''นิพพาน : อัตตาหรือ อนัตตา ?''

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย toya, 18 กุมภาพันธ์ 2007.

  1. toya

    toya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    186
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,010
    <table class="MsoNormalTable" style="width: 100%;" border="0" cellpadding="0" cellspacing="1" width="100%"> <tbody><tr style=""> <td style="padding: 0cm; width: 100%;" width="100%"> <!--[if gte vml 1]><v:shapetype id="_x0000_t75" coordsize="21600,21600" o:spt="75" o:preferrelative="t" path="m@4@5l@4@11@9@11@9@5xe" filled="f" stroked="f"> <v:stroke joinstyle="miter"/> <v:formulas> <v:f eqn="if lineDrawn pixelLineWidth 0"/> <v:f eqn="sum @0 1 0"/> <v:f eqn="sum 0 0 @1"/> <v:f eqn="prod @2 1 2"/> <v:f eqn="prod @3 21600 pixelWidth"/> <v:f eqn="prod @3 21600 pixelHeight"/> <v:f eqn="sum @0 0 1"/> <v:f eqn="prod @6 1 2"/> <v:f eqn="prod @7 21600 pixelWidth"/> <v:f eqn="sum @8 21600 0"/> <v:f eqn="prod @7 21600 pixelHeight"/> <v:f eqn="sum @10 21600 0"/> </v:formulas> <v:path o:extrusionok="f" gradientshapeok="t" o:connecttype="rect"/> <o:lock v:ext="edit" aspectratio="t"/> </v:shapetype><v:shape id="_x0000_i1025" type="#_x0000_t75" alt="" style='width:168pt; height:33pt'> <v:imagedata src="file:///C:\DOCUME~1\ADMINI~1\LOCALS~1\Temp\msohtml1\01\clip_image001.gif" o:href="http://www.mcu.ac.th/article/images/nivarana/001.gif"/> </v:shape><![endif]--><!--[if !vml]-->
    " นิพพาน" ประกอบด้วยศัพท์ นิ(ออกไป, หมดไป, ไม่มี) +วานะ(พัดไป, ร้อยรัด) รวมเข้าด้วยกันแปลว่า ไม่มีการพัดไป ไม่มีสิ่งร้อยร้อย คำว่า "วานะ" เป็นชื่อเรียกกิเลสตัณหา โดยสรุป นิพพานก็คือไม่มีกิเลสตัณหาที่จะร้อยรัดพัดกระพือให้กระวนกระวายใจ
    คัมภีร์พระไตรปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะกล่าวถึงนิพพาน ๒ ประเภท คือ
    (๑) สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ นิพพานธาตุยังมีเชื้อเหลือ หรือนิพพานที่ยังเกี่ยวข้องกับเบญจขันธ์ ในวงการนักธรรม แปลว่าดับกิเลสยังมีเบญจขันธ์เหลือ"
    (๒) อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ นิพพานธาตุที่ไม่มีเชื้อเหลือ หรือนิพพานที่ไม่เกี่ยวข้องกับเบญจขันธ์ ในวงการนักธรรม แปลว่า "ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ"


    (๑) เป็นการ/เป็นที่/เป็นความดับกิเลส
    นิพพานจะบอกว่าเป็นการดับกิเลสก็ได้ ซึ่งบ่งถึงกิริยาอาการ จะบอกว่าเป็นที่ดับกิเลสก็ได้ ซึ่งบ่งถึงจุดหรือตำแหน่งหรือขั้นหนึ่ง หรือจะบอกว่าเป็นความดับกิเลสก็ได้ ซึ่งบ่งถึงภาวะอย่างหนึ่งที่ไม่มีกิเลสเหลืออยู่ กิเลสที่ว่านี้กล่าวโดยสรุปครอบคลุมทั้งหมดก็คือ สังโยชน์ ๑๐ เป็นพระอรหันต์ก็ละสังโยชน์ได้ทั้งหมด เรียกว่าดับกิเลสได้ทั้งหมด
    (๒) เป็นบรมสุข
    มีพุทธภาษิตบทหนึ่ง ว่า "นิพพานํ ปรมํ สุขํ" แปลว่า นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง ซึ่งไม่มีนัยซับซ้อนอะไร เมื่อดับกิเลสตัณหาได้ทุกอย่างแล้วย่อมได้รับสุขอย่างยิ่งอยู่แล้ว ประเด็นก็คือว่า สุขในนิพพานหรือนิพพานที่ว่าเป็นสุขอย่างยิ่งนั้น หมายถึงสุขที่ไม่แรงกระตุ้นจากปัจจัยภายนอก สุขที่ไม่ต้องหาอะไรมาเสพเสวย สุขที่ปราศจากอามิสสิ่งของ สุขที่พ้นสภาวะโลกๆ ทั่วไป กล่าวโดยภาษาของพระพุทธโฆสาจารย์ก็จะบอกว่า "ความสงบเป็นลักษณะของนิพพาน ความไม่เปลี่ยนสภาพเป็นหน้าที่(กิจ)ของนิพพาน และความไม่มีสัญลักษณ์ (นิมิต) แห่งทุกข์ เป็นภาพของนิพพาน"
    (๓) เป็นกิริยาที่หมายถึงการตายของคนที่หมดกิเลส
    คนที่เป็นอรหันต์ ไม่ว่าจะเป็นพระหรือคฤหัสถ์สิ้นชีวิต เราไม่บอกว่า "ตาย(มรณะ)" แต่บอกว่า "นิพพานหรือปรินิพพาน(นิพพานะ, ปรินิพพานะ)" หมายถึงว่า ตายไปด้วยความเย็นสงบ ไม่มีปัจจัยคือกิเลสเป็นแรงผลักดันหรือฉุดให้ต้องห่วงหน้าพะวงหลัง ที่จะทำให้จิตเศร้าหมองหรือไม่เศร้าหมองอย่างไร
    (๔) เป็นธรรมารมณ์
    คนที่บำเพ็ญธรรมล้วนแต่หวังนิพพานทั้งนั้น ในระดับต้น ๆ ที่ยังมีกิเลสหนาอยู่(ปุถุชน)ก็คิดถึงนิพพาน แต่มีลักษณะ "คิดถึงข้างเดียว" เพราะตัวเองไม่มีคุณสมบัติเพียงพอที่จะไปคิดอย่างนั้น แต่เมื่อกิเลสเบาบาง ละนิวรณ์ ๕ ได้ สภาวะจิตก้าวข้ามโคตรภู(สะพานเชื่อมระหว่างโลกิยะกับโลกุตตระ)บรรลุถึงขั้นโสดาบัน" (แปลว่าผู้ถึงกระแส) นิพพานจะเป็นอารมณ์ของเขาตลอดเวลา จะบอกว่านิพพานอยู่ในห้วงความคิดตลอดเวลาก็ได้


    ในตอนที่ตรัสรู้ใหม่ ก่อนจะเสด็จจาริกแสดงธรรมโปรดสัตว์ พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาทควบคู่ไปกับนิพพาน ตรัสถึงลักษณะธรรมทั้งสองข้อนี้ว่า "ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต ไม่เป็นวิสัยแห่งตรรกะ ละเอียด บัณฑิตจึงจะรู้ได้"
    ถามว่า "นิพพานกับปฏิจจสมุปบาทเกี่ยวข้องกันอย่างไร ?" ความจริง นิพพานกับปฏิจจสมุปบาทเป็นชื่อเรียก "ธรรม" ข้อเดียวกันนั่นเอง ปฏิจจสมุปบาทมี ๒ สาย คือ
    (๑) สายอนุโลม หรือสายสมุทัย หมายถึงสายเกิด เช่น เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ทำให้เกิดสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัยทำให้เกิดวิญญาณ ... เพราะภพเป็นปัจจัยทำให้เกิดชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัยทำให้เกิดชรามรณะ เพราะชรามรณะเป็นปัจจัยทำให้เกิดทุกข์ ... นี่คือสายอนุโลม หรือสมุทัย ซึ่งก็คืออริยสัจข้อ ๒
    (๒) สายปฏิโลม หรือสายนิโรธ หมายถึงสายดับ เช่น เพราะอวิชชาดับทำให้สังขารดับ เพราะสังขารดับทำให้วิญญาณดับ ... เพราะภพดับทำให้ชาติดับ เพราะชาติดับทำให้ชรามรณะดับ เพราะชรามรณะดับทำให้ทุกข์เป็นต้นดับ นี่คือสายปฏิโลม หรือสายนิโรธ ซึ่งก็คืออริยสัจ ข้อ ๓ และ "นิโรธ" ก็เป็นคำที่ใช้เรียก "นิพพาน"
    "ปฏิจจสมุปบาท" เป็นชื่อเรียกกระบวนเกิด-ดับของโลกและชีวิตทั้งหลาย เป็นชื่อเรียกกระแสของปรากฏการณ์ทั้งระบบ ถ้าเป็นสายเกิดหรือสายสมุทัย เรียกว่า "สังสารวัฏ" คือการเวียนว่ายตายเกิดไม่รู้จบสิ้น เรียกในภาษาธรรมเต็ม ๆ ว่า "อนมตัคคสังสาระ" แปลว่า การเวียนว่ายที่หาเบื้องต้นและเบื้องปลายไม่พบ ถ้าเป็นสายดับหรือสายนิโรธ เรียกว่า "นิพพาน"


    คัมภีร์พระพุทธศาสนาโดยเฉพาะของฝ่ายเถรวาท บอกไว้ชัดเจนอยู่แล้วว่านิพพานเป็นอนัตตา" เช่น ในคัมภีร์พระวินัยปิฎก ปริวารบอกว่าสังขารทั้งปวงอันปัจจัยปรุงแต่ง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา นิพพานและบัญญัติเป็นอนัตตา วินิจฉัยมีดังนี้"
    ในคัมภีร์พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรคบอกว่า "สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา" และในคัมภีร์พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาตบอกว่า "สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา" ซึ่ง "ธรรม" ในที่นี้พระอรรถกถาจารย์อธิบายต่อว่าหมายรวมถึงนิพพานด้วย" นอกจากนี้ ยังมีข้อความในคัมภีร์พระไตรปิฎกอีกหลายแห่งทั้งที่ระบุโดยตรงและโดยอ้อมที่มีนัยบอกว่านิพพานเป็นอนัตตา"
    คำว่า "อนัตตา" มีความหมายระดับปรมัตถ์ มีนัยที่ต้องไขความต่ออีก โดยเฉพาะในคัมภีร์ชั้นหลังก็จะบอกว่า "ที่ชื่อว่าเป็นอนัตตา เพราะเกิดขึ้นจากองค์ประกอบต่าง ๆ มาประชุมกัน ไม่มีตัวตนที่เป็นแก่นเป็นแกนอยู่ ไม่มีตัวตนที่คงที่ ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีผู้เสวย ไม่มีอำนาจในตัวเอง บังคับให้เป็นไปในอำนาจไม่ได้ แย้งต่ออัตตา"


    ถามว่า "นิพพานกับสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขาเป็นสิ่ง(อัน/ธรรม)เดียวกันหรือแยกจากกัน ?" นิพพานเป็นเรื่องของมนุษย์ เป็นสิ่งที่มนุษย์ปรารถนา มนุษย์เมื่อบรรลุถึงก็จะได้รับบรมสุข จึงควรพูดให้ชัดว่า "นิพพานเป็นเรื่องของขันธ์ ๕ อยู่ในขันธ์ ๕ เป็นอันเดียวกันกับขันธ์ ๕" พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในธรรมจักรกัปปวัตตนสูตรว่า "โดยสรุป อุปาทานขันธ์ ๕ นั่นแหละคือทุกข์" ทุกข์ก็คือขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ก็คือทุกข์ นิพพานก็คือการดับทุกข์อย่างถาวร ทุกข์ที่ว่านี้ก็คือขันธ์ ๕ นั่นแหละ ในกาลต่อมา นาคารชุนก็กล่าวเหมือนกันว่า "นิพพานคือรูป รูปคือนิพพาน ..."
    "นิพพาน" ไม่ได้อยู่แยกจากขันธ์ ๕ สมมติว่าขันธ์ ๕ คือเหรียญ ทุกข์กับนิพพานก็คือด้านทั้ง ๒ ของเหรียญนั้น ทุกข์อาจเป็นด้านหัว(ด้านที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง) นิพพานอาจเป็นด้านก้อย(ด้านที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง) จึงมีคำกล่าวในหลักมหายานดั้งเดิมอยู่เสมอว่า "นิพพานกับสังสารวัฏเป็นอันเดียวกัน"
    เพื่อให้ได้คำตอบโดยชัดเจนต่อปัญหาว่า นิพพานเป็นอนัตตาอย่างไร ? ขันธ์ ๕ ตกอยู่ภายใต้กฎไตรลักษณ์ แต่แตกต่างกันนิดหนึ่งระหว่างด้านหัว(ด้านที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง)กับด้านก้อยด้านที่ไม่ถูกต้องปัจจัยปรุงแต่ง) คือ ด้านหัวตกอยู่ภายใต้กฎไตรลักษณ์ทั้งระบบเลย กล่าวคือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ในขณะที่ด้านก้อยตกอยู่ภายใต้กฎไตรลักษณ์เฉพาะข้อสุดท้าย คือ เป็นอนัตตา


    ปัญหาเกี่ยวกับนิพพานที่ว่า "นิพพานเป็นอัตตาหรืออนัตตา" น่าจะเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยพุทธกาล ขอให้ดูข้อความในคัมภีร์พระวินัยปิฎก ปริวาร ภาษาบาลีว่า "อนิจฺจา สพฺพสงฺขารา ทุกฺขานตฺตา จ สงฺขตา นิพฺพานญฺเจว ปณฺณตฺติ อนตฺตา อิติ นิจฺฉยา" แปลว่า "สังขารทั้งปวงอันปัจจัยปรุงแต่ง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา นิพพานและบัญญัติเป็นอนัตตา วินิจฉัยมีดังนี้"
    ประเด็นที่น่าพิจารณาอยู่ที่คำสุดท้ายของคาถานี้ คือ "อิติ นิจฺฉยา" ซึ่งแปลว่า วินิจฉัยมีดังนี้ ถามว่า "ทำไมต้องมีคำนี้ห้อยท้าย ทำไมไม่กล่าวแล้วจบเลย ?" ปัญหาเกี่ยวกับนิพพานเป็นอัตตาหรืออนัตตานี้ เข้าใจว่าสังคมเถียงกันจนเหนื่อยแล้ว พระพุทธศาสนาจึงขอสรุปวินิจฉัยอย่างนี้เถอะว่า "นิพพานเป็นอนัตตา" เถียงไปก็ไม่มีจุดจบ
    ถามว่า "ทำไม่จึงเกิดข้อถกเถียงกันในปัจจุบันว่า นิพพานเป็นอัตตาหรืออนัตตา ?" มีสาเหตุมากมายที่ทำให้เกิดข้อถกเถียงกันในเรื่องนี้ สาเหตุประการแรกน่าจะเป็นเพราะข้อความในคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา หรือคัมภีร์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในยุคต่อมา ทั้งที่เป็นของเถรวาทและมหายาน กล่าวเฉพาะในคัมภีร์เถรวาท ข้อความบางตอนก็มีนัยสื่อว่า "นิพพานเป็นอัตตา เป็นสถานที่ เป็นดินแดนบริสุทธิ์" เช่น
    ข้อความในคัมภีร์อังคุตตรนิกาย ติกนิบาตมีว่า "สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา" กล่าวให้ง่ายขึ้นก็คือว่าสิ่งที่ไม่เที่ยงย่อมเป็นทุกข์ สิ่งที่เป็นทุกข์ สิ่งทีเป็นทุกข์ย่อมเป็นอนัตตา" นักวิเคราะห์บางคนอาจเห็นว่า ถ้าสมมติว่ามีบางสิ่งที่ "เที่ยงและเป็นสุข" ถามว่าสิ่งนั้นควรจะเป็นอนัตตาหรืออัตตา ?"
    ข้อความในคัมภีร์พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทานมีว่า "อายตนะมีอยู่ (แต่)ในอายตนะนั้นไม่มีปฐวีธาตุ ... ไม่มีโลกนี้ ไม่มีโลกหน้า ไม่มีดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ทั้งสองนั้น ... เราไม่เรียกว่า อายตนะนั้นมีการมา มีการไป มีการตั้งอยู่ มีการจุติ มีการอุบัติ ... " นักวิเคราะห์บางคนอาจเห็นว่า คำว่า "มีอยู่" นั้นอาจมีนัยหมายถึงการมีอยู่ใน ๒ ลักษณะ คือ เป็นสถานที่ มีตำแหน่งและเป็นภาวะหรือเป็นสภาวะเชิงนามธรรม แต่ข้อความในคัมภีร์นี้ไม่ได้บอกเพียงว่า "มีอยู่" แต่ยังบอกรายละเอียดต่อไปอีกมากมาย เพราะฉะนั้น คำว่า "มีอยู่" ในที่นี้ น่าจะมีนัยหมายถึงสถานที้ ตำแหน่ง หรือดินแดน
    ข้อความในคัมภีร์พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ กล่าวถึงธาตุและองค์ประกอบของสัตว์ที่เกิดในธาตุ ๔ คือ กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ และอปริยาปันนธาตุ ประเด็น "อปริยาปันนธาตุ" นั้น คงหมายถึง "โลกุตตรธาตุ" ซึ่งก็คือนิพพานธาตุ คัมภีร์กล่าวถึงองค์ประกอบ ของมนุษย์ในอปริยาปันนธาตุ เช่นบอกว่า "ประกอบด้วยขันธ์ ๔ คือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ, มีอายตนะ ๒ คือ ใจกับธรรมารมณ์, มีธาตุ ๒ คือ มโนวิญญาณธาตุกับธัมมธาตุ ..." นักวิเคราะห์บางคนอาจเห็นว่านี่แหละคือดินแดนที่คนเป็นอรหันต์ไปเกิดหลังจากตายในชาตินี้ เป็นแดนนิพพาน เป็นแดนอมตะ"
    สาเหตุประการที่สอง เป็นเรื่องโลกทัศน์และจริตของแต่ละคน เช่น คนที่ชอบเรื่องที่เป็นรูปธรรม จับต้องสัมผัสได้ มีสัทธาจริต ก็จะบอกว่า "นิพพานเป็นอัตตา" และเชื่อว่านิพพานเป็นอัตตา ส่วนคนที่ชอบเรื่องที่เป็นนามธรรม วิเคราะห์วิจารณ์ คาดเดา มีพุทธิจริตก็จะบอกว่า "นิพพานเป็นอนัตตา" นอกจากสาเหตุ ๒ ประการนี้แล้ว ข้อมูลในคัมภีร์ชั้นหลังทั้งของเถรวาทและมหายานก็มีนัยสื่อว่านิพพานเป็นอัตตา ผสมผสานเข้ากับข้อมูลในคัมภีร์ของลัทธิเทวนิยมอื่น ๆ ทำให้มีผู้แสดงทรรศนะว่า "นิพพานเป็นอัตตา" แม้ในกลุ่มชาวพุทธเองก็แสดงและเชื่ออย่างนั้น
    <!--[endif]--> " <!--[if gte vml 1]><v:shape id="_x0000_i1026" type="#_x0000_t75" alt="" style='width:168pt;height:33pt'> <v:imagedata src="file:///C:\DOCUME~1\ADMINI~1\LOCALS~1\Temp\msohtml1\01\clip_image002.gif" o:href="http://www.mcu.ac.th/article/images/nivarana/002.gif"/> </v:shape><![endif]--><!--[if !vml]--><!--[endif]--> " <!--[if gte vml 1]><v:shape id="_x0000_i1027" type="#_x0000_t75" alt="" style='width:172.5pt;height:33pt'> <v:imagedata src="file:///C:\DOCUME~1\ADMINI~1\LOCALS~1\Temp\msohtml1\01\clip_image003.gif" o:href="http://www.mcu.ac.th/article/images/nivarana/003.gif"/> </v:shape><![endif]--><!--[if !vml]--><!--[endif]--> <!--[if gte vml 1]><v:shape id="_x0000_i1028" type="#_x0000_t75" alt="" style='width:172.5pt;height:33pt'> <v:imagedata src="file:///C:\DOCUME~1\ADMINI~1\LOCALS~1\Temp\msohtml1\01\clip_image004.gif" o:href="http://www.mcu.ac.th/article/images/nivarana/004.gif"/> </v:shape><![endif]--><!--[if !vml]--><!--[endif]--> " " " " <!--[if gte vml 1]><v:shape id="_x0000_i1029" type="#_x0000_t75" alt="" style='width:172.5pt;height:33pt'> <v:imagedata src="file:///C:\DOCUME~1\ADMINI~1\LOCALS~1\Temp\msohtml1\01\clip_image005.gif" o:href="http://www.mcu.ac.th/article/images/nivarana/005.gif"/> </v:shape><![endif]--><!--[if !vml]--><!--[endif]--> ( <!--[if gte vml 1]><v:shape id="_x0000_i1030" type="#_x0000_t75" alt="" style='width:412.5pt;height:33pt'> <v:imagedata src="file:///C:\DOCUME~1\ADMINI~1\LOCALS~1\Temp\msohtml1\01\clip_image006.gif" o:href="http://www.mcu.ac.th/article/images/nivarana/006.gif"/> </v:shape><![endif]--><!--[if !vml]--><!--[endif]--> " " "<o:p></o:p>

    </td> </tr> <tr style=""> <td style="padding: 0cm; width: 100%;" width="100%">

    (ที่มา: เสนอบทความในการเสวนาทางวิชาการ วันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ ณ ห้องประชุม ๗๐๗ อาคารบรมราชกุมารี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)<o:p></o:p>
    </td> </tr> </tbody></table>
     

แชร์หน้านี้

Loading...