พอใจรูม

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย ppojai, 3 ตุลาคม 2010.

  1. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    [​IMG]

    มาแทรก เอามาเล่ากันลืม
    เนื้อเรื่องย่อ
    ท้าวยศวิมลมีมเหสีชื่อนางจันท์เทวี มีสนมเอกชื่อนางจันทาเทวี ไม่มีโอรสธิดา จึงบวงสรวงและรักษาศีลห้าเพื่อขอบุตร และประกาศแก่พระมเหสีและนางสนมว่าถ้าใครมีโอรสก็จะมอบเมืองให้ครอง
    อยู่มานางจันท์เทวีทรงครรภ์ เทวบุตรจุติมา เป็นพระโอรสของนาง แต่ประสูติมาเป็นหอยสังข์ นางจันทาเทวีเกิดความริษยาจึงติดสินบนโหรหลวงให้ทำนายว่าหอยสังข์จะทำให้บ้านเมืองเกิดความหายนะ ท้าวยศวิมลหลงเชื่อนางจันทาเทวี จึงจำใจต้องเนรเทศนางจันท์เทวีและหอยสังข์ไปจากเมือง
    นางจันท์เทวีพาหอยสังข์ไปอาศัยตายายช่าวไร่ ช่วยงานตายายเป็นเวลา 5 ปี พระโอรสในหอยสังข์แอบออกมาช่วยทำงาน เช่น หุงหาอาหาร ไล่ไก่ไม่ให้จิกข้าว เมื่อนางจันท์เทวีทราบก็ทุบหอยสังข์เสีย
    ในเวลาต่อมา พระนางจันทาเทวีได้ไปว่าจ้างแม่เฒ่าสุเมธาให้ช่วยทำเสน่ห์เพื่อที่ท้าวยศวิมลจะได้หลงอยู่ในมนต์สะกด และได้ยุยงให้ท้าวยศวิมลไปจับตัวพระสังข์มาประหาร ท้าวยศวิมลจึงมีบัญชาให้จับตัวพระสังข์มาถ่วงน้ำ แต่ท้าวภุชงค์(พญานาค) ราชาแห่งเมืองบาดาลก็มาช่วยไว้ และนำไปเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม ก่อนจะส่งให้นางพันธุรัตเลี้ยงดูต่อไปจนพระสังข์มีอายุได้ 15 ปีบริบูรณ์
    วันหนึ่ง นางพันธุรัตได้ไปหาอาหาร พระสังข์ได้แอบไปเที่ยวเล่นที่หลังวัง และได้พบกับบ่อเงิน บ่อทอง รูปเงาะ เกือกทอง(รองเท้าทองนั้นเอง) ไม้พลอง และพระสังข์ก็รู้ความจริงว่านางพันธุรัตเป็นยักษ์ เมื่อพระสังข์พบเข้ากับโครงกระดูก จึงได้เตรียมแผนการหนีด้วยการสวมกระโดดลงไปชุบตัวในบ่อทอง สวมรูปเงาะ กับเกือกทอง และขโมยไม้พลองเหาะหนีไป
    เมื่อนางพันธุรัตทราบว่าพระสังข์หนีไป ก็ออกตามหาจนพบพระสังข์อยู่บนเขาลูกหนึ่ง จึงขอร้องให้พระสังข์ลงมา แต่พระสังข์ก็ไม่ยอม นางพันธุรัตจึงเขียนมหาจินดามนตร์ที่ใช้เรียกเนื้อเรียกปลาได้ไว้ที่ก้อนหิน ก่อนที่นางจะอกแตกตาย ซึ่งพระสังข์ได้ลงมาท่องมหาจินดามนตร์จนจำได้ และได้สวมรูปเงาะออกเดินทางต่อไป
    พระสังข์เดินทางมาถึงเมืองสามล ซึ่งมีท้าวสามลและพระนางมณฑาปกครองเมือง ซึ่งท้าวสามลและพระนางมณฑามีธิดาล้วนถึง 7 พระองค์ โดยเฉพาะ พระธิดาองค์สุดท้องที่ชื่อ รจนา มีสิริโฉมเลิศล้ำกว่าธิดาทุกองค์ จนวันหนึ่ง ท้าวสามลได้จัดให้มีพิธีเสี่ยงมาลัยเลือกคู่ให้ธิดาทั้งเจ็ด ซึ่งธิดาทั้ง 6 ต่างเสี่ยงมาลัยได้คู่ครองทั้งสิ้น เว้นแต่นางรจนาที่มิได้เลือกเจ้าชายองค์ใดเป็นคู่ครอง ท้าวสามลจึงได้ให้ทหารไปนำตัวพระสังข์ในร่างเจ้าเงาะซึ่งเป็นชายเพียงคนเดียวที่เหลือในเมืองสามล ซึ่งนางรจนาเห็นรูปทองภายในของเจ้าเงาะ จึงได้เสี่ยงพวงมาลัยให้เจ้าเงาะ ทำให้ท้าวสามลโกรธมาก เนรเทศนางรจนาไปอยู่ที่กระท่อมปลายนากับเจ้าเงาะ
    ท้าวสามลคิดจะกำจัดเจ้าเงาะทุกวิถีทาง จึงได้ให้เขยทั้งหมดไปจับปลามาให้ได้คนละร้อยตัว พระสังข์จึงได้ถอดรูปเงาะออก และท่องมหาจินดามนตร์จนได้ปลามานับร้อย ส่วนหกเขยจับปลาไม่ได้เลยสักตัว จึงเข้ามาขอพระสังข์เพราะคิดว่าเป็นเทวดา พระสังข์ก็ยินดีให้ แต่ต้องแลกกับปลายจมูกของหกเขยด้วย
    ต่อมา ท้าวสามลได้ให้เขยทั้งหมดไปหาเนื้อมาให้ได้คนละร้อยตัว พระสังข์ก็ใช้มหาจินดามนตร์จนได้เนื้อมานับร้อย ส่วนหกเขยก็หาไม่ได้อีกตามเคย และได้เข้ามาขอพระสังข์ พระสังข์ก็ยินดีให้ แต่ต้องแลกกับปลายหูของหกเขยด้วย
    ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ของพระอินทร์ อาสน์ที่ประทับของพระอินทร์เกิดแข็งกระด้าง อันเป็นสัญญาณว่ามีผู้มีบุญกำลังเดือดร้อน จึงส่องทิพยเนตรลงไปพบเหตุการณ์ในเมืองสามล จึงได้แปลงกายเป็นกษัตริย์เมืองยกทัพไปล้อมเมืองสามล ท้าให้ท้าวสามลออกมาแข่งตีคลีกับพระองค์ หากท้าวสามลแพ้ พระองค์จะยึดเมืองสามลเสีย
    ท้าวสามลส่งหกเขยไปแข่งตีคลีกับพระอินทร์ แต่ก็แพ้ไม่เป็นท่า จึงจำต้องเรียกเจ้าเงาะให้มาช่วยตีคลี ซึ่งนางรจนาได้ขอร้องให้สามีช่วยถอดรูปเงาะมาช่วยตีคลี เจ้าเงาะถูกขอร้องจนใจอ่อน และยอมถอดรูปเงาะมาช่วยเมืองสามลตีคลีจนชนะในที่สุด
    หลังจากเสร็จภารกิจที่เมืองสามลแล้ว พระอินทร์ได้ไปเข้าฝันท้าวยศวิมล และเปิดโปงความชั่วของพระนางจันทาเทวี พร้อมกับสั่งให้ท้าวยศวิมลไปรับพระนางจันท์เทวีกับพระสังข์มาอยู่ด้วยกันดังเดิม ท้าวยศวิมลจึงยกขบวนเสด็จไปรับพระนางจันท์เทวีกลับมา และพากันเดินทางไปยังเมืองสามลเมื่อตามหาพระสังข์
    ท้าวยศวิมลและพระนางจันท์เทวีปลอมตัวเป็นสามัญชนเข้าไปอยู่ในวัง โดยท้าวยศวิมลเข้าไปสมัครเป็นช่างสานกระบุง ตะกร้า ส่วนพระนางจันท์เทวีเข้าไปสมัครเป็นแม่ครัว และในวันหนึ่ง พระนางจันท์เทวีก็ปรุงแกงฟักถวายพระสังข์ โดยพระนางจันท์เทวีได้แกะสลักชิ้นฟักเจ็ดชิ้นเป็นเรื่องราวของพระสังข์ตั้งแต่เยาว์วัย ทำให้พระสังข์รู้ว่าพระมารดาตามมาแล้ว จึงมาที่ห้องครัวและได้พบกับพระมารดาที่พลัดพรากจากกันไปนานอีกครั้ง
    หลังจากนั้น ท้าวยศวิมล พระนางจันท์เทวี พระสังข์กับนางรจนาได้เดินทางกลับเมืองยศวิมล ท้าวยศวิมลได้สั่งประหารพระนางจันทาเทวี และสละราชสมบัติให้พระสังข์ได้ครองราชย์สืบต่อมา
    [แก้] บทละคร

    มีทั้งหมด 9 ตอนดังนี้
    1. กำเนิดพระสังข์
    2. ถ่วงพระสังข์
    3. นางพันธุรัตน์เลี้ยงพระสังข์
    4. พระสังข์หนีนางพันธุรัต
    5. ท้าวสามลให้นางทั้งเจ็ดเลือกคู่
    6. ท้าวสามลให้ลูกเขยหาปลาหาเนื้อ
    7. พระสังข์ตีคลี
    8. ท้าวยศวิมลตามพระสังข์
     
  2. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    :cool:คุณลุงหมานจะสอนอารายพอใจคะ..
    ให้อ่านสังข์ทอง..กันลืมเหรอคะ..
    ขอบพระคุณที่แวะมาทักทายค่ะ
     
  3. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    :cool: คิดถึงก็เอานิทานมาฝาก
    ไม่ได้สอนอะไรหละจร้า คนแก่ก็งี้แหละชอบคิดถึงอดีต
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 16 ตุลาคม 2012
  4. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    (k):cool: ค่ะ..อดีต ก็กลายเป็นสัญญาไปแล้วค่ะลุงหมาน....เห็นลุงหมานก็นึกถึง หนูจั่น หนูพิมพ์ หนูน่านนะซิ เพราะเธอ ๆ มาพร้อมกัน แล้วก็หายตัว วับ ๆ ๆ ไปพร้อมกัน เหลือไว้เพียงสัญญาความทรงจำ ไม่รู้ว่าจะได้มีโอกาสทักทายก่อนน้ำจะท่วมโลกหรือเปล่านะคะ ลุงหมาน..แต่ยังไง..ก็สุดดีใจที่ยังได้ทักทายลุงหมานอยู่เสมอ ๆ ยังคิดถึงค่ะ..
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 16 ตุลาคม 2012
  5. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,773
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,038
    แวะมาทักทายค่ะ ด้วยความรักจากพี่ต้อย:VO:z10(f)
     
  6. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    (k):cool: ขอบพระคุณ คุณพี่ต้อย สุภาทร ที่แวะมาทักทายค่ะ รักและคิดถึงเสมอ ๆ ค่ะ
     
  7. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    จากคำถามเรื่องเอาจิ<WBR>ตไปเกาะพระแล้วจะทำงานได้อย่<WBR>างไรdutchanee (ครูดัช)
    คำตอบ...
    การทำงานทำการของเราเป็นการปฎฺ<WBR>บัติการทางขันธ์คือกาย และสมอง
    แต่การทำงานของจิตคือการนำจิ<WBR>ตไปเกาะพระ (เห็นภาพพระ) การระลึกนึกถึงพระคนละส่วนกัน คนละเวอร์ชั่น คนละภาค
    ...............
    ในยามปกติเราไม่ได้ทำงานเราก้<WBR>อจะสามารถนึกเห็นภาพพระได้<WBR>ตลอดเวลา
    แต่ยามเมื่อต้องทำงานนั้นมันช่<WBR>างยากเย็นนักในการต้องคอยส่<WBR>องหาภาพพระ
    เอางี้สิ...
    เคยเป็นมั้ย เวลาทำงานนึกถึงแฟน ลองเปลี่ยนแฟนมาเป็นภาพพระ
    เคยเป็นมั้ย เวลาทานข้าว นึกถึงแฟน ลองเปลี่ยนแฟนมาเป็นภาพพระ
    เคยเป็นมั้ยเวลาขับรถนึกถึงแฟน ลองเปลี่ยนแฟนมาเป็นภาพพระ
    เคยเป็นมั้ยเวลาคุยโทรศัพท์ ใจไปอยู่ที่แฟน ลองเปลี่ยนแฟนมาเป็นภาพพระ
    เคยเป็นมั้ยเวลาประชุมใจไปหาแฟน ลองเปลี่ยนแฟนมาเป็นภาพพระ
    เคยเป็นมั้ยเข้าส้วมแล้วนึกถึ<WBR>งแฟน ลองเปลี่ยนแฟนเป็นภาพพระ
    ทุกอิริยาบทที่ทำเปลี่ยนมันให้<WBR>หมดให้เป็นภาพพระ
    แฟนไม่รู้หรอกว่าจิตเรา เปลี๊ยนไป๋ 5555555
    ถามหน่อย....
    ตอนนึกถึงแฟน ทำไมทำงานได้ ทำไมตักข้าวเข้าปากได้ไม่เอาเข้<WBR>าทางจมูก
    ทำไมขับรถไปแล้วไม่ชนเพื่อน ทำไมโทรศัพท์ได้โดยไม่หลงการพู<WBR>ดคุย
    ทำไมยังประชุมได้ พูดและฟังการประชุมเข้าใจ ทำไม ของเสียยังออกได้ทั้งๆที่ไม่ได้<WBR>คิดถึงมัน
    ทำไมและทำไม
    ก้อเพราะ....
    กายกับจิตไม่ได้ออกแบบมาเพื่<WBR>อทำงานร่วมกัน แต่มานุดเรานี้แหละเหลวเอง
    เอามาปนกันจน เละ แหลก ลาน ลน ร้อน วน วุ่น วาย จนจิตหาที่มาที่ไปไม่เจอ
    จะนิ่งซักหน่อย ก้อยังมีเรื่องเข้ามาได้ตลอด
    พอจะรู้รึยังว่า ทำไมพี่ดัชบอกให้เอาจิ<WBR>ตไปเกาะพระ เกาะให้จิตนิ่งไง พักเขาไว้มั่ง
    อย่าพาจิตส่งออกไปข้<WBR>างนอกตลอดเวลา จิตอยู่ที่นี่กับพระ กายก้อทำงานไปสิ
    เหมือนกับนึกถึ<WBR>งแฟนตลอดและทำงานได้เรื่อยๆ นั่นไง
    ต่อคำถามว่า...แล้<WBR>วจะมองหาภาพพระตลอดได้ไง เพราะต้องทำงาน
    เอางี้สิ.......
    เมื่อมองเห็นภาพพระแล้ว ทรงอารมณ์สบายดีแล้ว แม้ภาพพระหายไป อารมณ์สบายยังอยู่
    จิตไม่วอกแวก แสดงว่าจิตเกาะพระติด และให้คอยเข้าไปเช็คว่าภาพพระ
    ยังอยู่มั้ยหากภาพพระยังอยู่นึ<WBR>กปั๊บมาปุ๊บ จิตยังเกาะพระอยู่ แต่หากยังใช้เวลานานในการ
    หาภาพพระแสดงว่า จิตหลุดจากการเกาะพระแล้ว ได้ข้อสรุปรึยัง
    คือ เมื่อภาพพระไม่อยู่ให้เห็น แต่ยังสามารถทรงอารมณ์สบายๆได้<WBR>อยู่
    ก้อถือว่าใช้ได้ จิตเกาะพระดี แต่ต้องคอยเช็คหาภาพพระอยู่เนื<WBR>องๆนะ
    วันนี้จบแค่นี้ก่อน ขอให้จัดเรื่องศีลให้ลงล๊อคด้<WBR>วยให้พร้อมและเต็ม
    ขอเป็นกำลังใจในการปฎิบัติ<WBR>หลายๆเด้อ

    จากพี่เพ็ญ
     
  8. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,773
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,038
    อนุโมทนาสาธุ และขอบพระคุณในธรรมทานค่ะ "สัพพะทานัง ธรรมะทานัง ชินาติ"catt1
     
  9. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    ธรรมะน่ารู้..จากพี่ต้อย..สุภาทร


    ธาตุ-ขันธ์-อายตนะ สัมพันธ์
    หลวงปู่ เทสก์ เทสรังสี
    [​IMG]มนุษย์ ตัวตนคนเราที่เกิดขึ้นมาแล้วนี้<WBR>ย่อมมีของสามอย่างนี้เป็นสมบัติ<WBR>เบื้องต้น ก่อนจะมีสมบัติใดๆทั้งสิ้น แล้วก็เป็นของสัมพันธ์เกี่ยวเนื<WBR>่องกันโดยเฉพาะด้วย จะดีจะชั่วจะสุกจะดิบจะเป็<WBR>นโลกเป็นธรรม ก็ต้องมีของสามอย่างนี้เสียก่<WBR>อนเป็นมูลฐาน เป็นเครื่องวัดเครื่<WBR>องหมายแสดงออกมาว่าอะไรเป็นอะไร ผู้ถือว่าเรา ว่าเขา ว่าสุข ว่าทุกข์ ก็ถืออยู่ในองค์ของสามอย่างนี้ หลงอยู่ในห้วงของสามอย่างนี้ ผู้จะรู้แจ้งเห็นจริงจนเป็นสั<WBR>จจะก็รู้แจ้งเห็นจริ<WBR>งในของสามอย่างนี้ ของสามอย่างนี้เป็นเครื่องวั<WBR>ดเครื่องเทียบโลกแลธรรมได้เป็<WBR>นอย่างดี ผู้ไม่เห็นของสามอย่างนี้ก็<WBR>ตกไปจมอยู่ในของสามอย่างนี้ หรือผู้ที่เห็นแล้วแต่ยังไม่ชั<WBR>ดแจ้งก็ปล่อยวางไม่ได้ เข้าไปยึดเอามาเป็นของตัวก็มี เรียกย่อๆ ว่าผู้เห็นตนเป็นโลกแล้วย่<WBR>อมไปดึงเอาของสามอย่างนั้นหรื<WBR>อสิ่งเกี่ยวเนื่อง ของสามอย่างนั้นมาเป็นโลกไปด้วย ส่วนผู้ที่ท่านเห็นว่าตนเป็<WBR>นธรรมแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นแต่สักว่<WBR>าธรรมเท่านั้น หาได้มีตนมีตัวหรืออะไรทั้<WBR>งหมดไม่ เช่นธาตุสี่ ก็เป็นสักแต่ว่าธรรมธาตุ ขันธ์ ๕ ก็เป็นสักว่าธรรมขันธ์ ส่วนอายตนะ ๖ ก็รวมอยู่ในธรรมทั้งสองนี้

    ฉะนั้น ต่อไปนี้จะได้อธิบายถึ<WBR>งธรรมสามอย่างที่กล่าวข้างต้นนั<WBR>้น เพื่อประโยชน์แก่ผู้ใคร่ในธรรม แล้วจะได้นำไปพิจารณาเพื่อเป็<WBR>นแนวทางนำไปสู่ความสว่างของชีวิ<WBR>ตต่อไป ธรรมสามอย่างนั้นได้แก่ ธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๖

    หาก จะถามว่า ธาตุ-ขันธ์-อายตนะ มีเท่านี้หรือ ทำไมจึงแสดงแต่ ธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๖ เท่านั้น ตอบว่า ธาตุมีมาก เช่นธาตุ ๖ อายตน ๑๘ หรือสิ่งทั้งปวงที่มีอยู่<WBR>ในโลกนี้เรียกว่าธาตุทั้งหมด ดัง ที่ท่านเรียกว่า "โลกธาตุ" แม้พระนิพพาน ท่านก็เรียกว่านิพพานธาตุ ขันธ์ก็มีมากเหมือนกัน ขันธ์แปลว่ากองว่าเหล่าหรือหมู่<WBR>หมวด ท่านแสดงภูมิของสัตว์ที่ยังมีกิ<WBR>เลสเวียนอยู่ในโลกนี้ไว้ว่า ต้องเกิดอยู่ในภพที่มีขันธ์ ๕ ได้แก่มนุษย์และต่ำลงไปกว่ามนุ<WBR>ษย์ ตลอดถึงนรก ๑ ขันธ์ ๔ ได้แก่เทพผู้ไม่มีรูป ๑ ขันธ์ได้แก่พรหมผู้มีรูป ๑ รวมความจริงแล้วโลกนี้พร้<WBR>อมเทวโลกแลพรหมโลก ท่านก็เรียกว่าขันธ์โลก ส่วนข้อความแห่งธรรมที่พระพุ<WBR>ทธเจ้าทรงแลดงไว้แล้วเป็<WBR>นหมวดหมู่ ท่านก็เรียกว่าขันธ์ทั้งนั้น ที่เรียกว่<WBR>าพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้ามี ๘๔๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ดังนี้เป็นต้น ส่วนอายตนะนี่ก็แยกออกไปจากธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ แต่มีหน้าที่การงานมากไปกว่าที่<WBR>แสดงย่อๆ ก็เพราะต้องการจะแสดงแต่เฉพาะ ธาตุ-ขันธ์-อายตนะ อันเป็นมูลฐานล้วนๆ เท่านั้น


    ธาตุ-ขันธ์-อายตนะ สัมพันธ์
    ธาตุ ๔
    [​IMG]ธาตุ ๔ เป็นวัตถุอันเป็นที่ตั้งมู<WBR>ลฐานของสิ่งทั้งปวง แม้แต่ธรรมทั้งหลายที่เป็นนิ<WBR>ยานิกธรรมอันจะดำเนินให้ถึงวิมุ<WBR>ติด้วยสมถะ วิปัสสนา ก็จะหนีจากธาตุสี่นี้ไม่ได้ แต่ธาตุ ๔ เป็นวัตถุธาตุล้วนๆ ไม่เกี่ยวกับนามธรรมแลกิเลสใดๆ เลย ท่านจำแนกออกเป็นกองๆ ตามลักษณะของธาตุนั้นๆ เช่นสิ่งใดที่มีอยู่ในกายนี้มี<WBR>ลักษณะข้นแข็ง ท่านเรียกว่า ธาตุดิน มี ๑๘ อย่าง คือ ผม ๑ ขน ๑ เล็บ ๑ ฟัน ๑ หนัง ๑ เนื้อ ๑ เอ็น ๑ กระดูก ๑ เยื่อในกระดูก ๑ ม้าม ๑ หัวใจ ๑ ตับ ๑ พังผืด ๑ ไต ๑ ปอด ๑ ไส้ใหญ่ ๑ ไส้น้อย ๑ อาหารใหม่ ๑ อาหารเก่า ๑ (ถ้าเติมกะโหลกศีรษะและมั<WBR>นสมองศีรษะเข้าด้วยก็เป็น ๒๐ พอดี แต่ที่ไม่เติมเพราะไปตรงกั<WBR>บกระดูกและเยื่อในกระดูก จึงยังคงเหลือ ๑๘)

    ธาตุน้ำ สิ่ง ใดที่มีลักษณะเหลวๆ ท่านเรียกว่าธาตุน้ำ มี ๑๒ คือ น้ำดี ๑ น้ำเสลด ๑ น้ำเหลือง ๑ น้ำเลือด ๑ น้ำเหงื่อ ๑ นั้นมันข้น ๑ น้ำตา ๑ น้ำมันเหลว ๑ น้ำลาย ๑ น้ำมูก ๑ น้ำมันไขข้อ ๑ น้ำมูตร ๑

    ธาตุไฟ สิ่งใดที่มีลักษณะให้อบอุ่น ท่านเรียกว่า ธาตุไฟ มี ๔ คือ ไฟทำให้กายอบอุ่น ๑ ไฟทำให้กายทรุดโทรม ๑ ไฟช่วยเผาอาหารให้ย่อย ๑ ไฟทำความกระวนกระวาย ๑

    ธาตุลม สิ่งใดที่มีลักษณะพัดไปมาอยู่<WBR>ในร่างกายนี้ สิ่งนั้นท่านเรียกว่าธาตุลม มี ๖ คือ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ทำให้มึน งงหาวเอื้อมอ้วกออกมา ๑ ลมพัดลงข้างล่างทำให้ระบายเผยลม ๑ ลมในท้องทำให้ปวดเจ็บท้องขึ้นท้<WBR>องเฟ้อ ๑ ลมในลำไส้ทำให้โครกครากคลื่นเหี<WBR>ยนอาเจียน ๑ ลมพัดไปตามตัวทำให้กายเบาแลอ่<WBR>อนละมุนละไม ขับไล่เลือดและโอชาของอาหารที่<WBR>บริโภคเข้าไป ให้กระจายซึมซาบไปทั่วสรรพางกาย ๑ ลมระบายหายใจเข้าออกเพื่อยังชี<WBR>วิตของสัตว์ให้เป็นอยู่ ๑ หรือจะนับเอาอากาศธาตุคือช่องว่<WBR>างที่มีอยู่ตัวของเราเช่น ช่องปาก ช่องจมูก เป็นต้น เข้าด้วยก็ได้ แต่อากาศธาตุก็เป็นลมชนิดหนึ่<WBR>งอยู่แล้วจึงสงเคราะห์เข้<WBR>าในธาตุลมด้วย มนุษย์ทั้งหลายที่เราๆ ท่านทั้งหลายที่เห็นกันอยู่นี้ ถ้าจะพูดตามเป็นจริงแล้วมิใช่<WBR>อะไร มันเป็นแค่สักว่าก้อนธาตุ<WBR>มารวมกันเข้าเป็นก้อนๆหนึ่งเท่<WBR>านั้น มนุษย์คนเราพากันมาสมมติเรี<WBR>ยกเอาตามชอบใจของตนว่านั่นเป็<WBR>นคนนั่นเป็นสัตว์ นั่นเป็นนั่นเป็นนี่ต่างๆ นานาไป แต่ก้อนอันนั้นมันก็หาได้รู้สึ<WBR>กอะไรตามสมมติของตนไม่ มันมีสภาพเป็นอยู่อย่างไรมันก็<WBR>เป็นอยู่อย่างนั้นตามเดิม อย่างไปสมมติว่าหญิงว่าชายว่<WBR>าหนุ่มว่าแก่ว่าสวยไม่สวย ก้อนธาตุอันนั้นมันก็ไม่มี<WBR>ความรู้สึกอะไรเลย หน้าที่ของมันเมื่อประชุมกันเข้<WBR>าเป็นก้อนแล้วอยู่ได้ชั่วขณะหนึ<WBR>่งแล้วมันก็ ค่อยแปรไปตามสภาพของมัน ผลที่สุดมันก็แตกสลาย แยกกันไปอยู่ตามสภาพเดิมของมั<WBR>นเท่านั้นเอง ใจของคนเราต่างหากเมื่อความไม่<WBR>รู้เท่าเข้าใจตามเป็นจริงแล้ว ก็ไปสมมติว่าเป็นคนเป็นหญิงเป็<WBR>นชาย สวย-ไม่สวย สวยก็ชอบใจรักใคร่อยากได้มาเป็<WBR>นของตน ไม่สวยก็เกลียดเหยียดหยามดูถู<WBR>กไม่ชอบใจไม่อยากได้อยากเห็น ใจไปสมมติเอาเองแล้วก็ไปหลงติ<WBR>ดสมมติของตัวเอง เพิ่มพูนกิเลสซึ่งมันหมักหมมอยู<WBR>่แล้วให้หนาแน่นขึ้นอีก กิเลสอันเกิดจากความหลงเข้าใจผิ<WBR>ดนี้ ถ้ามีอยู่ในจิตสันดานของบุ<WBR>คคลใดแล้วหรืออยู่ในโลกใดแล้ว ย่อมทำบุคคลนั้นหรือโลกนั้นให้<WBR>วุ่นวายเดือดร้อนมากแลน้อย ตามกำลังพลังของมัน สุดแล้วแต่มันจะบันดาลให้เป็นไป ฯ


    ความ จริงธาตุ ๔ มันก็เป็นธาตุล้วนๆ มิได้ไปก่อกรรมทำเข็ญให้ใครเกิ<WBR>ดกิเลสหลงรักหลงชอบเลย ถึงก้อนธาตุจะขาวจะดำสวยไม่สวย มันก็มีอยู่ทั่วโลก แล้วก็มีมาแต่ตั้งโลกโน่น ทำไมคนเราพึ่งเกิดมาชั่วระยะไม่<WBR>กี่สิบปีจึงมาหลงตื่นหนั<WBR>กหนาจนทำให้สังคม วุ่นวายไม่ทราบว่าอะไรเป็นอะไร มืดบอดยิ่งกว่ากลางคืน ด้วยเหตุนี้พระพุทธเจ้<WBR>าของพวกเราทั้งหลายผู้<WBR>ทรงประสงค์ความสันติสุขแก่โลก จึงทรงจำแนกสมมติที่เขาเหล่านั้<WBR>นกำลังพากันหลงติดอยู่เหมือนลิ<WBR>งติดถังออกให้เป็นแต่สักว่าธาตุ ๔ ดังจำแนกมาแล้วข้างต้น หรือจะเรียกว่าพระองค์ทรงบัญญั<WBR>ติให้เป็นไปตามสภาพของเดิม เพื่อให้เขาเหล่านั้นที่หลงติ<WBR>ดสมมติอยู่แล้ว ให้ค่อยๆจางออกจากสมมติแล้<WBR>วจะได้เห็นสภาพของจริง บัญญัตินี้ไม่เป็นตนเป็นตัว เป็นสภาพธรรมอันหนึ่ง แล้ว บัญญัติเรียชื่อเป็นเครื่<WBR>องหมายใช้ชั่วคราวเท่านั้น ถ้าผู้มาพิจารณาเห็นกายก้อนนี้<WBR>เป็นสักแต่ว่าธาตุ ๔ แล้ว จะไม่หลงเข้าไปยึดเอาก้อนธาตุ<WBR>มาเป็นอัตตาเลย อันเป็นเหตุให้เกิดกิเลสหยาบช้<WBR>าฆ่าฟันกันล้มตายอยู่ทุกวันนี้ ก็เนื่องจากความหลงเข้าไปยึดก้<WBR>อนธาตุว่าเป็นอัตตาอย่างเดียว ผู้ใคร่ในธรรมข้อนี้จะทดลองพิ<WBR>จารณาให้เห็นประจักษ์ด้<WBR>วยตนเองอย่างนี้ก็ได้ คือพึงทำใจให้สงบเฉยๆอยู่ อย่าได้นึกอะไรแลสมมติว่าอะไรทั<WBR>้งหมด แม้แต่ตัวของเราก็อย่านึกว่านี่<WBR>คือเราหรือคน แล้วเพ่งเข้ามาดูตัวของเราพร้<WBR>อมกันนั้นก็ให้มีสติทำความรู้สึ<WBR>กอยู่ทุกขณะว่า เวลานี้เราเพ่งวัตถุสิ่งหนึ่ง แต่ไม่มีชื่อว่าอะไร เมื่อเราทำอย่างนี้ได้แล้ว จะเพ่งดูสิ่งอื่นคนอื่นหรือถ้<WBR>าจะให้ดีแล้วเพ่งเข้าไปในสั<WBR>งคมหมู่ชนมากๆ ในขณะนั้นอาจทำให้เกิดความรู้สึ<WBR>กอะไรขึ้นมาในใจแปลกๆ และเป็นสิ่งน่าขบขันมาก อย่างน้อยหากท่านมีเรื่<WBR>องอะไรหนักหน่วงและยุ่งเหยิงอยู<WBR>่ภายในใจของท่านอยู่ แล้ว เรื่องทั้งหมดนั้นหากจะไม่<WBR>หายหมดสิ้นไปทีเดียว ก็จะเบาบางแลรู้สึกโล่งใจของท่<WBR>านขึ้นมาบ้างอย่างน่าประหลาดที<WBR>เดียว หากท่านทดลองดูแล้วไม่ได้<WBR>ผลตามที่แสดงมาแล้วนี้ ก็แสดงว่าท่านยังทำใจให้สงบไม่<WBR>ได้มาตรฐานพอจะให้ธรรมเกิดขึ้<WBR>นมาได้ ฉะนั้นจึงขอให้ท่านพยายามทำใหม่<WBR>จนได้ผลดังแสดงมาแล้ว แล้วท่านจะเกิดความเชื่อมั่<WBR>นในคำสอนของพระพุทธเจ้าว่า เป็นคำสอนที่นำผู้ปฏิบัติให้ถึ<WBR>งความสันติได้แท้จริง ฯ

    อนึ่ง คำสอนของพระพุทธเจ้าเป็<WBR>นคำสอนเพื่อสันติ ผู้ที่ยังทำใจของคนให้สงบไม่ได้<WBR>แล้ว จะนำเอาคำสอนของพระพุทธเจ้าที่<WBR>เป็นสันติมาพิจารณาก็ยังไม่เกิ<WBR>ดผล หรือมาตั้งไว้ในใจของตนก็ยังไม่<WBR>ติด
    ฉะนั้น จึงขอเตือนไว้ ณ โอกาสนี้เสียเลยว่าผู้จะเข้าถึ<WBR>งธรรม ผู้จะเห็นธรรม รู้ธรรม ได้ธรรม พิจารณาธรรมใจธรรมคำสอนของพระพุ<WBR>ทธเจ้าทั้งที่แสดงมาแล้วและกำลั<WBR>งแสดงอยู่ หรือที่จะแสดงต่อไปนี้ก็ดี ขอได้ตั้งใจทำความสงบเพ่งอยู่<WBR>เฉพาะในธรรมนั้นๆแต่อย่างเดียว แล้ว จึงเพ่งพิจารณาเถิดจึงจะเกิ<WBR>ดความรู้ความเข้าใจในธรรมนั้นๆ อย่างถูกต้อง เรื่อง ธาตุ ๔ เป็นสภาวธรรมเป็นจริงอยู่<WBR>ตามธรรมชาติแล้ว แต่คนเรายังทำจิตของตนไม่ให้เข้<WBR>าถึงสภาพเดิม (คือความสงบ) จึงไม่เห็นสภาพเดิมของธาตุ ธาตุ ๔ เมื่อผู้มาพิจารณาให้เห็<WBR>นตามความเป็นจริงแล้ว จะเห็นว่า ธาตุเป็นสักแต่ว่าธาตุ มันมีสภาพเป็นอยู่เช่นไร มันก็เป็นอยู่เช่นนั้<WBR>นตามสภาพของมัน ธาตุมิได้ก่อกวนให้ใครเกิดกิ<WBR>เลสความรักแลความหวัง หรือโลภโกรธหลงอะไรเลย ใจของคนเราก็เป็นธาตุเหมือนกัน เรียกว่ามโนธาตุ หากผู้มาพิจารณาให้เห็นสิ่งทั้<WBR>งปวงเป็นแต่สักว่าธาตุคือเห็<WBR>นธาตุภายใจ (คือกายก้อนนี้) และธาตุภายนอก (คือนอกจากกายของเรา) และมโนธาตุ (คือใจ) ตามเป็นจริงแล้ว ความสงบสุขก็จะเกิดมีแก่เหล่<WBR>าประชาสัตว์ทั่วหน้ากัน สมตามพุทธประสงค์ที่พระพุทธองค์<WBR>ตั้งปณิธานไว้ทุกประการ



    ขันธ์ ๕
    เมื่อ ได้อธิบายธาตุ ๔ มาพอสมควรแล้ว ต่อจากนี้ไปจะได้อธิบายขันธ์ ๕ ซึ่งเป็นของเกี่ยวเนื่องกันมา ธาตุ ๔ เป็นวัตถุธาตุล้วนๆ มิได้เกี่ยวเนื่องด้วยใจ คนเราถ้ามีธาตุ ๔ ล้วนๆ ไม่มีใจแล้ว ก็ไร้ค่าหาประโยชน์มิได้ หรือจะพูดให้สั้นๆ ที่เรียกว่าคนตายนั้นเอง ขันธ์คือกองแห่งธรรม ในตัวของคนเรานี้ ท่านจัดกองแห่งธรรมไว้ ๕ ดวง กองรูปได้แก่ธาตุ ๔ ดังอธิบายมาแล้ว เรียกว่ารูปขันธ์ อีก ๔ กองเรียกว่านามขันธ์ คือ เวทนาขันธ์ ๑ สัญญาขันธ์ ๑ สังขารขันธ์ ๑ วิญญาณขันธ์ ๑ อายตนภายใน ๖ มีตาเป็นต้น ประสบกับอายตนะภายนอก ๖ มีรูปเป็นต้น แล้วเกิดความรู้สึกเป็นสุขบ้<WBR>างทุกข์บ้าง หรือโสมนัส โทมนัส อุเบกขาเฉยๆ เรียกว่าเวทนาขันธ์ฯ อายตนะภายใน ๖ ภายนอก ๖ ประสบกันเข้าแล้วเกิดความรู้สึ<WBR>กขึ้นมาดังอธิบายมาแล้วข้างต้น แล้วจำได้หมายรู้ในอารมณ์นั้นๆ แม้จะนานแสนนานทั้งที่เป็นอดี<WBR>ตแลอนาคตหรือปัจจุบัน เรียกว่าสัญญาขันธ์ฯ จิตชนิดหนึ่งซึ่งเกิ<WBR>ดจากอายตนะทั้งสองนั้นประสบกั<WBR>นก็ดี หรือเกิดลอยๆ ขึ้นมาแล้วคิดนึกฟุ้งซ่านปรุ<WBR>งแต่งไปต่างๆ นานา จนหาที่จบลงไม่ได้ เรียกว่าสังขารขันธ์ หมายถึงสังขารจิตโดยเฉพาะ แต่ถ้าเป็นการตรึกตรองในเรื่<WBR>องนั้นๆจนเห็นถ่องแท้ชั<WBR>ดเจนหมดกังขาด้วยปัญญา อันชอบแล้วเรียกว่า "ธัมมวิจย" มิได้เรียกสังขารขันธ์ฯ วิญญาณมีมากอย่าง วิญญาณในปฏิจจสมุปบาทเป็นวิญญาณ นำเอาขันธ์ทั้ง ๕ มาปฏิสนธิ คือวิญญาณตัวนั้นต้องมีขันธ์ทั้<WBR>ง ๕ พร้อมมูลมาในตัว จึงจะมาอุบัติในภูมิขันธ์ ๕ ได้ ถ้ามี ๔ ก็ไปอุบัติในภูมิขันธ์ ๔ คือมีแต่นามไม่มีรูป ความจริงรูปท่านก็เรียกรูปจิ<WBR>ตเหมือนกัน แต่เป็นรูปละเอียดพ้นเสียจากรู<WBR>ปขันธ์ที่อธิบายมาแล้วข้างต้น ถ้ามีหนึ่งคือมีแต่เฉพาะวิ<WBR>ญญาณตัวเดียว ก็ไปอุบัติใน "เอกโอปปาติก" ที่เรียกว่าพรหมลูกฟัก คือมีแต่รูปจิตอย่างเดียวนั้<WBR>นเองฯ

    วิญญาณทำหน้าที่ในอายตนะได้แก่ ความรู้สึกในชั้นแรกของอายตนะทั<WBR>้งสองประสบกัน แต่ไม่ถึงกับจำอารมณ์หรื<WBR>อเสวยอารมณ์นั้นๆ การจำอารมณ์เป็นหน้าที่ของสัญญา การเสวยอารมณ์เป็นหน้าที่<WBR>ของเวทนา วิญญาณชนิดนี้จะเรียกว่าวิ<WBR>ญญาณธาตุก็ได้ฯ ส่วนวิญญาณในขันธ์ ๕ เป็นวิญญาณนามบัญญัติล้วนๆ ยังไม่ได้ทำหน้าที่ใดๆ เหมือนกับขันธ์อื่นๆ ขันธ์ ๕ ก็เหมือนกันกับธาตุ คือไม่ใช่ตัวกิเลสแลไม่ได้ทำให้<WBR>ใครเกิดกิเลส แต่ท่านจัดเป็นประเภทแห่งรู<WBR>ปธรรม-นามธรรม เป็นกองๆไว้เพื่อให้รู้ว่านั่<WBR>นรูปนั่นนามเท่านั้น กิเลสเกิดขึ้นเพราะผู้<WBR>มาหลงสมมติแล้วเข้าไปยึดเอาขั<WBR>นธ์ว่าเป็นตัวของตนหรือ ตนเป็นขันธ์บ้างต่างหาก เมื่อจะพูดให้เข้าใจง่ายแล้ว ความที่เข้าใจผิดหลงไปยึดเดาขั<WBR>นธ์ ๕ ว่าเป็นของตนของตัว หรือเห็นว่าตัวของตนเป็นขันธ์ ๕ บ้าง มิฉะนั้น ก็เห็นว่าขันธ์ ๕ นอกออกไปจากคนหรือคนนอกไปจากขั<WBR>นธ์ ๕ บ้าง ความเห็นอย่างนั้นแล จึงทำให้เข้าไปยึดถือจนเกิดกิ<WBR>เลสขึ้นเป็นทุกข์ ในเมื่อขันธ์เหล่านั้นเป็<WBR>นไปตามปรารถนาแล้วก็ชอบใจเพลิ<WBR>ดเพลินหลงระเริงลืม ตัวมัวเมาประมาทจนเป็นเหตุให้<WBR>ประกอบบาปกรรมความชั่วด้<WBR>วยประการต่างๆ หากขันธ์เหล่านั้นไม่เป็<WBR>นไปตามปรารถนาก็ไม่ชอบใจ เป็นทุกข์โทมนัสด้วยประการต่างๆ ไม่เห็นตามสภาพความเป็นจริ<WBR>งของขันธ์นั้นๆ ซึ่งมันเป็นไปตามเหตุปัจจั<WBR>ยของมันอยู่อย่างนั้น ธรรมที่พระอัสสชิแสดงแก่พระสารี<WBR>บุตรเมื่อท่านยังเป็นนั<WBR>กบวชนอกพระศาสนาครั้งพบกันที่<WBR>แรกว่า ธรรมของพระสมณะโคดมทรงแสดงว่า "ธรรมทั้งหลายเกิดจากเหตุ เมื่อเหตุดับสิ่งนั้นก็ดับไป" ดังนี้ รูปขันธ์เกิดจากอวิชชา ตัณหา อุปาทาน กรรม ผู้ มีปัญญามาพิจารณาเห็นแจ้งชัดด้<WBR>วยตนเองแล้วว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นเหตุแห่งรูป วิชชาเกิดขึ้นอย่างนั้นแล้ว อวิชชาก็ดับไป ธรรมทั้งหลายมีรูปเป็นต้น ที่มีอยู่แล้วก็กลายเป็นวิบากไป ที่จะเกิดใหม่อีกก็ไม่มี กิเลสแลทุกข์ทั้งหลายย่อมเกิดขึ<WBR>้นเพราะความหลงในขันธ์แล้วเข้<WBR>าไปยึดเอาขันธ์ อัตตา ดังแสดงมาแล้ว ฉะนั้นพระพุทธองค์จึงตรัสว่า

    <TABLE style="LINE-HEIGHT: 200%" align=center border=0 valign="top"><TBODY><TR align=left><TD>ภารหเว ปญฺจักขนฺธา




    </TD><TD>ขันธ์ ๕ เป็นภาระจริง




    </TD></TR><TR align=left><TD>ภาราหาโร จ ปุคคโล




    </TD><TD>แต่บุคคลก็ยังถือภาระไว้




    </TD></TR><TR align=left><TD>ภาราทานํ ทุกขํ โลเก




    </TD><TD>การเข้าไปยึดถือเอาภาระไว้ เป็นทุกข์ในโลก




    </TD></TR><TR align=left><TD>ภารนิกเขปนํ สุขํ




    </TD><TD>การปล่อยวางภาระเสีย เป็นความสุข




    </TD></TR><TR align=left><TD>นิกขิปิตวา ครุ ภารํ




    </TD><TD>บุคคลปล่อยวางภาระเสียได้แล้ว




    </TD></TR><TR align=left><TD>อญฺญํ ภารํ อนาทิย




    </TD><TD>ไม่เข้าไปถือเอาสิ่งอื่นเป็<WBR>นภาระอีก




    </TD></TR><TR align=left><TD>สมูลํ ตณหํ อพฺพุยห




    </TD><TD>เป็นผู้รื้อถอนตัณหากับทั้<WBR>งรากได้แล้ว




    </TD></TR><TR align=left><TD>นิจฺฉาโต ปรินิพฺพุโต ติฯ




    </TD><TD>เป็นผู้หมดความอยากแล้วปรินิ<WBR>พพาน ดังนี้ฯ




    </TD></TR></TBODY></TABLE>ใน พุทธพจน์นี้ แสดงให้เห็นชัดอยู่แล้วว่า ขันธ์ ๕ เป็นตัวทุกข์อยู่แล้<WBR>วโดยธรรมชาติ เมื่อผู้ใดเข้าใจผิดคิดว่าเป็<WBR>นความสุขแล้วหลงเข้าไปยึดไว้ ผู้นั้นจะได้รับความทุกข์เดื<WBR>อดร้อนอย่างยิ่ง เปรียบเหมือนผู้เห็นเปลวความร้<WBR>อนของก้อนเหล็กแดงว่าเป็<WBR>นของสวยงาม หลงชอบใจเข้าไปกอดเอาด้วยความรั<WBR>ก ความร้อนของก้อนเหล็กแดงนั้<WBR>นจะมิได้ผ่อนความร้อนแล้วยอมรั<WBR>บด้วยความปราณีเลย ความร้อนของมันมีอยู่เท่าไรมั<WBR>นก็จะแผดเผาเอาผู้นั้นให้ไหม้<WBR>เป็นเถ้าผงไปตาม เคยฉะนั้น สมกับพุทธพจน์ว่า "สังขารา ปรมา ทุกขา - สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์อย่างยิ<WBR>่ง"
    หาก จะมีคำถามว่า เป็นทุกข์เพราะอะไร? ก็ต้องตอบว่า เป็นทุกข์เพราะความหิว ความไม่รู้จักพอ ความหิว ความไม่รู้จักพอไม่ว่าจะเป็นส่<WBR>วนร่างกายหรือจิตใจ เป็นทุกข์ทั้งนั้น เมื่อความอิ่มความพอของจิตใจเกิ<WBR>ดขึ้นมาแล้ว ความสงบสุขของใจก็จะเกิดขึ้<WBR>นมาทันที แล้วจะมองเห็นความเกิดดับของขั<WBR>นธ์ตามความเป็นจริงดังอุปมา
    รูปขันธ์ "เปรียบเหมือนฟองน้ำอันเกิ<WBR>ดจากคลื่นหรือระลอก เป็นต่อมเป็นฟองขึ้นมาชั่วครู่<WBR>หนึ่งประเดี๋ยวแล้วก็ดั<WBR>บแตกไปเป็นน้ำตามเดิม" รูป กายนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน แปรสภาพเป็นรูปมนุษย์ชายหญิงหรื<WBR>อเป็นสัตว์ต่างๆ นานา มาจากธาตุ ๔ อยู่ได้ชั่วระยะหนึ่งซึ่<WBR>งคนเราเข้าใจว่านาน แต่สัตว์บางจำพวกซึ่งมีอายุ<WBR>นานกว่า เขาจะเห็นว่าชั่วครู่เดียวแล้<WBR>วก็แตกดับสลายไปเป็นธาตุ ๔ ตามเดิมฯ
    เวทนา "เปรียบเหมือนคลื่นกระทบฝั่ง ลูกคลื่นเหมือนกับเป็นตัวตนกลิ้<WBR>งมากระทบกับฝั่งดังซู่ซ่าแล้<WBR>วสลายหายตัวไปเป็นน้ำตามเดิม" เวทนา ก็เกิดจากสัมผัส แล้วมีความรู้สึกเปรียบเหมื<WBR>อนเสียงคลื่นเป็นสุขบ้างทุกข์บ้<WBR>างหรือเฉยๆ แล้วก็หายไป เดี๋ยวสัมผัสอื่นมากระทบอีก ดังนี้อยู่ตลอดกาลฯ
    สัญญา "เปรียบเหมือนพยับแดด ธรรมดาพยับแดดอันเกิ<WBR>ดจากไอระเหยของความร้อน เมื่อบุคคลเพ่งมองดูอยูแต่ที่<WBR>ไกลจะแลเห็นเป็นตัวระยิบระยั<WBR>บเป็นกลุ่มเป็น หมู่ๆ เมื่อเข้าไปถึงใกล้แล้ว สิ่งที่เห็นอยู่นั้นก็จะหายไป" ฉันใด สัญญาความจำที่เกิดจากสัมผั<WBR>สในอายตนะทั้ง ๖ ก็ผลุบๆ โผล่ๆ เกิดทางตาบ้าง ทางหูบ้าง โน่นบ้าง นี่บ้างอยู่ตลอดกาล ไม่เป็นของตัวเองเลยก็ฉันนั้นฯ
    สังขาร "เปรียบเหมือนต้นกล้วย ธรรมชาติของต้นกล้วยย่อมไม่มี<WBR>แก่นเป็นธรรมดา" สังขารรูปกายของคนเรานี้ก็<WBR>หาสาระมิได้ เริ่มเกิดขึ้นมาก็มี<WBR>สภาวะแปรสภาพไปพร้อมๆ กันเลย จะอยู่ได้นานแสนนาน สภาพความแปรปรวนของสังขารก็เปลี<WBR>่ยนแปลงไปตามทุกขณะอยู่อย่างนั้<WBR>น แล้วก็มีความแตกดับเป็นที่สุด แม้แต่สังขารจิตคิดนึกปรุงแต่<WBR>งเอาจริงเอาจังกันประเดี๋ยวๆ ก็หายวูบไป ฉะนั้นเหมือนกันฯ
    วิญญาณ "เปรียบเหมือนมายา ธรรมดาเรื่องของมายาแล้ว มีแต่จะหลอกลวงผู้อื่นให้เข้<WBR>าใจผิดคิดตามไม่ทันในเรื่<WBR>องของตัวเท่านั้น" วิญญาณ ก็มีลักษณะหลอกลวงให้ผู้อื่<WBR>นตามไม่ทัน พอตาเห็นรูปเกิดความรู้สึกขึ้น เมื่อจะตามไปดูความรู้สึกนั้นยั<WBR>งไม่ทันอะไร เดี๋ยวไปเกิดความรู้สึกขึ้<WBR>นทางหู เมื่อจะตามไปดูความรู้สึกทางหู<WBR>นั้น ยังไม่ทันอะไร เดี๋ยวไปเกิดความรู้สึกขึ้<WBR>นทางอื่นต่อๆไปอีกแล้ว มีแต่จะหลอกลวงให้คนอื่นตามไม่<WBR>ทันฉันนั้นเหมือนกันฯ
    ผู้มาพิจารณาเห็นขันธ์มีอุปมาดั<WBR>งแสดงมาแล้วนี้ชัดแจ้งด้วยปั<WBR>ญญาอันชอบด้วยตนเองแล้ว จะไม่หลงเข้าไปยึดเอาขันธ์มาเป็<WBR>นอัตตาหรืออนัตตา แต่จะหยิบยกเอาขันธ์เป็นเป้<WBR>าหมายแห่งญาณทัสสนะของปัญญาวิปั<WBR>สสนา การใช้ปัญญาแยบคายไม่เข้าไปยึ<WBR>ดเอาของมีอยู่แลเนื่องด้วยอัตตา จัดเป็นปัญญาในอริยมรรค เพราะของที่ไม่มีและไม่เนื่องด้<WBR>วยอัตตาสามัญญนาม ใครๆก็ละได้ หรือจะเรียกว่าผู้ไปยึดของไม่มี เป็นผู้ไร้ปัญญาก็ได้
    คำ สอนของพระพุทธองค์เป็นคำสอนยุ<WBR>ทธวิธีเพื่อผจญกับกิเลสข้าศึ<WBR>กความชั่ว ซึ่งมันฝังอยู่ในตัวของแต่ละบุ<WBR>คคลมานานแล้ว ฉะนั้น ขันธ์ ๕ คือตัวของคนเราแต่ละคน จึงเท่ากับสนามยุทธ แต่ยุทธวิธีของพระองค์ การแพ้คือการเข้าไปยึดถือ การชนะคือการปล่อยวางให้มันเป็<WBR>นไปตามสภาพเดิมของมัน ไม่เหมือนการแพ้แลการชนะของผู้<WBR>ยังมีกิเลสอยู่ ความเป็นจริงการชนะของทุกๆ อย่างไม่ว่าชนะภายนอกและภายใน ในโลกนี้หรือในโลกไหนๆก็ตาม ถ้าจะว่าการชนะที่บริสุทธิ์<WBR>แลแท้จริงแล้วก็คือคู่ต่อสู้ทั้<WBR>งสองฝ่ายจะต้องมี อิสระเต็มที่ หากจะยังมีการคิดเพื่อจะต่อสู้<WBR>กันอีกหรือเข้าไปยึดอำนาจควบคุ<WBR>มยึดถือกันอยู่ แล้ว ชนะนั้นไม่ชื่อว่าเป็นการชนะที่<WBR>บริสุทธิ์แลเป็นธรรมเลย วันหนึ่งข้างหน้าจะต้องมีการแพ้<WBR>อีกเป็นแน่ หรืออย่างนั้นก็ก่อเวรก่อกรรมซึ<WBR>่งกันและกัน
    พระ พุทธองค์ทรงเห็นทุกข์คือตัวข้<WBR>าศึกมีชาติเป็นต้น ก็เห็นอยู่ในขันธ์นี้เอง แล้วทรงใช้ยุทธวิธีด้วยปัญญาอั<WBR>นชอบจนเอาชนะข้าศึกก็ในขันธ์อั<WBR>นนี้ แต่แล้วข้าศึกก็มิได้ล้มตายฉิ<WBR>บหายไปไหน ข้าศึกคือขันธ์ก็ยังเป็นขันธ์<WBR>ปกติอยู่เช่นเดิม ปัญญาวุธที่พระองค์นำมาใช้เป็<WBR>นของกายสิทธิ์ ประหารข้าศึกจนพ่ายแพ้ไปได้ แต่หาได้ทำให้ข้าศึกเจ็บปวดแม้<WBR>แต่แผลเท่าเมล็ดงาก็หาได้<WBR>ปรากฏไม่ เรื่องนี้มีอุทาหรณ์รับสมอ้างดั<WBR>งปรากฏในพระธรรมจักกัปปวัตตนสู<WBR>ตรอยู่แล้ว หากจะมีปัญหาถามว่า ข้าศึกที่แพ้แก่พระองค์แล้<WBR>วจะไปตั้งทัพอยู่ ณ ที่ไหน ตอบว่าเมื่อแพ้แก่พระองค์แล้วก็<WBR>ต้องเป็นบ่าวรับใช้ของพระองค์ต่<WBR>อไป ผู้ที่เอาชนะมันไม่ได้เท่านั้<WBR>นจึงยอมเป็นทาสของมันต่อไป ฉะนั้น ขันธ์ที่ยังไม่มีใครเอาชนะได้จึ<WBR>งยังมีอิสระครอบโลกทั้งสามอยู่

    อายตนะ
    อายตนะ อายตนะแปลว่า บ่อเกิดหรือสื่อสัมพันธ์ บ่อเกิดหรือสื่อสัมพันธ์อะไร อธิบายว่า สื่อสัมพันธ์ของอายตนะทั้<WBR>งสองแล้วเกิดอารมณ์ขึ้น บ่อน้ำก็คือสายของน้ำที่<WBR>ออกมาจากใต้ดิน แล้วไหลเนื่องติดต่อกันกับน้ำที<WBR>่อยู่ข้างนอกไม่ขาดสายนั้นเอง อายตนะมีตาเป็นต้น เมื่อสัมผัสกับรูปแล้ว ก็ติดต่อสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องถึ<WBR>งประสาทเข้ามาหาใจ แล้วใจก็รับเอามาเป็นอารมณ์ ถ้าดีก็ชอบใจ สนุก เพลิดเพลิน หรรษา ถ้าไม่ดีก็ไม่ชอบใจ คับแค้นเป็นทุกข์โทมนัสต่อไปเมื<WBR>่อตายังไม่หลับ อายตนะอื่นๆ มีหูเป็นต้นก็มีนัยเช่นเดียวกัน ดังได้อธิบายมาแล้วข้างต้นตอนว่<WBR>าด้วยอายตน ๖ ฉะนั้นในที่นี้จึงจะไม่อธิบายอี<WBR>ก แต่จะอธิบายเฉพาะยุทธวิธีสำหรั<WBR>บต่อสู้กับข้าศึก (คืออารมณ์หรือกิเลส) ที่มันจะรุกรบเข้ามาทางทวาร ๖ ต่อไป เพื่อให้เชื่อมกับขันธ์ ๕ อันอุปมาเทียบเหมือน "สนามยุทธ" ดังได้พูดค้างไว้ ที่พูดค้างไว้นั้นได้พู<WBR>ดเฉพาะแต่สนามยุทธเท่านั้น ยังไม่ได้พูดถึงเชิงยุทธวิธีเลย ฉะนั้นต่อไปนี้จะได้แสดงยุทธวิ<WBR>ธีอันจะมีขึ้นในสมรภูมินั้นต่<WBR>อไป ใครจะแพ้ ใครจะชนะ ขอท่านผู้อ่านจงติดตามดู<WBR>ลวดลายของคู่ต่อสู้ต่อไป
    อายตนะ ๖ ได้แต่ ตา ที่เห็นวัตถุรูป ๑ หู ที่เสียงดังมากระทบ ๑ จมูก ที่สูบกลิ่นสารพัดทั้งปวง ๑ ลิ้น ที่รับรสทุกๆ อย่างที่มาปรากฏสัมผัส ๑ กาย ที่ถูกสัมผัสเย็นร้อนอ่อนแข็งอั<WBR>นจะรู้ได้ทางกาย ๑ ใจ ความรู้สึกนึกคิดในอารมณ์นั้นๆ ๑
    อายตนะ ทั้ง ๖ นี้ย่อมรับทำหน้าที่แต่ละแผนกๆ ไม่ปะปนกัน เช่นตารับทำหน้าที่แต่เฉพาะไว้<WBR>ดูรูปเท่านั้น ตกลงว่าบรรดารูปทั้งหลายแล้ว จะเป็นรูปชนิดใดอย่างไร หยาบละเอียด แม้แต่รูปอสุภะอันแสนน่าเกลี<WBR>ยดก็มอบภาระให้ตาดูไป ให้หูดูแทนไม่ได้เด็ดขาด เป็นต้น ท่านจึงเรียกว่าเป็นใหญ่ในหน้<WBR>าที่นั้นๆ
    ฉะนั้น เมื่อพูดถึงอายตนะภายใน ๖ แล้ว จึงจำต้องพูดคู่<WBR>ของอายตนะภายในไปพร้อมๆ กันจึงจะเห็นประโยชน์ของอายตนะ ๖ ที่ว่ามานั้นเป็นของอยู่ในตั<WBR>วของเราท่านจึงเรียกว่<WBR>าอายตนะภายใน สิ่งที่เป็นคู่กับอายตะภายในเช่<WBR>นรูปเป็นคู่กับตาเป็นต้น ท่านเรียกว่าอายตนะภายนอก อายตนะภายนอกก็มี ๖ เหมือนกัน อายตนะภายตัวไม่มีคู่เช่นมีแต่<WBR>ตาอย่างเดียวไม่มีรูปให้เห็นก็<WBR>ไม่มีประโยชน์ อันใดเลย หรือมีแต่รูปอย่างเดียวไม่มี<WBR>ตาดูก็จะมีประโยชน์อันใด แต่เมื่อเห็นรูปแล้วย่อมมีทั้<WBR>งคุณแลโทษเหมือนๆ กับผู้รับผิดชอบการงานในหน้าที่<WBR>นั้นๆ จะต้องรับผิดชอบทั้งดีแลไม่ดี อายตนะภายในกั<WBR>บอายตนะภายนอกกระทบกันเข้านี่<WBR>แหละที่ทำให้เกิดคุณแลโทษก็อยู่ ที่ตรงนี้
    ฉะนั้น อารมณ์ที่เกิดจากอายตนะทั้<WBR>งสองนี้จึงเป็นเหมือนกับมิ<WBR>ตรแลศัตรูไปพร้อมๆกัน แต่มิตรไม่เป็นไรเรายอมรับทุ<WBR>กเมื่อ แต่ศัตรูนี้ซิ ตาเกลียดนักจึงคอยตั้งป้อมต่อสู<WBR>้มัน
    อายตนะ ทั้ง ๖ เมื่อใครได้มาเป็นสมบัติ<WBR>ของตนครบถ้วนบริบูรณ์ ไม่วิกลวิกาลแล้วจึงนับได้ว่<WBR>าเป็นลาภของผู้นั้นแล้ว เพราะมันเป็นทรัพย์ภายในอันมีคุ<WBR>ณค่ามหาศาล ยากที่จะหาแลกเปลี่ยนซื้อขายกั<WBR>นในตลาดได้ ทรัพย์ทั้งหลายภายนอกจะมีมากน้<WBR>อยสักเท่าไร แลจะดีมีคุณค่าให้สำเร็<WBR>จประโยชน์ได้ทุกประการก็ตาม หากขาดทรัพย์ภายในเหล่านี้แล้ว ก็ไม่สำเร็จประโยชน์อะไรเท่<WBR>าไรนัก อนึ่ง ทรัพย์ภายใน ๖ กองนี้มีแล้วใช้ได้ไม่รู้จั<WBR>กหมดสิ้นตลอดวันตาย เป็นแก้วสารพัดนึกให้สำเร็<WBR>จความปรารถนาได้ทุกสิ่ง เมื่อโดยมิต้องลงทุนหรื<WBR>อหากจะลงทุนบ้างเล็กน้อยแต่ได้<WBR>ผลล้นค่า เหมือนกับได้ทิพย์สมบัติ ๖ กองอย่างน่าภาคภูมิใจด้วย หากใครได้เกิดมาในโลกนี้ไม่ได้<WBR>สมบัติ ๖ กองนี้ หรือได้แต่ไม่ครบถ้วน ก็เท่ากับเป็นคนอาภัพในโลกนี้<WBR>เสียแล้ว สมบัติ ๖ กองนี้เป็นของผู้ที่เกิ<WBR>ดมาในกามโลก มีขันธ์ ๕ โดยเฉพาะ อารมณ์ ๕ ที่เกิดทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ บัญญัติธรรมเรียกว่า "กามคุณ ๕" เพราะผู้ที่ได้ประสบอารมณ์ ๕ นี้แล้วชอบใจ ดีใจ ติดใจ เข้าไปฝังแน่นอยู่ในใจ เห็นเป็นคุณทั้งหมด หากจะเห็นโทษของมันอยู่บ้<WBR>างบางกรณี แต่ก็ยากนักที่เอาโทษนั้นมาลบล้<WBR>างคุณของมัน ฉะนั้นเหมาะสมแล้วที่เรียกว่า "กามคุณ"
    ปุถุชน ผู้เยาว์ปัญญาเมื่อได้<WBR>ประสบอารมณ์ทั้ง ๕ นั้นแล้วจึงหวานฉ่ำ เหมือนแมลงวันหลงใหลในน้ำผึ้ง ติดทั้งรสทั้งกลิ่น จะบินหนีก็เสียดาย ผลที่สุดคลุกเคล้าเอาตั<WBR>วไปจมลอยอยู่ในนั้น กามคุณเป็นหลุมฝังของปุถุชนผู้<WBR>เยาว์ปัญญาโดยความสมัครใจของแต่<WBR>ละบุคคลโดยแท้ โลกที่มีธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๖ บริบูรณ์ ท่านเรียกว่า "กามโลก" ทุกๆ คนที่ยังพากันสร้างบารมีอยู่ จำจะต้องเวียนว่ายมาเกิ<WBR>ดในกามโลกนี้จนได้ เพราะกามโลกสมบูรณ์ด้วยประการทั<WBR>้งปวง จึงทำให้ปุถุชนผู้เยาว์ปั<WBR>ญญาหลงใหลคิดว่าเกิดมาได้รั<WBR>บความสุขพอแล้ว แม้พระพุทธเจ้าหรืออริยเจ้าทั้<WBR>งหลายก่อนที่ท่านจะได้สำเร็จเป็<WBR>นพระอริยะ ท่านก็ต้องมาเกิดในกามโลกนี้ อันเป็นวิบากผลกรรมของท่านแต่<WBR>ชาติก่อน
    อนึ่ง กามโลกนี้นับว่าเป็นสมรภูมิอย่<WBR>างดีที่สุดของท่านผู้จะได้เป็<WBR>นพระอริยเจ้า ทั้งหลาย มรรคปฏิปทา สมถะ-ฌาน-สมาธิ-สมาบัติ-วิปั<WBR>สสนา อันเป็นหนทางที่จะให้ถึงเป็<WBR>นพระอริยเจ้า ก็จำเป็นจะต้องมายืมสถานที่คื<WBR>อกามโลกนี้เป็นที่บำเพ็ญเจริ<WBR>ญให้ได้ครบถ้วน บริบูรณ์ ถ้าจะพูดให้สั้นแล้วเรียกว่า ผู้จะพ้นจากกามโลกได้ ก็ต้องมาเกิดหรือมาศึกษาค้นคว้<WBR>าในกามโลกนี้ ให้เห็นคุณแลโทษชัดแจ้งด้วยปั<WBR>ญญาแยบคายด้วยตนเองเสียก่อน จึงจะเรียกว่ารู้แจ้งซึ่งโลกแล้<WBR>วจึงจะหนีจากโลกนี้ได้<WBR>โดยชอบธรรม ถึงรูปโลกแลอรูปโลกก็เช่นนั้<WBR>นเหมือนกัน
    ฉะนั้น เมื่อท่านเหล่านั้นเกิดขึ้<WBR>นมาในกามโลกนี้แล้ว ด้วยบุญญาบารมีที่ท่านได้<WBR>สะสมมานาน แทนที่ท่านจะหลงเพลิดเพลินมั<WBR>วเมาในกามทั้งหลายดังปุถุ<WBR>ชนคนธรรมดาทั่วไป ท่านเลยเห็นตรงกับข้าม อายตนะทั้ง๖ มีไว้ใช้เพื่อให้เกิดความสุขแก่<WBR>ปุถุชนก็จริงแล แต่ท่านผู้มีบารมีที่ได้บำเพ็<WBR>ญมาควรที่จะได้ตรัสรู้ท่<WBR>านเลยเห็นตรงกันข้าม คือเห็นว่าที่แท้นั้นมันเป็นบ่<WBR>อเกิดของอารมณ์ นำทุกข์มาให้ เช่นตาเห็นรูปสวยแล้<WBR>วชอบใจอยากได้มาเป็นของตัว ก็เป็นทุกข์เพราะอยากได้ การพยายามที่จะให้ได้มาก็เป็นทุ<WBR>กข์ ได้มาแล้วก็เป็นทุกข์เพราะจะต้<WBR>องบริหาร หาก รูปนั้นเสื่อมสูญฉิ<WBR>บหายไปโดยธรรมดาของมันอย่างนั้<WBR>นก็ตาม แต่ใจเราฝ่าฝืนไม่อยากให้มันเป็<WBR>นไปอย่างนั้น ก็เป็นทุกข์ เมื่อยังมีการเห็นเช่นนั้นอยู่ ก็เป็นทุกข์ เมื่อระลึกถึงรูปนั้นที่<WBR>หายไปแล้ว ก็ยังเป็นทุกข์อยู่อีก อายตนะอื่นๆ นอกนี้มีหูเป็นต้นก็เช่นเดียวกั<WBR>นนี้ เรื่องนี้ พระพุทธองค์ได้เคยประสบการณ์<WBR>มาด้วยพระองค์เองแล้วจนเห็นโทษ แล้วทรงสละทุกสิ่งทุกอย่<WBR>างออกบวชบำเพ็ญทางใจ (คือต่อสู้กับอารมณ์) จนได้สำเร็จพระโพธิญาณ พระองค์จึงนำเอาประสบการณ์แลหลั<WBR>กยุทธวิธีที่พระองค์ทรงใช้ได้<WBR>ผลแล้วนั้นนำมา สั่งสอนแก่เหล่าศาสนิกชนต่อมา หลักคำสอนของพระพุทธองค์ตั้งแต่<WBR>อนุปุพพิกถา มีทาน ศีล เป็นต้น ล้วนแต่เป็นหลักยุทธวิธีทั้งนั้<WBR>น แต่เป็นยุทธวิธีเป็นขั้นๆไป ต่อสู้กับอะไร? ท่านต่อสู้กับความตระหนี่ เห็นแก่ตัว บางทีใจเป็นบุญกุศลอยากทำทานอยู<WBR>่ แต่อีกใจหนึ่งคิดห่วงหน้าห่<WBR>วงหลัง กลัวจะขาดแคลน หรือไม่เมื่อให้ทานไปแล้วกลั<WBR>วทรัพย์ที่มีอยู่จะไม่ครบจำนวน ดังนี้เป็นต้นฯ
    ศีล ก็ต่อสู้กับเสียดายความสุขสนุ<WBR>กเพลิดเพลินอันเป็นโลกียะที่<WBR>เคยได้ประสบมาแล้ว แลเห็นแก่ตัวเหมือนกันฯ เมื่อผู้มาต่อสู้ทั้งสองทัพนี้<WBR>จนพ่ายแพ้ไปได้แล้ว จะเห็นกิเลสเหล่านั้นเป็นของน้<WBR>อยนิดเดียว ไม่มีกำลังอันน่ากลัวเลย แล้วจะเห็นความสุขอันยิ่งใหญ่<WBR>ในชัยชนะนั้น จนจิตใจกล้าหาญ มีความร่าเริงอิ่มใจเป็นอย่างยิ<WBR>่งฯ เรียกว่า อนิสังสกถา ฯ คำสอนของพระองค์ยังสอนไว้ว่า ชนะขั้นนี้ยังไม่เป็นการชนะอย่<WBR>างเด็ดขาด เพราะเป็นการชนะข้าศึกภายนอกมั<WBR>นยังอาจกลับกลอกได้ เพราะ ใจมันยังไปยินดีติดกับด้<WBR>วยความสุขในกามคุณ ๕ คือ รูป-เสียง-กลิ่น-รส-โผฏฐัพพะ อันเป็นอานิสงส์ของ ทาน ศีล เท่านั้นฯ กามคุณ ๕ เป็นความสุขที่เจือไปด้วยทุกข์ สำหรับหลอกลวงบุคคลผู้มีปั<WBR>ญญาเยาว์ให้หลงติดอยู่ เหมือนกับปลากำลังหิ<WBR>วอาหารหลงเข้าไปฮุบเอาเหยื่อที่<WBR>เขาหุ้มเบ็ดไว้ฉะนั้น แล้วท่านสอนให้ต่อสู้กั<WBR>บความหลงผิดติดสุขในกาม อย่าเห็นแก่ความหิวในเหยื่อเท่<WBR>านั้น โทษจะถึงความตายในภายหลัง เรียก ว่า "กามทีนพโทษ"ฯ เมื่อผู้มาพิจารณาเห็<WBR>นโทษในกามคุณ ๕ ว่าเป็นเหมือนกับยาเสพติดคิดเบื<WBR>่อหน่ายคลายสละได้ ใจพ้นจากอามิส เป็นอิสระสุขอยู่แต่ผู้เดียว เรียกว่า เนกขัมกถาฯ แต่ ยุทธวิธีตอนว่าด้วยอายตนะซึ่<WBR>งจะอธิบายต่อไปนั้น เป็นยุทธวิธีอย่างละเอียด ต้องต่อสู้กันอย่างเอาเป็<WBR>นเอาตายกันจริงๆ และสามารถให้ก้าวขึ้นสู่วิปั<WBR>สสนาญาณทัสสนะได้ฯ
    ท่าน ผู้อ่านทั้งหลาย เป็นที่น่าอัศจรรย์ไหม พระพุทธองค์ทรงอุบัติเกิดขึ้<WBR>นมาในกามภพ เป็นอยู่ในกามภูมิ แวดล้อมแล้วด้วยกามคุณ ๕ ยั่วยวนแล้วด้วยกามกิเลสเหมือนๆ กับปุถุชนคนเราทั้งหลาย แต่พระองค์เห็นโทษแล้วในกามทั้<WBR>งหลาย จึงทรงแสดงหาอุบายหนี<WBR>เอาตนรอดจนเป็นยอดของบุคคลผู้<WBR>เป็นอิสระทั้งหลาย โดยไม่มีใครเป็นครูอาจารย์แต่รู<WBR>้แจ้งด้วยพระองค์เอง ฉะนั้น พระอานนท์เถระจึงชมเชยพระองค์ว่<WBR>า เป็นที่น่าอัศจรรย์หนอ "พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ในโอกาส" อธิบายว่า พระพุทธองค์ทรงอุบัติเกิดขึ้<WBR>นมาในกามภพ แต่ไม่หลงติดอยู่ในกามภพ ถึงจะแวดล้อมไปด้วยกามคุณ ๕ แต่พระองค์ก็มิได้หลงใหลไปด้วย ถึงจะอุบัติอยู่ในกามภูมิแต่<WBR>พระองค์ก็มิได้จมอยู่ในภูมินั้น รู้เท่าเข้าใจเห็นแจ้งชัดจริงทั<WBR>้งคุณแลโทษพร้อมทั้งอุบายหนีให้<WBR>พ้นจากมัน เสียจนได้ ด้วยใจด้วยปัญญาอันเฉี<WBR>ยบแหลมของพระองค์เอง
    อายตนะ ทั้ง ๖ ถึงแม้จะเป็นบ่อเกิดกองบุญของผู<WBR>้ที่ยังปรารถนากามภพอยู่ก็จริ<WBR>งแล แต่ผู้ที่เห็นโทษในกามภพแล้ว ผลของบุญหรืออานิสงส์ของบุญนั้<WBR>นมันกลับเป็นเครื่องผูกมัดจิ<WBR>ตใจของผู้ต้องการ พ้นจากกามไป เปรียบเหมือนสมบัติทั้งหลายย่<WBR>อมเป็นที่ปรารถนาแต่เฉพาะผู้ต้<WBR>องการเท่านั้น ส่วนผู้ที่ไม่ต้องการแล้วแม้<WBR>จะถูกคนบางคนหาว่าเป็นบ้าก็ตาม เขาผู้นั้นก็ยอมสละเพื่อเนกขั<WBR>มมะ
    ฉะนั้น อายตนะทั้ง ๖ มีตาเป็นต้นมิใช่จะเป็นบ่อเกิ<WBR>ดแต่กิเลสอันเป็นของหยาบๆ เท่านั้น ผลบุญกุศลที่เกิดจากอายตนะทั้ง ๖ ก็จัดเป็นกิเลสของผู้เห็<WBR>นโทษในกามภพด้วย เช่นผู้ออกบวชก็เห็<WBR>นโทษในกามตามนามบัญญัติว่า เนกฺขมฺม อยู่แล้ว สรุปแล้วสัพพกิเลสทั้งหลายย่<WBR>อมเกิดขึ้น ณ ทวารทั้ง ๖ นี้ทั้งนั้น ในอาทิตตปริยายสูตรที่พระพุ<WBR>ทธองค์ทรงแสดงแก่ชฏิลสามพี่น้<WBR>องพร้อมทั้งบริวาร ผู้บูชาไฟเพื่อปรารถนาในกามสุ<WBR>ขว่า "อายตนะทั้ง ๖ มีตาเป็นต้น เป็นของร้อน ร้อนเพราะไฟคือราคะ โทสะ โมหะ"
    ท่าน ผู้อ่านบางคนอาจสงสัยว่า ถ้าอายตนะทั้งหลายมีตาเป็นต้<WBR>นเป็นของร้อนแล้ว ไฉนมนุษย์คนเราทั้งหลายจึงเป็<WBR>นคนอยู่ได้ ทำไมไฟคือกิเลสราคะเป็นต้นจึ<WBR>งไม่ไหม้ตายหมด พูดดูเหมือนอายตนะทั้งหลายมี<WBR>ตาเป็นต้น จะไม่มีประโยชน์ให้คุณเสียเลย หากมีผู้คิดเห็นไปเช่นนั้นก็เป็<WBR>นที่น่าเห็นใจเหมือนกัน ปลาเกิดในน้ำจืดจะไปอยู่ในน้<WBR>ำเค็มย่อมไม่ได้ สัตว์บางชนิดเกิดในน้ำร้อนแต่มั<WBR>นก็อยู่ได้ไม่ตาย หนอนเกิดในที่สกปรกแลเหม็นคลุ้<WBR>งมันก็เพลินสนุกอยู่ได้ไม่เห็<WBR>นมีอะไรแปลก ไฟมิใช่จะให้แต่โทษอย่างเดียว คุณของไฟก็มีมาก คุณแลโทษเป็นแต่บทรำพันแต่ละทั<WBR>ศนะของแต่ละบุคคลเท่านั้น
    อายตนะ ๖ มีตาเป็นต้น ผู้เกิดมามีไม่ครบบริบูรณ์ ทางพระศาสนาถือว่าเป็นกรรมเก่<WBR>าของผู้นั้น คนพิการแม้จะบวชในพระศาสนาพระวิ<WBR>นัยบัญญัติก็ห้าม สมจริงตามนั้น โลกอันนี้จะเป็นที่น่าอยู่น่<WBR>าชมสนุกสนานก็เพราะมีอายตนะทั้ง ๖ นี้เอง หากขาดอายตนะอันใดอันหนึ่งไปเสี<WBR>ยแล้ว ก็เรียกได้ว่าความสุขในโลกนี้<WBR>ไม่สมบูรณ์ นี่ก็แสดงให้เห็นชัดอยู่แล้วว่า อายตนะทั้ง ๖ แต่ละอย่างมีความสำคัญแลคุ<WBR>ณประโยชน์มากแก่ความเป็นอยู่<WBR>ของผู้เกิดมาสักเพียง ไร เกจิอาจารย์บางท่านยั<WBR>งแสดงอายตนะทั้ง ๖ เทียบกับสวรรค์ ๖ ชั้นอีกด้วย พอสมจริงดังท่านว่าอีกเหมือนกัน เพราะท่านพูดต้นเหตุ อายตนะทั้ง ๖ เป็นบ่อเกิดของกามาพจรกุศลทั้<WBR>งหลาย หรือผู้มีอายตนะทั้ง ๖ แล้วก็เหมือนกับได้ทิพย์สมบัติ
    ฉะนั้น ที่ท่านแสดงไว้ในอาทิตตปริยายสู<WBR>ตรว่า อายตนะเป็นของร้อนนั้น ท่านหมายเอาอายตนะทั้งหลายมี<WBR>ตาเป็นต้น สัมผัสกับรูปแล้ว วิญญาณอาศัยของสองอย่างนั้นเกิ<WBR>ดขึ้น ว่าเป็นของร้อน แล้วพระองค์แจงออกไปว่าร้<WBR>อนเพราะอะไร? ร้อนเพราะมีเชื้อเดิมอยู่แล้<WBR>วในตานั้นที่ไปเห็นรูป ๓ อย่างได้แต่ ราคะความกำหนัดย้อมใจ ๑ โทสะความโกรธขึ้งเคียด ๑ โมหะความหลงไม่รู้เท่าเข้<WBR>าใจในเหตุผลของสิ่งนั้นๆ ๑ ของสามอย่างนี้เป็นเหตุให้เกิ<WBR>ดความร้อน อายตนะอื่นๆ นอกจากนี้ก็เช่นเดียวกัน ถ้าสิ่งสามอย่างนี้เป็นเชื้ออยู<WBR>่แล้ว หูฟังเสียง จมูกถูกกลิ่น ลิ้นถูกรส กายถูกสัมผัส ใจคิดไปในอารมณ์ต่างๆ ย่อมร้อนเหมือนกันทั้งหมด ความจริงอายตนะทั้ง ๖ นี้มิใช่ไฟเป็นของร้อนอะไรเลย อายตนะ ก็เป็นอายตนะอยู่ดีๆ นี่เอง ถ้าอายตนะ ๖ เป็นไฟไปหมดแล้ว ตนตัวคนเราทั้งหมดก็เป็นเชื้อที<WBR>่ให้ไฟไหม้ไปหมดแล้วแต่นาน หรือไม่ก็เป็นนรกตลอดกาลเท่านั้<WBR>นเอง ที่ว่าเป็นของร้อนเพราะมันมีเชื<WBR>้อไฟสามอย่างดัง อธิบายมาแล้วอยู่ในนั้น หรือไม่ก็มีอยู่<WBR>ในอายตนะภายนอกทั้ง ๖ มีรูปเป็นต้น เปรียบเหมือนไม้แห้งสองอั<WBR>นเอามาสีกันเข้า ต่างก็มีเชื้อไฟอยู่ในตัวของแต่<WBR>ละอันอยู่แล้ว เมื่อเอามาสีกันเข้าจึงจะเกิ<WBR>ดไฟขึ้นมาฉะนั้น ถ้าไม่เอามาสีกันถึงจะมีเชื้<WBR>อไฟอยู่ในตัว ไฟนั้นก็ไม่อาจเกิดขึ้นมาได้
    ฉะนั้น พระพุทธองค์จึงสอนให้ระวังสังวร<WBR>เมื่อ ตาเห็นรูปเป็นต้น ก็อย่าให้กระทบแรง ได้แก่ให้มีสติรู้ตัวอยู่เสมอว่<WBR>า ตาก็มีเชื้อไฟอยู่ในตัว รูปก็มีเชื้อไฟอยู่ในตัว แล้วก็ให้ระวังใจว่าราคะก็เกิ<WBR>ดขึ้นที่ใจนี้ โทสะก็เกิดที่ใจนี้ โมหะก็เกิดที่ใจนี้ ทั้งสามอย่างนี้มันล้วนแต่เป็<WBR>นของร้อนทั้งนั้น คนรู้จักของร้อนแลเคยได้<WBR>ประสบความร้อนมาด้วยตนเองก่<WBR>อนแล้ว เมื่อมีผู้รู้เรื่องนั้นดีกว่า ฉลาดกว่า มาแสดงโทษให้ฟัง เขาก็จะเข้าใจได้ดีแลได้ความรู้<WBR>ฉลาดเพิ่มขึ้น หากเขาผู้นั้นไม่รู้จักความร้<WBR>อนแลโทษของความร้อน หรือไม่เคยได้ประสบความร้อนมาด้<WBR>วยตนเองก่อนแล้ว ท่านผู้รู้ทั้งหลายก็ไม่ทราบว่<WBR>าจะสอนให้เขาเข้าใจได้อย่างไร ท่านอุปมาความร้<WBR>อนของไฟสามกองไว้ว่า "ราคะมีความร้อนเหมือนกับน้ำร้<WBR>อน" น้ำปกติเป็นของเย็น คนที่ถูกความร้อนแผดเผาย่อมระลึ<WBR>กถึงน้ำ หรืออาบน้ำไม่ก็ดื่มเพื่อระงั<WBR>บความร้อนกระวนกระวายเสีย แต่เมื่อน้ำมากลายเป็นของร้<WBR>อนไปจึงยากที่บุคคลผู้จะรู้ได้ ตราบใดความร้อนของน้ำยังไม่สั<WBR>มผัสกับตัวด้วยตนเอง ก็ยังไม่รู้โทษของความร้อนของน้<WBR>ำอยู่ตราบนั้น ความใคร่ความพอในยินดีในกามคุ<WBR>ณห้า ย่อมเป็นที่พอใจแลปรารถนาของผู้<WBR>ยังมีความหิวอยู่ เหมือนกับผู้ถูกความร้อนแล้วรู้<WBR>สึกแลหิวกระหายน้ำฉะนั้น เมื่อดื่มน้ำเข้าไป ความร้อนหรือความหิวกระหายนั้<WBR>นก็ระงับไป แล้วความหิวกระหายอื่นก็เกิดขึ้<WBR>นมาแทน มิฉะนั้นเปรียบเหมือนอสรพิษกัด แล้วมียาดีๆ มาใส่ให้หายพิษได้ทันที แต่แล้วก็กัดอีกอยู่อย่างนั้นร่<WBR>ำไป แต่ท่านผู้หมดความหิวแล้วย่<WBR>อมไม่มีความอยากกระหาย แม้แต่ไฟคือราคะความกำหนัดรั<WBR>กใคร่ ก็ไม่เข้าไปย้อมใจของท่านให้ชุ่<WBR>มได้ ฉะนั้น ท่านจึงไม่มีความหิ<WBR>วแลความอยากแล้ว อายตนะทั้งหลายของท่านจะเป็<WBR>นเหตุให้เกิดไฟคือราคะได้อย่<WBR>างไร
    โทสะ มีความร้อนเปรียบเหมือนไฟไหม้ป่<WBR>า ธรรมดาไฟป่าเมื่อเผาตนเองแล้ว ก็ย่อมลุกลามไหม้สิ่งที่อยู่<WBR>รอบๆ ไฟไม่เหลือ แม้ที่สุดของแห้งแลของสด จะเป็นของสะอาดหรือโสโครกก็ตาม ไฟย่อมไหม้หมดโดยไม่เลือก ไฟคือโทสะนี้ก็เหมือนกัน เมื่อมันติดลุกเกิดขึ้<WBR>นในใจของผู้ใดแล้ว ย่อมเผากายใจของตนเองให้เดือดร้<WBR>อนกระวนกระวาย แล้วเผาคนอื่นให้เดือดร้อนตามๆ กันไป คนผู้ดีมีจนมีคุณไม่มีคุณแม้แต่<WBR>บิดามารดาผู้เกิดเกล้า ไฟคือโทษ ย่อมเผาไม่เลือก ไม่ว่าไฟป่าหรือไฟบ้านเมื่อมั<WBR>นลุกลามขึ้นมาแล้ว ใครๆ เห็นเข้าย่อมกลัวทั้งนั้น กิ้งก่ากิ้งกือตั๊กแตนแมลงต่<WBR>างเห็นเข้าแล้ว ต่างก็วิ่งหนีหัวซุกหัวซุนเพื่<WBR>อเอาตนรอดทั้งนั้น มนุษย์ได้สามัญญนามว่าเป็นผู้มี<WBR>ปัญญา มีใจสูงแต่ก็อดที่จะเอาไฟคื<WBR>อโทสะมาเผากายใจของตนเองไม่ได้ นามบัญญัติที่ว่านั้นมันมี<WBR>ความหมายอะไรอยู่ที่ตรงไหนกั<WBR>นแน่ หรือว่ามันเป็นเพียงมนุษย์ปลอมๆ เปล่าๆ เท่านั้นหรือ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 20 ตุลาคม 2012
  10. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    อ่านต่อ...

    โมหะ มีความร้อนเปรียบเหมือนกั<WBR>บไฟไหม้แกลบ ไฟแกลบใครๆ ก็ทราบอยู่แล้วว่ามันมีเถ้<WBR>าปกคลุมอยู่ข้างบน แต่ข้างใต้มันร้อนระอุไม่แพ้<WBR>ไฟอื่นเลย นานๆ ถ้ามีผู้ไปเขี่ยเถ้าของมัน จึงจะแสดงประกายให้ปรากฏออกมา ครั้นแล้วก็ค่อยเศร้าๆ สงบลงไปร้อนกรุ่นอยู่<WBR>ภายในตามเดิม โมหะจริตก็เช่นนั้นเหมือนกัน อารมณ์ อันใดเกิดขึ้นในจิตจะร้อนแสนก็<WBR>ไม่ค่อยจะแสดงอาการออกมาภายนอก แต่มิใช่เพราะความรู้เท่าเข้<WBR>าใจในอารมณ์นั้นๆ ตามเป็นจริงแล้วปล่อยวางได้ ความร้อนมีอยู่แต่ไม่ทราบว่<WBR>าจะแก้ไขความร้อนนั้นด้วยอุ<WBR>บายใด มันมีแต่ความร้อนกับตันตื้<WBR>อไปหมด ไม่ว่าจะอยู่ในท่าไหนมันทำให้มึ<WBR>นงงไปทั้งนั้น หรือที่เรียกว่ามืดแปดด้าน ไม่มองเห็นช่องสว่างเอาเสียเลย เรื่องนี้พูดไม่ถูกถ้าใครได้<WBR>ประสบการณ์ด้วยตนเองแล้วจึงจะรู<WBR>้ชัดยิ่งกว่าคน อื่นเล่าให้ฟัง นี่พูดถึงลักษณะของไฟคือโมหะ แต่ลักษณะของโมหะแท้ท่านแสดงไว้<WBR>ในที่ต่างๆ ว่า ไม่รู้ในอริยสัจสี่ ไม่รู้ในปฏิจจสมุปบาท ไม่รู้อดีต ไม่รู้อนาคต แลไม่รู้ปัจจุบัน หรือไม่รู้ในทั้งหมด ที่กล่าวมาแล้วนั้นด้วยไม่รู้ทั<WBR>้งที่จะทำให้หมดกิเลสสิ้นทุกข์<WBR>ทั้งปวงด้วย เรียกว่าโมหะ ความจริงโมหะนี้มิใช่ไม่รู้<WBR>อะไรทั้งหมด โดยเฉพาะความร้อน โมหะก็ยังรู้ว่าร้อนอยู่ แลเหตุให้เกิดความร้อนก็รู้อยู่<WBR>เหมือนกัน แต่ไม่ยอมละเหตุนั้น เรียกว่ารู้แล้วแต่ไม่ยอมละ รู้แล้วยิ่งเกิดมานะเพิ่มกิ<WBR>เลสขึ้นมาอีก ความ จริง โมหะนี้ย่อมมีแก่สามัญญชนทั่<WBR>วไปตลอดตั้งแต่พระเสขบุคคลก็ยั<WBR>งมีโมหะเหลืออยู่ ต่างแต่ว่าใครจะมีมากมีน้อยกว่<WBR>ากันเท่านั้น ใครมีความร้อนแลทุกข์ก็มาก ใครมีน้อยความร้อนแลทุกข์ก็มีน้<WBR>อย
    อายตนะ เป็นบ่อเกิดของอารมณ์ทั้งดี<WBR>แลไม่ดี ใจเป็นผู้รับอารมณ์ ถ้าดีก็ชอบใจติดใจ ถ้าไม่ดีก็ไม่ชอบใจเสียใจ วิสัยของปุถุชนย่อมเป็นอยู่อย่<WBR>างนี้ ผู้เห็นโทษของอารมณ์ว่าเป็นเหตุ<WBR>นำมาซึ่งความทุกข์ดังนี้แล้ว ย่อมตั้งสติระวังสั<WBR>งวรในอายตนะนั้นๆ โดยยึดอุดมคติว่า "อารมณ์ที่เข้ามาทางอายตนะทั้ง ๖ เป็นเครื่องทำลายความสุ<WBR>ขสงบของจิตอย่างยิ่งแล้ว ก็ตั้งสติระวังสังวรในอายตนะนั้<WBR>นๆ ต่อไป เพื่อความเกษมสุขอันปราศจากอามิ<WBR>ส นี้เป็นทางเอกทางเดียวเท่านั้<WBR>นที่จะนำผู้ประพฤติปฏิบัติ<WBR>ตามให้ถึงนิรามิส สุข" นอกนี้แล้วไม่มีหวัง สมดังพระพุทธวจนะที่พระพุทธองค์<WBR>ทรงสอนพระภิกษุ ๕ รูปที่ต่างก็พากันระวังสั<WBR>งวรในทวารทั้ง ๕ มีตาเป็นต้น แล้วเห็นอำนาจประโยชน์ว่าที่<WBR>ตนทำนั้นถูกต้องดีแล้ว แลนำความสุขมาให้สมดังประสงค์ โดยสรุปใจความได้ว่า "ภิกษุผู้สำรวมในแต่ละทวาร ย่อมยังคุณประโยชน์ให้สำเร็จได้<WBR>ทั้งนั้น ภิกษุผู้สำรวมแล้วในทวารทั้งปวง ย่อมพ้นทุกข์ได้" ดังนี้ฯ
    เนื่อง จากไฟสามกองอันเป็นข้าศึกเกิดติ<WBR>ดอยู่กับตัวตลอดกาล จึงเป็นของลำบากยากที่จะไม่ให้<WBR>ไฟนั้นร้อนถึงตัวได้ ผู้ที่คุ้มกันไฟอันติดอยู่กับตั<WBR>วแต่ไม่ให้ร้อนถึงตัวได้จึงนั<WBR>บว่าเป็นบุคคล น่าอัศจรรย์อย่างเยี่ยม เราท่านทั้งหลายโดยเฉพาะผู้ที่<WBR>ออกบวชแล้วหรือผู้ที่เห็<WBR>นโทษในกามทั้งหลายโดย ได้นามสมัญญาว่า เนกฺขมฺม ขอได้ติดตามยุทธวิธี ซึ่งจะได้อธิบายต่อไปนี้ดูว่า เมื่อทำตามแล้วจะได้คุณประโยชน์<WBR>สมจริงหรือไม่ โดยยึดเอาอุดมคติดังกล่าวแล้วข้<WBR>างต้นเป็นที่ตั้ง ทั้งผู้ที่ออกบวชแล้วแลไม่<WBR>ออกบวช หากยังไม่เห็นโทษในกามคุณห้าอยู<WBR>่แล้ว ก็ไม่ทราบว่าจะไปต่อสู้กั<WBR>บใครเพื่อประโยชน์อันใด เพราะไฟสามกองดังกล่าวแล้วย่<WBR>อมเกิดขึ้น ณ ที่อายตนะ ๖ อันมีอยู่ในตัวของเราท่านทุ<WBR>กคนนี้เอง ผู้ไม่เคยทำจิตของตนให้สงบก็<WBR>จะทราบว่าความสุขเกิ<WBR>ดจากความสงบได้อย่างไร จึงเป็นที่น่าเสียดายมาก จะเห็นได้แต่ความเพลิดเพลิ<WBR>นของจิตอันหลงระเริงสนุ<WBR>กเฮฮาไปตามอารมณ์ที่ตนชอบ ใจเท่านั้น ว่าเป็นสุขอย่างยิ่ง เหมือนกับปลาผู้ไม่รู้เรื่<WBR>องความสนุกสนานที่มีอยู่ในป่<WBR>าเถื่อนดงดอนอันเต่า ผู้เป็นสหายเห็นแล้วนำมาเล่าสู่<WBR>ฟัง
    ฉะนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้นก็จะไม่มีฉั<WBR>นทะความพอใจในอันที่จะระวังสั<WBR>งวรในอายตนะ ๖ ต่อไป ผู้ที่ได้ฝึกฝนอบรมจิตให้เข้าถึ<WBR>งความสุขสงบอันปราศจากอามิสได้<WBR>แล้ว ย่อมเห็นภัยในอารมณ์ที่เกิ<WBR>ดจากอายตนะเหมือนข้าศึกที่น่<WBR>ากลัวฉะนั้น
    ชั้น สูงจากสวรรค์ลงมา ต่ำแต่นรกขึ้นมา เป็นภูมิที่อยู่ของกามาพจรสัตว์<WBR>ผู้ล่องลอยอยู่ในกามคุณห้า มนุษย์เกิดมาด้วยอำนาจวิ<WBR>บากของกามาพจรกุศล จึงต้องวนวุ่นอยู่กับกลิ่น คือกามารมณ์ อายตนะทั้ง ๖ จึงทำหน้าที่รับเอาอารมณ์<WBR>ขนาดหนักอยู่ตลอดเวลา ถึงแม้จะเห็นโทษว่าเป็นของวุ่<WBR>นวายนำมาซึ่งความเดือดร้อน แต่ก็จำต้องรับวิบากไปตามกาล เพราะได้ตกอยู่ในห้วงของกรรมแล้<WBR>ว ผู้เห็นโทษเท่านั้นจึงคิดที่<WBR>จะต่อสู้เพื่อเอาชนะมันได้ ...
     
  11. พันราตรี

    พันราตรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    47
    ค่าพลัง:
    +114
    มาหาด้วยความคิดถึงอย่างแรงอิอิ[​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. พันราตรี

    พันราตรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    47
    ค่าพลัง:
    +114
    ยังจำกันได้อยู่หรือเปล่าน๊อ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    (k):cool: wow..wow..wow..หายปายหนายมา อ.กาย ขา คิดถึงค่ะ..
    คิดถึง อยู่เสมอ ๆ เครื่องคอมฯ เสียงเหรอคะ ไม่เห็นเข้าเนทเลย หรืองานยุ่งคะ

    ({)ดีใจที่ อ.กายแวะมาทักทายกันอีกครั้งก่อนน้ำท่วมโลก..อิอิอิ
     
  14. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    :cool:เล่นรูปถ่ายใหญ่เลย อ.กาย เรา...เก๋ ๆ ดี
    สบายดี..ทางใต้ไม่วุ่นวายนะคะ..

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  15. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    อ่าวเหรอคะพี่พอใจ แต่ก่อนปุ๋มมีอาการไหล่ยกไม่ขึ้น ปวดร้าวไปทั้งแขนเลยค่ะ ปวดเหมือนอะไรมันเป็นก้อนแข็งๆที่สะบัก แล้วปวดมาก นวดก็ไม่หาย ถึงขนาดให้น้าสาวที่เป็นหมอนวด บินมานวดที่นี่ ก็ไม่หาย

    แต่ตอนนี้ดีขึ้นเยอะเยค่ะพี่พอใจ หลังไมค์มา เอ้ะ หรือจะบอกที่นี่ดี

    ตำราแรก ปุ๋มเปิดเจอในเน็ต สูตรไข่ดองน้ำส้ม แรกๆก็แหวะ แอะ กินได้เหรอว๊าา แต่ทำไงได้ มันปวดนี่ เลยลองกิน เขาว่า สุตรนี้ มาแต่ สมัยจิ๋นซีฮ่องเต้แล้ว คนจีนแต่ก่อน ยากจนเจ็บป่วยไม่มีเงินไปหาหมอ เลยมีหมอเขาเอาวิธีนี้มาเผยแพร่ ต่อมาคนจีนอพยพมาอยู่ที่ไทย ได้นำเอาสูตรนี้มาเผยแพร่ แต่ ปุ๋มก็บอกหลายคน บางคนก็กิน บางคนก็ไม่กิน บางคนเชื่อ บางคนไม่เชื่อ บางคนกินแล้วดี บางคนกินแล้วแค่บรรเทา กินไปสามเดือนก็หยุดกิน อะไรแบบนี้ แต่ปุ๋มว่า เวรกรรมก็มีส่วน คนที่จะเกาะติด

    กินกันไปจนหายกันไปข้าง ทั้งคน และไข่ ปุ๋มกิน มาได้ตอนนี้ก็เข้าปีที่สองค่ะ ปีแรกกินทุกวัน เลยสามเดือน กินเช้าเย็น (สังเกตุว่ากินแล้ว เราจะรู้การเดินของยาเลยค่ะ ตรงไหนปวดมันจะกัด ตุ้บๆๆ ปวดเพิ่มขึ้น แต่ต้องอดทน อิอิ อึดค่ะพี่พอใจ และเพื่อนๆ เอ้ะ ยาวไปไหม ขอเพิ่ม เดี๋ยวสูตรไข่ดองมาแปะก่อนนะคะ ใครกินแล้วเป็นไง มาเล่าสู่กันฟัง
    ยาอายุวัฒนะ : ไข่ดิบดองน้ำส้มสายชูหมัก | :: ETCPOOL BLOG ::

    กินแล้ว หรือ ไม่เข้าใจขั้นตอนไหน มาถามปุ๋มได้ ยินดีตอบค่ะ ประสบการณ์ นี้ ได้มาเพียบเลย เพราะเจ็บปวดทรมาน เลยต้องหา สูตรมาประทัง แต่จะบอกว่า ก่อนกิน ล้างพิษก่อนสักสองครั้งก็ยังดีค่ะ

    น้ำส้มที่ใช้ ต้องเป็นน้ำส้มหมักเท่านั้น จะมีสีชา หรือ สีเหลืองอ่อน ตอนกลับไทยปุ๋มเจอ ของพีซีมั้ง ขวดละสามสิบกว่าบาท แต่ระหว่างนี้ ใครจะหมักน้ำส้มเองรอก็ได้ ช่วงรอน้ำส้มได้ที่ ก็ ไปซื้อมาทำก่อนค่ะ กินดิบๆนะ ไข่เนี่ย ถ้าน้ำส้มคุณภาพดีๆนี่ ใครที่ฝึกสติรู้สึกตัวดีๆ รับรอง จะจับอาการได้ค่ะ เ้า ยาวไปแล้ว สูตรนี้ สำหรับ คนป่วยระยะพักฟื้น ผู้สูงวัย ดีมากเลยค่ะ<!-- google_ad_section_end -->
     
  16. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ srirattana [​IMG]
    หว๋ายยยย อารายกันเนี่ย ยักษ์วัดแจ้ง กับยักษ์วัดโพธิ์หรือไงเนี่ยยยย

    พี่ภู เป็นภูมิแพ้ เพราะอยู่เมืองนอกคอกนามานาน (หรือเปล่า) เพราะปุ๋มก็เริ่มเป็น เหมือนกันค่ะ แนะนำ ทำให้ตัวเองชุดใหญ่เลยนะพี่ภู

    1 ตื่นเช้ามา อมน้ำมัน (น้ำมันพืช หรือจะให้ดี น้ำมันมะกอกบีบเย็น เอ็กซ์ตราเวอร์จินยิ่งดี) อมในปากนี่แหละ บ้วนไปมา (หาอ่านได้ตามเน็ต) แต่ในเน็ตไม่ได้เขียนบอกไว้ ปุ๋มจะบอกเอง ว่า ถ้าพี่เป็นหรือ เริ่ม จะมีอาการขี้มูก คั่งในโพรงไซนัส มันจะแสบ ให้อดทน กลั้วไป ยี่สิบนาที แล้วค่อยอาบน้ำแปรงฟัน พวกเป็นภูมิแพ้นี่จิ้บๆ บ้วนไปบ้วนไป เสลด มันจะออกมาเยอะแยะ โล่งคอโล่งจมูก

    2 ล้างพิษตับ แต่ของปุ๋มทำเอาง่ายๆ ก็กินน้ำมันมะกอกผสมเกรปฟรุต หรือ ผสมมะนาวหนึ่งลูก (จริงๆเขาให้ครึ่งลูก แต่เรามันพวกล้น ต้องหนึ่งลูก) จะให้ดี ให้งดอาหารจะดีมาก หาดูในเน็ต เอ้อ เดี๋ยวส่งลิงค์ให้ดู มันจะมีตารางการกินอยู่

    3 พาน้องๆในนี้ไปเลี้ยงข้าว (ถ้าทำได้ ส้มตำข้างทางก็กินนะ แฮ่ๆๆ)

    สรุป พี่ภู ต้องลองทำดูนะ และ น้องๆเพื่อนๆ พี่ๆ ทุกคน ทำได้หมดทุกคน ร่างกายเรา บางทีมันเหมือนท่อน้ำ สกปรก ต้องคอย เล้าง คอย ทะลวงบ่อยๆ

    สิ่งที่ได้คือว่า ท้องที่เคยบวม ยุบลง หน้าที่เคยบวมอืดยุบลง

    การล้างพิษจากตับและถุงน้ำดี

    จริงๆ ร่างกายวันหนึ่งมันก็จะพัง เสื่อมสลายไปในที่สุด แต่ก่อนจะจากกัน เราก็ดูแลเค้าให้ดี ตามสมควรค่ะ

    คนที่อายุ สี่สิบอัฟ แนะนำให้ ทำตามข้างบน และ ทานอาหารเสริม วิตามินเสริม

    มันมีผลกับร่างกายจริงๆค่ะ ยิ่งเพื่อนๆพี่ๆ น้องๆ ที่อยู่ต่างประเทศ ยิ่งต้องดูแลตัวเองดีๆ เพราะมันจะมีพิษ จาก หลายๆอย่างเข้ามาสะสม ปวดตามข้อ

    ข้อขา ข้อมือ ข้อเข่า ยิ่งต้องดูแลตัวเองนะคะ

    รักและห่วงใย

    ปุ๋ม จบ.แปะเอะ
     
  17. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    _@ตำราสุดยอดของครูเพ็ญ..

    ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ natthapatpun [​IMG]
    ฮ่า ๆ พี่เพ็ญกำลังเอาไม้เรียวไล่หวดก้นให้เข้าห้องเรียนอยู่ครูดัช

    ขอโต้ด พักนี้จิตมันแรง เห็นใครขาดความเพียรไม่ได้

    ต้องไล่ ต้องจี้ ต้องบี้กันให้ตายคามือ(กิเลสนะกิเลสไม่ใช่คน อิอิ)

    ขอโต้ดอีกที ขอเล่าเรื่องความเพียรของตัวเองหน่อย

    ตั้งแต่พี่เพ็ญเริ่มตัดสินใจปฏิบัติธรรมรวมระยะเวลา 3 ปีกว่า(เกือบสี่ปีแล้ว)

    พี่เพ็ญไม่เคยคิดว่าจะขาดความเพียรสวดมนตร์ทำสมาธิสักครั้งเดียว

    แต่เคยมีพิสูจน์อะไรบางอย่างลองหยุดทำสมาธิสัก 4-5 วัน(เหมือนคนอื่น)

    อยากรู้ผลว่าจะเป็นยังไง

    ขอโต้ดอีกสองที...ตรูทำม่ายล่าย

    หยุดทำสมาธิได้แค่ 3 วัน โอ้โฮ๋ จิตมันคิดถึงการบำเพ็ญใจจะขาด

    เหมือนคนเคยกินอาหารแล้วไม่ได้กินสัก 3 วันมันจะตายไหมอ่ะ

    ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาแม้มีเวลาไม่มากก็ขอให้ได้ทำทุกวัน

    มากน้อยไม่สำคัญ สำคัญที่ใจมีความเพียรขอให้ได้ทำต่อเนื่องกันไปทุกวัน

    มีบางคนมาบอกว่าหยุดมั่งก็ได้เจ๊ ไปหาความบันเทิงบ้างเดี๋ยวมันจะเครียดเกินไปนะ

    เราก็ อืม ตามบายเต๊อะท่าน ถ้าเราจะไปหาความบันเทิง เราจะไปหาเอง ไม่ต้องมีใครมาชวนหรอก

    พอมาวัดกำลังใจตนเองดูระหว่างความบันเทิงกับการบำเพ็ญจิต

    จิตขอพากายไปสู่ความสงบดีกว่า

    แต่บางครั้งนะ ธรรมชาติของกายเขาก็ต้องไปอยู่กับของหยาบบ้าง

    มันก็เป็นเรื่องธรรมดาของกาย ไม่ใช่เรื่องผิดธรรมชาติแต่อย่างใด

    เพียงแต่จิตอย่าไหลกับกับกิเลสก็แล้วกัน

    กายอยู่ตรงไหนก็ได้ แต่จิตต้องอยู่เหนือกายกันนะ

    กลับมาดูเรื่องความเพียรของพี่เพ็ญ

    พี่เพ็ญก็ไม่ได้ทำอะไรให้เหน็ดเหนื่อยเกี่ยวกับการบำเพ็ญแม้แต่น้อย

    เพียงแต่เราตั้งมั่นอยู่ในใจว่าเราจะทำความดีทุกอย่างเพื่อพระนิพพาน

    แต่ขณะปฏิบัติเราต้องปฏิบัติด้วยใจและกายสบาย

    ไม่ตึงและไม่หย่อนจนเกินไป

    ความเพียรของพี่เพ็ญจึงเดินไปแบบสม่ำเสมอ

    ไม่เร่งและไม่ช้า ทำทุกอย่างไปด้วยจิตสบาย

    กระทบมีเข้ามาตลอดเวลา แต่สติพี่เพ็ญดีมาก

    พอกระทบปุ๊บดูจิต กระทบปุ๊บดูจิต กระทบปุ๊บดูจิต

    ดูทำไม?

    ก็ดูให้รู้ว่ามันเกิดอารมณ์หรืออาการขึ้นที่กายและจิตแล้ว

    พอรู้ว่ามันเกิดก็ดูมันจนดับไปเอง

    พอมันดับก็นึกขึ้นได้(มีสติรู้สึกตัว)ว่า อ้าว ไม่มีตัวตนหรอกเหรอ

    เออ มันก็แค่อารมณ์และอาการในขันธ์ห้า เป็นสิ่งไม่ควรยึด

    เพราะมันไม่มีตัวตนอะไรให้ยึด มันก็จบ

    เมื่อจบมันก็วาง เมื่อวางแล้วก็ต้องปล่อย

    ไม่ใช่วางแล้วยังจับอยู่ ต้องปล่อยด้วย(ทำใจปล่อยกิเลสลอยแพไป)

    ความเพียร...ที่ครูเน้นย้ำกันอยู่เสมอในการบ้าน

    ไม่ใช่บอกให้ผู้ปฏิบัติคร่ำเคร่งจนเกิดความเครียด

    ถ้าเป็นอย่างนั้นท่านวางกำลังใจผิดแล้ว

    ความเพียรที่ครูเน้นย้ำกับท่านหมายถึงให้ท่านวางใจเป็นกลาง

    และปฏิบัติจิตเกาะพรไปด้วยความสม่ำเสมอทั้งวันทั้งคืน

    เช่น บอกว่าให้ท่านนึกถึงภาพพระให้บ่อยให้ถี่

    เราบอกให้ท่านนึกเฉย ๆ ไม่ใช่ให้คิดจนหน้าดำหน้าแดง ตาถลกถลนเมื่อไร

    แค่นึกถึงภาพพระ ก็เหมือนเรานึกถึงภาพคุณพ่อ คุณแม่

    ลูก หลาน ญาติพี่น้อง ดารา นักร้อง ครูอาจารย์ที่ท่านชื่นชอบและศรัทธา

    แต่เป็นการนึกด้วยอารมณ์ใจสบาย

    เหมือนเวลาที่เราดูวิว ดูน้ำตก ดูธรรมชาติ ใจเราก็สบายใช่ไหม

    จิตเกาะพระก็ต้องวางอารมณ์ใจให้สบายเป็นธรรมชาติที่สุด

    อย่าไปบังคับจิต อย่าไปกดดันจิตว่าต้องดู ต้องดู ต้องดู

    อย่าไปทำอย่างนั้น เดี๋ยวจิตเขาจะเบื่อ

    เพราะธรรมชาติของจิตไม่ชอบการถูกบังคับ

    แต่ชอบทำอะไรสบาย ๆ ตามใจฉัน

    การฝึกจิตเกาะพระ ผู้ปฏิบัติสามารถนำคำสอนของครู

    ไปประยุกต์ให้เหมาะสมกับจริตของตนเอง

    เช่น บางคนชอบฟังเพลง ก็ให้ฟังเพลงไปด้วยทำจิตเกาะพระไปด้วย

    บางคนชอบเล่นเกมก็ให้เล่นเกมไปด้วยทำจิตเกาะพระไปด้วย

    บางคนชอบเล่นกีฬาก็ให้เล่นกีฬาไปด้วยทำจิตเกาะพระไปด้วย

    บางคนชอบชอปปิ้ง(แนวคุณลินดา)ก็ให้ชอปปิ้งไปด้วยทำจิตเกาะพระไปด้วย

    บางคนชอบฟังเทศน์ฟังธรรม ชอบสวดมนตร์ ทำสมาธิ เดินจงกรม ก็ให้ทำไปตามถนัดของท่านแต่ให้นำจิตเกาะพระไปประยุกต์ให้เหมาะสมกับจริตของท่าน

    กล่าวคือจริตของใครชอบอย่างไรเราก็ไม่ได้ไปบังคับให้ท่านเลิกทำจริตของท่านนะ

    เพียงแต่ท่านมีจริตอย่างไรก็ให้เอาจิตเกาะพระเสริมเข้าไปให้จิตมันแน่นสติมันเต็มก็แค่นั้นเอง

    แต่ไม่ได้หมายความว่าให้ทำกันไปเรื่อยเปื่อยนะ

    ผู้ปฏิบัติต้องมีวินัยในตนเอง ต้องเพียรนึกภาพพระให้ได้ติดตาติดใจ

    เหมือนเวลาที่คนเรามีความรัก ต่อให้พ่อแม่ห้ามอย่างไร ใจมันก็ยังคิดถึงกันใช่ป่ะ

    จิตเกาะพระก็ทำอารมณ์คล้ายกันนั่นแหละ กิเลสเปรียบเหมือนพ่อแม่

    ยิ่งมันห้ามเราไม่ให้คิดถึงพระ แต่สติเราก็มีนิไม่ใช่ไม่มี เราจะคิดถึงพระซะอย่าง กิเลสจะทำไม(แนวจิตดื้อเหมือนใครหว๋า)

    สรุปว่าความเพียรหมายถึงทำให้สม่ำเสมอ ไม่เหนื่อยไม่หนักจนเกินไป หรือไม่ตึงไม่หย่อนจนเกินไป

    บ่นจบแร๊ะ

    พี่เพ็ญ จบ.3

    ปล.มีใครบอกว่าจะไม่ส่งการบ้านอีกไหม ยกมือขึ้น คุณลินดาเตรียมสรรพกำลังด่วน ลูกศิษย์กำลังจะแตกแถวกลายเป็น ปู ในกระด้งของคุณแนทไปแว้ว วุ้ย ทำไมไปจบที่กระด้งของคุณแนทเนี่ย ฮา
     
  18. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    สำหรับผู้ที่มาใหม่หรือผู้ปฎิบัติใหม่

    จงตั้งใจอ่านตรงนี้ให้ดี จะได้มีความเข้าใจตรงกัน จะได้ไม่ต้องมาเสียเวลากันทั้งสองฝ่าย

    นั่งนึกตั้งนาน..ว่าจะนำมาลงที่กระทู้นี้มั๊ย
    สรุปว่า...ต้องลง ต้องลง

    ต้องคัด..ต้องคัดแยก



    สวัสดีค่ะ

    เอาเป็นว่าเรามาคุยกันฉันเพื่อนก่อนเพื่อขอดูกำลังใจของคุณค่ะ ตอนนี้พี่เพ็ญยังไม่จัดครูให้คุณค่ะ จนกว่าคุณจะบอกเล่าวัตถุประสงค์ของการติดต่อเข้ามาฝึกจิตเกาะพระ

    1. ช่วยบอกเล่าเรื่องราวการปฏิบัติธรรมของคุณให้ทราบด้วยค่ะ ขออย่างละเอียด เพื่อดูพื้นฐานการปฏิบัติของคุณ
    2. ความศรัทธาในพระพุทธศาสนาของคุณอยู่ตรงไหน
    3. คุณจะฝึกจิตเกาะพระไปเพื่ออะไร
    4. คุณรู้หรือไม่ว่าเราฝึกจิตเกาะพระกันอย่างไร อธิบายตามความเข้าใจของคุณ
    5. คุณสามารถละวางรูปแบบการปฏิบัติเดิมของคุณได้ไหม
    6. ทำไมใจคุณจึงมีแต่ความขุ่นเคือง น้อยใจ เสียใจ คุณโกรธใครอยู่ อธิบายต้นสายปลายเหตุ และการวางกำลังใจ ณ ปัจจุบัน
    7. คุณคิดว่าจิตเกาะพระจะช่วยคุณได้ในเรื่องใดและอย่างไร

    ขอให้คุณตอบคำตามตรงไปตรงมา ตามความเข้าใจของคุณ ไม่ต้องกังวลสิ่งใดทั้งสิ้น และต้องขออภัยเป็นอย่างยิ่งที่ตั้งคำถามกับคุณ เนื่องจากว่าพี่เพ็ญจับกระแสบางอย่างได้ ซึ่งหากคุณไม่สามารถวางมันลงได้ คุณจะยกจิตขึ้นนิพพานได้ยากมาก

    คุณไม่ต้องเดาอะไรทั้งสิ้น ให้คุณดูจิตตัวเอง แล้วตอบคำถามเรามาก่อน ถ้าคิดว่าสิ่งที่เราถามคุณไปเป็นการล่วงเกินจิตของคุณ คุณไม่ต้องตอบทิ้งมันไปซะ และพี่เพ็ญกับพี่ภูกราบขอขมาขออภัยหากทำให้คุณขุ่นเคืองเพิ่มขึ้นไปอีก

    และหากการเริ่มต้นนี้จะเป็นการช่วยเปิดจิตของคุณให้ได้พบกับแสงสว่างบนพระนิพพาน เรายินดีช่วยคุณเต็มที่ค่ะ ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับจิตของคุณว่าจะมีศรัทธาในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ และครูอาจารย์ที่จะสอนจิตของคุณมากน้อยเพียงใด

    ทุกคนมีศรัทธาในพระพุทธศาสนาค่ะ แต่มีทุนของศรัทธามาไม่เท่ากัน เรื่องนี้คุณต้องตอบโจทย์ให้กับจิตของคุณเองค่ะว่าคุณมีความตั้งใจจะปฏิบัติจิตเกาะพระมากน้อยแค่ไหน พูดง่าย ๆ ก็คือ ใจสู้แค่ไหน หรือแค่จะมาลองทำเล่น ๆ ถ้าคิดว่าจะมาลองทำเล่ิน ๆ ขอให้หยุดไว้ที่นี้เลยค่ะ ไม่ต้องตอบอะไรมาแล้วค่ะ

    กราบขอบพระคุณค่ะ

    พี่เพ็ญ

    ปล.ขออนุญาตครูเพ็ญที่นำมาลงมิได้บอกกล่าวกัน เพื่อธรรมาทานกับผู้ที่มาใหม่ เพราะที่นี่ทำกันจริงๆ มิใช่ทำเพื่อกระแสสังคม จิตผู้ที่พร้อมจริงๆถึงจะปฎิบัติได้ ถ้าไม่อย่างนั้นแล้ว จะทำให้เสียเวลาทั้งสองฝ่าย ขอให้ผู้ที่อ่านได้โปรดพิจารณาถามใจตนเองให้ดีๆก่อน ศีลท่านครบมั๊ย? กำลังใจพร้อมเดินมรรคมั๊ย ที่นี่สำหรับผู้ที่มีความตั้งใจจริง สำหรับผู้ที่อยากได้พระโสดาบัน หรือผู้ที่มีใจปรารถนาพระนิพพาน ขอเชิญทุกท่านเลย พวกเรายินดีต้อนรับทุกท่านครับ
    ขอขอบพระคุณมากครับ

    สาธุ ๆ ๆ โมทนาในความตั้งใจและความปรารถนาที่มีต่อเพื่อนมนุษย์ชาวโลก เพื่อให้หลุดพ้นจากทุกข์ เข้าสู่พระนิพพาน จิตเกาะพระ..ที่ท่าน อ.ภู และครูเพ็ญ นำมาแนะนำให้ปฏิบัติมีประโยชน์มากมาย.. โดยเฉพาะผู้ที่มีเวลาน้อย ภาระกิจงานมาก..เราเป็นผู้หนึ่ง..ที่ได้เห็นผลจากการปฏิบัติจิตเกาะพระอย่างต่อเนื่อง..ทุกครั้งที่น้อมนำพระท่านมาไว้ยังจิต รู้สึกปลาบปลื้ม น้ำตาคลอ..พระท่านจะอยู่กับเราตลอดไป ท่านจะนำพาเราสู่พระนิพพาน...<!-- google_ad_section_end -->
     
  19. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    สุดยอดของธรรมะ

    หลวงพ่อชา สุภัทโท

    จะปฏิบัติธรรมอย่างไร คนเราไม่รู้จัก นึกว่าการเดินจงกรม นึกว่าการฟังธรรม
    นึกว่าการนั่งสมาธิ เป็นการปฏิบัติ นั่นเป็นส่วนน้อย
    ก็จริงอยู่ แต่มันเป็นเปลือกของมัน
    การปฏิบัติจริงๆ ก็ปฏิบัติเมื่อประสพกับอารมณ์ นั่นแหละการปฏิบัติ
    แล้วที่มันประสพอารมณ์ อยู่นั้น เช่นมีอะไร
    มีคนมาพูดไม่ถูกใจนะ เราเป็นทุกข์ขึ้นมา
    ถ้าคนพูดให้ถูกใจเรา เราก็เป็นสุข
    ตรงนี้แหละ ตรงที่จะปฏิบัติ

    เราจะปฏิบัติอย่างไร อันนี้สำคัญ
    ถ้าเราไปวิ่งกับสุข ไปวิ่งกับทุกข์ มัวไปวิ่งกับสุข ไปวิ่งกับทุกข์อยู่นั่น
    จะวิ่งตลอดจนถึงวันตายก็ไม่พบธรรมะ นี่ก็อยู่ไม่ได้
    เมื่อรู้จักสุขทุกข์ ทั้งสองนี้ขึ้นมาเมื่อไร
    เราจะแก้ไขปัญหาอย่างไรโดยธรรมะ นี่คือการปฏิบัติ

    โดยมากคนที่ได้ของที่ไม่ชอบใจ ไม่อยากจะพิจารณา
    อย่างคนนินทาว่าเรา "อย่ามาว่าฉัน มาว่าฉันทำไม"
    นี่คือคนปิดตัวไว้ ตรงนั้นแหละต้องปฏิบัติ
    ถ้าเขาว่าเราไม่ดี เขานินทาเรานี่ควรฟัง
    "เขาว่าถูกหรือผิดอะไรหนอ" ไม่ดีตรงไหน
    เราควรรับฟังไม่ต้องปิด ปล่อยเข้ามาให้ดูไว้
    บางทีก็มีนะ ที่เราไม่ดีนั่นน่ะ เขาว่าถูก ยังไปโทษเขาอีก
    นี่ทีนี้เรามาดูตัวเรา เราเห็นที่ไหน มันไม่ค่อยดี
    เราก็เขี่ยมันออกเสีย เขี่ยโดยไม่ให้ใครรู้จักนั่นแหละ
    เขี่ยสิ่งที่ไม่ดีออกเสีย มันก็ดีขึ้นมาอีก นี่คือคนมีปัญญา

    สิ่งที่มันวุ่นวาย สิ่งที่มันไม่สงบอยู่
    ตรงนั้นแหละมันเป็นเหตุสิ่งที่สงบอยู่ ก็ตรงนั้นเอง
    เราเอามันแทนที่เข้าไปที่มันไม่สงบนั่นไง
    นี่บางคนไม่รับฟัง ทิฐิมันแรง เราทำอย่างนั้นจริงๆ ก็ไปเถียงเขาอีกนะ
    ยิ่งกับลูกเราแล้ว ความเป็นจริงบางอย่างมันถูกของเขา
    แต่เราเข้าใจว่า เราเป็นแม่เขา ไม่ยอมมัน อย่างนี้ก็มี
    อย่างเราเป็นครูคนนี่ บางทีลูกศิษย์นะ เขาพูดถูก แต่ว่าเราไม่ยอมมัน
    ทำไม เพราะว่าเราเป็นครูเขา
    เขาจะเถียงเราได้อย่างไร นี่คืออย่างนี้ มันคิดไม่ถูก

    ในครั้งพุทธกาล มีสาวกองค์หนึ่ง ท่านมีปัญญามากพระพุทธเจ้าก็เทศน์ธรรมะให้ฟัง
    เทศน์ไปเรื่อยๆท่านก็ฟังไปเรื่อยๆพระพุทธเจ้าถามว่า
    "ท่านพระสารีบุตร ท่านฟังธรรมนี้ ท่านเชื่อไหม"
    "เกล้ากระผมยังไม่เชื่อ"
    พระพุทธเจ้าชอบใจเลย
    "เออ ! ดีแล้ว ท่านมีปัญญา คนที่มีปัญญาไม่ควรเชื่อง่าย
    ต้องรับอันนี้ไปพิจารณาดูเหตุผลกันก่อนจึงเชื่อ "
    นี่แหละ ธรรมที่เป็นครูสอนคนอย่างดีทีเดียว
    คือความเป็นจริงมันถูกของท่าน
    พระสารีบุตร ที่ท่านพูด
    ท่านเอาใจจริงมาพูดให้ฟังเลย บางคนก็ว่า ถ้าจะพูดว่าไม่เชื่อ
    ก็ดูเหมือน จะฝ่าฝืนอำนาจพระพุทธเจ้า
    กลัว ก็เลยกลัวในสิ่งที่ไม่ควรกลัว ก็เลยว่าถูกตามกันไปหมด
    นี่โลกของเรา มันเป็นอย่างนี้
    พระพุทธเจ้าของเราตรัสว่า สิ่งที่ไม่ผิด ไม่เป็นบาป ไม่ต้องอายเลย
    เพราะเรายังเชื่อไม่ได้ เราพิจารณาไม่ได้ เรายังไม่เชื่อ
    พระสารีบุตรจึงพูดว่า "ข้าพระพุทธองค์ยังไม่เชื่อ" พระพุทธเจ้าชอบใจ
    "องค์นี้มีปัญญามาก ให้ไตร่ตรองดูเหตุดูผลก่อนจึงเชื่อ"
    พระสารีบุตรนี้มีปัญญา อันนี้เป็นคติของผู้ที่เป็นครูเป็นอาจารย์ ของคนเป็นอย่างดี
    บางทีความรู้เราได้จากเด็กๆก็มีนะ เราอย่าไปถือไปยึดมั่นอะไรทั้งหลาย

    ที่เราเกิดมา จะยืน จะเดินไปมา จะนั่งที่ไหน
    เวลานั้นเรียกว่าเราศึกษาทุกอย่าง
    เราศึกษาตามธรรมชาติ รูปก็ดี เสียงก็ดี กลิ่นก็ดี รสก็ดี โผฏฐัพพะก็ดี
    เราต้องฟัง ต้องรับฟัง คนมีปัญญาต้องรับฟังข้อประพฤติปฏิบัตินั้น
    ก็ท่านปฏิบัติให้มันหมดเรื่อง
    ถ้าเรามีความชอบใจ ไม่รู้เท่าความชอบใจ
    ไม่รู้เท่าความไม่ชอบใจ นี่เรายังมีเรื่อง
    ถ้าเรารู้เท่ามันแล้ว ความชอบใจ ความสุขนี้ก็ไม่มีอะไร
    สักแต่ว่าความรู้สึกแล้วมันก็หายไป ไม่ชอบใจนี้ ก็ไม่มีอะไรมากมาย
    สักแต่ว่าความรู้สึกเท่านั้น แล้วมันก็หายไป จะเอาอะไรกับมันเล่า
    ถ้าเรานึกว่าสุขนั้นเป็นของเรา ทุกข์นั้นเป็นของเรา
    มันก็ทุกข์ยากลำบากไปเท่านั้นแหละ มันหมดเรื่องจบเรื่องไม่ได้
    ปัญหาอันนี้ มันก็เกิดต่อๆไปเรื่อยๆนี่มันเป็นเช่นนี้
    หลักความจริงมันก็เป็นเช่นนี้

    แต่ว่าเราสอนกัน ไม่ค่อยพูดกันถึงเรื่องจิตใจ
    ไม่ค่อยพูดกันถึงเรื่องความจริง
    ถ้าเอาความจริงมาพูดกัน คนจะไม่ชอบด้วยซ้ำ
    เขาว่าไม่รู้จักกาละเทศะ ไม่รู้จักประสีประสา อะไรต่ออะไร
    ฟังธรรมนี่ต้องรับฟังคือ ธรรมะนี้ไม่ใช่ว่าท่านเอาความจำมาพูด
    ท่านเอาความจริงมาพูด
    คนทางโลกนี่มันเอาความจำมาพูดกัน
    แล้วก็ไปพูดในแง่ที่ว่า ยกหูชูหางขึ้นไป
    เช่นว่า เรานี่พรากกันมานานแล้วนะ จากกันไปอยู่ต่างประเทศ
    หรือจากกันไป อยู่ต่างจังหวัดกันมานาน
    อีกวันหนึ่งเผอิญไปขึ้นรถไฟพบกันเข้า
    "แหม ! ผมดีใจเหลือเกิน ผมนึกว่าจะไปเยี่ยมคุณอยู่เร็วๆ นี้"
    อันนี้ไม่ใช่ ความเป็นจริงไม่เคยนึกเลย
    แต่ไปพูดขึ้นเดี๋ยวนั้นแหละ ไปปรุงขึ้นเดี๋ยวนั้นแหละ
    คนมันชอบเป็นอย่างนี้ โกหก โกหกโดยไม่รู้ตัวเจ้าของนี่
    ธรรมะมันเป็นเช่นนี้ ถึงว่า พระนี่ ท่านพูดยาก
    เมื่อท่านพูด ท่านเอาความจริงมาพูดให้ฟัง
    พูดไป พูดไปเถอะ คนฟังก็ไม่เข้าใจ เข้าใจยาก
    ถ้าเราเข้าใจธรรมะเราก็ได้ปฏิบัติในส่วนของธรรมะ
    ไม่ถึงกับว่าต้องมาบวชก็ได้
    ถ้าเราเข้าใจ แต่การบวชนี่มันเป็นรากฐานโดยตรง
    ผู้จะมาปฏิบัติโดยตรงต้องออกมาอยู่ในป่า ต้องสละครอบครัว
    ต้องสละสมบัติมันถึงไม่กังวล
    การเข้ามาอยู่ในป่า หรือในที่สงัดนั้น เป็นเครื่องปฏิบัติโดยตรง

    บัดนี้ถ้าเรายังมีครอบครัวอยู่ ยังไม่มีภาระอยู่
    ทำอย่างไรเราจึงจะปฏิบัติได้
    บางคนก็นึกว่า เราปฏิบัติไม่ได้ล่ะ
    "พระกับโยม ในโลกนี้ ในประเทศไทยเรานี้ ใครมากกว่ากัน ?"
    "โยม" นั่นส่วนพระมาปฏิบัติเท่านี้ โยมนั้นไม่ปฏิบัติ มันก็วุ่นวายเท่านั้นเอง
    นี่คือเรายังเขาใจผิด... ผมยังบวชไม่ได้"... ไม่ใช่บวชหรอก ไม่ใช่การบวช
    บวชมาแล้วก็ไม่ได้อะไร ถ้าเราไม่ปฏิบัติ ก็เป็นอย่างเก่านั่นแหละ
    ก็เสียไปอย่างนั้นถ้าเราคิดถูก แม้จะทำอะไรอยู่ที่ไหนก็ช่างเถอะ
    เป็นครูเป็นอาจารย์ เป็นข้าราชการทำหน้าที่การงานที่ไหนก็ตาม
    ถ้าเรารู้เรื่องของเรื่องอันนี้ จะได้รับการอบรมทุกวินาที
    เราได้ปฏิบัติ บางคนเข้าใจว่า "โอ๊ย ! ฉันเป็นฆราวาสทำไม่ได้หรอก"
    นี่คือ มันหลงเตลิดเปิดเปิงไปทั้งร้อยเปอร์เซ็นต์เลย
    อย่างอื่นทำไมทำได้ อย่างอื่นทำได้
    อะไรที่ไม่มี เราก็หาได้เพราะเราอยากได้เราก็ทำได้
    "ผมไม่มีเวลาเลย ผมมีแต่การงาน"
    "เอ้า ! ทำไมคุณมี เวลาหายใจล่ะ" นี่เป็นเรื่องอย่างนี้
    ทำไมคุณจึงมีเวลาหายใจ หาเวลามาจากไหน
    แน่ะ! เพราะ เรื่องการหายใจ เป็นเรื่องสำคัญในชีวิตของคุณ
    ถ้าคุณเห็นว่า เรื่องการปฏิบัติ เป็นเรื่องสำคัญ ในชีวิตของคุณแล้ว
    การปฏิบัติของคุณ ก็เสมอลมหายใจเท่านั้นแหละ
    ก็เพราะ การปฏิบัตินี้ มิใช่ว่า จะไปวิ่ง หรือไปเล่นกีฬา
    หรือจะต้องออกกำลังกาย หรือจะไปทำอะไรให้มันวุ่นวาย
    เราดูความรู้สึกของเรานี่ มันเกิดมาจากเหตุใด
    ตาเห็นรูป หูฟังเสียง จมูกดมกลิ่น ลิ้นลิ้มรส
    อะไรมา ก็รวมกันมาที่ผู้รู้ คือ จิตที่มีความรู้ขึ้น มันเป็นอย่างไร
    ถ้ามันไม่ชอบใจมันก็ไม่เอา เป็นทุกข์
    ถ้ามันชอบใจ มันก็เอาเป็นสุขเสีย เรื่องเท่านี้แหละ
    ทีนี้เราลองคิดว่า ถ้าคุณอยู่ในโลกนี้ คุณจะไปเอาสุขที่ไหน
    ไม่ได้ ไม่ได้คุณจะไปอยู่ที่ไหน โลกนี้มันต้องเป็นอยู่อย่างนี้
    ท่านตรัสว่า โลกวิทู รู้แจ้งโลก
    พระพุทธเจ้าท่านสอนให้รู้ พระพุทธเจ้าก็อยู่อย่างนี้
    ไม่ใช่ท่านจะไปอยู่ที่ไหน ท่านก็อยู่ในโลกนี้ มีครอบมีครัว
    ท่านจึงพิจารณาจนมันเบื่อ จนเห็นโทษมัน
    แล้วทำอย่างไร เราจะปฏิบัติได้
    ถ้าคุณจะปฏิบัติได้ คุณต้องพยายาม
    เมื่อคุณพยายามไปเรื่อยๆ
    คุณเข้าไปเห็นโทษในสิ่งนั้นแน่นอนแล้ว คุณก็วางมันได้เท่านั้นเอง

    อย่างคนดื่มเหล้านี้ "แหม ! ผมเลิกไม่ได้เหล้านี่"
    จะทำอย่างไรก็ไม่ได้ ยังไม่เห็นโทษของมันซี่
    ถ้าคุณไปเห็นโทษของมันอย่างชัดเจนแล้วไม่ต้องมีใครสอนหรอก
    ยังไม่เห็นโทษพอที่จะละมัน ไม่เห็นอานิสงส์ที่จะเกิดขึ้นมาได้
    การงานอันนั้น จึงไม่สำเร็จประโยชน์
    เอาเล็บเขี่ยเล่นอยู่เฉยๆ
    ถ้าเราเห็นโทษของมันอย่างชัดเจน
    เห็นอานิสงส์ ของการละมันอย่างชัดเจน
    เออ ! เช่นคุณไปสุ่มปลา สุ่มไปเถอะ
    รู้สึกว่ามีอะไรอยู่ในสุ่มของเรา มันดังคึกคักๆ เรานึกว่าปลา
    เอามือล้วงลงไป ไปเจอสัตว์อีกชนิดหนึ่งที่มันอยู่ในน้ำ
    ตาไม่เห็น แต่มีความรู้สึกในใจของเรา
    นึกว่าเป็นปลาไหลบ้าง นึกว่าเป็นงูบ้านนะ จะทิ้งมันก็เสียดายมัน
    หากว่ามันเป็นปลาไหลแล้วก็เสียดาย จะจับไว้
    ถ้าหากว่ามันเป็นงูมันก็จะกัดเอา นี่เข้าใจไหม
    สงสัยอยู่ไม่ชัดเจน ไอ้ความอยากนี่มันมาก อุตสาห์จับไว้
    เผื่อมันจะเป็นปลาไหลนะ พอโผล่ขึ้นมาพ้นน้ำเห็นแสกคอมันลาย วางเลย
    ไม่มีใครมาบอกว่า "อันนั้นงู วางๆ" ไม่มีใครบอกหรอก มันบอกมันเอง
    ยิ่งชัดกว่าเราบอกเสียด้วย เพราะอะไร
    เพราะเห็นโทษว่างูมันกัดเป็นใครจะไปบอกมัน
    จิตนี้ ถ้าเราฝึกมันแล้ว รู้เช่นนั้นแล้ว มันไม่เอาหรอก

    นี่เราไม่ค่อยฝึกกันนะ ฝึกในทางอื่น ไม่ค่อยฝึกเรื่องนี้
    มันก็เลยไม่แก่กัน ไม่ตายกัน
    พูดแต่เรื่องไม่แก่ไม่ตายกันเรื่อยๆ
    อันนี้มันเก็บความรู้สึกไว้ในธรรมกันไม่ได้ ไม่ได้ปฏิบัติเลย
    ถึงไปฟังธรรมะก็ไปฟังกัน แต่ไม่ได้ฟัง
    คือ ไปถึงที่นั้น ฟังอยู่ข้างนอกนี่
    บางทีในสังคมใหญ่ๆ นิมนต์อาตมาเทศน์
    ไม่อยากเทศน์หรอก รำคาญในใจ
    ทำไมไม่อยากจะเทศน์ เพราะไม่เกิดประโยชน์
    เพราะเมื่อมองๆดูคนในที่นั้น ไม่ใช่คนที่จะเตรียมตัวมาฟังธรรม
    ดื่มเหล้ามาบ้าง สูบบุหรี่บ้าง คุยกันบ้าง อะไรต่ออะไรบ้าง
    มันไม่เป็นลักษณะของคนที่มีศรัทธา ที่จะมาฟังธรรม
    ก็คิดว่าไปเทศน์ที่นั้น ก็เรียกว่า ประโยชน์มันน้อย หรือไม่มีประโยชน์เลย
    คนที่ยังมั่วสุมอยู่ในความประมาท
    เขาก็คิดว่า "แหม ! เทศน์นานเกินไป ทำนั่นก็ไม่ให้ทำ"
    มันคิดอยู่อย่างนี้เขาไม่ได้ฟังธรรมหรอก
    บางทีเขานิมนต์พระเทศน์เป็นพิธีเสียด้วย
    "นิมนต์ พระคุณท่านสักนิด"... เขาไม่ให้เทศน์มากหรอกรบกวนเขา
    "นิมนต์พระคุณท่าน สักนิดหนึ่ง" เราฟังแค่นี้เราก็เข้าใจแล้ว
    พวกนี้ไม่ชอบฟังธรรม เขารำคาญ พระเทศน์นิดเดียวก็ไม่เข้าใจกัน
    อย่างเอาของนิดๆหน่อยๆให้เรา มันพอไหม มันยังไม่พอ

    บางทีพระอุตสาห์เทศน์ไปหนักๆสักหน่อย
    ก็มีคนเมาๆอยู่ข้างๆนิมนต์ว่า
    "เฮ้ย ! ให้ทางท่าน ให้ทางท่านบ้าง ท่านจะออกมาแล้ว" ไล่พระอยู่นั้น
    ถ้าอาตมาเห็นชนิดนี้ ไปพบชนิดนี้ ก็มี ปัญญามาก ซึ้งในธรรมะ
    ซึ้งในจิตใจของคนเรา อันนี้เรียกว่า มันไปอุดอยู่ตรงนี้
    คล้ายๆ กับว่า น้ำในขวดเรา มันมีเต็มอยู่ เขาจะมาขอน้ำจากเรา
    ทั้งๆที่น้ำในขวดเรามันเต็มอยู่ เราจะเอา น้ำของเรา รินลงไป
    มันก็ไม่มีที่เก็บ มันล้นออกมา
    ถ้าเห็นอาการมันเป็นอย่างนั้น ปัญญาก็เห็นไป อย่างนั้น
    ก็ไม่มีเวลา ไม่มีโอกาส และไม่สมควร
    เพราะน้ำในขวดนั้นยังเต็มอยู่ ที่เก็บน้ำมีอยู่แล้ว เต็มอยู่แล้ว
    เราจะรินลงไปอีก นี่ มันก็ล้นไปหมด
    ประโยชน์มันไม่มีแล้ว นี่ ประโยชน์ไม่มี
    ถ้าหากว่าในขวดเขามันว่างๆอยู่ มาขอน้ำกะเรา
    เราจับขวดน้ำเทลงไป คนที่เก็บน้ำก็สบาย คนให้ก็สบายใจ มันมีที่เก็บน้ำ
    อย่างคนที่ฟังธรรมะก็ฟัง นั่งฟังเข้าใจธรรมะจริงๆ
    เราก็มีกำลังใจ มีสมาธิ มีความมั่นใจเทศน์ให้ฟัง
    ก็เหมือนกัน ถ้าหากว่าไม่มีคนตั้งใจฟัง ก็เหมือนเทน้ำใส่ขวด
    ที่มันบรรจุน้ำอยู่แล้วเต็มๆ นั่นแหละไม่รู้จะทำไปทำไป ไม่รู้จะเทไปทำไมนะ
    พลังของจิต พลังธรรมะนี้ก็ไม่วิ่งขึ้นมาสู่ความรู้อันนี้
    เพราะว่าผู้ให้ก็ไม่ตั้งใจให้ เพราะคนรับ ไม่ตั้งใจรับ มันเป็นเสียเช่นนี้

    โดยมากทุกวันนี้ มันก็ชอบเป็นเสียอย่างนั้นกัน
    แล้วมันไม่เป็นอยู่เท่านี้ มันทวีขึ้นไปเรื่อยๆ ไม่ใช่มันจะหยุดอยู่แค่นี้
    อันนี้มันเป็นอยู่ในความรู้สึกของมนุษย์ทุกวันนี้ คือ ไม่ค้นไปหา ความจริงกัน
    อย่างการร่ำการเรียน การหาวิชาความรู้
    เขาก็หา แต่เพียงไปเป็นอาชีพของเขา เท่านั้นแหละ
    เพื่อจะเลี้ยงชีวิตไป เลี้ยงครอบครัวไป เลี้ยงอัตตภาพไปเท่านั้นแหละ
    เรียนเพื่ออาชีพนะ แต่เพื่อสัมมาอาชีพ ให้มันเป็นธรรมะน่ะ
    ที่ให้เข้าอกเข้าใจในธรรมะมันน้อย มันมีอยู่แต่มันน้อย
    ดังนั้นพวกนักเรียนทุกวันนี้มันจึงมีความรู้ หลักการวิชาการ ดีกว่าสมัยโบราณ
    ที่เราเคยทำกันมา ตลอดถึงเครื่องมือเครื่องใช้ อะไรต่างๆ มันครบบริบูรณ์
    แล้วจะทำอะไรสะดวกกว่า มีความรู้มากกว่าแต่ก่อน
    แต่คนสมัยนี้วุ่นวายกว่าแต่ก่อน เป็นทุกข์กว่าแต่ก่อน มันเป็นเช่นนั้น
    นี่ไม่ใช่เพราะอื่นใด เพราะเขาพยายามว่า เขาเรียนมาเพื่ออาชีพเท่านั้น
    นักบวชทุกวันนี้ ที่เป็นเด็กรุ่นๆ เคยได้ถาม บวชมาแล้วทำไมไม่ปฏิบัติ
    "ผมบวชมา เพื่อเรียนหนังสือ ผมไม่ได้บวชมาเพื่อปฏิบัติธรรม" นี่มันไปรูปนี้
    ไม่ได้บวชมาเพื่ออันนั้น บวชมา เพื่อเรียนหนังสือ
    ถ้าพูดด้วยภาษาคนเราทุกวันนี้ ก็เรียกว่า "ไม่มีทาง"
    อย่างเราถามเขาว่า "เป็นอย่างไรล่ะ" "ไม่มีทาง"
    คำว่า "ไม่มีทาง" นี่ คือ นักบวชนักพรตนักเรียนมาพูดอย่างนี้
    "ผมไม่ได้บวชมาปฏิบัติพระธรรมวินัย ผมบวชมาเพื่อเรียนหนังสือ"
    คำนี้แหละเรียกว่า "ไม่มีทาง" ใช่ไหม? คือไม่มีทาง มันจบแล้วไม่ต่อไปอีก
    ที่จริงแล้ว เมื่อเราพูดถึงที่เรียนมาแล้ว เอาความจำ มาสอนกัน
    บางทีจิตเป็นอย่างหนึ่ง สอนไปอีกอย่างหนึ่ง สอนไปตามความจำ
    ไม่ได้สอน เพื่อความจริง
    นี่โลก ฉะนั้นโลกก็ต้องเป็นอยู่อย่างนี้
    ถ้าหากอยู่ร่วมกับเขา จะมาปฏิบัติอย่างนี้
    ไปอยู่เฉยๆ ให้ศีลมีธรรมสงบระงับ
    เขาเห็นว่า คนนั้นเป็นคนแปลก เขาทำโลกไม่ให้เจริญ
    ทำสังคมไม่ให้เจริญ เขายิ่งยุกันเข้าไป คนดีๆ ก็เลยเป็นคนไม่ค่อยดี
    ถูกเขารุมเอาเสีย นึกแล้วก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ เปลี่ยนไป
    ลึกแล้วก็จะกลับออกมา...มาไม่ได้
    เลยมีคำพูดว่า "โอ๊ย ! ทุกวันนี้ผมไปไม่ได้ครับ...
    ผมเข้าลึกแล้ว ผมถอนไม่ได้" อันนี้มีปัญหาในโลก มันมักจะเป็นอย่างนั้น
    แต่ความเป็นจริงเราไม่รู้จักคุณค่าของธรรมะ
    คุณค่าของธรรมะนั้น ไม่ใช่ไปเห็นตามตัวหนังสือ ตามตำรา
    อันนั้นเป็นนั่น อันนั้นเป็นนั่น อันนั้นมันอยู่ข้างนอก
    มันไม่เห็นธรรมะ ซึ้งในจิตของตน
    เมื่อเราดูจิตของตน มันก็จะเห็นจิตของตน เห็นความจริงอยู่อย่างนั้น
    ถ้าเราเอาความจริง พูดขึ้นมา มันก็เป็นความจริง
    มันก็ตัดกระแสความไม่จริงทั้งหมดเลย
    ฉะนั้น ธรรมะในบางแห่ง ก็วุ่นวายขึ้นมา
    อย่างคนดื่มเหล้าไปเทศน์ให้คนดื่มเหล้าฟังว่า
    มันไม่ดีอย่างนั้น เป็นบาปอย่างนั้น
    โอ๊ย ! คนกินเหล้าจะมารุมเอาให้ได้

    ฉะนั้น จึงว่าสมัยนี้ สมัยไหนก็ช่างเถอะ
    คำสอนที่พระพุทธเจ้าของเรา ท่านสอนไว้นั้น มันเป็นความจริง
    ความจริงนี้จริงตลอดได้สองพันห้าร้อยยี่สิบกว่าพรรษามาแล้ว
    อันใดที่พระพุทธเจ้าของเราเทศน์แล้ว
    ทรงสั่งสอนเป็นความจริงแล้ว ถอดออกมาจากใจแล้ว
    อันนั้นท่านว่าอย่าไปเปลี่ยนแปลง อย่าไปเพิ่มเติม อย่าไปถอน
    ธรรมอันนี้แหละพระพุทธเจ้าตรัส
    "อย่าไปบัญญัติสิ่งที่ตถาคตมิได้บัญญัติ อ
    ย่าไปถอนสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้แล้ว ให้สมาทาน ตามสิกขาบทอันนั้น"
    คือปิดไว้ ทำไมถึงปิด เพราะอันนี้เป็นคำพูดของผู้ที่ไม่มีกิเลส
    โลกจะเปลี่ยนไปสักเท่าไรก็ตาม อันนี้มันคงที่อยู่ ไม่เปลี่ยนไปตาม
    อันใดที่มันผิด คนว่าถูกมันก็ไม่ถูกด้วย
    อันใดมันดี คนว่าไม่ดี มันก็ไม่เปลี่ยน
    ถึงแม้เราตายแล้วเกิด เกิดแล้วตายมันก็ไม่เปลี่ยน เพราะคำนี้คือความจริง

    ความจริงอันนี้ใครสร้างขึ้นมา ก็ความจริงมันสร้างขึ้นมา
    ไม่ใช่พระพุทธเจ้าสร้างหรือไม่ใช่ ท่านไปค้นพบว่าอันนี้เป็นอย่างนี้
    ท่านก็เอาออกมาสอน คำสอนอันนี้
    พระพุทธเจ้าจะเกิดมาก็ตาม ไม่เกิดมาก็ตาม
    ความจริงอันนี้มันเป็นอยู่อย่างนี้ ที่เรียกว่า พระพุทธเจ้านี้
    เป็นเจ้าของพระธรรม คือความจริงอันนี้ เท่านั้นเอง
    ความเป็นจริงท่านก็ไม่ได้สร้างมันขึ้นมา มันเป็นอยู่แล้ว
    แต่นานๆ แล้ว แต่ไม่มีใครพบไม่มีใครค้น พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ
    ท่านค้นพบเป็นอมตะนิยามแล้ว เอามาสอนคน เป็นธรรมะ
    มิใช่ว่าท่านมาแต่งขึ้น อันนี้มันเป็นของเก่า
    ถึงแม้พระพุทธเจ้าไม่เกิด ก็มีอยู่ ถึงเกิดมาก็มีอยู่
    แม้คนไม่ปฏิบัติก็มีอยู่ ถึงคนจะปฏิบัติอันนี้ก็มีอยู่ เพราะอันนี้เป็นความจริง
    เพราะฉะนั้นโลกอันนี้ตั้งมั่นขึ้นมา ตั้งมั่นอยู่นะ...
    แล้วก็ปฏิบัติตามความเป็นจริงกันไป แล้วก็ ถล่มทลาย ตายฉิบหายหมด
    ก็วนกลับเข้ามาหาความเป็นจริงอีก
    ความเป็นจริงคือ ธรรมะ ก็หล่อเลี้ยงคนไปอีก
    นานๆไป คนมากขึ้นไป ก็ประมาทอีก มันก็ทำไปตามโลก ตามความมืด ของคนไป
    เจริญไปๆแล้วก็เสื่อมอีก ตั้งไม่ได้ วุ่นวายอีกแล้ว
    ก็กลับมาตั้ง ความเป็นจริงอีก เพราะอันนี้ไม่หาย
    พระพุทธเจ้านิพพานแล้วก็ไม่หาย พระพุทธเจ้าทุกองค์ นิพพานแล้วก็ไม่หาย
    ท่านมาเกิดวันนี้ก็ไม่หาย ท่านดับขันธ์ไปแล้ว
    อันนี้คงตั้งอยู่ โลกเวียน มาบรรจบ
    อันนี้มันก็คล้ายๆ กับว่า มะม่วงต้นหนึ่ง มันก็เป็นดอก
    มันก็เป็นผล เป็นผลเล็ก แล้วเป็นผลโตเรื่อยๆ ขึ้นมา
    จนกว่ามันห่าม มันห่ามแล้วก็สุก
    เหลือสุกมันก็เละ มันก็หล่นลงมาอีก
    เมล็ดมันก็กลับมาสู่อีก เป็นต้นใหม่ขึ้นมาอีก เรื่อยๆไป
    ผลที่สุด มันห่าม แล้วมันก็สุก สุกแล้ว มันก็เละ
    เมล็ดมัน ก็ตกไปสู่ ดินอีก ต้นก็มาเกิดอีกเช่นนี้
    มันก็เป็นอยู่อย่างนี้ ในโลกนี้ ไม่ไปอื่นไกล มีแต่ของเก่านั้นแหละ

    อย่างที่เราทำทุกวันนี้ก็เหมือนกัน วันนี้เราก็ทำของเก่านั้นแหละ
    พรุ่งนี้ เราก็ไปทำ อย่างเก่า นี้ล่ะ ไม่ไปทำอย่างอื่นหรอก
    เออ ! ไปทำให้มันยุ่งยากขึ้นมาอีก คนคิดมากเกินไป
    ก็ของในโลกมันมีหลายๆอย่างนี่ ใครมีปัญญาค้นขึ้นมาได้ มันก็มีขึ้นมา
    แต่มันจบไม่ได้ จบไม่ได้ พุทธศาสตร์ก็ดี วิทยาศาสตร์ก็ดี
    ศาสตร์ทั้งหลายที่มีมาหลายๆศาสตร์ วิทยาศาสตร์ จิตศาสตร์ เกษตรศาสตร์
    ทุกอย่างนั่นแหละค้นไปมันก็มีมา
    แต่ว่ามันก็มาจบอยู่ที่ความจริงของมัน เพราะมันเป็นวัฏฏะ
    เหมือนกันกับ ล้อเกวียน เรามีเกวียนสักเล่มหนึ่ง
    แล้วก็มีโคลากมันไป ล้อเกวียนมันไม่ยาว แต่รอยมันยาว
    ถ้าโคตัวนั้นนะ มันลากเกวียนไปไม่หยุด
    อันรอยเกวียนนั้น มันก็ทับรอยโค ไปไม่หยุด
    มันกลม แต่ว่ามันยาว จะว่ามันยาวก็ได้
    แต่ว่ามันกลม เราเห็น ความกลม มันเช่นนี้
    ก็ไม่เห็นความยาว ในวงเกวียนอันนั้น
    แต่เมื่อโคลากไป แหม! กี่วันกี่เดือน มันยาว
    เมื่อโคมันลากไปไม่หยุด ล้อเกวียนก็หมุนไปไม่หยุด
    อีกวันหนึ่งโคมันเหนื่อย มันสลัดแอก ออกไปเสียแล้ว
    โคไปโค เกวียนไปเกวียน ล้อเกวียนก็หยุดเอง
    นี่ มันก็ทิ้งอยู่นั้นแหละ นานๆ ไป มันก็เป็นธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม
    ถมทับเป็นดินหญ้าไปอย่างเดิม คนกระทำกรรมนี้ก็เหมือนกัน
    มันไม่จบเรื่องของมัน เราจะค้นอยู่ในโลกเหมือนกัน
    ตลอดถึงทุกวันนี้ คนพูดความจริงอย่างนี้ มันก็ไม่จบเหมือนกัน
    คนมิจฉาทิฏฐิก็มีไม่จบเหมือนกัน มันมีกำลังเท่ากัน

    เหมือนมีดเล่มหนึ่ง เรามาลับให้มันคมๆเสีย
    จะเอาไปทำให้มันเป็นประโยชน์ มันก็มีประโยชน์
    เป็นกำลังในทางที่เป็นประโยชน์
    เราจะเอาไปทำให้ไร้สาระไร้ประโยชน์ มันก็มีกำลังเท่าๆ กัน
    เพราะมีดมันมีความคมเสมอกัน
    นี่ก็เหมือนกันแต่ว่าต่อไปมีดเล่มนั้น เมื่อมันเกิดเป็นมีดมาได้
    สักวันหนึ่งมันจะหยุดเป็นมีด คนทำกรรมนี้ก็เหมือนกัน
    ทำไปๆ มันหยุดตรงไหน เราหยุดการกระทำมาแล้ว
    รอยเกวียนมันก็ไม่หยุด มันก็หมุนไปเรื่อย
    การกระทำกรรมชั่วของเราก็เหมือนกัน
    ถ้าเราไม่หยุดมันก็ไม่หยุด ถ้าเราหยุดมันก็หยุดแค่นี้ นี่คือการปฏิบัติธรรม
    ..................................................................................................................
    "ในชั่วชีวิตของคนคนหนึ่ง หากเขาได้ลิ้มรส "ความสุขแท้" แม้เพียงนิดหน่อย ชีวิตก็จะนิ่งขึ้น ประณีตขึ้น ละมุนละไมสงบเย็นมากขึ้น แล้วเขาจะเรียนรู้ด้วยตัวเองว่า แก่นสารของชีวิตอยู่ตรงไหน กระบวนการเสพแสวงหาความสุขของเขาจะเน้นความสุขเชิงคุณภาพมากขึ้น ลดความ “สุข-สนุก” น้อยลง ถ้าใครเป็นอย่างนี้ ชีวิตก็เริ่มเดินขึ้นสู่ “อริยมรรค” แล้วโดยไม่รู้ตัว"
    [สาธุที่มาธรรมจากพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี และ ธรรมะสอนใจ]
     
  20. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    [​IMG]


    หูทิพย์ - ตาทิพย์ ~ คำสอนของหลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ (๑)
    [SIZE=-1]
    การฟังธรรมะ ณ วันนี้ ที่ผมจะได้นำธรรมะคำสอนของพระพุทธเจ้ามาเล่าสู่ฟัง ตามสมควรแก่เวลา เรื่องที่เราเคยได้ยินได้ฟังกันอยู่มานานแล้ว บางคนอาจเข้าใจ บางคนอาจไม่เข้าใจ เพราะสติปัญญาของคนนั้น มันตื้นลึกและหนาบางไม่เหมือนกัน ท่าน--พระพุทธเจ้าจึงได้เปรียบเอาไว้ คนทุกคนเกิดมาแล้ว ก็มีชีวิตจิตใจเหมือนกัน

    ท่านอุปมาว่า เหมือนกับดอกบัว บัวสี่เหล่า เหล่าหนึ่งนั้นก็พ้นน้ำมามากแล้ว คอยแสงพระอาทิตย์โผล่ออกมา ก็บานได้ทันที เหล่าที่สองก็พ้นน้ำขึ้นมา กำลังตั้งซ้อ (ช่อ) หรือตั้งกะสร (เกสร) เตรียมตัวจะบานได้อยู่เหมือนกัน แต่แสงพระอาทิตย์หรือแสงตะเว็น ออกมาหลายมื้อหลายวัน ก็สามารถบานได้เหมือนกันกับดอกที่หนึ่ง

    ดอกที่สาม กำลังเจือน้ำ หรือปนน้ำอยู่ หรืออยู่ในน้ำ แต่พ้นน้ำขึ้นเพียงเล็กน้อย เมื่อแสงพระอาทิตย์หรือแสงตะเว็นออกมามาก น้ำก็ลดลงไป ดอกบัวดอกนี้ก็สามารถที่จะบานได้เหมือนกัน เหล่าที่สี่นั้น ยังจมอยู่ในตมหรืออยู่ในน้ำ ยังเป็นอาหารของสัตว์ ปู ปลา เต่า ที่กำลังเสาะแสวงหาเป็นอาหารนั้น สามารถที่จะบานได้ หรือบางทีไม่สามารถที่จะบานได้ เพราะยังเป็นอาหารของสัตว์อื่นอยู่ ปัญญาของพวกคนเราทั้งหลาย ก็เหมือนกัน


    ดังนั้น ที่เรามา ณ สถานที่นี่ เรียกว่า มาเจริญสติ มาเจริญสมาธิ หรือมาเจริญปัญญา คำว่าเจริญก็แปลว่า ทำให้มาก หรือทำให้ก้าวหน้านั่นเอง พวกเรามาที่นี่ เรียกว่า คนถูกคัดเลือกกลั่นกรองมาแล้ว จึงมาได้ เมื่อไม่มีศรัทธาจริงๆ ก็มาไม่ได้ ที่เรามา ณ สถานที่นี้ ก็เรียกว่าเรามีศรัทธา หรือมีความสามารถจะมาประพฤติปฏิบัติ

    พระพุทธเจ้านั้น ท่านมีญาณ สามารถมองเห็นอะไรได้ต่างๆ คือ เข้าฌานเรียกว่า ญาณ นั่นเอง

    ดังนั้น เราก็ต้องมีญาณเหมือนกัน หรือเข้าฌานเหมือนกันกับอย่างพระพุทธเจ้า
    แต่เมื่อไม่เหมือนหรือไม่.....เหมือนก็ให้คล้ายคือกัน ให้ได้เล็กๆ น้อยๆ ตามสมควรแก่เวลาที่มาในที่นี่

    คำว่าญาณ ก็แปลว่า รู้ รู้แจ้ง เห็นจริง เข้าใจจริง เรียกว่า ญาณ แต่ คนส่วนมาก...(คิดว่า) ไม่มีหูทิพย์ ไม่มีตาทิพย์ เหมือนกันกับพระพุทธเจ้า ญาณก็เรียกว่า เหาะ แน่ะ เข้า ก็เรียกว่าเข้าไปนั่งหลับตา หรือนั่งอยู่ในถ้ำ นั่งแข็งทื่ออยู่อย่างนั้น อันนั้นก็จริง จริงอยู่กับบุคคลผู้ที่ยังไม่มีหูทิพย์ ยังไม่มีตาทิพย์ หรือยังไม่มีญาณอย่างพระพุทธเจ้า นั่นเอง

    เมื่อคนใดมีหูทิพย์ มีตาทิพย์ และมีญาณเหมือนกันกับพระพุทธเจ้า ก็ต้องรู้ว่า คำ ว่า เข้า-เข้าฌาน หรือญาณ นั้นก็แปลว่า เข้าไปคือมีสติ มีสมาธิ มีปัญญา เจาะเข้าไปที่ตัวชีวิตจิตใจ เรียกว่า เข้า ญาณก็แปลว่า เห็น เมื่อเห็น เมื่อรู้ เมื่อเข้าใจอยู่อย่างนั้น เรียกว่า ฌาน คลุกคลีอยู่กับสิ่งเหล่านั้น ไม่ใช่จะไปนั่งแข็งทื่อ เข้าไปนั่งอยู่อย่างที่คนไม่มีหูทิพย์ ไม่มีตาทิพย์นั้น

    หูทิพย์ ก็หมายถึง ฟังคำพูดหรือคำสอนของพระพุทธเจ้า เกิดสติปัญญา สามารถมองเห็นได้ เรียกว่า หูทิพย์

    ตาทิพย์ คือเห็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ฟังแล้วเข้าใจ อย่างที่ว่าเข้าฌานเนี่ยะ เข้า ก็แปลว่าเข้ามาทำธุระ ทำกิจ หน้าที่ของตัวเอง จะไปไหนมาไหน ก็เข้าฌานได้ ทำการทำงาน ก็เข้าฌานได้ ฌานก็แปลว่ารู้

    วิญญาณแปลว่ารู้ คือรู้นั่นเอง ทำการทำงานก็รู้ รู้การรู้งาน เรียกว่า เข้าฌาน ถ้าหากเราเข้าใจอย่างนี้เหมือนกันกับพระพุทธเจ้าแล้ว ทำการทำงานอะไรก็เข้าฌานทำทั้งนั้น หรือคลุกคลีอยู่กับสิ่งเหล่านั้น มองเห็นสิ่งเหล่านั้น ไม่ให้มีความหลงผิดเกิดขึ้นภายในจิตใจ อันนี้ เรียกว่า เข้าฌาน คือ เข้าไปตั้ง ตั้งกายให้ตรง ปลงสติให้มั่น ตั้งสติให้มั่น ท่านสอน คือตั้งกายตรง ปลงจิตไว้ หรือให้มีสติมั่นคง เห็นอยู่ รู้อยู่ เข้าใจอยู่ อันนี้เรียกว่า เราได้เห็น ได้รู้ ได้เข้าใจ ได้ประพฤติปฏิบัติตามแบบฉบับ หรือของพระพุทธเจ้านั่นเอง

    คำว่า ฌาน ก็หมายถึงคลุกคลี คลุกคลีอยู่กับอะไร คลุกคลีอยู่กับตัวสติ ตัวสมาธิ ตัวปัญญา มองเห็นความหลงผิด มองเห็นความโลภ มองเห็นความโกรธ ความหลงผิด ความโกรธ ความโลภนี้ มันเป็นพญามาร มันเป็นโจร มันคอยแย่งชิงเอาบัลลังก์ หรือเอาสถานที่ที่ตั้งของสติ เราไม่ยอมให้มันเข้ามาได้อย่างนี้ เรียกว่า เราเห็น เรารู้ เราเข้าใจ เรามีหูทิพย์ มีตาทิพย์ มีญาณ

    อันนี้ เรียกว่าเป็นวิสัยของพระพุทธเจ้า หรือเป็นวิสัยของพระสาวกของพระพุทธเจ้า อย่างน้อยที่สุดก็เรียกว่า ได้ดวงตาเห็นธรรม คือได้กระแสพระนิพพาน นั่นเอง[/SIZE]
    <!-- google_ad_section_end -->
     

แชร์หน้านี้

Loading...