จับตามอง สงคราม"นิวเคลียร์" โรงงานพลังงาน "นิวเคลียร์" การรั่วไหลของกัมมันตรังสี

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย Falkman, 7 ตุลาคม 2006.

  1. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    ไม่เก็ตอ่ะ บอกมาในรอบเลย
     
  2. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=2 width="95%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=headline-bold>เกาหลีเหนือย้ำไม่หยุดโครงการนิวเคลียร์หากไม่ยกเลิกการอายัดเงิน
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD class=text-normal-th bgColor=#e9e9f3>ปักกิ่ง 17 มี.ค.- นายคิม คี กวาน หัวหน้าคณะผู้เจรจานิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ กล่าวว่า เกาหลีเหนือจะไม่หยุดโครงการพัฒนานิวเคลียร์ ถ้าสหรัฐไม่ยกเลิกการอายัดเงินในบัญชีของเกาหลีเหนือที่ฝากอยู่ที่ธนาคารในมาเก๊า เป็นอันดับแรก
    นายคิม กล่าวกับผู้สื่อข่าวในขณะเดินทางไปกรุงปักกิ่ง เพื่อร่วมการเจรจา 6 ฝ่าย รอบใหม่ ในวันจันทร์หน้าว่า ถ้าเงินที่เกาหลีเหนือฝากไว้กับธนาคารบังโก เดลตา เอเชีย ไม่ได้ถูกยกเลิกการอายัดโดยสมบูรณ์ เกาหลีเหนือก็จะไม่หยุดโครงการพัฒนานิวเคลียร์
    ขณะที่นายคริสโตเฟอร์ ฮิลล์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ ไม่คาดว่าความขัดแย้งเรื่องนี้จะกลายเป็นประเด็นในการประชุมรอบใหม่ในวันจันทร์ ฮิลล์ ระบุว่า สหรัฐจะหารือถึงสิ่งที่บ่งชี้ถึงความคืบหน้าของเกาหลีเหนือตามข้อตกลง ซึ่งถ้าที่ประชุมประเมินแล้วว่ามีความคืบหน้า เกาหลีเหนือจะได้รับรางวัลเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงตามจำนวนที่ตกลงกันไว้เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ .-สำนักข่าวไทย


    [ 2007-03-17 : 11:14:31 ] </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=2 width="95%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=headline-bold>ฝรั่งเศสเรียกร้องสหรัฐถอนทหารออกจากอิรักในปีหน้า

    [​IMG]

    </TD></TR><TR><TD class=text-normal-th bgColor=#e9e9f3>เคมบริดจ์ 17 มี.ค. - นายกรัฐมนตรีโดมินิก เดอ วิลแปง แห่งฝรั่งเศส กล่าวเรียกร้องสหรัฐ และชาติพันธมิตร ถอนทหารออกจากอิรัก ในปีหน้า เพราะสงครามในอิรักสร้างภาพลักษณ์ที่เสื่อมเสียให้กับสหรัฐ ในต่างประเทศ
    นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส ซึ่งคัดค้านการส่งทหารบุกอิรัก เมื่อปี 2546 กล่าวที่มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ในรัฐแมสซาชูเซตส์ ว่า สงครามกับอิรักเป็นจุดเปลี่ยนที่ได้บั่นทอนภาพลักษณ์ของสหรัฐ และของชาติตะวันตกโดยรวม จึงถึงเวลาแล้วที่สหรัฐ และยุโรป จะต้องกอบกู้ภาพลักษณ์กลับคืนมาร่วมกัน นายวิลแปง เชื่อว่า กุญแจสำคัญดอกหนึ่งที่จะสร้างเสถียรภาพขึ้นในอิรัก คือ สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ชาวอิรัก ว่าพวกเขาสามารถควบคุมอนาคตของตนเองได้
    ดังนั้น สหรัฐ และชาติพันธมิตร จะต้องชัดเจนในการกำหนดกรอบเวลาการถอนทหาร ซึ่งเขาเชื่อว่าควรเกิดขึ้นภายใน 1 ปี นับจากนี้ นั่นคือ ภายในปี 2008 สิ่งนี้จะทำให้ชาวอิรักรู้สึกว่าอนาคตอยู่ในมือของพวกเขา และทำให้อิรักมีอำนาจอธิปไตย
    นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส กล่าวด้วยว่า สหรัฐและมหาอำนาจในยุโรป ต้องร่วมมือกันแก้ปัญหาวิกฤติในภูมิภาคส่วนอื่น เช่น โครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล-ปาเลสไตน์ และความไร้เสถียรภาพในเลบานอน .-สำนักข่าวไทย


    [ 2007-03-17 : 12:29:15 ] </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  4. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    ฝรั่งเศสเริ่มยื่นมือมาแล้ว
     
  5. คนโกหก

    คนโกหก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    481
    ค่าพลัง:
    +1,413
    จะมีชาติที่เป็นกลางเพิ่มมาได้อีกกี่ประเทศนะ?...
     
  6. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>อิหร่านขู่ชาติมหาอำนาจ อย่าทำอะไรโง่ๆเดี๋ยวเจอเซอร์ไพรส์!?</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>17 มีนาคม 2550 17:34 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=right border=0><TBODY><TR><TD width=5>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=300 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=300>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>โครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> เอเจนซี – ผู้บัญชาการทหารอาวุโสของอิหร่านเตือนสหรัฐฯ และชาติมหาอำนาจตะวันตกอื่นๆ ว่า อย่าทำอะไรโง่ๆ กับโครงการนิวเคลียร์ของเตหะราน พร้อมทั้งระบุว่า พวกเขาอาจต้องเซอร์ไพรส์จากการตอบโต้การกระทำใดๆ ด้วยกำลังทหารของอิหร่าน

    หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นฉบับวันนี้ (17) รายงานเกี่ยวกับการแสดงความเห็นของผู้บัญชาการทหารกองทัพอิหร่านครั้งนี้ว่า เป็นคำแถลงที่ไม่เกรงกลัวใครชุดล่าสุดโดยคนระดับผู้นำของอิหร่าน ขณะที่ องค์การสหประชาชาติ หรือยูเอ็นเตรียมโหวตมาตรการลงโทษอิหร่านเพิ่มเติม หลังจากเตหะรานยืนยันไม่ยอมยุติโครงการนิวเคลียร์ของตน

    ด้าน อะตาออลเลาะห์ ซอเลฮี เผยว่า กองทัพอิหร่านในวันนี้แข็งแกร่งขึ้นมากกว่าครั้งที่ต่อสู้ในสงคราม 8 ปีกับอิรัก โดยการนำของซัดดัม ฮุสเซน ในปี 1980-1988 และหากศัตรูที่เป็นปรปักษ์ต่อเตหะรานทำอะไรโง่ๆ พวกเขาจะต้องเซอร์ไพรส์แน่นอน

    อย่างไรก็ตาม สหรัฐฯ ได้กล่าวไว้ว่า พวกเขาอยากจะหาทางออกวิกฤตนิวเคลียร์อิหร่านด้วยการเจรจามากกว่า แต่ก็ไม่ได้ล้มเลิกการใช้กำลังทางทหาร หากวิธีทางการทูตล้มเหลว

    ขณะที่ ประธานาธิบดีมาห์มูด อะห์มาดิเนจัดของอิหร่านได้ออกโรงวิพากษ์วิจารณ์มหาอำนาจ ย้ำอิหร่านจะไม่ยุติโครงการนิวเคลียร์และไม่กลัวถูกโดดเดี่ยว พร้อมสวนกลับชาติมหาอำนาจของโลกนั่นแหละที่ต้องถูกโดดเดี่ยว

    ส่วน อาลี ลารีจานี หัวหน้าผู้แทนเจรจานิวเคลียร์ของอิหร่านก็ยืนยันว่า ประเทศของเขาจะตอบโต้ด้วยการทหารแน่ หากถุกโจมตี

    ทั้งนี้ ร่างมติลงโทษอิหร่านเพิ่มเติมซึ่งเห็นชอบโดยสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งองค์การสหประชาชาติ 5 ประเทศ ประกอบด้วย สหรัฐฯ ฝรั่งเศส อังกฤษ จีน และรัสเซีย รวมถึงเยอรมนีด้วยนั้น ถูกส่งไปยัง 15 ชาติสมาชิกอื่นๆ แล้วในวันพฤหัสบดี (15) เพื่อที่จะลงคะแนนเสียงกันในสัปดาห์หน้า</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9500000031164
     
  7. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    มาเลเซียเตรียมสั่งถอยเรือบรรทุก ฮ. อย่างต่ำ 2 ลำ


    Amphibious Assault Ships คืออะไร


    [​IMG]

    เรือประเภทนี้สามารถเป็นเรือบัญชาการยกพลขึ้นบกได้เป็นอย่างดี เรือจะมีโรงเก็บที่สามารถเก็บเฮลิคอปเตอร์ เครื่องบิน STVOL แบบแฮริเออร์ รวมทั้งยานยกพลขึ้นบก รถถัง หรือยานเบาะอากาศ ลองสังเกตุข้างหลังของเรือนำครับ จะมีช่องเปิดเพื่อที่จะส่งยานยกพลขึ้นบกแบบ AAV หรือยานเบาะอากาศออกมา โดยในการยกพลขึ้นบกนั้นจะมีเฮลิคอปเตอร์หรือเครื่องบินที่อยู่บนดาดฟ้าเรือบินขึ้นเพื่อทำภารกิจ CAS (Close Air Support) ให้กับกองกำลังนาวิกโยธินที่กำลังยึดหัวหาดอยู่ครับ

    วิเคราะห์การจัดหาของเพื่อนบ้าน

    ตอนนี้ที่มาเลเซียทุกคนกำลังตื่นต้นกับการที่ประเทศจะได้เรือบรรทุกฮ.ลำใหม่กันอยู่ครับ

    ในเนื้อข่าวที่ผมตามหาในอินเตอร์เน็ตนั้นบอกแค่ว่าเรือลำนี้มีขนาด 18,000 ตันและน่าจะต่อที่เกาหลี ทำให้ผมนึกถึงแบบแผนเรือบรรทุกฮ.สนับสนุนการยกพลขึ้นบกของเกาหลีที่กำลังดำเนินการต่ออยู่คือ LPX Dokdo ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงที่เกาหลีอาจจะเสนอแผนแบบของเรือลำในให้ทร.มาเลเซียพิจารณา

    เราลองมาดูความสามารถของเจ้า Dokdo กันหน่อยครับ

    Builder: Hanjin Heavy Industries
    Propulsion: 4 S.E.M.T. Pielstick 16 PC2.5 STC Diesel engine
    Length: 200 meters
    Beam: 32 meters
    Draft: 6.5m (Ballast hour depth: 20m)
    Displacement: 14,340 tons (loaded displacement: 18,860 tons)
    Speed: 22 knots
    Armament: 2 Goalkeeper (ระบบ CIWS คล้าย ๆ Phalanx), RAM

    Carrying capacity:
    1 battalion (700 marines)
    10 AAVP7A1 (up to 70)
    up to 200 vehicles
    15 UH-60 or 10 SH-60F Ocean Hawk helicopters
    2 LCACs (Landing Craft Air Cushioned)

    เรือลำนี้บรรทุกยานยกพลขึ้นบก AAV ได้ 10 ลำพร้อมยานเบาะอากาศอีก 2 ลำ สามารถบรรทุกฮ. Sea Hawk ได้ 10 ลำหรือ Black Hawkได้ 15 ลำ ดู ๆ แล้วสเปคเยี่ยมทีเดียวครับ

    ดู ๆ แล้ว เห็นได้ชัดว่ามาเลเซียต้องการสร้างกองเรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถยึดหัวหาดที่ใดก็ได้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของมาเลเซีย

    งานนี้กระทบไปถึงสิงคโปร์ด้วยแน่นอน........

    นี่อาจจะเป็นคำตอบของ PT-91

    มาเลเซียได้จัดหารถถังหลักแบบ PT-91 จำนวน 1 กองพัน (51 คัน) มาเมื่อปลายปีที่แล้วครับ มีคำถามเกิดขึ้นอยู่ในหมู่คนที่ศึกษาการทหารเหมือนกันว่ามาเลเซียต้องการรถถังหลักขนาดใหญ่ทำไมในเมื่อภูมิประเทศของประเทศมาเลเซียและประเทศที่มีเขตแดนที่เป็นพื้นดินที่ดิดกับมาเลเซียนั้นไม่ค่อยเหมาะสมนักในการปฏิบัติการด้วยรถถัง

    คำถามนี้ดูเหมือนจะได้คำตอบจากข่าวนี้ล่ะครับ

    คุณ CoffeeMix แห่ง Wing21 วิเคราะห์มาบอกว่า มาเลเซียคงตั้งใจที่จะใส่ PT-91 ในยาน LCAC เพื่อสนับสนุนการยกพลขึ้นบกได้อย่างยอดเยี่ยม ด้วยรถถังหลักนี้ทำให้การยกพลขึ้นพกนั้นได้รับการสนับสนุนจากยานเกราะ อันจะทำให้อำนาจการยิงสูงมากขึ้น

    ฝ่ายตั้งรับเหนื่อยแน่นอน.......

    ยังไม่มีข่าวคราวอะไรมาก เพราะยังไม่ได้เริ่มเซ็นสัญญากัน ฉะนั้น ผมจึงขอรอดูจนกว่าจะมีอะไรคืบหน้าแล้วจะรีบนำมาเสนอครับ

    http://www.signal.co.th/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=224
     
  8. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    วิเคราะห์แผนสงคราม... หากมะกันถล่มอิหร่าน

    [​IMG]รายละเอียด : เมื่อวานตั้งประเด็นว่าถ้าสหรัฐถล่มอิหร่าน จะบานปลายกลายเป็นสงครามโลกครั้งใหม่หรือไม่? อิหร่านประกาศแล้วว่าถ้าอเมริกา และอิสราเอล เล่นงานเขาด้วยกำลัง เขาก็จะตอบโต้...และสิ่งแรกที่จะทำก็คือการยิงขีปนาวุธใส่อิสราเอล ที่อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกล

    อิหร่านไม่เคยปิดบังนโยบายของตนว่าอิสราเอลไม่ควรจะอยู่บนแผนที่โลกนี้อีกต่อไป

    และอย่าแปลกใจถ้าหากอิหร่าน จะยิงถล่มเป้าหมายของอเมริกันในตะวันออกกลางด้วย หากตัวเองถูกโจมตีก่อน

    ซึ่งแปลว่าสงครามจะขยายวงในตะวันออกกลาง

    ต้องไม่ลืมว่าตุรกี อาจจะถูกดึงเข้าร่วมรบอยู่ข้างสหรัฐ และอิสราเอล ด้วยเพราะเพิ่งจะมีการบรรลุข้อตกลงระหว่างอิสราเอล กับตุรกีว่าด้วยความร่วมมือทางทหาร

    ประเทศในตะวันออกกลางที่ไม่ถูกกับอิสราเอลก็ย่อมจะไม่เข้าต่อต้านการที่อิหร่านเปิดศึกกับอิสราเอล แม้ว่าหลายชาติที่ไม่ถูกกับอิสราเอลจะมีความสัมพันธ์ค่อนข้างดีกับสหรัฐก็ตาม

    อิสราเอล ได้สำรองอาวุธยุทโธปกรณ์ทันสมัยหลายอย่างจากสหรัฐในระยะหลัง เป็นสัญญาณยืนยันเพิ่มเติมว่า การ "เตรียมทำสงคราม" ได้เริ่มขึ้นแล้ว

    วงการข่าวกรองทางทหารบอกว่า อเมริกาได้ส่งอาวุธที่ยิงทางอากาศทันสมัยกว่า 5,000 ชุดไปให้อิสราเอล และที่น่าสนใจเป็นการเฉพาะคือเจ้า "bunker-buster" รุ่น BLU109 ซึ่งมีพลังทำลายทะลุทะลวงลงไปใต้ดินได้

    ที่ต้องมีอาวุธที่ทิ้งทางอากาศเพื่อเจาะลงไปใต้ดินลึกได้ ก็เพราะรู้กันว่าโรงงานเสริมสมรรถนะยูเรเนียมของอิหร่านดังที่สุดอยู่ที่เมือง Natanz ซึ่งตั้งอยู่ใต้ดินประมาณ 30 เมตร

    จึงไม่ต้องบอกว่าทำไมมะกัน และอิสราเอล จึงต้องแสวงหาเจ้า bunker-buster รุ่นที่มีพลังทำลายสูงเป็นพิเศษคือ BLU-113 มาเก็บไว้ในคลังแสงอาวุธของอิสราเอล

    แผนรบของอิสราเอลตามที่นักวิเคราะห์ทางทหารมองก็คือ การใช้เครื่องบินของกองทัพอากาศของตัวเองถล่มโรงงานนิวเคลียร์ที่เมือง Bushehr โดยที่จะใช้เครื่องบินจารกรรม AWACS และยานล่องหนอย่างอื่นเข้ามาเสริม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความแม่นยำของปฏิบัติการทางอากาศครั้งใหญ่

    ต้องไม่ลืมว่าที่โรงงานนิวเคลียร์แห่งนี้มีผู้เชี่ยวชาญรัสเซียหลายร้อยคน ที่ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษามาช่วยอิหร่านในด้านนี้มาตลอด

    มะกันต้องประเมินสถานการณ์ให้ชัดเจนว่า ความเสี่ยงที่จะมีเรื่องบาดหมางกับรัสเซีย (และอาจจะจีนด้วย) ในการล่มอิหร่าน นั้น มีความคุ้มค่ามากน้อยเพียงใด

    ที่อาจจะไม่เป็นข่าวแต่เป็นอีกด้านหนึ่งของแผนปฏิบัติการทางทหารของฝ่ายมะกัน และอิสราเอล คือ เรือดำน้ำรุ่น Dolphin class ของอิสราเอล ที่ติดหัวจรวดนิวเคลียร์ Harpoon ของสหรัฐ นั้นได้ซ้อมรบโดยมีอิหร่าน เป็นเป้าหมายมาระยะหนึ่งแล้ว

    ที่ต้องเตือนกันตั้งแต่ตอนนี้ก็คือว่า ถ้ามะกันถล่มโรงงานนิวเคลียร์ของอิหร่าน สิ่งที่จะเกิดขึ้นค่อนข้างแน่นอนก็คืออาจจะเกิดการกระจายตัวของรังสีนิวเคลียร์ออกจากโรงงานเหล่านี้ ซึ่งไม่มีใครรู้ว่าสารอันตรายต่อมนุษย์อย่างนี้จะกินบริเวณกว้างขวางเพียงใด

    และนี่จะเป็นเพียงสงครามทางอากาศ หรือสหรัฐวางแผนทำสงครามภาคพื้นดินด้วยหรือไม่?

    ไม่มีนักวางแผนทหารคนไหนจะไม่วางแผนครบถ้วน หากต้องทำข้อเสนอถึงผู้นำประเทศที่สั่งการให้เขียนแผนรบเบ็ดเสร็จให้พิจารณา

    สหรัฐกล้าทำสงครามภาคพื้นดินกับอิหร่านในขณะที่ยังเอาอิรักไม่อยู่หรือ?

    ไม่มีใครประเมิน "ความบ้าเลือด" ของคาวบอยบุช ได้ แต่ก็เป็นเรื่องที่มองข้ามไม่ได้ ทั้งๆ ที่ผู้เชี่ยวชาญด้านการทหารระหว่างประเทศบอกว่าอเมริกาไม่มีความสามารถพอที่จะส่งทหารเข้ายึดอิหร่านในขณะที่ยังต้องทำสงครามในอิรัก และอัฟกานิสถาน ได้เป็นแน่นอน

    อิหร่าน ไม่ใช่ประเทศไร้น้ำยาเสียเลยทีเดียว หากต้องทำสงครามครั้งใหม่ก็มีความสามารถที่จะป้องกันตัวเองและตอบโต้ได้หลายด้าน

    ระบบป้องกันทางอากาศของอิหร่านอยู่ในเกณฑ์ก้าวหน้าไม่แพ้ประเทศตะวันออกกลางอื่นๆ เพราะเขาต้องปกป้องจุดที่ตั้งโรงงานนิวเคลียร์ซึ่งกระจายตัวตั้งอยู่หลายจุดที่อยู่ใต้ดิน ยากแก่การโจมตีทางอากาศของสหรัฐและอิสราเอล

    อิหร่านได้พัฒนาแสนยานุภาพของจรวด Shahab-3 ขึ้นมาอีกก้าวหนึ่ง ซึ่งแปลว่าเขาสามารถยิงถล่มเป้าหมายในอิสราเอลได้อย่างไม่ยากเย็นนัก

    วงการทหารรู้ว่าอิหร่านมีจรวดขีปนาวุธแบบ 12X-55 ที่ผลิตโดยยูเครน และมีอาวุธป้องกันภัยจากทางอากาศที่รัสเซียผลิตให้ เช่น SA-2, SA-5, SA-6 และจรวดประทับไหล่แบบ SA-7 ที่ประมาทไม่ได้เช่นกัน

    ต้องไม่ลืมว่าอิหร่านเป็นเจ้าของบ่อน้ำมันดิบร้อยละ 10 ของโลก (อันดับสามรองจากซาอุฯ ที่มีร้อยละ 25 และอิรักที่มีประมาณ 11 เปอร์เซ็นต์) ขณะที่อเมริกาเองมีแหล่งน้ำมันสำรองเพียง 208 เปอร์เซ็นต์ของโลกเท่านั้นเอง

    หากคาวบอยบุชตัดสินใจลุยอิหร่าน, นี่คือสงครามครั้งที่ 2.5 อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้แน่นอน

    วันบันทึก: March 14th 2007
    ผู้วิจารณ์ สุทธิชัย หยุ่น
    คะแนน: [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]
    ข้อมูลเชื่อมโยงที่เกี่ยวข้อง: ข่าวสารเทคโนโลยีทางทหาร

    http://www.signal.co.th/modules.php?name=Reviews&rop=showcontent&id=40
     
  9. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR vAlign=top bgColor=#f1f1f1><TD style="BORDER-TOP: #ffffff 3px solid" colSpan=3><TABLE class=moduletable cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TH vAlign=top>== ชาติใดไร้รักสมัครสมาน จะทำการสิ่งใดก็ไร้ผล == </TH></TR><TR><TD><TABLE class=contentpaneopen><TBODY><TR><TD vAlign=top colSpan=2></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: #ffffff 3px solid" vAlign=top bgColor=#f1f1f1><TABLE class=moduletable cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TH vAlign=top>บทความใหม่ </TH></TR><TR><TD></TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD><TD class=mod style="BORDER-TOP: #ffffff 3px solid" vAlign=top width=4 bgColor=#ffffff>
    </TD><TD style="BORDER-TOP: #ffffff 3px solid" vAlign=top bgColor=#f1f1f1><TABLE class=moduletable cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TH vAlign=top>บทความนิยม </TH></TR><TR><TD></TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR><TR vAlign=top align=left><TD style="PADDING-RIGHT: 5px; BORDER-TOP: #ffffff 4px solid; PADDING-LEFT: 5px; PADDING-BOTTOM: 5px; PADDING-TOP: 5px" colSpan=3><TABLE class=contentpaneopen><TBODY><TR><TD class=contentheading width="100%">การบริหารการเปลี่ยนแปลง – กระบวนทัศน์ใหม่ในการบริหารกองทัพ </TD><TD class=buttonheading align=right width="100%">[​IMG] </TD><TD class=buttonheading align=right width="100%">[​IMG] </TD><TD class=buttonheading align=right width="100%">[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE class=contentpaneopen><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left width="70%" colSpan=2>แก้ไขโดย ทอทหาร </TD></TR><TR><TD class=createdate vAlign=top colSpan=2>วันจันทร์ที่ 05 มีนาคม พ.ศ.2550 </TD></TR><TR><TD vAlign=top colSpan=2>
    [​IMG]


    เมื่อการล่มสลายของสหาภาพโซเวียตและการพังทลายลงของกำแพงเบอร์ลิน เป็นสิ่งบ่งบอกถึงการสิ้นสุดลงของยุคสงครามเย็น และขยับเขยื้อนเข้าสู่ยุคหลังสงครามเย็น (Post Cold War) ที่ขับเคลื่อนโดยกระแสโลกาภิวัตน์ การค้าเสรี ระบอบประชาธิปไตย และนวัตกรรมสมัยใหม่ เช่น เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information Communication Technology: ICT) เทคโนโลยีนาโน (Nano-technology) เทคโนโลยีชีวภาพ (Bio-technology) และวัสดุศาสตร์ (Material Science) การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์กร และกระบวนการทำงานจึงเป็นเรื่องที่แต่ละองค์กรต้องกระทำ เพื่อให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาวะแวดล้อมทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งกองทัพเองก็ไม่ต่างกันที่จะต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง โดยการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวต้องกระทำอย่างเหมาะสมเป็นขั้นเป็นตอนสอดคล้องต่อภัยคุกคามรูปแบบใหม่

    การบริหารการเปลี่ยนแปลงสามารถกล่าวได้ว่าเป็นเรื่องสำคัญที่องค์กรจะต้องดำเนินการ การเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ ในการบริหารการเปลี่ยนแปลงจึงเป็นเรื่องแรก ๆ ที่องค์กรจะต้องตระหนักและให้ความสำคัญ สำหรับความหมายของกระบวนทัศน์ หรือ Paradigm นั้นมาจากภาษากรีก paradigma หมายถึงแผนที่หรือตัวแบบเพื่อการทำความเข้าใจ (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, “การบริหารการเปลี่ยนแปลง หน่วยที่ 1-7”, โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2548: หน้าที่ 23) และเมื่อนำมาใช้ในทางการบริหารแล้ว กระบวนทัศน์จะหมายถึงกรอบความคิดหรือกระบวนการที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปเกี่ยวกับองค์กร กล่าวโดยรวมทั้งสมมุติฐานที่ไม่ได้บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร แต่เป็นที่รับรู้เกี่ยวกับแนวปฏิบัติต่าง ๆ กัน ซึ่งการที่จะเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์นั้นจะมีอยู่ 4 ขั้นตอน ได้แก่


    * ขั้นตอนที่ 1: ความล้มเหลวของสมมุติฐาน
    * ขั้นตอนที่ 2: ข้อเสนอหรือทางเลือกใหม่
    * ขั้นตอนที่ 3: การต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
    * ขั้นตอนที่ 4: การยอมรับและนำไปประยุกต์ใช้

    สำหรับกระบวนทัศน์เดิมในการบริหาร โดยทั่วไปแล้วองค์กรจะมีขนาดใหญ่ บริหารจัดการกันโดยการแบ่งแยกงานกันทำตามหน้าที่ มีลักษณะการบริหารที่สำคัญ 4 ประการได้แก่ (ibid, หน้าที่ 29- 32)

    * สายการบังคับบัญชาที่ยาว: ในกรอบของกระบวนทัศน์เดิมนั้นจะให้ความสำคัญกับการมีสายการบังคับบัญชา (chain of command) เพื่อที่จะได้ควบคุมได้มากที่สุด และมีช่วงการควบคุมที่แคบ (span of control) เพื่อที่จะสามารถบริหารแบบรวมอำนาจ

    * การควบคุมจากส่วนกลาง: ในกระบวนทัศน์เดิมการรวบอำนาจตัดสินใจไว้ที่ส่วนกลางเพื่อให้สามารถควบคุมได้ ซึ่งส่งผลให้เกิดความล่าช้า แลไม่มีความยืดหยุ่นในระหว่างดำเนินการ

    * การแบ่งงานกันทำตามความชำนาญเฉพาะด้าน: ในกระบวนทัศน์เดิมนั้นจะมองว่าแบ่งงานออกเป็นงานย่อย ๆ แล้วแบ่งให้แต่ละส่วนทำตามความถนัดของบุคคล ทำให้อาจส่งผลให้เกิดความล่าช้าและใช้ทรัพยากรอย่างไม่คุ้มค่า เพราะแต่ะละคนพยายามที่จะใช้ทรัพยากรในส่วนงานของตนเองให้มากที่สุด โดยลืมนึกถึงภาพรวมของงานทั้งหมด

    * ให้ความสำคัญด้านกับงบประมาณ: โดยการตัดสินใจของผู้บริหารจะให้ความสำคัญจะรายรับที่เป็นตัวเงินมากกว่าผลประโยชน์ที่จะได้รับในรูปแบบอื่น ๆ

    เมื่อกระบวนทัศน์เดิมในการบริหารไม่ประสบความสำเร็จมีความล้มเหลวอย่างชัดเจนมากขึ้น ทำให้องค์กรต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในสภาวะแวดล้อมใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีใหม่ ๆ การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ใหม่ในการบริหาร จึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้น โดยกระบวนทัศน์ใหม่ในการบริหารนั้นจะประกอบไปด้วย

    * การเน้นที่ผลสัมฤทธิ์ของงานและการปฏิบัติงาน: ในกระบวนทัศน์ใหม่ของการบริหารนั้นจะให้ความสำคัญกับผลสัมฤทธิ์ของงาน ด้วยการกำหนดมาตรฐานการทำงาน การวัดผลการปฏิบัติงาน และใช้ข้อมูล/สารสนเทศประกอบการปฏิบัติงาน เป็นต้น

    * การบริหารโดยจัดการกระบวนการ: ปัจจุบันกระบวนทัศน์ใหม่จะให้ความสำคัญกับกระบวนการทำงาน เพราะจะเป็นการกำหนดขอบเขตของงานที่ชัดเจน มีการประเมิลผลของงาน และมีการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่อง เมื่อกำหนดมาตรฐานการทำงานใหม่และมีประสิทธิภาพมากขึ้น

    * ให้ความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์: ทรัพยากรมนุษย์ถือได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญเป็นอย่างมากในการบริหารจัดการสมัยใหม่ การใช้ประโยชน์อย่างสุงสุดจากบุคลากรอย่างเหมาะสมผ่านกระบวนการทำงานร่วมกันเป็นทีมเป็นสิ่งที่การบริหารจัดการสมัยใช้เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

    * ภาวะผู้นำ: ในกระบวนทัศน์ใหม่จะให้ความสำคัญกับภาวะผู้นำ เพราะเน้นการทำงานในลักษณะที่เป็นทีม ซึ่งต้องอาศัยผู้นำที่มีความเป็นผู้นำสนับสนุนการทำงานเป็นทีม โดยผู้นำจะต้องมีวิสัยทัศน์ มียุทธศาสตร์ สามารถกำหนดทิศทางในการดำเนินงานให้กับสมาชิกในทีมได้อย่างเหมาะสม

    * ระบบและโครงสร้าง: เมื่อกระบวนทัศน์ใหม่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการจัดโครงสร้างตามหน้าที่ แต่ให้ความสำคัญกับการทำงานในลักษณะเป็นทีม ดังนั้นโครงสร้างขององค์กรในกระบวนทัศน์ใหม่จะต้องสอดคล้องกับลักษณะหรือกระบวนการของการทำงาน

    * วัฒนธรรมองค์กร: ในกระบวนทัศน์ใหม่จะมองว่า วัฒนธรรม พฤติกรรม และคววามสำเร็จขององค์กรเป็นเรื่องที่เกี่ยวโยงสัมพันธ์กัน ทำให้วัฒนธรรมองค์กรมีผลต่อการกระบวนการทำงาน วัฒนธรรมองค์กรที่มีสมรรถนะสูงจะช่วยให้องค์มีความสามารถในการปรับเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็วอันจะนำมาซึ่งความสำเร็จในระยะยาวขององค์กร

    ปัจจุบันเมื่อกระบวนทัศน์ในการบริหารจัดการได้มีการเปลี่ยนแปลงไป การที่จะทำงานในลักษณะเดิมอาจจะส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานขององค์กรลดลง และประสบปัญหาในการดำเนินการในอนาคตอันใกล้ในที่สุด การเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ในการบริหารนั้นเป็นเรื่องใหม่และมีการใช้อย่างแพร่หลายในภาคเอกชน ส่วนภาครัฐนั้นก็เริ่มมีการนำมาใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงโครงสร้างระบบราชการ อย่างไรก็ตามด้วยความที่หน่วยงานภาครัฐหรือระบบราชการเป็นหน่วยงานที่มีขนาด การปรับเปลี่ยนสิ่งใดก็ตามย่อมที่จะประสบปัญหา โดยเฉพาะ วัฒนธรรมองค์กรที่ก่อให้เกิดการต่อต้านกระบวนทัศน์ใหม่ ๆ ที่นำมาใช้งาน

    ส่วนทางกองทัพเองก็ไม่มีความแตกต่างกับหน่วยงานราชการอื่น ๆ ด้วยความที่เป็นหน่วยงานราชการขนาดใหญ่ การปรับเปลี่ยนใด ๆ ก็ตามเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยเวลาและการดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอน และเป็นเรื่องปกติที่กองทัพจะต้องเผชิญกับการต่อต้าน จากกลุ่มที่ยึดมั่นในกระบวนทัศน์เดิมที่มีรากความคิดมาจากวัฒนธรรมองค์กรที่เคยปฏิบัติกันมา สำหรับความแตกต่างระหว่างการบริหารงานกองทัพตามกระบวนทัศน์เดิมกับกระบวนทัศน์ใหม่นั้นสามารถแสดงได้ในตารางที่ 1


    ตารางที่ 1 เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างการบริหารงานกองทัพในรูปแบบเดิมกับรูปแบบใหม่
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=1><TBODY><TR><TD width=189>
    ลักษณะ

    </TD><TD width=189>
    แบบเดิม
    </TD><TD width=189>
    แบบใหม่
    </TD></TR><TR><TD width=189>จุดสนใจของกำลังพล</TD><TD width=189>ผู้บังคับบัญชา
    </TD><TD width=189>ผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงาน
    </TD></TR><TR><TD width=189>บทบาทผู้บังคับบัญชาระดับสูง</TD><TD width=189>ตรวจสอบการทำงาน
    </TD><TD width=189>ความเป็นผู้นำ
    </TD></TR><TR><TD width=189>บทบาทผู้บังคับบัญชา</TD><TD width=189>ควบคุม
    </TD><TD width=189>สอน/แนะนำ
    </TD></TR><TR><TD width=189>การปฏิบัติงานของกำลังพล</TD><TD width=189>ถูกควบคุม
    </TD><TD width=189>มีสิทธิ/อำนาจ
    </TD></TR><TR><TD width=189>โครงสร้างกองทัพ</TD><TD width=189>ลำดับขั้น
    </TD><TD width=189>ทีม/แบบราบ
    </TD></TR><TR><TD width=189>การจัดกองทัพ
    </TD><TD width=189>หน้าที่งาน
    </TD><TD width=189>กระบวนการ
    </TD></TR><TR><TD width=189>การวัดผล
    </TD><TD width=189>โดยเฉลี่ย
    </TD><TD width=189>ดีเลิศ
    </TD></TR><TR><TD width=189>การจัดกำลังพล
    </TD><TD width=189>ความชำนาญเฉพาะด้าน
    </TD><TD width=189>บูรณาการ
    </TD></TR><TR><TD width=189>การปฏิบัติงาน
    </TD><TD width=189>มาตรฐานคงที่
    </TD><TD width=189>ยืดหยุ่น
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    ดังที่กล่าวมาแล้วว่าปัญหาที่สำคัญของการบริหารการเปลี่ยนแปลงในกองทัพที่เกิดขึ้นมาจากวัฒนธรรมองค์กรที่หยั่งรากลึกมาพร้อม ๆ กับการเกิดขึ้นเป็นประเทศไทย ทั้งนี้เพราะสถาบันทหารนั้นเกิดขึ้นมาพร้อม ๆ กับประเทศไทย ทำให้จารีตประเพณีของทหาร (ภาษาทหารจะเรียกว่า แบบธรรมเนียมทหาร) ที่มีรูปแบบปฏิบัติสืบทอดวิวัฒนาการต่อกันมายาวนาน การนำความคิดใหม่ ๆ มาใช้ในกองทัพเป็นเรื่องที่ต้องผ่านกระบวนการต่าง ๆ มากมาย กรอบความคิดต่าง ๆ จะถูกจำกัดอยู่ที่ผู้นำกองทัพ ถ้าเมื่อไรก็ตามกองทัพได้ผู้นำกองทัพที่ดีมีวิสัยทัศน์ กองทัพจะมีโอกาสที่ปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการให้มีความสอดคล้องกับสภาวะแวดล้อม ในทางกลับกันถ้ากองทัพมีผู้นำที่วิสัยทัศน์สั้นและแคบกองทัพก็จะได้รับการพัฒนาไปผิดทิศผิดทางเข้ารกเข้าพงไป อย่างไรก็ดีกองทัพที่เหมาะสมของประเทศไทยนั้นไม่กองทัพที่มีระบบอาวุธที่ทันสมัย เพราะที่ผ่านมาประเทศที่ระบบอาวุธทันสมัยก็ยังไม่สามารถรบชนะประเทศที่มีแต่ปืนเล็กยาว การมี “กองทัพจิ๋วแต่แจ๋ว” อาจจะไม่เหมาะสมกับประเทศไทยก็ได้ถ้าเรา ๆ ท่าน ๆ คิดกันดี ๆ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    http://tortaharn.net/contents/index.php?option=com_content&task=view&id=106&Itemid=1
     
  10. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR vAlign=top bgColor=#f1f1f1><TD style="BORDER-TOP: #ffffff 3px solid" colSpan=3><TABLE class=moduletable cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TH vAlign=top>== ชาติใดไร้รักสมัครสมาน จะทำการสิ่งใดก็ไร้ผล == </TH></TR><TR><TD><TABLE class=contentpaneopen><TBODY><TR><TD vAlign=top colSpan=2></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: #ffffff 3px solid" vAlign=top bgColor=#f1f1f1><TABLE class=moduletable cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TH vAlign=top>บทความใหม่ </TH></TR><TR><TD></TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD><TD class=mod style="BORDER-TOP: #ffffff 3px solid" vAlign=top width=4 bgColor=#ffffff>
    </TD><TD style="BORDER-TOP: #ffffff 3px solid" vAlign=top bgColor=#f1f1f1><TABLE class=moduletable cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TH vAlign=top>บทความนิยม </TH></TR><TR><TD></TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR><TR vAlign=top align=left><TD style="PADDING-RIGHT: 5px; BORDER-TOP: #ffffff 4px solid; PADDING-LEFT: 5px; PADDING-BOTTOM: 5px; PADDING-TOP: 5px" colSpan=3><TABLE class=contentpaneopen><TBODY><TR><TD class=contentheading width="100%">การจัดการนวัตกรรม – มิติใหม่ของความมั่นคง </TD><TD class=buttonheading align=right width="100%">[​IMG] </TD><TD class=buttonheading align=right width="100%">[​IMG] </TD><TD class=buttonheading align=right width="100%">[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE class=contentpaneopen><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left width="70%" colSpan=2>แก้ไขโดย ทอทหาร </TD></TR><TR><TD class=createdate vAlign=top colSpan=2>วันจันทร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2550 </TD></TR><TR><TD vAlign=top colSpan=2>
    [​IMG]



    ผมเชื่อว่าเราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจุบันคำว่า “นวัตกรรม” หรือ “Innovation” เป็นคำที่ถูกใช้กันอย่างแพร่หลาย และผมก็ยังเชื่ออีกว่าบนความแพร่หลายของคำว่านวัตกรรมนั้นยังมีคนอีกเป็นจำนวนมากที่ยังมีความเข้าใจว่า “นวัตกรรมคืออะไร” และนวัตกรรมมีความสำคัญอย่างไร การทำความเข้าใจในนวัตกรรมจึงถือได้ว่าเป็นเรื่องที่เรา ๆ ท่าน ๆ น่าที่จะรู้จักและเข้าใจว่านวัตกรรมนั้นมีความสำคัญอย่างไร รวมถึงการจัดการนวัตกรรมต่างเพื่อให้สามารถนำนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่พัฒนาขึ้นไปใช้อย่างเกิดประโยชน์อย่างสูงสุด

    สำหรับคำว่านวัตกรรม (Innovation) นั้นมีรากศัพท์มาจากคำในภาษาลาตินว่า “innovare” ซึ่งแปลว่า “ทำสิ่งใหม่ขึ้น” (สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ, “การจัดการนวัตกรรมสำหรับผู้บริหาร”, งานส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กร สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ, พิมพ์ครั้งที่ 2, 2549: หน้าที่ 3) ส่วนความหมายของนวัตกรรมมีผู้ที่ให้คำจำกัดกัดความไว้อย่างมากมายหลากหลาย เช่น เมอร์เลียม-เวบสเตอร์ออนไลน์ (Merriam-Webster Online) ได้ให้ความหมายว่า “the introduction of something new” ส่วนทาง สำนักงานนัวตกรรมแห่งชาติได้ให้ความหมายไว้สองแนวคือ (ibid, หน้าที่ 4)

    * ความหมายเชิงแคบ: นวัตกรรม คือ ผลผลิตของความสำเร็จทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมกับพลวัตของกิจกรรมทางสังคม

    * ความหมายเชิงกว้าง: นวัตกรรม คือ แนวความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งต่าง ๆ ที่ใหม่ต่อตัวปัจเจกหรือหน่วยที่รับเอาสิ่งเหล่านั้นไปประยุกต์ใช้ การรวมเอากิจกรรมที่นำไปสู่การแสวงหาความสำเร็จเชิงพาณิชย์ การสร้างตลาดใหม่ ผลิตภัณฑ์ กระบวนการและการบริการใหม่ การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่นโดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาสและถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม

    นอกจากนี้ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติยังได้ให้ความหมายของความแตกต่างระหว่างประดิษฐกรรมและนวัตกรรมไว้ดังนี้ (ibid.)

    * ประดิษฐกรรม (Invention): เป็นการทำให้ความคิดใหม่เป็นความจริงขึ้นมาและสามารถจับต้องได้

    * นวัตกรรม (Innovation): เป็นการแสวงหาผลประโยชน์ในเชิงพาณิชย์และสังคมจากความคิดใหม่นั้น

    ส่วนการแบ่งประเภทของนวัตกรรมนั้นมีการแบ่งกันไว้อย่างหลากหลายเช่นใน สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (ibid, หน้าที่ 5) ได้แบ่งประเภทของของนวัตกรรมออกเป็น 2 ประเภท คือ 1) นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (Product Innovation) ที่ประกอบไปด้วยนวัตกรรมของผลิตภัณฑ์ที่จับต้องได้ (tangible product) กับผลิตภัณฑ์ที่จับต้องไม่ได้ (intangible product) และ 2) นวัตกรรมกระบวนการ (Process Innovation) แต่ใน วิกิพีเดียสารนุกรมเสรี ภาษาอังกฤษ (http://en.wikipedia.org) ได้แบ่งประเภทของนวัตกรรมออกเป็น 7 ประเภทได้แก่

    * นวัตกรรมแบบจำลองธุรกิจ (Business Model Innovation): เป็นเรื่องเกี่ยวกับแนวทางในการดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ

    * นวัตกรรมการตลาด (Marketing Innovation): เป็นเรื่องเกี่ยวกับการพัฒนาวิธีการทำการตลาดรูปแบบใหม่ที่ให้ความสำคัญกับการออกแบบผลิตภัณฑ์ (product design หรือ packaging) หรือ การส่งเสริมการขาย (promotion หรือ pricing)

    * นวัตกรรมองค์กร (Organizational Innovation): เป็นเรื่องเกี่ยวกับการกำหนดโครงสร้างใหม่ขององค์กรเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ

    * นวัตกรรมกระบวนการ (Process Innovation): เป็นเรื่องเกี่ยวกับการพัฒนากระบวนการหรือวิธีการที่แตกต่างไปจากเดิมเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

    * นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (Product Innovation): เป็นเรื่องเกี่ยวกับการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น

    * นวัตกรรมการบริการ (Services Innovation): เป็นเรื่องเกี่ยวกับการปรับปรุงการให้บริการให้ดีขึ้น

    * นวัตกรรมห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Innovation): เป็นเรื่องของการพัฒนาแหล่งทรัพยากรต้นทางและการส่งมอบผลิตภัณฑ์หรือบริการให้กับลูกค้า

    เมื่อนวัตกรรมทำให้เกิดสิ่งที่ใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์มีคุณค่าแล้ว การจัดการนวัตกรรมจึงเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นต้องดำเนินการ อย่างไรก็ดีการทำความเข้าใจในเรื่องของการจัดการนวัตกรรมนั้นจะต้องไปทำความเข้าใจกับการจัดการเทคโนโลยีเสียก่อน การจัดการเทคโนโลยีนั้นมีผู้คำจำกัดความไว้หลากหลายเช่น สภาวิจัยแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (The US National Research Council) ได้ให้คำจำกัดความของการจัดการเทคโนโลยีว่า “ตัวเชื่อมโยงศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม และการจัดการเข้ามาไว้ด้วยกันเพื่อวางแผนพัฒนา และดำเนินการด้านความสามารถทางเทคโนโลยีในการเปลี่ยนแปลงและความสัมฤทธิ์ผลของเป้าหมายเชิงกลยุทธ์และปฏิบัติงานภายในองค์กร (อ้างถึงใน ibid, หน้าที่ 16)

    ดังนั้นเราอาจจะกล่าวได้ว่า การจัดการนวัตกรรม คือ ศาสตร์ของการต่อยอดและขยายผลการจัดการเทคโนโลยี ให้ครบวงจร โดยการรวมศาสตร์ในแขนงต่าง ๆ เช่น วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ การออกแบบและการตลาด ทฤษฏีทางธุรกิจ และ เศรษฐกิจ เป็นต้น เพื่อให้ได้มาซึ่ง การรักษาศักยภาพในการแข่งขันและสร้างสรรค์ ผลิตภัณฑ์ ความรู้ แนวปฏิบัติ และกระบวนการใหม่ให้ดีขึ้น เมื่อการจัดการนวัตกรรมเป็นศาสตร์ที่นำมาซึ่งศักยภาพในการแข่งขันที่ยั่งยืนแล้ว สิ่งที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่มีผลกับการจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยีได้แก่ การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการสร้างองค์ความรู้ เช่น มีความเป็นสหวิทยาการ (Multidisciplinary) มากกว่าการสร้างองค์ความรู้แบบเฉพาะสาขาอย่างในรูปแบบเดิม เป็นต้น และการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการองค์กร เช่น การเน้นให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) มากกว่าเป็นองค์กรที่เน้นในกฎระเบียบ เป็นต้น

    การจัดการนวัตกรรมมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในสภาวะแวดล้อมอย่างปัจจุบัน การให้ความสำคัญกับการจัดการเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอ ทั้งนี้เพราะเทคโนโลยีไม่สามารถสร้างความสามารถในการแข่งขันในระยะยาวได้ในยุคโลกาภิวัฒน์ได้ หลายครั้งหลายคราที่องค์กรต่าง ๆ ให้ความสำคัญกับการซื้อเทคโนโลยีมากกว่าพยายามจะพัฒนาและจัดการเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่มีอยู่ทั่วไปให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด

    ในทางพลเรือนและภาคเอกชนนั้นได้มีการตื่นตัวและให้ความสำคัญกับแนวคิดในการนำนวัตกรรมมาใช้ให้เกิดประโยชน์และมีศักยภาพในการแข่งขัน ถึงแม้กองทัพจะไม่ต้องไปแข่งขันกับหน่วยงานใดแต่กองทัพต้องมีศักยภาพในการรักษาผลประโยชน์ของชาติและความมั่นคงแห่งรัฐแต่ในกองทัพกลับให้ความสำคัญกับแนวคิดในเรื่องดังกล่าวในระดับที่น้อยมาก ทั้งอาจจะเป็นเพราะส่วนหนึ่งมาจากโครงสร้างองค์กรที่มีขนาดใหญ่ขาดความคล่องตัว นอกจากนี้ยังขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของนวัตกรรมและการจัดการนวัตกรรม และที่ขาดไม่ได้นี้คือวัฒนธรรมองค์กร

    การกำหนดยุทธศาสตร์จัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อให้เกิดความสามารถในการปฏิบัติงานที่ยั่งยืน นั้นคือสิ่งที่ทางกองทัพสามารถดำเนินการได้โดย แบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน ได้แก่

    * ขั้นที่ 1 วิเคราะห์ประเภทของความมั่นคงของชาติและทบทวนจุดสำคัญของของกิจการความมั่นคงในปัจจุบัน

    * ขั้นที่ 2 ค้นหาความต้องการด้านความมั่นคงของประชาชนคนไทยและประเทศชาติ

    * ขั้นที่ 3 วิเคราะห์แนวทางและความสามารถในการตอบสนองความต้องการด้านความมั่นคง

    * ขั้นที่ 4 วางแผนการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อนำมาพัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการด้านความมั่นคง

    * ขั้นที่ 5 ทบทวนเลือกแนวทางของนวัตกรรมความมั่นคงที่เป็นไปได้

    ปัจจุบันการจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยีถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ใหม่และมีความท้าทายเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ดีบนความใหม่ของแนวคิดนี้เองทำให้เกิดช่องห่าง (Gap) ของแนวคิดที่เคยปฏิบัติกันมาในอดีตกับปัจจุบันที่มุ่งเน้นการคิดให้เกิดนวัตกรรม โดยมิติของนวัตกรรมนั้นไม่ได้จำกัดอยู่แต่เฉพาะมิติทางด้านเศรษฐศาสตร์ แต่นวัตกรรมนั้นแทรกอยู่ในทุกมิติของทุกสาขาอาชีพ โดยเฉพาะอาชีพทหารที่กำลังเผชิญกับนวัตกรรมในรูปแบบใหม่ ๆ เช่น การก่อการร้ายสากล การก่อความไม่สงบ การดำเนินยุทธศาสตร์แบบไม่สมมาตร (Asymmetric Strategy) ปฏิบัติการสารสนเทศ (Information Operations) ฯลฯ เพราะฉะนั้นนวัตกรรมสำหรับกองทัพนั้นไม่มีอะไรมากกว่าการคิดนอกรอบนำไปทำให้กลายมาเป็นสิ่งที่มีคุณค่า ส่วนการจัดการนวัตกรรมนั้นก็จะช่วยให้กองทัพมีนวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ท่านล่ะครับสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ มาบ้างรึยัง..................


    http://tortaharn.net/contents/index.php?option=com_content&task=view&id=105&Itemid=1</TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  11. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR vAlign=top bgColor=#f1f1f1><TD style="BORDER-TOP: #ffffff 3px solid" colSpan=3><TABLE class=moduletable cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TH vAlign=top>== ชาติใดไร้รักสมัครสมาน จะทำการสิ่งใดก็ไร้ผล == </TH></TR><TR><TD><TABLE class=contentpaneopen><TBODY><TR><TD vAlign=top colSpan=2></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: #ffffff 3px solid" vAlign=top bgColor=#f1f1f1><TABLE class=moduletable cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TH vAlign=top>บทความใหม่ </TH></TR><TR><TD></TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD><TD class=mod style="BORDER-TOP: #ffffff 3px solid" vAlign=top width=4 bgColor=#ffffff>
    </TD><TD style="BORDER-TOP: #ffffff 3px solid" vAlign=top bgColor=#f1f1f1><TABLE class=moduletable cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TH vAlign=top>บทความนิยม </TH></TR><TR><TD></TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR><TR vAlign=top align=left><TD style="PADDING-RIGHT: 5px; BORDER-TOP: #ffffff 4px solid; PADDING-LEFT: 5px; PADDING-BOTTOM: 5px; PADDING-TOP: 5px" colSpan=3><TABLE class=contentpaneopen><TBODY><TR><TD class=contentheading width="100%">Core Competency – ความสามารถหลักของกำลังพลที่กองทัพต้องพัฒนา </TD><TD class=buttonheading align=right width="100%">[​IMG] </TD><TD class=buttonheading align=right width="100%">[​IMG] </TD><TD class=buttonheading align=right width="100%">[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE class=contentpaneopen><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left width="70%" colSpan=2>แก้ไขโดย ทอทหาร </TD></TR><TR><TD class=createdate vAlign=top colSpan=2>วันอังคารที่ 30 มกราคม พ.ศ.2550 </TD></TR><TR><TD vAlign=top colSpan=2>
    [​IMG]


    ในช่วงที่ผ่านมาแนวคิดของการบริหารจัดการสมัยใหม่ในภาคเอกชนนั้นได้ให้ความสำคัญกับ การจัดการทุนมนุษย์ (Human Capital Management) เป็นอย่างมาก โดย การจัดการทุนมนุษย์เป็นแนวคิดที่พัฒนามาจาก การบริหารงานบุคคล (Personal Administration) และพัฒนาต่อมาเป็น การจัดการงานบุคคล (Personal Management) จนมาถึง การจัดการทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management) และปัจจุบันได้พัฒนาแนวความคิดไปสู่การจัดการทุนมนุษย์ โดย 3 แนวทางแรกจะเป็นการบริหารจัดการที่เน้นในกระบวนการมากกว่าเน้นมูลค่าเพิ่มในการบริหารคนในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นตามลำดับ ซึ่งถ้าองค์กรใดมีการบริหารจัดการทุนมนุษย์ที่ดีกว่าย่อมที่จะทำให้องค์กรนั้นมีขัดความสามารถในการแข่งได้ที่สูงกว่า

    เมื่อกระบวนทัศน์ในการบริหารจัดการสมัยใหม่ ดังเช่น แนวคิดของ พี. นอร์ตัน (David P. Norton) และ โรเบิร์ต เอส. คาแพลน (Robert S. Kaplan) ที่เสนอมุมมองที่เกี่ยวกับสินทรัพย์สินที่สัมผัสไม่ได้ในหนังสือ Strategy Maps (David P. Norton, Robert S. Kaplan, Strategy Maps: Converting Intangible Assets into Tangible Outcomes, Harvard Business School Press, 2004) ได้ให้ความสำคัญกับ ทุนในรูปแบบใหม่ขององค์กร เช่น ทุนทางองค์กร (Organization Capital) ทุนทางสารสนเทศ (Information Capital) และ ทุนมนุษย์ เป็นต้น

    การให้ความสำคัญกับการจัดการในเรื่องของทุนมนุษย์ ที่มุ่งเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการบริหารคน โดยแกนหลักของการบริหารจัดการคนนั้น ในมุมมองของ จะประกอบไปด้วย (1) ความสามารถ (Competency) (2) ผลงาน (Performance) (3) คุณธรรม (Merit) และ (4) คุณภาพชีวิต (Work life quality) ซึ่งในบทความนี้จะให้ความสนใจกับความสามารถ หรือ Competency ของบุคคลที่จะทำให้หน่วยงานมีศักยภาพในการแข่งขันกับหน่วยงานอื่น ๆ

    สำหรับคำว่า Competency นั้น สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ ได้กล่าวถึง จุดกำเนิดของ Competency ว่าเกิดขึ้นในปี พ.ศ.2513 เมื่อ บริษัท McBer ได้รับการติดต่อจากกระทรวงการต่างประเทศ สหรัฐ ฯ ให้ช่วยคัดเลือก Foreign Service Information Officer (FSIOs) หรือ เจ้าหน้าที่ที่เป็นตัวแทนของสหรัฐ ฯ ที่คอยเผยแพร่วัฒนธรรมและเรื่องราวของประเทศสหรัฐ ฯ ให้กับประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก ซึ่งในขณะนั้นเจ้าหน้าที่เหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นชาวผิวขาวเกือบทั้งหมด โดยก่อนหน้านี้ กต.สหรัฐฯ ได้คัดเลือกด้วยวิธีใช้แบบทดสอบที่มุ่งทดสอบด้านทักษะ แต่บุคลากรที่ได้รับการคัดเลือกนั้นกลับได้ไม่มีความสามารถไม่ตรงตามที่ กต.สหรัฐ ฯ ต้องการ จึงได้ว่าจ้าง บริษัท McBer มาทำการคัดเลือกบุคลากรให้ตรงกับความต้องการของ กต. โดยการคัดเลือกได้เปรียบเทียบและแยกกลุ่มออกเป็น 2 กลุ่มคือ ปฏิบัติงานตามเกณฑ์เฉลี่ย (Average Performer) และปฏิบัติงานดี (Superior Performer) การแยกบุคลากรดังกล่าวได้ส่งผลให้เกิดแนวความคิดที่เรียกว่า Competency ที่หมายถึง พฤติกรรมที่ก่อให้เกิดการปฏิบัติงานที่ดี (สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ, “แนวทางการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ด้วย Competency Based Learning”, พิมพ์ครั้งที่ 3, บ.ศิริวัฒนา อินเตอร์พริ้นท์ จำกัด, มีนาคม 2549)

    สำหรับความหมายของ Competency นั้น เดวิด แม็กคลีแลนด์ (Devid C.McCleland) ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า “Competency คือ บุคลิกลักษณะที่ซ่อนอยู่ในปัจเจกบุลคล ซึ่งสามารถผลักดันให้ปัจเจกบุคคลนั้น สร้างผลการปฏิบัติงานที่ดี หรือตามเกณฑ์ที่กำหนด ในงานที่ตนรับผิดชอบ” (อ้างถึงใน สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ, ibid, หน้าที่ 14) นอกจากนี้ เดวิด แม็กคลีแลนด์ (Devid C.McCleland) ยังได้กล่าวถึง องค์ประกอบของ Competency 5 ประการคือ

    1) ทักษะ (Skills): เป็นสิ่งที่แต่ละบุคคลทำได้ดี และสามารถฝึกฝนให้เกิดความชำนาญได้ เช่น ทักษะของแม่ครัวที่สามารถทำอาหารได้อย่างรวดเร็ว

    2) ความรู้ (Knowledge): หมายถึงความรู้เฉพาะด้านของบุคคล เช่น ความรู้ทางด้านกฎหมาย ความรู้ทางด้านบัญชีเป็นต้น

    3) ทัศนคติ ค่านิยม และความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของตนเอง (Self-concept): เป็นสิ่งที่บุคคลเชื่อว่าตนเองเป็น เช่น ความเชื่อมั่นในตนเองสูงจะเชื่อว่าตนเองสามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้

    4) บุคลิกลักษณะประจำตัวของบุคคล (Trait): เป็นสิ่งที่อธิบายถึงบุคคลนั้น เช่น ความเป็นผู้นำ ความน่าเชื่อถือ เป็นต้น

    5) แรงขับภายในของแต่ละบุคคล (Motive): เป็นสิ่งที่จะทำให้บุคคลแต่ละบุคคลแสดงพฤติกรรมที่มุ่งปสู่สิ่งที่เป็นเป้าหมายของเขา เช่น บุคคลที่มุ่งผลสำเร็จ ย่อมจะมีแรงผลักดันให้ตนเองทำสำเร็จได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยเป้าหมายดังกล่าวมักจะมีความท้าทาย

    นอกเหนือจากองค์ประกอบของ Competency แล้ว เดวิด แม็กคลีแลนด์ (Devid C.McCleland) ยังได้แบ่งกลุ่มของ Competency ออกเป็น 2 กลุ่มคือ

    - Competency พื้นฐาน (Threshold Competencies): เป็นความรู้หรือทักษะพื้นฐานที่บุคคลจำเป็นต้องมีในการทำงาน เช่น ความสามารถในการพูดของพนักงานขาย

    - Competency ที่ทำให้บุคคลแตกต่างจากผู้อื่น (Differentiating Competencies): เป็นปัจจัยต่าง ๆ เช่น ความรู้ ทักษะ แรงจูงใจ ค่านิยม ทัศนคติ ฯลฯ ที่ทำให้บุคคลมีผลการทำงานในระดับที่สูงกว่ามาตรฐานหรือดีกว่าบุคคลทั่วไป

    ดังนั้นเมื่อ Competency เป็นปัจจัยสำคัญของบุคคลที่จะช่วยให้องค์กรมีความสามารถในการแข่งขัน Core Competency จึงหมายถึง กลุ่มความรู้ทางเทคนิคที่เป็นหัวใจขององค์กร และก่อให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน รวมไปถึงความยากในการลอกเลียนแบบ โดย เดวิด แม็กคลีแลนด์ (Devid C.McCleland) ได้แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ Core Competency ของบุคคล และ Core Competency ขององค์กร โดย Core Competency ขององค์กร คือ สิ่งที่องค์กรทำได้ดีที่สุดเพื่อตอบสนองต่อเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ และเป็นแนวทางในการกำหนดกระบวนการทำงานต่าง ๆ ที่ทำให้องค์กรมีความได้เปรียบในระบบเศรษฐกิจ ส่วน Core Competency ของบุคคลคือ สิ่งที่ทำให้บุคคลทำงานในตำแหน่งที่ตนรับผิดชอบได้ดีกว่าผู้อื่น รายละเอียดการเปรียบเทียบแสดงในตารางที่ 1

    ตารางที่ 1 แสดงถึงความแตกต่างระหว่าง Core Competency ของบุคคล และองค์กร
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=1><TBODY><TR><TD width=221>

    </TD><TD width=221>บุคคล (Individual)
    </TD><TD width=221>องค์กร (Organization)
    </TD></TR><TR><TD width=221>ขอบเขต
    </TD><TD width=221>เฉพาะบุคล
    </TD><TD width=221>องค์กร
    </TD></TR><TR><TD width=221>ระดับของเป้าหมาย
    </TD><TD width=221>มุ่งไปที่การปฏิบัติงาน
    </TD><TD width=221>มุ่งไปที่เหมายทางยุทธศาสตร์
    </TD></TR><TR><TD width=221>หน่วยที่เกี่ยวข้อง
    </TD><TD width=221>หน่วยธุรกิจต่าง ๆ (Business Unit)
    </TD><TD width=221>พนักงาน
    </TD></TR><TR><TD width=221>ลักษณะของงาน
    </TD><TD width=221>เป็นระดับ กระบวนการ
    </TD><TD width=221>เป็นระดับกิจกรรม
    </TD></TR><TR><TD width=221>การนำ Competency ไปใช้
    </TD><TD width=221>ทั่วทั้งองค์กร
    </TD><TD width=221>เฉพาะตำแหน่งงาน
    </TD></TR></TBODY></TABLE>* คัดลอกจาก “แนวทางการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ด้วย Competency Based Learning” หน้า 20


    เมื่อ Core Competency เป็นสิ่งที่มากกว่าความรู้และทักษะ แต่เป็นสิ่งบุคคลหรือองค์กรสามารถตอบสนองได้ดีในสถานการณ์ที่มีความซับซ้อน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่หน่วยงานต่าง ๆ และบุคคลในหน่วยงานนั้น ๆ ต้องทราบถึง Core Competency ตนเองเพื่อที่หน่วยงานหรือบุคคลตนนั้นทราบว่า เพื่อที่จะให้หน่วยงานหรือบุคคลนั้น ๆ ทำในสิ่งที่ตนเองสามารถกระทำได้ดีที่สุด อันนำไปสู่การมีศักยภาพในการแข่งขันในที่สุด

    สำหรับกองทัพไทยนั้น Core Competency คือความสามารถในการรักษาผลประโยชน์ของชาติอำนาจอธิปไตย รักษาสถาบันหลักของชาติ ช่วยเหลือประชาชน และ พัฒนาประเทศ ส่วนกำลังพลนั้นจะต้องได้รับการพัฒนาให้มี Core Competency ของตนเองในลักษณะที่เรียกว่า Job Competency และต้องได้รับการจัดการกำลังพลให้เหมาะสม จัดสรรงานให้ตรงกับ Core Competency ที่กำลังพลแต่ละคนมีดังคำกล่าวที่มีมาแต่โบราณว่า "The right man for the right job” หรือ การใช้คนให้เหมาะสมกับงาน แต่กองทัพไทยกลับไม่มีการจัดการด้านกำลังพลในลักษณะที่เหมาะสม ดังตัวอย่างเช่น การที่กองทัพส่งกำลังพลไปศึกษาต่างประเทศในระดับต่าง ๆ จำนวนมากแต่มีการนำกำลังพลเหล่านั้นกลับมาใช้งานให้เหมาะสมกับ Core Competency ของเขาเหล่านั้นน้อย ปล่อยให้กำลังพลที่มีความรู้ความสามารถไปทำงานอย่างกระจัดกระจาย ไม่มีทิศทาง หลายคนถูกหน่วยงานภายนอกกองทัพดึงไปใช้งาน ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของหน่วยงานเหล่านั้น เพราะหน่วยงานเหล่านั้นไม่ต้องลงทุนด้านบุคคลเอง

    สำหรับแนวทางแก้ไขในเรื่องดังกล่าวของกองทัพนั้นสามารถดำเนินการได้โดย 1) สร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องของ Core Competency กับผู้นำกองทัพให้เห็นภาพของการพัฒนาขีดความสามารของกองทัพโดยใช้ Competency 2) สร้างความเข้าใจให้กับกำลังพลทั้งกองทัพเกี่ยวกับแนวคิดของ Competency ทั้งในระดับองค์กรและบุคคล เพื่อให้เกิดการตื่นตัว เข้าใจ และนำไปสู่การมีส่วนร่วม 3) ประเมินผลการดำเนินงานภายใต้แนวคิดของ Competency ที่เป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ 4) เพิ่มการปลูกฝังความเป็นทหารอาชีพให้กับกำลังพลทั่วทั้งกองทัพ เพื่อให้ตระหนักถึงบทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบ ของตน อันจะนำไปสู่การพัฒนา Core Competency ของตนเอง และนำไปสู่การประยุกต์ในการทำงานให้มีลักษณะ Job Competency

    ปัญหาใหญ่ของกองทัพในการนำแนวคิดที่เน้นใน Competency มาใช้งานนั้นจะเป็นเรื่องของวัฒนธรรมองค์กร เพราะกองทัพไทยมีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน แนวคิด ความเชื่อ ค่านิยม ของกำลังพลในกองทัพเป็นเรื่องที่ยากที่จะเปลี่ยนแปลง เช่น การไม่ส่งเสริม ปฏิเสธ หรือ ต่อต้านกีดกันกำลังพลที่มีทักษะ ความรู้ ความสามารถ ไม่ให้ได้ทำงานตรงตามที่กำลังพลเหล่านั้นมี เพราะอาจจะไม่มีความรู้ว่า เรื่องใดต้องใช้คนลักษณะใดหรืออาจจะใจแคบกลัวการเด่นเกินหน้าเกินตาของตนเอง ซึ่งเรื่องต่าง ๆ เหล่านี้คงต้องอาศัยแนวคิดของการบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management) มาช่วย และคำถามทิ้งท้ายฝากไว้กับทุก ๆ ท่านว่า วันนี้ท่านทราบหรือไม่ว่า Core Competency ของท่านคืออะไร​



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    http://tortaharn.net/contents/index.php?option=com_content&task=view&id=104&Itemid=1
     
  12. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR vAlign=top bgColor=#f1f1f1><TD style="BORDER-TOP: #ffffff 3px solid" colSpan=3><TABLE class=moduletable cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TH vAlign=top>== ชาติใดไร้รักสมัครสมาน จะทำการสิ่งใดก็ไร้ผล == </TH></TR><TR><TD><TABLE class=contentpaneopen><TBODY><TR><TD vAlign=top colSpan=2></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: #ffffff 3px solid" vAlign=top bgColor=#f1f1f1><TABLE class=moduletable cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TH vAlign=top>บทความใหม่ </TH></TR><TR><TD></TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD><TD class=mod style="BORDER-TOP: #ffffff 3px solid" vAlign=top width=4 bgColor=#ffffff>
    </TD><TD style="BORDER-TOP: #ffffff 3px solid" vAlign=top bgColor=#f1f1f1><TABLE class=moduletable cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TH vAlign=top>บทความนิยม </TH></TR><TR><TD></TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR><TR vAlign=top align=left><TD style="PADDING-RIGHT: 5px; BORDER-TOP: #ffffff 4px solid; PADDING-LEFT: 5px; PADDING-BOTTOM: 5px; PADDING-TOP: 5px" colSpan=3><TABLE class=contentpaneopen><TBODY><TR><TD class=contentheading width="100%">การจัดการความเสี่ยง – ความเสี่ยงที่ใคร่ครวญแล้ว ? </TD><TD class=buttonheading align=right width="100%">[​IMG] </TD><TD class=buttonheading align=right width="100%">[​IMG] </TD><TD class=buttonheading align=right width="100%">[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE class=contentpaneopen><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left width="70%" colSpan=2>แก้ไขโดย ทอทหาร </TD></TR><TR><TD class=createdate vAlign=top colSpan=2>วันพุธที่ 10 มกราคม พ.ศ.2550 </TD></TR><TR><TD vAlign=top colSpan=2>
    [​IMG]


    ผมเชื่อว่าหลายท่านที่เป็นทหารน่าจะเคยได้ยินคำว่า “ความเสี่ยงที่ใคร่ครวญแล้ว” ซึ่งถือได้ว่าเป็นประโยคยอดนิยมเมื่อเราพูดถึงแผนการปฏิบัติการทางทหารต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นฝ่ายเสนาธิการ ความจริงแล้วความเสี่ยงที่ใคร่ครวญแล้วในภาษาทหารนั้นหมายถึง การจัดการความเสี่ยง หรือ การบริหารความเสี่ยง (Risk Management) ที่รู้จักกันโดยทั่วไป ทั้งนี้เพราะทหารคือผู้ที่ต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับ การศึก-สงคราม และในสภาวะแวดล้อมของสงครามนั้นย่อมจะมีความไม่แน่นอนที่อาจนำไปสู่ความสูญเสียที่ตามมา

    คำความความเสี่ยง (Risk) นั้นมีความหมายที่หลากหลาย เช่น เวบไซต์ The Merriam-Webster Online Dictionary (http://www.m-w.com) ซึ่งเป็นเวบพจนานุกรมออนไลน์ ได้ให้ความหมายไว้ว่า ความเสี่ยงคือ โอกาสที่จะสูญเสียหรือบาดเจ็บ ส่วน เวบไซต์ Answers.com (http://www.answers.com) ซึ่งเป็นเวบไซต์ encyclodictionalmanacapedia (encyclo+diction+almanac+apedia) ได้ให้ความหมายไว้ว่า ความเสี่ยงคือ ความเป็นไปได้ที่จะได้รับความเสียหายจากภัย สูญเสีย หรือ ไม่ปลอดภัย สำหรับ เวบไซต์ Cambridge Dictionaries Online (http://dictionary.cambridge.org) ได้ให้ความหมายไว้ว่า ความเสี่ยงคือ โอกาสที่สิ่งที่ไม่ดีจะเกิดขึ้น สำหรับ เครือข่ายพจนานุกรม ราชบัณฑิตยสถาน (http://rirs3.royin.go.th) ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า ความเสี่ยงคือ ลองเผชิญดู และ ดร.นฤมล สอาดโฉม ได้กล่าวถึงความหมายของความเสี่ยงไว้ว่า (นฤมล สอาดโฉม, “การบริหารความเสี่ยง”, โรงพิมพ์ ก.พลพิมพ์ (1996) จำกัด, 2548, หน้าที่ 30) ความเสี่ยงคือ ความไม่แน่นอนที่อาจนำไปสู่ความสูญเสีย

    สำหรับความเสี่ยงที่ทุกคนเผชิญนั้น ดร.นฤมล สอาดโฉม (ibid, หน้าที่ 39) ได้ระบุไว้ว่า ทุกคนมีโอกาสที่จะเผชิญกับความเสี่ยง 6 ประเภทคือ (1) ความเสี่ยงที่ปรากฏ เช่น ความเสี่ยงจากอุบัติเหตุบนท้องถนน (2) ความเสี่ยงจากความรู้สึก เช่น ความเสี่ยงจากภัยยาเสพติดที่เกิดขึ้นกับเยาวชน (3) ความเสี่ยงที่แท้จริง เช่น ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร (4) ความเสี่ยงจากการเก็งกำไร เช่น ความเสี่ยงจากการนำเงินออมของครอบครัวไปลงทุนในตลาดทุน (5) ความเสี่ยงพื้นฐาน เช่น ความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจฝืดเคือง และ (6) ความเสี่ยงเฉพาะ เช่น ความเสี่ยงจากอัคคีภัยสำหรับบ้านพักอาศัย อย่างไรก็ดีความเสี่ยงใดความเสี่ยงหนึ่งอาจจะมีความสอดคล้องกับอีกความเสี่ยงประเภทหนึ่ง ดร.นฤมล สอาดโฉม (ibid, หน้าที่ 40) ยังได้กล่าวอีกว่าความเสี่ยงที่หน่วยงานภาครัฐและเอกชนเผชิญทุกวันสามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มหลัก ๆ คือ (1) ความเสี่ยงที่แท้จริง (2) ความเสี่ยงทางการเงิน และ (3) ความเสี่ยงไม่ใช่ทางการเงิน

    เมื่อความเสี่ยงเป็นโอกาสที่เราอาจจะเผชิญกับความสูญเสีย เสียหาย หรือ สิ่งไม่ดีต่าง ๆ การบริหารจัดการความเสี่ยงจึงเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะช่วยให้เราสามารถดำเนินการต่าง ๆ ได้อย่างมีความน่าเชื่อถือ หลีกเลี่ยงโอกาสที่จะเกิดความสูญเสียหรือเสียหายที่จะเกิดขึ้น โดยกระบวนการในการจัดการความเสี่ยงเสี่ยง (Risk Management Process) นั้น สถาบันการจัดการความเสี่ยง (The Institute of Risk Management: IRM) ของสหราชอาณาจักร ได้กำหนดมาตรฐานของกระบวนการจัดการความเสี่ยงไว้ดังนี้

    1) วัตถุประสงค์ทางยุทธศาสตร์ขององค์กร (The Organization’s Strategic Objectives) เป็นขั้นตอนเริ่มแรกของการจัดการความเสี่ยงโดยเข้าใจวัตถุประสงค์ทางยุทธศาสตร์ที่ชัดเจน

    2) การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) ขั้นตอนนี้จะทำการประเมินความเสี่ยง โดยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอนย่อย คือ

    2.1) การวิเคราะห์ความเสี่ยง (Risk Analysis) เป็นขั้นตอยการศึกษาทำความเข้าใจความเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดขึ้น จะประกอบไปด้วย 3 ขั้นตอนย่อยคือ

    2.1.1) การระบุความเสี่ยง (Risk Identification) เป็นขั้นตอนการพิสูจน์ทราบว่าอะไรคือความเสี่ยงบ้าง

    2.1.2) การอธิบายความเสี่ยง (Risk Description) หลังจากทราบว่าความเสี่ยงคืออะไรแล้ว ก็จะเป็นขั้นตอนการอธิบายว่าความเสี่ยงที่พบนั้นมีลักษณะเป็นอย่างไร

    2.1.3) การประมาณความเสี่ยง (Risk Estimation) เมื่อทำการอธิบายถึงความเสี่ยงต่าง ๆ แล้วก็จะเป็นประมาณระดับของความเสี่ยงว่ามากน้อยอย่างไร

    2.2) การหาค่าความเสี่ยง (Risk Evaluation) เป็นขั้นตอนที่หาค่าว่าความเสี่ยงที่ที่อาจจะเกิดขึ้นนั้นเป็นอย่างไร

    3) รายงานความเสี่ยง (Risk Reporting) เป็นขั้นตอนของการนำเสนอต่อผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจ

    4) ตัดสินใจ (Decision) เมื่อมีการนำเสนอความเสี่ยงในรูปแบบที่ผ่านการวิเคราะห์แล้วผู้ที่มีอำนาจก็จะทำการตัดสินใจ

    5) ปฏิบัติต่อความเสี่ยง (Risk Treatment) เมื่อผู้บริหารได้ทำการตัดสินใจแล้วก็จะนำแนวทางที่ได้เลือกไปดำเนินการ

    6) รายงานความเสี่ยงที่เหลือ (Residual Risk Reporting) เมื่อได้ดำเนินการตามแนวทางที่ระบุไว้แล้ว ก็จะทำการรวบรวมความเสี่ยงที่ยังคงเหลือไปนำเสนอผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจ

    7) ติดตามผล (Monitor) เมื่อการดำเนินงานในขั้นต่าง ๆ ได้ดำเนินงานผ่านพ้นไป ขั้นตอนนี้จะเป็นการติดตามผลที่ได้กระทำไป

    นอกเหนือจากมุมมองที่ สถาบันการจัดการความเสี่ยง (IRM) ได้กำหนดกระบวนการแล้ว ในมุมมองของทหารซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงอีกประเภทหนึ่ง ได้มีมุมของกระบวนการจัดการความเสี่ยงที่แตกต่างกันออกไป ดังเช่นใน ระเบียบราชการสนาม 100-4 การจัดการความเสี่ยง ของกองทัพบกสหรัฐ ฯ (U.S. Army, “FM 100-4 Risk Management”, 1998, p. 1-3) ได้กล่าวถึงหลักการในการออกแบบกระบวนการจัดการความเสี่ยง โดยอาศัยแนวคิด คือ บูรณาการการจัดการความเสี่ยงไว้ใน การวางแผน เตรียมการ และการปฏิบัติ จากนั้นจะทำการตกลงใจเกี่ยวกับความเสี่ยงในระดับสายการบังคับบัญชาที่เหมาะสม โดยยอมรับแต่ความเสี่ยงที่จำเป็นเท่านั้น หลักการดังกล่าวได้ถูกนำมาใช้เป็นกรอบแนวคิดในการกำหนดกระบวนการการจัดการความเสี่ยง 5 ขั้นตอนดังนี้ (ibid, 2-0)

    1) ระบุความอันตราย (Identify Hazards) ขั้นตอนนี้เป็นการพิสูจน์ทราบถึงอันตรายต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น

    2) ประเมินความอันตรายต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่การกำหนดความเสี่ยง (Assess Hazards to Determine Risks) เป็นขั้นตอนที่จะศึกษาถึงอันตรายในรูปแบบต่าง ๆ ที่เป็นไปได้ เพื่อกำหนดขึ้นเป็นความเสี่ยง

    3) พัฒนาวิธีการควบคุมและการตัดสินใจบนความเสี่ยง (Develop Controls and Make Risk Decisions) เป็นขั้นตอนที่จะหาแนวทางในการการควบคุมความเสี่ยง ที่จะนำไปสู่การตกลงใจหาทางเลือกที่ดีที่สุด

    4) ดำเนินการควบคุม (Implement Controls) เป็นการดำเนินการให้แน่ใจว่าแนวทางที่ได้เลือกไปนั้นจะบรรลุผลมีการควบคุมความเสี่ยงต่าง ๆ ตามที่ได้กำหนดไว้ ด้วยการประสานงานและติดต่อสื่อสารกับผู้ที่เกี่ยวข้อง

    5) กำกับดูแลและประเมินผล (Supervise and Evaluation) เป็นขั้นตอนที่สร้างความมั่นใจว่าผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดมีความเข้าใจ และรวมไปถึงการประเมินผลการปฏิบัติ

    โดยกระบวนการการจัดการความเสี่ยงตามที่ระบุไว้ใน FM 100-4 จะช่วยให้ ผู้บังคับหน่วยหรือผู้นำหน่วย สงวนไว้ซึ่งชีวิตและทรัพยากร รวมถึงหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่ไม่จำเป็น โดยที่ความกระบวนการจัดการความเสี่ยงจะไม่ขัดขวางความริเริ่มและความอ่อนตัวของผู้บังคับหน่วยและผู้นำหน่วย อย่างไรก็ดีกระบวนการจัดการความเสี่ยงจะไม่สามารถขจัดความเสี่ยงให้หมดไปได้อย่างสิ้นเชิง

    ในมุมมองทางทหารนั้นการจัดการความเสี่ยงนั้นสามารถที่จะนำไปประยุกต์ใช้ได้กับสถานการณ์ และทุกสภาวะแวดล้อม ของการปฏิบัติการทางทหาร ในด้านการพัฒนากองทัพ การจัดการความเสี่ยงสามารถนำไปใช้ได้ใน การวางแผนใช้กำลัง (Force Design) การจัดสรรกำลังคน (Manpower Allocation) การฝึกและพัฒนาการฝึก (Training and Training Development) และ การพัฒนายุทธภัณฑ์ในการรบ และ ห้องปฏิบัติการรบ (Combat and Material Development and Battle Laboratories) ส่วนการปฏิบัติการในสนามนั้น การจัดการความเสี่ยงจะมีความเกี่ยวข้องกับ การบรรจุมอบกำลังพล (Personal Assignment) การดำรงสภาพหน่วยและการส่งกำลังบำรุง (Sustainment and Logistics) การฝึก (Training) การปฏิบัติในที่ตั้งหน่วย (Base Operations) และการใช้งานหน่วย (Employment) และ การพิทักษ์หน่วย (Force Protection)

    จากที่กล่าวมาเราจะพบว่า ความเสี่ยงเป็นโอกาสที่อาจจะประสบเมื่อไหร่เวลาใดก็ได้ กระบวนการจัดการความเสี่ยงย่อมจะช่วยให้เราเลือกหนทางที่มีความเสี่ยงน้อยที่สุดไปดำเนินการ ซึ่งนั่นก็หมายความว่าเป้าหมายที่เราได้กำหนดไว้นั้นมีโอกาสสูงสุดที่จะบรรลุตามนั้น เมื่อหันกลับมากองทัพในบ้านเรา จะพบว่าภายในกองทัพมีการกล่าวถึง การจัดการความเสี่ยงในระดับที่น้อยมาก จนแทบจะไม่มีใครรู้จัก ทั้ง ๆ ที่การปฏิบัติการทางทหารในแต่ละประเภทนั้นตั้งอยู่บนบรรทัดฐานของความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และหลายครั้งหลายคราที่ผมเองได้มีโอกาสประสบพบด้วยตนเองว่า การดำเนินการต่างนั้นยังขาดวิธีคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์พิสูจน์ได้ มีการใช้ความรู้สึกเป็นที่ตั้ง ไม่มีการประเมินความเสี่ยง เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพราะกองทัพมีหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความมั่นคงของชาติ ถ้าเมื่อใดก็ตามแล้ว กองทัพไม่ทราบว่าอะไรคือความเสี่ยงที่แท้จริงของประเทศชาติแล้ว นั่นก็คือเรากำลังนำประเทศชาติไปอยู่บนความเสี่ยง และนำเอาความมั่นคงของประเทศเป็นเดิมพัน แล้วท่านล่ะจะอยู่กันอย่างเสี่ยง ๆ กันต่อไปหรือเปล่า……
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    http://tortaharn.net/contents/index.php?option=com_content&task=view&id=103&Itemid=1
     
  13. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    โสมขาวอวดโฉมอาวุธสงครามใหม่ “รถถังดำน้ำ” คันแรกของโลก


    เอเอฟพี – เกาหลีใต้ เผยโฉมรถถังประจัญบานรุ่นใหม่ ซึ่งผู้สร้างอ้างว่าสามารถปฏิบัติการใต้น้ำได้ และยังถือเป็นสิ่งที่ดีที่สุดในโลกที่จะป้องกันตัวจากการโจมตีทางอากาศอีกด้วย

    [​IMG]

    องค์การพัฒนาเพื่อการป้องกันประเทศ กล่าวว่า รถถัง เอ็กซ์เค2 สามารถเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วลงไปใต้น้ำลึก 4.1 เมตร และรถถังคันนี้ยังพร้อมสำหรับการต่อสู้กะทันหันหลังจากโผล่ขึ้นเหนือน้ำ โดยทางองค์การยังหาทางที่จะส่งออกอาวุธชนิดนี้ด้วย

    ยิ่งไปกว่านั้น องค์การดังกล่าวได้อ้างว่า รถถังนี้เป็นรถถังคันแรกของโลกที่สามารถเคลื่อนที่พร้อมฐานปืนได้อย่างสมบูรณ์ใต้น้ำโดยใช้ท่อหายใจชนิดพิเศษ รวมถึงความสามารถในการทำลายเฮลิคอปเตอร์ด้วยจรวดนำวิถีแบบยิงแล้วลืมไปได้เลย ไม่ต้องติดตาม และการป้องกันลูกเรือด้วยระบบเตือนภัยหลากหลายรูปแบบ พร้อมกับปืนหลักที่โหลดกระสุนอัตโนมัติด้วย

    และในการบรรทุกลูกเรือ 3 คน รถถังซึ่งหนัก 55 ตันนี้ มีความเร็วบนท้องถนนมากกว่า 70 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และข้ามประเทศด้วยความเร็วมากกว่า 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

    ทั้งนี้ รถถังเอ็กซ์เค2 จะเข้าสู่การผลิตแบบจำนวนมากใน 3 ปี ซึ่งขณะนี้ เอ็กซ์เค2 ผลิตโดยโรเท็ม แผนกหนึ่งของบริษัท ฮุนไดมอเตอร์ ร่วมกับบริษัทอุตสาหกรรมเพื่อการป้องกันประเทศ และกองทัพโสมขาวจะสั่งซื้อเจ้านวตกรรมใหม่นี้ในปี 2011 โดยยังไม่ทราบจำนวน โดยราคารถถังดังกล่าวตกอยู่ที่คันละ 8.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

    http://www.signal.co.th/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=226
     
  14. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    อิสราเอลโชว์หุ่นยนต์นักฆ่า

    กองทัพอิสราเอลเปิดตัวหุ่นยนต์นักฆ่าตัวล่าสุด VIPeR จุดเด่นคือสามารถนำไปใช้ในสมรภูมิรบได้โดยไม่ต้องใช้มนุษย์บังคับ มาพร้อมอาวุธครบมือทั้งปืนและระเบิดสำหรับต่อสู้กับข้าศึก ผลงานจากโครงการพัฒนาอาวุธเพื่อลดความเสี่ยงในการทำสงครามระหว่างทหารหาญของอิสราเอลในดินแดนปาเลสไตน์

    VIPeR เป็นฝีมือการผลิตของบริษัทเอลบิทซิสเต็มส์ (Elbit Systems Ltd.) ภายใต้โครงการพัฒนาอาวุธเพื่อลดความสูญเสียทหารชาวอิสราเอลในศึกสงคราม โดยเอลบิทฯให้ข้อมูลว่า ตีนตะขาบของ VIPeR นั้นถูกออกแบบมาสำหรับการเคลื่อนที่บนทุกสภาพผิว สามารถขึ้นบันได เคลื่อนที่บนวัสดุประเภทยาง เข้าตรอกหรือซอยมืด ถ้ำ หรืออุโมงค์แคบๆ

    นอกจากความสามารถในการตรวจหาวัตถุระเบิดและการกู้ระเบิดแล้ว หุ่นยนต์นักฆ่า VIPeR ยังสามารถใช้งานปืนชนิด Uzi และวางระเบิดได้อย่างแม่นยำโดยใช้ข้อมูลจากกล้องวีดีโอที่ฝังอยู่ภายใน
    [​IMG]

    ในรายงานของรอยเตอร์สไม่ได้ระบุว่าอิสราเอลจะนำไปใช้งานจริงเมื่อใด โดยข้อมูลจากเอลบิทฯมีเพียงว่าอิสราเอลมีเป้าหมายนำ VIPeR ไปใช้งานจริงแน่นอนหลังการทดสอบเสร็จสิ้น และเชื่อว่าหุ่นยนต์นักฆ่าตัวนี้จะเป็นที่สนใจของกองทัพสหรัฐฯซึ่งยังคงต้องทำศึกต่อเนื่องในอิรักและอัฟกานิสถาน

    http://www.signal.co.th/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=225
     
  15. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    ซีมัวร์ เฮิร์ช แฉเบื้องลึกสุดๆ ที่คุณต้องอ่าน : อเมริกา ซาอุดิ และสงครามระหว่าง “ซุนนี-ชีอะต์” (1)

    [​IMG]แล้วซีมัวร์ เฮิร์ช ก็กลับมาอีกครั้ง...กับเรื่องร้อนๆ ที่เกี่ยวกับอเมริกา-อิหร่าน

    ไม่กี่เดือนที่ผ่านมานี้ พ้นไปจากการเตรียมพร้อมทางการทหารเพื่อโจมตีอิหร่าน...อย่างที่มีข่าวออกมาตลอด ยังมีอีกด้านหนึ่งสำหรับ ‘ยุทธศาสตร์ใหม่ของบุชในตะวันออกกลาง’ ที่ชวนให้สยดสยองไม่แพ้กัน




    อเมริกากับซาอุดิกำลังจับมือกันเอาจริงเอาจัง...เพื่อผลักดัน ‘สงครามเย็นระหว่างซุนนี-ชีอะต์’ ซึ่งพร้อมจะส่งผลสะเทือนไปทั่วภูมิภาค

    รายงานของเฮิร์ช ระบุว่า มีการอัดฉีดเงินทุนและความช่วยเหลือให้กับกลุ่มติดอาวุธ ‘ซุนนีลัทธิสุดขั้ว’ หรือที่เรียกกันว่า ‘ซาลาฟีจิฮัดดิสต์’ (Salafi – คือคำที่นิยมใช้เรียกรวมๆ แทน ‘วาฮาบี’) ทั้งในเลบานอนและซีเรีย เพื่อให้เคลื่อนไหวต่อต้าน เฮซบอลเลาะห์ ที่เป็นชีอะต์และเป็นพันธมิตรของอิหร่าน กับต่อต้านรัฐบาลของ บาชาร์ อัล-อาสัด กลุ่มผู้นำซีเรียซึ่งไม่ใช่ซุนนี แต่เป็นอลาวี (Alawi – แนวทางใกล้เคียงมุสลิมชีอะต์) และเป็นพันธมิตรกับอิหร่าน

    ในการให้สัมภาษณ์กับซีเอ็นเอ็น 25 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เฮิร์ชพูดถึงซุนนีกลุ่มต่างๆ ในเลบานอนที่อเมริกาให้ความช่วยเหลือว่า “นี่คือพวกที่มีความเชื่อมโยงกับอัล-ไคดา”

    และตัวการสำคัญเบื้องหลังยุทธศาสตร์ที่ว่านี้ ก็ได้แก่ดาราดังระดับ ดิก เชนีย์, เอลเลียต เอเบริมส์, ซัลเมย์ คาลิลสาด ร่วมกับเจ้าชายซาอุดิ บันดาร์ บิน สุลตาน ที่ซี้ปึ้กกับวอชิงตันอย่างมากนั่นเอง

    ปฏิบัติการลับหลายๆ อย่างในยุคที่บุช/เชนีย์เป็นใหญ่ – ซึ่งไม่ใช่แค่ส่วนนี้เท่านั้น - เป็นเรื่องที่อาศัยช่องว่างและการพลิกแพลงกระบวนการแบบไม่ต้องผ่านการรายงานคองเกรส (โชยกลิ่นแบบ ‘อิหร่าน-คอนทรา’ มาแต่ไกล) และนี่คือประเด็นสำคัญอันหนึ่งที่เฮิร์ชตั้งคำถาม

    งานชิ้นนี้แปลมาจาก - THE REDIRECTION : Is the Administration’s new policy benefitting our enemies in the war on terrorism? Seymour M. Hersh, The New Yorker, Issue of 2007-03-05, Posted 2007-02-25

    และเนื่องจากงานชิ้นนี้ยาวมาก จึงมีการตัดกระชับนิดหน่อย และแบ่งเนื้อหาเป็น 2 ตอน (คำอธิบายในวงเล็บเป็นของเฮิร์ช) – อย่างไรก็ตาม โดยธรรมชาติแล้ว งานของเฮิร์ชจะเกี่ยวข้องกับข้อมูลและการวิเคราะห์จากเจ้าหน้าที่ระดับสูงหรือ think tank ของพวกอีลิต/ขวาเป็นหลัก ทำให้มีกลิ่น spin และ propaganda ติดมาเป็นประจำ ประกอบกับข้อมูลบางอย่างอาจจะไม่ชัดเจนและต้องการหลักฐานประกอบ ขอฝากผู้อ่านทุกท่านใช้วิจารณญาณเข้มข้นควบคู่ไปด้วย o
    - - - - -
    [ แถมท้ายนิดนึง : ไม่กี่วันมานี้ อเมริกาได้มีการส่งสัญญาณทางการทูตใหม่ๆ ให้หลายคนตื่นเต้นแอบลุ้น แต่จนถึงขณะนี้ ยังเป็นที่สงสัยกันว่า..อเมริกาจะพร้อมเจรจาแบบ ‘หนึ่งต่อหนึ่ง’ กับอิหร่าน เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งทั้งหมดหรือเปล่า? หรือว่าท่าทีใหม่ (รวมการประชุมอินเตอร์หลายฝ่ายที่อิรัก 10 มีนาคมนี้) จะเป็นแค่ ‘เกมสร้างภาพ’ ที่ต้องเล่นไปพร้อมๆ กัน? อย่างไรก็ตาม การปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์อีกครั้ง – หรือแม้แต่ยูเทิร์นไปเลย - เป็นเรื่องที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ เพราะเบื้องหลังนโยบาย ‘เผชิญหน้ากับอิหร่าน’ เวอร์ชันนีโอคอนอย่างที่เป็นอยู่นี้ ยังคงมีเสียงแตกเสียงค้านจากอีลิตและกลุ่มอำนาจอื่นๆ ดังขึ้นตลอด รวมทั้งนายทหารบิ๊กๆ หลายรายที่ไม่อยากเปิดศึกกับอิหร่านแม้แต่น้อย เพราะงั้น งานนี้...จึงต้องจับตากันต่อไปในระยะกระชั้นชิด - - แม้ว่านักวิเคราะห์บางรายในหมู่ปัญญาชนซ้ายจะค่อนข้างชัวร์ว่า มันเป็นเรื่องของฉากหน้าที่ ‘ไร้ความหมาย’ เหมือนๆ กับ...การพบกันระหว่างอาห์มาดิเนจัดกับกษัตริย์อับดุลลาห์เมื่อเสาร์ที่ผ่านมาน่ะแหละ ]
    0 0 0
    [​IMG]


    THE REDIRECTION
    หรือว่านโยบายปรับใหม่ของอเมริกาคือการเอิ้อประโยชน์ให้ ‘ซาลาฟี/อัล-ไคดา’ ?
    ซีมัวร์ เอ็ม. เฮิร์ช25 กุมภาพันธ์ 2007
    การปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์
    ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ขณะที่สถานการณ์ในอิรักเข้าขั้นทรุดหนัก คณะผู้บริหารบุชก็ได้ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ตะวันออกกลางครั้งใหม่ โดยใช้ทั้งวิถีทางการทูตและปฏิบัติการลับเข้าช่วย ยุทธศาสตร์ใหม่หรือ ‘Redirection’ - คำที่บางคนในทำเนียบขาวเรียกกัน - กำลังชักนำอเมริกาให้ขยับเข้าใกล้การเผชิญหน้าโดยตรงกับอิหร่าน ขณะที่ในหลายๆ พื้นที่ของตะวันออกกลาง มันยังเป็นตัวโหมสร้างกระแสความขัดแย้งระหว่างซุนนี-ชีอะต์ให้ลุกลามไปด้วย

    เพื่อที่จะบั่นทอนทำลายอิทธิพลอิหร่าน-ชาติที่ชีอะต์มีอำนาจ บุชได้จัดลำดับภารกิจสำคัญของเขาใหม่ ในเลบานอน คณะผู้บริหารได้ร่วมมือกับรัฐบาลของซาอุดิอาระเบียซึ่งเป็นชาติซุนนี เคลื่อนไหวปฏิบัติการลับโดยมีเป้าหมายเพื่อทำลายความแข็งแกร่งของเฮซบอลเลาะห์ พร้อมกันนั้น อเมริกายังมีส่วนในปฏิบัติการลับอื่นๆ ซึ่งพุ่งเป้าไปที่อิหร่านและซีเรียเช่นกัน ผลลัพธ์ที่แถมมาด้วยของงานนี้ก็คือ อเมริกากำลังปลุกปั้นส่งเสริมมุสลิมซุนนีสุดขั้วกลุ่มต่างๆ ให้ผงาดขึ้นมา ซึ่งก็ได้แก่พวกที่สนับสนุนแนวทางใช้กำลังต่อสู้ของอิสลาม เป็นปฏิปักษ์ต่ออเมริกา และเห็นอกเห็นใจอัล-ไคดานั่นเอง

    ยุทธศาสตร์ใหม่นี้ยังมีความขัดแย้งในตัวเองอีกแง่หนึ่ง นั่นก็คือ ในกรณีของอิรัก ความรุนแรงส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นกับกองทัพอเมริกามาจากกองกำลังซุนนี ไม่ใช่ชีอะต์ ยิ่งกว่านั้น สำหรับคณะผู้บริหารบุชแล้ว ผลลัพธ์ทางยุทธศาสตร์จากสงครามอิรักที่พวกเขาไม่ได้ตั้งใจแต่กลายเป็นเรื่องใหญ่ส่งผลสะเทือนมากที่สุดก็คือ...การทำให้อิหร่านมีอำนาจมากขึ้น

    หลังการปฏิวัติในปี 1979 ที่ส่งให้ผู้นำศาสนาขึ้นมามีอำนาจ อเมริกาได้ตัดความสัมพันธ์กับอิหร่านและหันไปผูกมิตรใกล้ชิดกับผู้นำรัฐซุนนีมากขึ้น อาทิ จอร์แดน อียิปต์ และซาอุดิอาระเบีย แต่แล้วการคิดคำนวณเรื่องผลประโยชน์ต่างๆ ก็ชักจะซับซ้อนขึ้นหลังเหตุการณ์ 11 กันยายน โดยเฉพาะในกรณีของซาอุดิอาระเบีย เพราะอัล-ไคดาคือซุนนี และผู้ปฏิบัติการของมันจำนวนมากมาจากแวดวงลัทธิสุดขั้วในซาอุดิอาระเบีย - - ก่อนอเมริกาบุกยึดอิรักในปี 2003 เจ้าหน้าที่ของฝ่ายบริหารภายใต้การครอบงำของนีโอคอนคาดการณ์ว่า รัฐบาลชีอะต์ที่จะเกิดขึ้นตามมา จะเป็นฝ่ายโปร-อเมริกาและจะช่วยเสริมดุลอำนาจระหว่างอเมริกากับพวกซุนนีสุดขั้ว เนื่องจากชาวชีอะต์ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศคือฝ่ายที่ถูกกดขี่ข่มเหงมาก่อนในยุคของซัดดัม ฮุสเซน คนพวกนั้นไม่สนใจคำเตือนจากเจ้าหน้าที่ข่าวกรองหลายฝ่ายในเรื่องโยงใยสัมพันธ์ระหว่างเหล่าผู้นำชีอะต์ในอิรักกับอิหร่าน และปัจจุบันนี้เอง ท่ามกลางความไม่สบายใจของทำเนียบขาว อิหร่านก็ได้สานสัมพันธ์ใกล้ชิดกับรัฐบาลของ นูรี อัล-มาลิกี ซึ่งเป็นรัฐบาลที่ชีอะต์เป็นใหญ่ไปเรียบร้อย

    นโยบายใหม่ของอเมริกา เฉพาะในส่วนของแนวทางกว้างๆ เป็นส่วนที่ผ่านการอภิปรายต่อสาธารณะมาแล้ว ในการให้ปากคำต่อหน้าคณะกรรมาธิการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของวุฒิสภา เดือนมกราคม รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศ คอนโดลีซซา ไรซ์ กล่าวว่า มี “การแบ่งฝักฝ่ายทางยุทธศาสตร์ใหม่สำหรับตะวันออกกลาง” โดยเธอได้แยก ‘พวกหัวปฏิรูป’ (reformer) กับ ‘พวกแนวคิดสุดขั้ว’ (extremist) ออกจากกัน ไรซ์พูดถึงรัฐซุนนีทั้งหลายว่าเป็นศูนย์กลางของแนวทางสายกลาง-ประนีประนอม พร้อมกับกล่าวว่า อิหร่าน ซีเรีย และเฮซบอลเลาะห์ “อยู่ฝั่งตรงข้ามของการแบ่งฝ่ายที่ว่านี้” (ซีเรียเป็นชาติที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นซุนนี แต่อยู่ภายใต้การนำของพวก ‘อลาวี’) ไรซ์ยังกล่าวอีกว่า อิหร่านและซีเรีย “ได้ตัดสินใจเลือกแล้ว และสิ่งที่พวกเขาเลือกก็คือการทำลายเสถียรภาพ”

    อย่างไรก็ตาม ยุทธศาสตร์ใหม่ Redirection ในส่วนของยุทธวิธีหรือแทคติกหลักๆ ยังคงเป็นเรื่องที่พ้นหูพ้นตาสาธารณะ ในหลายๆ กรณี ปฏิบัติการลับถูกเก็บไว้เป็นเรื่องลึกลับ โดยปล่อยให้ซาอุดิเป็นผู้ดำเนินการหรือบริหารงบต่างๆ ของอเมริกาแทน หรือไม่ก็โดยการพลิกแพลงหาช่องทางอื่นๆ ที่ไปพ้นจากกระบวนการจัดสรรงบประมาณของคองเกรสตามปกติ - - เจ้าหน้าที่ที่ใกล้ชิดกับคณะผู้บริหารทั้งในอดีตและปัจจุบันกล่าว

    สมาชิกระดับสูงในคณะกรรมาธิการจัดสรรงบประมาณของสภาผู้แทนราษฎรบอกกับผมว่า เขาได้ยินเรื่องยุทธศาสตร์ใหม่อยู่เหมือนกัน แต่กลับรู้สึกว่า...สมาชิกในคณะกรรมาธิการฯ จะไม่ได้ ‘รับบริ๊ฟ’ หรือรับฟังคำอธิบายสรุปในเรื่องนี้สักเท่าไหร่

    “เราไม่ได้ข้อมูลในเรื่องนี้เลย” เขาพูด “เราถามว่ามีการดำเนินการอะไรไปบ้าง...พวกเขาบอกว่าไม่มี พอเราถามคำถามที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น...พวกเขาก็บอกว่า-เอาไว้เราจะกลับมาหาคุณใหม่ เรื่องนี้ทำให้เราอึดอัดใจมาก”
    ผู้เล่นสำคัญที่อยู่เบื้องหลังยุทธศาสตร์ใหม่ ได้แก่ รองประธานาธิบดี ดิก เชนีย์, รองที่ปรึกษาประธานาธิบดีด้านความมั่นคง เอลเลียต เอเบริมส์, ทูตอเมริกาประจำอิรักซึ่งกำลังจะหมดวาระ (ได้รับการเสนอชื่อเป็นทูตประจำยูเอ็น) ซัลเมย์ คาลิลสาด, และ เจ้าชายบันดาร์ บิน สุลตาน (Prince Bandar bin Sultan) ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงของซาอุดิอาระเบีย - - ขณะที่ไรซ์มีส่วนอย่างมากในการผลักดันและกำหนดแนวทางนโยบายด้านที่เปิดเผย ด้านลับของนโยบายกลับตกอยู่ภายใต้การนำของเชนีย์ เจ้าหน้าที่ในอดีตและปัจจุบันกล่าว (ทีมงานของเชนีย์และทำเนียบขาวปฏิเสธที่จะให้ความเห็นเรื่องนี้ ส่วนเพนตากอนไม่ตอบคำถามที่ถามไป แต่พูดกว้างๆ ว่า “อเมริกาไม่ได้วางแผนจะทำสงครามกับอิหร่าน”)

    การปรับนโยบายครั้งนี้ ได้ชักนำให้ซาอุดิอาระเบียและอิสราเอลเข้ามาเป็นแนวร่วมสำคัญทางยุทธศาสตร์ใหม่ไปด้วย เหตุผลหลักคือทั้งสองประเทศต่างก็เห็นอิหร่านเป็นภัยคุกคามที่มีอยู่จริง พวกนั้นยังเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยในเรื่องการพูดคุยเจรจาโดยตรง ในส่วนของซาอุดิอาระเบีย พวกเขาเชื่อว่า การทำให้เกิดเสถียรภาพมากขึ้นในอิสราเอล-ปาเลสไตน์ จะทำให้อิหร่านมีอำนาจกำกับควบคุมลดลงในภูมิภาคนี้ ซาอุดิจึงพยายามที่จะเข้าไปมีบทบาทมากขึ้นในการเจรจาต่อรองระหว่างอิสราเอล-ปาเลสไตน์

    ยุทธศาสตร์ใหม่ “เป็นการปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่ในนโยบายอเมริกัน – เรียกได้ว่า sea change ไปเลย” ที่ปรึกษารัฐบาลอเมริกาซึ่งมีสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอิสราเอลกล่าว รัฐซุนนี “กลัวการฟื้นขึ้นมาเรืองอำนาจของชีอะต์ และเริ่มจะไม่พอใจมากขึ้นเรื่อยๆ ที่เราไปเล่นพนันอยู่ข้างชีอะต์สายกลางในอิรัก” เขากล่าว “เราไม่สามารถทำให้เหตุการณ์พลิกกลับหรือเรียกคืนสิ่งที่ชีอะต์ในอิรักได้ไปแล้ว แต่เราสามารถควบคุมจำกัดไม่ให้พวกนั้นมีอำนาจมากขึ้นได้”

    “ดูเหมือนว่า มันจะมีการถกเถียงกันในรัฐบาลว่า อะไรเป็นอันตรายมากกว่า...อิหร่านหรือว่าซุนนีลัทธิสุดขั้ว” วาลี นัสเซอร์ (Vali Nasr) สมาชิกอาวุโสของ Council on Foreign Relations เจ้าของงานเขียนมากมายเกี่ยวกับชีอะต์ อิหร่าน อิรัก กล่าวกับผม “ซาอุดิและบางส่วนในคณะผู้บริหารเป็นฝ่ายที่โต้แย้งว่า ภัยคุกคามที่อันตรายที่สุดคืออิหร่าน ซุนนีหัวรุนแรงเป็นศัตรูที่น่ากลัวน้อยกว่า และนี่ก็คือชัยชนะของสายซาอุดิ”

    มาร์ติน อินไดก์ (Martin Indyk) เจ้าหน้าที่อาวุโสของกระทรวงต่างประเทศในยุคบิล คลินตัน ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งทูตประจำอิสราเอลด้วยเช่นกัน กล่าวว่า “ตะวันออกกลางกำลังมุ่งหน้าไปสู่สงครามเย็นแบบเอาจริงระหว่างซุนนีกับชีอะต์”

    อินไดก์ ประธานสถาบัน Saban Center for Middle East Policy/Brookings Institution กล่าวเสริมอีกว่า ในทัศนะของเขา มันไม่ชัดเจนว่าทำเนียบขาวจะตระหนักถึงผลกระทบทางยุทธศาสตร์จากนโยบายใหม่นี้อย่างรอบด้านหรือไม่ “ทำเนียบขาว...ไม่ใช่แค่ทุ่มพนันในอิรักเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า” เขาพูด “แต่มันเป็นการทุ่มพนันลงไปในภูมิภาคนี้เพิ่มขึ้นอีกสองเท่า เรื่องนี้อาจจะนำไปสู่ความยุ่งยากซับซ้อนอย่างมาก ทุกอย่างกลับหัวกลับหางไปหมด”
    §

    นโยบายจำกัดควบคุมอิหร่านดูจะสร้างความยุ่งยากให้กับยุทธศาสตร์เพื่อชัยชนะในสงครามอิรักไปด้วย อย่างไรก็ตาม แพทริก คลอว์ซัน (Patrick Clawson) ผู้เชี่ยวชาญด้านอิหร่านและรองประธานฝ่ายวิจัยของสถาบัน Washington Institute for Near East Policy กลับเห็นว่า สายสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างสหรัฐอเมริกาและซุนนีสายกลาง หรือแม้กระทั่งซุนนีลัทธิสุดขั้ว สามารถสร้าง ‘ความกลัว’ ให้กับรัฐบาลของมาลิกี และ “ทำให้เขาวิตกว่าฝ่ายซุนนีอาจจะชนะขึ้นมาจริงๆ” ในสงครามกลางเมืองของอิรัก คลอว์ซันบอกว่า มันอาจจะเป็นแรงจูงใจให้มาลิกีร่วมมือกับอเมริกามากขึ้นในการปราบปรามกองกำลังติดอาวุธชีอะต์หัวรุนแรง อย่างเช่น กองทัพมาห์ดีของ มุกตาดาร์ อัล-ซาเดอร์

    แต่ถึงกระนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นตอนนี้กลับกลายเป็นว่า อเมริกายังเป็นฝ่ายที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้นำชีอะต์อย่างมาก กองทัพมาห์ดีอาจจะเป็นปฏิปักษ์ต่อผลประโยชน์ของอเมริกาอย่างเปิดเผย แต่กองกำลังติดอาวุธอื่นๆ ของชีอะต์ยังถูกนับว่าเป็นพันธมิตรกับอเมริกาอยู่ นอกจกานี้ ทั้งมุกตาดาร์ อัล-ซาเดอร์ และทำเนียบขาว ต่างก็หนุนหลังมาลิกีเหมือนกัน ในบันทึกของที่ปรึกษาประธานาธิบดีด้านความมั่นคง สตีเฟน แฮดลีย์ (Stephen Hadley) เมื่อปลายปีที่แล้ว ได้แนะนำให้คณะผู้บริหารพยายามแยกมาลิกีออกจากพันธมิตรชีอะต์สุดขั้วของเขา โดยการสร้างฐานสนับสนุนจากเคิร์ดและซุนนีสายกลาง แต่จนถึงเดี๋ยวนี้ แนวโน้มดูจะออกไปในทางตรงข้ามมากกว่า กองทัพของทางการอิรักเองยังคงล้มเหลวในการสู้รบกับฝ่ายต่อต้าน ขณะที่กองกำลังติดอาวุธของชีอะต์กลับมีอำนาจมากขึ้นเรื่อยๆ

    ฟลินต์ เลฟเวอเรต (Flynt Leverett) อดีตเจ้าหน้าที่สภาความมั่นคงแห่งชาติของคณะผู้บริหารบุช กล่าวกับผมว่า “ไม่ใช่เรื่องพ้องกันโดยบังเอิญ และไม่มีอะไร ironic (ผลลัพธ์ออกมาตรงข้ามแบบประชดประชัน)” สำหรับยุทธศาสตร์ใหม่ของเราในส่วนที่เกี่ยวกับอิรัก “คณะผู้บริหารพยายามจะสร้างเรื่องว่าอิหร่านเป็นอันตรายมากกว่าและสร้างความเดือดร้อนมากกว่าฝ่ายต่อต้านซุนนีในอิรัก ทั้งๆ ที่ - ถ้าเราดูจากตัวเลขความเสียหายจริงๆ – สิ่งฝ่ายต่อต้านซุนนีกระทำต่ออเมริกา เมื่อเทียบกันแล้ว มันมากกว่า...มันมีขนาดมหาศาลกว่า” เขากล่าว “และนี่ก็เป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญกระตุ้นยั่วยุเพื่อที่จะสร้างความกดดันให้อิหร่านมากขึ้น ความคิดเบื้องหลังมีอยู่ว่า ถึงจุดๆ หนึ่งอิหร่านจะตอบโต้ และตอนนั้นเองช่องทางก็จะเปิดให้คณะผู้บริหารโจมตีอิหร่าน”

    ในสุนทรพจน์วันที่ 10 มกราคม ประธานาธิบดีจอร์จ บุช ได้สะท้อนบางส่วนของแนวทางนี้ออกมา “ระบอบปกครองทั้งสอง” หมายถึงอิหร่านและซีเรีย “ได้ปล่อยให้ผู้ก่อการร้ายและผู้ก่อความไม่สงบใช้ดินแดนของมันในการเคลื่อนไหวเข้าออกอิรัก” บุชกล่าว “อิหร่านได้ให้การสนับสนุนด้านวัสดุอุปกรณ์ในการโจมตีทหารอเมริกา เราจำเป็นจะต้องหยุดยั้งขัดขวางการโจมตีนี้ เราจำเป็นจะต้องขัดขวางความช่วยเหลือที่ไหลเข้ามาจากอิหร่านและซีเรีย เราจะค้นหาและทำลายเครือข่ายที่ฝึกอบรมและจัดส่งอาวุธร้ายแรงมาให้ศัตรูของเราในอิรัก”

    ไม่กี่สัปดาห์ต่อมา ก็มีข้อกล่าวหาตามมาเป็นระลอกจากรัฐบาลบุชว่าอิหร่านเข้าไปยุ่งเกี่ยวในสงครามอิรัก 11 กุมภาพันธ์ มีการนำระเบิดไออีดีชนิดที่พัฒนาไปอีกระดับมาโชว์นักข่าว เป็นระเบิดที่พบในอิรักและคณะผู้บริหารอ้างว่ามาจากอิหร่าน โดยสรุป สารจากคณะผู้บริหารมีอยู่ว่า สถานการณ์เลวร้ายในอิรักไม่ได้เป็นผลมาจากความล้มเหลวในการวางแผนและดำเนินการของตน...แต่เป็นผลมาจากการแทรกแซงของอิหร่าน

    กองทัพอเมริกาได้จับกุมและสอบสวนชาวอิหร่านในอิรักหลายร้อยคน “ตั้งแต่สิงหาคมปีที่แล้ว มีคำสั่งให้กองทัพรวบตัวชาวอิหร่านในอิรักให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้” อดีตเจ้าหน้าที่ระดับสูงฝ่ายข่าวกรองกล่าว “มีช่วงหนึ่งเราขังไว้ถึงห้าร้อยคน เราสอบสวนหาข้อมูลจากคนพวกนั้น เป้าหมายของทำเนียบขาวก็คือการหาหลักฐานมาสนับสนุนประเด็นที่ว่า ชาวอิหร่านเข้ามาส่งเสริมปลุกปั่นขบวนการก่อความไม่สงบในอิรัก โดยมีการทำกันมานานแล้ว และนั่นย่อมหมายถึงว่า จริงๆ แล้ว อิหร่านนั่นเอง คือผู้สนับสนุนให้ฆ่าทหารอเมริกัน”
    ที่ปรึกษาของเพนตากอนยืนยันว่า ไม่กี่เดือนมานี้ มีชาวอิหร่านหลายร้อยที่ถูกทหารอเมริกันจับมา แต่เขาบอกว่ายอดนี้รวมไปถึงชาวอิหร่านที่ทำงานด้านบรรเทาทุกข์ให้ความช่วยเหลือจำนวนมาก “ซึ่งถูกอุ้มมาและปล่อยไปในช่วงเวลาสั้นๆ” หลังจากนำตัวมาสอบสวนแล้ว

    “เราไม่ได้วางแผนจะทำสงครามกับอิหร่าน” รอเบิร์ต เกตส์ รัฐมนตรีกลาโหมคนใหม่ประกาศเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ แต่ถึงกระนั้น บรรยากาศของการเผชิญหน้าก็ถลำลึกเข้าไปทุกที ตามคำบอกเล่าของเจ้าหน้าที่ในกองทัพและฝ่ายข่าวกรองทั้งในอดีตและปัจจุบัน มีการดำเนินการด้านปฏิบัติการลับในเลบานอนไปพร้อมกับปฏิบัติการลับเพื่อโจมตีอิหร่าน ทีมปฏิบัติการพิเศษและกองทัพอเมริกากำลังเดินหน้าเคลื่อนไหวหนักขึ้นในอิหร่านเพื่อสนับสนุนด้านการข่าว และตามคำของที่ปรึกษาเพนตากอนด้านการก่อการร้ายรวมทั้งอดีตเจ้าหน้าที่ข่าวกรองระดับสูงนายหนึ่ง ทีมปฏิบัติการลับเหล่านั้นยังได้ข้ามพรมแดนอิรักเข้าไปไล่ล่าตามหาฝ่ายปฏิบัติการของอิหร่าน

    ความวิตกของคณะผู้บริหารเรื่องบทบาทของอิหร่านในอิรัก เกิดขึ้นควบคู่ไปกับความตื่นตระหนกที่มีมานานในเรื่องโปรแกรมนิวเคลียร์อิหร่าน ในรายการข่าวของฟ็อกซ์นิวส์ 14 มกราคม เชนีย์ได้กล่าวเตือน ถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ไม่กี่ปีข้างหน้า ที่ว่า “อิหร่านซึ่งมีอาวุธนิวเคลียร์ ยืนคุมแหล่งน้ำมันของโลก สามารถสร้างผลสะเทือนต่อเศรษฐกิจโลก พร้อมที่จะใช้องค์กรก่อการร้าย และ/หรือ อาวุธนิวเคลียร์ของมัน เพื่อข่มขู่คุกคามเพื่อนบ้านไปทั่ว” เขายังกล่าวด้วยว่า “ถ้าคุณไปคุยกับรัฐต่างๆ บริเวณอ่าวเปอร์เซีย ไปคุยกับซาอุดิ หรืออิสราเอล จอร์แดน ทั่วทั้งภูมิภาคกำลังวิตกกังวล......ภัยคุกคามจากอิหร่านกำลังโตวันโตคืน”

    คณะผู้บริหารกำลังตรวจสอบข่าวกรองใหม่ๆ เกี่ยวกับโครงการอาวุธของอิหร่าน เจ้าหน้าที่อเมริกันทั้งอดีตและปัจจุบันบอกว่า ในส่วนของข่าวกรองซึ่งได้มาจากเจ้าหน้าที่อิสราเอลที่ปฏิบัติการอยู่ในอิหร่าน มีข้อกล่าวหาหนึ่งที่ระบุว่า อิหร่านกำลังพัฒนาขีปนาวุธข้ามทวีปชนิดเชื้อเพลิงแข็ง-หลายหัวรบ ระยะยิงไกลถึงยุโรป อย่างไรก็ตาม ความน่าเชื่อถือของข่าวกรองนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่

    ในอดีต ข้อกล่าวหาแบบเดียวกันในเรื่องภัยคุกคามที่ล่อแหลมใกล้ตัวอันเนื่องมาจากอาวุธทำลายล้างสูง ถูกนำมาใช้เป็นบทโหมโรงเพื่อการโจมตีอิรักมาแล้ว ด้วยเหตุนี้สมาชิกจำนวนมากของสภาคองเกรสจึงเกิดความคลางแคลงใจตามมาเมื่อได้ยินได้ฟังข้อกล่าวหาเกี่ยวกับอิหร่าน 14 กุมภาพันธ์ ในวุฒิสภา ฮิลลารี คลินตัน พูดว่า “เราทั้งหมดต่างก็ได้เรียนรู้บทเรียนจากกรณีความขัดแย้งกับอิรักมาแล้ว เราควรจะนำมันมาใช้กับข้อกล่าวหาใดๆ ก็ตามเกี่ยวกับอิหร่าน เหตุผลก็เพราะว่า...ท่านประธานาธิบดีที่เคารพ...สิ่งที่เราได้ยินอยู่ตอนนี้มันฟังคุ้นหูเหลือเกิน เราจึงจำเป็นต้องระแวดระวัง ว่าเราจะไม่ตัดสินใจบนข้อมูลข่าวกรองที่ผิดพลาดอีกครั้งหนึ่ง”

    แต่ถึงกระนั้น เพนตากอนก็ยังคงคร่ำเคร่งจริงจังกับการวางแผนโจมตีอิหร่านซึ่งอาจจะมีขึ้น กระบวนการทั้งหมดเริ่มต้นตั้งแต่ปีที่แล้วภายใต้คำสั่งของประธานาธิบดี และระยะหลัง ไม่กี่เดือนมานี้ ตามที่อดีตเจ้าหน้าที่ข่าวกรองคนหนึ่งบอกกับผม มีการจัดตั้งทีมงานพิเศษขึ้นมาในสำนักงานของ หัวหน้าเสนาธิการทหารร่วม (Joint Chiefs of Staff) เพื่อทำหน้าที่วางแผนเตรียมพร้อมสำหรับการบอมบ์อิหร่าน ‘แผนเผชิญเหตุ’ (contingency plan)ที่ว่านี้จะเป็นแผนพร้อมปฏิบัติการทันทีภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากประธานาธิบดีมีคำสั่งออกมา

    เดือนที่แล้ว ที่ปรึกษากองทัพอากาศด้านการโจมตีเป้าหมายและที่ปรึกษาเพนตากอนด้านการก่อการร้าย ได้ให้ข้อมูลกับผมว่า ทีมวางแผนอิหร่านได้รับมอบหมายงานชิ้นใหม่เพิ่มเติม นั่นก็คือ ให้กำหนดเป้าหมายในอิหร่านที่เกี่ยวข้องกับการซัพพลายอาวุธยุทโธปกรณ์หรือให้ความช่วยเหลือกลุ่มต่างๆ ที่ต่อสู้อยู่ในอิรักไปด้วย ก่อนหน้านี้ภารกิจหลักของทีมงานมุ่งไปที่การทำลายโรงงานนิวเคลียร์และการเปลี่ยนระบอบปกครองหรือ regime change ที่อาจจะเกิดขึ้นตามมา

    ขณะนี้ เรือบรรรทุกเครื่องบินทั้งสองกลุ่ม – ไอเซนฮาวร์กับสเตนนิส – ต่างก็พร้อมหน้าอยู่ในทะเลอาหรับแล้ว ตามแผนที่ร่างขึ้นมาแผนหนึ่ง เรือทั้งสองจะหมดหน้าที่ช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิ แต่ก็มีความวิตกภายในกองทัพว่า มันอาจจะต้องอยู่ต่อไปแม้จะมีเรือบรรทุกเครื่องบินกลุ่มใหม่เข้ามารับหน้าที่ต่อก็ตาม ทั้งนี้จากคำบอกเล่าของแหล่งข่าวหลายฝ่าย - - อดีตเจ้าหน้าที่ข่าวกรองระดับสูงคนหนึ่งกล่าวว่า แผนเตรียมพร้อมฉบับปัจจุบันนี้ เป็นแผนที่พร้อมสำหรับคำสั่งโจมตีถ้าจะมีขึ้นในฤดูใบไม้ผลิ อย่างไรก็ตาม เขาเสริมว่า เจ้าหน้าที่ระดับสูงในสำนักงานของหัวหน้าเสนาธิการทหารร่วมต่างก็หวังใจว่า ทำเนียบขาวจะไม่ “โง่พอที่จะทำมัน ทั้งๆ ที่อิรักยังเป็นแบบนี้ และทั้งๆ ที่มันจะ สร้างปัญหาตามมาอีกมากให้กับรีพับลิกันในปี 2008”
    เกมของเจ้าชายบันดาร์
    ความพยายามของคณะผู้บริหารที่จะลดอำนาจอิหร่านในตะวันออกกลาง ต้องเกี่ยวข้องขึ้นอยู่กับซาอุดิอาระเบีย และ เจ้าชายบันดาร์ ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงของซาอุดิอาระเบียอย่างมาก ก่อนหน้านี้ บันดาร์เป็นทูตซาอุดิประจำอเมริกามา 22 ปี จนถึงปี 2005 หลังจากนั้นเขายังคงรักษาสายสัมพันธ์กับประธานาธิบดีบุชและรองประธานาธิบดีเชนีย์อยู่ ในตำแหน่งใหม่ เขายังคงพบปะเป็นส่วนตัวกับผู้นำอเมริกาทั้งสอง ไม่นานนี้ เจ้าหน้าที่ระดับสูงในทำเนียบขาวได้เดินทางไปซาอุดิอาระเบียหลายครั้ง และบางครั้งการเดินทางของพวกเขาก็ไม่เป็นที่เปิดเผย

    พฤศจิกายนปีที่แล้ว เชนีย์เดินทางไปซาอุดิอาระเบีย เพื่อพบกับ กษัตริย์อับดุลลาห์ และเจ้าชายบันดาร์ ไทมส์รายงานว่า กษัตริย์ซาอุดิเตือนเชนีย์ว่า ซาอุดิอาระเบียจะหนุนหลังซุนนีในอิรักซึ่งเป็นซุนนีเหมือนกัน ถ้าอเมริกาถอนทหารจากอิรัก เจ้าหน้าที่ข่าวกรองยุโรปบอกผมว่า นอกจากนี้ การพบปะกันยังมีประเด็นเกี่ยวกับความหวาดหวั่นของซาอุดิในเรื่อง ‘กระแสที่พุ่งขึ้นของชีอะต์’ รวมอยู่ด้วย และเพื่อเป็นการรับมือกับกระแสนี้ “ซาอุดิกำลังจะเริ่มใช้อำนาจต้านทานของมันแล้ว – อำนาจเงิน”

    ในราชวงศ์ซาอุดซึ่งเต็มไปด้วยการแข่งขันชิงดีชิงเด่น หลายปีที่ผ่านมา บันดาร์ได้สร้างฐานอำนาจมาจากความใกล้ชิดสนิมสนมกับอเมริกาเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญยิ่งต่อราชวงศ์ซาอุดิ หลังบันดาร์พ้นจากตำแหน่งทูต ผู้ที่มารับหน้าที่ต่อจากเขาคือ เจ้าชายเทอร์กี อัล-ไฟซาล (Prince Turki al-Faisal) หลังจากนั้น 18 เดือน เทอร์กีลาออกและถูกแทนที่ด้วย อเดล เอ. อัล-จูเบียร์ (Adel A. al-Jubeir) ข้าราชการที่เป็นคนของบันดาร์ อดีตทูตซาอุดิคนหนึ่งบอกผมว่า ระหว่างที่เทอร์กีเป็นทูตอยู่ เขาไปรู้มาว่ามีการพบปะกันเป็นส่วนตัวเกิดขึ้นหลายครั้งระหว่างบันดาร์กับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของทำเนียบขาว ซึ่งรวมไปถึงเชนีย์ และ เอลเลียต เอเบริมส์ ด้วย “ผมเดาว่าเทอร์กีคงไม่แฮ็ปปี้กับสิ่งที่เกิดขึ้น” อดีตทูตกล่าว แต่--เขาเสริมว่า “ผมไม่คิดว่าบันดาร์อยากจะทิ้งตำแหน่งนี้ไปไหน” และแม้ว่าเทอร์กีจะไม่ชอบบันดาร์ แหล่งข่าวชาวซาอุดิคนนี้ยืนยันว่า ทั้งสองต่างก็มีเป้าหมายเดียวกันในเรื่องการรับมือกับอำนาจชีอะต์ในตะวันออกกลาง

    การแตกแยกแบ่งฝ่ายระหว่างซุนนี-ชีอะต์ มีที่มาย้อนหลังไปได้ถึงศตวรรษที่ 7 จากประเด็นขัดแย้งที่ว่า...ใครควรจะเป็นผู้นำโลกมุสลิมสืบต่อจากศาสดาโมฮัมเหม็ด ในอาณาจักรปกครองของอิสลามสมัยกลางรวมทั้งในจักรวรรดิออตโตมัน ซุนนีคือฝ่ายที่อยู่ศูนย์กลางของอำนาจและมีอิทธิพลครอบงำโลกมุสลิมมากกว่า ขณะที่ชีอะต์ถูกมองว่าเป็นเพียงพวกที่อยู่วงนอกมาแต่ไหนแต่ไร ปัจจุบัน มีการประเมินว่ามุสลิมทั่วโลกเป็นชาวซุนนีถึง 90 เปอร์เซ็นต์ แต่ถึงกระนั้น ชีอะต์ก็นับเป็นประชากรส่วนใหญ่ของอิหร่าน อิรัก และบาห์เรน รวมทั้งเป็นมุสลิมกลุ่มใหญ่ที่สุดในเลบานอนด้วย และความหนาแน่นของชุมชนชีอะต์ในภูมิภาคที่อุดมไปด้วยน้ำมันและมีความผันผวนทางการเมืองสูงเช่นนี้เอง ก็ได้ทำให้ผู้นำฝ่ายซุนนีและตะวันตกต้องเป็นกังวลเรื่องการขึ้นมามีอำนาจของดินแดน ‘จันทร์เสี้ยวชีอะต์’ (Shiite Crescent) ไปตามๆ กัน - โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่อิหร่านกำลังมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์เพิ่มขึ้น

    “ซาอุดิยังคงมองโลกแบบหลงอยู่ในยุคอาณาจักรอ็อตโตมัน ช่วงที่ซุนนีเป็นใหญ่ และชีอะต์อยู่ในสถานะต่ำสุด” เฟดเดอริก ฮอฟ (Frederic Hof ) นายทหารผู้เชี่ยวชาญด้านตะวันออกกลางที่เกษียณแล้วกล่าวกับผม ถ้าบันดาร์ได้รับการยอมรับว่า เป็นผู้ที่ทำให้นโยบายของอเมริกาหันมาตอบสนองความต้องการของซาอุดิมากขึ้น ฮอฟกล่าวว่า มันจะช่วยส่งเสริมสถานภาพของเขาภายในราชวงศ์อย่างมาก

    ซาอุดิไม่เพียงกลัวว่าอิหร่านจะทำลายดุลอำนาจเดิมที่มีอยู่ในภูมิภาค แต่พวกเขายังห่วงเรื่องดุลอำนาจในประเทศของตนด้วย ในซาอุดิอาระเบีย มีชนกลุ่มน้อยชีอะต์รวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนพอสมควรอยู่ในจังหวัดทางด้านตะวันออก พื้นที่ที่มีบ่อน้ำมันหลักๆ ตั้งอยู่และสถานการณ์ระหว่างสองนิกายมีความตึงเครียดสูง ราชวงศ์ของซาอุดิเชื่อว่า มีหน่วยปฏิบัติการลับของอิหร่านร่วมเคลื่อนไหวกับชาวชีอะต์ในท้องถิ่น โดยอยู่เบื้องหลังการก่อการร้ายหลายครั้งในซาอุดิอาระเบีย วาลี นัสเซอร์ ให้ความเห็นว่า “วันนี้ กองทัพเดียวที่สามารถจำกัดควบคุมอิหร่านได้” เขาหมายถึงกองทัพอิรักเดิม “ก็ถูกอเมริกาทำลายไปแล้ว ตอนนี้เราก็เลยต้องรับมือเองกับอิหร่าน - ชาติที่มีความสามารถที่จะมีอาวุธนิวเคลียร์และมีกองทัพประจำการอยู่ 450,000 นาย” (ซาอุดิอาระเบีย มี 75,000)

    นัสเซอร์กล่าวต่อไปว่า “ซาอุดิมีวิธีการใช้เงินที่ได้ผลมหาศาล พวกนี้มีความสัมพันธ์ลึกซึ้งกับทาง Muslim Brotherhood และพวก ซาลาฟี” หมายถึงพวกซุนนีลัทธิสุดขั้วที่มองว่าชีอะต์เป็นพวกละทิ้งหลักการหรือนอกรีต “ครั้งที่แล้วที่อิหร่านทำท่าว่าเป็นภัยคุกคาม ซาอุดิสามารถระดมกำลังพวกหัวรุนแรงซุนนีชนิดที่สยองขวัญสุดๆ ให้ออกมาเคลื่อนไหวแทนมันได้ แต่ก็นั่นแหละ เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณเอาคนพวกนี้ออกมาจากกล่องแล้วล่ะก็....คุณไม่มีทางจับมันยัดกลับที่เดิมได้หรอก”

    และนี่เอง ผลที่ตามมาก็คือ เหล่าผู้นำในราชวงศ์ซาอุดิ จึงตกที่นั่งเป็นทั้งสปอนเซอร์และเป็นเป้าโจมตีของพวกซุนนีลัทธิสุดขั้วไปพร้อมๆ กัน อันเนื่องมาจากในอีกด้านหนึ่งนั้น คนเหล่านั้นก็ต่อต้านการคอรัปชันและความเสื่อมทรามทางศีลธรรมของบรรดาเจ้าชายทั้งหลายไปด้วย ปัจจุบัน ราชวงศ์ของซาอุดิกำลังเล่นเกมพนันที่ว่า ตราบเท่าที่พวกเขายังให้การอุปถัมภ์ค้ำจุนโรงเรียนศาสนา องค์กรการกุศล หรือสถาบันบำเพ็ญประโยชน์ต่างๆ ที่มีโยงใยกับพวกสุดขั้วเหล่านี้แล้ว พวกเขาจะไม่ถูกโค่นล้ม และนโยบายใหม่ของผู้บริหารในวอชิงตันก็เป็นสิ่งที่ขึ้นอยู่กับเกมพนันต่อรองที่ว่านี้อย่างมาก

    นัสเซอร์ได้หยิบยกสถานการณ์ปัจจุบันไปเปรียบเทียบกับยุคที่อัล-ไคดาถือกำเนิดขึ้นมาเป็นครั้งแรก ในยุค 1980 จนถึงต้นยุค1990 รัฐบาลซาอุดิได้เสนอตัวให้ความช่วยเหลือซีไอเออเมริกาในการทำสงครามตัวแทนกับสหภาพโซเวียตในอัฟกานิสถาน ยุคนั้น ชายหนุ่มชาวซาอุดิมากมายลายร้อยถูกส่งไปยังบริเวณพรมแดนปากีสถาน เพื่อจัดตั้งโรงเรียนสอนศาสนา ค่ายฝึกนักรบ และปัจจัยพื้นฐานต่างๆ สำหรับผลิตคนเข้าร่วมขบวนการ นักรบหรือผู้ปฏิบัติการที่ได้รับเงินอุดหนุนจากซาอุดิในตอนนั้น - ซึ่งก็เหมือนกับตอนนี้ – ก็คือพวกซาลาฟีสุดขั้วนั่นแหละ และแน่นอนว่าในจำนวนนี้ย่อมรวมไปถึง โอซามา บิน ลาเดน และพรรคพวกของเขา ผู้ก่อตั้งขบวนการ อัล-ไคดา ขึ้นในปี 1988

    ครั้งนี้ ที่ปรึกษารัฐบาลอเมริกาเล่าว่า บันดาร์และผู้นำซาอุดิรายอื่นๆ ได้ยืนยันให้ความมั่นใจกับทำเนียบขาวว่า “พวกเขาจะระแวดระวังจับตาพวกหัวรุนแรงทั้งหลายไว้อย่างดี ความหมายที่พวกซาอุดิต้องการจะสื่อถึงอเมริกาก็คือ ‘เราเป็นคนสร้างขบวนการนี้ขึ้นมา เราคุมมันได้‘ และแน่นอน...มันไม่ใช่ว่าเราไม่อยากเห็นพวกซาลาฟีโยนระเบิดนะ แต่ที่สำคัญคือ พวกนั้นจะโยนใส่ ใคร ต่างหากล่ะ - เฮซบอลเลาะห์ มุกตาดาร์ อัล-ซาเดอร์ อิหร่าน รวมไปถึงซีเรีย ถ้ามันยังไม่เลิกช่วยเหลือเฮซบอลเลาะห์กับอิหร่าน”

    อดีตทูตชาวซาอุดิกล่าวว่า สำหรับมุมมองของคนในประเทศ การเข้าร่วมกับอเมริกาเพื่อท้าทายอำนาจของอิหร่าน ก่อให้เกิดความเสี่ยงตามมา นั่นก็คือ ตอนนี้บันดาร์ถูกโลกอาหรับมองว่าเขาใกล้ชิดกับคณะผู้บริหารบุชมากเกินไปแล้ว “เรากำลังเจอฝันร้ายสองอย่าง” อดีตทูตกล่าว “ทั้งเรื่องที่อิหร่านจะมีอาวุธนิวเคลียร์ และเรื่องที่อเมริกาจะโจมตีอิหร่าน ผมอยากให้อิสราเอลเป็นฝ่ายบอมบ์อิหร่านมากกว่า เราจะได้โทษอิสราเอลได้ เพราะถ้าอเมริกาเป็นคนทำเมื่อไหร่ พวกเราจะถูกตำหนิไปด้วย”
    §

    ปีที่แล้ว ซาอุดิ อิสราเอล และคณะผู้บริหารบุช ได้พัฒนาข้อตกลง-ทำความเข้าใจร่วมกันอย่างไม่เป็นทางการขึ้นมาชุดหนึ่งเกี่ยวกับทิศทางของยุทธศาสตร์ใหม่ ที่ปรึกษาของรัฐบาลอเมริกาบอกผมว่า ข้อตกลงดังกล่าวมีองค์ประกอบหลักๆ อย่างน้อย 4 ข้อ

    ข้อแรก อิสราเอลสามารถวางใจได้ว่า ปัญหาด้านความมั่นคงของมันสำคัญเหนือสิ่งอื่นใด วอชิงตัน ซาอุดิ ตลอดจนรัฐซุนนีอื่นๆ ต่างก็มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับอิหร่านไม่ต่างกัน

    ข้อสอง เกี่ยวกับการเมืองในปาเลสไตน์ ซาอุดิจะเคลื่อนไหวผลักดันให้ฮามาส-ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากอิหร่าน ลดท่าทีต่อต้านอิสราเอลลง และเริ่มการเจรจาจริงจังเพื่อจัดตั้งรัฐบาลใหม่ร่วมกับฟาตาห์ (กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซาอุดิประสบผลสำเร็จในการเข้าไปช่วยเหลือเจรจาจนนำไปสู่ข้อตกลงของทั้งสองฝ่ายที่เมืองเมกกะ อย่างไรก็ตาม ทั้งอิสราเอลและอเมริกากลับแสดงความไม่พอใจในเรื่องรายละเอียดเงื่อนไขบางอย่าง)

    ข้อสาม คณะผู้บริหารบุช จะจับมือทำงานร่วมกับรัฐซุนนีโดยตรง เพื่อแก้ไขสถานการณ์ที่ชีอะต์กำลังทะยานขึ้นมามีอำนาจในภูมิภาค

    ข้อสี่ รัฐบาลซาอุดิ โดยความเห็นชอบของอเมริกา จะสนับสนุนเงินทุนและความช่วยเหลือด้านส่งกำลังบำรุงแก่ฝ่ายตรงข้ามของประธานาธิบดี บาชาร์ อัล-อาสัด แห่งซีเรีย เพื่อที่จะทำให้รัฐบาลของเขาอ่อนแอลง อิสราเอลเชื่อว่าการกดดันเช่นนี้จะทำให้ผู้นำซีเรียมีท่าทีที่เปิดกว้างสำหรับการเจรจาต่อรองมากขึ้น ซีเรียคือท่อส่งอาวุธหลักของเฮซบอลเลาะห์ และรัฐบาลซาอุดิยังไม่พอใจซีเรียเรื่องการลอบสังหารอดีตนายกฯ เลบานอน ราฟิก ฮาริรี ในเบรุตปี 2005 ที่ผ่านมาด้วย เพราะพวกเขาเชื่อว่ารัฐบาลของอาสัดเป็นผู้รับผิดชอบความตายครั้งนี้ ฮาริรีเป็นเศรษฐีพันล้านชาวซุนนีและมีความสัมพันธ์แนบแน่นกับเหล่าผู้นำซาอุดิ รวมทั้งกับเจ้าชายบันดาร์

    แพทริก คลอว์ซัน พูดถึงความร่วมมือระหว่างซาอุดิและทำเนียบขาวครั้งนี้ว่าเป็นเสมือนพัฒนาการใหม่ที่มีความหมายสำคัญอย่างมาก “ซาอุดิมองว่า ถ้าพวกเขาอยากให้คณะผู้บริหารบุชออฟเฟอร์ในสิ่งที่ดีกว่าเดิม-ใจกว้างกว่าเดิมสำหรับชาวปาเลสไตน์ พวกเขาก็ต้องโน้มน้าวให้รัฐอาหรับทั้งหลายพร้อมจะให้สิ่งที่ดีกว่าสำหรับอิสราเอลด้วย” คลอว์ซันกล่าวเสริมว่า แนวทางใหม่ที่ว่านี้ “แสดงถึงความพยายามและความเจนจัดทางความคิดอย่างแท้จริง รวมทั้งความรวดเร็วทันสถานการณ์แบบที่เราไม่ได้เห็นบ่อยนักในคณะผู้บริหารชุดนี้อีกด้วย ใครมีความเสี่ยงมากกว่ากัน—เราหรือซาอุดิ? ในช่วงเวลาที่สถานะของอเมริกาในตะวันออกกลางตกต่ำถึงขีดสุด ซาอุดิกลับให้การยอมรับสนับสนุนเราเต็มที่ แบบนี้...คงต้องนับว่าเป็นโชคดีของเรา”

    ที่ปรึกษาเพนตากอนกลับมองต่างมุม เขากล่าวว่า คณะผู้บริหารหันไปหาบันดาร์ในฐานะ “การล่าถอย-กลับไปหาที่พึ่งสุดท้าย” เพราะมันค้นพบแล้วว่า ความล้มเหลวในอิรักจะทำให้ตะวันออกกลาง “พร้อมสำหรับคนที่แข็งแรงกว่ามาคว้าเอาไป”

    จิฮัดดิสต์ในเลบานอน
    ถัดจากอิหร่าน จุดสนใจร่วมกันของอเมริกา-ซาอุดิอยู่ที่เลบานอน โดยซาอุดิได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วยอย่างลึกซึ้งในเรื่องที่คณะผู้บริหารบุชได้ทุ่มเทความพยายามเพื่อสนับสนุนรัฐบาลเลบานอนมาตลอด นายกรัฐมนตรี ฟูอัด ซินยอรา กำลังดิ้นรนอย่างหนักเพื่อจะอยู่ในอำนาจต่อไป ท่ามกลางการต่อต้านที่ยืดเยื้อยาวนานนำโดยเฮซบอลเลาะห์ องค์กรของฝ่ายชีอะต์ที่มี ฮัสซัน นัสราลลาห์ เป็นผู้นำ เฮซบอลเลาะห์เป็นองค์กรที่มีโครงสร้างพื้นฐานครอบคลุมกว้างขวาง มีนักรบที่ประจำการพร้อมรบประมาณ 2,000-3,000 คน ร่วมกับสมาชิกแบบสมทบเพิ่มเติมอีกหลายพัน

    ฤดูร้อนปีที่แล้ว หลังสงครามกับอิสราเอลจบลง ประธานาธิบดีบุชได้ประกาศให้ความช่วยเหลือหนึ่งพันล้านดอลลาร์แก่รัฐบาลซินยอรา มกราคมปีนี้ ในการประชุมที่ปารีสซึ่งมีอเมริกาเป็นโต้โผ มีการระดมเงินบริจาคจากประเทศต่างๆ เพื่อช่วยรัฐบาลเลบานอนเพิ่มเติมได้อีกเกือบ 8 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งจำนวนนี้รวมถึงกว่าหนึ่งพันล้านจากรัฐบาลซาอุดิไว้ด้วย ความช่วยเหลือในส่วนที่อเมริกาสัญญาไว้ปีที่แล้ว ได้ครอบคลุมความช่วยเหลือทางด้านการทหารถึง 200 ล้าน และด้านความมั่นคงภายในประเทศอีก 40 ล้าน

    ไม่เพียงเท่านี้ ตามคำบอกเล่าของอดีตเจ้าหน้าที่ข่าวกรองระดับสูงและที่ปรึกษาของรัฐบาลอเมริกา คณะผู้บริหารบุชยังให้ความช่วยเหลือในทางลับกับรัฐบาลซินยอราด้วยเช่นกัน

    “ตอนนี้เราอยู่ระหว่างโครงการเสริมเขี้ยวเล็บซุนนีเพื่อให้ต้านกับชีอะต์ เรากำลังอัดฉีดเงินออกไป...ให้มากที่สุดเท่าที่เราจะทำได้” อดีตเจ้าหน้าที่ฝ่ายข่าวกรองกล่าว แต่ปัญหาก็คือว่า เงินพวกนั้น “มักจะไหลไปเข้ากระเป๋าใครต่อใคร...เลยเถิดเกินกว่าที่เราคิดเอาไว้” เขาเล่าต่อ “และตามขั้นตอนที่ว่ามานี้ จึงเท่ากับว่าเรากำลังให้ทุนพวกเดนมนุษย์กลุ่มใหญ่อยู่ พวกที่อาจจะก่อเรื่องเลวร้ายชนิดที่เราไม่ได้ตั้งใจตามมาได้ เพราะเราไม่มีปัญญาจะไปกำหนดกฎเกณฑ์ว่า...คนที่เซ็นชื่อรับเงินเราไปจะต้องเป็นคนที่เราพอใจเท่านั้นนะ มันเป็นโครงการที่เสี่ยงสุดยอดไปเลย”

    เจ้าหน้าที่อเมริกา ยุโรป อาหรับที่ผมคุยด้วย เล่าให้ฟังว่า รัฐบาลซินยอราและพันธมิตรของเขาต่างก็รู้เห็นเป็นใจ ปล่อยให้ความช่วยเหลือบางส่วนตกไปถึงมือของกลุ่มซุนนีหัวรุนแรงกลุ่มใหม่ๆ ที่กำลังผุดขึ้นมาแถบเลบานอนตอนเหนือ เทือกเขาบีกา และรอบๆ ค่ายผู้อพยพปาเลสไตน์ทางตอนใต้ กลุ่มเหล่านี้ ถึงแม้จะมีขนาดเล็ก แต่ก็ถูกมองว่าเป็นแนวป้องกันเฮซบอลเลาะห์ที่ดี และช่วยไม่ได้ ที่อุดมคติความเชื่อของคนเหล่านี้จะเป็นแบบเดียวกับอัล-ไคดา

    อลัสแตร์ ครูก (Alastair Crooke) ผู้ซึ่งผ่านงานในหน่วยข่าวกรองของอังกฤษ MI6 มาเกือบ 30 ปี และปัจจุบันทำงานให้กับ Conflicts Forum - think tank ในเบรุต บอกผมว่า “รัฐบาลเลบานอนเปิดพื้นที่ให้คนพวกนี้เข้ามาร่วมด้วย ซึ่งเป็นเรื่องอันตรายมาก” ครูกเล่าให้ฟังว่า กลุ่มซุนนีสุดขั้ว Fatah al-Islam ได้แยกตัวมาจากองค์กรแม่ของมันที่โปร-ซีเรีย ชื่อ Fatah al-Intifada ในค่ายผู้อพยพ Nahr al-Bared ทางตอนเหนือของเลบานอน สมาชิกตอนที่แยกมามีจำนวนไม่ถึง 200 คน “ผมเพิ่งได้รับแจ้งว่า ภายใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา คนกลุ่มนี้เพิ่งจะได้รับข้อเสนอให้ความช่วยเหลือด้านเงินทองและอาวุธ จากคนที่แสดงตัวว่าเป็นผู้แทนมาจากรัฐบาลเลบานอน – คาดได้ว่าจะถูกใช้ให้ต่อสู้กับเฮซบอลเลาะห์” เขากล่าว

    Asbat al-Ansar คือกลุ่มใหญ่สุด ตั้งมั่นอยู่ในค่ายผู้อพยพปาเลสไตน์ Ain al-Hilweh กลุ่มนี้ได้รับอาวุธและความช่วยเหลืออื่นๆ จากกองกำลังความมั่นคงภายในประเทศของเลบานอนและกลุ่มติดอาวุธที่มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับรัฐบาลซินยอรา

    ในปี 2005 ตามรายงานของ International Crisis Group(ICG) ซาอัด ฮาริรี ผู้นำเสียงข้างมากในรัฐสภาเลบานอน และลูกชายของราฟิก ฮาริรี ซึ่งได้รับมรดกถึงสี่พันล้านดอลลาร์หลังการเสียชีวิตของพ่อ ได้จ่ายเงิน 48,000 ดอลลาร์ เพื่อประกันตัวสมาชิกสี่คนของกลุ่มต่อสู้เพื่ออิสลามจากดินนิยา (Dinniyeh) คนพวกนั้นถูกจับจากกรณีที่พยายามจะจัดตั้งรัฐอิสลามขนาดเล็กขึ้นมาทางตอนเหนือของเลบานอน รายงานชิ้นนี้ระบุว่า สมาชิกจำนวนมากของกลุ่มต่อต้านนี้ “ได้รับการฝึกในค่ายของอัล-ไคดา ในอัฟกานิสถานมาแล้ว”

    ตามรายงานของไอซีจี ต่อมา ซาอัด ฮาริรี ได้ใช้อำนาจของเสียงข้างมากในสภาที่เขาคุมอยู่ เพื่อโหวตนิรโทษกรรมให้กับกลุ่มอิสลามมิสต์จากดินนิยา 22 คน รวมทั้งผู้ต้องสงสัยว่าวางระเบิดสถานทูตอิตาลีและยูเครนในปีก่อนหน้านั้นอีก 7 คน (เขายังผลักดันการอภัยโทษให้กับ ซามีร์ จาจา ผู้นำกลุ่มติดอาวุธคริสเตียนมารอนไนท์ ซึ่งถูกศาลตัดสินว่ามีความผิดจากการก่อเหตุฆาตกรรมศัตรูทางการเมืองสี่ครั้ง ซึ่งรวมไปถึงการลอบสังหารนายกรัฐมนตรี ราชิด คารามี ในปี 1987 ด้วย) ซาอัด ฮาริรี พูดถึงการเคลื่อนไหวเรื่องนิรโทษกรรมของเขาให้นักข่าวฟังว่า มันเป็นเรื่องของมนุษยธรรม

    ในการสัมภาษณ์ในเบรุต เจ้าหน้าที่ระดับสูงในรัฐบาลซินยอรา ยอมรับว่ามีพวกจิฮัดดิสต์ซุนนีปฏิบัติการอยู่ในเลบานอนจริง “เรามีทัศนคติแบบเสรีนิยมซึ่งเปิดโอกาสให้พวกที่มีแนวทางแบบอัล-ไคดาอยู่ที่นี่ได้” เขากล่าว พร้อมกับแสดงความเป็นห่วงว่า ด้วยเหตุนี้ อิหร่านหรือซีเรียอาจจะทำให้เลบานอนกลายเป็น “สมรภูมิของความขัดแย้ง” ขึ้นมา

    คณะผู้บริหารบุชได้วาดภาพว่า การให้ความช่วยเหลือรัฐบาลซินยอรา คือตัวอย่างที่แสดงถึงความเชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตยและความปรารถนาของบุชที่จะปกป้องเลบานอนไม่ให้อำนาจอื่นใดเข้ามาแทรกแซงได้ ในเดือนธันวาคม เฮซบอลเลาะห์เป็นผู้นำการประท้วงรัฐบาลบนท้องถนนในเบรุต จอห์น โบลตัน ซึ่งตอนนั้นยังเป็นทูตอเมริกาประจำยูเอ็น เรียกเหตุการณ์ประท้วงนั้นว่า เป็น “ส่วนหนึ่งของรัฐประหารที่ได้แรงบันดาลใจจากอิหร่าน-ซีเรีย”

    เลสลี เฮช. เกลบ์ (Leslie H. Gelb) ประธานของ Council on Foreign Relations คนที่แล้ว กล่าวว่า นโยบายของอเมริกาไม่ได้ส่งเสริมประชาธิปไตยของเลบานอนมากไปกว่า “ส่งเสริมกิจการความมั่นคงของอเมริกาเอง ความจริงก็คือว่า มันจะเป็นอันตรายร้ายแรงสำหรับเรามาก ถ้าเฮซบอลเลาะห์มีอำนาจปกครองเลบานอน” เกลบ์กล่าวว่า การล้มลงของรัฐบาลซินยอราจะถูกมองว่า “เป็นสัญญาณของการเสื่อมถอยของอเมริกา และการพุ่งขึ้นของภัยคุกคามการก่อการร้ายในภูมิภาคตะวันออกกลาง เพราะฉะนั้นการเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่เป็นการจัดสรรอำนาจทางการเมืองใหม่ จะต้องได้รับการต่อต้านจากอเมริกา – และเราก็มีเหตุผลอันสมควรที่จะช่วยพรรคการเมืองที่ไม่ใช่ชีอะต์...ต่อต้านการเปลี่ยนแปลงนี้ เราควรจะพูดเรื่องนี้แบบเปิดเผยกับสาธารณชนไปเลย แทนที่จะมาพูดถึงประชาธิปไตย”
    §

    มกราคมต้นปีนี้ หลังเหตุการณ์รุนแรงปะทุขึ้นในท้องถนนเบรุตระหว่างฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลซินยอรากับฝ่ายสนับสนุนเฮซบอลเลาะห์ เจ้าชายบันดาร์บินไปเตหะรานเพื่อถกเรื่องการเมืองในเลบานอน และเพื่อพบกับ อาลี ลาริจานี ตัวแทนเจรจาปัญหานิวเคลียร์ของอิหร่าน ตามคำบอกเล่าของทูตตะวันออกกลางคนหนึ่ง ภารกิจของบันดาร์ – ซึ่งทูตท่านนี้บอกว่าได้รับการรับรองจากทำเนียบขาวแล้ว – ยังมีอีกเป้าหมายหนึ่ง คือ “เพื่อสร้างปัญหาระหว่างอิหร่านกับซีเรียขึ้นมา” โดยก่อนหน้านี้มีความตึงเครียดของสองฝ่ายเกิดขึ้นแล้ว…จากกรณีที่ซีเรียมีการพูดคุยกับอิสราเอล เป้าหมายของซาอุดิจึงเป็นไปเพื่อกระตุ้นความไม่ลงรอยอันนี้ อย่างไรก็ตาม ทูตกล่าวว่า “มันไม่เวิร์ค ซีเรียกับอิหร่านไม่มีท่าทีว่าจะหักหลังกัน วิธีการของบันดาร์ไม่มีแนวโน้มว่าจะประสบความสำเร็จเอาเลย”

    วาลิด จัมบลัต ผู้นำชาวดรูซในเลบานอนและเป็นผู้สนับสนุนซินยอราอย่างแข็งขัน ได้โจมตีนัสราลลาห์ว่าเป็นเอเจนต์ของซีเรีย และคอยตอกย้ำกับนักข่าวต่างประเทศบ่อยๆ ว่า เฮซบอลเลาะห์อยู่ภายใต้การควบคุมของผู้นำศาสนาในอิหร่านโดยตรง ในการสนทนากับผมธันวาคมที่แล้ว เขาวาดภาพประธานาธิบดีซีเรีย บาชาร์ อาสัด ว่าเป็น “ฆาตกรต่อเนื่อง” เขาพูดถึงนัสราลลาห์ว่า “ผิดศีลธรรม” ในการลอบสังหารราฟิก ฮาริรี และฆาตกรรม ปิแอร์ จามายเยล รัฐมนตรีในรัฐบาลของซินยอรา เพราะนัสราลลาห์ให้การสนับสนุนซีเรีย

    จัมบลัตบอกผมว่า ฤดูใบไม้ร่วงที่แล้ว เขาได้พบกับรองประธานาธิบดีเชนีย์ในวอชิงตัน เพื่อพูดคุยหารือกันในประเด็นต่างๆ และหนึ่งในนั้นก็คือ ความเป็นไปได้ที่จะบั่นทอนอำนาจของอาสัด เขาและคณะของเขาได้ให้คำแนะนำเชนีย์ว่า ถ้าอเมริกาคิดจะเคลื่อนไหวต่อต้านซีเรียแล้วละก็ สมาชิกของ Syrian Muslim Brotherhood จะเป็น “กลุ่มที่ต้องคุยด้วย” จัมบลัตกล่าว
    Muslim Brotherhood แห่งซีเรีย คือสาขาของ Muslim Brotherhood ขบวนการซุนนีลัทธิสุดขั้วที่ก่อตั้งขึ้นในอียิปต์ตั้งแต่ปี 1928 ในซีเรีย องค์กรนี้ได้เกี่ยวข้องกับการใช้ความรุนแรงต่อต้านระบอบปกครอง ฮาเฟซ อาสัด พ่อของบาชาร์ มากว่าทศวรรษ ในปี 1982 บราเธอร์ฮูดยึดเมืองฮามา (Hama) ได้ อาสัดเข้าถล่มเมืองนั้นเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ สังหารประชาชนไปประมาณ 6,000 – 20,000 คน การเป็นสมาชิกบราเธอร์ฮูดสามารถถูกลงโทษถึงตายในซีเรีย รวมทั้งมันยังจัดเป็นศัตรูที่ได้รับการประกาศชัดแจ้งของอเมริกาและอิสราเอลด้วยเช่นกัน แต่ถึงกระนั้น จัมบลัตกล่าวว่า “เราบอกเชนีย์ว่า ตัวเชื่อมสำคัญระหว่างอิหร่านกับเลบานอนคือซีเรีย - - และถ้าจะเล่นงานอิหร่านหมดสภาพ คุณจำเป็นต้องเปิดประตูให้กับฝ่ายต่อต้านซีเรียที่มีฤทธิ์เดชจริงๆ”

    มีหลักฐานว่ายุทธศาสตร์ปรับใหม่ของคณะผู้บริหารบุช ได้หยิบยื่นผลประโยชน์ให้กับบราเธอร์ฮูดแล้ว
    Syrian National Salvation Front คือกลุ่มพันธมิตรกู้ชาติที่รวมตัวกันเพื่อต่อต้านรัฐบาลซีเรีย โดยสมาชิกหลักได้แก่กลุ่มบราเธอร์ฮูด และกลุ่มที่อยู่ภายใต้การนำของ อับดุล ฮาลิม คัดดัม (Abdul Halim Khaddam) อดีตรองประธานาธิบดีซีเรียที่หันหลังให้รัฐบาลมาเข้ากับฝ่ายตรงข้ามในปี 2005 อดีตเจ้าหน้าที่ซีไอเอระดับสูงบอกผมว่า “อเมริกาให้ความช่วยเหลือทั้งทางการเงินและทางการเมือง ซาอุดิรับบทนำเรื่องให้ทุน แต่อเมริกาก็มีเอี่ยวด้วย” เขาเล่าว่าคัดดัม ซึ่งตอนนี้อาศัยอยู่ในปารีส รับเงินจากซาอุดิอาระเบีย โดยมีทำเนียบขาวรู้เห็นเป็นใจด้วย (ในปี 2005 สื่อมวลชนรายงานว่า มีการพบปะกันระหว่างตัวแทนของกลุ่มฟรอนท์กับเจ้าหน้าที่จากสภาความมั่นคงแห่งชาติของอเมริกา) อดีตเจ้าหน้าที่ทำเนียบขาวบอกผมว่า ซาอุดิเป็นฝ่ายจัดหาเอกสารเดินทางให้กับสมาชิกของฟรอนท์

    จัมบลัตบอกว่า เขาเข้าใจว่า ประเด็นนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนสำหรับทำเนียบขาว “ผมบอกเชนีย์ว่า บางส่วนในโลกอาหรับ โดยเฉพาะหลักๆ คือชาวอียิปต์ คงจะไม่ชอบแน่ ถ้าอเมริกาช่วยเหลือบราเธอร์ฮูด” ในอียิปต์ ผู้นำซุนนีสายกลางได้ต่อสู้กับ Egyptian Muslim Brotherhood มาหลายทศวรรษ

    “แต่ถ้าคุณไม่จัดการกับซีเรีย เรากับเฮซบอลเลาะห์ก็คงต้องเผชิญหน้ากันต่อ-ในศึกแบบยืดเยื้อ และกับการต่อสู้แบบนั้น…เราอาจจะไม่ชนะ” o

    วันบันทึก: March 14th 2007
    ผู้วิจารณ์ อุทัยวรรณ เจริญวัย
    คะแนน: [​IMG][​IMG][​IMG]
    ข้อมูลเชื่อมโยงที่เกี่ยวข้อง: ประชาไท


    http://www.signal.co.th/modules.php?name=Reviews&rop=showcontent&id=39
     
  16. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791

    วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 16 ฉบับที่ 5953​

    ศึกนิวเคลียร์เดินหน้า มหาอำนาจฟันซ้ำอิหร่าน


    คอลัมน์ ข่าวเด็ด7วัน



    [​IMG] ความเคลื่อนไหวเรื่องนิวเคลียร์กลับมาเข้มข้นอีกครั้งในสัปดาห์นี้

    ทั้งในฝั่งอิหร่าน ที่ถูกชาติมหาอำนาจเพิ่มมาตรการลงโทษ เพราะไม่ยอมยุติโครงการนิวเคลียร์

    และฝั่งเกาหลีเหนือ ที่เปิดบ้านต้อนรับนายโมฮัมเหม็ด เอลบาราดี หัวหน้าสำนักงานพลังงานปรมาณูสากล หรือไอเออีเอ เป็นครั้งแรก นับตั้งแต่นายเอลบาราดีเข้ามาดำรงตำแหน่งนี้เมื่อปี 2545

    หัวหน้าไอเออีเอ เปิดแถลงข่าวหลังการเดินทางเยือน 2 วันด้วยท่าทีทางบวก แต่เตือนว่า หนทางปลดอาวุธนิวเคลียร์เกาหลีเหนือยังอยู่อีกไกล ไม่อาจสำเร็จในช่วงข้ามคืน

    สัปดาห์เดียวกันนี้ ยังมีประเด็นสำคัญที่รัฐบาลมหาอำนาจอังกฤษ เสนอแผนสร้างระบบต่อต้านอาวุธนิวเคลียร์ขึ้นใหม่ จนถูกประท้วงอย่างกว้างขวางในอังกฤษ

    นายโทนี่ แบลร์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษกล่าวว่า ถึงเวลาต้องตัดสินใจเปลี่ยนเรือดำน้ำพลังนิวเคลียร์ลำใหม่ที่ใช้ในการบรรทุกขีปนาวุธ เพื่อความมั่นคงของประเทศในสถานการณ์โลกที่ไม่มั่นคง

    ด้านฝ่ายต่อต้านเห็นว่า การเดินหน้าของอังกฤษในเรื่องนี้ จะยิ่งส่งผลให้การแก้ปัญหานิวเคลียร์อิหร่านและเกาหลีเหนือยากยิ่งไปกว่าเก่า

    ข้อประท้วงเดิมของอิหร่านที่ไม่ยอมยุตินิวเคลียร์ก็คือ ทำไมชาติตะวันตกจึงครอบครองนิวเคลียร์ได้ แต่อิหร่านทำไม่ได้ ทั้งที่ต้องการใช้นิวเคลียร์เป็นพลังงาน <TABLE style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px dotted; BORDER-TOP: #ffffff 1px dotted; BORDER-LEFT: #ffffff 1px dotted; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px dotted" cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=1><TBODY><TR bgColor=#ffe9ff><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    ส่วนข้อวิตกกังวลของชาติตะวันตกก็คือ ยิ่งอิหร่านพัฒนาโครงการนิวเคลียร์มากขึ้นเท่าใด ก็จะมีศักยภาพที่จะผลิตอาวุธนิวเคลียร์ได้ง่ายในอนาคต

    มหาอำนาจในคณะมนตรีความมั่นคงถาวรแห่งสหประชาชาติ คืออังกฤษ สหรัฐ จีน ฝรั่งเศส และรัสเซีย บวกกับเยอรมนีเห็นชอบในมติเพิ่มบทลงโทษต่ออิหร่านในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ห้ามอิหร่านส่งออกอาวุธ ห้ามชาติใดขายหรือส่งผ่านอาวุธรถถัง ระบบปืนกลใหญ่ เครื่องบินรบ เฮลิคอปเตอร์โจมตี เรืรบและขีปนาวุธให้แก่อิหร่าน เป็นต้น

    ประธานาธิบดีมาห์มุด อาห์มาดิเนจัด ผู้นำอิหร่าน ตอบโต้ว่ามติของคณะมนตรีความมั่นคงขาดความชอบธรรมและไม่มีอำนาจทางกฎหมาย

    เหตุการณ์ในช่วงเวลาเดียวกันที่ไม่บังเอิญก็คือ การที่รัสเซียยกเลิกกำหนดเส้นตายที่จะส่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ให้โรงงานใกล้เมืองบูเชอร์ มูลค่า 1,000 ล้านดอลลาร์

    ความเคลื่อนไหวของรัสเซียสื่อความหมายว่า รัสเซียไม่ต้องการเผชิญหน้ากับมหาอำนาจตะวันตก และไม่ต้องการติดเขี้ยวเล็บด้านนิวเคลียร์ให้อิหร่าน

    อีกเหตุผลหนึ่งที่นักวิเคราะห์คาดการณ์กันก็คือ สถานที่ดังกล่าวเป็นเป้าหมายการโจมตีทางอากาศของสหรัฐและอิสราเอล

    นอกเหนือความขัดแย้งทางการเมืองแล้ว อิหร่านยังตั้งข้อสังเกตการเปิดศึกด้านวัฒนธรรมของอเมริกาที่มีต่ออิหร่านด้วย <TABLE style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px dotted; BORDER-TOP: #ffffff 1px dotted; BORDER-LEFT: #ffffff 1px dotted; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px dotted" cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=2><TBODY><TR bgColor=#ffffe8><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    เมื่อทั้งสื่อมวลชน รัฐบาล และผู้ใช้อินเตอร์เน็ตชาวอิหร่าน ต่างโจมตีภาพยนตร์ฮอลลีวู้ดเรื่อง 300 เจตนาสร้างภาพอิหร่านให้เป็นวายร้าย

    หนังทำเงินอันดับ 1 ในอเมริกาเรื่องนี้หยิบเกร็ดประวัติศาสตร์สงครามเกร็กโค-เปอร์เซีย ระหว่างนักรบสปาร์ตัน 300 นายที่กล้าต่อกรกับอาณาจักรเปอร์เซียมาสร้าง

    โดยนำเสนอภาพฝ่ายเปอร์เซีย บรรพบุรุษของชาวอิหร่านเป็นพวกกระหายเลือด สังหารผู้คนอย่างบ้าคลั่ง โหดร้าย ไร้ความเมตตาปรานี

    จาวัด ชามักดารี ที่ปรึกษาด้านวัฒนธรรมของประธานาธิบดีมาห์มุด อาห์มาดิเนจัด กล่าวว่า ภาพยนตร์ 300 เป็นสงครามจิตวิทยาของชาวอเมริกันต่ออิหร่าน เจ้าหน้าที่วัฒนธรรมอเมริกันคิดว่าจะได้ประโยชน์จากการบิดเบือนประวัติศาสตร์อิหร่านและหยามเหยียดอารยธรรมของอิหร่าน

    โดยพยายามตอกย้ำว่าอิหร่านเป็นอักษะแห่งความชั่วร้าย เหมือนที่ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช เคยสร้างภาพให้รัฐบาลอิหร่านในยุคปัจจุบันไว้



    ด้านความเคลื่อนไหวในอังกฤษต่อประเด็นนิวเคลียร์ คือการสมาชิกสภาอังกฤษลงมติเห็นชอบด้วยเสียงข้างมากให้ดำเนินการก่อสร้างระบบต่อต้านอาวุธนิวเคลียร์ที่สร้างโดยสหรัฐอเมริกา

    เสียงเห็นชอบ 409 เสียง ส่วนหนึ่งกลับได้มาจากพรรคอนุรักษนิยม ฝ่ายค้าน ส่วนเสียงคัดค้าน 161 เสียงกลับจากสมาชิกพรรคแรงงาน ฝ่ายรัฐบาลถึง 95 เสียง

    เป็นสถานการณ์การเมืองที่ทำให้นายโทนี่ แบลร์ นายกรัฐมนตรีต้องอับอาย ช่วงที่ใกล้สละเก้าอี้นายกรัฐมนตรีให้นายกอร์ดอน บราวน์

    ฝ่ายต่อต้านอาวุธยังโต้แย้งข้อมูลของรัฐบาลที่ว่าจะใช้งบประมาณราว 15,000-20,000 ล้านปอนด์เพื่อเปลี่ยนระบบใหม่ ทั้งที่มีค่าบำรุงรักษาและอื่นๆ อีกมากที่อาจทำให้งบพุ่งไปถึง 1 แสนล้านปอนด์ ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าวน่าจะไปใช้จ่ายในด้านอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์กับประชาชน ดีกว่ามาสะสมอาวุธเหมือนในช่วงสงครามเย็น

    สำหรับเกาหลีเหนือ แม้สถานการณ์จะดูคลี่คลายลงไป แต่ยังไม่พ้นจากภาวะตึงเครียด

    สัปดาห์นี้ รัฐบาลเกาหลีเหนือเตือนว่า การซ้อมรบระหว่างสหรัฐกับเกาเหลีใต้ที่จะมีทหาร 29,000 นายในวันที่ 25 มี.ค.นี้ จะถือเป็นการแสดงความก้าวร้าวเชิงสงครามกับเกาหลีเหนือ

    แม้สหรัฐและเกาหลีใต้จะอ้างว่า ซ้อมเพื่อป้องกันตนเอง แต่เกาหลีเหนือเห็นว่า ยั่วยุ และไม่ใช่การปรับปรุงความสัมพันธ์ที่ควรจะมีขึ้น

    เหตุผลที่ต่างอ้างกันนี้จึงพร้อมเป็นข้อขัดแย้งในอนาคตอันใกล้

    http://www.norsorpor.com/go2.php?t=...g=03for20180350&day=2007/03/18&sectionid=0306
     
  17. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชน วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10591

    <TD align="left" valign="top">
    อิหร่านร้องไอเอ็มเอฟสอบมะกัน



    เอกสารของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ที่มีการเผยแพร่เมื่อวันที่ 8 มีนาคม เผยให้เห็นว่า ในการหารือเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่อิหร่านได้ร้องขอให้ไอเอ็มเอฟเข้ามาตรวจสอบกรณีที่สหรัฐอเมริกาคว่ำบาตรธนาคารซาเดรัตที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐบาลอิหร่านและใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศ เพื่อดูว่ามาตรการดังกล่าวของสหรัฐได้ละเมิดต่อกฎระเบียบว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของไอเอ็มเอฟหรือไม่

    โดยอิหร่านได้แสดงความกังวลใน 2 ประเด็น คือ นับตั้งแต่สหรัฐตัดขาดการทำธุรกรรมกับธนาคารซาเดรัต ทำให้ทางธนาคารไม่สามารถออก "เลตเตอร์ ออฟ เครดิต" ที่เป็นเงินสกุลดอลลาร์ได้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบเงินฝากของทางธนาคาร นอกจากนี้ มาตรการดังกล่าวยังส่งผลให้ธนาคารในยุโรปและเอเชียที่ดำเนินธุรกรรมกับสหรัฐ ได้ตัดขาดการทำธุรกรรมในเงินสกุลอื่นๆ กับธนาคารซาดารัตไปด้วย

    อย่างไรก็ตาม ไอเอ็มเอฟยังไม่ได้เปิดเผยถึงผลการตรวจสอบใดๆ ขณะที่การคว่ำบาตรธนาคารเซดารัตของสหรัฐมีขึ้นหลังจากสหรัฐกล่าวหาอิหร่านว่าให้การสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายโดยผ่านธนาคารของรัฐบาลและบริษัทชั้นนำของประเทศ

    วันเดียวกัน มีรายงานว่า จีนและรัสเซีย สองชาติสมาชิกถาวรในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ได้คัดค้านในเกือบทุกข้อเสนอของชาติตะวันตกที่เสนอให้คณะมนตรีความมั่นคงยูเอ็นออกมติคว่ำบาตรใหม่ที่รุนแรงต่ออิหร่านเพื่อให้ยุติโครงการนิวเคลียร์ ในระหว่างการประชุมเอกอัครราชทูตของชาติสมาชิกถาวรคณะมนตรีความมั่นคงยูเอ็นและเยอรมนี ทั้งนี้ เพื่อปลดล็อคการหารือในร่างมติดังกล่าวที่ยังไม่มีความคืบหน้า เจ้าหน้าที่อาวุโสด้านนโยบายต่างประเทศของสหรัฐ อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี รัสเซีย และจีน จึงได้ประชุมหารือกันอีกรอบหนึ่งทางโทรศัพท์ แต่ยังไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดใดๆ ออกมา (รอยเตอร์)
     
  18. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    อิอิ เอามาโพสต์แบบจุใจ เผื่อใครสนใจอ่าน ไม่สนใจก็อย่าว่ากันเด้อ ทำรกนิดหน่อย
     
  19. Rattanaporn

    Rattanaporn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +13,348
    [​IMG]

    แล้วนี่ใึครอ่ะ...คุณFalkman......!!!...
     
  20. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    หุหุ (b-oneeye)
     

แชร์หน้านี้

Loading...