{{หลวงพ่อคูณ257}}ศึกษาพระสมเด็จ/เบญจภาคีองค์ครู26ขุนแผนพรายกุมาร4ลพ.พรหม68พ่อท่านคลิ้ง105

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย Amuletism, 2 มกราคม 2012.

  1. Borwonpot

    Borwonpot สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    34
    ค่าพลัง:
    +8
    [​IMG][​IMG]

    สมเด็จเก๊รึปล่าวคับช่วยวิจารณ์หน่อยคับ
     
  2. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    พระสมเด็จของปลอม

    พระสมเด็จของปลอม

    ลักษณะของปลอมที่ตัดปัญหาการพิจารณา
    เพียงเห็นก็ทราบว่าเป็นของปลอม ไม่ต้องนำมาพิจรณาเลย เช่น
     
    1.แบบมีปริมาตรเขื่อง 
    พิมพ์ทรงเหมือนของจริงแต่มีขนาดใหญ่เช่น เท่าซองบุหรี เป็นต้น
     
    2.รูปเจ้าพระคุณสมเด็จ
     มีทั้งชนิดแบนและแบบลอยตัว บางรายเป็นกริ่งภายใน เป็นเนื้อผงสีคล้ำเพราะแช่น้ำหมากหรือลงรักปิดทอง ที่เป็นของเกจิรุ่นหลังก็มี เพราะเจ้าพระคุณไม่เคยสร้างรูปตัวท่านเองเลย
     
    3.แบบตราแผ่นดิน 
    มีหลายขนาด สีขาวบ้าง หม่นบ้าง บางรายขนาดใหญ่เท่าซองบุหรี่ มีทั้งของปลอมและของเกจิรุ่นหลัง
     
    4.แบบที่มีอักษรจารึก
     เช่น สมเด็จโตถวายพระจอมเกล้า ,ถวายเมือ ร.ศ.  ปลอมทั้งสิ้น
     
    5.แบบที่มีอักขระเลขยันต์ ไม่เป็นของเกจิรุ่นหลังก็เป็นของปลอมทั้งสิ้น
     
    6.แบบที่มีสีประหลาด มีสีหม่นเข้มหรือ เหลืองจัด เป็นของปลอม
     
    อ้างอิง หนังสือของตรียัมปวาย

     
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มีนาคม 2012
  3. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    สมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่

    สมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่

    [​IMG]
     
  4. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    พระเครื่องตระกูลพระสมเด็จ

    พระเครื่องตระกูลพระสมเด็จ

    1.พระสมเด็จอรหัง 
    สร้างโดย สมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน ในปี พ.ศ. 2363 สมัยครองวัดมหาธาตุ เพียงปีเศษก็สิ้นพระชนม์ สร้างก่อนพระสมเด็จวัดระฆัง 47 ปี ส่วนใหญ่ไม่ได้บรรจุกรุ แต่มีการนำมาบรรจุกรุวัดสร้อยทอง นนทบุรี ในภายหลัง มีเนื้อขาว และเนื้อปูนแดง มี 2 พิมพ์ คือพิมพ์ธรรมดา และพิมพ์จิ๋ว ด้านหลังจารึกอักษรของ อรหัง มี2 แบบ คือแบบเส้นเป็นร่องลึก และแบบเส้นเป็นทิวนูน เรียกว่าหลังโต๊ะกัง เพราะคล้ายการตีตราทองรูปพรรณ 

    2.พระสมเด็จวัดพลับ สร้างโดยสมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน สมัยที่ยังเป็นพระญาณสังวร ครองวัดราชสิทธาราม (วัดพลับ)  สร้างประมาณปี 2362  ก่อนสมเด็จอรหัง 1 ปี ก่อนสมเด็จวัดระฆัง 48  ปี เนื้อแก่ผงพุทธคุณมากเพราะพระองค์ท่านเป็นต้นตำรับผงวิเศษแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงนิพนธ์คัมภีร์กัมมัฏฐาน และทรงแปลคัมภีร์พระวิสุทธิมรรค ขึ้นเป็นฉบับแรกของเมืองไทยด้วยส่วนพระสมเด็จที่เจาะกรุได้จากวัดพลับนั้น สร้างโดยหลงตาจัน โดยมีอาสนะ 3 ชั้น เนื้อปูนปั้น อ่อนกว่าสมเด็จวัดพลับมาก
    พระวัดโค่ง อุทัยธานี ได้มีพระภิกษุนำพระสมเด็จวัดพลับ จำนวน 5 ไห
    ล่องเรือขึ้นมาจะบรรจุไว้วัดโบสถ์ แต่วันนี้สร้างอุโบสถเรียบนร้อยแล้ว
    จึงเลยมาวัดโค่ง และบรรจุไว้ แต่กกรุเมื่องปี พ.ศ.2485 ขณะรื้อกำแพงโบสถ์
     มีพิมพ์กรรอกเผือกมาที่สุด เป็นพิมพ์จิ๋วมีสีขาว ขนาด 1*0.5*0.3 ซ.ม. เท่านั้น
    ไม่เกี่ยวกับการเห็นกระรอกเผือกที่เจดีย์แต่อย่างใด
     
    3.พระวัดสามปลื้ม สร้างโดยเจ้าพระยาบดินเดชา (สิงห์ สิงหเสนีย์) โดยได้สร้างเมื่อคราวปฏิสังขรวัดเมื่อปี พ.ศ.2363 ปีเดียวกับสมเด็จอรหัง แต่นิยมพุทธศิลป์อยุธยา เนือแก่กว่าเนื้อพระสมเด็จมาก องค์ที่หักจะมีกลิ่นหอมคล้ายเกสรดอกไม้หรือแป้งร่ำโบราณอย่างประหลาด  การพบพระมี 3 ระยะ ด้วยกัน
    ครั้งที่1.สมัยพพระพุฒจารย์  มา ( ท่านเจ้ามา ผู้สร้างพระชัยวัฒน์ เนื้อทองผสม )
    ดำริให้รื้อเจดีย์ราย 9 องค์ ด้านทิศใต้พระอาราม ให้ปลูกตึกเช่าหารายได้เข้าวัด
    พบพระจำนวนมาก
    ครั้งที่2.พระครูมงคลวิจิตร ใช้ สุวัณโณ รื้อเจดีย์ที่เหลือ 1 องค์ พบพระ 4 ปี๊บ
    ครั้งที่ 3 ปี พ.ศ. 2483 พระครูมงคลวิตร ดำริให้ขยายถนนทางเข้าวัดทางสำเพ็ง
    ต้องย้ายศาลเจ้าพ่อบดินทร จึงต้องรื้อเจดีย์อีกด้านเพื่อก่อสร้างศาลที่ย้ายมาพบพระอีกมากมายราว 50,000 องค์ ประกอบกับมีสงครามอินโดจีน จึงแจกจ่ายจนหมด

     4.พระสมเด็จปิลันท์ ของสมเด็จพระพุทธบาทปิลันท์ (สมเด็จทัด เสนีวงศ์)สร้างหลังเจ้าพระคุรสร้างพระสมเด็จ 2 ปี โดยขอผงวิเศษจากเจ้าพระคุณมาผสม และปลุกเสกให้ด้วย จึงเรียกว่าพระสองสมเด็จ บรรจุเจดีย์ทางทิศตะวันตะเฉียงใต้ของพระอุโบสถ ถูกลักเจาะครั้งแรกปี พ.ศ. 2471 แต่ได้พระไปน้อย มาเปิดกรุเมือสงครามอินโดจีนส่งให้ทหารออกศึก มีพิมพ์ ปรกโพธิ์ พิมพ์อัครสาวก พิมพ์ห้ามแก่นจันทร์(พิมพ์ซุ้มเกลี้ยงและพิมพ์ซ้มเปลวเพลิง) พิมพ์หยดแป้ง และพิมพ์อื่นๆ

    5.พระวัดเงิน เป็นวัดบริเวณคลองพระโขนง มี 3 วัดคือ วัดหน้าพระธาตุ วัดทอง และวัดเงิน ปีพ.ศ.2488ทางราชการก่อสร้างท่าเรือกรุงเทพ จึงรวมวัดเข้าด้วยกันเป็นวัดาตุทอง เปิดกรุเจดีย์ที่ 2และ3 เมื่อ รศ112 รบกับฝรั่งเศส  และเมือปี พ.ศ.2478 เจดีย์ริมน้ำพังทลายลงพบพระเป็นจำนวนมาก  และเมื่อปี พ.ศ. 2480-90 ทำหารรื้อเจดีย์ทั้งหมดพบพระจำนวน มหาศาล คนงานต่างโกยไปขายปี๊บละ 200 บาท

    6.พระวัดท้ายตลาด สร้างโดย พระวิเชียรมุนี เจ้าอาวาสวัดสร้างเมือปี พ.ศ. 2431 มีการลักเจาะกรุหลายครั้ง มาแตกกรุเมื่อคราวสงครามอินโดจีน มอบให้ราชการแจกทหารไป 4,000 องค์ นอกจากนี้มีพบที่วสัดนางชี วัดหงส์ด้วย 

    7.พระวัดอัมภวา  บางกอกใหญ่ กรุงเทพ  พระพุทธโฆษาจารย์ ฤทธิ์ เจ้าอาวาสวัดอรุณ เป็นผู้สร้างพระชุดนี้ ท่านเป็นพระเถระรุ่นเดียวกับเจ้าพระคุณสมเด็จโต  ได้สร้างตะกรุดโทนทองแดง และตะกรุดพวงสามกษัตริย์ขนาดย่อมที่มีชื่อเสียงมาก วัดอัมพวา จึงอาราธนาท่านมาสร้างพระไว้เมือประเมาณปี พ.ศ. 2412 อายุการสร้างใกล้เคียง พระสมเด็จและพระปิลันท์  เปิดกรุเมื่อคราวรบฝรั่งเศส รศ.112  และคราวสงคามอินโดจีน อีกสองครั้งเมื่อพ.ศ.2492 และ พ.ศ. 2505 เป็นพระเนื้อผงปูนน้ำมัน มีมากถึง 108 พิมพ์ ส่วนมากย่อมๆ มน ๆ คล้ายวัดพลับ ที่เป็นพิมพ์สังฆาฏิ และ พิมพ์ฐานแซม เหมือนวัดระฆังก็มี แต่เนื้อเป็นปูนน้ำมัน ชัดเจน

    8.พระวัดรังสีสุทธาวาส เขตชนะสงคราม กทม สร้างโดยสมเด็จเจ้ากรมขุนิศรานุรักษ์ ติดวัดบวรนิเวศ ที่สร้างโดย สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ วัหน้าในรัชกาลที่ 3 ภายหลังรวมกับวัดบวร เปลี่ยนเป็นคณะรังสี  พระวัดรังสีสร้างโดย พระธรรมกิตติ( แจ้ง) หรือหลวงพ่อวัดรังสี  เกจิผู้เรืองพุทธาคม ท่านสร้างแจกทหารอาสาสงครามโลกครั้งที่ 1 พ.ศ.2460  เนื้อผงสีขาวหม่น แห้งสนิท ท่านได้สร้างเหรียญตัวท่านด้วย ใครมีพระวัดรังสีรอดชีวีกลับมาได้

    9.พระมฤคทายวัน หลวงปู่นาควัดหัวหิน ( พระครูวิริยาธิการี) สร้างถวาย รัชกาลที่ 6 เตรียมแจกทหารอาสา 1 ปี ก่อนประกาศสงครามโลกครั้งที่ 1   

    10 . พระวัดพระยาสุเรนทร์  หรือ บึงพระยาสุเรนทร์  มีนบุรี กรุงเทพ
    สร้างโดย หลวงพ่อกล่ำ ( พระครูอุดมพิริยะคุณ) ล้อพิมพ์สมเด็จ แต่ย่อมกว่า องค์พระค่อนข้างโปร่ง ด้านหลังส่วนมาก ลงเหล็กจาร

     11.พระสมเด็จหลวงปู่ภู วัดอินทรวิหาร ( พระครูธรรมานุกูล ภู จันทสโร ) ท่านเป็นศิษย์ของเจ้าพระคุณสมเด็จโต สร้างประมาณปี 2463 เพื่อจำหน่ายหาทุนก่อสร้างพระศรีอริยเมตตรัย หลวงพ่ดโตวัดอินทร ที่เจ้าพระคุรสมเด็จสร้างไว้เพียงครึ่งองค์ ได้นำผงวิเศษของเจ้าพระคุณมาผสม  พิมพ์ที่เรียกกันว่าพิมพ์แซยิด คล้ายกับฐานแปดชั้นอกร่องแต่มีเส้นกรอบฐานทั้งสองข้าง(คล้ายแม่บันได) และมีอุณาโลม 2 ตัว  นั้น ศิษย์ใกล้ชินหลวงพ่อท่านหนึ่ง (ไม่ขอเปิดเผยนาม) ยืนยันว่า ไม่ใช่พระที่หลวงปู่ภูสร้าง แต่เป็นของปลอมที่สร้างทีวัดอินทร์นั่นเอง

    12.สมเด็จพระครูสังฆ์    พระครูสังฆบวร (แดง) วัดบวรนิเวศน์ ชนะสงคราม เขตพระนคร ได้สร้างเมือ ปี 2465 โดยนำเอาเนื้อพระสมเด็จที่แตกหักในองค์หลวงพ่อโต มาบดผสมใหม่ จำหน่ายองค์ละ 1 บาท เพื่อนำเงินมาสร้างหลวงพ่อโตวัดอินทรวิหาร ต่อจากหลวงปู่ภู

    อ้างอิง ตรียัมปวาย

     
     
  5. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    สมเด็จวัดระฆัง พิมพ์เกศบัวตูม

    สมเด็จวัดระฆัง พิมพ์เกศบัวตูม

    [​IMG]
     
  6. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    พุทธลักษณะสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์เกศบัวตูม

    วันนี้เรามาคุยกันถึง พระสมเด็จวัดระฆัง กันเล่นๆ ดีกว่านะครับ พระสมเด็จ วัดระฆังฯ นั้นเท่าที่ผมได้ศึกษามาจากผู้หลักผู้ใหญ่ พระสมเด็จวัดระฆังก็มี พิมพ์อยู่ 4 พิมพ์คือ พระสมเด็จพิมพ์ใหญ่ พระสมเด็จพิมพ์ทรงเจดีย์ พระสมเด็จพิมพ์ฐานแซม พระสมเด็จพระเกศบัวตูม แต่พระสมเด็จในแต่ละพิมพ์นั้นยังมีแม่พิมพ์แยกออกไปอีกหลายแม่พิมพ์ เช่น พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ก็มีแม่พิมพ์แยกออกเป็น 4 แม่พิมพ์ พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ทรงเจดีย์ก็มีแม่พิมพ์ 4 แม่พิมพ์ พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ฐานแซมก็มีแม่พิมพ์ 4 แม่พิมพ์เช่นกัน แต่พระพิมพ์เกศบัวตูมนั้นเท่าที่ศึกษามาพระสมเด็จวัดระฆัง มีเพียงแม่พิมพ์เดียวครับ

    พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์เกศบัวตูม พระสมเด็จพิมพ์เกศบัวตูม วัดระฆังฯ เป็นพระที่พบจำนวนน้อยที่สุด อาจจะเนื่องมาจากมีแม่พิมพ์เพียงแม่พิมพ์เดียว และเป็นแม่พิมพ์ที่แกะหลังสุดก็อาจเป็นไปได้ จึงมีจำนวนพระน้อยกว่าพิมพ์อื่นๆ ศิลปะของพระพิมพ์เกศบัวตูม วัดระฆังฯ ก็มีศิลปะที่แตกต่างจากพระพิมพ์อื่นๆ กล่าวคือพระสมเด็จพิมพ์เกศบัวตูมนั้นมีความลึกกว่าพระสมเด็จพิมพ์อื่นๆ ของพระสมเด็จวัดระฆัง ลักษณะโดยรวมมองดูคล้ายๆ กับศิลปะพระบูชาเชียงแสน คือพระพักตร์จะกลมป้อม เหนือพระเศียรจะเป็นมุ่นพระเมาฬีคล้ายพวงมาลัยครอบ พระเกศมีลักษณะคล้ายดอกบัวตูม ปลายพระเกศไม่จรดเส้นซุ้มต่างจากพระพิมพ์อื่นๆ พระกรรณเด่นชัดมากลักษณะแบบพระกรรณพระบูชา องค์พระจะล่ำสันอวบอิ่ม หัวไหล่หนา พระพาหาทั้งสองข้างอวบใหญ่แล้วค่อยๆ เรียวลงมาหาพระหัตถ์ ลักษณะพระหัตถ์มาชนกันเฉยๆ ไม่ประสานทับกัน ส่วนลำพระองค์ไหล่กว้างและมีเนื้อหัวไหล่ หน้าอกอวบอิ่มแล้วจึงค่อยๆ ขอดเว้าลงมา พระสมเด็จวัดระฆังองค์ที่สมบูรณ์จะเห็นเส้นจีวรและเส้นสังฆาฏิชัดเจน หน้าตักนูนหนากว่าทุกๆ พิมพ์ ในองค์ที่ติดแม่พิมพ์ชัดๆ จะเห็นปลายพระบาททั้งสองข้างชัดเจน

    พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์เกศบัวตูม ส่วนของฐานนั้นจะแตกต่างจากพิมพ์อื่นๆ ชัดเจนคือส่วนของฐานทุกฐานจะหนาและลึกกว่าพระพิมพ์อื่นๆ ที่เห็นได้ชัดว่าต่างจากพิมพ์อื่นชัดเจนก็คือ พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์เกศบัวตูมนี้จะมีฐานชั้นบนและฐานชั้นกลางกว้างเกือบเท่าๆ กัน และฐานชั้นกลางจะเห็นเป็นคมขวานและฐานหัวสิงห์ชัดเจนกว่าพระพิมพ์อื่นๆ พระพิมพ์เกศบัวตูมนี้จะมีเส้นแซมสองเส้นระหว่างฐานชั้นบนกับฐานชั้นกลาง และระหว่างฐานชั้นกลางกับฐานชั้นล่าง เส้นแซมเส้นนี้จะคมชัดเจนมากเส้นซุ้มของพระพิมพ์เกศบัวตูมก็จะอวบหนากว่า พระสมเด็จวัดระฆัง ทุกพิมพ์

    สรุป พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์เกศบัวตูม จะมีความลึกและดูอวบอิ่มกว่าพระพิมพ์อื่นๆ ของพระสมเด็จวัดระฆัง พุทธลักษณะจะมองดูคล้ายๆ กับพระบูชาเชียงแสน เท่าที่พบเห็นจะมีจำนวนน้อยกว่าพระพิมพ์อื่นๆ ของวัดระฆังฯ ในวันนี้ผมได้นำพระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์เกศบัวตูม มาให้ชมกันสององค์ในสภาพที่แตกต่างกัน องค์หนึ่งเป็นพระที่สวยสมบูรณ์ติดแม่พิมพ์คมชัดและอีกองค์หนึ่งเป็นพระสภาพ ผ่านการใช้สัมผัสมามีสึกบ้างเล็กน้อย เพื่อให้ท่านผู้อ่านศึกษาเปรียบเทียบกันดูนะครับ

    อ้างอิง แทน ท่าพระจันทร์
     
  7. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    สมเด็จวัดระฆัง พิมพ์เกศบัวตูม

    สมเด็จวัดระฆัง พิมพ์เกศบัวตูม

    [​IMG]
     
  8. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    ถ้าจะให้ตอบตามตรง ผมดูเนื้อหาแล้วยังไม่ชอบครับ
    อย่างไรก็ตาม ลองหาความเห็นท่านอื่นประกอบดูก่อน
    พระที่วัดนำออกจำหน่ายตอนเปิดกรุ ส่วนใหญ่ด้านหลังจะประทับตรา
    เป็นตรายางรูปเจดีย์ และมีการออกใบเสร็จทุกองค์ครับ
     
  9. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    สมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ทรงเจดีย์

    สมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ทรงเจดีย์

    [​IMG]

    พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ทรงเจดีย์ นี้นับได้ว่าเป็นพระที่มีลักษณะโดยรวมของลำพระองค์ ( ลำตัว ) ขององค์พระที่หนากว่าทุกพิมพ์ และรูปทรงทั้งหมดจากพระเกศถึงฐานชั้นล่างสุด จะมีลักษณะคล้ายเจดีย์ พระพิมพ์นี้สามารถแบ่งตามโครงสร้างได้เป็น ๒ ลักษณะใหญ่ๆ คือ

    •  พระพิมพ์ทรงเจดีย์ใหญ่ จะพบว่าส่วนของพระพักตร์ จะมีลักษณะอูมเกือบกลม ด้านข้างของพระพักตร์ จะมีเส้นพระกรรณ ( หู ) ติดอยู่ไรๆ ไม่ชัดเจนเท่าพิมพ์เกศบัวตูม สำหรับพระที่ยังคงความสมบรูณ์ และการกดในช่วงแรกของการทำ ก่อนที่แม่พิมพ์จะเริ่มลบเลือน ส่วนลำพระองค์ ( ลำตัว ) จะล่ำ เอวหนา และวงพระกร ( วงแขน ) จะสอบเข้าหาลำตัว ( วงพระกรแคบ )
    •  พระพิมพ์ทรงเจดีย์เล็ก พระพิมพ์นี้จะมีลักษณะโดยรวมผอมบางกว่าพิมพ์แรก พระพักตร์ ( หน้า ) จะเรียวกว่า ปลายพระเกศจะสั้น หลายองค์ที่พบเห็นพระเกศจะไม่จรดซุ้มด้านบน ลำพระองค์จะหนาเป็นรูปกระบอก ( แต่เว้าเอวเล็กน้อย ) ลำพระกร ( ลำแขน ) ช่วงบนจะหนาอูมแบบแขนนักกล้าม และวาดลำพระกรแคบ ( วงแขนแคบ ) มากกว่าสมเด็จทุกพิมพ์ ในพระที่มีความสมบรูณ์ จะปรากฏเส้นสังฆาฏิชัดเจน

    .....พระสมเด็จพิมพ์ทรงเจดีย์ใหญ่ จะมีค่านิยมสูงกว่าพิมพ์ทรงเจดีย์เล็ก หากมีความสมบรูณ์ เท่ากัน แต่พิมพ์ทรงเจดีย์เล็กอาจจะมีค่าความนิยมสูง หากความสมบรูณ์ชัดเจนมากกว่าพิมพ์เจดีย์ใหญ่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 มีนาคม 2012
  10. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    วิธีพิจารณาสมเด็จเกศไชโย พิมพ์เจ็ดชั้นนิยม เพิ่มเติม


    วิธีพิจารณาสมเด็จเกศไชโย พิมพ์เจ็ดชั้นนิยม

    1. “กรอบกระจก” ก็คือคำเปรียบเทียบของ “พระพิมพ์” ที่องค์พระพุทธปางสมาธิขัดราบประดิษฐานอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้าซึ่งก็คือ “เส้นขอบแม่พิมพ์” แต่การตัดขอบไม่ได้ตัดตามแนวเส้นขอบแม่พิมพ์ โดยตัดห่างจากเส้นขอบแม่พิมพ์จึงทำให้มีปีกทั้งสี่ด้านที่ ด้านซ้ายและขวา จะใหญ่กว่า ด้านบนและด้านล่าง อีกทั้ง “เส้นขอบด้านบน” จะไม่เป็นเส้นตรงโดยมุมเส้นขอบกระจกด้ายซ้ายองค์พระจะมีลักษณะคล้ายหัวตัว “สระโอ”
    2. “เส้นครอบแก้ว” ลักษณะคล้าย “หวายผ่าซีก” ที่ได้รูปสม่ำเสมอสวยงามส่วน “พระเกศ” (ผม) ลักษณะคล้ายกับ “ปลีกล้วย” หรือ “เปลวเทียน” ไปจรดเส้นซุ้มครอบแก้วที่หากสังเกตให้ดีจะพบว่า “พระเกศ” ของพิมพ์นี้จะไม่อยู่กึ่งกลาง “พระเศียร” (ศรีษะ) แต่เยื้องไปทางด้ายซ้ายองค์พระเล็กน้อย
    3. ”พระเศียร” (ศรีษะ) ลักษณะกลมมนเล็กขณะที่ “พระกรรณ” (หู) เป็นเส้นใหญ่หนาและโค้งงอนในลักษณะพระจันทร์ครึ่งเซี้ยวจึงเป็นที่มาของคำ ว่า “หูบายศรี” โดยพระกรรณด้านขวาจะชิดพระพักตร์มากกว่าด้านซ้ายและปรากฏ “พระศอ” (คอ) เด่นชัดทุกองค์
    4. “พระพาหา” (แขน) ทั้งสองข้างกางออกแล้วไปหักมุมตรง “พระกัปปะระ” (ศอก) เพื่อประสานกันในท่านั่งสมาธิที่ด้านซ้ายองค์พระ นอกจากจะกางออกมากกว่าด้านขวาแล้วยังใหญ่กว่าด้านขวาเล็กน้อยอีกด้วย
    5. “พระอุระ” (อก) หากสังเกตให้ดีจะพบว่ามีลักษณะคล้ายกับ “รากฟันกราม” ของคนโดยพระอุระด้านซ้าย จะนูนสูงกว่าด้านขวาและเป็นที่มาของคำว่า “อกร่อง” ส่วน “พระเพลา” (ตัก) ลักษณะจะเป็นแท่งทึบที่ไม่มีการแยก “พระบาท” (เท้า) ให้เห็นเป็นข้างซ้ายและขวาอีกทั้งตรงกลางจะแอ่นโค้งเล็กๆ
    6. “ฐาน” มีทั้งหมด ๗ ชั้น โดยชั้นบนสุดนอกจากสั้นและหนาแล้ว ยังเป็นเส้นโค้งคล้ายกับท้องเรือขณะที่ ฐานชั้นที่ ๓ ลักษณะแอ่นขึ้นเล็กน้อยและปลายฐานทั้งสองข้าง ของฐานชั้นที่สองถึงชั้นที่เจ็ดลักษณะอ่อนพลิ้วทุกชั้นส่วนปลายฐานของ ฐานชั้นที่ ๑ ทั้งสองข้างมีลักษณะเรียวแหลมและจรดเส้นซุ้ม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 มีนาคม 2012
  11. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    วิธีพิจารณาสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ (พิมพ์พระประธาน)

    วิธีพิจารณาสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ (พิมพ์พระประธาน)

         1. ซุ้มครอบแก้วทางขวาบน จะมีมุมหักเป็นแนวสโลปเล็กน้อย

         2. ปลายพระเกตุตั้งเอียงสะบัดไปทางซ้าย ในบางองค์อาจเป็นเส้นทิวทะลุซุ้มไป

         3. รูปพระพักตร์เป็นผลมะตูม ในองค์ที่สมบูรณ์ติดชัดจะมองเห็นทั้งพระเนตร พระนาสิก และพระกรรณทั้งสองด้านโดยทางด้านซ้ายคล้ายบายศรีมีปลายลงมาจรดบ่า ทางด้านขวาทิ้งแนบกับพระแกมโบ(แก้ม)  และมองเห็นพระศอเป็นแนวจางๆยาวลงมา

         4. ไหล่ข้างซ้ายดูยกสูงกว่าข้างขวา จะมองแขนมีกล้ามเล็กน้อย โดยเทียบกับข้อพระกัสปะที่สอบเล็กลง ส่วนชายจีวรจะเป็นเส้นพริ้วลงมาเป็นทิวจางๆ

         5. มองเห็นปลายพระบาทยื่นออกมาเล็กน้อย ลักษณะพระเพลาข้างนี้จะหันหลุบเข้าหาผนัง และมองเเห็นเส้นแซมที่คมบางเป็นผ้าอาสนะรองนั่ง

         6. ฐานชั้นบนด้านซ้ายดูยาวกว่าข้างขวา และทั้งยื่นออกมาจากผนังมากกว่า มองเป็นฐานที่เทลาดเอียงลง

         7. ในองค์ที่ติดชัดจะมองเห็นเส้นแซมอีกเส้นเป็นแนวจางๆ  อยู่เหนือฐานสิงห์อีกด้วย

         8. ส่วนฐานชั้นล่างสุดดูไม่เท่ากันมองเหมือนสี่เหลี่ยมคางหมู  โดยด้านล่างของปลายทั้ง 2 ข้าง จะมีเส้นปลายแหลมเป็นทิวจางๆ วิ่งไปชนที่มุมของซุ้มครอบแก้ว 

         9. องค์พระจะนั่งโย้ หรือหันเอียงไปทางขวา   

    อ้างอิง. พระไทยอามูเลท

     
  12. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    ดูอายุการสร้างอย่างไร

     พระสมเด็จวัดระฆัง (ดูอายุการสร้างอย่างไร?)

              พระสมเด็จวัดระฆัง นอกจากทำความเข้าใจถึงศิลปะพิมพ์ทรงให้ถูกแล้ว  ยังต้องมาพิจารณาถึงหลักธรรมชาติของเนื้อพระสมเด็จวัดระฆัง ที่มีส่วนผสมด้วยมวลสารต่างๆ  ดังนั้นหลักในการพิจารณาอายุของเนื้อพระสมเด็จวัดระฆังนั้น โดยส่วนมากจะดูธรรมชาติกันทั้งในทางด้านหน้าและในทางด้านหลัง มาประกอบพิจารณาด้วยกันเสมอ

              ซึ่งในทางด้านหลังพระสมเด็จวัดระฆังนั้น ในบางองค์อาจจะมีรอยไม้กระดานตีอัด หรือเป็นแบบลักษณะหลังกาบหมาก หรือจะเป็นแบบหลังเรียบธรรมดาก็มี แต่ที่สำคัญนั้นจะต้องมีความหดเซ็ทตัวซึ่งเป็นตามหลักของธรรมชาติอีกด้วย คือเนื้อพระจะไม่ตึงหรือเรียบไปเลยเสียทีเดียว แต่จะต้องมีร่องรอยของมวลสารที่หลุดออกไปบ้าง เพราะเป็นพระที่สร้างมานานถึง 150 ปีแล้ว จึงต้องเกิดมีความเปลี่ยนแปลงทรุดโทรมไปตามกาลเวลา โดยจะมี"รอยรูพรุนปลายเข็ม" หรือเป็นหลุมเป็นบ่อเกิดขึ้นอยู่ทั่วๆไปในทางด้านหลังของพระ ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่มวลสารหลุดออกไปนั่นเอง และลักษณะรอยที่หลุดออกไปนี้ ก็จะดูเก่าเป็นไปตามธรรมชาติ คือจะมีการหดยุบเซ็ทตัวตามริมโดยรอบขอบหลุมนั้นอีกด้วยเช่นกัน และนอกจากลักษณะเหล่านี้ที่ว่ามาแล้วนั้น ยังจะมี"รอยหนอนด้น"เกิดขึ้นอีก ซึ่งเป็นการหดเซ็ทตัวของเนื้อพระตามอายุของการสร้าง โดยจะมีลักษณะที่เหี่ยวย่น ดูคล้ายกับผิวหนังของคนชรา และมีปรากฏให้เห็นอยู่โดยทั่วๆไป
     
  13. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    สมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ทรงเจดีย์

    สมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ทรงเจดีย์


    [​IMG]
     
  14. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    วิธีพิจารณาพระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์เจดีย์


    วิธีพิจารณาพระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์เจดีย์
    พระสมเด็จวัดระฆัง  พิมพ์เจดีย์ เป็นพระที่มีการพบเห็นกันเป็นจำนวนน้อยมาก  ถ้าเทียบกับพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์พระประธาน  กับพิมพ์ฐานแซม  เว้นแต่พิมพ์เกศบัวตูม  ที่มีศิลปะพิมพ์ทรงที่ใกล้เคียงกันมาก  สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นพิมพ์ที่เกิดขึ้นจากฝีมือศิลปะของช่างหลวงต่างท่านกัน   ซึ่งถ้าแยกแยะความแตกต่างลักษณะพิมพ์ทรง  ในเฉพาะพิมพ์เจดีย์เอง ก็ยังแบ่งออกได้เป็นหลายๆแม่พิมพ์
          ส่วนการพิจารณาพิมพ์ทรงและธรรมชาติ  จุดที่พอให้จับหลักการพิจารณาให้ง่ายขึ้นก็คือ  การแยกแยกความแตกต่างระหว่างพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์พระประธานกับพิมพ์เจดีย์ให้ได้ก่อนเช่น
         1.พิมพ์เจดีย์ซุ้มมักโย้ไปทางหน้าหรือขึ้นค่อนข้างแนวตรง  แต่พิมพ์พระประธานจะโย้ออกไปทางซ้ายองค์พระมากกว่า
         2.พระพักตร์พิมพ์เจดีย์จะเป็นรูปผลมะตูมป้อมมากกว่าพิมพ์พระธาน
         3.พระเกศพิมพ์เจดีย์มักวิ่งโย้ไปทางขวา  และมักจะเห็นปล้องกำไรช่วงกลางพระเกศ  แต่พิมพ์พระประธานมักวิ่งเอียงไปทางซ้าย  หรือขึ้นเกือบจะเป็นแนวตรงก็มี
         4.พิมพ์เจดีย์จะมองเห็นผ้าริ้วอังสะผ่านซอกกัจจะ(รักแร้)  แต่พิมพ์พระประธานจะไม่มีเส้นผ้าริ้วอังสะ
         5.ผ้าสังฆาฏิ  พิมพ์เจดีย์  ส่วนมากจะเห็นวิ่งเป็นเส้นคมสองเส้นวิ่งคู่กันลงมาที่ข้อมือ  แต่พิมพ์พระธานจะติดพาดไปทางพระอังสาข้างซ้าย และวิ่งแนบกับด้านข้างของพระอุระ
         6.พิมพ์เจดีย์จะเห็นการซ้อนกันของพระบาทค่อนข้างชัด  แต่พิมพ์พระประธานจะเน้นเฉพาะพระบาทข้างขวา  โดยจะเห็นเพียงพระบาทซ้ายยื่นพอเห็นออกมาด้านล่างข้างขวา
         7.ฐานของพิมพ์เจดีย์ จะมีความสั่นหรือแคบกว่าพิมพ์พระประธาน  และเมื่อมองภาพโดยรวมแล้ว คือมองตั้งแต่พระเกศลงมาที่ปลายฐานล่างสุด ทั้งสองด้าน พิมพ์เจดีย์จะเป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว 
          ส่วนการพิจารณาธรรมชาติ  ของพระสมเด็จวัดระฆัง  ให้ดูความหดตัวของเนื้อ  รวมทั้งการหลุดออกไปของมวลสาร  จนอาจเห็นเป็นรอยรูพรุนปลายรูเข็มไปทั่วๆทางด้านหลัง หรืออาจเห็นเป็นรอยกาบหมากก็มี ตลอดจนรอยปูไต่  คือรอยปริแยะของเนื้อพระ  ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในบางองค์  เป็นผลของธรรมชาติที่เกิดขึ้นจากการใช้ตอกตัด  หรือเกิดจากความแห้งตัวจัดของเนื้อพระ  และไม่เกาะตัวประสานกันดีเมื่อเนื้อเซ็ทแห้งตัวเต็มที่แล้ว

     
  15. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,370
    สมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ อกกระบอก

    สมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ อกกระบอก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  16. stoes

    stoes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,343
    ค่าพลัง:
    +9,050
    สวยครับสำหรับองค์นี้ เดียวผมหาภาพสมเด็จที่ผมชอบมาลงในกระทู้อาจารย์บ้าง
     
  17. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,370
    ขอบพระคุณอย่างยิ่งครับ อาจารย์ Stoes
    ผมจะรอชมครับ
     
  18. stoes

    stoes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,343
    ค่าพลัง:
    +9,050
    สององค์นี้ผมชอบครับ อาจารย์
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,370
    พระสวยมากครับ ยิ่งองค์แรก
    เนื้อเพระป็นธรรมชาติ ดูง่ายจริงๆ
    ขอบพระคุณมากครับ
     
  20. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,370
    สมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ เกศทะลุซุ้ม

    สมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ เกศทะลุซุ้ม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...