ศีล5ไม่บริสุทธิ์

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย อุทยัพ, 18 สิงหาคม 2011.

  1. อุทยัพ

    อุทยัพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    3,564
    ค่าพลัง:
    +18,112
    กราบสวัสดี แม่ชี ณัฐทิพย์ ขอรับ

    คือกระผมอยากทราบว่า ถ้าศีล5ของกระผมนั้นไม่บริสุทธิ์ดี โดยเฉพาะศีลข้อ3และข้อ4(ที่ว่าศีลข้อ3ไม่บริสุทธิ์กล่าวคือ ผมมักช่วยตัวเองอยู่บ่อยๆน่ะครับ และศีลข้อ4มักจะเผลอพูดคำหยาบอยู่เรื่อยๆขอรับและบางทีอาจมีคำโกหกเล็ดลอดออกมาบ้าง) ที่มักจะด่างพร้อยอยู่เรื่อย ผมสามารถเดินสมาธิให้ถึงซึ่งฌานได้หรือไม่ขอรับ และควรจะแก้ไขอย่างไรดีขอรับ

    ขอบพระคุณขอรับ
     
  2. พลรัฐ

    พลรัฐ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    610
    ค่าพลัง:
    +1,111
    ศีลไม่ผิด..ผิดธรรม(ช่วยตัวเอง) โกหก ดูเจตนาทำให้กระทบมีผลต่อผู้อื่นหรือไม่

    ขณะเวลาตั้งใจทำความดี(ศีลไม่บกพร่อง)..มีเวลาคิดทำผิดศีล?

    หากต้องการให้ศีลทรงตัว คือทรงศีลตลอดเวลา ต้องตั้งเจตนาเสมอๆแล้วทำตามนั้น..ทรงได้ตลอดเวลาเมื่อไรไม่ต้องระวัง...เป็นปรกติ

    ศรัทธา วิริยะ ประกอบไปด้วยปัญญา ...จึงดีได้
     
  3. อุทยัพ

    อุทยัพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    3,564
    ค่าพลัง:
    +18,112
    แล้วอย่างกรณีนี้ศีลข้อ3จะด่างพร้อยหรือพร่องบ้างหรือไม่ขอรับ
     
  4. ผู้หาทาง

    ผู้หาทาง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +6
    การผิดศีลข้อ3 ประพฤติผิดในกาม

    คือ การผิดลูก ผิดเมีย คนยังไม่มีคู่ พ่อแม่ผู้ปกครองเป็นเจ้าของดูแลอยู่ ถือว่าผิด

    ส่วนคนมีคู่เป็นของตัวเอง หรือผู้ดูแล เจ้าของอนุญาติให้ ถือว่าไม่ผิด

    ฆารวาส ช่วยตัวเอง ไม่ได้ผิดศีลข้อนี้ แต่ควรเจริญอสุภะกัมฐานให้มาก ถ้าเป็นภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส (ที่จริงผู้ชายคนปรกติ เขาไม่ถามคำถามแบบนี้กับแม่ชีกันหรอก)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กันยายน 2011
  5. เทพกามาวจร

    เทพกามาวจร สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    23
    ค่าพลัง:
    +3
    เสริมนิดนะครับ

    ข้อ 3 เต็มๆเลยนะ

    ทั้งนี้ทั้งนั้น เราท่านทั้งหลาย ลองอ่านดูว่า ศีลข้อ 3 นั่น แท้ทีร่จริงแล้ว มันลึกแค่ไหน ท่านจะได้ประกอบการพิจารณากัน

    อคมนิยวัตถุหรืออคมนิยฐาน" คือ วัตถุอันไม่ควรเข้าไปเกี่ยวข้อง ๒o ประเภท (ในที่นี้หมายเอา หญิงหรือชายที่ไม่ควรเกี่ยวข้องและเสพเมถุนธรรมด้วย) มีดังนี้

    อคมนิยวัตถุ ๒o ประกอบด้วยหญิงหรือชายที่

    ๑) มีมารดาปกครอง เพราะบิดาตายและ/หรือแยกจากกันไป
    ๒) มีบิดาปกครอง เพราะมารดาตายและ/หรือแยกจากกันไป
    ๓) อยู่ในปกครองของทั้งบิดาและมารดา
    ๔) มีพี่สาวหรือน้องสาว ดูแลรักษา
    ๕) มีพี่ชายหรือน้องชาย ดูแลรักษา
    ๖) มีญาติเป็นผู้ปกครอง
    ๗) มีบุคคลในวงศ์ตระกูลหรือเชื้อชาติเดียวกันเป็นผู้ปกครองดูแล อาทิ คนที่ไปอยู่ต่างประเทศซึ่งต้องอยู่ในความดูแลของสถานฑูต
    ๘) มีหัวหน้าเป็นผู้ปกครอง อาทิ อยู่ในเพศพรหมจรรย์ แล้วมีหัวหน้าสำนัก/เจ้าอาวาสเป็นผู้ดูแลรักษา
    ๙) ผู้มีอำนาจจองตัวไว้
    ๑o) มีผู้หมายมั่นไว้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ หรือมีคู่หมั้นแล้ว
    ๑๑) เป็นผู้ถูกผู้อื่นซื้อหรือถูกไถ่ตัวไว้แล้ว โดยหญิงหรือชายผู้ถูกซื้อ/ไถ่ตัวนั้น ยินยอมให้อีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ครอบครอง
    ๑๒) เป็นผู้สมัครใจไปอยู่เป็นสามีภรรยากับผู้อื่นอยู่ก่อนแล้ว
    ๑๓) เป็นฝ่ายยินยอมเป็นสามีภรรยาของผู้อื่น ด้วยปรารถนาทรัพย์ศฤงคาร
    ๑๔) เป็นฝ่ายยินยอมเป็นสามีภรรยาของผู้อื่น ด้วยปรารถนาเครื่องนุ่งห่ม
    ๑๕) แต่งงาน (โดยผ่านการประกอบพิธีแล้ว)
    ๑๖) เป็นสามีภรรยาของผู้ที่ให้ความช่วยเหลือให้พ้นจากความยากลำบาก
    ๑๗) เป็นเชลยของผู้อื่น และตกไปเป็นภรรยา/สามีของผู้เป็นเจ้าของเชลยนั้น
    ๑๘) เป็นลูกจ้าง และตกเป็นภรรยา/สามีของนายจ้าง
    ๑๙) เป็นทาส และตกเป็นภรรยา/สามีของเจ้าของทาส
    ๒o) เป็นภรรยา/สามีชั่วคราวของผู้ว่าจ้าง

    จา กอคมนิยวัตถุดังกล่าวมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอยู่ว่า บุคคลประเภทที่ ๑-๘ หากยังมิได้เป็นภรรยา/สามีของผู้ใด ตนเองย่อมมีสิทธิในร่างกายของตน หากยินยอมมอบกายให้เป็นภรรยา/สามีแก่ผู้ใด ไม่ถือเป็นการก้าวล่วงกรรมบถ แต่ทั้งนี้อาจมีโทษถูกทางโลกตำหนิติเตียน (ที่เรียกกันเป็นภาษาพระว่า "โลกวัชชะ") ให้เป็นที่อับอายและนำมาซึ่งความโทมนัส คับแค้นใจมาสู่ตน ทำให้จิตเศร้าหมองไม่ผ่องใส เมื่อละโลกนี้ไปแล้วย่อมเข้าสู่กำเนิดแห่งจตุรบายภูมิทั้ง ๔ มีอบาย (กำเนิดแห่งสัตว์เดรัจฉาน) ทุคติ (กำเนิดในเปตติวิสยภูมิ) วินิบาต (กำเนิดแห่งอสุรกาย) นรก (กำเนิดในนิรย/นรกภูมิ) เป็นต้น สำหรับผู้ที่เป็นฝ่ายล่วงเกินในบุคคลทั้ง ๘ จำพวกดังกล่าวข้างต้น โดยที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้ยินยอมนั้น ถือเป็นการก้าวล่วงกรรมบถทั้งสิ้น

    สำหรับ ชายหรือหญิงซึ่งเป็นบุคคลในประเภทที่ ๙-๒o ถือว่าเป็นผู้มีภรรยาและสามีแล้ว หากนอกใจคู่ครองของตนแม้เพียงชั่วครั้งชั่วคราว (แม้ในสัตว์เดรัจฉานก็ให้ล่วงประเวณีไม่ได้ ดังตัวอย่างของพระนางมัลลิกาเทวี อัครมเหสีของพระเจ้าปเสนทิโกศล ซึ่งได้ล่วงกรรมบถข้อนี้กับสุนัขเพศผู้ในห้องน้ำ เมื่อทำกาละแล้วได้ไปบังเกิดใน "อเวจีมหานรก" เป็นเวลา ๗ วันในเมืองมนุษย์ โดยกุศลกรรมที่พระนางได้ทรงกระทำบำเพ็ญไว้อย่างมากมายเมื่อครั้งเป็นมนุษย์ ยังมิอาจทัดทานได้) อีกทั้งมีจิตกำหนัดยินดีและยินยอมให้ผู้อื่นล่วงเกินด้วยแล้ว ไม่ว่ากรณีใดๆ ก็ตาม เป็นอันได้ล่วงกาเมสุมิจฉาจารทั้งสิ้น ในกรณีที่เป็นหญิงนครโสเภณี/หญิงงามเมืองนั้น เมื่อมีผู้จองตัวโดยชำระเงินไว้ก่อนแล้ว แต่ยังมิได้ประกอบกามกิจให้สำเร็จลง และในระหว่างนั้น หากได้ไปรับสินจ้างและยินยอมให้ผู้อื่นร่วมประเวณีด้วยแล้ว ก็ถือว่าล่วงกาเมสุมิจฉาจารเช่นเดียวกัน

    ว่าด้วยศีลข้อ3

     
  6. เบองซูร์

    เบองซูร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    586
    ค่าพลัง:
    +664
    ศีลที่บริสุทธิ์ = ?
    หลวงพ่อพระราชพรหมยาน ทรงสอนลูกหลาน(ของท่าน) เสมอ การจะเป็นศีลที่ (มีกำลัง + มีคุณภาพ) = ทำให้ได้อริยะมรรค-อริยะผล (ในชาตินี้) = ต้องประกอบด้วยกำลังใจ 3 ชั้น (เสมอ)
    ชั้นที่1. เราต้องไม่กระทำผิดศีล (ด้วยตัวของเราเอง)
    ชั้นที่2. ไม่ยุยง(หรือใช้) ผู้อื่นให้ทำผิดศีล
    ชั้นที่3. ไม่ยินดี เมื่อได้เห็น ได้ยิน ว่าผู้อื่นได้กระทำผิดศีล(แล้ว)
    ถ้ามี ครบทั้ง 3 ชั้น(ตลอดชีวิต) = ศีลของคุณจึงจะ ใส+สะอาด+บริสุทธิ์ = ยิ่งขึ้นทุกๆวัน = เมื่อเจ้าของได้สัมผัสถึงความใส สะอาด ของศีลตนเองได้แล้ว ก็นำกำลังใจส่วนนี้ ไปฝึกมโนมยิทธิ(ได้ง่าย) ร้องขอพลังแสงทิพย์อริยธรรม (ได้ง่าย)
    ถ้าคุณปรารถนาให้ศีลของคุณมีกำลังมีคุณภาพ ได้อย่างรวดเร็ว(ได้ด้วยตัวของคุณเอง) ศึกษาเพิ่มเติ่ม www.sangthip.com
     
  7. เบองซูร์

    เบองซูร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    586
    ค่าพลัง:
    +664
    ใช่ครับ....นั่นคือ กุศลกรรมบถ 40 ที่หลายๆคน แม้พระสงฆ์หลายๆองค์เอง ก็ยังไม่เคยรู้จัก หรือไม่ค่อยจะรู้จักกันแพร่หลายเท่าใดนัก ในเหล่าพุทธศาสนิกชนทั่วไป........
    กุศลกรรมบถ10X4 = กุศลกรรมบถ 40
    กุศลกรรมบถ 10 = กายสุจริต 3+วจีสุจริต 4+ มโนสุจริต 3
    4 (ตัวคูณ)คือ กำลังใจระดับเหนือปกติ 4 ขั้น คือ ไม่ทำ(กาย-วาจา-ใจทุจริต)เอง -ไม่ใช้ จ้าง วานให้คนอื่นทำแทนตนเอง-ไม่ยินดีในการกระทำนั้น-และไม่ส่งเสริมในการกระทำ นั้น
    กายสุจริต 3 = ไม่ฆ่าสัตว์-ไม่ลักทรัพย์-ไม่ประพฤติผิดในทางกาม
    วจีสุจริต = ไม่พูดเท็จ-ไม่พูดคำหยาบ-ไม่พูดเพ้อเจ้อ เหลวไหล-ไม่พูดยุยง ส่อเสียด
    มโนสุจริต = ไม่โลภอยากได้ของเขา-ไม่พยาบาทป้องร้ายเขา-ไม่ประพฤติผิดตามทำนองคลองธรรม(สัมมาทิฏฐิ)....
    กุศลกรรมบถ 40 นี้-คือ ศีลใจข้อเดียวของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต นั่นเอง ซึ่งครอบคลุมศีลทุกๆข้อที่มีอยู่ในโลกนี้ ตั้งแต่ศีล 5-8-10-227-311......
     
  8. tanagrid

    tanagrid สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +0
    ศีล ห้า คือ ไม่ผิดลูกผิดเมียคนอื่น เราไม่ได้ผิดลูกผิดเมียไคร ก็ไม่เป็นไร คับ ไม่ผิด
     
  9. tanagrid

    tanagrid สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +0
    ส่วนข้อ สี่นั้น ถ้าเราไม่มีเจตนาจะทำร้ายเขาด้วยคำพูด หรือพูดไห้เขาเสียหาย ก็ไม่เป็นไรคับ ชึ้นอยู่กับเจตนาคับ
     
  10. เณรนะโม

    เณรนะโม Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    73
    ค่าพลัง:
    +65
    ศีลไม่ใช้ขอห้าม แต่ศีลคือการที่มีเจตนาที่จะงดเว้นจากการทำผิดจากทำนองครองธรรมโดยเฉพาะศีล ๕
    ขอแนะนำแนวทางที่จะปฎิบัติให้เกิดศีล ๕
    กล่าวคือเราต้องมีวินัยกับตนเอง อย่างเราทำปฎิบัติผิดศีลข้อที่ ๓,๔ นำมาเจริญสติ คือ ลำดับแรกเมื่อเกิดเจตนาที่นำไปสู่การทำผิดศีลโดยเฉพาะข้อที่ ๓,๔ กระตุ้นให้มันตามรู้ทันใดเมื่อรู้ทันเจตนาที่จะทำผิดศีลก็จะดับไป แต่ปฎิบัติใหม่ๆเมื่อมันรู้บางครั้งมันก็ไม่ดับแต่ถ้าทำไปเรื่อยๆ จนเห็นตามความเป็นจริงแล้วมันก็จะค่อยคลายไปนะ ค่อยดูไป อย่าเพ่ง อย่ารีบเร่งที่จะรู้ ดูจิตเจตนาอย่างสบายนะ ศีลก็จะเกิดแล้วฌาณจะตามมาเอง
    เจริญพร
     
  11. เนตรอิศวร

    เนตรอิศวร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2011
    โพสต์:
    160
    ค่าพลัง:
    +425
    *****ขออนุญาติท่าน แม่ชี ณัฐทิพย์ เพื่อเข้ามาแลกเปลี่ยนปัญญาในทางธรรม เพื่อแสดงทางไว้แก่ผู้ถามปัญหาแด่ท่านไว้ ณ ที่นี้.
    *****พิจารณาก่อนเถิดท่านผู้เจริญ*****
    .....จากคำกล่าวของท่านนั้นมันเป็นวิสัยของผู้ที่เข้าสู่การบำเพ็ญเพียรที่จักต้องพบเจอทุกคน แต่นั่นก็แล้วแต่กำลังจิตใจของแต่ละบุคคลจะก้าวข้ามพ้นไปได้ ซึ่งบางคนก็สามารถพ้นได้ด้วยดี แต่บางคนนั้นก็สามารถผ่านไปได้ไม่ได้ด้วยดี(คือมีการกระทำผิดบ้าง แต่ก็สามารถพยายามผ่านพ้นไปได้ในที่สุด)
    ****อันเรานั้นขอแสดงการพิจารณาธรรมไว้ดังนี้.
    .....อันผู้ที่เข้ามาสู่การศึกษาและปฎิบัติธรรมนั้น เกิดขึ้นตามบุญวาสนาของเขาผู้นั้น เมื่อบุญวาสนาของเขามาถึงในยามเด็ก เขานั้นย่อมได้เข้าสู่ทางธรรมในยามเด็ก .....เมื่อบุญวาสนาของเขานั้นมาถึงในยามหนุ่มสาว เขานั้นย่อมได้เข้าสู่ในทางธรรมในยามหนุ่มสาว .....เมื่อบุญวาสนาเขามาถึงในยามชรา เขานั่นก็ย่อมได้เข้าสู่ทางธรรมในยามชรา....หรือแม้แต่ผู้ไม่มีบุญวาสนากับธรรมเลยเขานั้นก็ไม่สามารถได้เข้าสู่ทางธรรมได้ในชาตินี้. *****ฉะนั้นผู้ที่เข้ามาสู่ทางธรรมนี้ย่อมมีวัยที่แตกต่างกันบ้างและเหมือนกันบ้าง ด้วยเหตุนี้เขาย่อมมีความแตกต่างกันตามธรรมชาติในสังสารวัฎร.....กล่าวคือยามอยู่ในวัยเด็กก็ย่อมเป็นไปในธรรมชาติของเด็ก....ยามหนุ่มสาวก็ย่อมเป็นไปในธรรมชาติของหนุ่มสาว....ยามชราก็ย่อมเป็นไปในธรรมชาติของผู้ที่ชรา คือ.
    *****ในวัยเด็กเป็นวัยที่สนใจใฝ่รู้เมื่อเข้ามาสู่ทางธรรมก็ย่อมจะต้องซุกซนเป็นธรรมดา.
    *****ในวัยหนุ่มสาวเป็นวัยที่เกิดมีฮอร์โมนความต้องการทางเพศเป็นธรรมดา .
    *****ในวัยผู้ชราก็ย่อมหมดฮอร์โมนทางเพศเป็นธรรมดา.
    *****ฉะนั้นท่านผู้เจริญท่านก็จะต้องทำความเข้าใจว่า ท่านนั้นจะต้องมีความอดทนอดกลั่นที่หนักมากกว่าผู้ที่ชราเพราะท่านยังอยู่ในวัยที่ยังพัฒนาตามธรรมชาติ ถึงแม้ว่าท่านจะไม่ช่วยตนเองท่านนั้นก็จะต้องเกิดอาการตามธรรมชาติคือ อาการฝันเปียก หรือแม้แต่หากท่านจะดำรงสติอยู่ได้ แต่สติหากยังไม่ถึงขั้นฌาณที่เป็นสมาธิขั้นสูงที่สามารถกำหนดอารมณ์ได้ ท่านนั้นก็ต้องพบกับความกระวนกระวายใจความขุ่นข้องหมองใจด้วยความต้องการในธรรมชาติเป็นธรรมดา.....ท่านนั้นจะไปเปรียบเทียบกับผู้ี่ที่หมดฮอร์โมนหมดความต้องการทางธรรมชาตินั่นไม่ได้.
    *****ด้วยเหตุนี้เราจึงขอชี้ทางไว้ให้ท่านนั้นพิจารณาดังนี้.
    .....คือ เมื่อหากเกิดอารมณ์แห่งกามราคะจงพยายามมีสติ เมื่อไม่สำเร็จจงหากิจอันควรทำ เมื่อไม่สำเร็จจงสวดมนต์ภาวนา เมื่อไม่สำเร็จจงนั่งภาวนาสมาธิ เมื่อไม่สำเร็จจงเดินจงกรมภาวนา เมื่อในที่สุดหักห้ามใจไม่สำเร็จก็จงช่วยเหลือตนเอง(แต่จงอย่าสมสู่ร่วมกิจกับบุคคลอื่น) เมื่อสำเร็จกิจหมดความรู้สึกอารมณ์ในกามราคะแล้วก็จงมานั่งพิจารณาถึงความน่าเวทนานั้นว่าเป็นอนิจจังความเป็นไปในสัตว์โลก ว่าชีวิตเราเกิดมานั่นก็มีเพียงเท่านี้หาความยึดมั่นถือมั่นไม่ได้ ***แต่วิธีนี้ไม่ใช่ว่าจะทำเป็นนิสัยควรที่จะต้องเร่งฝึกฌานสมาบัติให้เกิดขึ้นโดยเร็ว หากจะดับกามราคะได้ดีและมีผลสมควรที่พิจารณาอสุภะซากศพ ก็จะสามารถพิจารณาของไม่งามในร่างกายของเราได้***

    *****ด้วยอาการอย่างนี้นั้นย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลที่บำเพ็ญศีลทุกคนที่อยู่ในวัยแห่งกามราคะ อันเราขอแสดงทางได้อย่างนี้คือ
    *****หากจำเป็นต้องโทษปราชิกด้วยอดทนฝืนไม่ได้แล้วจงตัดใจให้เหลือเพียงสังฆาทิเสท. กล่าวคือ หากเกิดอารมณ์แห่งกามราคะจนประดุจธาตุไฟแตกไม่มีทางหลีกเลี่ยงแล้ว ก็จงอย่าสมสู่กามราคะเพราะจะต้องโทษปราชิก แต่จงสำเร็จกามมะราคะด้วยตนเองเสียก็จะต้องโทษสังฆาทิเสทซึ่งหากอยู่กรรมก็จะคลายโทษได้แล้วจงพิจารณาตนเองให้มาก แล้วเร่งฝึกสมาธิฌานเพื่อมากำหราบจิตแห่งกามราคะนี้เสีย.

    ******ท่านผู้เจริญที่อ่านมาถึงตรงนี้ ย่อมอาจจะมีจิตคิดว่าสิ่งที่เราแสดงนี้เป็นการก่อให้เกิดอกุศลที่น่าตริเตียน ที่บรรพชิตไม่สมควรทำหรือผู้ที่บำเพ็ญเพียรไม่สมควรทำ......***ก็เป็นจริงอย่างที่ท่านทั้งหลายนั้นกล่าวที่บรรพชิตและผู้บำเพ็ญเพียรไม่สมควรกระทำ ซึ่งผู้ที่มีฌานสมาธิแก่กล้าแล้วก็สามารถที่จะดับกามราคะนั้นได้ แต่สำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มเข้ามาบำเพ็ญย่อมเป็นการยากที่จะหลีกเลี่ยงไปได้ *** ....ฉะนั้นอันเรานั้นขอแสดงการพิจารณาตามองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าดังนี้.

    *****เมื่อครั้งหนึ่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ทรงเปรียบเรื่องแก้วน้ำที่มีน้ำ กับแก้วน้ำที่เทน้ำแล้วคว่ำแก้ว ด้วยพระองค์ทรงแสดงดังนี้ว่า.
    .....***หมู่มนุษย์ที่ยังลุ่มหลงไปด้วยกิเลสยังหลงไหลอยู่ในกามราคะ กิเลสตัณหา เขาเหล่านั้นย่อมไม่มีทางหลุดพ้นจากเวทนาไปได้ จึงเปรียบแก้วที่มีน้ำคอยเติมเต็มอยู่ตลอดเวลาย่อมไม่มีทางแห้่งไปจากน้ำได้.
    .....***ส่วนผู้ที่เข้ามาบำเพ็ญเพียร ไม่ว่าจะเป็นภิกษุ หรืออุบาสก-อุบาสิกา เขาเหล่านี้ย่อมเป็นผู้หวังในมรรคผลนิพาน ย่อมเป็นผู้มีจิตใจหลีกออกจากกิเลสตัณหา กามราคะ เขานั้นย่อมเปรียบประดุจแก้วน้ำที่เคยมีน้ำอยู่เต็มด้วยถูกคว่ำแก้วแล้ว ถึงแม้จะคว่ำแก้วแล้วในช่วงแรกก็ยังมีหยดน้ำเกาะแก้วอยู่บ้าง แต่อีกไม่นานนักหยดน้ำเหล่านั้นก็จะแห้งไปในที่สุด....นั่นก็หมายถึงผู้ที่เข้ามาบำเพ็ญในช่วงแรกๆ ก็ย่อมจะต้องมีอารมณ์แห่งวัฎรของสัตว์เป็นธรรมดา แต่เมื่อถูกฝึกขัดเกลาอบรมจิตด้วยสมาธิและการปฎิบัติในทางธรรม ในไม่ช้ากิเลสตัณหาอารมณ์กามราคะเหล่านั้นย่อมต้องหายไปในที่สุด (หากไม่คิดจะกลับไปใช้ชีวิตในวัฎรแห่งสัตว์เสียก่อน)

    *****จากการบรรยายของเรานี้ ก็เพื่อให้ท่านผู้แสดงความสงสัยนั้นได้คลายสงสัย ว่ามันเป็นไปตามธรรมชาติโดยธรรมที่ผู้บำเพ็ญทุกคนจะต้องประสบพบเจอและพยายามฝึกจิตของตนให้ผ่านพ้นไปได้....ขอเพียงเราทั้งหลายกระทำตนเป็นแก้วที่คว่ำแล้ว ถึงแม้จะมีหยดน้ำเกาะอยู่บ้างในตอนแรก หากเราทั้ังหลายไม่คิดที่จะหงายแก้วเพื่อรองรับน้ำอีก ในที่สุดดวงจิตของเราทั้งหลายก็จะแห้งไปจากอารมณ์แห่งกามกิเลสตัณหานั่นเอง.
    *****หากคำกล่าวใดของเรานั้นทำให้ท่านทั้งหลายขุ่นของหมองใจ ขอให้ท่านทั้งหลายโปรดจงอภัยให้แก่เราด้วยเถิด ขออนุโมทนา มาด้วยประการ ณ ฉะนี้แล.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 สิงหาคม 2012
  12. TPC

    TPC เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    474
    ค่าพลัง:
    +2,435
    ขออนุญาตุ ท่านแม่ชี และเจ้าของกระทู้ด้วยครับ ผมขออธิบายเสริมจากท่านอื่นๆเพิ่มดังนี้

    1เรื่องศีลข้อ3การช่วยตนเองสำเร็จความใคร่ หากดูจากความหมายโดยทั่วไปของศีลข้อ3ห้ามประพฤติผิดในกาม คำว่าประพฤติผิด ในที่นี่ หมายรวมว่า เราไม่ควรประพฤติผิด ทั้งในส่วน ที่เป็น ทางกาย ก็ดี ทางวาจาก็ดี ทางใจก็ดี การกระทำดังกล่าว เป็นการประพฤติผิด ทั้งทางกายและทางใจ ทำไมถึงผิด
    เพราะจิตมีกิเลสยึดติดในรสชาติของการสำเร็จความใคร่ และบังคับให้กายต้องกระทำดังกล่าว การสำเร็จความไคร่ด้วยตนเอง จิตจะสร้างมโภาพหรือไม่ก็ตามแต่เป็นการยึดติดในกาม คือจิตยังข้องแวะอยู่ในกาม ทำให้จิตเศร้าหมองเมื่อเราเจริญสมาธิกรรมฐานวิปัสนาของเราหย่อนยานอ่อนกำลังลง

    2การกล่าวมุสา จะด้วยเจตนาก็ดีไม่เจตนาก็ดี ก็ย่อมผิดศีล จะมีผลกรรมบาบมากน้อยก็ย่อมตกอยู่แก่เราผู้ขาดสติว่ากล่าวทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนมากน้อย เช่นกัน

    ฉนั้นศีล5บริสุทธิ์คืออะไร ให้พิจารณาให้แยบคายด้วยว่า การที่ศีล5จะบริสุทธิ์ ดำรงอยู่ตั้งมั่นดีแล้วนั้น คือจะต้องถึงพร้อมด้วยกาย วาจา และจิตเรา ที่สะอาดบริสุทธิ์หมดจดจากเครื่องเศร้าหมอง ประดุจผู้รักษาสันโดษ แม้นห่างไกลจากผู้คนปลีกอยู่ในที่สงบก็จริงอยู่ แต่หากจิตเขายังติอยู่ในหมู่คณะติดอยู่ในสังคมการคบค้าสมาคม ก็หาใช่ได้ชื่อว่าเป้นผุ็ประพฤติตั้งอยู่ในความสันโดษไม่

    ดังนั้นการรักษาธรรมใดให้ถึงความบริสุทธิ์แล้วย่อมต้องถึงพร้อมด้วยกาย วาจาและจิตโดยแท้จริงครับ กรณีนี้หากท่านยังไม่ถึงพร้อม ก็ยังถือได้ว่ายังเป็นศีลที่ไม่บริสุทธิ์คือยังมีรอยด่างรอยทะลุ ให้ท่านพิจารณาใหม่ นะครับ แต่หากว่ามันเป็นสภาวะของร่างกายก็ปล่อยให้มันฝันเปียกออกมาของมันเอง อย่างนี้ไม่เป็นไรครับ อย่าไปปรุงแต่งตามความยากของร่างกายเราที่ต้องมีเพศสัมพันธ์ ด้วยความเป็นสัตว์ ให้วางจิตมีสติรู้อยู่ในหลักความถูกต้องความดีงาม ย่อมทำให้เรามีปัญญาที่แยบคาย แยกแยะการกระทำต่างๆได้ว่าควรหรือไม่ควรครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 สิงหาคม 2012
  13. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    แนวความเข้าใจและภาคปฏิบัติส่วนตัวของผม ในเรื่อง ศืล สมาธิ ปัญญา ถือว่าเป็นเพียงแค่เล่าสู่กันฟังนะครับ

    ศีล ผมใช้ "ต้นบัญญัติ" (เหตุที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติศีล) เป็นแนวทางในการศึกษา
    มนุษย์ เป็นธรรมชาติของสัตว์ใน กามาวจรภูมิ ผมใช้ คุณสมบัติของกามาวจรภูมิ เป็นแนวในการทำควาามเข้าใจ

    ศีลข้อ 3 กาเม สุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาธิยามิ
    ผมเข้าใจว่า เป็น ความตั้งมั่น ในบทสิกขา ว่าด้วยการไม่ก่อกรรมทำเวร โดยการไม่ประพฤติผิด ในกามาวจรภูมิ

    ส่วน เมถุนธรรม นั้น หากเป็นการก่อกรรมทำเวร ก็ควรจะงด แต่หากไม่เป็นการก่อกรรมทำเวร ก็แล้วแต่ความเข้าใจส่วนบุคคลก็แล้วกัน ตัวอย่างและข้อแตกต่างง่าย ๆ เช่น

    การเล่น เป่ากบ ของเด็ก ๆ หากผู้ใหญ่เอาหนังยาง (กบ) ตัวเก่งของคุณไปยิงทิ้งแบบต่อหน้าต่อตา ผมรับประกันว่า การจองเวรย่อมเกิดขึ้นแน่ ๆ หากคุณเป็นเด็กคนนั้น (ยัวะสุด ๆ เพราะเป็นการปล้นกันชัด ๆ) เปรียบเทียบกับการที่คุณช่วยตนเองนั้น ผมว่าระดับของ เวระมะณี มันต่างกันมาก ดังนั้น ขอให้คุณเข้าใจให้ดี เพื่อมิให้การช่วยตนเองของคุณ มาเป็นนิวรณ์ขวางกั้นการปฏิบัติธรรมของคุณ

    ส่วนความสามารถในการเดินสมาธิให้ถึง ฌาน ได้หรือไม่
    ผมจะคุยกันในเรื่องของการต่อเนื่องระหว่าง ศีล กับ สมาธิ ดังนี้

    สัตว์ในกามาวจรภูมิ อาศัย อายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย (ใจ) ในการอยู่ร่วมกัน หากไม่ต้องการก่อกรรมทำเวร ในกามาวจรภูมิแล้ว ก็ควรสำรวม อายตนะทั้ง 5 นี้เอาไว้ ส่วนการสำรวมที่ได้ผลที่สุดคือการสำรวมที่ ใจ

    เอาละ การสำรวมใจ เป็นภาคปฏิบัติของ ศีล แน่นอน แต่การสำรวมใจ อย่างไรจึงเป็นการควร
    ดังนั้นท่านจึงกล่าวต่อนักปฏิบัติว่า อพรหมะจริยา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาธิยามิ ในศีลข้อที่ 3 อีกนั่นแล
    ผมเข้าใจเอาว่า เป็นการ ไม่ออกนอกลู่นอกทางแห่งความเป็นพรหม นะครับ

    คราวนี้ อะไรคือความเป็นพรหมกันแน่

    เรื่องแรกคือคุณสมบัติของ พรหม ต้องอาศัยอยู่ด้วย ฌานสมาบัติ (1-4) หากจิตตกจากสมาบัตินี้เมื่อใด ก็คือ ตกจากความเป็นพรหมเมื่อนั้น นั่นเอง

    เมื่อจิตยังทรงความเป็น พรหม จนถึง ฌาน 2 แล้ว ก็จะมี ปิติ เป็นเครื่องอยู่โดยธรรมชาติ
    ใครก็ตามที่มี ปิติ เป็นอารมณ์ในขณะนั้น ๆ มักจะยอมผ่อนคลายและให้ความช่วยเหลือผู้อื่น โดยธรรมชาติของอารมณ์ปิติ
    ดังนั้น เมตตา และ กรุณา จึงเป็นธรรมชาติของจิตในระดับนี้
    ส่วนพรหม ในระดับ ฌาน 3 มีสุขเป็นเครื่องอยู่ ดังนั้น มุทิตาจิต จึงเป็นธรรมชาติของจิตในระดับนี้

    ดังนั้น พรหมจริยา เป็นเหตุ ส่วน พรหมวิหาร เป็นผล และยามใดก็ตาม เมื่อใจสามารถสำรวมจนเข้าสู่ อัปปนาสมาธิแล้ว จะสังเกตุได้ว่า เรื่องของความเป็น เพศ หรือความแบ่งแยกระหว่างเพศ ไม่ปรากฏในขณะนั้น ดังนั้น พรหมจึงไม่มีเพศ

    สรุปในจุดนี้คือ การถือศีล จาก กาเมสุมิจฉา เข้าสู่การปฏิบัติ อพรหมะจริยา เป็นการเปลี่ยนจาก การถือ มาเป็น การลงมือ นั่นเอง
    แท้จริงแล้ว ศีล กับ สมาธิ ก็เป็นอันเดียวกันนั่นแล ยามใดที่จิตทรงสัมมาสมาธิ ยามนั้นศีลย่อมบริสุทธ์เอง หากเป็น มิจฉาสมาธิ ก็ย่อมให้ผลตรงกันข้าม

    เมื่อคุยกันเรื่อง ศีล-สมาธิแล้ว ก็น่าจะต่อด้วย สมาธิ-ปัญญา นะครับ เพื่อความสมบูรณ์

    เมื่อการสำรวม กาเมสุมิจฉา ด้วยใจ (ศีล) เกิดขึ้น (เหตุ) จนสามารถตั้งมั่นเป็น (ผล) พรหมะจริยา (สมาธิ) แล้ว ก็มักจะเกี่ยวข้องกับคำว่า อะไรคือ มิจฉา (ผิด) และ สัมมา (ถูก) ของสมาธิ

    เพื่อเป็นการทำให้สั้น ผมจะพูดถึง สัมมาสมาธิ เท่านั้น นะครับ
    สัมมาสติ เป็นเหตุ ได้ผลเป็น สัมมาสมาธิ
    สัมมาสติ คือ ความระลึกชอบ หมายถึง การระลึกชนิดเดียวเท่านั้น ที่ก่อให้เกิดความรู้สึกทั้งตัว อันส่งผลเป็น สัมปชัญญะ (มรรค 8) (ส่วนการระลึกอย่างอื่น ท่านเรียกว่า สัญญา) แล้วอยู่กับสภาวะนั้น จนเป็นสมาธิด้วยตัวของมันเอง

    เมื่อได้ สัมมาสมาธิ แล้ว ก็จะเกิดปัญญารู้ตามความเป็นจริงเกี่ยวกับ กาย (ตน) เวทนา (รู้สึกว่าเป็นตน) จิต (คิดว่าเป็นตน) ธรรมารมณ์ (อารมณ์ตน) เหล่านี้ว่า ไม่ใช่ ตน

    สังเกตุได้ว่า สัมมา สติ เป็นเหตุ ให้เกิด สัมมาสมาธิ ที่เดินได้ตรงกับ มหาสติปัฏฐาน 4 แบบเป็นไปเองโดยธรรมชาติ ส่วนคุณสมบัติของ มหาสติปัฏฐาน 4 นี้ หากบารมีของคุณทำมามาก ก็น่าจะรู้เรื่องได้ภายใน 7 วัน หากทำมาไม่มากแต่ก็ไม่น้อย ก็รู้ได้ภายใน 7 เดือน หากมีแบบนิดหน่อย ก็ภายใน 7 ปี หากไม่เคยมีบารมีเลย อย่างต่ำชาตินี้ได้ อนาคามี

    มหาสติปัฏฐาน 4 นี้ พระพุทธท่านตรัสไว้ว่า เป็น เอกายนะมัคโค ผู้อื่นอาจเข้าใจว่า เป็นทางสายเอก (หลัก) หรือ ทางสายหนี่ง (ในหลายสายเท่านั้น) ส่วนตัวของผมแล้ว ผมเข้าใจว่า เป็นทางสายเดียว (เท่านั้น) แล้วแต่ผู้แปลก็แล้วกัน

    หวังว่าพอเป็นแนวทางในการพิจารณาของคุณได้ ไม่มากก็น้อย
     

แชร์หน้านี้

Loading...