{{หลวงพ่อคูณ257}}ศึกษาพระสมเด็จ/เบญจภาคีองค์ครู26ขุนแผนพรายกุมาร4ลพ.พรหม68พ่อท่านคลิ้ง105

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย Amuletism, 2 มกราคม 2012.

  1. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    ด้วยความยินดีครับ ท่าน narmja
     
  2. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,370
    เนื้อพระนางพญา สิ่งสำคัญที่ควรพิจารณา

    เนื้อพระนางพญาเป็นข้อสำคัญในการพิจารณาเก๊/แท้
    เนื้อพระแม้เป็นพระเนื้อดินผสมว่าน แต่ไม่ใช่พระแก่ว่าน
    ซึ่งเนื้อพระแก่ว่่านจะอ่อนนุ่มกว่า เช่น พระตระกูลกำแพงเพชร หรือผงสุพรรณ
    เนื้อพระนางพญามีลักษณะพิเศษกว่า่นั้น คือ มีการผสมเม็ดแร่ กรวดทราย
    ซึ่งทำโดยมีเจตนาเพื่อให้พระมีเนื้อที่แกร่งและคงทน
    ดังนั้น เม็ดแร่กรวดทราบที่อยู่ในเนื้อพระจะเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องมี
    ในพระนางพญาที่สวยๆ ผิวเดิมๆ หากพิจารณาให้ละเอียดก็จะเห็นเม็ดแร่อยู่บ้างเช่นกัน
    แต่หากต้องการพระนางพญาที่ดูง่ายกว่านั้น ก็น่่าจะพิจารณาพระที่เสียผิวเล็กน้อย
    เพราะจะเห็นเม็ดแร่อย่างชัดเจน ทำให้การพิจารณาง่ายขึ้นมาก
    โดยลักษณะของเม็ดแร่จะไม่ใช้เศษกรวดทรายปกติ
    ของให้สังเกตุและจดจำจากตำราเก่าชั้นครูต่างๆ
    หนังสือใหม่เล่มบางๆ ที่วางอยู่ขอให้พิจารณาด้วยความระมัดระวัง
    เพราะภาพพระบางองค์ดูน่าสงสัยเกินกว่าที่จะใช้เป็นแบบอย่างในการศึกษา
    พระกลุ่มที่เสียผิวเป็นพระที่วงการเรียกว่า พระนางพญากรุน้ำ
    เป็นกรุตาปาน ซึ่งเป็นกรุที่จมอยู่ในน้ำเป็นเวลานาน
    ทำให้ผิวหน้าเดิมของพระเสียไป เม็ดแร่ที่อยู่ในเนื้อพระใต้ผิวหน้าลอยขึ้นมา
    ที่เรียกว่า แร่ลอยนั่นเอง พระกรุนี้ ส่วนตัวผมคิดว่าน่าสนใจทีเดียว
    เพราะนอกจากดูง่ายแล้ว ราคายังเบากว่าอีก ด้วยความที่เป็นพระเสียผิวครับ

    อีกสิ่งหนึ่ง ที่ต้องพึงตระหนักไว้เสมอ คือ พระนางพญา
    เป็นพระกรุที่มีอายุประมาณสี่ร้อยปี ดังนั้น เนื้อดินจะต้องไม่ดูสดใหม่
    เหมือนกับเนื้อกระถางต้นไม้่เป็นอันขาด
    เนื้อพระจะต้องแห้งเนื้อ ประเภทดูชื้นๆ อยู่ เนื้อเนียนมากๆ
    หรือมีเศษทรายขนาดเท่าๆกัน ลอยบนผิวพระ ต้องอยู่ให้ห่างเลยครับ
     
  3. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    แร่ลอยในพระนางพญาเพิ่มเติม

    "แร่ลอย" หมายถึงพระที่มีเม็ดกรวดเม็ดทรายลอยเหนือผิวเนื้อพระ พระนางพญาที่พบมีเป็นจำนวนมากที่เป็นพระ "แร่ลอย" เกิดจากพระจมอยู่ในดินในที่ลุ่มเป็นเวลานาน บางปีน้ำก็ท่วมมาก ทำให้พระต้องเสียหายหนังขึ้นไปอีก เมื่อพระได้รับการอาราธนาขึ้นคอเนื้อพระที่ค่อนข้างจะอ่อนอยู่แล้วถูกสัมผัสมากขึ้นทำให้ผิวเนื้อแท้ ๆ หลุดรุ่ยไปก่อน ส่วนแร่ที่เป็นเม็ดกรวดขนาดเขื่องมีความแข็งแกร่งกว่าก็จะสึกหรอได้ช้ากว่า จึงทำให้เห็นเม็ดแร่ลอยตัวอยู่เหนือผิว
    ก่อนจะดูแร่ในพระนางพญา "แร่ลอย" ก็ต้องดูจุดอื่นก่อน
    1. ดูเส้นสายองคาพายพต่าง ๆ บนองค์พระ เฉพาะอย่างยิ่งในส่วนต่ำจะต้องคงลักษณะแบบพิมพ์ไว้ได้ชัดเจน คือผิวตอนบนจะเสียไปก็ไม่เป็นไร แต่ส่วนต่ำสุดอันเป็นตอของพิมพ์จะต้องอยู่และไม่ "ตึง" เพื่อให้รูแน่นอนว่าพิมพ์ถูกต้อง และเป็นของแท้แน่นอนไม่ใช่ "พระแกะ"!! ข้อนี้สำคัญครับเพราะป้องกันความผิดพลาดอันเนื่องมาจาก "พระแกะ" ความจริง "พระแกะ" แทบไม่พบในพระนางพญาเลย แต่พบมากในพระเมืองกำแพงเพชรเคยได้ยินมั้ยครับ "ซุ้มแกะ"!! เป็นพระ "ซุ้มกอ" นี่แหละ พวกช่างแกะ "มือผี" เอาอิฐเก่าหรือพระเก่ามาแกะแล้วทำให้สึกเลือน โดยผ่านการใช้ระยะหนึ่ง จากนั้นก็ให้เด็กถือเข้าตลาดพระพร้อมกับ "นิยาย" สมบัติเจ้าคุณปู่ !! ขนาดเซียนส่องถึงกับร้อง…จุ๊…จุ๊…จุ๊…หูย!! เนื่อเก่าแจ๋วแหววเสียแต่ใช้สึกไปหน่อย!! เอาเท่าไหร่หนู??!!….เสร็จ!!….เซียนมาเจอ "ซุ้มแกะ" บางทีเขาถึงว่า "เก๊" ไม่กลัว กลัว "แกะ"!! ไงล่ะ
    2. พระนางพญาเป็นพระที่เข้าว่านก็มี ไม่เข้าว่านก็มี ถ้าเป็นพระเข้าว่านก็ใส่ไม่มากเหมือนอย่างพระเมืองกำแพงฯ หรือผงสุพรรณ ดังนั้น ถ้าพระนางพญามีความหนึกนุ่มอยู่บ้างก็จะไม่ซึ้งจัดจ้านเท่ากับพระสองเมืองดังกล่าวกระนั้นพระนางพญาที่เข้าว่านก็สามารถเห็นความหนึกนุ่มได้ ส่วนพระที่ไม่เข้าว่านก็จะเห็นความแกร่งกว่าได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามจุดที่สำคัญที่สุด คือ เนื้อพระต้องแห้งสนิทและเป็นธรรมชาติ
    3. มาถึงแร่ ซึ่งเป็นเม็ดกรวดขนาดเขื่องโรยตัยอยู่ค่อนข้างหนาแน่น เม็ดแร่นี้เป็นการจงใจของโบราณท่านที่ผสมเข้าไปเพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับเนื้อพระ แร่ในพระนางพญามีสามแบบคือ หนึ่งสีขาวใสหรือโปร่งแสง สองสีขาวขุ่นแบบน้ำนม และสามสีแดงอมน้ำตาลเข้ม
    ในพระเสียผิวเม็ดแร่จะลอยโผล่ผิวเนื้อพระ และขอบเม็ดแร่ต้องไม่คมเด็ดขาด เพราะสมมติฐานที่ว่าพระนางพญาจมอยู่ในดินมานานและผ่านการสัมผัสจับต้องมามาก ถ้าขอบคมเมื่อไหร่ก็เก๊ลูกเดียวเมื่อนั้น !!

    อ้างอิง lokapa
     
  4. Woratorn

    Woratorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    75
    ค่าพลัง:
    +148
    ขอเรียนถามครับว่า หากพระนางพญาที่ถูกนำมาจากกรุแล้วล้างเก็บไว้อย่างดีโดยไม่ผ่านการคล้องเลยผิวจะเป็นเช่นไร เพราะตามรูปในหนังสือหรือในสื่ออินเตอร์เนต ดูเหมือนว่าจะเป็นพระฯที่ผ่านการคล้องมาแล้วเป็นระยะเวลานานๆจนทำให้ผิวพระสึกเลือนไปมาก และโดยเฉพาะพระเนื้อสีดำและสีหินครกไม่เคยเห็นเลย มีเพียงกล่าวถึงในตำนานการสร้างพระฯหรือวิธีการพิจรณาพระฯเท่านั้น

    ขอบพระคุณครับ
     
  5. มืดบอด

    มืดบอด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    631
    ค่าพลัง:
    +550
    นอกเรื่องถามหลวงปู่ทวดหน่อยครับ
    พอดีจะเช่าเป็น เนื้อว่าน ฝังตะกรุดเก่า 1 ดอก เขาบอกราคา 4,000 บาทพร้อมกรอบเงินลงยา หากไม่เอกกรอบราคาต่อรองได้ อยากทราบว่าเป็นรุ่นไหน ราคาน่าจะต่อรองอยู่ที่ประมาณเท่าไร ขอบคุณมากครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,370
    พระนางพญา พิมพ์เทวดา

    ขอแจมด้วยคนครับ พอดีมีอยู่ในกรุองค์นึงครับ

    พระนางพญา กรุวัดนางพญา จัดว่าเป็นพระเนื้อที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดของเมืองพิษณุโลกและถูกจัดให้เป็นพระในชุด “เบญจภาคี”
    ตามการสันนิฐาน พระนางพญานั้นเป็นผู้ที่สร้างคือ “พระวิษุสุทธิกษัตรี” มเหสีของ “สมเด็จพระมหาธรรมราชา” (พระมารดาของสมเด็จพระนเรศวร) ผู้ที่ได้สร้างหรือปฏิสังขรณ์ซึ่งเป็นบริเวณที่พบพระนางพญานั่นเอง เข้าใจว่าการสร้างพระนางพญานั้นประมาณปี พ.ศ. 2090 – 2100 หรือประมาณสี่ร้อยกว่าปี
    พระนางพญาถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อประมาณ พ.ศ. 2444

    ลักษณะของพระนางพญา พระส่วนใหญ่จะมีเนื้อหยาบ ที่ละเอียดอ่อนจะมีน้อยกว่ามาก มีทั้งหมด 7 พิมพ์ด้วยกัน คือ
    1. พิมพ์เข่าโค้ง ถือเป็นพิมพ์ใหญ่พิมพ์หนึ่ง
    2. พิมพ์เข่าตรง ถือเป็นพิมพ์ใหญ่
    3. พิมพ์อกนูนใหญ่ ถือเป็นพิมพ์ใหญ่
    4. พิมพ์สังฆาฏิ ถือเป็นพิมพ์กลาง
    5. พิมพ์อกแฟบ (หรือพิมพ์เทวดา) ถือเป็นพิมพ์เล็ก
    6. พิมพ์อกนูนเล็ก ถือเป็นพิมพ์เล็ก
    7.พิมพ์พิเศษ เช่น พิมพ์เข่าบ่วง หรือพิมพ์ใหญ่พิเศษ

    ทุกพิมพ์เนื้อหามวลสาร จะเหมือนกันหมด ผิดกันแต่พิมพ์ทรงเท่านั้น
    เนื้อพระนางพญาจะเป็นเนื้อดินเผาที่หยาบที่สุดชุดเบญจภาคี มีความแกร่งและมีจุดสังเกตของเนื้อหามวลสาร คือ ในดินจะมีเม็ดแร่เม็ดทรายแทรกปนอยู่ในเนื้อเป็นจำนวนมากทั่วทั้งองค์ แม้เป็นพระผิวเดิมที่ไม่ผ่านการใช้งานก็ยังสามารถเห็นเม็ดแร่ในบางจุดได้ และหากเป็นพระนางญาที่มาจากกรุน้ำก็จะยิ่งเห็นแร่ชัดเจน เพราะพระเสียผิวเนื่องจากกรุดังกล่าวจมอยู่ในน้ำเป็นเวลานาน อย่างไรก็ดี เหมาะแก่การศึกษาลักษณะของเม็ดแร่ครับ (แร่ลอย)

    พุทธคุณ โดดเด่นในด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาด คงกระพัน

    พระนางพญา พิมพ์เทวดา กรุวัดนางพญา พิษณุโลก
    [​IMG]

    องค์นี้ประกวดได้รางวัลที่ 1 งานนักเรียนเตรียมทหาร เมื่อปลายปีที่แล้ว ที่พันธ์ทิพย์
    รอรับประกาศอยู่ครับ

    ลองดูแบบไม่ใส่ตลับ

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 3 เมษายน 2012
  7. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    จะพยายามหาข้อมูลให้ครับ
    ขอเวลาทำการบ้านหน่อยแล้วกันครับ
     
  8. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    พระสมเด็จบางขุนพรหม

          วัดบางขุนพรหมเป็นวัดเก่าแก่มีมาแต่สมัยอยุธยาเป็นราชธานี และเป็นวัดที่สร้างอยู่บนที่ดอนห้อมล้อมไปด้วยเรือกสวนและไร่นา เข้าใจว่าเป็นวัดที่ประชาชนในละแวกนั้นช่วยกันสร้างและบูรณะสืบต่อๆ กันมา เมื่อปีจอ พุทธศักราช ๒๓๒๑ เจ้าอินทรวงศ์ราชโอรสในพระเจ้าธรรมเทววงศ์ ผู้ครองนครศรีสัตนาครหุตได้ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นมาใหม่ในรัชสมัยพระเจ้า ตากสินมหาราชแห่งกรุงธนบุรี ต่อมาครั้นสร้างกรุงเทพมหานครเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่ทว่าวัดบางขุนพรหมไม่เคยได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์เลยสักครั้งเดียว สิ่งก่อสร้างต่างๆ ได้ปรักหักพังลง สืบต่อมาจนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.๕ เสมียนตราด้วง พร้อมกับชาวบ้านในย่านบางขุนพรหมและท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้ร่วมใจกันบริจาคจตุปัจจัยไทยธรรมจัดการสร้าง และซ่อมแซมวัดบางขุนพรหมขึ้นมาใหม่ให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ นอกจากนั้นแล้วยังได้จัดสร้างพระมหาเจดีย์องค์ใหญ่ประดิษฐานไว้ที่หน้าวัด บางขุนพรหมเป็นพิเศษอีกด้วย เมื่อดำเนินการสร้างพระมหาเจดีย์เสร็จเรียบร้อยแล้ว ท่านเสมียนตราด้วงพร้อมกับท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้จัดสร้างพระพิมพ์เนื้อผงสีขาวอย่างพระสมเด็จวัดระฆัง มีจำนวนมากถึง ๘๔,๐๐๐ องค์ บรรจุไว้ในพระมหาเจดีย์เพื่อเป็นพุทธบูชาและการสืบพระศาสนาตามคดีโบราณนิยม อีกด้วย

                อนึ่ง การบรรจุพระสมเด็จไว้ในพระเจดีย์ที่วัดบางขุนพรหมนั้นเป็นงานบุญครั้งยิ่ง ชาวบ้านร้านตลาด ตลอดจนประชาชนทั้งไกลและใกล้ย่อมจักทราบกันเป็นอย่างดีและเป็นข่าวที่เล่า ขานสืบต่อๆ กันมาจนกระทั่งถึงสงครามโลกครั้งที่ ๑ ประเทศไทยได้ส่งทหารหาญไปร่วมรบ ในการนี้ได้ปรากฎมีประชาชนแอบเข้ามาใช้ดินเหนียวปั้นเป็นลูกกลมๆ แล้วหย่อนลงไปตามช่องลมพระเจดีย์เพื่อให้พระสมเด็จติดก้อนดินขึ้นมา ทีแรกก็ทำกันอย่างลับๆ ล่อๆ เพียงไม่กี่ตน ครั้นตกได้พระสมเด็จขึ้นมามีการเช่าซื้อปรากฎเป็นสนนราคาขึ้นมาแล้วเท่านั้น แหละ ปรากฎว่าแห่กันมาเป็นการโกลาหล ครั้งแรกทางวัดมิได้ห้ามหวงแต่อย่างใด แต่พอนานๆ เข้าเห็นว่าจะไม่ได้การ จึงทำการโบกปิดช่องลมที่พระเจดีย์เสียการตกเบ็ดพระสมเด็จกรุบางขุนพรหมได้ ยุติลงพระสมเด็จบางขุนพรหมซึ่งได้จากการตกในครั้งนั้น นิยมเรียกว่าพระสมเด็จบางขุนพรหมกรุเก่าจะไม่ปรากฎขี้กรุชัดเจน ผิวจะเรียบ จะมีอยู่บ้างก็เป็นชนิดราบนวลขาว ที่เรียกว่าฟองเต้าหูเท่านั้น ผิวพระจึงเรียบงดงามเพราะไม่มีขี้กรุผสมผสานกับดินกรุดินแน่นเป็นก้อนสี น้ำตาลแก่ ชนิดลอกขี้กรุออกนั้นต้องใช้หัวกรอฟันจึงจะเอาออกได้วัดบางขุนพรหมได้เปลี่ยนชื่อเป็น วัดใหม่อมตรส ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว คราวบูรณะปฏิสังขรณ์กรุงเทพฯ ๑๕๐ ปี (พ.ศ. ๒๔๗๕)
    เมื่อได้พิจารณาถึงการสร้างพระสมเด็จบางขุนพรหมแล้ว ท่านจะเห็นว่า การสร้างพระสมเด็จในครั้งนี้นั้นไม่เหมือนกับการสร้างพระสมเด็จวัดระฆังที่อยู่ในลักษณะ ที่ค่อยทำค่อยไปไม่รีบเร่ง รวบรวมผงวิเศษวัสดุอาถรรพณ์และวัตถุมงคลได่แค่ไหนก็ทำไปแค่นั้น มวลสารในพระสมเด็จวัดระฆัง จึงหลากหลายและมีความแตกต่างกันไปบ้างเป็นธรรมดา เพราะการผสมมวลสารต่างกรรมต่างวาระกัน ผิดกับการสร้างพระสมเด็จที่วัดบางขุนพรหม เข้าใจว่าคงจะระดมชาวบ้านช่องมาช่วยกันสร้างกันเป็นงานใหญ่ครั้งมโหฬารให้ สำเร็จกันเลยทีเดียว มวลสารของสมเด็จกรุบางขุนพรหมส่วนมากจึงเป็นไปในลักษณะอย่างเดียวกันคือ เนื้อจะแก่ปูนหอย หรือปูนเพชร ผสมผสานด้วยผงวิเศษซึ่งสำเร็จจากสูตรสนธิ์อันเป็นอักขระเลขยันต์ตามตำรา บังคับ เช่น ผงปถมัง อิถเจมหาราช ตรีนิสิงเห และผงนะอักขระวิเศษต่างๆ อันมีนะ ๑๐๘ เป็นต้น เนื้อหาจึงดูกระด้างไม่หนึกนุ่มและอุดมไปด้วยมวลสารอันมีวัสดุมงคลและ อาถรรพณ์อย่างกับพระสมเด็จวัดระฆัง หรือจะพูดโดยสรุปก็คือมวลสารจะหนักไปทางผงปูนหอยเมื่อได้สร้างพระสมเด็จบาง ขุนพรหม และการปลุกเสกจากท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ เสร้จเรียบร้อยแล้วจึงได้ทำการบรรจุในเจดีย์องค์ใหญ่ที่วัดบางขุนพรหม

             พ.ศ. 2416 เกิดอหิวาตกโรคมีผู้มีจิตศัทธา อาราธนาพระสมเด็จฝนองค์พระสวดพระคาถาชินบัญชรผสมน้ำรักษาโรคหายได้ จึงมีผู้ลักลอบตกเบ็ดพระสมเด็จวัดบางขุนพรหมเพื่อรักษาโรค และให่เช่าบูชา
                 เปิดกรุ ทั้งหมด 3 ครั้งไม่เป็นทางการ 2 ครั้ง ปีพ.ศ.2436 และ2459 เรียก"พระสมเด็จบางขุนพรหมกรุเก่า"ไม่รวมการตกเบ็ดพระโดยวิธีปั้นดินเหนียวผูกเชือกหย่อนลงไปในกรุให้พระติดดินเหนียวออกมา..แต่เซียนพระนิยมเรียกพระที่ขโมยออกมาที่ไม่มีคราบกรุ..มากว่า..ส่วนพระที่มีราบกรุเรียก  "พระสมเด็จบางขุนพรหมกรุใหม่"
              พ.ศ.2485 น้ำท่วมใหญ่กรุงเทพมหานคร และท่วมวัดบางขุนพรหม พระที่ได้มาหลังปีนี้จึงค่อนข้างขาวซีด และเกิดคราบกรุ ตระไคร่น้ำ และคราบขาวนักนิยมพระเครื่องเรียกฟองเต้าหู้


         เมื่อวันที่ 9  ตุลาคม 2500  ทางวัดได้พบว่ามีผู้เจาะกรุเข้าไปในเจดีย์  และนับว่าเป็นการขุดเจาะกรุสำเร็จเป็นครั้งแรก 
          พลเอกประพาส จารุเสถียร ประธานพิธีเปิดกรุ
         เมื่อพยายามป้องกัน..จัดเวรยามอย่างไรไม่ได้ผล..พระครูอมรคณาจารย์(เส็ง)เจ้าอาวาสในขณะนั้นจึงนำเรื่องเข้าหาพระเถระผู้ใหญ่..และแต่งตั้งคณะกรรมการโดยท่านเจ้าคณะอำเภอพระนครเป็นประธาน  พระสงฆ์ในวัดร่วมเป็นกรรมการ...ฝ่ายฆาราวาสเชิญนายบุญทอง  เลขกุล  เป็นประธาน ..และได้เชิญ ฯพณฯท่านพลเอกประพาส  จารุเสถียร  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย  เป็นประธานในการเปิดกรุ  ในวันที่ 24 พฤศจิกายน  2500  การเปิดกรุครั้งนี้เรียก "พระสมเด็จบางขุนพรหม..กรุใหม่."

    ลักษณะทั่วไปของพระสมเด็จบางขุนพรหม
    1. เนื้อพระ ปูนหินเปลือกหอยสุก  แข็ง และขาวนวล และน้ำมันตังอิ๊ว เป็นหลัก ส่วนมวลสารอื่นที่ใช้ผสมแท่งดินสอเขียนและลบยันต์เหมือนกับสมเด็จวัดระฆัง
    2. มวลสารเหมือนพระสมเด็จวัดระฆังแต่จะปรากฎน้อย เพราะพระแก่ปูน เนื่องจากเป็นการสร้างพระจำนวนมากในครั้งเดียว ผงวิเศษห้าอย่างจึงใส่น้อยกว่าสมเด็จวัดระฆัง
    3. ด้านหลังองค์พระปาดเรียบ และหลังกระดาน
    4. พิมพ์พระสง่าผ่าเผย แต่จะค่อนข้างตื้นปรากฎรอยยุบตัวตื้นๆ เพราะพระเนื้อแน่นและแกร่งกว่าสมเด็จวัดระฆัง
    5. ซุ้มครอบแก้วโย้เอียง
    6. มีทั้งแบบไม่ปรากฏคราบกรุหนา (กรุเก่า) และแบบที่คราบกรุเคลือบหนาเป็นขี้ปูน (กรุใหม่)
     
  9. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    สมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์ใหญ่

    สมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์ใหญ่

    [​IMG]

    พระสมเด็จฯ วัดบางขุนพรหม

    “พระสมเด็จฯ วัดบางขุนพรหมเป็นมรดกอันทรงคุณค่าที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี ได้สร้างและบรรจุกรุไว้ให้เมื่อกว่าศตวรรษมาแล้ว....ปัจจุบันแม้แต่เศษชิ้นส่วนที่แตกหักก็ยังเป็นที่ต้องการของผู้คน มีราคาเช่าหาสูงและหายาก....” สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี ท่านสร้างพระพิมพ์สมเด็จฯ ไว้ 3 แห่ง คือ
    1. พระสมเด็จฯ วัดระฆังโฆษิตาราม กรุงเทพมหานคร
    2. พระสมเด็จฯ วัดบางขุนพรหม กรุงเทพมหานคร
    3. พระสมเด็จฯ วัดเกศไชโย จังหวัดอ่างทอง
      ในบทความนี้ขอนำเสนอเฉพาะเรื่องพระสมเด็จฯ วัดบางขุนพรหม กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นพระพิมพ์ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ท่านสร้างและบรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ที่วัดบางขุนพรหม เมื่อประมาณ พ.ศ.2413 โดยจะให้รายละเอียดประวัติการสร้าง การเปิดกรุ พิมพ์ทรงของพระที่บรรจุ และเรื่องน่าสนใจอื่น ๆ ที่เชื่อถือได้มารวบรวมไว้ ณ ที่นี้
         
    การสร้างพระสมเด็จฯ วัดบางขุนพรหม

    ตามประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี ท่านได้สร้างพระสมเด็จวัดระฆังฯ ขึ้นแจกชาวบ้านในราวปี พ.ศ.2409 หลังจากท่านได้สมณศักดิ์ “สมเด็จพระพุฒาจารย์” ได้ 2 ปี ต่อจากนั้นประมาณ 2-4 ปีคือประมาณ พ.ศ.2411 ถึง พ.ศ.2413 ท่านจึงสร้างพระสมเด็จฯ ขึ้นอีกจำนวนหนึ่งนำไปบรรจุไว้ในพระเจดีย์องค์ประธานที่วัดบางขุนพรหม เรียกกันว่า “พระสมเด็จฯ วัดบางขุนพรหม”ผู้อาราธนาให้ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างพระพิมพ์เพื่อบรรจุในองค์พระเจดีย์ก็คือ เสมียนตราด้วง ต้นตระกูล “ธนโกเศศ” ข้าราชการเสมียนตราในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อท่านได้สร้างพระสมเด็จฯ วัดระฆังฯ แจกแล้ว ก็คงมีดำริว่าน่าจะสร้างพระขึ้นจำนวนหนึ่งเพื่อบรรจุไว้ในพระเจดีย์เป็น “อุเทสิกเจดีย์” (สิ่งที่ระลึกถึงพระพุทธเจ้า) ตามคติของคนโบราณด้วย ด้วยความคิดนี้ประกอบกับเสมียนตราด้วง ผู้ปฏิสังขรณ์วัดบางขุนพรหม ได้อาราธนาให้ท่านสร้างพระพิมพ์บรรจุในพระเจดีย์ที่เสมีนตราด้วงสร้างที่วัดบางขุนพรหม การสร้างพระสมเด็จฯ บางขุนพรหมจึงได้ดำเนินการขึ้น ในราว พ.ศ.2413 และสำเร็จเรียบร้อยก่อนที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) มรณภาพเพียง 2-3 ปีเท่านั้น พระสมเด็จฯ วัดระฆังฯ นั้นท่านสร้างเป็นครั้งคราวจำนวนคงไม่มากนัก ระยะเวลาในการสร้างไม่เกิน 6 ปี (พ.ศ.2409-2415) เนื้อหาจึงมีมวลสารมากและพระมีเนื้อหนึกนุ่ม เพราะไม่ได้บรรจุกรุ จึงไม่ถูกอบในกรุจนพระแห้งและแกร่ง เช่น พระสมเด็จฯ วัดบางขุนพรหม
    พระสมเด็จฯ วัดบางขุนพรหม มีทั้งหมด 10 พิมพ์ทรงคือ
    1. พิมพ์ทรงใหญ่
    2. พิมพ์ทรงเจดีย์
    3. พิมพ์ทรงเกศบัวตูม
    4. พิมพ์ทรงฐานแซม
    5. พิมพ์ทรงปรกโพธิ์ (มีน้อย)
    ห้าพิมพ์ทรงข้างต้นนี้ตรงกับพิมพ์ของพระสมเด็จฯ วัดระฆังฯ และยังมีพิมพ์อื่นเพิ่มขึ้นอีก 4 พิมพ์ทรง คือ
    6. พิมพ์ทรงฐานคู่
    7. พิมพ์ทรงสังฆาฏิ
    8. พิมพ์ทรงเส้นด้าย
    9. พิมพ์อกครุฑ
    10. พิมพ์ไสยยาสน์
         
    เนื้อพระสมเด็จฯ บางขุนพรหม

    เนื้อพระของพระสมเด็จฯ บางขุนพรหม ส่วนใหญ่เป็น เนื้อสีขาวและขาวอมเหลือง หนึกแกร่ง มีฝ้ากรุฉาบโดยทั่วไป เป็นเนื้อชนิดมีคราบและมีฝ้า อย่างที่เรียกกันทั่ว ๆ ไปว่า “สนิมกรุ หรือคราบกรุ” คราบนี้มีสีขาวหรือค่อนข้างขาวติดแนบแน่นอยู่บนพื้นผิวขององค์พระ ขี้กรุของพระบางองค์มีสีน้ำตาลเข้ม บางองค์คราบกรุบาง บางองค์คราบกรุหนา เมื่อใช้ไปนาน ๆ หรือถูกสัมผัสมากผิวจะเกิดมันละเลื่อมขึ้น
    มวลสารของพระสมเด็จฯ

    เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นปูนขาว เพื่อสร้างพระได้จำนวนมาก (ประมาณวัสดุ) ซึ่งเป็นปูนเปลือกหอย อันเป็นคำยืนยันจากพระธรรมถาวร (ช่วง) ลูกศิษย์ของสมเด็จฯ เนื้อปูนที่ท่านเอามาตำและร่อนจนมีเนื้อนุ่มละเอียด นอกจากนั้นท่านว่ามีส่วนผสมเป็นข้าวสุก เนื้อกล้วย ตัวประสานเป็นน้ำมันตังอิ๊ว เพื่อไม่ให้พระแตกร้าวอีกด้วย นอกจากนั้นเป็นมวลสารที่เป็นวัตถุมงคล (อิทธิวัสดุ) ซึ่งแบ่งเป็น 7 อย่างคือ
    1. ผงวิเศษ 5 ประการ คือ ผงปถมัง อิทธิเจ มหาราช พุทธคุณ และตรีนิสิงเห
    2. ผงใบลานเผา
    3. เกสรดอกไม้
    4. ว่าน
    5. ทรายเงินทรายทอง
    6. เถ้าธูป
    7. น้ำมันจันทน์
         
    การปลุกเสก

    คาถาปลุกเสก พระสมเด็จฯ ที่สร้างเสร็จแล้ว ท่านจะนำไปใส่ภาชนะไว้บนหอสวดมนต์และปลุกเสกทุกวัน คาถาที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ใช้ปลุกเสกนอกจากมีบทสวดอื่นแล้ว บทสวดที่มีชื่อมากคือ “พระคาถาชินบัญชร” ซึ่งเป็นพระคาถาเก่ามีมาแต่โบราณ (ประเทศศรีลังกาก็มี) โดยท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้เรียบเรียงขึ้นใหม่ให้มีความกระทัดรัดและเหมาะสมขึ้น ปัจจุบันนิยมสวดกันทั่วไปในประเทศไทย
         
    รายละเอียดการเปิดกรุ พ.ศ.2500 (เปิดกรุอย่างเป็นทางการ)

    รายละเอียดการเปิดกรุพระสมเด็จฯ วัดบางขุนพรหม ได้มาจากการสัมภาษณ์ท่านพระครูบริหารคุณวัตร รองเจ้าอาวาสวัดใหม่อมตรส เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ.2507 โดยคุณเทพชู ทับทอง พิมพ์อยู่ในหนังสือ “พระเครื่องและพระบูชาพระกรุเก้าวัด” มีรายละเอียดบางตอนว่า “การเปิดได้กระทำในวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ.2500 โดยมี พลเอก ประภาส จารุเสถียร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานกรรมการเปิดกรุ
    มีอธิบดีกรมศาสนา เจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะอำเภอ ตำรวจ ทหาร ร่วมด้วยในพิธีนี้ พอรุ่งขึ้นวันที่ 25 พฤศจิกายน คณะกรรมการก็ได้ทำการนับจำนวนพระที่ขุดได้ ปรากฏว่าได้พระสมเด็จ (ที่สมบูรณ์) ทั้งหมด 2,950 องค์ นอกจากนั้นก็ได้พระสมเด็จตะกั่วถ้ำชา 1 องค์ สำหรับตะกรุดคงเป็นของคนสมัยนั้นนำเอามาบรรจุไว้ด้วย ส่วนพระสมเด็จที่หักชำรุดมีมากมายพระที่ได้ขึ้นมาในครั้งนั้นเรียกว่า “พระกรุใหม่” ส่วนพระสมเด็จฯ ที่ถูกลักลอบนำออกมาก่อนหน้านั้น เรียกกันว่า “พระกรุเก่า” ซึ่งความจริงเป็นพระขึ้นมาจากกรุเดียวกันนั่นเอง เพียงแต่ระยะเวลาออกมาไม่พร้อมกัน
         
    พระพุทธคุณ

    การที่พระสมเด็จฯ เป็นที่นิยมก็คงจะเนื่องจากคุณวิเศษที่คนบูชาได้ประจักษ์กับตนเอง จนเป็นที่โจษขานกันปากต่อปาก ทำให้พระสมเด็จฯ เป็นที่ต้องการของผู้คน ดังที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน คุณประชา ศรีวิญญานนท์ หรือที่รู้จักกันในนามว่า “เปงย้ง ตลาดพลู” นักเล่นพระรุ่นเก่าที่มีชื่อเสียง ก็เคยประจักษ์ในพระพุทธคุณของพระสมเด็จฯ วัดบางขุนพรหม โดยได้ให้คำสัมภาษณ์ (ในหนังสือ Spirit Vol. 1 No. 1 Nov.-Dec 2003 หน้า 104) มีข้อความน่าสนใจว่า“พระองค์แรกที่เช่าเองและเป็นองค์ที่ภูมิใจที่สุดทุกวันนี้ก็ยังเก็บไว้อยู่เลยก็คือ พระสมเด็จฯ บางขุนพรหม พิมพ์อกครุฑ กรุเก่าซึ่งได้มาจากเพื่อนและเพื่อนก็ได้มาจากลุงของเขา เพราะลุงของเพื่อนสะสมพระเยอะ และเพื่อนคนนั้นเผอิญมีอยู่ช่างหนึ่งเขาขาดเงิน
    จึงเอาพระสมเด็จฯ ที่ห้อยคออยู่มาขอจำนำไว้ 500 บาท หลังจากนั้นได้นำพระองค์นี้เข้าไปในสนาม เซียนพระขอเช่าในราคา 300 บาท แสดงว่าแท้แน่นอน จึงพยายามขอซื้อจากเพื่อนคนนี้อยู่นานจนตอนหลังขาดจำนำจึงได้เก็บไว้ และพระองค์นี้มีประวัติ มีประสบการณ์ โดยเรื่องเกี่ยวกับท้องร่วงท้องเสีย ผมท้องเสีย เลยเอาพระไปแช่น้ำและไหว้ขอพรจากองค์พระแล้วก็ดื่มน้ำแก้วนั้น ไม่น่าเชื่อหายเป็นปลิดทิ้ง พระองค์นี้เดิมเจ้าของคือลุงมาขายให้หลานซึ่งเป็นเพื่อนผมแล้วก็หมดตัวเลย พอเพื่อนคนนั้นเอามาขายให้ผมเพื่อนคนนั้นก็ติดคุก ผมเลยไม่กล้าขายให้ใครเลย จะให้ผมกี่ล้านก็ไม่ขาย ก็ใช้บูชาติดตัวมาจนทุกวันนี้”ข้างต้นนี้เป็นตัวอย่างหนึ่งของพระพุทธคุณของสมเด็จฯ วัดบางขุนพรหม ซึ่งมีเรื่องเล่ามามากมาย ด้วยเหตุนี้เอง พระสมเด็จฯ จึงเป็นที่ต้องการของผู้คนทั่วไป
         
    ความนิยม

    พระสมเด็จฯ วัดบางขุนพรหม จึงเป็นมรดกอันทรงคุณค่าที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี ได้สร้างและบรรจุกรุไว้เมื่อกว่าศตวรรษมาแล้ว ประชาชนต่างเชื่อมั่นในพระพุทธคุณดังจะเห็นได้มีการลักลอบนำพระสมเด็จฯ ออกมาจากกรุตลอดมา จนกระทั่งทางวัดต้องเปิดกรุอย่างเป็นทางการใน พ.ศ.2500 ปัจจุบันแม้แต่เศษชิ้นส่วนที่แตกหักก็ยังเป็นที่ต้องการของผู้คน มีราคาเช่าหาสูงและหายาก
    ชิ้นส่วนพระสมเด็จฯ ที่พบในกรุ ทางวัดบางขุนพรหมก็นำมาเป็นส่วนผสมในการสร้าง พระสมเด็จฯ บางขุนพรหม รุ่น พ.ศ.2509 ซึ่งเป็นที่นิยมของผู้คนเป็นอันมากเช่นเดียวกัน เรื่องที่ประมวลมาทั้งหมดแสดงถึงความเป็นอมตะของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี กับพระพิมพ์ที่ท่านได้สร้างไว้และเชื่อแน่ได้ว่าจะเป็นพระเครื่องที่เป็นที่นิยมสูงสุดของประชาชนชาวไทยตลอดไป

    อ้างอิง หม่อมราชวงศ์อภิเดช อาภากร
       
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มีนาคม 2012
  10. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    วิธีพิจารณาสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์ใหญ่

    สมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์ใหญ่

    [​IMG]


    1. เส้นขอบองค์พระ ทั้งสี่ด้าน ซ้าย-ขวา-บน-ล่าง เฉพาะองค์ที่พิมพ์ติดชัดและไม่ผ่านการจับต้องมาก จะสังเกตเห็นเป็นเส้นนูนเรียวเล็กเช่นกันกับ “พระสมเด็จวัดระฆัง” เนื่องจากการสร้าง “แม่พิมพ์” นายช่างนำ “พระสมเด็จวัดระฆัง” มาเป็นแม่แบบ” 
    2. “เส้นซุ้ม” ลักษณะก็เป็นแบบ “หวายผ่าซีก” ที่กลมใหญ่โดยเส้นโค้ง ด้านขวาองค์พระ จะมีความชันกว่า ด้านซ้ายส่วน “พระเกศ” (ผม) จะเป็น “เส้นตรง” และปลายเรียวจรดเส้นซุ้มอันเป็นที่มาของชื่อ “พิมพ์ใหญ่แขนตรงเกศตรง” ส่วน “พิมพ์ใหญ่แขนตรงเกศเอียง” ให้สังเกต “พระเกศ” จะเอียงไปทางด้านขวาเล็กน้อย
    3. “พระพักตร์ (หน้า) ลักษณะคล้ายผลมะตูมและในองค์ที่พิมพ์ติดชัดจะสังเกตเห็น “พระกรรณ” (หู) ที่ด้านซ้ายส่วน “พระกัจจะ” (รักแร้) ด้านซ้ายจะสูงกว่าด้านขวาเล็กน้อยและ “พระกร” (แขน) ทั้งสองข้างทิ้งดิ่งลงมาประสานกันเป็นรูป   “ตัวยู” โดยพระกรซ้ายจะเป็น   “เส้นตรง” ส่วนพระกรขวา “กางออก” เล็กน้อยจึงเป็นอีกที่มาของการเรียกชื่อ    “พิมพ์ใหญ่แขนตรงเกศตรง”
    4. “พระอุระ” (อก) กว้างนูนเด่นรับกับ “พระอุทร” (ท้อง) ที่เรียวเล็กลงได้อย่างสวยงามทำให้มีลักษณะคล้ายกับ “ตัววี” ที่ทอดลงไปจรดกับวงพระกรที่เป็นรูป “ตัวยู”
    5. “พระเพลา” (ตัก) นูนหนาใหญ่ยาวประทับนั่งสมาธิราบและปรากฏ “เส้นชายจีวร” ที่พาดจาก “พระกัปปะระซ้าย” (ศอกซ้าย) ทอดลงไปยังพระเพลาซ้ายอันเป็นที่มาของชื่อ “พิมพ์ใหญ่” เช่นกันกับ “พระสมเด็จวัดระฆัง”
    6. ฐานที่มี 3 ชั้น ยาวกว่าพระเพลาเล็กน้อยโดย “ฐานชั้นแรก” ลักษณะเป็นแท่งหนาใหญ่และ ยาวกว่าฐานชั้นอื่น ๆ “ฐานชั้นที่สอง” จะเล็กลงและสั้นกว่าฐานชั้นแรก โดยปลายทั้งสองข้างมีลักษณะเป็นฐานสิงห์ส่วน “ฐานชั้นที่สาม” ก็จะเล็กและสั้นกว่าฐานชั้นที่สอง ลักษณะเป็นเส้นตรงที่ยาวขนานกันกับพระเพลา.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มีนาคม 2012
  11. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,370
    เชื่อว่า คุณ Captainzire น่าจะกำลังพยายาม
    ลงภาพพระเบญจภาคีให้ครบทุกประเภทเป็นแน่แท้
    ขอบคุณในความตั้งใจอันดีนี้ ที่พยายามหาภาพพระแท้
    ดีง่ายๆ มาเพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่กำลังศึกษา/สะสมพระ
    ผมจะ updated หัวข้อให้ตามสมควรแล้วกันนะครับ
     
  12. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    ข้อมูลสมเด็จบางขุนพรหม เพิ่มเติม

    ข้อมูลเพิ่ิมเติมเรื่องสมเด็จบางขุนพรหม
    อยากให้เพื่อนๆ ได้อ่านข้อมูลมากเพื่อการวิเคราะห์เปรียบเทียบ
    ตามหลักการและเหตุผลที่เป็นจริง เนื่องจากข้อมูลของบางเวป
    หรือบางส่วนของบทความบางเรื่องที่พบเห็น เป็นการให้ข้อมูลที่เลื่อนลอย
    และไม่เป็นวิทยาศาสตร์เลย หรือเป็นประวัติศาสตร์ที่เขียนขึ้นเอง
    กุขึ้นไม่เหมือนชาวบ้าน จะได้พิจารณาได้ว่าความน่่าเชื่อถือของ
    บทความที่อ่านและผู้เขียนนั้นมีมากน้อยเพียงใด

    ประวัติพระสมเด็จบางขุนพรหม

    ดังที่ทราบโดยทั่วไปว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมฺรังษี) ได้สร้างพระสมเด็จวัดระฆัง
    ที่ดังและประมาณค่ามิ ได้ และยังเป็นหนึ่งในเบญจภาคีชุดใหญ่ โดยให้สมเด็จวัดระฆัง
    เป็นจักรพรรดิ์พระเครื่อง โดยพุทธคุณมิต้องพูดถึงเพราะ ยอดเยี่ยมในทุกๆ ด้าน และยังเป็นที่ต้องการของประชาชนทั่วไป และอีกวัดหนึ่งที่ท่านไปสร้างไว้ในจังหวัดอ่างทอง
    คือ สมเด็จวัดเกษไชโย ท่านสร้างเพื่ออุทิศให้แก่บิดามารดาของท่าน
    และเป็นที่นิยมมากเช่นกัน
    วัดที่สามดังจะกล่าวถึงต่อไปนี้ คือสมเด็จบางขุนพรหม ซึ่งเป็นพระเนื้อผงเช่นเดียวกับ
    วัดระฆังและวัดไชโย โดยการนำของฝ่ายฆราวาสคือ เสมียนตราด้วง ซึ่งเป็นต้นตระกูล
    ของ ธนโกเศส เป็นแม่งาน จัดสร้างในปี พ.ศ.2411-2413 สร้างเสร็จแล้วไปบรรจุ
    ในกรุพระเจดีย์ภายในวัดใหม่อมตรสในปัจจุบัน โดยมีเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์
    (โต พรหมฺรังษี)เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ปลุกเสกและยังได้มอบผงวิเศษให้ผสมโขลกตำ
    เป็นมวลสารสำคัญในเนื้อของ องค์พระเอาไว้ด้วย
    ส่วนในจำนวนการสร้างพระสมเด็จบางขุนพรหมนั้น มีจำนวนหลายหมื่นองค์ แต่เหลืออยู่
    ที่เป็นสภาพสมบูรณ์ นั้นน้อย ส่วนมากจะแตกหัก สาเหตุที่เหลือน้อยเพราะมีนักขโมยพระ
    ตามเจดีย์หรือเรียกว่าตกพระ โดยมีกรรมวิธีใช้ดิน เหนียวหุ้มปลายไม้หรือเชือก
    แล้วหย่อนลงไปในช่องเจดีย์ ก็จะติดพระขึ้นมา คาดว่าเป็นจำนวนมากพระที่ถูกตกไป
    เรียกกันว่า"พระบางขุนพรหมกรุเก่า"
    ส่วนในการเปิดกรุอย่างเป็นทางการคือในปี พ.ศ.2500 โดยมี จอมพลประภาส จารุเสถียร
    ได้เป็นประธานในการเปิดกรุ โดยให้พระเณรเป็นผู้สำรวจจำนวนพระที่เหลือและพระที่แตกหัก
    มีองค์พระที่สมบูรณ์เป็นจำนวนน้อย จะมีพระที่ชำรุด แตกหักป่นเป็นจำนวนมาก
    พระสมเด็จบางขุนพรหมที่พบแบ่งได้ออกเป็น 9 พิมพ์ ซึ่งจะเป็นพิมพ์หลักดังนี้
    1. พิมพ์ใหญ่
    2. พิมพ์เส้นด้าย
    3. พิมพ์ทรงเจดีย
    4. พิมพ์เกศบัวตูม
    5. พิมพ์ฐานแซม
    6. พิมพ์สังฆาฎิ
    7. พิมพ์อกครุฑ
    8. พิมพ์ฐานคู่
    9. พิมพ์ปรกโพธิ์

    และที่สำคัญคือ ยังมีการพบพระสมเด็จวัดไชโยของจังหวัดอ่างทองรวมอยู่ด้วย
    ก็เป็นที่แน่นอนแล้วว่า สมเด็จวัดไชโย สร้างก่อนสมเด็จวัดบางขุนพรหม
    โดยสมเด็จพุฒาจารย์(โต พรหมฺรังษี) เป็นผู้นำสมเด็จวัดไชโย พิมพ์อกตลอด
    6 ชั้นไปบรรจุไว้ด้วย และเมื่อเปิดกรุแล้วทางวัดจึงนำพระสมเด็จบางขุนพรหมพิมพ์ต่างๆ
    ที่สมบูรณ์และที่หักชำรุดออกให้เช่าบูชาโดยพระ สมเด็จบางขุนพรหมที่สมบูรณ์
    ทางวัดจะตอกตราวัดไว้ ซึ่งเรียกว่าพระสมเด็จบางขุนพรหมกรุใหม่สนนราคาการเช่า
    ในครั้งนั้นเช่าบูชาองค์ที่สมบูรณ์องค์ละ 3,000-4,000 บาท ไล่ลงมาตามพิมพ์นิยม
    ส่วนพระสมเด็จที่หักและแตกร้าว ให้เช่าบูชาองค์ละ 300-500 บาทแล้วแต่สภาพ
    ปัจจุบันพระสมเด้จบางขุนพรหมมีราคาสูงขึ้นไปเรื่อยๆ สาเหตุที่เป็นดังนั้น
    เพราะเป็นที่ทราบชัดว่า สมเด็จพุฒาจารย์(โต พรหมรังษี)เป็นผู้สร้าง
    และผู้ใดมีไว้ครอบครองก็จะมีความหวงแหนเป็นอันมาก โดยพุทธคุณนั้น
    จะเหมือนกับพระสมเด็จวัดระฆังและัพระสมเด็จวัดไชโยทุกประการ

    อ้างอิง เอก ศรีประจันต์

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มีนาคม 2012
  13. Phaake

    Phaake เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    1,818
    ค่าพลัง:
    +319
    เดี่ยวนี้ นางพญาพิมพ์ชัดๆ หายากนะครับ

    [​IMG]
     
  14. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    สมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์ทรงเจดีย์

    สมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์ทรงเจดีย์
    ดูกันชัดๆ ทุกด้านครับ


    [​IMG]
     
  15. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    สมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์ทรงเจดีย์
    รู้รอบด้าน ทุกมุม อีกสักองค์ครับ


    [​IMG][/IMG]
     
  16. narmja

    narmja เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    7,921
    ค่าพลัง:
    +8,496
    เดี๋ยวเลิกงานแล้วจะมาอ่านแบบเต็มๆนะพี่ ขอบคุณมากๆครับ :cool:
     
  17. mastermon

    mastermon สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    32
    ค่าพลัง:
    +7
    ขอความกรุณาฝากติชมพิมพ์ทรง เนื้อหาองค์นี้ด้วยนะขอรับ

    ขอบพระคุณล่วงหน้านะขอรับ

    [​IMG]
     
  18. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,370
    ส่วนตัว ผมชอบสองภาพนี้มากครับ
    เพราะการดูสมเด็จฯ นอกจากดูพิมพ์/ดูเนื้อแล้ว
    ด้านข้างของพระเป็นสิ่งที่เซียนพระทุกคนจะต้องพิจารณา
    รอยตัดข้างของพระสมเด็จแท้ๆ มักจะไม่เรียบร้อย
    ยกเว้นสมเด็จเกศไชโย ที่เป็นลักษณะเฉพาะ
    คือ จะเรียบมน (รอยขัดกระดาษทราย)

    ด้านข้างของพระนอกจากจะไม่เรียบร้อยแล้ว
    ยังจะปรากฏรอยยุบตัวแสดงให้เห็นว่าเป็นพระที่ได้อายุ
    แต่จะสังเกตุได้ว่าเป็นการยุบตัวเพราะน้ำมันตั้งอิ๊วระเหยไป
    เป็นลักษณะแห้ง แต่ก็ไม่ใช่เป็นที่ร้าวและแตกระแหงนะครับ
    แบบที่แห้งแตกเหมือนดินที่ถูกแดดเผา ไม่ใช่ลักษณะที่ดีครับ
    ดังนั้น การพิจารณาขอบข้างพระน่าจะเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด
    ที่จะบอกว่าในเบื้องต้นพระสมเด็จที่ถืออยู่ในมือแท้หรือเก๊

    ลักษณะเด่นที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของสมเด็จบางขุนพรหม
    คือ พระมักจะบิดหรือแอ่น จากในกรุ ซึ่งทำให้ง่ายต่อการพิจารณา
    แต่ก็ยากต่อการเลี่ยมหรือใส่ตลับให้สวยงามเช่นเดียวกันครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 13 มีนาคม 2012
  19. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    สมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์ทรงเจดีย์

    สมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์ทรงเจดีย์

    [​IMG]

    สำหรับการสร้างพระพิมพ์สมเด็จนั้นท่านเจ้าคุณ พระเทพญาณเวที วัดระฆังฯ ได้เล่าถึงการสร้างพระเครื่องของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ซึ่งท่านเคยได้ฟังมาจากท่านเจ้าคุณพระธรรมถาวร (ช่วง) ซึ่งเป็นพระฐานานุกรมของเจ้าประคุณสมเด็จฯ อีกทอดหนึ่งว่า การสร้างพระเครื่องสมเด็จของท่านนั้น ท่านจะใช้ปูนขาวเป็นหลัก ผสมด้วยเกสรดอกบัว ขี้ไคลใบเสมา น้ำอ้อยเปลือกกล้วยน้ำละว้า น้ำมันตั้งอิ้ว ขี้ธูปในพระอุโบสถ ปูนและดินกรุตามพระเจดีย์เก่าและผงวิเศษ ๕ ประการ ซึ่งผงวิเศษดังกล่าวเกิดจากการเขียนและลบอักขระเลขยันต์จำนวนมากมี ความพิสดาร แต่ละผงจะมีอานุภาพแตกต่างกันไป ผงปถมังนี้ท่านว่ามีอานุภาพทางคงกระพัน ป้องกันศาสตราวุธทั้งปวง ทั้งเขี้ยวงู และยังเป็นมหาอำนาจอีกด้วย ผงอิธเจมีอิทธิคุณทางเสนีห์เมตตาคนโบราณใช้ผงนี้ให้กินจะทำให้เขารักจนตายทีเดียว แต่หากไม่เลี้ยงดูเขาจะเป็นบาปกรรม ครูบาอาจารย์ ท่านมักแช่งเอาไว้ ผงตรีนิสิงเหเป็นการลบอัตราเลขโบราณ มีอานุภาพทางป้องกันคุณไสย

    พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์ทรงเจดีย์นั้นที่เรียกขานกันเช่นนี้ เพราะเมื่อลากเส้นจากพระเกศลงยังฐานชั้นล่างทั้งสองด้านขององค์พระเครื่องจะมีลักษณะเป็นสามเหลี่ยมทรงสูงเหมือนกับเจดีย์ ในด้านพิมพ์ทรงนั้นมีลักษณะเป็นองค์พระขัดสมาธิราบพระพักตร์ค่อนข้างเป็นผลมะตูม มีขอบจีวรเป็นทิวทอดมาจากพระอุระขึ้นไปจรดปลายพระกรรณที่จรดพระอังสา พระสังฆาฎิเป็นทิวรางๆ ปรากฏเป็นเส้นสองเส้น พระหัตถ์แสดงอาการทับซ้อนกันพระพาหาค่อนข้างแคบ พระกรช่วงพระกัปประสอบชิดเข้ามา ซึ่งทำให้องค์พระชะลูด พระอาสนะเป็นแบบฐานสิงห์แสดงส่วนนูนหนาและการหักสันกาบเท้าสิงห์ แนวฐานทั้งสามชั้นจะสอบเข้ามาตามแนวสามเหลี่ยมคล้ายกับฐานของเจดีย์ พระสมเด็จบางขุนพรหมจะปรากฏคราบกรุจับแน่น แต่หากเป็นพระกรุเก่าหรือพระที่ขึ้นในครั้งแรกๆ คราบกรุจะมีน้อย เนื้อหาจะหนึกนุ่นกว่าพระกรุใหม่ 

    อ้างอิง ศรทอง


     
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มีนาคม 2012
  20. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    วิธีพิจารณาสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์ทรงเจดีย์

    สมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์ทรงเจดีย์

    [​IMG]


    1.พระพักตร์แบบผลมะตูมอูมดูยาว เหนือพระพักตร์มีพระเกศเป็นเส้นเรียวยาวขึ้นไป
    ตรงกลางมีรอยยัก ปลายพระเกศวิ่งขึ้นไปจรดตรงกลางเส้รซุ้มพอดี ปรากกฏพระศอและพระกรรณรำไร
    พระอุระล่ำสัน ลำพระองค์ชลูด เส้นพระกรเป็นเส้นกลมลึกชัด พระพาหาสองด้่านกางกว้่าง หักศอกเป็นมุมฉาก
    ปรากกฏพระหัตถ์ซ้ายวางเหนือพระหัตถ์ขวาแบบลอยๆ ซอกพระพาหาด้านซ้ายจะกว้างและลึกกว่าด้านขวา
    2.พระเพลาหนาลึกชัด ปรากฏแนวพระชงฆ์(แข้ง) ด้านซ้ายนูนเด่นเป็นลำ เห็นปลายพระบาทซ้ายชัดเจน
    พระชานุ(เข่า) ด้านซ้ายจะนูนสูงกว่าด้านขวาเล็กน้อย
    3.เส้นซุ้มครอบแก้วเป็นหวายผ่าซีก คมชัดลึกตลอดเส้น ส่วนโค้งด้านขวาองค์พระจะชันมากกว่าด้านซ้าย
    เส้นขอบบังคับพิมพ์ทั้งสี่ด้่านจะนูนขึ้นมาเล็กน้อย พื้นผนังเหนือซุ้มด้านบนจะลาดเอียงออกจากเส้นซุ้มออกไปที่ขอบ
    พื้นผิวนอกและในเส้นจะต่างระดับกัน
    4.ฐานชั้นล่างเป็นแบบตันทรงสี่เหลี่ยมคางหมู หัวฐานด้านขวาจะลาดเอียงกว่าด้านซ้ายะจรดกับเส้นซุ้ม
    ฐานชั้นกลางจะคมชัดเป็นสัน หัวฐานจะเป็นรูปหัวสิงห์คมชัด
    ฐานชั้นบนเป็นแบบฐานหมอน มีความยาวใกล้เคียงกับพระเพลา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มีนาคม 2012

แชร์หน้านี้

Loading...