{{หลวงพ่อคูณ257}}ศึกษาพระสมเด็จ/เบญจภาคีองค์ครู26ขุนแผนพรายกุมาร4ลพ.พรหม68พ่อท่านคลิ้ง105

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย Amuletism, 2 มกราคม 2012.

  1. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,370
    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 7 เมษายน 2012
  2. jukjuk

    jukjuk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,196
    ค่าพลัง:
    +2,229
    สวยมากๆครับพระบางองค์นี้ เป็นบุญตาจริงๆส่วนผมมีสวยได้แค่นี้ครับ อย่าเรียกว่าสวยเลยดีกว่า เรียกว่าหาได้ก็ดีแล้วครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,370
    ขอบคุณ คุณ jukjuk ที่นำพระสะสมมาแบ่งกันชม
    ผมว่าพระที่สร้างพร้อมกัน หรือกรุเดียวกันพุทธคุณก็ไม่ได้แตกต่างกันหรอกครับ
    ใช้ไปก่อน รอจังหวะและโอกาส หากพระสวยมาถึงในเวลาที่เราพร้อมก็ค่อยว่ากันครับ

    แรกๆ จำได้ว่าตอนเริ่มเล่นพระ ผมก็เล่นแบบสวยไม่สวยไม่ว่าขอให้แท้ไว้ก่อนก็โอเค
    พอเล่นมาเรื่อยๆ ก็เริ่มหนักขึ้นเรื่อย ผมว่าเป็นเหมือนกันทุกคน คืออยากได้ของสวยบ้าง
    ซึ่งบางครั้งพระบางองค์ที่สวยมากๆ ก็อาจเป็นพระดูยากก็ได้ ผมเองก็เคยโดนครับ
    เดี๋ยวนี้พอมีพระมากขึ้น เวลาเห็นของแท้ สวยดูง่าย ก็จะคว้าเลยครับ
    แล้วก็ปล่อยของเก่าที่สวยน้อยกว่ามาชดเชยสภาพคล่อง หรือไม่ก็ขอแลกแล้วเพิ่มเงินกันไป
    หลังๆ มาทำบ่อยขึ้น ที่สะสมไว้แล้วปล่อยออกไปก็ไม่เคยขาดทุน ส่วนมากกำไร
    แต่ก็อีกแหละ ไม่เคยได้เป็นเงินเก็บสักที เพราะนำไปเช่าบูชาของใหม่ที่แรงกว่าเดิมทุกครั้ง
    แต่ก็มีความสุขนะครับ แต่ถ้าท่านมาในเวลาที่เราไม่พร้อมก็ต้องทำใจครับ
    วันที่ไปได้พระบางองค์นี้มา วันนั้นขาประจำผมให้ดูสมเด็จปิลันท์อีกองค์หนึ่ง
    เป็นพิมพ์ซุ้มประตู สวยหนึ่งเท่าที่เคยเห็นปิลันท์มาในชีวิต
    ก็ต้องเลือกองค์เดียว สุดท้ายก็ได้พระบางมาครับ องค์เดียวก็จุกแล้วครับ
    ผมก็ทำใจว่าชีวิตนี้ คงไม่เห็นปิลันท์องค์นั้นอีก และก็จริงครับ
    อีกสองวันก็มีคนเช่าไปเรียบร้อย ว่าจะขอเขาดูอีกครั้ง ก็ยังไม่มีโอกาสเลยครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 7 เมษายน 2012
  4. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    ไม่ได้แวะเข้ามาสองวัน พี่ Amuletism
    นำภาพพระบาง ลำพูนสวยๆ มาลงเพียบเลย
    ตอนนี้ อยู่ต่างจังหวัด โทรศัพท์พิมพ์ไม่สะดวก
    ไว้กลับกรุงเทพแล้วจะเข้ามาแจมด้วยใหม่ครับ
     
  5. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,370
    พระรอด พิมพ์ใหญ่ กรุวัดมหาวัน

    พระรอด พิมพ์ใหญ่ กรุวัดมหาวัน

    [​IMG]
     
  6. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,370
    พระรอด พิมพ์ใหญ่ กรุวัดมหาวัน

    [​IMG]
     
  7. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,370
    พระรอด พิมพ์ใหญ่ กรุวัดมหาวัน

    พระรอด พิมพ์ใหญ่ กรุวัดมหาวัน

    [​IMG]
     
  8. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    พระลำพูน พุทธศิลป์ล้านนา

    บทความนี้ เป็นมุมมองของฝ่ายที่เห็นต่างครับ
    นำเสนอแนวคิดว่าพระรอด พระคง พระบาง
    น่าจะสร้างคนละยุคกัน

    พระลำพูน พุทธศิลป์ล้านนา

    พระลำพูน ได้รับความนิยมแพร่หลายมาก โดยเฉพาะพระรอด พระคง พระบาง พระเปิม พระลือ พระเลียง หรือพระขนาดใหญ่ เช่น พระสาม พระสิบสอง พระสิบแปด พระกล้วย พระกวาง พระกาบปลี ฯลฯ
    สมัยก่อน ประมาณ พ.ศ.2500 พระรอด และ พระลำพูนพิมพ์อื่นๆ มีความเชื่อจากตำนานว่า พระนางจามเทวี สร้างประมาณ พ.ศ.1223 อายุความเก่าประมาณ 1,300 ปี
    แต่ในทุกวันนี้ มีทฤษฎีใหม่ๆ จากนักวิชาการหลายท่าน ได้กำหนด อายุสมัยการสร้าง ของ พระสกุลลำพูน จากลักษณะของศิลปะ และฝีมืองานช่าง ซึ่งได้รับการยอมรับกันอย่างกว้างขวาง
    อาทิจากข้อเขียนเรื่อง พระลำพูน พระพิมพ์สกุลช่างหริภุญชัย ฉบับพิมพ์ พ.ศ.2538 โดย ณัฏฐภัทร จันทวิช ผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณคดีของกรมศิลปากร ทำให้นักสะสมพระเครื่องคนรุ่นใหม่ เข้าใจอายุสมัย การสร้างของ พระลำพูน แต่ละพิมพ์ว่า ไม่ได้สร้างพร้อมกัน
    พระลำพูน เช่น พระคง พระบาง พระเปิม เป็นพระพิมพ์ที่แสดงลักษณะศิลปะอินเดีย แบบคุปตะและปาละ น่าจะมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 ส่วน พระรอด พระเลี่ยง พระลือ แสดงลักษณะศิลปะพุกาม ที่ได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย ผ่านเข้ามายังหริภุญชัย น่าจะมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 15-16
    ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ความนิยมในพระลำพูน พระคง พระบาง พระเปิม ได้รับความนิยมมากขึ้น และมีราคาสูงขึ้นด้วย เพราะมีอายุความเก่ามากกว่า พระรอด พระเลี่ยง พระลือ
    การพิจารณาพระพิมพ์จากพระองค์จริง พระลำพูนทุกสภาพนับร้อยองค์ คือ พระคง พระคงทรงพระบาง พระขนาดใหญ่ พระสาม พระสิบสอง พระสิบแปด พระกล้วย พระกวาง พระกาบปลี พระกลีบบัว ฯลฯ
    พระบาง กรุวัดดอนแก้ว กรุครูขาว กรุวัดพระคง พระเปิม กรุวัดดอนแก้ว กรุวัดพระธาตุหริภุญชัย กรุวัดจามเทวี พระเลี่ยง กรุวัดประตูลี้ กรุวัดดอนแก้ว กรุวัดมหาวัน

    อ้างอิง ลำพูนพระเครื่อง
     
  9. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    วิธีพิจารณาพระรอด กรุวัดมหาวัน พิมพ์ใหญ่

    วิธีพิจารณาพระรอด กรุวัดมหาวัน พิมพ์ใหญ่
    1.พระเกศ และพระเมาลีคล้ายฝาชี
    2.พระพักตร์สอบเสี้ยม องค์ติดชัดๆพระเนตรโปนโต พระนาสิกสั้นโต พระโอษฐ์เจ่อ
    3.มีเส้นแตกพาดเฉียงจากพระเนตร มาชนใบโพธิ์
    4.ปลายพระกรรณ ซ้ายมือองค์พระ จะแหลมเป็นตัววี
    5.พระพิมพ์ใหญ่โดยมากจะมีขอบปีกพระ
    6.นิ้วหัวแม่มือขวา องค์พระจะขาด ส่วนปลายนิ้ว 4 นิ้วที่เหลือมักติดชัด
    7.แขนซ้ายองค์พระแบ่งเป็น 3 ส่วน ส่วนกลางมักเห็นเป็นกล้าม
    8.เส้นน้ำตกใต้แขนซ้ายองค์พระ มาโผล่ที่ใต้เข่าอีกจุด และในร่องใต้ฐานอาสนะชั้นบนสุด อาจมีเส้นน้ำตกแผ่วๆ ในแนวเดียวกัน
    9. ร่องใต้ฐานอาสนะชั้นบนสุดจะมีเส้นแซมบางๆหนึ่งเส้น
    10. ฐานอาสนะชั้นล่างสุด มี 3 ชั้น ชั้น 2 และ 3 บางทีติดกันโดยมีร่องตื้นๆ คั่นกลาง
    11. ก้นฐานพระมีรอยบี้และมีรอยนิ้วมือติดอยู่ เกิดจากตอนดันพระออกจากพิมพ์ เป็นแบบนี้ทุกองค์
    12. ต้นแขนขวาองค์พระค่อกเล็กน้อย คล้ายพระคง แต่อาการน้อยกว่า
    13. พระพิมพ์ใหญ่ ส่วนใหญ่จะเห็นปลายพระบาทซ้ายองค์พระคล้ายหัวงูมีร่องปากเล็กๆ ปรากฏ
    ด้านหลัง
    จะปรากฏ รอยกดคลึง และ รอยมือ
     
  10. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    ประวัติการสร้างพระรอด

    ประวัติการสร้างพระรอด
    พระรอด เป็นพระพิมพ์ขนาดเล็กที่สุดในบรรดาพระเครื่องสกุลลำพูน เป็นพระพิมพ์ที่ทำขึ้นในสมัยพระนางจามเทวี ในสมัยก่อนจะทำพระรอดขึ้นเพื่อแจกจ่ายให้แก่ประชาชนและทหารไว้คุ้มครองรักษา ในยามศึกสงครามและเก็บไว้ที่สูงเพื่อสักการะบูชา พระรอดยังจัดเป็นพระพิมพ์เนื้อดินเผาที่มีอายุเก่าแก่มากที่สุดในประเทศไทย
    ในอดีตกาล เมื่อประมาณพันสามร้อยปีล่วงมาแล้ว คือราว พ.ศ. ๑๒๐๐ เศษ ครั้งกระนั้น เมืองลำพูน หรือที่เรียกกันว่า นครหริภุญไชย มีสภาพเป็นป่าดงพงไพร เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ร้ายนานาชนิดเจ้าของถิ่นเดิมผู้ตั้งรกรากถิ่นฐานอยู่ในแถวนี้ได้แก่ พวกเม็ง (บางแห่งว่าขอมหรือละว้า) ซึ่งอาศัยอยู่กันประปรายทั่วไปในบริเวณรอบๆ เวียงหริภุญไชยปัจจุบันหลักฐานทางตำนานได้กล่าวไว้ว่า สมัยนั้นยังมีฤาษีสองตน นามว่า วาสุเทพฤาษี และสุกกทันตฤาษี ซึ่งทั้งสองเป็นสหายกันได้ปรึกษาหารือตกลงกันที่จะช่วยสร้างเมืองใหม่ โดยเลือกสถานที่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำกวง (สมัยนั้นคงเป็นสาขาหนึ่งของแม่น้ำปิง) เมื่อช่วยกันสร้างเมืองเสร็จเรียบร้อยแล้ว ยังไม่มีผู้จะครอบครองเมือง ฤาษีทั้งสองจึง ตกลงกันให้ไปอัญเชิญพระนางเจ้าจามเทวีราชธิดาของพระเจ้าลพราช เมืองรามะปุระขึ้นมาปกครองเมือง จึงได้ให้ควิยะบุรุษเป็นทูตไปอัญเชิญพระนางจามเทวี ด้วยความเห็นชอบของพระราชบิดา พระนางจามเทวีจึงได้เสด็จมาตามคำอัญเชิญก่อนที่จะเสด็จมาได้ทูลขอสิ่งต่างๆ จากพระราชบิดา เป็นต้นว่า พระสงฆ์ ผู้ทรงไตรปิฏก ๕๐๐ รูป พราหมณาจารย์ โหราราชบัณฑิต แพทย์และช่างต่างๆ อย่างละ ๕๐๐ คน เศรษฐี คหบดีก็ ๕๐๐ คน ทั้งนี้เพื่อให้สำเร็จประโยชน์ และสะดวกสบายใจในการขึ้นครองเมืองใหม่
    เมื่อ พระเจ้าลพราชพระราชทานอนุญาตให้ตามประสงค์ พระนางจามเทวีพร้อมด้วยข้าราชบริพารก็ทูล ลาพระราชบิดา และพระราชสวามี ซึ่งภายหลังทรงออกผนวช (ขณะนั้นพระนางจามเทวีทรงครรภ์ได้ ๓ เดือน จากจามเทวีวงศ์พงศาวดาร เมืองหริภุญไชย) แล้วเสด็จขึ้นมาทางชลมารค (ทางแพ) จนเวลาล่วงไป ๗ เดือนก็บรรลุถึงนครหริภุญไชย หรือนครลำพูน (จากหนังสือจามเทวีวงศ์บอกว่า เมื่อถึงนครหริภุญไชยได้ ๗ วัน ก็ประสูติพระโอรสฝาแฝดทั้งสองพระองค์ นามว่าอนันตยศ และมหันตยศ) หลังจากนั้น พระวาสุเทพฤาษี และสุกกทันตฤาษีพร้อมด้วยประชาชนพลเมืองจึงได้พร้อมใจกันจัดพิธีราชาภิเษก พระนางจามเทวีขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์ เสวยราชสมบัติในเมืองหริภุญไชยนครบนแท่งทองสุวรรณอาสน์ นับตั้งแต่นั้นมาเมืองลำพูนจึงได้สมญานามว่า เมืองนครหริภุญไชย
    เมื่อ พระนางจามเทวีได้เสวยราชสมบัติขึ้นเป็นกษัตริย์ครองเมืองแล้ว จึงได้โปรดชักชวนอาณาประชาราษฏร์ให้สร้างพระอารามใหญ่น้อย ถวายแต่พระรัตนตรัยเพื่อไว้พำนักอาศัยของบรรดาพระภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูป ที่ได้อาราธนามาจากเมืองละโว้ แล้วก็อุปถัมภ์บำรุงเอาใจใส่ด้วยจตุปัจจัย มิได้ขาดตลอดมา บรรดาวัดทั้งหลาย ที่สร้างขึ้นนั้นนับเป็นมหาวิหาร มี ๕ วัดด้วยกัน คือ
    ๑.      วัดอรัญญิกรัมมาราม อยู่ด้านตะวันออก ปัจจุบันเรียกว่า วัดดอนแก้ว รวมกับวัดต้นแก้ว
    ๒.      วันมูลการาม อยู่ทางทิศใต้ได้แก่ วันกู่ละมัก (ลมักกัฏฐะ) ปัจจุบันเรียกว่า วัดรมณียาราม
    ๓.      วัดอาพัทธาราม อยู่ด้านทิศเหนือ ปัจจุบันเรียกว่า วัดพระคงฤาษี
    ๔.      มหาลดาราม (โยนก ว่ามหาสฐานราม) อยู่ด้านทิศใต้ ปัจจุบันเรียกว่า วัดสังฆาราม หรือ วัดประตู่ลี้
    ๕.      วัดมหาวนาราม อยู่ด้านทิศตะวันตก ปัจจุบันเรียกว่า วัดมหาวัน
    เมื่อได้สร้างวัดทั้ง ๕ แล้ว พระนางจามเทวีได้สร้างพระพุทธรูปน้อยใหญ่ไว้เป็นจำนวนมาก วัดทั้ง ๕ แห่งจึงเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างดี ทั้งนี้เพราะพระนางเจ้าทรงเอาใจใส่ และมีศรัทธาเลื่อมใส่ในพระบวรพุทธศาสนายิ่งนัก เป็นเอกอัครศาสนูปถัมภกนครหริภุญไชยครั้งกระนั้น จึงมีความเจริญรุ่งเรือง บ้านเมืองก็อยู่ร่มเย็นเป็นสุข อุดมสมบูรณ์ด้วยข้าวปลาอาหารมีความเบิกบานทั่วหน้า
    วาสุเทพ ฤาษี และสุภกทันตฤาษี จึงได้ปรารภกันว่า เมืองลำพูน หรือนครหริภุญไชยนี้มีสตรีเป็นเจ้าผู้ครองนครในอนาคตข้างหน้า อาจมีผู้คิดเบียดเบียนแย่งชิงราชสมบัติไป ฤาษีทั้ง ๒ จึงได้ปรึกษาหารือที่จะจัดสร้างเครื่องรางของขลังไว้เพื่อเป็นที่สักการบูชา ป้องกันรักษาบ้านเมือง และเพื่อเป็นพุทธบูชา จะได้เป็นขวัญและกำลังใจแก่เหล่าเสนาอำมาตย์ และอาณาประชาราษฎร์ สุกกทันตฤาษีและวาสุเทพฤาษีจึงได้ประชุมฤาษี ๑๐๘ ตน แล้วประกอบพิธีสร้างพระสกุลลำพูนขึ้นมาโดยให้ไปจัดหาดินลำพูนทั้ง ๔ ทิศ เอาดินจากใจกลางทวีปทั้ง 5 เอาไม้และรากไม้ที่ทำเป็นยาได้ ๑,๐๐๐ ชนิด พร้อมด้วยว่านยา ๑,๐๐๐ ชนิด และเกสรดอกไม้ ๑,๐๐๐ ชนิด เอามาบดผสมกันให้ละเอียดแล้วปลุกเสกด้วยเวทย์มนต์คาถาอันศักดิ์สิทธิ์ของฤาษีทั้ง ๑๐๘ ตนนั้น แล้วจึงผูกอาถรรพ์ไว้ตรงใจกลางเมือง สร้างพระพิมพ์ขึ้น ๒ ชนิด ชนิดหนึ่งเรียกว่า พระคง เพื่อความมั่นคงของนครหริภุญไชยอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า พระรอด เพื่อความอยู่รอดปลอดภัย เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็สุมไฟด้วยไม้มะฮกฟ้าหรือป่ารกฟ้า เป็นเวลานาน ๗ วัน ๗ คืน แล้วจึงนำพระคงที่เผาแล้วไปบรรจุไว้ที่วัดพระคงฤาษี นำพระรอดบรรจุไว้ใจกลางเมือง คือ วัดมหาวนาราม หรือวัดมหาวันในปัจจุบัน ส่วนพระอื่นๆ บรรจุไว้ในเจดีย์ของวัดต่างๆ ทั้ง ๔ ทิศเพื่อเป็นการผูกอาถรรพ์ และส่วนหนึ่งแจกจ่ายประชาชนและทหารไว้คุ้มครองรักษาตนในยามศึกสงคราม และเก็บไว้ที่สูงเพื่อสักการะบูชา เป็นที่น่าสังเกตว่าเมืองนครหริภุญไชย หรือเมืองลำพูน ไม่เคยมีการถูกรุกรานจากข้าศึก ไพร่ฟ้าประชาชนก็ไม่ต้องหอบเสื่อหมอนพเนจรไปไหนเหมือนกับชาวเมืองอื่นๆ
     
  11. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    ประวัติการค้นพบพระรอด
    ในสมัยเจ้าหลวงเหมพินธุไพจิตร ได้มีการปฏิสังขรณ ์องค์เจดีย์ในวัดมหาวันขึ้นมาใหม่ ประมาณ พ.ศ. ๒๔๓๑ - ๒๔๓๘ ซึ่งแต่เดิมองค์เจดีย์ยอดปรักหักพังลงไป พระรอดซึ่งถูกบรรจุไว้ได้กระจัดกระจายไปพร้อมกับยอดเจดีย์ซึ่งหักพังลงไปทางทิศตะวันตก เพราะได้มีผู้ขุดพบยอดพระเจดีย์ซึ่งเป็นศิลาแลงทางทิศนั้น อนึ่งปรากฏว่า มีผู้ค้นพบพระรอดได้เป็นจำนวนมากมายทางทิศนี้ด้วย ซึ่งมีมากกว่าทิศอื่นๆ จนกระทั่งสถานที่ขุดได้กลายเป็นบ่อน้ำ (ซึ่งก็คือบ่อน้ำในวัดปัจจุบันนี้) ในการปฏิสังขรณ์องค์พระเจดีย์ในครั้งนั้นได้พบพระรอดจำนวนมากในซากกรุเจดีย์ วัดมหาวัน พระรอดส่วนหนึ่ง ได้รับการบรรจุเข้าไปไว้ในพระเจดีย์ใหม่ และบางส่วนได้มีผู้นำไปสักการะบูชา แต่ยังมีอีกบางส่วนที่ปะปนกับเศษซากกรุเก่า กระจายไปทั่วบริเวณวัด เมื่อขุดค้นพบนำขึ้นมาใหม่ๆ นั้น จะนำพระไปขัดถูหรือล้างน้ำเสียที่เดียวนั้นไม่ได้ เพราะพระรอดจะยุ่ยและละลายไปกับน้ำต้องเก็บตากแดดไว้อย่างน้อย ๑๕ วัน ถึงนำมาล้างน้ำเนื้อจะแข็งแกร่งดี เศษดินที่เรียกว่า ขี้กรุ จะติดแน่นอยู่กับองค์พระรอด ล้างเท่าไรจะไม่ออกง่ายๆ ต้องใช้แปรงสีฟันค่อยๆ ถูเบาๆ นอกจากพระรอดดินเผานี้แล้ว ยังมีพระรอดอีกชนิดหนึ่งเป็นพระรอดดิบ คือพระรอดที่ทำแล้วไม่ได้เผา พระรอดดินดิบเป็นพระรอดที่ทำขึ้นด้วยเกสรดอกไม้ผสมกับดินละเอียด มีกลิ่นหอม เนื้อนิ่ม ขุดได้ออกมาจากหลุมใหม่ จับแรงไม่ได้ เอาไปตากให้แห้ง ถูกน้ำไม่ได้จะยุ่ยและอาจลบเลือนไปจนไม่เห็นองค์พระ
    นอกจากพระรอดแล้วยังขุดพบพระชนิดอื่นๆ อีกเช่น พระสิบสอง พระยี่สิบแปด พระกวาง พระกล้วย พระคง พระบาง พระลบ พระเหลี้ยม (พระเหลี้ยมมีอยู่ถึง ๓ ชนิดด้วยกัน ชนิดใหญ่ เท่ากับพระสิบสองชนิดกลางฐานกว้างประมาณ ๒ นิ้ว ชนิดเล็กฐานกว้างประมาณ ๑ นิ้ว) พระงบน้ำอ้อย พระนางเหลียว พระราหู พระรูปเทพธิดา คนธรรพ์ราสกบนสิงห์ และรูปปั้นต่างๆ ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า "ดอกธาตุ" หรือดอกเจดีย์ และรูปอื่นๆ อีกมากมาย นอกจากนี้ยังมีคนขุดพบเตาหล่อพระพุทธรูปทองคำ ทองแดง ทองเหลือง และเงินอีกด้วย และยังพบพระเป็นแผ่นบางๆ หน้าตักกว้าง ๑ - ๔ นิ้ว ปางมารวิชัย โดยมากเมื่อขุดพบมักจะซ้อนกันอยู่เป็นตับ ตับละ ๒ - ๕ องค์ บรรจุอยู่ในแผ่นอิฐเผาสี่เหลี่ยมจตุรัสกว้างขนาด ๖ นิ้ว วางทับบนปากหม้อบรรจุอัฎฐิ (กระดูก) เคยค้นพบมาหลายองค์ เมื่อพบแล้วไม่มีใครกล้าเก็บไว้ ถ้าเก็บไว้มักจะมีอันเป็นไปอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อเอาเก็บไว้ภายหลังจะต้องนำเอามาส่งคืนเสมอ
    ในสมัยเจ้าหลวงอินทยงยศ ทรงได้พิจารณาเห็นว่ามีต้นโพธิ์ แทรกตรงบริเวณฐานเจดีย์มหาวันและมีรากลึกลงไปภายในองค์พระเจดีย์ทำให้มีรอยร้าวชำรุดหลายแห่ง จึงได้ทำการฏิสังขรณ์ฐานรอบนอกองค์พระเจดีย์ใหม่ประมาณ ปี พ.ศ. ๒๔๕๑ ในการนี้ ได้พบพระรอดจำนวนมาก ประมาณหนึ่งกระเช้าบาตร (ตระกร้าบรรจุกับข้าวตักบาตร) และได้นำมาแจกจ่ายบรรดาญาติซึ่งเป็นมรดกตกทอดมาจนทุกวันนี้ ในสมัยต่อๆ มามีการขุดพบพระรอดอยู่เสมอ แต่มีจำนวนไม่มากนักข้อสังเกตในการขุดพบพระรอด ในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ซึ่งพบมากถึงประมาณ ๒๐๐ องค์ บริเวณที่พบพระรอดมักจะมีอิฐโบราณสลับซับซ้อนอยู่โดยรอบพระรอด และพระรอดจะฝังอยู่ในดินหรดาลซึ่งเป็นดินเนื้อละเอียดที่สุด มีสีเหลือง และมีกลิ่นหอมนวลๆ ซึ่งในการสร้างพระรอดสมัยต่อมา ได้นำดินหรดาล ผสมกับเศษพระรอด และพระอื่นๆ สร้างป็นพระรอดขึ้นมา เช่น พระรอดครูบากองแก้ว
    เกี่ยวกับชื่อ ครั้งแรกนั้นไม่ปรากฏชื่อ คงเรียกรวมกันว่าพระพิมพ์ชนิดดินเผา ต่อมาภายหลังเมื่อมีผู้ขุดพบและนำไปใช้กราบไหว้สักการะบูชาก็เลยกลาย มีชื่อเป็นอย่างๆ ไป สำหรับพระรอดนั้นมีข้อที่จะพึงสันนิษฐานเกี่ยวกับชื่อได้ ๓ ทาง คือ ทางแรกกล่าวกันว่าพระพิมพ์ชนิดนี้ฤาษีนารอด (นารท) เป็นผู้สร้างจึงได้นาม ตามที่ผู้สร้างว่า พระรอด ทางที่สองเนื่องจากพระพิมพ์ชนิดนี้ได้มีผู้นำไปสักการะบูชา และนำพาติดตัวไปยังที่ต่างๆ ปรากฏว่าผู้ที่นำไปนั้นได้รับความปลอดภัยรอดพ้นจากสรรพอุปัทยันตรายได้เป็นอย่างดี ดังนั้นต่อมาจึงได้มีชื่อว่า พระรอด ประการสุดท้ายเพราะพระพิมพ์ชนิดนี้มีองค์เล็กกว่าพระชนิดอื่น จึงเป็นผลพลอยให้ได้นามว่า พระรอด อย่างไรก็ตามทั้ง ๓ อย่าง ดังที่กล่าวมาแล้วนั้นเป็นข้อสันนิษฐานจึงขอฝากไว้ให้เป็นหน้าที่ของนักค้นคว้าโบราณวัตถุสืบต่อไปว่าอันไหนจะถูกกันแน่
    คาถาอาราธนาพระรอด
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ)
    พุทธังแคล้วคลาด พระเจ้าย่างบาท อิติปิโส นะโมพุทธายะ
    ธัมมังแคล้วคลาด พระเจ้าย่างบาท อิติปิโส นะโมพุทธายะ
    สังฆังแคล้วคลาด พระเจ้าย่างบาท อิติปิโส นะโมพุทธายะ

    อ้างอิง bast2009
     
  12. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    ประวัติ พระรอด กรุวัดมหาวัน จ.ลำพูน

    ประวัติ พระรอด กรุวัดมหาวัน จ.ลำพูน
             พระรอด เป็นนามที่ผู้สันทัดรุ่นก่อนเชื่อกันว่า เรียกตามนามพระฤาษีผู้สร้างคือ พระฤาษี “นารทะ” หรือพระฤาษี “นารอด” พระรอดคงเรียกตามนามพุทธรูป ศิลา องค์ที่ประดิษฐ์อยู่ในวิหาร วัดมหาวันที่ชาวบ้านเรียกว่า “แม่พระรอด” หรือ พระ “รอดหลวง” ในตำนานว่า คือ พระพุทธ สิขีปฏิมา ที่พระนามจามเทวี อันเชิญมาจากกรุงละโว้ พระนามนี้เรียกกันมาก่อนที่จะพบพระรอดพระพุทธรูปองค์นี้ ที่พื้นผนังมีกลุ่มโพธิ์ใบคล้ายรัศมี ปรากฏด้านข้างทั้งสองด้าน
             พระรอด มีการขุดพบครั้งแรกราวต้นรัชกาลที่ 5 แต่ที่สืบทราบมาได้จากการบันทึกไว้ ของท่านอธิการทา เจ้าอาวาสวัดพระคงฤาษีในขณะนั้น และอาจารย์บุญธรรม วัดพระมหาธาตุหริภุญไชย ว่าในปี พ.ศ. 2435 พระเจดีย์วัดมหาวันได้ชำรุดและพังทลายลงบางส่วน ในสมัยเจ้าหลวงเหมพินทุไพจิตร ทางวัดได้มีการปฏิสังขรณ์องค์พระเจดีย์ขึ้นใหม่ ในครั้งนั้นได้พบพระรอดภายในกรุเจดีย์มากที่สุด พระรอดมีลักษณะของผนังใบโพธิ์คล้ายพระศิลา ในพระวิหารวัดมหาวัน ผู้พบพระรอด ในครั้งนั้นคงเรียกตามนามพระรอดหลวง แต่นั้นมาก็ได้นำพระรอดส่วนหนึ่งที่พบในครั้งนี้ นำเข้าบรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ตามเดิม อีกประมาณหนึ่งบาตร    
             พระรอด ขุดค้นพบในปี พ.ศ. 2451 ในครั้งนั้นฐานพระเจดีย์ใหญ่วัดมหาวันชำรุด ทางวัดได้รื้อออกเสียและปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ ได้พบพระรอดที่บรรจุไว้ใน พ.ศ. 2435 ได้นำออกมาทั้งหมด และนำออกแจกจ่ายแก่ข้าราชการและผู้ร่วมงานในขณะนั้น เป็นการพบพระรอดจำนวนมาก พระรอด กรุนี้ถือเป็นพระกรุเก่าและตกทอดมาจนบัดนี้ และทางวัดมหาวันได้จัดพิธีสร้างพระรอดรุ่นใหม่บรรจุไว้แทน เข้าใจว่าคงเป็นรุ่นพี่พระครูบากองแก้วเป็นผู้สร้างไว้เพราะมีบางส่วนนำออกแจกให้ประชาชนในขณะนั้น เรียกว่า พระรอด ครูบากองแก้ว
             จากนั้นช่วงเวลาผ่านมาจนถึง ปี พ.ศ. 2498 ได้ขุดพบพระรอดด้านหน้าวัด และใต้ถุนกุฏิพระ ได้พบพระรอดจำนวนเกือบ 300 องค์ มีทุกพิมพ์ทรง กรุนี้ถือว่าเป็นกรุพระรอดกรุใหม่ ที่หมุนเวียนอยู่ในปัจจุบันนี้ถึงปี พ.ศ. 2506 ทางวัดมหาวันได้รื้อพื้นพระอุโบสถ เพื่อปฏิสังขรณ์ใหม่ ได้พบพระรอดครั้งสุดท้ายที่มีจำนวนมากถึง 300 องค์เศษ พระรอดรุ่นนี้มีผู้นำมาให้เช่า ในกรุงเทพจำนวนมาก พระรอดส่วนใหญ่จะคมชัด และงดงามมากเป็นพระรอดกรุใหม่รุ่นสอง หลังจากนั้นต่อมาก็มีผู้ขุดหาพระรอด ในบริเวณลานวัด แทบทุกซอกทุกมุมทั่วพื้นที่ในวัด นานๆ ถึงจะได้พบพระรอดขึ้นมาองค์หนึ่ง เป็นเวลาผ่านมาจนถึงปัจจุบัน จนกระทั่งทางวัด ได้ระงับการขุดพระรอด นอกจากพระรอดแล้ว วัดมหาวัน ยังขุดพบพระเครื่องสกุลลำพูน เกือบทุกพิมพ์ ที่พิเศษคือ ได้พบพระแผ่นดุนทองคำเงิน แบบเทริดขนนกมากที่สุดในลำพูนด้วย  
             พระรอดได้ขุดค้นพบที่วัดมหาวันเพียงแห่งเดียวเท่านั้นเนื้อดินเผาละเอียดหนักนุ่มมาก องค์พระประทับนั่งขัดเพ็ชรปางมารวิชัยประกอบด้วยพื้นผนังใบโพธิ์ทั้งสองด้าน มีศิลปะโดยรวมแบบทวาราวดี – ศรีวิชัย เป็นรูปแบบเฉพาะของสกุลช่วงสมัยหริภุญไชย ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17 แบ่งลักษณะ แบบได้ 5 พิมพ์ทรง คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พิมพ์ต้อ และพิมพ์ตื้นนั้น มีลักษณะจุดตำหนิโดยรวมที่เป็นสัญลักษณ์ปรากฏทุกพิมพ์ ในพิมพ์ใหญ่ กลาง เล็ก
             เริ่มจากด้านบนของทั้งสามพิมพ์มีจุดโพธิ์ติ่ง ทั้งสามพิมพ์นี้มี 3 ใบ ปรากฏที่เหนือปลายเกศ และด้านข้างพระเศียร 2 ใบ กลุ่มใบโพธิ์แถวนอกจะใหญ่กว่าแถวใน และโพธิ์คู่ทั้ง 3 พิมพ์นี้มีระดับสูงเกือบเสมอกัน เส้นรอยพิมพ์แตกมีเฉพาะพิมพ์ใหญ่เท่านั้น มีรูปคล้ายตัวหนอนปรากฏเส้นข้างพระกรรณด้านซ้ายขององค์พระ เหนือเข่าด้านซ้ายขององค์พระมีเส้นน้ำตกเป็นเส้นนูนเล็กมาวาดจากใต้ข้อศอกพระรอดใต้ฐานชั้นบน เฉพาะพิมพ์ใหญ่มีฐาน 4 ชั้น พิมพ์กลาง เล็ก ต้อ ตื้น มีฐาน 3 ชั้น พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์ตื้นมีเนื้อดินยื่นจากใต้ฐานล่างที่สุดเรียกว่า ฐาน 2 ชั้น พิมพ์เล็ก พิมพ์ต้อไม่มี กลุ่มโพธิ์แถวนอกของทุกพิมพ์จะคล้าย ๆ กันเพราะทำมาจากช่างคนเดียวกัน
             นอกจากนั้นพิมพ์ต้อกับพิมพ์ตื้นกลับไม่ค่อยมีใบโพธิ์ในพิมพ์ตื้นมีพื้นผนังโพธิ์แถวใน ใบโพธิ์ติดชิดกับองค์พระแล้วลาดเอียงลงที่กลุ่มโพธิ์แถวนอก ตรงแสกหน้ามีรอยพิมพ์แตกเป็นจุดสังเกต ในพิมพ์ต้อไม่ปรากฏโพธิ์แถวใน พื้นผิวติดองค์พระสูงลาดเอียงลงมา ที่กลุ่มโพธิ์แถวนอกเฉพาะตรงปลายเส้น ชี้นูนสูงที่สุดเป็นจุดสำคัญ นอกจากนี้ประการสำคัญที่สุดของพระรอด ที่ของปลอมจะทำเลียนแบบได้ยากคือ การจำรูปแบบพิมพ์ทรง และความเก่าของเนื้อเฉพาะพิมพ์ใหญ่จะปรากฏพระโอษฐ์ (ปาก) เม้มจู๋คล้ายปากปลากัด มีรอยหยักพับที่ริมฝีปากบนชัดเจนมาก เป็นจุดลับที่ควรสังเกตไว้ และกลุ่มโพธิ์แถวนอกของพิมพ์ใหญ่ด้านซ้าย ขององค์พระ มีระดับลาดเอียงเห็นได้ชัดเจนมาก เป็นจุดสังเกตที่ของปลอมจะทำได้ยาก
    พระรอด วัดมหาวัน ลำพูน ลักษณะ: พระเนื้อดิน เป็นพระพิมพ์ขนาดเล็ก ชื่อพระรอดนั้นมีข้อสันนิษฐาน 3 ทางได้แก่
             1. ออกเสียงตามผู้ที่สร้างขึ้น คือ พระฤาษีนารอด ซึ่งออกเสียงตามภาษามอญ
             2. ผู้ที่สักการะบูชา และนำติดตัวไปยังที่ต่าง ๆ สามารถรอดพ้นจากอันตรายเป็นอย่างดี จึงเรียกว่าพระรอด
             3. เนื่องจากเป็นพระเครื่องที่มีขนาดเล็กกว่าพิมพ์อื่นๆ จึงได้ชื่อว่าพระลอด และเพี้ยนมาเป็นพระรอด
             ลักษณะทั่วไปของพระรอด เป็นพระปางมารวิชัย มีฐานอยู่ใต้ที่นั่ง และมีผ้านิสีทนะ (ผ้านั่งปู) รองรับปูไว้บนฐานข้างหลังองค์พระมีลวดลายกระจัง ชาวพื้นเมืองเหนือเรียกกันว่า ใบโพธิ์ เพราะกระจังนั้นดูคล้ายๆใบโพธิ์มีกิ่งก้านไม่อยู่ในเรือนแก้ว พระพักตร์จะปรากฏพระเนตร (ตา) พระกรรณ (หู) ยาวลงมาเกือบจรดพระอังสะ (บ่าหรือไหล่) ทั้งสองข้าง ส่วนด้านหล้งนั้นไม่มีลวดลายอะไรนอกจากรอยนิ้วมือ เป็นเนื้อดินทั้งหมด บางองค์มีลักษณะนูนบ้างแบนบ้าง
    สามารถแบ่งได้ 5 พิมพ์
             1. พิมพ์ใหญ่
             2. พิมพ์กลาง
             3. พิมพ์เล็ก
             4. พิมพ์ต้อ
             5. พิมพ์ตื้น
    นอกจากนี้ยังมีสีสันและวรรณะต่างๆของพระรอด ซึ่งมีอยู่ ๖ สีด้วยกันคือ
             1. สีเขียว
             2. สีพิกุล (สีเหลือง)
             3. สีแดง
             4. สีเขียวคราบเหลือง
             5. สีเขียวคราบแดง
             6. สีเขียวหินครก
             สำหรับสีของพระรอด ทั้ง 6 สี นี้เป็นสีของพระรอดทุกพิมพ์ทั้ง 5 พิมพ์จะมีสีสันวรรณะแตกต่างกันไป ตามสีทั้ง 6 และนอกเหนือจากทั้งสี 6 สี นี้พระรอดจะไม่มีสีอื่นๆ ไปโดยเด็ดขาดนอกจากนี้พระรอดทุกพิมพ์ (ทั้ง 5 พิมพ์) พระกรรณ หรือใบหูของพระองค์ จะต้องติดชัดทุกพิมพ์ และฝ่าพระหัตต์ด้านขวา ที่วางคว่ำบนพระชานุ (เข่า) ด้านขวาจะต้องมี 6 พิมพ์ และทุกองค์ โดยเฉพาะองค์ที่มีความคมชัดจะเห็นได้ชัดเจน


    พุทธคุณ: พระอานุภาพของพระรอด มีความเชื่อกันว่า พระรอด มีความศักดิ์สิทธิ์ หรือความขลังในด้านแคล้วคลาด ปราศจากภัยอันตราย และความวิบัติต่างๆ มีเสน่ห์เมตตามหานิยม ได้ลาภผล และคงกระพันชาตรี

    อ้างอิง หนังสือวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ และภูมิปัญญา จังหวัดลำพูน พ.ศ.2544
     
  13. parata1

    parata1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    1,447
    ค่าพลัง:
    +326
    ***พระเลี่ยงลำพูน***

    ช่วยชี้แนะองค์นี้หน่อยนะครับผม จริงหรืิอปลอม อยู่กับผมมานานแล้วครับ ไม่ทราบว่านิยมกันรึเปล่า ขอบคุณครับผม...
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 8 เมษายน 2012
  14. หนุ่มคอนถม

    หนุ่มคอนถม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    2,605
    ค่าพลัง:
    +1,581
    ขอแจมด้วยสักองค์ครับพี่

    ขออภัยในฝีมือการถ่ายรูปครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,370
    ภาพที่ลงไว้ค่อนข้างเบลอมากครับ ทำให้ยากต่อการพิจารณา
    แต่ที่ดูสันนิษฐานว่าเป็นพิมพ์บัวเม็ด ซึ่งมีเฉพาะของกรุวัดประตูลี้เท่านั้น
    พระเลี่ยงขึ้น 4 กรุครับ วัดประตูลี้ วัดมหาวัน วัดดอนแก้ว วัดดอยติ
    แต่กรุอื่นมีเฉพาะพิมพ์บัวเหลี่ยมครับ

    องค์นี้ผมดูธรรมชาติรอยพับใต้ฐานดูแปลกตา
    หลายจุดในพิมพ์ทรงดูจะผิดเพี้ยนไป
    เนื้อพระกรุนี้จะมีเม็ดแร่กรวดทรายอยู่มาก
    ทำให้แตกหักง่าย แต่จะภาพดูเหมือนเนื้อพระจะค่อนข้างแกร่ง
    อย่างไรก็ดี พิจารณาจากภาพซึ่งอาจไม่เห็นชัดเจนนะครับ
    อยากให้ลองพิจารณาดูโดยใช้กล้องส่องตามจุดต่างๆ ด้านล่าง

    วิธีพิจารณาพระในจุดสำคัญๆ มีดังนี้
    1. ช่องระหว่างใบหูซ้ายกับแก้มเป็นร่องชัดเจน
    2. เส้นใบหูทั้งสองข้างเป็นร่อง
    3. พื้นผนังข้างเศียรเป็นร่องลึก
    4. เม็ดไข่ปลาที่ซุ้มติดชัดเจน
    5. บัวมีลักษณะเป็นเม็ดไข่ปลา

    ไว้วันหลัง ผมจะหาภาพมาให้ดูเปรียบเทียบครับ
     
  16. ckcenter

    ckcenter Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    391
    ค่าพลัง:
    +34
    ฝากดูพระรอดด้วยนะครับ ขอบพระคุณครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    ขอบคุณ คุณหนุ่มคอมถม ที่กรุณาเอาพระมาร่วมแจมครับ
     
  18. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    พระรอดวัดมหาวัน พิมพ์ใหญ่ 
             พระรอดพิมพ์นี้ต้องเรียกว่าพิมพ์ใหญ่ ก็เพราะว่า ลักษณะขององค์พระจะมีฐาน 4 ชั้น ซึ่งมีมากกว่าพระรอดพิมพ์อื่นๆ (ที่มีเพียง 3 ชั้นเท่านั้น) ดั้งนั้นถ้าพระรอดมีฐาน 4 ชั้นก็จะต้องเป็นพระรอดพิมพ์ใหญ่เท่านั้น ซึ่งฐาน 4 ชั้น ของพระรอดพิมพ์ใหญ่จะต้องประกอบด้วย ฐานชั้นที่ 1, ชั้นที่ 2, ชั้นที่ 3, และชั้นที่ 4 โดยฐานชั้นที่ 3 และชั้นที 4 จะติดกัน ส่วนด้านล่างสุด เป็นเนื้อเกินที่ล้นพิมพ์ และจะกดพับขึ้นมาชนกับฐานชั้นที่ 4
     
  19. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    ลักษณะทั่วไปของพระรอด

    ลักษณะทั่วไปของพระรอด
    เป็นพระพิมพ์ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร ปางมารวิชัย ใต้ปรกโพธิ์ มีฐานเขียงอยู่ใต้ที่นั่งและมีผ้านิสีทนะ(ผ้าปูนั่ง) รองรับไว้บนฐาน ข้างหลังองค์พระมีลวดลายกระจังชาวพื้นเมืองเหนือเรียกว่า ใบโพธิ์ พระพักตร์ก้มเล็กน้อย รายละเอียดของพระพักตร์คล้ายศิลปะพม่าหรือพุกามเป็นพระศิลปะยุคเดียวกับทวาราวดี ตอนปลาย ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕ – ๑๖ พระอุระผึ่งผาย พระกรรณ (หู) ยาวลงมาเกือบถึงพระอังสะทั้งสองข้าง ส่วนด้านหลังนั้นนูนเล็กน้อยคล้ายหลังเบี้ย (ริมสองข้างลดต่ำ กลางนูน) ไม่มีลวดลายอะไร บางพิมพ์ข้างหลังตรง บางพิมพ์หลังเอนไม่เกลี้ยงเกลานัก มีรอยนิ้วมือมือติดอยู่มากบ้าง น้อยบ้าง ใต้ฐานพระไม่เรียบเสมอไป บางองค์ลึกบุ๋มเข้าไป บางองค์ก็นูนยื่นออกมา สุกกทันตฤษี และวาสุเทพฤษี ได้ทำพิธีปลุกเสกด้วยเวทมนต์อันศักดิ์สิทธิ์และเนื่องจากการสร้างพระรอดทำจากวัสดุต่างๆ นำมาผสมกัน ดังกล่าวแล้วจึงปรากฏว่าองค์พระ ที่สร้างมีสีหลายสีเนื่องจากส่วนผสมและการเผา จึงได้พบสีต่างๆ ได้แก่ สีเขียว สีเขียวอ่อน สีขาวปนเหลือง สีดำ สีแดง สีดอกพิกุล เป็นต้น แต่สีหลักของพระรอด มีประมาณ ๔ สี คือ
    ๑.      พระรอดสีขาว เนื่องจากพระรอดเป็นพระที่สร้างจากเนื้อดิน ซึ่งเชื่อว่าเป็นดินในจังหวัดลำพูนหรือจังหวัดใกล้เคียง มีสีขาว เป็นเนื้อดินที่สะอาดและละเอียด จนมีคนเข้าใจว่ากรรมวิธีการนวดดินนั้น น่าจะผ่านการกรองผ้าขาวจนกระทั่งไม่มีสิ่งเจือปนใดๆ ทั้งสิ้น บางท่านสันนิษฐานว่า อาจจะเป็นดินที่ขุดได้จากดินที่ตกตะกอนในธารน้ำไหลภายในถ้ำ จึงสะอาดและไม่มีสิ่งเจือปนใดๆ ทั้งสิ้น พระรอดสีขาว ควรจะเป็นพระที่อยู่ในบริเวณเตาเผาที่ไม่ถูกความร้อนมากเท่าที่ควร เนื้อพระจึงเป็นสีขาวเพราะไม่สุก และไม่แกร่งเท่าพระรอดสีอื่นๆ จึงมีขนาดค่อนข้างใหญ่ แต่มักจะไม่คมชัดเท่าที่ควร
    ๒.      พระรอดสีแดง เป็นพระรอดที่เผาสุกเรียบร้อยแล้ว จึงมีขนาดเล็กลง กว่าพระรอดสีขาว มีความคมลึกและชัดเจน เช่นเดียวกับพระรอดสีอื่นๆ
    ๓.      พระรอดสีเหลือง เป็นพระรอดที่เผาได้แกร่งกว่าพระรอดสีแดง จึงมีขนาดขององค์พระเล็กกว่า พระรอดสีแดงเล็กน้อย ตามทฤษฎีจะมีความคมลึกและชัดมากกว่าพระรอดสีแดง
    ๔.      พระรอดสีเขียว เป็นพระรอดที่มีความแข็งแกร่งมากที่สุด มีการหดตัวเล็กลงจากพระรอดสีเหลือง มีความคมชัดที่สุดในจำนวนพระรอด เนื่องมาจากการหดตัวเมื่อเกิดความร้อนจัด เพราะความคมชัดจึงอาจทำให้พระรอดสีเขียวดูไม่ล่ำสันเท่ากับพระรอดสีแดงและสีเหลือง และส่วนมากมี iron oxide จับคลุมทั่วผิวพระ
    นอกจากนี้พระรอดสีเขียวยังมีสีเขียวที่แตกต่างกันไปเป็นลำดับ จากพระรอดสีเขียวคาบเหลือง เป็นพระรอดสีเขียว และเป็นพระรอดสีเขียวเข้ม จนมีขนาดเล็กที่สุดคือ พระรอดสีเขียวเข้มจนเกือบดำ ในบางองค์มีสีลายเหมือนไข่นกกระทา
    นอกจากนี้ ยังมีแม่พระรอดซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก หรือพระดิลกดำ เป็นพระที่สร้างขึ้นด้วยหินศิลาดำอ่อนๆ คล้ายหินทราย หน้าตักกว้าง ๑๗ นิ้ว สูง ๑๖ นิ้ว นั่งขัดสมาธิเพชรปัจจุบันประดิษฐานไว้ด้านหน้าพระประธานในวิหารวัดมหาวัน โดยชื่อเรียกว่า พระพุทธสักขีปฏิมากรณ์ สันนิษฐานว่าเป็นพระพุทธรูปที่พระนางจามเทวีนำขึ้นมาจากเมืองละโว้ (ลพบุรี) ถือว่า พระพุทธสักขีปฏิมากรณ์องค์นี้ ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “พระรอดหลวง” หรือพระรอดลำพูน เป็นพระคู่บ้านคู่เมืองหริภุญไชย ลำพูนมาตราบเท่าทุกวันนี้ พระรอดกรุวัดมหาวันเท่าที่พบมีหลักๆ อยู่ ๕ พิมพ์ด้วยกัน คือ พระรอดพิมพ์ใหญ่ พระรอดพิมพ์กลาง พระรอดพิมพ์เล็ก พระรอดพิมพ์ฐานชั้นเดียวหรือบางทีเรียกกันว่า พิมพ์ต้อ และพระรอดพิมพ์ตื้น พระรอดทั้ง ๕ พิมพ์ตามที่กล่าวมานั้นจะมีอยู่สามพิมพ์ที่มีฐานเกินที่ใต้ฐานพระ คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์ตื้น ส่วนพระพิมพ์เล็ก และพิมพ์ต้อจะไม่มีฐานเกินที่ใต้ฐาน ขนาดของพระรอดมีขนาดไม่เหมือนกัน ขนาดใหญ่เกือบจะเท่าพระคงก็มี เรียกว่าพระรอดหลวง ฐานกว้างประมาณ ๑ นิ้วและขนาดเล็กไปตามลำดับจนถึงขนาดเท่าใบมะขามเรียกว่า พระรอดใบมะขาม ซึ่งหายากที่สุด แต่ส่วนมากที่พบมีขนาด กว้าง ๑.๒ เซนติเมตร สูง ๒.๕ เซนติเมตร เนื้อพระรอดเป็นเนื้อดินเผา ดินละเอียด ไม่มีเม็ดแร่เจือปน ไม่มีรอยร้าวหรือลายแตก เนื้อแน่นมีน้ำหนักกว่าดินธรรมดาในปริมาณที่เท่ากัน และมีความแข็งแกร่งเหมือนหินจนเรียกว่าน่าจะสามารถกรีดกระจกเป็นรอยได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 เมษายน 2012
  20. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,370
    พระรอด พิมพ์ใหญ่ กรุวัดมหาวัน

    พระรอด พิมพ์ใหญ่ กรุวัดมหาวัน

    [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...