนี้ไปหมดทีเดียว ร่างการก็ไปแล้ว ดวงจิตก็หลุดพันจากกิเลสอาสวะทั้งปวงเข้าสู่นิพพาน เรียกกันว่าดับสนิททีเดียว ไม่มีเชื้อให้ลุกติดอีกได้ เหมือนเมล็ดพืชที่ปราศจากยางาเพราะถูกคั่วเสียแล้ว แต่ไม่ใช่หมายความว่าเมล็ดพืชนั้นจะสูญหายไปจากโลก

    ถาม ขอถามปัญหาเกี่ยวกับคำว่า “สะอุปาทิเสสะนิพพาน” กับ “อะนุปาทิเสสะนิพพาน” นั้นหมายถึงว่าดับกิเลสมีเบ็ญจขันธ์เหลือหรือดับเฉพาะบางส่วน มีบางท่านได้ยืนยันว่า “สะอุปาทิเสสะนิพพาน”คือว่าดับกิเลสที่มีเบ็ญจขันธ์อยู่

    ตอบ “สะอุปาทิเสสะนิพพาน” คือการดับกิเลสที่มีเบ็ญจขันธ์อยู่ เพราะเหตุว่า อุปาทานยังครองสังขารนั้น

    ถาม หมายถงพระโสดา สกิทาคา อนาคาใช่ไหม สวน”อะนุปาทิเสสะนิพพาน” นั้นหมายถึงพระอรหันต์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งปวง ปัจเจกพุทธทั้งหลายเช่นนี่ ขอทราบความจริงเป็นอย่างไรกันแน่ครับ

    ตอบ ใครเป็นคนอุตตริที่จะทำให้คนอื่นเข้าใจเช่นนี้เออ เรื่องนี้จะต้องพูดกันยืดยาว เอาละ ให้ตั้งใจฟังกันทุกคน

    เรื่องนี้ครั้งหนึ่งเคยได้พูดกันมาแล้ว่า นิพพานในพุทธศาสนา หรือขององค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น มีอยู่ ๓ ประการ คือ เรียกว่า นิพพานสามขั้น

    ขั้นที่ ๑ เรียกว่านิพพานชั่วคราว หรือ “ตะทังคะนิพพาน” คือเมื่อเข้าสู่นิพพานแล้ว ทิษฐิก็นำจิตนั้นออกจากแดนนิพพาน การเข้านิพพานในขั้นนี้ เมื่อผู้ที่ทำจิตถึงซึ่งการที่จะเข้าสู่นิพพานแล้วย่อมเข้าได้ทุกคน แต่ไม่เป็นการถาวร “สะอุปาทิเสสะนิพพาน” นั้น หมายถึงนิพพานที่ยังมีร่างกายอยู่ เพราะเหตุว่าสังขารยังมีอุปาทานครอง แต่เป็นนิพพานที่ไม่กลับออกมาอีกแล้ว เป็นอรหันต์ตั้งแต่ครั้งยังมีชีวิตได้แก่พระอรหันต์ทั้งหลายทั้งปวงที่มีอยู่นั้น ตั้งแต่สมัยพุทธันดรมาจนกระทั่งสมัยนี้

    ส่วน “อะนุปาทิเสสะนิพพาน” นั้น หมายความว่าร่าง หรือดวงจิตที่อยู่ในร่างที่เข้าสู่นิพพานแล้วนั้น ได้แตกดับขันธ์ไป ทำให้การนำจิตเข้าสู่นิพพานเป็นการถาวรไม่กลับออกมาอีก ไม่มีการเกิด แก่ เจ็บ ตาย โศกปริเทวทุกข์ทั้งปวง

    ไม่ใช่แบ่งชั้นวรรณะว่า ถ้าเป็นสะอุปาทิเสสะนิพพานแล้ว จะได้ตั้งแต่ชั้นโสดาบันไปจนถึงอนาคา ส่วนอะนุปาทิเสสะนิพพาน คือ นิพพานของสังขารที่ปราศจากอุปาทานครองนั้น จะเป็นนิพพานเฉพาะสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทังหลาย ๒๘ พระองค์ก็ดี พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาวยดุจจะเมล็ดทรายในท้องมหาสมุทรก็ดี ประดุจพระอรหันต์ทั้งปวงที่เข้าสู่นิพพานแล้วเท่านั้นหามิใช่เป็นการแบ่งชั้นวรรณะว่านิพพานอย่างนั้นเฉพาะคนชั้นนั้น นิพพานอย่างนี้เฉพาะคนชั้นนี้ ฉันใดก็ตามเมื่อทำจิตให้เข้าถึงซึ่งแดนพระนิพพาน คือแดนแห่งความสงบแล้วย่อมจะเป็นได้ทั้งสิ้นเสมอเหือนกันหมด หากแต่ว่ายังมีสังขารที่มีอุปาทานครองอยู่ หรือเป็นสังขารที่ปราศจขากอุปาทานครองแล้วเท่านั้น

    ถาม ภาวะนิพพานนี้จะประสพได้เมื่อยังมีชีวิตอยู่หรือว่าตายไปแล้วจึงจะได้ประสพ

    ตอบ ไม่น่าจะเป็นปัญหาเลย เมื่อเข้าใจถึงนิพพาน ๓ ประการที่พูดให้ฟังแล้ว ย่อมจะพิจารณาเห็นว่าภาวะนิพพานนั้น จะประสพเมื่อมีชีวิตอยู่ หรือเมื่อหาชีวิตไม่แล้วได้ทั้งสิ้น เมื่อมีชีวิตอยู่ก็ได้”สะอุปาทิเสสะนิพพาน” เมื่อดับชีวิตไปแล้วก้พึ่งอะนุปาทิเสสะนิพพานและ ตะทังคะนิพพานนั้น ย่อมได้แก่บุคคลทั่วที่มีชีวิตอยู่ หรือผู้ที่ไม่มีชีวิตแล้ว แต่เมื่อทำจิตให้เข้าถึงซึ่งแดนนิพพานนั้นชั่วขณะและเมื่ออยู่ในแดนนิพพานชั่วขณะแล้ว ทิษฐิอันประกอบไปด้วย กามสุขัลลิกานุโยคก็ดี ตัณหา อุปาทานทั้งปวงก็ดี เป็นผู้นำจิตนั้นออกจากแดนนิพพาน

    ถาม “ภาวะนิพพาน” กับ “จิตที่บรรลุนิพพานนั้น” มีความแตกต่างหรือเกี่ยวข้องกันอย่างไร

    ตอบ ต่างกัน จะพูดให้ฟัง “ภาวะนิพพาน” หมายถึง ความเป็นอยู่แห่งแดนนิพพาน หรือเราจะเรียกว่าอะไรก็ตาม ในเมื่อเข้าไปสู่ในที่นั้น เมื่อนำจิตเข้าไปสู่ภาวะนิพพานได้แล้ว จิตนั้นก็เป็นจิตที่เข้าสู่นิพพาน ภาวะนิพพานก็คือภพแห่งนิพพานนั้นเอง “ส่วนจิตนิพพานนั้น”เป็นจิตที่อยู่ในรูป หรือจิตที่ปราศจากรูป หากบำเพ็ญจนกระทั่งจิตนั้นเข้าสู่ภาวะนิพพาน หรือภพแห่งนิพพาน หรือวความเป็นอยู่แห่งนิพพานแล้ว ก็ได้ความเป็นนิพพานโดยสมบูรณ์ ดังจะยกตัวอย่างให้เข้าใจ

    ภาวะนิพพาน หรือ ภพนิพพานนั้นอยู่ที่ใด ไม่มีผู้ใดที่จะชี้แจงแถลงไข หรือว่าจะวาดรูปให้เห็นได้ แต่มีข้อที่จะพึงอุปมาได้ว่า ประดุจนั่งอยู่ในห้องนี้เป็นแดนแห่งสามัญธรรมดาทั่วไป ครั้นออกจากประตูท้องนี้ไปสู่ห้องอื่น ก็เข้าสู่แดนนิพพานนั้น เพียงชั่วมีอะไรอย่างใดอย่งหนึ่งมากั้นกลางไว้ อาจจะมองเห็นภาวะนิพพานได้ แต่ไม่สามารถจะนำจิตเข้าส่ภาวะนิพพานนัน้ แต่เมื่อใดสามารถนำจิตเข้าสู่ภาวะนิพพานนั้นได้แล้ว จะรู้แจ้งแก่ตนเอง เป็นปัจจัตตง ผู้อื่นจะรู้ได้กับตัวเรายากที่สุด และตัวเราก็ไม่อาจจะชี้แจงแถลงให้ผู้ใดทราบ เรื่องนี้จะต้องไปพิจาณาด้วยจิตของตัวเองแล้วจะเข้าใจอย่างซาบซึ่ง ไม่สามารถจะอธิบายให้เห็นแจ่มชัดได้หรือนัยหนึ่งเปรียบประดุจมีฉากใสๆ ที่ทำด้วยเส้นใยแมลงมุมซึ่งสามารถจะมองทะลุฉากนั้นไปได้ แต่ว่าไม่สามารถจะเข้าไปยังหลังฉากนั้นได้ ถ้าหากเมื่อใดผ่านฉากนั้นไปได้แล้วจะรู้สึกว่าจิตของตัวเราในภาวะนิพพานนั้นเป็นจิตอีกรูปหนึ่ง ซึ่งแตกต่างกับจิตเดิมอย่างยิ่งทีเดียว

    ถาม เมื่อจิตบรรลุนิพพานแล้วยามที่มีชีวิตอยู่ สุขอย่างไรก็พอจะอนุมานได้ ทีนี้เมื่อเป็น อะนุปาทิเสสะนิพพาน คือ เบ็ญจขันธ์ทำลายลงไปแล้ว จิตนั้นยังมีอยู่หรือเปล่าว จิตที่เหนี่ยวนิพพานเป็นอารมณ์นั้นมีอยู่หรือเปล่า

    ตอบ มีอยู่ตลอดไปไม่มีวันเสื่อมคลาย เพราะจิตหรือวิญญาณนั้นเป็น “อมตะ”

    ถาม และเมื่อจิตอยู่อย่างนั้น ทำไมจิตจึงไม่ทำหน้าที่เกิดอีก

    ตอบ เพราะว่าจิตหลุดพันจากกิเลสทั้งมวล ไม่มีสิ่งใดมาข้องเกี่ยวอีกต่อไป สิ้นกังวลแล้ว สิ้นวามอยากสิ้นตัณหาอุปทานแล้วเห็นแจ้งแล้วในสิ่งที่ควรรู้ควรเห็นจึงไม่ต้องการจะกลับมาด้วยความเบื่อหน่ายอย่างยิ่ง

    ถาม แล้วจิตที่บรรลุนิพพนานหลังจากจากดับเบ็ญจขันธ์แล้วนั้นมันอยู่อย่างไร เพราะไม่มีร่างที่จะอาศัยอยู่

    ตอบ ไม่จำเป็นจะต้องมีร่าง ถ้ามีร่างอีกเมื่อใด ก็หมายความว่ากลับมาเกิดใหม่ ซึ่งผิดไปจากหลักคำสอนขององค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงกล่าวไว้ว่า “นิพพานนังปรมัง สุญญัง” หมายความว่าในนิพพานนั้น สูญการเกิด สูญกิเลส ยังอยู่แต่วิญญาณที่บริสุทธิ์ปราศจากกิเลส เป็นวิญญาณบริสุทธิ์แท้ หรือจิตเดิมแท้ซึ้งไม่มีสิ่งใดมาเคลือบคลุม เป็นจิตที่สว่างแล้ว ไม่มีกิเลสมาหุ้มห่อ ไม่มีอวิชชา คือความไม่รู้แจ้งเห็นจริงในสิ่งที่ควรรู้ควรเห็น เป็นจิตที่ไม่ต้องมีชาติ ชรา มรณะ ทุกข์โศกปริเทวอุปายาสใด ๆ ทั้งสิ้น เมื่อจิตซึ่งปราศจากกิเลสอาสวะทั้งมวลเช่นนี้แล้ว ย่อมเป็นจิตที่บริสุทธิ์ผ่องใสประดุจดวงไฟที่รุ่งโรจน์ จึงไม่จำเป็นที่จะต้องมาหาความดับของความรุ่งโรจน์นั้นอีก

    ถาม ถ้าเช่นนั้นหากมีความต้องการที่จะติดต่อกับจิตของพระพุทธเจ้า จะติดต่อได้ไหม

    ตอบ ติดต่อได้แน่นอนที่สุด ก็การที่เข้าไปในพระอุโบสถแล้วทำสังฆกรรมทั้งหลาย มีการทำวัตรเช้า ทำวัตรค่ำ มีการสวดเจริญพระพุทธมนต์ มีการภาวนาทั้งหลายเหล่านี้ ทำอะไร

    ถาม น้อมจิตนึกถึงพระพุทธเจ้าครับ

    ตอบ นั้นแหละเป็นคำตอบที่ตรงอยู่แล้ว สมเด็จพระบรมศาสดา และบรรดาพระอริยะทั้งหลายก็ย่อมทราบการกระทำนี้ แม้แต่ว่าในขณะนั้นจะได้กระทำไปโดยไม่มีความตั้งใจหรือตั้งใจท่านย่อมทราบหมดสิ้น

    ถาม ก็เมื่อจิตอรหันต์หลังจากนิพพานแล้วอย่างพระพุทธเจ้าเป็นจิตซึ่งไม่มีรูป ไม่มีอายตนะเป็นเครื่องสืบต่อไป จิตนั้นจะมีอานุภาพบันดาลให้ผู้นั้นติดต่อกับพระองค์ได้อย่างไร

    ตอบ อาจจะลืมคำสอนของสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าไปบางตอนแล้วก้ได้กระมังจึงได้ถามอย่างนี้ พระองค์ได้ทรงตรัสสั่งสอนไว้ว่า อันจิตของผู้ใดเป็นจิตที่สงบแล้ว จิตนั้นย่อมสามารถทำสมาธิให้เกิดขึ้นได้ จิตของผู้ใดมีสมาธิแล้ว จิตของผู้นั้นย่อมมีพลัง จิตของผู้ใดมีพลังแล้วย่อมสามารถกระทำการใด ๆ ที่ผิดแผกแตกต่างออกไปจากการกระทำของคนสามัญธรรมดาทั้งหลายได้
     
  7. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    ตัวอย่างการคิดในกิจหรือสติปัญญาและการคิดแบบนึกคิดปรุงแต่ง

    คิดว่าต้องทำงานนี้เยี่ยงไร, ทำอย่างไรจึงดีในกิจหรือหน้าที่ของตน อย่างนี้ถือว่าเป็นคิดเพื่อการดำเนินชีวิตหรือคิดที่ประกอบด้วยสติและปัญญา ดังเช่น งานนี้วางแผนทำวันนั้นวันนี้(คิดในกิจ หรือคิดแบบขันธ์ ๕ ขึ้น ๑ ครั้งแล้ว), ทำอย่างนั้นอย่างนี้(ขันธ์ ๕ อีก ๑ ครั้งแบบคิดในกิจ), คนอื่นไม่เห็นมาช่วยเลย(ขันธ์ ๕ อีก ๑ ครั้ง แต่แบบคิดนึกปรุงแต่ง แทรกแซงขึ้นมา), ไม่มีนํ้าใจกันเลยหนอ(ขันธ์ ๕ แบบคิดนึกปรุงแต่ง), ให้เราทำคนเดียว(ขันธ์ ๕ แบบคิดนึกปรุงแต่งอีก), เรียกคนนั้นมาช่วยน่าจะทำได้ดี(ขันธ์ ๕ กลับมาคิดปกติอีก), เขาจะช่วยหรือเปล่าหนอ(ขันธ์ ๕ แบบคิดปรุงแต่งอีก), แล้วถ้าเขาไม่ช่วยจะทำได้หรือไม่หนอ(ขันธ์ ๕ แบบคิดนึกปรุงแต่งอีก), ใช้วิธีนี้แก้ปัญหาดีกว่า(ขันธ์ ๕ แบบคิดในกิจ), เจ้านายคงชอบแน่ๆๆเลย(ขันธ์ ๕ แบบคิดนึกปรุงแต่ง) เหล่านี้เป็นตั...วอย่างของการคิดนึกในกิจอันควร แต่แทรกแซงด้วย คิดนึกปรุงแต่งหรือฟุ้งซ่านอยู่ตลอดเวลา จนอาจยังให้เกิดอุปาทานทุกข์ขึ้นเป็นที่สุด...ทำไมต้องเรียกแต่เราคนเดียว(คิดนึกปรุงแต่ง), ทำไมไม่เรียกคนนั้นคนนี้บ้างหนอ(ขันธ์ ๕ แบบคิดนึกปรุงแต่ง), น่าเบื่อจริงๆ(คิดนึกปรุงแต่ง แบบมีโมหะ), เรียกแต่เราทุกที ทีนายนั่นนายนี่ไม่เห็นเรียกบ้างเลย(ขันธ์ ๕ แบบคิดนึกปรุงแต่ง), เราทำแทบตายไม่ได้อะไรแต่คนนั้นไม่ทำอะไรเลยแต่ได้ ๒ ขั้น(ขันธ์ ๕ แบบคิดนึกปรุงแต่ง แบบมีโทสะ)...ฯ

    ความคิดนึกปรุงแต่ง จึงมักแทรกมากับความคิดในกิจหรือความคิดทั่วไป จึงเป็นไปโดยไม่รู้ตัวด้วยอวิชชา ก็ด้วยเหตุดังนี้นี่เองที่บางครั้งคิดอยู่ในกิจแต่ทำไมจึงเกิดทุกข์ขึ้นโดยไม่รู้ตัว อันนี้เป็นความละเอียดของจิตที่ต้องโยนิโสมนสิการ
    เมื่อเป็นไปดังนั้น กล่าวคือคิดนึกปรุงแต่งแทรกแซงหรืออุทธัจจะอยู่ตลอดเวลาหรือเป็นระยะๆ ในที่สุดความคิดนึกปรุงแต่งใดปรุงแต่งหนึ่งเหล่านั้น เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดเวทนาใดเวทนาหนึ่ง ที่เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดตัณหาหรือวิภวตัณหาขึ้นโดยไม่รู้ตัว จึงดำเนินเป็นไปตามวงจรของการเกิดขึ้นแห่งทุกข์ปฏิจจสมุปบาท

    ด้วยเหตุนี้นี่เอง จึงต้องมีสติรู้เท่าทันเหล่าความคิดนึกปรุงแต่งหรือฟุ้งซ่านเหล่านี้ ที่มักแทรกเข้ามาในระบบความคิดความนึกต่างๆ การฝึกสติทั้งหลายทั้งปวงก็เพื่อให้เห็นในเวทนา(เวทนานุปัสสนา)หรือจิตปรุงแต่ง(จิตตานุปัสสนา)เหล่านี้ แล้วด้วยปัญญาที่รู้ยิ่งจากการวิปัสสนาหรือธรรมานุปัสสนา ดังเช่นว่า ในขันธ์ ๕ เมื่อปล่อยให้เกิดการปรุงแต่งย่อมเกิดการผัสสะขึ้นเป็นธรรมดา, จึงย่อมเป็นการเปิดโอกาสให้เกิดเวทนาต่างๆที่อาจเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหาขึ้น จึงเป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน...ภพ..ชาติอันคือการเกิดขึ้นของอุปาทานขันธ์ ๕ อันคืออุปาทานทุกข์ จึงหยุดการปรุงแต่งเหล่านั้น หรือก็คือการอุเบกขาด้วยกำลังจิตอันยิ่ง อันไม่ใช่เกิดแต่อธิโมกข์ แต่เกิดจากความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งด้วยตนเองด้วยอาการธรรมสามัคคี

    ส่วนกายานุปัสสนา เป็นทั้งการฝึกสติเบื้องต้น แล้วยังเป็นการใช้สติในการพิจารณาในกายต่อไป ให้เห็นความจริงของสังขารร่างกาย เพื่อให้เกิดนิพพิทาในสังขารร่างกายว่า สักแต่ธาตุ ๔, ล้วนปฏิกูล, ล้วนเป็นอสุภ ฯ. เพื่อคลายกำหนัดความยึดในสังขารร่างกายทั้งหลาย

    ที่มา : http://www.nkgen.com/790.htmSee MoreSee Translation
     
  8. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    ข้อคิดข้อปฏิบัติ

    สติหรือจิต(สติเป็นสังขารขันธ์ชนิดหนึ่งอันเป็นส่วนหนึ่งของนามหรือจิต)รู้เท่าทันกายสักแต่ว่ากาย รับรู้ตามความเป็นจริง ไม่เอาสมมติและความยึดมั่นต่างๆเข้าไปร่วมว่าเป็นคน เป็นตัวตน เป็นเขา เป็นเรา หรือกายของเรา

    สติ(หรือจิต) รู้เท่าทันเวทนาหรือการเสวยอารมณ์ว่าสักแต่ว่าเป็นเช่นนั้นเอง ไม่ไปยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์ใดๆ ให้เข้าใจความเป็นสภาวะธรรม(ชาติ)อันพึงบังเกิด พึงมีตามธรรมชาติตามหน้าที่ของเวทนา แล้วหยุดคิดนึกปรุงแต่งอันยังให้เกิดเวทนาของความคิดปรุงแต่งใหม่ขึ้นมาอีก

    ... สติ รู้เท่าทันตัณหา แล้วละเสีย โดยการหยุดคิดนึกปรุงแต่งอันยังให้เกิดเวทนาขึ้นอีกอันเป็นอาหารอันโอชะของตัณหา

    สติ รู้เท่าทันจิตคือมโนสังขารหรือจิตสังขารต่างๆ เช่น ความคิดที่เกิด, โลภ, โกรธ, หลง, หดหู่, ฟุ้งซ่าน, จิตหลุดพ้น, จิตเป็นฌาน เป็นสมาธิ แล้วหยุดคิดนึกปรุงแต่งอันยังให้เกิดเวทนาขึ้นอีกอันเป็นอาหารอันโอชะของตัณหา

    สติ รู้เท่าทันหรือรู้ในธรรมที่บังเกิดขึ้นแก่จิต เป็นเครื่องระลึก เครื่องรู้ เครื่องเตือนสติ

    เมื่อฝึก ก็ฝึกตามลำดับขั้นตอนก็ได้ หรือตามจริตหรือปัญญาของตนเอง แต่การใช้งานจริงคือการใช้ในชีวิตประจำวัน สติเห็นสิ่งใดก็ปฏิบัติในสิ่งนั้นๆ ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติแต่ข้อใดข้อหนึ่ง สามารถสลับสับเปลี่ยนไปมาได้ ยกเว้นเมื่อโยนิโสมนสิการหรือฝึกอยู่เท่านั้นจึงอาจอยู่กับกาย หรือเวทนา หรือจิต หรือธรรม เป็นกิจๆไป
    ที่มา : ͷء
     
  9. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    รวมคำสอนหลวงปู่ดูลย์ อตุโล

    อย่าส่งจิตออกนอกไปเสวยอารมณ์

    - เป็นคําสอนและคติธรรมของหลวงปู่ที่กล่าวกันอยู่เนืองๆ และเป็นแก่นหลักสําคัญในการปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์ แต่ควรมีความเข้าใจทึ่ถูกต้องจึงจักสําเร็จผลสมดั่งคําสอนของหลวงปู่, อันท่านหมายถึง ไม่ส่งจิตออกนอกไปเสวยอารมณ์(หมายถึง เกิดเวทนา) หรือก็คือไม่ส่งจิตออกนอกไปคิดนึกปรุงแต่ง เพราะทุกๆความคิดนึกปรุงแต่งอันคือความคิดที่ฟุ่มเฟือยเกินจําเป็น, อันเป็นขันธ์ ๕ อย่างหนึ่งซึ่งย่อมต้องเกิดเวทนาหรือการเสวยอารมณ์ร่วมด้วยทุกๆความคิดที่ปรุงแต่ง อันล้วนอาจเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา อันเป็นไปตามหลักธรรมปฏิจจสมุปบาท, จึงทําให้เกิดเป็นทุกข์ขึ้นมาโดยไม่รู้ตัวจากความคิดนึกปรุงแต่งหรือฟุ้งซ่านนั้นๆ, จิตไม่ส่งออกนอกในความหมายของท่านจึงหมายถึง ไม่ส่งจิตออกนอกเพื่อไม่ไปกระทบในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมมารมณ์หรือความคิด อันล้วนแต่ให้เกิดคิดนึกปรุงแต่ง หรือก็คือหยุดคิดนึกปรุงแต่ง

    อย่าส่งจิตออกนอก อีกอย่างหนึ่งซึ่งมีความหมายเหมือนกันคือ อย่าส่งจิตออกไปนอก กาย เวทนา จิต ธรรม ตามหลักสติปัฏฐาน๔ นั่นเอง, จิตหรือสติอยู่กับกายไม่ส่งออกไปปรุงแต่ง ดังเช่น กายานุปัสสนา(การพิจารณากายเพื่อให้เกิดนิพพิทา, แต่ไม่ใช่หมายถึงจิตส่งใน หรือ จิตส่องจดจ่อจดจ้องไปเสพผลอันสุขสบายอันเกิดแต่กายหรือจิตที่เกิดจากอำนาจของฌานหรือสมาธิ)จึงจักถูกต้อง อันจะครอบคลุมถึงการให้จิตอยู่กับเวทนานุปัสสนา(เห็นเวทนา),จิตตานุปัสสนา(จิตเห็นจิตหรือความคิด) หรือธรรมานุปัสสนาหรือธรรมะวิจยะ(การพิจารณาธรรม)ก็ได้ อันล้วนเป็นการปฏิบัติแบบสติปัฏฐาน๔ในชีวิตประจําวันนั่นเอง, การพิจารณาธรรม - ไม่ใช่ความคิดที่ส่งออกนอกไปคิดนึกปรุงแต่ง, เป็นความคิดที่มีคุณประโยชน์จําเป็นต้องมีเพื่อให้เกิดสัมมาญาณ อันยังให้เกิดสัมมาวิมุติ-สุขจากการหลุดพ้น, ต้องไม่ใช่ไปอยู่กับผลของสมาธิคือจิตไม่ส่งออกนอกแต่ไปคอยจดจ้องหรือยึดความเบากาย เบาใจ ภายในกายหรือจิตของตนเองอันเกิดจากผลของสมาธิ อันเป็นการเข้าใจผิด, แยกแยะให้ดีด้วย เพราะมีความฉิวเฉียดต่างกันเพียงน้อยนิด แต่ผลออกมาต่างกันราวฟ้ากับดิน อันแรกก่อให้เกิดสัมมาญาณอันจักยังให้เกิดสัมมาวิมุตติ, แต่อันหลังก่อให้เกิดวิปัสสนูปกิเลสอันให้โทษอย่างรุนแรงในภายหลัง

    หรืออาจกล่าวได้ว่า อย่าส่งจิตออกนอกไปคิดนึกปรุงแต่ง เพราะคิดนึกปรุงแต่งคือเกิดขันธ์๕ อันเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา อันเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา อันเป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทานอันเป็นทุกข์ เป็นไปตามวงจรปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง



    "คิดเท่าไรๆก็ไม่รู้ ต่อเมื่อหยุดคิดได้จึงรู้ แต่ต้องอาศัยความคิดนั่นแหละจึงรู้" (น.๔๕๖)

    webmaster - คําอธิบายที่ปรากฏต่อจากข้อธรรมทั้งหลายคือคําอธิบายของwebmaster เป็นความเข้าใจของwebmasterต่อข้อธรรมของท่าน ท่านต้องพิจารณาโยนิโสมนสิการเองว่าถูกต้องหรือไม่ ควรใช้หลักกาลามสูตร

    หลวงปู่หมายถึง คิด(นึกปรุงแต่ง)เท่าไรๆก็ไม่รู้จักนิโรธ ต่อเมื่อหยุดคิด(นึกปรุงแต่ง)ได้จึงรู้จักสภาวะนิโรธ แต่ก็ต้องอาศัยคิด(พิจารณาในธรรม - ธรรมวิจยะในสัมโพชฌงค์๗, หรือ ธรรมานุปัสสนาในสติปัฏฐาน๔) นั่นแหละจึงจะรู้จึงจะเข้าใจ (เพื่อความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง พิจารณาเปรียบเทียบกับวงจรปฏิจจสมุปบาท คิดนึกปรุงแต่งคือหมายเลข 22 และรวมถึงหมายเลข 24 ในภาพขยายด้านล่าง)



    เกี่ยวกับนิมิต "ที่เห็นนั้น เขาเห็นจริง แต่สิ่งที่ถูกเห็น ไม่จริง" (น.๔๕๔)

    webmaster - เขาเห็นนิมิตในความรู้สึกรับรู้ของเขาจริงๆ ไม่ได้โกหกหรือหลอกลวง, เพียงแต่สิ่งที่เห็นไม่ได้เป็นความจริง จึงอย่าไปอยาก อย่าไปยึด, แต่ในบางครั้งเป็นจริงได้ตามสภาวะธรรมชาติเหมือนความคิดของเราที่ถูกบ้างผิดบ้าง เพราะตามจริงแล้วสิ่งที่เห็นนั้นก็คือความคิดของเราที่ถูกฝึก ปฏิบัติจนสามารถบังคับหรือปั้นเป็นจินตภาพ(ภาพ)ตามความคิดหรือความรู้สึกของเราเป็นส่วนใหญ่อันเกิดแต่การสั่งสม อบรม ปฏิบัติมา, ดังนั้นจึงอย่าไปยึดไปอยาก เพราะจะเกิดวิปัสสนูปกิเลสอันนําไปสู่ทุกข์ในที่สุด



    "ที่จริงพระอรหันต์ทั้งหลายท่านไม่ได้รู้อะไรมากมายเลย เพียงแต่เจริญจิตให้รู้แจ้งใน ขันธ์๕, แทงตลอดในปฏิจจสมุปบาท, หยุดการปรุงแต่ง, หยุดการแสวงหา, หยุดกริยาจิต มันก็จบแค่นี้ เหลือแต่ บริสุทธิ์ สะอาด สว่าง ว่าง มหาสุญตา ว่างมหาศาล" (น.๕๐๖)

    webmaster - หยุดการปรุงแต่ง คือหยุดคิดนึกปรุงแต่งอันทําให้เกิดเวทนาอันเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา(รายละเอียดคิดนึกปรุงแต่งหมายเลข22และ14ในบทวงจร)

    หยุดการแสวงหา หยุดการแสวงหาด้วยความปรารถนาทั้งทางโลกและธรรม

    หยุดกริยาจิต คือ หยุดกริยาอาการฟุ้งซ่านของจิต คือ อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน (สังโยชน์ ข้อ๙)

    อันล้วนเป็นไปตามหลักปฏิจจสมุปบาทและขันธ์ ๕นั่นเอง



    "เวทนากับร่างกายนั้นมีอยู่ตามธรรมชาติของมัน แต่ไม่ได้เสวยเวทนานั้นเลย" (น.๕๐๔)

    webmaster - เวทนาทางกาย เจ็บปวดเป็นไปตามธรรมชาติ ไม่มีผู้ใดไปห้ามได้ แต่ไม่เสวย(ผลอันเนื่องจาก)เวทนาทางใจ คือไม่เอาเวทนาทางใจที่ย่อมเกิดทุกขเวทนาร่วมด้วยเป็นธรรมดานั้น ไปปรุงแต่งให้เกิดตัณหา อุปาทาน จึงเสวยเพียงทุกขเวทนาตามธรรมหรือธรรมชาติ แต่ไม่แปรไปเป็นเวทนูปาทานขันธ์ คือเวทนาที่ประกอบด้วยอุปาทานที่แสนเร่าร้อนเผาลน จึงไม่เป็นอุปาทานทุกข์ หรือก็คือการไม่ไปยึด,ไม่ไปอยาก หรือไม่อยาก ในเวทนาที่เกิดขึ้นนั่นเอง





    มีผู้เรียนถามหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ว่า "ท่านยังมีโกรธอยู่ไหม?"

    หลวงปู่ตอบสั้นๆว่า "มี แต่ไม่เอา" (น.๔๖๑)

    webmaster - หลวงปู่ตอบตามความสัตย์ว่า มี แต่หมายถึงมีตามธรรมชาติของขันธ์๕ไปถึงเวทนาความรู้สึกไม่สบาย,ไม่ชอบ มาสิ้นสุดที่สังขารขันธ์เป็นความคิดโทสะ-ความโกรธ ครบขันธ์๕ตามธรรมชาติหรือตามสภาวะธรรม, มีความโกรธ,ไม่พอใจ, ไม่ถูกใจอันเป็นสังขารขันธ์สภาวะธรรม(ชาติ)ปกติธรรมดาที่เกิดขึ้น อันเป็นเรื่องของสังขารขันธ์อันไปรับรู้และตอบสนองเวทนาอันเป็นขบวนการธรรมชาติธรรมดาๆ อันพึงมีทั้งองค์อรหันต์และปุถุชน, แต่ไม่เอา ท่านหมายถึงไม่เอามาคิดนึกปรุงแต่งให้เกิดตัณหาอีก มันก็จบลงเพียงเท่านั้น คือเกิดชั่วขณะในขบวนการขันธ์๕แล้วดับไป อุปมาดั่งท่านตีแขนตัวเองแรงๆ แล้วสังเกตุดูให้ดีดังนี้ ความรู้สึกรับรู้ความเจ็บเกิดขึ้น ความรู้สึกรับรู้ความเจ็บตั้งอยู่ชั่วระยะหนึ่ง ความรู้สึกรับรู้ความเจ็บดับไป, ดังนั้นการคิดนึกปรุงแต่งอันมักจะเกิดอย่างต่อเนื่อง(หลายๆความคิดนึกปรุงแต่งนั่นเอง) และแต่ละคิดนึกปรุงแต่งเป็นขันธ์๕กระบวนการหนึ่ง อันย่อมยังให้เกิดเวทนาตามความคิดนึกปรุงแต่งแต่ละครั้ง อันอาจเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหาต่อเวทนาของความคิดนึกปรุงแต่งที่เกิดขึ้นนั้นได้ อันยังให้เกิดอุปาทาน, อันจักยังให้เกิดอุปาทานขันธ์๕อันเป็นทุกข์, เมื่อไม่เอาไปคิดนึกปรุงแต่ง จึงไม่เกิดอุปาทานทุกข์ใดๆตามหลักปฏิจจสมุปบาท, ดังนั้นถ้าขยายคําตอบของหลวงปู่ออกมาน่าจะเป็นดังนี้ "มีโกรธ แต่ไม่เอาไปคิดนึกปรุงแต่งให้เกิดตัณหาให้ยืดยาวจนเป็นทุกข์จากอุปาทานขันธ์๕"(ดูในบท วงจร หมายเลข 22 อันคือคิดนึกปรุงแต่งอันไปยังให้เกิดขันธ์๕ขึ้นอีก จนอาจเกิดตัณหาขึ้นได้จากเวทนาของความคิดนึกปรุงแต่งนั้น)

    ท่านลองโยนิโสมนสิการอย่างแยบคายจริงๆในการตีแขนแรงๆ, การตีแขนเป็นอาการขันธ์๕ ชนิดหนึ่ง คือ กายนอกที่ตี+กระทบผัสสะกับ+กายในอันรับรู้ความรู้สึก อันทํางานเช่นเดียวกับ คิดหรือธรรมารมณ์(ใจ)+กระทบผัสสะกับ+ใจที่รับรู้

    เมื่อเราตีลงไป ความรู้สึกเจ็บเกิดขึ้น และยังตั้งอยู่ต่อไปอีกระยะหนึ่งเป็นธรรมชาติ ถ้าเราหยุดตีเสีย ก็จะดับไปในไม่ช้าถ้าเราไม่ไปตีอีกโดยเฉพาะถ้าตีซํ้าๆกัน ซึ่งเป็นอาการเดียวกันกับความทุกข์อันเกิดแต่ความคิดนึกปรุงแต่งที่ต่อเนื่องกันจนดูเหมือนเป็นสายธารแห่งความทุกข์อันรุนแรงและยาวนาน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ตามปรมัตถธรรมมันเกิดดับๆๆ แต่เพราะความไม่รู้จึงปล่อยให้มันเกิดดับๆๆ...อย่างต่อเนื่องจนแยกไม่ออกดูประหนึ่งว่าเป็นชิ้นหรือมวลเดียวกัน จึงไม่รู้ว่ามันอยู่ใต้อํานาจของธรรม(ชาติ)ของพระไตรลักษณ์ ไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ ไม่มีตัวตนเป็นแก่นแกนอย่างแท้จริงตลอดไป



    อีกครั้งหนึ่ง มีผู้เรียนถามหลวงปู่เรื่องการละกิเลส "หลวงปู่ครับทําอย่างไรจึงจะตัดความโกรธให้ขาดได้"

    หลวงปู่ตอบว่า

    "ไม่มีใครตัดให้ขาดได้หรอก มีแต่รู้ทัน......เมื่อรู้ทันมันก็ดับไปเอง." (น.๔๖๒)

    webmaster - คือมีโกรธตามขันธ์๕ อันเป็นสภาวะธรรมชาติเพราะเกิดเวทนาแล้วเกิดสังขารขันธ์ทางใจหรือจิตสังขารเป็นความโกรธ(โทสะ)ซึ่งเป็นเจตนาทางมโนสังขารหรือจิตสังขารที่ตอบสนองต่อเวทนาที่เกิด, มี แต่รู้ทัน(มีสติ) แล้วไม่คิดนึกปรุงแต่ง(หมายเลข22)อันเปิดโอกาสให้เกิดตัณหา, มันก็จักเป็นทุกข์อุปาทานไม่ได้ แล้วมันก็ดับไปเองตามธรรม(ชาติ)"



    มีผู้กราบเรียนถามหลวงปู่เรื่องการไว้ทุกข์

    หลวงปู่ตอบว่า "ทุกข์ ต้องกําหนดรู้ เมื่อรู้แล้วให้ละเสีย ไปไว้มันทําไม" (น.๔๖๔)

    webmaster - หลวงปู่อธิบายกิจญาณหรือกิจอันควรกระทําต่ออริยสัจ๔ คือ ทุกข์ให้รู้ สมุทัยให้ละ นิโรธทําให้แจ้ง มรรคให้ปฏิบัติ,

    คือเมื่อรู้ทุกข์แล้ว ก็ให้ละเหตุแห่งทุกข์นั้นเสีย



    มีผู้อวดอ้างของวิเศษจากสัตว์ต่างๆนาๆ แล้วเรียนถามหลวงปู่ว่าอันไหนวิเศษกว่ากัน หลวงปู่ตอบว่า

    "ไม่มีดี ไม่มีวิเศษอะไรหรอก เป็นของสัตว์เดียรัจฉานเหมือนกัน" (น.๔๖๕)

    webmaster - หลวงปู่กล่าวตามความเป็นจริงแห่งธรรม ไม่สนับสนุนเพราะเป็นทั้งทิฏฐุปาทานและสีลัพพตปาทาน คือยึดมั่นในศีลและข้อวัตรปฏิบัติอย่างผิดๆ งมงาย



    "เมื่อตาเห็นรูปแล้ว รู้ว่าสวยงาม หรือน่ารังเกียจอย่างไรแล้ว ก็หยุดเพียงเท่านี้

    เมื่อหูได้ยินเสียง รู้ว่าไพเราะ หรือน่ารําคาญอย่างไรแล้ว ก็หยุดเพียงเท่านี้

    เมื่อลิ้นได้ลิ้มรส รู้ว่าอร่อย หรือไม่อร่อย เปรี้ยวหวานมันเค็มอย่างไรแล้ว ก็หยุดเพียงเท่านี้

    เมื่อจมูกได้กลิ่น หอมหรือเหม็นอย่างไรแล้ว ก็หยุดเพียงเท่านี้

    เมื่อกายสัมผัสโผฎฐัพพะ รู้ว่าอ่อนแข็งเป็นอย่างไรแล้ว ก็หยุดเพียงเท่านี้" (น.๒๑๘)

    Webmaster - หลวงปู่ท่านพูดเกี่ยวกับขันธ์ ๕ เช่นเมื่อตากระทบรูปย่อมเกิดเวทนา เป็นสุขเวทนาหรือทุกข์เวทนาคือชอบหรือไม่ชอบหรือเฉยๆอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นเป็นธรรมดา แล้วเกิดกระบวนการสรุปในที่สุดเป็นสังขารทางใจหรือมโนสังขารคือความคิดว่ารูปนั้น สวยงามหรือน่ารังเกียจ เป็นผลของกระบวนธรรมของขันธ์ทั้ง ๕ ออกมา แล้วหลวงปู่กล่าวสอนต่อว่า"แล้วก็หยุดเพียงเท่านี้" หมายถึง หยุดคิดนึกปรุงแต่งหรือฟุ้งซ่านเสียนั่นเอง(คิดปรุงแต่งนั่นแหละที่จะก่อให้เกิดตัณหา)มันก็จะไม่เป็นทุกข์ เป็นแค่ขันธ์ ๕ ไว้ใช้งานธรรมดาๆ หรือเป็นการปฏิบัติตามคําที่กล่าวว่า "เห็นสักแต่ว่าเห็น หรือ ได้ยินสักแต่ว่าได้ยิน" ไม่ใช่เห็นหรือได้ยินแล้วต้องเฉยๆไม่มีความรู้สึกรู้สา ซึ่งเป็นการกดข่ม เห็น,ได้ยินแล้วรับรู้ตามความเป็นจริงแล้วไม่คิดนึกปรุงแต่งอันอาจยังให้เกิดตัณหาขึ้น หรืออุเบกขาเสียนั่นเอง จึงเป็นการถูกต้อง(หมายเลข22ในวงจรคือ คิดนึกปรุงแต่งนี้หรือตัวที่จะทําให้เกิดตัณหา)

    กล่าวคือ ตัณหาที่เกิดนั้นไม่ได้เกิดจากความคิดหรือสังขารขันธ์แรกๆ แต่เกิดจากเวทนาของความคิด(นึกปรุงแต่ง)ที่วนเวียนปรุงแต่งขึ้นมาเรื่อยๆ หลวงปู่จึงมักกล่าวอยู่เสมอๆว่า อย่าส่งจิตออกนอก(ไปคิดนึกปรุงแต่ง) หรือก็คือวางใจเป็นอุเบกขาเป็นกลางวางเฉย, วางเฉยโดยการไม่คิดนึกปรุงแต่งทั้งฝ่ายดีหรือชั่ว(ไม่ดี) เพราะล้วนเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา อันอาจเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา จึงยังให้เกิดอุปาทานทุกข์ขึ้น อันเกิดขึ้นดังรายระเอียดต่อไปนี้

    ลองดูกระบวนธรรมของขันธ์ ๕ ที่เกิดขึ้นตามที่หลวงปู่กล่าว จะแสดงการเกิดตัณหาเพราะเวทนาเป็นปัจจัย ดังนี้ (ถ้าต้องการดูรูปประกอบ ให้คลิกดูที่หมายเลข8ในวงจร)

    ตา + รูป วิญญาณตา ผัสสะ สัญญาจํา เวทนา(ชอบ,ไม่ชอบ) สัญญาหมายรู้ วิญญาณ-ใจรับรู้ สังขารทางใจ ออกมาว่า "สวย"หรือ "น่ารังเกียจ" และ + หยุดการคิด(นึกปรุงแต่ง)ที่จักเกิดขึ้นต่อจากนั้น เพราะถ้ามีการคิด(นึกปรุงแต่ง)ดําเนินต่อไปอีก ก็คือความคิดที่เป็นขันธ์๕ ที่เกิดขึ้นใหม่อีก อันย่อมบังเกิดเวทนาควบคู่มาด้วยเป็นธรรมชาติ และบางเวทนาจากความคิดนึกปรุงแต่งนี้แหละที่อาจเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา นี่คือสิ่งที่ท่านหลวงปู่ดูลย์แนะนําให้ปฏิบัติ ซึ่งเป็นไปตามหลักธรรมปฏิจจสมุปบาทและความเข้าใจขันธ์ ๕, ตรงนี้สําคัญมากเพราะมักมองไม่ออกว่าเพราะเวทนาเป็นเหตุปัจจัยจึงเกิดตัณหาขึ้น ไม่ใช่จากสังขารขันธ์เช่นความสวยหรือความคิดโดยตรงๆ แต่จากเวทนาความรับรู้ความรู้สึกและความจําได้อันร่วมกันเป็นเวทนา ลองสังเกตุกระบวนธรรมแบบไม่ขยายรายละเอียด จะเห็นตัณหาที่เกิดจากเวทนาหรือเข้ากระทําต่อเวทนาที่เกิดจากความคิด(นึกปรุงแต่ง)ชัดแจ้งขึ้น

    ใจ+คิดนึกปรุงแต่ง วิญญาณ ผัสสะ เวทนา + ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติอันคืออุปาทานสัญญา อุปาทานสังขารเช่นคิดที่เป็นทุกข์

    และแม้แต่เป็นทุกข์แล้ว ก็ต้องหยุดคิด(นึกปรุงแต่ง)เช่นกัน คือคิดนึกปรุงแต่งแต่ที่หมายเลข14 ( ภาพขยายของ 14 )ในวงจร อันเป็นอุปาทานขันธ์๕ที่เกิดๆดับๆ วนเวียนอยู่นั่นเอง



    หลักธรรมที่หลวงปู่ใช้พิจารณาคือ "สัพเพสังขารา สัพพะสัญญา อนัตตา" ซึ่งมีคําขยายความในหนังสือหน้า๔๔ ดังนี้ "เมื่อสังขารขันธ์ดับไปแล้ว ความเป็นตัวตนจักไม่มี เพราะไม่ได้เข้าไปเพื่อปรุงแต่ง ครั้นเมื่อความปรุงแต่งขาดไป สภาพแห่งการเป็นตัวตนไม่มี ความทุกข์จะเกิดขึ้นแก่ใครได้อย่างไร" (น.๔๓)

    webmaster - เป็นไปตามหลักปฏิจจสมุปบาทและขันธ์ ๕ คือเมื่อเกิดเวทนาแล้ว ย่อมต้องเกิดสังขารขันธ์อันเป็นผลออกมาในที่สุด แล้วไม่คิดปรุงแต่งจึงยังให้ไม่เกิดเวทนาอันเป็นปัจจัยให้ไม่เกิดตัณหา จึงไม่เกิดอุปาทานความเป็นตัวตนหรือตัวกูของกู ตัวตนหรืออุปาทานก็จักเกิดไม่ได้นั่นเอง, ดังนั้นความเป็นตัวตนจักไม่มี คือไม่มีความเป็นตัวกู,ของกูหรือตัวตนของอุปาทาน "เพราะไม่ได้เข้าไปเพื่อปรุงแต่ง"คือไม่ปรุงแต่งตัณหาหรือคิดนึกปรุงแต่งนั่นแล ตัวตนอุปาทานจึงไม่เกิดหรือดับ ทุกข์จึงบังเกิดขึ้นไม่ได้(อุปาทานขันธ์๕ที่เกิดในชาติ-ชรามรณะนั่นเอง)



    มีผู้เรียนถามหลวงปู่ "พระอรหันต์ท่านเคยนอนหลับฝันเหมือนคนธรรมดาด้วยหรือเปล่าครับ "

    ท่านตอบว่า "การหลับแล้วเกิดฝัน เป็นเรื่องของสังขารขันธ์ไม่ใช่หรือ" (น.๕๐๒)

    "webmaster - ในเมื่อเป็นเรื่องสังขารขันธ์ ย่อมเป็นสภาธรรมหรือธรรมชาติของขันธ์ ๕ คือ"ฝัน" เพราะขันธ์ ๕ ประกอบกันเป็นชีวิตและทํางานประสานกันในการดําเนินชีวิตอันปกติ มีในอริยะบุคคลและปุถุชนเช่นกัน แต่เวทนาของท่านไม่ร้อยรัดจนเกิดตัณหา ดังนั้นสังขารขันธ์ของท่านจึงหมดจดต่างกับปุถุชน

    ดังนั้นคำตอบของหลวงปู่คือ ฝัน (พิจารณาเรื่องนี้ได้โดยละเอียดในบท ขันธ์ ๕)



    หลวงปู่อาพาธหนักอยู่ที่โรงพยาบาลจุฬาฯ มีผู้เข้าเยี่ยมแล้วเรียนถามหลวงปู่

    "หลวงปู่ยังมีเวทนาอยู่หรือ" หลวงปู่ตอบว่า "เวทนากับร่างกาย มีอยู่ตามธรรมชาติของมัน แต่ไม่ได้เสวยเวทนานั้นเลย" (น.๕๐๔)

    webmaster - หลวงปู่หมายถึงเวทนาที่เกิดกับกายนั้น จริงๆแล้วก็เป็นสภาวธรรม(ธรรมชาติ)นั่นเอง รับรู้ความรู้สึกหรือเวทนาเป็นปกติธรรมดาตามธรรมชาติเหมือนปุถุชน เพียงแต่ท่านไม่เสวย(ผลอันเนื่องจาก)เวทนา กล่าวคือไม่ไปยึดเวทนาหรือความรู้สึกนั้น หรือไม่มีความอยาก หรือไม่อยากในเวทนานั้น อันเป็นผลให้ไม่เกิดความทุกข์แก่ใจอันเร่าร้อนเผาลน คืออุปาทานเวทนา(เวทนูปาทานขันธ์) หรือไม่เสวยผลของเวทนานั้นทางใจนั้นสืบต่อไปนั่นเอง กล่าวคือเจ็บนั้นเจ็บอยู่ ทั้งทุกขเวทนาทางกายและใจ แต่ไม่เป็นอุปาทานทุกข์ จึงไม่กระวนกระวายเร่าร้อยถึงเผาลน ซึ่งปุถุชนทั่วไปฟังแล้วอาจรู้สึกประหลาดหรือไม่เข้าใจ



    เมื่อจิตกระทบเข้ากับอารมณ์ภายนอกอย่างไร ก็ให้หยุดอยู่แค่นั้น, อย่าไปทะเลาะวิวาทโต้แย้ง, อย่าไปเอออวยเห็นดีเห็นงามให้จิตได้โอกาสก่อรูปก่อร่างเป็นตุเป็นตะเป็นเรื่องเป็นราวยืดยาวออกไป อย่าไปวิพากษ์วิจารณ์ต่อไป อย่าไปใส่ใจอีกต่อไป พอกันเพียงรู้อารมณ์เท่านี้เอง หยุดกันเพียงเท่านี้" (น.๒๒๐)

    Webmaster - คือเกิดขันธ์ ๕ เป็นปกติ คือจิตเกิดเวทนา(เมื่อกระทบกับอารมณ์ภายนอก)อย่างไรก็ตาม ให้หยุดเพียงเท่านั้น คืออย่าให้เกิดตัณหาขึ้นนั่นเอง เป็นไปตามปฏิจจสมุปบาทธรรม ตัณหาย่อมมักไหลเลื่อนมากับนึกคิดปรุงแต่งต่างๆนาๆ ยิ่งคิดปรุงแต่งยืดยาวถี่บ่อยเท่าใด ตัณหาก็ยิ่งมีโอกาสมากขึ้นเท่านั้น (หมายเลข22 และ14ในวงจร ซึ่งยิ่งคิดปรุงแต่งมากเท่าใดอันล้วนเป็นขันธ์๕ทั้งสิ้น โดยเฉพาะใน14 เป็นอุปาทานขันธ์๕แล้ว คิดวนเวียนเกิดๆดับๆในทุกข์นั้น ให้ยิ่งมากขึ้นไปอืก) เพราะย่อมต้องเกิดเวทนาร่วมด้วยทุกครั้งทุกที อันหมายถึงเป็นการเปิดโอกาสให้อาจจะมีตัณหาเกิดขึ้นได้ทุกครั้งเช่นกัน เป็นไปตามหลักปฏิจจสมุปบาทในข้อธรรมที่ว่า "เวทนา เป็นปัจจัย จึงมี ตัณหา"

    วิธีการนี้ก็คือ การอุเบกขาในสัมโพชฌงค์ ๗ องค์แห่งการตรัสรู้นั่นเอง



    จิตปรุงกิเลส คือ การที่จิตบังคับให้กาย วาจา ใจ กระทําสิ่งภายนอก ให้มี ให้เป็น ให้เลว ให้เกิดวิบากได้ แล้วยึดติดอยู่ว่า นั่นเป็นตัว นั่นเป็นตน ของเรา ของเขา, กิเลสปรุงจิต คือการที่สิ่งภายนอกเข้ามาทําให้จิตเป็นไปตามอํานาจของมัน แล้วยึดว่ามีตัว มีตนอยู่ สําคัญผิดจากความเป็นจริงอยู่รํ่าไป (น. ๔๘๒)

    webmaster - จิตปรุงกิเลส หลวงปู่หมายถึงการที่กิเลสตัณหาเกิดขึ้นเพราะจิตเกิด "สังขารคิด"(ที่สั่งสมไว้ตามหลักปฏิจจสมุปบาท.)อันยังให้เกิดทุกข์หรือจิตนึกคิดขึ้นมาเป็นมูลเหตุเบื้องต้น, และกิเลสปรุงจิตคือกิเลสทุกข์ที่มีเหตุเกิดทาง "สฬายตนะ"เป็นมูลเหตุ อันคือตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจอันไปกระทบผัสสะกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมารมณ์โดยตรง อันเป็นไปตามหลักปฏิจจสมุปบาทเช่นกัน (ในวงจรปฏิจจสมุปบาท, จิตปรุงกิเลส-เกิดจากหมายเลข 2, กิเลสปรุงจิต-เกิดจากหมายเลข 5 )



    .......แท้จริงแล้วความทุกข์ร้อนวุ่นวายใจ มักเกิดจากสิ่งภายในใจเราทั้งสิ้น คือ กิเลส ตัณหา อุปาทาน มันก่อขึ้นภายในใจ จนต้องดิ้นรนอย่างน่าเวทนายิ่ง (น.๕๖)

    webmaster - นี่แหละคืออาการ"จิตปรุงกิเลส"วุ่นวายใจก็คือสังขารคิดในปฏิจจสมุปบาท แล้วเกิดตัณหาอุปาทานไปตามธรรม



    มีไฟไหม้ใหญ่ในจังหวัดสุรินทร์ ผลคือความทุกข์ยากสูญเสีย บางคนเสียใจจนเสียสติ บางรายก็มาลําเลิกให้หลวงปู่ฟังว่า อุตส่าห์ทําบุญเข้าวัด ปฏิบัติธรรมมาตั้งแต่ปู่ย่าตายาย ทําไมบุญกุศลจึงไม่ช่วยคุ้มครอง และหลายรายเลิกเข้าวัดทําบุญ เพราะธรรมะไม่ช่วยให้เขาพ้นจากไฟไหม้

    หลวงปู่ได้กล่าวว่า"ไฟมันทําตามหน้าที่ของมัน ธรรมะไม่ได้ช่วยใครในลักษณะนั้น หมายความว่า ความอันตรธาน ความวิบัติ ความเสื่อมสลาย ความพลัดพรากจากกัน สิ่งเหล่านี้มันมีประจําโลกอยู่แล้ว ทีนี้ผู้มีธรรมะ ผู้ปฏิบัติธรรมะเมื่อประสบกับภาวะเช่นนั้นแล้ว จะวางใจอย่างไรจึงไม่เป็นทุกข์ อย่างนี้ต่างหาก ไม่ใช่ธรรมะช่วยไม่ให้แก่ ไม่ให้ตาย ไม่ให้หิว ไม่ให้ไฟไหม้ ไม่ใช่อย่างนั้น." (น.๔๙๘)

    ผู้เขียน-นี่แหละสีลัพพตปรามาสคือยึดมั่นในศีลและข้อปฏิบัติแบบผิดๆ ส่วนใหญ่ผู้ปฏิบัติแม้ตัวผู้เขียนเองก็เคยมีความรู้สึกเยี่ยงนี้อย่างรุนแรงในความหวังแบบ "สีลัพพตปรามาส"แบบนี้มาโดยตลอด โดยหวังว่าบุญกุศลใดๆที่กระทําจักมาช่วยในการแก้เหตุแห่งทุกข์ในทางโลกๆนั้นโดยตรงๆ เช่นยากจนก็ขอให้รวย,เจ็บป่วยก็ขอให้หาย,ให้สุขสบายด้วยทรัพย์สินเงินทอง, ไม่มีทุกข์, ไม่มีโศก, หายโรค, ไม่มีภัย ไม่มีเคราะห์ อันล้วนเป็นความเข้าใจผิดอันคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ผู้ปฏิบัติต้องเข้าใจสภาวะธรรม(ธรรมชาติ)และยอมรับความเป็นจริงในไตรลักษณ์ ในความไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้จึงเป็นทุกข์ถ้าไปอยากไปยึด เป็นอนัตตาไม่มีตัวตนเป็นแก่นสารสาระเพราะล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัย, เราต้องปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึง "เหตุของทุกข์นั้นมีอยู่ แต่ไม่มีผู้รับผลทุกข์นั้น "คือเหตุที่ทําให้เกิดทุกข์มีอยู่จริงเพราะเป็นสภาวะธรรม(ธรรมชาติ), แต่จะวางใจอย่างไรจึงไม่เป็นทุกข์ คือดับทุกข์ที่เกิดแต่ใจหรือก็คืออุปาทานทุกข์นั่นเองตามที่พระพุทธองค์ทรงพรํ่าสั่งสอน จึงเป็นความเข้าใจที่ถูกต้อง จึงจักก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรม และก็อย่าลืม "เหตุของทุกข์ "หรือเหตุปัจจัยที่ทําให้เกิดนั้น ก็อยู่ภายใต้กฎพระไตรลักษณ์เช่นกัน มีความไม่เที่ยงแปรปรวนและก็ต้องดับไปเช่นกันในที่สุด และต้องมีความเข้าใจสภาวะธรรม(ชาติ)ว่า

    ทุกข์จากขันธ์๕(เวทนา)อันเป็นสภาวะธรรม(ชาติ)ยังคงมีอยู่ แต่ไม่มีอุปาทานทุกข์

    ลองพิจารณา "ไฟก็ทําตามหน้าที่ของมัน" ที่หลวงปู่กล่าวนั้น เป็นสภาวะธรรม(ธรรมชาติ)แท้ๆ



    ส่วนผู้ที่ประสบภัยพิบัติ หรือผู้ที่ตกในสภาวะอับจน ก็ไม่ควรหมดอาลัยตายอยากควรทําจิตใจให้สงบระงับตั้งมั่นอยู่ ก็จะค่อยๆหาทางออกให้แก่ตนได้ เพราะปัญหาทุกอย่างที่ไม่มีทางออกทางแก้ย่อมไม่มีในโลก ดูเอาเถอะว่า แม้แต่ปัญหาเรื่องความทุกข์ อันเกิดจากความเกิด แก่ เจ็บ ตาย พระพุทธองค์ก็ยังหาคําตอบไว้ให้ได้ สําหรับปัญหาอื่นๆ อันเล็กน้อยจะไม่มีคําตอบได้อย่างไร (น.๑๔๑)

    webmaster - มื่อเป็นทุกข์ เรามักลืมว่าเหตุแห่งทุกข์ เช่น ภัยพิบัติ สภาวะอับจน สภาวะหมดหวังก็อยู่ภายใต้อํานาจพระไตรลักษณ์ จึงควรทําความสงบระงับตั้งมั่นไว้ดั่งหลวงปู่สั่งสอนแล้วก็จักค่อยๆคลี่คลายไปในที่สุด โดยไม่ต้องเป็นทุกข์เผาลนใจ ดังคําของพระอริยะเจ้าที่กล่าวไว้ว่า

    ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นที่ตั้งอยู่ ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป



    ในทางปฏิบัติที่ว่า ปฏิบัติจิต ปฏิบัติใจ โดยให้ใจอยู่กับใจนี้ ก็คือให้มีสติกํากับใจให้เป็นสติถาวร ไม่ใช่เป็นสติคล้ายๆ หลอดไฟที่จวนจะขาด เดี๋ยวก็สว่างวาบ เดี๋ยวก็ดับ เดี๋ยวก็สว่าง แต่ให้มันสว่างติดต่อกันไปตลอดเวลา เมื่อสติมันติดต่อกันไปอย่างนี้แล้ว ใจมันก็มีสติควบคุมอยู่ตลอดเวลา เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "อยู่กับตัวรู้ตลอดเวลา" ตัวรู้ก็คือ "สติ" นั่นเอง หรือจะเรียกว่า "พุทโธ" ก็ได้ พุทโธที่ว่า รู้ ตื่น เบิกบาน ก็คือตัวสตินั่นแหละ (น.๔๖๙)

    webmaster - สติ ตัวรู้ คือสิ่งเดียวกัน และให้มันต่อเนื่อง อันคือสัมมาสมาธินั่นเอง ดังนั้นตัวรู้นั้นท่านหมายถึงสติ และให้เป็นสัมมาสมาธิคือให้มันมีความต่อเนื่องกันไปตลอด, และผู้เขียนขอให้ระวัง "ผู้รู้ ตัวรู้ หรือ ธาตุรู้ " ที่จักเกิดเป็นตัวตน อันเกิดจากการอุปโลกของจิต คือเกิดจากการไปยึดไปหลงสติหรือตัวรู้ ธาตุรู้หรือการเห็นคิดซ้อนคิด หรือสติเห็นคิด นั้น ทําให้เกิดภาวะเป็นตัวเป็นตนขึ้นมา อันเป็นการยึดมั่นถือมั่นในตัวในตนหนักเข้าไปอีก อันผิดหลักในการปฏิบัติที่ให้ "นําออก และ ละ เสียซึ่งความเป็นตัวเป็นตน" กลับไปสร้างตัวตนให้ยึดมั่น ถือมั่น เชื่อมั่น ขึ้นมาอีกตัวตนหนึ่งซึ่งมีอํานาจมากในอันที่จะชักจูงจิตให้ออกนอกลู่ผิดทาง อันยังให้ง่ายต่อการเกิดสีลัพพตุปาทาน และวิปัสสนูปกิเลส



    "คําสอนทั้ง ๘๔๐๐๐ พระธรรมขันธ์นั่น เป็นเพียงอุบายให้คนทั้งหลายหันมาดูจิตนั่นเอง คําสอนของพระพุทธองค์มีมากมายก็เพราะกิเลสมีมากมาย แต่ทางที่ดับทุกข์ได้มีทางเดียว พระนิพพาน การที่เรามีโอกาสปฏิบัติธรรมที่ถูกทางเช่นนี้มีน้อยนัก หากปล่อยโอกาสให้ผ่านไปเราจักหมดโอกาสพ้นทุกข์ได้ทันในชาตินี้ แล้วเราจะหลงอยู่ในความเห็นผิดอีกนานแสนนาน เพื่อที่จะพบธรรมอันเดียวกันนี้ ดังนั้น เมื่อเราเกิดมาพบพระพุทธศาสสนาแล้ว รีบปฏิบัติให้พ้นทุกข์เสีย มิฉนั้นจะเสียโอกาสอันดีนี้ไป เพราะว่าเมื่อสัจจธรรมถูกลืม ความมืดมนย่อมครอบงําปวงสัตว์ให้อยู่ในกองทุกข์สิ้นกาลนาน" (น.๔๗๙)

    webmaster - เพราะธรรมะของพระพุทธเจ้าพระองค์ไหนก็ตาม ล้วนเป็นธรรมเดียวกันทั้งสิ้น เพราะตั้งอยู่ตามความเป็นจริงของกฎธรรมชาติขั้นปรมัตถ์คือสูงสุดแล้วนั่นเอง



    มีผู้เรียนถามถึงเรื่องหยุดคิด หยุดนึก

    หลวงปู่บอกว่า

    "ก็แสดงถึงความผิดพลาดอยู่แล้ว เพราะบอกให้หยุดคิดหยุดนึก ก็กลับไปคิดที่จะหยุดคิดนั่นเสียอีกเล่า แล้วอาการหยุดจักอุบัติขึ้นได้อย่างไร จงกําจัดอวิชชาแห่งการหยุดคิดหยุดนึกเสียให้สิ้นเลิกล้มความคิดที่จะหยุดคิดเสียก็สิ้นเรื่อง" (น. ๔๘๘)

    webmaster - รู้เท่าทันตามความเป็นจริงแห่งธรรมแล้วหยุดคิดหยุดนึกปรุงแต่งดื้อๆนี่แหละคือสิ่งที่หลวงปู่หมายถึง คือไม่ต้องหาเหตุมาปลอบจิต ไม่เออออ ไม่คล้อยตาม ไม่ผลักไส แม้กระทั่งไม่คิดไปยึดว่าถูกหรือผิด ดีหรือชั่ว บุญหรือบาป เพราะล้วนแล้วแต่เป็นคิดนึกปรุงแต่งได้ทั้งสิ้น, แต่ขอเน้นสักนิดว่าหยุดคิดหยุดนึกหลวงปู่หมายถึงหยุดคิดนึกปรุงแต่ง เพราะเป็นการเกิดขันธ์ ๕ อันเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา อันเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา อันเป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทานอันเป็นทุกข์นั่นเอง
     
  10. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=THxvITxiiMU]ทำไมจึงบอกว่าจิตไม่ใช่ตัวเรา - YouTube[/ame]​
     
  11. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
  12. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,779
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,038
    อนุโมทนาสาธุๆๆในธรรมทานค่ะ แวะมาอ่านตามเคย ขอให้คุณน้องโชคดี ปลอดภัย มีความสุขทั้งทางโลกและทางธรรมค่ะ:cool:chearr:z4
     
  13. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    (k):cool: สาธุ ๆ ๆ จ้า ๆ คุณพี่สุภาทร ขอบพระคุณที่แวะทักทายสม่ำเสมอ ๆ คำอวยพรของคุณพี่ทำให้จิตใจมีความสุขสดชื่นมาก ๆ ค่ะ ขอให้คุณพี่มีความสุขในการปฏิบัติธรรม ตลอดกาลนานเทอญ...
     
  14. tanaong2011

    tanaong2011 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    6,213
    ค่าพลัง:
    +7,405
    ได้อ่านข้อธรรม แล้วดีจังเลยครับพี่ใจ
    สงบเย็น และได้สติ.........

    สาธุ สาธุ สาธุ ขอความสุขความเจริญในธรรมจงมีแด่พี่ใจ......
     
  15. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    (k):cool:ขอบคุณน้องอ๋องที่แวะมาทักทาย และอ่านธรรมะนะคะ..
    ก็ค่อย ๆ เรียนรู้ศึกษาไปเรื่อย ๆ คำสั่งสอนพระพุทธองค์ เป็นสิ่งที่ดีที่สุดในชีวิตเราแล้วค่ะ
     
  16. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=PGkkwUmG6lo]คนต้นแบบ ดังตฤณตอนที่1 1/6 - YouTube[/ame]​
     
  17. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=gKuBvaboKOI]กายเคลื่อนไหวเห็นใจนึกคิด 1/5 - YouTube[/ame]​
     
  18. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=PDuOdkjtULU"]http://www.youtube.com/watch?v=PDuOdkjtULU[/ame]​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 เมษายน 2013
  19. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=D7JS5iVd2jg]สติ(ตัวจริง) ความอัศจรรย์ ที่....... - YouTube[/ame]​
     
  20. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=CCUchKAdzNQ]เปิดตาใจ อ.ประเสริฐ 5FAB55 - YouTube[/ame]

    เปิดตาใน​
     

แชร์หน้านี้

Loading...