รวบรวมคติธรรมดี ๆ มาให้อ่านกัน...

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย J.Sayamol, 16 มีนาคม 2009.

  1. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    เป็นที่น่าสังเกตุ "นิยตมิจฉาทิฏฐิทั้ง3" อันเป็นสัคคาวรณ์

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 ตุลาคม 2012
  2. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561

    [๓๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายนี้มีอาหารเป็นที่ตั้ง ดำรงอยู่ได้เพราะอาศัยอาหาร
    ไม่มีอาหารดำรงอยู่ไม่ได้ แม้ฉันใด นิวรณ์ ๕ ก็มีอาหารเป็นที่ตั้ง ดำรงอยู่ได้เพราะอาศัยอาหาร
    ไม่มีอาหารดำรงอยู่ไม่ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

    [๓๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหาร ให้กามฉันท์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น
    หรือที่เกิดแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศุภนิมิตมีอยู่ การกระทำให้มากซึ่ง
    อโยนิโสมนสิการในศุภนิมิตนั้น นี้เป็นอาหารให้กามฉันท์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว
    ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.

    [๓๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้พยาบาทที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือ
    ที่เกิดแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิฆนิมิตมีอยู่ การกระทำให้มากซึ่ง
    อโยนิโสมนสิการในปฏิฆนิมิตนั้น นี้เป็นอาหารให้พยาบาทที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้ว
    ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.

    [๓๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น
    หรือที่เกิดแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความไม่ยินดี ความเกียจคร้าน ความ
    บิดขี้เกียจ ความเมาอาหาร ความที่ใจหดหู่ มีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งอโยนิโสมนสิการในสิ่ง
    เหล่านั้น นี้เป็นอาหารให้ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.
    [๓๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น
    หรือที่เกิดแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความไม่สงบใจมีอยู่ การกระทำให้มาก
    ซึ่งอโยนิโสมนสิการในความไม่สงบใจนั้น นี้เป็นอาหารให้อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น
    หรือที่เกิดแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.

    [๓๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือ
    ที่เกิดแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งวิจิกิจฉามีอยู่
    การกระทำให้มากซึ่งอโยนิโสมนสิการในธรรมเหล่านั้น นี้เป็นอาหารให้วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น
    หรือที่เกิดแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.

    [๓๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายนี้มีอาหารเป็นที่ตั้ง ดำรงอยู่ได้เพราะอาศัยอาหาร
    ไม่มีอาหารดำรงอยู่ไม่ได้ แม้ฉันใด นิวรณ์ ๕ เหล่านี้ ก็มีอาหารเป็นที่ตั้ง ดำรงอยู่ได้เพราะ
    อาศัยอาหาร ไม่มีอาหารดำรงอยู่ไม่ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

    อาหารของโพชฌงค์ ๗

    [๓๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายนี้มีอาหารเป็นที่ตั้ง ดำรงอยู่ได้เพราะอาศัยอาหาร
    ไม่มีอาหารดำรงอยู่ไม่ได้ แม้ฉันใด โพชฌงค์ ๗ ก็มีอาหารเป็นที่ตั้ง ดำรงอยู่ได้เพราะอาศัยอาหาร
    ไม่มีอาหารดำรงอยู่ไม่ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

    [๓๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น
    หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายเป็นที่ตั้งแห่งสติสัม-
    *โพชฌงค์ มีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในธรรมเหล่านั้น นี้เป็นอาหารให้สติสัม-
    *โพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์.

    [๓๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด
    เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลและ
    อกุศลที่มีโทษ และไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต ที่เป็นฝ่ายดำและฝ่ายขาว มีอยู่ การกระทำให้มาก
    ซึ่งโยนิโสมนสิการในธรรมเหล่านั้น นี้เป็นอาหารให้ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น
    หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์.

    [๓๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้วิริยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น
    หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความริเริ่ม ความพยายาม ความบากบั่น
    มีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในสิ่งเหล่านี้ นี้เป็นอาหารให้วิริยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด
    เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์.

    [๓๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้ปีติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น
    หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายเป็นที่ตั้งแห่งปีติสัมโพชฌงค์
    มีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในธรรมเหล่านั้น นี้เป็นอาหารให้ปีติสัมโพชฌงค์ที่ยัง
    ไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์.

    [๓๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด
    เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสงบกาย ความสงบจิต
    มีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในความสงบนั้น นี้เป็นอาหารให้ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
    ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์.

    [๓๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้สมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด
    เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์? ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธินิมิต อัพยัคคนิมิต มีอยู่
    การกระทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในนิมิตนั้น นี้เป็นอาหารให้สมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด
    เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์.

    [๓๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด
    เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายเป็นที่ตั้งแห่ง
    อุเบกขาสัมโพชฌงค์ มีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในธรรมเหล่านั้น นี้เป็นอาหาร
    ให้อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์.

    [๓๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายนี้มีอาหารเป็นที่ตั้ง ดำรงอยู่ได้เพราะอาศัยอาหาร
    ไม่มีอาหารดำรงอยู่ไม่ได้ แม้ฉันใด โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ ก็มีอาหารเป็นที่ตั้ง ดำรงอยู่ได้เพราะ
    อาศัยอาหาร ไม่มีอาหารดำรงอยู่ไม่ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

    จบ สูตร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 ตุลาคม 2012
  3. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561

    [๖๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีแล้ว เหยี่ยวโฉบลงจับนกมูลไถ โดยรวดเร็ว
    ครั้งนั้น นกมูลไถกำลังถูกเหยี่ยวนำไป ได้รำพันอย่างนี้ว่า เราเป็นคนอับโชค มีบุญน้อย ที่
    เที่ยวไปในถิ่นของผู้อื่น อันมิใช่ถิ่นหากิน ถ้าวันนี้เราไปเที่ยวในถิ่นอันเป็นของบิดาตน ซึ่งควร
    เที่ยวไปไซร้ เหยี่ยวตัวนี้เราอาจต่อสู้ได้.

    เหยี่ยวจึงถามว่า แน่ะนกมูลไถ ก็ถิ่นซึ่งเป็นของบิดาตน อันเป็นที่หากินของเจ้าเป็น
    เช่นไร?
    นกมูลไถตอบว่า คือ ที่ๆ มีก้อนดิน ซึ่งเขาทำการไถไว้.
    ครั้งนั้น เหยี่ยวหยิ่งในกำลังของตน อวดอ้างกำลังของตน ปล่อยนกมูลไถไป พร้อม
    ด้วยบอกว่า เจ้าจงไปเถิดนกมูลไถ เจ้าจะไปแม้ในที่นั้นก็ไม่พ้นเราได้ นกมูลไถจึงไปยังที่ๆ มี
    ก้อนดินซึ่งเขาทำการไถไว้ ขึ้นสู่ก้อนดินก้อนใหญ่ ยืนท้าเหยี่ยวอยู่ว่า แน่ะเหยี่ยว บัดนี้ท่าน
    จงมาจับเราเถิด ครั้งนั้น เหยี่ยวหยิ่งในกำลังของตน อวดอ้างในกำลังของตน จึงห่อปีกทั้ง ๒
    โฉบนกมูลไถโดยรวดเร็ว ครั้งใด นกมูลไถรู้ว่าเหยี่ยวนี้โฉบลงมาเร็วจะจับเรา ครั้งนั้น ก็หลบ
    เข้าซอกดินนั้นเอง เหยี่ยวยังอกให้กระแทกดิน (ตาย) ในที่นั้นเอง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องนก
    มูลไถเที่ยวไปในถิ่นอื่น อันมิใช่ถิ่นหากิน ย่อมเป็นเช่นนี้แล.

    [๖๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายอย่าเที่ยวไปในอารมณ์อื่น
    อันมิใช่โคจร เมื่อเธอทั้งหลายเที่ยวไปในอารมณ์อื่น อันมิใช่โคจร มารจักได้ช่อง มารจักได้
    อารมณ์ ก็อารมณ์อื่นอันมิใช่โคจรของภิกษุ คืออะไร? คือ กามคุณ ๕ กามคุณ ๕ เป็นไฉน?
    คือ รูปอันพึงรู้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด
    เสียงที่พึงรู้ด้วยหู ... กลิ่นที่พึงรู้ด้วยจมูก ... รสที่พึงรู้ด้วยลิ้น ... โผฏฐัพพะที่พึงรู้ด้วยกาย อันน่า
    ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้คือ
    อารมณ์อื่น มิใช่โคจรของภิกษุ.

    [๗๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเที่ยวไปในอารมณ์ ซึ่งเป็นของบิดาตน
    อันเป็นโคจร เมื่อเธอทั้งหลายเที่ยวไปในอารมณ์ ซึ่งเป็นของบิดาตน อันเป็นโคจร มารจักไม่ได้
    ช่อง มารจักไม่ได้อารมณ์ ก็อารมณ์อันเป็นของบิดา อันเป็นโคจร คืออะไร? คือสติ
    ปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มี
    ความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนา
    ในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร
    มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้คือ อารมณ์ซึ่ง
    เป็นของบิดาตน อันเป็นโคจรของภิกษุ.

    จบ สูตร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 ตุลาคม 2012
  4. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561

    [๗๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถิ่นแห่งขุนเขาชื่อหิมพานต์ อันไปได้ยาก ขรุขระ ไม่
    เป็นที่เที่ยวไปทั้งของฝูงลิง ทั้งของหมู่มนุษย์มีอยู่ ถิ่นแห่งขุนเขาชื่อหิมพานต์ อันไปได้ยาก
    ขรุขระ เป็นที่เที่ยวของฝูงลิงเท่านั้น ไม่ใช่ของหมู่มนุษย์มีอยู่ ภูมิภาคแห่งขุนเขาชื่อหิมพานต์
    ราบเรียบ น่ารื่นรมย์ เป็นที่เที่ยวไปทั้งของฝูงลิงทั้งของหมู่มนุษย์ มีอยู่ ณ ที่นั้น พวกพราน
    วางตังไว้ในทางเดินของฝูงลิงเพื่อดักลิง ในลิงเหล่านั้น ลิงเหล่าใดไม่โง่ ไม่ลอกแลก ลิงเหล่า
    นั้น เห็นดังนั้น ย่อมหลีกออกห่าง ส่วนลิงใดโง่ ลอกแลก ลิงตัวนั้นเข้าไปใกล้ตังนั้น เอา
    มือจับ มือก็ติดตัง มันจึงเอามือข้างที่สองจับ ด้วยคิดว่า จักปลดมือออก มือข้างที่สองก็ติดตัง
    อีก มันจึงเอาเท้าจับ ด้วยคิดว่า จักปลดมือทั้งสองออกเท้าก็ติดตังอีก มันจึงเอาเท้าข้างที่สองจับ
    ด้วยคิดว่า จักปลดมือทั้งสองและเท้าออก เท้าที่สองก็ติดตังอีก มันจึงเอาปากกัด ด้วยคิดว่า
    จักปลดมือทั้งสองและเท้าทั้งสองออก ปากก็ติดตังอีก ลิงตัวนั้นถูกตรึง ๕ ประการอย่างนี้แล
    นอนถอนใจ ถึงความพินาศ ยุบยับแล้ว อันพรานจะพึงกระทำได้ตามความปรารถนา พรานแทง
    ลิงตัวนั้นแล้วจึงยกขึ้นไว้ในที่นั้นเอง ไม่ละทิ้ง หลีกไปตามความปรารถนา ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เรื่องลิงเที่ยวไปในถิ่นอื่น อันมิใช่ที่ควรเที่ยวไป ย่อมเป็นเช่นนี้แหละ.

    [๗๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายอย่าเที่ยวไปในอารมณ์
    อื่น อันมิใช่โคจร เมื่อเธอทั้งหลายเที่ยวไปในอารมณ์อื่น อันมิใช่โคจร มารได้ช่อง มารจักได้
    อารมณ์ ก็อารมณ์อื่นอันมิใช่โคจรของภิกษุ คืออะไร? คือ กามคุณ ๕ กามคุณ ๕ เป็นไฉน?
    คือ รูปที่พึงรู้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด
    เสียงที่พึงรู้ด้วยหู ... กลิ่นที่พึงรู้ด้วยจมูก ... รสที่พึงรู้ด้วยลิ้น ... โผฏฐัพพะที่พึงรู้ด้วยกายอันน่า
    ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้ คือ
    อารมณ์อื่นอันมิใช่โคจรของภิกษุ.

    [๗๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเที่ยวไปในอารมณ์ซึ่งเป็นของบิดาตน อัน
    เป็นโคจร เมื่อเธอทั้งหลายเที่ยวไปในอารมณ์ซึ่งเป็นของบิดาตน อันเป็นโคจร มารจักไม่ได้
    อารมณ์ ก็อารมณ์อันเป็นของบิดาตนอันเป็นโคจรของภิกษุ คืออะไร? คือ สติปัฏฐาน ๔ สติ-
    *ปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มี
    สัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ...
    ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
    มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้ คือ อารมณ์ซึ่งเป็นของ
    บิดาตน อันเป็นโคจรของภิกษุ.

    จบ สูตร
     
  5. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561

    [๖๘๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่าน
    อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
    ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มี
    พระภาคว่า

    [๖๘๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรด
    แสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ ที่ข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว พึงเป็นผู้ๆ เดียวหลีกออกจากหมู่ ไม่
    ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวเถิด.

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็โมฆบุรุษบางพวกในโลกนี้ ย่อมเชื้อเชิญเราอย่างนี้เหมือนกัน
    และเมื่อเรากล่าวธรรมแล้ว ย่อมสำคัญเราว่า เป็นผู้ควรติดตามไปเท่านั้น
    ภิกษุนั้นทูลวิงวอนว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมโดย
    ย่อแก่ข้าพระองค์ ขอพระสุคตโปรดแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ แม้ไฉน ข้าพระองค์พึงรู้
    ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตของพระผู้มีพระภาค แม้ไฉน ข้าพระองค์พึงเป็นทายาทแห่งภาษิตของ
    พระผู้มีพระภาค.

    [๖๘๗] พ. ดูกรภิกษุ เพราะเหตุนั้นแหละ เธอจงยังเบื้องต้นในกุศลธรรมให้บริสุทธิ์
    ก่อน เบื้องต้นของกุศลธรรมคืออะไร? คือ ศีลที่บริสุทธิ์ดี และความเห็นตรง เมื่อใด ศีล
    ของเธอจักบริสุทธิ์ดี และความเห็นของเธอจักตรง เมื่อนั้น เธออาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว
    พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ โดยส่วน ๓ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน?

    [๖๘๘] ดูกรภิกษุ เธอจงพิจารณาเห็นกายในกายภายในอยู่ มีความเพียร
    มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ๑
    จงพิจารณาเห็นกายในกายภายนอกอยู่ มีความเพียร
    มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ๑
    จงพิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในภายนอกอยู่ มีความเพียร
    มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ๑

    จงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายในอยู่ ...
    จงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายนอกอยู่ ...
    จงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งภายในภายนอกอยู่ ...

    จงพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในอยู่ ...
    จงพิจารณาเห็นจิตในจิตภายนอกอยู่ ...
    จงพิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในภายนอกอยู่ ...

    จงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในอยู่ มีความเพียร
    มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ๑
    จงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกอยู่ มีความเพียร
    มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ๑
    จงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในภายนอกอยู่ มีความเพียร
    มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ๑.

    [๖๘๙] ดูกรภิกษุ เมื่อใด เธออาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จักเจริญสติปัฏฐาน ๔
    เหล่านี้ โดยส่วน ๓ อย่างนี้ เมื่อนั้น เธอพึงหวังความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลายอย่างเดียว
    ตลอดคืนหรือวันอันจักมาถึง ไม่มีความเสื่อมเลย.

    [๖๙๐] ครั้งนั้น ภิกษุนั้น ชื่นชม ยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาค ลุกจากอาสนะ
    ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป เธอเป็นผู้ๆ เดียว หลีกออกจากหมู่
    ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ไม่นานนักก็ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอด
    เยี่ยม ซึ่งกุลบุตรทั้งหลายผู้ออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตน
    เองใน ปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว
    กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ก็แลภิกษุนั้น ได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวน
    พระอรหันต์ทั้งหลาย.

    จบ สูตร​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 ตุลาคม 2012
  6. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561

    [๑๔๒๒] บุคคลไม่พึงคุ้นเคยในคนทำบาป คนมักพูดเหลาะแหละ คนมีปัญญาคิด
    แต่ประโยชน์ตน และคนทำเป็นสงบแต่ภายนอก.

    [๑๔๒๓] มีบุรุษพวกหนึ่ง มีปกติเหมือนโคกระหายน้ำ ทำทีเหมือนจะกล้ำกลืน
    มิตรด้วยวาจา แต่ไม่ใช้ด้วยการงาน ไม่ควรคุ้นเคยในคนเช่นนั้น.

    [๑๔๒๔] บุรุษพวกหนึ่ง เป็นคนชูมือเปล่า พัวพันอยู่ แต่ด้วยวาจาเป็นมนุษย์
    กระพี้ ไม่มีความกตัญญู ไม่ควรคุ้นเคยในคนเช่นนั้น.

    [๑๔๒๕] บุคคลไม่ควรคุ้นเคยต่อหญิง หรือบุรุษ ผู้มีจิตกลับกลอก ไม่ทำความ
    ข้องเกี่ยวให้แจ้งชัด.

    [๑๔๒๖] ไม่ควรคุ้นเคยกับบุคคลผู้หยั่งลงสู่กรรม อันไม่ประเสริฐ เป็นคนไม่แน่
    นอน กำจัดคนไม่เลือก เหมือนดาบที่เขาลับแล้วปกปิดไว้ ฉะนั้น.

    [๑๔๒๗] คนบางพวกในโลกนี้ คอยเพ่งโทษ เข้าไปหาด้วยอุบายต่างๆ ด้วยคำ
    พูดอันคมคายซึ่งไม่ตรงกับน้ำใจ ด้วยสามารถแห่งมิตรเทียม แม้คนเช่น
    นี้ ก็ไม่ควรคุ้นเคย.


    [๑๔๒๘] คนมีปัญญาทรามเช่นนั้น พบเห็นอามิส หรือทรัพย์เข้า ณ ที่ใด ย่อม
    คิดประทุษร้าย และย่อมละทิ้งเพื่อนนั้นไป แม้คนเช่นนั้น ก็ไม่ควร
    คุ้นเคย.

    [๑๔๒๙] มีคนเป็นจำนวนมาก ที่ปลอมเป็นมิตรคบหา บุคคลพึงละบุรุษชั่วเหล่า
    นั้นเสีย เหมือนไก่ละเหยี่ยว ฉะนั้น.

    [๑๔๓๐] อนึ่ง บุคคลใดไม่รู้เท่าทันเหตุที่เกิดขึ้นได้ฉับพลัน หลงไปตามอำนาจ
    ศัตรู บุคคลนั้น ย่อมเดือดร้อนในภายหลัง.

    [๑๔๓๑] ส่วนบุคคลใดรู้เท่าทันเหตุที่เกิดขึ้นได้ ฉับพลัน บุคคลนั้นย่อมพ้นจาก
    ความเบียดเบียนของศัตรู เหมือนไก่พ้นจากเหยี่ยว ฉะนั้น.

    [๑๔๓๒] นรชนผู้มีปัญญาเครื่องพิจารณา ควรละเว้นบุคคลผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม มัก
    ทำการกำจัดอยู่เป็นนิตย์ ดังแร้วที่เขาดักไว้ในป่าเช่นนั้นเสียให้ห่างไกล
    เหมือนไก่ในป่าไผ่ละเว้นเหยี่ยว ฉะนั้น.

     
  7. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561

    ค. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ในเรื่องนี้ ข้าพเจ้าจะทำอย่างไรได้ ข้าพเจ้า
    เป็นแต่ผู้บอกทาง ฯ

    [๑๐๓] พ. ดูกรพราหมณ์ ฉันนั้นเหมือนกันแล ในเมื่อนิพพานก็
    ดำรงอยู่ ทางไปนิพพานก็ดำรงอยู่ เราผู้ชักชวนก็ดำรงอยู่ แต่ก็สาวกของเรา
    อันเราโอวาทสั่งสอนอยู่อย่างนี้ บางพวกเพียงส่วนน้อย ยินดีนิพพานอันมีความ
    สำเร็จล่วงส่วน บางพวกก็ไม่ยินดี ดูกรพราหมณ์ ในเรื่องนี้ เราจะทำอย่างไรได้
    ตถาคตเป็นแต่ผู้บอกหนทางให้ ฯ

    [๑๐๔] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้ พราหมณ์คณกะ โมค-
    *คัลลานะได้ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ บุคคลจำพวกที่
    ไม่มีศรัทธา ประสงค์จะเลี้ยงชีวิต ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เป็นผู้
    โอ้อวด มีมายา เจ้าเล่ห์ ฟุ้งซ่าน ยกตัว กลับกลอก ปากกล้า มีวาจา
    เหลวไหล ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ ไม่
    ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเป็นผู้ตื่น ไม่มุ่งความเป็นสมณะ ไม่มีความเคารพ
    กล้าในสิกขา มีความประพฤติมักมาก มีความปฏิบัติย่อหย่อน เป็นหัวหน้าใน
    ทางเชือนแช ทอดธุระในความสงัดเงียบ เกียจคร้าน ละเลยความเพียร
    หลงลืมสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่มั่นคง มีจิตรวนเร มีปัญญาทราม เป็นดังคนหนวก
    คนใบ้ พระโคดมผู้เจริญย่อมไม่อยู่ร่วมกับบุคคลจำพวกนั้น ส่วนพวกกุลบุตรที่มี
    ศรัทธา ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา ไม่เป็นคน
    เจ้าเล่ห์ ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ยกตน ไม่กลับกลอก ไม่ปากกล้า ไม่มีวาจาเหลวไหล
    คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จักประมาณในโภชนะ ประกอบเนืองๆ ซึ่ง
    ความเป็นผู้ตื่น มุ่งความเป็นสมณะ เคารพกล้าในสิกขา ไม่มีความประพฤติ
    มักมาก ไม่มีความปฏิบัติย่อหย่อน ทอดธุระในทางเชือนแช เป็นหัวหน้าใน
    ความสงัดเงียบ ปรารภความเพียร ส่งตนไปในธรรม ตั้งสติมั่น รู้สึกตัว
    มั่นคง มีจิตแน่วแน่ มีปัญญา ไม่เป็นดังคนหนวก คนใบ้ พระโคดมผู้เจริญ
    ย่อมอยู่ร่วมกับกุลบุตรพวกนั้น ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ เปรียบเหมือนบรรดาไม้ที่
    มีรากหอม เขากล่าวกฤษณาว่าเป็นเลิศ บรรดาไม้ที่มีแก่นหอม เขากล่าวแก่น
    จันทน์แดงว่าเป็นเลิศ บรรดาไม้ที่มีดอกหอม เขากล่าวดอกมะลิว่าเป็นเลิศ
    ฉันใด โอวาทของพระโคดมผู้เจริญ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล บัณฑิตกล่าวได้ว่า
    เป็นเลิศในบรรดาธรรมของครูอย่างแพะที่นับว่าเยี่ยม แจ่มแจ้งแล้ว พระเจ้าข้า
    แจ่มแจ้งแล้ว พระเจ้าข้า พระโคดมผู้เจริญทรงประกาศธรรมโดยปริยายมิใช่น้อย
    เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ หรือเปิดของที่ปิด หรือบอกทางแก่คนหลงทาง
    หรือตามประทีปในที่มืดด้วยหวังว่า ผู้มีตาดีจักเห็นรูปทั้งหลายได้ ฉะนั้น
    ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ
    ขอพระโคดมผู้เจริญ จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต
    ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ

     
  8. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    อนุมานสูตร
    ว่าด้วยความคาดหมาย​


    [๒๒๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
    สมัยหนึ่ง ท่านพระมหาโมคคัลลานะพำนักอยู่ ณ เภสกฬาวัน อันเป็นสถานที่ให้อภัย
    แก่เนื้อ ตำบลสุงสุมารคิระ ภัคคชนบท ณ ที่นั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะเรียกภิกษุ
    ทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายผู้มีอายุ ภิกษุเหล่านั้นรับคำของท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว.

    ธรรมทำให้เป็นคนว่ายาก​


    [๒๒๒] ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวดังนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าแม้ภิกษุ
    ปวารณาไว้ว่า ขอท่านจงว่ากล่าวข้าพเจ้าๆ เป็นผู้ควรที่ท่านจะว่ากล่าวได้ แต่ภิกษุนั้นเป็นคน
    ว่ายาก ประกอบด้วยธรรมที่ทำให้เป็นคนว่ายาก เป็นผู้ไม่อดทน ไม่รับคำพร่ำสอนโดยเคารพ
    เมื่อเป็นเช่นนี้ เพื่อนพรหมจรรย์ต่างไม่สำคัญภิกษุนั้นว่า ควรว่ากล่าว ควรพร่ำสอน ทั้งไม่
    สำคัญว่า ควรถึงความไว้วางใจในบุคคลนั้นได้ ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ทำให้เป็นคน
    ว่ายากเป็นไฉน? ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

    ๑. เป็นผู้มีความปรารถนาลามก ลุอำนาจแห่งความปรารถนาลามก แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มี
    ความปรารถนาลามก ลุอำนาจแห่งความปรารถนาลามก นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่ายาก.

    ๒. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ยกตนข่มผู้อื่น แม้ข้อที่ภิกษุ
    เป็นผู้ยกตนข่มผู้อื่น นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่ายาก.

    ๓. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นคนมักโกรธ อันความโกรธ
    ครอบงำแล้ว แม้ข้อที่ภิกษุเป็นคนมักโกรธ อันความโกรธครอบงำแล้ว นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็น
    คนว่ายาก.

    ๔. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นคนมักโกรธ ผูกโกรธ เพราะ
    ความโกรธเป็นเหตุ แม้ข้อที่ภิกษุเป็นคนมักโกรธ ผูกโกรธ เพราะความโกรธเป็นเหตุ นี้ก็เป็น
    ธรรมที่ทำให้เป็นคนว่ายาก.

    ๕. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นคนมักโกรธ มักระแวงจัด
    เพราะความโกรธเป็นเหตุ แม้ข้อที่ภิกษุเป็นคนมักโกรธ มักระแวง เพราะความโกรธเป็นเหตุ
    นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่ายาก.

    ๖. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นคนมักโกรธ เปล่งวาจาใกล้ต่อ
    ความโกรธ แม้ข้อที่ภิกษุเป็นคนมักโกรธ เปล่งวาจาใกล้ต่อความโกรธ นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้
    เป็นคนว่ายาก.

    ๗. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง กลับโต้เถียงโจทก์
    แม้ข้อที่ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง กลับโต้เถียงโจทก์ นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็น
    คนว่ายาก.

    ๘. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง กลับรุกรานโจทก์
    แม้ข้อที่ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง กลับรุกรานโจทก์ นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็น
    คนว่ายาก.

    ๙. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง กลับ
    ปรักปรำโจทก์ แม้ข้อที่ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง กลับปรักปรำโจทก์ นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้
    เป็นคนว่ายาก.

    ๑๐. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง กลับ
    เอาเรื่องอื่นมากลบเกลื่อน พูดนอกเรื่อง แสดงความโกรธ ความมุ่งร้าย และความไม่เชื่อฟัง
    ให้ปรากฏ แม้ข้อที่ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง กลับเอาเรื่องอื่นมากลบเกลื่อน พูดนอกเรื่อง
    แสดงความโกรธ ความมุ่งร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏ นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่ายาก.

    ๑๑. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง ไม่พอใจ
    ตอบในความประพฤติ แม้ข้อที่ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง ไม่พอใจตอบในความประพฤติ
    นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้คนว่ายาก.

    ๑๒. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นคนลบหลู่ตีเสมอ แม้ข้อที่
    ภิกษุเป็นคนลบหลู่ ตีเสมอ นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่ายาก.

    ๑๓. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นคนริษยา เป็นคนตระหนี่
    แม้ข้อที่ภิกษุเป็นคนริษยา เป็นคนตระหนี่ นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่ายาก.

    ๑๔. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นคนโอ้อวด เจ้ามายา แม้ข้อที่
    ภิกษุเป็นคนโอ้อวด เจ้ามายา นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่ายาก.

    ๑๕. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นคนกระด้าง ดูหมิ่นผู้อื่น
    แม้ข้อที่ภิกษุเป็นคนกระด้าง ดูหมิ่นผู้อื่น นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่ายาก.

    ๑๖. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นคนถือแต่ความเห็นของตน
    ถือรั้น ถอนได้ยาก แม้ข้อที่ภิกษุเป็นคนถือแต่ความเห็นของตน ถือรั้น ถอนได้ยาก นี้ก็เป็น
    ธรรมที่ทำให้เป็นคนว่ายาก.

    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้เรียกว่า ธรรมที่ทำให้เป็นคนว่ายาก.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 ตุลาคม 2012
  9. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    อนุมานสูตร

    ธรรมทำให้เป็นคนว่าง่าย​


    [๒๒๓] ถ้าแม้ภิกษุไม่ปวารณาไว้ว่า ขอท่านจงว่ากล่าวข้าพเจ้าๆ เป็นผู้ควรที่ท่านจะ
    ว่ากล่าวได้ แต่ภิกษุนั้นเป็นคนว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย เป็นผู้อดทน
    รับคำพร่ำสอนโดยเคารพ เมื่อเป็นเช่นนี้ เพื่อนพรหมจรรย์ต่างสำคัญภิกษุนั้นว่า ควรว่ากล่าวได้
    ควรพร่ำสอนได้ ทั้งสำคัญว่า ควรถึงความไว้วางใจในบุคคลนั้นได้ ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
    ก็ธรรมที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย เป็นไฉน? ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้.

    ๑. ไม่เป็นผู้มีความปรารถนาลามก ไม่ลุอำนาจแห่งความปรารถนาลามก แม้ข้อที่ภิกษุ
    ไม่เป็นผู้มีความปรารถนาลามก ไม่ลุอำนาจแห่งความปรารถนาลามก นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย.

    ๒. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่เป็นผู้ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น แม้ข้อที่
    ภิกษุไม่เป็นผู้ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย.

    ๓. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่เป็นคนมักโกรธ อันความโกรธ
    ไม่ครอบงำแล้ว แม้ข้อที่ภิกษุไม่เป็นคนมักโกรธ อันความโกรธไม่ครอบงำแล้ว นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้
    เป็นคนว่าง่าย.

    ๔. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่เป็นคนมักโกรธ ไม่ผูกโกรธ
    เพราะความโกรธเป็นเหตุ แม้ข้อที่ภิกษุไม่เป็นคนมักโกรธ ไม่ผูกโกรธ เพราะความโกรธเป็นเหตุ
    นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย.

    ๕. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่เป็นคนมักโกรธ ไม่มักระแวงจัด
    เพราะความโกรธเป็นเหตุ แม้ข้อที่ภิกษุไม่เป็นคนมักโกรธ ไม่มักระแวงจัด เพราะความโกรธ
    เป็นเหตุ นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย.

    ๖. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่เป็นคนมักโกรธ ไม่เปล่งวาจา
    ใกล้ต่อความโกรธ แม้ข้อที่ภิกษุไม่เป็นคนมักโกรธ ไม่เปล่งวาจาใกล้ต่อความโกรธ
    นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย.

    ๗. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง ไม่โต้เถียง
    โจทก์ แม้ข้อที่ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง ไม่โต้เถียงโจทก์ นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย.

    ๘. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง ไม่รุกราน
    โจทก์ แม้ข้อที่ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง ไม่รุกรานโจทก์ นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย.

    ๙. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง ไม่ปรักปรำโจทก์
    แม้ข้อที่ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง ไม่ปรักปรำโจทก์ นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย.

    ๑๐. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง ไม่เอา
    เรื่องอื่นมากลบเกลื่อน ไม่พูดนอกเรื่อง ไม่แสดงความโกรธ ความมุ่งร้าย และความไม่เชื่อฟัง
    ให้ปรากฏ แม้ข้อที่ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง ไม่เอาเรื่องอื่นมากลบเกลื่อน ไม่พูดนอกเรื่อง
    ไม่แสดงความโกรธ ความมุ่งร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏ นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย.

    ๑๑. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง พอใจตอบ
    ในความประพฤติ แม้ข้อที่ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง พอใจตอบในความประพฤติ นี้ก็เป็น
    ธรรมที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย.

    ๑๒. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่เป็นคนลบหลู่ ไม่ตีเสมอ
    แม้ข้อที่ภิกษุไม่เป็นคนลบหลู่ ไม่ตีเสมอ นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย.

    ๑๓. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่เป็นคนริษยา ไม่เป็นคนตระหนี่
    แม้ข้อที่ภิกษุไม่เป็นคนริษยา ไม่เป็นคนตระหนี่ นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย.

    ๑๔. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่เป็นคนโอ้อวด มิใช่เจ้ามายา
    แม้ข้อที่ภิกษุไม่เป็นคนโอ้อวด มิใช่เจ้ามายา นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย.

    ๑๕. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่เป็นคนกระด้าง ไม่ดูหมิ่นผู้อื่น
    แม้ข้อที่ภิกษุไม่เป็นคนกระด้าง ไม่ดูหมิ่นผู้อื่น นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย.

    ๑๖. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่เป็นคนถือแต่ความเห็นของตน
    ไม่ถือรั้น ถอนได้ง่าย แม้ข้อที่ภิกษุไม่เป็นคนถือแต่ความเห็นของตน ไม่ถือรั้น ถอนได้ง่าย
    นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย.

    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ เรียกว่า ธรรมที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย.
     
  10. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    การเทียบเคียงตนเอง​


    [๒๒๔] ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ในธรรมทั้ง ๑๖ ข้อนั้น
    ภิกษุพึงเทียบเคียงตน ด้วยตนเองอย่างนี้ว่า บุคคลที่มีความปรารถนาลามก
    ลุอำนาจแห่งความปรารถนาลามก หาเป็นที่รักใคร่พอใจของเราไม่
    ก็หากเราจะพึงเป็นคนมีความปรารถนาลามก ลุอำนาจแห่งความปรารถนาลามกบ้างเล่า
    เราคงไม่เป็นที่รักใคร่พอใจของคนอื่น

    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า
    เราจักไม่เป็นคนมีความปรารถนาลามก ไม่ลุอำนาจแห่งความปรารถนาลามก
    ถึงบุคคลที่ยกตนข่มผู้อื่น ก็หาเป็นที่รักใคร่พอใจของเราไม่
    ก็หากเราจะพึงเป็นคนยกตนข่มผู้อื่นบ้างเล่า เราคงไม่เป็นที่รักใคร่พอใจของคนอื่น

    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า
    เราจักไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ถึงบุคคลที่เป็นคนมักโกรธ อันความโกรธครอบงำ
    ก็หาเป็นที่รักใคร่พอใจของเราไม่ ก็หากเราจะพึงเป็นคนมักโกรธ
    อันความโกรธ ครอบงำบ้างเล่า เราคงไม่เป็นที่รักใคร่พอใจของคนอื่น

    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า
    จักไม่เป็นคนมักโกรธ ไม่ให้ความโกรธครอบงำ บุคคลที่เป็นคนมักโกรธ
    ผูกโกรธ เพราะความโกรธเป็นเหตุ ก็หาเป็นที่รักใคร่พอใจของเราไม่
    ก็หากเราจะพึงเป็นคนมักโกรธ ผูกโกรธ เพราะความโกรธเป็นเหตุบ้างเล่า
    เราคงไม่เป็นที่รักใคร่พอใจของคนอื่น

    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า
    เราจักไม่เป็นคนมักโกรธ ไม่ผูกโกรธ เพราะความโกรธเป็นเหตุ
    ถึงบุคคลที่เป็นคนมักโกรธ มักระแวงจัด เพราะความโกรธเป็นเหตุ
    ก็หาเป็นที่รักใคร่พอใจของเราไม่ ก็หากเราจะพึงเป็นคนมักโกรธ มักระแวงจัด
    เพราะความโกรธเป็นเหตุบ้างเล่า เราก็คงไม่เป็นที่รักใคร่พอใจของคนอื่น

    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า
    เราจักไม่เป็นคนมักโกรธ ไม่มักระแวงจัด เพราะความโกรธเป็นเหตุ
    ถึงบุคคลที่เป็นคนมักโกรธ เปล่งวาจาใกล้ต่อความโกรธ
    ก็หาเป็นที่รักใคร่พอใจของเราไม่ ก็หากเราจะพึงเป็นคนมักโกรธ
    เปล่งวาจาใกล้ต่อความโกรธบ้างเล่า เราคงไม่เป็นที่รักใคร่พอใจของคนอื่น

    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า
    เราจักไม่เป็นคนมักโกรธ ไม่เปล่งวาจาใกล้ต่อความโกรธ
    ถึงบุคคลที่ถูกบุคคลผู้เป็นโจทก์ฟ้อง กลับโต้เถียงโจทก์
    ก็หาเป็นที่รักใคร่พอใจของเราไม่ ก็หากเราจะพึงถูกบุคคลผู้เป็นโจทก์ฟ้อง
    กลับโต้เถียงโจทก์บ้างเล่า เราคงไม่เป็นที่รักใคร่พอใจของคนอื่น

    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า
    เราถูกบุคคลผู้เป็นโจทก์ฟ้อง จักไม่โต้เถียงโจทก์ ถึงบุคคลที่ถูกบุคคลผู้เป็นโจทก์ฟ้อง
    กลับรุกรานโจทก์ ก็หาเป็นที่รักใคร่พอใจของเราไม่
    ก็หากเราจะพึงถูกบุคคลผู้เป็นโจทก์ฟ้อง กลับรุกรานโจทก์บ้างเล่า
    เราคงไม่เป็นที่รักใคร่พอใจของคนอื่น

    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า
    เราถูกบุคคลผู้เป็นโจทก์ฟ้อง จักไม่รุกรานโจทก์ ถึงบุคคลที่ถูกบุคคลผู้เป็นโจทก์ฟ้อง
    กลับปรักปรำโจทก์ ก็หาเป็นที่รักใคร่พอใจของเราไม่
    ก็หากเราจะพึงถูกบุคคลผู้เป็นโจทก์ฟ้อง กลับปรักปรำโจทก์บ้างเล่า
    เราคงไม่เป็นที่รักใคร่พอใจของคนอื่น

    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า
    เราถูกบุคคลผู้เป็นโจทก์ฟ้อง จักไม่ปรักปรำโจทก์
    ถึงบุคคลที่ถูกบุคคลผู้เป็นโจทก์ฟ้อง กลับเอาเรื่องอื่นมากลบเกลื่อน
    พูดนอกเรื่อง แสดงความโกรธ ความมุ่งร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏ
    ก็หาเป็นที่รักใคร่พอใจของเราไม่ ก็หากเราจะพึงถูกบุคคลผู้เป็นโจทก์ฟ้อง
    กลับเอาเรื่องอื่นมากลบเกลื่อน พูดนอกเรื่อง แสดงความโกรธ ความมุ่งร้าย
    และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏบ้างเล่า เราคงไม่เป็นที่รักใคร่พอใจของคนอื่น

    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า
    เราถูกบุคคลผู้เป็นโจทก์ฟ้อง จักไม่เอาเรื่องอื่นมากลบเกลื่อน ไม่พูดนอกเรื่อง
    ไม่แสดงความโกรธ ความมุ่งร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏ
    ถึงบุคคลที่ถูกบุคคลผู้เป็นโจทก์ฟ้อง ไม่พอใจตอบในความประพฤติ
    ก็หาเป็นที่รักใคร่พอใจของเราไม่ ก็หากเราจะพึงถูกบุคคลผู้เป็นโจทก์ฟ้อง
    ไม่พอใจตอบในความประพฤติ เราคงไม่เป็นที่รักใคร่พอใจของคนอื่น

    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า
    เราถูกบุคคลผู้เป็นโจทก์ฟ้อง พอใจตอบในความประพฤติ ถึงบุคคล
    ที่เป็นคนลบหลู่ ตีเสมอ ก็หาเป็นที่รักใคร่พอใจของเราไม่ ก็หากเราจะพึง
    เป็นคนลบหลู่ตีเสมอบ้างเล่า เราคงไม่เป็นที่รักใคร่พอใจของคนอื่น

    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า
    เราจักไม่เป็นคนลบหลู่ ตีเสมอ ถึงบุคคลที่เป็นคนริษยา เป็นคนตระหนี่
    ก็หาเป็นที่รักใคร่พอใจของเราไม่ ก็หากเราจะพึงเป็นคนริษยา
    เป็นคนตระหนี่บ้างเล่า เราคงไม่เป็นที่รักใคร่พอใจของคนอื่น

    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า
    เราจักไม่เป็นคนริษยา ไม่เป็นคนตระหนี่ ถึงบุคคลที่เป็นคนโอ้อวด เจ้ามายา
    ก็หาเป็นที่รักใคร่พอใจของเราไม่ ก็หากเราจะพึงเป็นคนโอ้อวด
    เจ้ามายาบ้างเล่า เราคงไม่เป็นที่รักใคร่พอใจของคนอื่น

    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า
    เราจักไม่เป็นคนโอ้อวด ไม่มีมายา ถึงบุคคลที่เป็นคนกระด้าง ดูหมิ่นผู้อื่น
    นี้ก็หาเป็นที่รักใคร่พอใจของเราไม่ ก็หากเราจะพึงเป็นคนกระด้าง
    ดูหมิ่นผู้อื่นบ้างเล่า เราคงไม่เป็นที่รักใคร่พอใจของคนอื่น

    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า
    เราจักไม่เป็นคนกระด้าง ไม่ดูหมิ่นผู้อื่น ถึงบุคคลที่ถือแต่ความเห็นของตน
    ถือรั้น ถอนได้ยาก ก็หาเป็นที่รักใคร่พอใจของเราไม่ ก็หากเราจะพึง
    เป็นคนถือแต่ความเห็นของตน ถือรั้น ถอนได้ยากบ้างเล่า
    เราคงไม่เป็นที่รักใคร่พอใจของคนอื่น

    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า
    เราจักไม่เป็นคนถือแต่ความเห็นของตน ไม่ถือรั้น ถอนได้ง่ายดังนี้.
     
  11. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561

    [๒๒๕] ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ในธรรมทั้ง ๑๖ ข้อนั้น
    ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า
    เราเป็นคนมีความปรารถนาลามก ลุอำนาจแห่งความปรารถนาลามกหรือไม่?
    หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นคนมีความปรารถนาลามก ลุอำนาจแห่งความปรารถนาลามกจริง
    ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละอกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย
    หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราไม่ใช่คนมีความปรารถนาลามก ไม่ลุอำนาจแห่งความปรารถนาลามก
    ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว
    หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย.

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็นคนยกตนข่มผู้อื่นหรือไม่?
    หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นคนยกตนข่มผู้อื่นจริง
    ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละอกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย
    หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราไม่เป็นคนยกตน ไม่ข่มผู้อื่น
    ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติ และปราโมทย์นั้นทีเดียว
    หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย.

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า
    เราเป็นคนมักโกรธ อันความโกรธครอบงำแล้วหรือไม่?
    หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นคนมักโกรธ อันความโกรธครอบงำแล้วจริง
    ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละอกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย
    หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราไม่เป็นคนมักโกรธ อันความโกรธไม่ครอบงำ
    ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว
    หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย.

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า
    เราเป็นคนมักโกรธ ผูกโกรธเพราะความโกรธเป็นเหตุหรือไม่?
    หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นคนมักโกรธ ผูกโกรธ เพราะความโกรธเป็นเหตุจริง
    ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละอกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย
    หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราไม่เป็นคนมักโกรธ ไม่ผูกโกรธ เพราะความโกรธเป็นเหตุ
    ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว
    หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย.

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า
    เราเป็นคนมักโกรธ มักระแวงจัด เพราะความโกรธเป็นเหตุหรือไม่?
    หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นคนมักโกรธ มักระแวงจัด เพราะความโกรธเป็นเหตุจริง
    ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละอกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย
    หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราไม่เป็นคนมักโกรธ ไม่มักระแวงจัด เพราะความโกรธเป็นเหตุ
    ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว
    หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย.

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า
    เราเป็นคนมักโกรธ เปล่งวาจา ใกล้ต่อความโกรธหรือไม่?
    หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นคนมักโกรธ เปล่งวาจาใกล้ต่อความโกรธจริง
    ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละอกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย
    หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราไม่เป็นคนมักโกรธ ไม่เปล่งวาจาใกล้ต่อความโกรธ
    ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว
    หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย.

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า
    เราเป็นจำเลยถูกโจทก์ฟ้อง กลับโต้เถียงโจทก์หรือไม่?
    หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นจำเลยถูกโจทก์ฟ้อง กลับโต้เถียงโจทก์จริง
    ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละอกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย
    หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นจำเลยถูกโจทก์ฟ้อง ไม่กลับโต้เถียงโจทก์
    ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว
    หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย.

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า
    เราเป็นจำเลยถูกโจทก์ฟ้อง กลับรุกรานโจทก์หรือไม่?
    หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นจำเลยถูกโจทก์ฟ้อง กลับรุกรานโจทก์จริง
    ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละอกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย
    หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นจำเลยถูกโจทก์ฟ้อง ไม่กลับรุกรานโจทก์
    ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว
    หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย.

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า
    เราเป็นจำเลยถูกโจทก์ฟ้อง กลับปรักปรำโจทก์หรือไม่?
    หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นจำเลยถูกโจทก์ฟ้อง กลับปรักปรำโจทก์จริง
    ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละอกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย
    หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นจำเลยถูกโจทก์ฟ้อง ไม่กลับปรักปรำโจทก์
    ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว
    หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย.

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า
    เราเป็นจำเลยถูกโจทก์ฟ้อง กลับเอาเรื่องอื่นมากลบเกลื่อน
    พูดนอกเรื่อง แสดงความโกรธ ความมุ่งร้าย และความไม่เชื่อฟัง ให้ปรากฏหรือไม่?
    หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นจำเลยถูกโจทก์ฟ้อง กลับเอาเรื่องอื่นมากลบเกลื่อน
    พูดนอกเรื่อง แสดงความโกรธ ความมุ่งร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏจริง
    ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละอกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย
    หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นจำเลยถูกโจทก์ฟ้อง ไม่เอาเรื่องอื่นมากลบเกลื่อน
    ไม่พูดนอกเรื่อง ไม่แสดงความโกรธ ความมุ่งร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏ
    ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว
    หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย.

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า
    เราเป็นจำเลยถูกโจทก์ฟ้อง ไม่พอใจตอบในความประพฤติหรือไม่?
    หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่าเราเป็นจำเลยถูกโจทก์ฟ้อง ไม่พอใจตอบในความประพฤติจริง
    ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละอกุศลธรรมที่ชั่วช้านั้นเสีย
    หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นจำเลยถูกโจทก์ฟ้อง พอใจตอบในความประพฤติ
    ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว
    หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย.

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า
    เราเป็นคนลบหลู่ ตีเสมอหรือไม่?
    หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นคนลบหลู่ ตีเสมอจริง
    ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละอกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย
    หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่าเราไม่เป็นคนลบหลู่ ไม่ตีเสมอ
    ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว
    หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย.

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า
    เราเป็นคนริษยา เป็นคนตระหนี่หรือไม่?
    หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นคนริษยา เป็นคนตระหนี่จริง
    ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละอกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย
    หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราไม่เป็นคนริษยา ไม่เป็นคนตระหนี่
    ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว
    หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย.

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า
    เราเป็นคนโอ้อวด เจ้ามายาหรือไม่?
    หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นคนโอ้อวด เจ้ามายาจริง
    ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละอกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย
    หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่าเราไม่เป็นคนโอ้อวด ไม่เป็นคนเจ้ามายา
    ภิกษุนั้น พึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว
    หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย.

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า
    เราเป็นคนกระด้าง ดูหมิ่นผู้อื่นหรือไม่?
    หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นคนกระด้างดูหมิ่นผู้อื่นจริง
    ก็ควรพยายามเพื่อที่ จะละอกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย
    หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราไม่เป็นคนกระด้าง ไม่ดูหมิ่นผู้อื่น
    ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว
    หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย.

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า
    เราเป็นคนถือเอาแต่ความเห็นของตน ถือรั้น ถอนได้ยากหรือไม่?
    หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่าเป็นคนถือเอาแต่ความเห็นของตนถือรั้น ถอนได้ยากจริง
    ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละอกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย
    หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราไม่เป็นคนถือเอาแต่ความเห็นของตน ไม่ถือรั้น ถอนได้ง่าย
    ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว
    หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย.

    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากภิกษุพิจารณาอยู่
    เห็นชัดอกุศลธรรมอันชั่วช้าเหล่านี้ทั้งหมด ที่ยังละไม่ได้ในตน
    ภิกษุนั้นก็ควรพยายาม เพื่อที่จะละอกุศลธรรมอันชั่วช้าทั้งหมด เหล่านั้น
    หากพิจารณาอยู่ เห็นชัดอกุศลธรรมอันชั่วช้าทั้งหมดเหล่านี้ ที่ละได้แล้วในตน
    ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว
    หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย.

    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อุปมาเหมือนสตรีหรือบุรุษ รุ่นกำดัด
    ชอบโอ่อ่าส่องดูเงาหน้าของตนในกระจกเงา หรือในภาชนะน้ำใสสะอาดบริสุทธิ์
    ถ้าเห็นธุลีหรือสิวบนในหน้านั้น ย่อมพยายามที่จะให้ธุลีหรือสิวนั้นหายไป
    หากไม่เห็นธุลีหรือสิวบนใบหน้านั้น ก็จะรู้สึกพอใจว่า ช่างเป็นลาภของเรา ใบหน้าของเราบริสุทธิ์สะอาด ดังนี้
    ฉันใด แม้ภิกษุหากพิจารณาอยู่ เห็นชัดอกุศลธรรมอันชั่วช้าทั้งหมดเหล่านี้ ที่ยังละไม่ได้ในตน
    ภิกษุนั้นก็ควรพยายามเพื่อที่จะละอกุศลธรรมอันชั่วช้าทั้งหมดนั้นเสีย
    แต่ถ้าเมื่อพิจารณาอยู่ เห็นชัดอกุศลธรรมอันชั่วช้าทั้งหมดเหล่านี้ ที่ละได้แล้วในตน
    ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว
    หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย ฉันนั้น นั่นแล.

    ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวภาษิตดังนี้แล้ว
    ภิกษุเหล่านั้น มีใจชื่นชมยินดีภาษิต ของท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้วแล.

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 ตุลาคม 2012
  12. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]

    ที่มา : Luangta.Com -
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  16. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    พราหมณสูตร
    อริยมรรคเรียกชื่อได้ ๓ อย่าง​




    [๑๒] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น เวลาเช้า ท่านพระอานนท์นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร
    เข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี ได้เห็นชาณุสโสณีพราหมณ์ออกจากพระนครสาวัตถี
    ด้วยรถเทียมด้วยม้าขาวล้วน ได้ยินว่า ม้าที่เทียมเป็นม้าขาว เครื่องประดับขาว ตัวรถขาว
    ประทุนรถขาว เชือกขาว ด้ามประตักขาว ร่มขาว ผ้าโพกขาว ผ้านุ่งขาว รองเท้าขาว
    พัดวาลวิชนี ที่ด้ามพัดก็ขาว ชนเห็นท่านผู้นี้แล้ว พูดอย่างนี้ว่า
    ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ยานประเสริฐหนอ รูปของยานประเสริฐหนอ ดังนี้.

    [๑๓] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เที่ยวบิณฑบาตในพระนครสาวัตถีแล้ว เวลาปัจฉาภัต
    กลับจากบิณฑบาต เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว
    นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
    ขอประทานพระวโรกาส เวลาเช้า ข้าพระองค์นุ่งแล้ว ถือบาตร และจีวร
    เข้าไปบิณฑบาต ยังพระนครสาวัตถี ข้าพระองค์เห็นชาณุสโสณีพราหมณ์ออกจากพระนครสาวัตถี
    ด้วยรถม้าขาวล้วน ได้ยินว่า ม้าที่เทียมเป็นม้าขาว เครื่องประดับขาว ตัวรถขาว ประทุนรถขาว เชือกขาว
    ด้ามประตักขาว ร่มขาว ผ้าโพกขาว ผ้านุ่งขาว รองเท้าขาว พัดวาลวิชนีที่ด้ามก็ขาว
    ชนเห็นท่านผู้นี้แล้ว พูดอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ยานประเสริฐหนอ รูปของยานประเสริฐหนอ
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์อาจทรงบัญญัติ ยานอันประเสริฐในธรรมวินัยนี้ ได้ไหมหนอ?

    [๑๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ อาจบัญญัติได้ คำว่ายานอันประเสริฐ
    เป็นชื่อของอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้เอง เรียกกันว่า พรหมยานบ้าง ธรรมยานบ้าง
    รถพิชัยสงครามอันยอดเยี่ยมบ้าง.


    [๑๕] ดูกรอานนท์ สัมมาทิฏฐิบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
    มีการกำจัดราคะเป็นที่สุด มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีการกำจัดโมหะเป็นที่สุด.

    [๑๖] ดูกรอานนท์ สัมมาสังกัปปะที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
    มีการกำจัดราคะเป็นที่สุด มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีการกำจัดโมหะเป็นที่สุด.

    [๑๗] ดูกรอานนท์ สัมมาวาจาที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
    มีการกำจัดราคะเป็นที่สุด มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีการกำจัดโมหะเป็นที่สุด.

    [๑๘] ดูกรอานนท์ สัมมากัมมันตะที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
    มีการกำจัดราคะเป็นที่สุด มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีการกำจัดโมหะเป็นที่สุด.

    [๑๙] ดูกรอานนท์ สัมมาอาชีวะที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
    มีการกำจัดราคะเป็นที่สุด มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีการกำจัดโมหะเป็นที่สุด.

    [๒๐] ดูกรอานนท์ สัมมาวายามะที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
    มีการกำจัดราคะเป็นที่สุด มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีการกำจัดโมหะเป็นที่สุด.

    [๒๑] ดูกรอานนท์ สัมมาสติที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
    มีการกำจัดราคะเป็นที่สุด มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีการกำจัดโมหะเป็นที่สุด.

    [๒๒] ดูกรอานนท์ สัมมาสมาธิที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
    มีการกำจัดราคะเป็นที่สุด มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีการกำจัดโมหะเป็นที่สุด.

    [๒๓] ดูกรอานนท์ ข้อว่า ยานอันประเสริฐ เป็นชื่อของอริยมรรค
    ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้เอง เรียกกันว่า พรหมยานบ้าง ธรรมยานบ้าง
    รถพิชัยสงครามอันยอดเยี่ยมบ้าง
    นั้นพึงทราบโดยปริยายนี้แล.

    พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว
    จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ ต่อไปอีกว่า

    [๒๔] อริยมรรคญาณนั้นมีธรรม คือ ศรัทธากับปัญญาเป็นเอก
    มีศรัทธาเป็นทูบ มีหิริเป็นงอน มีใจเป็นเชือกชัก มีสติเป็นสารถีผู้ควบคุม
    รถนี้มีศีลเป็นเครื่องประดับ มีญาณเป็นเพลา มีความเพียรเป็นล้อ
    มีอุเบกขากับสมาธิเป็นทูบ ความไม่อยากได้เป็นประทุน

    กุลบุตรใดมีความไม่พยาบาท ความไม่เบียดเบียน และวิเวกเป็นอาวุธ
    มีความอดทนเป็นเกราะหนัง

    กุลบุตรนั้นย่อมเป็นไปเพื่อความเกษมจากโยคะ
    พรหมยานอันยอดเยี่ยมนี้ เกิดแล้วในตนของบุคคลเหล่าใด
    บุคคลเหล่านั้นเป็นนักปราชญ์ ย่อมออกไปจากโลก
    โดยความแน่ใจว่า มีชัยชนะโดยแท้.


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 ตุลาคม 2012
  17. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    วิภังคสูตร
    อริยมรรค ๘​


    [๓๓] สาวัตถีนิทาน. พระผู้มีพระภาค ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลายเราจักแสดง จักจำแนกอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ แก่เธอทั้งหลาย
    เธอทั้งหลายจงฟังอริยมรรคนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
    ภิกษุพวกนั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นไฉน?
    คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ.

    [๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน?
    ความรู้ในทุกข์ ในทุกขสมุทัย ในทุกขนิโรธ ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
    นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ.

    [๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน?
    ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในอันไม่พยาบาท ความดำริในอันไม่เบียดเบียน
    นี้เรียกว่าสัมมาสังกัปปะ.

    [๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาวาจา เป็นไฉน?
    เจตนาเครื่องงดเว้นจากพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ
    นี้เรียกว่า สัมมาวาจา.

    [๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมากัมมันตะ เป็นไฉน?
    เจตนาเครื่องงดเว้นจากปาณาติบาต อทินนาทาน จากอพรหมจรรย์
    นี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ.

    [๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน?
    อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ละการเลี้ยงชีพที่ผิดเสีย สำเร็จชีวิตอยู่ด้วยการเลี้ยงชีพที่ชอบ
    นี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ.

    [๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาวายามะ เป็นไฉน?
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้
    เพื่อมิให้อกุศลธรรมอันลามก ที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้ว
    เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้
    เพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน เพิ่มพูน ไพบูลย์ เจริญ บริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว
    นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ.

    [๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสติ เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
    พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย
    ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
    พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย
    ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
    พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย
    ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
    พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย
    นี้เรียกว่า สัมมาสติ.

    [๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสมาธิ เป็นไฉน?
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
    บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
    เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
    ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่
    เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป
    บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า
    ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข
    เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์
    และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
    นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ.

    จบ สูตร​


     
  18. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561

    [๔๐๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าใดเหล่าหนึ่งสำเร็จอิริยาบถ ๔ คือ
    บางคราวก็เดิน บางคราวก็ยืน บางคราวก็นั่ง บางคราวก็นอน
    สัตว์เหล่านั้นทั้งหมด อาศัยแผ่นดิน ดำรงอยู่บนแผ่นดิน จึงสำเร็จอิริยาบถ ๔ นั้น อย่างนั้นแหละ
    แม้ฉันใด ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว
    ย่อมเจริญโพชฌงค์ ๗ ย่อมกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ ฉันนั้นเหมือนกัน.

    [๔๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว ย่อมเจริญโพชฌงค์ ๗
    ย่อมกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างไรเล่า?

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ
    ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว ย่อมเจริญโพชฌงค์ ๗
    ย่อมกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างนี้แล.

    จบ สูตร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 ตุลาคม 2012
  19. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561

    [๔๑๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้น
    สิ่งที่ขึ้นก่อน สิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อน คือ แสงเงินแสงทอง ฉันใด
    สิ่งที่เป็นเบื้องต้น เป็นนิมิตมาก่อน เพื่อความบังเกิดขึ้นแห่งโพชฌงค์ ๗ แก่ภิกษุ
    คือ ความเป็นผู้มีมิตรดี ฉันนั้นเหมือนกัน
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้มีมิตรดี พึงหวังข้อนี้ได้ว่า
    จักเจริญโพชฌงค์ ๗ จักกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗.

    [๔๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้มีมิตรดี ย่อมเจริญโพชฌงค์ ๗
    ย่อมกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างไรเล่า?
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ
    ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีมิตรดี ย่อมเจริญโพชฌงค์ ๗ ย่อมกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างนี้แล.

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 ตุลาคม 2012
  20. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561

    [๔๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้น
    สิ่งที่เกิดขึ้นก่อน สิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อน คือ แสงเงินแสงทอง ฉันใด
    สิ่งที่เป็นเบื้องต้น เป็นนิมิตมาก่อน เพื่อความบังเกิด แห่งโพชฌงค์ ๗ แก่ภิกษุ
    คือ การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ฉันนั้นเหมือนกัน

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย
    พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญโพชฌงค์ ๗ จักกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗.

    [๔๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยการกระทำไว้ในใจ โดยแยบคาย
    ย่อมเจริญโพชฌงค์ ๗ ย่อมกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างไรเล่า?

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ
    ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย
    ย่อมเจริญโพชฌงค์ ๗ ย่อมกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างนี้แล.

     

แชร์หน้านี้

Loading...