ผมค้นพบแล้ว! วิชชาพลังจักรวาลขั้นสูงสุดที่พระพุทธเจ้าแอบซ่อนไว้

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย physigmund_foid, 29 สิงหาคม 2007.

  1. physigmund_foid

    physigmund_foid เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    372
    ค่าพลัง:
    +1,421
    ๓๓.การเห็นอริยสัจ

    การได้รู้หลักอริยสัจ ทำให้เกิดปัญญาญาณ สามารถพัฒนาวิชชาลมปราณ
    ขั้นสูงขึ้นไปได้ ที่ผู้ฝึกวิชชาลมปราณต่างๆ ติดขัดจนไม่สามารถบรรลุ
    สุดยอดของวิชชาได้ โดยเฉพาะวิชชาพลังจักรวาลเพราะขาดความรู้เรื่อง
    อริยสัจครับ ดังนี้ จึงกล่าวได้ว่าในสมัยพุทธกาลมีพระพุทธเจ้าผู้เดียวที่
    สำเร็จวิชชาสุดยอดนี้ อริยสัจ มีหลักการดังต่อไปนี้ครับ
    อริยสัจ หมายถึงความจริงอันประเสริฐ หลักแห่งอริยสัจมีอยู่ ๔ ประการตามที่ท่านได้สั่งสอนไว้มีดังนี้
    ๑.ทุกข์ คือความไม่สบายกายไม่สบายใจ ความเป็นจริงของสัตว์โลกทุกผู้ทุกนามต้องมีทุกข์ ๓ ประการคือ การเกิด ความแก่ ความตาย นอกจากนี้ก็มีความทุกข์ที่เป็นอาการ หรือเกิดจากสภาพแวดล้อมสรุปได้ดังนี้คือ
    -ความโศกเศร้า (โสกะ)
    -ความรำพันด้วยความเสียใจ (ปริเทวะ)
    -ความเจ็บไข้ได้ป่วย (ทุกขะ)
    -ความเสียใจ (โทมนัสสะ)
    -ความท้อแท้ สิ้นหวัง คับแค้นใจ (อุปายาสะ)
    -การตรอมใจ ผิดหวังจากสิ่งที่ไม่รัก (อัปปิเยหิ สัมปโยคะ)
    -การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก (ปิเยหิ วิปปโยคะ)
    -ความหม่นหมองเมื่อปรารถนาแล้วไม่ได้สิ่งนั้น (ยัมปิจฉัง นลภติ)
    ๒.สมุทัย คือเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ นอกจากเหตุแห่งทุกข์ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ต้นตอของทุกข์ก็อยู่ที่ใจของเราด้วยนั่นก็คือความอยาก ท่านว่าเป็นตัณหา ๓ อย่าง ซึ่งแบ่งออกได้เป็นดังนี้คือ
    -ความอยากได้ หมายรวมถึงอยากทุกอย่างที่นำมาสนองสัมผัสทั้ง ๕ และกามารมณ์ (กามตัณหา)
    -ความอยากเป็น คือความอยากเป็นโน่นเป็นนี่ (ภวตัณหา)
    -ความไม่อยากเป็น คือความไม่พอใจในสิ่งที่ตัวเองเป็นอยู่ (วิภวตัณหา)
    ๓.นิโรธ คือความดับทุกข์ ภาวะที่ตัณหาดับสิ้นไป ความหลุดพ้น หรือหมายถึงภาวะของพระนิพพานนั่นเอง
    ๔.มรรค คือข้อปฏิบัติ หรือหนทางที่นำไปสู่การดับทุกข์ การเดินทางสายกลางเพื่อไปให้ถึงการดับทุกข์ คือ มรรคมี ๘ ประการ คือ
    -ความเห็นชอบ เช่นความศรัทธาในเบื้องต้นต่อหลักธรรม คำสอน เช่นการเชื่อว่ากรรมดีกรรมชั่วมีจริงเป็นต้น (สัมมาทิฏฐิ)
    -ความดำริชอบ หรือความคิดชอบ มีความคิดที่ถูกต้องตามหลักธรรม เช่นการใช้ปัญญาพิจารณาความไม่เที่ยงของสังขาร หรือการไม่คิดอยากได้ของเขามาเป็นของเราเป็นต้น (สัมมาสังกัปปะ)
    -เจรจาชอบ คือการปฏิบัติตามหลักธรรม ไม่พูดโกหก ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อเป็นต้น (สัมมาวาจา)
    -ทำการชอบ หรือการมีการกระทำที่ไม่ผิดหลักศีลธรรม เช่นไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์เป็นต้น (สัมมากัมมันตะ)
    -เลี้ยงชีพชอบ คือการทำมาหากินในทางที่ถูก ไม่เบียดเบียนหรือทำความเดือดร้อนให้กับสัตว์หรือผู้อื่น อยู่ในหลักธรรมที่กำหนด เช่น ไม่มีอาชีพค้ามนุษย์ หรืออาชีพค้าอาวุธเป็นต้น (สัมมาอาชีวะ)
    -ความเพียรชอบ คือการหมั่นทำนุบำรุงในสิ่งที่ถูกต้อง อาทิเช่นการพยายามละกิเลสออกจากใจ หรือการพยายามสำรวม กาย วาจา ใจให้ดำเนินตามหลักธรรมของท่านเป็นต้น (สัมมาวายามะ)
    -ความระลึกชอบ คือมีสติตั้งมั่นในสิ่งที่ถูกต้องตามหลักธรรม เช่นการพึงระลึกถึงความตายที่ต้องเกิดกับทุกคนเป็นต้น (สัมมาสติ)
    -จิตตั้งมั่นชอบ คือมีจิตที่มีสมาธิ ไม่ว่อกแวกหรือคิดฟุ้งซ่าน และการทำสมาธิภาวนาตามหลักการที่ท่านได้บัญญัติแนะนำเอาไว้ (สัมมาสมาธิ)​
    [​IMG]
     
  2. physigmund_foid

    physigmund_foid เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    372
    ค่าพลัง:
    +1,421
    ๓๔.การทำให้แจ้งในพระนิพพาน

    การสำเร็จวิชชาพลังจักรวาลขั้นสูงสุดก็ไม่สามารถทำ "นิพพาน" ให้แจ้งได้
    จำต้องใช้ "สติปัญญา" ในการเข้าถึง เรียกว่า "ปัญญาวิมุติ" ครับ แม้นว่าหลัก
    วิชชาพลังจักรวาลจะเป็น "สมถะ" แต่ก็ต้องใช้ "สติปัญญา" จึงจะบรรลุสูงกว่า
    ขั้นสูงสุดของวิชชาพลังจักรวาลครับ ดังนี้ นิพพานจึงสูงกว่า เลิศกว่า ด้วย
    ประการใดๆ ทั้งปวง มีหลักการดังต่อไปนี้ครับ
    นิพพาน คือ ภาวะของจิตที่ดับกิเลสได้หมดสิ้น หลุดจากอำนาจกรรม และไม่ต้องวนเวียนอยู่ในสังสารวัฏอีก ซึ่งก็คือพ้นจากทุกข์นั่นเอง
    ท่านว่าลักษณะของนิพพานมีอยู่ ๒ ระดับดังนี้คือ
    ๑.การดับกิเลสขณะที่ยังมีเบญจขันธ์เหลืออยู่ หรือการเข้าถึงนิพพานขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ -สอุปาทิเสสนิพพาน
    ๒.การดับกิเลสที่ไม่มีเบญจขันธ์เหลืออยู่เลย คือการที่ร่างกายเราแตกดับแล้วไปเสวยสุขอันเป็นอมตะในพระนิพพาน (ตรงนี้ไม่สามารถอธิบายให้กระจ่างมากไปกว่านี้ได้) -อนุปาทิเสสนิพพาน การที่จะเข้าถึงพระนิพพานได้ ก็ต้องปฏิบัติธรรมและเจริญสมาธิภาวนาจนถึงขั้นสูงสุด
    [​IMG]
     
  3. physigmund_foid

    physigmund_foid เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    372
    ค่าพลัง:
    +1,421
    ๓๕.มีจิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม

    ผู้ฝึกพลังจักรวาลเมื่อจิตได้พลังจักรวาลที่บริสุทธิ์ดีแล้ว ก็ยังต้องรู้จักรักษา
    ประคับประคองจิตไว้ ไม่ให้ตกต่ำ หรือตกลงสู่สถานะทาสแห่งใจ จึงจะบรรลุ
    สูงสุดของวิชชานี้ได้ จึงต้องไม่หวั่นไหวในเรื่องโลกีย์ มีหลักการดังนี้ครับ
    คำว่าโลกธรรม มีความหมายถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นอยู่เป็นประจำบนโลกนี้ ซึ่งเราไม่ควรมีจิดหวั่นไหวต่อสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ท่านว่าลักษณะของโลกธรรมมี ๔ ประการคือ
    ๑.การได้ลาภ เมื่อมีลาภผลก็ย่อมมีความเสื่อมเป็นธรรมดา มีแล้วก็ย่อมหมดไปได้ เป็นแค่ความสุขชั่วคราวเท่านั้น
    ๒.การได้ยศ ยศฐาบรรดาศักดิ์ล้วนเป็นสิ่งสมมุติขึ้นมาทั้งนั้น เป็นสิ่งที่คนยอมรับกันว่าเป็นอย่างโน้นอย่างนี้ พอหมดยศก็หมดบารมี
    ๓.การได้รับการสรรเสริญ ที่ใดมีคนนิยมชมชอบ ที่นั่นก็ย่อมต้องมีคนเกลียดชังเป็นเรื่องธรรมดา การถูกนินทาจึงไม่ใช่เรื่องผิดปกติ
    ๔.การได้รับความสุข ที่ใดมีสุขที่นั่นก็จะมีทุกข์ด้วย มีความสุขแล้วก็อย่าหลงระเริงไปจนลืมนึกถึงความทุกข์ที่แฝงมาด้วย การทำให้จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม มีวิธีดังนี้คือ
    ๑.ใช้ปัญญาพิจารณา โดยตั้งอยู่ในหลักธรรมของพระพุทธศาสนา พิจารณาอยู่เนืองๆ ถึงหลักธรรมต่างๆ
    ๒.เจริญสมาธิภาวนา ใช้กรรมฐานพิจารณาถึงความเป็นไปในความไม่เที่ยงในสรรพสิ่งทั้งหลายในโลก และสังขาร
    [​IMG]
     
  4. physigmund_foid

    physigmund_foid เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    372
    ค่าพลัง:
    +1,421
    ๓๖.มีจิตไม่โศกเศร้า

    สำคัญมากครับ ผู้ฝึกจิตทุกแบบหากจิตตกลงสู่ความเศร้าหมอง จิตจะขาด
    พลัง และวิชชาที่ฝึกมาก็จะเสื่อมถอยจนถึงขนาดสิ้นสูญได้ทีเดียว ดังนั้น
    จำต้องระวังไม่ให้ "จิตตก" มีหลักการดังต่อไปนี้ครับ
    ท่านว่ามีเหตุอยู่ ๒ ประการที่ทำให้จิตเราต้องโศกเศร้าคือ
    ๑.ความโศกเศร้าที่เกิดเนื่องมาจากความรัก รวมถึงรักสิ่งของ ทรัพย์สินเงินทองด้วย
    ๒.ความโศกเศร้าที่เกิดจากความใคร่ การทำให้จิตใจไม่โศกเศร้านั้น มีข้อแนะนำดังนี้
    ๑.ใช้ปัญญาพิจารณาอยู่เนืองๆ ถึงความไม่เที่ยงในสิ่งของทั้งหลาย และร่างกายของเรา
    ๒.ไม่ยึดมั่นในตัวตน หรือความจีรังยั่งยืน ในคนหรือสิ่งของว่าเป็นของเรา
    ๓.ทุกอย่างในโลกล้วนเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกขณะ แม้ร่างกายเราก็ใช้เป็นที่อาศัยชั่วคราวเท่านั้น
    ๔.คิดว่าทุกสิ่งทุกอย่างล้วนไม่เที่ยงด้วยกันทั้งนั้น
    [​IMG]
     
  5. physigmund_foid

    physigmund_foid เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    372
    ค่าพลัง:
    +1,421
    ๓๗.มีจิตปราศจากกิเลส

    "กิเลส" เป็นหนึ่งใน "นิวรณ์ห้า" ประการ ที่เรียกว่า "กามคุณห้านั่นเอง" หรือ
    ความยินดีในสิ่งใดๆ ก็ตาม สิ่งนี้ทำให้การฝึกจิตตกต่ำลง ลดระดับลง จำต้อง
    ปลดออกไป เมื่อหมดสิ้นกิเลสแล้ว จึงได้ "อภิญญาโลกุตระ" ซึ่งไม่เสื่อมง่าย
    แบบ "อภิญญาโลกียะ" ครับ มีหลักการดังต่อไปนี้
    กิเลส ก็คือสิ่งที่ทำให้เกิดความเศร้าหมอง ซึ่งได้แก่ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ท่านได้แบ่งประเภทของกิเลสออกเป็นดังนี้ คือ
    ๑.ราคะ สามารถแบ่งย่อยออกได้เป็น
    -ความโลภอย่างแรงจนแสดงออกมา เช่นการลักขโมย ปล้น จี้ ข่มขืนกระทำชำเรา เป็นต้น (อภิชฌาวิสมโลภะ)
    -ความเพ่งเล็งจะเอาของคนอื่นมาเป็นของตัว มีใจอยากได้ของคนอื่นแต่ยังไม่ถึงกับแสดงออก (อภิชฌา)
    -ความอยากได้ในทางไม่ชอบ เช่นการยอมรับสินบน การทุจริตเพื่อแลกกับการมีทรัพย์เป็นต้น (ปาปิจฉา)
    -ความมักมากเห็นแก่ได้ ด้วยการเอามาเป็นของตนจนเกินพอดี เอาประโยชน์ใส่ตัวโดยไม่คำนึงถึงคนอื่น (มหิจฉา)
    -ความยินดีในกาม ก็คือยังไม่สามารถละกิจกรรมทางเพศได้ ยังมีความรู้สึก มีแรงกระตุ้น มีความพอใจในเรื่องเพศ (กามระคะ)
    -ความยินดีในรูปธรรมอันปราณีต ก็คือติดอยู่ในอารมณ์ของรูปฌาณ ปรารถนาในรูปของภพเมื่อทำสมาธิขั้นสูงขึ้นไป (รูปราคะ)
    -ความยินดีในอรูปฌาณ ก็คือติดอยู่ในอารมณ์ของอรูปฌาณเมื่อทำสมาธิถึงภพของอรูปพรหม (อรูปราคะ)
    ๒.โทสะ สามารถแบ่งย่อยออกได้เป็น
    -พยาบาท คือการผูกใจอาฆาต มีใจที่ไม่หวังดี การจองเวร
    -โทสะ คือการคิดประทุษร้าย เนื่องด้วยมีใจพยาบาทแล้วก็มีใจคิดหมายทำร้าย
    -โกธะ คือความโกรธ ความเดือดร้อนใจ ซึ่งล้วนเป็นเหมือนไฟที่เผาตัวเอง
    -ปฏิฆะ คือความขัดใจ ความไม่พอใจอันทำให้อารมณ์หงุดหงิด
    ๓.โมหะ สามารถแบ่งย่อยออกได้เป็น
    -ความเห็นผิดเป็นชอบ เช่นการไม่เชื่อในเรื่องบาป เรื่องบุญเป็นต้น (มิจฉาทิฐิ)
    -ความหลงผิด ไม่รู้ตามความเป็นจริง (โมหะ)
    -การเห็นว่ามีตัวตน เช่นการเชื่อในสิ่งที่มองเห็นด้วยตาเปล่าเท่านั้น (สังกายทิฏฐิ)
    -ความสงสัย คือสงสัยในพระธรรม คำสั่งสอนในเรื่องการปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ (วิจิกิจฉา)
    -การยึดถืออย่างงมงาย เช่นการไปกราบไหว้สัมพเวสีที่อยู่ตามต้นไม้ ขอลาภเป็นต้น (สีลัพพตปรามาส)
    -ความถือตัว คือการสำคัญตัวเองผิดว่าเป็นอย่างโน้นเป็นอย่างนี้ (มานะ)
    -ความฟุ้งซ่าน คือการที่จิตใจว่อกแวก คิดไม่เป็นสาระ ไม่อยู่กับร่องกับรอย ไม่มีสมาธิ หรือการทำสมาธิไม่นิ่ง (อุทธัจจะ)
    -ความไม่รู้จริง คือการที่รู้แค่ผิวเผิน หรือการทึกทักเอาเอง ไม่ปฏิบัติตามหลักพระธรรม ยังไม่เกิดปัญญา (อวิชชา) โทษของการมีกิเลสดังกล่าวข้างต้นพอสรุปได้สั้นๆ ดังนี้คือ
    ๑.ราคะ มีโทษน้อย แต่คลายช้า
    ๒.โทสะ มีโทษมาก แต่คลายเร็ว
    ๓.โมหะ มีโทษมาก แต่คลายช้า
    [​IMG]
     
  6. physigmund_foid

    physigmund_foid เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    372
    ค่าพลัง:
    +1,421
    ๓๘.มีจิตเกษม

    จิตที่มีเกษม จะมีกำลังมาก มีความผ่องใส ประภัสสร ดุจเพชร ดุจดวงตะวัน
    ที่มีกำลังฉายแสงส่องไร้ประมาณ ผู้ฝึกจิตทุกแบบจำต้องฝึกให้จิตมีความ
    เกษมอยู่ตลอดเวลา มีหลักการดังต่อไปนี้ครับ
    เกษม หมายถึงมีความสุข สบาย หรือสภาพที่มีจิตใจที่เป็นสุข มีจิตเกษมก็คือว่ามีจิตที่เป็นสุขในที่นี้หมายถึงการละแล้วซึ่งกิเลส ที่ท่านว่าไว้ว่าเป็นเครื่องผูกอยู่ ๔ ประการคือ
    ๑.การละกามโยคะ คือการละความยินดีในวัตถุ สิ่งมีชีวิตทั้งหลายเรียกว่ากามคุณซึ่งประกอบด้วย รูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส
    ๒.การละภวโยคะ คือการละความยินดีในภพ โดยให้เห็นว่าสิ่งใดๆในโลกล้วนไม่เที่ยงแท้ หรือคงอยู่ตลอดไป
    ๓.การละทิฏฐิโยคะ คือการละความยินดีในความเห็นผิดเป็นชอบ โดยให้ดำเนินตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าที่กล่าวมาแล้ว
    ๔.การละอวิชชาโยคะ คือการละความยินดีในอวิชชาทั้งหลาย ความไม่รู้ทั้งหลาย โดยให้มุ่งปฏิบัติเพื่อปัญญาที่รู้แจ้งเห็นจริง​
    [​IMG]
     
  7. physigmund_foid

    physigmund_foid เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    372
    ค่าพลัง:
    +1,421
    สรุปหลักวิชชาพลังจักรวาลของพระพุทธเจ้า


    ๑. จิตใจและร่างกายเปิดรับพลังจักรวาลอยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว มีทางระบายเข้า
    ออกได้ทุกรูขุมขน เรียกว่า "ภาวะอนัตตา" คือ ความไม่ใช่ตัวตนของตนให้ยึด
    ได้ เพราะเป็นระบบเปิดที่รั่วไหลได้หมดทุกสิ่ง

    ๒. พลังจักรวาลหมุนเวียนเข้าออกเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เรียกว่า "อนิจจัง"
    และมีความกระทบกระทั่งบีบเค้นกันบ้างในพลังบางชนิด และบางชนิดก็ส่งผล
    ดีต่อกัน เรียกว่า "ทุกขัง" ดังนั้น เราไม่ต้องไปดูดพลังที่ไหน มันก็เข้าออก
    อยู่แล้วตลอดเวลา เป็น "ธรรมดา" เป็น "ปกติ" เป็น "ธรรมชาติ" คือ "ธรรมะ"

    ๓. พลังจักรวาลด้านดีต่อเราเรียกว่า "มงคล" พลังจักรวาลด้านเลวต่อเราเรียก
    ว่า "อัปมงคล" ซึ่งทั้ง "มงคลและอัปมงคล" เป็นพลังจักรวาลที่มองไม่เห็นแต่
    สัมผัสได้ในผู้ฝึกวิชชาพลังจักรวาล แต่บางชนิดก็สัมผัสได้ยาก ดังนี้ พระพุทธ
    องค์ทรงมีหลักการในการคัดเลือกพลังจักรวาลด้านดี คือ "มงคล" ทั้งสิ้นด้วย
    กัน ๓๘ วิธี เรียกว่า "มงคลชีวิต ๓๘ ประการ" อันจะทำให้เรารับพลังจักรวาล
    ที่ดี หรือรับสิ่งมงคลที่มองไม่เห็นนี้ได้ตลอดเวลาครับ


    (โอยยย มือหงิก...)
     
  8. physigmund_foid

    physigmund_foid เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    372
    ค่าพลัง:
    +1,421
    ผู้ฝึกลมปราณจะได้รับพลังเมื่อเดินวิชชาเท่านั้น
    ยกเว้นวิชชาพลังจักรวาลที่เน้นรับพลังจากจักรวาล
    ตลอดเวลา จึงก้าวหน้าเร็วกว่าวิชชาสายลมปราณ
    ทั้งหมด แต่ทว่า ในสมัยพุทธกาลไม่มีผู้ค้นพบได้
    ว่าพลังจักรวาลนั้น "แบบมงคล" และ "อัปมงคล"
    นั้น สามารถรับเข้ามาสู่ร่างกายและจิตใจได้ใน
    เวลาใดบ้าง


    พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ
    เคล็ดลับสุดยอดนี้เพียงผู้เดียวครับ
     
  9. physigmund_foid

    physigmund_foid เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    372
    ค่าพลัง:
    +1,421
    ตัวอย่าง "อานุภาพวิชชาพลังจักรวาล" ขั้นสูงของพระพุทธเจ้า

    ยมกปาฏิหาริย์
    [​IMG]

    [SIZE=+1]พระพุทธองค์ทรงกระทำพระยมกปาฏิหาริย์ มีพระอาการเป็นคู่ ๆ คือ ทรงเหาะขึ้นไปในอากาศ แล้วนิรมิตพระองค์นั่งขัดสมาธิ และทรงไสยาสน์บนต้นคัณฑามพพฤกษ์ (ต้นมะม่วง) ทำลายพวกเดียรถีย์นิครนถ์จนพากันหนีไปทุกทิศานุทิศ[/SIZE]
     
  10. physigmund_foid

    physigmund_foid เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    372
    ค่าพลัง:
    +1,421
    ยมกปาฏิหาริย์

    ในครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จจากพระนครไพศาลี มาประทับยังพระเวฬุวันวิหาร ณ พระนครราชคฤห์ อีกวาระหนึ่ง
    เศรษฐีผู้หนึ่ง ซึ่งอยู่ในพระนครราชคฤห์ ได้ไม้จันทร์แดงท่อนใหญ่มาท่อนหนึ่งมีค่ามาก ดำริว่า บัดนี้ มีมหาชนโจษจันกันทั่วไปว่า ผู้นั้นเป็นพระอรหันต์ ผู้นี้เป็นพระอรหันต์ แม้สมณะก็มีหลายท่าน ที่ประกาศตนว่าเป็นพระอรหันต์ เราไม่อาจรู้ได้ว่าผู้ใดเป็นพระอรหันต์ ที่เราควรจะเคารพนบไหว้ แล้วยอมตนเป็นสาวก บัดนี้ เห็นควรจะทดลองให้ปรากฎชัดแก่ตาของเราเอง จึงให้ช่างไม้กลึงไม้จันทร์แดงท่อนนั้นเป็นบาตร ให้เอาไม้ไผ่มาปักลงที่หน้าเรือน ต่อไม้ไผ่ ให้สูงถึง ๑๕ วา แล้วให้เอาบารตผูกแขวนไว้บนปลายไม้นั้น ให้ประกาศว่า "ท่านผู้ใดเป็นพระอรหันต์ในโลกนี้ ขอเชิญให้ท่านผู้นั้นจงเหาะมาในอากาศ แล้วถือเอาบาตรไม้จันทร์แดงนี้ตามปรารถนา และข้าพเจ้าพร้อมด้วยบุตรภรรยาจะเคารพนบนอบยอมตนเป็นสาวก นับถือบูชาตลอดชีวิต หากภายใน ๗ วันนี้ ไม่มีผู้ใดที่ทรงคุณ เป็นพระอรหันต์ เหาะมาถือบาตรแล้ว เราจะถือว่า ในโลกนี้ ไม่มีพระอรหันต์ดังที่มหาชนกล่าวขวัญถึงเลย"
    ในเวลานั้น ได้มีบุคคลหลายคนที่แสดงตนว่า เป็นพระอรหันต์ ด้วยอุบายต่างๆ และจะขอรับบาตรไป แต่มิได้เหาะไปถือเอาตามประกาศ ท่านเศรษฐีก็ยืนกรานไม่ยอมให้ทุกราย แม้เวลาจะได้ล่วงเลยไปแล้ว ๖ วัน จนเข้าวันที่ ๗ แล้ว ก็ยังไม่ปรากฎว่า มีผู้ใดได้เหาะมาถือเอาบาตรตามประกาศของท่านราชคฤห์เศรษฐีนั้น ประจวบกับในเช้าวันนั้น ท่านมหาโมคคัลลานะเถระ กับพระปีณโฑลภาระทวาชะเถระ ได้ร่วมทางเดินมารับบาตรในพระนครคฤห์ หยุดยืนห่มจีวรอยู่ที่พื้นหินก้อนใหญ่ในภายนอกเมือง พระมหาเถระทั้งสองได้ยินเสียงมหาชนสนทนากันว่า วันนี้เป็นวันที่ ๗ วันสุดท้ายของวันประกาศ ของท่านราชคฤห์เศรษฐีแล้ว ยังไม่ปรากฎว่า มีพระอรหันต์องค์ใด เหาะมาถือบาตรไม้จันทร์แดงไปเลย พระอรหันต์คงจะไม่มีอยู่ในโลกนี้แน่แล้ว วันนี้แหละเราจะได้รู้ทั่วกันว่า ในโลกนี้จะมีพระอรหันต์จริงหรือไม่?
     
  11. pong999

    pong999 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    98
    ค่าพลัง:
    +33
    ขออนุโมธนา ..... เป็นข้อมูลที่ให้ความรู้และเป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก ๆ ครับ
     
  12. physigmund_foid

    physigmund_foid เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    372
    ค่าพลัง:
    +1,421
    พระปิณโฑลภาระทวาชะทำปาฏิหาริย์

    พระมหาโมคคัลลานะเถระได้ปราศัยกับพระปีณโฑลภาระทวาชะว่า ได้ยินไหมท่าน ? ผู้คนกำลังกล่าวดูหมิ่นพระศาสนา เป็นการเสื่อมเสียถึงเกียรติพระบรมศาสดา ตลอดถึงพระอรหันต์ทั้งหลายด้วย ฉะนั้น นิมนต์ท่านเหาะไปเอาบาตรไม้จันทร์แดงลูกนั้นเสียเถิด จะได้เปลื้องคำนินทาว่าร้ายนั้นเสีย เมื่อพระปีณโฑลภาระทวาชะได้โอกาสจากพระมหาโมคัลลานะผู้เป็นอัครสาวกเช่นนั้นแล้ว ก็เข้าสู่จตุตถฌาน อันเป็นที่ตั้งแห่งอภิญญา ทำอิทธิปาฎิหาริย์เหาะขึ้นไปในอากาศ กับทั้งแผ่นหินใหญ่ ซึ่งยืนเหยียบอยู่นั้นด้วย เลื่อนลอยไปดุจปุยนุ่นปลิวไปตามสายลม พระเถระเจ้าเหาะเวียนรอบพระนครราชคฤห์ ปรากฎแก่มหาชนทั่วไป ชนทั้งหลายพากันเอิกเกริกร้องชมปาฎิหาริย์เสียงลั่นสนั่นไป
    ครั้นพระมหาเถระเจ้าเหาะเวียนได้ ๗ รอบแล้ว ก็สลัดแผ่นหินที่เหยียบอยู่นั้น ให้ปลิวตกไปยังที่เดิม แล้วเหาะมาลอยอยู่เบื้องบนแห่งเรือนท่านเศรษฐีนั้น
    เมื่อท่านเศรษฐีได้เห็นเช่นนั้น ก็เกิดปีติเลื่อมใสสุดที่จะประมาณ ได้หมอบกราบจนอุระจดถึงพื้น แล้วร้องอาราธนาพระเถระเจ้าให้ลงมาโปรด เมื่อพระปีณโฑลภาระทวาชะลงมานั่งบนอาสนะที่ท่านเศรษฐีได้จัดตกแต่งไว้เป็นอันดีแล้ว ท่านเศรษฐีก็ให้นำบาตรไม้จันทน์แดงนั้นลงมาบรรจุอาหารอันประณีตลงในบารตนั้นจนเต็ม แล้วน้อมถวายพระเถระเจ้าด้วยคารวะอันสูง พระเถระเจ้ารับบาตรแล้ว ก็บ่ายหน้ากลับยังวิหาร
    ฝ่ายชนทั้งหลายที่ไปธุระกิจในที่อื่นเสีย กลับมาไม่ทันได้เห็นปาฎิหาริย์นั้น ก็รีบพากันติดตามพระเถระเจ้าไปเป็นอันมาก ร้องขอให้ท่านเมตตาแสดงปาฏิหาริย์ต่าง ๆ ให้ชมบ้าง พระเถระเจ้าก็แสดงปาฎิหาริย์ให้ชนทั้งหลายนั้นชมตามปรารถนา แล้วไปสู่วิหาร
    พระบรมศาสดาได้ทรงสดับเสียงมหาชนอื้ออึง ติดตามพระปีณโฑภาระทวาชะมาเช่นนั้น จึงตรัสถามพระอานนท์ว่า “ เสียงอะไร ” พระอานนท์ก็กราบทูลให้ทรงทราบ จึงรับสั่งให้หาพระปีณโฑลภาระทวาชะมาถาม ครั้นทรงทราบความแล้ว ก็ทรงตำหนิว่า เป็นการไม่สมควร แล้วโปรดให้ทำลายบาตรไม้จันทน์แดงนั้น ย่อยให้เป็นจุณ แจกพระสงฆ์ทั้งหลายบดให้เป็นโอสถใส่จักษุ ทั้งทรงบัญญัติห้ามสาวกทำปาฎิหาริย์สืบไป
    ฝ่ายเดียรถีย์ทั้งหลายได้ทราบเหตุนั้นแล้ว ก็พากันดีใจ คิดเห็นไปว่า ตนได้โอกาสจะยกตนแล้ว ก็ให้เที่ยวประกาศว่า "เราจะทำปาฎิหาริย์แข่งฤทธิ์กับพระสมณะโคดม"
    ครั้นพระเจ้าอชาตศัตรูราชทรงสดับข่าวเช่นนั้น ก็เสด็จไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ากราบทูลถามว่า "ได้ทราบว่า พระองค์ทรงบัญญัติห้ามพระสาวกทำปาฎิหาริย์หรือประการใด ?" เมื่อพระบรมศาสดาทรงรับว่า "เป็นจริงอย่างที่ทรงทราบ" ดูกรมหาบพิตร ก็ทูลต่อไปอีกว่า บัดนี้ พวกเดียรถีย์ กำลังเตรียมการทำปาฏิหาริย์ พระองค์จะทำประการใด? ดูกรมหาบพิตร ทรงรับสั่ง ถ้าเดียรถีย์ทำปาฏิหาริย์ ตถาคตก็จะทำบ้าง ข้าแต่พระสุคต ก็พระองค์ทรงบัญญัติห้ามทำปาฏิหาริย์แล้ว มิใช่หรือ? จริงอย่างมหาบพิตรรับสั่ง แต่ตถาคตห้ามเฉพาะพระสาวกเท่านั้น หาได้ห้ามการทำของตถาคตเองไม่ ข้าแต่พระบรมครู พระองค์ทรงบัญญัติห้ามผู้อื่น แต่พระองค์เว้นไว้เช่นนั้นหรือ? ดูกรมหาบพิตร ผิฉะนั้น ตถาคตจะถามพระองค์บ้าง พระราชอุทยานของมหาบพิตรทั้งหลายนั้น ถ้าคนทั้งหลายมาบริโภคผลไม้ต่าง ๆ มีผลมะม่วง เป็นต้น ในพระราชอุทยานนั้น พระองค์จะทำอันใดแก่ชนทั้งหลายเหล่านั้น ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์ก็จะให้ลงทัณฑ์แก่คนเหล่านั้น ดูกรมหาบพิตร ผิวะพระองค์เสวยผลไม้ ในพระราชอุทยานนั้นเล่า ควรจะได้รับอาชญาหรือไม่ ประการใด? ข้าแต่พระบรมครู ข้าพระองค์เป็นเจ้าของ บริโภคได้ ไม่มีโทษ ดูก่อนมหาบพิตร ตถาคตก็เป็นฉันนั้นเหมือนกัน เหตุนั้น ตถาคตจึงจะทำยมกปาฏิหาริย์ เยี่ยงอย่างพุทธประเพณีสืบมา
    พระเจ้าอชาตศัตรูได้ทูลถามว่า "เมื่อใด พระองค์จะทรงทำปาฎิหาริย์"
    "นับแต่นี้ไปอีก ๔ เดือน ถึงวันเพ็ญอาสาฬหมาส เดือน ๘ ตถาคตจึงจะทำปาฎิหาริย ์"
    "พระองค์จะทรงทำ ณ สถานที่ใด พระเจ้าข้า"
    "ดูกรมหาบพิตร ตถาคตจะทำปาฎิหาริย์ ณ ที่ใกล้พระนครสาวัตถี"
    ครั้นเดียรถีย์ทั้งหลายได้ทราบข่าวนั้น ก็เตรียมพร้อมที่จะติดตามไปทำปาฎิหาริย์ ณ ที่ใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมกับประกาศให้มหาชนทราบด้วยว่า พระสมณะโคดมจะหนีเราไปทำปาฎิหาริย์ ณ เมืองสาวัตถี เราทั้งหลายจะพากันติดตาม ไม่ยอมให้หนีไปให้พ้น
    ส่วนพระบรมศาสดาเสด็จกลับจากบิณฑบาตรในพระนครราชคฤห์แล้ว ก็เสด็จพระพุทธดำเดินไปพระนครสาวัตถี โดยลำดับแห่งมรรคา ด้วยความสบายไม่รีบร้อน ประทับพักแรมตามระยะทาง แม้เหล่าเดียรถีย์ทั้งหลายก็พากันติดตามพระบรมศาสดาจนถึงพระนครสาวัตถี ครั้นถึงพระนครสาวัตถีแล้ว ได้จัดสร้างมณฑป ประกาศแก่ชาวเมืองว่า จะทำปาฎิหาริย์ที่มณฑปนั้น
    ครั้งนั้น พระเจ้าปัสเสนทิโกศล ทรงทราบข่าวว่า พระบรมศาสดา เสด็จมาประทับยังพระเชตวันวิหารแล้ว จึงเสด็จออกมาเฝ้าแล้วกราบทูลว่า "บัดนี้ เหล่าเดียรถีย์จัดทำมณฑป เพื่อแสดงปาฎิหาริย์ หม่อมฉันจะทำมณฑปถวาย เพื่อเป็นที่แสดงปาฎิหาริย์” ครั้นพระบรมศาสดาทรงห้าม ก็ทูลถามว่า "พระองค์จะทรงทำปาฎิหาริย์ ณ สถานที่ใด?" พระบรมศาสดาตรัสว่า "ตถาคตจะทำปาฎิหาริย์ ณ ที่ใกล้ร่มไม้คัณฑามพฤกษ์ (ไม้มะม่วง)"
    เมื่อเดียรถีย์ได้ล่วงรู้ข่าวนั้นแล้ว ก็ให้จัดการทำลายบรรดาต้นมะม่วงในบริเวณนั้นทั้งสิ้น แม้แต่เมล็ดมะม่วงที่เพิ่งงอกขึ้น ก็มิให้มี เพื่อมิให้เป็นโอกาสแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทำปาฎิหาริย์ ดังพระวาจาที่ทรงรับสั่งแก่พระเจ้าปัสเสนทิโกศล
    ครั้นถึงวันเพ็ญเดือน ๘ เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมด้วยพระสงฆ์สาวกเสด็จเข้าไปบิณฑบาตร ยังมิทันจะถึงพระนคร ขณะนั้น นายอุทยานบาล ชื่อว่า คัณฑะผู้รักษาสวนหลวง ได้เห็นผลมะม่วงผลใหญ่ผลหนึ่ง สุกอยู่บนต้น มีกิ่งใบบังอยู่ มดแดงตอมอยู่โดยรอบ กาก็กำลังจ้องจะเข้าจิกกิน นายคัณฑะดีใจจึงไล่กาให้บินหนีไปแล้ว สอยผลมะม่วงสุกนั้นลงมา มุ่งจะเอาไปถวายพระเจ้าปัสเสนทิโกศล เดินมาในระหว่างทาง ก็ประจวบพบพระผู้มีพระภาคเจ้า มีศรัทธาเลื่อมใส จึงได้น้อมผลมะม่วงสุกผลนั้นเข้าไปถวายพระบรมศาสดา ครั้นพระองค์ทรงรับแล้ว ประสงค์จะประทับนั่งเสวยผลมะม่วง ณ ที่ตรงนั้น พระอานนท์เถระเจ้าก็ปูลาดอาสนะถวาย ตามพระพุทธประสงค์พร้อมกับเอาผลมะม่วงนั้น ทำเป็นอัมพปานะถวายให้ทรงเสวย
    ครั้นพระบรมศาสดาทรงเสวยอัมพปานะแล้ว จึงรับสั่งให้นายอุทยานบาลนั้นเอาเมล็ดมะม่วงนั้นปลูกที่พื้นดิน ณ ที่ตรงนั้น แล้วพระบรมศาสดา ก็ทรงอธิษฐานล้างพระหัตถ์ลดเมล็ดมะม่วงนั้น ซึ่งเพิ่งเพาะในขณะนั้น ด้วยพระพุทธธานุภาพ เมล็ดมะม่วงก็เริ่มงอกในทันใดนั้นเอง แล้วเริ่มเกิดเป็นลำต้น แตกใบ แตกกิ่งก้านสาขาโดยลำดับ จนต้นมะม่วงใหญ่สูงได้ ๑๒ วา ๒ ศอก พร้อมกับตกช่อ ออกดอก ออกผล อ่อน แก่ สุก ถึงงอม หล่นตกลงภาคพื้นออกเกลื่อนกล่น มหาชนเดินผ่านมาก็เก็บบริโภค มีรสหวานสนิท ไม่ช้าข่าวมะม่วงพิเศษ ซึ่งเป็นของอัศจรรย์ก็แพร่ไปทั่วพระนคร ประชาชนก็พากันสัญจรหลั่งไหลมาชมเป็นอันมาก สุดที่จะประมาณ
    ลำดับนั้น พระเจ้าปัสเสนทิโกศล จึงโปรดให้จัดรักษาต้นมะม่วง ตลอดที่ในบริเวณนั้น ป้องกันมิให้ใครเข้ามาทำอันตราย คนทั้งหลายมาชมแล้ว บ้างก็เก็บกินตามประสงค์ แล้วชวนกันด่าแช่งเหล่าเดียรถีย์ว่า เป็นคนชั่วช้า มีเจตนาร้าย จ้างให้คนทำลายต้นมะม่วง แม้แต่เมล็ดงอกก็ไม่ให้เหลือ เพื่อจะมิให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทำปาฎิหาริย์ให้สมจริงดังพระวาจา บัดนี้ คัณฑมพพฤกษ์เกิดขึ้นเป็นลำดับสูงใหญ่ยิ่งกว่าที่เคยเห็นมาแต่กาลก่อนแล้ว พวกเจ้าจะว่าประการใด บางคนที่คนองกาย ก็เอาเมล็ดมะม่วงขว้างเดียรถีย์ เย้ยหยันให้ได้อาย ในเวลาเที่ยงวันนั้นเอง ท้าวสักกะอมรินทราธิราชได้บรรดาลให้เกิดพายุใหญ่พัดเป็นธุลีรอบบริเวณนั้น พัดมณฑปของเดียรถีย์ทำลายลงสิ้น ทั้งบรรดาลให้ฝนลูกเห็บใหญ่ตกถูกเดียรถีย์ทั้งหลาย ไม่สามารถจะทนทานอยู่ได้ ต้องพากันหนีไปจากที่นั้นสิ้น ปูรณกัสสปหัวหน้าเดียรถีย์ทั้งหลาย ได้รับความอับอาย น้อยใจเป็นที่สุด ได้ใช้เชือกผูกหม้อข้าวยาคูพันเข้ากับคอของตนแล้วกระโดดลงแม่น้ำ ทำลายชีวิตตนเองเสีย
     
  13. physigmund_foid

    physigmund_foid เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    372
    ค่าพลัง:
    +1,421
    ทรงทำยมกปาฏิหาริย์

    ครั้นเพลาบ่าย ประชาชนทั้งหลายได้มาประชุมกัน ณ บริเวณรอบต้นคัณฑามพพฤกษ์เป็นอันมาก จึงพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากพระคันธกุฎี เพื่อทรงทำยมกปาฎิหาริย์ ประทับยืน ณ ที่หน้าพระวิหาร ขณะนั้น พระสาวกและสาวิกาทั้งหลาย ที่มีฤทธิ์ ต่างก็เข้าเฝ้า ขอประทานโอกาสทำปาฎิหาริย์ถวาย พระบรมศาสดาไม่ทรงประทาน [​IMG]ต่อนั้นพระบรมศาสดาก็ทรงเข้าจตุตถฌาณ อันเป็นที่ตั้งแห่งอภิญญา ทรงทำปาฎิหาริย์เหาะขึ้นไปในอากาศ เสด็จดำเนินไปมา ณ พื้นรัตนจงกรม แล้วทรงนิรมิตรพระพุทธนิรมิตร เหมือนพระองค์ขึ้นองค์หนึ่ง แสดงอิริยาบทให้ปรากฎสลับกับพระองค์ คือพระองค์เสด็จประทับยืน พระพุทธนิรมิตรเสด็จนั่ง พระองค์ประทับนั่ง พระพุทธนิมิตประทับยืน ทุก ๆ อิริยาบทสลับกัน บางทีพระพุทธนิมิตตรัสถาม พระองค์ตรัสตอบ พระองค์ตรัสถามบ้าง พระพุทธนิมิตตอบบ้าง ในที่สุดทรงทำปาฎิหาริย์ให้เกิดท่อน้ำ ท่อไฟ พวยพุ่งออกจากพระกายเป็นคู่ ๆ รอบ ๆ พระกาย เป็นสาย ๆ ไม่ระคนกันสว่างงามจับท้องฟ้านภากาศ เป็นมหาอัศจรรย์ยิ่งนัก

    ครั้งนั้น เทพดาและมนุษย์ทั้งหลาย ประชุมกันชมพระพุทธปาฎิหาริย์มากมายสุดที่จะคณนา พระบรมศาสดาทรงทำปาฎิหาริย์แล้ว ก็ทรงแสดงธรรมโปรดพุทธบริษัทที่สันนิบาตประชุมกันอยู่ในที่นั้น ในเวลาจบพระธรรมเทศนา พุทธบริษัททั้งเทพดาและมนุษย์ ได้บรรลุอริยมรรคอริยผล เป็นอันมาก
     
  14. physigmund_foid

    physigmund_foid เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    372
    ค่าพลัง:
    +1,421
    สำหรับการทำ "ยมกปาฏิหาริย์" นั้น พระพุทธเจ้าได้ใช้วิชชาต่างๆ ดังนี้


    ๑. วิชชา "มโนมยิทธิ" เพื่อถอดกายทิพย์อีกร่างหนึ่งลอยพระองค์กลางอากาศ
    ๒. วิชชา "กสิณอากาศ" เพื่อให้ร่างกายทิพย์นั้นเหาะอยู่บนฟ้า ขณะทรงแสดง
    ๓. วิชชา "ธาตุ" ต่างๆ ในการเนรมิต ให้เกิดเขาพระสุเมรุ ฯลฯ ปรากฏขึ้นมา
    ๔. วิชชา "พลังจักรวาล" ในการ "แผ่ปราณ" ให้ออกมาทุก "รูขุมขน" โดยให้
    รูขุมขนหนึ่งเป็น "พลังจักรวาลธาตุน้ำ" และให้รูขุมขนหนึ่ง "เป็นพลังจักรวาล
    ธาตุไฟ" สลับกันทุกรูขุมขน (มีเป็นคู่ๆ จึงเรียกว่า "ยมก")


    สำหรับท่านอื่นหากมีความคิดเห็นในวิชชาที่พระพุทธเจ้าแสดงยมกปาฏิหาริย์
    ก็สามารถแสดงความคิดเห็นได้ครับ ลองพิจารณาดูว่าเป็นพลังจักรวาลหรือไม่?
     
  15. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,235
    ให้ราคา "จักรวาล" แพงไปหน่อยหละมั้งครับ
     
  16. physigmund_foid

    physigmund_foid เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    372
    ค่าพลัง:
    +1,421
    พลังจักรวาลมีหลายขั้นครับ
    มันมีพลังไม่สิ้นสุด หากฝึก
    ระดับล่างก็คิดว่ามันสุดแล้ว
    ก็คิดว่ามันแค่นั้นเอง


    พลังจักรวาลไม่ใช่แค่หมุน
    แต่หมายถึงพลังที่อยู่ในจักรวาล
    แล้วถ่ายเทเข้าออกร่างกาย


    การที่พระพุทธเจ้าเปล่งออก
    ทุกรูขุมขน นั่นคือ ลักษณะหนึ่ง
    ของการเข้าออกร่างกายของพลัง
    จึงจัดเป็น "พลังจักรวาล" เช่นกัน


    วิชชาต่างๆ เมื่อเข้าขั้นสูงก็จะมีส่วนทับซ้อนกันครับ
     
  17. physigmund_foid

    physigmund_foid เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    372
    ค่าพลัง:
    +1,421
    สำหรับคนที่ไปฝึกพลังจักรวาล
    จากที่อื่นมาคิดว่าตนได้ขั้นสูงแล้ว
    แต่หากได้เจอพลังจักรวาลของ
    พระพุทธเจ้า จะรู้ว่าตนเอง


    ก็แค่ "หางอึ่ง" ครับ
     
  18. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,235
    เป็นหางอึ่งที่ราคาแพงมาก
     
  19. physigmund_foid

    physigmund_foid เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    372
    ค่าพลัง:
    +1,421
    เพราะผมนับถือพระพุทธเจ้าทั้ง "ปาก" และ "หัวใจ"
    ไม่คิดตั้งตนเป็นเจ้าลัทธิพาคนหลงออกนอกลู่นอกทางครับ
     
  20. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,235
    งั้นผมจะลองตั้งดู...หมายถึงลัทธิ
    ดูซิว่าคนนับถือทั้งปากและหัวใจในโลกมีกี่คน
     

แชร์หน้านี้

Loading...