พอใจรูม

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย ppojai, 3 ตุลาคม 2010.

  1. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    เปลี่ยนความคิด.... ชีวิตเปลี่ยน
    แก้ไข
    สุขได้......ถ้าวางเป็นพลังของชีวิตไม่มีวันดับ.......

    เมื่อสิ่งสำคัญบางอย่างขาดหายไปจากชีวิต

    กำลังใจของเราดูเหมือนจะหยุดชะงัก

    สูญสิ้นพลังในทันที

    แต่ชีวิตมิได้เปราะบางอย่างที่เราคิด............

    บางครั้ง....เราเพียงแค่ขาดความกล้าที่จะเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง

    อันที่จริงแล้ว...ชีวิตนั้นแข็งแกร่งและทรหด.........

    แม้จะสูญเสียสิ่งสำคัญในชีวิตไป

    เราก็ยังค้นพบสิ่งดีงามอย่างอื่นได้

    เพียงแค่เรายอมปล่อยวางความทรงจำอันเลวร้ายลง

    เมื่อจิตวางเฉยได้.............

    เราจะมองเห็นโอกาสดี ๆ

    ที่จะเข้ามาเติมพลังให้หัวใจเราได้........
     
  2. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
  3. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    สำคัญที่สติ
    : พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภทฺโท)
    วัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี

    สติเป็นธรรมอันเอก ที่จะคอยประคององค์สมาธิให้เดินไป
    ในแนวสัมมาปฏิปทา ข้อนี้หลวงพ่อท่านเน้นไว้หนักหนา
    ...
    “สิ่งที่รักษาสมาธิไว้ได้คือสตินี้ เป็นธรรม เป็นสภาวธรรมอันหนึ่ง
    ซึ่งให้ธรรมอันอื่นๆ ทั้งหลายเกิดขึ้นโดยพร้อมเพรียง
    สตินี้คือชีวิต ถ้าขาดสติเมื่อใด
    ก็เหมือนตาย ถ้าขาดสติเมื่อใดก็เป็นคนประมาท

    ในระหว่างที่ขาดสตินั้น พูดไม่มีความหมายการกระทำไม่มีความหมาย
    ธรรมคือสตินี้ คือความระลึกได้ในลักษณะใดก็ตาม
    สติเป็นเหตุให้สัมปชัญญะเกิดขึ้นมาได้
    เป็นเหตุให้ปัญญาเกิดขึ้นมาได้ ทุกสิ่งสารพัด

    ธรรมทั้งหลายถ้าหากว่าขาดสติ ธรรมทั้งหลายไม่สมบูรณ์
    อันนี้คือการควบคุมการยืน การนั่ง การนอน
    ไม่ใช่เพียงขณะนั่งสมาธิเท่านั้น แต่เมื่อเราออกจากสมาธิไปแล้ว
    สติยังเป็นสิ่งประจำใจอยู่เสมอ มีความรู้อยู่เสมอ
    เป็นของที่มีอยู่เสมอ ทำอะไรก็ระมัดระวัง
    เมื่อระมัดระวังทางจิตใจ ความอายก็เกิดขึ้นมา
    การพูด การกระทำอันใดที่ไม่ถูกต้อง เราก็อายขึ้น อายขึ้น

    เมื่อความอายมีกำลังกล้าขึ้นมา ความสังวรก็มากขึ้นด้วย
    เมื่อความสังวรมากขึ้น ความประมาทก็ไม่มี” นี่ถึงแม้ว่าเราจะ
    ไม่ได้นั่งสมาธิอยู่ตรงนั้น เราจะไปไหนก็ตาม อันนี้มันอยู่ใน
    จิตใจของตัวเอง
    ไม่ได้หนีไปไหน นี่ท่านว่าเจริญสติ ทำให้มาก เจริญให้มาก

    อันนี้เป็นธรรมะคุ้มครองรักษากิจการที่เราทำอยู่หรือทำมาแล้ว
    หรือกำลังจะกระทำอยู่ในปัจจุบันนี้ เป็นธรรมะที่มีคุณประโยชน์มาก
    ให้เรารู้ตัวทุกเมื่อ ความเห็นผิดชอบมันก็มีอยู่ทุกเมื่อ

    เมื่อความเห็นผิดชอบมีอยู่เกิดขึ้นอยู่ทุกเมื่อ ความละอายก็เกิดขึ้น
    จะไม่ทำสิ่งที่ผิดหรือสิ่งที่ไม่ดี เรียกว่าปัญญาเกิดขึ้นแล้ว
    แม้ในการเจริญปัญญา สติในแง่ของการระลึกรู้อยู่ในความไม่แน่
    ก็เป็นปัจจัยอันสำคัญอย่างหนึ่ง “ก็ให้รู้ว่า อันนี้มันไม่แน่นอน
    อย่างนี้เรื่อยไปเถอะ แล้วปัญญามันจะเกิดหรอก

    แต่อย่าไปคิดออกหน้ามันนะ ให้ดูไปเถอะให้มันรู้
    ถ้าหากเรารู้มันจะมารายงานเราหรอก มันก็คล้ายๆ คนเข้าไป
    ในบ้านที่มีหน้าต่างอยู่ ๖ ช่องแล้วก็มีคนๆ เดียวอยู่ในนั้น
    เราไปดูหน้าต่าง ก็มีคนโผล่ออกไป ทางโน้นก็มีคนโผล่ออกไป
    มันก็ไอ้คนๆ เดียวกันนั่นแหละ ไม่ใช่คน ๖ คน คนๆ เดียว
    มันไปโผล่ทั่วถึงกันทั้งหมด ๖ ช่อง คนๆ เดียวก็เรียกว่า
    อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นของไม่แน่ไม่นอนทั้งนั้น
    นี้เป็นอารมณ์ของวิปัสสนา จะตัดความสงสัยทั้งหลายออกไปได้”

    (ที่มา : “สำคัญที่สติ” ใน ตามรอยพระอริยเจ้า หลวงพ่อชา สุภทฺโท
    พระโพธิญาณเถรแห่งหนองป่าพง, เรียบเรียง โดย ดำรงธรรม, หน้า ๑๖๓-๑๖๕)See More
     
  4. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    29 minutes ago."ธรรมะนี้ตรงไปตรงมา ไม่มีคดมีเคี้ยว ไม่มีเล่ห์มีเหลี่ยมหลายสันพันคมเหมือนกิเลส แต่ความฉลาดแหลมคมธรรมะแหลมคมกว่าทุกอย่างแล้ว แต่จะมาใช้ให้เหมาะสมกับกิเลสต้องเอาขนาดที่เหมาะสมกับจะพังกิเลสได้ ท่านจึงเอาออกมา จึงไม่มีคำว่าหยาบว่าโลนว่าหนักว่าเ...บาว่าอะไร จึงเทียบให้ฟังว่า เหมือนนักมวยเขาต่อยกันบนเวที เขาจะไม่คำนึงถึงความหนักเบาในเวลาปล่อยหมัด ใครใช้กิริยาสุภาพไม่สุภาพ คู่ต่อสู้กันนั้นเขาจะไม่คำนึง เขาจะหวังเอาความชนะทุกคน ซัดกันเต็มเหนี่ยว

    นั่นละดูเอา ลวดลายระหว่างนักมวยเขาต่อยกัน กับลวดลายระหว่างกิเลสกับธรรมฟัดกันก็แบบเดียวกันนั้น เอาน้ำหนักที่จะแก้กันให้ตกเป็นจุดใหญ่ที่สุดของการต่อสู้กัน จึงไม่ได้มาคำนึงว่า ปล่อยหมัดเบาไปหนักไป ปล่อยหมัดสุภาพอ่อนโยนไม่อ่อนโยน เขาจะไม่คำนึงนักมวย เขาเอาชัยชนะเป็นผลสำคัญ นี้ต่อยกับกิเลสก็แบบเดียวกัน เพราะฉะนั้นธรรมะกับกิเลสจึงต้องเอากันอย่างหนัก ทีนี้ผู้ฟังมีแต่คลังกิเลสฟัง ต้องเข้าข้างกิเลสทั้งนั้น เห็นไหมกิเลสได้เปรียบตลอดนะ"

    หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน
    เทศน์อบรมฆราวาส ณ วัดป่าบ้านตาดSee More
     
  5. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    ☻☻☻การสงเคราะห์ผู้อื่น เป็นเพียงหน้าที่เท่านั้น อย่าเอาจิตไปเกาะกรรมของเขา มองให้เห็นธรรมดา แก้โลกไม่มีสิ้นสุด ให้แก้ที่จิตใจตนเองเป็นสิ้นสุดได้ พยายามปลดสิ่งที่เกาะติดอยู่ในใจลงให้ได้มากที่สุดเท่าที่จักมากได้ วางภาระและพันธะลงเสีย ให้เป็นส...ักแต่ว่าหน้าที่เท่านั้น จิตจักได้ไม่ทุกข์ ประเด็นที่สำคัญอันจักต้องให้เห็นชัด คือพิจารณากฏของกรรม ให้ยอมรับนับถือในกฏของกรรม จุดนั้นจึงจักถึงซึ่งจิตเป็นสุขและสงบได้☻☻☻

    ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่มที่ ๓ หน้า ๑๘
    รวบรวมโดย : พล.ต.ท. นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน
    
    ☻พระราชพรหมยานมหาเถระ☻
    หลวงพ่อฤาษีวัดท่าซุง จ.อุทัยธานีSee More
     
  6. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    วาทกรรมสร้างสรรค์พลังบวก

    ...มนุษย์ทุกคน..ล้วนมีความทุกข์ของตัวเองด้วยกันทั้งนั้น...ดังนั้น..ไม่ต้องเอาความทุกข์ของเราไปเพิ่มให้เขาอีก...เป็นดีที่สุด...พูดคุยแต่"เรื่องราวดีๆ"ของกันและกันดีกว่า...จะได้มีความสุขด้วยกันทั้งสองฝ่าย...!!!╰☆╮ღϠ₡ღ♥╰☆╮

    ที่มา:หนังสือ 88 มหัศจรรย์ปลุกพลังความคิดบวก
    Cr.ภาพ: Welcome to Flickr - Photo Sharing
     
  7. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    ☼☼☼พูดมากเท่าไหร่ ความผิดพลาดย่อมเกิดขึ้นได้มากเท่านั้น จงพิจารณาไตร่ตรองก่อนที่จักพูดทุกครั้ง เล็งเห็นสาระ หรือประโยชน์ในการพูดแต่ละครั้งด้วย อย่าพูดให้เสียเปล่า หรือพูดให้เป็นโทษ เป็นที่เบียดเบียนตนเอง เบียดเบียนผู้อื่น เบียดเบียนทั้งตนเอ...งและผู้อื่น คุมจุดนี้เอาไว้ให้ดี ๆ ชาวโลกหมองใจฆ่ากันตาย ทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกัน เพราะวจีกรรมมามากต่อมากแล้ว☼☼☼

    ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่มที่ ๗ หน้า ๔๐
    รวบรวมโดย : พล.ต.ท. นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน
    
    ☼พระราชพรหมยานมหาเถระ☼
    หลวงพ่อฤาษีวัดท่าซุง จ.อุทัยธานีSee More
     
  8. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    ถ้ามีใครมาบอกให้ ปล่อยวาง
    คนที่ยังมืดอยู่
    ก็ไม่รู้ไม่เข้าใจหรอก
    ก็จะหลับหูหลับตา
    แบกก้อนหินก้อนนั้น
    ยังไม่ยอมปล่อย
    ... จนกระทั่ง มันหนักจนเหลือที่จะทน
    นั่นแหละ ถึงจะยอมปล่อย
    แล้วก็จะรู้สึกได้ด้วยตนเองว่า
    มันเบามันสบายแค่ไหนที่ปล่อยมันไปได้

    ต่อมา เราอาจจะไปแบกอะไรอีกก็ได้
    แต่ตอนนี้ เราพอรู้แล้วว่า
    ผลของการแบกนั้น เป็นอย่างไร
    เราก็ปล่อยมันได้โดยง่ายขึ้น

    ความเข้าใจ
    ในความไร้ประโยชน์ของการแบกหาม
    และความเบาสบาย ของการปล่อยวางนี่แหละ
    คือตัวอย่างที่แสดงถึง การรู้จักตัวเอง

    ธรรมะจากหลวงพ่อชา สุภัทโทSee More
     
  9. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    " สังโยชน์ 10 "

    สังโยชน์ แปลว่า กิเลสเป็นเครื่องร้อยรัดจิตใจให้ตกอยู่ในวัฎฎะ มี 10 อย่าง

    สักกายทิฏฐิ เห็นว่า ร่า่งกายเป็นเรา เป็นของเรา (คำว่าร่างกายนี้หมายถึง ขันธ์ 5)
    วิจิกิจฉา ความลังเลสังสัย ในคุณพระรัตนตรัย
    ... สีลัพพตปรามาส รักษาศีลแบบลูบ ๆ คลำ ๆ ไม่รักษาศีลอย่างจริงจัง
    กามฉันทะ มีจิตมั่วสุมหมกมุ่น ใคร่อยู่ในกามารมณ์
    พยาบาท มีอารมณ์ผูกโกรธ จองล้างจองผลาญ
    รูปราคะ ยึดมั่นถือมั่นในรูปฌาน
    อรูปราคะ ยึดมั่นถือมั่นในอรูปฌาน คิดว่าเป็นคุณพิเศษที่ทำให้พ้นจากวัฎฎะ
    มานะ มีอารมณ์ถือตัวถือตน ถือชั้นวรรณะเกินพอดี
    อุทธัจจะ มีอารมณ์ฟุ้งซ่าน ครุ่นคิดอยู่ในอกุศล
    อวิชชา มีความคิดเห็นว่า โลกามิสเป็นสมบัติที่ทรงสภาพ
    นักปฏิบัติที่ท่านปฏิบัติกันมาและได้รับผลเป็นมรรคผลนั้น ท่านคอยเอา สังโยชน์ เข้าวัดอารมณ์เป็นปกติ เทียบจิตกับ สังโยชน์ ว่า เราตัดอะไรได้เพียงใด แล้วจะรู้ผลปฏิบัติอารมณ์ที่ละนั้นเอง
    สังโยชน์ทั้ง 10 ข้อนี้ ถ้าพิจารณาวิปัสสนาญาณแล้ว จิตค่อย ปลดอารมณ์ที่ยึดถือได้ครอบ 10 อย่าง โดยไม่กำเริบอีกแล้ว ท่านว่า ท่านผู้นั้นบรรลุอรหัตผล

    สักกายทิฏฐิ ท่านแปลว่า ให้รู้สึกในอารมณ์ของเราว่า ร่างกายนี้ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายนี้ไม่มีในเรา หรือตามศัพท์ที่เรียกว่า ขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี้มันไม่ใช่ของเรา เราไม่่มีในขันธ์ 5 ขันธ์ 5 ไม่มีในเรา อารมณ์ขั้นต้นของพระโสดาบัน กับสกิทาคามี ท่านมีความรู้สึกว่าชีวิตนี้ต้องตาย เราต้องคิดว่า ร่างกายนี้ต้องตายแน่ ร่างกายนี้น่าเกลียดโสโครก ต้องเกลียดจริง ๆ เราไม่ต้องการทั้งร่างกายเรา และร่างกายของคนอื่น หรือวัตถุธาตุใด อย่างนี้เป็นกำลังใจของพระอนาคามี และถ้ามีความรู้สึกว่า ร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา อย่างนี้เป็นกำลังใจของพระอรหันต์

    ถ้าจะปฏิบัติกันตามลำดับแล้ว ต้องใช้อารมณ์ตามลำดับ คือ
    อารมณ์ขั้นต้น ใช้อารมณ์แบบเบา ๆ คือมีความรู้สึกตามธรรมดาว่า ชีวิตนี้ต้องตาย ไม่มีใครเลยในโลกนี้ที่จะทรงชีวิตได้ตลอดกาล ในที่สุดก็ต้องตายเหมือนกันหมด ใช้อารมณ์ให้สั้นเข้า คือมีความรู้สึกไว้เสมอว่า เราอาจจะตายวันนี้ไว้เสมอ จะได้ไม่ประมาทในชีวิต
    อารมณ์ขั้นกลาง ท่านให้ทำความรู้สึกเป็นปกติว่า ร่างกายของคนและสัตว์ ตลอดจนวัตถุทุกชนิดเป็นของสกปรกทั้งหมด มีทั้ง อุจจาระ ปัสสวะ น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง เป็นต้น พยายามทำอารมณ์ให้ทรงจนเกิดความเบื่อหน่ายในร่างกายทั้งหมด
    อารมณ์สูงสุด มีความรู้สึกว่า ร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย และร่างกายไม่มีในเรา มีอาการวางเฉยในร่างกายทุกประเภท เป็นอารมณ์ของพระอรหันต์

    วิจิกิจฉา แปลว่า สงสัย คือสงสัยในความดีของพระพุทธเจ้า สงสัยในความดีของพระธรรมคำสั่งสอน สังสัยในความดีของพระอริยสงฆ์ สงสัยว่า พระพุทธเจ้ามีจริงหรือไม่ เมื่อสงสัยเข้าก็ไม่เชื่อ ถ้ามีอารมณ์อย่างนี้ ต้องลงอบายภูมิ
    เพราะฉะนั้นจงอย่ามีในใจ ใช้ปัญญาพิจารณานิดเดียว ก็จะเข้าใจว่า พระพุทธเจ้าพูดถูก พูดจริง ยอมรับนับถือคำสั่งสอนของพระองค์

    สีลัพพตปรามาส คือ ลูบคลำศีล รักษาศีลไม่จริงจัง อย่างนี้จงอย่ามีในเรา จงปฏิบัติให้ครบถ้วนด้วย 3 ประการ

    มีความรู้สึกว่าร่างกายนี้มันจะต้องตาย
    ไม่สงสัยในคำสอน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมยอมรับปฏิบัติตาม
    รักษาศีลครบถ้วนโดยเคร่งครัด

    ทำอย่างนี้ได้ ท่านผู้นั้นเป็นพระโสดาบัน และพระสกิทาคามี
    กามฉันทะ คือมีความพอใจในกามคุณ คือ รูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสระหว่างเพศ เราต้องกำจัดในสิ่งเหล่านี้ ให้รู้ว่าสกปรก โสโครก เราไม่ต้องการ และกำจัด

    ปฏิฆะ คือ การกระทบกระทั่งความไม่พอใจออกจากจิต มีความเมตตา กรุณา เข้ามาแทน จิตมีความเบื่อหน่ายในร่างกายเป็นที่สุด ท่านตรัสว่า เป็นอารมณ์ของพระอนาคามี

    รูปราคะ และ อรูปราคะ เป็นการหลงในรูปฌาน และอรูปฌาน เราต้องไม่หลงติด ไม่มัวเมาใน รูปฌาน และอรูปฌาน แต่จะรักษาไว้เพื่อประโยชน์แก่จิตใจ แล้วใช้่ปัญญาพิจารณาขันธ์ 5 ว่ามีแต่ความทุกข์ มีการสลายตัวไปในที่สุด เมื่อขันธ์ 5 ไม่ทรงตัวแบบนี้แล้ว

    มานะ การถือตัวถือตนว่าเราดีกว่าเขา วางอารมณ์แห่งการถือตัวถือตนเสีย มีเมตตาบารมีเป็นที่ตั้ง

    ตัดอุทธัจจะ คืออารมณ์ฟุ้งซ่าน
    การถือตัวถือตน เป็นปัจจัยของความทุกข์ เราควรวางใจแต่เพียงว่า ชราปิ ทุกขา ความแก่เป็นทุกข์ มรณัมปิ ทุกขัง ความตายเป็นทุกข์ โสกะปริเทวะทุกขะ โทมะสัส อุปยาส ความเศร้าโศกเสียใจเป็นทุกข์ ทุกข์มาจากไหน ทุกข์มาจากการเกิด แล้วเกิดนี่มาจากไหน การเกิดมาจาก กิเลส ตัณหา อุปาทาน อกุศลกรรม เราควรวางใจเป็นกลาง การถือตัวถือตนเป็นปัจจัยของความทุกข์ จิตใจเราพร้อมในการเมตตาปรานี ไม่ถือตน เขาจะมีฐานะเช่นใดก็ช่าง ถือว่า เป็นเพื่อนเกิด แก่ เจ็บ ตาย เหมือนกันหมด ถ้ากำหนดอารมณ์อย่างนี้ได้ เราก็สามารถจะกำจัดตัวมานะของตนได้

    อวิชชา หมายถึง อุปาทาน คือความยึดมั่นถือมั่น ไม่รู้ตามความเป็นจริง อุปาทานนี้มีคำจัดกัดอยู่ 2 คำ คือ ฉันทะ และราคะ
    อุปาทาน ได้แก่ ฉันทะ คือความหลงใหลใฝ่ฝันในโลกามิสทั้งหมด มีความพอใจในสมบัติของโลก โดยไม่ได้คิดว่ามันจะต้องสลายไปในที่สุด
    ราคะ มีความยินดีในสมบัติของโลกด้วยอารมณ์ใคร่ในกิเลส
    ฉะนั้นการกำจัด อวิชชา ก็พิจารณาเห็นว่า สมบัติของโลกไม่มีอะไรเป็นเรา เป็นของเรา เราไม่มีในสมบัติของโลก ไม่มีในเรา จนมีอารมณ์ไม่ยึดถืออะไร มีอยู่ก็เป็นเสมือนไม่มี จิตไม่ผูกพันเกินพอดี เมื่อมีอันเป็นไปก็ไม่เดือดร้อน มีจิตชุ่มชื่นต่ออารมณ์พระนิพพาน

    ฉันทะ กับ ราคะ ทั้งสองนี้เป็นอารมณ์ของ อวิชชา ถือว่าเป็นความโง่ ยังไม่เห็นทุกข์ละเอียด ความจริงอารมณ์ตอนนี้ก็เข้มแข็งพอ คนที่เป็นอนาคามีแล้ว เป็นผู้มีจิตสะอาด มีอารมณ์ขุ่นมัวบ้างเล็ก ๆ น้อย ๆ อารมณ์ใจยังเนื่องอยู่ในอวิชชา สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ยังไม่เข้าถึงสุขที่สุด ที่เรียกว่า เอกันตบรมสุข ก็ควรจะใช้บารมี 10 นำมาประหัตประหารเสีย
    อวิชชานี้ ที่ว่า มีฉันทะ กับราคะ นั้น ท่านก็ตรัสว่า ฉันทะ คือมีความพใจในการเกิดเป็นมนุษย์ เกิดเป็นเทวดา เกิดเป็นพรหม ราคะ เห็นว่า มนุษยโลก เทวโลก พรหมโลกก็ดี ยังเป็นกิเลสเบา ๆ คือไม่สามารถจะพ้นทุกข์
    ฉะนั้น ถ้าจะตัดอวิชชา ให้ตัดฉันทะ กับราคะ ในอารมณ์ใจ คิดว่า มนุษยโลก เทวโลก พรหมโลก ทั้ง 3 ภพนี้ ไม่เป็นที่หมายของเรา คือยังเป็นแดนของความทุกข์ เทวโลก พรหมโลกเป็นแดนของความสุขชั่วคราว เราไม่ต้องการ ต้องการจิตเดียวคือ พระนิพพาน ในใจของท่านต้องการพระนิพพานเป็นอารมณ์ เป็นเอกัคตารมณ์ ในอุปสามานุสสติกรรมฐานSee More
     
  10. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    จิตคือพุทธะ

    การค้นหาพุทธะ ไม่อาจค้นหาออกไปเสียจากกายใจตนได้ เพียงแต่ทำให้ถึงที่สุดแห่งกิเลสตัณหาเครื่องร้อยรัดทั้งปวงทั้งหมด พุทธะก็ปรากฏที่ใจ

    เส้นทางเดินสองเส้นที่เราหลงผิด เฝ้าเดินตามชนิดที่ไม่รู้ว่าผิด ทำให้เราเสียเวลามานับชั่วกัปชั่วก...ัลป์

    พระพุทธเจ้าให้ชื่อกับมันว่าทางสุดโต่งสองข้าง
    ภาษาพระเรียกทางสุดโต่งทั้งสองทางว่า "กามสุขัลลิกานุโยค" ทางหนึ่ง และอีกทางหนึ่งเรียกว่า "อัตตกิลมถานุโยค" จะเรียกว่า ลบ และบวก ก็ว่าได้

    @ ไม่รู้หนังสือก็บรรลุธรรมได้See More
     
  11. kimberly

    kimberly เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2006
    โพสต์:
    1,627
    ค่าพลัง:
    +5,233
    ขอบคุณค่ะ..ขอบคุณป้าใจคนดี..
     
  12. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    (k):cool:ป้าใจพยายามเป็นอยู่ค่ะ น้องหนูมาดี..ขอบคุณที่หนูมองเห็นความดี..
     
  13. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    พุทโธ ๆ ๆ...

    รู้ซะแล้ววววว..
    ว่าความติดใจเพลิดเพลิน..ทำให้เกิดทุกข์..
    .......................................................

    อย่าไปยึดดี

    คิดดี ก็ดับ
    พูดดี ก็ดับ
    ทำดี ก็ดับ
    ยึดเป็นของเราบ่ได้...

    พระพุทธองค์ทรงสอน..
    ไม่คิดชั่ว พูดชั่ว ทำชั่ว
    ให้คิดดี พูดดี ทำดี
    อย่าไปยึดมั่น ถือมั่น สิ่งใด ๆ ในโลก..

    คิดแต่กุศล อย่าให้อกุศลมารบกวนใจ...

    เกิด-ดับ เกิด-ดับ นอนหลับ ก็ดับหมดแล้ว.
     
  14. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    กุญแจดอกเอก (ธรรมะของหลวงพ่อเทียน)
    “ การแสวงหาพระพุทธเจ้าก็ตาม แสวงหาพระอรหันต์ก็ตาม แสวงหามรรคผลนิพพานก็ตาม อย่าไปแสวงหาที่ๆ มันไม่มี แสวงหาตัวเรานี้ ให้เราทำความรู้สึกตื่นตัวอยู่เสมอ นี่แหละ จะรู้จะเห็น ”

    หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ

    ธรรมชาติแห่งพุทธะในตัวคนแต่ละคน อาจเปรียบได้กับผลไม้แต่ละผลหรือเมล็ดข้าวเปลือก ถ้าหากได้เอาลงเพาะในดินที่ชุ่มเย็น มีเงื่อนไขต่างๆ พอเหมาะ ก็จะงอกขึ้นมาเป็นต้น ให้ดอกออกผลได้เช่นกัน ส่วนจะช้าหรือเร็วนั้นขึ้นอยู่กับสภาพของข้าวเมล็ดนั้นๆ เป็นเหตุปัจจัย

    การตรัสรู้เหมือนดอกไม้อาศัยแสงตะวัน เมื่อตะวันส่องแสงมายังพื้นโลก เมื่อความร้อนกับความเย็นกระทบกัน จึงเกิดความอบอุ่น ดอกไม้ก็เลยบานได้ตามต้องการ

    พุทธะหรือโพธิจิตนี้ เมื่อได้รับการกระตุ้นระดับหนึ่ง จะตื่นขึ้นและผลิบาน จึงเรียกว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ซึ่งมนุษย์ทุกคนไปถึงได้

    การเจริญสติ อันเป็นฐานของการเจริญสมาธิ เจริญปัญญา จะทำให้ธาตุพุทธะในตัวเราแตกตัว และเบ่งบาน

    การรู้สึกตัวนั้น เป็นไม้ขีดไฟ เทียนไขนั้นก็คือ มันคิดเรารู้ เราพยายามจุดสองอย่างนี้ จุดแล้วก็สว่างขึ้นมา ก็เดินหนีออกจากถ้ำ ไม่เข้าไปอยู่ในถ้ำ ถึงจะต้องเข้าไปอยู่ในถ้ำ ก็ต้องไม่ให้มันมืดต่อไป ต้องรู้สึกตัวทันที นี่แหละคือการปฏิบัติธรรม

    การรู้สึกตัวนี้ ให้รู้สึกลงไป เมื่อมันไหวขึ้นมาให้รู้สึกตามความเป็นจริงที่มันเคลื่อนไหวนั้น เมื่อมันหยุดก็ให้รู้สึกทันทีว่ามันหยุด อันนี้เรียกว่า สงบ สงบแบบรู้สึก

    เราจะสร้างโบสถ์สักหลังหนึ่ง ยังไม่เท่าเราพลิกมือขึ้นอย่างนี้ครั้งเดียว แล้วรู้สึกตัว ทำอย่างนี้ดีกว่าการสร้างโบสถ์หลังหนึ่ง เพราะอันนี้มันรู้แต่สร้างโบสถ์ ไม่รู้อะไรเลย

    ความรู้สึกตัวเป็นรากเหง้าของบุญ ความไม่รู้เป็นรากเหง้าของบาป

    การแสวงหาพระพุทธเจ้าก็ตาม แสวงหาพระอรหันต์ก็ตาม แสวงหามรรคผลนิพพานก็ตาม อย่าไปแสวงหาที่ๆ มันไม่มี แสวงหาตัวเรานี้ ให้เราทำความรู้สึกตื่นตัวอยู่เสมอ นี่แหละ จะรู้จะเห็น

    ความสงบที่แท้จริงจะเกิดขึ้นต่อเมื่อ เราหยุดการแสวงหา ต่อเมื่อเราไม่ต้องวิ่งหาบุคคลอื่นนั้นเรียกว่า ความสงบ

    ความสงบมีอยู่แล้วโดยไม่ต้องทำขึ้น เป็นความสงบจาก โทสะ โมหะ โลภะ เมื่อมีอะไรเกิดขึ้นแก่เรา สติจะมาทันที เนื่องจากสติ สมาธิ ปัญญา อยู่ที่นั่นแล้ว โทสะ โมหะ โลภะ จึงไม่มี ถ้าบุคคลใดไม่เจริญสติ ไม่ได้ทำให้สิ่งนี้เกิดขึ้น บุคคลนั้นจะไม่มีมัน ทั้งๆ ที่มันมีอยู่ที่นั้นแล้ว

    เพียงแต่เคลื่อนไหวทีละครั้งและรู้ เมื่อเธอไม่รู้ปล่อยมันไป เมื่อรู้ปล่อยมันไป บางครั้งเธอรู้ บางครั้งเธอไม่รู้ มันเป็นเช่นนั้น แต่ให้รู้

    การรู้สึกถึงความเคลื่อนไหวของร่างกาย คือการเจริญสติ สมาธิคือการตั้งใจ

    ใช้สติดูจิตใจ ไม่ว่าความคิดอะไรเกิดขึ้น เห็นมันทันที และเราจะรู้ถึงความหลอกลวง รู้ทันเวลา รู้การป้องกัน และรู้การแก้ไข รู้ถึงการเอาชนะความคิดปรุงแต่ง ศีลจะเกิดขึ้นภายในจิตใจของเราเอง ไม่ใช่คนดอกที่รักษาศีล แต่ศีลต่างหากที่รักษาคน

    ให้ลืมตาทำ เคลื่อนไหวโดยวิธีใดก็ให้รู้ มันเป็นการไหลไปตามธรรมชาติของมัน ตาก็ไม่ต้องบังคับให้มันหลับ ให้มันกะพริบขึ้นลงได้ตามธรรมชาติ เหลือบซ้าย แลขวาก็ได้ มันจึงเป็นการปฏิบัติธรรมกับธรรมชาติ และมันก็รู้กับธรรมชาติจริงๆ

    ถ้ารู้สึกในการเคลื่อนไหวได้ ก็เป็นการปฏิบัติธรรม ซักเสื้อผ้า ล้างถ้วย ล้างชาม ถ้ารู้สึกที่มันเคลื่อนไหวในขณะนั้น ก็เป็นการปฏิบัติธรรมได้

    พุทธศาสนาคือ มารู้สึกต่อการเคลื่อนการไหวในสิ่งที่เรากำลังทำอยู่นั่นแหละ คือมันรู้สึกในการเคลื่อนไหวของกายและใจ เป็นญาณเข้ามารู้ รู้สึกที่เนื้อที่ตัวตื่นตัว มันจะเป็นใหญ่ในตัวของมันได้เอง รู้สึกใจตื่นใจ มันจะเปลี่ยนแปลง เป็นใหญ่ในใจของมันได้เอง เมื่อมันเปลี่ยนแปลง มันก็เหมือนกับเราหงายของที่คว่ำขึ้นมา มันก็เห็นว่า มีอะไรอยู่ที่ตรงนั้น

    คำว่าติดต่อกันเหมือนลูกโซ่นั้น ไม่ใช่แต่ว่านั่งอยู่ในห้องกรรมฐานเพียงอย่างเดียว จะไปไหนมาไหน อาบน้ำ ซักเสื้อ ซักผ้า ก็ให้มีสติดูการเคลื่อนไหวของรูปกาย และมีสติดูจิตดูใจอยู่เสมอ นั่นแหละท่านเรียกว่า ปฏิบัติให้ติดต่อเหมือนลูกโซ่

    ทันทีที่ความคิดเกิดขึ้น ปัดมันทิ้งออกไปทันที และให้มาอยู่กับความรู้สึกตัว

    ความคิดยิ่งเร็ว สติปัญญาก็ยิ่งเร็ว ความคิดยิ่งลึก สติปัญญาก็ยิ่งลึก ถ้าทุกวันสองอย่างนี้ยิ่งลึกเท่ากันและกระทบกัน แตกโพละออกมาเลย เรียกว่า โพลงตัวออกมา ซึ่งสภาวะอันนี้มันมีอยู่แล้วในคนทุกคน

    วิธีแห่งการปฏิบัติ คือการรู้สึกตัวเท่าทันความคิด ร่างกายของเราทำงานไปตามหน้าที่ แต่จิตของเราจะต้องดูความคิด

    การเห็น การรู้ความคิด เป็นสองสิ่งที่แตกต่างกัน การรู้คือการเข้าไปในการคิดและความคิดก็คงดำเนินต่อไป เมื่อเราเห็นความคิด เราสามารถหลุดออกมาจากความคิดนั้นได้

    เมื่อเราเห็นความคิดในทุกขณะ ไม่ว่ามันจะเกิดเรื่องใดก็ตาม เราเอาชนะมันได้ทุกครั้งไป แล้วเราจะมาถึงจุดหนึ่ง ที่บางสิ่งภายในจะเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน

    การรู้ความคิด จึงเป็นความรู้ของ อวิชชา สำหรับผู้มีปัญญา การรู้และการเห็น สามารถแยกออกจากกันได้ นั่นคือวิชชา ปัญญาและอวิชชาจะแยกความคิดออกจากกันได้ และนั่นคือที่สุดของทุกข์

    ตัวนึกคิดนี่แหละคือสมุทัย มรรคคือการเอาสติมาดูความคิด นี่คือข้อปฏิบัติ

    การที่เราเห็นความคิดนี่เอง เป็นต้นทางพระนิพพานแล้ว เมื่อมันคิดวูบขึ้นมา เราก็เห็นปั๊บ อันกระแสความคิดนี้มันไวนัก ไวกว่าแสง ไวกว่าเสียง ไวกว่าไฟฟ้า ไวกว่าอะไรทั้งหมด เมื่อได้เห็นสมุฏฐานความเร็ว ความไวของความคิดแล้ว เรียกว่า อรรถบัญญัติ

    ให้เห็นความคิด อย่าไปห้ามความคิด และอย่าไปยึดถือ ให้ปล่อยมันไป นี่คือการเห็นความคิด คิดแล้วให้ตัดปุ๊บเลย เหมือนการวิดน้ำออกไปจากก้นบ่อ ทำอย่างนี้นานๆ เข้า สติจะเต็มและสมบูรณ์ คิดปุ๊บเห็นปั๊บ อันนี้แหละคือระดับความคิด ที่เรียกว่า ปัญญา ซึ่งเป็นเครื่องกำจัดกิเลสอย่างละเอียด

    ให้รู้จักสมุฏฐานของความคิด เมื่อเรารู้จักสมุฏฐานของความคิดแล้ว เราจะได้ปฏิบัติจุดนี้เข้าไป เมื่อเราปฏิบัติจุดนี้แล้ว มันจะไปตามทางของมันเอง เมื่อไปตามทางนั้นแปลว่าเห็นถูกต้อง ก็ต้องถึงจุดหมายปลายทาง

    ที่เราต้องการความสงบหรือพุทธะ เราไม่ต้องไปทำอะไรให้มาก เพียงให้ดูต้นตอของชีวิตเมื่อมันคิดมา อย่าเข้าไปในความคิด ให้ตัดความคิดออกให้ทัน

    วิธีการยกมือขึ้น คว่ำมือลง เป็นวิธีเจริญสติ เป็นวิธีเจริญปัญญา เมื่อได้สัดได้ส่วนสมบูรณ์แล้ว มันจะเป็นเองไม่ยกเว้นใครๆ อยู่ที่ไหนก็ทำได้ เด็กๆ ก็ทำได้ ผู้ใหญ่ก็ทำได้ นุ่งผ้าสีอะไรก็ทำได้ ถือศาสนาลัทธิอะไรก็ทำได้ เรียกว่า ของจริง

    วิธีที่จะจัดการกับ ความโลภ ความโกรธ ความหลงนั้น เราไม่ต้องไปคิดหาว่า ความโกรธ ความโลภ ความหลง อยู่ที่ไหน เราเพียงกลับเข้ามาดูจิตดูใจของเรา ก็จะทำลายความโกรธ ความโลภ ความหลงได้เอง

    ศีลคือความปกติ ศีลคือผลของจิตใจที่เป็นปกติ นี้เป็นสิ่งเดียวกับสติ สมาธิ ปัญญา วิธีการปฏิบัติคือ การรู้สึกตัวเท่าทันความคิด เมื่อความคิด ความทุกข์ หรือความสับสนเกิดขึ้น อย่าได้พยายามหยุดมัน แต่ให้สังเกตมัน

    หนทางไปสู่ความสิ้นสุดของทุกข์นี้ เป็นหนทางที่ง่าย เหตุที่ยาก เพราะเราไม่รู้มันอย่างแท้จริง เราจึงมีแต่ความลังเล และสงสัย

    พระพุทธเจ้าก็คือ คนทุกคน เพราะพืชพันธุ์ที่จะทำให้คนเป็นพระพุทธเจ้านั้นมีอยู่แล้วในคนทุกคนไม่ยกเว้น

    ไม่ว่าพระพุทธเจ้าจะอุบัติขึ้นหรือไม่ก็ตาม พระธรรมนั้นมีอยู่ก่อนแล้ว เมื่อเห็นสิ่งนี้อย่างแท้จริง เราจะอยู่เหนือความเชื่อที่งมงายทั้งหลาย ตัวเราเท่านั้นที่จะนำชีวิตของเราเอง มิใช่ใดอื่น นี้คือ จุดเริ่มต้นของความสิ้นสุดแห่งทุกข์

    พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนอะไรเลย เพราะมันมีอยู่แล้วทั้งนั้น ขอเพียงว่าให้เรารู้สึกตัวเท่านั้นเอง ความรู้สึกตัวก็มีอยู่แล้ว

    แท้จริงแล้วนั้น กิเลสมิได้มีอยู่จริง แล้วเราจะไปชนะมันได้อย่างไร สิ่งที่เราต้องทำเพียงอย่างเดียวคือ เราเพียงแต่ดูจิตใจโดยชัดเจน เผชิญหน้ากับความคิดโดยแจ่มชัด เมื่อเราเห็นใจอย่างชัดเจน โมหะก็จะไม่มีอยู่

    ธรรมะคือมนุษย์ เมื่อเรารู้ธรรมะ เราก็จะเข้าใจว่า ทุกๆ สิ่งนั้นไม่ได้เป็นอย่างที่เราคิด ทุกๆ สิ่งคือสมมุติ นี้คือปัญญาที่เกิดขึ้น

    การเห็นตัวเราตามที่เป็นจริง คือการเห็นธรรมะ ฉะนั้นการเห็นธรรมก็คือเห็นในขณะที่เรากำลังทำ กำลังพูด กำลังคิด เห็นอย่างนี้เห็นธรรมแท้ๆ ไม่แปรผัน

    สติธรรม (หลวงพ่อคำเขียน สุวณฺโณ)
    การเจริญสติ
    • การเจริญสติ เป็นอาชีพทางจิตวิญญาณ มีวิหารธรรมเป็นที่อยู่

    • การเจริญสติ เป็นภาวนา ไปสู่ความดี เปลี่ยนผิดให้เป็นถูกในทุกๆ ด้าน

    • การเจริญสติ ตามรอยพระพุทธเจ้า

    • การเจริญสติ เป็นกีฬาของจิตใจ ทำให้จิตใจมีความพร้อม เกิดความปกติ สะอาด สว่าง สงบ พร้อมที่จะปล่อยวาง หยุดเย็น การเจริญสติเป็นกรรม อาศัยการกระทำ

    • การเจริญสติ เป็นเหตุให้ปล่อยวาง หยุดเย็น ปกติ

    • การเจริญสติ ทำให้เกิดภูมิมนุษย์ ไปสวรรค์ พรหมโลกจนถึงมรรคผลนิพพาน

    • การเจริญสติ นำพาไปสู่จุดหมายปลายทางของชีวิต

    • การเจริญสติ เป็นเครื่องมือถลุงอกุศลกรรมให้เหือดหายไปได้อย่างทันตา ไม่ต้องรอ

    • การเจริญสติ เป็นการเสียสละ เป็นการทำลายความเห็นแก่ตัว

    • การเจริญสติ เป็นการงานที่พัฒนาตนให้มีคุณภาพมาตรฐาน อิสระ หลุดพ้น ไม่มีสิ่งใดครอบงำย่ำยี

    • การเจริญสติ เป็นการชาร์จความดีให้ตน

    • การเจริญสติ ตามแบบของสติปัฏฐานสี่นี้สมบูรณ์มากที่สุดแล้ว เมื่อผู้ใดตั้งใจศึกษาปฏิบัติ ก็จะเสมือนว่าจุดแสงสว่างในที่มืด บอกคนหลงทาง เปิดของที่ปิด จะพบชีวิตที่ใหม่ ปลอดภัย

    • การเจริญสติ คือการทำบุญ รักษาศีล การทำบุญ คือการทำดีทางกายวาจาและใจ

    • การเจริญสติ ก็คือทำดีลงไปที่กายวาจาและใจ การเจริญสติทำให้กายวาจาและใจ ปกติ ก็เป็นศีลอยู่ในนั้นแล้ว สติคือความดี เป็นบุญ ใจดี ทำใจดี

    • การเจริญสติ เหมือนตลาดนัดแห่งธรรม ทุกอย่างจะมาให้รู้ ให้เห็น

    • การเจริญสติ เป็นการรีไซเคิล เปลี่ยนสิ่งไม่ดี ให้เป็นสิ่งดี

    สติ
    • สติ (ความรู้สึกตัว) เป็นปัจจัยคุมกำเนิดของสังขาร

    • สติเป็นมรดกของใจ

    • สติเป็นปัจจัยพัฒนากายใจ

    • สติจะนำพาเห็นแจ้งเอง มีสติก็คือมีธรรมะ

    • สติเปิดตำรากายใจ จนได้คำตอบ กายใจจะบอกความจริงแก่ผู้มีสติเอง ไม่ต้องคิดหาเหตุผลอะไร สติจะนำพาเกิดญาณปัญญา รู้แจ้ง

    • สติคือความรู้สึกตัวนี้จะนำพาให้ฉลาดเกิดปัญญาได้ทุกคน

    • สติเป็นศัตรูของความหลง เมื่อมีสติดีความหลงก็ไม่มี ถ้ามีสติอย่างต่อเนื่อง ความหลงก็เหือดแห้งหรือหมดไป

    • สติสัมปชัญญะ เป็นคุณธรรมที่ทักท้วงตน เฝ้าดูตน ก็จะเห็นตน รู้แจ้งในตน

    • สติสัมปชัญญะลิขิตชีวิตของเราไปสู่ความชอบธรรม

    • สติสัมปชัญญะเป็นธรรมขูดเกลาให้กายวาจาใจบริสุทธิ์ เป็นการทำดีละชั่วได้ทั้งสามทาง

    • สติจะเป็นเจ้าของกายและจิตใจ

    • สติเมื่อพัฒนาให้มีมากขึ้นจะเป็นเครื่องมือถลุง เกิดญาณปัญญารู้แจ้ง

    • สติเป็นปัจจัยให้ความดี สติทำให้เกิดความสงบ เกิดความหลุดพ้น สติเป็นเหตุไม่ให้เกิดความหลงลืมตัว สติมีมากความทุกข์หมด ผู้ที่พ้นทุกข์ได้เกิดจากการเจริญสติ

    • สติเป็นคุณธรรมให้รู้ตื่นและเบิกบาน

    • สติจะเป็นกุญแจเปิดเผยตน เห็นผิดเห็นถูก

    • สติจะเป็นธรรมเป็นวินัยอย่างยิ่ง สติเป็นความอดทนก็ได้ เป็นความละอาย เป็นเมตตากรุณา เป็นคุณธรรมได้ทุกๆ อย่าง การใช้ชีวิตขอให้มีสติเป็นหลัก คุณธรรมอันอื่นก็เกิดขึ้นตามลำดับ

    • สติเป็นธรรมไม่ให้เกิดทุกข์ ขาดสติมักจะเกิดปัญหา

    • สติเป็นดวงตาภายใน รู้เห็นทั้งกายและจิตใจตามความเป็นจริง สติจะทำหน้าที่เห็นสภาวะการเห็นของสติเป็นการเห็นชอบ เห็นแล้วหลุดพ้นได้ทุกสิ่งทุกอย่าง และก็เห็นได้ทุกอย่างของเหตุให้เกิดทุกข์ และพ้นจากทุกข์ได้ทุกๆ อย่าง

    • สติเป็นปัจจัยเปิดเผยชีวิตของเราให้เข้าสู่อิสรภาพ

    • สติเป็นเครื่องขัดใจ มีสติมากเท่าใดใจก็ยิ่งบริสุทธิ์

    • สติเป็นธรรมให้เกิดธรรมกุศลอเนกประสงค์

    • สติเป็นครูฝึกกายใจ ถ้ากายมีสติ กายก็จะมีคุณภาพ ถ้าจิตใจมีสติ จิตใจก็มีคุณภาพ

    • สติเป็นกัลยาณมิตรกับตัวเรา

    • สติเป็นนักศึกษา กายใจเป็นตำรา

    • สติเหมือนใบมีดรถแทรคเตอร์ปาดทางขรุขระให้เรียบ

    • สติสัมปชัญญะเสมือนช้าง โลภโกรธหลงเสมือนหมา

    สติสัมปชัญญะเสมือนแมว กิเลสทั้งปวงเสมือนหนู

    สติสัมปชัญญะเสมือนนกอินทรีย์ นิวรณ์เสมือนแมลง

    หมาเห่าช้างย่อมไม่หวั่นไหว
    หนูย่อมกลัวแมว
    แมลงย่อมกลัวนกอินทรีย์

    การสร้างสติ
    • การสร้างสติเป็นบทเรียนที่มีค่าสำคัญ การเฝ้าดู แอบดูจะเห็นความถูกเมื่อเกิดสภาวะการเห็นเกิดขึ้นแก่ตนเองแล้ว ก็เป็นไปเพื่อความหลุดพ้น ละชั่วทำดี จิตใจก็บริสุทธิ์หมดจด

    • เราสร้างสติ ต่อไปสติจะเป็นหน้าที่ดู เห็น พบเห็น ไม่ใช่คิดเห็น ได้สัมผัสกับความเห็น และเห็นแจ้ง การคิดเห็นกับการพบเห็นต่างกัน การคิดเห็นเป็นเรื่องของจิตใจ แต่การพบเห็นเป็นเรื่องของสติ เป็นความเห็นชอบ เห็นถูก (เป็นองค์มรรค)

    • แต่ก่อนเราสร้างสติ ต่อไปๆ สติมันสร้างขึ้นมาเอง

    • เอาสติดูกายใจ จะเห็นแจ้ง มีหลายรส มีทั้งปล่อย ทั้งวาง หยุดเย็น หลุดพ้นสารพัดอย่าง เห็นแจ้งแล้วไม่ได้เอา เห็นแล้วมีแต่หลุดพ้น จะว่าอิ่มหรือว่าเต็มหรือว่าว่างก็ได้ จนในที่สุดดับไม่เหลือแห่งทุกข์ทั้งปวง

    • ให้มีสติบริสุทธิ์ มีสติซื่อๆ ตรงๆ ให้มีความรู้สึกตัว ซื่อๆ ตรงๆ รู้สึกที่กาย ซื่อๆ ตรงๆ

    • การมีสติเข้าไปรู้กายอยู่เนืองๆ เวลาใดที่จิตใจลักคิดไป ก็ให้รู้ทันไม่ไปตามความคิด ทำใหม่ๆ นี้ อย่าเพิ่งไปเอาเหตุเอาผล ไปเอาผิดเอาถูกจากความคิด อย่าไปเอาอย่างนั้น

    • รู้ซื่อๆ นี่ รู้อย่างยิ้มแย้มแจ่มใสนะ

    • รู้เบาๆ รู้ยิ้มๆ อย่าไปกดไปคลึง เปลี่ยนฉากใหม่วางหน้าวางตาให้ดี ให้เป็นผู้ดู ไม่ใช่เป็นผู้เป็น

    • การปฏิบัติให้ทำเล่นๆ ทำยิ้มๆ ขยันก็ทำ ขี้เกียจก็ทำ

    • เขามาแสดงให้เราดู เราไม่ใช่เป็นนักแสดง เราเป็นผู้ดูไม่ใช่พระเอกนางเอก ไม่ต้องหัวเราะร้องไห้ไปตามบทเขา

    • ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ตาม ให้กลับมาอยู่กับความรู้สึกตัว

    • ภาวะรู้สึก นี่ อือ .. ม์ รู้สดชื่น เห็นมันสุข เห็นมันทุกข์ ก็ อือ .. ม์ เห็นมันร้อน ก็ อือ .. ม์ เห็นมันหนาว ก็อือ .. ม์ นี่เป็นวิปัสสนาน้อยๆ วิปัสสนาน้อยๆ กำลังเกิดขึ้น

    • ภาวะที่ดู ภาวะที่เห็นนี่นะ ให้เจริญให้มาก เจริญตัวเห็นให้มาก เวลาใดมันผิด เปลี่ยนรู้ทันที ปฏิบัติ ปฏิคือเปลี่ยน

    • อะไรเกิดขึ้นกับกายใจ อย่าเพิ่งด่วนรับด่วนปฏิเสธ อย่างนี้จึงจะเป็นสติปัฏฐานสี่และสติอย่างยิ่ง

    • การเจริญสติต้องให้สุขุมรอบคอบจึงจะชำนาญ ถ้าทำแบบหยาบคายจะไม่ใช่สติปัฏฐาน

    • การเจริญสติอย่าไปเอาผิดเอาถูก อย่าไปเอาชอบไม่ชอบ อย่าไปหาเหตุหาผล ให้รู้สึกตัวซื่อๆ ไป

    • สติปัฏฐานกลายเป็นตัวดูตัวรู้ตัวเห็น ไม่เป็นไปกับกาย เวทนา จิต ธรรม เจริญแต่ตัวรู้จนเป็นมหารู้

    • ตั้งใจสร้างสติให้เป็นอาชีพ เป็นงานประจำทุกนาที

    • เอาสติเป็นดวงตา ดูกายดูใจ

    อานิสงค์ของการเจริญสติ
    • ผู้มีสติคือผู้มีความเพียร เวลาใดมันหลงผิดไป มีสติหยุดความคิดเรียกว่าภาวนา เมื่อมีสติจึงจะเห็นคิดเห็นหลง

    • ผู้มีสติดี ความโกรธ โลภ หลง หลอกไม่ได้ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ หลอกไม่ได้

    • ผู้มีสติจะเห็นแจ้งในสิ่งทั้งหลายที่เกิดขึ้นกับกายกับใจ

    • ผู้มีสติดีจะไม่จนกับอาการของกายและจิตใจ

    • ผู้มีสติจะไม่ด่วนรับและไม่ด่วนปฏิเสธ

    • ผู้มีสติจะรู้จักทักท้วงความคิด ไม่ทำตามความคิดง่ายๆ

    • ผู้มีสติจะเห็นตนทำดี ทำไม่ดีก็เห็น

    • ผู้มีสติดีทุกชีวิตก็คือญาติทั้งนั้น แม้แต่ต้นไม้ใบหญ้าก็เป็นหน้าที่ช่วยเหลือ ไม่ได้ถูกแบ่งชั้นวรรณะ ตระกูล เป็นธรรมทายาททั้งหมด

    • ผู้ที่มีสติจะไม่เกิดสังขารการปรุงแต่ง

    • ผู้มีสติก็เสมือนอยู่บ้านพ่อบ้านแม่

    • ผู้มีสติเป็นคนทันสมัย ผู้ขาดสติเป็นคนล้าสมัย เดี๋ยวนี้เขาไม่ทุกข์ ไม่โกรธ ไม่โลภ ไม่หลงแล้ว

    • ผู้มีสติรับผิดชอบตนเองได้ รับผิดชอบคนอื่นได้

    • ผู้มีสติคือผู้ที่ไม่เป็นอะไร กับอะไร

    • อานิสงค์ของการเจริญสติ คือเป็นบ่อเกิดของศีลสมาธิปัญญา เกิดความรู้แจ้ง ล่วงพ้นภาวะเดิม ทำลายความโกรธโลภหลงลงได้ ทุกข์น้อยลง หรือหมดไปตามการมีสติ

    • ถ้ามีสติก็จะเป็นคนคนเดียวกัน ถ้าขาดสติก็เป็นผีเป็นโจร เป็นภพภูมิต่างๆ ก่อให้เกิดปัญหาแก่ตนและหมู่คณะ จงเลือกทางมีสติ ปิดทางหลงสติ ถ้ามีสติจะเลวร้ายขนาดไหนก็จะเป็นคนดีได้ทั้งหมด

    • ถ้ามีสติดี ความคิดจะขอโอกาสจากสติ

    • ถ้ามีสติความคิดก็หยุด ความลักคิดเป็นอาหารของสังขาร

    • ถ้ามีสติก็จะได้พบพระ ได้ยินเสียงความสงบก็จะได้รู้แจ้งในสัจธรรม

    • ถ้ามีสติก็เป็นโอสถ ไม่หลง ไม่ทุกข์ ปกติ

    • มีสติ ปล่อยวาง เสียสละ ตั้งจิตไว้ถูก ไม่เบียดเบียนตนและผู้อื่น เห็นเหตุปัจจัย ทำเหตุให้ดี เห็นอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง ทำให้แจ้งได้ในสิ่งต่างๆ นั้น

    • มีสติปัญญาจะได้แต่บทเรียน สนุกปล่อยวางอยู่ตลอดเวลา

    • มีสติรู้ทันกายใจ กายใจกับสติก็จะเกิดความสมดุล เกิดความปลอดภัย คุ้มครองป้องกันรักษา

    • พอมีสติดูรู้เห็น ความคิดก็จบลง

    • พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เกิดขึ้นได้เพราะมีสติ สวรรค์นิพพานจะมีได้ก็ต้องมีสติ

    • ความมีสติเป็นถิ่นฐานของจิตใจ ความไม่เป็นอะไรเป็นมรดกของจิตวิญญาณ

    • ถ้ากายใจขาดสติก็ชื่อว่าประมาท

    • ถ้ามีสติจะไม่ทำให้ตนเองทุกข์ ไม่ทำให้ผู้อื่นทุกข์

    • ถ้ามีสติชีวิตจะอยู่ที่เลขศูนย์ ไม่เป็นลบไม่เป็นบวก

    • ถ้ามีสติเหมือนกับเราเดินทางผ่านแล้ว ละสิ่งต่างๆ ไว้ข้างหลัง อยู่เหนือก้าวข้าม

    • มีสติดีเหมือนมีโช้คอัพดี แม้ทางขรุขระก็เหมือนอยู่บนทางเรียบ
    กุญแจดอกเอก (ธรรมะของหลวงพ่อเทียน) “ การแสวงหาพระพุทธเจ้าก็ตาม แสวงหาพระอรหันต์ก็ตาม แสวงหามรรคผลนิพพานก็ตาม อย่าไปแสวงหาที่ๆ มันไม่มี แสวงหาตัวเรานี้ ให้เราทำความรู้สึกตื่นตัวอยู่เสมอ นี่แหละ จะรู้จะเห็น ” หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ ธรรมชาติแห่งพุทธะในตัวคนแต่ละคน อาจเปรียบได้กับผลไม้แต่ละผลหรือเมล็ดข้าวเปลือก ถ้าหากได้เอาลงเพาะในดินที่ชุ่มเย็น มีเงื่อนไขต่างๆ พอเหมาะ ก็จะงอกขึ้นมาเป็นต้น ให้ดอกออกผลได้เช่นกัน ส่วนจะช้าหรือเร็วนั้นขึ้นอยู่กับสภาพของข้าวเมล็ดนั้นๆ เป็นเหตุปัจจัย การตรัสรู้เหมือนดอกไม้อาศัยแสงตะวัน เมื่อตะวันส่องแสงมายังพื้นโลก เมื่อความร้อนกับความเย็นกระทบกัน จึงเกิดความอบอุ่น ดอกไม้ก็เลยบานได้ตามต้องการ พุทธะหรือโพธิจิตนี้ เมื่อได้รับการกระตุ้นระดับหนึ่ง จะตื่นขึ้นและผลิบาน จึงเรียกว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ซึ่งมนุษย์ทุกคนไปถึงได้ การเจริญสติ อันเป็นฐานของการเจริญสมาธิ เจริญปัญญา จะทำให้ธาตุพุทธะในตัวเราแตกตัว และเบ่งบาน การรู้สึกตัวนั้น เป็นไม้ขีดไฟ เทียนไขนั้นก็คือ มันคิดเรารู้ เราพยายามจุดสองอย่างนี้ จุดแล้วก็สว่างขึ้นมา ก็เดินหนีออกจากถ้ำ ไม่เข้าไปอยู่ในถ้ำ ถึงจะต้องเข้าไปอยู่ในถ้ำ ก็ต้องไม่ให้มันมืดต่อไป ต้องรู้สึกตัวทันที นี่แหละคือการปฏิบัติธรรม การรู้สึกตัวนี้ ให้รู้สึกลงไป เมื่อมันไหวขึ้นมาให้รู้สึกตามความเป็นจริงที่มันเคลื่อนไหวนั้น เมื่อมันหยุดก็ให้รู้สึกทันทีว่ามันหยุด อันนี้เรียกว่า สงบ สงบแบบรู้สึก เราจะสร้างโบสถ์สักหลังหนึ่ง ยังไม่เท่าเราพลิกมือขึ้นอย่างนี้ครั้งเดียว แล้วรู้สึกตัว ทำอย่างนี้ดีกว่าการสร้างโบสถ์หลังหนึ่ง เพราะอันนี้มันรู้แต่สร้างโบสถ์ ไม่รู้อะไรเลย ความรู้สึกตัวเป็นรากเหง้าของบุญ ความไม่รู้เป็นรากเหง้าของบาป การแสวงหาพระพุทธเจ้าก็ตาม แสวงหาพระอรหันต์ก็ตาม แสวงหามรรคผลนิพพานก็ตาม อย่าไปแสวงหาที่ๆ มันไม่มี แสวงหาตัวเรานี้ ให้เราทำความรู้สึกตื่นตัวอยู่เสมอ นี่แหละ จะรู้จะเห็น ความสงบที่แท้จริงจะเกิดขึ้นต่อเมื่อ เราหยุดการแสวงหา ต่อเมื่อเราไม่ต้องวิ่งหาบุคคลอื่นนั้นเรียกว่า ความสงบ ความสงบมีอยู่แล้วโดยไม่ต้องทำขึ้น เป็นความสงบจาก โทสะ โมหะ โลภะ เมื่อมีอะไรเกิดขึ้นแก่เรา สติจะมาทันที เนื่องจากสติ สมาธิ ปัญญา อยู่ที่นั่นแล้ว โทสะ โมหะ โลภะ จึงไม่มี ถ้าบุคคลใดไม่เจริญสติ ไม่ได้ทำให้สิ่งนี้เกิดขึ้น บุคคลนั้นจะไม่มีมัน ทั้งๆ ที่มันมีอยู่ที่นั้นแล้ว เพียงแต่เคลื่อนไหวทีละครั้งและรู้ เมื่อเธอไม่รู้ปล่อยมันไป เมื่อรู้ปล่อยมันไป บางครั้งเธอรู้ บางครั้งเธอไม่รู้ มันเป็นเช่นนั้น แต่ให้รู้ การรู้สึกถึงความเคลื่อนไหวของร่างกาย คือการเจริญสติ สมาธิคือการตั้งใจ ใช้สติดูจิตใจ ไม่ว่าความคิดอะไรเกิดขึ้น เห็นมันทันที และเราจะรู้ถึงความหลอกลวง รู้ทันเวลา รู้การป้องกัน และรู้การแก้ไข รู้ถึงการเอาชนะความคิดปรุงแต่ง ศีลจะเกิดขึ้นภายในจิตใจของเราเอง ไม่ใช่คนดอกที่รักษาศีล แต่ศีลต่างหากที่รักษาคน ให้ลืมตาทำ เคลื่อนไหวโดยวิธีใดก็ให้รู้ มันเป็นการไหลไปตามธรรมชาติของมัน ตาก็ไม่ต้องบังคับให้มันหลับ ให้มันกะพริบขึ้นลงได้ตามธรรมชาติ เหลือบซ้าย แลขวาก็ได้ มันจึงเป็นการปฏิบัติธรรมกับธรรมชาติ และมันก็รู้กับธรรมชาติจริงๆ ถ้ารู้สึกในการเคลื่อนไหวได้ ก็เป็นการปฏิบัติธรรม ซักเสื้อผ้า ล้างถ้วย ล้างชาม ถ้ารู้สึกที่มันเคลื่อนไหวในขณะนั้น ก็เป็นการปฏิบัติธรรมได้ พุทธศาสนาคือ มารู้สึกต่อการเคลื่อนการไหวในสิ่งที่เรากำลังทำอยู่นั่นแหละ คือมันรู้สึกในการเคลื่อนไหวของกายและใจ เป็นญาณเข้ามารู้ รู้สึกที่เนื้อที่ตัวตื่นตัว มันจะเป็นใหญ่ในตัวของมันได้เอง รู้สึกใจตื่นใจ มันจะเปลี่ยนแปลง เป็นใหญ่ในใจของมันได้เอง เมื่อมันเปลี่ยนแปลง มันก็เหมือนกับเราหงายของที่คว่ำขึ้นมา มันก็เห็นว่า มีอะไรอยู่ที่ตรงนั้น คำว่าติดต่อกันเหมือนลูกโซ่นั้น ไม่ใช่แต่ว่านั่งอยู่ในห้องกรรมฐานเพียงอย่างเดียว จะไปไหนมาไหน อาบน้ำ ซักเสื้อ ซักผ้า ก็ให้มีสติดูการเคลื่อนไหวของรูปกาย และมีสติดูจิตดูใจอยู่เสมอ นั่นแหละท่านเรียกว่า ปฏิบัติให้ติดต่อเหมือนลูกโซ่ ทันทีที่ความคิดเกิดขึ้น ปัดมันทิ้งออกไปทันที และให้มาอยู่กับความรู้สึกตัว ความคิดยิ่งเร็ว สติปัญญาก็ยิ่งเร็ว ความคิดยิ่งลึก สติปัญญาก็ยิ่งลึก ถ้าทุกวันสองอย่างนี้ยิ่งลึกเท่ากันและกระทบกัน แตกโพละออกมาเลย เรียกว่า โพลงตัวออกมา ซึ่งสภาวะอันนี้มันมีอยู่แล้วในคนทุกคน วิธีแห่งการปฏิบัติ คือการรู้สึกตัวเท่าทันความคิด ร่างกายของเราทำงานไปตามหน้าที่ แต่จิตของเราจะต้องดูความคิด การเห็น การรู้ความคิด เป็นสองสิ่งที่แตกต่างกัน การรู้คือการเข้าไปในการคิดและความคิดก็คงดำเนินต่อไป เมื่อเราเห็นความคิด เราสามารถหลุดออกมาจากความคิดนั้นได้ เมื่อเราเห็นความคิดในทุกขณะ ไม่ว่ามันจะเกิดเรื่องใดก็ตาม เราเอาชนะมันได้ทุกครั้งไป แล้วเราจะมาถึงจุดหนึ่ง ที่บางสิ่งภายในจะเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน การรู้ความคิด จึงเป็นความรู้ของ อวิชชา สำหรับผู้มีปัญญา การรู้และการเห็น สามารถแยกออกจากกันได้ นั่นคือวิชชา ปัญญาและอวิชชาจะแยกความคิดออกจากกันได้ และนั่นคือที่สุดของทุกข์ ตัวนึกคิดนี่แหละคือสมุทัย มรรคคือการเอาสติมาดูความคิด นี่คือข้อปฏิบัติ การที่เราเห็นความคิดนี่เอง เป็นต้นทางพระนิพพานแล้ว เมื่อมันคิดวูบขึ้นมา เราก็เห็นปั๊บ อันกระแสความคิดนี้มันไวนัก ไวกว่าแสง ไวกว่าเสียง ไวกว่าไฟฟ้า ไวกว่าอะไรทั้งหมด เมื่อได้เห็นสมุฏฐานความเร็ว ความไวของความคิดแล้ว เรียกว่า อรรถบัญญัติ ให้เห็นความคิด อย่าไปห้ามความคิด และอย่าไปยึดถือ ให้ปล่อยมันไป นี่คือการเห็นความคิด คิดแล้วให้ตัดปุ๊บเลย เหมือนการวิดน้ำออกไปจากก้นบ่อ ทำอย่างนี้นานๆ เข้า สติจะเต็มและสมบูรณ์ คิดปุ๊บเห็นปั๊บ อันนี้แหละคือระดับความคิด ที่เรียกว่า ปัญญา ซึ่งเป็นเครื่องกำจัดกิเลสอย่างละเอียด ให้รู้จักสมุฏฐานของความคิด เมื่อเรารู้จักสมุฏฐานของความคิดแล้ว เราจะได้ปฏิบัติจุดนี้เข้าไป เมื่อเราปฏิบัติจุดนี้แล้ว มันจะไปตามทางของมันเอง เมื่อไปตามทางนั้นแปลว่าเห็นถูกต้อง ก็ต้องถึงจุดหมายปลายทาง ที่เราต้องการความสงบหรือพุทธะ เราไม่ต้องไปทำอะไรให้มาก เพียงให้ดูต้นตอของชีวิตเมื่อมันคิดมา อย่าเข้าไปในความคิด ให้ตัดความคิดออกให้ทัน วิธีการยกมือขึ้น คว่ำมือลง เป็นวิธีเจริญสติ เป็นวิธีเจริญปัญญา เมื่อได้สัดได้ส่วนสมบูรณ์แล้ว มันจะเป็นเองไม่ยกเว้นใครๆ อยู่ที่ไหนก็ทำได้ เด็กๆ ก็ทำได้ ผู้ใหญ่ก็ทำได้ นุ่งผ้าสีอะไรก็ทำได้ ถือศาสนาลัทธิอะไรก็ทำได้ เรียกว่า ของจริง วิธีที่จะจัดการกับ ความโลภ ความโกรธ ความหลงนั้น เราไม่ต้องไปคิดหาว่า ความโกรธ ความโลภ ความหลง อยู่ที่ไหน เราเพียงกลับเข้ามาดูจิตดูใจของเรา ก็จะทำลายความโกรธ ความโลภ ความหลงได้เอง ศีลคือความปกติ ศีลคือผลของจิตใจที่เป็นปกติ นี้เป็นสิ่งเดียวกับสติ สมาธิ ปัญญา วิธีการปฏิบัติคือ การรู้สึกตัวเท่าทันความคิด เมื่อความคิด ความทุกข์ หรือความสับสนเกิดขึ้น อย่าได้พยายามหยุดมัน แต่ให้สังเกตมัน หนทางไปสู่ความสิ้นสุดของทุกข์นี้ เป็นหนทางที่ง่าย เหตุที่ยาก เพราะเราไม่รู้มันอย่างแท้จริง เราจึงมีแต่ความลังเล และสงสัย พระพุทธเจ้าก็คือ คนทุกคน เพราะพืชพันธุ์ที่จะทำให้คนเป็นพระพุทธเจ้านั้นมีอยู่แล้วในคนทุกคนไม่ยกเว้น ไม่ว่าพระพุทธเจ้าจะอุบัติขึ้นหรือไม่ก็ตาม พระธรรมนั้นมีอยู่ก่อนแล้ว เมื่อเห็นสิ่งนี้อย่างแท้จริง เราจะอยู่เหนือความเชื่อที่งมงายทั้งหลาย ตัวเราเท่านั้นที่จะนำชีวิตของเราเอง มิใช่ใดอื่น นี้คือ จุดเริ่มต้นของความสิ้นสุดแห่งทุกข์ พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนอะไรเลย เพราะมันมีอยู่แล้วทั้งนั้น ขอเพียงว่าให้เรารู้สึกตัวเท่านั้นเอง ความรู้สึกตัวก็มีอยู่แล้ว แท้จริงแล้วนั้น กิเลสมิได้มีอยู่จริง แล้วเราจะไปชนะมันได้อย่างไร สิ่งที่เราต้องทำเพียงอย่างเดียวคือ เราเพียงแต่ดูจิตใจโดยชัดเจน เผชิญหน้ากับความคิดโดยแจ่มชัด เมื่อเราเห็นใจอย่างชัดเจน โมหะก็จะไม่มีอยู่ ธรรมะคือมนุษย์ เมื่อเรารู้ธรรมะ เราก็จะเข้าใจว่า ทุกๆ สิ่งนั้นไม่ได้เป็นอย่างที่เราคิด ทุกๆ สิ่งคือสมมุติ นี้คือปัญญาที่เกิดขึ้น การเห็นตัวเราตามที่เป็นจริง คือการเห็นธรรมะ ฉะนั้นการเห็นธรรมก็คือเห็นในขณะที่เรากำลังทำ กำลังพูด กำลังคิด เห็นอย่างนี้เห็นธรรมแท้ๆ ไม่แปรผัน สติธรรม (หลวงพ่อคำเขียน สุวณฺโณ) การเจริญสติ • การเจริญสติ เป็นอาชีพทางจิตวิญญาณ มีวิหารธรรมเป็นที่อยู่ • การเจริญสติ เป็นภาวนา ไปสู่ความดี เปลี่ยนผิดให้เป็นถูกในทุกๆ ด้าน • การเจริญสติ ตามรอยพระพุทธเจ้า • การเจริญสติ เป็นกีฬาของจิตใจ ทำให้จิตใจมีความพร้อม เกิดความปกติ สะอาด สว่าง สงบ พร้อมที่จะปล่อยวาง หยุดเย็น การเจริญสติเป็นกรรม อาศัยการกระทำ • การเจริญสติ เป็นเหตุให้ปล่อยวาง หยุดเย็น ปกติ • การเจริญสติ ทำให้เกิดภูมิมนุษย์ ไปสวรรค์ พรหมโลกจนถึงมรรคผลนิพพาน • การเจริญสติ นำพาไปสู่จุดหมายปลายทางของชีวิต • การเจริญสติ เป็นเครื่องมือถลุงอกุศลกรรมให้เหือดหายไปได้อย่างทันตา ไม่ต้องรอ • การเจริญสติ เป็นการเสียสละ เป็นการทำลายความเห็นแก่ตัว • การเจริญสติ เป็นการงานที่พัฒนาตนให้มีคุณภาพมาตรฐาน อิสระ หลุดพ้น ไม่มีสิ่งใดครอบงำย่ำยี • การเจริญสติ เป็นการชาร์จความดีให้ตน • การเจริญสติ ตามแบบของสติปัฏฐานสี่นี้สมบูรณ์มากที่สุดแล้ว เมื่อผู้ใดตั้งใจศึกษาปฏิบัติ ก็จะเสมือนว่าจุดแสงสว่างในที่มืด บอกคนหลงทาง เปิดของที่ปิด จะพบชีวิตที่ใหม่ ปลอดภัย • การเจริญสติ คือการทำบุญ รักษาศีล การทำบุญ คือการทำดีทางกายวาจาและใจ • การเจริญสติ ก็คือทำดีลงไปที่กายวาจาและใจ การเจริญสติทำให้กายวาจาและใจ ปกติ ก็เป็นศีลอยู่ในนั้นแล้ว สติคือความดี เป็นบุญ ใจดี ทำใจดี • การเจริญสติ เหมือนตลาดนัดแห่งธรรม ทุกอย่างจะมาให้รู้ ให้เห็น • การเจริญสติ เป็นการรีไซเคิล เปลี่ยนสิ่งไม่ดี ให้เป็นสิ่งดี สติ • สติ (ความรู้สึกตัว) เป็นปัจจัยคุมกำเนิดของสังขาร • สติเป็นมรดกของใจ • สติเป็นปัจจัยพัฒนากายใจ • สติจะนำพาเห็นแจ้งเอง มีสติก็คือมีธรรมะ • สติเปิดตำรากายใจ จนได้คำตอบ กายใจจะบอกความจริงแก่ผู้มีสติเอง ไม่ต้องคิดหาเหตุผลอะไร สติจะนำพาเกิดญาณปัญญา รู้แจ้ง • สติคือความรู้สึกตัวนี้จะนำพาให้ฉลาดเกิดปัญญาได้ทุกคน • สติเป็นศัตรูของความหลง เมื่อมีสติดีความหลงก็ไม่มี ถ้ามีสติอย่างต่อเนื่อง ความหลงก็เหือดแห้งหรือหมดไป • สติสัมปชัญญะ เป็นคุณธรรมที่ทักท้วงตน เฝ้าดูตน ก็จะเห็นตน รู้แจ้งในตน • สติสัมปชัญญะลิขิตชีวิตของเราไปสู่ความชอบธรรม • สติสัมปชัญญะเป็นธรรมขูดเกลาให้กายวาจาใจบริสุทธิ์ เป็นการทำดีละชั่วได้ทั้งสามทาง • สติจะเป็นเจ้าของกายและจิตใจ • สติเมื่อพัฒนาให้มีมากขึ้นจะเป็นเครื่องมือถลุง เกิดญาณปัญญารู้แจ้ง • สติเป็นปัจจัยให้ความดี สติทำให้เกิดความสงบ เกิดความหลุดพ้น สติเป็นเหตุไม่ให้เกิดความหลงลืมตัว สติมีมากความทุกข์หมด ผู้ที่พ้นทุกข์ได้เกิดจากการเจริญสติ • สติเป็นคุณธรรมให้รู้ตื่นและเบิกบาน • สติจะเป็นกุญแจเปิดเผยตน เห็นผิดเห็นถูก • สติจะเป็นธรรมเป็นวินัยอย่างยิ่ง สติเป็นความอดทนก็ได้ เป็นความละอาย เป็นเมตตากรุณา เป็นคุณธรรมได้ทุกๆ อย่าง การใช้ชีวิตขอให้มีสติเป็นหลัก คุณธรรมอันอื่นก็เกิดขึ้นตามลำดับ • สติเป็นธรรมไม่ให้เกิดทุกข์ ขาดสติมักจะเกิดปัญหา • สติเป็นดวงตาภายใน รู้เห็นทั้งกายและจิตใจตามความเป็นจริง สติจะทำหน้าที่เห็นสภาวะการเห็นของสติเป็นการเห็นชอบ เห็นแล้วหลุดพ้นได้ทุกสิ่งทุกอย่าง และก็เห็นได้ทุกอย่างของเหตุให้เกิดทุกข์ และพ้นจากทุกข์ได้ทุกๆ อย่าง • สติเป็นปัจจัยเปิดเผยชีวิตของเราให้เข้าสู่อิสรภาพ • สติเป็นเครื่องขัดใจ มีสติมากเท่าใดใจก็ยิ่งบริสุทธิ์ • สติเป็นธรรมให้เกิดธรรมกุศลอเนกประสงค์ • สติเป็นครูฝึกกายใจ ถ้ากายมีสติ กายก็จะมีคุณภาพ ถ้าจิตใจมีสติ จิตใจก็มีคุณภาพ • สติเป็นกัลยาณมิตรกับตัวเรา • สติเป็นนักศึกษา กายใจเป็นตำรา • สติเหมือนใบมีดรถแทรคเตอร์ปาดทางขรุขระให้เรียบ • สติสัมปชัญญะเสมือนช้าง โลภโกรธหลงเสมือนหมา สติสัมปชัญญะเสมือนแมว กิเลสทั้งปวงเสมือนหนู สติสัมปชัญญะเสมือนนกอินทรีย์ นิวรณ์เสมือนแมลง หมาเห่าช้างย่อมไม่หวั่นไหว หนูย่อมกลัวแมว แมลงย่อมกลัวนกอินทรีย์ การสร้างสติ • การสร้างสติเป็นบทเรียนที่มีค่าสำคัญ การเฝ้าดู แอบดูจะเห็นความถูกเมื่อเกิดสภาวะการเห็นเกิดขึ้นแก่ตนเองแล้ว ก็เป็นไปเพื่อความหลุดพ้น ละชั่วทำดี จิตใจก็บริสุทธิ์หมดจด • เราสร้างสติ ต่อไปสติจะเป็นหน้าที่ดู เห็น พบเห็น ไม่ใช่คิดเห็น ได้สัมผัสกับความเห็น และเห็นแจ้ง การคิดเห็นกับการพบเห็นต่างกัน การคิดเห็นเป็นเรื่องของจิตใจ แต่การพบเห็นเป็นเรื่องของสติ เป็นความเห็นชอบ เห็นถูก (เป็นองค์มรรค) • แต่ก่อนเราสร้างสติ ต่อไปๆ สติมันสร้างขึ้นมาเอง • เอาสติดูกายใจ จะเห็นแจ้ง มีหลายรส มีทั้งปล่อย ทั้งวาง หยุดเย็น หลุดพ้นสารพัดอย่าง เห็นแจ้งแล้วไม่ได้เอา เห็นแล้วมีแต่หลุดพ้น จะว่าอิ่มหรือว่าเต็มหรือว่าว่างก็ได้ จนในที่สุดดับไม่เหลือแห่งทุกข์ทั้งปวง • ให้มีสติบริสุทธิ์ มีสติซื่อๆ ตรงๆ ให้มีความรู้สึกตัว ซื่อๆ ตรงๆ รู้สึกที่กาย ซื่อๆ ตรงๆ • การมีสติเข้าไปรู้กายอยู่เนืองๆ เวลาใดที่จิตใจลักคิดไป ก็ให้รู้ทันไม่ไปตามความคิด ทำใหม่ๆ นี้ อย่าเพิ่งไปเอาเหตุเอาผล ไปเอาผิดเอาถูกจากความคิด อย่าไปเอาอย่างนั้น • รู้ซื่อๆ นี่ รู้อย่างยิ้มแย้มแจ่มใสนะ • รู้เบาๆ รู้ยิ้มๆ อย่าไปกดไปคลึง เปลี่ยนฉากใหม่วางหน้าวางตาให้ดี ให้เป็นผู้ดู ไม่ใช่เป็นผู้เป็น • การปฏิบัติให้ทำเล่นๆ ทำยิ้มๆ ขยันก็ทำ ขี้เกียจก็ทำ • เขามาแสดงให้เราดู เราไม่ใช่เป็นนักแสดง เราเป็นผู้ดูไม่ใช่พระเอกนางเอก ไม่ต้องหัวเราะร้องไห้ไปตามบทเขา • ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ตาม ให้กลับมาอยู่กับความรู้สึกตัว • ภาวะรู้สึก นี่ อือ .. ม์ รู้สดชื่น เห็นมันสุข เห็นมันทุกข์ ก็ อือ .. ม์ เห็นมันร้อน ก็ อือ .. ม์ เห็นมันหนาว ก็อือ .. ม์ นี่เป็นวิปัสสนาน้อยๆ วิปัสสนาน้อยๆ กำลังเกิดขึ้น • ภาวะที่ดู ภาวะที่เห็นนี่นะ ให้เจริญให้มาก เจริญตัวเห็นให้มาก เวลาใดมันผิด เปลี่ยนรู้ทันที ปฏิบัติ ปฏิคือเปลี่ยน • อะไรเกิดขึ้นกับกายใจ อย่าเพิ่งด่วนรับด่วนปฏิเสธ อย่างนี้จึงจะเป็นสติปัฏฐานสี่และสติอย่างยิ่ง • การเจริญสติต้องให้สุขุมรอบคอบจึงจะชำนาญ ถ้าทำแบบหยาบคายจะไม่ใช่สติปัฏฐาน • การเจริญสติอย่าไปเอาผิดเอาถูก อย่าไปเอาชอบไม่ชอบ อย่าไปหาเหตุหาผล ให้รู้สึกตัวซื่อๆ ไป • สติปัฏฐานกลายเป็นตัวดูตัวรู้ตัวเห็น ไม่เป็นไปกับกาย เวทนา จิต ธรรม เจริญแต่ตัวรู้จนเป็นมหารู้ • ตั้งใจสร้างสติให้เป็นอาชีพ เป็นงานประจำทุกนาที • เอาสติเป็นดวงตา ดูกายดูใจ อานิสงค์ของการเจริญสติ • ผู้มีสติคือผู้มีความเพียร เวลาใดมันหลงผิดไป มีสติหยุดความคิดเรียกว่าภาวนา เมื่อมีสติจึงจะเห็นคิดเห็นหลง • ผู้มีสติดี ความโกรธ โลภ หลง หลอกไม่ได้ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ หลอกไม่ได้ • ผู้มีสติจะเห็นแจ้งในสิ่งทั้งหลายที่เกิดขึ้นกับกายกับใจ • ผู้มีสติดีจะไม่จนกับอาการของกายและจิตใจ • ผู้มีสติจะไม่ด่วนรับและไม่ด่วนปฏิเสธ • ผู้มีสติจะรู้จักทักท้วงความคิด ไม่ทำตามความคิดง่ายๆ • ผู้มีสติจะเห็นตนทำดี ทำไม่ดีก็เห็น • ผู้มีสติดีทุกชีวิตก็คือญาติทั้งนั้น แม้แต่ต้นไม้ใบหญ้าก็เป็นหน้าที่ช่วยเหลือ ไม่ได้ถูกแบ่งชั้นวรรณะ ตระกูล เป็นธรรมทายาททั้งหมด • ผู้ที่มีสติจะไม่เกิดสังขารการปรุงแต่ง • ผู้มีสติก็เสมือนอยู่บ้านพ่อบ้านแม่ • ผู้มีสติเป็นคนทันสมัย ผู้ขาดสติเป็นคนล้าสมัย เดี๋ยวนี้เขาไม่ทุกข์ ไม่โกรธ ไม่โลภ ไม่หลงแล้ว • ผู้มีสติรับผิดชอบตนเองได้ รับผิดชอบคนอื่นได้ • ผู้มีสติคือผู้ที่ไม่เป็นอะไร กับอะไร • อานิสงค์ของการเจริญสติ คือเป็นบ่อเกิดของศีลสมาธิปัญญา เกิดความรู้แจ้ง ล่วงพ้นภาวะเดิม ทำลายความโกรธโลภหลงลงได้ ทุกข์น้อยลง หรือหมดไปตามการมีสติ • ถ้ามีสติก็จะเป็นคนคนเดียวกัน ถ้าขาดสติก็เป็นผีเป็นโจร เป็นภพภูมิต่างๆ ก่อให้เกิดปัญหาแก่ตนและหมู่คณะ จงเลือกทางมีสติ ปิดทางหลงสติ ถ้ามีสติจะเลวร้ายขนาดไหนก็จะเป็นคนดีได้ทั้งหมด • ถ้ามีสติดี ความคิดจะขอโอกาสจากสติ • ถ้ามีสติความคิดก็หยุด ความลักคิดเป็นอาหารของสังขาร • ถ้ามีสติก็จะได้พบพระ ได้ยินเสียงความสงบก็จะได้รู้แจ้งในสัจธรรม • ถ้ามีสติก็เป็นโอสถ ไม่หลง ไม่ทุกข์ ปกติ • มีสติ ปล่อยวาง เสียสละ ตั้งจิตไว้ถูก ไม่เบียดเบียนตนและผู้อื่น เห็นเหตุปัจจัย ทำเหตุให้ดี เห็นอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง ทำให้แจ้งได้ในสิ่งต่างๆ นั้น • มีสติปัญญาจะได้แต่บทเรียน สนุกปล่อยวางอยู่ตลอดเวลา • มีสติรู้ทันกายใจ กายใจกับสติก็จะเกิดความสมดุล เกิดความปลอดภัย คุ้มครองป้องกันรักษา • พอมีสติดูรู้เห็น ความคิดก็จบลง • พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เกิดขึ้นได้เพราะมีสติ สวรรค์นิพพานจะมีได้ก็ต้องมีสติ • ความมีสติเป็นถิ่นฐานของจิตใจ ความไม่เป็นอะไรเป็นมรดกของจิตวิญญาณ • ถ้ากายใจขาดสติก็ชื่อว่าประมาท • ถ้ามีสติจะไม่ทำให้ตนเองทุกข์ ไม่ทำให้ผู้อื่นทุกข์ • ถ้ามีสติชีวิตจะอยู่ที่เลขศูนย์ ไม่เป็นลบไม่เป็นบวก • ถ้ามีสติเหมือนกับเราเดินทางผ่านแล้ว ละสิ่งต่างๆ ไว้ข้างหลัง อยู่เหนือก้าวข้าม • มีสติดีเหมือนมีโช้คอัพดี แม้ทางขรุขระก็เหมือนอยู่บนทางเรียบ
     
  15. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    มรรคมีองค์ 8 ประการ

    เคล็ดวิชาจากพระสูตร


    ที่สามารถเอามาใช้ได้จริงในชีวิต






    นะโม ตัสสะ ภควโต อรหโต สัมมา สัมพุทธัสสะ

    ขอน้อบน้อม แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง



    เคยเกริ่นกับพี่น้องเอาไว้ว่าจะนำเอาพระธรรมอันลึกล้ำและเคล็ดวิชา มานำเสนอ

    วันนี้ จึงเริ่มจาก พระสูตรแรกที่พระพุทธเจ้าได้ทรงประทานให้กับสาวก

    จนเกิดพระอริยสงฆ์ขึ้นในพระพุทธศาสนา นั่นคือการประกาศ อรยสัจ 4

    ผ่านทางธัมมจักกัปปวัตนสูตร เนื้อหาสำคัญที่ผู้คนส่วนใหญ่ มองไม่ออกและไม่

    เข้าใจ ไม่รู้จะใช้ยังไงก็คือมรรคมีองค์ 8 ที่พระพุทธเจ้าทรงให้สมญาว่า

    เอกายนมรรค(ทางสายเอก) แล้วมรรคมีองค์ 8 นั้น เอาใช้ได้ยังไง

    ใช้กับโลกฆราวาสได้ หรือหากเอาไปใช้แล้วเกิดหลุดพ้นขึ้นมาฉันก็อยู่ในโลกนี้

    ไม่ได้นะสิ ต้องออกบวช ไม่เอาดีกว่า ฯลฯ (เกิดคำถามในใจมากมายกับคนรุ่น

    ปัจจุบัน) ลูกชายฉันบวชไม่กี่วัน ท่านอาจารย์ อย่าสอนธัมมะลึกล้ำเกินไปนะเจ้าคะ

    เดี๋ยวลูกชายฉันไม่สึกออกมาอิฉันจะลำบาก(ซะงั้น)

    เรื่องนั้นขอยกไว้ก่อน ในที่นี้ขอกล่าวถึง มรรคมีองค์ 8 ว่านำมาใช้ได้อย่างไร




    ในความรู้ระดับนักธรรมตรีนั้น กล่าวถึงไว้ในหมวดที่ 8 มรรคมีองค์ 8 เริ่มที่

    สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ

    สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ

    สัมมาวาจา วาจาชอบ

    สัมมากันมันตะ การงานชอบ

    สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ

    สัมมาวายามะ ความเพียรชอบ

    สัมมาสติ ระลึกชอบ

    สัมมาสมาธิ ตั้งใจมั่นชอบ

    ในคำอธิบายก็จะมีเยอะแยะมากมาย อย่างเห็นชอบเห็นอะไรมั่ง

    (เห็น อริยสัจ 4 เป็นต้น)ฯลฯ

    ถ้าจะอธิบายแบบตำราว่าไว้ เห็นจะไม่ได้การ และผู้ใช้ก็จะรู้สึกว่ายากลำบาก

    อย่ากระนั้นเลย วันนี้ขอเปิดเผยเคล็ดวิชาที่ใช้ได้จริงในชีวิต ไม่ว่าใครก็ใช้ได้

    หากเอาจะเอาไปใช้




    เคล็ดวิชาก็คือมรรคมีองค์ 8 ให้ว่าด้วยเรื่องเดียวกันทั้ง 8 ข้อ ให้ทั้ง 8 ข้อสามัคคี

    กันจึงจะประสบผล จะแยกกันไม่ได้ ประชุมไม่พร้อมกันก็ไม่ได้(ไม่เช่นนั้น

    งานไม่เสร็จ)ต้องประชุมพร้อมกันด้วยเรื่องเดียวกันจึงจะสำเร็จผล จึงจะขอเริ่มว่า

    เป็นตัวอย่างให้สักข้อ เรื่องที่รบกวนใจมนุษย์มากที่สุดก็คือเรื่องเบียดเบียนกัน

    และกัน เอาเรื่องนี้ก็แล้วกัน


    สัมมาทิฏฐิ ข้อที่ 1 เห็นชอบ เมื่อพูดเรื่องเบียดเบียนกัน คนก็ต้องเห็นก่อนว่า

    การเบียดเบียนกันนั้นไม่ดี มันนำมาซึ่งความแตกแยก ความเดือดร้อนไม่มีที่สิ้นสุด

    แถมยังเป็นการเริ่มวงจรพยาบาท การเบียดเบียนกันทำให้เกิดความขัดเคือง

    ผูกพยาบาท จองเวร(บางแห่งก็จองเมรุ รอไว้เลย) เมื่อเราเริ่มเห็นว่าการ

    เบียดเบียนกันไม่ดี เป็นเหตุแห่งทุกในภายภาคหน้า นั่นเท่ากับว่าเราเห็นถูกต้อง

    แล้ว เห็นไปตามทำนองคลองธรรมแล้ว(เรื่องอื่นคอยว่ากันตอนนี้พูดเรื่อง

    เบียดเบียนก่อน) เมื่อเห็นชอบ โทษของการเบียดเบียนก็ปรากฏขึ้นในใจเรา

    ทำให้เราเริ่มคิดชอบคือคิดออกจากการเบียดเบียน


    สัมมาสังกัปปะ ข้อที่ 2 ดำริชอบ คิดชอบ คือคิดจะออกไปจากการเบียดเบียนคน

    อื่น คิดจะไม่เบียดเบียนคนอื่น นั่นเรียกว่าเราคิดถูกทางแล้วคิดชอบแล้ว ใครรับรู้ก็

    สรรเสริญ แค่คิดก็เท่ากับตั้งเข็มทิศได้ถูกทางแล้วไม่หลงทางเด็ดขาด ตั้งแต่นี้ไป

    การคิดของเราทั้งหมดจะต้องไม่เป็นไปเพื่อการเบียดเบียนสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต

    เหล่าอื่น เราจะใช้ชีวิตอย่างยุติธรรมไม่เบียดเบียนให้ใครเดือดร้อนมากเกินไปหรือ

    เบียดเบียนน้อยที่สุดจนมี่เบียดเบียนเลย เมื่อจะคิดทำอะไรต้องตรองดูก่อนว่าไป

    เบียดเบียนให้ใครเดือดร้อนหรือเปล่า


    สัมมาวาจา ข้อที่ 3 การพูดจาชอบ เมื่อเห็นว่าการเบียดเบียนกันไม่ดี ข้อนี้จึงเป็น

    การระวังวาจาว่าจะไม่ไปเบียดเบียนคนอื่นเขา จะพูดอะไรต้องระวังก่อนว่า จะไป

    เบียดเบียนคนอื่นเขาหรือเปล่า เมื่อตั้งใจอยู่ตลอดว่าจะไม่พูดเบียดเบียนก็เป็น

    สัมมาวาจา นานไปก็เป็นที่รักของผู้คนเพราะไม่พูดเบียดเบียนให้ใครเดือดร้อน



    สัมมากันมันตะ ข้อที่ 4 การงานชอบ เมื่อเห็นว่าการเบียดเบียนกันไม่ดี ก็ต้องมา

    พิจารณาว่า การทำการงานของเราต้องเป็นไปเพื่อความยุติธรรม เบียดเบียนให้ผู้

    อื่นเดือดร้อนน้อยที่สุดหรือไม่เบียดเบียนเลย ไม่ประกอบการงานที่เป็นเหตุให้คน

    อื่นเดือดร้อน อย่างขายยาพิษ ขายอาวุธ ขายของมึนเมา ฯลฯ



    สัมมาอาชีวะ นี้เป็นข้อที่ 5 การเลี้ยงชีวิตของเราจะต้องเป็นไปเพื่อความไม่เบียด

    เบียน จะกินจะอยู่ก็ให้รู้จักตริตรอง ประหยัดอดออม ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น

    ให้เดือดร้อน เลี่ยงได้ก็เลี่ยงการฆ่าสัตว์ เอาเนื้อหนังมาเป็นอาหาร การกินการอยู่

    ของเรา ตั้งใจว่าจะให้ผู้อื่นเดือดร้อนน้อยที่สุดหรือไม่เดือดร้อนเลย นี้เรียกว่า

    เลี้ยงชีวิตอย่างถูกต้องเลี้ยงชีวิตโดยชอบ


    สัมมาวายามะ ข้อที่ 6 ข้อนี้เป็นความเพียรชอบ หมายถึงให้เพียรระวัง กาย วาจา

    ใจ ของเราให้มาก ในการอยู่ร่วมกับคนอื่น ว่าเราจะเบียดเบียนให้น้อยที่สุดหรือไม่

    เบียดเบียนเลย ระวัง อยู่ตลอดทุกลมหายใจเข้าออก ทั้งยืน เดิน นั่งนอน ประกอบ

    การงาน มีความเพียรระวังประกอบอยู่ทุกข้อทุกหมวดในเรื่องเดียวคือให้เพียรเพื่อ

    จะลด การเบียดเบียน ละการเบียดเบียน เลิกเบียดเบียน นี่เรียกว่าสัมมาวายามะ

    (ความเพียรข้ออื่นที่ควรกล่าวจะไม่กล่าวในที่นี้ เพราะเรากำลังทำเรื่องความไม่

    เบียดเบียน)



    สัมมาสติ คือข้อที่ 7 แปลว่า ระลึกชอบ คือระลึกอยู่ในการไม่เบียดเบียน ให้ระลึก

    อยู่เสมอทุกลมหายใจเข้าออก(อานาปานสติ)ว่าทุกลมหายใจเข้าออกของเราไม่

    เป็นไปเพื่อเบียดเบียนคนอื่น วันที่ล่วงไปเราอยู่ด้วยความไม่เบียดเบียน ปัจจุบันก็

    กำลังตั้งใจไม่เบียดเบียนใคร กำลังทำอยู่ สุดท้าย อนาคตเราจะเป็นผู้ไม่เบียด

    เบียน เลิกเบียดเบียนอย่างสิ้นเชิง นี่เรียกว่า ระลึกชอบ การระลึกนี้เป็นสติ เป็นที่พึ่ง

    ให้เราได้ เมื่อเราระลึกได้ว่า ตั้งแต่เริ่มต้นประพฤติตามมรรค 8 มา(เรื่องความไม่

    เบียดเบียน)เรายังไม่เคยพลั้งเผลอไปเบียดเบียนใคร จิตใจก็เข้มแข้งมั่นคง

    มีกำลังใจในการประพฤติต่อไป



    สัมมาสมาธิ ข้อที่ 8 ตั้งมั่นชอบ เมื่อคนเราระลึกได้ว่าตนเองอยู่ในความไม่

    เบียดเบียน นานไปจิตใจก็เข้มแข็ง ตั้งมั่นอยู่ในความไม่เบียดเบียนมากขึ้น ๆ

    เพราะระลึกอยู่ทุกลมหายใจเข้าออก จะคิด จะพูด จะทำ ก็เป็นไปโดยไม่

    เบียดเบียนผู้อื่น ยิ่งนานวันก็ยิ่งมีกำลังจิตมากขึ้น จิตก็มั่งคงขึ้นจนถึงขั้น

    ระดับสมาธิสูง(อัปปณาสมาธิ )ในชีวิตประจำวันได้เลย (บางคนมากจนถึงจนถึง

    ขั้นระดับฌานสมาบัติ)ท ไม่ต้องนั่งสมาธิก็สามารถเข้าฌานสมาบัติได้ (ผมเห็นมา

    แล้ว ท้าพิสูจน์เลยครับ) จนจิตมีอำนาจมากสามารถหลุดพ้นจากการเบียดเบียน

    ทุกด้านโดยสิ้นเชิง นี่เรียกว่าอำนาจของมรรคมีองค์ 8 ที่ประชุมลงพร้อมกัน

    ยิ่งทำมากยิ่งเข้มข้นมากจิตก้มีกำลังมาก สามารถเพิ่มการประพฤติธรรมข้ออื่น ๆ

    เข้ามาในชีวิตได้อีกหลาย ๆ ข้อ ฯลฯ ในระดับธรรมดาก็สามารถเอ่ยอ้างเป็นสัจจะ

    วาจาต่อฟ้าดินได้(โดยไม่หลอกตัวเอง)


    “ตั้งแต่ข้าพเจ้าตั้งใจประพฤติธรรม เรื่องความไม่เบียดเบียน ข้าพเจ้ายังไม่เคย

    พลาดพลั้งเลย ความตั้งใจของข้าพเจ้ายังคงอยู่เสมอในชีวิต การประพฤติก็มี

    พร้อม ด้วยสัจจะวาจานี้...(อธิษฐานด้วยตัวเอง รับรองว่าขลังต์ครับ ไม่ต้องพึ่ง

    เทพเจ้าที่ไหน ตัวเรากับพระธรรมนี่แหละ ขลังต์ที่สุดแล้ว ทำได้แค่ไหนขลังต์แค่

    นั้น)

    สามารถเอาพระธรรมที่เราประพฤตินี่แหละเป็นพี่พึ่งได้ คนมีธัมมะในใจจน

    ครบองค์ 8 นั้นมีดีในตัวเองทุกรายครับ มิต้องพึ่งพาอ้อนวอนเจ้าพ่อเจ้าแม่ที่ไหน

    ให้เหนื่อยใจ


    (เชื่อไม่เชื่อท้าพิสูจน์ ให้ลองประพฤติธรรมด้วยตัวเองครับ) พระสงฆ์

    ที่อยู่ในศีลในธรรมจึงมีความเข้มขลังต์ในตัวเองทุกราย เพราะอำนาจของพระ

    ธรรมที่ท่านประพฤติกันนั้นมีมาก นี่แหละครับ ธรรมดาพระต้องทำได้มากกว่าญาติ

    โยมอยู่แล้ว เพราะการออกบวชเป็นอุบายเว้นจากการเบียดเบียนกัน โดยตรง แต่

    ชาวบ้านผู้ครองเรือนก็สามารถทำได้ครับ ตัวอย่างก็มีอย่างนางวิสาขา หรือธิดา

    ของช่างทอผ้าเป็นต้น



    ท้าพิสูจน์ให้ทุกท่านนำไปประพฤติพระพุทธเจ้าตรัสรับรองไว้ว่า ประพฤติตาม

    มรรคมีองค์ 8 ประการ(เรื่องอะไรก็ได้ธรรมหมวดไหนก็ได้ อย่างเรื่องการออกจาก

    กาม ความเป็นผู้อดทน ความเป็นผู้มีสัจจะ ความเป็นผู้มีความเพียรในทางธรรม

    ความกตัญญู ความซื่อสัตย์ ฯลฯ)ท่านรับรองไว้ไม่เกิน 7 ปี ขยันมากก็ 7 เดือน

    เร็วที่สุดก็ 7 วันเห็นผล ครับ ระหว่างประพฤติธรรมอยู่นั้น ชีวิตก็จะแปรจากบาป

    มาเป็นบุญได้อย่างแท้จริงแน่นอน การมีชีวิตอยู่ทุกวัน ๆ จึงไม่ขาดทุนแน่นอน



    มรรคมีองค์ 8 ที่ว่าเป็นข้อเดียวกันนี้จึงเรียกว่าทางสายเอกครับ ที่แสดงมานี้

    เป็นเคล็ดวิชาที่มีผู้ใช้แล้วได้ผลแล้ว (แต่ขาดการบอกต่อกันมาหลายปี จนไม่ค่อย

    มีคนรู้) ข้าพเจ้าได้โอกาสร่ำเรียนมา จึงนำมาบอกต่อ และท้าพิสูจน์ได้ด้วยตัวคุณ

    เอง ฟังธัมมะแบบหูทวนลม(ฟังแล้วไม่ปฏิบัติ)ต่อให้ฟัง เป็น 50-60 ปี ชีวิตก็ย่ำอยู่

    กับกองทุกข์กองเดิม สู้คนฟังธรรมข้อเดียวแล้วตั้งใจประพฤติปฏิบัติ จนไช้ได้ผล

    เลยไม่ได้ คนสมัยก่อนบางคนมีโอกาสได้พบพระพุทธเจ้า ได้ฟังธรรมแค่ครั้งเดียว

    ในชีวิต แต่นำเอาหลักธรรมนั้นไปประพฤติปฏิบัติจนสำเร็จมรรคผลไปก็มีมาก

    อย่างเบาก็เป็นพระอริยะบุคคลชั้นโสดาบันในขณะที่ชีวิตก็ยังมีครอบครัว

    ยังครองเรือนอยู่โดยปกติ


    ดังแสดงมรรคมีองค์ 8 แบบเคล็ดวิชามา เห็นสมควรแก่เวลาขอยุติลงแต่เพียงนี้

    ควรมิควรก็ให้ท่านทั้งหลายนำไปพิจารณาประพฤติด้วยตนเองกันเถิด สาธุ



    ขอบุญกุศลครั้งนี้

    จงสำเร็จเป็นความยั่งยืน มั่นคง ของพระพุทธศาสนาต่อไปอีกยาวนาน

    เพื่อประโยชน์สุขแก่มหาชนเป็นอันมากในอนาคตกาล เทอญ
     
  16. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    ธรรมภาษิต ตอน เขียนในป่าช้าจีน
    โดย พระชุมพล พลปฺโพ.ศ. ๒๕๓๔
    ชีวิตนี้หรือ คือบทละคร ไม่มีตัวเรา ไม่มีของเรา ยินดีทำไม ยินร้ายทำไม ดิน น้ำ ไฟ ลม
    กายนี้ไม่ใช่ของเรา ใจนี้ไม่ใช่ของเรา ไม่มีตัวตน ไม่มีคนสัตว์หญิงชาย
    ไม่มีนิมิต ไม่มีเครื่องหมาย ไม่มีหญิงชาย ไม่มีคนสัตว์ ไม่มีสำเร็จ ไม่มีล้มเหลว ไม่มีความเลว ไม่มีความดี
    ทั้งกายและใจ ไม่ใช่ของเรา ยินดีทำไม ยินร้ายทำไม
    โลกนี้เป็นทุกข์ นิพพานเป็นสุข
    ไม่เที่ยง ไม่แน่ ตาย ตาย ตาย ตาย
    ไม่มีตัวตน และของของตน มีกายเป็นทุกข์ ละกายเป็นสุข
    ถุงขี้ ถุงเยี่ยว เหม็นเปรี้ยว เหม็นบูด
    ไม่มีอะไร ที่เป็นของเรา
    กายนี้เป็นทุกข์อย่างแสนสาหัส ใจนี้เป็นทุกข์อย่างแสนสาหัส
    อดีตคือความฝัน ปัจจุบันคือความจริง อนาคตคือสิ่งไม่แน่นอน
    อดีตคือบทละครที่แสดงผ่านไปแล้วเอาเก็บมาคิดทำไม
    ชีวิตคือนิยาย คนทั้งหลายคือตัวละคร
    ปฏิปทาเพื่อลาภสักการะเป็นอย่างหนึ่ง ปฏิปทาเพื่อนิพพานเป็นอีกอย่างหนึ่ง
    จงเรียกสิ่งที่บังคับบัญชาได้ว่าตัวเราดีกว่า อย่าไปเรียกสิ่งที่บังคับบัญชาไม่ได้ว่าเป็นตัวเราเลย
    การที่เราอยากมีฤทธิ์ เพราะยังติดในโลกธรรมนั่นเอง
    จงอย่ารับทั้งผิดและชอบต่อกายและใจนี้
    สุขเวทนาคือเหยื่อล่อให้เราจมปลักอยู่ในทุกข์อย่างถอนตัวไม่ขึ้น
    แม้แต่กายนี้เราก็ผิดหวัง จะเอาอะไรในโลกนี้อีก
    กายนี้เป็นธาตุของโลก เราไปขี้ตู่เอามา
    หน้าที่ของเราคือทนทุกข์ ไม่ใช่หนีทุกข์
    คนเรามันผิดพลาดกันได้ อย่าเอาเรื่องความผิดพลาดมากลุ้มอกกลุ้มใจเลย
    จำเป็นนักหรือที่เราจะต้องได้ของดีๆ
    เรื่องราวในโลกนี้ทั้งมวลเป็นนิทานโกหกที่อวิชชามันผูกขึ้น ฉะนั้นจงเพิกถอนสมมุติทั้งมวลเสีย
    เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้
    เรามีความเจ็บเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไปได้
    เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้
    เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น
    เรามีกรรมเป็นของตน ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
    ฉะนั้น จงอย่าถือตัว อวดดี อวดวิเศษ อวดเก่งไปเลย
    เราจงอ่อนน้อมถ่อมตัว สงบเสงี่ยมเจียมตน อดทนต่ออารมณ์ของผู้อื่นไว้ให้มากเถิด
    เราจะไปวาดภาพปรุงแต่งครุ่นคิด วางแผนอนาคตไปทำไม ในเมื่อทุกสิ่งทุกอย่างมันไม่เที่ยงและไม่แน่
    ไม่ว่าจะผูกพันกันมากี่ชาติ ก็ต้องมาตัดกันให้ขาดในชาตินี้
    กายนี้ถ้าเป็นของเรา คงจะไม่ทุกข์อย่างนี้หรอก
    โลกนี้เป็นทุกข์อย่างแสนสาหัส
    ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นที่ตั้งอยู่ ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรดับ
    ฉะนั้นเราจะหนีทุกข์ไปไหน จงอยู่กับทุกข์นั่นแหละ แต่ถอนความยึดมั่นออกเสีย
    ตัวเรามีดีอะไรหนอ ขี้ก็เหม็น เยี่ยวก็เหม็น ตดก็เหม็น ตัวก็เหม็น เหม็นทั้งนั้นเลย แล้วยังจะถือตัวอวดดีอวดวิเศษไปอีก
    ความคิดที่จะแสวงหาสุข หนีทุกข์ เป็นความคิดของคนไร้ปัญญา
    ชีวิตคือการต่อสู้ ศัตรูคือยากำลัง อุปสรรคคือสิ่งที่ต้องข้ามให้พ้น
    อย่าติดในรูปลักษณ์
    จงทิ้งให้หมด อย่าเก็บสิ่งใดไว้เลย
    คนที่จากกันไปแล้วก็คือคนที่ตายไปแล้ว จงลืมคนที่เคยรู้จักในสถานที่ต่างๆเสียให้หมด อย่าไปคิดถึงใครเลย แม้แต่คนเดียว
    คำว่า 'คน' นั้น เป็นคำสมมุติโดยสิ้นเชิง
    ถ้าอยากจะลืมอดีตที่เจ็บช้ำ ต้องเลิกจดจำอดีตที่หวานชื่น
    คนโง่ย่อมเดือดร้อนว่า บุตรของเรา เมียของเรา ก็ตนของตนยังไม่มี แล้วบุตรแต่ที่ไหน เมียแต่ที่ไหน
    ไม่มีอะไรที่เป็นของเรา คำว่าของเราเป็นคำบ้าอย่างสาหัสสากรร
    จงอย่าหวังพึ่งพาอาศัยผู้อื่นอย่างเด็ดขาด ไม่ว่ากรณีใดๆ
    เวลานอนหลับเป็นสุขที่ไหน? สุขที่กาย! ก็กายนี้ไม่ใช่ของเรา!!?
    กายนี้มันจะแข็งแรง พอที่เราจะอาศัยมันสร้างความดีไปได้อีกนานแค่ไหนหนอ ฉะนั้น จงอย่าประมาทวันเวลาที่ล่วงไปเลย จงรีบสร้างความดีให้เต็มกำลังเถิด
    ทำไมเราจะต้องประสบความสำเร็จเท่านั้น แล้วจะเอาความล้มเหลวไปให้ใครล่ะ
    ทุกสิ่งทุกอย่างที่เราทำ สำเร็จก็ได้ ล้มเหลวก็ได้ ไม่เห็นจะเป็นอะไร
    ไร้อดีต ยุติอนาคต สรรพสิ่งในโลกล้วนอนิจจัง ไม่เที่ยง ไม่แน่
    ใครถือตัวอวดดี คนนั้นไม่ดี
    สังขารธรรมทั้งปวงล้วนแต่เปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัย ไม่มีตัว ไม่มีตน ไม่มีเรา ไม่มีเขา ฉะนั้น จงอย่าถือตัว ถือตน ถือเรา ถือเขา และก็อันความอวดดี เย่อหยิ่ง ถือดี ในสังขารธรรม อันเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัยโดยที่ไม่มีใครบังคับบัญชาได้นั้น เป็นความโง่เขลาอย่างเหลือเกิน สังขารธรรมที่ว่านี้ คือกายและใจ ที่สมมุติว่าเป็นตัวเรานั่นเอง
    ร่ายกายของคนทุกคนต้อง ตาย เน่าเหม็น หนอนขึ้น น่าเกลียด อัปรีย์ จัญไร ต้องขนไปทิ้ง
    ผู้ที่จะเข้านิพพาน คือผู้ที่จะมาพบกับความทุกข์ทรมานในโลกนี้ มิได้จะมาเพื่อเสวยสุขในโลกนี้
    ชีวิตที่ต้องมีคู่ เป็นชีวิตของคนไร้ปัญญา
    พึงเป็นผู้เดียว เที่ยวไปเหมือนนอแรด ฉะนั้น
    ทำไม เราจะต้องเดือดร้อน เมื่อถูกเค้าดูถูก เหยียดหยาม ถ้าแค่นี้ทนไม่ได้ ก็น่าอายสิ้นดี
    เราทำความดี เพียงเพราะอยากให้คนมาเคารพนับถือหรือยังไง
    ทำไมเราจึงต้องการให้คนมาเคารพ ความประเสริฐของจิตนั้น อยู่ที่มีคนมาเคารพยกย่องหรือยังไง ทำไมจึงไม่คิดเสียบ้าง
    เราเป็นคนยากไร้ทางจิตมากนักละซิ ถึงหิวโหยในการที่จะให้คนอื่นมาเคารพ
    คนเราจะดี จะชั่ว อยู่ที่คนมาเคารพ มาสรรเสริญหรือยังไง
    จงอย่ายินดีเมื่อคนมาเคารพ อย่ายินร้ายเมื่อเค้าไม่เคารพ
    เราจะยอมให้คนทั้งโลกด่าเราได้ ไม่ว่าเราจะผิดหรือไม่ก็ตาม
    หน้าที่ในการทำผิดเป็นของคนอื่น หน้าที่ในการให้อภัยและเมตตาเป็นของเรา
    คนที่รู้จักแต่จะเอาชนะนั้นยังไม่เก่งจริง ถ้าเก่งจริงต้องรู้จักที่จะยอมแพ้อย่างราบคาบด้วย
    จงพยายามเอาชนะจิตตนเอง ดีกว่าที่จะไปเอาชนะผู้อื่น
    จงแพ้ภายนอก แล้วมาเอาชนะภายใน
    จะเอาอะไรกับปากคน ดีแสนดีมันก็ด่า ชั่วแสนชั่วมันก็ชม
    จงทำใจวางเฉยทั้งคำด่าและคำชม ให้ถือเป็นเพียงลมผ่านหูเท่านั้น
    การทำตัวเป็นผู้รู้นั้นยังไม่เก่งจริง ถ้าจะเก่งจริง ต้องรู้จักที่จะไม่รู้อะไรเลย
    จงอ่อนน้อมถ่อมตัวต่อคนทุกชาติชั้นวรรณะ
    คนทุกชาติชั้นวรรณะสามารถด่าและตะคอกเราได้
    ขอให้ผู้ที่จ้องจะจองล้างจองผลาญ คอยคิดเข่นฆ่าทำร้ายทรมานเรา จงประสบแต่ความเจริญรุ่งเรืองสวัสดี พรอันเป็นมงคลทั้งหลายจงได้แก่ผู้นั้นอย่างไม่มีสิ้นสุด
    ขอให้บุญกุศลที่เราสร้าง จงไปปกปักรักษาคุ้มครองผู้ที่คอยคิดจองล้างจองผลาญเรา ให้เขาผู้นั้นจงมีแต่ความสุขความเจริญ คิดสิ่งใดก็ขอให้สมปรารถนาทุกประการเทอญ
    พูดมากเสียมาก พูดน้อยเสียน้อย ไม่พูดไม่เสีย
    ชนผู้ปฏิพัทธ์ในชนย่อมเดือดร้อน
    โลกนี้ไม่ใช่ของเรา
    เราจะเอาแต่ของที่ควรแก่วาสนาบารมี สิ่งใดที่เกินกว่าวาสนาบารมี จงอย่าไปอยากได้อยากเป็นเลย
    ให้ทุกสิ่งเป็นดังเช่นมันจะไป อย่าเอาใจไปขวางกั้น
    ที่เราเป็นทุกข์อยู่ก็เพราะตัณหา ถ้าไม่มีตัณหา ไม่ทุกข์เลย
    สิ่งทั้งปวงในโลก ได้เป็นไปในทิศทางที่มันควรจะเป็นแล้ว อย่าไปห่วงสิ่งใดเลย
    เราจะให้อภัยในความผิดพลาดของคนและสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง รวมทั้งตัวเราด้วย
    ผู้ที่ได้สมบัติอยู่แล้ว จงได้สมบัติยิ่งๆ ขึ้นไปเทอญ ขอให้เราจงแผ่มุทิตาจิตไปให้ทั่วจักรวาล อย่าได้มีความอิจฉาริษยาผู้ใดเลย
    การเสื่อมลาภก็ดี การที่ถูกเค้าดูถูกเหยียดหยามไม่เคารพนับถือก็ดี การถูกด่าถูกใส่ร้ายก็ดี ความทุกข์ก็ดี ล้วนแต่ทำให้จิตใจเข้มแข็งทั้งนั้น ฉะนั้น ต่อไปไม่ต้องหลบหลีกมันเลย
    การเสื่อมลาภ ก็คือการให้ทานนั่นเอง ฉะนั้น ถ้าเมื่อใดที่เจอการเสื่อมลาภ ก็ชื่อว่าเราได้ทำบุญให้ทานไปหนหนึ่งแล้ว สาธุ ดีใจจังเลย
    อย่ากลัวการสูญเสีย เพราะจะทำให้จิตใจเข้มแข็งขึ้น
    การลงโทษผู้อื่น คือการลงโทษตัวเอง การให้อภัยผู้อื่น คือการให้อภัยตัวเอง การช่วยเหลือผู้อื่น คือการช่วยเหลือตัวเอง การรังเกียจผู้อื่น คือการรังเกียจตัวเอง
    โลกนี้ไม่ใช่ที่อยู่ของเรา เป็นเพียงทางผ่านเท่านั้น ฉะนั้นจงอย่าปล่อยให้ใจไปผูกพันกับสิ่งใดในโลกนี้เลย
    ผู้ขาดสติคือผู้หลับใหล
    เราจงเตรียมเข้าโลงไว้ให้ดีเถิด
    ใหญ่แค่ไหนก็เล็กกว่าโลง
    อย่าเดือดร้อนกับอดีต มันเป็นเพียงละครฉากหนึ่งเท่านั้น
    ความตายจักมี ชีวิตนี้จักดับดิ้น
    กายนี้เป็นเพียงทางผ่านเท่านั้น ไม่ช้าก็ต้องละทิ้งไป ฉะนั้น จงอย่าผูกพันมั่นหมายยึดติดกับกายนี้เลย
    เราจะต้องสละสิ่งที่มีค่าที่สุดในชีวิตออกไป
    เราจะต้องสละความอยากมีฤทธิ์ให้หมด
    จงเลิกอยากดีอยากเด่นเหนือคนอื่นเสียที
    ต้องหย่าขาดจากกายนี้ให้ได้
    ความทุกข์ทรมานคือยากำลังของธรรมะ อย่ากลัวมันเลย
    เราไม่สามารถบังคับบัญชาเวทนาได้ ฉะนั้น จงเห็นแจ้งลงไปว่า ไม่ใช่เราสุข ไม่ใช่เราทุกข์ ไม่ใช่เราอุเบกขา เวทนาไม่ใช่เรา เราไม่ใช่เวทนา
    จิตผ่องใสไม่ใช่เรา จิตเศร้าหมองไม่ใช่เรา จิตที่บรรลุคุณธรรมไม่ใช่เรา จิตที่ไม่บรรลุคุณธรรมไม่ใช่เรา จิตไม่ใช่เรา เราไม่ใช่จิต ให้ถอนความยึดมั่นออกเสีย
    ธรรมะคือของจริงที่เหนือเหตุผล ที่นำเอาเหตุผลมาอธิบายธรรมะก็เพื่อโฆษณาชวนเชื่อให้คนเข้ามาปฏิบัติธรรมะเท่านั้น ตราบใดที่ยังติดในเหตุผลย่อมไม่บรรลุธรรม เพราะธรรมะคือของจริงที่เหนือเหตุผล
    ความสูญเสียคือ กำไรบนเวทีธรรม
    อย่ายินดีในสุข อย่ายินร้ายในทุกข์ อย่ายินดีในความสำเร็จ อย่ายินร้ายในความล้มเหลว อย่ามีความต้องการในสิ่งใด อย่ามีตัณหา
    การที่เราอยากมีฤทธิ์เพราะว่าอยากได้ลาภสักการะนั่นเอง
    ลาภสักการะ เป็นสิ่งทารุณเผ็ดร้อนต่อธรรมอันเกษมจากโยคะ พึงละความมุ่งหมาย มุ่งมั่น ยินดี ในลาภสักการะเสียให้หมด
    ตราบใดที่ยังมีตัวตนอยู่ จะต้องประสบกับความทุกข์ทรมานอย่างไม่สิ้นสุดยุติ
    อย่ามีตัวตนสำหรับอดีต อย่ามีตัวตนสำหรับอนาคต อย่ามีตัวตนสำหรับปัจจุบัน อย่ามีตัวตนสำหรับสิ่งดี อย่ามีตัวตนสำหรับสิ่งชั่ว อย่ามีตัวตนสำหรับสิ่งทั้งปวง
    อย่ามีตัวตนสำหรับการบรรลุอรหันต์
    อย่ามีตัวตนสำหรับการบรรลุนิพพาน
    ไม่มีใครที่เกิดอยู่ตายอยู่ มีแต่ธรรมชาติล้วนๆ ที่เป็นไปตามเหตุปัจจัยเท่านั้น
    ไม่มีใครที่จะบรรลุนิพพาน ไม่มีนิพพานสำหรับใคร
    ไม่มีใครที่จะบรรลุอรหันต์ ไม่มีความเป็นอรหันต์สำหรับใคร
    ไม่มีใครที่จะบรรลุอิทธิวิธี ไม่มีอิทธิวิธีสำหรับใคร
    ความยึดมั่นถือมั่นว่าตนเองเป็นพระอริยบุคคล ก็ยังเป็นอุปาทาน ที่สร้างความเจ็บปวดเดือดร้อนให้แก่จิต
    อย่าไปหลงรัก หลงชัง หลงเกลียด หลงกลัว ต่อธรรมชาติที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
    เบื่อตัวเอง ที่ไม่ใช่ตัวเอง
    ความสุขกับความทุกข์ คือสิ่งเดียวกัน ฉะนั้น จงเลิกรักสุข เกลียดทุกข์เสียที
    ทุกข์อื่นยิ่งกว่ากาม ไม่มี
    โลกนี้เป็นทุกข์อย่างแสนสาหัส อย่าได้เกิดอีก
    ยิ่งอยากได้ความเจริญมากเท่าไร ยิ่งต้องหนีความเสื่อมมากเท่านั้น นั่นแหละคือความบ้าของจิตแหละ
    อย่ามีตัวตนสำหรับเจริญ อย่ามีตัวตนสำหรับเสื่อม
    จิตที่ไร้สติปัญญา คือ จิตที่หลับใหล ย่อมจะกระเพื่อมไปในทางสุขกับทางทุกข์ ความสุขและความทุกข์จะไม่มีอิทธิพลต่อจิตที่เห็นแจ้งเลย เพราะว่าความสุขและความทุกข์ เป็นอาการที่ออกมาจากความหลับใหลแห่งจิต เป็นอาการที่ออกมาจากอวิชชา
    ถ้าไม่สละสิ่งเก่าไปเสีย จะได้สิ่งใหม่มาได้อย่างไร ?!
    ความอยากมีฤทธิ์ อยากมีเดช อยากมีอำนาจ อยากมีวาสนา อยากมีคนสรรเสริญ ยกย่อง บูชา คือความมืดบอดอย่างที่สุด ของผู้ที่บวชเข้ามาในร่มกาสาวพัสตร์
    แม้แต่เรื่องในชาตินี้ เราก็จำเป็นจะต้องลืมไปให้หมด แล้วเรื่องชาติก่อนเราจะรู้ไปทำไม
    แม้แต่เรื่องคนด้วยกันเอง เราก็จะต้องทำเป็นหูหนวก ตาบอด แล้วเรื่องผีสางเทวดา จะไปรู้มันทำไม
    จงรู้เรื่องในกายและใจนี้ก็พอ ว่าไม่น่ายึดมั่นถือมั่น
    เรื่องโลกภายนอกทั้งหลายทั้งปวง สรุปลงในคำว่าทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นที่ตั้งอยู่ ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรดับ ไม่น่าสนใจอะไร
    ผู้ที่บำรุงบำเรอปรนเปรอกายนี้ คือผู้มืดบอด
    ที่เราเป็นโรคประสาทอยู่ก็เพราะความอยากดี อยากเด่นเหนือคนอื่นนั่นเอง
    สุขและทุกข์ คือการกระเพื่อมตัวของอวิชชา
    เหตุการณ์ในโลกทั้งปวงเป็นเรื่องสมมุติทั้งหมด ไม่มีอะไรเป็นเรื่องจริงเลย
    ดินภายนอกเป็นฉันใด ดินภายในก็เป็นฉันนั้น ดินภายในเป็นฉันใด ดินภายนอกก็เป็นฉันนั้น สักแต่ว่าดิน ไม่มีตัวเรา ไม่มีของเรา ไม่มีคนสัตว์ ไม่มีหญิงชาย
    อย่าเห็นว่า กายนี้ต่างจากก้อนดิน ก้อนหิน หรือท่อนไม้ไปเลย ในเมื่อมันเป็นสิ่งเดียวกัน คือ ธาตุดิน
    อย่าเห็นคนว่าต่างจากสัตว์ อย่าเห็นหญิงว่าต่างจากชาย อย่าเห็นตายว่าต่างจากเป็น อย่าเห็นเกิดว่าต่างจากดับ
    ความอยากมีฤทธิ์นั่นแหละ เป็นตัวขวางทางนิพพาน
    การบรรลุธรรมที่แท้จริง ไม่มีตัวผู้บรรลุ
    คนดีกับคนบ้าเหมือนกัน คนดีมันก็ปรุงแต่งอยู่ภายในให้หัวเราะ ร้องไห้ เกลียดคนโน้น รักคนนี้ แต่ว่ามันเก็บเอาไว้แค่ภายใน ไม่ได้แสดงออกมาภายนอก เค้าเลยเรียกว่าคนดี ส่วนคนบ้ามันประสาทไม่สมบูรณ์ เลยเก็บไว้ภายในไม่ได้ เลยนึกจะหัวเราะก็หัวเราะออกมา นึกจะร้องไห้ก็ร้องไห้ออกมา เพราะฉะนั้น คนดีก็คือคนบ้า คนบ้าก็คือคนดี ไม่ต่างกัน
    ความรักเป็นอารมณ์ของคนมีปัญญาทราม
    พึงเพิ่มพูนความสละ
    อดีตไม่ใช่ของเรา อนาคตไม่ใช่ของเรา ปัจจุบันไม่ใช่ของเรา ไม่มีตัวเราในกาลใดๆ
    แค่ต้องยินดียินร้ายกับปัจจุบันก็ปวดหัวจะตายอยู่แล้ว ยังไปขุดคุ้ยอดีตและวาดภาพอนาคต เอามายินดียินร้ายอีก อย่างนี้ ไม่เป็นบ้าจะทนไหวเหรอ
    เกิดกับตายมีความหมายอย่างเดียวกัน เพียงแต่ชื่อไม่เหมือนกัน
    จงเลิกคิดเสียให้ได้ว่า ต่อไปภายภาคหน้าจะไปไหน จะอยู่ที่ไหน
    จงเลิกกังวลเสียทีว่า จะขาดแคลนปัจจัยสี่หรือไม่
    ข้าพเจ้าจะพยายามละชื่อเสียงและเกียรติยศอย่างไม่อาลัยใยดี
    ไม่มีใครเจริญ ไม่มีใครเสื่อม ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวเราของเรา
    บุญไม่เที่ยง ผู้ทำบุญก็ไม่เที่ยง วิบากของบุญก็ไม่เที่ยง บาปไม่เที่ยง ผู้ทำบาปก็ไม่เที่ยง วิบากของบาปก็ไม่เที่ยง ฉะนั้น จงอย่ายึดมั่นยินดีปรีดา เสียอกเสียใจต่อบุญและบาปเลย
    ไม่มีตัวเรา มีแต่ตาเห็นรูปแล้วดับไป หูได้ยินเสียงแล้วดับไป จมูกได้กลิ่นแล้วดับไป ลิ้นได้รสแล้วดับไป กายถูกต้องโผฏฐัพพะแล้วดับไป ใจรู้ธัมมารมณ์แล้วดับไป
    ตัวเราคือมายาภาพ ที่จับต้องไม่ได้ ไม่มีจริงอยู่ในโลก
    จิตนี้มันตื่นเต้นหวาดกลัวต่อเงาที่จิตออกไปวาดภาพมาหลอกตนเอง เหมือนคนที่วาดเสือแล้วกลับมากลัวเสือที่ตัวเองวาดขึ้นมา
    ทุกสิ่งทุกอย่างทุกปรากฏการณ์ในโลกเป็นเพียงมายาภาพ แต่ผู้มีอวิชชาโมหะ กลับไปหลงเป็นจริงเป็นจัง จึงต้องยินดียินร้าย ตื่นเต้น หวาดกลัวอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน
    ที่เราเป็นทุกข์อยู่ก็เพราะว่า ไม่มีจาคะนั่นเอง ไม่รู้จักสละละทิ้งเลย
    ตัวเราไม่มีอยู่จริง ไม่มีอะไรที่เป็นตัวเรา ตัวเราเป็นกลลวงที่อวิชชามันแสดงขึ้นมา เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว จะถือเกียรติ ถือศักดิ์ศรีไปทำไม เพื่ออะไร เพื่อใคร คิดดูให้ดี
    ตัวเขาไม่มี ตัวเราไม่มี ทั้งหมดล้วนแต่เป็น ดิน น้ำ ไฟ ลม รูปธรรม นามธรรม ที่เหตุปัจจัย ปรุงแต่งไปต่างๆ นาๆ
    ละครชีวิตทั้งหมดนี้ เป็นเพียงเงามายาที่อวิชชามันผูกขึ้น ตามสัจจะความจริงแล้ว ไม่มีอะไร นอกจากรูปธรรม นามธรรม ที่เกิดดับ เกิดดับ
    สัจธรรมที่แท้จริงนั้น ไม่มีผู้หญิงผู้ชาย เรื่องราวที่ยังมีผู้หญิงผู้ชายทั้งมวล เป็นเรื่องโกหก
    เธอถูกอวิชชาต้มเสียเปื่อยเลย เพื่อนเอ๋ย
    อดีตคือสิ่งที่ได้ผ่านไปแล้ว ผ่านไปแล้วชนิดที่ว่า ไม่มีทางจะหวนกลับมาได้อีก ไม่ว่าจะเป็นสิ่งดีหรือสิ่งชั่ว สิ่งที่ดีที่สุดก็ไม่มีทางจะคืนมาได้ สิ่งที่ร้ายที่สุดก็ไม่สามารถจะกลับมาอีก ล้วนแล้วแต่ได้ผ่านไปอย่างไม่มีทางที่จะหวนคืนกลับมาได้อีกเลย
    สภาวะธรรมทั้งหลายทั้งปวง ไม่ควรเข้าไปยึดมั่นถือมั่น
    เราจะไปกลัวอะไรกับความทุกข์ใจ ทุกข์แล้วเดี๋ยวก็กลับเป็นสุข สุขแล้วก็กลับเป็นทุกข์ มันเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาอยู่อย่างนี้แหละ อย่าไปวิตกกังวลกับมันเลย
    เรานี่เปรียบเสมือนคนที่อยู่ดีๆ ก็ไปเอาขี้มาสุมไว้บนหัว กายและจิตไม่ใช่ของเราสักหน่อย จะไปยึดถือมันไว้ทำไม จะไปหวัง จะไปเกณฑ์ ให้กายมันดี ให้จิตมันดี เป็นไปตามปรารถนา จะมีมาแต่ที่ไหน
    ยิ่งยึดเอาไว้มากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเป็นทุกข์มากเท่านั้น วิธีที่จะให้ปลอดภัย ต้องปล่อยมันไปตามเรื่องตามราวของมัน ยึดไว้ไม่ได้ ถือไว้ไม่ได้
    ความผิดหวังคือกำไรชีวิตของผู้ปฏิบัติธรรม
    ถ้าหากเรามีความยินดีในฤทธิ์ ยินดีในความสามารถพิเศษ ยินดีในการที่จะมีคนมาเคารพยกย่องบูชา ก็ชื่อว่าเรายินดีในโลกนี้ ยินดีกับสมบัติของโลกนี้ และยินดีในการเกิดใหม่
    สมบัติในโลกนี้ ไม่ว่าจะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรม เราจะไม่เอาเลย เราจะไม่เอาสักอย่าง เราจะทิ้งให้หมด
    หน้าที่ของเราคือการทิ้งโลกนี้ การทิ้งสมบัติในโลกนี้ให้หมด
    ทิ้งได้มากเท่าไหร่ ก็เบาสบายมากเท่านั้น ขันธ์ทั้ง ๕ เป็นของหนักเน้อ
    ลาภ ยศ เกียรติ สรรเสริญ อำนาจ วาสนา ในโลกนี้ ไม่ใช่สิ่งที่เรามุ่งมาดปรารถนาเลย สิ่งที่เราหวังก็คือ ความดับสนิทอย่างไม่มีเชื้อ ความพ้นจากสมบัติทั้งปวงในโลกใบนี้ อย่างชนิดที่ไม่เหลือซากไม่เหลือเศษเลย
    อนาคตทั้งหลายทั้งปวง สรุปลงในคำว่า "ไม่เที่ยง ไม่แน่"
    อนาคตเป็นมายาภาพที่ไม่แน่นอนว่าจะเป็นไปอย่างไร แล้วเราจะไปรู้มันทำไม จะไปคิดถึงอนาคตมันทำไม
    ถึงก็ช่าง ไม่ถึงก็ช่าง
    เบาสบาย หายห่วง หายกังวล ต่อสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ไม่มีแก่นสารสาระใดๆ ให้สำคัญมั่นหมายเลย
    ใครอยากโง่ อยากบ้า ก็แบกเอาไว้ ยึดเอาไว้ให้มากๆ เถอะ
    อดีตคือพยับแดด อนาคตคือเงามายา ปัจจุบันคือแสงฟ้าแลบ
    เราคือแมลงเม่า บินเข้ากองไฟ ราคะ โทสะ โมหะ
    โอ้โฮ แสงไฟ ราคะ โทสะ โมหะ มันช่างสวยสดงดงามจับตา จับใจ แมลงเม่าโง่เหลือเกิน
    เราจะอยู่อย่างเสื่อมลาภ แต่ไม่เสื่อมธรรม
    อย่าหวังอะไร แม้แต่หมูในอวย
    ตัวเรานี้ มีนามว่า 'จะดับ' ฉายา 'ผู้แพ้สิบทิศ'
    เราคือผู้แพ้สิบทิศ แต่จงชนะในทิศที่สิบเอ็ด คือชนะใจตนเอง
    ที่ผิดหวังเพราะไปหวังผิดนั่นเอง
    แก่นสารสาระของชีวิตเรา มีแค่เรื่องกิน เรื่องดื่ม เรื่องขี้ เรื่องเยี่ยว หรือยังไง
    สิ่งที่ยังไม่แตกนั่นแหละกำลังแตก สิ่งที่ยังไม่ดับนั่นแหละกำลังดับ
    คนตายเพราะสมบัติ นกตายเพราะอาหาร ภิกษุตายเพราะลาภสักการะ
    สิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตก็ดับไปแล้วในอดีต สิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันก็ดับในปัจจุบัน สิ่งที่เกิดขึ้นในอนาคตก็จักดับในอนาคตนั่นเอง
    ตราบใดที่ต้องการความเจริญ ตราบนั้นย่อมหนีไม่พ้นความเสื่อม
    ตราบใดที่ต้องการความสุข ตราบนั้นย่อมหนีไม่พ้นความทุกข์
    อากาโส อนันโต รูปธรรมเป็นของคับแคบ อากาศไม่มีสิ้นสุด
    เราไม่มีความปรารถนาในรูปธรรมทั้งหลายทั้งปวง
    ถ้าหากไม่อยากมาเกิดในโลกมนุษย์อีก จะต้องละความยินดีในสมบัติทั้งปวงของโลกมนุษย์ ถ้าหากยังยินดี พอใจ รักใคร่ อาวรณ์ ต่อสมบัติในโลกมนุษย์ แม้แต่อย่างเดียว จะต้องมาเกิดอีกอย่างแน่นอน
    จงอย่าทำตัวเป็นลิงติดตัง
    อย่าไปอยากรู้ อย่าไปอยากเห็น อย่าไปอยากเป็น อย่าไปอยากมี อย่าไปอยากเก่ง อย่าไปอยากวิเศษ อย่าไปอยากบรรลุสิ่งใดเลย แล้ว จะพ้นทุกข์
    เราไม่ใช่ผู้วิเศษ เราคือผู้ธรรมดา
    จงอย่าเป็น เป็ดอยากขัน ลิงอยากไข่ ไก่อยากว่ายน้ำเลย
    จิตนี้มันจะบรรลุธรรมขั้นใดหรือไม่ จะเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ ก็ช่างมันเถิด
    โลกมนุษย์กับเรา พอกันทีเถิด
    สัพเพสัตตา สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงอย่าเดือดร้อนกับอดีตสัญญาที่ทำมาในกาลก่อนเลย
    ฉันไม่ได้คิดจะอยู่ ฉันไม่ได้คิดจะไป
    ตราบใดที่ยังเห็นเป็นคน สัตว์ หญิง ชาย อยู่ จะต้องเดือดร้อนอย่างไม่รู้จักสิ้นสุดยุติ
    ให้เห็นเป็นแต่เพียงสักว่าธาตุเท่านั้น
    เค้าพูดมาด้วยอวิชชาโมหะ แต่เราจงฟังด้วยความรู้แจ้ง
    มันเรื่องสมมุติทั้งนั้น กลับเห็นเป็นจริงเป็นจังไปได้
    เรารู้สึกผิดหวังต่อกายและใจนี้อย่างเหลือเกิน
    รูปธรรมทั้งหลาย ไม่มีความหมายในตัว การที่ไปยินดียินร้ายในกายเราและกายผู้อื่น ว่าสวย ว่าขี้เหร่นั้น เป็นความไร้ปัญญา
    จะแสวงหาความสุขไปทำไม ในเมื่อมันไม่เที่ยง
    จงเจริญขันติโสรัจจะให้มาก จงอดใจไม่ให้ขัดเคืองกับสิ่งรอบตัว จะช่วยบรรเทาอาการโรคประสาทไปได้
    จิตนี้มันช่างเป็นห่วงกายที่ไม่ใช่ของเรามากมายเสียเหลือเกิน
    สิ่งที่มาทำให้ขัดเคืองนั้น เป็นเครื่องทดสอบจิตอย่างดี ซึ่งถ้าจิตเราดีจริงๆ แล้ว คงไม่เป็นทุกข์เป็นร้อนไป เพราะความโกรธ ความขัดเคืองเลย
    สมบัติในโลกนี้ เราจะไม่เอาสักอย่าง ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สมบัติ รูปสมบัติ คุณสมบัติ เกียรติ อำนาจ ปัญญา เราจะละทิ้งไปให้หมด อย่างไม่มีอาลัยอาวรณ์เลย
    ตัวเราไม่มี แล้วของเราจะมีมาแต่ไหน ความดีของเราไม่มี ความชั่วของเราไม่มี ความถูกของเราไม่มี ความผิดของเราไม่มี
    ไม่มีใต้ ไม่มีเหนือ ไม่มีออก ไม่มีตก ไม่มีกลาง ไม่มีอีสาน ไม่มีในประเทศ ไม่มีต่างประเทศ ไม่มีที่นี่ ไม่มีที่อื่น
    การเห็นเป็นตัวตน บุคคล เราเขา การเห็นเป็นคนสัตว์ หญิงชาย คือ สมุทัย สาเหตุให้เกิดทุกข์
    เดิมทีเวลาเกิด เราไม่ได้มีอะไรติดตัวมาเลย และต่อไปเวลาตาย ก็จะไม่มีเช่นเดียวกัน สมบัติทั้งหลายทั้งปวงนั้นคือ สิ่งที่ผ่านมาเพื่อจะผ่านไปทั้งสิ้น แล้วจะมาคอยหวงอะไรไว้เล่า
    อดีตคือสิ่งที่เราจะต้องลืม อนาคตคือสิ่งที่เราไม่อยากรู้ ปัจจุบันคือภาพมายาที่ไร้สาระ
    ไม่ว่าจะรู้สึกไปถึงตรงไหน ก็ไม่ใช่ของเราไปถึงตรงนั้น
    ชีวิตนี้ เหมือนกับการแสดงละครที่ไร้สาระ
    ไม่ใช่ดินของเรา แต่เราเป็นของดินต่างหาก
    เราจะอยู่เป็นสุขในโลกที่เป็นทุกข์เดือดร้อนอย่างแสนสาหัสนี้ได้อย่างไร
    แม้แต่กายนี้ ก็เป็นของสมมุติ
    ความผิดพลาดเป็นครู มิใช่ตราบาป
    เราไม่ได้หวังว่า จะประสบความสำเร็จในชีวิต
    จงวางตนอย่างโคเขาขาด หรือเด็กจัณฑาลผู้นุ่งห่มผ้าเก่า จงละพยศ ลดมานะ สละความถือดีเสียให้หมด พร้อมทั้งประพฤติตัวให้อ่อนน้อมถ่อมตน อดทนต่ออารมณ์ผู้อื่นให้ได้
    ความถือตัวอวดดีอวดเก่งอวดความสามารถนั่นเอง เป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้เกิดทุกข์
    สมบัติของพระอรหันต์ คือความอ่อนน้อมถ่อมตัว
    เราจะยอมพ่ายแพ้ เราจะยอมสูญเสียทุกสิ่งทุกอย่าง เพื่อไม่ต้องกลับมาเกิดในโลกนี้อีก
    จงให้อภัยก่อน แล้วจึงค่อยขอขมา
    ใครอยากเป็นผู้วิเศษ คนนั้นเป็นคนโง่
    ถ้าภูมิใจเมื่อพูดดี จะต้องเป็นทุกข์ใจเมื่อพูดเสีย
    ไม่ว่าจะเป็นผีสาง เปรต หรืออสุรกาย ก็คือรูปนามที่เกิดดับทั้งสิ้น
    ทะเลต้องมีคลื่น ชีวิตต้องมีอุปสรรค การปฏิบัติธรรมต้องมีมาร
    ความผิดหวังช่วยลดมานะ ความสมหวังพอกพูนมานะ
    ปล่อยให้ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมันซิ จะไปวางแผนมันทำไม จะไปกะเกณฑ์มันทำไม จะไปเจ้ากี้เจ้าการมันทำไม
    นิสัยที่จะเอาอะไรต้องให้ได้อย่างใจนั้น เลิกเสียทีได้ไหม
    เมื่อใดที่คิดว่าตัวเองดี ก็เลวเมื่อนั้นเลย
    เมื่อใดที่คิดว่าคนอื่นเลว เราก็เลวเมื่อนั้นเลย
    ถ้าดีใจเมื่อคนรัก จะเสียใจเมื่อคนเกลียด
    คนมีเงินสองหมื่นล้านเค้ายังไม่พอ แล้วเราจะเอาสักกี่ล้านจึงจะพอ
    โศกนาฏกรรมเริ่มต้นด้วยรอยยิ้ม
    ถึงเวลาจะเสียก็ต้องเสีย ถึงเวลาจะหายก็ต้องหาย
    เราดีใจมากแค่ไหน จะต้องเสียใจมากแค่นั้น
    ขอให้เราจงพ้นไปจากทั้งความดีใจและความเสียใจ
    จงอย่ารับทั้งสิ่งดีและสิ่งชั่ว เอามาเป็นตัวเราของเรา
    ดีใจเพื่อเสียใจ ลิงโลดเพื่อเศร้าสร้อย ตื่นเต้นเพื่อเหงาหงอย สมหวังเพื่อผิดหวัง ยินดีเพื่อยินร้าย เฟื่องฟูเพื่อตกดิ่ง โด่งดังเพื่ออับแสง
    ไม่มีฝรั่ง ไม่มีไทย ไม่มีเจ๊ก ไม่มีแขก ไม่มีลาว ไม่มีเขมร
    เราไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ทั้งปวงได้
    จะรู้กำลังใจตน ก็เมื่อผจญมารนั่นเอง
    สัตว์ทั้งปวงเกิดมากับความผิดหวัง ดำรงอยู่ด้วยความผิดหวัง และจะตายไปเพราะความผิดหวัง
    จะเลิกเห็นกายผู้อื่นเป็นคนได้ ต้องเลิกเห็นกายตนเองเป็นคนด้วย
    เราไม่ใช่คน กายนี้ไม่ใช่ของเรา จงถอนความคิดอย่างคนออกเสียให้หมด เพราะเราไม่ใช่คน
    ข้าพเจ้าขอลาความเป็นคนตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
    เราเห็นแจ้งตั้งแต่เป็นเด็กอ่อนแล้วว่ากายนี้ไม่ใช่ของเรา
    เราไม่รักใคร และไม่ต้องการให้ใครมารักเรา
    อย่าหวังอะไรจากคน
    คิดถึงใครก็เป็นทุกข์เพราะคนนั้นนั่นแหละ
    ความคิดที่ว่าตัวเรามีอยู่ และใครกระทบกระทั่งไม่ได้นั้น เลิกเสียที
    เวลาเข้าใกล้ผู้หญิง อย่ารู้สึกว่าตัวเป็นชาย เพราะในสัจธรรม ไม่มีชาย ไม่มีหญิง
    ก็ใจของเรายังบังคับบัญชามันไม่ได้ แล้วจะไปบังคับใจคนอื่นได้อย่างไร
    เมื่อใดที่มีความหวัง ความผิดหวังจะตามมาทันที
    สมหวังไปทำไม ในเมื่อต้องผิดหวังภายหลัง
    ความผิดหวังนั่นแหละ แฝงตัวอย่างเงียบเชียบอยู่ในความสมหวัง
    เราจะหวังอะไรล่ะ ยิ่งสมหวังนั่นแหละ จะยิ่งผิดหวังหนักเป็นทวีคูณ
    อย่าหวังอะไร จากสิ่งใดๆ อย่างเด็ดขาด
    จะหนีทุกข์ กลัวทุกข์ไปทำไม ในเมื่อความทุกข์คืออาจารย์สอนธรรมองค์สำคัญ
    ความมักน้อยสันโดษ คือเกราะป้องกันความทุกข์อย่างดี
    ถ้าปราศจากความสละละวางและความสลัดคืนในสิ่งทั้งปวงแล้ว ชีวิตไม่มีทางจะพบความสวัสดีปลอดภัยได้เลย
    ความทุกข์ใจที่เกิดขึ้นก็คือ สัญญาณเตือนว่า ตั้งจิตไว้ผิดนั่นเอง
    จงเลิกคิดปรุงแต่งเสียทีว่า เราจะสำเร็จเวลาใดเมื่อไร
    อนาคตคือสิ่งที่ไม่ควรรู้เป็นอย่างยิ่ง
    ที่เราอยากรู้อนาคต เพราะมากด้วยความโลภ มากด้วยกิเลส มากด้วยตัณหานั่นเอง
    ถ้าเราเมตตาต่อศัตรูไม่ได้ ก็ไม่ชื่อว่าเป็นพุทธบุตร
    ตราบใดที่ใจยังมีความรัก ก็ชื่อว่ามีเชื้อแห่งโรคประสาท เชื้อแห่งความบ้าอยู่อย่างพร้อมมูลทีเดียว
    เรื่องที่ไม่มีเหตุผลที่สุดก็เกิดขึ้นได้ สิ่งที่ไม่น่าเป็นไปได้ที่สุดก็เป็นไปได้
    จงอย่าทำความรู้สึกว่ามีตัวเราที่เป็นผู้ชายคนหนึ่งขึ้นมาอย่างเด็ดขาด
    ผู้ที่อยากดัง อยากเด่น อยากเจริญรุ่งเรือง มีเกียรติ มียศ คือคนโง่เขลา
    ในลาภนั่นแหละมีความเสื่อมลาภอยู่ด้วย ในยศนั่นแหละมีความเสื่อมยศอยู่ด้วย ในสรรเสริญนั่นแหละมีนินทาอยู่ด้วย ในสุขนั่นแหละมีทุกข์อยู่ด้วย ในความเจริญนั่นแหละมีความเสื่อมอยู่ด้วย
    การยินดี ยินร้าย ดีใจ เสียใจ สมหวัง ผิดหวัง มีอยู่แต่ผู้มีอวิชชาเท่านั้น ส่วนผู้รู้แจ้งเห็นจริงในธรรมชาติของโลก จะไม่หวั่นไหว ยินดี ยินร้าย ไปกับทุกสิ่งในโลกเลย
    จงฝากจิตไว้กับสติปัฏฐาน อย่าฝากไว้กับใคร
    ถ้าหากเสียใจ น้อยใจ เมื่อถูกเค้าหลอก ถูกเค้าลวง แสดงว่าจิตใจยังต่ำทราม อ่อนแอ อยู่มาก
    จงทำจิตให้มั่นคงอย่างภูผาหิน ที่ไม่หวั่นไหวด้วยแรงลม
    ในความเสื่อมลาภนั่นแหละมีลาภอยู่ด้วย ในความเสื่อมยศนั่นแหละมียศอยู่ด้วย ในนินทานั่นแหละมีสรรเสริญอยู่ด้วย ในทุกข์นั่นแหละมีสุขอยู่ด้วย ในความเสื่อมนั่นแหละมีความเจริญอยู่ด้วย
    ผู้ที่ขวนขวายแสวงหาความสุขทางกายคือผู้ประมาท
    ขอเราจงอย่าได้ประมาท อย่าได้เกียจคร้านในการเจริญสติเลย จะได้สามารถทำให้อารมณ์ทุกอย่าง จบที่จิตเรา ไม่ไปทำให้คนอื่นเดือดร้อนได้
    ผู้ที่ชอบวาดวิมานในอากาศเป็นคนโง่เขลา
    การที่เราถูกข่มเหงรังแกนั้นดีแล้ว เพราะจะเป็นการฝึกฝนให้คุ้นเคยต่อการที่จะต้องถูกพระยามัจจุราชข่มเหงรังแกในอนาคตอันใกล้นี้
    จงยอมแพ้กิเลสผู้อื่นอย่างหมอบราบคาบแก้ว แต่จงอย่ายอมแพ้กิเลสของตัวเอง
    ผู้ที่วาดภาพปรุงแต่งอนาคตเอามายินดียินร้าย คือคนโง่เขลาเบาปัญญา
    อดีตคือสิ่งที่ดับสูญสิ้นไปโดยไม่เหลือแล้ว จะไปเอามาคิดทำไม
    ตัวเราจริงๆ ไม่มี มีแต่ตรงที่ยึดมั่นเอามาแบกเป็นอุปาทานเท่านั้น
    อย่าคาดเดาปรุงแต่งว่าจะได้อะไรหรือจะเสียอะไร
    อดีตก็ดับไปหมดแล้ว อนาคตก็ไม่รู้จะเป็นอย่างไร เพราะฉะนั้น จงมีสติอยู่แต่ปัจจุบันเท่านั้นเถิด
    จะหวังอะไร จากสิ่งที่ไม่ให้เราหวัง
    ถ้าจะไปนิพพาน ต้องทิ้งให้หมด ทั้งบุญ ทั้งฤทธิ์ ทั้งเกียรติยศ ชื่อเสียง
    เราจะเป็นคนไร้สมรรถภาพ ไร้ความสามารถ ในกิจการต่างๆ แต่ว่าสามารถละทิ้งโลกนี้ไปได้ หรืออยากจะเป็นผู้มีเกียรติ มีเดช มีฤทธิ์ มีความสามารถ มีคนยกย่อง เคารพ สรรเสริญ บูชา แต่ต้องจมปลักอยู่ในโลกใบนี้อย่างถอนตัวไม่ขึ้น
    หน้าที่ของเราคือการไม่หวั่นไหวต่ออดีตสัญญา
    ตราบใดที่ยังเห็นเป็นผู้หญิงผู้ชายอยู่ ตราบนั้นจะยังไม่หมดกามฉันทะไปได้
    เราไม่ใช่กายนี้ กายนี้ไม่ใช่เรา
    หน้าที่ของเราคือการเผชิญสิ่งทั้งปวงโดยไม่หวั่นไหว ไม่ใช่หลบหนีสิ่งทั้งปวง
    แค่เห็นเป็นคนสัตว์หญิงชาย ก็เป็นความโง่พออยู่แล้ว ยังไปแยกเป็นสวยเป็นขี้เหร่ เป็นของเราเป็นของเขาอีก นั่นก็คือความบ้านั่นเอง
    เราไปอยู่ในโลกที่ไม่มีผู้หญิงผู้ชายดีกว่า
    เราบวชมาเพื่อแสวงหาดวงจิตที่ไม่หวั่นไหวในเวลาได้และเสีย ไม่ได้บวชมาเพื่อแสวงหาเงินทอง
    เราเกิดมาเพื่อเห็นอุปสรรคในโลก ไม่ใช่เพื่อพบความสะดวกสบายในโลก
    เราจะต้องค้นพบให้ได้ว่าสถานที่ที่น่าอยู่ในโลกนี้ ไม่มีเลย แม้เท่าแมวดิ้นตาย
    คนรวยหรือคนจนอย่าดูกันที่เงิน ให้ดูกันที่ใจ ถ้าใจอิ่มก็รวย ถ้าใจหิวก็จน
    เลิกคิดเสียทีว่าเราอยู่ขั้นไหนและจะไปขั้นไหน
    สำเร็จก็เท่านั้น ล้มเหลวก็เท่านั้น ได้ก็เท่านั้น เสียก็เท่านั้น
    วาสนาบารมีของแต่ละคนมันสร้างมาต่างกัน ฉะนั้นจงอย่าไปอยากได้ในสิ่งที่คนอื่นเค้าได้
    เราจะได้สิ่งต่างๆ ตามแต่วาสนาเท่านั้น ถ้าสิ่งใดไร้วาสนาจะได้ ก็อย่าไปหวังเลย ส่วนสิ่งใดถ้ามีวาสนาจะได้ ถึงเวลาอันสมควรจะได้เอง ไม่ต้องร้องขอ ไม่ต้องรอคอย
    เราหวังที่จะมาครอบครองสมบัติในโลกนี้ จึงพบแต่ความเดือดร้อน ผิดหวัง และคราบน้ำตา
    ความเสื่อมลาภนั่นแล เป็นมิตรแท้ของเรา
    ผู้ที่ไม่ยอมรับความพ่ายแพ้ จะต้องเดือดร้อนอย่างแสนสาหัส
    เลิกเห็นว่าตนเองเป็นคนสำคัญเสียที
    ถ้าดีใจที่มีมิตร จะเสียใจเมื่อพบศัตรู
    แพ้ชนะ มันเป็นเรื่องของโลกเขา ส่วนธรรม ไม่มีแพ้ ไม่มีชนะ
    ลาภ ยศ เกียรติ สรรเสริญ อำนาจ วาสนา มีเพื่อกายนี้ ในเมื่อกายนี้ไม่ใช่ของเราแล้ว สิ่งเหล่านี้มีค่าอะไร
    เราเป็นคนธรรมดาที่ไม่ต้องมีอะไรวิเศษเลยไม่ได้หรือไง
    ในเมื่อโลกนี้ ผู้ที่มีมุทิตาจิต พลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีมีน้อย ฉะนั้นเราต้องฝึกตัวเองให้ทนทานต่อการถูกอิจฉาริษยาให้ได้
    เราจะมาเอาสิ่งที่พระพุทธเจ้าทิ้ง หรือสิ่งที่พระองค์แสวงหา
    ที่เราเป็นทุกข์อยู่ เพราะว่า "เจ็บแล้วไม่จำ สละไม่จริง ทิ้งไม่ขาด" นั่นเอง
    ความต้องการที่อยากให้คนอื่นมีความคิดเห็นเหมือนเรานั้น เป็นความต้องการของคนโง่
    ผู้ที่โด่งดังที่สุด คือผู้ที่ไม่มีใครรู้จัก ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือผู้ที่ไม่มีใครเกรงขาม
    อวิชชามันแต่งตั้งให้เราเป็นผู้ชายคนหนึ่ง ซึ่งต้องการและต้องแสวงหาผู้หญิงมาเป็นคู่ ดวงจิตที่โง่เขลาก็เชื่อตามอย่างไม่ลืมหูลืมตา ช่างน่าสังเวชเหลือประมาณ
    จะมัวแบ่งเป็นหญิงเป็นชายทำไมอีก
    ทุกครั้งที่มองเห็นเป็นหญิงเป็นชาย ก็เหมือนย่างกรายเข้าสู่ขุมนรกที่แสนเร่าร้อนเจ็บปวด
    ร่างกายคนประกอบมาจากสิ่งที่เรารังเกียจทั้งสิ้น ยังจะเก็บเอามาใฝ่ฝันอีกหรือ
    ในเมื่อของมันเร่าร้อน จะเอามาจับมาถือ มาแบกมากอดรัดเอาไว้ทำไม ทิ้งมันไปเสียเลย ทิ้งได้ไวเท่าไหร่ยิ่งดี
    ความโง่ความบ้าในอดีต จงถือเอาเป็นบทเรียนที่จะไม่ทำอีก ไม่ใช่เก็บเอามาทุกข์ทนหม่นไหม้
    ทุกคนมันผิดพลาดกันได้
    ไม่มีสิ่งใดผิดเลย นอกจากเรามีความต้องการมากเกินไป
    ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ ล้วนแล้วแต่พอดีทั้งนั้น ยกเว้นแต่ใจเราที่ไม่รู้จักพอดี
    เวลาต้องการก็จะไปเที่ยวแสวงหามาให้ได้ เวลาเบื่อก็จะหนีไปให้ไกลแสนไกล อย่างนี้เป็นลักษณะของคนบ้า
    จบธรรมภาษิตตอน "เขียนในป่าช้าจีน"

    บันทึกเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๔ ณ ป่าช้าจีนแห่งหนึ่งที่จังหวัดภูเก็ต ความดีและบุญกุศลของธรรมะชุดนี้ ขอถวายบูชาบุพพการีชนของข้าพเจ้าที่ผ่านมาทุกภพทุกชาติ ส่วนข้อบกพร่อง ข้าพเจ้าขอรับผิดแต่เพียงผู้เดียว

    ธรรมภาษิตที่ข้าพเจ้าเป็นผู้บันทึกทั้งหมดไม่สงวนลิขสิทธิ์

    ด้วยความนับถือ
    จาก พระชุมพล พลปฺโ
     
  17. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    ดับทุกข์-ทุกข์ดับ ที่...“อารามแห่งความดับทุกข์”


    ปัจจุบันมีวัดร้างอยู่เป็นจำนวนมาก หลายแห่งกลายเป็นเพียงสถานที่ซึ่งมีไว้เพียงท่องเที่ยวเพื่อให้ระลึกถึงความยิ่งใหญ่ของพระพุทธศาสนาเมื่อครั้งที่เคยรุ่งเรือง

    ขณะที่แนวโน้มของพระภิกษุในประเทศไทยได้ลดจำนวนลงไปจากปีละ ๓ แสนรูป เหลือเพียงแสนกว่ารูป บางส่วนเบี่ยงเบนทางเพศ บางส่วนเป็นพระที่ศึกษาเพื่อเตรียมจะสึกออกไปทำงานประกอบอาชีพในทางโลก บางส่วนเตรียมสึกไปแต่งงาน นี่คือสถานการณ์ของพระพุทธศาสนาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

    ท่านผู้รู้และปฏิบัติชอบท่านหนึ่ง แสดงทัศนะเอาไว้ว่า

    “ที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจากพระส่วนหนึ่งไม่มีความรู้ในพระธรรม จึงไม่สามารถครองตนรักษาศีลอย่างบริสุทธิ์ได้ ซึ่งสวนทางกับฆราวาสที่อยู่ในยุคที่ต้องการไขว่คว้าหาธรรมะดีๆ มาเป็นตัวช่วยในการนำทางชีวิต ดังนั้น สงฆ์ไม่ว่าพระภิกษุหรือพระภิกษุณี ที่ถือเอาการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เดินตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างเคร่งครัด น่าจะเป็นที่พึ่งในยามยากให้แก่ชาวบ้านได้ดีในยามนี้”

    สถานปฏิบัติธรรมแห่งหนึ่งที่จะเขียนถึง คือ “สำนักปฏิบัติธรรมนิโรธาราม” ต.ดอยแก้ว อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ อันมีความหมายเป็นมงคลว่า “อารามแห่งความดับทุกข์”

    โดยมีวัตถุประสงค์หลักของการก่อตั้งสำนักมี ๒ ประการ คือ
    (๑) เพื่ออนุเคราะห์แก่สตรีที่ตั้งใจมาดำเนินชีวิตบนวิถีแห่งศีล สมาธิ ปัญญา ตามรอยพระพุทธเจ้า โดยมี “ท่านภิกษุณีนันทญาณี” เป็นผู้อบรมสั่งสอนตามพระพุทธพจน์ และ

    (๒) เพื่อรองรับผู้ปฏิบัติธรรมจากหน่วยงานราชการ เอกชน และผู้สนใจใฝ่ธรรมทั่วไป ที่ได้ติดต่อขอเข้ารับการอบรมธรรมะ ทั้งในรูปแบบค่ายอบรม และเข้ามาปฏิบัติเป็นการส่วนตัว


    ภิกษุณีนันทญาณี (อดีตแม่ชีรุ้งเดือน สุวรรณ)


    สำนักปฏิบัติธรรมนิโรธาราม ประกอบไปด้วยภิกษุณี, สามเณรี, แม่ชี และอุบาสิกาประจำ ฯลฯ ถือเป็นธรรมสถานแห่งแรกของประเทศไทยที่มีนักบวชสตรีอยู่ร่วมกันเป็นคณะสงฆ์ โดยหากเป็นภิกษุณีจะถือศีล ๓๑๑ ข้อ ส่วนสามเณรีนั้นถือศีล ๑๐ ข้อ ทั้งหมดยึดถือการปฏิบัติตนตั้งอยู่ในศีล ภาวนา สมาธิ อย่างเคร่งครัด ฉันอาหารมังสวิรัติวันละมื้อเดียว ไม่สวมใส่รองเท้า ไม่ใช้เงิน และฝึกฝนการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ มีวิถีชีวิตในแบบกินง่ายอยู่ง่าย เน้นความสมถะ ไม่เบียดเบียน มุ่งศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าจากพระไตรปิฎกเพื่อการพ้นทุกข์ โดยมี “ภิกษุณีนันทญาณี” หรือ “อดีตแม่ชีรุ้งเดือน สุวรรณ” เป็นประธานภิกษุณีสงฆ์

    จากที่ได้เข้าร่วมค่ายปฏิบัติธรรมเป็นระยะเวลา ๕ วัน ระหว่างวันที่ ๑๖-๒๐ มีนาคม ๒๕๕๒ ร่วมกับกลุ่มนักศึกษาชายหญิงของคณะอุตสาหกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กว่า ๑๐๐ ชีวิต และยังมีผู้เข้าร่วมปฏิบัติธรรมอีกหลากหลายอาชีพ ที่เดินทางเข้ามาเพื่อศึกษาหาความรู้ทางธรรมเป็นการส่วนตัวอีกจำนวนหนึ่ง ท่ามกลางบรรยากาศของสถานที่ซึ่งสงบร่มรื่นและเป็นใจอย่างยิ่ง กับความตั้งใจมาใฝ่ดีให้สัมฤทธิผล

    การเข้ามาปฏิบัติธรรมที่สำนักปฏิบัติธรรมนิโรธารามนั้น สิ่งที่ผู้ปฏิบัติธรรมควรเตรียมมา คือ ชุดสีขาว และของใช้ตามจำเป็น เช่น ไฟฉาย รองเท้าแตะ และของใช้ส่วนตัว สำหรับทำความสะอาดร่างกายเท่านั้น ส่วนสิ่งฟุ่มเฟือย หรือเครื่องสำอาง เครื่องประดับต่างๆ ให้งดเว้น

    ในฐานะผู้ไม่เคยเข้าร่วมปฏิบัติธรรมมาก่อน ได้เคยผ่านเข้ามาสอบถามกับภิกษุณีปัญญาวรี ที่สำนักปฏิบัติธรรมนิโรธารามครั้งหนึ่ง ท่านตอบสั้นๆ เพียงว่า “การมาปฏิบัติธรรมในที่แห่งนี้ เตรียมแต่ชุดขาวมาก็พอ แต่หากไม่มีก็ไม่เป็นไร วัดมีให้ ขอเพียงให้เตรียมใจมาปฏิบัติธรรมก็พอแล้ว”

    อย่างไรก็ตาม การเปิดค่ายปฏิบัติธรรมของ “สำนักปฏิบัติธรรมนิโรธาราม” นั้น จะไม่มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายใดๆ ไม่ว่าจะเป็นค่ากิน-อยู่ หรือค่าวิทยากร กับผู้เข้าปฏิบัติธรรม ที่ผ่านมาหากหน่วยงานใดจะติดต่อเข้ามาขอเปิดค่ายปฏิบัติธรรม ทางภิกษุณีนันทญาณีจะจัดสรรเวลาในการเปิดอบรมให้ แต่ในส่วนของค่าใช้จ่ายในเรื่องอาหารการกิน การจัดการค่าย โดยใช้สถานที่ของนิโรธารามนั้น หน่วยงานผู้ร้องขอจัดค่ายจะเป็นฝ่ายดูแลจัดการค่าใช้จ่ายเอง ทั้งเรื่องการจัดจ้างแม่ครัวและค่าอาหาร วัดเพียงแต่มอบหมายให้นักบวชสตรีเข้ามาดำเนินการบรรยาย อบรมการปฏิบัติธรรมะ และให้โดยไม่รับค่าตอบแทน

    ส่วนเมื่อเข้ามาอยู่ร่วมค่าย หรือเป็นผู้ปฏิบัติธรรมที่นิโรธารามแล้ว ผู้นั้นจะต้องรักษาศีล ๘ คือ งดเว้นไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ละเมิดประพฤติผิดในกาม ไม่พูดปด ไม่ดื่มสุราเมรัย และเพิ่มเติมข้อปฏิบัตินอกเหนือจากศีล ๕ ขึ้นมาอีก คือ งดเว้นการร้องรำทำเพลง-ดูมหรสพ และฮัมเพลง งดเว้นนอนบนฟูก หรือที่นอนหมอนสูง งดเว้นการใช้เครื่องสำอาง แป้ง ของหอมทุกชนิด และงดสวมใส่เครื่องประดับต่างๆ



    กิจวัตรประจำวันของผู้ปฏิบัติธรรม ประกอบด้วย การสวดมนต์ทำวัตรเช้าเย็นร่วมกับนักบวช ฝึกภาวนาด้วยการเดินจงกรม นั่งสมาธิ บริโภคอาหารมังสวิรัติสองมื้อ คือ เวลา ๐๗.๐๐ น. และ ๑๑.๓๐ น. โดยงดรับประทานอาหารขบเคี้ยวทุกชนิด หลังเวลา ๑๒.๐๐ น. เป็นต้นไป

    ตารางชีวิตในสถานธรรมแห่งนี้ คือ การตื่นนอน ๐๓.๓๐-๐๔.๐๐ น. และเข้านอนไม่เกิน ๒๔.๓๐ น. ห้ามส่งเสียงดัง และทำความเพียรด้วยการช่วยเหลือทำความสะอาดวัดตามสมควร

    กรณีของผู้ปฏิบัติธรรมที่เป็นชาย นิโรธารามจะอนุญาตให้เข้ามาปฏิบัติธรรมภายในวัดได้แบบไปกลับ แต่จะอนุญาตให้ค้างแรมในวัดได้ เฉพาะช่วงที่มีการเปิดค่ายปฏิบัติธรรมเท่านั้น

    สำหรับตัวอย่างของการบรรยายธรรม ที่ภิกษุณีนันทญาณีได้สอนเรื่องความจริงไว้ว่า “ร่างกายเป็นเพียงกองดินน้ำลมไฟ ประกอบไปด้วยถุงทุกข์ เช่น ถุงเลือด ถุงขี้ ถุงน้ำเลือด ถุงน้ำเหลือง ที่ต้องคอยดับทุกข์ด้วยการกิน ด้วยการถ่าย ไม่ควรยึดติด สุดท้ายก็ต้องตาย ดังนั้นไม่ควรไปยึดติด ไม่ควรไปยึดถือ ไม่ควรหลงใหลว่าเป็นของเรา

    เมื่อชีวิตของทุกๆ คนเป็นถุงดินน้ำไฟลม เป็นถุงขี้ซึม และเป็นถุงทุกข์ ที่ต้องคอยดับทุกข์ ดังนั้นจึงไม่จำเป็นที่เราจะต้องมานั่งผ่อนบ้านราคาแพงๆ เพื่อให้ถุงขี้ซึมได้อยู่ หรือให้ถุงขี้ซึมต้องไปนั่งอยู่ในรถวอลโว่ราคาแพงๆ”
    ภิกษุณีนันทญาณี อธิบายและยกตัวอย่างจนทำให้หลายคนเห็นภาพ

    นอกจากการเตือนสติให้เรามองกายเป็นเพียงกองดินน้ำไฟลม เพื่อที่จะไม่ต้องไปยึดติดว่า กายเป็นของเรา ภิกษุณีนันทญาณีและคณะนักบวชสตรีของนิโรธาราม ยังงดเว้นการบริโภคเนื้อสัตว์ แต่บริโภคมังสวิรัติวันละมื้อเดียว เพื่อละเว้นการเบียดเบียนสัตว์ พร้อมกับยกตัวอย่างว่า

    “หากใครกินกุ้งเต้น วันหนึ่งก็อาจจะต้องประสบเคราะห์กรรมเหมือนกุ้ง คือไปเต้นในซานติก้าผับ”


    ที่มาของภาพ : Nirotharam.com :


    เรื่อง - ภาพ... “ขวัญดาว จิตรพนา”
    หนังสือพิมพ์คมชัดลึก ศูนย์ข่าวเชียงใหม่

    .....................................................
    ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว





    เมื่อ: 13 พ.ค. 2009, 21:48



    อมิตาพุทธ
    Moderators-2

    ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ม.ค. 2009, 02:20
    โพสต์: 1348

    ที่อยู่: สัพพะโลก




    สาธุครับ


    .....................................................
    เวไนยสัตว์มิอาจประมาณ ปณิธานขอฉุดช่วย.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 3 มีนาคม 2013
  18. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    ทรงกลด:
    กายคตานุสติ 5/8

    ส่วนใหญ่ที่เราเห็น ที่เราพบคือ เขาทำการขัดสีฉวีวรรณมาดีแล้ว เราก็คิดว่าสะอาด เขาเอาน้ำอบ น้ำหอม มากลบกลิ่นเหม็นของร่างกาย เราก็ไปชอบกลิ่นนั้น เอาเสื้อผ้ามาปิดมาบังในร่างกาย เราก็ไปชอบความสวยของเสื้อผ้านั้นๆ
    ถ้าเราลองเอาเสื้อผ้าออก เอาหนังออก ถลกไปถึงเนื้อ อวัยวะภายใน มันจะไม่มีอะไรเป็นสาระ เป็นแก่นสาร มีแต่เลือด น้ำเหลือง ไขมัน เนื้อ เส้นเอ็น กระดูก เส้นเลือด เส้นประสาท
    สภาพความเป็นจริงของร่างกาย มันเป็นอย่างนี้ ตัวเราก็เป็นอย่างนี้ คนอื่นก็เป็นอย่างนี้ ผู้หญิงก็เป็นอย่างนี้ ผู้ชายก็เป็นอย่างนี้ สัตว์ทั้งหลายก็เป็นอย่างนี้ มีแต่ความสกปรกเป็นปกติ
    แล้วร่างกายก็ยังมีกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งบรรจุเต็มไปด้วยน้ำปัสสาวะ มีลำไส้ใหญ่ที่ประกอบไปด้วยกากอาหารคืออุจจาระ ทั้งหมดที่เรากินลงไปดีๆ แท้ๆ แต่พอผ่านการย่อยสลายเหลือกากออกมาแล้ว บางทีถ่ายออกมาเหม็นไปสามบ้านแปดบ้าน

    เราเองเคยนึกถึงตรงนี้ไหม ? เออ ถ้าเป็นเพศตรงข้าม หน้าตาสวยๆ หล่อๆ แต่เวลาเข้าส้วมทีเหม็นไปสามบ้านแปดบ้าน มันมีอะไรให้น่าใคร่ น่ายึดถือ สภาพความเป็นจริงของมันเห็นๆ อยู่ แต่ว่าทุกคนก็พยายามปิดบังมัน
    สภาพร่างกายของเรานี้ มันเหมือนกับถุง ที่บรรจุเอาไว้ด้วยของสกปรก พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า เหมือนกับถุงที่บรรจุไปด้วยเมล็ดพันธุ์พืชต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นข้าว เป็นถั่ว เป็นงา ถึงวาระมัดปากถุงเอาไว้ ก็เห็นว่าถุงมันสวยงาม
    แต่พอเปิดถุงเทออกมา ให้เห็นความจริงว่า ข้างในเป็นข้าว ข้างในเป็นถั่ว ข้างในเป็นงา สิ่งที่ไปยึดไปถือว่าถุงนั้นสวยก็ไม่มี คราวนี้นั่นมันเป็นเพียงพืช เป็นข้าว เป็นถั่ว เป็นงา แล้วถุงที่เราอาศัยมันอยู่นี้ มันไม่ใช่ธัญพืช
    มันประกอบไปด้วยเลือด ด้วยเนื้อ ด้วยน้ำเหลือง น้ำหนองต่างๆ ด้วยอุจจาระ ด้วยปัสสาวะ มีแต่ความเหม็นเน่า มีแต่ความสกปรกเป็นปกติ ถ้าหากว่าเราเปิดถุงไถ้นี้ออกมา เราก็จะวิ่งหนี เพราะทนความโสโครกของมันไม่ได้
    ยังไม่ทันจะตายเลย มันก็เน่าแล้ว มันก็เหม็นแล้ว ร่างกายที่ประกอบไปด้วยทวารทั้ง ๙ มีแต่ความสกปรก หลั่งไหลออกมาทุกวัน ถ้าไม่ดูแล ไม่อาบน้ำ ไม่ขัดสีฉวีวรรณ ไม่ล้าง ไม่ชำระมัน แม้กระทั่งเราเองก็ทนไม่ได้
    สิ่งสกปรกทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นอุจจาระ ปัสสาวะ ก็ดี ขี้หัว ขี้หู ขี้ตา ขี้ฟัน ขี้ไคล อะไรก็ตาม ถึงเวลาถ้ามันกองอยู่ตรงหน้า เราก็รังเกียจ ทนมันไม่ได้ หนีมันไปเสีย หลีกมันไปเสีย แล้วลองนึกดูว่า ในร่างกายของเรา ก็มีสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ แล้วเรายังจะไปยินดี อยากมีอยากได้ในมันอยู่อีกหรือ ?
    ร่างกายของคนอื่น ของสัตว์อื่นก็เป็นอย่างนี้ ไม่ว่าหญิง ไม่ว่าชาย ก็เป็นอย่างนี้ เรายังจะไปยินดีมันอีกหรือ ? ยังไปอยากได้มันมา ประคับประคองเอาไว้อยู่หรือ ?
    ลักษณะของมัน ก็คือถุงที่บรรจุเอาไว้ด้วยขี้และเยี่ยว คืออุจจาระปัสสาวะนั่นเอง แล้วมันก็ซึมออกมานอกถุงอยู่ตลอดเวลา ส่งความเหม็นอยู่ตลอดเวลา เรายังอยากได้มันอยู่อีกหรือไม่ ? ยังต้องการมันอยู่หรือไม่ ?

    ที่มา
    http://www.grathonbook.net/book/grammathan40/05.html

    ทรงกลด:
    กายคตานุสติ 6/8

    เกิดมาเมื่อไร ก็มีแต่ร่างกาย ที่สกปรกโสโครกอย่างนี้ เกิดมาเมื่อไร ก็จะพบคนพบสัตว์ ที่มีแต่ความสกปรกโสโครกอย่างนี้ ถ้าหากว่าเราไม่ต้องการมัน ก็จงเลิกความปรารถนาในมัน
    ไม่ว่าจะเป็นร่างกายของตนเอง ร่างกายของคนอื่น ร่างกายของสัตว์อื่น เมื่อไม่ปรารถนาในตัวตนของเรา ไม่ปรารถนาในตัวตนของผู้อื่น ก็ต้องไม่ปรารถนาในการเกิด เพราะว่าเกิดเมื่อไร เราก็ต้องพบกับมันอย่างนี้อีก
    มีแต่ร่างกายที่สกปรกโสโครก หาความดีไม่ได้ อยู่ไปก็มีแต่ความทุกข์ เพราะว่าร่างกายคือรังของโรค มีความทุกข์เป็นปกติ มีความสกปรกเป็นปกติ เป็นสมบัติของโลกนี้ ในเมื่อมันเป็นสมบัติของโลก ถึงวาระถึงเวลาก็ต้องคืนให้กับโลกไป
    มันพยายามที่จะทวง ที่จะดึง ที่จะเอาคืนอยู่ตลอดเวลา คือมันทรุดโทรมไปตลอดเวลา หมดสภาพลงไปตลอดเวลา นี่คือความไม่เที่ยงของมัน ถ้าเราไปยึดถือมั่นหมาย หวังจะให้มันดี หวังจะให้มันทรงตัว มันไม่เป็นไปตามนั้น เราก็มีแต่ความทุกข์

    ในเมื่อเราเห็น สภาพความเป็นจริงแล้ว ว่าร่างกายนี้มันไม่เที่ยง มันเป็นทุกข์ ไม่มีอะไรยึดถือมั่นหมายได้ ท้ายสุดสภาพร่างกาย ที่สกปรกโสโครกนี้ มันก็ยังตาย ยังพัง ยังเน่าเปื่อย ผุพังเป็นดินไป
    ไม่เหลืออะไรไว้เลย กลายเป็นดิน น้ำ ลม ไฟ คืนให้กับโลกไป สภาพของเราก็ดี ของเขาก็ดี ของคนหรือสัตว์ก็ตาม เกิดขึ้นในเบื้องต้น เปลี่ยนแปลงไปในท่ามกลาง สลายไปในที่สุดดังนี้ ไม่มีอะไรยึดถือมั่นหมายได้
    เกิดใหม่เมื่อไร ก็เป็นอย่างนี้เมื่อนั้น ดังนั้น ขึ้นชื่อว่าการเกิดใหม่ ไม่ควรจะมีสำหรับเราอีก เราก็เอาใจเกาะพระนิพพานเข้าไว้ ตั้งใจว่า เราตายเมื่อไร ขอไปพระนิพพานแห่งเดียว ตายเมื่อไร ขึ้นชื่อว่าการเกิดมา มีร่างกายแบบนี้ จะไม่มีสำหรับเราอีก การเกิดมาในโลก ที่ทุกข์ยากเร่าร้อนนี้ ไม่มีสำหรับเราอีก ตั้งใจว่า ตายแล้วเราขออยู่พระนิพพานแห่งเดียว
    เอาใจเกาะพระนิพพานให้มั่นคง ภาวนาให้อารมณ์ทรงตัว ก็ขึ้นชื่อว่าเราปฏิบัติในกายคตานุสติกรรมฐาน ตามที่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า สอนเรามา
    ถ้าเรารู้แจ้งเห็นจริง สภาพจิตของเรายอมรับว่า ร่างกายนี้ ไม่มีอะไรเป็นเรา เป็นของเรา ขึ้นชื่อว่าการเกิด เราไม่พึงปรารถนา ขึ้นชื่อว่าร่างกายนี้ โลกนี้ เราไม่พึงปรารถนา เราก็จะได้อยู่ในพระนิพพานจริงๆ
    ให้รักษาอารมณ์ใจอย่างนี้ไว้ ให้อยู่กับเราให้ได้ ทุกวัน ทุกเวลา เมื่อถึงวาระ ถึงเวลา เราจะได้ก้าวพ้นความเกิด ไปอย่างที่เราต้องการ เราจะได้อยู่ในพระนิพพานอย่างที่เราต้องการ ?

    พระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
    วันเสาร์ที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๔๗

    ที่มา
    http://www.grathonbook.net/book/grammathan40/05.html

    ทรงกลด:
    กายคตานุสติ 7/8
    หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=uu6nUsfTfok]กายคตานุสสติ (11/18) หลวงพ่อฤาษีลิงดำ - YouTube[/ame]

    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=uu6nUsfTfok&feature=player_embedded]กายคตานุสสติ (11/18) หลวงพ่อฤาษีลิงดำ - YouTube[/ame]


    ทรงกลด:
    เจริญกายคตานุสสติ

    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=gqkPiOJqRG8]เจริญกายคตานุสสติฯ.wmv - YouTube[/ame]

    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=gqkPiOJqRG8]เจริญกายคตานุสสติฯ.wmv - YouTube[/ame]



    Noname:
    ธรรมมมะของพระพุทธเจ้านั้นถ้าเราท่านทั้งหลายสนใจศึกษานั้นจะรู้ว่าไม่ใช่เรื่องยากจนเกินไป
    ที่จริงสำหรับเราท่านทั้งหลายที่เป็นชาวพุทธก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติที่เราจะต้องทำในเรื่องศีลสมาธิปัญญา
    พระพุทธเจ้าทรงสอนว่าบุคคลจะล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียรและการปฏิบัตินั้นก็เป็นของเฉพาะตน
    รู้ได้เฉพาะตนสภาวะธรรมที่เกิดขึ้นในขณะต่างๆนั้นก็รู้ได้เฉพาะบุคคลแต่เป็นของจริงปฏิบัติเกิดผลได้จริง
    และสภาวะธรรมบางอย่างยังเห็นผลเป็นอัศจรรย์เกิดขึ้นได้จริงๆถ้าเราดำเนินตามรอยบาทพระศาสดาแล้ว
    ทางดับทุกข์นั้นก็จะเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอนและยังมีธรรมมะหลายประการที่สามารถนำมาใช้ได้ในชีวิตของเราเช่น
    เราใช้แค่ธรรมที่มีอุปการะมาก คือ สติ และ สัมปะชัญญะ ก่อน คิดก่อนทำก่อนพูด ขณะคิดขณะทำขณะพูด
    เช่นนี้ก็ง่ายมากมากหากเรามีสติพิจารณาตามธรรมข้อนี้ก็จะส่งผลดีให้เราในด้านต่างๆที่จะตามมา
    หรือเราจะใช้แนว
    ทางมรรค8ก็ได้ทุกๆอย่างก็สอดคล้องเชื่อมโยงกันทั้งสิ้นและธรรมอันใดหล่ะที่ยิ่งใหญ่
    จะเป็นธรรมที่ดับทุกข์โดยสิ้นเชิงธรรมนั้นพระพุทธองค์ก็ทรงสอนไว้ว่าให้เราดำเนินไปถึงพระนิพพานคือความดับทุกข์โดยสิ้นเชิง
    จึงจะสามารถพ้นจากวัฏจักรสังสารวัฏไปได้คือหยุดการเวียนว่ายตายเกิดจบชาติภพนั่นเองเพราะทุกๆอย่างไม่มีอัตตามีแต่อนัตตา
    ถ้าเราละให้ได้ในความยึดมั่นถือมั่นแล้วชีวิตเราก็จะเป็นสุขได้หากเรามีธรรมมะประจำใจในการดำรงชีวิต...
     
  19. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=b-oO37YDFD8]ศีล ภาวนา [ 1/5 ] www.nirotharam.com - YouTube[/ame]​
     
  20. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...