ความหมายของพุทธภูมิ ปัจเจกภูมิ สาวกภูมิ

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย ธนานุวัตร, 30 กรกฎาคม 2008.

  1. no-ne

    no-ne เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    1,199
    ค่าพลัง:
    +3,381
    ขออนุโมทนาสาธุ อ่านจบแล้วทำให้ได้เข้าใจขึ้นมากค่ะ
     
  2. mr.khajit

    mr.khajit สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    22
    ค่าพลัง:
    +27
    ตรงกับตนเองเลยครับ..............
     
  3. Rorschach

    Rorschach สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    38
    ค่าพลัง:
    +15
    อนุโมทนาสาธุครับ
    ขออนุญาตินำไปเผยแพร่ต่อเป็นธรรมทานครับ
     
  4. alicedong

    alicedong สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +4
    thanks for ur sypathy.i love u....
     
  5. คนรักชาติ

    คนรักชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    197
    ค่าพลัง:
    +181
    [​IMG]
    ขอบารมีพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ พระอริยะทุกพระองค์ พระโพธิสัตย์ทุกพระองค์โดยมีบุญบารมีของหลวงปู่ดู่และหลวงปู่ทวดเป็นที่สุดช่วยดลบันดาลให้จิตข้าพเจ้าฝากกระแสจิตไว้กับบุญบารมีของผู้โพสกระทู้ ผู้อ่านกระทู้ และผู้ตอบกระทู้ ข้าพเจ้าอยากมีส่วนร่วมกับบุญบารมีของพวกท่านทั้งบุญบารมีในอดีต ปัจจุบัน และอนาคตนับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
    พุทธังอนันตัง ธัมมังจักรวาลัง สังฆังนิพพานัง ปัจจะโยโหตุ
     
  6. ttt2010

    ttt2010 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,754
    ค่าพลัง:
    +905
    อนุโมทนาสาธุ บุญนี้ ขอยกให้กับเจ้าของกระทู้ที่นำข้อมูลข่าวสารดีๆมาเผยแพร่ความรู้ให้กับสมาชิกได้ทราบกันด้วยเทอญ...
    ttt2010 ศิษย์พระอาจารย์บุญยง อภิลาโส ภิกขุ

    _____________________________________________________
    แนะนำบุญ
    พิธีกรรมแก้ดวงชะตา (สำนักสงฆ์พรหมรังศรี) l ท่องวัดและศาสนสถานที่สำนักสงฆ์พรหมรังศรี<!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     
  7. วงค์สิงห์

    วงค์สิงห์ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    35
    ค่าพลัง:
    +10
    ขอบคุณครับ..
    ได้ความกระจ่างดี...
     
  8. makcloud

    makcloud เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2009
    โพสต์:
    424
    ค่าพลัง:
    +535
    ขอบคุณมากนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มีนาคม 2012
  9. มดปลวก

    มดปลวก Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    26
    ค่าพลัง:
    +42
    เห็นด้วยกับคุณปรมิตร ครับ
    พระบรมศาสดาได้ประทานไว้ ในปัจเจกพุทธาปทาน ความว่า

    “...ในโลกทั้งปวงเว้นเราเสียแล้ว ไม่มีใครเสมอพระปัจเจกพุทธเจ้าได้เลย...”


    พระปัจเจกพุทธเจ้าสร้างบุญในพระพุทธเจ้าทั้งปวง ยังไม่ได้โมกขธรรมในศาสนาของพระชิน
    เจ้า ด้วยมุข คือ ความสังเวชนั้นแล ท่านเหล่านั้นเป็นนักปราชญ์
    มีปัญญาแก่กล้า ถึงจะเว้นพระพุทธเจ้าก็ย่อมบรรลุปัจเจกโพธิญาณได้
    แม้ด้วยอารมณ์นิดหน่อย ในโลกทั้งปวง เว้นเราแล้ว ไม่มีใครเสมอ
    พระปัจเจกพุทธเจ้าเลย เราจักบอกคุณเพียงสังเขปนี้ ของท่านเหล่านั้น
    ท่านทั้งหลาย จงฟังคุณของพระมหามุนีให้ดี ท่านทั้งปวงปรารถนานิพพาน
    อันเป็นโอสถวิเศษ จงมีจิตผ่องใส ฟังถ้อยคำดี อันอ่อนหวานไพเราะ
    ของพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณใหญ่ ตรัสรู้เอง คำพยากรณ์โดยสืบๆ
    กันมาเหล่าใด ของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายผู้มาประชุมกัน โทษ เหตุ
    ปราศจากราคะ และพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย บรรลุโพธิญาณด้วย
    ประการใด พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย มีสัญญาในวัตถุอันมีราคะว่า
    ปราศจากราคะ มีจิตปราศจากกำหนัดในโลกอันกำหนัด ละธรรมเครื่อง
    เนิ่นช้า การแพ้และความดิ้นรน แล้ว จึงบรรลุปัจเจกโพธิญาณ ณ สถานที่
    เกิดนั้นเอง ท่านวางอาญาในสรรพสัตว์ ไม่เบียดเบียนแม้ผู้หนึ่งในสัตว์
    เหล่านั้น มีจิตประกอบด้วยเมตตา หวังประโยชน์เกื้อกูล เที่ยวไปผู้เดียว
    เปรียบเหมือนนอแรด

    ฉะนั้น ท่านวางอาญาในปวงสัตว์ ไม่เบียดเบียน
    แม้ผู้หนึ่งในสัตว์เหล่านั้น ไม่ปรารถนาบุตร ที่ไหนจะปรารถนาสหาย
    เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด

    ฉะนั้น ความเสน่หาย่อมมีแก่บุคคล
    ผู้เกิดความเกี่ยวข้อง ทุกข์ที่อาศัยความเสน่หานี้มีมากมาย ท่านเล็งเห็น
    โทษอันเกิดแต่ความเสน่หา จึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด

    ฉะนั้น ผู้มีจิตพัวพัน ช่วยอนุเคราะห์มิตรสหาย ย่อมทำตนให้เสื่อมประโยชน์
    ท่านมองเห็นภัยนี้ ในความสนิทสนม จึงเที่ยวไปแต่ผู้เดียว เช่นกับนอแรด

    ฉะนั้น ความเสน่หาในบุตรและภรรยา เปรียบเหมือนไม้ไผ่กอใหญ่เกี่ยว
    กันอยู่ ท่านไม่ข้องในบุตรและภริยา ดังหน่อไม้ไผ่ เที่ยวไปผู้เดียว
    เช่นกับนอแรด

    ฉะนั้น ท่านเป็นวิญญูชนหวังความเสรี จึงเที่ยวไป
    ผู้เดียว เช่นกับนอแรด

    ฉะนั้น เหมือนเนื้อที่ไม่ถูกผูกมัด เที่ยวหาเหยื่อ
    ในป่าตามความปรารถนา ฉะนั้น ต้องมีการปรึกษากันในท่ามกลางสหาย
    ทั้งในที่อยู่ ที่บำรุง ที่ไป ที่เที่ยว ท่านเล็งเห็นความไม่โลภ ความเสรี
    จึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด

    ฉะนั้น การเล่น (เป็น) ความยินดี
    มีอยู่ในท่ามกลางสหาย ส่วนความรักในบุตรเป็นกิเลสใหญ่ ท่านเกลียด
    ความวิปโยคเพราะของที่รัก จึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด

    ฉะนั้น ท่านเป็นผู้แผ่เมตตาไปในสี่ทิศ และไม่โกรธเคือง ยินดีด้วยปัจจัยตามมี
    ตามได้ เป็นผู้อดทนต่อมวลอันตรายได้ ไม่หวาดเสียว เที่ยวไปผู้เดียว
    เช่นกับนอแรด

    ฉะนั้น แม้บรรพชิตบางพวก และพวกคฤหัสถ์ผู้ครองเรือน
    สงเคราะห์ได้ยาก ท่านเป็นผู้มีความขวนขวายน้อยในบุตรคนอื่น จึงเที่ยว
    ไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด

    ฉะนั้น ท่านปลงเครื่องปรากฏ (ละเพศ)
    คฤหัสถ์ กล้าหาญ ตัดกามอันเป็นเครื่องผูกของคฤหัสถ์ เปรียบเหมือน
    ไม้ทองหลางมีใบขาดหมด เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด

    ฉะนั้น ถ้าจะพึงได้สหายผู้มีปัญญารักษาตน ประพฤติเช่นเดียวกัน อยู่ด้วยกรรมดี
    เป็นนักปราชญ์ พึงครอบงำอันตรายทั้งสิ้นเสียแล้ว พึงดีใจ มีสติเที่ยว
    ไปกับสหายนั้น ถ้าจะไม่ได้สหายผู้มีปัญญารักษาตน ประพฤติเช่นเดียวกัน
    อยู่ด้วยกรรมดี เป็นนักปราชญ์ พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนพระราชาทรง
    ละแว่นแคว้นที่ทรงชนะแล้ว เที่ยวไปผู้เดียว ดังช้างมาตังคะ ละโขลง
    อยู่ในป่า ความจริง เราย่อมสรรเสริญสหายสมบัติ พึงส้องเสพสหายที่
    ประเสริฐกว่า หรือที่เสมอกัน (เท่านั้น) เมื่อไม่ได้สหายเหล่านี้ ก็พึง
    คบหากับกรรมอันไม่มีโทษ เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด

    ฉะนั้น ท่านเห็นกำไลมือทองคำอันผุดผ่องที่นายช่างทองทำสำเร็จสวยงาม กระทบกัน
    อยู่ที่แขนทั้งสอง จึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด

    ฉะนั้น การเปล่งวาจา หรือวาจาเครื่องข้องของเรานั้น พึงมีกับเพื่อนอย่างนี้ ท่านเล็งเห็น
    ภัยนี้ต่อไป จึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด

    ฉะนั้น ก็กามทั้งหลายอันวิจิตร หวาน อร่อย เป็นที่รื่นรมย์ใจ ย่อมย่ำยีจิตด้วยสภาพต่างๆ
    ท่านเห็นโทษในกามคุณทั้งหลาย จึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด

    ฉะนั้น ความจัญไร หัวฝี อุบาทว์ โรค กิเลสดุจลูกศร และภัยนี้ ท่านเห็น
    ภัยนี้ในกามคุณทั้งหลาย จึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด

    ฉะนั้น ท่านครอบงำอันตรายแม้ทั้งหมดนี้ คือ หนาว ร้อน ความหิว ความกระหาย
    ลม แดด เหลือบ ยุง และสัตว์เลื้อยคลาน แล้วเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด

    ฉะนั้น ท่านเที่ยวไปผู้เดียว เช่นนอแรด เปรียบเหมือน
    ช้างละโขลงไว้แล้ว มีขันธ์เกิดพร้อมแล้ว มีสีกายดังดอกปทุมใหญ่โต
    อยู่ในป่านานเท่าที่ต้องการ ฉะนั้น ท่านใคร่ครวญถ้อยคำของพระพุทธเจ้า
    ผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ว่า บุคคลพึงถูกต้องวิมุติอันเกิดเองนี้ มิใช่
    ฐานะของผู้ทำความคลุกคลีด้วยหมู่ จึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด

    ฉะนั้น ท่านเป็นไปล่วงทิฏฐิอันเป็นข้าศึก ถึงความแน่นอน มีมรรคอัน
    ได้แล้ว เป็นผู้มีญาณเกิดขึ้นแล้ว อันบุคคลอื่นไม่ต้องแนะนำ เที่ยวไป
    ผู้เดียว เช่นกับนอแรด

    ฉะนั้น ท่านไม่มีความโลภ ไม่โกง ไม่กระหาย
    ไม่ลบหลู่คุณท่าน มีโมโหดุจน้ำฝาดอันกำกัดแล้ว เป็นผู้ไม่มีตัณหาในโลก
    ทั้งปวง เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด

    ฉะนั้น กุลบุตรพึงเว้นสหาย
    ผู้ลามก ผู้มักชี้อนัตถะ ตั้งมั่นอยู่ในฐานะผิดธรรมดา ไม่พึงเสพสหาย
    ผู้ขวนขวาย ผู้ประมาทด้วยตน พึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด

    ฉะนั้น กุลบุตรพึงคบมิตรผู้เป็นพหูสูต ทรงธรรม มีคุณยิ่ง มีปฏิภาณ ท่านรู้
    ประโยชน์ทั้งหลาย บรรเทาความสงสัยแล้ว เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด

    ฉะนั้น ท่านไม่พอใจในการเล่น ความยินดี และกามสุขในโลก
    ไม่เพ็งเล็งอยู่ คลายยินดีจากฐานะที่ตกแต่ง มีปกติกล่าวคำสัตย์ เที่ยวไป
    ผู้เดียว เช่นกับนอแรด

    ฉะนั้น ท่านละบุตร ภริยา บิดา มารดา ทรัพย์
    ข้าวเปลือก เผ่าพันธ์ และกามทั้งหลายตามที่ตั้งลง เที่ยวไปผู้เดียว เช่น
    กับนอแรด

    ฉะนั้น ในความเกี่ยวข้องนี้มีความสุขนิดหน่อย มีความ
    พอใจน้อย มีทุกข์มากยิ่ง บุรุษผู้มีความรู้ทราบว่า ความเกี่ยวข้องนี้ ดุจลูก
    ธนู พึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด

    ฉะนั้น กุลบุตรพึงทำลายสังโยชน์
    ทั้งหลาย เปรียบเหมือนปลาทำลายข่าย แล้วไม่กลับมา ดังไฟไหม้เชื้อ
    ลามไปแล้วไม่กลับมา พึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด

    ฉะนั้น พึงทอดจักษุลง ไม่คะนองเท้า มีอินทรีย์อันคุ้มครองแล้ว รักษามนัส อัน
    ราคะไม่ชุ่มแล้ว อันไฟกิเลสไม่เผาลน พึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด

    ฉะนั้น พึงละเครื่องเพศคฤหัสถ์แล้ว ถึงความตัดถอน เหมือนไม้ทอง
    กวาวที่มีใบขาดแล้ว นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกบวชแล้ว เที่ยวไปผู้เดียว
    เช่นกับนอแรด

    ฉะนั้น ไม่พึงทำความกำหนัดในรส ไม่โลเล ไม่ต้อง
    เลี้ยงผู้อื่น เที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอก มีจิตไม่ข้องเกี่ยวในสกุล
    เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด

    ฉะนั้น พึงละนิวรณ์เครื่องกั้นจิต ๕
    ประการ พึงบรรเทาอุปกิเลสเสียทั้งสิ้น ไม่อาศัยตัณหาและทิฏฐิ ตัดโทษ
    อันเกิดแต่สิเนหาแล้ว เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด

    ฉะนั้น พึงทำสุข ทุกข์ โทมนัสและโสมนัสก่อนๆ ไว้เบื้องหลัง ได้อุเบกษา สมถะ
    ความหมดจดแล้ว เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด

    ฉะนั้น พึงปรารภความเพียรเพื่อบรรลุนิพพาน มีจิตไม่หดหู่ ไม่ประพฤติเกียจคร้าน มี
    ความเพียรมั่น (ก้าวออก) เข้าถึงด้วยกำลัง เรี่ยวแรง เที่ยวไปผู้เดียว
    เช่นกับนอแรด

    ฉะนั้น ไม่พึงละการหลีกเร้นและฌาน มีปกติประพฤติ
    ธรรมสมควรแก่ธรรมเป็นนิตย์ พิจารณาเห็นโทษในภพทั้งหลาย เที่ยว
    ไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด

    ฉะนั้น พึงปรารถนาความสิ้นตัณหา ไม่
    ประมาท เป็นผู้ฉลาดเฉียบแหลม มีการสดับ มีสติ มีธรรมอันพิจารณา
    แล้ว เป็นผู้เที่ยง มีความเพียร เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด

    ฉะนั้น ไม่พึงสะดุ้งในเพราะเสียง ดังสีหะ ไม่ขัดข้อง อยู่ในตัณหาและทิฏฐิ
    เหมือนลมไม่ติดตาข่าย ไม่ติดอยู่ในโลก ดุจดอกปทุม ไม่ติดน้ำ พึง
    เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด

    ฉะนั้น พึงเสพเสนาสนะอันสงัด
    เหมือนราชสีห์มีเขี้ยวเป็นกำลัง เป็นราชาของเนื้อ มีปกติประพฤติข่มขี่
    ครอบงำ พึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด

    ฉะนั้น พึงเจริญเมตตา
    วิมุติ กรุณาวิมุติ มุทิตาวิมุติ และอุเบกขาวิมุติทุกเวลา ไม่พิโรธด้วย
    สัตว์โลกทั้งปวง เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด

    ฉะนั้น พึงละราคะ
    โทสะและโมหะ พึงทำลายสังโยชน์ทั้งหลายเสีย ไม่สะดุ้งในเวลาสิ้น
    ชีวิต พึงเที่ยวไปแต่ผู้เดียว เช่นกับนอแรด

    ฉะนั้น ชนทั้งหลายมีเหตุ
    เป็นประโยชน์ จึงคบหาสมาคมกัน มิตรทั้งหลายไม่มีเหตุ หาได้ยากใน
    วันนี้ มนุษย์ทั้งหลายมีปัญญามองประโยชน์ตน ไม่สะอาด พึงเที่ยวไป
    ผู้เดียว เช่นกับนอแรด

    ฉะนั้น พึงมีศีลบริสุทธิ์ มีปัญญาหมดจดดี
    มีจิตตั้งมั่น ประกอบความเพียร เจริญวิปัสสนา มีปกติเห็นธรรม
    วิเศษ พึงรู้แจ้งธรรมอันสัมปยุตด้วยองค์มรรคและโพชฌงค์ (พึงรู้แจ้ง
    องค์มรรคและโพชฌงค์) นักปราชญ์เหล่าใดเจริญสุญญตวิโมกข์ อนิมิตต
    วิโมกข์ และอัปปณิหิตวิโมกข์ ไม่บรรลุความเป็นพระสาวกในศาสนา
    พระชินเจ้า นักปราชญ์เหล่านั้นย่อมเป็นพระสยัมภูปัจเจกพุทธเจ้า มีธรรม
    ใหญ่ มีธรรมกายมาก มีจิตเป็นอิสระ ข้ามห้วงทุกข์ ทั้งมวลได้ มีจิต
    โสมนัส มีปกติเห็นประโยชน์อย่างยิ่ง เปรียบดังราชสีห์ เช่นกับนอแรด

    พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านี้ มีอินทรีย์ระงับ มีใจสงบ มีจิตมั่นคง มีปกติ
    ประพฤติด้วยความกรุณาในสัตว์เหล่าอื่น เกื้อกูลแก่สัตว์ รุ่งเรืองในโลกนี้
    และโลกหน้า เช่นกับประทีป ปฏิบัติเป็นประโยชน์แก่สัตว์ พระปัจเจก
    พุทธเจ้าเหล่านี้ ละกิเลสเครื่องกั้นทั้งปวงหมดแล้ว เป็นจอมแห่งชน
    เป็นประทีปส่องโลกให้สว่าง เช่นกับรัศมีแห่งทองชมพูนุท เป็นทักขิไณย
    บุคคลชั้นดีของโลก โดยไม่ต้องสงสัย บริบูรณ์อยู่เนืองนิตย์ คำสุภาษิต
    ของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมเป็นไปในโลกทั้งเทวโลก ชน
    เหล่าใดผู้เป็นพาลได้ฟังแล้ว ไม่ทำเหมือนดังนั้น ชนเหล่านั้นต้องเที่ยว
    ไปในสังขารทุกข์บ่อยๆ คำสุภาษิตของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็น
    คำไพเราะ ดังน้ำผึ้งรวงอันหลั่งออกอยู่ ชนเหล่าใดได้ฟังแล้ว ประกอบ
    การปฏิบัติตามนั้น ชนเหล่านั้น ย่อมเป็นผู้มีปัญญา เห็นสัจจะ คาถาอัน
    โอฬารอันพระปัจเจกพุทธชินเจ้าออกบวชกล่าวแล้ว คาถาเหล่านั้น
    พระตถาคตผู้สีหวงศ์ศากยราชผู้สูงสุดกว่านรชน ทรงประกาศแล้ว เพื่อให้
    รู้แจ้งธรรม คาถาเหล่านี้ พระปัจเจกเจ้าเหล่านั้นรจนาไว้อย่างวิเศษ เพื่อ
    ความอนุเคราะห์โลก อันพระสยัมภูผู้สีหะทรงประกาศแล้ว เพื่อยังความ
    สังเวช การไม่คลุกคลีและปัญญาให้เจริญ ฉะนี้แล.

    [พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน]

    ปัจเจกพุทธาปทานที่ ๒
     
  10. Apollo14

    Apollo14 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2011
    โพสต์:
    352
    ค่าพลัง:
    +199
    ขออนุโมทนาสาธุครับ เข้าใจแจ่มแจ้ง อ่านดูพระปัจจเจกพระพุทธเจ้าตั้งแต่หน้าแรกแล้วรู้สึก ยังไง ๆ ไม่รู้
     
  11. baimaingam

    baimaingam เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    634
    ค่าพลัง:
    +880
    ขอโมทนาสาธุครับ...
    ...หันหลังคืนฝั่ง พ้นจากทะเลทุกข์...
    ...ทุกสิ่งอยู่ที่จิต ทุกสิ่งล้วนว่างเปล่า...
    ...ปลูกพืชฉันใด ย่อมได้ผลฉันนั้น...
     
  12. Gemini Saga

    Gemini Saga เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    245
    ค่าพลัง:
    +216
    อนุโมทนาสาธุครับ
    ขอบคุณสำหรับเนื้อหาที่เป็นประโยชน์
     
  13. ~เพกา~

    ~เพกา~ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +71
    มารไม่ใช่ศรัตรู แต่คือครูที่ดีของเรานะค่ะ
    ขอบคุณสำหรับกระทู้ดีๆนะค่ะ อนุโมทนาบุญค่ะ
     
  14. Kiai

    Kiai Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    34
    ค่าพลัง:
    +36
    ตกลงว่าเรื่อง ภูมินี่ยังไม่ค่อยเข้าใจครับว่ามันเป็นสิ่งที่มีความตั้งใจจะเข้าถึง หรือ มันเป็นสิ่งที่แต่ละคนมีแตกต่างกันอยู่แล้ว
     
  15. cwmdosthai

    cwmdosthai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    345
    ค่าพลัง:
    +312
  16. itempat

    itempat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2013
    โพสต์:
    130
    ค่าพลัง:
    +159
    แสวงหาที่พึ่งพิง
    เมื่อถึงระยะนี้ สาวกภูมิ จะรู้ตนว่าแท้แล้วตนไม่มีกำลังความสามารถที่จะไปรอดได้ด้วยตัวคนเดียวแบบปัจเจกภูมิ, และไม่สามารถช่วยเหลือผู้อื่นหรือแม้แต่ตัวเองได้แบบพุทธภูมิ เหล่าสาวกภูมิ จึงมีความตั้งใจแน่วแน่ชัดเจนแล้วว่าจำต้อง "แสวงหาที่พึ่งพิงเป็นหลักแหล่งแน่นอน" ช่วงนี้จะเปลี่ยนจากยุค "เลือกนายอย่างเสรี" มาสู่ยุค "การเป็นบริวารตลอดไป" ดังนั้น คำว่า "จงรักภักดีมีนายเดียว" จึงได้เกิดขึ้น เมื่อถึงจุดนี้ สาวกภูมิจะไม่ต้องแร่ร่อนในสังสารวัฏทั้งสามภพอย่างไม่มีที่พึ่งพิงอีกต่อไป เพราะจะมีที่อาศัยทั้งภพโลก, ภพสวรรค์ เมื่อทำความดีได้จุติยังสวรรค์ ก็จะไปอาศัยในวิมานของนายของตน เมื่อมาเกิดบนโลกมนุษย์ก็ได้อาศัยนายของตน เป็นผู้ชุบเลี้ยงดูแล ช่วงนี้ สาวกภูมิจึงเวียนว่ายตายเกิดเพื่อช่วยพุทธภูมิในการบำเพ็ญเพียรบางส่วน และเสวยผลบุญบนสวรรค์รอนายของตนเป็นส่วนใหญ่ เรียกว่ามีหลักแหล่งแน่นอนแล้ว และมักจะไม่เปลี่ยนใจไปภักดีต่อนายอื่นอีก จัดเป็นสาวกแท้จริง
     
  17. Dalida75

    Dalida75 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2016
    โพสต์:
    13
    ค่าพลัง:
    +0
    ไชโยสำหรับบทความนี้โดยไม่ต้องไป "เช่น" รีทวีตขนาดเล็กมักจะใช้ในการทำเครื่องหมายการอนุมัติของฉันแม้เมื่อฉันไม่มีอะไรจะพูดในความคิดเห็น
    voyance par mail en ligne
     

แชร์หน้านี้

Loading...