ลำนำเพลงรักของนักกลอน

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย ติงติง, 8 กุมภาพันธ์ 2012.

  1. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    บารมีคืออะไร

    บารมี ๓o ทัศ

    บารมี หมายถึง การกระทำที่ประเสริฐ การกระทำที่ประกอบด้วยกุ<WBR style="WIDOWS: 2; TEXT-TRANSFORM: none; BACKGROUND-COLOR: rgb(255,255,255); TEXT-INDENT: 0px; LETTER-SPACING: normal; FONT: 14px arial, sans-serif; WHITE-SPACE: normal; ORPHANS: 2; COLOR: rgb(34,34,34); WORD-SPACING: 0px; -webkit-text-size-adjust: auto; -webkit-text-stroke-width: 0px">ศลเจตนาคุณงามความดีที่ควรกระทำ คุณงามความดีที่ได้บำเพ็ญมา คุณสมบัติที่ทำให้ยิ่งใหญ่ เป็นธรรมส่วนหนึ่งที่สำคัญ ซึ่งช่วย เหลือเกื้อกูลให้ผู้ปฏิบัติได้<WBR style="WIDOWS: 2; TEXT-TRANSFORM: none; BACKGROUND-COLOR: rgb(255,255,255); TEXT-INDENT: 0px; LETTER-SPACING: normal; FONT: 14px arial, sans-serif; WHITE-SPACE: normal; ORPHANS: 2; COLOR: rgb(34,34,34); WORD-SPACING: 0px; -webkit-text-size-adjust: auto; -webkit-text-stroke-width: 0px">ถึงซึ่งโพธิญาณ
    บารมีที่พระโพธิสัตว์บำเพ็ญ คือ

    ทานบารมี หมายถึง การสละออก การให้ต่างๆ
    ศีลบารมี หมายถึง การรักษาศีลให้เป็นปกติ ถ้าเป็นฆราวาสก็ถือศีล 5 ถ้าเป็นนักบวชก็ถือศีล 8 ขึ้นไป
    เนกขัมมะบารมี หมายถึง การออกบวช (หากฆราวาสถือศีล๘ ก็นับเป็นเนกขัมบารมีได้เช่นกัน เพราะเป็นการกระทำเพื่อละกาม)
    ปัญญาบารมี หมายถึง การกระทำเพื่อเพิ่มปัญญา
    วิริยะบารมี หมายถึง การกระทำที่ใช้ความเพียรเป็นที่<WBR style="WIDOWS: 2; TEXT-TRANSFORM: none; BACKGROUND-COLOR: rgb(255,255,255); TEXT-INDENT: 0px; LETTER-SPACING: normal; FONT: 14px arial, sans-serif; WHITE-SPACE: normal; ORPHANS: 2; COLOR: rgb(34,34,34); WORD-SPACING: 0px; -webkit-text-size-adjust: auto; -webkit-text-stroke-width: 0px">ตั้ง สัมมัปปธานหรือความเพียรที่ถู<WBR style="WIDOWS: 2; TEXT-TRANSFORM: none; BACKGROUND-COLOR: rgb(255,255,255); TEXT-INDENT: 0px; LETTER-SPACING: normal; FONT: 14px arial, sans-serif; WHITE-SPACE: normal; ORPHANS: 2; COLOR: rgb(34,34,34); WORD-SPACING: 0px; -webkit-text-size-adjust: auto; -webkit-text-stroke-width: 0px">กต้อง มี 4 อย่างคือ
    สังวรปธาน เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้น
    ปหานปธาน เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว
    ภาวนาปธาน เพียรทำบุญให้เกิดขึ้น
    อนุรักขนาปธาน เพียรรักษาการทำบุญไว้ต่อเนื่อง
    ขันติบารมี หมายถึง การอดทนอดกลั้นต่อสิ่งต่างๆ
    สัจจะบารมี หมายถึง การรักษาคำพูด ไม่กลับกลอก แม้ว่าจะต้องสละบางสิ่งเพื่อรั<WBR style="WIDOWS: 2; TEXT-TRANSFORM: none; BACKGROUND-COLOR: rgb(255,255,255); TEXT-INDENT: 0px; LETTER-SPACING: normal; FONT: 14px arial, sans-serif; WHITE-SPACE: normal; ORPHANS: 2; COLOR: rgb(34,34,34); WORD-SPACING: 0px; -webkit-text-size-adjust: auto; -webkit-text-stroke-width: 0px">กษาคำพูดไว้
    อธิษฐานบารมี หมายถึง การตั้งมั่นในปรารถนา ตั้งจิตมั่นต่อคำอธิษฐาน
    เมตตาบารมี หมายถึง มีความรักต่อสัตว์ทั้<WBR style="WIDOWS: 2; TEXT-TRANSFORM: none; BACKGROUND-COLOR: rgb(255,255,255); TEXT-INDENT: 0px; LETTER-SPACING: normal; FONT: 14px arial, sans-serif; WHITE-SPACE: normal; ORPHANS: 2; COLOR: rgb(34,34,34); WORD-SPACING: 0px; -webkit-text-size-adjust: auto; -webkit-text-stroke-width: 0px">งหลายในโลกอย่างเท่าเทียม ประดุจมารดารักบุตร
    อุเบกขาบารมี หมายถึง การวางเฉย การปล่อยวางในสิ่งที่ผิดพลาด ในสิ่งที่แก้ไขไม่ได้ วางเฉยในความทุกข์ของตน

    ซึ่งในแต่ละบารมีนั้นแบ่งย่<WBR style="WIDOWS: 2; TEXT-TRANSFORM: none; BACKGROUND-COLOR: rgb(255,255,255); TEXT-INDENT: 0px; LETTER-SPACING: normal; FONT: 14px arial, sans-serif; WHITE-SPACE: normal; ORPHANS: 2; COLOR: rgb(34,34,34); WORD-SPACING: 0px; -webkit-text-size-adjust: auto; -webkit-text-stroke-width: 0px">อยเป็น 3 ขั้น ได้แก่

    บารมีขั้นต้น คือ เนื่องด้วยวัตถุ และทรัพย์นอกกาย เช่น การสละทรัพย์ช่วยผู้อื่น จัดเป็น ทานบารมี รักษาศีลแม้ว่าจะต้องสูญเสียทรั<WBR style="WIDOWS: 2; TEXT-TRANSFORM: none; BACKGROUND-COLOR: rgb(255,255,255); TEXT-INDENT: 0px; LETTER-SPACING: normal; FONT: 14px arial, sans-serif; WHITE-SPACE: normal; ORPHANS: 2; COLOR: rgb(34,34,34); WORD-SPACING: 0px; -webkit-text-size-adjust: auto; -webkit-text-stroke-width: 0px">พย์สินเงินทอง จัดเป็น ศีลบารมี หรือ ยอมถือบวชโดยไม่อาลัยในทรัพย์สิ<WBR style="WIDOWS: 2; TEXT-TRANSFORM: none; BACKGROUND-COLOR: rgb(255,255,255); TEXT-INDENT: 0px; LETTER-SPACING: normal; FONT: 14px arial, sans-serif; WHITE-SPACE: normal; ORPHANS: 2; COLOR: rgb(34,34,34); WORD-SPACING: 0px; -webkit-text-size-adjust: auto; -webkit-text-stroke-width: 0px">น จัดเป็น เนกขัมบารมี เป็นต้น

    บารมีขั้นกลางหรืออุปบารมี คือ เนื่องด้วยเลือดเนื้อ อวัยวะ เช่น การสละเลือดเนื้ออวัยวะแก่ผู้อื<WBR style="WIDOWS: 2; TEXT-TRANSFORM: none; BACKGROUND-COLOR: rgb(255,255,255); TEXT-INDENT: 0px; LETTER-SPACING: normal; FONT: 14px arial, sans-serif; WHITE-SPACE: normal; ORPHANS: 2; COLOR: rgb(34,34,34); WORD-SPACING: 0px; -webkit-text-size-adjust: auto; -webkit-text-stroke-width: 0px">่น จัดเป็น ทานอุปบารมี การใช้ปัญญารักษาอวัยวะเลือดเนื<WBR style="WIDOWS: 2; TEXT-TRANSFORM: none; BACKGROUND-COLOR: rgb(255,255,255); TEXT-INDENT: 0px; LETTER-SPACING: normal; FONT: 14px arial, sans-serif; WHITE-SPACE: normal; ORPHANS: 2; COLOR: rgb(34,34,34); WORD-SPACING: 0px; -webkit-text-size-adjust: auto; -webkit-text-stroke-width: 0px">้อของผู้อื่น จัดเป็น ปัญญาอุปบารมี การมีความเพียรจนไม่อาลัยในเลื<WBR style="WIDOWS: 2; TEXT-TRANSFORM: none; BACKGROUND-COLOR: rgb(255,255,255); TEXT-INDENT: 0px; LETTER-SPACING: normal; FONT: 14px arial, sans-serif; WHITE-SPACE: normal; ORPHANS: 2; COLOR: rgb(34,34,34); WORD-SPACING: 0px; -webkit-text-size-adjust: auto; -webkit-text-stroke-width: 0px">อดเนื้อหรืออวัยวะ จัดเป็น วิริยะอุปบารมี มีเมตตาต่อผู้ที่จะมาทำร้ายเลื<WBR style="WIDOWS: 2; TEXT-TRANSFORM: none; BACKGROUND-COLOR: rgb(255,255,255); TEXT-INDENT: 0px; LETTER-SPACING: normal; FONT: 14px arial, sans-serif; WHITE-SPACE: normal; ORPHANS: 2; COLOR: rgb(34,34,34); WORD-SPACING: 0px; -webkit-text-size-adjust: auto; -webkit-text-stroke-width: 0px">อดเนื้ออวัยวะของตน จัดเป็น เมตตาอุปบารมี หรือ มีความอดทนอดกลั้นต่อผู้ที่<WBR style="WIDOWS: 2; TEXT-TRANSFORM: none; BACKGROUND-COLOR: rgb(255,255,255); TEXT-INDENT: 0px; LETTER-SPACING: normal; FONT: 14px arial, sans-serif; WHITE-SPACE: normal; ORPHANS: 2; COLOR: rgb(34,34,34); WORD-SPACING: 0px; -webkit-text-size-adjust: auto; -webkit-text-stroke-width: 0px">จะมาทำลายอวัยวะของตน จัดเป็น ขันติอุปบารมี เป็นต้น

    บารมีขั้นสูงสุดหรือปรมัตถบารมี คือ เนื้องด้วยชีวิต เช่น การสละชีวิตเป็นทานแก่ผู้อื่น จัดเป็น ทานปรมัตถบารมี ยอมสละแม้ชีวิตเพื่อจะรักษาคำพู<WBR style="WIDOWS: 2; TEXT-TRANSFORM: none; BACKGROUND-COLOR: rgb(255,255,255); TEXT-INDENT: 0px; LETTER-SPACING: normal; FONT: 14px arial, sans-serif; WHITE-SPACE: normal; ORPHANS: 2; COLOR: rgb(34,34,34); WORD-SPACING: 0px; -webkit-text-size-adjust: auto; -webkit-text-stroke-width: 0px">ด จัดเป็น สัจจปรมัตถบารมี ตั้งจิตไม่หวั่นไหวต่อคำอธิ<WBR style="WIDOWS: 2; TEXT-TRANSFORM: none; BACKGROUND-COLOR: rgb(255,255,255); TEXT-INDENT: 0px; LETTER-SPACING: normal; FONT: 14px arial, sans-serif; WHITE-SPACE: normal; ORPHANS: 2; COLOR: rgb(34,34,34); WORD-SPACING: 0px; -webkit-text-size-adjust: auto; -webkit-text-stroke-width: 0px">ษฐานแม้จะต้องเสียชีวิต จัดเป็น อธิษฐานปรมัตถบารมี หรือ วางเฉยต่อผู้ที่จะมาทำร้ายชีวิ<WBR style="WIDOWS: 2; TEXT-TRANSFORM: none; BACKGROUND-COLOR: rgb(255,255,255); TEXT-INDENT: 0px; LETTER-SPACING: normal; FONT: 14px arial, sans-serif; WHITE-SPACE: normal; ORPHANS: 2; COLOR: rgb(34,34,34); WORD-SPACING: 0px; -webkit-text-size-adjust: auto; -webkit-text-stroke-width: 0px">ตของตน จัดเป็น อุเบกขาปรมัตถบารมี เป็นต้น

    ดังนั้น จึงรวมเป็นบารมี 30 ทัศ
    __________________
    http://www.jitsing.com/forum.<WBR>php
     
  2. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    นิทานชาดก พระเจ้า 500 ชาติ
    เรื่อง พ่อค้าเกวียนผู้รู้ธรณีวิทยา
    [​IMG]
    ครั้งเมื่อพระเจ้าพรหมทั<WBR>ตครองราชย์สมบัติในกรุงพาราณสี พ่อค้าเกวียนคนหนึ่ง พร้อมด้วยบริวาร 500 เล่ม ไปค้าขายยังต่างประเทศ ผ่านทะเลทรายอันกันดารน้ำ มีระยะทาง 60 โยชน์เหลืออีก 1 โยชน์ จะข้ามพ้นทะเลทราย ตกเย็นได้ให้บริวารเทน้ำโยนฟื<WBR>นทิ้งเสีย ตกกลางคืนก็ออกเดินทางต่อไป
    แต่บังเอิญคนนำทางเหนื่อยนอนหลั<WBR>บไปเสีย เกวียนได้วกกลับมายังที่เดิ<WBR>มในเวลาจวนสว่าง เมื่อเขารู้สึกตัวตื่นขึ้นจึงสั<WBR>่งให้กลับเกวียนมุ่งหน้าเดิ<WBR>นทางต่อไป แต่พอกลับขบวนได้ก็สว่างพอดี เพราะในเวลากลางวันทะเลทรายร้<WBR>อนจัด จึงต้องปลดเกวียนพักอยู่ ณ ที่นั้น คนทั้งหลายซึ่งอดน้ำทั้งคืนยั<WBR>นรุ่งเช้า เมื่อมองไม่เห็นทางที่จะได้น้<WBR>ำมาบริโภค ต่างพากันซบเซาเหงาหงอยไปตามๆกั<WBR>น พ่อค้าคนหัวหน้าผู้ฉลาดธรณีวิ<WBR>ทยา ได้ตรวจดู ณ บริเวณนั้น บังเอิญพบหญ้ากอใหญ่อยู่กอหนึ่ง จึงสันนิษฐานว่า ใต้กอหญ้าจะต้องมีน้ำเป็นแน่ ไม่อย่างนั้นแล้วหญ้ากอนี้<WBR>จะอาศัยอยู่ได้อย่างไร
    จึงให้คนขุดลงไป แต่แล้วต้องผิดหวัง เพราะไม่พบน้ำเลยสักนิด พบแต่หินก้อนใหญ่ จึงหมดหวังที่จะขุดต่อไป ต่างพากันทิ้งจอบทิ้งเสียมด้<WBR>วยความหมดหวัง พ่อค้าผู้หัวหน้าอารมณ์ดี กระโดดลงไปในหลุม เงี่ยหูฟังดูที่แผ่นหินนั้น ก็ได้ยินเสียงกระแสน้ำไหลอยู่<WBR>ใต้แผ่นหิน นึกกระหยิ่มในใจ แล้วขึ้นมาจากหลุมปลอบลูกน้<WBR>องให้เกิดกำลังใจ แล้วสั่งให้เอาแท่งเหล็<WBR>กขนาดใหญ่กระแทกแผ่นนั้นให้<WBR>แตกเสีย จากนั้นลูกน้องกระโดดลงไปใช้แท่<WBR>งเหล็กกระแทกแผ่นหิน ในทันทีนั้นตาน้ำขนาดใหญ่ก็พุ่<WBR>งขึ้นมา สัตว์และคนทั้งหลายได้อาศั<WBR>ยอาบกินอย่างสุขสำราญเบิ<WBR>กบานใจกันถ้วนทั่ว พ่อค้าผู้เป็นหัวหน้าได้ปักเครื<WBR>่องหมายตรงจุดที่พบบ่อน้ำไว้ ตกเย็นจึงได้พากันออกเดินทางต่<WBR>อไป จนข้ามทะเลทราย กระทั่งถึงที่หมาย จึงได้จำหน่ายสินค้าจนเสร็จสิ้น แล้วพากันกลับเมื<WBR>องของตนโดยปลอดภัย
    นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า “อันการเดินทางนั้น จำเป็นต้องมีหัวหน้าผู้ฉลาด รู้เท่าถึงเหตุการณ์ และความเพียรในทางที่ชอบ ย่อมทำกิจการงานให้สำเร็จลุล่<WBR>วงได้”

    ที่มา : หนังสือนิทานชาดกพระเจ้า 500 ชาติ เล่ม 1
     
  3. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    ติฏฐชาดก
    มหาบัณฑิตผู้หยั่งรู้
    ***********
    [​IMG]
    ................... ในอดีตกาล พระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติกรุ<WBR>งพาราณสี มีราชบัณฑิตสอนธรรมอยู่ผู้หนึ่ง วันหนึ่งม้าอาชาไนยมงคลอัศวราช ไม่ยอมลงไปดื่มน้ำ และอาบน้ำเหมือนอย่างเคย คนเลี้ยงม้าจึงต้องรีบเข้าเฝ้<WBR>าถวายรายงานให้ทรงทราบโดยด่วน เพราะม้ามงคลนี้เป็นที่โปรดปราน<WBR> เมื่อพระราชาทรงทราบแล้วรับสั่<WBR>งให้สอบสวน ราชบัณฑิตตรวจดูแล้วทราบว่า ม้าไม่ได้เจ็บป่วย จึงซักคนเลี้ยงม้าได้ความว่า
    .....ก่อนหน้านี้มีคนนำม้าไม่มี<WBR>สกุลมาดื่มและอาบที่ท่าน้ำนี้ม้าอาชาไนยเห็นเข้าจึงไม่<WBR>ยอมลงมาที่ท่านั้นอีก
    ราชบัณฑิตพิเคราะห์ก็รู้ว่า ม้าอาชาไนยตัวนี้เป็นม้าถือตัว ไม่ยอมดื่มน้ำและอาบน้ำร่วมท่<WBR>ากับม้าไม่มีสกุลรุนชาติเช่นนั้<WBR>น แต่จะอธิบายสาเหตุเรื่องนี้กั<WBR>บคนเลี้ยงม้าตรงๆ ก็เห็นว่าป่วยการ เพราะภูมิปัญญาอย่างคนเลี้ยงม้<WBR>าผู้นี้คงตามไม่ทัน จึงบอกให้คนเลี้ยงม้าว่า ลองให้ม้าอัศวราชไปอาบน้ำท่าอื่<WBR>นดูบ้าง เพราะธรรมดาไม่ว่าคนหรือสัตว์<WBR>อยู่ที่ไหนซ้ำๆ อาจเบื่อได้ คนเลี้ยงม้าได้ฟังคำของราชบัณฑิ<WBR>ตแล้วทำตาม ม้ามงคลก็ยินยอมแต่โดยดี

    .....พระเจ้าพรหมทัตทรงทราบก็ดี<WBR>พระทัย ตรัสสรรเสริญราชบัญฑิตที่<WBR>สามารถหยั่งรู้แม้อัธยาศัยของสั<WBR>ตว์เดียรัจฉาน แล้วพระราชทานเกียรติยศและรางวั<WBR>ลให้เป็นการตอบแทน
    .....ประชุมชาดก
    .....ม้ามงคลอัศวราช ในครั้งนั้น ได้มาเกิดเป็นพระภิกษุช่างทองรู<WBR>ปนี้
    .....พระเจ้าพรหมทัต ได้มาเป็นพระอานนท์
    ....ราชบัณฑิต ได้มาเป็นพระองค์เอง
    .....ข้อคิดจากชาดก
    .....๑. เป็นธรรมดาว่า บุคคลยิ่งฝึกจิตใจให้สะอาดมี<WBR>ความรู้ความสามารถสูงขึ้นเพี<WBR>ยงไร มักมีความรู้สึกอย่างหนึ่งเกิ<WBR>ดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ คือ ไม่อยากคลุกคลีกับผู้ที่ไร้คุ<WBR>ณธรรม ยกเว้นแต่มีจิตกรุณา ต้องการช่วยเหลือดังนั้นบุคคลใดก็ตาม ที่มีครูอาจารย์ดี มาเคี่ยวเข็ญว่ากล่าวตักเตือนต้องถือว่าท่านลดตัวลงมาใกล้ชิด มาช่วยเหลือ สมควรรับปฏิบัติ<WBR>ตามโอวาทและกราบขอบพระคุ<WBR>ณโดยความเคารพ
    ....๒. เมื่อได้คนดีมีวิชามาอยู่ด้วย ต้องจัดที่อยู่อาศัยอย่างดี จัดหน้าที่การงานให้อย่<WBR>างเหมาะสม และให้ความเคารพเกรงใจด้วย มิฉะนั้นแล้วท่านรำคาญ เบื่อหน่ายและหนีไปเสีย เพราะคนดีมีฝีมือ โดยทั่วไปแล้วไม่เห็นแก่เงิน แต่เห็นแก่งานที่เหมาะสมกั<WBR>บความสามารถ และเกียรติยศของเขา
    .....๓. เมื่อผู้ใหญ่อธิบายเหตุผลให้ผู้<WBR>น้อย หากเห็นว่า ผู้น้อยมีภูมิปัญญายังไม่ถึง แต่เพื่อหวังผลในเชิงปฏิบัติ อาจบอกเลี่ยงเป็นอย่างอื่น ต่อเมื่อโตขึ้นมีปัญญาตรองตามก็<WBR>สามารถเข้าใจได้
     
  4. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    [​IMG]

    นิทานเรื่องยายผู้ไม่ยินดีในวิ<WBR>มาน


    มีนิทานเรื่องหนึ่ง เป็นเรื่องของยายคนหนึ่งแกทำบุ<WBR>ญสร้างโบสถ์ วิหาร สร้างวัด ให้ทานแก่บุคคล ถวายเครื่องอุปโภค บริโภคแด่พระสงฆ์จำนวนมาก มีครั้งหนึ่งเทวดาท่านดลบั<WBR>นดาลให้ยายได้เห็นวิมาน อาหารที่เป็นทิพย์ พร้อมทั้งบริวารที่รอยายอยู่<WBR>บนสวรรค์ และบอกกับยายว่านี่คือวิ<WBR>มานของยาย นี่คืออาหารของยาย นี่คือบริวารของยาย

    เมื่อยายตายโลกมนุษย์แล้ว วิมานนี้ อาหารนี้ พร้อมทั้งบริวารเหล่านี้จะเป็<WBR>นของยาย ด้วยหวังจะให้ยายยินดี แต่ยายกลับไม่ได้รู้สึกยินดีกั<WBR>บวิมาน อาหาร พร้อมทั้งบริวารเหล่านั้นเลย

    เพราะยายเข้าใจในพระธรรม รู้ซึ้งในพระธรรมของพระพุทธเจ้<WBR>าเป็นอย่างดี ยายเห็นความไม่เที่ยง ยายเห็นว่าแม้แต่พรหมชั้นสูงสุ<WBR>ดที่มีอายุยาวนานถึง ๘๔,๐๐๐ มหากัป

    พระพุทธเจ้าท่านก็เรียกว่า ท่านผู้มีอายุคือ ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกต่<WBR>อไป เมื่อหมดอายุก็ต้องจุติ (ดับ, ตาย) จากภพนั้นและมีกำเนิดในภพอื่นต่<WBR>อไป ยายเห็นว่าความสุขนั้นเป็น วิปรินามธรรม ที่สามารถแปรเปลี่ยนกลับเป็นทุ<WBR>กข์ได้

    ยายรู้ดีว่าบุญที่ยายทำนั้<WBR>นจะเป็นเครื่องนำไปสู่สุคติ<WBR>สวรรค์ และยายอาจจะได้เสวยสุขอยู่<WBR>บนสวรรค์ชั่วอายุหนึ่ง อาจจะสัก ๒๕๐๐ ปี แต่เมื่อหมดอายุจากภพนั้นแล้ว ยายกลัวว่ายายอาจจะได้มาเกิดเป็<WBR>นมนุษย์ในสมัยกลียุค เป็นยุคที่โลกมนุษย์มีแต่ความทุ<WBR>กข์ยากลำบาก เป็นยุคที่ไม่มีธรรมะของพระพุ<WBR>ทธเจ้าอยู่แล้ว เป็นยุคที่พุทธศาสนาครบ ๕๐๐๐ ปีแล้ว

    ศาสนาพุทธเสื่อมไปแล้วตามที่<WBR>พระพุทธเจ้าท่านทรงพยากรณ์ไว้ ยายกลัวว่าจะประสบกับความทุกข์<WBR>ในช่วงสมัยนั้น กลัวว่าจะไม่ได้พบกับสั<WBR>จจธรรมในช่วงสมัยนั้น ยายจึงไม่รู้สึกยินดีในวิมาน อาหาร พร้อมทั้งบริวารเหล่านั้น

    เมื่อเห็นในทุกข์อันเกิดจากภพ ยายจึงไม่ปรารถนาในภพ ยายปรารถนาที่จะออกจากภพ จึงเพียรศึกษาพระธรรม เพียรปฏิบัติตามองค์มรรควิธี เพื่อให้ถึงซึ่งความดับแห่งภพ

    เวลาที่ยายทำบุญบริจาคทาน ยายก็ไม่ปรารถนาในภพ ไม่ปรารถนาว่าจะได้ไปสู่วิมาน อาหาร พร้อมทั้งบริวารในภพใดๆ เพราะยายรู้ดีว่านั่นคือ ภวตัณหา” (ยินดีติดใจในภพ) ยายทำบุญบริจาคทานก็เพราะยายเพี<WBR>ยรพยายามที่จะทำให้โลภะเบาบางลง

    ยายรู้ว่าการทำบุญบริจาคทานเพื่<WBR>อที่จะขจัดโลภะนี้คือกุศลที่มี<WBR>อานิสงส์มากกว่าบุญ ไม่ใช่เป็นแค่บุญ เพราะการทำบุญอย่างเดียวไม่<WBR>อาจทำให้ยายหลุดพ้นได้ แต่กุศลคือสิ่งที่ทำให้ยาย คิด พูด และกระทำสิ่งใดๆ อย่างฉลาด รู้เท่าทัน โลภะ โทสะ โมหะ ต่างหากจะทำให้ยายหลุดพ้นได้

    นอกจากนี้ ยายยังได้เพียรเจริญเมตตาธรรมก็<WBR>เพื่อที่จะทำให้โทสะเบาบางลง เพื่อขจัดโทสะให้สิ้นไป ยายเพียรทำจิตให้ผ่องใสควรแก่<WBR>งาน เพื่อน้อมไปสู่วิชชา ๓ เพื่อความสิ้นอาสวะ เพื่อละสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ให้ได้ (เครื่องร้อยรัดสัตว์ ๑๐ อย่างให้วนเวียนอยู่ในวัฏฏะ)

    เพื่อบรรลุโสดาบันในชาตินี้ ซึ่งจะไม่มีความเสื่อมลงได้อีก เพื่อบรรลุสกทาคามีในชาตินี้ ซึ่งจะกลับมาเกิดในโลกนี้อีกเพี<WBR>ยงครั้งเดียวก็จะสำเร็จเป็<WBR>นพระอรหันต์ เพื่อบรรลุอนาคามีในชาตินี้ ซึ่งจะสำเร็จเป็นพระอรหันต์<WBR>ในสวรรค์ชั้นพรหมสุทธาวาส ไม่กลับมาเกิดในโลกนี้อีก เพื่อบรรลุอรหันต์นิพพานในชาติ<WBR>นี้

    เพราะจุดมุ่งหมายของยาย คือปรมัตถประโยชน์ คือ ประโยชน์อย่างยิ่ง คือ นิพพาน

    ยายเพียรทำอยู่อย่างนี้โดยที่<WBR>ยายไม่ได้คำนึงถึง ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ คือประโยชน์ในปัจจุบัน และ สัมปรายิกัตถประโยชน์ คือ ประโยชน์ในภายหน้า เลย

    เพราะยายรู้ดีว่า ประโยชน์สองอย่างนี้ยายจะพึงมี<WBR>พึงได้อยู่แล้วจากการกระทำที่ดี<WBR>เป็นบุญเป็นกุศลในปัจจุบั<WBR>นของยาย โดยไม่จำเป็นต้องเพ่งเล็<WBR>งขวนขวาย นี่คือจุดมุ่งหมายของยายผู้ไม่<WBR>ยินดีในวิมาน อาหาร พร้อมทั้งบริวาร ในสุคติภพใดๆ

    และยายได้กล่าวภาษิตฝากถึงผู้ที<WBR>่ยังปรารภนาในประโยชน์ว่า

    ผู้ไม่เห็นในทุกข์ ย่อมไม่ปรารถนาที่จะออกจากทุกข์
    ผู้ไม่เห็นในคุณของพระนิพพาน ย่อมไม่ปรารถนาปรมัตถประโยชน์
    ผู้ไม่เห็นในปรมัตถประโยชน์ ย่อมไม่ปรารภความเพียร



    (
    ที่มา..แหล่งรวบรวมกรณีศึกษาจิ<WBR>ต วิญญาณ ชีวิตหลังความตาย และการเกิดใหม่)
     
  5. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    [​IMG]

    ๑. หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล

    วิปัสสนานี้ มีผลอานิสงส์ใหญ่ยิ่งกว่าทาน ศีล พรหมวิหารภาวนา ย่อมทำให้ผู้เจริญนั้นมีสติไม่<WBR>หลงเมื่อทำกาลกิริยา มีสุคติภพ คือ มนุษย์และโลกสวรรค์เป็นไปในเบื้<WBR>องหน้า หากยังไม่บรรลุผลทำให้แจ้งซึ่<WBR>งพระนิพพาน ถ้าอุปนิสัยมรรคผลมี ก็ย่อมทำให้ผู้นั้นบรรลุมรรคผล ทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานได้<WBR>ในชาตินี้นั่นเทียว

    อนึ่ง ยากนักที่จะได้เกิดเป็นมนุษย์ เพราะต้องตั้งอยู่ในธรรมของมนุ<WBR>ษย์ คือ ศีล ๕และกุศลกรรมบท ๑๐ จึงจะได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ชีวิตที่เป็นมานี้ ก็ได้ด้วยยากยิ่งนักเพราะอั<WBR>นตรายชีวิตทั้งภายใน ภายนอกมีมากต่างๆ การที่ได้ฟังธรรมของสัตตบุรุษคื<WBR>อ พระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ก็ได้<WBR>ยากยิ่งนัก เพราะกาลที่ว่างเปล่าอยู่ ไม่มีพระพุทธเจ้าเกิดขึ้<WBR>นในโลกยืดยาวนานนัก บางคาบ บางสมัย จึงจะมีพระพุทธเจ้าเกิดขึ้<WBR>นในโลกสักครั้งสักคราวหนึ่ง เหตุนั้นเราทั้งหลายพึงอยู่ด้<WBR>วยความไม่ประมาทเถิด อย่าให้เสียทีที่ได้เกิดมาเป็<WBR>นมนุษย์พบพระพุทธศาสนานี้เลย
     
  6. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    [​IMG]

    ๒. หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต

    การบำรุงรักษาสิ่งใดๆ ในโลก...การบำรุงรักษาตนคือ ใจเป็นเยี่ยม จุดที่เยี่ยมยอดของโลกคือ ใจ ควรบำรุงรักษาด้วยดี

    ไม่ว่าธรรมส่วนใด ถ้าสำคัญ "ตน" ว่าเสวยเป็นอันผิดทั้งนั้น

    ติดดี นี่แก้ยากกว่าติดชั่วเสียอีก
     
  7. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    <TABLE style="WIDOWS: 2; TEXT-TRANSFORM: none; BACKGROUND-COLOR: rgb(255,255,255); TEXT-INDENT: 0px; WIDTH: 427px; LETTER-SPACING: normal; FONT: 14px arial, sans-serif; WHITE-SPACE: normal; ORPHANS: 2; COLOR: rgb(34,34,34); WORD-SPACING: 0px; -webkit-text-size-adjust: auto; -webkit-text-stroke-width: 0px" border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%"><TBODY><TR><TD style="PADDING-BOTTOM: 0pt; MARGIN: 0px; PADDING-LEFT: 0pt; PADDING-RIGHT: 0pt; FONT-FAMILY: arial, sans-serif; PADDING-TOP: 0pt" vAlign=top>[​IMG]

    ๓. หลวงปู่ดูลย์ อตุโล

    ส่วนธรรมะ ให้ดูที่จิตของตัวเอง ปฏิบัติที่จิต เมื่อเข้าใจจิตแล้ว อย่างอื่นก็เข้าใจเอง หลักธรรมที่แท้จริงนั้นคือ จิต ให้กำหนดดูจิต ให้เข้าใจจิตตัวเองสึกซึ้งแล้ว นั่นแหละได้แล้วซึ่งหลักธรรม

    ถึงจิตไม่สงบก็ไม่ควรให้มั<WBR>นออกไปไกลใช้สติระลึกไปแต่<WBR>ในภายในกายนี้ ดูให้เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อสุภสัญญา หาสาระ แก่นสารไม่ได้ เมื่อจิตมองเห็นชัดแล้ว จิตก็เกิดความสลดสังเวช เกิดนิพพิทา ความหน่ายคลายกำหนัดย่อมตัดอุปาทานขันธ์ได้เช่นเดี<WBR>ยวกัน

    การศึกษาธรรมด้วยการอ่านการฟัง สิ่งที่ได้ก็คือ สัญญา (ความจำได้) การศึกษาธรรมด้วยการลงมือปฏิบั<WBR>ติ สิ่งที่เป็นผลของการปฏิบัติคือ ภูมิธรรม

    การปฏิบัติ ให้มุ่งปฏิบัติเพื่อสำรวม เพื่อความละ เพื่อความคลายกำหนัดยินดี เพื่อความดับทุกข์ ไม่ใช่เพื่อเห็นสวรรค์วิมาน หรือแม้พระนิพพานก็ไม่ต้องตั้<WBR>งเป้าหมายเพื่อจะเห็นทั้งนั้น ให้ปฏิบัติไปเรื่อยๆ ไม่ต้องอยากเห็นอะไร เพราะนิพพานมันเป็นของว่าง ไม่มีตัวตน หาที่ตั้งไม่มี หาที่เปรียบไม่ได้ ปฏิบัติไปจึงจะรู้เอง

    ผู้ที่ปฏิบัติที่แท้จริงนั้น ไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงชาติหน้<WBR>าชาติหลัง หรือนรก สวรรค์อะไรก็ได้ ให้ตั้งใจปฏิบัติให้ตรงศีล สมาธิ ปัญญา อย่างแน่วแน่ก็พอ ถ้าสวรรค์มีจริงถึง ๑๖ ชั้นตามมตำรา ผู้ปฏิบัติดีแล้วย่อมได้เลื่<WBR>อนฐานะของตนโดยลำดับ หรือถ้าสวรรค์นิพพานไม่มีเลย ผู้ปฏิบัติดีแล้วในขณะนี้ก็ย่<WBR>อมไม่ไร้ประโยชน์ ย่อมอยู่เป็นสุข เป็นมนุษย์ชั้นเลิศ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  8. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    ๔. หลวงปู่เทสก์ เทสฺรํสี

    ตามกระแสพระธรรมเทศนาของสัมมาสั<WBR>มพุทธเจ้าว่าทุกข์เป็นของไม่<WBR>ควรละแต่เป็นของควรต่อสู้ ความทะยานอยากได้สุขหรือไม่<WBR>อยากให้มีทุกข์ต่างหาก เป็นของควรละผู้ที่จะพ้นจากทุกข์ได้ในโลกนี้ ก็ล้วนแล้วแต่ยกทุกข์ขึ้นมาเป็<WBR>นเหตุทั้งนั้น

    ทุกข์กับความเพียรเท่านั้นที่มี<WBR>ค่ามากในโลกนี้หากไม่มีทุกข์กับความเพียรเสี<WBR>ยแล้ว ใครๆ ในโลกนี้จะไม่ทำความดีเพื่อพ้นทุกข์<WBR>ในโลกนี้และโลกหน้า ตลอดถึงพระนิพพาน

    แท้จริงความนึกคิดไม่ใช่ทุกข์ แต่การไปยึดความนึกคิดมาเป็<WBR>นของตนจึงเป็นทุกข์

    หลักอนัตตาในทางพระพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้<WBR>าตรัสรู้ด้วยปัญญาอันชอบพระองค์มิได้ตรัสว่าอนัตตาเป็<WBR>นของไม่มีตนไมมีตัว เป็นของว่างเปล่า พระองค์ตรัสว่าตนตัวคือ ร่างกายของคนเรา อันได้แก่ขันธ์ทั้ง ๕ นี้ มันมีอยู่แล้วแต่จะหาสิ่งเป็นสาระในขันธ์ ๕ นั้นไม่มี ดังนี้ต่างหาก

    การเห็นความฟุ้งซ่านของจิตนั้<WBR>นคือ "ปัญญาชั้นต้น"

    คนใดว่าตนดีคนนั้นยังไม่ดี ใครว่าตนวิเศษวิโส หรือฉลาดเฉียบแหลม คนนั้นคือคนโง่
     
  9. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    ๕. หลวงปู่ขาว อนาลโย

    สติเป็นแก่นของธรรม แก่นของธรรมแท้อยู่ที่สติ ให้พากัน หัดทำให้ดี ครั้นมีสติแก่กล้าดีแล้ว ทำก็ไม่พลาด คิดก็ไม่พลาด กุศลธรรมทั้งหลายจะเกิดขึ้น เมื่อบุคคลอยู่กับสติแล้ว สติเป็นใหญ่ สติมีกำลังดีแล้ว จิตมันรวม เพราะสติคุ้มครองจิต
     
  10. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    ๖. หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ

    เวลากิเลสมันเกิดขึ้น เกิดขึ้นทางกาย เกิดขึ้นทางวาจา เกิดขึ้นทางใจ รู้ทันมันเดี๋ยวนี้ มันก็ดับไปเดี๋ยวนี้แหละ

    ตัวสติมันปกครองอยู่เสมอ ถ้ามีสติอยู่ทุกเมื่อ มันบ่ได้คุบมันหละ ครั้นเกิดขึ้น รู้ทันมันก็ดับ รู้ทันก็ดับ รู้ทันก็ดับ คิดผิดก็ดับ คิดถูกก็ดับ พอไจไม่พอไจก็ดับลงทันทีที่ตั<WBR>วสติ
     
  11. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    ๗. ท่านพ่อลี ธมฺมธโร

    เมื่อมนุษย์เป็นคนไม่ดี แม้วัตถุเหล่านั้นจะเป็นของดีก็<WBR>ตาม มันจะกลับกลายเป็นโทษแก่<WBR>ปวงชนได้เหมือนกัน

    ถ้ามนุษย์มีธรรมประจำใจ สิ่งทั้งหลายที่ให้โทษก็<WBR>จะกลายเป็นประโยชน์

    พวกเราทั้งหลายไม่มีความสัตย์<WBR>ความจริงต่อดัวเอง จึงมิได้ประสบสุขอันแท้จริงเหมื<WBR>อนอย่างพระพุทธองค์ เราบอกกับตัวเองว่า อยากได้ความสุข แต่เราก็โดดเข้าไปสู่กองไฟร้อน เรารู้ว่าสิ่งนั้นๆ เป็นยาพิษ แต่เราก็ดื่มมันเข้าไป นี่แหละเป็นการทรยศต่อตัวเอง
     
  12. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    ๘. ท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต

    คำว่า "ไม่สบายใจ" อย่าใช้ และอย่าให้มีขึ้นในใจต่อไป "Let it go, and get it out !" ก่อนมันจะเกิด ต้อง "Let it go" ปล่อยให้มันผ่านไป อย่ารับเอาความไม่สบายใจไว้

    ที่จะทำอะไรไม่ผิดนั้น ข้อสำคัญอยู่ที่สติถ้ามีสติคุ้<WBR>มครองกาย วาจา ใจ อยู่ทุกขณะ จะทำอะไรไม่ผิดพลาดเลย ที่ผิดพลาดเพราะขาดสติคือ เผลอ เหม่อ เลินเล่อประมาท ระเริง หลงลืมจึงผิดพลาด จงนึกถึงคติพจน์ว่า "กุมสติต่างโล่ป้อง อาจแกล้วกลางสนาม"

    ต้องฝึกหัดแก้ไขปรับปรุงจิ<WBR>ตใจเสียใหม่ทั้งก่อนที่จะทำอะไร หรือกำลังกระทำอยู่ และเมื่อเวลากระทำเสร็จแล้ว ต้องหัดให้จิตใจ แช่มชื่นรื่นเริง เกิดปีติปราโมทย์ เป็นสุขสบายอยู่เสมอเป็นเหตุให้<WBR>เกิดกำลังกาย กำลังใจ "Enjoy living" มีชีวิตอยู่ด้วยความเบิกบาน สมองจึงจะเบิกบาน จะศึกษาเล่าเรียนก็เข้าใจง่<WBR>ายเหมือนดอกไม่ที่แย้มบานต้องรั<WBR>บหยาดน้ำค้าง และอากาศอันบริสุทธิ์ฉะนั้น

    "
    จงเลือกทำแต่กรรมที่ดีๆ นะ" เป็นคำแทนคำอวยพรอย่างสูงสุด ประกอบด้วยเหตุผล เมื่อทำกรรมดีแล้ว ไม่ให้พรก็ต้องดี เมื่อทำชั่วแล้ว จะมาเสกสรรปั้นแต่งอวยพรอย่างไร ก็ดีไม่ได้ ทำชั่วเหมือนก้อนหินจะต้องจมทั<WBR>นที ไม่มีผู้วิเศษใดๆ จะเสกเป่าอวยพร ขอร้องให้หินลอยขึ้นมาได้ ทำกรรมชั่วต้องล่นจมป่นปี้เสี<WBR>ยราศีเกียรติคุณชื่อเสียง เหมือนก้อนหินหนักจมลงไปอยู่กั<WBR>บโคลนใต้น้ำ
     
  13. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    ๙. หลวงปู่ฝั้น อาจาโร

    เราเป็นผู้ก่อกรรม ก่อเวร ก่อภัย ไม่มีใครก่อให้ ไม่ใช่เทวบุตร เทวธิดาสร้างให้ พี่น้องสร้างให้ บิดามารดาสร้างให้ เราสร้างเอง
     
  14. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    ๑๐. หลวงปู่คำดี ปภาโส

    ความจริงจิตใจของเราเองเป็นตั<WBR>วก่อทุกข์ สังเกตได้จากพระอรหันตสาวกทั้<WBR>งหลาย เมื่อท่านมีความรู้ มีปัญญาคุ้มครองรักษาใจท่านดี<WBR>แล้ว ท่านก็ไม่มีทุกข์ เพราะท่านไม่ปรารถนาในสิ่งต่างๆ เมื่อเราประสบกับรูป กลิ่น เสียง หรืออื่นๆ ก็เพราะใจเรามีตัณหา ปรารถนา ทะเยอทะยาน ยินดียินร้ายในสิ่งเหล่านั้น ทำให้เราเป็นทุกข์

    ไม่ใช่ว่ารูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ หรือสิ่งอื่นๆ ที่จะได้มาเผาเราให้ร้อนเป็นทุ<WBR>กข์ ตัวของเราเองที่เป็<WBR>นไฟมาคอยเผาตัวเอง

    การภาวนา ท่านต้องการให้เราปราบกิ<WBR>เลสของเราเท่านั้น คือเห็นความโลภ เห็นความโกรธของตน เห็นความหลงของตน เห็นราคะตัณหาของตน เห็นมานะทิฏฐิของตน

    นี่แหละ บรรดาสิ่งสมมติที่เราไปยึดถือว่<WBR>าเป็นกรรมสิทธิ์ของเรานั้น ก็จะได้เพียงชีวิตหนึ่งๆ เท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นสามีภรรยา หรือสมบัติต่างๆ เมื่อเราตายไปแล้ว เราจะยึดถือเป็นกรรมสิทธิ์<WBR>ของเราอีกไม่ได้ เราจะเอาสิ่งต่างๆ เหล่านั้นติดตามไปสวรรค์ นรก หรือที่ไหนๆ ก็ไม่ได้ ตรงกับคำว่า "สมบัติของโลก ก็ต้องอยู่ในโลก"
     
  15. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    ๑๑. หลวงพ่อดู่ พฺรหฺมปญฺโญ

    "
    โลกเท่าแผ่นดิน ธรรมเท่าปลายเข็ม" เรื่องโลกมีแต่เรื่องยุ่<WBR>งของคนอื่นทั้งนั้น ไม่มีที่สิ้นสุด เราไปแก้ไขเขาไม่ได้

    ส่วนเรื่องธรรมนั้นมีที่สุด มาจบที่ตัวเรา ให้มาไล่ดูตัวเองแก้ไขตัวเราเอง ตนของตนเตือนตนด้วยตนเอง

    ถ้าเป็นโลกแล้ว จะมีแต่ส่งออกไปข้างนอกตลอดเวลา แต่ถ้าคิดสิ่งที่เป็นธรรมแล้ว ต้องวกกลับเข้ามาหาตัวเอง เพราะธรรมแท้ๆ ย่อมเกิดในตัวของเรานี่ทั้งนั้น

    รอให้แก่เฒ่าหรือจวนตัวแล้วจึ<WBR>งสนใจภาวนา ก็เหมือนคนหัดว่ายน้ำเอาตอนเรื<WBR>อหรือแพใกล้แตก มันจะไม่ทันการณ์
     
  16. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    ๑๒. หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร

    เมื่อสิ่งที่ไม่เที่ยงนั้<WBR>นแหละมาถึงบุคคลใด บุคคลนั้นจะต้องรู้เท่าทัน อย่าไปยึดเอาถือเอา เมื่อไปยึดสิ่งได ถือสิ่งไดสิ่งนั้นไม่เป็<WBR>นไปตามใจหวัง ก็เกิดความทุกข์ขึ้นมา ถ้าไม่ยึดเอาถือเอา เห็นว่า ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีความไม่<WBR>เที่ยงอย่างนี้ มีความเกิดขึ้น ตั้งอยู่แล้วดับไป เกิดขึ้นใหม่ ตั้งอยู่ ก็ดับไป เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เป็นอยู่อย่างนี้ทุกสิ่งทุกอย่<WBR>าง ไม่ว่าคน สัตว์ วัตถุธาตุทั้งหลาย มีความไม่เที่ยงแท้แน่นอนอย่<WBR>างนี้

    วันเวลาที่หมดไปสิ้นไปโดยไม่ได้<WBR>ทำอะไรที่เป็นคุณประโยชน์แก่ตั<WBR>วเองบ้างในชีวิตที่เกิดมาในโลก และได้พบพระพุทธศาสนานี้ช่างเป็<WBR>นชีวิตที่น่าเสียดายยิ่งนัก เวลาแม้เพียงหนึ่งนาทีที่ผ่<WBR>านไปนั้น แม้ว่าจะทุ่มเงินจำนวนมหาศาลสั<WBR>กสิบล้าน ร้อยล้านบาท ก็ไม่สามารถซื้อกลับคืนมาได้ ฉะนั้น สิ่งที่น่าเสียดายในโลกนี้ จะมีอะไรน่าเสียดายเท่ากับปล่<WBR>อยวันเวลาผ่านเลยไปโดยเปล่<WBR>าประโยชน์ แม้ว่าจะเพียงแค่นาทีเดียว

    "
    มรณกรรมฐาน" นี้เป็นยอดกรรมฐานก็ว่าได้ คนเราเมื่ออาศัยความประมาทมั<WBR>วเมา ไม่ได้มองเห็นภัยอันตรายจะมาถึ<WBR>งตน คิดเอาเอง หมายเอาเองว่า เราคงไม่เป็นอะไรง่ายๆ เราสบายดีอยู่เรายังเด็กยังหนุ่<WBR>มอยู่ ความตายคงไม่กล้ำกรายได้ง่าย อันนี้เป็นความประมาทมัวเมา
     
  17. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    ๑๓. ท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสมฺปนฺโน

    ธัมมะท่านสอนให้ดูตัวเอง ระวังตัวเอง จะได้เห็นความบกพร่องของตัวเอง แล้วแก้ไขตัวเองไปเรื่อยๆ จนสมบูรณ์ได้
     
  18. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    ๑๔. ท่านพ่อเฟื่อง โชติโก

    ก่อนที่จะพูดอะไร ให้ถามตัวเองว่าที่จะพูดนี้<WBR>จำเป็นหรือเปล่า ถ้าไม่จำเป็นก็อย่าพูดนี่เป็นขั้นต้นของการอบรมใจ เพราะถ้าเราควบคุมปากตัวเองไม่<WBR>ได้ เราจะควบคุมใจได้อย่างไร

    ไปกี่วัดกี่วัด รวมแล้วก็วัดเดียวนั่นหละคือ วัดตัวเรา

    จิตเปรียบเหมือนพระราชา อารมณ์ทั้งหลายเปรียบเหมือนเสนา เราอย่าเป็นพระราชาที่หูเบา

    มัวแต่นึกถึงวันเกิด ให้นึกถึงวันตายเสียบ้าง

    ของดีจริงไม่ต้องโฆษณา คนชอบขายความดีตัวเอง ที่จริงขายความโง่ของตั<WBR>วเองมากกว่า คมให้มีในฝัก ให้ถึงเวลาที่จะต้องใช้จริงๆ จึงค่อยชักออกมา จะได้ไม่เสียคม

    สักวันหนึ่งความตายจะมาถึงเรา มาบีบบังคับให้เราปล่อยทุกสิ่<WBR>งทุกอย่าง ฉะนั้น เราต้องหัดปล่อยวางล่วงหน้าให้<WBR>มันเคย ไม่อย่างนั้น พอถึงเวลาไปจะลำบาก

    เวลาเราทำงานอะไรอยู่ ถ้าเราสังเกตว่าใจเราเสีย ก็ให้หยุดทันที แล้วกลับมาดูใจของตนเอง เราต้องรักษาใจของเราไว้เป็<WBR>นงานอันดับแรก

    คนอื่นเขาด่าเรา เขาก็ลืมไป แต่เราไปเก็บมาคิด เหมือนเขาคายเศษอาหารทิ้งไปแล้ว เราไปเก็บมากิน แล้วจะว่าใครโง่
     
  19. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    ๑๕. หลวงพ่อชา สุภทฺโท

    ผู้ไปยึดอารมณ์จะเป็นทุกข์ เพราะอารมณ์มันไม่เที่ยง

    ดูซิ...เราข้ามกันไปหมด พากันทำบุญ แต่ว่าไม่พากันละบาป ผ้าสกปรกไม่ฟอกแต่อยากจะรับน้ำย้อมนะ

    ที่เรามาปฏิบัติกันอยู่ทุกวันนี<WBR>้ ก็เพื่อให้เห็นจิตเดิม เราคิดว่าจิตเป็นสุขจิตเป็นทุ<WBR>กข์แต่ความจริงจิตไม่ได้สร้างสุ<WBR>ขสร้างทุกข์ อารมณ์มาหลอกลวงต่างหาก มันจึงหลงอารมณ์ ฉะนั้น เราจึงต้องมาฝึกจิตใจให้ฉลาดขึ้<WBR>น ให้รู้จักอารมณ์ ไม่ให้เป็นไปตามอารมณ์ จิตก็สงบ

    การทำจิตใจของเราให้มีกำลัง กับการทำกายของเราให้มีกำลัง มันต่างกัน การทำกายให้มีกำลังก็คือ การออกกำลังกายทำกายบริหาร มีการกระโดด การวิ่ง นี่คือการทำกายให้มีกำลัง การทำจิตใจให้มีกำลังก็คือ ทำจิตให้สงบ ไม่ใช่ทำจิตให้คิดนั่น คิดนี่ไปต่างๆ ให้อยู่ในขอบเขตของมัน เพราะว่าจิตของเรานั้นไม่เคยได้<WBR>สงบ ไม่เคยมีกำลัง มันจึงไม่มีกำลังทางด้านสมาธิ<WBR>ภายใน
     
  20. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    ๑๖. หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต

    มองตัวเองให้มากจึงจะกลายเป็<WBR>นคนดีได้ มัวแต่มองท่านผู้อื่นแล้วไซร้ ก็กลายเป็นคนพาลไป ไม่รู้ตัว เพราะนิสัยคนพาลย่อมเพ่งโทษผู้<WBR>อื่นเป็นวัตร โบราณท่านกล่าวว่า อุจจาระของตนนั่งดมอยู่ก็พอดม อุจจาระท่านผู้อื่นเล่า มากระทบจมูกเข้าก็เกิดเป็นพิ<WBR>ษเป็นภัยขึ้น (โลกทั้งปวงย่อมเป็นแบบนี้เป็<WBR>นส่วนมาก)

    ถ้าหากโลกทั้งปวงหนั<WBR>กไปทางสอนตนเองเป็นชั้นหนึ่ง และเป็นของจำเป็นมากกว่าสิ่งใดๆ แล้ว การโต้เถียงเกี่ยงงอนรังเกี<WBR>ยจเบียดสีกัน ก็คงสงบไปในตัวเท่าที่ควร และพุทธศาสนาก็ยืนยันว่า "สอนตนดีแล้ว จึงสอนท่านผู้อื่น" จึงไม่เดือดร้อนในภายหลัง

    เรื่องอุปสรรคในโลกทั้งปวง และก็เป็นยาวิเศษทั้งปวงไปในตัว เป็นเหตุให้เข็ดหลาบโลกทั้<WBR>งปวงไปในตัว แบบถี่ถ้วนแยบคายด้วยซ้ำ

    มุ่งดีในโลกีย์เป็นทางวนเวียน มุ่งดีในทางโลกุตตระเป็นทางพ้<WBR>นทุกข์
     

แชร์หน้านี้

Loading...