เรียนเชิญทอดผ้าป่ามหาบารมี และร่วมพิธีขอขมาชำระกรรมหมื่นโลกธาตุ

ในห้อง 'กฐิน - ผ้าป่า - งานวัด' ตั้งกระทู้โดย kanchana2001, 1 สิงหาคม 2012.

  1. kanchana2001

    kanchana2001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2009
    โพสต์:
    43
    ค่าพลัง:
    +124
    <TABLE style="WIDTH: 885px; HEIGHT: 716px" border=0 cellSpacing=1 cellPadding=1 width=885><TBODY><TR><TD colSpan=2><TABLE style="WIDTH: 870px; HEIGHT: 366px" border=0 cellSpacing=1 cellPadding=1 width=870><TBODY><TR><TD vAlign=top width=111>[​IMG]</TD><TD vAlign=top width=754>[​IMG]
    ชมรมสำนัก สายมหาญาณะ ขอเรียนเชิญญาติธรรมทุกๆ ท่านผู้มีจิตศรัทธาในการสืบทอดอายุพระพุทธศาสนา
    ร่วมเป็นเจ้าภาพสร้าง“พระพุทธสิหิงค์ มิ่งมงคลบรมบพิตร” ปางขัดสมาธิ
    ขนาดหน้าตัก ๑๙ เมตร สูง ๓๒ เมตร
    ประดิษฐาน ณ ศูนย์ปฏิบัติธรรม พระธาตุศรีจำปามหารัตนาราม
    บ้านคำน้ำเย็น ต.พังโคน อ.พังโคน จ.สกลนคร
    เพื่อเฉลิมฉลองปีแห่งพุทธชยันตี และถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD width=568>[​IMG]
    [​IMG] อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี้
    </TD><TD vAlign=top width=310>[​IMG] ดาวน์โหลดใบฎีกา และคำอธิษฐานจิต
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]

    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ท่านอาจารย์ ธเนศวร วัชรญาณ 089 5300 981

    หลวงพี่กรณ์ 088 384 2206
    คุณนภารัตน์ 084 645 2952
    เว็บไซต์ http://www.saimahayana.com
    อีเมล์ saimahayana@gmail.com

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. kanchana2001

    kanchana2001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2009
    โพสต์:
    43
    ค่าพลัง:
    +124
    <TABLE style="WIDTH: 747px; HEIGHT: 455px" border=0 cellSpacing=1 cellPadding=1 width=747><TBODY><TR><TD>พิธีขอขมาชำระกรรม หมื่นโลกธาตุ
    [​IMG]

    </TD></TR><TR><TD>ขั้นตอนพิธีกรรม ขอขมาเจ้ากรรม นายเวร หมื่นโลกธาตุ</TD></TR><TR><TD>
    ๑. ตั้งพิธีบวงสรวงองค์พระพุทธเจ้า หมื่นพุทธเกษตรโลกธาตุ และองค์คุณแห่งพระพุทธเจ้าทั้งปวง พระมหาปัจเจกพุทธเจ้าทั้งปวง พระมหาโพธิสัตว์เจ้าทั้งปวงพระมหาอัครสาวก อัครสาวิกา และพระอรหันตสาวกของพระพุทธเจ้าทั้งปวง เพื่อกระทำพิธีบวงสรวงขอขมากรรมพระรัตนตรัย และขออำนาจอันศักดิ์สิทธิ์ ของพระพุทธเจ้าทั้งปวงมาเป็นพลังชำระอกุศลกรรมของหมู่สรรพสัตว์ให้ปราศจากอกุศลกรรมต่างๆ ( ตามพิธีกรรมแบบวัชรญาณ )



    </TD></TR><TR><TD>๒. บวงสรวงเทพนพเคราะห์ และเทพนักกษัตร สุริยัน จันทรา เพื่อขอขมากรรม และขอพรให้เจริญรุ่งเรือง ตามศาสตร์พิธีของวัชรญาณ เพราะเทพนพเคราะห์ และเทพนักกษัตร องค์เทพสุริยัน จันทรา ล้วนให้คุณให้โทษแก่หมู่สัตว์



    </TD></TR><TR><TD>๓. บวงสรวงมหาเทพ มหาพรหม ทวยเทพเจ้า เทวาทุกชั้นฟ้า องค์ท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 พระแม่ธรณี พระแม่คงคา พระแม่โพสพ พระพิรุณ พระเพลิง พระพาย พระภูมิเจ้าที่ เจ้าป่าเจ้าเขา เจ้ากรุงพาลี พระยาครุฑ พระยานาคราช คนธรรพ์ ยักษา ฤาษี ดาบส ครูบาอาจารย์ทั้งปวง เพื่อขอขมากรรมด้วย กาย วาจา ใจ อกุศลกรรม ทั้งหลายให้เป็นโมฆะกรรมเหลือแต่บุญบารมี ความเจริญรุ่งเรือง


    </TD></TR><TR><TD>๔. บวงสรวงถอนคำสาป ล้างอาถรรพ์ แก้อุบาทว์ ที่มีต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายคำสาปแช่งทั้งปวงจากบรรพบุรุษ พระมหากษัตริย์ เจ้าสมณะชีพราหมณ์ สัจจะวาจาที่เคยให้ไว้ต่อเบื้องสูง ชำระกระแสกรรมที่หมู่สัตว์อาฆาต พยาบาท จองเวรไว้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ถอนคำสาบานต่อหมู่สัตว์ คู่ครอง ความรักในอดีต ล้างอาถรรพ์ที่เกิดจากคุณไสย มนต์ดำ คำแช่งแรงแค้นของสัตว์เดรัจฉาน เช่น งาช้าง ขนสัตว์ งูใหญ่ และวัตถุอาถรรพ์ทั้งปวง


    </TD></TR><TR><TD>๕. บวงสรวง เบิกบุญ เสริมโชคลาภ รับวาสนาบารมี (สวดหงส์ทอง+เทียนเสริมดวง )


    </TD></TR><TR><TD>๖. พิธีส่งบุญบารมีหมื่นโลกธาตุ + ทอดผ้าป่า + อุทิศบุญกรวดน้ำ</TD></TR></TBODY></TABLE>

    โครงสร้างการจัดงาน

    [​IMG]



    [​IMG]



    ร่วมบุญเป็นเจ้าภาพ
    ร่วมเป็นเจ้าภาพกองบุญละ ๕๐๐ บาท รับวัตถุมงคลที่ระลึก
    พระพุทธสิหิงค์ ๑ องค์
    พร้อมเข้าร่วม พิธีขอขมาชำระกรรมหมื่นโลกธาตุฟรี
    [​IMG]


    [​IMG] สามารถบริจาคโดยการโอนเงินเข้าบัญชี
    [​IMG] สาขา นวมินทร์ ซิตี้อเวนิว
    ชื่อบัญชี ชมรมกองทัพพิทักษ์ธรรม
    เลขที่บัญชี 401-645-989-3
    แล้วส่งอีเมล์หรือ SMS มาที่
    [​IMG] อีเมล์ : saimahayana@gmail.com
    [​IMG] โทรศัพท์ : 089 530 0981 , 088 384 2206 , 084 645 2952 , 084 100 3330



    <HR>
    <TABLE border=0 width=100 align=center><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]

    </TD></TR><TR><TD>พระองค์เป็นหนึ่งในสี่ แห่ง จตุโลกบาล ผู้คุ้มครองทิศอุดร ทรงเป็นเทพที่มีอำนาจปกปักรักษาคุ้มครอง ให้ผู้เคารพบูชาปลอดภัยจากการรบกวนของภูตผีปีศาจ รวมไปถึงคุณไสยมนต์ดำทั้งปวง พร้อมกันนี้พระองค์ยังมีฤทธิ์อำนาจทางด้านการเงิน โชคลาภ เพราะ ท้าวเวสสุวรรณนั้น ทำหน้าที่ รักษาขุมทรัพย์แผ่นดินทั้งปวงในโลกนี้ และยังเป็นเทพพิทักษ์พระบวรพุทธศาสนาด้วย</TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]

    </TD></TR><TR><TD>
    ธิเบตเรียก ฯม.ถ้ซ.cซ. ร๋นัม.โถซ์.ซีซ์. สันสกฤตเรียก เบ.ชา.มา.นา. บาลีเรียก เวสสุวรรณ จีนเรียก ใช้ป๋อเทียนอ๊วงหรือพีซามึ้งเทียนอ๊วง ท่านมีสองสถานะคือสถานะเทพผู้ประทานทรัพย์ สีกายของท่านเป็นสีเหลือง และสถานะหนึ่งในท้าวจตุโลกบาล
    ตำนานได้กล่าวไว้ว่า เมื่อก่อนพระศากยะมุนีพุทธเจ้าจะปรินิพพานได้สั่งความแก่ท้าวจตุโลบาลไว้ว่าในอนาคตต่อไปพุทธศาสนาจะประสบกับอุปสรรคมากมายพวกนอกศาสนา พวกไม่หวังดีต่อพุทธศาสนาจะทำร้ายพุทธศาสนาขอให้ท้าวจตุโลกบาลช่วยกันปกป้องรักษาพุทธศาสนา ตั้งแต่นั้นมาท่านก็ได้ทำหน้าที่ปกป้องพิทักษ์รักษาพุทธศาสนาและผู้ปฏิบัติธรรมเสมอมา

    ท้าวกุเวร มีอีกพระนามหนึ่งที่รู้จักกันดีคือ ท้าวเวสสุวรรณ เป็นอธิบดีแห่งอสูรหรือยักษ์ หรือเป็นเจ้าแห่งผี พระองค์เป็นหนึ่งในสี่ แห่งจตุโลกบาล ผู้คุ้มครองทิศอุดรทรงเป็นเทพที่มีอำนาจปกปักรักษาคุ้มครอง ให้ผู้เคารพบูชาปลอดภัยจากการรบกวน
    ของภูตผีปีศาจ รวมไปถึงคุณไสยมนต์ดำทั้งปวง พร้อมกันนี้พระองค์ยังมีฤทธิ์อำนาจทางด้านการเงิน โชคลาภ เพราะ ท้าวเวสสุวรรณนั้น ทำหน้าที่ รักษาขุมทรัพย์แผ่นดินทั้งปวงในโลกนี้ และยังเป็นเทพพิทักษ์พระบวรพุทธศาสนาด้วย
    คนไทยโบราณ นิยมนำผ้ายันต์รูป ยักษ์ผูกไว้ที่หัวเตียงเด็กเพื่อป้องกันวิญญาณชั่วร้ายไม่ให้มารังควาญแก่ เด็ก ท้าวกุเวร องค์นี้มีกล่าวถึงในอาฏานาฏิยปริตว่านำเทวดาในสวรรค์ชั้นจตุมหาราชิกา มาเฝ้าพระพุทธเจ้าและได้ถวายสัตย์ที่จะดูแลพระพุทธเจ้าและเหล่าสาวก ไมให้ยักษ์หรือบริวารอื่นๆของท้าวจตุโลกบาลไปรังควาญ
    ท้าวกุเวร หรือ ท่านท้าวเวสสุวรรณ นั้น ส่วนมากเราจะพบเห็นในรูปลักษณ์ของยักษ์ยืนถือกระบองยาว หรือ คทา (ไม้เท้าเป็นรูปกระบอง) กันซะส่วนใหญ่ แต่แท้ที่จริงแล้วยังมีรูปเคารพของท่านในรูปของชายนั่งในท่า มหาราชลีลา มีลักษณะอันโดดเด่นคือ พระอุระพลุ้ย อีกด้วย กล่าวกันว่า ผู้มีอาชีพสัปเหร่อ หรือ มีอาชีพประหารชีวิตนักโทษ มักพกพารูปท้าวเวสสุวรรณ สำหรับคล้องคอเพื่อเป็นเครื่องรางของขลัง ป้องกันภัยจากวิญญาณร้าย ที่จะเข้ามา เบียดเบียน ในภายหลัง ภาพลักษณ์ของท้าวกุเวร ที่ปรากฏในรูปของชายพุงพลุ้ย เป็นที่เคารพนับถือ
    [​IMG]
    การบูชาท้าวเวสสุวรรณ
    จุดธูป 9 ดอก สักการะ ท้าวเวสสุวรรณ และถวายดอกกุหลาบ 9 ดอก
    แล้วตั้งนะโม 3 จบระลึกถึงคุณบิดา มารดา และครูบาอาจารย์ ทั้งหลาย
    ที่ประสิทธิประสาทวิชามาแล้วระลึกถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แล้วท่อง คาถาบูชาท้าวเวสสุวรรณ หรือ ท้าวกุเวร
    พระคาถาบูชาบทเต็ม
    ตั้งนะโม ๓ จบ ระลึกถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ คุณบิดา มารดา ครูบาอาจารย์ และหลวงปู่กาหลง

    อิติปิ โส ภะคะวา ยมมะราชาโน ท้าวเวสสุวรรณโณ
    มะระณัง สุขัง อะหัง สุคะโต นะโม พุทธายะ
    ท้าวเวสสุวรรณโณ จาตุมะหาราชิกา ยักขะพันตาภัทภูริโต
    เวสสะ พุสะ พุทธัง อะระหัง พุทโธ ท้าวเวสสุวรรณโณ นะโม พุทธายะ

    พระคาถาบูชาบทย่อ
    โอม เวสสะ พุสะ สะวาหะ
    หากต้องการจะขับไล่คนถูกผีเข้าหรือบ้านเรือนที่มีความเฮี้ยน ความอาถรรพณ์ของวิญญาณแอบแฝงอยู่ หรือขับไล่คุณไสย์เสนียดจัญไรออกจากตัวให้อารธนารูปหล่อท้าวเวสสุวัณแช่ในขัน เพื่อทำน้ำมนต์ จุดธูป ๙ ดอก เทียน ๒ เล่ม และใช้เทียนอีก ๑ เล่มวางบนขอบขขันน้ำมนต์ ทำจิตให้เป็นสมาธิตั้งนโม ๓ จบบูชาพระรัตนไตร แล้วว่าพระคาถานี้ โอมท้าวเวสสุวัณผู้เป็นใหญ่ในหมู่อสูร ท้าวเธอจึงใช้ให้กูมากำหราบปราบหมู่มารไพรี ฝูงผีปีศาจ ราชทูต ผีภูติ ผีพรายอันร้ายกาจทุกแห่งหนสูจะทนทาน กูอยู่มิได้พวกสูจงเร่งพากันหนีไปให้พ้นกูจะปัดจะพ่นด้วย พระมนต์อันศักดา ท้าวกุเวรมหาราชประสิทธิไว้ให้กู เวสสุวัณโนมหาราช เวสสะวุธทัสสะ อัตถะมหายักขังเสนาสุขิตา ภวันตุเม โอมสวาหะ สวาหายฯ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​












    [​IMG]
    ประวัติพระพุทธสิหงค์


    ประวัติพระพุทธสิหิงค์ ตำนานพระพุทธสิหิงค์ ได้มีท่านผู้ เรียบเรียงไว้หลายท่าน เรื่องตำนานหรือประวัติพระพุทธสิหิงค์ ได้มีท่านผู้เรียบเรียงไว้แล้วหลายท่าน เช่น พระโพธิรังสี ปราชญ์ แห่งเมืองเชียงใหม่ ได้เขียนเป็นภาษามคธ ราว พ.ศ.๑๙๖๐ และ บรรยายเรื่องราว จนมาถึง พ.ศ.๒๔๕๔ สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยา ดำรงราชานุภาพ ได้ทรงนิพนธ์ต่อจากพระโพธิรังสี มาจนถึงสมัย หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ ได้เรียบเรียงใหม่เป็นตำนานย่อ และกล่าวข้อวิจารณ์ในทางโบราณคดี ส่วนที่ผู้เขียนได้นำกล่าวมานี้ ได้อ้างถึง"ตำนานพระพุทธสิหิงค์" ของพลตรีหลวงวิจิตรวาทการ เขียนขึ้นเนื่องด้วยได้มีการรวบรวมข้อเท็จจริง ที่ท่านผู้รู้ทั้งหลาย เหล่านั้นได้ค้นคว้าแล้วมาเรียบเรียงไว้ให้เป็นตำนาน ที่อ่านง่าย เ พื่อความสะดวกและเข้าใจแก่ผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาทั่วไป
    พระพุทธสิหิงค์ เป็นพระพุทธรูปที่กษัตริย์ลังกาได้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.๗๐๐ ได้อัญเชิญเข้ามาสู่ประเทศสยาม ในสมัยพ่อขุนรามคำแหง ฉะนั้น จึงต้องนับว่า พระพุทธสิหิงค์ เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของประเทศสยามอย่างแท้จริง แต่ในเมืองไทย พระพุทธรูปที่ทรงพระนามว่าพระพุทธสิหิงค์นั้นมีอยู่ ๓ องค์ ๓ แห่ง คือ

    พระพุทธสิหิงค์ องค์ที่ ๑ ประดิษฐานในพระที่นั่งพุทไธศวรรย์ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร

    พระพุทธสิหิงค์ องค์ที่ ๒ ประดิษฐานในวิหารลายคำ วัดพระสิงห์ จ.เชียงใหม่

    พระพุทธสิหิงค์ องค์ที่ ๓ ประดิษฐานในหอพระพุทธสิหิงค์ ข้างศาลากลาง จ.นครศรีธรรมราช



    [​IMG]


    พระพุทธสิหิงค์ องค์ที่ ๑
    เป็นพระพุทธรูปปางนั่งขัดสมาธิสูง ๙๖ ซม. หน้าตักกว้าง ๖๖ ซม. หล่อด้วยสัมฤทธิ์ ปิดทองคำเปลว พระสรีระได้สัดส่วนและงดงามที่สุดจะหา พระพุทธโบราณในเมืองไทยที่งดงาม และได้สัดส่วนเทียม พระพุทธสิหิงค์องค์นี้มิได้เลย ตามตำนานกล่าวว่าพระพุทธสิหิงค์ องค์นี้ศิลปะสุโขทัยประดิษฐานในพระที่นั่งพุทไธศวรรย์ กรุงเทพมหานคร [​IMG]




    พระพุทธสิหิงค์ องค์ที่ ๒
    เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่ มีความสำคัญคู่กับพระพุทธสิหิงค์ในกรุงเทพฯ และเมืองนครศรีธรรมราช เป็นพระพุทธรูปที่งดงามมาก องค์นี้ศิลปะเชียงแสน พระพุทธสิหิงค์ เชียงใหม่ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร หล่อด้วยสัมฤทธิ์ปิดทองคำเปลว หนักตักกว้าง ๔๐ นิ้ว ศิลปะเชียงแสนรุ่นแรก ปัจจุบันประดิษฐานในวิหารลายคำ วัดพระสิงห์ จ.เชียงใหม


    [​IMG]
    พระพุทธสิหิงค์ องค์ที่ ๓

    เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองนครศรีธรรมราช มีความสำคัญคู่กับ พระพุทธสิหิงค์เมืองเชียงใหม่ และกรุงเทพมหานคร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร แบบขนมต้ม มีพระพักตร์กลม อมยิ้ม พระอุระอวบอ้วน หล่อด้วยสัมฤทธ์ ปิดทอง หน้าตักกว้าง ๑๔ นิ้ว สูง ๑๖.๘ นิ้ว นับเป็นพระพุทธรูปสำคัญ คู่บ้านคู่เมืองมาแต่โบราณกาล ประดิษฐานอยู่ในบุษบกไม้ ณ หอพระ ระหว่างศาลกับศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช องค์นี้ศิลปะศรีวิชัย่

    พระพุทธสิหิงค์ทั้ง ๓ องค์ ๓ สมัย ๓ ภาค สร้างในสมัยเดียวกัน ผู้สร้างคือ มหากษัตริย์ลังกา ๓ พระองค์ ทรงสร้างเมื่อ พ.ศ.๗๐๐ ตำนานของพระโพธิรังสีกล่าวว่าพระพุทธสิหิงค์ เป็นพระพุทธรูปที่ เจ้าลังกา ๓ พระองค์ ได้ร่วมพระทัยกันพร้อมด้วยพระอรหันต์ใน เกาะลังกาสร้างขึ้นราว พ.ศ.๗๐๐ โดยหมายจะให้ได้พระพุทธรูปเหมือนองค์พระพุทธเจ้าจริงๆ ถึงกับตำนานกล่าวว่า พญานาคซึ่งเคยเห็นองค์พระพุทธเจ้ามาแปลงกายให้ดูเป็นตัวอย่างมาถึงสมัยพ่อขุนรามคำแหง (พ.ศ.๑๘๒๐-๑๘๖๐) มีพระภิกษุลังการ เข้าสู่ประเทศสยาม พ่อขุนรามคำแหง ได้ทรงทราบกิติศัพท์เลื่องชื่อ ว่าเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์มีพุทธลักษณะที่งดงาม พ่อขุนรามคำแหง จึงทรงขอให้พระเจ้าศรีธรรมโศกราช แต่งทูตเชิญพระสาส์นไปขอประทานพระพุทธสิหิงค์จากเจ้ากรุงลังกาเนื่องด้วยว่าเป็นเมืองที่มีการติดต่อสัมพันธ์อยู่กับลังกาอย่างใกล้ชิด ซึ่งก็ได้ตามพระราชประสงค์ อัญเชิญมาประดิษฐานที่นครศรีธรรมราช จัดงานพิธีสมโภชใหญ่โตเป็นเวลา ๗ วัน พระเจ้าศรีธรรมโศกราชได้ให้ช่างท้องถิ่นจำลองไว้บูชา ๑ องค์ โดยกล่าวไว้ว่าพ่อขุนรามคำแหงเสด็จไปรับ พระพุทธสิหิงค์ถึงนครศรีธรรมราช ด้วยพระองค์เอง แล้วอัญเชิญมาประดิษฐาน ณ กรุงสุโขทัย พระมหากษัตริย์กรุงสุโขทัยทุกพระองค์ได้ทรงเคารพบูชาพระพุทธสิหิงค์ตลอดมา

    พระพุทธสิหิงค์ ที่ประดิษฐานอยู่ที่นครศรีธรรมราชนี้ มีลักษณะ ตามแบบสกุลช่างท้องถิ่น เรียกว่า แบบขนมต้ม คือมีพระพักตร์กลม อมยิ้ม พระอุระอวบอ้วน ประทับนั่งในท่าขัดสมาธิเพชร ชายสังฆาฏิสั้นระดับพระถัน เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของ ชาวนครศรีธรรมราชเป็นพระพุทธรูปที่มีพระรูป และสัดส่วนที่งดงามมาก

    ครั้งเมื่อได้ตั้งกรุงศรีอยุธยาขึ้น ทางสุโขทัยอ่อนกำลังลง สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ เจ้ากรุงศรีอยุธยา ได้สุโขทัยไว้ในอำนาจเมื่อปี พ.ศ.๑๙๒๐ พญาไสยลือไทย เจ้ากรุงสุโขทัย ถูกลดตำแหน่งเป็นเจ้าประเทศราช ลงมาครองพิษณุโลก จึงได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ มาประดิษฐานไว้ที่พิษณุโลกด้วย เมื่อพระยาไสยลือไทย สิ้นพระชนม์ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ ก็ทรงโปรดให้เชิญพระพุทธสิหิงค์โดยมาทางเรือลงมาไว้ที่กรุงศรีอยุธยา

    เมื่อทางกรุงศรีอยุธยาได้กรุงสุโขทัยไว้ในอำนาจแล้ว ได้จัดแบ่งการปกครอง ออกเป็นสองมณฑลคือ เมืองตาก, สวรรคโลก กับพิษณุโลก เป็นมณฑลสอง ให้เจ้านายในราชวงศ์พระร่วงปกครอง พระยาธิษฐิระ ผู้ครองกำแพงเพชรนั้นปรากฏว่า ราชบุตรเลี้ยงของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ ปรารถนาจะได้พระพุทธสิหิงค์ ไปประดิษฐานไว้เมืองกำแพงเพชร จึงให้มเหสีผู้เป็นมารดาตนขอพระพุทธรูปองค์หนึ่ง แล้วติดสินบนขุนพุทธบาลผู้รักษาพระ เลือกพระพุทธสิหิงค์ส่งไปเรื่องมีต่อว่า ใน พ.ศ.๑๙๓๑ นี้เองมีพระภิกษุรูปหนึ่งในเมืองกำแพงเพชรปั้นรูปจำลองพระพุทธสิหิงค์ด้วยขี้ผึ้ง และนำพระพุทธรูปจำลองนี้ไปเชียงราย เมื่อเจ้ามหาพรหมผู้ครองนครเชียงรายได้เห็นจึงชวนเจ้ากือนา พี่ชายผู้ครองนครเชียงใหม่ยกกองทัพไปกำแพงเพชรและ ขู่ขอพระพุทธสิหิงค์ พระยาธิษฐิระต้องยอมยกพระพุทธสิหิงค์ให้ไป พระพุทธสิหิงค์จึงได้ไปประดิษฐานอยู่เชียงราย ในปี พ.ศ.๑๙๓๑

    พอถึง พ.ศ.๑๙๕๐ เชียงใหม่กับเชียงรายเกิดรบกัน เชียงรายแพ้ เจ้าแสนเมืองมาเจ้านครเชียงใหม่ก็อัญเชิญ พระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานอยู่เชียงใหม่ราว ๒๕๕ ปี เมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตีเมืองเชียงใหม่ได้ใน พ.ศ.๒๒๐๕ โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานไว้ ณ วัดพระศรีสรรเพชรกรุงศรีอยุธยา ครั้นเมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าครั้งที่ ๒ เชียงใหม่เป็นพวกพ้องพม่า จึงสามารถอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์กลับไปเชียงใหม่ได้เมื่อ พ.ศ.๒๓๑๐
     

แชร์หน้านี้

Loading...