รวบรวมคติธรรมดี ๆ มาให้อ่านกัน...

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย J.Sayamol, 16 มีนาคม 2009.

  1. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 72.jpg
      72.jpg
      ขนาดไฟล์:
      448.2 KB
      เปิดดู:
      100
  3. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 73.jpg
      73.jpg
      ขนาดไฟล์:
      345.3 KB
      เปิดดู:
      96
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2012
  4. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 74.jpg
      74.jpg
      ขนาดไฟล์:
      391.3 KB
      เปิดดู:
      94
  5. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    อวกุชชิตาสูตร
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ
    บุรุษมีปัญญาคว่ำ เป็นคนเขลา ไร้ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา
    บุรุษเช่นนั้น แม้หากจะหมั่นไปในสำนักของภิกษุเสมอ ก็ไม่
    อาจจะเล่าเรียนเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดของกถาได้ เพราะ
    เขาไม่มีปัญญา บุรุษมีปัญญาเหมือนตัก เรากล่าวว่าดีกว่าบุรุษ
    ที่มีปัญญาคว่ำ บุรุษเช่นนั้นถึงแม้จะไปในสำนักของภิกษุ
    เสมอ นั่งบนอาสนะนั้น เรียนเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุด
    ของกถาได้ ครั้นลุกมาแล้ว กำหนดจดจำพยัญชนะไม่ได้
    เพราะพยัญชนะที่เขาเรียนแล้วเลอะเลือนไป ส่วนบุรุษผู้มี
    ปัญญากว้างขวาง เรากล่าวว่าดีกว่าบุรุษที่มีปัญญาเหมือนตัก
    บุรุษเช่นนั้น แม้ไปในสำนักของภิกษุเสมอ นั่งบนอาสนะนั้น
    เล่าเรียนเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดของกถาได้ แล้วจำ
    พยัญชนะไว้ เป็นคนมีความดำริประเสริฐสุด มีใจไม่สงสัย
    ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม พึงทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ฯ
     
  6. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    คูถภาณีสูตร

    [๔๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
    ๓ จำพวกเป็นไฉน คือ

    บุคคลที่พูดถ้อยคำเหม็นเหมือนคูถ ๑
    บุคคลที่พูดถ้อยคำหอมเหมือนดอกไม้ ๑
    บุคคลที่พูดถ้อยคำหวานปานน้ำผึ้ง ๑

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้พูดถ้อยคำเหม็นเหมือนคูถ เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ไปในสภาก็ดี ไปในบริษัทก็ดี ไปในท่ามกลางหมู่ญาติก็ดี
    ไปในท่ามกลางเสนาก็ดี ไปในท่ามกลางราชสกุลก็ดี ถูกเขาอ้างเป็นพยาน
    ถามว่า แน่ะบุรุษผู้เจริญ ท่านรู้อย่างใด จงกล่าวอย่างนั้น เขาไม่รู้ก็กล่าวว่ารู้
    หรือรู้ก็กล่าวว่าไม่รู้ ไม่เห็นกล่าวว่าเห็น หรือเห็นกล่าวว่าไม่เห็น
    แกล้งกล่าวเท็จทั้งที่รู้ เพราะเหตุแห่งตน เพราะเหตุแห่งคนอื่น
    หรือเพราะเห็นแก่อามิสเล็กน้อย ด้วยประการฉะนี้
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าบุคคลผู้พูดด้วยถ้อยคำเหม็นเหมือนคูถ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้พูดด้วยถ้อยคำหอมเหมือนดอกไม้ เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ไปในสภาก็ดี ไปในบริษัทก็ดี ไปในท่ามกลางหมู่ญาติก็ดี
    ไปในท่ามกลางเสนาก็ดี ไปในท่ามกลางราชสกุลก็ดี ถูกเขาอ้างเป็นพยาน
    ถามว่า แน่ะบุรุษผู้เจริญ ท่านรู้อย่างใด จงกล่าวอย่างนั้น เขาเมื่อไม่รู้กล่าวว่าไม่รู้
    หรือเมื่อรู้ก็กล่าวว่ารู้ เมื่อไม่เห็นก็กล่าวว่าไม่เห็น หรือเมื่อเห็นก็กล่าวว่าเห็น
    ย่อมไม่แกล้งกล่าวเท็จทั้งที่รู้ เพราะเหตุแห่งตน เพราะเหตุแห่งคนอื่น
    หรือเพราะเห็นแก่อามิสเล็กน้อย ด้วยประการฉะนี้
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าบุคคลพูดถ้อยคำหอมเหมือนดอกไม้

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้พูดถ้อยคำหวานปานน้ำผึ้ง เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ละคำหยาบ เว้นขาดจากคำหยาบ
    พูดแต่วาจาที่ไม่มีโทษ เสนาะโสต เป็นที่รัก จับหัวใจ เป็นวาจาชาวเมือง
    เป็นถ้อยคำที่ชนเป็นอันมากพอใจชอบใจ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าบุคคลผู้พูดถ้อยคำหวานปานน้ำผึ้ง

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ
     
  7. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    วนโรปสูตร
    [๑๔๕] เทวดาทูลถามว่า
    ชนพวกไหนมีบุญ เจริญในกาลทุกเมื่อทั้งกลางวันและกลางคืน
    ชนพวกไหนตั้งอยู่ในธรรม สมบูรณ์ด้วยศีลเป็นผู้ไปสวรรค์ ฯ

    [๑๔๖] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
    ชนเหล่าใดสร้างอาราม (สวนไม้ดอกไม้ผล) ปลูกหมู่ไม้
    (ใช้ร่มเงา) สร้างสะพาน และชนเหล่าใดให้โรงน้ำเป็นทาน
    และบ่อน้ำทั้งบ้านที่พักอาศัย ชนเหล่านั้นย่อมมีบุญ เจริญ
    ในกาลทุกเมื่อทั้งกลางวันและกลางคืน ชนเหล่านั้นตั้งอยู่ใน
    ธรรม สมบูรณ์ด้วยศีล เป็นผู้ไปสวรรค์ ฯ
     
  8. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    คามณิจันทชาดก
    ลิงเป็นสัตว์ไม่รู้จักเหตุ

    [๓๗๐] สัตว์ตัวนี้ ไม่ฉลาดที่จะทำเรือน มีปกติหลุกหลิก หนังที่หน้าย่น
    พึงประทุษร้ายของที่เขาทำไว้แล้ว ตระกูลสัตว์นี้ มีอย่างนั้นเป็นธรรมดา.

    [๓๗๑] ขนอย่างนี้ ไม่ใช่ขนของสัตว์ที่มีความคิดฉลาด ลิงตัวนี้จะทำให้ผู้อื่น
    ยินดีไม่ได้ พระราชบิดาของเราทรงพระนามว่า ชนสันธนะ ได้ตรัส
    สอนไว้ว่า ธรรมดาลิงย่อมไม่รู้จักเหตุอันใดอันหนึ่ง.

    [๓๗๒] สัตว์เช่นนั้น จะพึงเลี้ยงดูมารดาบิดา หรือพี่ชายพี่สาวของตนไม่ได้เลย
    คำสอนนี้ พระราชบิดาของเราได้ทรงสั่งสอนไว้อย่างนี้.

    จบ คามณิจันทชาดก
     
  9. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    อันนนาถสูตร

    ครั้งนั้นแล ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
    ถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
    ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรคฤหบดี สุข ๔ ประการนี้
    อันคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามพึงได้รับตามกาลตามสมัย สุข ๔ ประการเป็นไฉน คือ

    สุขเกิดแต่ความมีทรัพย์ ๑
    สุขเกิดแต่การจ่ายทรัพย์บริโภค ๑
    สุขเกิดแต่ความไม่เป็นหนี้ ๑
    สุขเกิดแต่ประกอบการงานที่ปราศจากโทษ ๑

    ดูกรคฤหบดี ก็สุขเกิดแต่ความมีทรัพย์เป็นไฉน
    โภคทรัพย์ของกุลบุตรในโลกนี้เป็นของที่เขาหามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร
    สั่งสมขึ้นด้วยกำลังแขน มีเหงื่อโทรมตัว ประกอบในธรรม ได้มาโดยธรรม
    เขาย่อมได้รับความสุขโสมนัสว่า โภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร
    สั่งสมขึ้นด้วยกำลังแขน มีเหงื่อโทรมตัว ประกอบในธรรม ได้มาโดยธรรมของ
    เรามีอยู่ นี้เรียกว่า สุขเกิดแต่ความมีทรัพย์

    ดูกรคฤหบดี ก็สุขเกิดแต่การจ่ายทรัพย์บริโภคเป็นไฉน
    กุลบุตรในโลกนี้ ย่อมใช้สอยโภคทรัพย์ และย่อมกระทำ
    บุญทั้งหลาย ด้วยโภคทรัพย์ที่ตนหามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร สั่งสมขึ้นด้วย
    กำลังแขน มีเหงื่อโทรมตัว ประกอบในธรรม ได้มาโดยธรรม เขาย่อมได้รับ
    ความสุขโสมนัสว่า เราย่อมใช้สอยโภคทรัพย์ และย่อมกระทำบุญทั้งหลายด้วย
    โภคทรัพย์ ฯลฯ นี้เรียกว่า สุขเกิดแต่การจ่ายทรัพย์บริโภค

    ดูกรคฤหบดีก็สุขเกิดแต่ความไม่เป็นหนี้เป็นไฉน
    กุลบุตรในโลกนี้ ย่อมไม่เป็นหนี้อะไรๆ ของใครๆ น้อยก็ตาม มากก็ตาม
    เขาย่อมได้รับความสุขโสมนัสว่า เราไม่เป็นหนี้อะไรๆ ของใครๆ น้อยก็ตาม
    มากก็ตาม นี้เรียกว่า สุขเกิดแต่ความไม่เป็นหนี้

    ดูกรคฤหบดี ก็สุขเกิดแต่การประกอบการงานที่ปราศจากโทษเป็นไฉน
    อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม
    อันหาโทษมิได้ เขาย่อมได้รับความสุขโสมนัสว่า เราประกอบด้วยกายกรรม
    วจีกรรม มโนกรรม อันหาโทษมิได้
    นี้เรียกว่า สุขเกิดแต่การประกอบการงานที่ปราศจากโทษ

    ดูกรคฤหบดี สุข ๔ ประการนี้แล อันคฤหบดีผู้บริโภคกามพึงได้รับตาม
    กาลตามสมัย ฯ

    นรชนผู้มีอันจะตายเป็นสภาพ รู้ความไม่เป็นหนี้ว่าเป็นสุขแล้ว
    พึงระลึกถึงสุขเกิดแต่ความมีทรัพย์ เมื่อใช้สอยโภคะเป็นสุข
    อยู่ ย่อมเห็นแจ้งด้วยปัญญา ผู้มีเมธาดี เมื่อเห็นแจ้ง ย่อมรู้
    ส่วนทั้ง ๒ ว่า สุขแม้ทั้ง ๓ อย่างนี้ ไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ อัน
    จำแนกแล้ว ๑๖ ครั้ง ของสุขเกิดแต่การประกอบการงานที่
    ปราศจากโทษ ฯ
    จบสูตร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 ตุลาคม 2012
  10. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    ปัญหาสูตร

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัญหาพยากรณ์ ๔ อย่างนี้ ๔ อย่างเป็นไฉน คือ
    ปัญหาที่พึงพยากรณ์โดยส่วนเดียวมีอยู่ ๑
    ปัญหาที่พึงจำแนกพยากรณ์มีอยู่ ๑
    ปัญหาที่ต้องสอบถามแล้วพยากรณ์มีอยู่ ๑
    ปัญหาที่ควรงดมีอยู่ ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัญหาพยากรณ์ ๔ อย่าง นี้แล ฯ

    ๑. กล่าวแก้โดยส่วนเดียว
    ๒. จำแนกกล่าวแก้
    ๓. ย้อนถามกล่าวแก้
    ๔. การงดกล่าวแก้
    อนึ่ง ภิกษุใดย่อมรู้ความสมควร แก่ธรรมในฐานะนั้นๆ แห่งปัญญาเหล่านั้น
    บัณฑิตทั้งหลายกล่าวภิกษุอย่างนั้นว่า เป็นผู้ฉลาดต่อปัญหาทั้ง ๔
    ภิกษุผู้ที่ใครๆ ไล่ปัญหาได้ยาก ครอบงำได้ยาก เป็นผู้ลึกซึ้ง
    ให้พ่ายแพ้ได้ยาก และเป็นผู้ฉลาดต่อประโยชน์ทั้ง ๒ คือ
    ทั้งในด้านเจริญและในด้านเสื่อม ย่อมเป็นผู้ฉลาดงดเว้น
    ทางเสื่อม ถือเอาทางเจริญ เป็นธีรชนเพราะรู้จักประโยชน์
    ชาวโลกขนานนามว่า บัณฑิต ฯ
    จบสูตร
     
  11. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    สุวิทูรสูตร
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ไกลกันแสนไกล ๔ ประการ
    ๔ ประการเป็นไฉน
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฟ้ากับแผ่นดิน นี้เป็นสิ่งที่ไกลกันแสนไกลประการที่ ๑
    ฝั่งนี้และฝั่งโน้นแห่งสมุทร นี้เป็นสิ่งที่ไกลกันแสนไกลประการที่ ๒
    พระอาทิตย์ยามขึ้นและยามอัสดงคตนี้เป็นสิ่งที่ไกลกันแสนไกลประการที่ ๓
    ธรรมของสัตบุรุษและธรรมของอสัตบุรุษ นี้เป็นสิ่งที่ไกลกันแสนไกลประการที่ ๔

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ไกลกันแสนไกล ๔ ประการนี้แล ฯ
    นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า ฟ้ากับดินไกลกัน ฝั่งสมุทร
    ก็ไกลกัน พระอาทิตย์ส่องแสงยามอุทัยกับยามอัสดงคต
    ไกลกัน บัณฑิตกล่าวว่า ธรรมของสัตบุรุษกับธรรมของ
    อสัตบุรุษไกลกันยิ่งกว่านั้น การสมาคมของสัตบุรุษ
    มั่นคงยืดยาว ย่อมเป็นอย่างนั้นตราบเท่ากาลที่พึงดำรงอยู่
    ส่วนการสมาคมของอสัตบุรุษ ย่อมจืดจางเร็ว เพราะฉะนั้น
    ธรรมของสัตบุรุษ จึงไกลจากธรรมของอสัตบุรุษ ฯ
    จบสูตร
     
  12. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    คิหิสามีจิสูตร
    ครั้งนั้นแล อนาถบิณฑิกคฤหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
    ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาค
    ได้ตรัสว่า ดูกรคฤหบดี อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ชื่อว่าเป็นผู้
    ปฏิบัติปฏิปทาสมควรแก่คฤหัสถ์อันเป็นเหตุให้ได้ยศ และเป็นไปเพื่อเกิดใน
    สวรรค์ ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้บำรุง
    ภิกษุสงฆ์ด้วยจีวร ๑
    ด้วยบิณฑบาต ๑
    ด้วยเสนาสนะ ๑
    ด้วยเภสัชบริขารอันเป็นปัจจัยแก่คนไข้ ๑

    ดูกรคฤหบดี อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล
    ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติปฏิปทาอันสมควรแก่คฤหัสถ์
    อันเป็นเหตุให้ได้ยศ และเป็นไปเพื่อสวรรค์ ฯ

    บัณฑิตทั้งหลายบำรุงท่านผู้มีศีล ผู้ดำเนินไปโดยชอบ ด้วย
    จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและเภสัชอันเป็นปัจจัยแก่คนไข้
    ชื่อว่าย่อมปฏิบัติปฏิปทาสมควรแก่คฤหัสถ์ บุญย่อมเจริญ
    แก่เขาทุกเมื่อ ทั้งกลางวันและกลางคืน เขาทำกรรมอัน
    เจริญแล้ว ย่อมเขาถึงฐานะคือสวรรค์ ฯ
    จบสูตร
     
  13. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    ปัตตกรรมสูตร
    ครั้งนั้นแล ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
    ถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มี
    พระภาคได้ตรัสว่า ดูกรคฤหบดี ธรรม ๔ ประการนี้
    น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ

    ขอโภคะจงเกิดขึ้นแก่เราโดยทางธรรม นี้เป็นธรรมประการที่ ๑
    อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก เราได้โภคะทั้งหลายโดยทางธรรมแล้ว

    ขอยศจงเฟื่องฟูแก่เราพร้อมด้วยญาติและมิตรสหาย นี้เป็นธรรมประการที่ ๒
    อันน่าปรารถนา น่าใคร่น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
    เราได้โภคะทั้งหลายโดยทางธรรมแล้ว ได้ยศพร้อมด้วยญาติและมิตรสหายแล้ว

    ขอเราจงเป็นอยู่นาน จงรักษาอายุให้ยั่งยืน นี้เป็นธรรมประการที่ ๓
    อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
    เราได้โภคะทั้งหลายโดยทางธรรมแล้ว ได้ยศพร้อมด้วยญาติและมิตรสหายแล้ว
    เป็นอยู่นาน รักษาอายุให้ยั่งยืนแล้ว เมื่อตายแล้ว

    ขอเราจงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ นี้เป็นธรรมประการที่ ๔
    อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก

    ดูกรคฤหบดี ธรรม ๔ ประการนี้แล น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยาก
    ในโลก ฯ
    ดูกรคฤหบดี ธรรม ๔ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้ธรรม ๔ ประการ
    นี้ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก ธรรม ๔ ประการ
    เป็นไฉน คือ สัทธาสัมปทา ๑ สีลสัมปทา ๑ จาคสัมปทา ๑ ปัญญาสัมปทา ๑

    ดูกรคฤหบดี ก็สัทธาสัมปทาเป็นไฉน อริยสาวกในธรรมวินัย
    ย่อมเป็นผู้มีศรัทธาเชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์
    นั้น เป็นพระอรหันต์ ... เป็นผู้จำแนกธรรม ดูกรคฤหบดี นี้เรียกว่าสัทธาสัมปทา

    ก็สีลสัมปทาเป็นไฉน อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ
    เป็นผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
    นี้เรียกว่า สีลสัมปทา

    ก็จาคสัมปทาเป็นไฉน อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ มีใจ
    ปราศจากมลทิน คือ ความตระหนี่ มีจาคะอันปล่อยแล้ว มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดี
    ในการสละ เป็นผู้ควรแก่การขอ ยินดีในการจำแนกทาน อยู่ครอบครองเรือน
    นี้เรียกว่าจาคสัมปทา

    ก็ปัญญาสัมปทาเป็นไฉน บุคคลมีใจอันความโลภไม่สม่ำ-
    *เสมอ คือ อภิชฌาครอบงำแล้ว ย่อมทำกิจที่ไม่ควรทำ ไม่ยินดีกิจที่ควรทำ
    เมื่อทำกิจที่ไม่ควรทำ ไม่ยินดีกิจที่ควรทำอยู่ ย่อมเสื่อมจากยศและความสุข
    บุคคลมีใจอันพยาบาทครอบงำ ... อันถีนมิทธะครอบงำ ... อันอุทธัจจกุกกุจจะ
    ครอบงำ ... อันวิจิกิจฉาครอบงำแล้ว ย่อมทำกิจที่ไม่ควรทำ ไม่ยินดีกิจที่ควรทำ
    ย่อมเสื่อมจากยศและความสุข ดูกรคฤหบดี อริยสาวกนั้นแลรู้ว่า อภิชฌาวิสม-
    *โลภะเป็นอุปกิเลสของจิต ย่อมละอภิชฌาวิสมโลภะอันเป็นอุปกิเลสของจิตเสียได้
    รู้ว่า พยาบาท ... ถีนมิทธะ ... อุทธัจจกุกกุจจะ ... วิจิกิจฉา เป็นอุปกิเลสของ
    จิต ย่อมละวิจิกิจฉาอันเป็นอุปกิเลสของจิต

    ดูกรคฤหบดี เมื่อใดอริยสาวกรู้ว่า
    อภิชฌาวิสมโลภะเป็นอุปกิเลสของจิตดังนี้แล้ว เมื่อนั้นย่อมละเสียได้ เมื่อใด
    อริยสาวกรู้ว่าพยาบาท ... ถีนมิทธะ ... อุทธัจจกุกกุจจะ ... วิจิกิจฉา เป็น
    อุปกิเลสของจิตดังนี้แล้ว เมื่อนั้น ย่อมละเสียได้ อริยสาวกนี้เราเรียกว่า เป็น
    ผู้มีปัญญามาก มีปัญญาหนาแน่น เป็นผู้เห็นทาง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา นี้
    เรียกว่า ปัญญาสัมปทา ดูกรคฤหบดี ธรรม ๔ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อให้
    ได้ธรรม ๔ ประการนี้แล อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก ฯ

    ดูกรคฤหบดี อริยสาวกนี้แล ย่อมเป็นผู้กระทำกรรมอันสมควร ๔
    ประการ ด้วยโภคทรัพย์ที่ตนหามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร สั่งสมขึ้นด้วยกำลัง
    แขน มีเหงื่อโทรมตัว ประกอบในธรรมได้มาแล้วโดยธรรม กรรม ๔ ประการ เป็นไฉน

    คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมเลี้ยงตนให้เป็นสุข เอิบอิ่ม
    บริหารให้เป็นสุขโดยชอบ เลี้ยงมารดา บิดา ให้เป็นสุข เอิบอิ่ม บริหารให้
    เป็นสุขได้โดยชอบ เลี้ยงบุตร ภรรยา คนใช้ คนงาน และบริวารให้เป็นสุข
    เอิบอิ่ม บริหารให้เป็นสุขได้โดยชอบ เลี้ยงมิตรและอำมาตย์ให้เป็นสุข เอิบอิ่ม
    บริหารให้เป็นสุขได้โดยชอบ ด้วยโภคทรัพย์ที่ตนหามาได้ด้วยความขยันหมั่น
    เพียร ฯลฯ นี้เป็นฐานะข้อที่ ๑ ที่อริยสาวกนั้นได้ถึงแล้ว
    คือ ถึงโดยควรแก่เหตุ ได้บริโภคแล้วโดยควร

    อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมป้องกันอันตราย
    ทั้งหลายที่เกิดแต่ไฟ แต่น้ำ แต่พระราชา แต่โจร หรือแต่ทายาทผู้ไม่เป็นที่รัก
    เห็นปานนั้น ด้วยโภคทรัพย์ที่ตนหามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร สั่งสมขึ้นด้วย
    กำลังแขน มีเหงื่อโทรมตัว ประกอบในธรรม ได้มาแล้วโดยธรรม กระทำตน
    ให้สวัสดี นี้เป็นฐานะข้อที่ ๒ ที่อริยสาวกนั้นได้ถึงแล้ว
    คือ ถึงโดยควรแก่เหตุ ได้บริโภคแล้วโดยควร

    อีกประการหนึ่ง อริยสาวกเป็นผู้ทำพลี ๕ ประการ
    คือ ญาติพลี อติถิพลี ปุพพเปตพลี ราชพลี เทวตาพลี ด้วยโภคทรัพย์ที่ตน
    หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร สั่งสมขึ้นด้วยกำลังแขน มีเหงื่อโทรมตัว
    ประกอบในธรรม ได้มาโดยธรรม นี้เป็นฐานะข้อที่ ๓ ที่อริยสาวกนั้นได้ถึงแล้ว
    คือ ถึงแล้วโดยควรแก่เหตุ ได้บริโภคแล้วโดยควร อีกประการหนึ่ง อริยสาวก
    ย่อมยังทักษิณาอันมีผลในเบื้องบน ให้อารมณ์อันเลิศ
    มีสุขเป็นวิบาก เป็นไปเพื่อเกิดในสวรรค์ ให้ตั้งไว้เฉพาะในสมณพราหมณ์
    ผู้งดเว้นจากความประมาทมัวเมา
    ผู้ตั้งอยู่ในขันติและโสรัจจะ ฝึกฝนตนผู้เดียว ยังตนผู้เดียวให้สงบ ยังตนผู้เดียว
    ให้ดับกิเลส เห็นปานนั้น ด้วยโภคทรัพย์ที่ตนหามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร
    สั่งสมด้วยกำลังแขน มีเหงื่อโทรมตัว ประกอบในธรรมได้มาโดยธรรม นี้เป็น
    ฐานะข้อที่ ๔ ที่อริยสาวกนั้นได้ถึงแล้ว
    คือ ถึงโดยควรแก่เหตุ ได้บริโภคแล้วโดยควร

    ดูกรคฤหบดี อริยสาวกนั้นชื่อว่าเป็นผู้กระทำกรรมอันสมควร ๔ ประการ
    นี้ ด้วยโภคทรัพย์ที่ตนหามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร สั่งสมขึ้นด้วยกำลังแขน
    มีเหงื่อโทรมตัว ประกอบในธรรม ได้มาโดยธรรม

    ดูกรคฤหบดี โภคทรัพย์ของใครๆ ถึงความสิ้นไป นอกจากกรรมอันสมควร ๔ ประการนี้
    เราเรียกว่าสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ สิ้นเปลืองไปโดยไม่สมควร ใช้สอยโดยไม่สมควรแก่เหตุ
    ส่วนโภคทรัพย์ของใครๆ ถึงความสิ้นไปด้วยกรรมอันสมควร ๔ ประการนี้
    เราเรียกว่า สิ้นเปลืองไปโดยเหตุอันควร สิ้นเปลืองไปโดยสถานที่ควร ใช้สอย
    โดยสมควรแก่เหตุ

    โภคทรัพย์ทั้งหลายเราได้บริโภคแล้ว คนที่ควรเลี้ยง เราได้
    เลี้ยงแล้ว เราได้ข้ามพ้นอันตรายทั้งหลายไปแล้ว ทักษิณามี
    ผลอันเลิศ เราได้ให้แล้ว อนึ่ง พลีกรรม ๕ ประการ เรา
    ได้กระทำแล้ว ท่านผู้มีศีล สำรวมอินทรีย์ ประพฤติพรหมจรรย์
    เราได้บำรุงแล้ว บัณฑิตอยู่ครอบครองเรือน พึงปรารถนา
    โภคทรัพย์ เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้นเราได้บรรลุแล้ว
    โดยลำดับ กรรมที่ไม่เดือดร้อนในภายหลังเราได้กระทำแล้ว
    นรชนผู้มีอันจะตายเป็นสภาพ เมื่อคำนึงถึงเหตุนี้ เป็นผู้ตั้ง
    อยู่แล้วในธรรมของพระอริยะ บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญ
    เขาในโลกนี้ทีเดียว ครั้นเขาละไปแล้ว ย่อมบันเทิงใน
    โลกสวรรค์ ฯ
    จบสูตร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 ตุลาคม 2012
  14. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  16. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  18. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    วัฏฏาภิรตโสดาบัน

    ท่านพระวัฏฏาภิรตโสดาบันอริยบุคคลนี้ ท่านมีอัธยาศัยยินดีพอใจในวัฏฏะ คือพอใจท่องเที่ยวปฏิสนธิไปในเทวโลกทั้ง ๖ ชั้น เป้นเทวดาเสวยทิพยสมบัติเป็นสุขอยู่ ณ สรวงสวรรค์แดนสุขาวดี พร้อมกันนั้นก็เจริญวิปัสสนากรรมฐานต่อไป จนได้เห็ฯแจ้งแทงตลอดซึ่งพระจตุราริยสัจธรรมเป็นครั้งที่ ๒-๓ สำเร็จเป็นสกิทาคามีอริยบุคคลและพระนาคามีอริยบุคคล แล้วจึงไปอุบัติเกิดเป็นพระพรหมผู้วิเศษบริสุทธิ์ ณ ปัญจสุทวาสพรหมโลก ในครั้งสุดท้ายจะไปอุบัติเกิดเป็นพระพรหม ณ สุทธาวาสพรหมโลกชั้นอกนิษฐภพ แล้วจักมีโอกาสด้บรรลุพระอรหัตผลสำเร็จเป็นพระอรหันตอริยบุคคล ซึ่งเป็นพระอริยบุคคลชั้นสูงสุดในพระบวรพุทธศาสนา.. และแล้วก็จักดับขันธ์เข้าสู่พระปรินิพพาน ณ อกนิษฐสุทธาวาสพรหมโลกนั่นเอง


    ท่านพระวัฏฏาภิรตโสดาบันอริยบุคคลนี้ เท่าที่ปรากฏรายนามตามพระคัมภีร์ปรมัตถทีปนี มีอยู่ ๗ เท่านั้น คือ

    ๑. อนาถปิณฑิกเทวาโสดาบัน
    ๒. วิสาขาเทพนารีโสดาบัน
    ๓.จูฬรถเทวาโสดาบัน
    ๔. มหารถเทวาโสดาบัน
    ๕. อเนกวรรณเทวาโสดาบัน
    ๖. สักกเทวราชาธิราชโสดาบัน
    ๗. นาคทัตตเทวาโสดาบัน

    เพราะเหตุที่ท่านพระวัฏฏาภิรตโสดาบันนี้ ท่านจะต้องท่องเที่ยวไปเสวยพรหมสมบัติในพรหมโลกทั้งหลาย โดยมีอัธยาศัยพอใจยินดีในวัฏฏะเช่นนี้
     
  19. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    ปัญหาปุจฉาสูตร
    ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายว่า
    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น รับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า
    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ก็ภิกษุบางรูปย่อมถามปัญหากะภิกษุอื่นด้วยเหตุ ๕ ประการ
    ทั้งหมดหรืออย่างใดอย่างหนึ่ง เหตุ ๕ ประการเป็นไฉน คือ

    ภิกษุบางรูปย่อมถามปัญหากะภิกษุอื่นเพราะโง่เขลา เพราะหลงลืม ๑
    ภิกษุบางรูปเป็นผู้มีความปรารถนาลามก ถูกความปรารถนาครอบงำ จึงถามปัญหากะภิกษุอื่น ๑
    ภิกษุบางรูปดูหมิ่นจึงถามปัญหากะภิกษุอื่น ๑
    ภิกษุบางรูปประสงค์จะรู้จึงถามปัญหากะภิกษุอื่น ๑

    อนึ่ง ภิกษุบางรูปคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุอื่นถ้าถูกเราถามปัญหาก็จักแก้โดยชอบ
    ข้อนั้นเป็นความดี แต่ถ้าถูกเราถามปัญหาจักไม่แก้โดยชอบ
    เราเองจักแก้โดยชอบแก่เธอ ดังนี้ จึงถามปัญหากะภิกษุอื่น ๑

    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ก็ภิกษุบางรูป ย่อมถามปัญหากะภิกษุอื่น ด้วยเหตุ ๕ ประการ
    ทั้งหมดหรืออย่างใดอย่างหนึ่ง

    ส่วนข้าพเจ้าคิดอย่างนี้ว่า ถ้าภิกษุถูกเราถามปัญหาจักแก้โดยชอบ
    ข้อนั้นเป็นความดีแต่ถ้าถูกเราถามปัญหาจักไม่แก้โดยชอบ
    เราเองจักแก้โดยชอบแก่เธอ ดังนี้ จึงถามปัญหากะภิกษุอื่น ฯ

    จบสูตร
     
  20. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    อรณวิภังคสูตร
    [๖๕๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของ
    อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก
    ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว พระผู้มี-
    *พระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอรณวิภังค์แก่เธอทั้งหลาย
    พวกเธอจงฟังอรณวิภังค์นั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป ภิกษุเหล่านั้น
    ทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ฯ

    [๖๕๔] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ไม่พึงประกอบเนืองๆ ซึ่ง
    สุขอาศัยกาม อันเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ
    ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และไม่พึงประกอบเนืองๆ ซึ่งความเพียรเครื่อง
    ประกอบตนให้ลำบาก อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วย
    ประโยชน์ ความปฏิบัติปานกลาง ไม่เข้าใกล้ที่สุด ๒ อย่างนี้นั้น อันตถาคต
    รู้พร้อมด้วยปัญญายิ่งแล้ว เป็นข้อปฏิบัติทำให้มีจักษุ ทำให้มีญาณ เป็นไป
    เพื่อความเข้าไปสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน พึงรู้จัก
    การยกยอและการตำหนิ ครั้นรู้แล้ว ไม่พึงยกยอ ไม่พึงตำหนิ พึงแสดงแต่
    ธรรมเท่านั้น พึงรู้ตัดสินความสุข ครั้นรู้แล้ว พึงประกอบเนืองๆ ซึ่งความ
    สุขภายใน ไม่พึงกล่าววาทะลับหลัง ไม่พึงกล่าวคำล่วงเกินต่อหน้า พึงเป็นผู้
    ไม่รีบด่วนพูด อย่าพูดรีบด่วน ไม่พึงปรักปรำภาษาชนบท ไม่พึงล่วงเลยคำพูด
    สามัญเสีย นี้อุเทศแห่งอรณวิภังค์ ฯ.........

    อรณวิภังคสูตร (ต่อ)
     

แชร์หน้านี้

Loading...