วิชชาที่จะทำให้อยู่รอดจากยุคสมัยแห่งภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย kananun, 17 กรกฎาคม 2006.

  1. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ขออนุญาตตอบคุณเด็กอนุบาล

    ก่อนอื่นก็ขอโมทนาบุญกับผลแห่งการปฏิบัติที่ทำแล้วปรากฏขึ้นเป็นปัจจัตตัง รู้ได้ สัมผัสได้ด้วยตนเองครับ

    วิชชาเหล่านี้เป็นวิชชาของพระพุทธเจ้าองค์ปฐมที่ท่านทรงเมตตาวางรากฐานแห่งการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ทั้งปวงไว้ให้เป็นรากฐานแบบอย่างครับ ผมเพียงแต่ทำตามแล้วถ่ายทอดเอาไว้เป็นธรรมทาน เพื่อประโยชน์สุขของสรรพสัตว์ทั้งหลายครับ

    ยิ่งโลก ยิ่งจักรวาล มีดวงจิตที่อิ่มเต็มด้วยพรหมวิหารสี่มากเท่าไร ก็จะปรากฏความสุขมากขึ้นเพียงนั้น อยู่ร่วมกันอย่างมีน้ำใจให้กันเอื้ออาทร ซึ่งกันและกัน พืชผลธัญญาหาร ภักสาหารก็จะอุดมสมบูรณ์ ไม่ต้องแก่งแย่งเบียดเบียนกัน

    ผู้คนมีเวลา มีปัญญา ก็ถูกใช้ไปในทางกุศล ในประโยชน์เพื่อส่วนรวมกัน ไม่เอาไปคิดเอารัดเอาเปรียบกัน

    พิจารณาโดยปัญญาของเราเอง หากเห็นว่าดี เห็นว่าจริง เราก็ส่งเสริม ทำให้ยิ่งขึ้นไป หากเห็นว่าไม่เป็นเรื่อง ก็งดเสีย

    ภัยพิบัติทั้งปวงที่เกิดขึ้นตอนนี้ก็ล้วนแต่มีเหตุ เริ่มแรกสุดจากดวงจิตของมนุษย์ที่เอาแต่กอบโกยเข้าสู่ตนเอง แย่งชิง(ทรัพยากร)จากผู้อื่น คิดว่ามีวัตถุมากเท่าไรก็ยิ่งมีความสุขมากขึ้นเท่านั้น จิตแบบนี้เปรียบประดุจ "หลุมดำ" ที่ดูดกลืนทุกๆสิ่ง แม้แต่แสงสว่าง(คุณธรรม ความดี กุศล) ที่อยู่ใกล้

    แต่จิตที่เปี่ยมไปด้วยเมตตา นี้เป็นประดุจ ดวงอาทิตย์ที่ให้เพียงอย่างเดียว ทั้งแสงสว่าง ความอบอุ่นและชีวิต แก่สรรพสิ่งโดยไม่หวังผลตอบแทน

    จะเลือกเป็น "หลุมดำ"ที่เต็มไปด้วยความมืดมน หรือเป็น "ดวงตะวัน "ที่ฉายแสงเจิดจรัส นั้น เราทุกคนเลือกได้ครับ
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    ขออนุโมทนากับคุณคณานันท์อย่างสูงมากนะครับที่ได้นำมหาธรรมทาน
    มาเผยแพร่ให้เพื่อนสมาชิกบอร์ดได้ทราบและนำไปปฏิฺบัติเพื่อยกระดับจิตใจของ "คน" ให้เป็น "มนุษย์" ที่ประเสริฐและสมบูรณ์ที่สุด
     
  3. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    [​IMG] เด็กอนุบาลขอการบ้านพี่คณานันท์ด้วยสิครับ
    <HR style="COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->อิอิ เด็กอนุบาลอยากได้การบ้านเพิ่มเติมจากพี่คณานันท์บ้างอะครับ ช่วงนี้เรื่องงานทางโลกเริ่มลงตัว เลยอยากมุ่งทางธรรมมากขึ้นครับ ช่วงนี้เท่าที่ทำอยู่ก็ทำแผ่เมตตาอัปปนาญาณไปเรื่อยๆระหว่างวันครับ แล้วก็ฝึกพิจารณาธาตุสี่ของตัวเองและชาวบ้านระหว่างวันครับ

    เด็กอนุบาลมีน้าชายอยู่คนนึง ชื่อน้าปุ๊ ครับ ตอนนี้ชีวิตน้ากำลังลำบากมาก ร่างกายก็เจ็บป่วยเรื้อรัง การเงินและครอบครัวน้าก็กำลังลำบาก เด็กอนุบาลอยากช่วยให้เจ้ากรรมนายเวรของน้าชายได้อโหสิกรรมให้น้าเร็วๆ อยากให้พี่คณานันท์ช่วยแนะนำวิธีการที่ดีในการช่วยน้าให้สำเร็จด้วยครับ ตอนนี้ที่ทำอยู่ก็ทำตามคำแนะนำคุณกระเจียวคือ เขียนชื่อน้าลงในกระดาษแล้ววางไว้ใต้พระบรมสารีริกธาตุ แล้วขอพรจากพระให้ช่วยน้าในช่วงที่เข้าฌานสูงสุดแล้วเห็นภาพพระสว่างครับ

    น้าของเด็กอนุบาลคนนี้ข้อเสียคือเป็นคนดื้อมาก เข้ากับคนได้ยาก และมักจะได้หัวหน้างานที่เอาเปรียบหรือโกงน้าเสมอ แต่ความดีที่สุดของน้าคือ การดูแลคุณยายของเด็กอนุบาลช่วงที่ยายเจ็บป่วยช่วยตัวเองไม่ได้ น้าเค้าดูแลยายอย่างดีที่สุดในแบบที่ลูกคนนึงจะดูแลพยาบาลแม่ได้ ถ้าเด็กอนุบาลกราบอธิษฐานกับพระแล้วอ้างถึงความดีของน้าด้านนี้ คำอธิษฐานจะประสบผลสำเร็จเร็วขึ้นไหมครับพี่คณานันท์ _/|\


    ขออนุญาตตอบคุณเด็กอนุบาลครับ


    เรื่องนี้เป็นกรรมในอดีตชาติ ที่ส่งผลมาบั่นทอนชีวิตในปัจจุบันของน้าชายครับ

    ค่อนข้างเป็นกรรมที่หนัก เพราะมีกรรมส่วนที่เป็นอวิชชามาบังใจเอาไว้ด้วย ตรงนี้ที่น่าห่วง

    อย่างที่เคยได้เน้นไว้เสมอ เรื่องสัมมาทิษฐิ หากคุณน้าท่านนี้ เป็นผู้มีจิตเป็นกุศล เข้าใจ ยอมรับในเรื่องกรรมและผลของกรรม การแก้กรรมแก้ปัญหาก็จะเป็นเรื่องง่าย

    แต่พออกุศลเข้าสิงจิตให้ไม่ยอมรับ บ้างดื้อบ้าง ถึงเราอยากช่วยก็ช่วยไม่ได้ อุปมาดั่ง คนไข้ไม่รับการรักษา และไม่ยอมกินยา จะช่วยให้หายได้อย่างไร

    ดังนั้นหนทางที่พอมีเหลืออยู่ก็คือต้องอธิฐานขอเอาบุญของคุณน้าด้านความกตัญญูเป็นที่ตั้งขอให้ส่งผลให้คุณน้ามีใจเป็นกุศล สัมมาทิษฐิ เชื่อบุญ เชื่อบาป เชื่อผลของกรรมก่อน เมื่อสำเร็จ จิตก็จะคลายตัวออกเห็นปัญญา เห็นปัญหา และเริ่มเห็นทางแก้ไข

    เราเองต้องใช้กำลังบุญของเราช่วยทางอ้อมๆด้วย เช่นอุทิศบุญเราให้เจ้ากรรมนายเวรของเขา ไปทำบุญก็ให้เขาโมทนา

    เรื่องให้คนเขาโมทนานั้นให้ระวังนิดหนึ่ง (กล่าวถึงทั่วไป ไม่ใช่เคสนี้) ผมเคยเจอ บางทีเราไปเจอพวกมิจฉาทิษฐิ เราหวังให้เขาโมทนาบุญ เขากลับหาว่าเราไปอวดดี อวดเด่น ทำเป็นคนดี ไปเสียอย่างนั้นก็มี จิตคนเราบางครั้งมันก็เป็นไปได้

    เคล็ดลับของกรณีนี้ก็คือทำให้ใจของเย็นขึ้น แผ่เมตตาให้ทั้งตัวคุณน้า และเจ้ากรรมนายเวรของเขาให้สงบเย็นลง ทำสม่ำเสมอเอาไว้จะค่อยๆดีขึ้นครับ
     
  4. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    มีหลายท่านที่อยู่บนทางสองแพร่ง

    จะลาดี ไม่ลาดี พุทธภูมิน่ะ


    มีวิธีง่ายๆสองวิธีครับ

    1.อธิฐานจิตต่อสมเด็จองค์ปฐมท่านว่า การบำเพ็ญบารมีของข้าพเจ้านั้น ขอจงเป็นพุทธบัญชาแห่งสมเด็จองค์ปฐมท่าน หากแม้ข้าพเจ้าลาพุทธภูมิแล้วจะยังประโยชน์ต่อสรรพสัตว์ได้มากกว่า ก็ขอให้มีเหตุมาดลใจให้ข้าพเจ้าตัดสินใจได้ว่าสมควรลาพุทธภูมิ

    หากแม้นการบำเพ็ญบารมีพุทธภูมิต่อไปของข้าพเจ้าจะยังประโยชน์ต่อหมู่สัตว์ทั้งหลายได้มากกว่า ก็ขอให้ข้าพเจ้าจงมีกำลังใจในการบำเพ็ญบารมีอย่างเปี่ยมล้น สามารถยกระดับจิตของข้าพเจ้าขึ้นสู่จิตของพระโพธิสัตว์ได้ด้วยเทอญ


    2.ทำพิธีเสี่ยงทาย อธิฐานยกพระ ตามโบราณประเพณี ที่เคยทำมาในหลายๆชาติ

    3.ทำทั้งสองประการ และตั้งใจมั่น สิ้นสงสัย เพราะตัวสงสัยจะเป็นตัวทอนกำลังในการทำความดี ไม่ให้ลื่นไหลต่อเนื่อง


    น่าจะตรงกับวาระจิตของท่านผู้อ่านอยู่ตอนนี้ท่านหนึ่งครับ
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    10 วิธีตั้งสติก่อนสตาร์ทอารมณ์โกรธ <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย ผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">9 สิงหาคม 2550 08:35 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> ปัจจุบันข่าวคราวทางหน้าหนังสือพิมพ์ในแต่ละวันที่เกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บ พิการหรือสูญเสียชีวิตอันมีสาเหตุมาจากการไม่สามารถยับยั้งควบคุมอารมณ์โกรธของผู้คนในสังคม มีความถี่และความรุนแรงมากขึ้นเป็นลำดับ การสูญเสียดังกล่าวไม่ได้จำกัดขอบเขตเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องในเหตุการณ์เท่านั้น ยังส่งผลกระทบถึงความเป็นอยู่และสภาพจิตใจของสมาชิกครอบครัวที่ต้องพบกับความสูญเสีย ซึ่งหลายครั้งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเพราะไม่สามารถหยุดอารมณ์ชั่ววูบของผู้กระทำได้ ซึ่งหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสามารถระงับอารมณ์โกรธของตนลงได้ มีอารมณ์เยือกเย็นลงอีกสักนิด ความสูญเสียต่างๆ ก็คงไม่เกิดขึ้น

    </td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="right" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td width="5">[​IMG]</td> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="350"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top" width="350"> [​IMG] </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> นพ.ไกรสิทธิ์ นฤขัตพิชัย กรรมการผู้จัดการ โรงพยาบาลมนารมย์ ให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวว่า การรู้เท่าทันอารมณ์ของตนเองและสามารถจัดการได้อย่างเหมาะสม เป็นทักษะอย่างหนึ่งที่ต้องได้รับการฝึกฝน ทั้งนี้ สาเหตุหลักที่ทำให้คนเราเกิดอารมณ์โกรธ นอกเหนือจากแรงผลักดันจากภาวะเศรษฐกิจ ครอบครัวและการสูญเสียการควบคุมอารมณ์ชั่วขณะอันเกิดมาจากการใช้เหล้าหรือสารเสพติดแล้ว ก็คือเรื่องบุคลิกภาพที่เป็นผลมาจากการอบรมเลี้ยงดูของครอบครัว เพราะในปัจจุบันสถาบันครอบครัวของไทยมีความอ่อนแอลงทุกวัน เวลาและความใกล้ชิดที่มีให้กันน้อยกว่าในอดีต

    ในขณะที่ตัวอย่างการแก้ปัญหาโดยใช้ความรุนแรงในสังคมมีให้เห็นบ่อยมากขึ้น จนเกือบจะกลายเป็นเรื่องธรรมดา

    อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาเหล่านี้ สามารถเริ่มต้นได้ด้วยการนำเสนอข่าวสาร ภาพยนตร์หรือเกมที่ส่งเสริมการแก้ปัญหาโดยใช้ความรุนแรง และเสริมสร้างความแข็งแรงให้แก่สถาบันครอบครัวก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ควรถูกหยิบยกมาใช้

    นพ.ไกรสิทธิ์ให้ข้อมูลต่อไปว่า การเลี้ยงดูเด็กให้เจริญเติบโตมีสุขภาพกาย ใจที่แข็งแรง เป็นงานสำคัญและยิ่งใหญ่ที่สุดของชีวิตมนุษย์ ต้องใช้เวลา ต้องการทั้งความรู้ ความเข้าใจและความอดทนของผู้เลี้ยงดูเป็นอย่างมาก ซึ่งช่วงอายุของเด็กที่มีความสำคัญที่สุดต่อพัฒนาการได้แก่ ช่วงอายุ 0-6 ขวบ เพราะเป็นช่วงที่เด็กจะเรียนรู้เรื่องการวางใจผู้อื่น รับรู้และซึมซับบุคลิกภาพจากคนใกล้ชิด โดยเฉพาะจากผู้เลี้ยงดู การฝึกเด็กให้รู้จักคอย การเห็นอกเห็นใจ การเคารพสิทธิผู้อื่น การรู้จักแพ้ รู้จักชนะ จะมีส่วนช่วยในการฝึกทักษะการควบคุมอารมณ์ของเด็ก

    “หากเราเลี้ยงดูเด็กให้เป็นผู้ที่มีทั้งไอคิว อีคิวที่ดี คนที่อยู่ใกล้ชิดและสังคมก็จะพลอยมีความสุขไปด้วย ความก้าวร้าวของเด็กเมื่อมีพัฒนาการขึ้นเป็นผู้ใหญ่แล้วจะเกิดขึ้นได้ยาก เพราะสมาชิกในครอบครัวต่างเป็นเบ้าหลอมสำคัญยิ่ง และเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่เขา”

    สำหรับหลักในการควบคุมอารมณ์นั้น นพ.ไกรสิทธิ์ได้ให้แนวทางปฏิบัติ 10 ประการที่สามารถนำไปใช้เพื่อระงับความโกรธแบบสั่งได้ดังใจไว้ ได้แก่

    1.พยายามสังเกตตัวเองให้รู้เท่าทันอารมณ์ตนเองว่ากำลังจะโกรธ
    2.เตือนตนเองว่าการโกรธคือการเผาตัวเอง ทำลายสุขภาพตัวเอง
    3.ชะลออารมณ์โกรธโดยการเบี่ยงเบนความสนใจ ด้วยการนับ 1-10 หายใจเข้าออกลึกๆ ช้าๆ พยายามผ่อนคลายกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ
    4.พยายามออกจากสถานที่ยั่วยุให้เกิดอารมณ์โกรธนั้น เพื่อไปสงบสติอารมณ์
    5.เตือนตนเองว่า เราไม่สามารถควบคุมทุกสิ่งทุกอย่างได้ดังใจเรา
    6.เตือนตนเองว่า คนเราแตกต่างกัน ไม่มีใครสมบูรณ์แบบ แม้แต่ตัวเราเองก็มีข้อบกพร่อง
    7.เตือนตนเองให้มองเห็นข้อดีของผู้อื่นและความดีของเขาในอดีตที่ผ่านมา
    8.ฝึกคิดฝึกมองสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในด้านบวก
    9.ฝึกให้อภัยและปล่อยวาง
    10.ถ้าแก้ปัญหาด้วยตนเองไม่ได้ ควรขอคำปรึกษาจากคนที่มีประสบการณ์ไว้ใจได้ ในบางครั้งถ้าปัญหารุนแรงมาก อาจจำเป็นต้องปรึกษาจิตแพทย์ ซึ่งไม่ใช่เรื่องน่าอายแต่อย่างใด</td></tr></tbody></table>
     
  6. Khunkik

    Khunkik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2006
    โพสต์:
    2,150
    ค่าพลัง:
    +18,072
    การแผ่เมตตา จากหนังสือ ทางนฤพาน

    ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าการแผ่เมตตานั้น มีจุดประสงค์เพื่อละความพยาบาท เช่นที่พระพุทธองค์ตรัสสอนพระราหุลในมหารุหุโลวาทสูตร มีความว่า
    "ดูกรราหุล เธอจงเจริญเมตตาภาวนาเภิด เพราะเมื่อเธอเจริญเมตตาภาวนาอยู่ จักละพยาบาทได้"(พระสุตตันตปิฎก เล่ม5)


    และเมื่อเข้าใจแล้วว่าเราต้องการละพยาบาท ก็ต้องทำความเข้ใจใมห้ละเอียดต่อไปอีกชั้นหนึ่งว่า "ความโกรธ" กับ "ความพยาบาท" นั้น เหมือนหรือต่างกันอย่างไร

    สำหรับความโกรธนั้นคือตัวโกธะ ซึ่งอาจหมายถึงความขุ่นเคืองที่เกิดจากผัสสะกระทบใดๆ อาการทางจิตโดยทั่วไปจะเหมือนไฟไหม้ฟาง คือ วูบหนึ่งหรือระยะหนึ่งแล้วดับหายไป

    ส่วนความพยาบาทนั้น จะหมายเอาความแค้นใจ ความเจ็บใจ ความคิดร้าย ซึ่งเป็นตรงข้ามกับเมตตาโดยตรง

    พฤติของจิตจะเป็นไปในทางผูกใจคิดแก้แค้นเอาคืน หรือแม้ไม่ถึงขั้นลงมือเอาคืน ก็มีอาการขัดเคือง ขุ่นข้อง ค้างเติ่งอยู่อย่างนั้น
     
  7. Khunkik

    Khunkik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2006
    โพสต์:
    2,150
    ค่าพลัง:
    +18,072
    เมื่อเข้าใจตรงนี้ ก็จะเห็นว่าตัวความโกรธอาจพัฒนาเป็นความพยาบาท หรืออาจจะหายไปเสียเฉยๆ ก็ได้ ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยหลายต่อหลายประการ ดังนั้นเราอาจแผ่เมตตาเพื่อระงับความโกรธ ตัดไฟแต่ต้นลมเพื่อมิให้ลุกลามเป็นพยาบาทก็ได้ หรืออาจแผ่เมตตาเพื่อทำความพยาบาทที่ครอบงำจิตอยู่แล้วให้สูญไปก็ดี ทั้งนี้ ต้องเข้าใจว่า การแผ่เมตตามิใช่การทำเชื้อแห่งความโกรธให้ดับลงสนิท เพราะนั่นเป็นงานวิปัสสนา เราแผ่เมตตาเป็นงานสมถะ เพื่อทำจิตให้มีคุณภาพพอจะต่อยอดเป็นวิปัสสนาในภายหลัง

    และเมื่อทำความเข้าใจเป็นอย่างดีแล้วว่าจุดประสงค์ของการแผ่เมตตาเป็นไปเพื่อละพยาบาท อันเป็นของครอบงำจิตระยะยาว ก็ต้องเห็นซึ้งยิ่งขึ้นไปว่า การแผ่เมตตาเป็นเรื่องของการ "เปลี่ยนนิสัย" คือต้อง "ละพยาบาท" ให้ขาดจากจิต แม้โกรธขึ้นก็เหมือนจุดไฟดวงน้อย เรามีน้ำกลุ่มใหญ่ไว้สาดให้ดับพร้อมอยู่แล้ว

    เมื่อแผ่เมตตาเป็น จะเกิดกระแสจิตอีกแบบหนึ่งที่ทำให้รู้ว่ากรรมฐานข้อนี้ต่างกับข้ออื่น คือ ถึงจุดหนึ่งแล้วเหมือนจิตฉายรัศมีเมตตาออกมาเองโดยไม่ต้องกำหนด เนื่องจากเมตตาเป็นธรรมชาติของจิตที่เปล่งประกายได้โดยปราศจากเจตจำนงบังคับ ตรงนั้นจะเป็นอานิสงส์ของการแผ่เมตตาตามที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ในเมตตาสูตร

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ให้ตั้งมั่นโดยลำดับ สั่งสมดีแล้ว ปรารภด้วยดีแล้ว พึงหวังอานิสงส์ 11 ประการ คือ
    ย่อมหลับเป็นสุข, ย่อมตื่นเป็นสุข, ย่อมไม่ฝันลามก, ย่อมเป็นที่รักแห่งมนุษย์ทั้งหลาย, ย่อมเป็นที่รักแห่งอมนุษย์ทั้งหลาย, เทวดาทั้งหลายย่อมรักษา,ไฟ,ยาพิษ หรือศาสตราย่อมไม่กล้ำกรายได้,จิตย่อมตั้งมั่นโดยรวดเร็ว,สีหน้าย่อมผ่องใส,เป็นผู้ไม่ตายด้วยอาการหลง, เมื่อไม่แทงตลอดคุณอันยิ่งย่มเป็นผู้เข้าถึงพรหมโลก"
     
  8. Khunkik

    Khunkik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2006
    โพสต์:
    2,150
    ค่าพลัง:
    +18,072
    การเจริญเมตตาภาวนานั้นแบ่งออกได้เป็นสองลักษณะใหญ่ๆ ตามวิธีดำเนินจิต

    แบบแรก คือ ใช้จิตที่ยังคิดนึกส่งความปราถนาดี ปราถนาให้บุคคล สัตว์ หรือสิ่งของอันเป็นเป้าหมายมีความสุข

    แบบที่สอง คือ กำหนดจิตอันตั้งมั่นแล้ว แผ่กระแสเมตตาออกตามรัศมีจิต เริ่มต้นอาจจะเพียงในระยะสั้นๆ ต่อมาเมื่อได้นานก็ยื่นขยายระยะหรือขอบเขตออกไปกระทั่งถึงความไม่มีประมาณ ตลอดจนครอบดลก เป็นผลพิสดารในภายในอันรู้ได้ด้วยตนเอง


    เมื่อทราบว่าการเจริญเมตตาภาวนาแบ่งออกเป็นสองวิถีทางอย่างนี้ ก็พึงทราบว่าการเจริญเมตตาไม่ได้ขึ้นอยู่กับจริตนิสัย ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าใครมีปัจจัยใดๆหนุนหลังหรือถ่วงรั้งเอาไว้ แต่เป็นเรื่องที่ทุกคนสมควรฝึก สมควรทำให้เกิดขึ้นในตน เพื่อขจัดวัชพืชออกไปจากพื้นที่เพาะพันธุ์มรรคผลในจิตเรา
     
  9. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791

    มี "สติ" ตามรู้ใจ รู้กาย คอยเป็นผู้ดูกายดูใจตัวเองไปเท่าที่จะระลึกได้ [​IMG]
     
  10. เด็กอนุบาล

    เด็กอนุบาล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    689
    ค่าพลัง:
    +4,156
    เด็กอนุบาลขอโมทนาในธรรมทานของkhunkikครับ

    ดีจริงๆครับที่มี khunkik เข้ามาช่วยเสริมให้ผมและเพื่อนๆตื่นตัวในการแผ่เมตตา ผมขอเสริมนิดเดียวครับว่า เท่าที่ทราบ เราสามารถใช้การแผ่เมตตาต่อตนเองเจริญเป็นวิปัสสนาก็ได้เหมือนกันครับ :)

    หลักการก็คือแผ่ เมตตา สงสาร ตัวเองให้มากก่อนจะแผ่เมตตาไปให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย ให้คิดว่าเราจะรักตนเองโดยละความยินดีในการเกิดมามีร่างกายที่สกปรก ไม่เที่ยงและเป็นเหตุแห่งทุกข์ทั้งหลายแบบนี้เสีย ร่างกายแบบของเราและคนอื่นๆนี้ ไม่มีอะไรให้น่ายินดีสักนิด เพราะล้วนเกิดจากการประชุมกันของธาตุ4 ตามเหตุปัจจัย นานไปมีแต่จะสกปรกขึ้น เสื่อมสภาพยิ่งขึ้นทุกลมหายใจเข้าออก และที่สุดต้องตายสลายตัวไปในที่สุด โดยที่เราไม่สามารถบังคับบัญชาให้มันทรงตัวอยู่ได้ นั่นเพราะกายไม่ใช่ของเรา เป็นของโลก จึงไม่มีเราในกาย ไม่มีกายในเรา ตายไปจากร่างกายแบบนี้เมื่อไร เราจึงไม่ต้องการเกิดมามีร่างกายแบบนี้อีก ต้องการไปนิพพานจุดเดียว

    ขอเสริมแค่นี้ครับ พระท่านดลใจให้ผมเขียนแค่นี้ เพื่อให้เพื่อนๆสามารถใช้การแผ่เมตตาเพื่อตัดกิเลสตนเอง และตั้งจิตแผ่ภูมิธรรมนี้ไปกับกระแสเมตตาและกุศลที่ส่งให้สรรพสัตว์ทั้งหลายตลอดเวลาที่เราคิดถึงสัจธรรมนี้ ขอให้พวกเขาได้มีสัมมาทิฐิ สัมมาสมาธิ สัมมาปัญญา เพื่อให้ได้รู้แจ้งในสัจธรรม ได้เข้าถึงพระนิพพานอันเป็นบรมสุขด้วยกันถ้วนหน้าเทอญ _/|\_
     
  11. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    โมทนาบุญด้วยครับเริ่มเข้าใจและรู้จักการวางอารมณ์ใจในการปฏิบัติกันแล้ว

    อารมณ์ใจของพรหมวิหารสี่จะปรากฏในลักษณะที่คุณเด็กอนุบาลได้กล่าวเอาไว้ครับ

    ความเย็นจากจิตเราจะแผ่ออกมาอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย เหมือนเป็นแหล่งพลังงานที่ไม่มีวันสิ้นสุด และยิ่งแผ่ออกไปมากเท่าไร จิตใจของเราก็จะยิ่ง สะอาดขึ้นสว่างขึ้นมีกำลังขึ้นมากเท่านั้น

    เป็นสิ่งที่ยิ่งให้ยิ่งได้

    เราอย่าได้ไปเอาความคิดในแบบวัตถุมาจับเป็นอันขาด ในแบบโลกของวัตถุ ยิ่งให้ยิ่งหมด

    แต่ในเรื่องของบารมี ยิ่งให้ ยิ่งใช้ ยิ่งเพิ่มพูน ลองดูเมตตาบารมีเป็นตัวอย่าง วิริยะบารมีเป็นตัวอย่าง ปัญญาบารมีเป็นตัวอย่าง

    ดังนั้นมีโอกาสสร้างบารมีได้รีบสร้าง รีบทำรีบบำเพ็ญครับ อย่างที่คุณVanco ว่าเอาไว้ เวลาบนโลกของทุกคนมีน้อย พึงสร้างสรรค์คุณประโยชน์ต่อโลกเอาไว้ให้มาก

    จำเอาไว้ว่ายิ่งตัวเรา ใช้ทรัพยากรในโลกนี้น้อยมากเท่าไร แต่ทำคุณประโยชน์ให้โลกได้มากๆ แสดงว่าเรานั้นเป็นผู้มีประสิทธิภาพสูง

    และเช่นกัน หากเราสร้างเสริมการสร้างบารมีของท่านผู้อื่นได้มากและสร้างคนดีออกสู่สังคมได้มาก เราก็นับว่า เราเป็นผู้ใช้ปัญญาในการสร้างบารมี เมื่อใช้ปัญญามาก บารมีก็เต็มเร็วเป็นธรรมดา แต่เต็มหรือไม่เต็ม ท่านผู้ทรงอารมณ์ใจของพระโพธิสัตว์จะไม่เห็นเป็นสาระสำคัญแล้ว เนื่องจาก ท่านจะมุ่งเน้นที่ผล หวังว่า คนทั้งปวงจะได้เข้าถึงซึ่งความดี ประสพแต่ความสุข นับตั้งแต่สุขขั้นต้นจนถึงสุขขั้นปรมัตถ์อันมีพระนิพพานเป็นที่สุด เสมอ
     
  12. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    มาต่อกันในเรื่องของการปฏิบัติครับ

    การปฏิบัติธรรมนั้นล้วนมีจุดมุ่งหมายอยู่ในความดี มีพระนิพพานเป็นที่สุด

    ท่านผู้ที่ปรารถนาสาวกภูมินั้น ก็ปรารถนาในความดี คือความดับไม่เหลือเชื้อ มุ่งลัดตัดตรงสู่พระนิพพานอันเป็นความดีสูงสุด

    ท่านผู้ปรารถนาพุทธภูมิ ก็ปรารถนาในความดีเช่นกัน แต่มีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะช่วยเหลือสงเคราะห์ให้ท่านผู้อื่นได้ถึงซึ่งความดี อันมีพระนิพพานเป็นที่สุด

    สำหรับในเรื่องอารมณ์ใจที่ได้อธิบายไปแล้วนั้น เป็นอารมณ์ขณะปฏิบัติในเวลานั้น ขณะจิตนั้น ต่อไปก็จะได้อธิบายถึงอารมณ์ใจโดยทั่วๆไปในแต่ละวันของผู้ปฏิบัติธรรม เป็นช่วงเวลา (มีขึ้นมีลง เป็นอนิจจังเช่นกัน)

    อารมณ์แรกของท่านที่ปฏิบัตินั้น ส่วนใหญ่จะมี

    -อารมณ์สงสัย ในระหว่างวัน มีหัวข้อธรรมก็ดีแนวทางในการปฏิบัติก็ดี จิตยังไม่กระจ่างก็ยังคงความสงสัยในอารมณ์ ส่วนใหญ่เป็นเรื่องการหาแนวทางในการปฏิบัติที่ถูกกับจริตเราบ้าง เป็นเรื่องที่ไปรู้ไปเห็นมาในสมาธิบ้าง ติดในอารมณ์วิปัสนาญาณว่าพิจารณาถึงจุดนี้แล้วไปไหนต่อบ้าง จะลาหรือไม่ลาพุทธภูมิดี เราบำเพ็ญบารมีพุทธภูมิมาเต็มหรือยัง (ทั้งหมดนี่เอาเฉพาะอารมณ์ที่สงสัยการปฏิบัติของตนไม่เกี่ยวกับการเปรียบเทียบดีเลวกับชาวบ้านเขา)

    สำหรับขั้นตอนในการปฏิบัติของอารมณ์ใจในช่วงเวลานี้ ต้องหาครูบาอาจารย์สัมมาทิษฐิผู้ถูกจริตและมีวาสนาบารมีวาระผูกพันกับตนมาช่วยแก้ข้อสงสัยในการปฏิบัติให้คลายตัว และเดินต่อไปข้างหน้าได้ (ท่านผู้ฉลาดก็พึงอธิฐานขอเอา) แต่จะมีข้อแปลกพิเศษของพุทธภูมิก็คือ พุทธภูมิที่ติดในจุดนี้ มักที่จะมีอาจารย์ผู้มาสงเคราะห์เป็นพุทธภูมิด้วยกันเป็นส่วนใหญ่

    (ครั้งแรกที่ผมได้มโนมยิทธิ ไปฝึกแบบเป็นรูปแบบทำไม่ได้ ไม่รู้อารมณ์ ไปแอบฟังป้าคนหนึ่งเขาสอนคนอื่นอยู่ เราครูพักลักจำกลับทำได้ มารู้ต่อมาว่า ป้าท่านนี้ ปรารถนาเป็นพระพุทธมารดาในอนาคตกาล (จึงมีความเมตตาปราณีสงเคราะห์พุทธภูมิทั้งหลายเป็นพิเศษ))


    แถมพุทธภูมิพอมีคนมาแนะนำ ก่อนอื่นก็มักจะขอดื้อก่อน เป็นมานะทิษฐิที่ติดตัวกันมา เป็นเรื่องที่แก้ยาก และเป็นทุกท่าน จนกว่าระดับภูมิธรรมของจิตจะยกขึ้นและคลายมานะลง


    -พอเริ่มมีหลัก จับแนวทางได้ การปฏิบัติธรรมก็จะเป็นอารมณ์ทรงตัว กล่าวคือ ยังต้องมีการประคับประคองอารมณ์ เอาไว้ จับลมหายใจบางครั้งก็จับได้บ้างไม่ได้บ้าง ขึ้นกับสติเป็นสำคัญ

    ในช่วงเวลาที่เป็นอารมณ์ใจทรงตัวแบบนี้ ประการสำคัญก็คือการเดินทางสายกลาง ไม่ตึงในการปฏิบัติไปโหม ไปเร่งจนเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งยังไม่ทรงฌานอย่างละเอียดแนบแน่นชนิดกำหนดได้ จงอย่าได้ไป อดอาหาร หรืออดนอน เพื่อเร่งการปฏิบัติเด็ดขาด จะเกิดโทษและทำให้เสียผลแห่งการปฏิบัติไปเปล่าๆ

    ในขณะเดียวกัน ก็จงอย่าขี้เกียจจนเกินไป อู้ตลอด ไม่จับลมสบายเลย ไม่พิจารณาวิปัสนาญาณ มีร่างกาย ขันธุ์ห้า ความตายเลย วันหนึ่งคืนหนึ่งใจไม่ระลึกถึงพระ ไม่มีภาพพระ ปรากฏในจิตนี่ใช่ไม่ได้ประมาท

    ช่วงเวลานี้ให้เกลาจิตของเราประดุจช่างฝีมือ ค่อยๆเพิ่มสภาพแวดล้อมของตนเองที่เอื้อต่อการปฏิบัติธรรม อันได้แก่

    สนทนาธรรมอยู่เนืองๆ
    ฟังธรรมอยู่เสมอ
    สวดมนต์ทุกวัน
    ทำสมาธิทุกวัน

    หากจิตมันอ้างเอาว่าไม่มีเวลา ก็จงแข็งใจฝืน เอาเวลาที่รถติดมาฟังธรรมมะในรถไป กลางคืนไม่มีเวลา ก็นอนทำสมาธิไปเลย ไม่ต้องตั้งท่า ทำกันยันหลับ ยิ่งได้อานิสงค์เท่ากับทำสมาธิตั้งแต่หลับยันตื่น

    สมมติเราเข้าห้องพระสวดมนต์ ทำสมาธิวันละหนึ่งชม. ก็ได้อานิสงค์หนึ่งช.ม.

    แต่ถ้าเข้าสมาธิจับลมสบาย จับภาพพระ ทรงอารมณ์นิพพานแล้วเอากายในไปอยู่บนพระนิพพานก็ดี หรือไปบำเพ็ญบารมีก็ดี ไอ้กายเนื้อทางนี้เราก็ปล่อยหลับไป อานิสงค์ในการทำสมาธิ(นี่นับเฉพาะสมาธิไม่นับส่วนอื่น) ได้นับเวลาตั้งแต่เราหลับยันตื่น หาก เราหลับ แปดช.ม. ก็เท่ากับ ได้อานิสงค์ทำสมาธิวันนั้นไป แปดช.ม. หากตายคืนนั้น จิตอยู่พระนิพพานก็ถึงนิพพานเป็นพระอรหันต์เลย(เพราะจิตตั้งอยู่ที่นั้น แนบในพระนิพพานเป็นอารมณ์) หย่อนมาก็พรหม แย่ที่สุดก็สวรรค์เป็นอย่างน้อย

    การปฏิบัติแบบนี้คนไม่รู้ ไม่ต้องทำอวดใคร และที่สำคัญไม่ทำให้ใครข้าง(ที่ศรัทธาไม่เสมอกัน)กังวลหรือตกใจด้วย

    การปฏิบัติแบบไร้รูป ไร้เครื่องหมายไม่ให้ใครเขารู้ว่าเราเป็นผู้ปฏิบัติธรรมนั้น เป็นการลดมานะ และมารยาสาไถยประการหนึ่ง รวมทั้งเป็นเครื่องพรางตัวเราเอาไว้ ไม่ให้คนเขาโจมตีชาวธรรมได้ หากเราพรางไว้เขาไม่สนใจ แต่พอเรามานุ่งขาวห่มขาว เขาก็จะอ้างโน้น อ้างนี่หาข้อติไปได้เรื่อยๆ และจะพลอยทำให้เราหงุดหงิดขุ่นมัวไปเปล่า การปฏิบัติเงียบๆของเราหรือรู้กันในหมู่สหธรรมมิกจึงเป็นการลดกระแสเสียดทานจากสังคมโลกแบบหนึ่ง

    -ส่วนอารมณ์ที่สำคัญที่สุดในการปฏิบัติและพึงรักษาเอาไว้ให้ได้นั้น ก็คือ

    "อารมณ์แนบ" ที่ว่าเป็นอารมณ์แนบนั้น ขออธิบายว่า เป็นช่วงเวลาที่อารมณ์ใจของเราจะแนบแน่นกับธรรมมะปฏิบัติและวิปัสนาญาณ อย่างมากๆ

    อาการที่ปรากฏแก่ใจในช่วงเวลานั้น ก็คือ จิตจะทรงสติแนบอยู่ในมหาสติปัฐฐานสี่ เห็นทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกอยู่ในสภาวะ อนิจจัง ทุกขังอนัตตาหมด จิตตื่นสว่างโพลงอยู่ตลอด เห็นอะไร ก็จะมีตัวรู้มาบอกมาสอนในหัวข้อธรรมทั้งหมด บางท่านกำหนดเวลาเหมือนบังคับเวลาได้ จิตรู้เหมือนเปิดญาณ ทรงฌานอยู่ตลอดเวลา

    จิตหมดความสนใจใยดีในทางโลก ไม่อยากดูทีวี ไม่อยากอ่านหนังสืออื่นที่ไม่ใช่หนังสือธรรมมะ กามฉันทะ โดยเฉพาะความพอใจในเพศตรงข้ามหายไปเกือบหมด

    สาวกภูมิจิตก็จะมุ่งที่พระนิพพานจุดเดียว อย่างอื่นไม่สนใจทั้งสิ้น

    ส่วนพุทธภูมิก็มุ่งที่การสร้างบารมีล้วนๆ เมตตาพรหมวิหารสี่มากมายไม่สิ้นสุด


    แต่ยามที่เกิดอารมณ์แนบนี้เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ กับ วิปัสนูปกิเลส

    เพราะอารมณ์ใจเราขณะนั้น จะบริสุทธิ์มาก จนเราอาจเข้าใจผิดได้ว่าเราบรรลุธรรมขั้นนั้น ขั้นนี้แล้วบ้างเป็นพระโพธิสัตว์ท่านนั้นท่านนี้บ้าง พอใจเราเริ่มเขวนิดเดียว มารก็จะสวมรอย ออกมารับรองว่าจริง บางทีแสดงภาพเป็นพระพุทธเจ้ามาบอกบ้างก็มี หากเชื่อ ก็พลิกกลายเป้น วิปัสนูปกิเลสเลยทันที ต้องมาเริ่มใหม่หมด

    วิธีจัดการในช่วงสภาวะอารมณ์แนบนั้น ก็คือ เราต้องกล่าวโทษโจทย์ตนเองอยู่ตลอดเวลาหาข้อติเตียนการปฏิบัติของเรา ประดุจเรามีแก้วประภัสสร ต้องการให้แก้วใสบริสุทธิ์ ก็พึงมองหาฝุ่นผง ธุลีที่เกาะแก้วมณีให้เศร้าหมองแล้วเช็ดออกล้างออกไปอยู่เนืองๆ ฉันนั้น

    และการบรรลุธรรมขั้นนั้น ขั้นนี้ เราอย่าได้ไปสนใจ ให้วางกำลังจิตไว้แต่เพียง "เราตั้งมั่นในการปฏิบัติเพื่อพระนิพพาน ตายจากอันตภาพนี้เราจะไปนิพพานเพียงจุดเดียว" สำรับสาวกภูมิ

    เพราะในสภาวะที่อารมณ์แนบนั้น หากทรงอารมณ์เอาไว้ได้ ไม่หวั่นไหว ไม่ออกนอกทางเดินที่พระพุทธองค์ท่านทรงวางไว้ให้ ไม่หนักเกินไป ไม่เบาเกินไป อารมณ์ใจสบาย เห็นธรรมดาในธรรม ย่อมบรรลุธรรมใน 7 วัน หรือ 7 เดือน หรืออย่างอารมณ์ใจที่แนบในวิปัสนาญาณน้อยหน่อยก็ 7 ปี

    อย่างอารมณ์แนบมากๆนี่จิตจะมีอาการทรงฌานอยู่ตลอดเวลาทรงสติสัมปชัญญะอย่างยอดเยี่ยม เห็นวิปัสนาญาณในทุกอิริยาบทและเหตุการณ์ ก่อนเกิดและระหว่างเกิดอารมณ์แนบในระดับนี้ จะปรากฏนิมิตรเหมือนโลกธาตุ ระเบิดสว่างสะท้านสะเทือน อย่างน่าอัศจรรย์ จิตสว่างโล่ง จิตปล่อยวางอย่างที่สุด เกิดทั้งธรรมปิติและอุทานธรรมออกมาเอง จุดนี้ล่ะเป็นจุดที่ต้องไม่หลงไปในวิปัสนูปกิเลสเด็ดขาด ถ้าผ่านไปได้รู้เท่าทัน ก็จะก้าวหน้าในธรรมอย่างรวดเร็ว

    ส่วนท่านผู้ที่ปรารถนาพุทธภูมิก็จะเกิดนิมิตรคล้ายๆกันแต่จะปรากฏเป็นเมตตาญาณอย่างยิ่ง เมตตาไปหมดจริงๆ หากใครมาพบขณะนั้นขออะไรเป็นให้หมด ส่วนวิปัสนูปกิเลสที่ปรากฏก็มักจะเกิดภาพพระโพธิสัตว์องค์สำคัญขึ้นและมีมารมาหลอกว่า เราเองเป็นท่านนั้นท่านนี้ บ้าง บารมีเต็มแล้วบ้าง ก็ขอให้ท่านวางกำลังใจ "อย่าเชื่อ"เอาไว้ก่อน

    แล้วอธิฐานว่า หากเป็นท่านนั้น จริงก็ขอให้ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญบารมีต่อส่วนรวมให้ได้ อย่างประเสริฐเป็นที่น่าอัศจรรย์

    และขอให้วางกำลังใจยกจิตให้สูงสู่ความเป็นพระโพธิสัตว์ที่ไม่หวังผลที่ตนเองแต่หวังประโยชน์ของสรรพสัตว์ทั้งหลายมีพระนิพพานเป็นที่สุดนั่นเอง

    สำหรับท่านผู้เป็นพุทธภูมินั้น ขอจงอย่าได้ท้อถอย เราจะเป็นใครในอดีตกาลมา จะยิ่งใหญ่เพียงใด จะต่ำต้อยแค่ไหน ไม่สำคัญ

    ชาตินี้ เราตั้งใจบำเพ็ญบารมี เต็มกำลังบารมีของเราเต็มที่ มีช่อง มีโอกาสให้เราสร้างบารมีได้ เราก็ไม่พลาด ไม่เสียโอกาสนั้นไป นับไม่เสียชาติเกิด(ไม่เสียเวลาที่อาสาลงมาจุติเพื่อการสร้างบารมี)

    หากมีนิมิตรมาบอกเอาไว้ ว่าเรายิ่งใหญ่เหลือคณา แล้วเรามัวรอคนมากราบไหว้บูชา รอเอาคนยกเราขึ้นหิ้ง ก็นับว่าเราเองได้เวลา ได้เสียโอกาสในการสร้างบารมีอย่างน่าเสียดาย ในทุกพระชาติแห่งพระโพธิสัตว์ทั้งปวง ไม่มีในพระชาติใดเลยที่ไม่ทรงใช้กำลัง(ไม่ว่าด้านใดด้านหนึ่ง)ของพระองค์ในการสร้างบารมี ในการทำให้สรรพสัตว์ทั้งหลายได้เข้าถึงความสุข

    ดังนั้นอย่าได้ละทิ้งทุกโอกาสในการสร้างบารมี ความดี ทั้งโดยตนเอง และส่งเสริมผู้อื่นอยู่เสมอ

    (บทความนี้มีท่านผู้มาสอนหลายท่านมาก)


    ขอให้ความเจริญรู้แจ้งในธรรมจงมีแด่ทุกท่าน ทุกประการด้วยเทอญ
     
  13. Khunkik

    Khunkik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2006
    โพสต์:
    2,150
    ค่าพลัง:
    +18,072
    อ่านแล้วคิดถึง คำของคุณทมยันตี "เงาทิพย์ยะยับจับฝัน เงาจันทร์เย็นจิตนิมิตหมาย เงาอดีตรุ้งฝันพรรณราย เงาหายรู้พลันมันมายา"
     
  14. Tossaporn K.

    Tossaporn K. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,565
    ค่าพลัง:
    +7,747
    การที่ตัวเรามุ่งเน้นในเรื่องการเข้าถึงธรรมเพื่อการหลุดพ้นจากกิเลสจริงๆจังๆโดยที่จิตยังตั้งอยู่ในสมถะ(ไม่มีความคิดว่าเราเหนือใคร ใครเหนือเรา ทุกคนเท่ากัน) จะช่วยให้ตัวสักกายะทิฏฐิมันลดลง จิตที่เป็นกลางจะค่อยๆปรากฏ ปัญญาก็จะทยอยเกิดตามมา สักกายะทิฏฐิคืออะไร สักกายะทิฏฐิคือการยึดความเป็นตัวกูของกู กูแน่ กูเก่ง กูมีความสามารถ กูมีอภิญญา กูถูก กูไม่ชอบ กูชอบ กูมีบารมีแยะ อดีตชาติของกูใหญ่ไม่เบา กูเป็นพุทธภูมิ คนอื่นที่ไม่ใช่พุทธภูมิด้อยกว่ากูหมด กูรู้ธรรมะมากว่ามึง กูอ่านธรรมะมามากกว่ามึง กูปฏิบัติธรรมมามากว่า กูอื่นๆอีกเพียบ แต่หารู้ไม่ว่าตัวสักกายะทิฏฐิตัวนี้ร้ายกาจเพียงใดมันหลอกให้หลายต่อหลายคนตกหลุมพรางจนการฝึกปฏิบัติธรรมล้มเหลวมาเยอะแยะมาก ตกนรกไปก็เยอะ เกิดเป็นสัตว์ชั้นต่ำไปก็แยะ พวกเราอยากตกหลุมพรางด้วยหรือเปล่าลองคิดดู
     
  15. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ถูกต้องแล้วครับ "สูงสุดคืนสู่สามัญ" ระลึกไว้เสมอว่าเราเป็นปุถุชนคนสามัญผู้ปฏิบัติธรรม

    ทำความดี เพื่อความดี ทำความดี เพื่อส่วนรวม อย่าได้เผลอทำความดีแต่ไปเพิ่มพูนกิเลสในมานะทิษฐิ

    เราคิดว่าเราดีเมื่อไร เราก็พังเมื่อนั้น ตัวหลงก็จะเข้ามาสู่ใจ

    ยิ่งปฏิบัติธรรมสูงๆขึ้นไปก็จะยิ่งพบ ว่ายังมีธรรมที่ยิ่งกว่า

    ยิ่งศึกษาในศาสตร์ต่างๆให้มาก ก็จะยิ่งค้นพบว่า มีเรื่องราว มีศาสตร์ที่เรายังไม่รู้อีกมากมายมหาศาล ยิ่งเรียนมากก็ยิ่งรู้ว่าตนโง่

    เราเป็นเพียงธุลีเล็กๆของอนันตจักรวาลเท่านั้น ทุกสิ่งเป็นเพียงสมมติมายา อดีตกาล อดีตชาติก็เป็นเพียงประหนึ่งความฝันที่สลายตัวไปในที่สุด

    สิ่งสำคัญก็คือ จิตใจที่บริสุทธิ์ ที่เราต้องพึงรักษาเอาไว้ อย่าได้ลืมในไตรสรณะคมม์ เป็นที่พึงตลอดกาลตลอดสมัยตราบจนถึงซึ่งพระนิพพาน
     
  16. เด็กอนุบาล

    เด็กอนุบาล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    689
    ค่าพลัง:
    +4,156
    เด็กอนุบาลคิดถึงเพื่อนๆและนำบุญมาฝาก

    เด็กอนุบาลคิดถึงเพื่อนๆจังครับ วันนี้ตอนเช้าหลังจากเปิดเสียงธรรมของพระเดชพระคุณหลวงพ่อฤาษีฯ ให้คุณพ่อคุณแม่ฟังตามปกติแล้ว ก็คอยตอบคำถามคุณแม่ซึ่งเป็นคนขยันสงสัยในเรื่องที่ท่านเทศน์เกี่ยวกับสมเด็จองค์ปฐม คุณแม่สงสัยว่า ทำไมมีพระพุทธเจ้าองค์อื่นอีกนอกจาก พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันของเรา เด็กอนุบาลก็พยายามตั้งใจอธิบายคุณแม่ให้ท่านเชื่อว่าพระพุทธเจ้ามีหลายองค์ เสียวมากว่าจะอธิบายไม่กระจ่างแต่ก็พยายามใช้สีข้างเข้าถูตามปัญญาเท่าที่เด็กอนุบาลพอมีอยู่ เท่าที่สังเกตุ คุณแม่ก็เริ่มเชื่อขึ้นมาครับ สาเหตุที่คุณแม่ถามเพราะท่านเคยมีความรู้สึกที่ไม่ดี ต่อท่านๆหนึ่ง สำนักหนึ่งที่ท่านอ้างว่าท่านเป็นพระศาสดา แต่คุณแม่ท่านไม่เชื่อเลย ทีนี้พอมาฟังหลวงพ่อท่านเทศน์เกี่ยวกับสมเด็จองค์ปฐมว่าเป็นพระพุทธเจ้าองค์แรก แปลว่ามีพระพุทธเจ้าหลายองค์ ท่านเลยเกิดสงสัยเป็นธรรมดาครับ(เจ็บบ.. สีข้าง...Y_Y)
    ...ตอนนี้ที่เด็กอนุบาลทำได้สำเร็จแล้วก็คือทำให้คุณแม่เคารพและศรัทธาในหลวงพ่อท่าน จนเมื่อวานที่คุณแม่ท่านได้ฟังเทศน์เกี่ยวกับการเจริญสังฆานุสสติอย่างง่ายๆ ที่ท่านแนะนำเรื่องใจคิดตักบาตรทุกเช้าให้พระสงฆ์ คุณแม่ก็อินมากจนท่านอยากจะไปซื้อเตาไมโครเวฟมา เพื่อเตรียมทำกับข้าวไว้ตั้งแต่ตอนเย็นเพื่อตื่นเช้ามาตักบาตรถวายพระสงฆ์ เด็กอนุบาลก็เลยสนับสนุนปัจจัยให้คุณแม่ 2,500 บาทเพื่อสร้างกำลังใจให้ท่านลุยทำความดีต่อ:)
    ...ส่วนเมื่อวานนี้ระหว่างที่พาครอบครัวไปกินเลี้ยงวันแม่ที่ MK Suki ก็มีโอกาสได้อธิบายให้น้องชายฟังว่า(น้องชายเรียนหมออยู่ มีอาการป่วยทางจิต) อย่าไปกังวลมาก น้องชายเด็กอนุบาลน่าเห็นใจมากเพราะเค้านึกภาพพระไม่ได้เพราะจะเห็นภาพตัวเค้าทุบตีทำร้ายพระ ซึ่งน้องชายจะรู้สึกผิดจนไม่กล้านึกเลย เด็กอนุบาลก็อธิบายเค้าว่า การที่เราไม่มีเจตนานึกทำร้ายพระท่าน แต่จิตมันปรุงแต่งภาพขึ้นมาเองนั้นไม่ถือว่าบาป ขอให้น้องชายอย่าไปกังวลเพราะจะทำให้จิตหมอง เรื่องนี้เด็กอนุบาลอธิบายเค้าถูกต้องไหมครับ และถ้าเพื่อนๆมีวิธีการดีๆที่จะแนะนำให้เด็กอนุบาลช่วยน้องชายได้จะขอโมทนามากครับ_/|\_
    ...ท้ายที่สุดนี้เด็กอนุบาลขอโมทนาต่อความดีที่พระพุทธเจ้าทุกองค์ได้บำเพ็ญบารมี30ทัศน์ในทุกๆชาติจนตรัสรู้พระธรรมอันประเสริฐ ขอโมทนาต่อความดีทุกประการของพระธรรมทั้งหลายที่ช่วยสร้างพระอริยสงฆ์ให้เกิดขึ้นทุกๆองค์ และขออนุโมทนาต่อความดีทุกประการของพระอริยสงฆ์ทั้งหลายที่ช่วยสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์
    ..อิทังปุญญะผลัง เด็กอนุบาลขอบารมีพระรัตนตรัย ได้โปรดบันดาลกุศลทั้งหมดอันเกิดจากมหาโมทนามัยนี้ให้สำเร็จแด่สรรพสัตว์ทั้งหลายในสามโลกทั่วอนันตริยจักรวาล ขอให้ทุกดวงจิตที่ได้โมทนาบุญนี้จงมีจิตคิดแผ่เมตตาและแผ่ส่วนกุศลของท่านทั้งหลายไปให้ทุกๆดวงจิต ที่เป็นเพื่อนร่วมวัฏสงสารเดียวกันกับท่านตลอดเวลา เพื่อสร้างสันติสุขที่แท้จริงให้เกิดขึ้นแก่ทุกๆดวงจิต ทั่วไตรภพอนันตริยจักรวาลเทอญ:)
     
  17. pat3112

    pat3112 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    373
    ค่าพลัง:
    +2,904
    ผมเองตามธรรม ของพี่คนานันมานาน เเต่ได้อ่านไม่กี่หน้าช่วงเเรก เห็นมีความละเอียดรอบคอบดี มีประโยชน์ความฉลาด(มีภาพพระพุทธเข้ามาในใจ)จะพยายามตามให้หมดถ้ามีโอกาส

    ผมเองตอบโจทของกิเลสไม่ค่อยจะเคลียอาจปฏิบัติไม่เข้มพอ บางทีโดนมันล่อซะเกือบตาย(เราไม่คล่อง)กระจายออกแล้วรวมเข้ารวมเข้ากระจายออก
    เราไม่คล่อง ดื้อ
    เน้นสมถะ ไม่ค่อยคล่องตรงนี้มันดิ่งมาก น้อยบ้าง ตามเเต่ละวันไม่แน่นอน
    ช่วยแนะนำหน่อยครับ
    โมทนาทุกๆท่าน พี่คนานันในสัมมา กายวาจาใจ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 สิงหาคม 2007
  18. เด็กอนุบาล

    เด็กอนุบาล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    689
    ค่าพลัง:
    +4,156
    ขอให้กำลังใจคุณ Pat3112 ครับ

    เด็กอนุบาลขอให้กำลังใจคุณ Pat3112 นะครับที่ตั้งใจปฏิบัติธรรม อ่านดูก็รู้สึกถึงความต่อเนื่องและตั้งใจในการปฏิบัติ ส่วนอื่นๆนอกจากกำลังใจที่มีให้แล้ว เด็กอนุบาลขอแชร์ความรู้สึกว่า มีปัญหาเดียวกับคุณ Pat เลยครับ กิเลสมันอัดเอาอัดเอาอยู่ทุกวัน มีความรู้สึกว่าบางวันเข้าสมาธิได้เร็วมาก บางวันก็แทบทำไม่ได้เลย Y_Y
    ประสบการณ์ที่เจอก็คือ ถ้าวันไหนกินเยอะ คุยมาก ไม่สำรวมกายวาจาใจ หรือลำพองใจว่าเราเอาชนะกิเลสได้ วันนั้น กิเลสมันเล่นตายเลย แต่ถ้าวันไหน พูดคุยน้อย กินแต่พอประมาณ ทำไประหว่างวันด้วยเรื่อยๆ ไม่ลำพองใจ วันนั้นกิเลสมันจะไม่ค่อยเล่นเรา เข้าสมาธิเข้าฌานตอนเวลาปกติก็ได้เร็วดีครับ:) เคยได้รับคำแนะนำจากหลวงพี่เล็กว่าถ้าอยากให้ทำกรรมฐานได้ดี ให้ทรงอารมณ์ระหว่างวันโดยฝึกแบ่งความรู้สึกส่วนนึง(เด็กอนุบาลคิดว่าน่าจะไม่เกิน 20%)จับภาพพระไว้เสมอ ส่วนความรู้สึกส่วนใหญ่ที่เหลือก็ทำงานทำการระหว่างวันไป
    อาจารย์บางท่านก็แนะนำว่าต้องมีวินัย เคยทำเวลาไหน ให้ทำเวลานั้น กรรมฐานจึงจะก้าวหน้า(ปฏิปทาหลวงปู่โต พรหมรังสี)
    ส่วนพี่คณานันท์ เคยอ่านเจอว่าพี่เค้าแนะนำให้อธิษฐานกำกับเวลาที่เข้าฌานได้ดีๆ ขอบารมีพระท่านให้ปฏิบัติได้ถึงอารมณ์นี้ไปตลอด ในครั้งต่อๆไปครับ
    สู้ๆครับ คิดว่าเดี๋ยวพี่คณานันท์คงมาให้ความกระจ่างกับพวกเราครับ :)
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    การบริหารจิตในชีวิตประจำวันตามแนวพุทธ

    ทุก ๆ คนต้องศึกษาหาความรู้จนวาระสุดท้ายของชีวิต เพื่อเพิ่มพูนข้อมูลความรู้และความสามารถไว้ในความจำของตนเอง สำหรับใช้เป็นข้อมูลในการปฏิบัติงานและดำเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพ.

    การศึกษาวิชาการทางโลก มักจะมุ่งเน้นในเรื่องการเพิ่มพูนข้อมูลด้านสติปัญญาทางวิชาการ(ทางโลก)ในความจำ และใช้ข้อมูลดังกล่าวในการประกอบอาชีพ และการดำเนินชีวิต เพื่อให้ได้มาซึ่งปัจจัย ๔ และอื่น ๆ สำหรับดับความทุกข์ทางร่างกายเป็นหลัก.


    การศึกษาวิชาการทางธรรม มุ่งเน้นในเรื่องการเพิ่มพูนข้อมูลด้านสติปัญญาทางธรรมในความจำ และใช้ข้อมูลดังกล่าวในการบริหารจิตของตนเอง โดยการรู้เห็นความคิดและควบคุมความคิดรวมทั้งการกระทำต่าง ๆ เพื่อให้พ้นความทุกข์ทางจิตใจ โดยไม่เบียดเบียนตนเองและหรือผู้อื่น และพัฒนาจิตใจให้เป็นบุคคลที่ประเสริฐ.


    การศึกษาวิชาการทั้งทางโลกและทางธรรมไปพร้อม ๆ กัน รวมทั้งฝึกปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวันไปด้วย จะทำให้ท่านมีประสบการณ์ มีความชำนาญ จนสามารถศึกษา ปฏิบัติงาน และดำเนินชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ ทั้งทางโลกและทางธรรมควบคู่กันไป ซึ่งเป็นชีวิตที่ประเสริฐของท่าน.
    เนื่องจากการการปฏิบัติงานและการดำเนินชีวิตในยุคปัจจุบัน ส่วนใหญ่มักจะมุ่งตรงไปที่การใช้ข้อมูลสติปัญญาทางโลกในความจำเป็นหลัก และมีการใช้ข้อมูลด้านสติปัญญาทางธรรมน้อยลง จึงอาจเป็นเหตุให้การปฏิบัติงานและการดำเนินชีวิตมีกิเลสเจือปนเข้ามาในความคิดและการกระทำ เป็นผลให้การทำงานขาดประสิทธิภาพ ผลงานไม่บริสุทธิ์ ไม่ยุติธรรม และไม่มีคุณค่า ขณะเดียวกัน การดำเนินชีวิตก็มักจะไม่บริสุทธิ์ และอาจมีความทุกข์ทางจิตใจอยู่เสมอ.



    เนื้อหาในบทความนี้ เป็นการแนะนำวิธีปฏิบัติงานและการดำเนินชีวิตโดยใช้ข้อมูลด้านสติปัญญาทางโลก
    และสติปัญญาทางธรรมควบคู่กันไปในชีวิตประจำวัน เพื่อไม่ให้มีกิเลสเจือปนเข้ามาในความคิดและการกระทำต่าง ๆ จึงทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพ มีความบริสุทธิ์ มีความยุติธรรม มีคุณค่า ไม่มีความทุกข์ทางจิตใจ ซึ่งเป็นความสำเร็จของชีวิตทั้งทางโลกรวมทั้งทางธรรมไปพร้อม ๆ กันด้วย.


    ประโยชน์ของการบริหารจิตแนวพุทธ

    การบริหารจิต(จิตใจ)ตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนา เป็นวิชาการทางด้านจิต(จิตใจ)ที่เรียบง่าย ตรงไปตรงมา ทุกคนสามารถพิสูจน์ได้โดยง่าย ไม่เกี่ยวข้องกับความหลงเชื่อ. เมื่อท่านได้ศึกษาและทดลองฝึกปฏิบัติดู จะได้รับผล ภายในวินาทีที่ลงมือฝึกปฏิบัติ คือ จะมีความเบาสบาย สงบ ไม่มีความทุกข์ภายในจิตใจ และจิตใจบริสุทธิ์ผ่องใส โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ เพราะเป็นเรื่องของการใช้สติปัญญาของตนเอง.

    ความทุกข์ทางจิตใจของท่านที่น่าจะพบได้บ่อยเมื่อเกิด "ความเกินความพอเหมาะพอควร(นอกทางสายกลาง)" ในเรื่องต่าง ๆ เช่น ความวิตกกังวล ความเครียด ความเหนื่อยอ่อน การพักผ่อนไม่เพียงพอ ปัญหาสุขภาพ การเจ็บป่วย การเดินทาง ค่าใช้จ่าย ความอยากได้ อยากมี อยากเป็น ความรัก ความหลงเชื่อ ความไม่อยากได้ ไม่อยากมี ไม่อยากเป็น ความโกรธ ความไม่เท่าเทียม ความเซง ความเบื่อหน่าย ความท้อแท้ ความพ่ายแพ้ ความไม่สมหวัง ความเสียใจ ความไม่สบายใจที่เกินความพอเหมาะพอควร เป็นต้น. ความทุกข์ทางจิตใจที่เกิดจากความเกินพอดีในเรื่องต่าง ๆ ดังกล่าว สามารถป้องกันและดับได้โดยง่าย ด้วยการปฏิบัติธรรมหรือบริหารจิตอย่างง่าย ๆ


    ในชีวิตประจำวัน.
    ในชีวิตประจำวัน การมีสติในการใช้ข้อมูลด้านสติปัญญาทางธรรมในความจำ ทำการรู้เห็นและควบคุมความคิดให้เป็นไปตามหลักธรรม จึงมีประโยชน์อย่างมากมายต่อท่าน ทั้งด้านการปฏิบัติงานและการดำเนินชีวิตอย่างเป็นรูปธรรม ดังนี้ :-
    ประโยชน์ด้านการปฏิบัติงาน

    การจะบริหารจิตใจของตนเองได้ดีนั้น ต้องศึกษาเรื่องสติและฝึกเจริญสติเป็นประจำ จึงจะทำให้ท่านมีสติตั้งมั่น(มีความตั้งใจแน่วแน่)ในการปฏิบัติงาน ไม่เผลอสติ ไม่คิดฟุ้งซ่าน ไม่คิดและทำกิจอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการงาน จึงทำให้มีการคิด พิจารณา ทำความเข้าใจ จดจำ แก้ปัญหา วางแผนต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี เป็นเหตุให้ผลของการปฏิบัติงานดีขึ้น ตามกำลังความสามารถของข้อมูลด้านสติปัญญาทางโลกและข้อมูลด้านสติปัญญาทางธรรมที่มีอยู่ในความจำขณะนั้น.
    ถ้าไม่มีสติในการทำงาน หรือมีสติน้อย ความคิดฟุ้งซ่านก็มักจะมากขึ้น รวมทั้งมีการใช้เวลาไปคิดและทำเรื่องอื่นบ่อยขึ้น ทำให้ความสามารถของสมองในการคิดพิจารณา การจดจำ และการปฏิบัติงานลดลง ขาดประสิทธิภาพในการทำงาน และผลของการปฏิบัติงานก็จะต่ำลงด้วย.

    การฝึกบริหารจิตโดยการพยายามมีสติอยู่ตลอดเวลาในการปฏิบัติงาน จะทำให้สมองของท่านมีข้อมูลด้านสติมากขึ้น พอนานเข้า สติในการปฏิบัติงานก็จะมีมากขึ้น ความฟุ้งซ่านก็จะลดลง เป็นผลให้เกิดการพัฒนาความสามารถของการมีสติในการปฏิบัติงานดีขึ้นตามลำดับ และผลของการปฏิบัติงานก็จะดีขึ้นด้วย.
    เมื่อท่านมีสติมากขึ้น มีข้อมูลสติปัญญาทางวิชาการมากขึ้น การปฏิบัติงานในเวลาต่อมาจะง่ายขึ้น เพราะสามารถใช้ข้อมูลในความจำมาประกอบการพิจารณาและการปฏิบัติงานได้มากขึ้น เป็นผลให้ความทุกข์ต่าง ๆ ในเรื่องของการปฏิบัติงานและเรื่องที่เกี่ยวข้องลดลง.
    การจะบริหารจิตได้ดีขึ้นนั้น ต้องเพิ่มพูนข้อมูลด้านสติปัญญาทางธรรมอย่างง่าย ๆและมีคุณค่าไว้ในความจำ พร้อมทั้งมีสติในการใช้ข้อมูลดังกล่าวในการดำเนินชีวิต จะทำให้ท่านมีสติในการรู้ดีรู้ชั่ว รู้ถูกรู้ผิด รู้ว่าอะไรควรคิดและควรทำ รู้ว่าอะไรไม่ควรคิดและไม่ควรทำ. ถ้าท่านมีสติในการไม่คิดชั่ว(ไม่คิดอกุศล)และไม่ทำชั่ว คงมุ่งแต่การคิดดี(คิดแต่กุศล)และทำแต่ความดี จะเป็นผลให้ท่านมุ่งหน้าไปในด้านของการปฏิบัติงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบ แทนที่จะเสียเวลาไปกับการคิดฟุ้งซ่าน การคิดและทำกิจที่เป็นอกุศล ซึ่งเป็นผลร้ายต่อการปฏิบัติงานโดยตรง.


    ประโยชน์ด้านการดำเนินชีวิต

    การบริหารจิตของตนเอง จะเป็นผลดีต่อจิตใจดังต่อไปนี้ :-



    ๑. ส่งเสริมสุขภาพจิตให้มีความเข้มแข็ง และอดทนต่อปัญหาและความยากลำบากต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ทุกเมื่อในขณะดำเนินชีวิต รวมทั้งในยามเจ็บป่วย โดยไม่มีความทุกข์ทางจิตใจ เช่นเดียวกันกับการมีสุขภาพกายที่ดี ทำให้สามารถต่อสู้กับภาระกิจทางกาย และโรคภัยต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี.



    ๒. ป้องกันความทุกข์ทางจิตใจ เพราะเมื่อสมองมีข้อมูลด้านสติปัญญาทางธรรมในความจำ สมองก็จะทำหน้าที่ในการใช้ข้อมูลดังกล่าว เพื่อการป้องกันไม่ให้เกิดความทุกข์ทางจิตใจคล้ายอัตโนมัติ ถ้ามีการศึกษาและฝึกฝนจนชำนาญ เช่นเดียวกันกับการที่สมองมีข้อมูลด้านสติปัญญาทางโลกในเรื่องการป้องกันการบาดเจ็บของร่างกาย ซึ่งสมองก็จะทำหน้าที่ได้เองคล้ายอัตโนมัติ ถ้าได้ศึกษาและฝึกซ้อมมาก่อน.


    ๓.รักษาความทุกข์ทางจิตใจ เพราะเมื่อสมองมีข้อมูลด้านสติปัญญาทางธรรมในความจำ สมองก็จะสามารถทำหน้าที่ในการใช้ข้อมูลดังกล่าว เพื่อการรักษาความทุกข์ทางจิตใจที่กำลังมีอยู่ได้ทุกขณะที่ต้องการ เช่นเดียวกันกับการที่สมองมีข้อมูลด้านสติปัญญาทางโลกและใช้ข้อมูลดังกล่าวในการรักษา
    ความทุกข์ทางกายที่เกิดขึ้นเมื่อต้องการรักษา ซึ่งเป็นการพึ่งพาข้อมูลสติปัญญาของตนเอง.



    ๔. ฟื้นฟูจิตใจภายหลังการเจ็บป่วยและหลังจากมีความทุกข์ เพราะเมื่อสมองมีข้อมูลด้านสติปัญญาทางธรรมในความจำ สมองก็จะทำหน้าที่ในการใช้ข้อมูลดังกล่าว เพื่อทำการฟื้นฟูจิตใจได้อย่างรวดเร็วตามเจตนาของเจ้าของ.
    สมองทำงานตามที่ท่านมีเจตนา



    ในการทำกิจต่าง ๆ จะสังเกตว่า สมองจะทำหน้าที่ในการคิดและในการทำกิจต่าง ๆ ตามที่มีเจตนา เช่น เมื่อเกิดมีเจตนาว่า จะเดินไปที่ใดที่หนึ่ง สมองก็จะทำหน้าที่ในการควบคุมให้มีการเดินไปยังที่นั้น ซึ่งเป็นการแสดงว่า สมองจะตอบสนองต่อความคิดที่เป็นเจตนาเสมอ.
    ความเจตนาจึงมีอิทธิพลมาก เช่น บางคนคิดฆ่าตัวตาย ต่อมามีเจตนาฆ่าตัวตาย ร่างกายก็ยังต้องตอบสนองความเจตนานั้นได้.

    เมื่อรู้ชัดว่า สมองทำงานเช่นนี้เอง จึงเป็นเรื่องง่ายที่จะฝึกควบคุมความคิดและการกระทำต่าง ๆ โดยการการตั้งเจตนา ตั้งใจ(มีสติ) และมีความเพียรฝึกปฏิบัติธรรมตามที่ได้ตั้งเจตนาไว้.
    ในช่วงเริ่มฝึกการมีสติทางธรรม สมองยังไม่มีข้อมูลด้านนี้มาก่อน จึงมักมีสติไม่ต่อเนื่องนัก ทำให้มีการเผลอสติบ้าง คิดฟุ้งซ่านบ้าง คิดและทำเรื่องอื่น ๆ บ้าง.
    เมื่อมีความเพียรในการฝึกฝนตนเองอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำ ไม่นานนัก ก็จะเกิดความชำนาญ นั่นคือสมองทำหน้าที่ในเรื่องของสติทางธรรมได้ดี สามารถทำตามเจตนาได้นานขึ้น และทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น.
    การบริหารจิตเป็นเรื่องง่าย

    เรื่องการบริหารจิตมีเนื้อหาน้อยมาก ใช้เวลาศึกษาเพียงนิดเดียวก็สามารถเข้าใจเนื้อหาได้โดยง่าย ไม่ต้องเสียเวลาในการฝึกฝนเป็นพิเศษ ไม่ต้องการสถานที่ ไม่ต้องกลัวเสียสติ และทุกท่านสามารถฝึกฝนตนเองในชีวิตประจำวันได้โดยง่าย ขอเพียงให้ดำเนินการตามแนวทางง่าย ๆ ดังนี้ :-


    ในด้านการปฏิบัติงาน

    ๑. มีเจตนาว่า จะฝึกมีสติ(มีความตั้งใจ)ในการปฏิบัติงานอย่างจริงจัง เช่น ขณะปฏิบัติงานต่าง ๆ จะไม่เผลอสติ ไม่ไปคิดฟุ้งซ่าน ไม่คิดและไม่ทำเรื่องอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน.

    ๒. มีความเพียรในการฝึกฝนตนเองในการมีสติรู้เห็นและควบคุมความคิดรวมทั้งการกระทำต่าง ๆ ให้อยู่กับเรื่องการปฏิบัติงานตลอดเวลา.
    เมื่อท่านตั้งใจลงมือฝึกปฏิบัติตามเจตนาที่ได้กล่าวแล้วเป็นประจำด้วยความเพียร ก็จะทำให้เกิดความชำนาญมากขึ้น จนสามารถรู้เห็นความคิดและควบคุมความคิดรวมทั้งการกระทำต่าง ๆ ให้อยู่กับกิจที่ท่านเจตนากระทำอยู่ได้คล้ายอัตโนมัติ.


    ในด้านการดำเนินชีวิต

    ท่านควรฝึกตั้งเจตนาว่า "เราจะไม่คิดอกุศลและไม่ทำอกุศล แต่จะคิดกุศลและทำกุศลโดยไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ ด้วยความโลภ และรักษาจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใสอยู่เสมอ" พร้อมทั้งมีสติคอยรู้เห็นว่า ความคิดและการกระทำต่าง ๆ เป็นไปตามเจตนาหรือไม่ ถ้าเมื่อใดรู้เห็นว่า ไม่เป็นไปตามเจตนาที่ตั้งเอาไว้ ก็ให้มีสติหยุดความคิดและการกระทำนั้น ๆ ทันที เป็นผลให้จิตใจและการกระทำต่าง ๆ กลับมามีความบริสุทธิ์ทันที. เจตนาหรือหลักธรรมดังกล่าว เป็นสรุปหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า เรียกว่า "โอวาทปาฏิโมกข์".
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    หลักการสำคัญในการบริหารจิตนั้นง่าย
    หลักการสำคัญในการบริหารจิตนั้นง่าย คือ จะต้องศึกษาธรรมสั้น ๆ ง่าย ๆ แต่ตรงประเด็น และต้องฝึกปฏิบัติธรรมอยู่เสมอ เพื่อให้เกิดความชำนาญในการรู้เห็นความคิดและควบคุมความคิด ให้เป็นไปตามหลักธรรมอยู่ตลอดเวลา ซึ่งมีองค์ประกอบโดยย่อ ดังนี้ :-
    ๑.มีสติปัญญาเห็นชอบว่า การบริหารจิตมีประโยชน์โดยตรงต่อการปฏิบัติงานและดำเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพ. การเห็นชอบเช่นนี้ จะทำให้เกิดศรัทธาที่จะศึกษาธรรมและฝึกปฏิบัติธรรม เพื่อการบริหารจิตใจของตนเองอย่างจริงจัง.


    ๒.มีสติจดจำหลักธรรมง่าย ๆ และทบทวนบ่อย ๆ ว่า "เราจะไม่คิดอกุศลและไม่ทำอกุศล แต่จะคิดกุศลและทำกุศลโดยไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ ด้วยความโลภ และรักษาจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใสอยู่เสมอ". หลักธรรมดังกล่าวไม่มีการสงวนลิขสิทธิ์ ทุกชาติ ทุกศาสนา ทุกเพศ ทุกวัย ทุกอาชีพก็นำไปใช้ได้หมด.


    ๓. มีความเพียรที่จะมีสติ(ตั้งใจ)ในการรู้เห็นความคิดและการกระทำต่าง ๆ. ทันทีที่รู้เห็นความคิดหรือการกระทำต่าง ๆ ไม่เป็นตามหลักธรรม(ในข้อ ๒) ก็ให้หยุความคิดและการกระทำนั้น ๆ ทันที. เมื่อฝึกทำเช่นนี้เป็นประจำ อีกไม่นานนัก สมองก็จะทำหน้าที่ได้เองคล้ายอัตโนมัติ.
    หลักการตามข้อที่ ๑ คือการสร้างศรัทธาและเจตนาที่ถูกต้อง หลักการตามข้อที่ ๒ คือจดจำข้อมูลหลักธรรม หลักการตามข้อที่ ๓ คือ มีสติและมีความเพียรในการดำเนินชีวิตตามหลักธรรม.


    วิธีการในการบริหารจิตนั้นง่าย
    การบริหารจิตอย่างถูกวิธีเป็นเรื่องง่ายนิดเดียว ไม่ต้องมีพิธีการ ไม่ต้องมีขั้นตอน เพราะเป็นเรื่องตรงไปตรงมา ขอแต่เพียงให้ท่านเห็นคุณค่า(มีศรัทธา)อย่างจริงใจ แล้วมีความเจตนา ความตั้งใจ และมีความเพียรอย่างจริงจังที่จะทำให้เกิดผลตามที่ได้ตั้งเจตนาเอาไว้ ในทันทีที่ลงมือปฏิบัติ.
    วิธีฝึกบริหารจิตในด้านการปฏิบัติงานทำได้โดยง่าย กล่าวคือ ในขณะปฏิบัติงานอยู่นั้น ให้ท่านฝึกตั้งเจตนาและทบทวนเจตนาว่า จะฝึกมีความตั้งใจ และฝึกมีความเพียรที่จะมีสติอย่างต่อเนื่องในการรู้เห็นความคิดและควบคุมความคิด ให้มีการคิดและพิจารณาเนื้อหาของงานด้วยความตั้งใจ ไม่เผลอสติ ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่คิดและทำเรื่องอื่นใด ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน.
    เมื่อฝึกไปนานเข้า ท่านก็จะมีความชำนาญมากขึ้น จนสมองสามารถทำหน้าที่ตามเจตนาได้เองคล้ายอัตโนมัติ.


    วิธีฝึกบริหารจิตในด้านการดำเนินชีวิต คือ ในขณะดำเนินชีวิตประจำวัน ให้ฝึกตั้งเจตนาว่า จะมีความตั้งใจ และมีความเพียรที่จะมีสติอย่างต่อเนื่องในการควบคุมความคิดและการกระทำต่าง ๆ ให้เป็นไปตามหลักธรรมง่าย ๆ ที่ได้กล่าวถึงแล้ว.
    ในทันทีที่ท่านรู้เห็นว่า ความคิดหรือการกระทำต่าง ๆ ที่ไม่ตรงตามหลักธรรม ก็ให้หยุดความคิดและการกระทำนั้น ๆ ทันที ขณะเดียวกัน อย่างปล่อยให้มีความคิดฟุ้งซ่านเกิดขึ้นบ่อยหรือนาน เพราะอาจเกิดความคิดฟุ้งซ่านที่เป็นอกุศลและทำอกุศลได้โดยไม่รู้ตัว เนื่องจากขณะเผลอสติไปคิดอยู่นั้น มักจะไม่สามารถควบคุมความคิดให้เป็นไปตามเจตนาที่ตั้งไว้ได้.


    ความคิดเป็นหัวหน้าของการกระทำต่าง ๆ
    ตามธรรมชาติ ความคิดจะเป็นหัวหน้าของการกระทำต่าง ๆ ทางกาย วาจา ใจ เช่น เมื่อใดคิดดี การกระทำทางกาย วาจา ใจ ย่อมดีไปด้วย และความสุขสงบก็จะติดตามมา. เมื่อใดคิดชั่วการกระทำทางกาย วาจา ใจ ย่อมชั่วไปด้วย และความทุกข์ก็จะติดตามมา ซึ่งตรงกับคำที่ว่า ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว การกระทำต่าง ๆ จะดีหรือชั่วนั้น เกิดจากใจ(ความคิด คือ องค์ประกอบของใจที่เป็นหัวหน้าของการกระทำต่าง ๆ ).
    การมีเจตนาใช้เวลาในการปฏิบัติไปทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ถ้าไม่มีการคิดเสียก่อน. ความคิดจึงมีอำนาจสูงสุดต่อการกระทำต่าง ๆ โดยตรง แม้กระทั่งการคิดฆ่าและมีเจตนาสั่งฆ่าผู้ที่มีความคิดเห็นต่างลัทธิกับตนเป็นจำนวนแสนหรือเป็นล้านคนก็ยังสามารถทำได้.


    เมื่อมีเจตนารู้เห็นความคิดก็จะสามารถรู้เห็นความคิด
    ในชีวิตประจำวัน ท่านอาจจะไม่ได้สังเกตว่า การกระทำต่าง ๆ ทางกาย วาจา ใจนั้น เกิดจากความคิด เพราะไม่ได้มีเจตนารู้เห็นความคิดมาก่อน. ถ้าเป็นการคิดเรื่องที่ทำอยู่เป็นประจำและง่าย ๆ ความคิดจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วคล้ายอัตโนมัติ เนื่องจากสมองทำงานด้วยความชำนาญ เช่น การทำกิจวัตรประจำวันได้แก่ การเดิน การเข้าห้องน้ำ การรับประทานอาหาร เป็นต้น.
    ถ้าเป็นเรื่องที่ไม่เคยคิดและไม่เคยทำมาก่อน หรือเป็นเรื่องยาก สมองจะต้องใช้เวลาในการคิด เช่น การแก้เครื่องใช้ต่าง การเดินทางไปในที่ที่ยังไม่เคยไป การทำงานเรื่องยาก ๆ เป็นต้น.
    วิธีการที่จะรู้เห็นความคิดนั้นง่ายนิดเดียว เพียงแต่ตั้งเจตนาว่า จะรู้เห็นความคิด พร้อมกับตั้งใจรู้เห็นความคิดอย่างจริงจังในขณะคิด ก็จะรู้เห็นความคิดที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เพราะสมองทำหน้าที่ตามที่มีเจตนา. การระลึกว่า เมื่อกี้คิดอะไร ก็จะรู้เห็นความคิดที่สมองได้จดจำเอาไว้ ซึ่งเป็นวิธีการง่าย ๆ สำหรับการศึกษาเรื่องการรู้เห็นความคิดที่เกิดขึ้นทั้งในอดีตและปัจจุบันที่กำลังเกิดขึ้นได้ด้วย.


    การรู้เห็นความคิดจึงจะทำให้สามารถบริหาร(กำกับและควบคุม)ความคิดได้
    การที่จะควบคุมความคิดรวมทั้งการกระทำต่าง ๆ ทางกาย วาจา ใจ ให้เป็นไปตามหลักธรรม ได้นั้น ก็ต่อเมื่อสามารถรู้เห็นความคิด เพราะความคิดเป็นที่เริ่มต้นของการกระทำต่าง ๆ. ดังนั้น เมื่อรู้เห็นและรู้ทันความคิดนั้น ๆ ว่า กำลังมีการคิดอกุศล ก็ให้หยุดความคิดนั้น ๆ เสียทันที เช่น มีเจตนาอย่างจริงจังว่า จะไม่คิดโดดร่มเพราะเป็นอกุศล ครั้นเมื่อมีการคิดว่า จะโดดร่มเมื่อนั้นเมื่อนี้ ก็จะรู้เห็นและรู้ทันความคิดนั้นได้ในขณะที่มีสติ พร้อมทั้งมีสติหยุดความคิดนั้น ๆ ทันที การโดดร่มก็จะไม่เกิดขึ้น. ในทำนองเดียวกัน การคิดอกุศลต่าง ๆ ต่อทางราชการ ต่อผู้บังคับบัญชา ต่อผู้ร่วมงาน ต่อผู้มาติดต่องาน ต่อผู้รับบริการ การประจบสอพลอ การผิดศีล ๕ การเบียดบังราชการ รวมทั้งการโกงกินตามน้ำและทวนน้ำ ก็จะไม่เกิดขึ้น.
    ถ้าไม่สามารถรู้เห็นและรู้ทันความคิด ก็จะไม่สามารถควบคุมความคิดให้เป็นไปตามหลักธรรมได้.
    ดังนั้น การจะบริหารจิต จึงเน้นที่การใช้ข้อมูลด้านสติปัญญาทางธรรมในความจำ ทำการรู้เห็นความคิดและควบคุมความคิดรวมทั้งการกระทำต่าง ๆ ให้เป็นไปตามหลักธรรมอย่างต่อเนื่องในชีวิตประจำวัน และเมื่อใดที่ความคิดหรือการกระทำเป็นอกุศล ไม่ตรงกับหลักธรรม ก็ให้มีสติหยุดความคิดนั้น ๆ เสีย ภายในวินาทีนั้นเลย เพื่อความไม่ประมาท.
    การควบคุมความคิดให้เป็นไปตามหลักธรรมเป็นประจำ จะทำให้ข้อมูลด้านสติปัญญาทางธรรมในความจำมีมากขึ้นตามลำดับ จนกลายเป็นนิสัย. ขณะเดียวกัน เมื่อมีการคิดและการกระทำต่าง ๆ เป็นไปตามหลักธรรมอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลความจำด้านอกุศล(กิเลส)ที่จดจำไว้จะค่อยลดลงไป เพราะข้อมูลด้านอกุศลในความจำที่ไม่ได้ใช้งาน หรือไม่ได้ทบทวนอยู่เสมอย่อมจะลดลงไปเรื่อย ๆ เนื่องจากธรรมชาติของสมองเป็นเช่นนั้นเอง. ยิ่งมีข้อมูลด้านอกุศลในความจำลดน้อยลง โอกาสที่จะคิดด้วยข้อมูลด้านอกุศลย่อมลดน้อยลงไปด้วย.


    เมื่อไม่คิดอกุศล จิตใจย่อมบริสุทธิ์ผ่องใส
    ตามธรรมชาติ ขณะที่สมองของท่านไม่ได้คิดด้วยข้อมูลด้านอกุศลอยู่นั้น จิตใจของท่านย่อมบริสุทธิ์ พร้อมทั้งมีความเบาสบาย(ปีติ) และมีความสุขสงบ(ปัสสัทธิ)จากการไม่มีความทุกข์.
    การคิดแต่กุศลจะทำให้จิตใจของท่านผ่องใส(ปราโมทย์)
    การไม่คิดและไม่ทำอกุศล แต่คิดและทำกุศลให้ถึงพร้อมโดยไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ ด้วยความโลภ ย่อมทำให้จิตใจมีความบริสุทธิ์ผ่องใส ซึ่งเป็นความจริงที่ท่านสามารถพิสูจน์ได้ทุกเมื่อ.
    ในขณะที่ร่างกายไม่ได้เจ็บป่วย แต่จิตใจของกลับมีอาการขุ่นมัวหรือไม่บริสุทธิ์ผ่องใส มักจะมีสาเหตุที่สืบเนื่องมาจากขณะนั้นกำลังมีความคิดที่เจือปนด้วยข้อมูลด้านอกุศลนั่นเอง.


    ความอยากและความไม่อยากที่มีความพอเหมาะพอควรไม่ทำให้เกิดความทุกข์
    ตามธรรมชาติของมนุษย์ จะต้องมีความรู้สึกอยากและไม่อยากติดตัวมาตั้งแต่เกิด. ความอยากและไม่อยากจะผลักดันให้มนุษย์ดำเนินชีวิตอยู่ได้ยาวนานและปลอดภัย เช่น การอยากรับประทานอาหาร การอยากพักผ่อน การอยากมีชีวิตอยู่ การอยากมีความปลอดภัย การอยากช่วยผู้อื่นให้พ้นทุกข์ การไม่อยากอดอยาก การไม่อยากเหนื่อย การไม่อยากเจ็บป่วย การไม่อยากตายก่อนกำหนดเวลา การไม่อยากได้รับอันตราย เป็นต้น.
    ความอยากและความไม่อยากที่พอเหมาะและพอควรจึงเป็นเรื่องปกติ และเป็นเรื่องที่ถูกต้องตามธรรมชาติของมนุษย์. ดังนั้น ความอยากและไม่อยากย่อมทำให้มีความทุกข์ทางจิตใจบ้างเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติ เป็นวิสัยที่มนุษย์ควรมี และไม่จำเป็นต้องใช้หลักธรรมในการดับความทุกข์ประเภทนี้ เช่นเดียวกับความทุกข์เล็ก ๆ น้อย ๆ ทางร่างกายในชีวิตประจำวันของคนปกติ ที่เกิดขึ้นขณะหิวอาหาร ขณะปวดปัสสาวะ ขณะปวดอุจจาระนั้น ไม่จำเป็นที่จะต้องบำบัดรักษาแต่ประการใด ถ้าไม่ก่อปัญหารุนแรง.
    ความอยากมากจนเกินความพอเหมาะพอควร ที่จะให้เป็นไปตามที่ตัวอยากและไม่อยากจึงเรียกว่า ความทะยานอยาก(ตัณหา). เมื่อเกิดความคิดที่เป็นตัณหา(คิดอกุศล) ความทุกข์ที่มากกว่าระดับปกติก็จะเกิดตามมาด้วย. การจะดับทุกข์ได้นั้น ต้องดับที่หัวหน้า คือดับหรือหยุดความคิดที่เป็นอกุศลเสีย ตัณหาก็จะดับไปทันที. ตัณหาก็คือความทะยานอยากที่จะให้เป็นไปตามความโลภ ความโกรธนั่นเอง.
     

แชร์หน้านี้

Loading...