{{หลวงพ่อคูณ257}}ศึกษาพระสมเด็จ/เบญจภาคีองค์ครู26ขุนแผนพรายกุมาร4ลพ.พรหม68พ่อท่านคลิ้ง105

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย Amuletism, 2 มกราคม 2012.

  1. กำแพงพระ

    กำแพงพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    1,025
    ค่าพลัง:
    +1,966
    ประวัติ พระครูสิริวัฒนการ (ศรีเงิน อาภาธโร) วัดดอนศาลา
    ชาติภูมิ

    พระครูสิริวัฒนการ มีนามเดิมว่า ศรีเงิน นามสกุล ชูศรี เกิดเมื่อวันที่ ๑๒ เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๔๗๒ ตรงกับวันอาทิตย์ แรม ๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเส็ง ณ บ้านไผ่รอบ หมู่ที่ ๗ ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง โยมบิดาชื่อ นายสุด ชูศรี โยมมารดาชื่อ นางเฟือง ชูศรี มีพี่น้องร่วมบิดา-มารดาเดียวกันรวม ๕ คน คือ
    ๑.นางแก้ว สมรสกับ นายปลอด แก้วสง
    ๒.นางสาวแหม้ว ชูศรี
    ๓.นายชู สมรมกับ นางเฮ้ง ชูศรี
    ๔.นางผึ้ง สมรสกับ นายบรรลือ หมุนหวาน
    ๕.พระครูสิริวัฒนการ

    การศึกษา

    จบชั้น ป.๔ จากโรงเรียนวัดดอนศาลา เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๔
    การบรรพชาอุปสมบท

    บรรพชาอุปสมบท เมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๙๓ ณ วัดดอนศาลา โดยมีพระพุทธิธรรมธาดา เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า "อาภาธโร"
    การศึกษาพระธรรมวินัย

    พ.ศ.๒๕๐๑ สอบไล่ได้นักธรรมเอก สำนักเรียนวัดดอนศาลา
    ตำแหน่งทางสงฆ์

    เป็นรองเจ้าอาวาสวัดดอนศาลา ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตร ที่พระครูสิริวัฒนการ (จรร.)
    ในวัยเด็กท่านใช้ชีวิตเหมือนกับเด็กชายในชนบททั่วไป อาศัยอยู่กับพ่อแม่และพี่ ๆ แต่เมื่อท่านอายุได้ ๗ ขวบ มาดาก็ถึงแก่กรรม ท่านจึงอยู่ภายใต้การอุปการะของบิดาและพี่ ๆ บิดาของท่านได้จัดการให้ท่าน ได้ศึกษาเล่าเรียนขั้นเบื้องต้นที่โรงเรียนใกล้บ้าน คือ โรงเรียนวัดดอนศาลา เด็กชายศรีเงินเรียนอยู่ที่นั้นจนกระทั่งจบชั้นสูงสุดของโรงเรียน คือ ชั้นประถมปีที่สี่ และถือเป็นการจบขั้นบังคับ ภายหลังจากจบการศึกษาชั้นประถมต้นแล้ว พระอาจารย์ศรีเงินไม่ได้ศึกษาต่อที่ใหน ออกไปช่วยการงานที่บ้าน ภายหลังจากที่ท่านจบชั้นประถมได้เพียงไม่กี่ปีบิดาก็ถีงแก่กรรมไปอีกคน คราวนี้ท่านและพี่ ๆ ต้องกำพร้าพ่อและแม่ แต่โชคดีหน่อยที่ตอนนั้นท่านมีอายุพอที่จะช่วยตัวเองได้แล้ว คือมีอายุได้ ๑๗ ปี ส่วนพี่ ๆ นั้นก็ต่างโตกันหมดแล้ว ท่านจึงอาศัยอยู่กับยายและพี่ ๆ

    นายศรีเงินหรือพระครูสิริวัฒนการในปัจจุบันอาศัยอยู่กับยายและพี่ ๆ จนครบบวชพระ ญาติ ๆ เห็นพ้องต้องกันว่าควรจะให้บวชเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับพ่อแม่ที่ล่วงลับไปแล้ว และเพื่อจะได้ใกล้ชิดพระศาสนาในฐานะพุทธบุตร นายศรีเงินไม่ขัดข้อง ท่านจึงได้เริ่มเข้าสู่ร่มพระศาสนาตั้งแต่บัดนั้น พระครูศิริวัฒนการได้เริ่มเข้าสู่พระศาสนาในฐานะพระภิกษุ เมื่อวันที่ ๔ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๔๘๓ ตรงกับวันอังคาร แรม ๕ ค่ำ เดือน ๘ ปีขาล สำเร็จเป็นพระภิกขุ ภาวะภายในพัทธสีมาของวัดดอนศาลานั่นเอง โดยมีพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระพุทธิธรรมธาดา อดีตรองเจ้าคณะจังหวัดพัทลุง และเจ้าอาวาสวัดสุวรรณวิชัย อ. ควนขนุน เป็นพระอุปัชฌาย์ให้ มีพระกรุณานุรักษ์ เจ้าคณะอำเภอควนขนุน และเจ้าอาวาสวัดสุวรรณวิชัย เป็นพระกรรมวาจาจารย์และมีพระครูกาชาด (บุญทอง) เจ้าอาวาสวัดดอนศาลารูปปัจจุบันเป็นพระอนุสาสนาจารย์
    พระอุปัชฌาย์ให้มคธนามหรือตั้งฉายาทางพระให้ว่า "อาภาธโร" อยู่ที่วัดดอนศาลานั้นเองและภายหลังจากอุปสมบทท่านได้พิจารณาทบทวนถึงชีวิตของตัวเองพบความไม่เที่ยงแท้ในชีวิต ระลึกถึงความทุกข์ที่เกิดจากการพลัดพรากและการสูญเสียของรักของหวง โดยเริ่มแต่สูญเสียมารดาตั้งแต่อายุ ๗ ขวบ และมาสูญเสียบิดาเมื่ออายุได้ ๑๗ ปี ท่านได้เห็นความไม่เที่ยงแท้ของชีวิต และได้พบว่าชีวิตบรรพชิตสุขสงบกว่า น่าอยู่มากกว่าชีวิตฆราวาส ท่านก็เลยเกิดความคิดที่จะใช้ชีวิตในเพศบรรพชิตต่อไป

    เมื่อตัดสินใจได้แล้ว พระภิกษุศรีเงินก็คิดต่อไปแล้วว่าหากจะอยู่ในเพศบรรพชิตก็ควรจะอยู่อย่างมีค่า อย่างน้อยควรจะมีความรู้ทางศาสนาบ้างท่านจึงได้เข้าศึกษาทางด้านปริยัติที่วัดดอนศาลา
    ศึกษาตั้งแต่นักธรรมชั้นตรีโท จนกระทั่งสอบได้ชั้นสูงสุดคือนักธรรมชั้นเอก พร้อมกันนั้นก็ได้ศึกษาทางด้านวิปัสสนาจากครูบาอาจารย์ภายในวัดดอนศาลา ซึ่งวัดดอนศาลานั้น อย่างที่ทราบกันคือ เป็นสถานที่วิทยาการด้านไสยเวทเจริญรุ่งเรืองมานาน วิชาวิปัสสนานั้นเป็นหลักสูตรขั้นพื้นฐานของไสยเวท ฉะนั้นในวัดจึงมีครูบาอาจารย์ที่เก่งในเรื่องนี้อยู่ไม่ขาด

    เมื่อได้ศึกษาวิปัสสนา พระอาจารย์ศรีเงิน ก็เกิดสนใจในวิชาไสยเวทขึ้นมา จะว่าไปแล้วสิ่งแวดล้อมก็มีส่วนช่วยในการผลักดันท่านให้มาสนใจในเรื่องนี้อยู่มาก หล่าวคือ ตั้งแต่ท่านเด็ก ๆ มาแล้ว ในบริเวณควนขนุน พระอาจารย์ที่เก่งในทางไสยเวทมีมากรูป และแต่ละรูปล้วนได้รับความเคารพนับถือและได้สร้างประโยชน์เกื้อกูลพระศาสนามากมาย พระอาจารย์ศรีเงิน ท่านเล็งเห็นว่าควรจะเจริญรอยตามอย่างครูบาอาจารย์ที่ท่านเคยทำไว้ ศึกษาให้ถ่องแท้ก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่พระศาสนาได้มากมาย ขณะที่พระอาจารย์ศรีเงินเกิดความสนใจจะศึกษาไสยเวทนั้น ศิษย์เอกของสำนักเขาอ้อที่เชี่ยวชาญในวิชาของเขาอ้อยังมีชีวิตอยู่หลายคน ทั้งฝ่ายบรรพชิตและฆราวาส ฝ่ายบรรพชิตนั้น เจ้าสำนักรูปสุดท้ายของสำนักเขาอ้อ คือ พระอาจารย์ปาล ปาลธัมโม ยังมีชีวิตแต่ก็เริ่มชราภาพแล้ว นอกจากนั้นก็ยังมีศิษย์เอกของพระอาจารย์เอียด อดีตเจ้าอาวาสวัดดอนศาลาอีกรูปหนึ่งคือพระครูพิพัฒน์สิริธร หรือ พระอาจารย์คง สิริมโต เจ้าอาวาสวัดบ้านสวน ทางฝ่ายฆราวาสก็มี อาจารย์นำ แก้วจันทร์ อาจารย์เปรม นาคสิทธิ์ เป็นต้น

    เมื่อท่านอาจารย์ศรีเงินคิดจะศึกษาค้นคว้าวิชาไสยเวทของสำนักเขาอ้ออย่างจริงจัง ท่านก็คิดถึงเจ้าสำนักเขาอ้อเป็นอันดับแรก คือ พระอาจารย์ปาล ซึ่งกำลังมีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดในพัทลุงขณะนั้น ท่านก็เลยไปฝากตัวเป็นศิษย์พระอาจารย์ปาลที่วัดเขาอ้อ พร้อมกันนั้นก็ได้เริ่มทำคุณประโยชน์แก่พระศาสนา โดยการสอนพระปริยัติแก่พระภิกษุและสามเณรที่วัดเขาอ้อ ระหว่างนั้นพระอาจารย์ศรีเงิน จึงต้องเทียวมาเทียวไป ระหว่างวัดดอนศาลาที่อยู่ประจำกับวัดเขาอ้อที่ไปเรียน และสอนหนังสือ การเดินทางไปวัดเขาอ้อแต่ละครั้ง พระอาจารย์ศรีเงินทำให้เกิดประโยชน์ทั้งแก่ตัวท่าน และแก่พระศาสนา คือ ไปเรียนวิชากับพระอาจารย์ปาลอันเป็นประโยชน์แก่ตัวเอง และสอนหนังสือแก่พระภิกษุสามเณรอันเป็นประโยชน์แก่พระศาสนา
    พระอาจารย์ศรีเงินได้รับถ่ายทอดวิชาต่างๆ มาจากพระอาจารย์ปาลมาก จนมีผู้กล่าวว่าท่านอาจารย์ปาลได้มอบวิชาต่างๆ ให้กับพระอาจารย์ศรีเงินมากที่สุด ขนาดเท่ากับผู้ที่จะขึ้นมาสืบทอดตำแหน่งเจ้าสำนักเขาอ้อรุ่นต่อไปได้ มีผู้วิเคราะห์ต่อไปว่า พระอาจารย์ศรีเงินอาจจะเป็นผู้ที่พระอาจารย์ปาล ได้คัดเลือกให้ทำหน้าที่เจ้าสำนักเขาอ้อรูปต่อไปสืบต่อจากท่าน แต่การคณะสงฆ์เปลี่ยนแปลง พระอาจารย์ปาลก็ทราบความเป็นไปในอนาคตดี จึงไม่ได้หวังอะไรในเรื่องการสืบทอดตำแหน่ง หวังเพียงให้สืบทอดวิชาเพื่อไม่ให้วิชาสายเขาอ้อสูยหาย และจะได้นำไปสร้างคุณประโยชน์แก่พระศาสนาและประเทศชาติต่อไป เหมือนกับที่บุรพาจารย์เคยทำมา จึงพูดได้ว่าพระอาจารย์ศรีเงินเป็นศิษย์เอกของพระอาจารย์ปาล
    นอกจากจะได้ไปศึกษากับพระอาจารย์ปาลอย่างเป็นทางการแล้ว พระอาจารย์ศรีเงินท่านก็ได้ศึกษากับพระอาจารย์คง วัดบ้านสวน เพิ่มเติมด้วยเสริมในส่วนที่พระอาจารย์คงเชี่ยวชาญ โดยเฉพาะเรื่องการแพทย์แผนโบราณ และคาถาอาคมเกี่ยวกับการแพทย์ นอกจากนั้นแล้วในส่วนของฆราวาส พระอาจารย์ศรีเงินท่านได้รับถวายความรู้ จากศิษย์ฆราวาสคนสำคัญของวัดเขาอ้อท่านหนึ่ง คือ อาจารย์เปรม นาคสิทธิ์ พระอาจารย์ศรีเงินเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยคุณสมบัติต่างๆ ตามที่ทางวัดเขาอ้อกำหนดไว้ คุณสมบัติเด่นๆ ที่เห็นชัดก็คือการยึดพรหมวิหาร ๔ และสังคหวัตถุธรรม ซึ่งท่านได้นำมายึดเป็นหลักในการดำเนินชีวิต ด้วยเหตุนี้ พระอาจารย์ปาลจึงได้คัดเลือกท่าน จะเห็นได้ว่าพระอาจารย์ปาลเลือกไม่ผิดคน ท่านรูปนี้มีคุณสมบัติต่างๆ เหมาะสมที่จะทำหน้าที่สืบทอดวิชาของสำนักเขาอ้อจริง ต่อมาเมื่อท่านได้มีโอกาสนำวิชาต่างๆ มาใช้ ก็ใช้เพื่อประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก ท่านจึงได้สร้างคุณประโยชน์แก่พระศาสนาและสังคมมากมาย ไม่ว่าจะทางตรงและทางอ้อม ในส่วนของความผูกพันฉันศิษย์อาจารย์กับพระอาจารย์ปาลท่านก็ได้ปฏิบัติตัวในฐานะศิษย์อย่างสมบูรณ์
    เมื่อพระอาจารย์ปาลชราภาพมากเข้า ช่วยตัวเองไม่สะดวก จะอยู่ที่วัดเขาอ้อก็ไม่มีคนดูแลอย่างเป็นกิจจะลักษณะ พระอาจารย์ศรีเงินเองก็อยู่ไกล เกรงว่าจะดูแลปรนนิบัติรับใช้อาจารย์ไม่เต็มที่ ท่านจึงได้รับพระอาจารย์ปาล มาอยู่เสียที่วัดดอนศาลา ท่านทำหน้าที่ดูแลปรนนิบัติอย่างใกล้ชิดอยู่เป็นเวลาหลายปี จนกระทั่งพระอาจารย์ปาลต้องการจะกลับไปมรณภาพที่วัดเดิม คือ วัดเขาอ้อ ซึ่งท่านกลับไปได้เพียงประมาณ ๓ เดือนก็มรณภาพ
    เมื่อพระอาจารย์ปาลมรณภาพ พระอาจารย์ศรีเงินก็เป็นแม่งานใหญ่ในการจัดการศพของท่าน เรียกว่าพระอาจารย์ศรีเงินทำหน้าที่ของศิษย์ได้สมบูรณ์ทุกประการ เรื่องความกตัญญูต่อครูบาอาจารย์นั้น พระอาจารย์ศรีเงิน ท่านยังได้แสดงออกอย่างน่าชื่นชมกับอาจารย์ทุกรูป เป็นต้นว่าพระอาจารย์นำ แก้วจันทร์ เมื่อพระอาจารย์นำมาอุปสมบทอยู่ที่วัดดอนศาลาในวัยชรา ก็ได้พระอาจารย์ศรีเงินคอยดูแลปรนนิบัติ และกล่าวกันว่าระหว่างนั้นพระอาจารย์ศรีเงินได้รับถ่ายทอดวิชาสำคัญ ๆ อีกหลายอย่างจากพระอาจารย์นำ เรียกว่า พระอาจารย์นำมีวิชาเท่าไหร่ ท่านก็ถ่ายทอดให้หมดในวัยใกล้วาระสุดท้าย พระอาจารย์ศรีเงินเองก็ดูแลปรนนิบัติรับใช้ท่านอย่างดี แม้ว่าจะโดยพรรษา พระอาจารย์ศรีเงินอาวุโสมากกว่าพระอาจารย์นำมาก แต่ท่านก็เคารพในฐานะอาจารย์ ปฏิบัติต่อท่านอย่างศิษย์พึงปฏิบัติต่ออาจารย์ พูดได้ว่าพระศรีเงินเป็นศิษย์สายเขาอ้อรูปหนึ่งที่ได้รวบรวมวิชาดีทั้งหลายไว้มากมาย

    พระอาจารย์ศรีเงิน มรณะภาพ เมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๓ รวมสิริอายุได้ ๗๒ ปี ๕๑ พรรษา

    อ้างอิง อิทธิปาฏิหารย์พระเครื่อง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • sri.jpg
      sri.jpg
      ขนาดไฟล์:
      19.5 KB
      เปิดดู:
      104
  2. กำแพงพระ

    กำแพงพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    1,025
    ค่าพลัง:
    +1,966
    พระอาจารย์ศรีเงิน อาภาธโร : พิชชาจารย์แห่งเขาอ้อ พัทลุง

    ท่านมีนามเดิมว่า “ศรีเงิน” นามสกุล “ชูศรี”
    เป็นบุตรนายสุด โยมมาารดาชื่อ นางเฟือง ชูศรี
    เป็นชาวควนขนุนโดยกำเนิด
    เติบโตที่บ้านไผ่รอบ หมู่ที่ ๗ ต.ปันเต อ.ควนขนุน จ.พัทลุง
    เมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๒

    บรรพชาอุปสมบท เมื่อวันที่ ๔ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๔๘๓
    ตรงกับวันอังคาร แรม ๕ ค่ำ เดือน ๘ ปีขาล ณ วัดดอนศาลา
    โดยมีพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระพุทธิธรรมธาดา
    อดีตรองเจ้าคณะจังหวัดพัทลุงและเจ้าอาวาสวัดสุวรรณวิชัย
    อ. ควนขนุน เป็นพระอุปัชฌาย์ให้
    มีพระครูกรุณานุรักษ์ อดีตเจ้าคณะอำเภอควนขนุน
    และเจ้าอาวาสวัดสุวรรณวิชัย เป็นพระกรรมวาจาจารย์
    และมีพระครูกาชาด (บุญทอง) อดีตเจ้าอาวาสวัดดอนศาลา
    เป็นพระอนุสาสนาจารย์

    ท่านศึกษาเล่าเรียนวิชชาเขาอ้อด้านพุทธาคมกับพระอาจารย์ปาล
    ปาลธัมโม และด้านการแพทย์แผนโบราณกับพระครูพิพัฒน์สิริธร
    (พระอาจารย์คง สิริมโต) อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านสวน
    และศึกษากับอาจารย์ทางฝ่ายฆราวาสของเขาอ้อ คือ อาจารย์นำ
    แก้วจันทร์ อาจารย์เปรม นาคสิทธิ์ อาจารย์แจ้ง เพชรรัตน์

    วิชชาเขาอ้อ นับได้ว่าท่านพระอาจารย์ศรีเงิน ได้รับการถ่ายทอดจากพระอาจารย์ปาลมากที่สุด ส่วนด้านวิปัสสนาธรรมนั้นท่านได้ศึกษาจากพระอาจารย์เล็ก ปุญฺญโก วัดประดู่เรียง
    เมื่อพระอาจารย์นำมาอุปสมบทอยู่ที่วัดดอนศาลาในวัยชรา ระหว่างนั้นพระอาจารย์ศรีเงินได้รับถ่ายทอดวิชาสำคัญ ๆ อีกหลายอย่างจากพระอาจารย์นำ
    พระอาจารย์ศรีเงินเป็นศิษย์สายเขาอ้อรูปหนึ่งที่ได้รวบรวมวิชาดีทั้งหลายไว้มากมายที่สุด เพราะได้รับถ่ายทอดมาจากศิษย์เก่ง ๆ ของสำนักเขาอ้อหลายรูปหลายแขนง ท่านพระอาจารย์คล้อย ยกย่องท่านอาจารย์ศรีมาก ยกให้เป็นรุ่นพี่ ทั้งๆ ที่เป็นเพื่อนร่วมรุ่นเดียวกันมาตั้งแต่เด็ก และพระอาจารย์พรหม ยกย่องท่านมากในฐานะรุ่นพี่ แต่ยกให้เป็นอาจารย์
    ท่านพระอาจารย์ศรีเงินจึงได้ทำหน้าที่เสมือนประธานศิษย์เขาอ้อสายบรรพชิต เป็นผู้ประกอบพิธีกรรมสำคัญ ๆ ควบคู่กับอาจารย์ประจวบ คงเหลือ ศิษย์สายฆราวาสคนหนึ่งของสำนักเขาอ้อ
    พระอาจารย์ศรีเงิน ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่ "พระครูสิริวัฒนาการ"
    ดำรงตำแหน่งเป็นรองเจ้าอาวาสวัดดอนศาลา

    มรณภาพ เมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๓
    รวมสิริอายุได้ ๗๒ ปี ๕๑ พรรษา


    การสร้างอิทธิวัตถุมงคล

    ๑. พระกลีบบัวรุ่นแรก 2524 เนื้อผงผสมว่าน 108
    และผงมหาว่าน ดำ-ขาว
    ๒. เหรียญหล่อพระอาจารย์ทองเฒ่า วัดเขาอ้อ
    -เนื้อทองมหาสัตตโลหะ (เนื้อทองกายสิทธิ์เล่นแร่แปรธาตุ
    สูตรลับของสำนักเขาอ้ออันเกรียงไกร จำนวนสร้างเพียง 19 เหรียญ)
    -เนื้อนวโลหะผสมแผ่นชนวนจากพระเกจิอาจารย์ดังทั่วประเทศ 142
    อาจารย์ พร้อมทั้งผสมโลหะบ้าน เชียงอันศักดิ์สิทธิ์
    (สร้างเพียง 996 องค์)
    ๓. พระสมเด็จพิมพ์เล็กเนื้อนวโลหะผสมโลหะบ้านเชียง สร้างปี 2525
    มีลักษณะคล้ายกับพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม ด้านหลังช่วงบนมี
    อักขระว่า "นะอะระหัง" ด้านล่างเป็นอักษรว่า "วัดดอนศาลา"
    (สร้างเพียง 2231 องค์)
    ๔. เหรียญรุ่นแรกเนื้อเงิน, เนื้อทองแดง
    ๖. พระปิดตามหาลาภหล่อพิมพ์ 4 เหลี่ยม รุ่นแรกเนื้อเงิน,
    เนื้อนวโลหะผสมชนวนเนื้อทองมหาสัตตโลหะและชนวนโลหะจ้าว
    น้ำเงิน, เนื้อผงผสมมหาว่าน
    ๗. พระผงสิริวัฒน์พิมพ์ 5 เหลี่ยม รุ่นแรกผสมว่าน 108 รุ่นนี้สร้างแจก คราวฉลองสัญญาบัตร
    ๘. ตะกรุดฝนแสนห่าพิชิตมาร เนื้อตะกั่ว
    ๙. ตะกรุดเกราะเพชรพุทธเจ้า เนื้อตะกั่ว
    ๑๐. แหวนพิรอด
    ๑๑. พระปิดตามหามงคล
    ๑๒. พระกริ่งนะมหามงคล มีลักษณะคล้ายคลึงกับพระกริ่งบาเก็ง
    ส่วนบริเวณฐานด้านหลังปรากฏอักขระหล่อจมลงในเนื้อว่า
    "นะมหามงคล"
    ๑๓. พระสังกัจจายน์ลอยองค์
    ๑๔. พระกริ่งศรีเพชรรัตน์มหามงคล โดยถอดพิมพ์มาจากพระกริ่งจีน
    จำนวนสร้าง 309 องค์ เนื้อโลหะที่ใช้ในการสร้าง เป็นชนวนโลหะที่
    เหลือจากการสร้างวัตถุมงคลชุดมหามงคลและได้ผสมแผ่นทองลง
    จารอักขระของพระเกจิอาจารย์ชื่อดังทั่วประเทศ และแผ่นจารอักขระ
    อีก 108 แผ่น แผ่นจารนะ 29 นะ ของพระอาจารย์ศรีเงิน อาภาธโร
    ลงไปผสมด้วย

    พระ ปิดตามหามงคลและแหวนพิรอด ได้เข้าพิธีปลุกเสกครั้งแรก
    เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2524 ตรงกับวันเสาร์ ขึ้น 15 ค่ำ เวลา 19.29 น. ณ อุโบสถ วัดดอนศาลา โดยพระเกจิอาจารย์สายสำนักวัดเขาอ้อ มีพระครูกาชาด (บุญทอง) วัดดอนศาลา เป็นประธานในพิธี

    เสร็จพิธีแล้ว พระอาจารย์ศรีเงิน อาภาธโร ได้เก็บไว้ในกุฏิปลุกเสกเดี่ยว
    จนถึงวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2524 จึงได้นำไปปลุกเสกใหญ่อีกครั้งหนึ่งร่วมกับพระกริ่งนะมหามงคล

    พระเกจิอาจารย์ที่ปลุกเสก ประกอบด้วย
    1. พระครูกาชาด (บุญทอง) วัดดอนศาลา จังหวัดพัทลุง
    2. พระอาจารย์ศรีเงิน อาภาธโร วัดดอนศาลา จังหวัดพัทลุง
    3. พ่อท่านคล้อย วัดภูเขาทอง จังหวัดพัทลุง
    4. พระอาจารย์แก้ว วัดโคกโดน จังหวัดพัทลุง
    5. พ่อท่านหมุน วัดเขาแดงตะวันออก จังหวัดพัทลุง
    6. พระอาจารย์เล็ก วัดประดู่เรียง จังหวัดพัทลุง
    7. พระอาจารย์จับ วัดท่าลิพงศ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
    8. พระอาจารย์หนูจันทร์ วัดพัทธสีมา จังหวัดนครศรีธรรมราช
    9. พระอาจารย์ทอง พระธุดงค์มาจากจังหวัดสงขลา

    ๑๕. เหรียญรุ่นช่วยชาติ
    ๑๖. ผ้ายันต์
    ๑๗. สีผึ้ง

    ฯลฯ และอิทธิวัตถุมงคลอีกมากมายที่สร้างในนามวัดดอนศาลา

    ข้อมูลจาก OK Nation
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • sri 2.jpg
      sri 2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      78 KB
      เปิดดู:
      79
  3. กำแพงพระ

    กำแพงพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    1,025
    ค่าพลัง:
    +1,966
    วัตถุมงคลพระอาจารย์ศรีเงิน อาภาธโร

    วัตถุมงคลพระอาจารย์ศรีเงิน อาภาธโร
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 01.jpg
      01.jpg
      ขนาดไฟล์:
      77.5 KB
      เปิดดู:
      102
    • 02.jpg
      02.jpg
      ขนาดไฟล์:
      93.3 KB
      เปิดดู:
      86
    • 03.jpg
      03.jpg
      ขนาดไฟล์:
      93.5 KB
      เปิดดู:
      155
    • 04.jpg
      04.jpg
      ขนาดไฟล์:
      89.2 KB
      เปิดดู:
      142
  4. Norragate

    Norragate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    19,518
    ค่าพลัง:
    +37,735
    ดูขลังและสวยมากๆเลยครับ (^_^)
     
  5. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,370
    ข้อมูลแน่น ภาพก็สวย
    ขอบคุณมากครับ:cool:
     
  6. เจียมbody

    เจียมbody เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    199
    ค่าพลัง:
    +188
    แวะมาหาความรู้ครับ...............
     
  7. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,370
    ;34wel lcome_dog

    ยินดีต้อนรับครับ
    ขอบคุณที่แวะเข้ามาเยี่ยมชม
     
  8. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,370
    หลวงพ่อเจ็ก วัดเขาแดงตะวันตก

    10. หลวงพ่อเจ็ก วัดเขาแดงตะวันตก

    การสร้างวัตถุมงคล
         หลวงพ่อเจ็ก ฐิตธัมโม เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังของจังหวัดพัทลุง เป็นพระเกจิที่สร้างวัตถุมงคลด้วยตัวท่านเอง มีแบบพิมพ์พระเครื่องมากที่สุดในจังหวัดพัทลุง โดยเริ่มสร้างวัตถุมงคลมาตั้งแต่ พ.ศ.2486 จนกระทั่งมรณภาพ พ.ศ.2528 วัตถุมงคลที่สำคัญ ได้แก่
         เนื้อโลหะผสม เนื้อเงินยวง ชิน แก่นขนุนเป็นหิน ดังตัวอย่างต่อไปนี้
         10.1 พระฤาษีแบบต่างๆ เช่น พระฤาษีประนมมือ พระฤาษีสมาธิ พระฤาษีหนังตะลุง
         10.2 พระปิดตาแบบต่างๆ เช่น พระปิดตามหาลาภ พระปิดตามหาอุด พระปิดตากุมารในครรภ์ เป็นต้น
         10.3 พระสังกัจจายน์แบบต่างๆ เช่น พระสังกัจจายน์หลังตรง หลังเอน เป็นต้น
         10.4 พระพุทธรูปประจำวัน
         10.5 พระพุทธนิมิต หรือ พระชัยวัฒน์
         10.6 พระสิวลีแบบต่างๆ
         10.7 พระนางกวักแบบต่างๆ
         10.8 พระขุนแผนแบบต่างๆ
         10.9 พระอุปคุปต์
         10.10 พระหนุมานแบบต่างๆ
         10.11 พระเจ้าห้าองค์แบบต่างๆ
         10.12 พระลีลาแบบต่างๆ
         10.13 พระนางพญาแบบต่างๆ
         10.14 แหวนพิรอดแบบต่างๆ
         10.15 ผ้ายันต์แบบต่างๆ
         10.16 ลูกอมแบบต่างๆ
         10.17 ตะกรุดแบบต่างๆ
     
  9. กำแพงพระ

    กำแพงพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    1,025
    ค่าพลัง:
    +1,966
    พระหลวงปู่่ทวดเนื้อว่าน

    พระหลวงปู่ทวดเนื้อว่าน
    พระอาจารย์ศรีเงิน วัดดอนศาลา
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 07.jpg
      07.jpg
      ขนาดไฟล์:
      83.6 KB
      เปิดดู:
      153
    • 08.jpg
      08.jpg
      ขนาดไฟล์:
      93.4 KB
      เปิดดู:
      125
  10. กำแพงพระ

    กำแพงพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    1,025
    ค่าพลัง:
    +1,966
    ขอบคุณครับ คุณ Norragate
    เห็นภาพพระของคุณ Norragate
    แต่ละองค์ก็สวยและถ่ายรูปได้แจ่มอีกต่างหาก:cool:
     
  11. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,370
    ขอบคุณ คุณกรุพระ :cool:
    ที่กรุณานำภาพสวยๆข้อมูลดีๆ
    มา updated. ให้กับกระทู้นี้เสมอมาครับ
     
  12. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    พระสวยครับ ขอบคุณที่นำมาให้ชมครับ
     
  13. Norragate

    Norragate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    19,518
    ค่าพลัง:
    +37,735
    สวัสดีครับพี่ Amuletism และทุกๆท่าน (^_^)

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  14. กำแพงพระ

    กำแพงพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    1,025
    ค่าพลัง:
    +1,966
    พระหลวงปู่ทวดเนื้อว่าน พิมพ์พระรอด

    พระหลวงปู่ทวดเนื้อว่าน พิมพ์พระรอด
    พระอาจารย์ศรีเงิน วัดดอนศาลา<!-- google_ad_section_end -->
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 05.jpg
      05.jpg
      ขนาดไฟล์:
      69.3 KB
      เปิดดู:
      114
    • 06.jpg
      06.jpg
      ขนาดไฟล์:
      77.4 KB
      เปิดดู:
      108
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 29 พฤษภาคม 2012
  15. กำแพงพระ

    กำแพงพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    1,025
    ค่าพลัง:
    +1,966
    ใบฝอยพระหลวงปู่ทวดเนื้อว่าน
    พระอาจารย์ศรีเงิน วัดดอนศาลา
    <!-- google_ad_section_end -->
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 09.jpg
      09.jpg
      ขนาดไฟล์:
      70.5 KB
      เปิดดู:
      102
    • 10.jpg
      10.jpg
      ขนาดไฟล์:
      105.4 KB
      เปิดดู:
      112
  16. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,370
    ขอบคุณมากครับกับเหรียญหลวงพ่ออุตตมะ
    ผมไม่มีพระของท่าน แต่มีลูกประคำ 108
    ไว้บูชาครับ:cool::cool::cool:
     
  17. กำแพงพระ

    กำแพงพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    1,025
    ค่าพลัง:
    +1,966
    หลวงพ่อเจ็ค วัดเขาแดงตะวันตก

    หลวงพ่อเจ็ค วัดเขาแดงตะวันตก

    อัตประวัติ หลวงปู่เจ็ก ฐิตธัมโม
        ชาติภูมิ

         หลวงปู่เจ็ก ฐิตธัมโม นามเดิม เจ็ก มะนาวี เกิดเมื่อ วันพุธ ขึ้น 9ค่ำเดือน10 รศ.121 วันที่10 กันยายน พศ.2445 ณ. บ้านเจ็นตก ต.ตำนาน เมืองพัทลุง

         โยมบิดา ชื่อ นายแดง มะนาวี โยมมารดา ชื่อ นางชุม มะนาวี มีพี่น้องรวม 6 คน หลวงปู่เจ็กเป็นบุตรคนที่ 2

        เมื่อ หลวงปูเจ็ก อายุได้ 10ขวบ ก็ได้ บรรพชาเป็นสามเณร ณ.วัดจินตาวาส (เจ็นออก)ต.ตำนาน เมืองพัทลุง เพื่อเล่าเรียน ก ข ก กา และ คุณพระนอโม ขอมไทย ต่างๆ จาก พระอธิการชุม โอภาโส เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ตำนาน ต.ตำนาน เมืองพัทลุง และได้ศึกษาวิชา กับ พระอธิการขำ (พระครูถาวรกรณีย์) เจ้าอาวาสวัดจินตาวาส (เจ็นออก) ต.ตำนาน เมืองพัทลุง จนสิ้นวิชา

          พระอธิการขำ ก็ได้นำไปฝากเรียนสรรพเวทย์วิทยาต่อกับ หลวงปู่ทอง วัดประจิมทิศาราม (เจ็นตก) ผู้มีสรรพเวทย์วิเศษขลัง รวมทั้งด้านสมุนไพรใบยารักษาชีวิตคนให้พ้นจากสรรพโรคา

         ตอมา ทางบ้านท่าน ขอร้องให้สึกมาช่วย งานทางบ้าน ท่านก็ได้สนใจในทางงานช่างทั้งปวง งานปั้น งานแกะสลัก ทำเครื่องดนตรีพื้นบ้าน และการฝึกรำ มโนราห์ จนทางบ้านท่านฐานะมั่นคงดีแล้ว หลวงปู่เจ็ก จึงได้ขอทางโยมพ่อโยมแม่บวชอีกครั้งหนึ่ง..เมื่ออายุได้ 23ปี

         อุปสมบท

         หลวงปู่เจ็ก ฐิตธัมโม ท่านเป็นผู้เลื่อมใสในพระบวรพุทธศาสนา อย่างลึกซึ้งอยู่แล้ว จึงได้ขอทางโยมพ่อโยมแม่บวชอีกครั้งหนึ่ง เมื่ออายุได้ 23ปี หลวงปูเจ็ก ฐิตธัมโม ได้เข้าอุปสมบท ณ พระอุโบสถวัดจินตาวาส (เจ็นออก)ต.ตำนาน เมืองพัทลุง เมื่อวันศุกร์ แรม6ค่ำ เดือน3ปีชวด เวลา15.32น. ตรงกับวันที่ 13 กพ. พศ.2467 โดยมี หลวงพ่อดำ อินทสโร เจ้าอาวาสวัดท่าแค เป็น องค์อุปัชฌาย์ พระครูวินัยธร ชู วัดควนอินทรนิมิตร เป็นพระกรรมวาจา พระอธิการขำ (พระครูถาวรกรณีย์) เจ้าอาวาส วัดจินตาวาส (เจ็นออก) เป็นอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า ฐิตธัมโมภิกขุ

          ต่อมา หลวงปู่เจ็กก็ได้เรียนสรรพเวทย์วิทยาชั้นสูงต่อกับ หลวงปู่ทอง วัดประจิมทิศาราม (เจ็นตก) ผู้มีสรรพเวทย์วิเศษขลัง รวมทั้งด้านสมุนไพรใบยารักษาชีวิตคนให้พ้นจากสรรพโรคา

          หลวงปู่ทอง วัดประจิมทิศาราม (เจ็นตก) เป็นผู้มี วาจาสิทธิ์ สรรพเวทย์วิเศษขลัง รวมทั้งด้านสมุนไพรใบยารักษาชีวิตคนให้พ้นจากสรรพโรคา เก่งกล้าในวิชาต่อกระดูกเป็นที่เล่าขาน วิชา อักษรเสกเลขยันต์ มหาอุตม์ คงกระ พันชาตรี วิชาสร้างตะกรุดเครื่องรางของขลังสารพัน อันวิเศษ ตลอดจนการหลอมโลหะแปรธาตุ

         หลวงปู่ทอง วัดประจิมทิศาราม (เจ็นตก) ได้เมตตาถ่ายทอดให้จนหมดสิ้นกระบวนสรรพวิทยา และได้เมตตาสั่งสอน ทดสอบกวดขันจน ไช้ได้ตามคำภีร์วิเศษ จนชำนาญดีทุกวิชา เมื่อหลวงปู่ทอง วัดประจิมทิศาราม (เจ็นตก) มรณะภาพลง เมื่อ พศ.2490 หลวงปู่เจ็ก ฐิตธัมโม ก็ยังได้ศึกษาสรรพเวทย์วิเศษขลัง ต่อจาก หลวงปู่เมฆ ปุณณสโร ผู้ล่องหนหายตัวได้(หลวงปู่เมฆ ปุณณสโร เจ้าอาวาสวัดประจิมทิศาราม (เจ็นตก)องค์ต่อมา ซึ่งมีศักดิ์เป็นศิษย์ผู้พี่ของท่าน ) หลังจากนั้ หลวงปู่เจ็ก ฐิตธัมโม ก็ยังได้เดินทาง ไปยังวัดต่าง ที่มีพระอาจารย์ทรงคุณสรรพเวทย์วิเศษขลัง เพื่อแลกเปลี่ยนวิชาความรู้อันวิเศษ ซึ่งกันและกัน เช่น

          พระอาจารย์ดิษฐ์ วัดปากสระ

          พระครูสิทธิยาภิรัต (เอียด ) วัดดอนศาลา

          พระครูกาเดิม (ปาน) วัดเขียนบางแก้ว เขาซัยสน

          หลวงปู่เล็ก ปุญญโก วัดประดู่เรียง ควนขนุน

          พระครูจรูญกรณีย์ (ตุด) วัดคูหาสวรรค์

          หลวงปู่หมุน ยสโร วัดเขาแดงตะวันออก

          หลวงพ่อศรีแก้ว กุลคุโณ วัดไทรใหญ่ ควนเนียง สงขลา

          และพ่อท่านสีนวน วัดบ้านด่าน หัวไทร นครศรี เป็นต้น

          หลวงปู่เจ็ก ฐิตธัมโม ได้จำพรรษาอยู่ ณ วัดจินตาวาส (เจ็นออก) จนประมาณ พศ.2478 ก็ ได้ย้ายไปจำพรรษาอยู่ ณ.วัดประดู่ทอง 2 ปี ต่อมาปี 2480 นายปั้นทองมาก และชาวบ้าน วัดเขาแดงตะวันตก มานิมนต์ท่าน หลวงปูเจ็ก ไปจำพรรษาที่ วัดเขาแดงตะวันตก ซึ่งมี พ่อท่านแจ้ง สุภาจาโร สหธรรมิกของหลวงปู่ จำพรรษา อยู่ก่อนแล้ว..ท่านจึงได้ย้ายมาจำพรรษาที่ วัดเขาแดงตะวันตก จวบจนสิ้น อายุขัยของท่าน

          เมื่อ พศ. 2528 หลวงปู่เจ็ก ฐิตธัมโม ได้ อาพาธด้วยโรคชรามีอาการมือบวมเท้าบวม ทางศิษย์ก็ได้หาทางรักาาจนท่าน มีอาการดีขึ้น จนกระทั่งเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พศ. 2528 หลวงปู่เจ็กก็ไม่ยอมฉันอาหารและยาทมุกชนิด จนในคืนวันที่ 3 ธันวาคม พศ. 2528 เวลา21.20 น. ท่านก็ได้ละสังขารอย่างสงบ ศิริอายุได้83ปี2เดือน23วัน 60 พรรษา

          หลวงปู่เจ็ก ฐิตธัมโม เป็นผู้ทรงคุณวิเศษขลัง ในหลายๆด้าน เก่งกล้าในวิชาต่อกระดูกเป็นที่เล่าขาน วิชาคงกระพันชาตรี วิชาสร้างตะกรุดเครื่องรางของขลังสารพัน ปรากฎคุณอันวิเศษ ตลอดจนการหลอมโลหะแปรธาตุ และยังได้เลื่องลือทางด้านยาสมุนไพร ช่วยชีวิตผุ้คน ยาสมุนไพรที่ลือชื่อของท่าน เช่น ยาแก้ยาสั่ง ยาแก้พิษงูทุกชนิด ยาแก้โรคผิวหนัง โด้ เปื่อย เรื้อน กลากเกลื้อน เน่าเปื่อยพุพอง หนองเน่า ทั้วปวง.. และน้ำมันต่อกระดูกอันวิเศษ กระดูกบั่น ลั่น ร้าวหัก แหลกแตก ก็ประสานได้สิ้น ไม่ต้องพิการ หรือตัดด้วน เลยสักราย

    ขอบคุณข้อมูล เวปศูนย์พระ
     
  18. กำแพงพระ

    กำแพงพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    1,025
    ค่าพลัง:
    +1,966
    หลวงพ่อกลั่น วัดเขาอ้อ

    พระครูอดุลธรรมกิตติ์ (หลวงพ่อกลั่น อคฺคธมฺโม) วัดเขาอ้อ

       ชาติกำเนิด

       เด็กชายกลั่น แก้วรักษา ได้ถือกำเนิดมาจากตระกูลชาวนา เมื่อวันอาทิตย์ แรม 2 ค่ำ เดือนอ้าย ปีฉลู ตรงกับ วันที่ 14 ธันวาคม พุทธศักราช 2456 ณ บ้านใสคำ ตำบลโตนดด้วน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง บิดาชื่อ นายตุด แก้วรักษา และ มารดาชื่อ นางจันทร์ แก้วรักษา เด็กชายกลั่นมีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน จำนวน 3 คน คือ

       1.นางกลิ่น แก้วรักษา (สถาพร)

       2.นายกลั่น แก้วรักษา 3.นางขลิบ แก้วรักษา

       ชีวิตวัยเด็ก

       เด็กชายกลั่น เป็นเด็กที่ค่อนข้างซุกซน แต่มีแววแห่งความฉลาดปราดเปรียว เด็กชายกลั่นได้เริ่มเข้าเรียน โรงเรียนประชาบาล ตำบลละอาย อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อ พ.ศ.2462 และ เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เมื่อ พ.ศ.2467 หลังจากนั้นก็ได้ออกไปช่วยเหลืองานบิดามารดาในการทำไร่นา เมื่ออายุเริ่มเข้าสู่วัยหนุ่ม เด็กชายกลั่นก็ได้มีโอกาสได้ศึกษาโลกภายนอกกว้างขวางยิ่งขึ้น และได้เริ่มออกจากบ้าน เพื่อแสวงหาโชคลาภอย่างเช่นเด็กหนุ่มโดยทั่วๆไป

       กลายเป็นนายกลั่นเพราะเหตุด้วยอายุเกิน 15 ปี บิดามารดาพิจารณาเห็นว่าสมควรที่จะให้นายกลั่นได้ศึกษาธรรมวินัย เพื่อจะได้เป็นบุคคลที่มีคุณธรรมโดยสมบูรณ์ ซึ่งก็เป็นความปรารถนาของบิดามารดาสมัยก่อน ดังนั้น นายกลั่นก็ได้เข้าสู่เพศบรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุ 17 ปีเต็ม ณ วัดสวนขัน ตำบลละอาย อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อ พ.ศ.2473 โดยมีพระอาจารย์สังข์วัดทุ่งไหม้เป็นพระอุปัชฌาย์ สามเณรกลั่นได้ใช้ชีวิตบรรพชาอยู่ที่แห่งนี้ได้ถึง 4 พรรษา ซึ่งก็นับว่ามากพอครบเทอมอย่างเช่นนักการเมืองนั่นแหละ… ปลายปีที่ 4 แห่งชีวิตบรรพชา สามเณรกลั่นก็ได้ตัดสินใจลาสิกขาบทออกไปใช้ชีวิตทางโลกอีก คงจะคิดว่าทางโลกนั้นมีหนทางที่จะเดินไปสู่ความก้าวหน้าของชีวิตได้ดีกว่า

         ชีวิตคู่

         หนุ่มวัยฉกรรจ์กลั่น แก้วรักษา ก็ยังมีความปรารถนาที่จะมีชีวิตคู่เฉกเช่นหนุ่มสาวโดยทั่วไป หนุ่มกลั่นได้พิจารณาอย่างรอบคอบถี่ถ้วนโดยตนเอง และการเชื่อฟังบิดามารดาในการเลือกคู่ครอง หนุ่มกลั่นจึงตัดสินใจแต่งงานกับหญิงสาวนามว่า กุหลาบ ทองพันธุ์ บุตรของผู้ใหญ่เปลี่ยน ทองพันธุ์ และ นางพลับ ทองพันธุ์ ซึ่งอยู่บ้านห่างกันคนละฝากถนนรถไฟ มีอาชีพในการทำนาเช่นกัน เมื่ออายุได้ 21 ปี นายกลั่น ได้ใช้ชีวิตการครองเรือน มีบุตรและธิดาทั้งหมด 6 คน คือ

        1. นางหนูผอง แก้วรักษา แต่งงานกับ นายประสิทธิ์ ชูศรี

        2. นางละออง แก้วรักษา แต่งงานกับ นายคลี่ เรืองศรี

        3.นายธานี แก้วรักษา แต่งงานกับ นางฉาย แก้วรักษา

        4.นางบุญคุ้ม แก้วรักษา แต่งงานกับ นายอรุณ กลับแก้ว

        5.นายถาวร แก้วรักษา แต่งงานกับ นางละม่อม ไหมพุ่ม

        6.นางรัตนา แก้วรักษา แต่งงานกับ นายสำราญ แปงสาย

        เมื่อชีวิตครองเรือนของนายกลั่น ตั้งแต่แต่งงาน มีบุตรธิดา นายกลั่นได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมสมาชิกภายในครอบครัว อบรมสั่งสอนบุตรธิดา เหมือนบิดามารดาโดยทั่วไป จนกระทั่งอายุ 58 ปี นายกลั่น เห็นว่าบุตรธิดาเติบใหญ่พอที่จะช่วยเหลือตนเองได้แล้ว จึงได้ตัดสินใจเข้าสู่เพศบรรพชิตอีกครั้ง เมื่อวันจันทร์ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 8 ปีกุน ตรงกับ วันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ.2514 ณ วัดบ้านสวน ตำบลมะกอกเหนือ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง โดยมีท่านพระครูพิพัฒน์ศิริธร (หลวงพ่อคง) เจ้าอาวาสวัดบ้านสวนเป็นพระอุปัชฌาย์

         สมณเพศจากอดีตสู่ปัจจุบัน

         เมื่อพระกลั่น อคฺคธมฺโม ถือเพศเป็นสมณแล้ว ก็ได้กลับไปอยู่ ณ วัดเขาอ้อ และได้ศึกษาธรรมวินัยไปด้วยควบคู่กับการศึกษาเรื่องไสยศาสตร์ เพราะวัดเขาอ้อเป็นวัดที่มีชื่อเสียงในเรื่องเครื่องรางของขลัง โดยสมัยนั้นท่านพระอาจารย์ปาน ปาลธมฺโม เป็นเจ้าอาวาส และเป็นเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงสืบทอดต่อมาจากท่านพระอาจารย์ทองเฒ่า

          ภายหลังจากที่ท่านพระอาจารย์ปาน ปาลธมฺโม ได้มีสุขภาพร่างกายไม่ค่อยจะสมบูรณ์มากนัก และได้ไปจำพรรษาที่วัดดอนศาลาชั่วคราว ใน พ.ศ.2518 พระกลั่น ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดเขาอ้อ และหนึ่งปีให้หลัง คือ พ.ศ.2519 ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดเขาอ้อ ต่อจากนั้นเรื่อยมาก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระใบฎีกากลั่น ซึ่งก็เป็นพระฐานานุกรมรูปหนึ่ง ในทำเนียบพระสังฆาธิการ ตำบลมะกอกเหนือ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง จนกระทั่งได้เป็น ท่านพระครูอดุลธรรมกิตติ์ ใน ปี พ.ศ.2536

        อาลัย "พ่อท่านกลั่น" เกจิวัดเขาอ้อพัทลุง

        คุณธรรม คือ ตำนานคน หลวงพ่อกลั่น วัดเขาอ้อ ได้กลั่นธรรมดำ (อกุศล) เป็นธรรมขาว (กุศล) จนเหลือแต่ความว่างเปล่าแห่งธรรมด้วยวัยวุฒิ 94 ปี 36 พรรษา เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2549

       วัดเขาอ้อ เป็นวัดโบราณเก่าแก่แห่งหนึ่งของจังหวัดพัทลุง ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ต.มะกอกเหนือ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง

       วัดแห่งนี้มีชื่อเสียงโด่งดังด้านวิทยาคมมาตั้งแต่อดีต โดยเฉพาะเครื่องรางของขลัง และพระเครื่องวัตถุมงคลที่มีพุทธคุณ เป็นสุดยอดปรารถนาของคนทั่วไป

        ด้วยความรู้ด้านวิทยาคมแห่งสำนักวัดเขาอ้อ มีทั้งพระภิกษุและฆราวาส ในอดีตได้เล่าเรียนสืบต่อมาหลายชั่วอายุคน จนกลายเป็นตำนานสืบสายพุทธาคม มายาวนานต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

        รวมไปถึงหลวงพ่อกลั่น อัคคธัมโม หรือพระครูอดุลธรรมกิตติ เจ้าอาวาสวัดเขาอ้อ ต.มะกอกเหนือ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง ถือเป็นหนึ่งในผู้สืบทอดวิทยาคม สายวิชาสำนักวัดเขาอ้อ

           ภายหลังใช้ชีวิตในร่มกาสาวพัสตร์เป็นเวลา 4 ปี ท่านได้ตัดสินใจลาสิกขาออกไปใช้ชีวิตทางโลก ตามความปรารถนาของคนวัยหนุ่มและได้แต่งงานกับ น.ส.กุหลาบ ทองพันธุ์ ลูกสาวผู้ใหญ่เปลี่ยน-นางพลับ ทองพันธุ์ มีบุตรชาย-หญิง รวม 6 คน

         หลังจากที่ได้อบรมเลี้ยงดูบุตรธิดาทุกคนเติบใหญ่สามารถช่วยเหลือตนเองได้แล้ว นายกลั่น เกิดความเบื่อหน่ายชีวิตทางโลก จึงได้ตัดสินใจหันหน้าเข้าสู่เพศบรรพชิตอีกครั้ง เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2514 ณ วัดบ้านสวน ต.มะกอกเหนือ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง โดยมีพระครูพิพัฒน์ศิริธร (หลวงพ่อคง) เจ้าอาวาสวัดบ้านสวน เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงพ่อคล้าย วัดสวนขัน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และหลวงพ่อหนานสูง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "อัคคธัมโม" มีความหมายว่า ผู้มีธรรมเป็นยอด

          หลังจากที่ได้ศึกษาอยู่กับหลวงพ่อคง ที่วัดบ้านสวน อ.ควนขนุน จ.พัทลุง นานพอสมควร ท่านได้รับมอบหมายให้ไปรักษาการบูรณะวัดเขาอ้อ พร้อมทั้งศึกษาพระธรรมวินัยควบคู่ไปกับการศึกษาวิทยาคมสายเขาอ้อกับพระอาจารย์ปาล ปาลธัมโม ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเขาอ้อในขณะนั้น และเป็นผู้สืบทอดวิชาจากพระอาจารย์ทองเฒ่า

          พ.ศ.2518 พระอาจารย์ปาล ไปจำพรรษาที่วัดดอนศาลาชั่วคราว หลวงพ่อกลั่น ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดเขาอ้อ พ.ศ.2519 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดเขาอ้อตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และได้รับการแต่งตั้งเป็นพระใบฎีกากลั่น รวมทั้งได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้นโทที่ พระครูอดุลธรรมกิตติ ตามลำดับ

           ตลอดเวลา หลวงพ่อกลั่นได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์ฟื้นฟูวัดเขาอ้อ จนเจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับ พร้อมสร้างสาธารณประโยชน์มากมาย เป็นที่ศรัทธาของประชาชนทั่วไปทั้งชาวไทยและต่างประเทศ

         หลวงพ่อกลั่น ได้ปฏิบัติงานศาสนกิจด้วยดี ได้อบรมสั่งสอนพระธรรมวินัยแก่พระภิกษุสามเณรและศิษย์วัดในการปกครอง อบรมสั่งสอนศีลธรรม จริยธรรม แก่พุทธบริษัทอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ ยังเป็นกรรมการที่ปรึกษาหมู่บ้านอพป.หมู่ที่ 3 บ้านเขาอ้อ โดยให้คำแนะนำปรึกษาและช่วยเหลือแก่คณะกรรมการหมู่บ้าน ร่วมปฏิบัติกิจทางศาสนาเป็นตัวอย่างแก่ภิกษุสามเณรและประชาชน

          ด้านงานสาธารณูปการ หลวงพ่อกลั่น ได้สร้างกุฏิถาวรเป็นเรือนไม้ 1 หลัง สร้างพระประธานยืนหน้าอุโบสถ ถังประปาถาวร ห้องน้ำห้องส้วม กุฏิถาวรทรงไทย สร้างที่ประดิษฐาน รูปเหมือนพระอาจารย์ทองเฒ่า สร้างโรงครัวแบบถาวร เมรุเผาศพ แบบถาวร หอสมุดแบบถาวรลักษณะทรงไทย สร้างบันไดขึ้นภูเขาอ้อ จำนวน 89 ชั้น ศาลาพักร้อนบนภูเขา 1 หลัง สร้างพระพุทธรูป และอื่นๆ อีกมากมาย

          ด้านสาธารณประโยชน์ หลวงพ่อกลั่นได้ชักชวนประชาชนช่วยกันสร้างถนนเข้าสู่วัดเขาอ้อ และทำถนนต่อจากวัดไปถึงบ้านเขากลาง พร้อมทั้งจัดสร้างสะพานข้ามคลอง ร่วมหาเงินและบริจาคเงินสมทบสร้างอาคารเรียนให้กับโรงเรียนวัดเขาอ้อ สร้างสะพานข้ามคลอง ถนนสายเขาอ้อ-ปากคลอง ร่วมกับประชาชนสร้างถนนสายเขาอ้อ-ดอนศาลา และสิ่งสาธารณประโยชน์อื่นๆ อีกหลายอย่าง

          หลวงพ่อกลั่น ได้สืบทอดวิชาสายเขาอ้อ ท่านได้นำวิชาความรู้ปลุกเสกสร้างวัตถุมงคลออกมาหลายรุ่นด้วยกัน และที่กำลังได้รับความนิยมมากขณะนี้ก็คือ รุ่นพุทธาคมนอโม ซึ่งสร้างขึ้นในโอกาส ฉลองอายุวัฒนมงคล 90 ปี พระครูอดุลธรรมกิตติ "หลวงพ่อกลั่น" วัดเขาอ้อ เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2546

          หลวงพ่อกลั่น เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังท่านหนึ่ง ที่ได้เล่าเรียนวิชาความรู้ตำรับวัดเขาอ้อสืบต่อมา ซึ่งก่อนท่านจะละสังขารอย่างสงบ เมื่อช่วงวันสงกรานต์ที่ผ่านมา

          หลวงพ่อกลั่น ได้สร้างวัตถุมงคลและทำพิธีปลุกเสกวัตถุมงคลไว้หลายรุ่นด้วยกัน เช่น พระปิดตามหาอุดเขาอ้อ รุ่นบูรณะถ้ำฉัตรทัณฑ์บรรพต ซึ่งได้ทำพิธีพุทธาภิเษก เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2549 ณ ถ้ำฉัตรทันต์บรรพต วัดเขาอ้อ

          วัตถุมงคลรุ่นดังกล่าว มีหลายชุดด้วยกัน คือ วัตถุมงคลพระปิดตามหาอุด ชุดกรรมการเทหล่อในถ้ำ พระยอดขุนพลนำฤกษ์ ฤาษีนำฤกษ์ พิมพ์ใหญ่ ชุดพระหล่อฤาษีเทองค์ครูเนื้อเงินยวง ยังมีรุ่นเมตตามหาบารมี พิธีปลุกเสกครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2548 และรุ่นเมตตามหาบารมี พิธีปลุกเสกครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2548

          ณ บัดนี้ นามแห่งหลวงพ่อกลั่น กลายเป็นอีกตำนานสุดยอดวิทยาคมแห่งสำนักวัดเขาอ้อ

     
  19. กำแพงพระ

    กำแพงพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    1,025
    ค่าพลัง:
    +1,966
    หลวงพ่อเล็ก วัดประดู่เรียง พัทลุง

    ประวัติพระอาจารย์เล็ก ปุญญโก

    ลป.เล็ก ปุญญโก เดิมชื่อ ทองแก้ว มธวสู ลป.เป็นผู้ที่ไม่ติดยึดกับชื่อเสียง เมื่อมาอยู่วัดประดู่เรียง มีคนเรียกท่านว่า อาจารย์เล็ก จนติดปาก ท่านก็มิได้ทักท้วง จนมีคนรู้จักชื่อจริงท่านน้อยมาก.. เป็นบุครของ นางด้วน นายร่ม มธวสู เกิดที่ บ้านควนถบ ลำปำ จ.พัทลุง เมื่อ ปีพศ.2422 เมื่อ อายุ ได้ 7ขวบ โยมพ่อได้นำไปฝากให้เรียน หนังสือ กับหลวงลุง คือพ่อท่านสมภารเกลื่อม แห่งวัดทะเลน้อย ซึ่งเป็น สหธรรมมิก กับพระอาจารย์ทองเฒ่า ปรมาจารย์ผู้พร้อมด้วยอภิญญาแห่งวัดเขาอ้อ คนรุ่นเก่าเล่าว่า พระอาจารย์ทองเฒ่า เหมือนดวงอาทิตย์ จำเริญด้วย อิทธิฤทธิ์ มากมาย พ่อท่านสมภารเกลื่อม เหมือนดวงจันทร์ คือถึงพร้อมด้วย บุญญฤทธิ์ อันประเสริฐ ท่านมีบุญญาภินิหารมากมายจน ท่านพระอาจารย์ทองเฒ่า ยอมรับ...พ่อท่านสมภารเกลื่อม สามารถ ทำให้ จรเข้2น้ำ ชึ่งดุมากๆเชื่องได้ จนเด็กขึ้นขี่หลังและจับเล่นได้ ซึ่งต่อมา ลป.เล็กก็ ทำได้เช่นกัน.. ต่อมาลป.เล็ก อายุได้14ปี ก็ได้บวชเณร โดยมีพระอาจารย์ทองเฒ่า ปรมาจารย์ผู้พร้อมด้วยอภิญญาแห่งวัดเขาอ้อ เป็นพระอุปัฌชาย์ ท่านได้เดินทางไปๆมาๆ เพื่อศึกษาทางด้านพุทธธรรม พระเวทย์ และสรรพเวทย์วิทยาการต่างๆ จนมีความสามารถหลายด้าน เช่น ล่องหนหายตัวได้ ตั้งแต่ครั้งเป็นสามเณร....และเมื่อท่านอายุครบบวชก็ได้เข้าอุปสมบท ณ.วัดเขาอ้อ โดยมีพระอาจารย์ทองเฒ่า ปรมาจารย์ผู้พร้อมด้วยอภิญญาแห่งวัดเขาอ้อ เป็นพระอุปัฌชาย์ พ่อท่านสมภารเกลื่อม เป็นพระกรรมวาจา เมื่อบวชแล้ว ท่านก็ได้ ถือวิเวกหลีกเร้น ไปถือปฏิบัติธรรม ณ.วัดประดู่เรียง ซึ่งเป็นวัดร้างมานานนม ซึ่งรกร้างว่างเปล่า เต็มไปด้วย ไอ้เข้ ไอ้โขง งูจงอาง งูพิษต่างๆชุกชุมมาก และที่สำคัญ คือเป็นดินแดนอาถรรพ์ ผีดุ จนเป็นที่เลื่องลือ ขยาดกลัว ของชาวบ้าน แถวนั้นมาหลายชั่ว อายุคน...ท่านได้ถือวิเวกอยู่ที่ณ.วัดประดู่เรียง ซึ่งเป็นวัดร้าง ตั้งแต่อายุท่านได้ 30ปี จนกระทั่งท่านและชาวบ้าน ได้ช่วยกันทำนุบำรุง ซ่อมแซม..ก่อสร้าง จนเป็นวัดได้สำเร็จ ในกาลต่อมา ลป.เล็ก ปุญญโก ท่านนี้.... ท่านพระครูสิทธิยาภิรัต พ่อท่านเอียด ดอนหลา... อดีตเจ้าอาวาส แห่งวัด ดอนศาลา อันลือนาม ผู้ถึงพร้อมด้วยด้วยอภิญญา และสรรพเวทย์วิทยาการ...คือถึงพร้อมด้วย บุญญฤทธิ์ อันประเสริฐ ท่านมีบุญญาภินิหารมากมายต่างๆ ได้ ยอมรับ และ กล่าวยกย่องท่านลป.เล็ก ปุญญโก ต่อหน้า ท่าน พ่อท่านปาล ปาลธัมโม วัดเขาอ้อ พ่อท่านคง วัดบ้านสวน และขุนพันธรักราชเดช ว่าลป.เล็ก ปุญญโก ท่านประดู่เรียง บรรลุภูมิธรรมขั้นสูงสุดมาแต่ครั้งหนุ่มๆ และ เน้นย้ำให้เคารพยำเกรงอยู่เสมอๆ ไม่จำเป็นอย่าได้ไปรบกวน ท่านพระครูสิทธิยาภิรัต พ่อท่านเอียด ดอนหลา... อดีตเจ้าอาวาส แห่งวัด ดอนศาลา อันลือนาม ให้ความเกรงใจต่อ ศิษย์น้องของท่าน ซึ่งคือ..ลป.เล็ก ปุญญโก เวลาท่านพ่อท่านเอียด ดอนหลา... กล่าวถึง ลป.เล็ก ปุญญโก อันเป็นพระคู่สวด และ สหธรรมิก คู่ใจ ขแองท่านคราใดๆ ท่านจะเรียก ลป.เล็ก ปุญญโก ด้วยความเกรงใจว่า ท่านประดู่เรียงจนติดปากทุกคราไป....

    ลป.เล็ก ปุญญโก ได้จำพรรษาและเป็นเจ้าอาวาสปกครอง วัดประดู่เรียง มาตั้งแต่ราวปี พศ.2455 จนมาถึงแก่กาล มรณภาพ เมื่อปี พศ.2530...

    เมื่อศิริอายุได้ 108ปีพอดี... เหรียญหลวงพ่อเล็ก วัดประดู่เรียง รุ่นแรก ปี 23 นิยม สภาพสวยเดิมๆ พระอาจารย์เล็ก ท่านจะไม่นิยมสร้างอิทธิวัตถุมงคล มีการร้องขอรบเร้ามาแต่ครั้งสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ท่านก็ไม่ยอม จนมาในช่วงระยะวัยชราภาพมากแล้วคณะศิษย์ของท่านนำโดยพระอาจารย์ศรีเงิน อาภาธโร วัดดอนศาลา ได้ขออนุญาตจัดสร้าง เมื่อปี 2523 ท่านจึงยอมให้สร้างเหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก ขึ้นมาจำนวน 9999 เหรียญ...

    เหรียญนี้ได้ปลุกเสกมาครบ 3 ปี จนมาได้ประกอบพิธีพุทธาภิเสก ครั้งใหญ่ขึ้น เมื่อปี พศ. 2525 ณ พระอุโบสถ วัดประดู่เรียง ในพิธีนี้ได้เกิดเหตุการณ์อันแปลกประหลาดขึ้นเมื่อพระอาจารย์เล็ก ปุญญโก ได้ทำพิธีจุดเทียนชัย ทันใดนั้นได้เกิดเสียงกัมปนาทหวาดไหว ขึ้นถึง3 ครั้ง พระอุโบสถซึ่งเป็นอิฐถือปูนได้สะเทือนเลื่อนลั่น ไหวสะท้านทั้งหลัง 3 ครั้งกระเบื้อง ดินเผาซึ่งมุงหลังคาพระอุโบสถได้ลั่นเกรียวกราว เนิ่นนาน จนเป็นที่ประหลาดใจ ทั้งพระคณาจารย์ พระสงฆ์องค์เจ้า และผู้ช่วยงานตลอดจนบุคคลหลายสิบคนที่ได้อยู่ร่วมพิธีในครั้งนั้น พระคณาจารย์ ที่รับนิมนต์มาร่วมประกอบพิธีพุทธาภิเสก เมื่อปี พศ. 2525 ครั้งนั้น ประกอบด้วยพระคณาจารย์ อันยิ่งยงลือนาม 16 รูปมานั่งปรกพุทธาภิเษก (ตามจำนวนพระคาถาพระเจ้า 16 พระองค์อันศักดิ์สิทธิ์) พระคณาจารย์ 16 รูป ได้แก่

    1) พระอาจารย์เล็ก ปุญญโก

    2) พ่อท่านหมุน วัดเขาแดงออก

    3) พ่อท่านเจ็ก วัดเขาแดงตก

    4) พระครูพิศิษย์บุญสาร (พระอาจารย์ปลอด ปุญญสโร) วัดหัวป่า ระโนด สงขลา

    5) พระครูแก้ว ธมฺมิโก วัดโคกโดน พัทลุง

    ขอบคุณข้อมูล เวปศูนย์พระ


     
  20. โอกระบี่

    โอกระบี่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,477
    ค่าพลัง:
    +1,651
    มาร่วมแบ่งปันความรู้ ไม่สงวนลิขสิทธิ์ครับ กับพระเนื้อว่านที่เป็นที่สุดแห่งสายเขาอ้อและพระปิดตาที่เป็นที่สุดของสายเขาอ้อ พระมหาว่านอาจารย์เอียดกับพระปิดตามหาลาภอาจารย์ปาลวัดเขาอ้อ

    <a href="http://pic.free.in.th/id/7187a1589a8c2c64e8ea46eb757dd7f5" target="_blank"><img border="0" src="http://image.free.in.th/z/il/user247406_pic91024_1307264960.jpg" alt="images by free.in.th" /></a>

    พระปิดตาพิมพ์ตะพาบมหาลาภ อาจารย์ปาล ปาลธัมโม ยุคแรก เนื้อจะออกสีน้ำตาลไหม้
    <a href="http://pic.free.in.th/id/d20d7012b495ea30d1ed7a73f3e00c4d" target="_blank"><img border="0" src="http://image.free.in.th/z/ix/user247406_pic91023_1307264960.jpg" alt="images by free.in.th"/></a>

    ด้านหลัง
    <a href="http://pic.free.in.th/id/fcdd0061714ad31673ad88f871fa188a" target="_blank"><img border="0" src="http://image.free.in.th/z/ia/user247406_pic91022_1307264960.jpg" alt="images by free.in.th"/></a>

    ขออนุญาติร่วมเปิดตำนาน เพื่ออนุรักษ์พระดี ๆ ที่ทรงคุณค่าครับ




     

แชร์หน้านี้

Loading...