หลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดป่ากุง จ.ร้อยเอ็ด

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย Specialized, 28 กรกฎาคม 2010.

  1. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    ๑๔๒
    วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร
    ที่อำเภอพิบูลมังสาหาร หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ได้พาคณะมาพำนักที่วัดภูเขาแก้ว แต่เดิม คือ ป่าช้าภูดิน ตั้งอยู่บนเนินสูงก่อนเข้าสู่ตัวอำเภอพิบูลมังสาหาร
    ประวัติการก่อตั้งวัดภูเขาแก้วนั้น มีอยู่ว่า เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๐ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) ได้ขอร้องให้หลวงปู่ใหญ่ พิจารณาหาหนทางสร้างวัดป่ากรรมฐานขึ้นที่อำเภอพิบูลมังสาหาร ด้วยปรากฏว่าญาติพี่น้องของสมเด็จฯ ได้อพยพมาจากบ้านแคน ดอนมดแดง มาปักหลักตั้งถิ่นฐานที่บ้านโพธิ์ตาก อ.พิบูลมังสาหาร เป็นจำนวนมาก
    สมเด็จฯ ท่านอยากให้มีวัดกรรมฐาน เพื่อช่วยอบรมสั่งสอนทางธรรมให้ญาติโยมของท่าน “ได้รับแสงสว่างหายมืดหายบอด” และเพื่อโปรดญาติโยมชาวบ้านทั้งหลายให้มีสถานที่บำเพ็ญบุญ เป็นศูนย์รวมปฏิบัติธรรมอบรมภาวนาจิต จึงบัญชาให้พระอาจารย์เสงี่ยม และพระอาจารย์ดี ฉนฺโน มาตั้งสำนักปฏิบัติธรรมในสถานที่ดังกล่าว โดยสมเด็จฯ ได้ให้ความสนับสนุน
    ชาวบ้านเรียกวัดที่สร้างใหม่นี้ว่า วัดป่า หรือวัดป่าภูเขาแก้วหรือ วัดภูเขาแก้ว ในปัจจุบัน
    ข้อมูลอีกกระแสหนึ่งกล่าวว่า ขุนสิริสมานการ กับนายคำกาฬ เป็นผู้มานิมนต์ หลวงปู่ใหญ่ ท่านจึงได้ให้พระอาจารย์เสงี่ยม และพระอาจารย์ดี ฉนฺโน มาตั้งสำนักปฏิบัติธรรม ที่เนินป่าภูดิน นอกเมืองพิบูลมังสาหาร ซึ่งเล่ากันว่าเป็นที่อาถรรพณ์ร้ายแรง เพียงคืนแรกที่ไปปักกลดอยู่ใต้ร่มไม้ พระอาจารย์ทั้งสองก็โดนลองดีเสียแล้ว
    กล่าวกันต่อมาว่า พระอาจารย์ทั้งสองได้นำพาชาวบ้านญาติโยมละแวกนั้น ทำบุญทำทาน รักษาศีล ปฏิบัติสมาธิภาวนา และทำบุญอุทิศแก่บรรพชนผู้ล่วงลับ เจ้าที่เจ้าทาง และเทพเทวดาอารักษ์ การสร้างวัดจึงดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย
    ประกอบกับการสนับสนุนของเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ด้วย วัดจึงมีความเจริญก้าวหน้ามาโดยลำดับ
    เจ้าอาวาสองค์แรกคือ พระอาจารย์ดี ฉนฺโนต่อมาหลวงพ่อเพชรเป็นองค์ที่สอง และหลวงพ่อโชติ อาภคฺโค (พระครูวิบูลธรรมภาณ) เป็นเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน และเจ้าคณะอำเภอพิบูลมังสาหารฝ่ายธรรมยุต
    ที่วัดภูเขาแก้ว ในปัจจุบัน มีโบสถ์ที่สวยงามมาก สร้างบนเรือจำลอง ผู้เขียนเคยพาคณะมาทอดผ้าป่าและพักปฏิบัติธรรมที่วัดนี้ ๓ - ๔ ครั้ง
    ๑๔๓
    สร้างวัดดอนธาตุเป็นวัดสุดท้าย
    <table id="table8" align="left" border="0"> <tbody><tr> <td align="center">
    [​IMG]
    </td> </tr> <tr> <td align="center"> เกาะดอนธาตุ
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๑ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ได้รับนิมนต์จากแม่ชีผุย โกศัลวิตร ไปในงานฉลองศาลาวัดภูเขาแก้ว ที่คณะศรัทธาชาวเมืองพิบูลมังสาหารสร้างถวาย
    หลังจากงานฉลองศาลา ๔-๕ วัน หลวงปู่ใหญ่ ได้ปรารภกับลูกศิษย์ว่า... อันว่าลำน้ำมูลตอนใต้เมืองพิบูลฯนี้ องค์ท่านยังไม่เคยไปตามเกาะแก่งน้อยใหญ่ทั้งหลายนั้น จะมีผู้ใดอาสาพาไปสำรวจดูบ้าง
    ก็มีลูกศิษย์ฝ่ายฆราวาสผู้ขันอาสา ได้แก่ ขุนสิริสมานการ (อดีตนายอำเภอพิบูลมังสาหาร) พ่อใหญ่อาจารย์บับ, พ่อใหญ่ครูคำดี, พ่อใหญ่พุทธา เป็นต้น
    เมื่อถึงวันออกเดินทาง คณะศิษย์ได้จัดเตรียมเรือไว้หลายลำคอยอยู่ที่ท่าน้ำใต้แก่งสะพือลงไป
    ตอนเช้าหลังฉันจังหันเสร็จแล้ว ได้ออกเดินทาง หลวงปู่ใหญ่นั่งรถสามล้อถีบซึ่งมารออยู่แล้ว
    คณะพระเณรที่ไปด้วย มี พระอาจารย์ดี ฉนฺโน พระอาจารย์กงแก้ว พระอาจารย์บัวพา ปญฺญาภาโส, พระอาจารย์บุญเพ็ง นารโท, สามเณรหงส์ทอง, สามเณรคำผาย และสามเณรปุ่น เป็นต้น พากันเดินตามสามล้อหลวงปู่ใหญ่ไปลงเรือที่รอรับอยู่ ๔-๕ ลำ มีทั้งเรือแจว และเรือพาย
    กองเรือได้ออกจากท่า ล่องตามลำน้ำมูลไปทางทิศตะวันออกผ่านบ้านแก่งเจริญ บ้านหินสง บ้านหินลาด บ้านไก่เขี่ย บ้านชาด ถึงดอนคับพวง แวะขึ้นไปเดินสำรวจดู
    แล้วต่อไปยังดอนธาตุ ดอนตากไฮ ดอนเลี้ยว จนตะวันบ่ายคล้อยราว ๔-๕ โมงเย็น ท้องฟ้าเริ่มมืดครึ้ม ฝนเริ่มตั้งเค้า จึงได้จอดเรือ แล้วขนบาตรขนบริขารขึ้นไปพักที่ศาลาท่าน้ำวัดบ้านหัวดอนของอุปัชฌาย์รัตน์
    เย็นนั้นลมฝนพัดกรรโชกแรงอื้ออึง จึงได้พากันเคลื่อนย้ายไปขอพักยังศาลาวัดบ้านหัวดอนที่อยู่ใกล้กันนั้น
    ตอนนั้น อุปัชฌาย์รัตน์ เจ้าอาวาสไม่อยู่ พระลูกวัดนิมนต์หลวงปู่ใหญ่ และคณะไปพักที่ศาลาการเปรียญ แล้วส่งข่าวให้ผู้ใหญ่บ้านหัวดอน บ้านทรายมูล และชาวบ้านละแวกนั้นทราบ
    พอถึงค่ำ ผู้ใหญ่บ้าน และบรรดาลูกบ้านต่างก็พากันมากราบหลวงปู่ใหญ่ เป็นจำนวนมาก ในฐานะที่หลวงปู่ใหญ่เป็นพระอาจารย์ของพระอาจารย์ดี ฉนฺโน ซึ่งเป็นพระที่ชาวบ้านให้ความเคารพศรัทธาอยู่แล้ว
    หลวงปู่ใหญ่ พาคณะชาวบ้านสวดมนต์ไหว้พระ รับศีล แล้วให้พระอาจารย์ดี แสดงธรรมโปรดชาวบ้านจนดึกดื่น เป็นที่ซาบซึ้งและสร้างความศรัทธาให้ชาวบ้านมาก
    เมื่อชาวบ้านทราบเรื่องราวและกิตติศัพท์ในทางธรรมของหลวงปู่ใหญ่ และคณะพระกรรมฐาน จึงได้พากันอาราธนานิมนต์ให้อยู่เผยแพร่ธรรมโปรดศรัทธาชาวบ้านในถิ่นแถบนั้น
    รุ่งเช้าหลวงปู่ใหญ่ได้พาพระเณรออกบิณฑบาตในหมู่บ้านชาวบ้านหัวดอน และบ้านทรายมูลได้พากันมาถวายจังหันเป็นจำนวนมาก
    พอฉันจังหันแล้ว หลวงปู่ใหญ่ บอกพระเณรและชาวบ้านว่าท่านพิจารณาแล้ว อยากเลือกดอนธาตุให้เป็นที่ตั้งวัด
    ๑๔๔
    สำรวจที่ตั้งวัด
    <table id="table59" align="right" border="0"> <tbody><tr> <td align="center"> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center"> แผนที่เกาะดอนธาตุ
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    ดอนธาตุ สถานที่หลวงปู่ใหญ่เลือกเป็นสถานที่ตั้งวัดนั้น เป็นเกาะกลางแม่น้ำมูล อยู่ห่างจากตัวเมืองพิมูลมังสาหารไปทางทิศตะวันออกไปตามลำแม่น้ำมูลราว ๗-๘ กิโลเมตร เกาะมีสัณฐานทรงรี มีเนื้อที่ราว ๑๔๐ ไร่ รกทึบไปด้วยต้นยางขนาดใหญ่ ต้นพอก (ละมุดป่า) อุดมไปด้วยเห็ดและสมุนไพรนานาชนิด ทั่วบริเวณเงียบสงัดเหมาะแก่การปฏิบัติธรรม
    มีชาวบ้านข้ามน้ำไปทำนาปลูกข้าวในที่ลุ่มบางส่วนของเกาะ บ้างก็หาเก็บพืชผักสมุนไพร แม้ในปัจจุบันชาวบ้านก็ยังข้ามไปเก็บเห็ดที่มีขึ้นตามธรรมชาติในหน้าฝน
    หลังจากฉันภัตตาหารเช้าวันนั้นแล้ว หลวงปู่ใหญ่ และคณะศิษย์ที่มาจากอำเภอพิบูลมังสาหาร พร้อมด้วยชาวบ้านในสองหมู่บ้านซึ่งมี พ่อใหญ่จอม, พ่อใหญ่ยง, พ่อใหญ่หมาจุ้ย (หลวงปู่ใหญ่เปลี่ยนชื่อให้เป็น พ่อใหญ่มงคล) พ่อใหญ่เจียง, พ่อใหญ่สี, พ่อจารย์คูณ เป็นต้น ได้พากันยกขบวนนั่งเรือพายทวนน้ำไปเทียบฝั่งเกาะทางด้านท้ายดอนธาตุ แถวนั้นเป็นดินปนทรายมีหญ้าและต้นกระโดนขึ้นอยู่ริมน้ำ
    องค์หลวงปู่ใหญ่ ใช้ไม้เท้าพยุงร่างขึ้นไปบนฝั่งแล้วพาคณะขึ้นไปเดินสำรวจดูบนเกาะ พวกชาวบ้านหนุ่มฉกรรจ์แผ้วถางบุกเบิกให้เป็นทาง คณะเดินลึกเข้าไปเกือบถึงกลางเกาะ พบที่โล่งกว้างแห่งหนึ่งเป็นชัยภูมิที่ดี ลักษณะเป็นป่าหญ้าโล่งไม่มีต้นไม้ใหญ่
    <table id="table60" align="left" border="0"> <tbody><tr> <td align="center">
    [​IMG]
    </td> </tr> <tr> <td align="center"> เกาะดอนธาตุ
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    หลวงปู่ใหญ่ หยุดยืนพิจารณา แล้วเลือกเอาบริเวณนั้นเป็นที่พักปักกลด
    คณะชาวบ้านได้ช่วยกันแผ้วถางป่าหญ้า พร้อมสร้างกระต๊อบชั่วคราวขึ้นถวาย หลวงปู่ใหญ่และพระเณรก็ตกลงพักค้างคืน ณ ที่นั้นในคืนวันนั้นเลย
    ผู้ใหญ่บ้านพร้อมด้วยชาวบ้านได้ยกเกาะนี้ถวายเพื่อสร้างเป็นสำนักปฏิบัติธรรม และกลายมาเป็นวัดดอนธาตุตราบเท่าทุกวันนี้
    ๑๔๕
    ไหนธาตุอยู่ที่ไหน?
    บันทึกของ หลวงพ่อโชติ อาภคฺโค ถึงเหตุการณ์ที่หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโลไปพักภาวนาที่ดอนธาตุ ในช่วงแรกที่ไปถึง ดังนี้ : -
    “พ่อใหญ่จอม พันธ์น้อย พร้อมด้วยชาวบ้านทรายมูลได้พากันไปฟังเทศน์ ณ ใต้ต้นเดือยไก่ ที่พระอาจารย์เสาร์ และภิกษุสามเณรอีก ๔ รูป มี พระอาจารย์ดี ฉนฺโน พระอาจารย์กงแก้ว พระอาจารย์บัวพา ปญฺญาภาโส และสามเณรคำผาย (พระอาจารย์คำผาย วัดป่าบ้านชีทวน) พำนักปักกลดอยู่
    เมื่อคณะญาติโยมนั่งลงแล้ว คำแรกที่ท่านอาจารย์เสาร์เอ่ยปากถามคือ “ไหน ธาตุอยู่ที่ไหน?”
    พ่อใหญ่จอม พันธ์น้อย กราบเรียนว่า “ตั้งแต่เกิดมาก็ยังไม่เคยเห็นธาตุ ที่เรียกกันว่าดอนธาตุ ก็เรียกตามบรรพบุรุษ พ่อแม่ปู่ย่าตายาย พาเรียกสืบต่อกันมาเท่านั้น ที่ปรากฏก็เห็นมีแต่ดินจี่ (อิฐ) ที่กระจัดกระจายแห่งละก้อนสองก้อนเท่านั้น ไม่สามารถยึดถือเอาเป็นหลักฐานได้ว่าตัวธาตุ จริงๆ อยู่ที่ไหน”
    ที่ท่านอาจารย์ถามหา ธาตุ เป็นคำแรก กล่าวกันว่าท่านเดินมาตามตำนานเก่าแก่ หรืออาจมาตามสมาธินิมิตของท่านก็ไม่อาจทราบได้
    หลวงปู่ใหญ่ พักปักกลดอยู่ที่นั่นไม่นาน พระเณรก็เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ แยกย้ายกันปักกลดตามร่มไม้ทำความเพียร เดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนา กันทั้งวันทั้งคืน สร้างความแตกตื่นและความเลื่อมใสศรัทธาให้ประชาชนในละแวกนั้นเป็นอันมาก เพราะไม่เคยเห็นการปฏิบัติบำเพ็ญเพียรอย่างเอาจริงเอาจังเช่นนี้มาก่อน
    พระเณรทั้งหมดฉันภัตตาหารหนเดียว ต่างองค์ต่างพิจารณา ฉันในบาตรอย่างสงบสำรวม ไม่ค่อยมีการพูดคุยกัน ต่างองค์ต่างกำหนดจิตดูใจของตนเองทุกลมหายใจ ไม่ปล่อยเวลาให้ทิ้งเปล่าเลยทุกเวลานาทีเป็นการบำเพ็ญเพียรทั้งสิ้น
    ชาวบ้านมารวมสวดมนต์ฟังธรรมทุกเย็นหลวงปู่ใหญ่มอบหมายให้ พระอาจารย์ดี ฉนฺโน เป็นผู้เทศน์อบรมธรรมให้แก่พระเณรและญาติโยม โดยเทศน์แนะนำให้ญาติโยมเลิกละเรื่องการเซ่นไหว้ภูตผีปีศาจ หันมาถือพระไตรสรณคมน์ รู้จักทำบุญให้ทานรักษาศีล และฝึกการปฏิบัติภาวนา
    หลวงปู่ใหญ่ได้ปรารภท่ามกลางสงฆ์ อุบาสก อุบาสิกาและญาติโยม ณ ที่นั้นว่า ท่านอยากสร้างสถานที่นั้นให้เป็นวัด “เพราะทำเลเกาะแห่งนี้มีความเหมาะสมดีมากที่จะได้เป็นวัดป่าปฏิบัติธรรมสืบต่อไป”
    ๑๔๖
    สร้างพระพุทธไสยาสน์
    ในหนังสือของอาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ ได้เขียนถึงการเริ่มต้นสร้างวัดดอนธาตุ ของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ดังนี้
    “เมื่อพระอาจารย์เสาร์พักอยู่ที่เกาะดอนธาตุครั้งแรกในปี
    <table id="table61" align="right" border="0"> <tbody><tr> <td align="center"> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center"> พระพุทธไสยาสน์ที่พระอาจารย์เสาร์ให้สร้างไว้
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    พ.ศ. ๒๔๘๑ นั้นไม่นาน พระเณร ลูกศิษย์ก็เพิ่มจำนวนมากขึ้น ต่างปักกลดตามร่มไม้ ทำความเพียรทางจิต ปฏิบัติธรรมกรรมฐานตามแบบอย่างครูบาอาจารย์ท่านพาดำเนินมา ยิ่งได้อยู่พำนักใต้ร่มบารมีขององค์ท่านพระอาจารย์ใหญ่ด้วยแล้วยิ่งเผลอไม่ได้
    ข้อวัตรปฏิบัติที่ท่านได้เมตตาตักเตือนลูกศิษย์เสมอ เช่น
    - เราเกิดมาเป็นมนุษย์ในชาตินี้ ควรรีบเร่งทุกเวลาอย่าชักช้าจะเสียการ จงตั้งใจพยายามฝึกจิต ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ให้ได้ทัน
    - งานของจิตนั้นต้องถือว่าเป็นงานเร่งด่วน โดยมีความตายคืบคลานคุกคามเข้ามาอยู่ทุกขณะ ถ้าเกิดเผลอสติเพียงนิดเดียวความตายก็มาถึงตัวทันที
    ฯลฯ
    ปฏิปทาของท่านพ่อแม่ครูอาจารย์ดังนี้ ก่อให้เกิดกระแสความศรัทธา สร้างความตื่นตัวให้ชาวบ้านทั้งหลายใน ต.ทรายมูล ต.ระเว ต.คันไร่ ฯลฯ เป็นอย่างมาก ต่างพากันเลิกละความยึดถือใดๆ ที่งมงายผิดแผกไปจากครรลองคลองธรรม ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพาดำเนินทั้งสิ้น พากันประพฤติปฏิบัติแนวใหม่ ถือพระไตรสรณคมน์เป็นที่พึ่งอาศัยอย่างเคร่งครัดและถูกต้องต่อไป
    เมื่อหลวงปู่ใหญ่ปรารภว่าอยากสร้างดอนธาตุขึ้นเป็นวัดกรรมฐานเพราะมีความเหมาะสม ญาติโยมต่างโมทนาสาธุการ แล้วผู้ใหญ่บ้านพร้อมทั้งประชาชนต่างยินยอมพร้อมใจยกที่ดินบริเวณเกาะดอนธาตุถวายให้ท่านนำพาสร้างวัดต่อไป
    พ่อใหญ่จอม พันธ์น้อย ได้ถวายบ้านเก่าหนึ่งหลัง พ่อใหญ่หมาจุ้ย ผลสิทธิ์ (ภายหลังหลวงปู่ใหญ่เปลี่ยนชื่อให้ใหม่ว่า พ่อมงคล)ถวายบ้านหนึ่งหลัง และชาวบ้านอีกหลายคนก็ร่วมถวาย จึงได้บ้านเก่าหลายหลัง แล้วชาวบ้านได้พากันมาปลูกสร้างกุฏิสงฆ์ขึ้นได้หลายหลัง
    พอถึงเทศกาลมาฆบูชา ชาวบ้านได้ช่วยกันขนหินทรายมาก่อเจดีย์ทรายถวายวัด ต่อมาหินทรายกองนั้นได้ถูกนำมาใช้สร้างพระพุทธไสยาสน์ (พระนอน) โดยมี พระอาจารย์ดี ฉนฺโน เป็นช่างปั้นพระพุทธรูปในครั้งนี้
    หลวงพ่อโชติ ได้บันทึกการสร้างพระพุทธไสยาสน์ว่า ท่านพระอาจารย์คำผาย (วัดป่าชีทวน) เล่าให้ฟังว่า สมัยนั้นท่านยังเป็นสามเณรอยู่ เมื่อได้วัสดุก่อสร้างมาพร้อมแล้ว พระอาจารย์ใหญ่ท่านกำหนดเอาตรงลานที่ใช้เป็นศาลาชั่วคราวเป็นที่สร้างพระ แม้จะได้มีการคัดค้านจากลูกศิษย์ลูกหา ว่ามันใกล้ตลิ่งแม่น้ำมาก กลัวว่าต่อไปน้ำจะเซาะตลิ่งพังมาถึงเร็ว แต่องค์ท่านไม่ยอม โดยให้เหตุผลว่า
    ตรงที่กำหนดจะสร้างพระนั่นแหละเป็นพระธาตุอังคาร (ธาตุเถ้าฝุ่นพระบรมศาสดา) แต่เดิมที่ทรุดลงไป ซึ่งพังทลายแล้วอย่างไม่เหลือซาก จึงได้ให้สร้างพระพุทธไสยาสน์ครอบเอาไว้เป็นสัญลักษณ์สำหรับกราบไหว้ต่อไป
    เมื่อเป็นความประสงค์ขององค์ท่านเช่นนั้นจึงไม่มีใครคัดค้านอีก
    ตลิ่งริมฝั่งแม่น้ำมูลตรงที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ก็ยังสมบูรณ์ดีอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้ ไม่เห็นน้ำกัดเซาะตลิ่งพังตามที่ลูกศิษย์ลูกหาและชาวบ้านวิตกกันเลย
    ๑๔๗
    ถูกต่อต้านใส่ร้ายจากกลุ่มไสยศาสตร์หมอผี
    เรื่องการต่อต้าน ใส่ร้าย ขัดขวาง คุกคาม พระกรรมฐานมีมาตั้งแต่สมัยหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต มาถึงยุคหลวงปู่ หลวงพ่อ ครูบาอาจารย์รุ่นหลังๆ ต่อมา ต่างก็เคยโดนเล่นงานทั้งนั้น
    ยิ่งมาถึงสมัยปัจจุบัน ทั้งที่เคยได้ทราบ และเคยประสบพบเห็นจากตัวเอง ผู้เขียนกล้าพูดได้ว่า การต่อต้านยังคงรุนแรงและซับซ้อนมากกว่าสมัยก่อน โดยเฉพาะเรื่องการสร้างวัดกรรมฐานขึ้นใหม่แต่ละแห่ง ต้องผจญทั้งภัย ทั้งอำนาจ และการใส่ร้ายข่มขู่สารพัดรูปแบบมีใช้ทั้งกฎหมาย เจ้าหน้าที่และองค์กรของรัฐ รวมทั้งใช้พลังมวลชนถ้าไม่เข้มแข็งและบารมีไม่ถึง ก็ไม่สามารถทนต่อการต่อต้าน คุกคามเหล่านี้ได้
    คณะกรรมฐานของหลวงปู่ใหญ่ ท่านก็ต้องผจญมารเหล่านี้เหมือน กัน
    จากบันทึกของหลวงพ่อโชติ อาภคฺโค มีดังนี้
    “เป็นธรรมดาของโลก แม้พระพุทธองค์ก็ทรงตรัสเรื่องโลกธรรมจะมีสิ่งตรงกันข้ามอยู่คู่กันเสมอ มีคนยกย่องสรรเสริญ ศรัทธา ก็ย่อมมีคนที่เกลียดชัง ขัดขวาง อยู่ด้วยเป็นธรรมดา
    คนที่ต่อต้านการกระทำความดี ก็เปรียบประดุจเหล่าบัวที่ยังจมปลักอยู่ในโคลนตม ยังมืดบอดอยู่ในกิเลสตัณหา เท้าข้างหนึ่งยังอยู่ที่ขอบกระทะทองแดงในขุมนรกอเวจี เพราะในดวงจิตของเขาเหล่านั้นร้อนรุ่มไปด้วยเพลิงอิจฉา ริษยา อาฆาต ต้องร้อนรุ่มกระวนกระวายเหมือนเหยียบอยู่ปากห้อมแห่งขุมนรกที่กำลังเดือดพล่านอยู่ ทั้งที่เขาเหล่านั้นยังไม่ตาย
    ในกลุ่มพวกมิจฉาทิฏฐิที่ตั้งตัวเป็นศัตรูคอยขัดขวางและให้ร้ายป้ายสีครูบาอาจารย์ต่างๆ นานานั้น
    กลุ่มแรกได้แก่พวกเข้าจ้ำหมอผี ที่พวกเขาได้ร้อนความหลงงมงายให้กับประชาชน แล้วพากันกอบโกยตัดทอนเอาจากความโง่เขลานั้น
    การเผยแพร่ธรรมของคณะพระกรรมฐาน ได้ทำให้พวกเขาขาดลาภสักการะลงไป เพราะประชาชนหูตาสว่างขึ้นด้วยสัจธรรมที่พระอาจารย์นำมาเผยแพร่ จึงพากันเป็นเดือดเป็นแค้นพระอาจารย์ถึงขั้นอยากจะกินเลือดกินเนื้อกันทีเดียว
    พวกเข้าจ้ำหมอผี และหมอไสยศาสตร์ได้พากันหาวิธีกลั่นแกล้งพระอาจารย์ทุกวิถีทาง
    บ้างก็ออกข่าวให้เสื่อมเสียว่า พระกรรมฐานมีเมียได้ จะไปไหนก็เอาเมียไปด้วย ก็คือพวกแม่ชีแม่ขาวนั่นเอง อย่าใส่บาตรให้พวกมันกิน สู้เราเอาข้าวโยนให้หมากินยังจะได้บุญมากกว่าใส่บาตรให้พระมีเมียพวกนี้กิน
    หลวงพ่อพุธ ฐานิโย เคยกล่าวเรื่องนี้เหมือนกัน เคยนำเสนอมาแล้วข้างต้นดังนี้ “หลวงพ่อ อดที่จะนึกถึงเมียที่เป็นสามเณรเดินตามหลังครูบาอาจารย์ไม่ได้ ใส่ผ้าจีวรดำๆ เดินผ่านหน้าชาวบ้าน หรือพระสงฆ์ทั่วๆ ไปนี้เขาจะถุยน้ำลายขากใส่ บางทีถ้าแม่ชีเดินตามหลังไปด้วย เราจะได้ยินเสียงตะโกนมาเข้าหู – ญาคูเอ๊ย ! พาลูกพาเมียไปสร้างบ้านสร้างเมืองที่ไหนหนอ - เขาว่าอย่างนี้”
    บันทึกของหลวงพ่อโชติ มีต่อไปว่า : -
    “...สารพัดที่เขาเหล่านั้นจะเสกสรรปั้นแต่งขึ้นมาใส่ร้ายป้ายสีจนบางคนบางพวกหลงเชื่อ เพราะไม่เคยรู้ไม่เคยเห็นพระกรรมฐานมาก่อน ต่างพากันหลงเชื่อ และทั้งเกลียดทั้งกลัวพระกรรมฐาน ไม่ยอมเข้าวัด รวมทั้งร่วมมือขัดขวางขับไล่ต่างๆ นานา
    ส่วนพวกที่หูตาสว่างแล้วก็พากันสลดหดหู่ใจ กลัวบาปกรรมที่พวกเขาเหล่านั้นก่อสร้างขึ้น
    ชาวบ้านได้นำเรื่องเหล่านี้ไปเล่าให้หลวงปู่ใหญ่ฟัง ท่านก็ตอบด้วยน้ำเสียงราบเรียบเป็นปกติว่า : -
    “เออ ! กะซ่างเขาดอก เขามีปากกะให้เขาเว้าไป เขาว่าเขามีเมียเป็นแม่ขาว เฮาบ่มี มันกะบ่เป็นหยังดอก”
    บางครั้งมีผู้มากราบเรียนหลวงปู่ใหญ่ว่า เขาบอกว่าจะเอาสากมอง (สากตำข้าวครกกระเดื่อง) เอาอุจจาระของเหม็นมาใส่บาตรให้ท่าน ท่านก็ตอบเพียงว่า. -
    “เออ ! เขาเว้าไปแนวนั้นแหละ แต่เขาบ่ใส่ดอก”
    ท่านว่า เขาพูดไปอย่างนั้นแหละ แต่เขาไม่ทำหรอก
    สิ่งที่หลวงปู่ใหญ่สอนลูกศิษย์เพื่อเป็นการตอบโต้การกระทำดังกล่าวได้แก่ การเร่งบำเพ็ญภาวนา สร้างพลังจิตให้แก่กล้า แล้วแผ่เมตตาแผ่บุญกุศลให้พวกเขาทุกวัน ถ้าเขามีบุญพอ คลายจากทิฏฐิเหล่านั้นได้ ก็จะเป็นการสร้างบุญสร้างกุศลด้วยกันทั้งสองฝ่าย
    ๑๔๘
     
  2. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    กุข่าวเรื่องอีแร้งหม่น
    <table id="table62" align="left" border="0"> <tbody><tr> <td align="center">
    [​IMG]
    </td> </tr> <tr> <td align="center"> กุฏิและรูปเหมือนหลวงปู่ใหญ่ วัดดอนธาตุ
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    ในกลุ่มผู้ขัดขวาง ซึ่งหลวงปู่ใหญ่ เห็นว่าน่าสงสารที่สุด ได้แก่กลุ่มของพระอุปัชฌาย์พรหมา แห่งบ้านระเว อยู่คนละฝั่งของแม่น้ำมูล กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่เปิดเผย ขัดขวางทั้งด้วยการพูดและการกระทำ
    พระอุปัชฌาย์พรหมา เป็นพระผู้ใหญ่ มีประชาชนเลื่อมใสศรัทธากว้างขวาง และมีลูกศิษย์ลูกหามาก ท่านเป็นคนบ้านเดียวกับหลวงปู่ใหญ่ก็ว่าได้ คือบ้านเกิดของท่านอยู่ที่ บ้านทุ่งขุนน้อย –ทุ่งขุนใหญ่ ใกล้บ้านข่าโคม บ้านเกิดของหลวงปู่ใหญ่
    ครั้งแรกที่หลวงปู่ใหญ่ พาคณะศิษย์มาโปรดชาวบ้านตำบลทรายมูล และตำบลระเวนั้น พระอุปัชฌาย์พรหมาได้ให้การต้อนรับขับสู้ด้วยดี แต่พอลับหลังท่านเปลี่ยนเป็นตรงกันข้าม คือให้ร้ายป้ายสีขัดขวาง ขับไล่ คณะของหลวงปู่ใหญ่ ด้วยอุบายต่างๆ นานา ทั้งด้วยคำพูดและการกระทำ และเป็นการแสดงออกอย่างเปิดเผย
    แสดงว่าท่านก็มีความเป็นนักเลงสมตัว (อันนี้ผมพูดเองครับ)
    วันหนึ่ง พระอุปัชฌาย์พรหมาได้ข้ามฝั่งไปที่เกาะดอนธาตุ เห็นหลวงปู่ใหญ่นั่งผิงแดดอยู่ข้างศาลา
    พระอุปัชฌาย์พรหมา รีบเข้าไปในหมู่บ้าน เที่ยวบอกข่าวที่น่าตื่นเต้นกับชาวบ้านว่า “แห้งอีหม่น โตบั้กใหญ่ลงมาผึ่งแดดอยู่ศาลาวัดดอนธาตุ ไผอยากเห็นให้ฟ่าวไปเบิ่งเด้อ !”
    ชาวบ้านต่างตื่นเต้นหอบลูกจูงหลานไปดู “แห้งอีหม่นโตบั้กใหญ่” (อีแร้งสีหม่นตัวใหญ่) กัน ต่างคนต่างผิดหวังและรู้ว่าถูกหลอก เพราะเห็นมีเพียงหลวงปู่ใหญ่ ท่านนั่งหันหลังผึ่งแดดอยู่ริมศาลา ท่านเป็นพระร่างใหญ่ ผิวหนังออกสีแดง และมีเส้นเกศาสีเทาเต็มศีรษะ
    ชาวบ้านรู้ว่าถูกหลอก พากันกราบขอขมาท่านแล้วเล่าเรื่องให้ท่านฟัง หลวงปู่ใหญ่ฟังด้วยอาการสงบเย็น แล้วหัวเราะ หึ หึ ในลำคอแค่นั้น
    ๑๔๙
    พระอุปัชฌาย์เป็นพระหุ่นยนต์
    เมื่อตอนที่หลวงปู่ใหญ่ดำริจะให้สร้างพระพุทธไสยาสน์ ที่วัดดอนธาตุ ไว้ให้ประชาชนได้สักการบูชานั้น เรื่องได้ทราบไปถึงพระอุปัชฌาย์พรหมา ท่านจึงคิดที่จะขัดขวางยับยั้งไม่ให้มีการก่อสร้าง
    ปกติ หลังจากทำภัตกิจเสร็จแล้ว หลวงปู่ใหญ่จะกลับขึ้นกุฏิเพื่อพักผ่อนเล็กน้อย ก่อนจะออกมาเดินจงกรม
    แต่ในเช้าวันนั้น ท่านกลับบอกให้พระเตรียมปูอาสนะไว้บนศาลาที่ฉัน บอกว่า “เดี๋ยวจะมีพระแขก (อาคันตุกะ) มาฟังเทศน์”
    บรรดาพระเณรต่างงุนงง แต่ไม่มีใครกล้าซักถาม
    ชั่วประเดี๋ยวก็มีเสียงเรือมาจอดที่ท่าน้ำของวัด แล้วพระอุปัชฌาย์พรหมา พร้อมพระติดตาม ๒-๓ รูป เดินตรงมาหาหลวงปู่ใหญ่ บนศาลา
    หลวงปู่ใหญ่ให้การต้อนรับ นิมนต์ให้นั่งบนอาสนะที่เตรียมไว้แล้วบอก “เอ้า พากันกราบพระซะ”
    พระอุปัชฌาย์พรหมา และพระติดตาม ก็นั่งคุกเข่าประนมมือกราบพระประธาน ๓ ครั้ง แล้วประนมมืออยู่อย่างนั้น
    หลวงปู่ใหญ่ ได้พูดว่า “เออ ! กราบพระพุทธ กราบพระธรรม กราบพระสงฆ์ อันเป็นที่พึ่งที่นับถือของพวกเราทั้งหลาย” ต่อจากนั้นท่านก็พูดเป็นการอบรมไปอีกเล็กน้อย แล้วก็บอกพระอาจารย์ดี ฉนฺโนว่า “เอ้า ! อาจารย์ดี เทศน์ต่อ”
    พระอาจารย์ดี ฉนฺโนจึงลงมือเทศน์พระเณร ณ ที่นั้นก็นั่งสมาธิภาวนา ส่วนพระอุปัชฌาย์พรหมา และพระติดตาม ก็นั่งคุกเข่าประนมมือสงบนิ่ง ไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆ ทั้งสิ้น
    พระอาจารย์ดี ฉนฺโน แสดงธรรมเป็นเวลา ๓ ชั่วโมงเต็ม
    เมื่อเทศน์จบ หลวงปู่ใหญ่พูดกับคณะของพระอุปัชฌาย์พรหมาว่า “เอ้า ! กราบพระซะ แล้วพากันกลับไปได้”
    คณะพระอาคันตุกะทำตาม แล้วลุกขึ้นเดินกลับไป ไม่ได้พูดอะไรเลยแม้แต่คำเดียว !
    ๑๕๐
    กล่าวหาพระพุทธรูปนอนขวางฟ้าขวางฝน
    เมื่อการสร้างพระพุทธไสยาสน์ที่วัดดอนธาตุเสร็จแล้ว เป็นเวลาใกล้จะเข้าพรรษา หลวงปู่ใหญ่เดินทางกลับไปที่วัดบูรพาราม ในเมืองอุบลฯ แล้วกลับไปจำพรรษาที่บ้านข่าโคมอีกครั้งหนึ่ง
    พระอาจารย์ดี ฉนฺโน พร้อมพระเณรที่เหลือ กลับไปจำพรรษาที่วัดภูเขาแก้ว ในตัวอำเภอพิบูลมังสาหารวัดเดิมของท่าน
    ในปีนั้นเกิดดินฟ้าอากาศแปรปรวน ฝนฟ้าไม่ตกต้องฤดูกาลก่อให้เกิดความแห้งแล้ง ข้าวยากหมากแพง ประชาชนชาวไร่ชาวนาต่างเดือดร้อนกันมาก
    ฝ่ายพระอุปัชฌาย์พรหมา และบรรดาพวกมิจฉาทิฏฐิได้ฉวยโอกาสกล่าวร้ายโจมตีหลวงปู่ใหญ่ และบรรดาศิษย์กรรมฐานของท่าน ว่า
    “ที่เกิดฝนแล้งก็เพราะพระอาจารย์เสาร์มาสร้างพระนอนที่ดอนธาตุนี้แหละ พระนอนขวางฟ้าขวางฝนอยู่ทำให้ฝนไม่ตก...”
    ประชาชนบางส่วนหลงเชื่อ จึงได้พากันยกพวกไปที่ดอนธาตุเพื่อทำลายพระพุทธรูป แต่คงไม่กล้าทำลายองค์พระทั้งหมด เพียงแต่มีผู้ขึ้นไปทุบจมูกพระให้เสียหาย เอาเป็นเคล็ดว่าทำลายพระพุทธรูปที่นอนขวางฟ้าขวางฝนเรียบร้อยแล้ว ต่อไปฝนคงจะตกตามปกติ
    ทว่า...ฝนฟ้าหาได้ตกตามที่ผู้นำกลุ่มได้บอกไว้ไม่ บางคนเกิดความสำนึกเสียใจ และกลัวบาปจากความโฉดเขลาเบาปัญญาของพวกเขาในครั้งนั้น
    คำสอนของพระพุทธองค์ที่ว่า “กมฺมุนา วตตี โลโก - สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม” บุคคลทำกรรมใดไว้ ผลกรรมย่อมตามสนองไม่ช้าก็เร็ว !
    เหตุการณ์ในครั้งนั้นต่างประจักษ์แก่ชาวบ้านในละแวกตำบลระเว ตำบลทรายมูล ตำบลคันไร่ เรื่อยมาถึงตัวอำเภอพิบูลมังสาหารเป็นอย่างดี
    คือ หลังจากนั้นไม่กี่วันก็มีข่าวว่า พระอุปัชฌาย์พรหมาไหลตาย
    ลูกศิษย์ลูกหาเห็นท่านตื่นสายผิดสังเกต ได้พังประตูกุฏิเข้าไปดูปรากฏว่าท่านมรณภาพนอนตัวแข็งทื่อไปแล้ว
    บันทึกของหลวงพ่อโชติ เขียนไว้ว่า “นอกจากอุปัชฌาย์พรหมา บ้านระเวแล้ว ยังมีคนบ้านคันไร่อีกคนหนึ่งนอนไหลตายเช่นกัน และได้ข่าวว่าคนที่ไปทุบจมูกพระนอนนั้นโดนยิงตายใกล้ควายที่ถูกใครก็ไม่ทราบไปขโมยมาฆ่าชำแหละเนื้อ !”
    ในหนังสืออาจารย์พิศิษฐ์ เขียนว่า “...ส่วนผู้ที่ทุบจมูกพระพุทธไสยาสน์นั้น ก็โดนฟ้าผ่าตายทั้งนี้ไม่มีเค้าว่าฝนจะตก...”
    สรุปว่า กรรมตามสนองทันตาเห็น !
    ย้อนหลังไปก่อนการมรณภาพของท่านพระอุปัชฌาย์ไปประมาณ ๑ เดือน หลวงปู่ใหญ่ จะเพิ่งให้ลูกศิษย์ได้ยินเสมอๆ ว่า : -
    “สงสารอุปัชฌาย์พรหมาแท้เด๊ !”
    ๑๕๑
    สมโภชพระพุทธไสยาสน์
    พอออกพรรษาปวารณาในปีนั้นแล้ว หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโลพร้อมด้วยคณะศิษย์ ประกอบด้วยพระ เณร ชี อุบาสกอุบาสิกา และผู้ติดตามจำนวนมากจากบ้านข่าโคม สมทบกับคณะของท่านพระอาจารย์ดี ฉนฺโน จากวัดภูเขาแก้ว ก็ได้เดินทางกลับมาที่เกาะดอนธาตุ เพื่อประกอบพิธีทำบุญสมโภชพระพุทธไสยาสน์ที่ได้สร้างไว้
    ครั้งแรกที่ทุกคนย่างเหยียบขึ้นไปบนเกาะ เห็นพระนอนโดนทุบจมูกทิ้ง ต่างก็รู้สึกสลดหดหู่ใจ ทำไมหนอเขาจึงสามารถกระทำเช่นนั้น ได้
    นรกแท้ๆ !
    พระอาจารย์ดี ฉนฺโน ผู้ปั้นได้พูดขึ้นว่า “โอ๊ย ! พระนอนไปเฮ็ดอีหยังให้เขา ย่านเขาบาปหลายเด้”
    หลวงปู่ใหญ่ ท่านดูสงบเย็นเป็นปกติ หัวเราะในลำคอ หึ ! หึ ! แล้วพูดยิ้มๆ ว่า “เห็นบ่ อาจารย์ดีเพิ่นเฮ็ดบ่งาม เขาจึงมาทุบถิ่ม คั่นว่าแปงใหม่งามแล้ว สิบ่มีไผมาทุบถิ่มดอก”
    (เห็นไหม อาจารย์ดี ทำพระไม่สวยเขาจึงมาทุบทิ้ง ถ้าทำใหม่สวยงามแล้ว คงไม่มีใครมาทุบทิ้งหรอก)
    พระอาจารย์ดี ฉนฺโน ได้ทำการโบกปูนปั้นเสริมเติมต่อจนพระสมบูรณ์งดงามดังเดิม เสร็จแล้วจึงได้จัดพิธีสมโภชขึ้น โดยหลวงปู่ใหญ่นั่งปรกเป็นองค์ประธาน นำคณะสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์มีการแสดงธรรมและปฏิบัติสมาธิภาวนา
    พระพุทธไสยาสน์ที่วัดดอนธาตุจึงเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ให้ประชาชนได้กราบไหว้ขอพรมาจนทุกวันนี้
    ๑๕๒
    วัดเกาะแก้วพระนอนคอนสวรรค์ฯ
    เมื่อเสร็จงานฉลองสมโภชพระพุทธไสยาสน์ บนเกาะดอนธาตุเรียบร้อยแล้ว องค์หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ได้อยู่พักจำพรรษาที่นี่เป็นเวลาติดต่อกัน ๓ ปี นับเป็นวัดสุดท้ายในชีวิตของท่าน
    ในระยะนี้หลวงปู่ใหญ่งดการเดินธุดงค์ไปไหนเป็นระยะไกลๆ นอกเขตอำเภอพิบูลมังสาหาร และอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
    ขณะนั้น หลวงปู่ใหญ่มีอายุย่างเข้าปีที่ ๘๐ แล้ว การออกธุดงค์ไกลๆ ทำได้ไม่สะดวกเหมือนแต่ก่อน
    วัดที่สร้างใหม่บนเกาะดอนธาตุนี้ยังไม่มีชื่อเรียกเป็นทางการ
    วันหนึ่ง ในท่ามกลางศิษย์ที่เป็นพระเณร พ่อขาว แม่ชี และฆราวาสญาติโยมทั้งหลาย ที่อยู่พร้อมเพรียง ณ ที่นั้น หลวงปู่ใหญ่ได้พูดขึ้นเชิงปรึกษาหารือ ว่า
    “วัดนี้ พวกหมู่เจ้าสิให้ชื่ออีหยัง เหอ?”
    ในที่ประชุมต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “แล้วแต่พ่อแม่ครูอาจารย์เป็นผู้ตั้ง...”
    หลวงปู่ใหญ่จึงพูดขึ้นว่า “ถ้าจังซั่น ข่อยสิให้ชื่อจังซี่ สิดีบ่ ฟังเด้อ !...วัดเกาะแก้วพระนอนคอนสวรรค์วิเวกพุทธกิจศาสนา”
    บรรดาสานุศิษย์ ณ ที่นั้นต่างอนุโมทนาสาธุการ
    หลวงปู่ใหญ่ ถามย้ำความเห็นวา “พวกหมู่เจ้าเห็นดิบเห็นดีบ่ ถ้าเห็นดีกะให้เอากระดาษดินสอจดไว้เด้อ”
    เป็นอันว่าวัดที่สร้างใหม่ ก็มีชื่ออันเป็นมงคลดังได้กล่าวมาแล้ว
    ครูบาอาจารย์ในยุคนั้นเรียกสั้นๆ ว่า “วัดเกาะแก้ว” และมีชื่อในปัจจุบันตามชื่อสถานที่ว่า “วัดดอนธาตุ” อันเป็นปัจฉิมสถาน คือวัดสุดท้ายที่หลวงปู่ใหญ่นำสร้างและพำนักจำพรรษาในช่วงสุดท้ายของชีวิต
    ข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือ “พระปรมาจารย์สายพระกัมมัฏฐานท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลเถร” ได้เขียนเกี่ยวกับวัดแห่งนี้ว่า
    “เดิมนั้นวัดดอนธาตุ ท่านพระอาจารย์เสาร์ ตั้งชื่อว่าวัดเกาะแก้วพระนอนคอนสวรรค์วิเวกพุทธกิจศาสนา ต่อมากรมการศาสนาเปลี่ยนให้เป็น วัดดอนธาตุ...” และ
    “..ที่เกาะวัดดอนธาตุ มียาสมุนไพรขึ้นมาก ท่านพระอาจารย์เสาร์และพระอาจารย์ดี เป็นผู้เริ่ม ยาพระกัมมัฏฐาน เป็นยาหม้อใหญ่ ชื่อว่าศักดิ์สิทธิ์ เป็นโรคอะไร เจ็บตรงไหน ก็อธิษฐานจิตเอา จะกินขม กินฝาด กินเปรี้ยว
    สมัยนั้นคนเป็นอหิวาตกโรคกันมาก ชาวบ้านอาศัยยาวัดดอนธาตุรักษาเยียวยา และถอนพวกเวทย์มนต์คาถาได้
    เวลาท่านพระอาจารย์เสาร์ทำน้ำมนต์ ท่านไม่ได้พูดอะไร โยมเอาน้ำมาวางไว้ตรงหน้าท่านนั่ง ท่านนั่งพิจารณาเฉยๆ และบอกให้เอาไปๆ
    จิตท่านบริสุทธิ์เป็นอิสระ ท่านนั่งพิจารณาน้ำจึงบริสุทธิ์
    ๑๕๓
    ประวัติวัดดอนธาตุ
    ข้อมูลต่อไปนี้คัดลอกมาจากหนังสือที่ระลึกในงานเปิด “เจดีย์พิพิธภัณฑ์ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล” เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ ดังต่อไปนี้: -
    วัดดอนธาตุ ตั้งอยู่ทิศตะวันออกของแก่งสะพือ ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ โดยอยู่ห่างไปประมาณ ๖ กิโลเมตร ตามลำน้ำมูล
    วัดนี้ตั้งอยู่บนพื้นที่ที่เป็นเกาะอยู่กลางลำน้ำมูล ระหว่างบ้านทรายมูล ตำบลทรายมูล และบ้านคันไร่ ตำบลคันไร่ อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี
    โดยที่เกาะดอนธาตุ ร่องน้ำทิศเหนือแคบ จึงใกล้ชิดกับหมู่บ้านทรายมูล ทางราชการจึงให้อยู่ในปกครองของหมู่บ้านทรายมูล
    เกาะดอนธาตุ มีเนื้อที่ดินประมาณ ๑๓๐ ไร่ ลักษณะยาวรีตามลำน้ำมูล หัวดอนเกาะอยู่ทิศตะวันออก มองเห็นหมู่บ้านทรายมูล อยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ สองฝั่งร้องตะโกนได้ยินถึงกัน (ผมไม่ได้ลองตะโกนดู จึงบอกไม่ได้ว่าต้องตะโกนดังหรือค่อยเท่าใด)
    เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๐ หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล และท่านพระอาจารย์ดี ฉนฺโน ได้จาริกมาปักกลดกรรมฐานหาที่เหมาะสมเพื่อก่อสร้างวัดวิปัสสนากรรมฐานฝ่ายธรรมยุติกนิกาย และได้ก่อสร้างวัดภูเขาแก้วขึ้นเป็นรูปร่างในปี พ.ศ. ๒๔๘๑
    เมื่อต้นปี พ.ศ. ๒๔๘๑ ชาวบ้านสะเว ตำบลสะเว เกิดอาเพท ประชาราษฎร์เจ็บป่วยกันมากเกือบจะทุกบ้าน หัวหน้าหมู่บ้านสะเวได้มานิมนต์พระอาจารย์ดี ฉนฺโน เดินทางข้ามลำน้ำมูลไปทำพิธีปัดเป่าทางศาสนา และแต่งยาต้ม (ยาฮากไม้) “หม้อใหญ่” รักษาชาวบ้านที่เจ็บไข้ได้ป่วยจนเป็นที่ปกติสุขทั่วทั้งหมู่บ้าน
    พ.ศ. ๒๔๘๐ พระปู่เย จากวัดบูรพาฯ อุบลฯ มาจำพรรษา ๑ ปี
    พ.ศ. ๒๔๙๑ ท่านพระปู่แดง จากวัดบูรพาฯ มาดูแลรักษา
    พ.ศ. ๒๔๙๒ ท่านพระอาจารย์เหลียว ซึ่งเป็นชาวบ้านทรายมูล อุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์ เข้าจำพรรษาดูแลรักษาวัดดอนธาตุนาน ๑๑ ปี นับจากปี พ.ศ. ๒๔๙๒ ถึง พ.ศ. ๒๕๐๓ และลาสิกขาไปประกอบอาชีพค้าขายที่ตลาดอำเภอเดชอุดม
    พ.ศ. ๒๕๐๔ พระอาจารย์คำน้อย ชาวบ้านเรียกท่านว่า คุณพ่อคุรา เพราะท่านคำน้อยมีเชื้อสายพม่า ท่านพระอาจารย์คำน้อย ถึงแก่มรณภาพขณะนั่งวิปัสสนากรรมฐานบนศาลาวัดดอนธาตุนี้ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๖
    ท่านพระหอม ได้อยู่รักษาวัดนี้ต่อจากพระคุณพ่อคุรา และภายหลังพระหอมท่านมีอาการสติเลื่อนลอย พระเถระให้ลาสิกขา กลับไปภูมิลำเนาเดิมที่บ้านกล้วย แขวงโพนทอง นครจำปาศักดิ์
    หลังจากปี พ.ศ. ๒๕๐๙ วัดนี้ไม่มีพระภิกษุอยู่จำพรรษาระยะหนึ่งหากแต่ยังอยู่ในความดูแลเอาใจใส่ ดูแลรักษาแบบตระเวนเช้ามา-เย็นกลับของท่านพระครูพิบูลธรรมภาณ (หลวงพ่อโชติ อาภคฺโค) เจ้าอาวาสวัดภูเขาแก้ว และเจ้าคณะอำเภอพิบูลมังสาหาร ฝ่ายธรรมยุต
    ตลอดช่วงปี พ.ศ. ๒๕๐๙-๒๕๑๘ แม้จะขาดพระภิกษุอยู่จำพรรษาแต่ก็มีแม่ชี ๒ ท่าน คือ แม่ชีพัน และ แม่ชีปลา อยู่ดูแลรักษาศาสนสถานแห่งนี้
    ในปี พ.ศ. ๒๕๑๘ พระนวกะวัดภูเขาแก้ว ที่อุปสมบทจำพรรษาในปีนั้น ได้ทำการปฏิสังขรณ์วัดในสายวิปัสสนากรรมฐาน ฝ่ายธรรมยุต (วัดสายวิปัสสนากรรมฐาน ฝ่ายมหานิกายก็มี ที่มีชื่อเสียงมากคือวัดหนองป่าพง และวัดสาขาของหลวงพ่อชา สุภทฺโท) โดยการบัญชาการของพระครูพิบูลธรรมภาณ เจ้าคณะอำเภอพิบูลมังสาหาร ฝ่ายธรรมยุตและโดยการนำของ พระบุญเย็น โรจโน ได้นำคณะสงฆ์เข้าปฏิสังขรณ์วัดดอนธาตุ และเข้าจำพรรษาที่วัดแห่งนี้
    ในปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๔๖) มีพระอาจารย์สมบูรณ์ ขนฺติโก เป็นเจ้าอาวาส
    วัดดอนธาตุ นอกจากประกอบศาสนกิจตามปกติธรรมเนียมประเพณีแล้ว ยังมีพิธีทำบุญตามพื้นบ้านโบราณตามฤดูกาล เช่นบุญกวนข้าวทิพย์ บุญเดือนยี่ เป็นต้น
    วัดดอนธาตุ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๑๔๓ วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๕ ลำดับเจ้าอาวาสวัดดอนธาตุ ตำบลทรายมูล อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี มีดังนี้
    <table border="0" width="100%"> <tbody><tr> <td> ๑. หลวงปู่ดี ฉนฺโน
    </td> <td> พ.ศ. ๒๔๘๑ - ๒๔๘๓
    </td> <td> พรรษา
    </td> </tr> <tr> <td> ๒. หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล
    </td> <td> พ.ศ. ๒๔๘๔-๒๔๘๕
    </td> <td> พรรษา
    </td> </tr> <tr> <td> ๓. หลวงปู่หนุน
    </td> <td> พ.ศ. ๒๔๘๖-๒๔๘๗
    </td> <td> พรรษา
    </td> </tr> <tr> <td> ๔. หลวงปู่เกษา
    </td> <td> พ.ศ. ๒๔๘๘-๒๔๘๙
    </td> <td> พรรษา
    </td> </tr> <tr> <td> ๕. หลวงปู่แย
    </td> <td> พ.ศ. ๒๔๙๐- ๒๔๙๑
    </td> <td> พรรษา
    </td> </tr> <tr> <td> ๖. หลวงปู่แดง
    </td> <td> พ.ศ. ๒๔๙๑-๒๔๙๒
    </td> <td> พรรษา
    </td> </tr> <tr> <td> ๗. พระอาจารย์เหลื่อม
    </td> <td> พ.ศ. ๒๔๙๒ -๒๕๐๓
    </td> <td> ๑๑ พรรษา
    </td> </tr> <tr> <td> ๘. หลวงปู่คำน้อย
    </td> <td> พ.ศ. ๒๕๐๔-๒๕๐๖
    </td> <td> พรรษา
    </td> </tr> <tr> <td> ๙. พระอาจารย์หอม
    </td> <td> พ.ศ. ๒๕๐๗
    </td> </tr> <tr> <td> ๑๐. พระครูพิบูลธรรมภาณ
    </td> <td> พ.ศ. ๒๕๐๗-๒๕๑๗
    </td> <td> ๑๐ พรรษา
    </td> </tr> <tr> <td> ๑๑. พระอาจารย์บุญเย็น โรจโน
    </td> <td> พ.ศ. ๒๕๑๘-๒๕๒๕
    </td> <td> ๘ พรรษา
    </td> </tr> <tr> <td> ๑๒. หลวงปู่ทอง
    </td> <td> พ.ศ. ๒๕๒๖-๒๕๒๙
    </td> <td> พรรษา
    </td> </tr> <tr> <td> ๑๓. หลวงปู่สมบูรณ์ ขนฺติโก
    </td> <td> (องค์ปัจจุบัน พ.ศ. ๒๕๔๖)
    </td> </tr> </tbody></table>
    <table id="table29" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center"> หลวงปู่สมบูรณ์ ขนฺติโก
    เจ้าอาวาสวัดดอนธาตุ
    องค์ปัจจุบัน

    </td></tr></tbody></table>​
     
  3. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    ๑๕๔
    เจดีย์พิพิธภัณฑ์หลวงปู่ใหญ่
    ไหนๆ ก็พูดถึงวัดดอนธาตุแล้ว ก็ขอโอกาสเสนอเรื่องราวของเจดีย์พิพิธภัณฑ์ของหลวงปู่ใหญ่ ซึ่งสร้างโดย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และเปิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ น๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕ นี้เองเรื่องที่คัดลอกมานี้ชื่อ “ความเป็นมาของการก่อสร้างเจดีย์พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล” มีสาระสำคัญดังนี้ : -
    ด้วยเหตุที่วัดดอนธาตุตั้งอยู่บนเกาะกลางแม่น้ำมูลปัจจุบันอยู่ห่างจากสถานที่ตั้งของเขื่อนปากมูล ไปทางเหนือน้ำประมาณ ๓๐ กิโลเมตร
    การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ดำเนินการก่อสร้างเขื่อนปากมูล เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๕ เพื่อจ่ายไฟฟ้าแก่บริเวณอีสานใต้ ให้มีไฟฟ้าใช้อย่างเพียงพอ
    ในเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และวิถีชีวิตของผู้อยู่อาศัยโดยรอบโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนปากมูล ทางวัดดอนธาตุซึ่งเป็นจุดยึดเหนี่ยวจิตใจที่สำคัญของราษฎรหมู่บ้านทรายมูล และหมู่บ้านใกล้เคียงสถานที่ก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนปากมูล มีท่านพระอาจารย์สมบูรณ์ ขนฺติโก ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดดอนธาตุ เป็นผู้ที่คอยให้ความรู้แก่ราษฎร ทำให้ชาวบ้านมีความกระจ่างต่อโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนปากมูล
    ทาง กฟผ. ในเวลานั้น ดร.ณัฏฐวุฒิ อุทัยเสน วิศวกรหัวหน้าหน่วยวิศวกรสนาม โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนปากมูล ก็ได้มีการติดต่อกับท่านเจ้าอาวาสวัดดอนธาตุ อยู่เสมอ
    จากโอกาสที่ได้รู้จักคุ้นเคยกับทางวัด ต่อมาท่านพระอาจารย์สมบูรณ์ ได้ปรารภว่า พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล เป็นพระบูรพาจารย์ท่านเคยจำพรรษาอยู่ที่วัดดอนธาตุในช่วงปัจฉิมวัย
    <table id="table14" align="left" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center"> เจดีย์พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล
    วัดดอนธาตุ

    </td> </tr> </tbody></table> ​
    เพื่อระลึกถึงท่าน จึงน่าจะรวมกันคิดสร้างเจดีย์ท่านพระอาจารย์เสาร์ขึ้น เพื่อเป็นอนุสรณ์ให้เป็นที่สักการบูชา และเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ให้ดำเนินชีวิตตามแนวทางของพระบูรพาจารย์
    พระอาจารย์สมบูรณ์ ท่านเล็งเห็นว่า กฟผ. มีศักยภาพที่จะผลักดันให้มีการก่อสร้างพระเจดีย์พระอาจารย์เสาร์ ให้สำเร็จได้อีกทั้งเป็นโอกาสอันดีที่ กฟผ. จะได้ทำความดีฝากไว้ที่แผ่นดินแห่งนี้
    หลังจากได้ปรึกษากันแล้ว พระอาจารย์สมบูรณ์จึงได้ประชุมหารือกับญาติธรรม และกำนันผู้ใหญ่บ้าน ว่าน่าจะคิดสร้างเจดีย์เพื่อเก็บอัฐิธาตุของหลวงปู่เสาร์ เพราะท่านเป็นครูอาจารย์ชั้นสูง ควรแก่การกราบไหว้บูชา
    คณะศิษย์และชาวบ้านได้ประชุมกัน เห็นพ้องต้องกันว่า ควรสร้างพระเจดีย์พระอาจารย์ปู่เสาร์ กนฺตสีโล ไว้ ณ วัดดอนธาตุ อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี
    หลังจากนั้นพระอาจารย์สมบูรณ์ ได้ไปกราบเรียนปรึกษาหลวงปู่หล้า เขมปตฺโต วัดบรรพตคีรี (ภูจ้อก้อ) อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร ท่านได้อนุโมทนาเป็นปัจจัยก้นถุงในการก่อสร้างเป็นเงิน ๙๒๐ บาท และได้เอ่ยถึง หลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวันจังหวัดนครราชสีมาว่าเคยเป็นเณรน้อยติดสอยปรนนิบัติ พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ภายหลังเมื่ออุปสมบทปี พ.ศ. ๒๔๘๗-๒๔๘๙ ได้มาเป็นลูกศิษย์ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถร และจำพรรษาที่วัดบูรพาราม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานีที่พระอาจารย์เสาร์ เคยจำพรรษา
    หลวงพ่อพุธ เห็นด้วยในการสร้างพระเจดีย์และแนะนำให้ไปกราบเรียนพระอาจารย์โชติ อาภคฺโค เจ้าคณะอำเภอ ให้ดำเนินการออกหนังสือแจ้งเจ้าคณะจังหวัด และพระเถระผู้ใหญ่
    ดร.ณัฏฐวุฒิ อุทัยเสน ซึ่งภายหลังได้ออกไปทำงานเป็นรองประธานบริหารบริษัทอิตาเลี่ยนไทย ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด แต่ยังผูกพันกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้นำเรื่องสร้างพระเจดีย์ เรียนปรึกษาท่านอดีตรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี นายจีระศักดิ์ พูนผล ในขณะนั้นท่านเป็นกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และเป็นรองประธานกรรมการคณะกรรมการประสานงานอพยพราษฎรและคณะกรรมการกำหนดค่าทดแทนที่ดินและทรัพย์สิน โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนปากมูล ท่านเห็นด้วยและผลักดันให้มีการดำเนินการก่อสร้างพระเจดีย์พระอาจารย์เสาร์อย่างจริงจัง โดยนำเรื่องปรึกษาผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยขณะนั้น คือ นายวีระวัฒน์ ชลายน ซึ่งต่อมาได้เดินทางไปเขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานีร่วมกับนายเปรมชัย กรรณสูต ประธานบริหาร บริษัทอิตาเลี่ยนไทย ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด และได้มีโอกาสปรึกษากันเรื่องการสร้างพระเจดีย์ซึ่งท่านยินดีร่วมมือกับ กฟผ. สร้างพระเจดีย์ให้สำเร็จ โดยทางบริษัทอิตาเลี่ยนไทยดีเวลลอปเมนท์ จำกัด พัดาเนินงานก่อสร้างส่วนโครงสร้างให้ โดยบริจาคทั้งวัสดุก่อสร้าง และค่าแรงก่อสร้าง
    งานสร้างพระเจดีย์ได้เริ่มอย่างเป็นรูปธรรมในปี ๒๕๔๕ ซึ่งเป็นวาระที่ นายวิทยา คชรักษ์ เป็นผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ โดยมีท่านองคมนตรี กำธน สินธวานนท์ เป็นประธานที่ปรึกษา และทางเจ้าอาวาสวัดดอนธาตุ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการก่อสร้างโดย นายวิทยา คชรักษ์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ เป็นประธานทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการก่อสร้างโดย นายเปรมชัย มุสิกะภุมมะ รองผู้ว่าการก่อสร้าง เป็นประธาน และอนุมัติให้ฝ่ายออกแบบและบริหารงานก่อสร้าง ดำเนินการออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง โดยมอบหมายให้ นางโสภาพิศ อหันทริกเป็นสถาปนิกออกแบบ
    งานก่อสร้างได้เริ่มในปี ๒๕๔๔ และได้ทำพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม โดย ฯพณฯ พลอากาศตรี กำธน สินธวานนท์องคมนตรี เป็นประธาน
    <table id="table73" align="left" border="0" width="183"> <tbody><tr> <td align="center">
    [​IMG]
    </td> </tr> <tr> <td align="center"> ป้ายชื่อ “เจดีย์พิพิธภัณฑ์ ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล พระปรมาจารย์สายพระกรรมฐาน”
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    ในระหว่างทำพิธีอยู่นั้น ได้มีเหตุอันน่าอัศจรรย์ประจักษ์แก่ผู้ที่อยู่ร่วมพิธี กล่าวคือ มีฟ้าร้องครืนๆ และท้ายสุดมีเสียงฟ้าฟาดเปรี้ยงและมีฝนเทลงมาดุจน้ำมนต์ประพรมจากสวรรค์ เสมือนเทพยดาฟ้าดินได้รับรู้กับงานมหากุศลครั้งนี้
    เมื่อเริ่มต้นนั้นทางวัดดอนธาตุ ยังไม่มีผู้บริจาคมากนัก การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ จึงได้บริจาคเงิน ๒ ล้านบาท เป็นการเริ่มให้งานก่อสร้างดำเนินไปได้
    งานก่อสร้างบนเกาะนี้เป็นไปด้วยความยากลำบากในการขนถ่ายวัสดุ เครื่องจักรเครื่องมือ อีกทั้งฝนตกน้ำท่วมในช่วงหน้าฝน แต่ด้วยแรงศรัทธาและพลังใจมุ่งมั่นที่จะสร้างถวายพระบูรพาจารย์ งานก่อสร้างได้รุดหน้าไปเสมือนเนรมิต เป็นที่ประหลาดใจแก่ศิษยานุศิษย์ทั้งหลายที่มากราบนมัสการท่านเจ้าอาวาสวัดดอนธาตุ
    ในระหว่างการก่อสร้างได้มีผู้มีจิตศรัทธาร่วมทำบุญทอดกฐิน ทอดผ้าป่า และทยอยกันส่งเงินมาบริจาค อีกทั้งบริจาคเป็นวัสดุและชิ้นงานก่อสร้าง จนทำให้งานก่อสร้างองค์พระเจดีย์แล้วเสร็จสมบูรณ์ รวมทั้งงานตกแต่งสวนโดยรอบองค์พระเจดีย์ งานติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า ดึงสายไฟฟ้าข้ามแม่น้ำมูลมายังวัดดอนธาตุ งานซ่อมแซมกุฏิหลวงปู่เสาร์ ในเชิงอนุรักษ์ และงานก่อสร้างห้องน้ำและห้องสุขาสำหรับพระภิกษุ จำนวน ๘ ห้อง สำหรับอุบาสก ๕ ห้อง อุบาสิกา ๘ ห้อง รวมห้องน้ำห้องสุขาที่ก่อสร้างจำนวนทั้งหมดรวม ๒๑ ห้อง
    รวมเงินค่าก่อสร้างทั้งสิ้น ๑๖,๗๒๓,๒๗๓ บาท
     
  4. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    แนวทางในการออกแบบเจดีย์พิพิธภัณฑ์

    • ออกแบบให้เรียบง่าย สมถะ ยึดตามแนวปฏิบัติของหลวงปู่เสาร์
    • มีเอกลักษณ์สถาปัตยกรรมอิสาน ทั้งรูปแบบและการใช้วัสดุท้องถิ่น
    • การจัดวางผังให้มีความสัมพันธ์และสอดคล้องกับธรรมชาติต้นไม้ แท่นที่นั่งสมาธิของหลวงปู่ โดยอนุรักษ์กุฏิ แท่นที่หลวงปู่เคยนั่งสมาธิ และเก็บรักษาต้นไม้ที่มีอยู่ไว้
    • ใช้วัสดุธรรมชาติ เช่น หินทรายในการตกแต่งให้เข้ากับธรรมชาติ องค์เจดีย์ทาสีกรัก สีจีวรของพระวัดป่า ยึดความสมถะของหลวงปู่ ไม่หรูหรา แต่สง่าหมดจด
    • ออกแบบให้ยอดเจดีย์มีความสูงเห็นได้จากฝั่งตรงข้ามแม่น้ำยอดฉัตรจึงมีความสูงระดับพ้นยอดต้นไม้ใหญ่
    • ประหยัดค่าก่อสร้าง ใช้โครงสร้างและวัสดุที่มีราคาพอสมควรไม่ใช้เครื่องปรับอากาศ แต่ใช้ระบบระบายอากาศตามธรรมชาติ
    • มีความคงทนถาวรง่ายในการบำรุงรักษาไม่ใช้วัสดุที่หลุดง่ายเช่น กระเบื้องโมเสด
    • รักษาความเป็นป่าและธรรมชาติเดิมไว้ให้มีการตัดต้นไม้น้อยที่สุด
    • ได้ประโยชน์ใช้สอยสูงสุด ให้ห้องปฏิบัติธรรมที่ฐานใต้องค์เจดีย์ที่จำเป็นต้องยกเพื่อให้เจดีย์สูง
    งานสถาปัตยกรรม
    <table id="table41" align="right" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center"> ซุ้มประดิษฐานรูปหล่อพระอาจารย์เสาร์
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    เจดีย์พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์ปู่เสาร์ กนฺตสีโลได้รับการออกแบบให้มีโครงสร้างที่มั่นคงถาวร เป็นโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาดฐานเจดีย์ ๑๖.๐๐๑๖.๐๐ เมตร ความสูงถึงยอดฉัตร ๓๓.๐๐ เมตร
    ส่วนบน เป็นที่ประดิษฐานรูปพระอาจารย์เสาร์ และห้องพิพิธภัณฑ์ทรงสี่เหลี่ยม ขนาด ๙.๕๐๙.๕๐ เมตร สอบเข้าและย่อมุม มีซุ้มประตู ๓ ด้าน ต่อเนื่องกับบันไดขึ้นและลง ส่วนด้านหลัง เป็นซุ้มตันประดิษฐานรูปหล่อพระอาจารย์เสาร์บนแท่น เพดานรูปทรงกลม
    ข้างนอก เป็นลานพื้นคอนกรีตกว้าง โดยรอบฐานส่วนล่างเป็นห้องอเนกประสงค์ใช้ปฏิบัติธรรม ด้านนอกฐานประดับด้วยหินทรายสีเข้มเข้ากับธรรมชาติ
    เหนือส่วนองค์เจดีย์ มีปล้องไฉนปิดทองเป็นข้อรูปแปดเหลี่ยมหมายถึง มรรค ๘ ซ้อนกัน ๓ ข้อ หมายถึง พระอาจารย์เสาร์ พระอาจารย์มั่น พระอาจารย์ดี ถัดขึ้นไปเป็นบัลลังก์ ย่อมุมรูปดอกบัวปิดทอง อันเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดอุบลราชธานี และเป็นดอกไม้ประจำพระบวรพุทธศาสนา
    สัณฐานเจดีย์ รูปทรงเป็นรูปกรวย เอกลักษณ์สถาปัตยกรรมอิสาน ทรงแปดเหลี่ยม หมายถึง มรรคมีองค์แปด อันได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ต่อด้วยยอดเจดีย์ หมายถึง นิพพาน เป็นรูปกรวยกลมแหลมประดับปิดด้วยทองอร่ามตา เป็นยอดสูงสุดแลลิ่วสู่ฟากฟ้าเหนือสุดมีฉัตรทอง ปรกองค์พระเจดีย์อันสูงส่ง ควรแก่การสักการบูชา
    การตกแต่งภายใน
    ภายในองค์เจดีย์เป็นห้องพิพิธภัณฑ์ขนาด ๙.๕๐๙.๕๐ เมตร มีประตูบานไม้สักหนา ๒ นิ้ว เปิดเข้าออกได้ ๓ ด้าน คือด้านหน้าและด้านข้าง ๒ ด้าน พื้นปูด้วยแกรนิต ผนังภายในห้องกรุด้วยหินทรายสีขาว แสดงถึงความเป็นธรรมชาติ
    <table id="table42" align="left" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ​
    มีแท่นหินอ่อนสีขาวบริสุทธิ์เป็นที่ประดิษฐานรูปหล่อของหลวงปู่เสาร์ ในท่านั่ง ประดับซ้ายขวาด้วยพานพุ่ม อยู่ภายใต้ซุ้มด้านหลังองค์พระเจดีย์ เสมือนหลวงปู่นั่งเจริญภาวนาในถ้ำ
    เบื้องหน้าเป็นตู้แสดงอัฐิธาตุของหลวงปู่เสาร์ รูปทรงปิระมิด เจียระไนขอบ ยอดเป็นทองเหลืองชุบทองพร้อมด้วยเครื่องบูชา และดอกไม้ประดับเป็นพุทธบูชาอยู่เบื้องล่าง
    ที่ขอบด้านหลังเป็นกำแพงหินทรายรูปโค้งยอดแหลม ล้อตามรูปซุ้ม เป็นขอบ STAIN-GLASS สีต่างๆ ให้แสงสว่างลอดเข้ามาจากเบื้องหลัง ทำเป็นรูปดอกบัวต่างรูปแบบ
    ถัดจากแท่นรูปปั้นหลวงปู่ รายล้อมด้วยตู้พิพิธภัณฑ์ ๔ ตู้พร้อมไฟส่อง จัดแบ่งเป็นหมวดหมู่ตามรายการอัฐบริขาร ของใช้ของหลวงปู่ ดังต่อไปนี้ -
    ๑ บาตรพร้อมขาบาตร ๑ ชุด
    . เชิงเทียนไม้ สูง ๓๕ ซม ๑ คู่
    ๓. กระโถน ๑ ใบ
    ๔. กาน้ำ ๑ ใบ
    ๕ มีดโกน ๑ อัน
    ๖ ไม้ย้อมผ้า ๑ อัน
    ๗. ผ้าปูนอน ๑ ผืน
    ๘ ผ้าปูนั่ง ๑ ผืน
    ๙. ย่าม ๑ ใบ
    ๑๐ พระพุทธรูป สูง ๑๒ ซม. ๑ องค์
    ๑๑. พระพุทธรูป สูง ๑๖ ซม. ๑ องค์
    ๑๒. พระพุทธรูป สูง ๖๕ ซม. ๑ องค์
    ๑๓. พระพุทธรูป สูง ๒๖ ซม ๑ องค์
    ๑๔ พระพิฆเนศ สูง ๙ ซม ๑ องค์
    ๑๕. มังกรโลหะ สูง ๑๘ ซม ๑ ตัว
    ซึ่งการจัดพิพิธภัณฑ์ได้ดำเนินการโดยกรมศิลปากร
    <table id="table18" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td> [​IMG]</td> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td> [​IMG]</td> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td> [​IMG]</td> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td colspan="2">
    [​IMG]
    </td> </tr> </tbody></table>​
    ภูมิสถาปัตยกรรม
    พระเจดีย์ตั้งอยู่ท่ามกลางแมกไม้ใหญ่ ที่ยังรักษาสภาพป่าไม้ธรรมชาติเดิมไว้ ฐานพระเจดีย์เป็นกำแพงหินทรายโดยรอบยกสูง ปูหญ้าและจัดสวนตกแต่ง
    เบื้องหน้าพระเจดีย์ทางซ้าย มีกุฏิที่พระอาจารย์เสาร์เคยอยู่จำพรรษา เป็นกุฏิไม้เล็กๆ ขนาดห้อง ๒ ๕๐๔.๐๐ เมตร ยกใต้ถุนสูง ๑.๒๐ เมตร มีเพียง ๑ ห้อง และมีระเบียงหน้าห้องยาวตลอด ทางขึ้นเป็นบันไดไม้พาด ๓ ขั้นก้าวห่างๆ ผนังกั้นเป็นผนังไม้ซ้อนทับเกล็ดหลังคามุงด้วยแผ่นไม้ ผ่าเป็นแผ่นยาว ๐.๔๐ เมตร ซ้อนทับกัน มีลักษณะง่ายๆ สมถะ
    <table id="table65" align="left" border="0"> <tbody><tr> <td align="center">
    [​IMG]
    </td> </tr> <tr> <td align="center"> แท่นหินที่นั่งกรรมฐานของหลวงปู่ใหญ่
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    ถัดมาเป็นแท่นหิน ที่นั่งกรรมฐานของหลวงปู่เสาร์ เบื้องหน้าเป็นทางเดินจงกรมที่หลวงปู่เสาร์เคยใช้เดินจงกรม และที่ทางเดินจงกรมที่หน้าบันไดกุฏิด้วย ทำให้เห็นถึงปฏิปทาของหลวงปู่เสาร์ ที่มุ่งมั่นปฏิบัติสมาธิภาวนา
    <table id="table66" align="right" border="0"> <tbody><tr> <td align="center"> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center"> ทางจงกรมของหลวงปู่ใหญ่ วัดดอนธาตุ
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    โดยรอบพระเจดีย์ เป็นลานกว้างให้ปฏิบัติศาสนกิจ เช่น เวียนเทียน และมีทางเชื่อมศาลากับเจดีย์เป็นลานคอนกรีตที่ยังเก็บรักษาต้นไม้ที่มีอยู่ ไว้จึงมีต้นไม้ใหญ่ผุดขึ้นในลานดูร่มรื่นและให้บรรยากาศของวัดป่า ด้านขวามีป้ายชื่อ “เจดีย์พิพิธภัณฑ์ ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล พระปรมาจารย์สายพระกรรมฐาน” ทำด้วยหินทรายสีขาว ขนาด ๒.๘๐ เมตร สูง ๑.๒๐ เมตร
    หาโอกาสไปดูไปชม และไปกราบไหว้เพื่อรำลึกถึงคุณธรรมของหลวงปู่ และเพื่อเป็นศิริมงคลแก่ชีวิต ให้ได้นะครับ ผมขอเชิญชวนด้วยใจจริง
     
  5. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    ๑๕๕
    พระเณรที่พำนักกับหลวงปู่ใหญ่
    เป็นอันว่า ๓ ปีสุดท้าย หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล พำนักจำพรรษาที่วัดดอนธาตุแห่งนี้
    สำหรับพระเณร ลูกศิษย์ลูกหา ที่พำนักอยู่กับหลวงปู่ใหญ่ในช่วง๓ ปีนั้น มีท่านผู้ใดบ้าง ผมขอคัดหนังสือของ อาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติมาเสนอ ดังต่อไปนี้ :-
    “มีเรื่องราวที่บันทึกจากปากคำของคุณตาบุญเพ็ง คำพิพาก (อดีตพระภิกษุบุญเพ็ง นารโท หลานชายของหลวงปู่ใหญ่) และชาวบ้านทรายมูลรุ่นอาวุโสอีกหลายท่าน ที่ยังจดจำเรื่องราวแต่หนหลังได้แม่นยำเช่น.. (ระบุชื่อคุณตา-คุณยาย ๓ ท่าน อายุ ๖๗ - ๗๒ - ๗๗)... เล่าว่าพระเณรที่อยู่พำนักด้วย และเห็นไปมาอยู่สม่ำเสมอจนจำได้มี
    พระอาจารย์ดี ฉนฺโน, พระอาจารย์ทองรัตน์ กนฺตสีโล, พระอาจารย์บัวพา ปญฺญาภาโส, พระอาจารย์อุย บ้านหนองดินดำ, พระอาจารย์ดำ บ้านดงหัวเปือย, พระอาจารย์บุญมี ญาณมุนี อำเภอสูงเนิน, พระอาจารย์สี เมืองปักธงชัย, พระอาจารย์น้อย บ้านท่าคันโท, พระอาจารย์เหลี่ยม บ้านคันว้า จำปาศักดิ์, พระอาจารย์กงแก้ว ขนฺติโก บ้านหนองสูง คำชะอี, พระอาจารย์กิ ธมฺมุตฺตโม, พระอาจารย์เสงี่ยม, สามเณร หงส์ทอง ธนกัญญา (พระหงส์ทอง สหธมฺโม หลานพระอาจารย์ดี ฉนฺโน) สามเณรคำดี, สามเณรผาย
    ส่วนแม่ชี ก็มีแม่ชีจันทร์, แม่ชีสาลิกา สกลนคร, แม่ชีคำ บ้านโคกศรีโคกดอน สกลนคร เป็นต้น
    (พระเณรและแม่ชี) ท่านพากันปฏิบัติธุดงควัตรตามแบบอย่างครูอาจารย์พาดำเนินอย่างพร้อมเพรียงและเคร่งครัด เป็นที่เคารพและศรัทธาของชาวลุ่มน้ำมูลตอนใต้ทั้งมวล”
    ๑๕๖
    สละเลือดให้ทานปลิง
    เรื่องนี้เป็นปฏิปทาที่แปลกเรื่องหนึ่งของ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล มีเขียนไว้ในหนังสือของอาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ ดังนี้
    “เรื่องนี้มีเล่าว่า...องค์ท่านได้ปรารภว่า.. องค์ท่านนั้นยังไม่ได้ให้ทานเลือด ให้ทานยางในกาย เพื่อพลีให้เป็นทาน ลูกศิษย์จึงไปจับเอาปลิงควาย (พันธุ์ตัวใหญ่ ส่วนพันธุ์ตัวเล็กเรียก ปลิงเข็ม) ใส่ไว้ในขวดมาให้ดูดกินเลือดที่หัวแม่เท้าของพระอาจารย์ท่าน จนอิ่มหนำสำราญแล้ว (ปลิงจะหลุดออกเองหลังจากดูดเลือดพอแล้ว) จึงได้ปล่อยลงแม่น้ำมูลไป
    นี่เป็นคำบอกเล่าของคุณยายสีฟอง และคุณตาบุญเพ็ง คำพิพาก
    ข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือ “พระปรมาจารย์สายพระกัมมัฏฐาน ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลเถร” เขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ ดังนี้ -
    “และที่วัดนี้ ท่านพระอาจารย์เสาร์ นำปลิงมาเลี้ยงที่บ่อล้างเท้าก่อนขึ้นกุฏิ เอาจอกแหนมาวางลง แล้วท่านก็เอาเท้าของท่านหย่อนลงในบ่อให้ปลิงดูดเลือดเวลาปวดแข้งปวดขา ตามธรรมดาคนแก่เกิดปวดชาตามขา ซึ่งท่านบอกว่า มันเป็นยาดูดเลือดออกจากตัว และก็เป็นบุญเป็นกุศลให้เลือดเป็นทานกับปลิงด้วย
    นอกจากน้ำผึ้งแล้ว ท่านชอบพวกหมากน้อย ย่านาง ลูกไข่หิน เป็นยาเย็นในการฉันด้วย
    ผม (นายปฐม นิคมานนท์) ขออนุญาตแทรกเรื่อง “สละเลือด” ในทำนองนี้ตามที่เห็นมาเรื่องหนึ่ง คือ กรณีของหลวงปู่เพ็ง พุทฺธธมฺโม (พระลูกชายของหลวงปู่บัว สิริปุณฺโณ) ซึ่งท่านมาโปรดที่บ้านเป็นประจำ
    เรื่องแปลกคือ ยุงไม่กัดองค์ท่าน ซึ่งผมก็ (ทะลึ่ง) กล่าวล้อเลียนท่านว่า “หลวงปู่มีแต่กระดูก ยุงที่ไหนจะกัดลงล่ะ ขืนกัดปากมันคงยู่ไปเลย...”
    หลวงปู่เล่าว่า ครั้งหนึ่งท่านเดินธุดงค์ไปทางขอนแก่น ได้แวะพักปักกลดแถวบ้านไผ่ ท่านภาวนาอยู่ในกลด แต่เณรนอนข้างนอก ใช้จีวรห่ม ท่านลุกขึ้นมาดูเณรตอนดึก ท่านบอก สงสารเณรจับใจ เพราะเนื้อตัวเณรมียุงกัดเต็มไปหมด ยุงแต่ละตัวมีเลือดเป่งๆ ทั้งนั้น ที่ร่วงลงพื้นก็มี
    เกิดความสังเวชใจ ปลุกเณรขึ้นไปนอนในกลด มอบกลดให้เณรตั้งแต่บัดนั้น ท่านออกมานั่งสมาธิข้างนอกให้ทานเลือดแก่ยุงจนสว่าง
    “อาตมาก็ว่าแปลกมาก จากวันนั้นมายุงไม่กัดอาตมาเลย จ้างห้าบาทมันก็ไม่กัด...” แล้วท่านก็หัวเราะด้วยอารมณ์ดี
    <table id="table67" border="0"> <tbody><tr> <td align="center">
    [​IMG]
    </td> </tr> <tr> <td align="center"> ภาพเหมือนหลวงปู่ใหญ่ และหลวงปู่สมบูรณ์ ขนฺติโก
    เจ้าอาวาสวัดดอนธาตุ องค์ปัจจุบัน
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    ภาค ๖ ช่วงสุดท้าย
    ๑๕๗
    งานถวายมุทิตาจิตอายุ.๘๐ ปี
    ขณะที่หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล พำนักอยู่ที่วัดดอนธาตุ หรือที่ครูอาจารย์สมัยนั้นเรียกว่า วัดเกาะแก้ว นั้น ท่านมีอายุเข้า ๘๐ ปี อยู่ในวัยชราภาพมากแล้ว ท่านมีอาการอาพาธอยู่บ่อยๆ
    คณะศิษย์ได้ร่วมกันจัดงานบุญ เพื่อแสดงมุทิตาสักการะและพิธีสืบชะตา ถวายแด่ท่านหลวงปู่ใหญ่
    งานนี้มี หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม เป็นประธานจัดขึ้นที่วัดบูรพารามในเมืองอุบลราชธานี
    เมื่อ วัน ๗ <sup>ฯ</sup><sub></sub> ๑ ค่ำ (อ่านว่าวันเสาร์ แรม ๗ ค่ำ เดือนอ้าย ปีมะโรง ตรงกับวันเสาร์ที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๓ มีกำหนดจัดงาน ๓ วัน
    ในงานนี้คณะศิษย์ได้จัดพิมพ์หนังสือที่ระลึกแจกจ่ายเป็นธรรมทานให้ผู้มาร่วมงาน เขียนโดย หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม และหลวงปู่พระมหาปิ่น ปญฺญาพโล ชื่อ “ข้อกติกาชีสัมมาปฏิบัติ ว่าด้วยข้อปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ สำหรับสำนักชี คณะกรรมฐาน”
    หลวงพ่อโชติ อาภคฺโค บอกว่าหนังสือเล่มนี้หายากยิ่งในปัจจุบัน ท่านแนะขุมทรัพย์ให้แล้ว ใครมีหนังสือเล่มนี้ช่วยบอกกล่าวกันด้วยนะครับ !
    อาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ เขียนถึงการจัดงานตามคำบอกเล่าของ คุณตาบุญเพ็ง และคุณยายสีฟอง คำพิพาก ดังนี้ : -
    “พระภิกษุที่ได้รับนิมนต์มาเจริญพระพุทธมนต์ในงานพิธีนี้ มีจำนวน ๘๐ รูป ครบเท่าอายุ โดยคณะศรัทธาญาติโยมได้จัดเตรียมผ้าจีวรครบ ๘๐ ชุด สำหรับท่านพระอาจารย์ใหญ่ ได้ทอดถวายเป็นผ้าบังสุกุล
    นอกจากนี้คณะพระลูกศิษย์ของท่าน ยังได้ช่วยกันตัดเย็บผ้าขาวเป็นจำนวน ๘๐ ผืน ให้ท่านได้แจกทานแด่แม่ชีที่มาในงานครั้งนี้ด้วย
    ในงานมุทิตาจิตหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโลนี้ไม่มีมหรสพสมโภชใดๆ ทั้งสิ้น มีแต่การปฏิบัติธรรมและแสดงพระธรรมเทศนา โดย ท่านพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ท่านพระอาจารย์ดี ฉนฺโน ท่านพระมหาปิ่น ปญฺญาพโล และพระลูกศิษย์ที่มีเทศนาโวหารเก่งๆ ทั้งหลาย ได้ผลัดเปลี่ยนกันขึ้นธรรมาสน์กล่าวธรรมกถาสะกดผู้ฟังที่มากันเต็มศาลาใหม่วัดบูรพารามนั้น
    นี่แหละคือครรลองของงานบุญล้วนๆ ที่พ่อแม่ครูอาจารย์ท่านพาดำเนินมา และเป็นรูปแบบในการจัดงานบุญในวัดกรรมฐานสืบทอดมาจนปัจจุบัน ที่พวกเราชั้นลูกชั้นหลานจะได้รักษาสืบทอดกันต่อไป
    ๑๕๘
    เตรียมหีบศพไว้ล่วงหน้า
    จากข้อมูลในหนังสือของอาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ ได้เขียนเรื่องนี้ อันมีเนื้อหาสาระดังนี้. -
    ในงานทำบุญฉลองอายุ ๘๐ ปี ของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล เมื่อปี พ ศ. ๒๔๘๓ ที่วัดบูรพารามในเมืองอุบลฯ นั้น หลวงปู่ใหญ่ได้สั่งให้ศิษย์เตรียมต่อโลงไว้ให้ท่าน ลักษณะเป็นหีบไม้สักล้วนๆ ทรงสี่เหลี่ยม ที่ถูกส่งลงมาถวายจากทางวัดอ้อมแก้ว (วัดเกาะแก้วอัมพวัน) อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
    องค์หลวงปู่ใหญ่ ได้ลงไปทดลองนอนกะขนาดตรวจดูความเรียบร้อยด้วยองค์ท่านเอง แล้วมอบให้ลูกศิษย์เก็บรักษาไว้ที่วัดบูรพารามเพื่อเตรียมไว้บรรจุร่างท่านตอนละสังขาร
    ไม่มีใครคาดคิด โลงที่เตรียมไว้ได้ใช้บรรจุร่างของท่าน เมื่อท่านละสังขารหลังจากนั้นอีก ๓ ปี
    ๑๕๙
    สงครามอินโดจีน ทิ้งระเบิดเมืองอุบลฯ
    อาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ ท่านพาไปดูสงครามอินโดจีน ซึ่งมีเครื่องบินมาทิ้งระเบิดเมืองอุบลฯ ก็ขอเชิญพวกเราย้อนเวลาตามไปดูเหตุการณ์ในอดีตด้วยกันครับ
    “ลุปี พ.ศ. ๒๔๘๓ ประเทศไทยเรียกร้องขอดินแดนที่ฝรั่งเศสยึดไปจากไทย เช่น จังหวัดศรีโสภณ เสียมราฐ พระตะบอง และนครจำปาศักดิ์ ตั้งแต่เมื่อครั้งรัชกาลที่ ๕ กลับคืน ฝรั่งเศสไม่ยอมคืนทำให้เกิดสงครามอินโดจีนขึ้นระหว่างไทยกับฝรั่งเศส
    กองทัพไทยสามารถเข้าไปยึดพื้นที่ที่เรียกร้องคืนมาได้ทั้งในกัมพูชา และ ลาว
    สงครามครั้งนั้น ยุติลงด้วยการช่วยประนีประนอมจากญี่ปุ่นที่เข้ามาเจรจาไกล่เกลี่ยให้ประเทศสยามได้จังหวัดในอินโดจีนกลับคืนมา เหตุการณ์สงครามอินโดจีนครั้งนั้น ตรงกับช่วงเวลาที่มีการทำบุญฉลองอายุ ๘๐ ปี ของท่านพระอาจารย์เสาร์ ที่วัดบูรพาราม จังหวัดอุบลราชธานีพอดี
    คุณตาบุญเพ็ง คุณยายสีฟอง เล่าให้ฟังว่า - วันนั้นเป็นวันทำบุญวันสุดท้าย ตอนเช้าขณะพระสงฆ์กำลังฉันจังหัน มีผู้มาแจ้งว่าให้พากันระมัดระวัง เตรียมพร้อมหลบภัยให้จงดี เครื่องบินฝรั่งเศสจะมาทิ้งระเบิดเมืองอุบลฯ เร็วๆ นี้
    ผู้คนทั้งหลายเกิดแตกตื่น พากันหอบลูกจูงหลานขนข้าวของไปหาที่หลบภัยกันนอกเมืองอย่างโกลาหล ไม่นานนักเมืองอุบลฯ ก็เงียบสงัดราวกับเมืองร้าง เหลือเพียงทหาร ตำรวจ คอยตรวจตราดูแลรักษาบ้านเรือนทรัพย์สินที่ถูกทิ้งไว้
    บ้านไหนมีสมาชิกในครอบครัวเป็นผู้ชาย ก็จะแบ่งให้ไปนอนเฝ้าบ้าน คนที่มีความจำเป็นหรือใจกล้าหน่อยก็อยู่เฝ้าทรัพย์สินสิ่งของ นอกนั้นก็เป็นภาระหน้าที่ของตำรวจที่คอยตรวจตรารักษา คุ้มครองบ้านเมืองให้อยู่ในความสงบเรียบร้อย เป็นที่อบอุ่นใจและที่พึ่งอาศัยของชาวเมืองอุบลฯ ได้อย่างยอดเยี่ยมและดียิ่ง
    ท่านข้าหลวงประจำจังหวัด ผู้ร่วมเป็นร่วมตายกับชาวเมืองอุบลฯ อย่างเข้มแข็งในครั้งนั้นคือ พ.ต.อ.พระกล้ากลางสมร (มงคล หงส์ไกร )
    ครั้งนั้นมารดาพร้อมด้วยคุณยายของข้าพเจ้า (คุณตาบุญเพ็ง) ได้พากันทิ้งบ้านเรือนจากคุ้มท่าตลาด ไปอพยพหลบภัยใช้ชีวิตอยู่บนเรือ จอดหลบอยู่ใต้พุ่มไม้ริมฝั่งปากมูลน้อย เหนือเมืองอุบลฯ แต่เพื่อนบ้านส่วนมากจะพากันหลบไปทางใต้ตามลำน้ำมูล
    เสบียงอาหารที่นำไปก็มีข้าวสารกับเค็มสับปะรด (อาหารขึ้นชื่อของชาวอุบลฯ) แล้วไปหาขุดเอาหอยตามริมน้ำมาประกอบอาหาร
    ตอนกลางคืน ต้องพรางไฟ อากาศหนาวเย็น ไม่นานก็ได้ยินเครื่องบิน หรือที่ผู้สูงอายุรุ่นยายทวดเรียกเฮือเหาะ ส่งเสียงดังกระหึ่มมาจากต้นน้ำมูล บินผ่านเข้าไปในตัวเมือง
    เสียงระเบิดดัง ตูมๆ . ก้องกังวานอยู่ห่างไป เข้าใจว่าอยู่แถวท้ายเมืองอุบลฯ
    “ครั้งนั้นผู้คนตื่นกลัวกันมาก เพราะไม่เคยผจญเหตุการณ์เช่นนี้มาก่อน แม้แต่พระเณรบางองค์ก็กลัวเฮือเหาะกัน ชนิดหอบบาตรหนีหายไปจากหมู่พวกจนมองตามแบบไม่ทันเลยก็มี !
    ส่วนองค์ท่านหลวงปู่ผู้เฒ่า (หลวงปู่ใหญ่) นั้นอยู่เป็นประมุขประชาชนในวัดบูรพารามนั่นเอง
    ครั้นตกค่ำ องค์ท่านได้เข้าไปพักในพระอุโบสถ (หลังเก่า) พระอุปัฏฐากเข้าไปอยู่คอยรับใช้ (รวมทั้งคุณตาบุญเพ็ง ซึ่งยังเป็นพระบุญเพ็ง นารโท ด้วย)
    สักครู่หนึ่งองค์ท่านก็บอกว่า -เอาหละ พอสมควรแก่เวลาแล้ว พากันไปพักผ่อนซะ- แล้วองค์ท่านก็ปิดประตูอุโบสถอยู่ภายในองค์เดียว
    พระลูกศิษย์ไม่วายเป็นห่วงองค์ท่าน ได้พากันพักนอนเฝ้าระแวดระวังอยู่ภายนอกอุโบสถนั่นเอง
    แล้วคืนนั้น ! เครื่องบินฝรั่งเศสก็บินมาทิ้งระเบิดจริงๆ !
    ข่าวว่า...ลูกระเบิดลูกหนึ่งตกลงที่เล้าหมูในเมือง หมูบ้านนั้นตายเกลื่อน
    อีกลูกหนึ่งไปตกนอกเมือง ไม่มีใครเป็นอันตราย
    คุณตาบุญเพ็ง เล่าต่ออีกว่า เครื่องบินฝรั่งเศสจะบินตามลำน้ำมูลมาทิ้งระเบิดในตอนกลางคืนหลายครั้ง และไม่นานหลังจากนั้น ญี่ปุ่นก็เข้ามาไกล่เกลี่ย..แล้วกองทัพของญี่ปุ่นก็ถือโอกาสขอเดินทัพผ่านไทยสงครามอินโดจีนก็สงบลง.
    ยังครับท่าน! กลิ่นอายสงครามโลกครั้งที่ ๒ ก็เริ่มครุกรุ่นขึ้นมาแทนที่ ผมของดเว้นการเล่าเรื่องนี้ เพราะตอนนั้นผมยังไม่เกิดครับ!
    <table id="table68" border="0"> <tbody><tr> <td align="center">
    [​IMG]
    </td> </tr> <tr> <td align="center"> กุฏิหลวงปู่ใหญ่ วัดดอนธาตุ
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    ๑๖๐
    ผึ้งขวางตะวัน
    ครูบาอาจารย์บอกว่า ที่หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล โดนผึ้งต่อยเป็นเรื่องกรรมของท่าน แล้วก็ยังไม่เห็นมีท่านผู้ใดอธิบายความในเรื่องนี้
    เหตุการณ์ที่หลวงปู่ใหญ่โดนผึ้งต่อย ถูกเล่าถ่ายทอดโดยหลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท วัดภูริทัตตปฎิปทาราม อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ซึ่งคณะศิษย์นำลงในหนังสือ “หลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ริ้วห่อทอง”
    เรื่องราวมีดังนี้.:-
    “ในปลายปี พ.ศ. ๒๔๘๔ เรา (หลวงปู่เจี๊ยะ) ได้เดินทางติดตามท่านพระอาจารย์มั่น ไปพักที่วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร ฉะนั้นในระยะ ๓ ปีนี้เราเป็นพระอุปัฏฐากประจำ
    เมื่อเดินทางถึงสกลนครและพักฟื้นอยู่ที่วัดป่าสุทธาวาสได้ ๒-๓ วัน ท่านหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ก็มีจดหมายมานิมนต์ ท่านพระอาจารย์มั่น เนื่องจากหลวงปู่เสาร์ป่วยหนัก ท่านพระอาจารย์มั่นจึงมอบหมายให้เราเดินทางไปอุบลฯ แทน เพื่อดูแลอุปัฏฐากในอาการป่วยของหลวงปู่เสาร์ และกราบเรียนตามที่ท่านพระอาจารย์มั่นสั่งมา
    เราจึงออกเดินทางโดยรถยนต์ยังจังหวัดอุบลราชธานีและเดินเท้าไปพบกับท่านหลวงปู่เสาร์ ที่วัดดอนธาตุ อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี
    ก่อนหน้าที่เราจะมาถึงวัดดอนธาตุนั้น มีอยู่วันหนึ่ง ตอนบ่ายหลวงปู่เสาร์นั่งสมาธิอยู่ใต้โคนต้นยางใหญ่ พอดีขณะนั้นมีเหยี่ยวตัวหนึ่งได้บินโฉบไปโฉบมาเพื่อหาเหยื่อ จะด้วยกรรมแต่ปางใดของท่านไม่อาจทราบได้ เหยี่ยวได้บินมาโฉบเอารังผึ้ง ซึ่งอยู่บนต้นไม้ที่หลวงปู่เสาร์นั่งอยู่พอดิบพอดี รวงผึ้งนั้นได้ขาดตกลงมาด้านข้างๆ กับที่หลวงปู่เสาร์นั่งอยู่ ผึ้งได้รวมกันต่อยหลวงปู่หลายตัว จนท่านถึงกับต้องเข้าไปในมุ้งกลดพวกมันจึงพากันหนีไป.
    จากเหตุการณ์ที่ผึ้งต่อยนั้นมา ทำให้หลวงปู่เสาร์ป่วยกระออดกระแอดมาโดยตลอด
    เมื่อ (หลวงปู่เจึ๊ยะ) ถึงวัดดอนธาตุได้ ๒-๓ วัน หลวงปู่เสาร์ท่านอาการหนักขึ้นโดยลำดับ เราอยู่ปฏิบัติท่านจนกระทั่งหายเป็นปกติดีแล้ว”
    ในหนังสือของอาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ เขียนถึงเหตุการณ์เดียวกัน ดังนี้ : -
    “...สาเหตุเพราะเหยี่ยวตัวหนึ่ง ได้บินโฉบเอารวงผึ้งรังใหญ่ที่ทำรังสูงใต้กิ่งต้นยางใหญ่ ข้างศาลาด้านมุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือ กิ่งนี้อยู่สูง ทอดกิ่งชี้ไปทางทิศใต้ ทำให้รังผึ้งนี้อยู่แนวเหนือใต้ เรียกว่าผึ้งขวางตะวัน
    พอเหยี่ยวบินโฉบมาครั้งที่สอง รวงผึ้งทั้งรังก็หล่นเป๊ะลงมา !
    ผึ้งฝูงใหญ่ บินจู่โจมมารุมต่อยองค์หลวงปู่ที่เดินจงกรมอยู่แถวนั้นพอดี
    พระอาจารย์เหลี่ยม ตะโกนขึ้นว่า ผึ้งต่อยพระอาจารย์
    พระ เณร ลูกศิษย์ วิ่งฝ่าฝูงผึ้งไปนำเอาองค์ท่านเข้าอยู่ในมุ้งกลดบนกุฏิ ที่โดนผึ้งรุมต่อยก็แยกย้ายกันหลบหนี กระโดดลงน้ำมูลหนีรอดไปได้
    องค์ท่านโดนพิษเหล็กไนทั่วตัวจนจับไข้อยู่สองวันจึงหาย อันเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้องค์ท่านมักเจ็บไข้ได้ป่วยมาตั้งแต่ครั้งนี้นั่นเอง
    ข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือ “พระปรมาจารย์สายพระกัมมัฏฐาน ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลเถระ” มีว่า :-
    “ท่านพระอาจารย์เสาร์บอกว่า บุพกรรมข้อยตอนเป็นฆราวาสได้ไปหาปลาตอนน้ำลงที่บ้านข่าโคม และไปฟันปลา แล้วร้อยปลาเป็นพวงๆ บุพกรรมที่ทำลายชีวิตปลา ฆ่าปลา กรรมนี้จึงมาโดนกับข้อย”
    ท่านเคยบอกกับญาติโยมก่อนหน้าจะถูกผึ้งต่อยว่า “ข้อยสิตายจากเพราะผึ้ง” ญาติโยมที่นำน้ำผึ้งมาถวายท่านก็เลยไม่นำน้ำผึ้งมาถวายท่านอีกเลยตั้งแต่นั้นมา ซึ่งต่อมาท่านก็โดนผึ้งต่อยจริงๆ นับแต่นั้นมาองค์ท่านก็มีอาการเจ็บไข้ไม่สบายเรื่อยมา ประกอบกับความชราของท่านจึงได้มีอาการเจ็บป่วยของธาตุขันธ์อยู่เสมอ”
    <table id="table69" border="0"> <tbody><tr> <td align="center">
    [​IMG]
    </td> </tr> <tr> <td align="center"> ต้นยางใหญ่ข้างศาลา ที่ผึ้งขวางตะวันทำรังอยู่
    </td></tr></tbody></table>​
     
  6. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    ๑๖๑
    ทำให้ดู มันก็ยังไม่ดู
    หลวงปู่เจี๊ยะ จุนโท ได้พูดถึงวัดดอนธาตุ และเรื่องราวที่ท่านไปอุปัฎฐาก หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ดังนี้
    วัดดอนธาตุ บ้านทรายมูล อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี เนื้อที่ราวๆ ๑๓๐ ไร่ มีแม่น้ำมูลล้อมรอบเป็นเกาะอยู่กลางน้ำ เป็นวัดที่ท่านหลวงปู่เสาร์มาสร้างเป็นองค์แรก
    แต่ก่อน บางส่วนในบริเวณที่เป็นวัดเป็นทุ่งนาชาวบ้าน เมื่อหลวงปู่เสาร์ท่านมาภาวนา ญาติโยมเกิดความเลื่อมใส จึงถวายเป็นที่วัดบริเวณเกาะกลางแม่น้ำมูลนี้เป็นวัดทั้งหมด
    เดิมเขาเรียกกันว่า ดอนทาก เพราะมีตัวทากเยอะ เป็นป่าดิบชื้นชาวบ้านเข้ามาหาของป่า ถูกตัวทากกัด มีตัวทากยั้วเยี้ยเต็มไปหมด ชาวบ้านเรียกเพี้ยนจากดอนทาก กลายเป็นดอนธาตุ อาจเป็นเพราะหลวงปู่เสาร์ท่านเข้ามาอยู่ด้วย เขาจึงเรียกว่าดอนธาตุ
    (จากในตอนต้นๆ หลวงปู่ใหญ่ท่านว่าเป็นที่ประดิษฐานพระธาตุฝุ่น หรือพระอังคารธาตุของพระพุทธเจ้า แต่ถูกน้ำพัดพังหายไป ท่านจึงให้สร้างพระพุทธไสยาสน์ขึ้นมาแทน-ปฐม)
    <table id="table70" align="left" border="0"> <tbody><tr> <td align="center">
    [​IMG]
    </td> </tr> <tr> <td align="center"> พระอาจารย์เจี๊ยะ จุนฺโท
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    หลวงปู่เจี๊ยะ พูดถึงอุปนิสัยของหลวงปู่ใหญ่ ว่า.:-
    ตอนที่เรา พระเจี๊ยะ มาหาหลวงปู่ใหญ่ ท่านอยู่ที่นี่ ท่านไม่ค่อยเทศน์นักหรอก มีอยู่ครั้งหนึ่ง เมื่อเข้าไปหาท่าน ดูแลท่านเรื่องอาพาธเมื่อท่านหายป่วย ร่างกายมีเรี่ยวแรง ญาติโยมขอฟังเทศน์ท่าน ว่า
    “หลวงปู่ เทศน์ให้ฟังหน่อย พวกขะน้อยอยากฟังธรรม” โยมที่มาถวายภัตตาหารเช้าเข้านิมนต์ให้เทศน์ หลังจากท่านฉันเช้าเสร็จ
    “ทำให้ดูมันยังไม่ดู ปฏิบัติให้ดูอยู่ทุกวัน มันยังไม่ปฏิบัติตามเทศน์ให้ฟังมันจะฟังคือพวกเจ้า? ข้อยเฮ็ดให้เบิ่งยังบ่เบิ่ง เทศน์ให้พวกหมู่เจ้าฟัง หมู่เจ้าสิฟังหรือ?”
    เมื่อหลวงปู่เสาร์พูดเสร็จ ท่านก็จะสั่งให้ พระอาจารย์ดี ฉนฺโน ผู้เป็นลูกศิษย์ที่นั่งเป็นลำดับต่อจากท่านไปเป็นองค์เทศน์
    ท่านมีปกติเป็นพระพูดน้อย ต่อยมาก ส่วนมากท่านทำให้ดูเพราะท่านมีคติว่า “เขาสิเชื่อความดีที่เฮาเฮ็ด หลายกว่าคำเว้าที่เฮาสอน” (เขาจะเชื่อในความดีที่เราทำ มากกว่าจะเชื่อในคำที่เราพูด)
    ๑๖๒
    การักหลวงปู่ใหญ่
    เรื่องนี้ หลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท ก็เป็นผู้เล่าให้ฟัง : -
    ก่อนที่หลวงปู่เสาร์ ท่านจะมาอยู่ดอนธาตุนี้ ท่านเล่าให้ฟังว่า ท่านเดินธุดงค์มาเรื่อยๆ พักตามบ้านนอกชนบทท้องนา ตามทุ่งลอมฟางโรงนาโคนไม้ ฯลฯ ค่ำที่ไหนก็หาที่พักปักกลดที่นั่นบางทีก็มีพระติดตามรูปสองรูป
    ก่อนที่จะเข้ามาดอนธาตุ ท่านได้เข้าไปวิเวกพักที่บ้านดอนพันชาติ บริเวณต้นค้อใหญ่ใบดกหนาให้ร่มเงาได้เป็นอย่างดี พระติดตามก็ปักกลดในบริเวณใกล้ๆ
    ต้นค้อใหญ่นี้อยู่ระหว่างบ้านดอนพันชาติ กับโรงสีพงษ์พานิชย์ อยู่กลางทุ่งนา
    เมื่อท่านมาพักอยู่ที่นั่น ญาติโยมก็ทำกระท่อมน้อยๆ ให้ท่านพัก ตอนเช้าๆ ท่านก็จะออกเที่ยวบิณฑบาตที่หมู่บ้านดอนพันชาติ พวกเจ๊กพวกจีนที่ทำมาค้าขายเป็นลูกจ้างอยู่แถวโรงสี ก็จะเข้ามาทำบุญในตอนเช้า
    ท่านเล่าว่ามีเรื่องน่าแปลก คือ กา
    อีกานี่มันแปลก ท่านเล่า ในบริเวณต้นค้อใหญ่จะมีอีกาอยู่ฝูงใหญ่ๆ ร้องกาๆ อยู่ตลอดเวลา ชาวบ้านเขาไม่กล้าไปทำอะไรมันหรอกเพราะกลัว บางคนกว่าเป็น กาตาปู่ ที่สิงสถิตอยู่ที่ต้นค้อใหญ่ เป็นเจ้าที่ ใครไปฆ่าไม่ได้ ต้องเป็นไปต่างๆ นานา
    เมื่อหลวงปู่เสาร์ท่านเข้ามาพักที่นั้นแล้ว อยู่ ณ ที่นั้นได้ ๒-๓ วันบิณฑบาตฉันเช้าเสร็จ เศษอาหารที่เหลือก้นบาตร ท่านนำมาเลี้ยงกา กาที่นั่นติดท่าน รักท่านมาก
    เวลาออกบิณฑบาต ท่านก็จะเรียกว่า “กาหลงเอ๋ย...ไปเถอะเราไปบิณฑบาตกัน ไปโปรดสัตว์ผู้มีทุกข์กัน ชาติสังขารนี้มันเป็นทุกข์ทั้งคนและสัตว์”
    กามันก็จะบินตามไปเป็นขบวน ท่านเดิน ส่วนกาบิน ดูสวยงามมาก ชาวบ้านต่างก็รู้ว่าท่านออกบิณฑบาต เพราะกาบินนำหน้าและส่งเสียงร้องลั่น ร้องดัง กาๆ เป็นระยะๆ
    คนถิ่นแถวนั้นอัศจรรย์ใจเป็นอย่างยิ่ง ต่างนิยมชมชื่นเคารพเลื่อมใสท่านมาก แต่ก่อนชาวบ้านแถวนั้นนับถือกาตาปู่ ตอนหลังได้คลายความเชื่อ มาพึ่งพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ แม้แต่ลูกเล็กเด็กแสดงก็ออกมากราบไหว้เป็นทิวแถวในเวลาท่านไปบิณฑบาตโปรดสัตว์ในหมู่บ้าน
    หลวงปู่เสาร์ ท่านมีเมตตามาก ดุใครไม่เป็น มีอุบายสอนคนแยบคายหลายอย่าง
    ในระหว่างที่ท่านพักกรรมฐานอยู่ดอนพันชาติ ท่านเป็นที่พึ่งของเทวดา และมนุษย์ ตลอดจนสัตว์ทั้งหลาย เมตตาธรรมค้ำจุนโลกไม่มีประมาณ
    ท่านเล่าให้ฟังน่าฟังมาก จำไม่ได้หมดมันนานมาแล้ว
    ๑๖๓
    ปรารภไปเมืองลาว
    ในปี พ ศ ๒๔๘๓ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล พำนักอยู่ที่วัดเกาะแก้ว ดอนธาตุ เป็นพรรษาที่สอง
    ท่านปรารภเรื่องที่จะข้ามไปฝั่งลาว ไปทำบุญอุทิศถวายแด่พระอุปัชฌาย์ของท่าน คือ ท่านพระครูทา โชติปาโล หรือพระครูสีทันดรคณาจารย์ อดีตเจ้าคณะใหญ่แห่งศรีทันดร เขตเมืองไทย แขวงนครจำปาศักดิ์
    ท่านพระครูสีทันดรคณาจารย์ ได้มรณภาพไปนานแล้วที่วัดดอนฮีธาตุ เมืองโขงโน้น ซึ่งหลวงปู่ใหญ่ท่านมีความปรารถนาที่จะไปทำบุญอุทิศกุศลตั้งแต่เมื่อ ๑๒ ปีที่แล้ว ตั้งแต่สมัยที่ท่านยังเที่ยวธุดงค์เผยแพร่ธรรมอยู่แถบจังหวัดสกลนคร นครพนม แต่ด้วยความที่ยังไม่พร้อม ท่านจึงได้รั้งรอเรื่อยมา
    บัดนี้หลวงปู่ใหญ่ท่านชราภาพมากแล้ว จะต้องหาทางไปทำบุญอุทิศถวายครูอาจารย์ของท่านให้ได้ ท่านจึงเร่งเร้าให้คณะศิษย์หาทางให้ท่านได้ไปเมืองลาวตามความประสงค์โดยรีบด่วน
    หลวงปู่ใหญ่ได้ปรึกษาแผนการเดินทางกับคณะศิษย์โดยกำหนดลงเรือจากวัดดอนธาตุไปตามลำน้ำมูล จนถึงบ้านด่านปากมูล แล้วล่องเรือไปตามน้ำโขง จนถึงเมืองโขง เป้าหมายสุดท้ายในฝั่งประเทศลาว
    ถ้าดูตามเส้นทางที่ว่า พวกเราคงจะจินตนาการว่าแล่นเรือเรื่อยๆ ไปตามลำแม่น้ำ ดูช่างน่าสะดวกสบาย แถมยังได้ชื่นชมกับความงามของธรรมชาติสองฟากฝั่ง เป็นการเปิดหูเปิดตาของบรรดาพระเณรอีกด้วย
    แต่ผิดคาด ! บรรดาลูกศิษย์ใกล้ชิดและญาติโยมต่างพากันตระหนกตกใจ และคัดค้านท่านแทบจะเป็นเสียงเดียวกัน พร้อมกับขอร้องไม่ให้องค์ท่านไป เพราะมันอันตรายเกินที่จะเสี่ยง
    ทั้งนี้เพราะการเดินทางไปตามลำน้ำโขง ด้วยเรือแจว เรือพายที่มีในสมัยนั้น ต้องเสี่ยงอันตรายมาก ด้วยสภาพท้องน้ำเต็มไปด้วยเกาะแก่งน้อยใหญ่ มีทั้งน้ำเชี่ยว น้ำวนน้ำเป็นพุเป็นขัน หากใครไม่มีความชำนาญในน่านน้ำแถบนี้โดยเฉพาะแล้ว ก็ยากที่จะไปรอดปลอดภัยได้
    ชาวบ้านสมัยนั้นกล่าวกันว่า “ถ้าใครเดินทางโดยเรือแจว เรือพายไปแถวนั้นแล้ว เมียที่รออยู่ทางบ้านให้เตรียมตัวเป็นหม้ายได้เลย”
    หลวงปู่ใหญ่ท่านยังคงยืนยันต้องไปให้ได้ ก่อนที่ท่านจะละสังขาร และท่านยังกล่าวด้วยว่า “มันสิเป็นอิหยัง ยังบ่ถึงคราว”
    ในครั้งนั้นยังหาผู้ชำนาญทางน้ำไม่ได้ การเดินทางของหลวงปู่ใหญ่จึงต้องชะลอไปก่อน
    ข้อมูลเกี่ยวกับชื่อพระอาจารย์ที่หลวงปู่ใหญ่ประสงค์จะไปทำบุญอุทิศให้จากแหล่งต่างๆ ไม่ตรงกัน บางแหล่งบอกว่าเป็นพระอุปัชฌาย์ของท่านที่ชื่อ พระครูทา โชติปาโล ส่วนบันทึกของหลวงพ่อโชติ กับหนังสือประวัติพระอาจารย์ทองรัตน์ กนฺตสีโล ชื่อหนังสือ “มณีรัตน์ อัญมณีแห่งไพรสณฑ์” จัดพิมพ์โดยวัดหนองป่าพง ได้ระบุชัดเจนว่า ญาคูสีทา ชยเสโน โดยเขียนภายใต้หัวข้อว่า “หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ทำบุญอุทิศให้พระกรรมวาจาจารย์” โดยมีเนื้อเรื่องดังนี้.:-
    “ในระหว่างจำพรรษา ๒๔๗๙-๒๔๘๓ อยู่ที่วัดป่าหนองอ้อ บ้านข่าโคมนั้น หลวงปู่เสาร์ได้นิมิตเห็น ญาคูสีทา ชยเสโน พระกรรมวาจาจารย์ของท่าน สมัยอยู่ที่วัดบูรพาในตัวเมืองจังหวัดอุบลราชธานีซึ่งพื้นเพท่านอยู่เมืองสีพันดอน แขวงจำปาศักดิ์ ท่านไปเรียนที่กรุงเทพฯ และได้มาเป็นอุปัชฌาย์อยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานี หลังจากนั้นได้ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาที่มาตุภูมิ ไปอยู่วัดดอนฮี (วัดเกาะรี) เมืองโขง แขวงจำปาศักดิ์ และได้มรณภาพลงที่นั่น ไปเกิดเป็นเปรตรบกวนลูกหลานทำให้ลูกหลานเดือดร้อน จึงคิดจะไปทำบุญอุทิศให้พระกรรมวาจาจารย์.. ”
    เราซึ่งเป็นคนรุ่นหลัง ก็เพียงแต่รับทราบว่า หลวงปู่ใหญ่ไปทำบุญอุทิศให้ ครูอาจารย์ ของท่านองค์หนึ่งก็แล้วกัน เรื่องชื่อ เรื่องเวลา เรื่องสถานที่ มีคลาดเคลื่อน-แตกต่างกันไปบ้าง ก็คงต้องปล่อยให้ผู้รู้ท่านตรวจสอบก็แล้วกัน ในชั้นนี้เราคงทำได้เพียงรับรู้เรื่องราวไปเท่านั้น ส่วนที่ยังสงสัย ถ้ายังติดใจอยู่ก็หาทางสอบถามไปนะครับ
    ๑๖๔
    สบโอกาสเหมาะ
    ในช่วงเวลานั้น นายฮกเที่ยง (นายวิโรจน์ โกศัลวิตร) เศรษฐีใหญ่แห่งเมืองอุบลฯ ซึ่งเป็นพี่ชายของ นายฮกต่าย (นายวิชิต โกศัลวิตร) ได้ถึงแก่กรรม
    ทางเจ้าภาพคือ คุณหญิงตุ่น ได้มากราบนิมนต์หลวงปู่ใหญ่พร้อมกับพระลูกศิษย์อีก ๓ รูป พระอาจารย์ดี ฉนฺโน พระอาจารย์บัวพา ปญฺญาภาโส และ พระอาจารย์กงแก้ว ขนติโก รวมเป็น ๔ รูปขึ้นไปเมืองอุบลฯ เพื่อทำบุญอุทิศให้กับผู้ตาย
    ในงานนี้ เจ้าภาพได้ปวารณาถวายปัจจัยรูปละ ๑๐ บาท รวมพระ ๔ รูป เป็นเงิน ๔๐ บาท
    ถ้าเทียบค่าของเงินในสมัยนั้นมีมูลค่าไม่น้อยเลย เพราะการซื้อขายข้าวของในสมัยนั้นยังนับเป็นสตางค์กันอยู่ ก๋วยเตี๋ยวชามละ ๕ - ๑๐ สตางค์เป็นอย่างมาก ถ้าเทียบเงิน ๑๐ บาท ก็มากกว่า ๑,๕๐๐ - ๒,๐๐๐ บาทในสมัยนี้เสียอีก
    เมื่อกลับถึงวัดบูรพาราม เมืองอุบลฯ แล้ว หลวงปู่ใหญ่ก็บอกกับศิษย์ทั้งสามว่า “เราจะไปเมืองโขงทำบุญอุทิศถวายพระอุปัชฌาย์ ปัจจัยจำนวนนี้เราขอนะ”
    พระอาจารย์ทั้งสาม กราบเรียนว่า “ปัจจัยทั้งหมดนี้มอบให้พ่อแม่ครูอาจารย์ด้วยความเต็มใจ พ่อแม่ครูอาจารย์จะนำไปทำอะไรก็สุดแท้แต่ท่านเถิด”
    เป็นอันว่าปัญหาเรื่องปัจจัยที่จะไปทำบุญได้ผ่านพ้นไปแล้วแก้ปัญหาไปได้หนึ่งเปลาะ
    ปัญหาใหญ่ที่เหลือได้แก่เรื่องพาหนะที่ใช้ในการเดินทาง
    ความดำริของหลวงปู่ใหญ่ ทราบไปถึง แม่ชีผุย (มารดาของนายฮกเที่ยง นายฮกต่าย หรือ นายวิโรจน์ และนายวิชิต โกศัลวิตร เศรษฐีใหญ่เมืองอุบลฯ)
    คุณแม่ชีผุยได้ปวารณา ขอเอารถยนต์ไปส่งคณะหลวงปู่ใหญ่จนถึงที่หมาย แทนการเดินทางด้วยเรือแจว เรือพาย ที่เสี่ยงอันตรายเกินไป
    เป็นอันว่าแผนการเดินทางของหลวงปู่ใหญ่ที่จะไปทำบุญอุทิศแด่ครูอาจารย์ของท่านก็สำเร็จดังใจหมาย
    สาธุ ! สาธุ ! สาธุ !
    <table id="table71" border="0"> <tbody><tr> <td align="center">
    [​IMG]
    </td> </tr> <tr> <td align="center"> ศาลาวัดดอนธาตุ
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    ๑๖๕
    การแบ่งการเดินทางเป็น ๓ คณะ
    การเดินทางไกลครั้งสุดท้ายของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโลถูกกำหนดขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
    คณะแรก หลวงปู่ใหญ่ ได้มอบหมายให้เดินทางล่วงหน้าไปก่อน มีพระอาจารย์ทองรัตน์ กนฺตสีโล, พระอาจารย์บุญมาก และพระอาจารย์กิ ธมมุตฺตโม เดินทางด้วยเท้า เดินธุดงค์บำเพ็ญเพียรไปด้วย ให้เดินทางไปรอท่านอยู่ที่นครจำปาศักดิ์ ไปพักรออยู่ที่วัดภูจำปาศักดิ์
    คณะที่สอง เป็นคณะใหญ่ของหลวงปู่ใหญ่ ศิษย์ผู้ร่วมเดินทางมี พระอาจารย์ดี ฉนฺโน, พระอาจารย์ทอง อโสโก, พระอาจารย์กงแก้ว ขนติโก, พระอาจารย์สอ, พระอาจารย์บัวพา ปญญาภาโส พร้อมด้วยพระเณรและลูกศิษย์ติดตามอีกมาก
    ข้อมูลในหนังสืออาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ ซึ่งได้จากการบอกเล่าของ ท่านหลวงตาพวง สุขินฺทริโย บอกว่า ตอนนั้น ท่านหลวงตาเองยังเป็น สังฆาการี (ศิษย์วัด) อยู่ ชื่อ พวง ลุล่วง อายุ ๑๔ ปี จากบ้านสีฐาน อ ป่าติ้ว ยโสธร เพื่อนฆราวาสที่ไปด้วยเท่าที่จำได้ มีชื่อ กร อายุ ๑๘ ปี ตัวโตกว่าเพื่อน, ชื่อบุญมี ไทรงาม อายุ ๑๕ ปี จากบ้านสีฐาน ชื่ออำนวย (พระครูโอภาสธรรมภาณ) และอีกคนชื่อ เจริญ จากบ้านท่าฆ้องเหล็ก เป็นศิษย์คอยอุปัฎฐากและผู้เก็บรักษาสะพายบาตรของหลวงปู่ใหญ่
    ออกเดินทางประมาณเดือนธันวาคม จากวัดบูรพาราม มีคณะแม่ชีผุย ร่วมเดินทางไปส่ง
    เมื่อรถวิ่งไปถึงบ้านเมืองเก่า หลวงปู่ใหญ่บอกให้พระอาจารย์ทอง อโสโก ลงที่นั่น บอกว่า “ท่านทอง อยู่จุดนี้ให้เป็นด่านหน้า คอยส่งข่าวฟังข่าวต่างๆ เมื่อเราไปอยู่ที่ใดก็จะส่งข่าวมาบอก”
    หลวงปู่ใหญ่ มอบมีดโต้ให้พระอาจารย์ทอง ๑ เล่ม และพระอาจารย์กงแก้ว มอบสามเณรให้คอยติดตามและอุปัฏฐากด้วย ๑ รูป
    จากนี้คณะของหลวงปู่ใหญ่ ก็ออกเดินทางต่อไปจนถึงนครจำปาศักดิ์ ไปพักที่วัดอำมาตยาราม
    หลวงพ่อโชติ ท่านเขียนไว้ว่า วัดอำมาตยาราม เป็นวัดที่ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) สมัยเป็นพระครูวิจิตรธรรมภาณี เจ้าคณะแขวง เคยมาจำพรรษาอยู่ที่นี่มาก่อน
    ในหนังสือของอาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ บรรยายไว้ดังนี้ : -
    “วัดอำมาตยาราม เป็นวัดเก่าตั้งอยู่บ้านอำมาตย์ นครจำปาศักดิ์ มีเนื้อที่ ๑๐ กว่าไร่ สร้างในสมัยที่ท่านเทวธมมี (ม้าว) เป็นอุปัชฌาย์แห่งเมืองอุบลฯ ตรงกับรัชกาลที่ ๕
    ต่อมาพระยามหาอำมาตยาธิบดี (หรุ่น) และ เจ้ายุติธรรมธร เจ้านครจำปาศักดิ์ พร้อมด้วย ท้าวเพี้ย กรมการเมือง ร่วมแรงร่วมใจกันบูรณะขึ้น สำหรับเป็นวัดธรรมยุตวัดแรกของแขวงจำปาศักดิ์ และได้เปิดเป็นสำนักเรียนมีชื่อว่า โรงเรียนบูรพาสยามเขต ในยุคที่ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ มาปกครองคณะสงฆ์จำปาศักดิ์ เป็นเจ้าคณะสังฆปาโมกข์ นครจำปาศักดิ์ และเป็นเจ้าอาวาสวัดอำมาตย์นี้
    วัดอำมาตยาราม นี้ มีพระอุโบสถอยู่ตรงกลางวัด ตั้งหันหน้าไปทางทิศตะวันออกสู่แม่น้ำโขง มีหน้ากว้าง ๘ วา ยาว ๑๑ วา (๑๖๒๒) เมตร) ลักษณะเป็นผนังก่ออิฐถือปูน หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผา และได้รับพระราชทานที่วิสุงคามสีมาเมื่อปีชวด พ.ศ. ๒๔๓๑ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
    นอกกำแพงวัดด้านหน้า กับข้างวัดด้านใน เป็นถนน ด้านหลังวัดเป็นที่สวนและทุ่งนา ข้างวัดด้านเหนือเป็นตึกรามบ้านพักอาศัยของชาวบ้าน ที่ตรงข้ามหน้าวัดเป็นสวนริมโขง ถัดจากสวนก็เป็นแม่น้ำโขง มีท่าน้ำตรงกับประตูหน้าวัด ที่ตรงดิ่งไปสู่ประตูอุโบสถ เรียกชื่อท่าน้ำนี้ว่าท่าอำมาตย์ ตรงข้างวัดทางทิศใต้เป็นท่าน้ำอีกเรียกว่า ท่าศาลา หรือ ท่าโรงหมอ เพราะในซอยข้างวัดเป็นที่ตั้งของสถานพยาบาล (โรงหมอ) นั่นเอง
    คณะที่สาม เดินทางตามไปภายหลัง เป็นคณะของท่านพระอาจารย์เนียม สุวโจ ท่านพระอาจารย์เจี๊ยะ จุนโท ทั้งสองท่านเป็นพระอาคันตุกะที่ท่านพระอาจารย์มั่นส่งมาจากสกลนคร เพื่อกราบเยี่ยมพระอาจารย์ผู้เฒ่า จึงต้องมีผู้นำทางไปคือ พระอาจารย์บุญเพ็ง นารโท หลานของหลวงปู่ใหญ่ และยังมีพระอาจารย์แก้ว (หลวงปู่เจี๊ยะเรียกว่าครูบาแก้ว ครูบาเนียม) พร้อมสามเณรกับผ้าขาวผู้ติดตามอีกด้วย
    คณะที่สามนี้เดินทางด้วยเท้า เราลองมาอ่านคำเล่าบอกของหลวงปู่เจี๊ยะโดยตรงในตอนต่อไปครับ
    ๑๖๖
    คณะที่สาม คณะของหลวงปู่เจี๊ยะ
    เราลองมาดูการเดินทางของคณะที่สามก่อน เป็นคำบอกเล่าของหลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท โดยตรง ดังนี้
    หลังจากหลวงปู่เสาร์ท่านหายจากอาพาธแล้ว ธาตุขันธ์กระปรี้กระเปร่า ท่านจึงเดินทางไปทำบุญอุทิศให้ท่านแดดัง ผู้เป็นอุปัชฌาย์ของท่านซึ่งอยู่ที่ หลี่ผี ประเทศลาว (ตามปกติหลวงปู่เสาร์จะชอบออกธุดงค์ลงไปทางใต้นครจำปาศักดิ์ หลี่ผี ปากเซ ฝั่งประเทศลาว แล้วก็ย้อนกลับมาจำพรรษาที่วัดดอนธาตุ เป็นประจำทุกปี)
    หลวงปู่เสาร์ เดินทางล่วงหน้าไปประเทศลาวก่อนเรา (หลวงปู่เจี๊ยะ) จึงเดินธุดงค์ติดตามไปทีหลัง ความจริงแล้วเราจะไม่ธุดงค์ติดตามท่านไปจำปาศักดิ์ ประเทศลาว ตั้งใจว่าจะกลับสกลนครไปหาท่านพระอาจารย์มั่น ที่บ้านโคกสี (จ.สกลนคร) ก่อนเลยก็ได้
    แต่เมื่อมานึกถึงคำสั่งของท่านพระอาจารย์มั่น ก็ให้หวนรู้สึกประหวัดๆ อยู่ในใจว่า “เจี๊ยะเอ้ย ! ดูแลหลวงปู่เสาร์แทนผมให้ดีนะ ถึงการป่วยอาพาธของท่านจะหายก็อย่าได้ไว้วางใจเป็นอันขาด”
    เมื่อเป็นดังนี้ เราจึงจำเป็นต้องเดินธุดงค์ติดตามหลวงปู่เสาร์ไปประเทศลาว เพราะมีความมั่นใจในความรู้พิเศษของท่านพระอาจารย์มั่นว่า “ท่านต้องทราบเหตุการณ์ล่วงหน้าในเรื่องอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นแน่นอน จึงกำชับให้เราดูแลหลวงปู่เสาร์เป็นอย่างดี”
    ท่าน (หลวงปู่มั่น) เน้นว่า “อย่าได้ไว้วางใจ” เหมือนกับท่านบอกเป็นนัยๆ แต่ท่านไม่พูดตรงๆ จะเป็นการทำนายครูบาอาจารย์ ท่านอาจารย์มั่น ท่านเคารพรักหลวงปู่เสาร์มาก
    ขณะหลวงปู่เสาร์ เดินทางล่วงหน้าไปประเทศลาว นครจำปาศักดิ์ก่อนแล้ว ทางฝ่ายเราพระเจี๊ยะ และพระเพ็ง ผู้เป็นหลานของท่านครูบาแก้ว ครูบาเนียม และเณรกับผ้าขาว ก็ออกเดินทางด้วยเท้าจากดอนธาตุ มุ่งไปยัง เขตสุวรรณคีรี ริมแม่น้ำโขง ซึ่งใกล้กับปากน้ำมูลเชื่อมต่อกับแม่น้ำโขง
    เราได้พาหมู่คณะพักค้างคืนที่บนภูเขาที่เขตสุวรรณคีรี ต่อมาได้มีผู้มานิมนต์ให้ไปพักอยู่ที่ใกล้ๆ กับแม่น้ำโขง เป็นที่มีป่าใหญ่มาก มีสัตว์นานาชนิด เช่น ช้าง เสือ หมี และในน้ำยังมีปลาโลมาน้ำจืด เสียงร้องดังเหมือนเสียงวัว อีกทั้งสถานที่นั้นยังเป็นสถานที่ที่ชาวบ้านเกรงกลัวมาก เพราะใครจะไปตัดไม้ไม่ได้ หากตัดต้นไม้ก็มีอันเป็นไป คือเจ็บไข้ได้ป่วย
    ในป่านั้นมีไม้ยางใหญ่ๆ เขาทำเป็นตะท้าวดักเสือ เมื่อเสือผ่านลอดเข้ามา ตะท้าวก็จะหล่นมาทุบเสือตาย เราไม่รู้ไปยกเอาไม้ออก ต้นไม้ก็มาแทงเอาขา ต้องเอาน้ำมันมาทา เดินไม่ได้ตั้งนาน เจ็บปวดมาก ไม่รู้ว่าเขาทำดักเสือ
    เราพาหมู่คณะปฏิบัติพักอยู่ที่ป่าดงใหญ่นี้ไม่นานนักได้นำคณะธุดงค์ไปยังนครจำปาศักดิ์ตามคำนิมนต์ของโยมคำตัน
    ในระหว่างนั่งเรือไปนครจำปาศักดิ์ แล้วมุ่งตรงไปทางปากเซ ปากซัน ปีนั้นน้ำเยอะเชี่ยวกรากมาก ล่องเรือไปตามกระแสน้ำ เรือมันจึงแล่นเร็ว พอไปถึงตรงสะดือน้ำใหญ่ บังคับเรือไว้ไม่อยู่ เรือหมุนติ้วๆ บึ้ดๆ ๆ งี้ ทีนี้เรือมันเล็กมันหมุนตั้ง ๒๐ รอบมั้ง วื้อๆ ๆ
    ถ้าเป็นเรือใหญ่มันก็หมุนสักเดี๋ยวก็ไปได้ แต่เราไปเรือพายเล็กๆ ถึงตรงสะดือน้ำก็หมุนเคว้งคว้าง เราก็ตะโกนบอกสั่งให้พวกฝีพายช่วยกันงัดเรือออกไปอีกด้าน เราต้องใช้ไม้พายช่วยงัด จึงหลุดออกมาได้ ไม่งั้นตาย
    คนตายแยะตรงนี้ มันดูดลงไปตาย ถ้าเกิดล่มขึ้นมาเราอาจจะไม่ตาย เพราะเราว่ายน้ำเก่ง แต่มันต้องเอาจีวรออก ถ้าเอาออกไม่ทันก็ตายเหมือนกัน มันเป็นสะดือน้ำ หมุนวนน่ากลัว
    (หลวงปู่เจี๊ยะ เป็นคนจันทบุรี ลูกน้ำเค็ม ท่านว่ายน้ำเก่ง)
    เดินทางถึงวัดอำมาตย์ นครจำปาศักดิ์
    เมื่อเรือเลียบฝั่ง เราได้พาพระเณรทั้งหมดไปพักยังวัดอำมาตย์ (วัดอำมาตยาราม) นครจำปาศักดิ์ มุ่งเพื่อจะไปให้ทันหลวงปู่เสาร์ แต่คลาดกัน หลวงปู่เสาร์ได้ธุดงค์ไปที่หลี่ผีก่อน
    พักที่วัดอำมาตย์ พอสมควรแล้ว ต่อจากนั้นได้ธุดงค์ต่อไปที่ห้วยสาหัว เขตนครจำปาศักดิ์ ห่างตัวเมือง ๑๐ กว่ากิโลเมตร พักอยู่ที่นี่ราว ๔ เดือน เป็นหมู่บ้านที่มีผู้อยู่อาศัยราว ๑๘ หลังคาเรือน
    ในการธุดงค์ครั้งนี้ เราพักอยู่กับพระเพ็งสององค์เพียงเท่านั้น
    ในขณะที่เข้าไปพักอยู่ที่บ้านห้วยสาหัว อาหารการฉันก็เป็นอาหารพื้นบ้าน เรามาเพื่อธรรม สิ่งเหล่านี้จึงไม่เป็นอุปสรรคแต่อย่างใด
    เราไปกินปูนา เขาเอามาต้ม ตัวเล็กๆ กินกับข้าวเหนียว รสมันหื่น กินไม่ลง ติดคอ
    อยู่ที่นั้น มีมันหัวใหญ่ๆ เท่าต้นเสากุฏิเรานี่ (ทำมือประกอบ) เวลาจะเอา ต้องเอาน้ำรดให้ชุ่ม โน้มลำต้นไผ่ลงมาคล้อง แล้วดึง (เถามัน) ขึ้นมาทั้งต้น ต้องมัดหัวจุกมันแล้วดึงขึ้นมา ต้องค่อยๆ ไม่งั้นหักหมด มันยาว
    เวลารดน้ำ ดินมันก็อ่อน ค่อยๆ ดึงขึ้นมา ไม่งั้นหักหมด เราขุดธรรมดาไม่ได้ เพราะมันลึกหลายเมตรเลย ต้องใช้ต้นไม้ขนาดพอดีโน้มปลายลงมาแล้วค่อยๆ เอาเชือกผูกที่หัวมัน ด้วยแรงของไม้โน้มและดินที่อ่อนด้วยการรดน้ำให้ชุ่ม หัวมันก็จะค่อยๆ โผล่ขึ้นมาเรื่อยๆ จนสุด
    บางหัวนี่ยาวหลายเมตร มันขาวอร่อย กินเปล่าๆ ไม่มีน้ำตาลน้ำอ้อยจิ้ม ถ้ามีกะทิก็ยิ่งดีใหญ่ แต่สมัยนี้ไม่มี
    ปลาใหญ่ก็มีเยอะแยะ ร้องโอ้กๆ มันเล่นกันในน้ำตอนกลางคืน เขาเรียกปลาโลมาน้ำจืด มันร้องเหมือนเสียงควายเลย ร้องโอ้กๆ ๆ
    เราลงไปเล่นในน้ำ อาบน้ำ โดนปลิงดูด เราไม่กลัวปลิง มันกัดก็จับปลดออก
    นั่งเรือไปค้างกลางทาง ๑ คืน เพราะเรือไม่มีใบ ขากลับเดินไปเที่ยว เจอเสือกับช้างป่า เราอยู่ในร่องลึกมันอยู่ข้างบน เราถามอะไร เขาบอกช้าง เราไม่รู้ ไม่งั้นเราจะไปดู
    เค้าจับช้างตัวเล็กๆ มา มันซน เราก็ไปแหย่ มันก็ไล่ขวิด เอาข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อนให้มันกิน มันเอางวงรับเข้าปาก หมดปึ้บ ขอเราอีก ทีหลังเราลุกไปไหนมันเดินตามเลย มันอดอยากมาก
    ไปมานานมากแล้ว ห้าสิบปีแล้ว
     
  7. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    ๑๖๗
    นัดศิษย์มารวมกัน ทำพิธีมาฆบูชา
    กลับไปติดตามคณะของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล กันต่อนะครับ
    เมื่อคณะของหลวงปู่ใหญ่ เดินทางไปถึงนครจำปาศักดิ์ ได้เข้าพักที่วัดอำมาตยาราม
    ลูกศิษย์คณะที่หนึ่ง ที่เดินทางไปล่วงหน้า คือ พระอาจารย์ทองรัตน์ พระอาจารย์บุญมาก และ พระอาจารย์กิ ซึ่งไปพักบำเพ็ญสมณธรรมรออยู่ที่วัดภูจำปาศักดิ์ ทราบข่าวการเดินทางมาถึงของหลวงปู่ใหญ่ จึงพากันมากราบทำวัตรและถวายการอุปัฏฐากตามธรรมเนียมของพระสายกรรมฐาน
    หลวงปู่ใหญ่ ได้นัดหมายให้ส่งข่าวลูกศิษย์ทั้งหมด ให้มารวมกัน ทำพิธีมาฆบูชาซึ่งเป็นการนัดรวมลูกศิษย์เป็นประจำทุกปีที่วัดภูจำปาศักดิ์ ก็อยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๕ คณะศิษย์ต่างแยกย้ายไปบำเพ็ญสมณธรรมตามอัธยาศัยของตน
    เมื่อนัดแนะเป็นที่เรียบร้อยแล้ว (ขณะนั้นเป็นเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๔) หลวงปู่ใหญ่ จึงได้พาคณะศิษย์ติดตามเดินหางต่อไปยังเมืองโขง-ดอนฮีธาตุ ซึ่งยังอยู่อีกไกล เพื่อทำบุญอุทิศถวายครูบาอาจารย์ของท่านตามที่ตั้งใจ
    หลวงปู่ใหญ่ ยังได้กำชับคณะศิษย์ที่อยู่ที่นครจำปาศักดิ์ คอยสดับตรับฟังข่าวขององค์ท่านอย่าให้คลาด !
    รวมทั้งให้พระอาจารย์บุญมากจัดทำประทุนเรือแจวไปคอยรับท่านในตอนขากลับด้วย
    คณะของหลวงปู่ใหญ่ ออกเดินทางไปเมืองโขง-ดอนฮีธาตุ ด้วยการโดยสารเรือกลไฟ ล่องใต้ลงไป พักค้างคืนที่วัดกลาง เมืองมุลปาโมกข์ หรือมีชื่อทางการของไทยว่า อำเภอวรรณไวทยากร (ดินแดนส่วนนั้นยังเป็นของประเทศไทยในสมัยนั้น)
    เมืองมุลปาโมกข์ หรืออำเภอวรรณไวทยากรนั้น อยู่ใกล้จะถึงเมืองโขง เป้าหมายปลายทางแล้ว ทางคณะออกเดินทางด้วยเรือพายเรือแจว ต่อไปยังเมืองโขง ดอนฮีธาตุ บ้านเกิดและที่ประดิษฐานสถูปบรรจุอัฐิธาตุของพระครูสีทันดรคณาจารย์ หรือ ท่านพระครูสีทา โชติปาโล พระอุปัชฌาย์ของหลวงปู่ใหญ่
    นับเป็นการเดินทางที่ยาวไกลและทรหดอดทนอย่างยิ่งสำหรับหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ที่ชราภาพอายุเลย ๘๐ ปีแล้ว และแสดงถึงความเด็ดเดี่ยว มุ่งจุดหมายหนึ่งเดียวอย่างแน่วแน่ไม่แปรผัน เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อครูบาอาจารย์ ก่อนที่ท่านเองจะลาขันธ์
    ๑๖๘
    วงศ์ธรรมยุตสีทันดร ดอนโขง
    ขออนุญาตหยุดพักเรื่องของหลวงปู่ใหญ่ ไว้สักประเดี๋ยว ขอนำท่านไปรับทราบข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของคณะสงฆ์ธรรมยุต แขวงจำปาศักดิ์ หรือ วงศ์ธรรมยุตสีทันดร พอเป็นพื้นฐานสักเล็กน้อย
    ทั้งหมดนี้เป็นผลการค้นคว้าของ อาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติอีกนั่นแหละ แล้วผมก็บรรจงคัดลอกมาเสนอ (เอาหน้า) ด้วยความภาคภูมิใจ
    <table id="table76" align="left" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center"> ภาพถ่ายทางอากาศ แม่น้ำโขงช่วงที่เป็น สี่พันดอน
    ซ้ายมือคือน้ำตกคอนพะเพ็ง
    ภาพจาก
    www.tourdoi.com
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    ขอเริ่มตรงบริเวณแม่น้ำโขง ส่วนล่างสุดของประเทศลาวเรียกว่า สีทันดร มากจากคำว่า สี่พันดอน
    ดอน ในที่นี้หมายถึง เกาะ
    ที่เรียกว่า สีทันดร หรือ สี่พันดอน ก็เพราะแม่น้ำโขงบริเวณนี้มีเกาะแก่งน้อยใหญ่อยู่เป็นจำนวนมาก จนว่ากันว่า สุดคณานับ (คงไม่มีใครไปลอยคอนับได้หมด)
    เกาะที่ใหญ่ที่สุดในบริเวณนี้ ชื่อ ดอนโขง (เกาะโขง) ตั้งอยู่กลางลำน้ำโขง เป็นที่ตั้งของหลายหมู่บ้าน หลายตาแสง (ตำบล) จนรวมกันกลายเป็นเมือง เรียกว่าเมืองโขง มีภูเขา ๗ ลูก มีสนามบินแห่งสุดท้ายใต้สุดของชาติลาวตั้งอยู่ที่เมืองนี้ ถ้าจะเทียบก็คล้ายกับเกาะภูเก็ตของไทยเรา น่าจะเทียบกันได้
    พอนึกภาพออกนะครับ
    ทีนี้มาพูดเรื่องพระสายธรรมยุตของลาว ก็ขอเริ่มมาตั้งแต่ครั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ยังทรงผนวชเป็นวชิรญาโณภิกขุอยู่ ก็ได้มีชาวสีทันดรท่านหนึ่งชื่อว่า ก่ำ ได้มีจิตเลื่อมใสบวชเรียน เป็นสัทธิวิหาริก (ลูกศิษย์) ของพระเจ้าอยู่หัว วชิรญาโณภิกขุ
    ตามประวัติ ท่านก่ำ เป็นหนึ่งในบรรดาชาวพื้นเมืองที่ถูกเกณฑ์ลงมาส่งช้างเผือกที่กรุงเทพฯ แล้วท่านก็สนใจบวชเรียน ตั้งใจศึกษาพระธรรมวินัย ชำนาญในอักษรสมัยและพระสูตร รอบรู้ในธรรมจนเป็นที่ไว้วางพระหฤทัยของท่าน วชิรญาโณ พระอาจารย์ของท่าน
    หลังจากท่านวชิรญาโณ ขึ้นครองราชย์ เป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ แล้ว ท่านพระภิกษุก่ำ รำลึกถึงเมืองโขง สีทันดร บ้านเกิดเมืองนอนท่าน และใคร่จะเห็นวงศ์ธรรมยุติก่อตั้งขึ้นในถิ่นนั้น
    เมื่อได้โอกาสกราบทูล พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงพอพระทัยเป็นอย่างยิ่ง ด้วยทรงอยากให้คณะธรรมยุติกาตั้งมั่น แผ่ไพศาลรุ่งเรืองทั่วพระราชอาณาจักร
    เวลานั้นเมืองโขง สีทันดร นครจำปาศักดิ์ ยังเป็นขอบขัณฑสีมาอาณาจักรสยามประเทศอยู่
    เมื่อถึงกำหนดวันเดินทาง พระเถราจารย์เจ้าก่ำ คุณสมฺปนฺโนก็เข้าเฝ้ารับพระโอวาททูลลา นำวงศ์ธรรมยุติกาไปสู่เมืองโขง สีทันดร
    นัยว่า ในโอกาสเดียวกันนี้ พระเถราจารย์เจ้าพันธุละ (ดี) ก็นำเอาวงศ์ธรรมยุติกาไปสู่เมืองอุบลราชธานี (โปรดไปอ่านทบทวนตั้งแต่ตอนแรกๆ นะครับ)
    และ พระเถราจารย์เจ้า ธัมมปาละ ก็นำเอาวงศ์ธรรมยุติกาไปกรุงพนมเปญ กัมพูชา พร้อมๆ กัน
    ดังนั้น วงศ์ธรรมยุติกาสีทันดร อุบลราชธานี และ กรุงพนมเปญจึงออกไปประดิษฐานเผยแพร่พร้อมกัน มีความเกี่ยวข้องกันมาตั้งแต่บัดนั้นแล
    เมื่อพระเถราจารย์เจ้าท่านก่ำ คุณสมปนโน นำเอาวงศ์ธรรมยุติกาไปถึงเมืองโขง สีทันดร แล้ว กิตติศัพท์ด้านคุณธรรมความดีงามของท่านก็แพร่ออกไปกว้างไกล ประชาชนตลอดจนท่านเจ้าเมือง คือพระอภัยราชวงศา ต่างเลื่อมใสศรัทธาเป็นเหตุให้มีการสร้างวัดธรรมยุตขึ้นมาหลายแห่ง
    วัดภูเขาแก้วมณีวรรณ ตั้งเป็นวัดแรก ต่อมาก็มีวัดสุทัศน์มาลาราม บ้านนา, วัดสุวรรณเจดีย์ บ้านเวินทอง, วัดพระธาตุศรีบุญเรือง บ้านดง, วัดโพนแก้ววิชัย ที่ส้างไพโพนแสง, วัดดอนกระสัง และวัดดอนเหล็กไฟตามลำดับ
    เมื่อมีการสมโภชพระประธานฉลองพระอุโบสถ วัดภูเขาแก้วมณีวรรณ มีการแห่พระทางชลมารค รอบเกาะโขง เจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์คือ เจ้ายุติธรรมธร ก็เสด็จลงไปร่วมงาน นับว่าวงศธรรมยุติกาสีทันดรได้รับความอุปถัมภ์จากเจ้านายเชื้อพระวงศ์มาแต่เริ่มแรก ทำให้การเผยแพร่พระพุทธศาสนาสายนี้เป็นไปโดยสะดวก และเจริญรุ่งเรืองมาโดยลำดับ
    พระเถราจารย์เจ้า ท่านก่ำ ต้นวงศ์ธรรมยุตสีทันดร ได้ดับขันธ์มรณภาพด้วยโรคชรา ที่วัดโพนแก้ววิชัย ดอนส้างไพโพนแสง อัฐิธาตุของท่านได้บรรจุในพระเจดีย์สูง ๑๕ วา กว้าง ๓ วา อยู่ทางทิศตะวันออกของวัดนั้นเอง
    บรรดาลูกศิษย์อาวุโส มีพระครูธรรมสัง (วา) เป็นต้น ก็พาหมูคณะสืบศาสนทายาทวงศ์ธรรมยุตต่อมาโดยลำดับ ได้ส่งพระภิกษุสามเณรผู้หนักต่อทางศึกษาไปเล่าเรียนพระธรรมวินัย ที่สำนัก ท่านเทวธัมมี (ม้าว) ที่วัดศรีทอง และวัดสุปัฏนาราม ในเมืองอุบลราชธานี
    ในสมัยต่อมา เมื่อท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ ได้รับอาราธนาให้ไปเป็นเจ้าอาวาสวัดอำมาตยาราม และเจ้าคณะแขวงจำปาศักดิ์ ก็ได้มีพระภิกษุสามเณรจากเมืองโขง สีทันดร มาอาศัยเพื่อศึกษาพระธรรมวินัยบ้าง มาบวชที่นั่นบ้าง และท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ เองก็ได้เดินทางลงไปตรวจตราสั่งสอนหมู่คณะทางสีทันดร เป็นประจำ
    ด้วยเหตุนี้ พระภิกษุสามเณรวงศ์ธรรมยุตสายสีทันดร นครจำปาศักดิ์ จึงมีความเกี่ยวพันกับสายอุบลฯ อย่างแน่นแฟ้น และเป็นเหตุสืบเนื่องให้ได้มีโอกาสเข้ามาศึกษาเล่าเรียนที่กรุงเทพฯ ด้วยเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่จะมาพักอาศัยที่วัดบรมนิวาส และที่วัดปทุมวนาราม ที่ได้รับสมณศักดิ์เป็นเจ้าคุณ เป็นพระครู และที่เป็นมหาเปรียญ ก็มีหลายองค์
    ครูบาอาจารย์วงศ์ธรรมยุตสายสีทันดรที่ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดปทุมวนาราม ได้แก่เจ้าอาวาสลำดับที่ ๒-๓-๔ คือ พระครูปทุมธาดา (สิงห์ อคฺคธมฺโม) พระปัญญาพิศาลเถร (สิงห์) และพระวิสุทธิสารเถร (ผิว)
     
  8. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    สำหรับเจ้าอาวาสลำดับที่ ๕ คือ ท่านเจ้าคุณพระปัญญาพิศาลเถร (หนู ฐิตปญฺโญ) ผู้เป็นสหธรรมิกของ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ ก็เป็นอีกองค์หนึ่งที่สืบสายสีทันดรมาเช่นกัน
    ท่านพระอุปัชฌาย์ของหลวงปู่เสาร์ ที่ท่านเดินทางมาทำบุญอุทิศถวาย คือ ท่านพระครูสีทันดรคณาจารย์ (พระครูสีทา โชติปาโล) ก็เป็นเชื้อสายวงศ์ธรรมยุตสีทันดร ดำรงตำแหน่ง เจ้าคณะใหญ่แห่งสีทันดร ซึ่งท่านมรณภาพที่ดอนฮีธาตุ เมืองโขง ที่ตั้งอยู่บนเกาะดอนโขง แห่งนี้เอง
    <table id="table72" border="0"> <tbody><tr> <td align="center">
    [​IMG]
    </td> <td align="center"> ปราสาทวัดภู
    นครจำปาศักดิ์ ประเทศลาว
    </td> </tr> <tr> <td align="center"> [​IMG]</td> <td align="center"> [​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ​
    ๑๖๙
    ทำบุญถวายกุศลพระอุปัชฌาย์
    พระอุปัชฌาย์ที่หลวงปู่ใหญ่เดินทางมาถวายกุศลอุทิศคือ ท่านพระครูทา โชติปาโล ซึ่งต่อมาได้รับสมณศักดิ์ที่พระครูสีทันดรคณาจารย์ เจ้าคณะใหญ่แห่งสีทันดร
    ท่านพระครูทา ท่านเป็นชาวเมืองโขง แขวงจำปาศักดิ์ ได้ไปบวชเรียนที่จังหวัดอุบลราชธานี จนได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ และในบั้นปลายชีวิตท่านได้เดินทางกลับบ้านเกิดเมืองนอนของท่าน ได้นำความเจริญทางพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิบัติธรรมกรรมฐาน จนได้เกิดวัดธรรมยุตบนเกาะดอนโขงมากกว่า ๒๐ วัดสืบต่อมาจนปัจจุบันนี้
    ท่านพระครูทา โชติปาโล หรือ พระครูสีทันดรคณาจารย์ ได้มรณภาพที่ดอนฮีธาตุ เมืองโขง บ้านเกิดเมืองนอนของท่าน ลูกศิษย์ลูกหาและญาติโยมได้พร้อมใจกันให้ก่อสถูปเจดีย์บรรจุอัฐิธาตุของท่านณ สถานที่แห่งนี้
    <table id="table74" align="left" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center"> พระประธานเดิมในอุโบสถ
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    ในวันทำบุญอุทิศถวายพระอุปัชฌาย์นั้น หลวงปู่ใหญ่เสาร์ได้บอกให้ลูกศิษย์ลูกหาของพระอุปัชฌาย์พร้อมทั้งญาติโยมที่ศรัทธาในองค์ท่านได้ทราบ แล้วได้นิมนต์พระสงฆ์มาร่วมพิธีในครั้งนั้นจำนวน๔๐ รูป ได้ถวายปัจจัยรูปละ ๑ บาท ครบจำนวน ๔๐ บาท ที่ท่านได้รับถวายจากงานศพของเศรษฐี ในเมืองอุบลฯ เมื่อคราวที่แล้ว
    ญาติโยมชาวเมืองโขง-ดอนฮีธาตุ ได้จัดเตรียมภัตตาหารถวายบิณฑบาตพระเณรที่มาร่วมงาน
    การจัดบำเพ็ญกุศลครั้งนี้เสร็จสิ้นด้วยดี หลวงปู่ใหญ่ได้บำเพ็ญกุศลถวายพระอุปัชฌาย์ท่านสมดังความตั้งใจ ที่ท่านมีมาก่อนนี้ถึง ๒๐ ปี นับว่าท่านมีความกตัญญูกตเวทีเป็นอย่างยิ่ง ท่านมีความตั้งใจที่เด็ดเดี่ยว แม้การเดินทางจะเต็มไปด้วยความยากลำบากและเสี่ยงอันตราย กอปรกับท่านเข้าสู่วัยชราภาพมากแล้ว ท่านก็ไม่ย่นย่อท้อถอย นับเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ศิษยานุศิษย์เป็นอย่างดี
    ๑๗o
    หลี่ผี และคอนพระเพ็ง
    หลังจากการจัดงานถวายกุศลอุทิศแด่พระอุปัชฌาย์เสร็จแล้ว หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ท่านประสงค์จะธุดงค์ลงไปทางใต้รวมทั้งไปชมเกาะแก่งน้อยใหญ่บริเวณสีทันดรในบั้นปลายชีวิตของท่าน
    หลวงปู่ใหญ่ และคณะศิษย์ ใช้เวลาหลายสิบวันเดินทางด้วยเท้าไปชมเกาะแก่งต่างๆ ไปจนถึง หลี่ผี และ คอนพระเพ็ง
    หลี่ผี เป็นชื่อของน้ำตกในลำน้ำโขง ที่แผ่นดินมีระดับสูงต่ำแตกต่างกันหลายเมตร มีโขดเขาซอกผาเป็นเสมือนเขื่อนกั้นลำน้ำโขงไว้ทำให้น้ำจากแม่น้ำโขงทั้งสายไหลมาเอ่อล้นบริเวณแห่งนี้ แล้วไหลตกตามซอกผาหินลดระดับกัน กลายเป็นน้ำตกใหญ่ที่สายน้ำซ่านกระเซ็นเป็นฝอยฟอง เสียงดังกึกก้องไปไกล
    การที่มีหินผาคล้ายเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงแห่งนี้ ได้ช่วยไม่ให้สายน้ำไหลลงทะเลไปเร็ว จึงคล้ายเขื่อนกักน้ำตามธรรมชาติ ถ้าไม่มีเขื่อนแห่งนี้กล่าวกันว่า น้ำในแม่น้ำโขงทั้งสายจะไหลลงทะเลเร็วมาก อาจเหือดแห้งไปในหน้าแล้งก็ได้
    คำว่า หลี่ หรือ ลี่ เป็นชื่ออุปกรณ์ดักปลา คล้ายๆ กับไซ หรือลอบที่เรียกว่า หลี่ผี เพราะกระแสน้ำแถวนั้นไหลเชี่ยว และอันตรายมาก ถ้ามีคนตกลงไปจะไม่รอด และศพจะถูกพัดไปตามกระแสน้ำ มักไปติดอยู่ที่หลี่ ที่ชาวบ้านดักไว้ จึงเรียกหลี่ผี
    คอนพระเพ็ง เป็นน้ำตกยิ่งใหญ่แห่งสุดท้ายในลำน้ำโขงอยู่ใต้หลี่ผีลงไป มีความสวยงามมาก ได้รับการขนานนามว่าเป็น ไนแอการาแห่งเอเซีย ว่ากันว่าน้ำตกคอนพระเพ็ง สวยงามและยิ่งใหญ่กว่าน้ำตกหลี่ผีเสียอีก
    หลวงพ่อโชติ อาภคฺโคได้เขียนบรรยายถึงน้ำตกทั้งสองแห่ง ดังนี้
    “น้ำตกหลี่ผี เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ อยู่ตอนใต้สุดของแม่น้ำโขงซึ่งเป็นชายแดนของประเทศลาวติดต่อกับประเทศกัมพูชา อยู่ในเขตเมืองขี้นาก
    น้ำตกแห่งนี้เกิดจากภูเขาเป็นเหมือนเขื่อนผาหินกั้นน้ำในลำน้ำโขงกลายเป็นน้ำตกที่สูงชัน หากไม่มีเขาลูกนี้เป็นคูเขื่อนกั้นไว้ น้ำในลำโขงตอนเหนือขึ้นไปคงจะต้องเหือดแห้งลงได้
    เสียงน้ำตกได้ยินกระหึ่มออกไปไกล เมื่อเข้าไปใกล้เสียงน่าสะพรึงกลัว มาก
    ผู้เขียน (หลวงพ่อโชติ) เคยไปดูมาหลายครั้ง และคุ้นเคยพอสมควร ชาวบ้านเล่าต่อกันมาว่า ที่แก่งหลี่ผี และคอนพระเพ็ง นี้เมื่อมีอะไรพลัดตกลงไป แม้แต่ขอนซุงต้นใหญ่ๆ ก็จะแตกกระจายไม่มีเหลือ เพราะเป็นน้ำตกที่สูงชันเป็นหลายชั้น
    บรรดาปลาน้อยใหญ่ไม่สามารถขึ้นมาข้างบนน้ำตกได้ จึงพากันอยู่ใต้น้ำตกเป็นจำนวนมาก พวกคนหาปลาจึงได้จับปลากันอย่างสนุกสนาน เพียงใช้ตาข่ายช้อนก็ได้ปลามากมาย
    (คอนพระเพ็ง) ในฤดูแล้ง ช่วงน้ำลด จะมองเห็นเกาะอยู่เกาะหนึ่ง กระแสน้ำไหลแยกออกสองข้างเกาะ เห็นละอองไอน้ำเป็นหมอกควันที่เกาะนั้นมองเห็นต้นไม้ใหญ่ต้นหนึ่ง มีกิ่งใหญ่อยู่ ๓ กิ่ง ชี้ไปทางทิศใต้กิ่งหนึ่ง ชี้ไปทางทิศเหนือกิ่งหนึ่ง และใช้ไปทางทิศตะวันออกกิ่งหนึ่ง ที่ยอดกลับไม่มีกิ่ง เขาเรียกกันว่า มณีโคตร ถ้ามองแต่ไกลจะเห็นลักษณะคล้ายต้นงิ้วป่า แต่งิ้วป่ามักจะมีเพียงกิ่งยอดเท่านั้น แต่ต้นมณีโคตรนี้ไม่มีกิ่งยอด มีเพียงสามกิ่งชี้ไปกิ่งละทิศ
    ทางฝั่งลาวเล่ากันว่า ไม่มีใครเคยเข้าไปดูต้นไม้ต้นนี้ได้ มีเพียงอาชญาท่านสำเร็จลุน พระอภิญญาของลาวในอดีต เพียงองค์เดียวเท่านั้นที่สามารถเดินบนน้ำเข้าไปดูต้นไม้ต้นนี้ได้
    ผู้เขียนได้ฟังมาอย่างนี้ ขอให้อยู่ในดุลยพินิจของท่านผู้รู้เถิด
    <table id="table75" border="0"> <tbody><tr> <td align="center">
    [​IMG]
    </td> <td align="center"> หลี่ผี (ซ้าย)

    </td> </tr> <tr> <td align="center"> น้ำตกคอนพะเพ็ง (ขวา)
    นครจำปาศักดิ์ ประเทศลาว

    </td> <td align="center"> [​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ​
    ๑๗๑
    หลวงปู่ใหญ่อาพาธ
    หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล และคณะศิษย์ได้เดินทางเที่ยวชมเกาะแก่งต่างๆ หลายวัน แล้วกลับมาพักที่ท่าเปือย หรือ คำปงเสลา และกำหนดจะทำพิธีมาฆบูชาในวันเพ็ญเดือนสาม ที่บ้านท่านาดี
    หลวงปู่ใหญ่ ท่านเริ่มป่วยเป็นไข้หวัดขณะที่เที่ยวชมเกาะแก่งต่างๆ เพราะท่านถูกฝนซึ่งตกหนักในระยะนั้น ขณะที่พักอยู่บ้านหัวดอนหลี่ผี ศิษย์ผู้ใหญ่คือ พระอาจารย์ดี ฉนฺโน ได้อาราธนาท่านกลับมาพักที่บ้านท่านาดี เพราะใกล้จะถึงวันมาฆบูชา ตามที่ท่านนัดหมายแล้ว
    พระสมัยซึ่งเป็นหลานชายของหลวงปู่ใหญ่ได้สวดพระปาฏิโมกข์ถวาย อาการไข้หวัดของท่านยังไม่ทุเลาแต่กลับเป็นมากขึ้น อาการของท่านดูทรุดหนัก
    หลวงปู่บัวพา ปญฺญาภาโส ศิษย์ผู้อุปัฏฐากเห็นว่าอาการของหลวงปู่ใหญ่ดูน่าวิตก จึงได้นำเรื่องนี้ไปกราบเรียนปรึกษากับพระอาจารย์ดี ซึ่งเป็นพระเถระในที่นั้น
    “ครูบาจารย์... ครูบาจารย์ใหญ่จักเพิ่นเป็นจังได๋ ผิดปกติต่างเก่าต่างหลัง ข้าน้อย”
    เมื่อพระอาจารย์ดีได้รับคำบอกเล่าจากหลวงปู่บัวพาอย่างนั้น จึงรีบเข้าไปเยี่ยมดูแลอาการของหลวงปู่ใหญ่ทันที และเห็นว่าอาการของท่านทรุดหนักจริง
    ต่อไปนี้เป็นคำสนทนา ตามการบันทึกของหลวงพ่อโชติ ดังนี้
    พระอาจารย์ดี : “ครูบาจารย์ เป็นจังได๋เดี๋ยวนี้ ฮั่นว่า บ่ซำบาย?
    หลวงปู่ใหญ่ : “หือ ! มันสิเป็นอีหยัง บ่เป็นหยังดอก”
    พระอาจารย์ดี : “บ่เป็นจังได๋ สุขภาพครูบาจารย์ทรุดลงเรื่อยๆ คั่นว่าซั่น ข้าน้อยขอนิมนต์ครูบาจารย์กลับไปรักษาตัวก่อน ข้าน้อย”
    หลวงปู่ใหญ่ : “กลับจังได๋ สิพาเขาทำบุญมาฆะอยู่”
    พระอาจารย์ดี : “เรื่องทำบุญนั้น พวกข้าน้อยขอรับรองทุกอย่างขออย่าให้ครูบาจารย์เป็นห่วง ข้าน้อย”
    หลวงปู่ใหญ่ : “หือ ! อยู่มันกะสิเป็นหยัง ตายใสทะแล่วตั๋ว ฟืนอยู่นี่สิอึด (หายาก) ซำบอ เผาช้างเป็นโต (ทั้งตัว) กะไหม้ตั๋ว”
    พระอาจารย์ดี : “ครูบาจารย์เว้าจังซั่นกะแม่นอยู่ ข้าน้อยแต่ว่ากระดูกครูบาจารย์นั่นมีค่ามีคุณหลาย คั่นครูบาจารย์มรณภาพอยู่นี่ พวกญาติโยมกะสิมาติเตียนพวกข้าน้อย ว่าพาครูบาจารย์มากวงมาไกล”
    หลวงปู่ใหญ่ : “เออ ! คั่นจังซั่น กะลงอุโบสถก่อน”
    เป็นอันว่า พระอาจารย์ดี ฉนฺโน ก็ต้องอับจนอยู่ตรงนั้น ไม่สามารถจะกล่าวรบเร้านิมนต์ท่านต่อไปอีกได้ เพราะการลงอุโบสถในวันอุโบสถนั้น เป็นเรื่องจำเป็นของพระสงฆ์ที่ยึดพระธรรมวินัย จึงต้องยอมตามความต้องการของหลวงปู่ใหญ่
    ๑๗๒
    อาราธนา นิมนต์ให้โปถึงวัดอำมาตย์ฯ
    เมื่อพระอาจารย์ดี ฉนฺโน ไม่สามารถอาราธนานิมนต์ให้ หลวงปู่ใหญ่กลับไปพักรักษาตัวได้โดยองค์ท่านกล่าวตัดบทว่า “ให้ลงพระอุโบสถเสร็จก่อน”
    พระอาจารย์ดี มีความกังวลเรื่องสุขภาพของหลวงปู่ใหญ่ในตอนนั้นเป็นอย่างมาก เกรงท่านจะเป็นอะไรอย่างปุบปับในเวลานั้น จึงได้อาราธนานิมนต์ว่า
    “ขอโอกาส ข้าน้อย คั่นครูบาจารย์ว่าจังซั่น พวกข้าน้อยกะบ่ขัดเจตนารมณ์ แต่ว่าเป็นจังได๋กะดี พวกข้าน้อยขออาราธนานิมนต์ให้ครูบาจารย์ไปถึงวัดอำมาตย์ก่อน ข้าน้อย”
    หมายความว่า จะอย่างไรก็ตาม ขออาราธนานิมนต์ให้หลวงปู่ใหญ่ได้เดินทางไปถึงวัดอำมาตย์ฯ ซึ่งเป็นวัดใหญ่เสียก่อน
    หลวงปู่ใหญ่ ท่านสงบนิ่ง ไม่พูดว่าอะไรเลย แสดงว่าท่านรับคำอาราธนานิมนต์
    หลวงปู่ใหญ่ท่านพักนิ่งอยู่ คณะศิษย์จึงได้ปล่อยให้ท่านนอนพักผ่อน ต่างองค์ต่างมีความกระวนกระวายใจในอาการป่วยของครูบาอาจารย์เป็นอย่างยิ่ง เพราะต่างองค์ต่างก็ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดี ต่างองค์จึงต่างนิ่งเฉย เพียงเฝ้าคอยดูอาการของหลวงปู่ใหญ่ท่านเท่านั้น
    เมื่อได้เวลากราบเรียนถึงอาการของท่านครั้งไร หลวงปู่ใหญ่ก็บอกว่า “บ่เป็นหยัง” คือท่านจะบอกว่า ไม่เป็นไร คณะศิษย์ต่างก็เฝ้าดูอาการของท่านจนกระทั่งเสร็จการลงอุโบสถกรรม และเสร็จงานบุญมาฆบูชา
    คณะศิษย์ได้อาราธนานิมนต์หลวงปู่ใหญ่เดินทางไปยังเมืองมุลปาโมกข์ (อำเภอวรรณไวทยากร) พักที่วัดกลาง ซึ่งมี ท่านญาคูบุปผา เจ้าอาวาส ให้การต้อนรับ
    หลวงปู่ใหญ่และคณะศิษย์พักที่วัดกลาง เมืองมุลปาโมกข์ เพื่อรอเรือกลไฟเดินทางกลับนครจำปาศักดิ์ต่อไป ซึ่งไม่มีกำหนดการแน่นอนว่าจะออกเดินทางเมื่อใด
    ๑๗๓
    ยังพูดเย้าแหย่ลูกศิษย์
    เป็นที่น่าสังเกตว่า ตั้งแต่ที่พระอาจารย์ดี ฉนฺโน ศิษย์อาวุโสได้อาราธนานิมนต์หลวงปู่ใหญ่ไว้ว่า ขออย่าให้ท่านเป็นอะไรไปก่อนเดินทางถึงวัดอำมาตยาราม อาการป่วยของท่านดูยังคงที่ ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงให้น่าวิตกไปมากกว่านั้น หนำซ้ำดูท่านยังสงบเย็น อารมณ์ดีเป็นปกติ แถมยังพูดจาเย้าแหย่หลวงปู่บัวพา อยู่เลย
    เหตุการณ์มีอยู่ว่า วันหนึ่ง ญาติโยมได้มาทำบุญถวายสังฆทานได้นำข้าวปลาอาหารมาเลี้ยงพระเณร ซึ่งปกติอาหารหลักที่ขาดไม่ได้ก็คือ ข้าวปุ้น หรือ ขนมจีน นั่นเอง
    วันนั้นชาวบ้านได้นำขนมจีนมาเลี้ยงพระเป็นจำนวนมากใส่มาเป็นกระบุงๆ
    หลังจากชาวบ้านกล่าวพิธีถวายอาหารเป็นสังฆทานแล้วพระท่านทำพิธีอปโลกนกรรมแล้ว...
    (ขออนุญาตอธิบายเรื่อง อปโลกนกรรม หรือพูดสั้นๆ ว่า พิธีอปโลกน์ สำหรับท่านที่ยังใหม่ในเรื่องวัดพอเข้าใจ กล่าวคือเวลาถวายสังฆทาน ซึ่งหมายถึงถวายให้แก่สงฆ์เป็นส่วนรวมไม่ได้เจาะจงถวายแก่องค์ใดองค์หนึ่ง
    สังฆทาน ที่ญาติโยมถวายจึงเป็นสมบัติกลางของสงฆ์ ดังนั้นก่อนจะเอาไปบริโภคหรือใช้สอย พระท่านจึงทำพิธีอปโลกน์ คือประกาศให้รู้ว่าของนี้เป็นของสงฆ์ เป็นของส่วนรวม อนุญาตให้พระเณรแต่ละองค์ได้แบ่งไปใช้สอยได้ตามความจำเป็น หมายถึงสงฆ์อนุญาตแล้ว ไม่เช่นนั้นจะเป็นการบาปฐานลักขโมย ยักยอกของสงฆ์)
    หลังจากญาติโยมประเคนของ และพระได้ทำพิธีอปโลกน์แล้วจัดแจงแบ่งปันอาหารถวายครูอาจารย์และพระเณรเสร็จ ขนมจีนที่เหลือเป็นกระบุงๆ ก็นำมาตั้งไว้ข้างที่นั่งของหลวงปู่บัวพา ซึ่งท่านคิดไว้ไนใจว่าวันนี้เราจะฉันขนมจีนให้เต็มอิ่มจุใจสักวัน เพราะมันมีมากมายเหลือเกิน จึงได้ลำเลียงทั้งกระบุงมาไว้ข้างๆ ท่าน
    ปกติหลวงปู่บัวพาจะฉันทีหลังพระเณรองค์อื่นเสมอ เพราะต้องคอยอุปัฏฐากให้ครูอาจารย์ฉันเสร็จเรียบร้อยก่อน แล้วท่านเองจึงได้ลงมือฉัน
    ในวันนั้น หลวงปู่ตัวพาฉันพร้อมกับคณะ โดยท่านฉันข้าวเพียงนิดเดียว ส่วนขนมจีนท่านเติมแล้วเติมอีกตามความตั้งใจแต่แรกด้วยว่าจะฉลองศรัทธาญาติโยมอย่างเต็มที่ สมกับที่เขาทำมามาก
    หลวงปู่ใหญ่เห็นเช่นนั้น ท่านก็เลยหัวเราะ หึ หึ หึ แล้วก็พูดกับพระที่นั่งถัดๆ ไปว่า “เบิงพุ่นนา ท่านบัวพานั่งฉันข้าวปุ้นสิเหมิดกระบุงแล้วพุ้น”
    พระเณรต่างพากันเหลียวมองมาทางหลวงปู่บัวพา เห็นกระบุงขนมจีนตั้งอยู่ข้างท่านหลายใบ ต่างก็ยิ้มและหัวเราะเพราะเห็นเป็นเรื่องขัน สร้างบรรยากาศแก่พระเณรและผู้ร่วมทำบุญในวันนั้น
    ครั้งนี้นับเป็นการหัวเราะเป็นครั้งสุดท้ายของหลวงปู่ใหญ่
    ๑๗๔
    ละวางหมดทุกอย่าง
    ในตอนเย็น ปกติพระลูกศิษย์จะพากันเข้าอุปัฏฐากสรงน้ำ ถูเหงื่อไคลถวายท่าน แต่วันนั้น หลวงปู่ใหญ่บอกว่า จะลงสรงน้ำในแม่น้ำโขงด้วยองค์ท่านเอง ลูกศิษย์ลูกหาก็ดูแลประคองท่านลงไปสรงน้ำจนเสร็จเรียบร้อย ดูสุขภาพของท่านก็ยังแข็งแรงดีอยู่ ไม่น่าห่วงใยประการใด
    เช้าวันรุ่งขึ้น หลวงปู่บัวพา ได้เข้าไปอุปัฏฐากรับใช้ตามปกติ หลวงปู่ใหญ่ได้พูดขึ้นว่า : -
    “ฟ่าวเก็บของสา สิเอาหยังก็เอาสาตี้ ข่อยบ่เอาอีหยังอีก” (ให้รีบเก็บของได้แล้ว ต้องการอะไรก็เอาไปได้ เราไม่ต้องการอะไรอีกแล้ว)
    เมื่อได้ยินดังนั้น หลวงปู่บัวพาก็รีบเก็บเครื่องบริขารของหลวงปู่ใหญ่โดยที่ไม่ได้นึกเฉลียวใจว่า “คำพูดของพระอาจารย์ใหญ่นั้นคือคำเทศนา คำสั่งเสียที่มีความหมายลึกซึ้ง บอกให้เห็นถึงการปล่อยวางความว่าง ไม่มีอะไรต้องยึดถืออยู่ในโลกธาตุ นับเป็นคำสอนที่แสดงถึงความสุดยอดของคำสอนทั้งปวง”
    นี้เป็นคำบันทึกของ หลวงพ่อโชติ อาภคฺโค
    หลังจากนั้นแล้วหลวงปู่ใหญ่ก็สงบนิ่ง ไม่พูดจาอะไรอีกต่อไป
    เช้าวันนั้นมีญาติโยมมาทำบุญเป็นจำนวนมาก หากแต่หลวงปู่ใหญ่ท่านไม่ยอมฉันอะไรเลย สร้างความวิตกกังวลให้กับศิษย์ผู้ติดตามเป็นอย่างมาก เพราะเมื่อท่านไม่ยอมฉันอะไร ก็หมายความว่า อาการของท่านที่ดูอ่อนแรงอยู่แล้วก็จะต้องทรุดหนักลงไปอีกอย่างแน่นอน
    พระอาจารย์ดี ฉนฺโน ในฐานะศิษย์ที่มีอาวุโสสูงสุด ณ ที่นั้นได้พยายามอ้อนวอนให้ท่านฉันอาหาร โดยยกเหตุผลต่างๆ นานา แต่หลวงปู่ใหญ่กลับนิ่งเฉยเสีย ไม่ยอมฉัน
    เมื่อพระอาจารย์ดี รบเร้าไปสักพัก ท่านจึงตัดความรำคาญโดยลุกขึ้นนั่ง จัดท่าทางนั่งตามปกติ ลูกศิษย์ลูกหาต่างดีอกดีใจ ยกสำรับกับข้าวมาตั้ง ถวายน้ำล้างมือท่าน
    พระอาจารย์ดี ได้ตักข้าวต้มที่เตรียมมาอย่างดีสำหรับองค์ท่านโดยเฉพาะป้อนถวายไปที่ปาก หลวงปู่ใหญ่อ้าปากรับข้าวต้ม แล้วอมไว้สักประเดี๋ยว ต่อจากนั้นท่านก็คายทิ้งลงกระโถนไป และไม่ยอมรับอะไรต่อไปอีก เป็นอันว่าหมดปัญญาที่คณะศิษย์จะรบเร้าให้ท่านฉันอะไรลงท้องได้อีกเลย
    หลวงปู่ใหญ่ไม่ยอมรับอะไรทั้งสิ้น ปล่อยวางหมดทุกอย่างตามที่ท่านบอกหลวงปู่บัวพา เมื่อตอนเช้ามืดของวันนั้น
    <table id="table24" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td>
    พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล
    </td> </tr> </tbody></table>​
    ๑๗๕
    ลงเรือสู่นครจำปาศักดิ์
    เป็นอันว่าตั้งแต่วันนั้นหลวงปู่ใหญ่ไม่ยอมรับอะไรเลยทั้งอาหารและน้ำ ท่านปล่อยวางหมดทุกอย่างตามที่ลั่นวาจาไว้
    ปัญหาหนักใจของคณะศิษย์คือการเคลื่อนย้ายองค์หลวงปู่ใหญ่จากเมืองมุลปาโมกข์ไปยังนครจำปาศักดิ์ สมัยนั้นมีแต่เรือพาย เรือแจวเท่านั้น ระยะทางก็อยู่ไกลและทุรกันดาร ถ้าไปเรือแจวก็ต้องใช้เวลาหลายวัน
    มีทางเดียวที่จะไปได้ คือต้องรอเรือกลไฟของทางราชการ ที่ใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิง แต่ไม่อาจคาดคะเนได้ว่าเมื่อไรจะมีเรือแล่นไปยังนครจำปาศักดิ์
    สิ่งที่ทำได้ในขณะนั้น คือ รอ เพียงอย่างเดียว
    <table id="table77" align="left" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td>
    พระเทพสังวรญาณ
    (พระอาจารย์พวง สุขินทริโย
    )
    </td> </tr> </tbody></table>​
    จะด้วยอำนาจบุญญาภินิหาร หรือเทพบันดาลประการใดก็ไม่อาจทราบได้ ในวันนั้น นายอำเภอเมืองนครจำปาศักดิ์ได้ให้คนมาบอกพระว่า ขอให้พระคุณเจ้าทั้งหลายเตรียมตัวลงเรือแต่เช้ามืด เพราะเรือจะออกไปยังนครจำปาศักดิ์ ด้วยมีงานเร่งด่วน
    เช้ามืดวันรุ่งขึ้น คณะของหลวงปู่ใหญ่จึงพร้อมออกเดินทางแต่การเดินทางโดยเรือกลไฟจะมีเสียงดังมาก ควันคละคลุ้ง เกรงหลวงปู่จะได้รับความกระทบกระเทือน จึงนิมนต์ท่านลงเรือเล็กที่มีประทุน เอาเชือกล่ามติดกับเรือกลไฟไปอีกต่อหนึ่ง พอจะบรรเทาเสียงดังลงไปได้ และความกระเทือนก็น้อยลง
    หลวงปู่ใหญ่นอนบนแคร่ไม้ไผ่ ในเรือประทุน ศิษย์ผู้ติดตามอุปัฏฐากบนเรือเล็กมี หลวงปู่บัวพา พระอาจารย์กงแก้ว และเด็กชายเจริญ ที่เหลือนอกนั้น ซึ่งมี พระอาจารย์ดี พระอาจารย์กอง พระอาจารย์สอ สามเณรสุบรรณ สามเณรพวง (หลวงตาพวง สุขินฺทริโย) สามเณรอำนวย และเด็กชายมี ขึ้นโดยสารเรือกลไฟ
    เมื่อได้เวลาออกเดินทาง เรือก็เปิด “โหวด” สัญญาณฟืนที่บรรจุเป็นเชื้อเพลิงก็ลุกโชน เสียงเครื่องเรือดังสนั่นหวั่นไหว สะเทือนไปทั่วทั้งลำ ควันจากท่อไอเสียก็พ่นเขม่าสีดำคละคลุ้งไปทั่วลำน้ำโขง
    เรือกลไฟได้แล่นออกจากท่าน้ำเมืองมุลปาโมกข์ แล่นทวนกระแสน้ำขึ้นไปทางเหนือ ท่ามกลางแสงแดดที่แผดกล้าทั้งวัน แล่นผ่านเกาะแก่งน้อยใหญ่ของแม่น้ำโขง เป้าหมายปลายทางอยู่ที่นครจำปาศักดิ์
    หลวงปู่ใหญ่ นอนสงบนิ่งในเรือประทุนลำเล็กที่ผูกล่ามอยู่กับเรือกลไฟลำนั้น ท่านไม่ได้พูดอะไรกับใครเหมือนกับท่านอยู่ในสมาธิหรือเข้าฌานตลอดการเดินทาง
     
  9. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    ๑๗๖
    เรือถึงปลายทาง
    ตลอดการเดินทางทั้งวัน คณะศิษย์สังเกตเห็นว่า อาการของหลวงปู่ใหญ่เพียบลงอย่างมาก น่าวิตกเป็นอย่างยิ่ง
    หลวงปู่ใหญ่นอนหลับตานิ่ง หายใจอ่อนๆ แสดงอาการสงบเย็นเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นกับตัวท่าน เสียงบ่นเสียงครวญครางแม้ลอดออกจากไรฟันแต่เพียงเล็กน้อยก็ไม่มีให้ใครได้ยิน ราวกับว่าองค์ท่านยอมรับสภาพความแตกสลายของกาย ย่อมเป็นไปตามกฎของธรรมชาติ แต่จิตของท่านไม่รับรู้กับความทุกข์เหล่านั้น ไม่มีอาการยื้อยุดไว้แต่ประการใด ๆ ทั้งสิ้น
    <table id="table78" align="right" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td>
    ดอนโขงหรือเมืองโขงเป็นเกาะใหญ่ที่สุดแถบสี่พันดอน
    </td> </tr> </tbody></table>​
    ความกระวนกระวายใจทั้งหลายกลับบังเกิดในหมู่ศิษย์ ทั้งนี้เพราะความเคารพเลื่อมใสศรัทธาในองค์หลวงปู่ท่าน ไม่อยากให้ท่านจากไป แม้จะรับรู้ถึงความไม่เที่ยงของชีวิตอยู่เต็มอก แต่เมื่อต้องมาเผชิญกับความสูญเสียของครูบาอาจารย์ที่ตนรักและเคารพศรัทธาเป็นที่สุด ก็อดที่จะทุกข์ร้อนไปกับเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นต่อหน้าต่อตาไปไม่ได้
    ในช่วงสุดท้ายของหลวงปู่ใหญ่ ท่านจะพูดน้อยที่สุด แม้เวลาญาติโยมกราบอาราธนาให้ท่านเทศน์ ท่านก็จะเทศน์แต่เพียงสั้นๆ ถึงกฎสามัญญลักษณะ หรือ ความเป็นทุกข์ ความเป็นของไม่เที่ยงและความไม์ใช่ตัวตนเราเขา
    ท่านสอนไม่ให้เข้าไปยึดถือในสิ่งทั้งปวง ให้ละให้วาง แล้วท่านก็ทำตัวอย่างให้เห็นประจักษ์แก่ตาของศิษย์ทุกคนด้วย เพราะคำพูดแต่ละคำที่ออกจากปากท่านนั้น ไม่เคยพูดอย่างพล่อยๆ ท่านจะพูดแต่สัจธรรม คือของที่เป็นจริงทั้งนั้น ท่านรู้จริง เห็นจริง และก็ทำได้จริงด้วย
    “แม้ร่างกายของท่านต้องเผชิญกับความแตกดับสูญสลาย แต่ทุกขเวทนาแม้น้อยนิดก็ไม่สามารถครอบงำจิตใจของท่านได้”
    ตกเย็น แสงแดดที่แผดกล้ามาทั้งวันก็เริ่มบดแสงลง ความร้อนระอุเริ่มถูกแทนที่ด้วยไอเย็นของลำน้ำโขงที่พัดมาด้วยกระแสลมอ่อนๆ นำความชุ่มชื่นหายเหนื่อยให้กับผู้เดินทางได้ไม่น้อย
    ประมาณ ๕ โมงเย็น ดูฝูงนกเริ่มโผผินบ่ายหน้ากลับสู่รวงรัง เจ้าเรือกลไฟที่เดินเครื่องมาทั้งวันคงจะเหน็ดเหนื่อย ได้เวลาพักพอดีก็เบนหัวเรือเข้าหาฝั่ง สู่ท่าน้ำวังหลวงแห่งนครจำปาศักดิ์ เสียงเครื่องเรือลดระดับลง จนเรือทั้งลำเข้าจอดเทียบท่าเป็นการเรียบร้อย
    สิ้นสุดการเดินทางที่ยาวไกล และทนทรหดมาทั้งวัน
    ๑๗๗
    ลาขันธ์ต่อหน้าพระประธาน
    <table id="table82" align="left" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td>
    ท่าน้ำหน้าวัดอำมาตยาราม ที่หลวงปู่เสาร์มาขึ้นฝั่ง (แม่น้ำโขง)
    ภาพจาก หนั
    งสือมณีรัตน์
    </td> </tr> </tbody></table>​
    เมื่อเรือจอดเทียบท่าเรียบร้อยแล้ว “ลูกศิษย์ลูกหาต่างกุลีกุจอหามแคร่ไม้ไผ่ลงไปท่าน้ำ เพื่อรับท่านพระอาจารย์มาบนบก ทั้งพระทั้งเณรฆราวาสญาติโยมพากันเตรียมพร้อม เพราะต่างรู้การมาของพระอาจาร9เป็นการล่วงหน้าแล้ว
    คณะผู้ติดตามพร้อมคณะที่รอรับ รีบอุ้มพระอาจารย์ขึ้นนอนบนแคร่ไม้ไผ่ แล้วหามท่านขึ้นจากเรือ มุ่งหน้าเข้าวัดอำมาตยารามตรงไปที่โบสถ์ตามที่ทางวัดได้จัดเตรียมไว้รับท่าน
    พอไปถึงพระอุโบสถ ก็วางแคร่ลงบนพื้นเบื้องหน้าพระประธาน
    หลวงปู่ใหญ่ นอนสงบนิ่งเฉยเหมือนอยู่ในสมาธิหรือเข้าฌาน ไม่รับรู้อะไรทั้งสิ้น ท่านอยู่ในอาการนี้ตั้งแต่เริ่มออกเดินทาง ดูประหนึ่งว่าอดทนรอเพื่อให้ถึงวัดอำมาตยาราม ตามที่พระอาจารย์ดี ได้อาราธนาไว้
    เมื่อศิษย์พาหลวงปู่ใหญ่เข้าพักภายในโบสถ์เรียบร้อยแล้ว หลวงปู่บัวพาจึงได้กราบเรียนที่ข้างหูว่า
    “ครูบาจารย์ ถึงแล้วจำปาศักดิ์ อยู่ในโบสถ์วัดอำมาตย์แล้ว”
    หลวงปู่ใหญ่คงไม่ได้ยินชัดเจน แล้วถามกลับว่า “หือ ! วัดอำมาตย์บ้อ?” (วัดอำมาตย์หรือ?)
    หลวงปู่บัวพา ตอบว่า “โดย ข้าน้อย” (ครับ กระผม)
    มหัศจรรย์อย่างเหลือเชื่อ หลวงปู่ใหญ่ ลุกขึ้นนั่งด้วยองค์ท่านเอง ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้ลูกศิษย์จะต้องช่วยประคองทุกครั้งเวลาจะนั่งหรือนอน แต่ครั้งนี้ท่านลุกขึ้นนั่งเหมือนกับไม่ได้เจ็บป่วยเลย
    <table id="table83" align="right" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td>
    โบสถ์ไม้เดิม วัดอำมาตยาราม ซึ่งหลวงปู่เสาร์เข้าไป
    กราบพระประธานก่อนมรณภาพ
    ภาพจาก หนั
    งสือมณีรัตน์
    </td> </tr> </tbody></table>​
    หลวงปู่ใหญ่นั่งพับเพียบ ลำตัวโน้มไปข้างหน้า ใช้มือยันกับพื้น มือข้างหนึ่งอยู่ระหว่างเข่าทั้งสองข้าง อีกมือยันออกไปด้านข้างเล็กน้อย สายตามองไปที่องค์พระประธาน
    หลวงปู่ใหญ่ เรียกหาผ้าสังฆาฏิมาพาดบ่า แล้วจึงก้มหน้าลงแสดงท่ากราบพระประธาน ดูท่านจะไม่มีเรี่ยวแรง หลวงปู่บัวพา พระอาจารย์กงแก้ว จึงเข้าไปช่วยพยุง
    หลวงปู่ใหญ่คงอ่อนเพลียมาก ไม่สามารถกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ได้ เพียงแสดงอาการก้มลงไปข้างหน้า ๓ ครั้ง
    เมื่อกราบครั้งที่สาม ร่างท่านก็แน่นิ่งอยู่อย่างนั้นไม่ไหวติง
    หลวงปู่บัวพา มีความคิดว่าถ้าประคององค์ท่านให้นอนลงท่านคงจะอยู่ในอิริยาบถที่สบายมากกว่า จึงได้ขอความเห็นจากพระเณรที่อยู่ ณ ที่นั้น
    พระเณรต่างก็เห็นด้วย พระอาจารย์ดี พระอาจารย์สอ พระอาจารย์กงแก้ว พระอาจารย์บุญเพ็ง และพระอาจารย์บัวพา รวม ๕ องค์ ได้เข้าพยุงกายหลวงปู่ใหญ่ เพื่อจะโน้มให้ท่านลงนอน
    แต่แล้ว ทุกองค์ต่างเลิกล้มความตั้งใจ เพราะไม่สามารถทำให้ร่างท่านขยับเขยื้อนได้ องค์ท่านไม่ไหวติงและหนักราวกับก้อนหินใหญ่
    หลวงปู่บัวพา ได้สติก่อน จึงพูดว่า “พอแล้วๆ ไม่ต้องเอาท่านลงนอน ท่านคงต้องการจะไปในท่านี้”
    ศิษย์ทุกองค์จึงลงนั่งรอบองค์ท่าน เปิดช่องให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก
    หลวงปู่ใหญ่นั่งอยู่ในท่าก้มไปข้างหน้าอย่างนั้นประมาณ ๒๐ นาที มีเหงื่อผุดตามตัวท่านจนผ้าจีวรเปียก แต่ไม่มีใครกล้าไปแตะต้ององค์ท่าน มีเพียงพระอาจารย์กงแก้ว คอยระวังอยู่ด้านหลัง เพราะกลัวท่านจะล้ม
    พระอาจารย์ดี รีบเอาน้ำพ่นให้เป็นละอองฝอยรอบองค์ท่านเพื่อจะให้ชุ่มชื้นขึ้นหลวงปู่ใหญ่ ยังคงนั่งในท่านั้นไม่ไหวติง ต่อมามีอาการหายใจเฮือกใหญ่ ๓ ครั้ง จนมองเห็นไหล่ทั้งสองยกขึ้น แล้วร่างท่านก็แน่นิ่งสงบไปเหมือนเดิม
    ลูกศิษย์ลูกหาเพ่งสังเกตไปที่จมูกของท่านจนแน่ชัดว่าท่านหมดลมปราณเสียแล้ว จึงได้ประคองตัวท่านให้นอนลง คราวนี้ปรากฏว่าร่างท่านอ่อน เพียงโน้มองค์ท่านลงนิดเดียวท่านก็นอนลงอย่างง่ายดาย ผิดกับเมื่อตอนแรกที่หนักเหมือนก้อนหินไม่สามารถทำให้ขยับเขยื้อนได้
    ท่านอาจารย์กงแก้ว ท่านอาจารย์สอนซึ่งยังเป็นพระหนุ่ม อายุพรรษายังน้อย สุดจะกลั้นความรู้สึกได้ถึงกับปล่อยโฮออกมาอย่างแรง รู้สึกสลดสังเวชในการสูญเสียครูอาจารย์ที่ท่านเคารพบูชาเป็นอย่างยิ่ง
    <table id="table79" align="left" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td>
    พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล
    </td> </tr> </tbody></table>​
    วันนี้เป็นวัน ๓ <sup></sup><sub></sub> ๓ ค่ำ ปีมะเมีย
    คือ วันอังคาร แรม ๓ ค่ำ เดือน ๓ ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ ๓ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๕
    สิริรวมอายุของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล หรือ พระครูวิเวกพุทธกิจ ได้ ๘๒ ปี อายุพรรษา ๖๒
    หมายเหตุ แต่เดิม วันขึ้นปีใหม่ของไทยจะถือเอาเดือนเมษายน เป็นการเริ่มต้น ซึ่งถือตามจันทรคติ
    ในปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ในสมัยรัฐบาลของ จอมพล ป. พิบูลสงครามได้เปลี่ยนการเริ่มต้นปีให้เป็นไปตามอย่างสากลคือ เริ่มต้นวันที่ ๑ มกราคม ของทุกปี ดังนั้นในปี พ.ศ. ๒๔๘๔ จึงมีเพียง ๙ เดือน คือ เมษายน-ธันวาคม พอถึง มกราคม ก็เปลี่ยนเป็น พ.ศ. ๒๔๘๕ และถือกันมาจนปัจจุบัน
    ๑๗๘
    ข่าวการมรณภาพของหลวงปู่ใหญ่
    ข่าวการมรณภาพของพระครูวิเวกพุทธกิจ หรือหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ได้แพร่สะพัดไปอย่างรวดเร็ว
    บริเวณวัดอำมาตยาราม แห่งนครจำปาศักดิ์คับคั่งไปด้วยข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน ได้หลั่งไหลมากราบคารวะศพของท่านอย่างไม่ขาดสาย
    ท่านพระครูนาคบุรี ศรีคณาภิบาล (ม้าว) และเจ้าเมืองจำปาศักดิ์ได้เป็นผู้นำในการจัดบำเพ็ญกุศล
    ท่านอาจารย์กงแก้ว ได้ส่งโทรเลขไปยังเมืองอุบลฯ แจ้งข่าวให้ หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม และญาติโยมได้ทราบข่าวการมรณภาพของหลวงปู่ใหญ่ และให้เตรียมไปรับศพท่านกลับเมืองไทยต่อไป
    กล่าวถึงคณะของ ท่านอาจารย์ทองรัตน์ กนฺตสีโล ท่านอาจารย์บุญมาก ฐิตปญฺโญ และท่านอาจารย์กิ ธมฺมุตฺตโม ที่รอหลวงปู่ใหญ่อยู่ที่ภูจำปาศักดิ์ ได้ใช้เรือแจวลงไปรับหลวงปู่ใหญ่ที่เมืองมุลปาโมกข์ ในช่วงที่เรือแล่นสวนทางกัน คงจะเป็นจังหวะที่ต้องอ้อมเกาะคนละฟากกัน จึงทำให้คลาดกันไป ทางคณะจึงได้เดินทางไปถึงเมืองมุลปาโมกข์ เมื่อทราบว่าหลวงปู่ใหญ่ลงเรือมานครจำปาศักดิ์แล้ว จึงเร่งรีบตามมา
    ในระหว่างทางกลับ ได้สวนทางกับเรือกลไฟที่กลับจากไปส่งคณะหลวงปู่ใหญ่ที่นครจำปาศักดิ์ เจ้าหน้าที่บนเรือตะโกนบอกให้ทราบว่าหลวงปู่ใหญ่ได้มรณภาพแล้วที่วัดอำมาตยาราม เมื่อเย็นวานนี้ ทางคณะพระอาจารย์ทองรัตน์ จึงได้รีบเร่งเดินทางมาที่นครจำปาศักดิ์ เพื่อสักการะศพของหลวงปู่ใหญ่ และจัดการสรงน้ำศพท่าน รอคณะจากทางจังหวัดอุบลราชธานี เดินทางมารับศพไปบำเพ็ญกุศลต่อไป
    ๑๗๙
    บันทึกของหลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท
    ท่านผู้อ่านคงยังพอจำได้ว่า การเดินทางไปเมืองลาวเป็นคณะที่๓ นั้น มีหลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท กับพระอาจารย์บุญเพ็ง นารโท หลานของหลวงปู่ใหญ่ ได้ไปพักรออยู่ที่บ้านห้วยสาหัว เขตนครจำปาศักดิ์ รออยู่ที่นั่นราว ๔ เดือน
    เหตุการณ์การมรณภาพของ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล จากปากคำของหลวงปู่เจี๊ยะ จุนโท มีดังต่อไปนี้: -
    “ในกาลต่อมา พระครูเม้า วัดอำมาตย์ (น่าจะเป็น พระครูนาคบุรีศรีคณาภิบาล (ม้าว)_ปฐม) ให้คนถือจดหมายมาบอกให้ทราบว่าหลวงปู่เสาร์ป่วยหนัก และท่านกำลังจะเดินทางโดยทางเรือ มาถึงนครจำปาศักดิ์ประมาณ ๕ โมงเย็น ให้เรากับพระเพ็งผู้เป็นหลานของหลวงปู่เสาร์ มารอรับท่านหลวงปู่เสาร์จะมาถึงนครจำปาศักดิ์ประมาณ ๕ โมงเย็น
    เมื่อเรือของหลวงปู่เสาร์มาถึง เราพร้อมกับพระเพ็งก็ลงไปรับท่านในเรือ พบว่าหลวงปู่เสาร์ท่านมีอาการหนักมาก จึงจัดเปลหามเข้าไปในวัดอำมาตย์ พาท่านเข้าไปในอุโบสถที่ทำด้วยไม้ ท่านก็ทำกิริยาให้ประคองท่านขึ้นกราบพระ เราทั้งสองก็ประคองท่านขึ้นเพื่อกราบพระ
    เมื่อกราบลงครั้งที่สาม สังเกตเห็นท่านกราบนานผิดปกติ จึงจับชีพจรดู จึงรู้ว่าชีพจรไม่ทำงาน
    พระทั้งหลายที่อยู่ในพระอุโบสถก็ว่า “หลวงปู่เสาร์มรณภาพแล้วๆ”
    เราจึงตะโกนพูดขึ้นว่า “ปู่ยังไม่มรณภาพ ตอนนี้ปู่เข้าสมาธิอยู่ ใครไม่รู้เรื่องอย่าเข้ามายุ่ง”
    จึงพยุงท่านจากอิริยาบถนั่ง เป็นอิริยาบถนอน แต่ทำได้ยากเพราะมีอาการจะดับขันธ์อยู่แล้ว
    ขณะที่พยุงท่านให้ลงนอนนั้น สังเกตเห็นมีพระเณรนั่งร้องไห้อยู่หลายรูป เราจึงไล่พระเณรเหล่านั้นออกไป
    หลวงปู่เสาร์ เข้าสู่อิริยาบถนอน ท่านก็หายใจยาวๆ ๓ ครั้ง แล้วท่านก็ถึงแก่กาลกิริยาโดยสงบ เมื่อเวลา ๑๗.๓๐ น. วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๕
    <table id="table80" align="right" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td>
    พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล
    </td> </tr> </tbody></table>​
    เราจึงได้จัดเรื่องงานศพทุกอย่างสุดความสามารถให้สมกับหน้าที่ที่ท่านพระอาจารย์มั่นไว้ใจ และมอบหมายจัดแจงทุกอย่างที่เห็นว่าเป็นสิ่งสมควรทำ ส่งโทรเลขไปบอกคุณวิชิต (โกศัลวิตร) จังหวัดอุบลราชธานี
    แล้วหาครกใหญ่ๆ มารองตำถ่าน เราถอดอังสะเหน็บเตี่ยวหาไม้ใหญ่ๆ มา ยกตำๆ ตัวนี้ดำหมด ตำถ่านใส่โลงท่าน เราตำเองทั้งหมดถ่านนี้ใส่รองพื้นโลง เพื่อดูดน้ำเหลืองไม่ให้เหม็น วางถ่านรองพื้นโลงเสร็จแล้ว เอาผ้าขาวปูทับอีกทีหนึ่ง
    ถ่านต้องเลือก อย่าเอาที่แตกๆ เวลาปูลงที่พื้นโลงให้ถ่านสูงประมาณ ๑ คืบ ใช้ถ่านประมาณ ๒ กระสอบก็เพียงพอ
    เมื่อตำถ่านเสร็จแล้วตัวดำหมดเลย เราลงโดดน้ำโขง ตูม ! ตูม ! เราเป็นคนแข็งแรง ทำอะไรคนอื่นทำไม่ทัน
    เมื่อเอาถ่านรอง ผ้าขาวปู ก็เอาศพท่านวางให้เรียบร้อย แล้วขอขมา ตั้งศพไว้ระยะหนึ่งให้ชาวจำปาศักดิ์มาสักการบูชา
    เมื่อเห็นสมควรจึงนำศพท่านลงเรือกลับอุบลฯ ข้ามฝั่งโขงแล้ว ต่อมา คุณวิชิต โกศัลวิตร ซึ่งเป็นลูกศิษย์ท่าน กับพระเถระมีพระอาจารย์ทอง (อโสโก) เป็นต้น และญาติโยมชาวจังหวัดอุบลฯ จึงได้จัดขบวนรถยนต์ไปรับศพท่านกลับมายังจังหวัดอุบลราชธานี
    ส่วนเรา (หลวงปู่เจี๊ยะ) เมื่อนำศพหลวงปู่เสาร์ลงเรือกลับอุบลฯ แล้ว เราจึงเดินธุดงค์จากประเทศลาวเข้าทางจังหวัดอุบลราชธานี อำนาจเจริญ มาพักที่วัดพระอาจารย์ทอง อโสโก ศิษย์ผู้ใหญ่ของหลวงปู่เสาร์ เดินทางต่อมาทางนครพนม สกลนคร เพื่อร่วมจำพรรษากับท่านพระอาจารย์มั่น และกราบเรียนเรื่องการมรณภาพของหลวงปู่เสาร์ให้ท่านพระอาจารย์มั่นทราบ
     
  10. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    ๑๘๐
    เดินทางไปรับศพหลวงปู่ใหญ่
    ข่าวการมรณภาพของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโลก็แผ่กระจายออกไปเรื่อยๆ จนทางบ้านเมือง ญาติโยม พระเณร ชาวนครจำปาศักดิ์ขอตั้งศพท่านไว้ทำบุญ และให้ประชาชนมาสักการะเป็นเวลา ๓ วัน ก่อนอัญเชิญศพกลับเมืองไทย
    ทางด้านจังหวัดอุบลราชธานี เมื่อทางหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโมและคณะได้ทราบข่าวการมรณภาพของหลวงปู่ใหญ่ จึงได้นำหีบศพที่หลวงปู่ใหญ่ได้เตรียมไว้ที่วัดบูรพารามคราวทำบุญอายุครบ ๘๐ ปีมุ่งหน้าเดินทางไปนครจำปาศักดิ์โดยด่วน
    การเดินทางได้ใช้รถยนต์ของคุณหญิงตุ่น โกศัลวิตร กับ แม่ชีผุย ซึ่งเคยให้บริการเมื่อครั้งคณะของหลวงปู่ใหญ่เดินทางเข้ามาทางฝั่งลาวก่อนที่ท่านจะมรณภาพ
    ขบวนรถนำหีบศพแล่นพ้นเขตอำเภอพิบูลมังสาหารเข้าไปทางช่องเม็ก มุ่งหน้าสู่เมืองเก่านครจำปาศักดิ์
    เพียงเข้าเขตประเทศลาว รถวิ่งอยู่ดี ๆ ก็เกิดยางระเบิด พอเปลี่ยนยางเสร็จวิ่งไปได้สักครู่เครื่องยนต์ก็เกิดดับขึ้นเฉยๆ แก้ไขอย่างไรเครื่องก็ไม่ยอมติด ตะวันก็จวนจะมืดค่ำลงทุกขณะ บริเวณนั้นก็เป็นป่าเปลี่ยวด้วย จนปัญญาที่สารถจะแก้ไขให้รถยนต์วิ่งต่อไปได้
    หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม จึงพูดขึ้นว่า “หรือว่าพวกเราจะขัดความประสงค์ของท่านอาจารย์ เทวดาทั้งหลายจึงได้ขัดขวางการที่พวกเราจะไปเคลื่อนศพท่านกลับมาประเทศไทย”
    หลวงปู่สิงห์ ให้คนจัดหาดอกไม้ธูปเทียนถวายท่าน แล้วท่านก็ลงคุกเข่าอยู่ตรงข้างๆ รถ ผินหน้าไปทางนครจำปาศักดิ์ กล่าวคำขมาโทษครูบาอาจารย์ แล้วพูดดังๆ ป่าวประกาศให้เทวดาฟ้าดินทั้งหลายได้รับทราบทั่วกันว่า
    “..ที่มานี้ก็มีความประสงค์อย่างแน่วแน่ที่จะไปรับศพของพระอาจารย์กลับมาบำเพ็ญกุศลทางฝั่งไทย เพราะลูกศิษย์ลูกหาทางฝั่งนั้นมีมาก หากพวกเขาจะต้องเดินทางมาบำเพ็ญกุศลทางฝั่งนี้จะเป็นการลำบากวุ่นวาย ไม่สะดวกโดยประการทั้งปวง
    ฉะนั้น ข้าพเจ้า พระอาจารย์สิงห์ จึงขอป่าวประกาศให้เทวดาฟ้าดินตลอดทั้งรุกขเทวดา อากาศเทวดา ภุมเทวดาทั้งหลายได้โปรดทราบโดยถ้วนทั่ว และขอศพพระอาจารย์เพื่อไปบำเพ็ญกุศลทางฝั่งประเทศไทยเถิด
    พอหลวงปู่สิงห์กล่าวจบลง ท่านก็สั่งให้คนขับติดเครื่องทันที
    เป็นเรื่องที่แปลกและอัศจรรย์มาก หลวงปู่สิงห์ยังไม่ลุกจากที่นั่ง สตาร์ทเครื่องเพียงครั้งเดียวเครื่องยนต์ก็ติด รถจึงได้ออกแล่นมุ่งตรงไปยังนครจำปาศักดิ์เพื่อไปรับศพหลวงปู่ใหญ่ ที่วัดอำมาตยารามต่อไป
    ๑๘๑
    อัญเชิญศพกลับสู่เมืองอุบลฯ
    หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม พร้อมคณะ ได้ขอศพหลวงปู่ใหญ่กลับไปบำเพ็ญกุศลที่เมืองอุบลฯ เจ้าเมืองนครจำปาศักดิ์ พร้อมด้วยข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนได้ตั้งศพบำเพ็ญกุศลถวายอย่างสมเกียรติแก่พระบูรพาจารย์ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐาน เป็นเวลาพอสมควรแล้วและเห็นว่าระยะเวลานั้นอยู่ในช่วงสงครามอินโดจีนของฝรั่งเศส หรือสงครามบูรพาอาคเนย์ยังร้อนระอุอยู่ จะจัดงานศพครูบาอาจารย์ทางฝั่งลาวคงไม่สะดวกนัก จึงได้มอบศพหลวงปู่ใหญ่ ให้คณะของหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม ได้เคลื่อนย้ายจากวัดอำมาตยาราม นครจำปาศักดิ์ สู่จังหวัดอุบลราชธานีต่อไป
    เมื่อศพหลวงปู่ใหญ่ เดินทางถึงจังหวัดอุบลราชธานีแล้ว ได้ตั้งบำเพ็ญกุศลที่วัดบูรพาราม เมื่อเป็นเวลาพอสมควรแล้ว หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต จึงสั่งให้บรรจุเก็บศพของท่านไว้ก่อน รอความพร้อมที่จะฌาปนกิจในปีต่อไป
    บันทึกถึงบรรยากาศและความรู้สึกของหลวงพ่อโชติ มีดังนี้ :-
    “...ดวงประทีปอันเจิดจ้าได้พลันมาดับวูบลงจากดวงใจของบรรดาศิษยานุศิษย์ พุทธบริษัท ในขณะที่โลกซีกนี้กำลังร้อนระอุด้วยภัยสงคราม ประชาชนได้รับทุกข์ทรมานโศกเศร้าอาลัยอาวรณ์ทั้งทางโลกและทางธรรม สุมไหม้อยู่ในดวงใจเป็นล้นพ้น ผู้คนต้องหลบหลีกภัยในหลุมเพลาะหาเกราะที่กำบัง กลางคืนเงียบเหงาเศร้าสร้อย แสงไฟและเสียงพูดคุยกันแทบจะไม่มี ต่างมุดอยู่ในความมืดเพื่อหลบหลีกภัยจากสงคราม
    ความว้าเหว่รันทดหดหู่ใจในการสูญเสียหลักใจในครั้งนั้นเป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดเป็นประวัติการณ์ของคณะกรรมฐานเลยทีเดียว
    ท่านพระอาจารย์เสาร์ ผู้เป็นหลักชัยไม้เท้าของหมู่คณะ เป็นศูนย์รวมจิตใจของหมู่บรรพชิตและคฤหัสถ์ผู้ใคร่ในการปฏิบัติธรรม นับแต่ครูบาอาจารย์ ไปถึงสามเณรน้อย ที่เคยได้เห็นท่านพระอาจารย์ทุกเมื่อเชื่อวัน เคยได้อุปัฏฐากรับใช้ ปฏิบัติถูขี้เหงื่อขี้ไคลยามสรงน้ำ เคยนวดเฟ้นบีบจับเส้นเอ็นถวาย เคยได้ฟังเทศน์อบรมสั่งสอนจากท่าน
    เมื่อท่านพระอาจารย์ยังมีชีวิตอยู่ ไม่ว่าท่านจะอยู่ที่ไหน ไปที่ใดในถ้ำ ในเหว ป่าเปลี่ยว ป่าช้า ก็ช่างอบอุ่นใจเหลือเกิน
    แต่มาบัดนี้ท่านพระอาจารย์ได้จากพวกเราไปแล้ว จากไปอย่างไม่มีวันจะหวนกลับคืน มันช่างเป็นความเศร้าโศกาอาดูรเสียนี่กระไร
    สิ่งหนึ่งสิ่งใด มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดย่อมมีความดับไปเป็นธรรมดา สังขารดับสิ้นทั้งอินทรีย์ แต่ความดียังปรากฏอยู่คู่โลกา
    ท่านจากไปเพียงสังขารร่างกายเท่านั้น คุณความดีอันเป็นพระคุณของท่านยังปรากฏอยู่จนกระทั่งบัดนี้ ให้กุลบุตร กุลธิดา ลูกศิษย์ลูกหารุ่นหลังได้ถือเป็นเนติแบบอย่างสืบไป
    ๑๘๒
    เผาศพสี่บูรพาจารย์เมืองอุบล
    กำหนดวันจัดงานฌาปนกิจศพหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ระหว่างวันที่ ๑๐-๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๖ ซึ่งเป็นเวลาอีก ๑๔ เดือน หลังจากการมรณภาพของท่าน ในช่วงวันที่ ๑๐-๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๖ นี้เป็นช่วงเผาศพบูรพาจารย์แห่งเมืองอุบลฯ ถึง ๔ รูป คือ
    ๑. หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล จัดงานฌาปนกิจ ที่วัดบูรพาในวันที่ ๑๕-๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๖
    ๒. พระศาสนดิลก (ชิตเสโน เสน) อดีตเจ้าอาวาสวัดศรีทอง เจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี จัดขึ้นที่วัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม) วันที่ ๑๐-๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๖
    ๓ พระมหารัฐ รฏฺฐปาโล อดีตเจ้าอาวาสวัดสุทัศนาราม จัดขึ้นที่วัดศรีทอง (ศรีอุบลรัตนาราม) วันที่ ๑๐-๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๖
    ๔. พระครูวิโรจน์รัตโนมล (บุญรอด นนฺตโร) อดีตเจ้าอาวาส วัดทุ่งศรีเมือง ระหว่างวันที่ ๑๓-๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๖
    ทางด้านการเตรียมงานเผาศพของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล นั้นเมื่อใกล้จะถึงวันงาน พระอาจารย์ดี ฉนฺโน ศิษย์อาวุโส ผู้มีฝีมือทางด้านศิลปะและงานก่อสร้าง ได้เป็นแม่งานจัดเตรียมสถานที่สร้างเมรุ โดยกำหนดเอาลานว่างตรงหน้าศาลาใหม่ของวัดบูรพาเป็นที่จัดสร้างเมรุ
    การสร้างเมรุเป็นฝีมือของลูกศิษย์ฝ่ายอรัญวาสี โดยทำเป็นรูปภูเขาจำลอง ใช้ไม้ไผ่สานเป็นโครงสร้างปิดกระดาษหุ้มทับ
    แล้วทาสีให้เหมือนจริง ประดับตามซอกชั้นแซมด้วยต้นไม้ใบหญ้าดูสมจริง จนมีผู้ไปนั่งไปยืนพิงเกือบเสียหายไปก็มี
    หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม ศิษย์อาวุโสมากกว่าพระอาจารย์ดี ฉนฺโน เป็นแม่งานในการจัดเตรียมงานทั้งหมดแทน หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ศิษย์ผู้มีอาวุโสมากที่สุด ที่กำลังเดินทางจากบ้านโคก จังหวัดสกลนครมาเป็นประมุข ประธานก่อนวันเผาราว ๓ วัน และอยู่ต่ออีก ๑ วันหลังวันงาน จึงได้เดินทางกลับจังหวัดสกลนคร
    ในหนังสือของอาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ ได้บรรยายถึงบรรยากาศการเผาตามคำบอกเล่าของผู้เฒ่าที่อยู่ในเหตุการณ์ว่า
    “ระหว่าง ๑๐-๑๖ เมษายน ๒๔๘๖ เป็นช่วงงานเผาศพ ๔ พระอาจารย์ผู้อาวุโสแห่งเมืองอุบลฯ บนท้องฟ้าปรากฏประหนึ่งรูป ๔ พระอาจารย์ลอยอยู่เหนือเมืองอุบลฯ
    วันเผานั้น เผาตอนเที่ยงคืน สัปเหร่อทำการถอดกระดูก พระเณรลูกศิษย์ทั้งหลายช่วยกันขัดล้างกระดูกแล้วห่อด้วยผ้าขาว ใส่หีบศพประชุมเพลิงด้วยไม้จันทน์
    รุ่งขึ้นท่านพระอาจารย์สิงห์เป็นผู้จัดแบ่งอัฐิพระอาจารย์ไปยังวัดต่างๆ ที่เห็นสมควร ที่เหลือได้มอบให้วัดบูรพารามเก็บรักษา
    หลวงพ่อโชติ อาภคฺโค ได้จบบันทึกของท่านด้วยบรรยากาศการจัดงานเผาศพของหลวงปู่ใหญ่ ดังนี้ : -
    “ปี พ.ศ. ๒๔๘๖ ได้ทำพิธีฌาปนกิจศพท่าน โดยท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) เป็นประธานในงานพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม และพระเถรานุเถระผู้ศิษย์ ร่วมกันจัดการฌาปนกิจศพท่านโดยพร้อมเพรียง ทั้งฝ่ายอาณาจักรและศาสนจักร เป็นการเชิดชูเกียรติประวัติของพระป่าผู้ใฝ่ธรรม ปฏิบัติธุดงคกรรมฐาน ตามแบบโบราณาจารย์แต่ปางก่อนเคยสอนสืบๆ มา นับเนื่องเป็นพระบูรพาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบควรแก่การยกย่องนับถือ เป็นปูชนียบุคคลโดยแท้ สาธุ !”
    <table id="table81" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td>
    [​IMG]
    </td> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td>
    พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล
    </td> <td>
    ท่านเจ้าคุณพระศาสนดิลก
    (เสน ชิตเสโน)
    </td> </tr> <tr> <td>
    [​IMG]
    </td> <td>
    [​IMG]
    </td> </tr> <tr> <td>
    พระมหารัฐ รฏฺฐปาโล
    </td> <td>
    พระครูวิใรจน์รัตโนบล
    (บุญรอด นนฺตโร)
    </td> </tr> </tbody></table>​
    ๑๘๓
    คำเทศน์หลวงปู่มั่นในงานเผาศพหลวงปู่ใหญ่
    ต่อไปนี้เป็นคำบอกเล่าของหลวงพ่อพุธ ฐานิโย อดีตสามเณรอุปัฏฐากหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล
    หลวงพ่อพุธ เน้นคำเทศน์ของหลวงปู่มั่น ว่า “ลูกศิษย์พระอาจารย์มั่น ต้องปฏิบัติอย่างพระอาจารย์มั่นปฏิบัติ”
    รายละเอียดมีดังนี้
    จำได้ว่างานศพหลวงปู่เสาร์ ตอนนั้นหลวงพ่อบวชเป็นพระได้พรรษาหนึ่ง อยู่วัดสระปทุม (วัดปทุมวนาราม เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ) ใครต่อใครเขาก็ไปกัน แต่พระอุปัชฌาย์ (เจ้าคุณพระปัญญาพิศาลเถร-หนู ฐิตปญฺโญ) ให้หลวงพ่อเฝ้ากุฏิ เลยไม่ได้ไปกับเขา
    พอพระอุปัชฌาย์ท่านไป กลับมาก็มาเทศน์ให้ฟัง
    เจ้าคุณพระปัญญาพิศาลเถร กับหลวงปู่เสาร์ นี่ท่านให้คำมั่นสัญญากัน ถ้าใครตายก่อนให้ไปทำศพ หลวงปู่เสาร์ตายก่อนจึงทำที่วัดบูรพา ฯ
    และอีกอย่างหนึ่ง เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๖ ท่านอาจารย์เสาร์ได้มรณภาพลงแล้ว ก็ได้ทำฌาปนกิจ คือถวายพระเพลิงศพท่านอาจารย์เสาร์
    ในงานนั้นท่านอาจารย์มั่นก็ไปร่วมงานด้วยในฐานะที่ท่านก็เป็นอันเตวาสิก (ศิษย์) ของท่านอาจารย์เสาร์ ซึ่งอยู่ในระดับผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง
    ในขณะที่ท่านแสดงธรรมท่านอาจารย์มั่นแสดงธรรมว่า
    “เมื่อสมัยท่านอาจารย์เสาร์ยังมีชีวิตอยู่ ท่านก็เป็นครูบาอาจารย์สั่งสอนเรา บัดนี้ท่านอาจารย์เสาร์ได้มรณภาพไปแล้ว ก็ยังเหลือแต่เราพระอาจารย์มั่น จะเป็นอาจารย์อบรมสั่งสอนหมู่ในสายนี้ต่อไป
    ดังนั้น ท่านผู้ใดสมัครใจเป็นลูกศิษย์ท่านอาจารย์มั่นต้องปฏิบัติตามปฏิปทาของท่านอาจารย์มั่น ถ้าใครไม่สมัครใจหรือปฏิบัติตามไม่ได้ อย่ามายุ่งกับท่านอาจารย์มั่นเป็นอันขาด
    ทีนี้ถ้าเราคืออาจารย์มั่น ตายไปแล้ว ก็ยังเหลือแต่ท่านสิงห์นั่นแหละ พอจะเป็นครูบาอาจารย์สั่งสอนหมู่ได้
    ท่านเทศน์ไว้อย่างนี้จำไว้นะ ไม่ทราบว่าสหธรรมิกซึ่งเป็นลูกศิษย์ของท่านอาจารย์มั่นจะจำได้หรือเปล่า ถ้าหากจำได้ก็ขออภัยด้วย ถ้าหากจำไม่ได้ ก็ลองเอาไปคิดเป็นการบ้านดูซิว่า ปฏิปทาของอาจารย์มั่นท่านปฏิบัติอย่างไร แล้วเราควรจะดำเนินตามแนวทางของท่านอย่างไรจึงจะได้ชื่อว่าเป็นลูกศิษย์ของท่านอาจารย์มั่น
    ท่านทั้งหลายลองคิดดูซิว่า สมัยที่ท่านอาจารย์มั่น ท่านอาจารย์เสาร์ยังอยู่ บางสิ่งบางอย่างที่เราอนุโลมตามความต้องการของชาวโลกแทบจะไม่ปรากฏ
    แม้แต่การทำบุญมหาชาติ การจัดงานวัดมีมหรสพต่างๆ เราไม่เคยมี
    สมัยปัจจุบันนี้ ครูบาอาจารย์เป็นนักธุรกิจ ไปกันเสียไม่ได้หยุด จากเหนือไปใต้ จากใต้ไปเหนือ ไปเที่ยวโปรดญาติโยม แต่ไม่แน่นักว่าให้ญาติโยมโปรด หรือไปโปรดญาติโยมกันแน่ก็ไม่ทราบ
    อันนี้คือของฝากให้ลูกศิษย์ครูบาอาจารย์ได้นำไปพิจารณาเป็นการบ้าน
    ผมก็ขอจบเรื่องราวของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ลงเพียงแค่นี้ หากมีสิ่งใดผิดพลาดไม่สมควร ไม่เหมาะสมด้วยประการใดๆ ผมขอกราบแทบเท้าขอขมาต่อองค์หลวงปู่ใหญ่ ครูบาอาจารย์ และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกท่านด้วยครับ
    กราบหลวงปู่ใหญ่ด้วยใจเคารพอย่างสูงสุด
    รศ ดร.ปฐม นิคมานนท์
    ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๔๖
     
  11. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    [​IMG]


    เกร็ดประวัติพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล (๑)
    (คัดจากหนังสือฐานยตฺเถรวตฺถุ)
    คัดลอกจาก : http://se-ed.net/pratongtum/a_sao/a_sao01.html
    [​IMG]
    ท่านเกิดที่บ้านข่าโคม ตำบลหนองขอน อำเภอเมือง (ปัจจุบันอำเภอเขื่องใน) จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๔๐๒ ท่านเป็นพระคณาจารย์ใหญ่ของพระกรรมฐานทั้งหมด
    ท่านอุปสมบทที่วัดใต้ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ต่อมาได้เป็นเจ้าอาวาสวัดใต้ และได้ญัตติเป็นพระธรรมยุตที่วัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม) มีพระครูทา โชติปาโล เป็นพระอุปัชฌาย์ เจ้าอธิการสีทา ชยเสโน เป็นพระกรรมวาจารย์ ภายหลังมาอยู่วัดเลียบ และเปิดสำนักปฏิบัติธรรมขึ้น ณ วัดเลียบ ลูกศิษย์ที่มีชื่อเสียงของท่านคือพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต
    ท่านได้มรณภาพในอิริยาบถขณะกราบครั้งที่ ๓ ในอุโบสถวัดอำมาตยาราม อำเภอวรรณไวทยากรณ์ นครจำปาศักดิ์ ประเทศลาว เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๔ ตรงกับ วันจันทร์ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๓ ปีมะโรง เชิญศพมา ณ วัดบูรพาราม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ทำพิธีเผาในเดือนเมษายน ๒๔๘๖ สิริอายุ ๘๒ ปี ๓ เดือน ๑ วัน
    <table id="table2" align="left" border="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center"> หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    นิสัยท่านอาจารย์เสาร์ นิสัยชอบก่อสร้าง ชอบปลูกพริกหมากไม้ ลักษณะจิตเยือกเย็น มีพรหมวิหารทำจิตดุจแผ่นดิน มีเมตตาเป็นสาธารณะ เป็นคนพูดน้อย ยกจิตขึ้นสู่องค์เมตตาสุกใสรุ่งเรือง เป็นคนเอื้อเฟื้อในพระวินัย ทำความเพียรเป็นกลางไม่ยิ่งหย่อน พิจารณาถึงขั้นภูมิละเอียดมาก ท่านบอกให้เราภาวนาเปลี่ยนอารมณ์แก้อาพาธได้
    อยู่ข้างนอกวุ่นวาย เข้าไปหาท่านจิตสงบดี เป็นอัศจรรย์ปาฏิหาริย์หลายอย่าง จิตของท่านชอบสันโดษ ไม่มักใหญ่ใฝ่สูง หมากไม่กินบุหรี่ไม่สูบ ท่านแดดัง (พระครูทา โชติปาโล) เป็นอุปัชฌายะ เดินจงกรมภาวนาเสมอไม่ละกาล น้ำใจดี ไม่เคยโกรธขึ้นให้พระเณรอุบาสกอุบาสิกา มักจะวางสังฆทานอุทิศในสงฆ์สันนิบาต แก้วิปัสสนูฯแก่สานุศิษย์ได้ อำนาจวางจริตเฉยๆ เรื่อยๆ ชอบดูตำราเรื่องพระพุทธเจ้า รูปร่างใหญ่ สันทัด เป็นมหานิกาย ๑๐ พรรษา จึงมาญัตติเป็นธรรมยุตฯ รักเด็ก เป็นคนภูมิใหญ่กว้างขวาง ยินดีทั้งปริยัติปฏิบัติ ลักษณะเป็นคนโบราณพร้อมทั้งกาย วาจา ใจ เป็นโบราณทั้งสิ้น ไม่เห่อตามลาภยศสรรเสริญ อาหารชอบเห็ด ผลไม้ต่างๆ ชอบน้ำผึ้ง
    ฉันเห็ดเบื่อ
    หลวงปู่เสาร์นี่ เห็ดมันเกิดขึ้นตามวัด บอกเณรไปเก็บ เณรเก็บเห็ดอันนี่ไปหมกไฟให้กิน เณรก็ไปเก็บได้ประมาณเต็มถ้วยก๋วยเตี๋ยวหนึ่ง เอามาห่อหมกเสร็จแล้วก็ไปถวายหลวงปู่ หลวงปู่ก็ฉันจนหมด ทีนี้ไอ้เราพวกเณรนี่ก็ทำห่อหมก เณร ๕-๖ องค์ตักแจกกันคนละช้อนๆ ๆ ฉันอาหารยังไม่ทันอิ่มเลย สลบเหมือดทั้ง ๖ องค์ ทีนี้
    อุ๊ย! เณรเป็นอะไรๆ ถามมันดูซิว่ามันเป็นอะไร
    เณรก็ กินเห็ดเบื่อ
    รู้ว่าเห็ดเบื่อทำไมถึงไปกินล่ะ
    ท่านอาจารย์พากิน
    ข้าไม่ได้กินเห็ดเบื่อ ถ้าข้ากินเห็ดเบื่อข้าก็เมาตายสิ
    หลวงปู่เสาร์ฉันเป็นชามนั่งยิ้มเฉย แต่เณรฉันคนละช้อน ฉันข้าวยังไม่อิ่มเลย สลบเหมือดไปเลย อันนี้จิตของเรานี่มันปรุงแต่งได้ จะให้มันแพ้หรือมันชนะมันก็ทำได้
    หลวงปู่เสาร์แก้สัญญาวิปลาสให้หลวงปู่มั่น
    แก้สัญญาวิปลาสจนสำเร็จเป็นอัศจรรย์
    ท่านอาจารย์เสาร์ มีเมตตาแก่สัตว์เป็นมหากรุณาอย่างยิ่ง วางเป็นกลาง เยือกเย็นที่สุด เมตตาของท่านสดใส เห็นปาฏิหาริย์ของท่านสมัยขุนบำรุงบริจาคที่ดินและไม้ ทำสำนักแม่ขาวสาริกา วัดสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร
    แก้สัญญาวิปลาสท่านอาจารย์มั่นกับท่านเจ้าคุณหนูวัดสระปทุมในสมัยนั้น จนสำเร็จเป็นอัศจรรย์ เรียกว่าเป็นพ่อพระกรรมฐานภาคอีสาน นี้ท่านอาจารย์เสาร์เล่าให้ฟัง สมัยที่เรา (หลวงปู่หลุย) อยู่กับท่าน เดินธุดงค์ไปด้วย ท่านปรารถนาเป็นพระปัจเจก กับปรารถนาเป็นสาวกสำเร็จอรหันต์ในศาสนาสมณโคดมพุทธเจ้าของเรา ท่านอาจารย์มั่นเคารพท่านอาจารย์เสาร์มากที่สุด เพราะเป็นเณรของท่านมาแต่ก่อน ท่านมักเรียกท่านอาจารย์มั่นเป็นสรรพนามว่า "เจ้าๆ ข้อยๆ"
    (คัดมาจากหนังสือประวัติหลวงปู่หลุย จนฺทสาโร)
    นั่งสมาธิตัวลอยขึ้น… ลืมตาขึ้นดูตกลงมาก้นกระแทกกับพื้นอย่างแรง
    ท่านพระอาจารย์มั่นเล่าว่า นิสัยของท่านพระอาจารย์เสาร์เป็นไปอย่างเรียบๆ และเยือกเย็นน่าเลื่อมใสมาก ที่มีแปลกอยู่บ้างก็เวลาท่านเข้าที่นั่งสมาธิตัวของท่านชอบลอยขึ้นเสมอ บางครั้งตัวท่านลอยขึ้นไปจนผิดสังเกต เวลาท่านนั่งสมาธิอยู่ ท่านเองเกิดความแปลกใจในขณะนั้นว่า "ตัวเราถ้าจะลอยขึ้นจากพื้นแน่ๆ" เลยลืมตาขึ้นดูตัวเอง ขณะนั้นจิตท่านถอนออกจากสมาธิพอดี เพราะพะวักพะวงกับเรื่องตัวลอย ท่านเลยตกลงมาก้นกระแทกกับพื้นอย่างแรง ต้องเจ็บเอวอยู่หลายวัน ความจริงตัวท่านลอยขึ้นจากพื้นจริงๆ สูงประมาณ ๑ เมตร ขณะที่ท่านลืมตาดูตัวเองนั้น จิตท่านถอนออกจากสมาธิ จึงไม่มีสติพอยับยั้งไว้บ้าง จึงทำให้ท่านตกลงสู่พื้นอย่างแรง เช่นเดียวกับสิ่งต่างๆ ตกลงจากที่สูง ในคราวต่อไปเวลาท่านนั่งสมาธิ พอรู้สึกว่าตัวท่านลอยขึ้นจากพื้น ท่านพยายามทำสติให้อยู่ในองค์ของสมาธิแล้วค่อยๆ ลืมตาขึ้นดูตัวเอง ก็ประจักษ์ว่าตัวท่านลอยขึ้นจริงๆ แต่ไม่ได้ตกลงสู่พื้นเหมือนคราวแรก เพราะท่านมิได้ปราศจากสติ และคอยประคองใจให้อยู่ในองค์สมาธิ ท่านจึงรู้เรื่องของท่านได้ดี ท่านเป็นคนละเอียดถี่ถ้วนอยู่มาก แม้จะเห็นด้วยตาแล้วท่านยังไม่แน่ใจ ต้องเอาวัตถุชิ้นเล็กๆ ขึ้นไปเหน็บไว้บนหญ้าหลังกุฏิ แล้วกลับมาทำสมาธิอีก พอจิตสงบ และตัวเริ่มลอยขึ้นไปอีก ท่านพยายามประคองจิตให้มั่นอยู่ในสมาธิ เพื่อตัวจะได้ลอยขึ้นไปจนถึงวัตถุเครื่องหมายที่ท่านนำขึ้นไปเหน็บไว้ แล้วค่อยๆ เอื้อมมือจับด้วยความมีสติ แล้วนำวัตถุนั้นลงมาโดยทางสมาธิภาวนา คือพอหยิบได้วัตถุนั้นแล้วก็ค่อยๆ ถอนจิตออกจากสมาธิ เพื่อกายจะได้ค่อยๆ ลงมาถึงพื้นอย่างปลอดภัย แต่ไม่ถึงกับให้จิตถอนจากสมาธิจริงๆ เมื่อได้ทดลองจนเป็นที่แน่ใจแล้ว ท่านจึงเชื่อตัวเองว่า ตัวท่านลอยขึ้นได้จริงในเวลาเข้าสมาธิในบางครั้ง แต่มิได้ลอยขึ้นเสมอไป นี้เป็นจริตนิสัยแห่งจิตของท่านพระอาจารย์เสาร์ รู้สึกผิดกับนิสัยของท่านพระอาจารย์มั่นอยู่มากในปฏิปทาทางใจ
    จิตของท่านพระอาจารย์เสาร์เป็นไปอย่างเรียบๆ สงบเย็นโดยสม่ำเสมอ นับแต่ขั้นเริ่มแรกจนถึงสุดท้ายปลายแดนแห่งปฏิปทาของท่าน ไม่ค่อยล่อแหลมต่ออันตราย และไม่ค่อยมีอุบายต่างๆ และความรู้แปลกๆ เหมือนจิตท่านพระอาจารย์มั่น
    (คัดมาจากหนังคือ ประวัติพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต)
    หลวงปู่เสาร์เคยปรารถนาเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า
    เวลาเร่งความเพียรใจรู้สึกประหวัดๆ ถึงความปรารถนาเดิม
    ท่านพระอาจารย์มั่นเล่าว่า ท่านพระอาจารย์เสาร์เดิมท่านปรารถนาเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า เวลาออกบำเพ็ญพอเร่งความเพียรเข้ามากๆ ใจรู้สึกประหวัดๆ ถึงความปรารถนาเดิม เพื่อความเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าแสดงออกเป็นเชิงอาลัยเสียดาย ยังไม่อยากไปนิพพาน ท่านเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อความเพียรเพื่อความรู้แจ้งซึ่งพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้ ท่านเลยอธิษฐานของดจากความปรารถนานั้น และขอประมวลมาเพื่อความรู้แจ้งซึ่งพระนิพพานในชาตินี้ ไม่ขอเกิดมารับความทุกข์ทรมานในภพชาติต่างๆ อีกต่อไป พอท่านปล่อยวางความปรารถนาเดิมแล้ว การบำเพ็ญเพียรรู้สึกสะดวกและเห็นผลไปโดยลำดับ ไม่มีอารมณ์เครื่องเกาะเกี่ยวเหมือนแต่ก่อน สุดท้ายท่านก็บรรลุถึงแดนแห่งความเกษมดังใจหมาย แต่การแนะนำสั่งสอนผู้อื่น ท่านไม่ค่อยมีความรู้แตกฉานกว้างขวางนัก ทั้งนี้อาจจะเป็นไปตามภูมินิสัยเดิมของท่านที่มุ่งเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ซึ่งตรัสรู้เองชอบ แต่ไม่สนใจสั่งสอนใครก็ได้ อีกประการหนึ่ง ที่ท่านกลับความปรารถนาได้สำเร็จตามใจนั้น คงอยู่ในขั้นพอแก้ไขได้ ซึ่งยังไม่สมบูรณ์เต็มภูมิแท้
    หลวงปู่เสาร์เป็นคนพูดน้อย
    เราเกิดเป็นมนุษย์ มีความสูงศักดิ์มาก แต่อย่านำเรื่องของสัตว์มาประพฤติ
    เวลาท่านพระอาจารย์มั่นออกเที่ยวธุดงคกรรมฐานทางภาคอีสาน ตามจังหวัดต่างๆ ในระยะต้นวัย ท่านมักจะไปกับท่านพระอาจารย์เสาร์เสมอ แม้ความรู้ทางภายในจะมีแตกต่างกันบ้างตามนิสัย แต่ก็ชอบไปด้วยกัน สำหรับท่านพระอาจารย์เสาร์ ท่านเป็นคนไม่ชอบพูด ไม่ชอบเทศน์ ไม่ชอบมีความรู้แปลกๆ ต่างๆ กวนใจเหมือนท่านอาจารย์มั่น เวลาจำเป็นต้องเทศน์ท่านก็เทศน์เพียงประโยคหนึ่งหรือสองเท่านั้น แล้วก็ลงธรรมาสน์ไปเสีย ประโยคธรรมที่ท่านเทศน์ซึ่งพอจับใจความได้ว่า
    "ให้พากันละบาปและบำเพ็ญบุญ อย่าให้เสียชีวิตลมหายใจไปเปล่าที่ได้มีวาสนามาเกิดเป็นมนุษย์"
    และ
    "เราเกิดเป็นมนุษย์มีความสูงศักดิ์มาก แต่อย่านำเรื่องของสัตว์มาประพฤติ มนุษย์ของเราจะต่ำลงกว่าสัตว์ และจะเลวกว่าสัตว์อีกมาก เวลาตกนรกจะตกหลุมที่ร้อนกว่าสัตว์มากมาย อย่าพากันทำ"
    แล้วก็ลงธรรมาสน์ไปกุฏิโดยไม่สนใจกับใครต่อไปอีก
    ปกตินิสัยของท่านเป็นคนไม่ชอบพูด พูดน้อยที่สุด ทั้งวันไม่พูดอะไรกับใครเกิน ๒-๓ ประโยค เวลานั่งก็ทนทาน นั่งอยู่ได้เป็นเวลาหลายๆ ชั่วโมง เดินก็ทำนองเดียวกัน แต่ลักษณะท่าทางของท่านมีความสง่าผ่าเผย น่าเคารพเลื่อมใสมาก มองเห็นท่านแล้วเย็นตาเย็นใจไปหลายวัน ประชาชน และพระเณรเคารพเลื่อมใสท่านมาก ท่านมีลูกศิษย์มากมายเหมือนท่านอาจารย์มั่น .
    หลวงปู่เสาร์สอนทำอะไรให้เป็นเวลา
    ให้ทำวัตร นอน ๔ ทุ่ม ตื่นตี ๓
    ท่านอาจารย์หลวงปู่เสาร์นี้ท่านเป็นสาวกแบบชนิดที่ว่าเป็นพระประเสริฐ ท่านสอนธรรมนี้ท่านไม่พูดมาก ท่านชี้บอกว่าให้ทำอย่างนั้น อย่างนี้ แต่การปฏิบัติของท่านนี้ ท่านเอาการปฏิบัติแทนการสอนด้วยปาก ผู้ที่ไปอยู่ในสำนักท่าน ก่อนอื่นท่านจะสอนให้ทำวัตร นอน ๔ ทุ่ม ตื่นตี ๓ นี้ข้อแรกต้องทำให้ได้ก่อน
    บางทีก็ลองเรียนถามท่าน หลวงปู่ทำไมสอนอย่างนี้
    การนอนเป็นเวลา ตื่นเป็นเวลา ฉันเป็นเวลา อาบน้ำเข้าห้องน้ำเป็นเวลา มันเป็นอุบายสร้างพลังจิต แล้วทำให้เรามีความจริงใจ
    ทีนี้นักปฏิบัติทั้งหลายไม่ได้ทำอย่างนี้ แม้แต่นักสะกดจิต เขาก็ยังยึดหลักอันนี้ มันมีอยู่คำหนึ่งที่หลวงพ่อ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย) ไม่เคยลืมหลักปฏิบัติที่เวลาไปปฏิบัติท่าน ท่านจะพูดขึ้นลอยๆ ว่า
    "เวลานี้จิตข้ามันไม่สงบ มันมีแต่ความคิด"
    ก็ถามว่า "จิตมันฟุ้งซ่านหรือไง อาจารย์"
    "ถ้าให้มันหยุดนิ่งมันก็ไม่ก้าวหน้า"
    กว่าจะเข้าใจความหมายของท่าน ก็ใช้เวลาหลายปี
    ท่านหมายความว่า เวลาปฏิบัติถ้าจิตมันหยุดนิ่งก็ปล่อยให้มันหยุดนิ่งไป อย่าไปรบกวนมัน ถ้าเวลามันจะคิดก็ให้มันคิดไป เราเอาสติตัวเดียวเป็นตัวตั้งตัวตี.
    ปฏิปทาของหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล
    <table id="table1" align="right" border="0" cellspacing="1"> <tbody><tr> <td class="pic_descript"> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td class="pic_descript" align="center"> พระปัญญาพิศาลเถร (หนู)</td> </tr> </tbody></table> ​
    ท่านสนใจเรื่องการปฏิบัติสมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน โดยถ่ายเดียว
    หลวงปู่เสาร์ซึ่งเป็นอาจารย์ของหลวงปู่มั่น ออกเดินธุดงคกรรมฐาน ปักกลดอยู่ในป่า ในดง ในถ้ำ ในเขา องค์แรกของอีสานคือหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล นัยว่าท่านออกบวชในพระศาสนา ท่านสนใจเรื่องการปฏิบัติสมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน โดยถ่ายเดียว ซึ่งสหธรรมิกคู่หูของท่านก็คือ พระปัญญาพิศาลเถร (หนู) เป็นคนเกิดในเมืองอุบลฯ ท่านออกเดินธุดงค์ร่วมกัน หลวงปู่เสาร์ตามปกติท่านเป็นพระที่เทศน์ไม่เป็น แต่ปฏิบัติให้ลูกศิษย์ดูเป็นตัวอย่าง
    เดินจงกรมแข่งหลวงปู่เสาร์
    สมัยที่หลวงพ่อ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย) เป็นเณรอยู่ใกล้ๆ ท่าน ถ้าวันไหนเราคิดว่าจะเดินจงกรมแข่งกับท่านอาจารย์ใหญ่ วันนั้นท่านจะเดินจงกรมไม่หยุด จนกว่าเราหยุดนั่นแหละท่านจึงจะหยุด ท่านจะไม่ยอมให้เราชนะท่าน เวลาท่านสอน สอนสมาธิ ถ้ามีใครถามว่า ส่วนใหญ่คนอีสานก็ถามแบบภาษาอีสาน
    "อยากปฏิบัติสมาธิเฮ็ดจั๋งได๋ญ่าท่าน"
    "พุทโธสิ"
    "ภาวนาพุทโธแล้วมันจะได้อีหยังขึ้นมา"
    "อย่าถาม"
    "พุทโธแปลว่าจั๋งได๋"
    "ถามไปหาสิแตกอีหยัง ยั้งว่าให้ภาวนา พุทโธ ข้าเจ้าให้พูดแค่นี้"
    แล้วก็ไม่มีคำอธิบาย ถ้าหากว่าใครเชื่อตามคำแนะนำของท่าน ไปตั้งใจภาวนาพุทโธ จริงๆ ไม่เฉพาะแต่เวลาเราจะมานั่งอย่างเดียว ยืน เดิน นั่น นอน รับประทาน ดื่ม ทำ ใจนึกพุทโธไว้ให้ตลอดเวลา ไม่ต้องเลือกว่าเวลานี้จะภาวนาพุทโธ เวลานี้เราจะไม่ภาวนาพุทโธ ท่านสอนให้ภาวนาทุกลมหายใจ

     
  12. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    ทำไมหลวงปู่เสาร์สอนภาวนาพุทโธ
    เพราะพุทโธเป็นกริยาของใจ
    หลวงพ่อ (พุธ ฐานิโย) เคยแอบถามท่านว่า ทำไมจึงต้องภาวนา พุทโธ
    ท่านก็อธิบายให้ฟังว่า ที่ให้ภาวนาพุทโธนั้น เพราะพุทโธ เป็นกิริยาของใจ ถ้าเราเขียนเป็นตัวหนังสือเราจะเขียน พ – พาน – สระ – อุ – ท – ทหาร สะกด โอ ตัว ธ – ธง อ่านว่า พุทโธ อันนี้เป็นเพียงแต่คำพูด เป็นชื่อของคุณธรรมชนิดหนึ่ง ซึ่งเมื่อจิตภาวนาพุทโธแล้ว มันสงบวูบลงไป นิ่ง สว่าง รู้ ตื่น เบิกบาน
    พอหลังจากคำว่า พุทโธ มันก็หายไปแล้ว ทำไมมันจึงหายไป เพราะจิตมันถึงพุทโธแล้ว จิตกลายเป็นพุทธะ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เป็นคุณธรรมที่ทำจิตให้เป็นพุทธะ เกิดขึ้นในจิตของท่านผู้ภาวนา
    พอหลังจากนั้นจิตของเราจะหยุดนึกคำว่าพุทโธ แล้วก็ไปนิ่ง รู้ ตื่น เบิกบาน สว่างไสว กายเบา จิตเบา กายสงบ จิตสงบ ยังแถมมีปีติ มีความสุขอย่างบอกไม่ถูก อันนี้มันเป็นพุทธะ พุทโธ โดยธรรมชาติเกิดขึ้นที่จิตแล้ว พุทโธ แปลว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เป็นกิริยาของจิตมันใกล้กับความจริง
    แล้วทำไมเราจึงมาพร่ำบ่น พุทโธๆ ๆ ในขณะที่จิตเราไม่เป็นเช่นนั้น
    ที่เราต้องมาบ่นว่า พุทโธนั่นก็เพราะว่า เราต้องการจะพบพุทโธ ในขณะที่พุทโธยังไม่เกิดขึ้นกับจิตนี้ เราก็ต้องท่อง พุทโธๆ ๆ ๆ เหมือนกับว่าเราต้องการจะพบเพื่อนคนใดคนหนึ่ง เมื่อเรามองไม่เห็นเขา หรือเขายังไม่มาหาเรา เราก็เรียกชื่อเขา ทีนี้เมื่อเขามาพบเราแล้ว เราได้พูดจาสนทนากันแล้ว ก็ไม่จำเป็นจะต้องไปเรียกชื่อเขาอีก ถ้าขืนเรียกซ้ำๆ เขาจะหาว่าเราร่ำไร ประเดี๋ยวเขาด่าเอา
    ทีนี้ในทำนองเดียวกันในเมื่อเรียก พุทโธๆ ๆ เข้ามาในจิตของเรา เมื่อจิตของเราได้เกิดเป็นพุทโธเอง คือผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จิตของเราก็หยุดเรียกเอง ทีนี้ถ้าหากว่าเรามีความรู้สึกอันหนึ่งแทรกขึ้นมา เอ้า ควรจะนึกถึงพุทโธอีก พอเรานึกขึ้นมาอย่างนี้สมาธิของเราจะถอนทันที แล้วกิริยาที่จิตมันรู้ ตื่น เบิกบานจะหายไป เพราะสมาธิถอน
    ทีนี้ตามแนวทางของครูบาอาจารย์ที่ท่านแนะนำพร่ำสอน ท่านจึงให้คำแนะนำว่า เมื่อเราภาวนาพุทโธไปจิตสงบวูบลงนิ่ง สว่าง รู้ ตื่น เบิกบาน แต่ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ท่านก็ให้ประคองจิตให้อยู่ในสภาพปกติอย่างนั้น ถ้าเราสามารถประคองจิตให้อยู่ในสภาพอย่างนั้นได้ตลอดไป จิตของเราจะค่อยสงบ ละเอียดๆ ๆ ลงไป ในช่วงเหตุการณ์ต่างๆ มันจะเกิดขึ้น ถ้าจิตส่งกระแสออกนอกเกิดมโนภาพ ถ้าวิ่งเข้ามาข้างในจะเห็นอวัยวะภายในร่างกายทั่วหมด ตับ ไต ไส้ พุง เห็นหมด แล้วเราจะรู้สึกว่ากายของเรานี่เหมือนกับแก้วโปร่ง ดวงจิตที่สงบ สว่างเหมือนกับดวงไฟที่เราจุดไว้ในพลบครอบ แล้วสามารถเปล่งรัศมีสว่างออกมารอบๆ จนกว่าจิตจะสงบละเอียดลงไป จนกระทั่งว่ากายหายไปแล้วจึงจะเหลือแต่จิตสว่างไสวอยู่ดวงเดียวร่างกายตัวตนหายหมด ถ้าหากจิตดวงนี้มีสมรรถภาพพอที่จะเกิดความรู้ความเห็นอะไรได้ จิตจะย้อนกายลงมาเบื้องล่าง เห็นร่างกายตัวเองนอนตายเหยียดยาวอยู่ขึ้นอืดเน่าเปื่อยผุพังสลายตัวไป.
    หลักปฏิบัติที่ครูบาอาจารย์ให้ไว้
    อาศัยอยู่ตามถ้ำบ้าง ตามโคนต้นไม้บ้าง
    พระบูรพาจารย์ของเรา เราถือว่าพระอาจารย์เสาร์ กตนฺสีโล เป็นพระอาจารย์องค์แรก และเป็นผู้นำหมู่คณะลูกศิษย์ลูกหา ออกเดินธุดงคกรรมฐาน ชอบพักพิงอยู่ตามป่าตามที่วิเวก อาศัยอยู่ตามถ้ำบ้างตามโคนต้นไม้บ้าง และท่านอาจารย์มั่นก็เป็นอีกท่านหนึ่งซึ่งเป็นลูกศิษย์พระอาจารย์เสาร์ หลวงพ่อสิงห์ ขนฺตยาคโม ก็เป็นลูกศิษย์ของท่านอาจารย์เสาร์ และท่านอาจารย์มั่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระอาจารย์สิงห์เปรียบเสมือนหนึ่งว่าเป็นเสนาธิการใหญ่ของกองทัพธรรม ได้นำหมู่คณะออกเดินธุดงค์ไปตามราวป่าตามเขา อยู่อัพโภกาส อยู่ตามโคนต้นไม้ อาศัยอยู่ตามถ้ำ พักพิงอาศัยอยู่ในราวป่าห่างจากหมู่บ้านประมาณ ๕๐๐ เมตร การธุดงค์ของพระอาจารย์เสาร์ พระอาจารย์มั่น พระอาจารย์สิงห์จะไม่นิยมที่จะไปปักกลดอยู่ตามละแวกบ้าน ตามสนามหญ้า หรือตามบริเวณโรงเรียน หรือใกล้ๆ กับถนนหนทางในที่ซึ่งเป็นที่ชุมนุมชน ท่านจะออกแสวงหาวิเวกในราวป่าห่างไกลกันจริงๆ
    <table id="table1" align="left" border="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="pic_descript"> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td class="pic_descript" align="center"> หลวงพ่อสิงห์ ขนฺตยาคโม
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    บางทีไปอยู่ในป่าเขาที่ไกล ตื่นเช้าเดินจากที่พักลงมาสู่หมู่บ้านเพื่อบิณฑบาต เมื่อบิณฑบาตเสร็จแล้ว กลับไปถึงที่พักเป็นเวลา ๑๑.๐๐ น. หรือ ๕ โมงก็มี อันนี้คือหลักการปฏิบัติของพระธุดงคกรรมฐานในสายพระอาจารย์มั่น พระอาจารย์เสาร์ ซึ่งบางทีอาจจะผิดแผกจากพระธุดงค์ในสมัยปัจจุบัน ซึ่งไปปักกลดอยู่ตามสนามหญ้า หรือตามสถานีรถไฟ ตามบริเวณโรงเรียนหรือศาลเจ้าต่างๆ พระอาจารย์เสาร์ พระอาจารย์มั่น พระอาจารย์สิงห์ ไม่นิยมทำเช่นนั้น ไปธุดงค์ก็ต้องไปป่ากันจริงๆ ที่ใดซึ่งมีอันตรายท่านก็ยิ่งไปเพื่อเป็นการทดสอบความสามารถของตัวเอง และเป็นการฝึกฝนลูกศิษย์ลูกหาให้มีความกล้าหาญเผชิญต่อภัยของชีวิต ตะล่อมจิตให้ยึดมั่นในคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อย่างแน่วแน่
    เมื่อไปในสถานที่ที่คิดว่ามีอันตราย ไปอยู่ในที่ห่างไกลพี่น้อง เพื่อนฝูงหสธรรมิกก็ไปอยู่บริเวณที่ห่างๆ กัน ในเมื่อจิตใจเกิดความหวาดกลัวภัยขึ้นมา จิตใจก็วิ่งเข้าสู่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ยึดเอาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะอย่างเหนียวแน่น เพราะในขณะนั้นไม่มีใครอีกแล้วที่จะเป็นเพื่อนตาย ดังนั้น ท่านจึงมีอุบายให้ไปฝึกฝนอบรมตัวเอง ฝึกฝนอบรมบรรดาลูกศิษย์ลูกหา ผู้ติดตาม ในสถานที่วิเวกห่างไกลเต็มไปด้วยภัยอันตราย เพื่อให้ลูกศิษย์ลูกหามีความกล้าหาญชาญชัย ในการที่จะเสียสละเพื่อบูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เพื่อบูชาพระรัตนตรัยอย่างแท้จริง
    การฝึกฝนอบรมหรือการอบรมสั่งสอนของครูบาอาจารย์ดังกล่าวนั้น ท่านยึดหลักที่จะพึงให้ลูกศิษย์ปฏิบัติเป็นกิจวัตรประจำวันดังนี้
    ท่านจะสอนให้พวกเราประกอบความเพียรดังกล่าวตั้งแต่หัวค่ำ จนกระทั่วเวลา ๔ ทุ่ม พอถึง ๔ ทุ่มแล้วก็จำวัดพักผ่อนตามอัธยาศัย
    พอถึงตี ๓ ท่านก็เตือนให้ลุกขึ้นมาบำเพ็ญเพียร เดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนาหรือทำวัตรสวดมนต์ก็ตามแต่ที่จะถนัด
    แต่หลักที่ท่านยึดเป็นหลักที่แน่นอนที่สุดก็คือว่า ในเบื้องต้นท่านจะสอนให้ลูกศิษย์หัดนอน ๔ ทุ่ม ตื่นตี ๓ ในขณะที่ยังไม่ได้นอน หรือตื่นขึ้นมาแล้ว ก็ทำกิจวัตร มีการสวดมนต์ไหว้พระ เดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนา ท่านก็จะสอนให้ทำอย่างนี้ อันนี้เป็นหลักสำคัญที่ท่านจะรีบเร่งอบรมสั่งสอน และฝึกลูกศิษย์ให้ทำให้ได้ ถ้าหากยังทำไม่ได้ ท่านก็ยังไม่อบรมสั่งสอนธรรมะส่วนละเอียดขึ้นไป เพราะอันนี้เป็นการฝึกหัดดัดนิสัยให้มีระเบียบ นอนก็มีระเบียบ ตื่นก็มีระเบียบ การฉันก็ต้องมีระเบียบ คือฉันหนเดียวเป็นวัตร ฉันในบาตรเป็นวัตร บิณฑบาตฉันเป็นวัตร อันนี้เป็นข้อวัตรที่ท่านถือเคร่งนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อฉันในบาตร ฉันหนเดียว อันนี้ท่านยึดเป็นหัวใจหลักของการปฏิบัติกรรมฐานเลยทีเดียว.
    หลักสมถวิปัสสนาของหลวงปู่เสาร์

    • พิจารณากายแยกออกเป็นธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ
    หลักการสอน ท่านก็สอนในหลักของสมถวิปัสสนา ดังที่เราเคยได้ยินได้ฟังกันมาแล้วนั้น แต่ท่านจะเน้นหนักในการสอนให้ เจริญพุทธคุณ เป็นส่วนใหญ่
    เมื่อเจริญพุทธคุณจนคล่องตัวจนชำนิชำนาญแล้ว ก็สอนให้พิจารณา กายคตาสติ
    เมื่อสอนให้พิจารณากายคตาสติ พิจารณาอสุภกรรมฐาน จนคล่องตัวจนชำนิชำนาญแล้ว ก็สอนให้พิจารณา ธาตุกรรมฐาน
    ให้พิจารณากายแยกออกเป็นธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ แล้วก็พยายามพิจารณาว่า ในร่างกายของเรานี้ไม่มีอะไร มีแต่ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ ประชุมกันอยู่เท่านั้น หาสัตว์บุคคลตัวตนเราเขาไม่มี
    ในเมื่อฝึกฝนอบรมให้พิจารณาจนคล่องตัว จิตก็จะมองเห็นสิ่งที่ไม่มีตัวตน คือเห็นว่าร่างกายนี้ ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ตน เป็นอนัตตาทั้งนั้น จะว่ามีตัวมีตนในเมื่อแยกออกไปแล้ว มันก็มีแต่ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ สัตว์ บุคคลตัวตนเราเขาไม่มี แต่อาศัยความประชุมพร้อมของธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ มีปฏิสนธิ จิตปฏิสนธิวิญญาณมายึดครองอยู่ในร่างอันนี้ เราจึงสมมติบัญญัติว่า สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา
    อันนี้เป็นแนวการสอนของพระอาจารย์เสาร์ พระอาจารย์มั่น และพระอาจารย์สิงห์
    การพิจารณาเพียงแค่ว่าพิจารณากายคตาสติก็ดี พิจารณาธาตุกรรมฐานก็ดี ตามหลักวิชาการท่านว่า เป็นอารมณ์ของสมถกรรมฐาน แต่ท่านก็ย้ำให้พิจารณาอยู่ใน กายคตาสติกรรมฐาน กับ ธาตุกรรมฐาน นี้เป็นส่วนใหญ่ ที่ท่านย้ำๆ ให้พิจารณาอย่างนั้น ก็เพราะว่าทำให้ภูมิจิตภูมิใจของนักปฏิบัติก้าวขึ้นสู่ภูมิแห่งวิปัสสนาได้เร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพิจารณากายคตาสติ แยกผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เป็นต้น ออกเป็นส่วนๆ เราจะมองเห็นว่าในกายของเรานี้ก็ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ตัวตน มันเป็นแต่เพียง ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูกเท่านั้น ถ้าว่ากายนี้เป็นตัวเป็นตน ทำไมจึงจะเรียกว่าผม ทำไมจึงจะเรียกว่าขน ทำไมจึงจะเรียกว่าเล็บ ว่าฟัน ว่าเนื้อ ว่าเอ็น ว่ากระดูก ในเมื่อแยกออกไปเรียกอย่างนั้นแล้ว มันก็ไม่มีสัตว์บุคคลตัวตนเราเขา
    นอกจากนั้น ก็จะมองเห็น อสุภกรรมฐาน เห็นว่าร่างกายนี้เต็มไปด้วยของปฏิกูล น่าเกลียด โสโครก น่าเบื่อหน่าย ไม่น่ายึดมั่นถือมั่นว่าเป็นอัตตาตัวตน แล้วพิจารณาบ่อยๆ พิจารณาเนืองๆ จนกระทั่งจิตเกิดความสงบ สงบแล้วจิตจะปฏิวัติตัวไปสู่การพิจารณาโดยอัตโนมัติ ผู้ภาวนาก็เริ่มจะรู้แจ้งเห็นจริงในความเป็นจริงของร่างกายอันนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพิจารณาธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ พิจารณากายแยกออกเป็นส่วนๆ ส่วนนี้เป็นดิน ส่วนนี้เป็นน้ำ ส่วนนี้เป็นลม ส่วนนี้เป็นไฟ เราก็จะมองเห็นว่าร่างกายนี้สักแต่ว่าเป็นดิน เป็นน้ำ เป็นลม เป็นไฟ สัตว์บุคคลตัวตนเราเขาไม่มี ก็ทำให้จิตของเรามองเห็นอนัตตาได้เร็วขึ้น เพราะฉะนั้นการเจริญกายคตาสติก็ดี การเจริญธาตุกรรมฐานก็ดี จึงเป็นแนวทางให้จิตดำเนินก้าวขึ้นสู่ภูมิแห่งวิปัสสนาได้
    และอีกอันหนึ่ง อานาปานสติ ท่านก็ยึดเป็นหลักการสอน
    โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรรมฐานอานาปานสติ การกำหนดพิจารณาลมหายใจนั้น จะไปแทรกอยู่ทุกกรรมฐาน จะบริกรรมภาวนาก็ดี จะพิจารณาก็ดี ในเมื่อจิตสงบลงไป ปล่อยวางอารมณ์ที่พิจารณาแล้ว ส่วนใหญ่จิตจะไปรู้อยู่ที่ลมหายใจเข้าออก ในเมื่อจิตตามรู้ลมหายใจเข้าออก กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกอยู่เป็นปกติ จิตเอาลมหายใจเป็นสิ่งรู้ สติเอาลมหายใจเป็นสิ่งระลึก ลมหายใจเข้าออกเป็นไปตามปกติของร่างกาย เมื่อสติไปจับอยู่ที่ลมหายใจ ลมหายใจก็เป็นฐานที่ตั้งของสติ ลมหายใจเป็นสิ่งเกี่ยวเนื่องด้วยกาย สติไปกำหนดรู้อยู่ที่ลมหายใจเข้าออก จดจ่ออยู่ที่ตรงนั้น วิตกถึงลมหายใจ มีสติรู้พร้อมอยู่ในขณะนั้น จิตก็มีวิตกวิจารอยู่กับลมหายใจ เมื่อจิตสงบลงไป ลมหายใจก็ค่อยละเอียดๆ ลงไปเรื่อยๆ จนกระทั่งในที่สุดลมหายใจก็หายขาดไป เมื่อลมหายใจหายขาดไปจากความรู้สึก ร่างกายที่ปรากฏว่ามีอยู่ก็พลอยหายไปด้วย ในเมื่อเป็นเช่นนั้น ถ้าหากว่าลมหายใจยังไม่หายขาดไปกายก็ยังปรากฏอยู่ เมื่อจิตตามลมหายใจเข้าไปข้างใน จิตจะไปสงบนิ่งอยู่ท่ามกลางของกาย แล้วก็แผ่รัศมีออกมารู้ทั่วทั้งกาย จิตสามารถที่จะมองเห็นอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายได้หมดทั้งตัว เพราะลมย่อมวิ่งเข้าไปที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย ลมวิ่งไปถึงไหนจิตก็รู้ไปถึงนั่น ตั้งแต่หัวจรดเท้า ตั้งแต่เท้าจรดหัว ตั้งแต่แขนซ้ายแขนขวา ขาขวาขาซ้าย เมื่อจิตตามลมหายใจเข้าไปแล้ว จิตจะรู้ทั่วกายหมด ในขณะใดกายยังปรากฏอยู่ จิตสงบอยู่ สงบนิ่ง รู้สว่างอยู่ในกาย วิตก วิจาร คือจิตรู้อยู่ภายในกาย สติก็รู้พร้อมอยู่ในกาย ในอันดับนั้นปีติและความสุขย่อมบังเกิดขึ้น เมื่อปีติและความสุขบังเกิดขึ้น จิตก็เป็นหนึ่ง นิวรณ์ ๕ กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา ก็หายไป จิตกลายเป็นสมถะ มีพลังพอที่จะปราบนิวรณ์ ๕ ให้สงบระงับไป ผู้ภาวนาก็จะมองเห็นผลประโยชน์ในการเจริญสมถกรรมฐาน.
    คัดลอกจาก : http://se-ed.net/pratongtum/a_sao/a_sao02.html
     
  13. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    นำเราไปยังอุโบสถเลย เพราะเราจะไปตายที่นั่น
    …เมื่อออกพรรษาทุกปี หลวงปู่เสาร์จะพาออกธุดงค์ลงไปทางใต้นครจำปาศักดิ์ หลี่ผี ปากเซ ฝั่งประเทศลาว แล้วก็ย้อนกลับมาจำพรรษาที่วัดดอนธาตุอีกทุกปี เมื่อถึงปี พ.ศ.๒๔๘๓ มีอยู่วันหนึ่งตอนบ่าย หลวงปู่เสาร์นั่งสมาธิอยู่ใต้โคนต้นยางใหญ่ พอดีขณะนั้นมีเหยี่ยวตัวหนึ่งได้บินโฉบไปโฉบมา โฉบเอารังผึ้งซึ่งอยู่บนต้นไม้ที่หลวงปู่เสาร์นั่งอยู่ รวงผึ้งนั้นได้ขาดตกลงมาใกล้ๆ กับที่หลวงปู่เสาร์นั่งอยู่ ผึ้งได้รุมกัดต่อยหลวงปู่หลายตัว จนท่านถึงกับต้องเข้าไปในมุ้งกลด พวกมันจึงพากันบินหนีไป
    <table id="table1" align="left" border="0" cellspacing="1"> <tbody><tr> <td class="pic_descript"> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td class="pic_descript">
    โบสถ์ไม้เดิม วัดอำมาตยาราม ซึ่งหลวงปู่เสาร์เข้าไป
    กราบพระประธานก่อนมรณภาพ
    ภาพจาก หนังสือมณีรัตน์
    </td> </tr> </tbody></table>​
    ตั้งแต่นั้นมา หลวงปู่เสาร์ก็อาพาธมาโดยตลอด พอออกพรรษาแล้ว หลวงปู่ได้ไปวิเวกทางด้านปากเซ หลี่ผี จำปาศักดิ์ แต่ไปคราวนี้หลวงปู่เสาร์ป่วยหนัก ท่านจึงสั่งให้หลวงปู่บัวพา และคณะศิษย์นำท่านกลับมาที่วัดอำมาตย์ นครจำปาศักดิ์ ประเทศลาว โดยมาทางเรือ ตั้งแต่เช้าจนถึงค่ำ ท่านนอนบนแคร่ในเรือประทุน หลวงปู่เสาร์หลับตานิ่งมาตลอด เพราะตอนนั้นท่านกำลังอาพาธหนัก อันเกิดจากผึ้งที่ได้ต่อยท่านตอนที่อยู่จำพรรษาที่วัดดอนธาตุ เมื่อถึงนครจำปาศักดิ์แล้ว ท่านลืมตาขึ้นพูดว่า
    "ถึงแล้วใช่ไหม ให้นำเราไปยังอุโบสถเลย เพราะเราจะไปตายที่นั่น"
    หลวงปู่บัวพาจึงได้นำหลวงปู่เสาร์เข้าไปในอุโบสถ แล้วหลวงปู่เสาร์สั่งให้เอาผ้าสังฆาฏิมาใส่ แล้วเตรียมตัวเข้านั่งสมาธิ ท่านกราบพระ ๓ ครั้ง พอกราบครั้งที่ ๓ ท่านนิ่งงันโดยไม่ขยับเขยื้อน นานเท่านานจนผิดสังเกต หลวงปู่บัวพา และหลวงปู่เจี๊ยะ จนฺโท ซึ่งนั่งอยู่ข้างๆ เอามือมาแตะที่จมูกท่าน ปรากฏว่าท่านหมดลมหายใจแล้ว ไม่ทราบว่าหลวงปู่เสาร์ท่านมรณภาพไปเวลาใด แต่พอสันนิษฐานได้ว่า ท่านมรณภาพในอิริยาบถนั่งกราบ ท่านจึงพูดขึ้นกับหมู่คณะ (ซึ่งตอนนั้นมีพระเถระผู้ใหญ่ และพระเณรมานั่งดูอาการป่วยของหลวงปู่เสาร์) ว่า "หลวงปู่ได้มรณภาพแล้ว"
    ข่าวการมรณภาพ ก็แพร่กระจายไปเรื่อยๆ จนทางบ้านเมือง ญาติโยม พระเณร ชาวนครจำปาศักดิ์ขอทำบุญอยู่ ๓ วัน เพื่อบูชาคุณขององค์หลวงปู่ พอวันที่ ๔ บรรดาพระเถระ ญาติโยมชาวอุบลฯ จึงได้มาอัญเชิญศพขององค์หลวงปู่ไปวัดบูรพาราม จังหวัดอุบลฯ ซึ่งเป็นวัดที่หลวงปู่เสาร์เคยอยู่มาก่อน ปีที่หลวงปู่เสาร์มรณภาพคือปี พ.ศ.๒๔๘๔ (วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๔ อายุ ๘๒ ปี ๓ เดือน ๑ วัน)
    ออกพรรษาแล้ว ปี พ.ศ.๒๔๘๖ จึงได้จัดพิธีถวายเพลิงศพของหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ในงานนี้หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้มาเป็นประธาน แต่ผู้ดำเนินงานคือพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ในวันถวายเพลิงศพนอกจากศพของหลวงปู่เสาร์แล้ว ยังมีพระเถระผู้ใหญ่อีก ๓ รูป ที่มีการฌาปนกิจในวันเดียวกันคือ ๑. ท่านเจ้าคุณพระศาสนดิลก (เสน ชิตโสโน) ๒. พระมหารัฐ รฏฐปาโล ๓. พระครูวิโรจน์รัตโนบล (บุญรอด นนฺตโร) รวมเป็น ๔ กับองค์หลวงปู่เสาร์ วันเช่นนี้นี่จึงเป็นวันที่มีการสูญเสียอย่างยิ่งใหญ่ของชาวจังหวัดอุบลราชธานี
    <center> แต่นี้จะไกลห่าง เหลือเพียงร่างร้างชีวา
    สุดสิ้นแห่งสังขาร สลายลับดับตามกาล
    สิ้นชีพก็สิ้นห่วง บรรลุล่วงห้วงนิพพาน
    สุขใดไหนจักปาน เปรียบสุขนี้ไม่มีเลย...
    ขอนอบน้อมกราบบูชาธรรมแห่งดวงอรหันต์ (จากหนังสือฐานิโยวาท)

    </center>
     
  14. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    ดำรง ภู่ระย้า เขียนถึงหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล
    พระอรหันต์ และพระอาจารย์ใหญ่ของพระป่า

    จากนิตยสารญาณวิเศษ ปีที่ 6 ฉบับที่ 57 เดือนมกราคม 2538

    [​IMG]
    เมื่อกล่าวถึงพระอริยสงฆ์ฝ่ายปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานแล้วหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล ท่านเป็นพระอริยสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบองค์หนึ่งแห่งยุค
    ทั้งนี้กล่าวได้ว่า ท่านเป็นพระสงฆ์ผู้เคร่งครัดตามจรรยาแห่งพระวินัยอย่างยิ่ง ถึงแม้ว่าการปฏิบัติภาวนาในยุคของท่านจะมีพระที่สนใจอย่างจริงจังน้อยก็ตาม แต่ท่านมิได้ละเลยในเรื่องนี้จนคุณวิเศษในตัวของท่านนั้นเป็นที่ยอมรับแก่บุคคลโดยทั่วไปและโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจะกล่าวถึง หลวงปู่มั่น ภูริทัตโตก็จะต้องนึกถึง หลวงปู่เสาร์ กันฺตสีโล ผู้เป็นอาจารย์เช่นกัน
    ลึกซึ้งแหลมคม
    หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล เป็นพระสงฆ์ที่มีความสุขุมและมีจริยาวัตรงดงามมาตั้งแต่สมัยที่ท่านบวชใหม่ๆ ซึ่งเป็นนิสัยเดิมของท่าน ที่ท่านเป็นคนพูดน้อย รักสันโดษ
    แต่ในเวลาที่หลวงปู่เสาร์แสดงพระธรรมเทศนาให้คณะศรัทธาญาติโยมฟังนั้น จะมีความลึกซึ้งแหลมคมยิ่งนัก ถึงแม้ว่าจะเป็นการแสดงธรรมเพียงเล็กน้อยก็จริง แต่คำคมที่แสดงออกมานั้น สามารถชนะจิตใจของผู้ฟังธรรมได้อย่างน่าอัศจรรย์ทีเดียว
    แม้แต่ลูกศิษย์ที่เป็นพระสงฆ์ตลอดจนถึงฝ่ายฆราวาสทุกคนยังจำคำสอนของท่านได้อยู่เสมอว่า น้ำคำที่ท่านได้แสดงธรรมในครั้งนั้น ยังก้องกังวานเป็นระลอกคลื่น และยังคงอยู่ในความทรงจำของผู้ที่เคยได้ยินได้ฟังธรรมจากหลวงปู่เสาร์ จนจับจิตใจของผู้รักความดีงาม และปรารถนาความสงบสุขอยู่ไม่รู้ลืม
    ธรรมะที่ท่านแสดงในครั้งนั้นมีใจความว่า...
    “การให้ทานอันใดๆ ก็ให้กันมามากแล้ว ย่อมมีผลานิสงส์มากเหมือนกัน แต่ยังสู้ผู้เข้ามาบวชเป็นตาผ้าขาว เป็นแม่ชีแล้วรักษาศีลอุโบสถไม่ได้ มีอานิสงส์มากกว่าให้ทานนั้นเสียอีก
    ถ้าใครอยากได้บุญมากๆ เพื่อได้ไปสวรรค์ ไปพระนิพพาน หรือเพื่อการพ้นทุกข์แล้วละก็ ควรบวชเป็นตาผ้าขาว เป็นแม่ชี รักษาศีลอุโบสถเสียในวันนี้”
    เพียงประโยคเท่านี้ ท่านสามารถน้อมนำจิตใจของคณะลูกศิษย์ทั้งหลายที่ฟังในครั้งนั้น ได้หันมาปฏิบัติดีด้วยการเจริญ ศีล สมาธิ ปัญญา กันอย่างมากล้นทีเดียว
    ดังนั้นเราจะเห็นความแยบยลในคำพูดของหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล พระบุพพาจารย์ของพวกเราว่า ท่านสามารถกำหนดรู้วารจิตของผู้ฟังธรรมขนาดไหน
    กล่าวได้ว่าหลวงปู่เสาร์เป็นพระผู้มีน้ำใจอันบริสุทธิ์ยิ่งรูปหนึ่ง ซึ่งท่านได้พยายามรื้อสัตว์ขนสัตว์ให้ได้รับความสุข พ้นจากทุกข์ที่กำลังรุมล้อมรอบกาย
    ท่านพยายามสั่งสอนพวกเราให้ได้มีหลัก มีที่พึ่งคอยยึดจิตใจไม่ให้ตกลงสู่ที่ชั่ว ฉะนั้นเราควรเรียนรู้ประวัติการเป็นมาของท่านบ้าง แม้จะเป็นส่วนน้อย ก็ยังดีกว่าเราเพียงรู้จักชื่อท่านเฉยๆ
    จากเหตุผลดังกล่าวนี้ ทำให้ผู้เขียนสนใจท่านยิ่งนัก จึงไดพยายามค้นคว้าปฏิปทาของท่าน เพื่อชนรุ่นหลังจักได้มีเครื่องน้อมเตือนความทรงจำ จริยาวัตรอันงดงามของท่านได้ตามสมควรต่อไป...
    รวบรวมได้ยากยิ่ง
    หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล เกิดที่จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อพ.ศ.2403 ซึ่งเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงเถลิงราชสมบัติได้ครบ 10 ปี
    ส่วนทางด้านการดำเนินชีวิตสมัยหลวงปู่เสาร์เป็นฆราวาสนั้นได้ขาดการบันทึกจากผู้รู้และผู้ใกล้ชิดอย่างน่าเสียดาย เพราะการที่จะรู้เห็นอย่างชัดแจ้งตามความเป็นจริง ต้องอาศัยผู้ที่มีอายุในรุ่นราวคราวเดียวกันกับท่าน หรืออย่างน้อย จะต้องเป็นผู้ใกล้ชิดติดตามจริงๆ จึงจะได้ทราบผลแน่นอน
    ในสมัยนั้น ผู้ใหญ่สมัยก่อนท่านไม่ค่อยจะกำหนดจดจำในเรื่องนี้เท่าใดนัก ยิ่งเป็นบุคคลธรรมดาก็ยิ่งแล้วใหญ่ ท่านไม่ค่อยสนใจกัน ครั้นไปถามปากต่อปาก ก็ยิ่งเป็นสิ่งที่เชื่อถือได้ยาก ประกอบด้วยท่านเป็นพระสงฆ์ฝ่ายผู้อาวุโส และเป็นบุคคลพูดน้อย ไม่ค่อยจะคลุกคลีกับหมู่คณะ เป็นที่ยำเกรงของทุกคน จึงทำให้ขาดการเรียบเรียงไป
    ดังนั้นผู้เขียนจึงขอกล่าวไว้เป็นที่พอเข้าใจแก่ท่านผู้อ่านได้เพียงจุดใหญ่ๆ ในการที่ท่านดำรงชีวิตอยู่เท่านั้น
    ซึ่งเท่าที่บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายทั่วประเทศ เข้าใจกันได้ดีก็คือ ภายหลังจากที่ หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล สละเพศฆราวาสแล้ว ท่านได้บวชเป็นพระสงฆ์ในวัดหนึ่งที่จังหวัดอุบลราชธานี
    เมื่อบวชเข้ามาในบวรพระพุทธศาสนาแล้ว ท่านได้เริ่มศึกษาเล่าเรียนวิชาศาสตร์ต่างๆ แม้แต่ทางด้านพระวินัย ท่านได้พยายามฝึกฝนอย่างเต็มที่เช่นกัน
    นอกจากนี้ หลวงปู่เสาร์เป็นพระที่สงบเสงี่ยม กิริยามารยาทอ่อนน้อม สุขุม พูดน้อย จิตใจก็มีแต่ความเมตตา
    ธุดงค์มุ่งสู่ป่า
    ต่อมาเมื่อหลวงปู่เสาร์ได้ศึกษาในด้านต่างๆ พอเป็นปัญญาในภูมิธรรมแล้ว ท่านได้รับการศึกษาต่อทางต้านปฏิบัติธรรม แต่พระอาจารย์ผู้สอนการปฏิบัติธรรมให้แก่หลวงปู่เสาร์นั้น ไม่ปรากฏนามในประวัติของท่าน
    ต่อมาเมื่อหลวงปู่เสาร์ปฏิบัติธรรมได้ไม่นาน ก็ทำให้ท่านหันมาสนใจในการปฏิบัติธรรมเป็นอย่างมาก เพราะการปฏิบัติธรรมนั้นเป็นชื่อแห่งความเพียร ซึ่งนักปฏิบัติธรรมทั้งหลายในบวรพระพุทธศาสนาได้ถือว่า ไม่มีข้อปฏิบัติอื่นๆ ดียิ่งไปกว่านี้อีกแล้ว
    เมื่อหลวงปู่เสาร์มีความรู้ความเข้าใจมากขึ้นโดยลำดับแห่งองค์ภาวนา ก็ยิ่งมีความชอบมีความพอใจเป็นพิเศษ ต่อมาท่านมีความคิดว่า การที่ท่านปฏิบัติธรรมอยู่นี้ ก็ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ แต่ทางที่ดีควรออกไปอยู่ป่าดง หาสถานที่สงบระงับจากผู้คนพลุกพล่าน จิตใจคงจะสงบลงได้ยิ่งกว่านี้เป็นแน่ หลวงปู่เสาร์จึงได้ตัดสินใจออกธุดงค์มุ่งสู่ป่าทันทีในวันรุ่งขึ้น
    จากความปรารถนาของ หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล ในการออกป่าดงเพื่อปฏิบัติธรรม และพิจารณาธรรมในครั้งนี้ว่า ถ้าแม้นเป็นไปจริงดังคำตั้งใจแล้ว เมื่อกลับเข้ามาสู่วัด ท่านจะได้นำความรู้ที่เกิดจากการปฏิบัติธรรม มาเผยแพร่ฝึกสอนลูกศิษย์ลูกหาที่หวังหนทางแห่งความพ้นทุกข์ต่อไป
    ภายหลังจากหลวงปู่เสาร์ไปอยู่ป่าดงฝึกจิตใจ เจริญศีล สมาธิ ปัญญา จำพรรษาในท่ามกลางสิงสาราสัตว์ในหุบเขา ถ้ำลึกได้หลายพรรษา ท่านเห็นว่าเป็นเวลาอันสมควรแล้ว ท่านจึงได้กลับออกมาจากป่าดง
    สำนักวัดเลียบ
    ในเวลาต่อมา เมื่อหลวงปู่เสาร์ได้กลับออกมาจากการธุดงค์ในป่าแล้ว ได้มาเปิดสำนักปฏิบัติธรรม ณ วัดเลียบ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
    สำนักวัดเลียบ จังหวัดอุบลราชธานี ของหลวงปู่เสาร์ในสมัยก่อนนั้น มีพระสงฆ์และฆราวาสที่สนใจอันอย่างจริงจังไม่มากนัก
    แต่ถึงกระนั้น หลวงปู่เสาร์ก็มิได้ลดละพยายาม ท่านตั้งอกตั้งใจในการสอนอบรมผู้ที่สนใจในธรรม ให้เกิดความรู้แจ้งแก่ผู้ปฏิบัติเพื่อเป็นหลักยืนยันว่า การเจริญศีล สมาธิ ปัญญานี้เป็นความสงบ และสามารถทำตนให้พ้นทุกข์ได้จริง
    หลวงปู่มั่นถวายตัว
    ภายหลังจาก หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล ได้เปิดสำนักปฏิบัติธรรมที่วัดเลียบ จังหวัดอุบลราชธานีได้ไม่นานนัก โคมทองแห่งพระพุทธศาสนาได้ถูกจุดขึ้น นั่นก็คือ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ได้อุปสมบทในปี พ.ศ. 2439
    เมื่อบวชแล้ว หลวงปู่มั่นได้มาจำพรรษาอยู่ ณ วัดเลียบ อันเป็นสำนักปฏิบัติกรรมฐาน และขอถวายตัวเป็นศิษย์หลวงปู่เสาร์เพื่อเรียนพระกรรมฐาน นั่นแสดงว่าอีกไม่นานเกินรอ ชาวจังหวัดอุบลราชธานีจะได้รับเพชรน้ำเอกในบวรพระพุทธศาสนาเพิ่มขึ้นอีกเม็ดหนึ่ง และแสงอันแจ่มจำรัสนี้จะกระทำหน้าที่งามยิ่ง เพื่อกระพริบแสงให้สว่างไสว ขับความมืดมนมาแต่ก่อนเก่า ให้ได้รับแสงอันบริสุทธิ์เยือกเย็นนี้ พอเป็นทางเดินไปสู่ในที่อันสดใสแก่ชีวิตได้
    ในระยะเริ่มแรกแห่งการปฏิบัติธรรม หลวงปู่เสาร์ได้นำอุบายอันควร ให้หลวงปู่มั่นน้อมนำจิตใจบังเกิดความสงบคือ “พุท-โธ”
    คำบริกรรม “พุท-โธ” นี้ตรงกับจริตของหลวงปู่มั่นยิ่งนัก ซึ่งท่านได้ถือเป็นนิสัยที่ชอบกว่าบรรดาบทธรรมอื่นๆ จนได้บังเกิดความสงบทางจิตของลูกศิษย์ผู้บวชใหม่นี้ในวันหนึ่ง
    หลวงปู่เสาร์พึงพอใจเป็นอย่างมาก แม้หลวงปู่มั่นจะถวายตัวเป็นศิษย์ แต่หลวงปู่เสาร์หาได้ถือว่าเป็นศิษย์ไม่ ท่านถือว่าเป็นบุตรตถาคตองค์เดียวกัน
    หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล และหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ท่านบุพพาจารย์ใหญ่ทั้งสองนี้ รักใคร่เคารพนับถือกันมากเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะอยู่แห่งหนตำบลใด ท่านบุพพาจารย์ทั้งสองท่านนี้มักจะส่งกระแสจิตติดต่อกันเสมอ หรือเรียกว่าฤทธิ์ทางใจ ก็คงจะไม่ผิดพลาด
    ธุดงค์ร่วมกัน
    เมื่อออกพรรษา หลวงปู่เสาร์จะพาพระเณรในวัดเลียบ จังหวัดอุบลราชธานี ออกเดินธุดงค์เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติธรรม
    ต่อมาท่านได้ออกธุดงค์ไปกับหลวงปู่มั่น ซึ่งสมัยที่ท่านออกบำเพ็ญภาวนาในครั้งนั้น ส่วนมากไม่ค่อยจะมีใครกระทำหรือปฏิบัติกันเลย
    เมื่อชาวบ้านเห็นพระธุดงค์ก็จะพากันหวาดกลัว เพราะไม่เคยเห็น จะพากันวิ่งหนีเข้าป่าเข้าบ้านกันหมด คล้ายกับว่าการที่มีพระธุดงค์ออกสู่ป่าเพื่อบำเพ็ญพระกรรมฐานนั้น เป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามา เกรงจะได้รับอันตรายจากพระธุดงค์เหล่านั้น
    ความไม่เข้าใจของบรรดาชาวบ้านทั้งหลายนี้ ก็เป็นเพราะว่าในสมัยนั้นไม่เคยมี หรือปรากฏขึ้นในวงการของสงฆ์ และไม่เคยได้ศึกษาในพระวินัยที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาเลย
    หลวงปู่เสาร์และหลวงปู่มั่นก็มิได้ตำหนิชาวบ้าน ท่านเข้าใจดี ท่านจะมีก็แต่ความเมตตาสงสารเท่านั้น
    พระบุพพาจารย์ทั้งสองท่านออกเดินธุดงค์เพียงมุ่งปฏิบัติเพื่ออรรถธรรมจริงๆ และต่อมาท่านได้พยายามเข้าถึงจิตใจของประชาชนได้ดีเป็นอย่างยิ่งสามารถกระทำประโยชน์บังเกิดขึ้นได้มาก โดยอาศัยจริยาวัตรอันงดงาม และพระธรรมที่ท่านปฏิบัติมา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
    ติดต่อทางวารจิต
    ใน.พรรษานี้ ประมาณ พ.ศ. 2458 หลวงปู่เสาร์ กันตสีโลได้ออกเดินธุดงค์บุกป่าฝ่าดงดิบมาอยู่จำพรรษาที่ถ้ำภูผากูด เป็นเขตอำเภอคำชะอี จังหวัดนครพนม
    สภาพป่าที่หลวงปู่เสาร์มาจำพรรษานี้โดยรอบๆ บริเวณภูเขาอันเป็นถ้ำแห่งนี้ เป็นภูมิประเทศที่เป็นป่าไม้เต็ง ไม้รัง ไม้แดงไม้มะค่า แต่ไม่เป็นดงทึบเหมือนกับดงอื่นๆ ทั้งๆ ที่โดยรอบๆแล้วเป็นป่าดงดิบทึบมองไม่เห็นแสงตะวัน
    ความชำนาญป่าของหลวงปู่ เสาร์ ท่านจึงหาสถานที่เหมาะ มีอากาศปลอดโปร่งดี แม้แต่ถ้ำที่อาศัยอยู่ก็ไม่อับชื้น ทั่วบริเวณจึงเป็นสถานที่พึงอยู่อาศัยเป็นเวลาแรมปีได้ และสถานที่แห่งนี้หลวงปู่เสาร์ได้อยู่ปฏิบัติธรรมนานถึง 5 ปีเต็ม ท่ามกลางสัตว์ป่าอย่างสงบยิ่ง
    สำหรับสุขภาพของหลวงปู่เสาร์ ก็มีความแข็งแรงปกติดีเหมือนอยู่วัดธรรมดาๆ
    อยู่มาวันหนึ่ง...ขณะที่หลวงปู่เสาร์กำลังเจริญสมาธิธรรมอยู่ท่านได้ทราบในวารจิตว่า...
    “ขณะนี้หลวงปู่มั่น ภูริทัตโตได้เดินตามหาท่าน และกำลังจะมาถึงถ้ำภูผากูดในวันนี้”
    เป็นเรื่องธรรมดาสำหรับหลวงปู่ผู้เป็นบุพพาจารย์ทั้งสองท่านนี้ แต่เป็นเรื่องอัศจรรย์สำหรับพวกเราในรุ่นหลังๆ ว่า เหตุใดหลวงปู่เสาร์จึงทราบว่าหลวงปู่มั่นจะมา และเหตุใดหลวงปู่มั่นจึงตามไปถูก ทั้งๆ ที่อยู่เสียในท่ามกลางป่าดงดิบที่กว้างใหญ่ไพศาล และก็เป็นถิ่นทุรกันดาร
    หากพูดกันง่ายๆ ก็คือ ท่านมีตาในที่ใสสว่างก็แล้วกัน ถ้าท่านไม่รู้จริง ครูบาอาจารย์ก็ไม่สามารถจะพิจารณาธรรมข้อไหนมาแสดงให้ตรงกับจริตของฟังได้ แต่นี่เป็นการรู้จริง เห็นจริงของท่าน
    อนึ่ง หลวงปู่มั่นท่านรู้ด้วยปุพเพนิวาสานุสติญาณ จึงได้จำแนกแจกจ่ายออกแก่พระสงฆ์ผู้เป็นศิษย์ตรงกับจิต และจะมีความก้าวหน้าในอนาคตแค่ไหน
    ฉะนั้นการสอนพระกรรมฐานของท่าน จึงได้ผลเต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าลูกศิษย์ของท่านเป็นพระอาจารย์กรรมฐานที่สำคัญๆ เกือบทั่วประเทศ
    หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล ทราบว่าหลวงปู่มั่นจะมาถึงท่านในวันนี้ ท่านก็ได้เตรียมสถานที่ไว้คอยรับศิษย์ที่รัก อันจากกันไปนานแล้ว
    เมื่อหลวงปู่มั่นเดินทางมาถึง ท่านได้วางบริขารไว้ที่อันสมควร แล้วก็เข้านมัสการหลวงปู่เสาร์ทันที
    ภายหลังจากหลวงปู่มั่นเข้านมัสการแล้ว ก็ได้สนทนาปราศรัยกันเป็นเวลาตามสมควรแล้ว หลวงปู่เสาร์ได้ให้หลวงปู่มั่นได้พักผ่อน ณ ที่บริเวณแห่งนั้นตามอัธยาศัย ซึ่งหลวงปู่มั่นท่านได้ตั้งใจว่า จะจำพรรษาอยู่ ณ ที่ถ้ำนี้กับพระอาจารย์ของท่าน
    เป็นอันว่าในพรรษานั้น ทั้งศิษย์และพระอาจารย์ก็ได้ปรึกษาสนทนาในเรื่องธรรมปฏิบัติต่างๆ แทบทุกวันเลยทีเดียว
    อะไรเป็นเครื่องห่วง ?
    อยู่มาวันหนึ่ง หลวงปู่มั่นเห็นว่าเป็นโอกาสเหมาะสมที่จะพูดกับพระอาจารย์ของท่าน เมื่อมานั่งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลวงปู่มั่นจึงเอ่ยว่า
    “ท่านอาจารย์ได้พิจารณาอริยสัจธรรมหรือไม่?”
    หลวงปู่เสาร์ “เราก็พิจารณาเหมือนกัน...”
    หลวงปู่มั่น “ได้ผลเป็นอย่างไรบ้าง?”
    หลวงปู่เสาร์ “ได้ผลบ้างเหมือนกัน แต่มันไม่ชัดเจน”
    หลวงปู่มั่น “เพราะเหตุอะไรบ้างครับ ?”
    หลวงปู่เสาร์ “เราได้พยายามอยู่ คือพยายามพิจารณาถึงความแก่ ความตาย แม้ว่าบางคราวมันก็แจ่มแจ้ง และบางคราวมันก็ไม่แจ่มแจ้ง”
    หลวงปู่มั่น “ถ้าเช่นนั้นคงมีอะไรเป็นเครื่องห่วงหรือกระมัง?”
    หลวงปู่เสาร์ "เราพยายามพิจารณาเหมือนกัน แต่ก็หาสิ่งขัดข้องไม่ได้ ความจริง ความสว่างของจิตนั้นก็เป็นปกติดีอยู่ แม้มันจะดีบ้าง ไม่ดีบ้าง มันก็เป็นเรื่องธรรมดาของสมาธิ แต่ว่าเมื่อจิตพิจารณาทีไรรู้สึกว่าไม่ก้าวไป”
    หลวงปู่มั่น “กระผมคิดว่าคงจะมีอะไรสักอย่างหนึ่งมาเป็นเครื่องห่วง ?”
    หลวงปู่เสาร์ "และเธอรู้ไหมว่าเรามีอะไรเป็นเครื่องห่วง?
    หลวงปู่มั่นเห็นเป็นโอกาสที่จะถวายความรู้ในครั้งอยู่ในถ้ำสาริกาโน้น จึงได้ตอบทันทีว่า...
    "ท่านอาจารย์คงห่วงเรื่องการปรารถนาพระปัจเจกโพธิกระมังครับ... "
    หลวงปู่เสาร์ "แน่ทีเดียว...ในจิตของเราตั้งอยู่ว่า จะขอให้รู้ธรรมเอง โดยมิต้องให้ใครมาแนะนำหรือบอกให้ และมันก็ต้องอยู่ในใจของเรามาตลอด"
    เมื่อได้ฟังเช่นนี้ หลวงปู่มั่นจึงขอความกรุณา แล้วท่านได้บอกกับหลวงปู่เสาร์ว่า
    “ขอให้ท่านอาจารย์อย่าเป็นห่วงเลย ขอให้พิจารณาอริยสัจเพื่อความพ้นทุกข์เสียแต่ในชาตินี้เถิด เพราะกระผมเองก็ปรารถนาพระโพธิญาณ และกระผมก็ได้ละความปรารถนานั้นแล้ว เนื่องด้วยการท่องเที่ยวในสังสารวัฎนี้มันนานเหลือเกิน”
    ในวันนั้น หลวงปู่เสาร์ต้องประหลาดใจ ที่ศิษย์ของท่านได้ล่วงรู้ถึงความจริงอันปรากฏมีอยู่ในใจของท่าน ซึ่งเรื่องนี้หลวงปู่เสาร์มิเคยปริปากพูดบอกใครมาก่อนเลย ฉะนั้นจึงทำให้ท่านรู้สึกว่า ศิษย์ของท่านคือหลวงปู่มั่นนี้ต้องมีความดี ความจริง ความชัดเจนในใจอย่างแน่นอน
    ในวันนั้น พระบุพพาจารย์ทั้งสองได้คุยกันเพียงเท่านี้ แล้วต่างก็แยกตัวไปปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเจริญภาวนาของตนต่อไป
    อธิษฐานของด
    ปฏิปทาเดิมของ หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล นั้น ท่านปรารถนาพระปัจเจกพุทธเจ้า
    เวลาออกบำเพ็ญเร่งความเพียรเข้ามากๆ ใจรู้สึกประหวัดๆ ถึงความปรารถนาเดิม เพื่อความเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า แสดงออกเป็นเชิงอาลัยเสียดาย ยังไม่อยากไปพระนิพพาน
    ท่านเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อความเพียร เพื่อความรู้แจ้งซึ่งพระนิพพานในชาติปัจจุบันหลวงปู่เสาร์เลยอธิษฐานของดจากความปรารถนานั้น และขอประมวลมาเพื่อความรู้แจ้งซึ่งพระนิพพานในชาติปัจจุบัน ไม่ขอเกิดมารับความทุกข์ทรมานในภพชาติต่างๆ อีกต่อไป
    พอ หลวงปู่เสาร์ กันตสีโลปล่อยวางความปรารถนาเดิมแล้ว การบำเพ็ญเพียรรู้สึกว่าสะดวกและเห็นผลในการประพฤติปฏิบัติไปโดยลำดับ ไม่มีอุปสรรค ไม่มีอารมณ์เครื่องเกาะเกี่ยวเหมือนแต่ก่อน
    ในที่สุด หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล ก็ได้บรรลุเป้าหมายถึงแดนแห่งความเกษมดังใจมุ่งหวัง
    เพราะมุ่งพระปัจเจกฯ
    ถึงแม้ หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล เป็นพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบแห่งยุครูปหนึ่งก็ตาม แต่การอบรมสั่งสอนลูกศิษย์ลูกหา หรือจะนำอุบายธรรมต่างๆ มาแนะนำนั้น ดูเหมือนไม่ค่อยมีเลย แม้จะเป็นเรื่องการแสดงพระธรรมเทศนา ในลักษณะธรรมบรรยายดังพระสงฆ์รูปอื่นๆ นั้นท่านไม่ค่อยจะแตกฉานนัก ทั้งนี้อาจเป็นไปตามภูมินิสัยเดิมของท่าน ที่มุ่งเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าก็เป็นได้
    ซึ่งพวกเขาทั้งหลายพอจะพิจารณาได้ ดังเหตุผลที่ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เข้านมัสการขอให้ท่านหลวงปู่เสาร์แก้ข้อข้องใจในธรรมะที่เกิดขึ้น ควรใช้อุบายอย่างไร?
    หลวงปู่เสาร์ได้ตอบว่า “ผมไม่เคยเป็นอย่างท่าน เพราะจิตของท่านเป็นจิตที่ผาดโผนมากเวลามันเกิดอะไรขึ้นมาแต่ละครั้งมันไม่พอดี เดี๋ยวจะเหาะขึ้นไปบนฟ้าบ้าง เดี๋ยวจะดำดินลงไปใต้พื้นพิภพบ้าง เดี๋ยวจะดำน้ำลงใต้มหาสมุทรบ้าง เดี๋ยวจะกระโดดขี่ไปเดินจงกรมอยู่บนอากาศบ้าง ใครจะไปตามแก้ทัน ขอให้ท่านใช้ความพิจารณา และค่อยดำเนินไปอย่างนั้นแหละ”
    หลวงปู่มั่นกล่าวว่า “แล้วท่านก็ไม่ให้อธิบายอะไรพอเป็นหลักยึดเลย ตัวเองต้องมาแก้ตัวเอง กว่าจะผ่านไปได้แต่ละครั้งแทบเอาตัวไม่รอดก็มี”
    นี่หมายความว่าหลวงปู่เสาร์ท่านรู้อะไรๆ ในจิตของหลวงปู่มั่นด้วยอภิญญาญาณ เป็นการรู้จริง เห็นจริง และก็เป็นจริงทั้งที่ท่านพูดนั้นทุกประการ เพราะจิตของ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เป็นจิตที่ผาดโผน
    ธรรมะที่ท่านได้มาอบรมลูกศิษย์ทั้งหลาย ก็ล้วนมาจากความเป็น ความตาย ท่ามกลางป่าดงพงพี ซึ่งมีไข้ป่า เสือ ช้าง งู สัตว์ต่างๆ ที่มีแต่ดุร้ายชุกชุมทั้งสิ้น แต่หลวงปู่เสาร์ท่านไม่อาจแนะอุบายอันใดให้เลย เป็นนิสัยและความรู้ได้เฉพาะตนของท่าน
    วันสำคัญ
    ขอเล่าย้อนหลังในวันสำคัญที่สุดของหลวงปู่เสาร์ วันนั้นท่านได้ไปนั่งอยู่ในที่สงัดเฉพาะรูปเดียว ท่านเริ่มด้วยการพิจารณาถึงอริยสัจโดยอุบายอย่างหนึ่ง คือการพิจารณากาย จนบังเกิดความสว่างชัดเจนแจ้งประจักษ์ในจิต
    เมื่อพิจารณาแล้ว เกิดความเบื่อหน่ายเป็น นิพพิทาญาณ ขึ้น และท่านก็ได้เริ่มดำเนินจิตเจริญให้มาก กระทำให้มาก จนเกิดเป็น ญาณ สามารถทวนกระแสจิตมาถึงที่ฐานอันเป็นที่ตั้งของจิตได้ และในวันนั้นหลวงปู่เสาร์ท่านก็ตัดเสียซึ่งความสงสัยได้อย่างเด็ดขาด
    เมื่อท่านได้รับการอธิบายจากศิษย์ (หลวงปู่มั่น) ซ้ำเข้าอีกว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ควรจะเจริญให้มากจนกว่าจะพอแก่ความต้องการ
    หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล ได้พยายามพิจารณากายเจริญทุกวัน พอจวนจะถึงกาลปวารณาออกพรรษา ท่านก็ได้ทราบชัดถึงความเป็นจริงทุกประการ ท่านจึงได้บอกให้หลวงปู่มั่นทราบว่า…
    เราได้เลิกการปรารถนาพระปัจเจกโพธิแล้ว และเราก็ได้เห็นธรรมตามความเป็นจริงแล้ว
    หลวงปู่มั่นได้ยินดังนั้น ก็เกิดปีติยิ่งนัก และได้ทราบในวารจิตว่า
    “พระอาจารย์พบทางวิมุตติแน่แล้วในอัตภาพนี้”
    ในระยะนั้น หลวงปู่มั่นได้พรรษาที่ 26 ท่านได้ปฏิบัติหลวงปู่เสาร์เหมือนกับท่านเป็นพระใหม่ คือปฏิบัติตั้งแต่การล้างบาตร ซักจีวร ปูที่นอน ตักน้ำถวายสรง ถูหลัง ทุกประการ
    แม้หลวงปู่เสาร์ท่านจะห้ามไม่ให้ทำ แต่ท่านก็ปฏิบัติได้โดยมิได้มีอาการแข็งกระด้างแต่ประการใด นี่คือเยี่ยงอย่างของครูบาอาจารย์ ท่านมีความกตัญญูรู้คุณพระผู้เป็นอาจารย์
    ส่วนหลวงปู่เสาร์ก็ยอมรับฟังคำแนะนำจากศิษย์ด้วยความตั้งอกตั้งใจ ไม่มีทิฐิ หรือถือว่าตนเองเป็นอาจารย์เลย
    คุณธรรมของพระบุพพาจารย์ทั้งสองท่านนี้ น่าสรรเสริญ และควรเอาเป็นเยี่ยงอย่างนำมาประพฤติปฏิบัติกันอย่างยิ่ง
    มารดาหลวงปู่มั่น
    ก่อนเข้าพรรษาในปีนี้ ก็ปรากฏว่ามารดาของหลวงปู่มั่นซึ่งกระหายต่อการปฏิบัติธรรมอยู่มิวาย ท่านจึงสู้อุตส่าห์เดินทางมา ล้มลุกคลุกคลานไปตามวิบากของคนแก่คนเฒ่า ติดตามมาจนถึงถ้ำภูผากูด เพื่อศึกษาอบรมตน ให้รู้แจ้งเห็นจริงในธรรมปฏิบัติ
    เมื่อมาถึงถ้ำ หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล จึงได้กำหนดบวชชีให้อยู่ปฏิบัติ ณ ถ้ำภูผากูดนี้โดยท่านได้จึงเอาที่เงื้อมผาแห่งหนึ่งเป็นที่ปฏิบัติธรรม
    มารดาของหลวงปู่มั่น ท่านมีจิตใจมั่นคงเด็ดขาด แม้จะอยู่ในวัยของสังขารร่วงโรยก็ตามแต่จิตภายในของท่านนั้น มีความแจ่มใสเบิกบานเป็นที่ยิ่ง
    ถ้าแม้จิตใจไม่แจ่มใสจริง ท่านก็คงไม่สามารถเดินทางนำสังขารของท่าน ผ่านป่าดงดิบที่มองไม่เห็นเดือนเห็นตะวัน อีกทั้งยังต้องผ่านเส้นทางสัตว์ป่าจำพวกช้าง เสือ หมี งู ตะขาบป่า มาได้แน่
    ด้วยจิตใจที่มั่นคง สงบ เยือกเย็นนี้ ทำให้การปฏิบัติธรรมของแม่ชีจันทร์ก้าวหน้ามาก
    แม่ชีจันทร์ได้เร่งความเพียรในการปฏิบัติธรรมอย่างยิ่งยวดไม่ว่าจะเป็นกลางวันหรือกลางคืนอยู่ ณ ที่ถ้ำภูผากูดแห่งนี้เอง
    นับว่าเป็นวาสนาของแม่ชีจันทร์ ที่มีหลวงปู่เสาร์และหลวงปู่มั่นจำพรรษาให้การแนะนำและอุบายธรรม
    สำหรับ พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ก็ได้ออกติดตามหลวงปู่มั่นจนมาพบที่ถ้ำภูผากูดนี้เช่นกัน...
    ธุดงค์ไปเรื่อย ๆ
    หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล ภายหลังจากได้อยู่จำพรรษาที่ถ้ำภูผากูดได้ 5 พรรษาแล้ว ท่านก็ได้ออกไปพักจำพรรษาในที่ต่างๆ ซึ่งไปๆ มาๆ ในเขตท้องที่จังหวัดมุกดาหารและจังหวัดนครพนม
    เมื่อหลวงปู่มั่นออกเดินธุดงค์มาจากบ้านห้วยทรายแล้ว ท่านก็ได้ถือโอกาสไปนมัสการหลวงปู่เสาร์อีก และอยู่พักกับท่านเป็นเวลาอันสมควร
    ต่อจากนั้น ท่านทั้งสองได้พากันร่วมทางเดินธุดงค์ โดยมุ่งไปทางทิศเหนือขึ้นไปเรื่อยๆ จนถึงบ้านหนองลาด บ้านม่วงไข่พรรณา ซึ่งเป็นสถานที่ใกล้บ้านเดิมของ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร แต่ท่านไม่ได้พักอยู่นานนัก จากนั้นท่านได้ออกธุดงค์ไปยังบ้านหนองแวง บ้านโพนเชียงหลาง
    ในสมัยนั้นตามหนทางในแถบถิ่นนี้ เป็นป่าดงพงพฤกษ์ที่หนาแน่นไปด้วยต้นไม้นานาพรรณต้นไม้ใหญ่ๆ ประเภทไม้เต็งไม้แดงมีมากเหลือเกิน
    ท่านได้พาหมู่คณะที่เข้ามาสมทบในภายหลังมากมาย ซึ่งการพักพิงในป่าและเงื้อมผาต่างๆ ให้ลูกศิษย์ทำความเพียรเป็นระยะๆ ไป และยังได้ลูกศิษย์เพิ่มขึ้นตามระยะทางนั้นมากขึ้น ทั้งที่เป็นพระภิกษุ สามเณร และเด็กฆราวาส
    ต่อมาท่านได้พาคณะเดินธุดงค์มาถึงบ้านหนองใส บ้านตาลโกน บ้านตาลเนิ้ง อันเป็นบ้านเดิมของพระอาจารย์วัน อุตฺตโม
    บริเวณแถบถิ่นนี้ มีหมู่บ้านเป็นหย่อมๆ ชาวบ้านทั้งหมดเป็นชาวนา ถือการทำนาเป็นอาชีพหลัก
    การไปตามแถบถิ่นนี้ ท่านจะแนะนำสั่งสอนหมู่ชน ให้ละจากการนับถือภูตผีปิศาจ โดยความหลงผิดเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งก็เป็นตัวอย่างให้แก่ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นศิษย์ของท่าน ได้เจริญตามรอยที่จะให้พุทธบริษัทละจากการนับถือผิดๆ ให้เป็นพุทธบริษัทที่แท้จริง พร้อมทั้งปลูกศรัทธาในการเจริญพระกรรมฐานไปด้วย
    เมื่อท่านเห็นความหวังที่ท่านได้อบรมสั่งสอนเป็นไปอย่างพึงพอใจแล้ว ทั้งยังทำให้ชาวบ้านได้เลิกละเสียจากการนับถือผิดๆ หันมาปฏิบัติรับพระไตรสรณคมน์เป็นที่พึ่ง
    ท่านพระบุพพาจารย์ทั้งสองคือ หลวงปู่เสาร์และหลวงปู่มั่นบรรดาลูกศิษย์ทั้งหลาย ก็ออกเดินธุดงค์ต่อไปเรื่อยๆ จนถึงบ้านปลาโหล บ้านพังฮอ และคณะทั้งหมดได้มาพักบริเวณป่ารกแห่งหนึ่ง ในเขตอำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร
    ธรรมะปาฏิหาริย์
    ผลสำเร็จในการออกเดินธุดงค์ของพระบุพพาจารย์ทั้งสององค์ และคณะลูกศิษย์นี้ ได้มีพระภิกษุและอุบาสก อุบาสิกาจากในที่ไกลๆ ได้ยินกิตติศัพท์ พากันสนใจเดินทางมาขอศึกษาเล่าเรียนพระกรรมฐานกันเป็นจำนวนมาก
    พระภิกษุ สามเณร และฆราวาส ต่างก็ได้แจ้งประจักษ์เกิดธรรมะปาฏิหาริย์ภายในจิตใจด้วยกันทุกคนทีเดียว
    ขอยกตัวอย่างดังนี้คือ ในคราวหนึ่ง พระอุปัชฌาย์เกิ่ง อธิมุตตโก และ ท่านพระอาจารย์ดี วัดม่วงไข่พรรณา ท่านทั้งสองรูปนี้เป็นพระฝ่ายผู้ใหญ่ ได้มาขอเรียนพระกรรมฐาน ซึ่งหลวงปู่ เสาร์ได้มอบหน้าที่นี้แก่หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
    เมื่อศึกษาไปๆ ในที่สุดอำนาจบุญวาสนาที่เคยสร้างสมมาแต่ก่อนเก่า จนปรากฏผลในทางธรรมอย่างเด่นชัด ยังผลให้พระคณาจารย์ทั้งสองท่าน เกิดความประหลาดมหัศจรรย์เหลือที่จะกล่าว
    ท่านยอมรับในตัวของ หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล และ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต อย่างแรงกล้าเพราะสิ่งที่ท่านได้รู้ ได้เห็นอยู่นี้เป็นสิ่งที่เป็นจริงทุกประการ และเป็นจริงดังคำที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศไว้ว่า
    สันทิฏฐิโก = ผู้ศึกษาและผู้ปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง
    ดังนั้นพระอาจารย์เกิ่งและพระอาจารย์ดี จึงได้พาหมู่คณะลูกศิษย์ของท่าน เข้ามาศึกษาธรรมปฏิบัติเป็นจำนวนมากอีกด้วย ปรากฏว่าบรรดาพระภิกษุทั้งหลาย พากันตื่นตัวเดินทางเข้ามาถวายเป็นศิษย์ ขอเรียนพระกรรมฐานมากมาย
    กลัวอายฆราวาส
    หลวงปู่กงมา จิรปุญโญเล่าว่า...
    “จะไม่ตื่นตัวกันอย่างไร ก็บรรดาฆราวาสที่เคยติดตามหลวงปู่เสาร์และหลวงปู่มั่นออกธุดงค์ในป่าดง จนเกิดรู้เห็นธรรมะในจิตใจ อีกทั้งยังมีอำนาจจิตที่ข้นเข้ม มีสติสมาธิดี ทั้งๆ ที่เป็นฆราวาสธรรมดานี่เอง
    พระสงฆ์ผู้ใหญ่ผู้น้อยก็ต้องตื่นตัวซี จะอยู่ดูดายไม่ประพฤติปฏิบัติ ก็จะด้อยกว่าฆราวาสในทางด้านปฏิบัติธรรม เกรงจะเป็นการทำให้ฆราวาสดูถูกดูแคลนได้ ก็ต้องเร่งประพฤติเพิ่ม ศีล สมาธิปัญญา ใส่ตนเอง”
    นับได้ว่าในพรรษานั้น มีผู้สนใจในการปฏิบัติอยู่กับหลวงปู่ทั้งสององค์อย่างมาก และดูเหมือนจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นคณะใหญ่ขึ้นตามลำดับ
    แม้แต่พระที่บวชแล้ว ก็ขอแปรญัติใหม่เป็นธรรมยุติกนิกาย และยังมีผู้ที่ประสงค์บวชพระบวชเณร บวชชี ตาผ้าขาว แม่ขาวมากมาย
    แต่ในขณะนั้น หลวงปู่ทั้งสองรูปยังไม่ได้เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านจึงต้องไปนิมนต์ ท่านพระครูอดิสัยคุณาธาร (อากโร คำ) ที่วัดศรีสะอาด เจ้าคณะจังหวัดเลยมาเป็นพระอุปัชฌาย์ เข้ามาบวชหมู่ใหญ่ในสมัยนั้นเป็นต้นมา
    ท่านได้วางระเบียบการอ่านที่จะบวช หรือทำการบรรพชาอุปสมบท นั่นคือต้องบวชเป็นตาผ้าขาวก่อน แล้วรักษาศีล 8 รับประทานอาหารเพียงมื้อเดียวและให้ฝึกหัดดัดแปลงนิสัยใจคอเก่าๆ ออกไป
    ทั้งยังให้ฝึกกรรมฐานให้เป็นประดุจพระ หรือสามเณรตั้งแต่ยังเป็นฆราวาสนี่เสียก่อน ถ้าฝึกยังไม่พอ ก็ยังไม่บรรพชาหรืออุปสมบทให้ ซึ่งต้องใช้เวลาหลายเดือน ผลปรากฏว่าเรียบร้อยดีมากระเบียบนี้จึงได้มีขึ้นในคณะพระกรรมฐานจนถึงปัจจุบันนี้
    ดังที่พวกเราทั้งหลายได้เห็นปฏิปทาของพระกรรมฐานสายหลวงปู่เสาร์ และหลวงปู่มั่น จากลูกศิษย์ของที่ยังมีชีวิตอยู่ในยุคปัจจุบัน ซึ่งได้ปรากฏความเป็นผู้เข้มแข็งในการเจริญสมณธรรมเป็นอย่างยิ่ง
    จึงจัดได้ว่า หลวงปู่เสาร์กันตสีโล และ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เป็นผู้ทรงคุณธรรมภายใน และมีปฏิภาณเฉลียวฉลาดปรีชายิ่งแห่งยุค เพราะท่านสำเร็จมาจากมหาวิทยาลัยในป่า!..ท่านค้นคว้าหาวิชชาภายในกายนคร !
    กายนคร
    ในปีพ.ศ. 2465 หลวงปู่เสาร์และหลวงปู่มั่น พระปรมาจารย์ใหญ่ และคณะลูกศิษย์ของท่านทั้งสอง รวมทั้งผู้เข้ามาฝึกใหม่ๆ ได้เดินธุดงค์มาพักจำพรรษาอยู่ที่เสนาสนะป่าบ้านหนองลาด อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร นับเป็นเวลา 7 ปี
    ท่านพระอาจารย์ทั้งสองได้เริ่มแนะนำการปฏิบัติธรรมที่ง่ายๆ และได้ผลจริงจัง และในปีนี้ลูกศิษย์ของท่าน ผู้ที่ได้รับธรรมชั้นสูงจากท่าน จนสามารถสอนธรรมกรรมฐานแทนท่านได้ก็มีมาก
    ครั้งนี้ หลวงปู่เสาร์และหลวงปู่มั่นใคร่จะปรับปรุงแผนการให้ได้ผลยิ่งขึ้น จึงได้มีการรวมประชุมบรรดาสานุศิษย์ทั้งหลายให้มาจำพรรษา ณ ที่นี้ ซึ่งหลวงปู่เสาร์ก็ได้มอบให้หลวงปู่มั่นเป็นผู้วางแผนงาน ตลอดถึงการแนะนำธรรมปฏิบัติ เพื่อให้ทุกรูปที่เป็นพระกรรมฐาน ได้ยึดเป็นแนวทางปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เพื่อเป็นแนวทางอันเดียวกัน โดยท่านได้ย้ำถามทางของพระอริยสัจธรรม
    ท่านพระอาจารย์ใหญ่ทั้งสองท่าน ให้หมายเอาการพิจารณากาย ให้เป็นหลักประกันที่สำคัญยิ่ง ทั้งยังได้ยกตัวอย่างมากมาย นับตั้งแต่พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ตลอดถึงพระสาวกเจ้าทั้งหลาย
    ท่านยืนยันอย่างแน่วแน่ว่า “ผู้ที่จะเข้าผ่านสู่อริยสัจนั้น จะไม่พิจารณากายไม่มีเลย”
    สำหรับท่านผู้เข้ามาประพฤติปฏิบัติธรรม และได้ศึกษาประวัติของ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต แล้ว ธรรมะและคำสั่งสอนของทุกบททุกตอน ที่ท่านได้แสดงไว้ในคำพูด ในประโยค ที่ออกมาเป็นตัวหนังสือก็ดี ต้องทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ โดยใช้สติปัญญาใคร่ครวญถึงความสำคัญให้มากๆ ก็จะเกิดประโยชน์แก่ท่านผู้อ่านอย่างยิ่ง
    อย่าศึกษาเพียงสนุกๆ หรือเพียงชอบใจในตอนตื่นเต้น อาทิตอนเผชิญเสือ เผชิญช้างเท่านั้น แต่โปรดใช้หลักในการพิจารณาให้มากๆ ว่า...
    ทำไมท่านจึงต้องกล่าวบทตอนเช่นนั้น? ....
    ทำไมท่านต้องธุดงค์ไปอยู่ในป่าเช่นนั้น? ....
    ทำไมวัดไม่มีจะอยู่หรือ? ....
    ทำไมจึงต้องทนทุกข์ อยู่กับสัตว์ร้ายท่ามกลางดงดิบ? ....
    อย่าอ่านแบบอ่านนิยาย อย่าอ่านแบบสนุกๆ เป็นอันขาด ผลประโยชน์ที่พึงจะได้รับนั้น เห็นทีจะเสียการ

     
  15. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    นิมิตหลวงปู่มั่น




    ในเรื่อง "กายนคร" หลวงปู่เสาร์ได้ให้หลวงปู่มั่นย้ำลงในข้อการพิจารณาโดยอุบายต่างๆ ก็เพราะพระบุพพาจารย์ทั้งสองท่าน เกรงกลัวศิษย์และผู้สนใจในการปฏิบัติธรรม จะพากันเข้าใจผิดว่าเป็นการพิจารณาที่ไม่ถูก อาจเข้าใจไขว้เขว และจะเป็นการเสียผลเป็นอย่างยิ่ง
    โดยเฉพาะหลวงปู่มั่น ท่านได้วิตกไปว่า
    “กลัวผู้ที่ไม่เข้าใจโดยละเอียดถ่องแท้ จะพากันเขวหนทาง และพาหมู่คณะที่อยู่ในปกครองเขวหนทางตามไปด้วย”
    เพราะท่านได้นิมิตในวันหนึ่งว่า ขณะนั้นเป็นเวลาเช้า ท่านได้พาพระภิกษุและสามเณรเป็นจำส่วนมาก เข้าไปบิณฑบาตในละแวกบ้าน
    ขณะนั้นก็ได้เกิดนิมิตที่น่าประหลาดใจขึ้นคือ พระภิกษุสามเณรที่เดินตามท่านมาดีๆ ก็เกิดมีพวกหนึ่งแซงซ้ายบ้าง แซงขวาบ้าง ขึ้นไปข้างหน้าท่าน
    บางพวกก็เดินออกไปนอกทางเสีย แต่มีอีกพวกหนึ่งเดินตามท่านไป
    ซึ่งอธิบายได้ว่า ที่มีพระภิกษุสามเณรแซงท่านขึ้นไปข้างหน้านั้น คือบางพวกจะพากันอวดตัวว่าเก่งกว่าดีแล้ว ก็จะละจากข้อปฏิบัติที่ท่านได้พาดำเนิน
    ครั้นแล้วจะเกิดความเสื่อมเสีย ไม่ได้ผลตามที่เคยได้ผลมาแล้ว และการจะปฏิบัติเพื่อพิจารณากายอันนับเนื่องด้ว ยอริยสัจธรรมก็ยิ่งห่างไกล...
    จำพวกหนึ่ง เดินออกนอกทาง คือ จำพวกนี้เพียงได้ยินกิตติศัพท์ท่านแล้ว ก็อ้างเอาว่าเป็นศิษย์ของท่านหลวงปู่มั่น บางทีจะยังไม่เคยเห็นหน้าท่านเสียด้วยซ้ำไป ทั้งๆ ที่ไม่มีข้อปฏิบัติอันใดที่จะถือได้ว่าเป็นแนวทางเป็นตัวอย่างอันนำมาจากท่านเลย...
    จำพวกหนึ่ง ที่เดินตามหลังท่านไปนั้น คือ จำพวกนี้เป็นผู้ดำเนินตามคำแนะนำของท่านทั้งภายนอกและภายใน ทั้งยังเป็นผู้ใคร่ต่อธรรม ต้องการพ้นทุกข์ในวัฎสงสาร พยายามศึกษาหาความรู้ทุกๆ ประการที่มีความสนใจ แม้แต่ต่อหน้าหรือลับหลังก็เหมือนกัน เมื่อรับข้อปฏิบัติ แม้จะเป็นสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ก็รักษาไว้ด้วยชีวิตจิตใจ เพราะจำพวกนี้ได้รับผลมาจากการปฏิบัติธรรมมากับท่านแล้ว พวกที่เดินตามท่านไปย่อมได้รับความเจริญู...
    หลวงปู่มั่นท่านย้ำให้ลูกศิษย์ทุกรูปรู้ เมื่อท่านได้รู้จากนิมิตในครั้งนั้น ทั้งหมด
    ธรรมปฏิบัติที่ หลวงปู่เสาร์กันตสีโล และ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ท่านได้อุตส่าห์ลงทุนลงแรงพากเพียรพยายาม เจริญตามคำสั่งสอนของพระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า จนบังเกิดผลอย่างมหาศาล จะพึงอยู่นานได้เพียงไรนั้นก็แล้วแต่ศิษย์ทั้งหลาย
    ไม่ว่าพระภิกษุสงฆ์สามเณรอุบาสก อุบาสิกาทั้งหลายจะพากันมีสติ หรือพากเพียรเพื่อให้เกิดผลจริงจัง จึงจะรักษาการปฏิบัตินั้นได้
    หลวงปู่มั่นกล่าวว่า... “ถ้าใครจะพึงกล่าวว่าเป็นศิษย์ของท่าน เขาก็จะได้รักษาไว้ซึ่งข้อวัตรปฏิปทาของท่าน ผลลัพธ์ที่ได้ก็จะเป็นสมจริง”
    บ้านดงยาง
    ในปี พ.ศ.2469 ในพรรษานี้หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล ได้ออกเดินธุดงค์มาจากวัดพระงาม อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย (วัดพระงามนี้ เป็นวัดที่หลวงปู่อ่อนสีได้จำพรรษาอยู่ แต่บัดนี้ท่านได้มรณภาพไปแล้วเมื่อต้นปี 2526 )
    หลวงปู่เสาร์ออกเดินธุดงค์ไปเรื่อยๆ แล้วก็ไปทางเชียงคานจังหวัดเลย ขึ้นไปที่ภูฟ้า ภูหลวง เจริญกรรมฐานอยู่พักหนึ่ง แล้วท่านได้กลับมาทางจังหวัดอุดรธานี
    พอจะใกล้พรรษา หลวงปู่เสาร์ได้ไปพักจำพรรษาอยู่ที่เสนาสนะป่าบ้านดงยาง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี
    ในระหว่างพรรษา หลวงปู่เสาร์ได้รีบเร่งในการปฏิบัติภาวนาขึ้น
    ส่วนมากแล้วท่านออกบิณฑบาต แต่ไปไม่ไกลนัก เพียงพอแก่อัตภาพ ท่านกลับมาฉันแล้วจะเดินจงกรม เลิกจากการเดินจงกรมแล้ว หลวงปู่เสาร์จะเข้าที่เจริญภาวนาทันที เพราะในระยะหลังๆ นี้หลวงปู่ท่านมีอายุมากแล้ว ซึ่งในพรรษานี้ท่านให้เวลาทั้งหมดกับการปฏิบัติธรรม


    บ้านโนนแดง


    หลังจากออกพรรษาแล้วหลวงปู่เสาร์ได้ออกธุดงค์ไปพบกับหลวงปู่มั่น และได้ปรึกษาที่จะจัดวางระเบียบในการเดินธุดงค์อยู่เสนาสนะป่า
    เมื่อพระบุพพาจารย์ทั้งสองท่านตกลงกันแล้ว ท่านได้เรียกประชุมคณะลูกศิษย์ทุกรูป มารวมกันที่บ้านโนนแดง
    ที่บ้านโนนแดงนี้ พระอาจารย์กู่ ธัมทินโน อยู่จำพรรษาก่อนแล้ว
    ต่อมาเมื่อมีลูกศิษย์จำนวนมากมาประชุมพร้อมกันแล้ว หลวงปู่มั่นก็ได้ชี้แจงให้ลูกศิษย์รับรู้ว่า ท่านได้ปรึกษากับหลวงปู่เสาร์พระอาจารย์ของท่าน ให้วางระเบียบในการปฏิบัติเกี่ยวกับการอยู่ป่า เกี่ยวกับการตั้งสำนักปฏิบัติธรรม เกี่ยวกับแนวทางแนะนำสั่งสอนปฏิบัติจิต...เพื่อให้คณะศิษย์ของท่านทุกรูป นำไปปฏิบัติให้เป็นระเบียบเดียวกัน
    ระเบียบการและอุบายต่างๆ เมื่อครั้งที่ประชุม ณ บ้านโนนแดงนั้น ลูกศิษย์สายหลวงปู่มั่นภูริทัตโต และ หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล ได้น้อมนำเอามาประพฤติปฏิบัติจนทุกวันนี้
    พวกเราทุกคนที่เคยไปเห็นสำนักวัดป่า อาจมองเห็นสิ่งก่อสร้างต่างๆ สมัยใหม่อยู่บ้างที่ทำให้แปลกตาแปลกใจ แต่ความเป็นจริงแล้วนั่นคือวัตถุภายนอกเท่านั้น
    ส่วนระเบียบหัวข้อเรื่องที่เคยประชุมในครั้งนั้น ยังเป็นระเบียบเดิม ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากคำสั่งสอนของหลวงปู่มั่นแม้แต่น้อย
    เมื่อเสร็จการประชุมในครั้งนี้แล้ว หลวงปู่เสาร์ได้ออกเดินธุดงค์ต่อไป ส่วนคณะศิษย์ก็ได้แยกย้ายกันไปธุดงค์หาความวิเวก ตามสถานที่ในจังหวัดต่างๆ โดยมิได้มีการนัดหมายว่าจะไปพบกัน ณ ที่ใด แต่ความอัศจรรย์ก็ปรากฏให้รู้ให้เห็นขึ้นจนได้ เพราะต่างรู้ต่างก็มาพบกันเข้าอีกที่จังหวัดสกลนคร




    อุบาสิกานุ่ม




    อุบาสิกาเมืองสกลนครที่โด่งดังมาก คงไม่เกินไปกว่า อุบาสิกานุ่ม ชุวานนท์ และเป็นผู้ที่มีความเลื่อมใสหลวงปู่เสาร์และหลวงปู่มั่นมาก
    ในครั้งแรกอุบาสิกานุ่มเพียงได้ยินแต่ชื่อเสียงเท่านั้น ท่านก็บังเกิดศรัทธาอย่างจับจิตจับใจ
    อุบาสิกานุ่ม ที่วาสนาได้พบกับพระบุพพาจารย์ทั้งสอง ก็เป็นในคราวที่มารดาของอุบาสิกานุ่มเสียชีวิตลง ซึ่งขณะนั้นกำลังจะจัดการฌาปนกิจศพอยู่ พอดีก็ได้ทราบว่าพระอาจารย์ทั้งสองคือหลวงปู่เสาร์และหลวงปู่มั่น พร้อมทั้งคณะลูกศิษย์จำนวนมาก กำลังเดินธุดงค์ผ่านมาทางจังหวัดสกลนคร อุบาสิกานุ่ม จึงได้เดินทางไปขอนิมนต์ให้มาพักอยู่เสนาสนะป่า
    เมื่อหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นและคณะศิษย์ได้มาพักอยู่ ณ เสนาสนะป่าแห่งนั้น เพื่อฉลองศรัทธา แต่ความเป็นจริงแล้ว การฉลองศรัทธาในครั้งนั้น ไม่เฉพาะแต่อุบาสิกานุ่มเท่านั้น แต่เป็นการฉลองศรัทธาของชาวเมืองสกลนครทั้งมวลด้วย
    ชาวเมืองสกลนครทั้งหลาย ได้เห็นพระธุดงค์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ มาอยู่ร่วมกันมากมายเช่นนั้น ก็ทำให้เกิดความศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง เพราะพระปฏิบัติชุดนี้ มีจริยาวัตรงดงามเหลือเกิน และมีความเรียบร้อย แม้จะเป็นจำนวนมากรูปก็ตาม ไม่เคยเห็นความบกพร่องในจุดไหนๆ เลย
    ดังนั้นชาวเมืองสกลนคร จึงพากันไปศึกษาธรรมปฏิบัติ จนได้รับการรู้การเห็นธรรม อย่างน้อยที่สุดก็สามารถรู้จักธรรม รู้จักอุบายที่จะพิจารณาธรรมได้จนเป็นนิสัยปัจจัย (เครื่องผูกใจในการภาวนา) มาจนถึงทุกวันนี้
    ภายหลังจากนั้น หลวงปู่เสาร์และคณะทั้งหมด ได้แยกย้ายกันออกธุดงค์ในป่าเขา จำพรรษากันในถ้ำบ้างตามอัธยาศัย
    เสนาสนะป่า สมัยแรกที่พระธุดงค์พักอาศัยเมื่อครั้งอุบาสิกานุ่ม ชุวานนท์ ขอนิมนต์ในครั้งนั้น มากลายเป็น วัดป่าสุทธาวาส ในปัจจุบันนี้
    จตุราลักษณ์
    หลวงปู่เสาร์ ท่านเจริญพรหมวิหารธรรมอยู่เป็นนิตย์ ถ้าจะเรียกให้สมกับจริยาวัตรของท่านแล้ว จะกล่าวได้ว่าท่านบริสุทธิ์ด้วยกาย บริสุทธิ์ด้วยวาจาบริสุทธิ์ด้วยใจ ล้นเปี่ยมตามคุณธรรมของท่านเลยทีเดียว
    ในชีวิตของหลวงปู่เสาร์ ได้ฝากฝังจิตใจไว้กับพระพุทธเจ้ามาโดยตลอด
    ท่านเจริญเดินตามทางที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ทุกประการ คือมี เมตตา กรุณามุทิตา และ อุเบกขา และรื้อสัตว์ขนสัตว์ให้ได้รู้บาปบุญคุณโทษทั้งปวง
    ทั้งนี้ยังได้นำคณะศรัทธาทั้งหลายให้ได้เจริญ ศีล สมาธิปัญญา ให้ได้รู้เล่ห์เหลี่ยมของกิเลสตัณหาที่เข้ามารบเร้าจิตใจให้เตลิดไปในทางชั่วร้าย
    นอกจากนี้ท่านยังมีความเมตตาอันสูงสุด โดยท่านได้พยายามรวบรวมเขียนเรื่องหนังสือไว้เล่มหนึ่ง ซึ่งชื่อว่า จตุราลักษณ์
    จตุราลักษณ์ เป็นหนังสือที่หลวงปู่เสาร์ได้บรรจงแต่งไว้ เพื่อพวกเราที่เป็นพุทธบริษัทควรได้อ่านได้ศึกษา โดยท่านได้แสดงแต่งไว้ดังนี้
    1. ให้มนุษย์เราทุกคน รู้จักระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า คือให้เจริญพุทธานุสติ
    2. ให้มนุษย์เราทุกคน เมื่อเกิดมาแล้ว เข้าใจตนเองว่านับถือพระพุทธศาสนาแล้ว ให้เจริญเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขาเป็น นุสติ
    3. ให้มนุษย์เราทุกคน จงรู้ว่าเมื่อเกิดมาแล้วจงรู้กฎของอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    ซึ่งเราทุกคนหนีสิ่งเหล่านี้ไปไม่ได้ คือการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ให้เจริญความไม่เที่ยง มีความทุกข์ และไม่ใช่ตัวตนเราเขา ฉะนั้นให้เจริญอสุภานุสติ
    4. ให้มนุษย์เราทุกคน จงพิจารณากองทุกข์ นับตั้งแต่เกิดมา จนวาระสุดท้าย คือความตาย เพราะทุกคนหนีความตายไปไม่ได้ ให้เจริญมรณานุสติ
    พุทธานุสติ
    เมื่อได้อ่านมาถึงตอนนี้แล้วมีความเข้าใจอย่างเด่นชัดว่าหลวงปู่เสาร์ พระบุพพาจารย์ได้อบรมสั่งสอนพวกเราทุกคน ให้รำลึกถึงพระเมตตาธิคุณ ที่พระพุทธองค์ทรงเมตตาพวกเราผู้มีสติปัญญาน้อย
    ซึ่งพระพุทธองค์เกรงว่าพวกเราจะไปล่วงบาปกรรม หรือหลงระเลิงไปกับกิเลสตัณหา พาจิตใจไปข้องอยู่ ไม่สามารถจะงอกเงยขึ้นมาเห็นแสงเห็นตะวัน จนเที่ยวเกลือกกลั้วอยู่กับโคลนตมวนเวียนในท่ามกลางภพแล้วภพเล่า ก่อชาติหาที่สิ้นสุดลงไม่ นี่แหละ...พระบรมศาสดาเจ้า
    นอกจากนี้ พระพุทธองค์ผู้มีคุณอันประเสริฐยิ่ง ทรงสั่งสอนอีกว่า "สุญโญ สัพโพ มันเป็นของว่าง มันไม่ได้เป็นของผู้ใด”
    หากเราทั้งหลายไม่เข้าใจธรรมะในสภาวะอันนี้ ไม่เข้าใจในสังขารอันนี้ จึงคิดว่า “ของเราของเขา” จนเกิดอุปาทานขึ้นมา
    เมื่อเกิดอุปาทาน ก็เข้าไปยึดภพ เกิดภพ เกิด ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ ต่อไป มันจึงเป็นทุกข์อยู่เช่นนี้
    เพราะอะไร ทำไมจึงเกิดทุกข์ ?
    พระพุทธองค์ ของ พวกเราทรงตรัสถึงเหตุแห่งการเกิดทุกข์ว่า อิทัปปัจจยตานั่นแหละเป็นเหตุทำให้เกิดอวิชชา เกิดสังขาร
    เมื่อเกิดสังขารแล้ว เกิดวิญญาณ แล้วก็เกิดรูป-นาม เป็นเช่นนี้แหละ
    นอกจากนี้ พระพุทธองค์ ทรงตรัสอีกว่า สังขารร่างกายนี้ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล มันเป็นเพียงสังขาร
    นี่แหละ พระพุทธองค์ทรงตรัสอย่างชัดเจนอยู่เช่นนี้ แต่พวกเรายังไม่ยอม ยังขืนฝืนคำสั่งสอนของพระพุทธองค์
    ถึงแม้ว่าความจริงได้เกิดอยู่ทุกขณะก็ตาม แต่เราเองกลับไม่รู้ไม่เห็น อาทิเช่น เกิดทุกวันแก่ลงทุกวัน เจ็บอยู่ทุกวัน ตายอยู่ทุกวัน เราไม่ได้ศึกษาให้เที่ยงแท้ จึงทำให้รู้ธรรมไม่จริง
    ฉะนั้นสิ่งที่แสดงอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันนั้น ท่านเรียกว่า ภาษาธรรม






    เรื่องของกรรม
    หลวงปู่เสาร์ ยังได้กล่าวย้ำไว้ในหนังสือจตุราลักษณ์ หรือลักษณะ 4 ประการ ดังต่อไปนี้ว่า
    “คนเรานี้ย่อมมีกรรมเป็นของของตน มีกรรมเป็นผู้ให้ผล มีกรรมเป็นแดนเกิด มีกรรมเป็นผู้ติดตาม มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย
    เราทำกรรมอันใดไว้ เป็นบุญ หรือ เป็นบาป เมื่อยังมีชีวิตอยู่ กรรมนั้นจักเป็นทายาท ให้เราได้รับผลของกรรมนั้นสืบต่อๆ ไป”
    นอกจากนี้ หลวงปู่เสาร์ยังได้กล่าวความหมายเป็นนัยสืบเนื่อง ว่า
    “กรรมนี้แหละ ย่อมจำแนกแจกสัตว์ให้เป็นไปต่างๆ นานา ให้เลว ให้ดี ให้ชั่ว ให้ประเสริฐ ก็เป็นเพราะผลของกรรมที่ทำไว้”
    เมื่อผู้เขียนได้อ่านแล้วก็ทำให้เกิดความนึกคิดขึ้นมาว่า คนเรานี้เกิดมาแล้วไม่กระทำคุณงามความดี ก็ไม่เกิดประโยชน์แก่ชีวิตของตน และไม่มีประโยชน์อันจะรับความสุขต่อๆ ไปในชาติหน้าอีก
    หลวงปู่เสาร์ ได้พยายามเน้นให้เราได้เปิดจิตเปิดใจ มองดูตัวเราเองให้กว้างขวางออกไป และได้ปลูกฝังศรัทธาความเชื่อในเหตุผล ซึ่งพระพุทธองค์ทรงเจริญมาแล้ว จนสามารถสำเร็จผลหนทางแห่งความดีในที่สุด ได้อย่างจริงแท้แน่นอน
    เคร่งครัดพระวินัย
    นอกจาก หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล จะเป็นพระอริยเจ้าผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบแล้ว ท่านยังมีความเคร่งครัดทางด้านพระวินัยอย่างมากมายทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกศิษย์หลวงปู่มั่น ทั้งฝ่ายฆราวาสหรือภิกษุ สามเณรในสมัยนั้นจะต้องถือเอาข้อปฏิบัติธรรมเป็นวิชาเอก
    ซึ่งหมายถึงว่า เมื่อหลวงปู่เสาร์ได้อบรมศิษยานุศิษย์ และแสดงพระสัทธรรมให้เป็นที่เข้าใจแล้ว ท่านจะส่งเสริมให้ลูกศิษย์ทุกรูปถือข้อธุดงควัตร โดยให้แยกออกจากหมู่คณะ มุ่งสู่ป่าดงเพื่อความแจ่มแจ้งในธรรมที่พระพุทธองค์ทรงรับรองผล
    นอกจากนี้แล้ว หลวงปู่เสาร์ยังเป็นบุคคลที่สมบูรณ์ สง่าผ่าเผยน่าเกรงขาม พูดน้อย แต่ถ้าหากท่านกล่าวด้วยวาจาออกมานั้น วาจาของท่านมีความศักดิ์สิทธิ์มาก ไม่ว่าจะกล่าวคำใดออกไปจะต้องเป็นจริงดังนั้น
    จากการที่หลวงปู่เสาร์มีจิตใจอันบริสุทธิ์นี้ ได้แสดงออกมาทางกิริยาและแววตาเสมอ ทั้งยังมีอารมณ์จิตเบิกบานแจ่มใส
    การพูดหรือการแสดงพระธรรมเทศนาของท่าน มีความสุขุมรอบคอบ รู้กลอุบายธรรมที่จะแสดงเสมอ
    จากเหตุหลายประการดังกล่าวนี้ ทำให้หลวงปู่เสาร์เป็นพระสงฆ์ที่มีลูกศิษย์เป็นพระภิกษุสามเณร และฆราวาส ทุกคนเหล่านี้ต่างให้ความเคารพนับถือท่านเป็นอย่างมาก
    การภาวนา
    หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล จะสอนลูกศิษย์ทุกๆ คนให้พิจารณากาย เพราะกายนครนี้เป็นที่ตั้งของความดีและความชั่ว
    ธรรมะก็มีอยู่ในกาย เพราะกายมีความเกิด แก่ เจ็บ ตายท่านสอนไว้ว่า พระพุทธเจ้าและพระสาวกเจ้าทั้งหลาย ท่านได้เสียสละ เช่นความสุข อันเป็นไปด้วยราชสมบัตินั้น
    พระองค์ท่านมีผู้คนยกย่องสรรเสริญคอยปฏิบัติวัตถาก แล้วได้มาเสียสละ มานอนกับดินกับหญ้าใต้โคนต้นไม้ถึงกับอดอาหารเป็นต้น
    การเสียสละเหล่านี้ เพื่อประโยชน์อะไร...ก็เพื่อให้ได้ถึงซึ่งวิโมกขธรรม คือธรรมเป็นเครื่องพ้นจากการเกิด แก่ เจ็บ ตาย และเมื่อพระพุทธองค์จะได้ตรัสรู้ ก็ทรงนั่งสมาธิใต้ร่มไม้อันเป็นสถานที่สงบสงัด และได้ทรงพิจารณาซึ่งความเจริญคือ อริยสัจ 4 นี้เป็นมูลเหตุอันเป็นเบื้องต้นของพระพุทธองค์
    สาวกผู้เจริญรอยตามพระยุคลบาทนั้น จำเป็นที่จะต้องระลึกความเป็นจริงของพระพุทธองค์ในข้อนี้ แล้วนำมาเป็นสิ่งพิสูจน์ปฏิปทาของตนที่กำลังดำเนินอยู่ว่า ในการปฏิบัติหรือการบรรพชาอุปสมบทในบวรพระพุทธศาสนา พวกเราได้พากันถือเอาต้นเหตุให้พึงระลึกถึงความจริงของตนที่ว่า ได้เสียสละโดยความเป็นจริงหรือไม่
    อำนาจจิต
    ถ้าจะกล่าวถึงอำนาจจิตของหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล แล้วเป็นสิ่งที่มหัศจรรย์มาก เรื่องเช่นนี้ผู้เขียนเคยได้รับฟังมาจากหลายแห่งว่า การนั่งสมาธิจนถึงขั้นละเอียด จิตเบา แล้วจะทำให้ตัวลอยขึ้นเหนือพื้น บางรูปลอยไปติดอยู่บนขื่อก็มี ทั้งที่ในระยะแรกๆ จะไม่ค่อยเชื่อว่าตนเองจะลอยได้ ดังเรื่องของหลวงปู่เสาร์นี้
    วันหนึ่ง ขณะที่หลวงปู่เสาร์นั่งกรรมฐาน ท่านรู้ว่าขณะนั้นจิตใจของท่านเบามาก แม้แต่ตัวก็เบาเหมือนไม่มีน้ำหนัก ทำให้ท่านรู้สึกผิดสังเกตมาก เพราะเมื่อก่อนๆ ที่ผ่านมาท่านก็เป็นเหมือนกัน แต่ไม่เหมือนเช่นวันนี้
    หลวงปู่เสาร์ท่านได้นั่งสมาธิอยู่ ในความรู้สึกนึกแปลกใจว่า
    "เอ๊ะ...ตัวเราถ้าจะลอยขึ้นจากพื้นเป็นแน่"
    เมื่อคิดเช่นนั้นแล้ว ท่านเลยลืมตาดูตัวเองว่า มันจะลอยดั่งใจเรารู้หรือเปล่าพอท่านลืมตากรรมฐานที่ท่านเจริญอยู่ก็ถอนพอดี เพราะท่านไปพะวงว่ามันเป็นไปได้อย่างไรกัน
    ทันใดนั้น ท่านก็ตกลงมายังพื้นข้างล่าง ซึ่งสูงประมาณ 1 เมตรเศษ ตัวของท่านดกลงมากระแทกกับพื้นอย่างแรง เพราะไม่ได้ทันระวังตัว จึงทำให้เอวของท่านยอกไปเสียหลายวันทีเดียว
    ความจริงแล้ว เมื่อหลวงปู่เสาร์ปฏิบัติกรรมฐานครั้งใดก็มีความรู้สึกเช่นนั้น แต่ท่านมิได้สนใจ
    ต่อมาในระยะหลังๆ นี้ ท่านมีความรู้สึกตัวเบามากเป็นพิเศษทำให้ท่านอยากรู้อาการที่เกิดขึ้นเมื่อท่านได้ลืมตาดู จึงทำให้ไม่มีสติพอยับยั้ง ทำให้ตกลงสู่พื้นอย่างแรง
    ลอยขึ้นเหนือพื้นจริง ๆ
    แม้แต่ในคราวต่อมา เมื่อหลวงปู่เสาร์ท่านได้นั่งสมาธิอีกครั้งหนึ่ง คราวนี้พอท่านรู้สึกว่าตัวของท่านลอยขึ้นจากพื้น ท่านจึงพยายามกำหนดสติให้อยู่ควบคู่กับองค์สมาธิ
    เมื่อท่านค่อยๆ ลืมตามองทีละน้อยๆ ในที่สุดหลวงปู่เสาร์ก็ได้ประจักษ์แก่สายตาว่า...
    “ตัวท่านลอยขึ้นเหนือพื้นจริง ๆ”
    ตัวของท่านลอยขึ้นไปเรื่อยๆ จนถึงเพดานหลังคา ลอยเด่นอยู่เช่นนั้น
    คราวนี้ท่านไม่ตกลงพื้นเหมือนครั้งแรก เพราะท่านไม่ขาดสติ สติของท่านคอยประคองให้อยู่ในองค์สมาธิไม่ขาด
    ถึงกระนั้นท่านก็ยังไม่ยอมเชื่อว่าตัวท่านลอยได้ เพราะนี่เป็นการเห็นด้วยตาเนื้อ ท่านก็ค่อยๆ ผ่อนสมาธิให้ตัวท่านลอยลงต่อ ทั้งยังได้กำหนดสติได้อย่างมั่นคง ไม่พลั้งเผลอ
    เมื่อตัวของท่านลอยต่ำลงมานั่งบนพื้นโดยปกติแล้ว หลวงปู่เสาร์ได้ถอนสมาธิหมด
    ปกติแล้ว หลวงปู่เสาร์ท่านเป็นคนละเอียดรอบคอบ เมื่อท่านเห็นตัวลอยในครั้งแรกนั้นยังไม่เชื่อนัก ท่านจึงได้นำก้านไม้ขีดมาแล้วท่านก็ได้มาถือไว้ในมือจึงเริ่มนั่งกรรมฐาน
    พอจิตสงบ ตัวของท่านก็ลอยขึ้นทีละน้อยๆ จนถึงหลังคาที่มุงไว้ด้วยหญ้าคา
    ท่านก็ค่อยๆ ทรงสติไว้อย่างมั่นคง เอามือค่อยๆ เอื้อมเอาก้านไม้ขีดเหน็บเอาไว้ ทำอยู่อย่างนั้นถึงสามครั้งโดยสติไม่คลาดเคลื่อนเลย
    แล้วหลวงปู่เสาร์ยังได้ทำสมาธิให้ตัวลอยขึ้นไปหยิบก้านไม้ขีด ที่เหน็บไว้บนหลังคาตั้งแต่ครั้งแรก นำลงมาได้อีกด้วย
    วิธีก็คือค่อยๆ ถอนจิตออกจากสมาธิด้วยความมีสติที่สุด..เพื่อกายของท่านจะค่อยๆ ลงมายังพื้นข้างล่าง เมื่อถึงพื้นแล้วหลวงปู่เสาร์ก็ถอนสมาธิออก
    หลวงปู่เสาร์ได้ทดลองจนเป็นที่แน่ใจ และเชื่อว่าตัวของท่านลอยขึ้นได้จริงๆ
    แต่การลอยตัวได้ในขณะนั่งสมาธินั้นไม่เกิดเสมอไป เป็นบางครั้งเท่านั้น อาจเป็นจริตของจิตใจท่านในขณะหนึ่งที่สามารถทำตัวลอยได้ หรืออาจทำตัวให้ลอยได้ทุกครั้งก็ได้ แต่ท่านไม่เคยแสดงให้ใครดู
    โดยปกตินิสัยที่หลวงปู่เสาร์ไม่นิยมคลุกคลีกับหมู่ ท่านรักความสงบและความสันโดษโดยเฉพาะ
    บรรดาลูกศิษย์ของท่านจะอยู่รวมกับท่านจริงๆ นั้น ก็ต่อเมื่อท่านและหลวงปู่มั่นมาอยู่จำพรรษาด้วยกันเท่านั้น
    พระธาตุพนม
    ที่จังหวัดนครพนม หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล สมัยท่านเดินธุดงค์ไปพบสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์นี้...
    แต่เดิมหลวงปู่เสาร์ได้เที่ยวรุกขมูลมาถึงพระธาตุพนม ซึ่งแต่ก่อนรกร้างอยู่ เป็นป่าเป็นดงโดยทั่วไป
    เมื่อท่านได้ธุดงค์มาถึง ก็เข้าไปอาศัยอยู่ที่นั่นชั่วคราวเพื่อเจริญกรรมฐาน
    ต่อมาชาวบ้านในแถบนั้นเกิดมารู้มาเห็นปฏิปทาของหลวงปู่เสาร์ ก็บังเกิดความเลื่อมใสเป็นอย่างมาก จึงได้เข้ามารับใช้ปรนนิบัติหลวงปู่เสาร์อยู่เสมอๆ ทุกวัน
    ต่อมาท่านได้ให้ชาวบ้านเหล่านั้น ช่วยกันถากถางต้นไม้ที่ปกคลุมองค์พระธาตุพนม และปัดกวาดทำความสะอาดเสียให้ดีเพราะท่านว่า สถานที่นี้เป็นศักดิ์สิทธิ์ ควรดูแลรักษาให้ดี ในที่สุดบริเวณนั้นก็โล่งเตียน
    อนึ่ง..ไม่ว่าสถานที่แห่งใดที่หลวงปู่เสาร์ได้เดินธุดงค์มาปักกลดพักอยู่อาศัย เมื่อยามที่ท่านจากไปสถานที่แห่งนั้นๆ ได้กลายเป็นวัดที่เจริญรุ่งเรืองสืบมาแทบทุกแห่งจนกระทั่งในปัจจุบันนี้
    แม้ที่พระธาตุพนม แต่ก่อนชาวบ้านไม่รู้จัก ต่อเมื่อท่านไปอยู่พักปักกลด ก็ได้บอกให้ชาวบ้านรู้เพื่อเป็นที่สักการบูชาแห่งตน
    ในยุคต่อมา พระธาตุนครพนมที่เก่าแก่และรกร้างอยู่ท่ามกลางป่าดง ก็เกิดมีความเจริญเป็นที่สักการะของประชาชนทั่วประเทศเลยทีเดียวจนถึงปัจจุบัน
    ฟื้นฟูศาสนธรรม
    ในชีวิตแห่งเพศสมณะ หลวงปู่เสาร์และหลวงปู่มั่นได้ฟื้นฟูเทิดทูน ศาสนธรรมไว้ได้มากที่สุด ไม่ว่าทางด้านพระปริยัติธรรมปฏิบัติ และปฏิเวธธรรมอย่างเต็มภูมิเต็มสมัย เราจะหาได้ยากในสมัยนั้น เพราะสมัยก่อนๆ นั้นการประพฤติปฏิบัติไม่ค่อยมีผู้ฟื้นฟูเลย
    พอมาในสมัยพระอาจารย์ทั้งสองปฏิบัติกัน จึงเกิดเป็นเนื้อเป็นหนังขึ้นมา เหมือนธรรมข้ออื่นๆ
    คำว่า "ธุดงควัตร" จึงปรากฏเด่นในความรู้สึกและสายตาของประชาชน เกิดความสนใจประพฤติปฏิบัติในวงพระสงฆ์และฆราวาสทั้งหลายมาจนถึงปัจจุบัน
    สิ่งเหล่านี้ก็เพราะหลวงปู่เสาร์และหลวงปู่มั่นเป็นผู้พาดำเนินอย่างเอาจริงเอาจัง
    ธุดงค์ทั้ง 13 ข้อนี้ หลวงปู่เสาร์และหลวงปู่มั่นได้ปฏิบัติมาแล้วแทบทุกข้อแล้วแต่โอกาส
    ฉะนั้นจึงนับได้ว่า ฐานแห่งความประพฤติปฏิบัติบูชานี้ เราทั้งหลายควรจำใส่ใจ น้อมระลึกถึงพระคุณอันบริสุทธิ์ของท่านพระบุพพาจารย์ไว้อย่าให้มีวันลืม !
    ละสังขาร
    ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2485 หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล พระบุพพาจารย์แห่งยุค ได้อำลาละซึ่งสังขารจากพวกเราทั้งหลายไปด้วยอาการที่สงบระงับจากกิเลส ตัณหา อุปาทาน อย่างสิ้นเชิง
    หลวงปู่เสาร์ เคยพูดให้ลูกศิษย์ฟังเสมอๆ ด้วยมีญาณหยั่งรู้ถึงวาระที่ท่านจะดับสังขาร และลูกศิษย์ของท่านทุกูรป ต่างก็ยอมรับความจริงที่ท่านเคยพูดไว้สมกับคำที่พวกเราทั้งหลายท่องบ่นถึงว่า
    สุปฏิปันโน อุชุปะฏิปันโน ญายะปฏิปันโน สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ เป็นต้น
    งานฌาปนกิจศพของ หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล ที่จังหวัดอุบลราชธานีนั้น ได้สำเร็จเสร็จสิ้นลงไปด้วยกำลังกาย กำลังใจของศิษย์รักของท่านคือ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
    ก่อนปิดท้ายเรื่อง ทำให้ผู้เขียนระลึกว่า ทำอย่างไรหนอธรรมะทั้งหลาย เราก็ได้ฟัง ได้อ่านเรียนรู้มาจากครูบาอาจารย์มามากต่อมากแล้ว เราพอจะมีวาสนาบารมี ควรเห็นธรรม ควรรู้ธรรมบ้าง อย่างที่ท่านๆ ได้รู้ได้เห็นมาแล้ว เพื่อสุดท้ายแห่งชีวิต เราจะได้มีเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจเบื้องสัมปรายภพในกาลต่อไป
    และเพื่อเป็นการสมนาคุณท่านผู้มีอุปการคุณทุกท่าน ที่ติดตามนิตยสารญาณวิเศษ จนย่างเข้าสู่ปีที่ 6 ด้วยดีเสมอมา ทางนิตยสารญาณวิเศษ จึงขอสมนาคุณทุกๆ ท่านด้วย สุดยอดเครื่องมงคลมหาเศรษฐี เหรียญเจ้าสัวร้อยล้าน หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล พระอรหันต์แห่งยุค แก่ท่านเนื่องในวาระดิถีขึ้นปีใหม่ 2538 สำหรับผู้ที่ซื้อนิตยสารญาณวิเศษฉบับที่ 57 วางตลาดวันที่ 1 มกราคม 2538 นี้ ราคา 40 บาททุกๆ ท่าน
    เหรียญเจ้าสัว ผู้นิยมเล่นพระ หรือนักเลงพระ ต่างก็ทราบดีว่า มีสรรพคุณในด้านใดบ้างซึ่งสรรพคุณที่โดดเด่นมากของเหรียญเจ้าสัวก็คือ ทางด้านโชคลาภ ซึ่งถ้าใครมีไว้บูชา ไม่ว่าจะห้อยติดตัว หรือบูชาไว้ที่บ้านการทำมาหากิน ค้าขาย หรือทำธุรกิจต่างๆ ก็จะเจริญรุ่งเรือง ร่ำรวยเป็น เศรษฐี มหาเศรษฐีโดยเร็วพลัน
    สำหรับ เหรียญเจ้าสัวร้อยล้าน หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล พระอรหันต์แห่งยุคนี้ ด้านหน้าเป็นรูปหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล ส่วนด้านหลังเป็น พระสังกัจจายน์อุ้มถุงเงินร้อยล้าน ซึ่งได้เข้าพิธีเจริญพระพุทธมนต์ อธิษฐานจิตปลุกเสกจากพระกรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต กว่าร้อยรูป โดยแต่ละรูปได้อัดพลังอิทธิจิตลงใน เหรียญเจ้าสัวร้อยล้านหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล อย่างเข้มขลัง เพื่อความเป็นสิริมงคล ผู้ที่มีไว้บูชาติดตัว รับรองว่าท่านจะไม่ผิดหวังแน่นอน
     
  16. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    มาบัดนี้กระผมจะขอโอกาส พ่อแม่ครูอาจารย์ นำเสนอประวัติพระอาจารย์ใหญ่สายกรรมฐาน พระอาจารย์ สิงห์ ขันตยาโมซึ่งเกี่ยวข้องกับ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต (อาจารย์ของ องค์หลวงปู่ ศรี มหาวีโร)เป็นอย่างมาก

    โดยข้าน้อยขอโอกาสพระอาจารย์ทั้งหลายนำเสนอธรรมในใจของท่านเพื่อเป็นประโยชน์แก่สาธุชนนะขอรับ

    [​IMG]


    หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม
    วัดป่าสาลวัน นครราชสีมา

    คลิกเมาส์ที่ใดก็ได้ในเฟรมนี้เพื่อเรียกเมนูด่วน [​IMG]

    [​IMG]
    ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย
    พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม เกิดที่ บ้านหนองขอน ตำบลหัวตะพาน อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๓ ปีฉลู วันที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๒ เวลา ๐๕.๑๐ น. มีพี่น้องร่วมกัน ๗ คน ท่านเป็นคนที่ ๔ และพระมหาปิ่น ปญฺญาพโล เป็นคนที่ ๕ อายุห่างจากท่าน ๓ ปี ท่านมีนามเดิมว่า สิงห์ บุญโท บิดาชื่อ เพียอินทวงษ์ (อ้วน) (เพียอินทวงษ์ เป็นตำแหน่งข้าราชการหัวเมืองลาวกาว-ลาวพวน มีหน้าที่จัดการ ศึกษา และ การพระศาสนา) มารดาชื่อ หล้า บุญโท การศึกษาในสมัยที่ท่านเป็นฆราวาส ท่านได้ศึกษาจนเป็นครูสอนวิชาสามัญได้ดีผู้หนึ่ง
    บรรพชา เป็นสามเณร ฝ่ายมหานิกายในสำนักพระอุปัชฌาย์ป้อง ณ บ้านหนองขอน ตำบลหัวตะพาน อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี เมื่ออายุ ๑๕ ปี พ.ศ. ๒๔๔๖
    บรรพชาอีกครั้งหนึ่งเพื่อเป็นสามเณรธรรมยุตในสำนักพระครูสมุห์โฉม เจ้าอาวาสวัดสุทัศนาราม ในตัวเมืองอุบลราชธานี ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๔๙
    เมื่ออายุครบบวชก็ได้อุปสมบท เป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดสุทัศนาราม วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๒ เวลา ๑๔ นาฬิกา ๑๒ นาที สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) ขณะดำรงตำแหน่งพระศาสนดิลก เจ้าคณะมณฑลอีสาน เป็นพระอุปัชฌาย์ พระมหาเสน ชิตเสโน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระปลัดทัศน์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลวงปู่สิงห์เป็นสัทธิวิหาริก อันดับ 2 ของสมเด็จมหาวีรวงศ์ ได้ฉายาว่า ขนฺตยาคโม
    เมื่ออุปสมบทแล้ว ได้เข้าศึกษาเล่าเรียนหนังสือไทยต่อในโรงเรียนสร่างโศกเกษมศิลป์ สอบไล่ได้มัธยมปีที่ ๓ ปี พ.ศ.๒๔๕๔ เข้าสอบไล่ได้วิชาบาลีไวยากรณ์ ในสนามวัดสุปัฏน์ฯ
    เมื่อปี พ.ศ. ๒๒๕๕ ได้รับแต่งตั้งจากกระทรวงธรรมการ (ศึกษาธิการ) ให้เป็นครูมูลและครูมัธยมประจำอยู่ที่โรงเรียนสร่างโศกเกษมศิลป์
    ในปี ๒๔๕๗ ท่านได้จัดการให้น้องชาย คือนายปิ่น บุญโท ได้บวชในพระบวรพุทธศาสนา เมื่อมีอายุได้ ๒๒ ปี และได้มาอยู่ที่วัดสุทัศนารามด้วยกัน
    หลวงปู่สิงห์ได้เรียนพระปริยัติธรรมจนสอบได้นักธรรมชั้นตรี ใน พ.ศ. ๒๔๕๘
    ในขณะที่หลวงปู่สิงห์เป็นครูสอนนักเรียนอยู่นั้น ท่านเป็นอาจารย์เทศนาสั่งสอนประชาชนด้วย ได้ค้นคว้าหลักธรรมคำสั่งสอนของพระศาสนาสอนสัปบุรุษอยู่เรื่อยๆ วันหนึ่ง เผอิญท่านค้นพบหนังสือธรรมเทศนาเรื่อง เทวสูตร ซึ่งมีใจความว่า พระบรมศาสดาทรงตำหนิการบรรพชาอุปสมบทที่มีความบกพร่อง คือ การบวชแล้วไม่มีการประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยมีโทษมาก ตกนรกไม่พ้นอบายภูมิทั้ง ๔ จึงเป็นเหตุให้หลวงปู่สิงห์เกิดความสลดสังเวชสำนึกในตน ออกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๕๘ โดยลาออกจากตำแหน่งครูผู้สอน
    เมื่อลาออกจากหน้าที่ครูแล้ว ท่านอาจารย์สิงห์ก็ได้ออกปฏิบัติกรรมฐาน ท่านได้พิจารณาว่า การปฏิบัติธรรมในสมัยนี้หมดเขตที่จะบรรลุมรรคผลหรือยัง ? ซึ่งท่านก็ได้รู้ว่า การบรรลุมรรคผลนิพพานยังมีอยู่แก่ผู้ที่ปฏิบัติจริง ท่านจึงได้มุ่งหน้าปฏิบัติสมถะและวิปัสสนากรรมฐานอย่างจริงจัง
    หลวงปู่สิงห์พบพระอาจารย์มั่นเป็นครั้งแรกและกราบขอเป็นศิษย์
    และในปีนั้นเอง หลังจากท่านอาจารย์มั่น ฯ ได้จำพรรษาที่กรุงเทพฯ ในปีนั้นแล้ว ท่านก็มีดำริว่า ท่านควรจะได้แนะนำสั่งสอนธรรมปฏิบัติที่ท่านได้รู้ ได้เห็นมา ซึ่งเป็นธรรมที่ยากที่จะรู้ได้ ซึ่งท่านได้อุตส่าห์พยายามบำเพ็ญมาเป็นเวลานับสิบๆ ปี ควรจะได้แนะนำบรรดาผู้ที่ควรแก่การปฏิบัติให้ได้รู้และจะได้แนะนำกันต่อ ๆไป
    ดังนั้นเมื่อออกพรรษาแล้วท่านจึงได้ลาท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ กลับไปจังหวัดอุบล ฯ จำพรรษาที่วัดบูรพา ในปี พ.ศ. ๒๔๕๘ นั้น ปีนั้นท่านมีพรรษาได้ ๒๕ พรรษา ขณะที่ท่านจำพรรษาอยู่นั้น ท่านก็พิจารณาว่า ใครหนอจะเป็นผู้ควรแก่การสั่งสอน
    พระราชธรรมเจติยาจารย์ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร) ได้บันทึกเรื่องราวหลวงปู่สิงห์ไว้ในหนังสือประวัติท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถร ดังนี้
    “ในขณะนั้นท่านอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม เป็นครูสอนนักเรียนอยู่เหมือนกับครูอื่น ๆ เป็นครูที่สอนวิชาสามัญแก่นักเรียนเป็นเวลาหลายปีมาแล้ว ท่านอาจารย์สิงห์ ท่านได้ยินกิตติศัพท์ว่า ท่านอาจารย์มั่นฯ เป็นพระนักปฏิบัติที่เคร่งครัดมาก ก็ใคร่ที่จะได้ศึกษาธรรมปฏิบัติ
    ในวันหนึ่งหลังจากเลิกสอนนักเรียนแล้ว ท่านก็ได้ไปนมัสการท่านอาจารย์มั่นฯ ที่วัดบูรพา ขณะนั้นเป็นเวลา ๑ ทุ่มแล้ว เมื่อเข้าไปเห็นท่านอาจารย์มั่นฯ กำลังเดินจงกรมอยู่ ท่านก็รออยู่ครู่ใหญ่ จนท่านอาจารย์เลิกจากการเดินจงกรม เหลือบไปเห็นท่านอาจารย์สิงห์ซึ่งนั่งอยู่ที่โคนต้นมะม่วง ท่านจึงได้เรียกและพากันขึ้นไปบนกุฏิ หลังจากท่านอาจารย์สิงห์กราบแล้ว ท่านอาจารย์มั่น ฯ ก็ได้พูดขึ้นว่า
    “เราได้รอเธอมานานแล้ว ที่อยากจะพบและต้องการชักชวนให้ปฏิบัติธรรมด้วยกัน”
    เมื่อได้ยินเช่นนั้น ท่านอาจารย์สิงห์ถึงกับตกตะลึง เพราะท่านได้ทราบจิตใจของท่านอาจารย์สิงห์มาก่อน เนื่องจากท่านอาจารย์ได้ตั้งใจมาหลายเวลาแล้วที่จะขอมาพบกับท่าน เพื่อฝากตัวเป็นศิษย์ปฏิบัติธรรมด้วย พอท่านอาจารย์สิงห์ฯ ได้ฟังเช่นนั้นก็รีบตอบท่านไว้ว่า
    “กระผมอยากจะปฏิบัติธรรมกับท่านมานานแล้ว”
    กล่าวจบท่านอาจารย์มั่น ฯ จึงได้อธิบายให้ฟังว่า
    “การบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์นั้นจักต้องปฏิบัติกัมมัฏฐาน คือพิจารณา ตจปัญจกกัมมัฏฐาน เป็นเบื้องแรกเพราะเป็นหนทางพ้นทุกข์ได้อย่างแท้จริง พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ทรงตรัสรู้ธรรมด้วยการปฏิบัติอริยสัจจธรรม ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค”
    เมื่ออธิบายไปพอสมควร ท่านก็แนะนำวิธีนั่งสมาธิ ท่านอาจารย์มั่น ฯ เป็นผู้นำนั่งสมาธิในตอนนั้นเป็นเวลาประมาณ ๑ ชั่วโมง ท่านอาจารย์สิงห์ก็เกิดความสงบ แล้วจิตสว่างไสวขึ้นทันที เป็นการอัศจรรย์ยิ่ง ภายหลังจากนั่งสมาธิเสร็จแล้ว ท่านอาจารย์มั่นฯ ก็ได้อธิบายถึงวิธีพิจารณากาย โดยใช้กระแสจิตพิจารณาจนเป็นที่พอใจแล้ว ท่านอาจารย์สิงห์ก็ได้ลากลับไป
    จากนั้นมาท่านก็พยายามนั่งสมาธิทุกวัน จนเกิดความเย็นใจเกิดขึ้นเป็นลำดับ
    อยู่มาวันหนึ่งท่านอาจารย์สิงห์ก็ไปสอนนักเรียนตามปรกติ (ขณะนั้นท่านเป็นครูสอนนักเรียนชั้นวิสามัญในโรงเรียนสร่างโศรกเกษมศิลป์) ซึ่งเด็กนักเรียนในสมัยนั้น เรียนรวมกันทั้งชายและหญิง และอายุการเรียนก็มาก ต้องเรียนถึงอายุ ๑๘ ปี เป็นการบังคับให้เรียนจบ ป. ๔
    ขณะที่ท่านกำลังสอนนักเรียน มองดูเด็กนักเรียนเห็นแต่โครงกระดูกนั่งอยู่เต็มห้องไปหมด ไม่มีหนังหุ้มอยู่เลยสักคนเดียว จำนวนนักเรียนประมาณ ๓๘ คนได้มองเห็นเช่นนั้นไปหมดทุกคนเลย แม้ท่านจะพยายามขยี้ตาดูก็เห็นเป็นเช่นนั้น ที่สุดก็เกิดความสังเวชใจขึ้นแก่ท่านเป็นอย่างมาก แล้วก็เกิดความเบื่อหน่ายต่อสังขารเป็นอย่างยิ่ง. จึงนับเป็นสิ่งมหัศจรรย์นัก เพราะธรรมดาปฏิภาคนิมิตต้องเกิดในขณะหลับตาอยู่ในฌานจริง ๆ แต่ท่านกลับเห็นทั้งหลับคาและลืมตา อาการที่ท่านเห็นเป็นอยู่เช่นนั้นเป็นเวลานาน จนนักเรียนพากันสงสัยว่า ทำไมครูจึงนั่งนิ่งอยู่เช่นนั้น ทุกคนเงียบกริบ เวลาได้ล่วงไปนานโขทีเดียว ตาของท่านจึงค่อยปรากฏเห็นร่างของเด็ก นักเรียนในชั้นเหล่านั้นมีเนื้อหนังขึ้นจนปรากฏเป็นปรกติ หลังจากนั้นท่านก็พูดกับเด็กนักเรียนทั้งหลายเป็นการอำลาว่า
    “นักเรียนทุกคน บัดนี้ครูจะได้ขอลาออกจากความเป็นครูตั้งแต่บัดนี้แล้ว เนื่องจากครูได้เกิดความรู้ในพระพุทธศาสนา ได้เห็นความจริงเสียแล้ว”
    และท่านก็ได้ลาออกจากการเป็นครู เพื่อตั้งหน้าปฏิบัติธรรมอย่างจริงจังต่อไป และในปีนั้นหลังจากที่ได้กราบถวายตัวเป็นศิษย์ท่านพระอาจารย์มั่นแล้ว หลวงปู่สิงห์ก็ได้นำพระปิ่น ปญฺญาพโล ผู้น้องชายเข้ากราบนมัสการและฟังธรรมกับพระอาจารย์มั่นด้วย ทำให้พระมหาปิ่นเกิดความศรัทธามาก และได้ให้ปฏิญาณว่า จะขอลาไปศึกษาพระปริยัติธรรมที่กรุงเทพฯ สัก ๕-๖ ปี แล้วจึงจะออกมาปฏิบัติธรรมด้วย
    หลวงปู่สิงห์พบกัลยาณมิตร
    <table id="table8" align="left" border="0"><tbody><tr><td class="pic_descript"> [​IMG]</td></tr><tr><td class="pic_descript"> หลวงปู่ดูลย์ อตุโล
    </td></tr></tbody></table> ในช่วงเวลาเดียวกันของปี พ.ศ. ๒๔๕๘ ทางด้านจังหวัดสุรินทร์ หลวงปู่ดูลย์ อตุโลซึ่งขณะนั้นได้บวชเป็นพระภิกษุได้ ประมาณ ๕ พรรษา พำนักอยู่ที่วัดบ้านคอโค จังหวัดสุรินทร์ ได้ยินกิตติศัพท์เกี่ยวกับการสอนการเรียนพระปริยัติที่จังหวัดอุบลราชธานี ตามแบบของมหามกุฎราชวิทยาลัยแห่งวัดบวรนิเวศวิหาร ท่านก็มีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะเดินทางไปศึกษายังจังหวัดอุบลฯ
    ท่านได้เพียรขออนุญาตพระอุปัชฌาย์เพื่อเดินทางไปศึกษา แต่ก็ถูกทัดทานในเบื้องต้น เพราะในระยะนั้นการเดินทางจากสุรินทร์ไปอุบลราชธานีลำบากยากเข็ญเป็นอย่างยิ่ง
    ท่านเพียรขออนุญาตหลายครั้ง นี่สุดเมื่อพระอุปัชฌาย์เห็นความมุ่งมั่นของท่าน จึงได้อนุญาต ท่านจึงได้ออกเดินทางไปกับพระภิกษุอีก ๒ องค์ คือ พระคง และ พระดิษฐ์
    เมื่อท่านได้เดินทางไปถึงอุบลราชธานี หลวงปู่ดูลย์ต้องประสบปัญหาในเรื่องที่พัก เนื่องจากท่านบวชในมหานิกาย ขณะที่ วัดสุปัฏนาราม และ วัดสุทัศนาราม แหล่งศึกษาพระปริยัติธรรมนั้นเป็นวัดฝ่ายสงฆ์ธรรมยุต
    โชคดีที่ได้พบ พระมนัส ซึ่งได้เดินทางมาเรียนอยู่ก่อนแล้ว ได้ให้ความช่วยเหลือฝากให้อยู่อาศัยที่ วัดสุทัศนารามได้ แต่อยู่ในฐานะพระอาคันตุกะ ทำให้ความราบรื่นในทางการเรียนค่อยบังเกิดขึ้นเป็นลำดับ
    การที่ท่านได้พักในวัดสุทัศนารามก็เป็นเหตุให้ท่านได้มีโอกาสรู้จักคุ้นเคยกับ หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม ซึ่งขณะนั้นท่านรับราชการครู ทำหน้าที่สอนฆราวาส ทั้งที่ยังเป็นพระสงฆ์อยู่ที่วัดสุทัศนาราม จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อรู้จักคุ้นเคยกันมากเข้า ประกอบกับ หลวงปู่สิงห์ และหลวงปู่ดูลย์ มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน แต่หลวงปู่ดูลย์อ่อนพรรษากว่า ๑ พรรษา หลวงปู่สิงห์จึงชอบอัธยาศัยไมตรีของหลวงปู่ดูลย์ และเห็นปฏิปทาในการศึกษาเล่าเรียน พร้อมทั้งการประพฤติปฏิบัติกิจในพระศาสนาของท่าน ว่าเป็นไปด้วยความตั้งใจจริง และต่างฝ่ายต่างจึงเป็นกัลยาณมิตรกันมาโดยตลอด
    ครั้นเมื่อหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม ได้กราบท่านพระอาจารย์มั่นฝากตัวขอเป็นศิษย์แล้ว เมื่อได้โอกาสก็ได้นำหลวงปู่ดูลย์เข้าไปกราบเป็นศิษย์อีกองค์หนึ่งด้วย
    หลวงปู่สิงห์ธุดงค์ตามพระอาจารย์มั่น
    เมื่อออกพรรษาในปี ๒๔๕๘ แล้ว ท่านอาจารย์มั่นได้กราบลาพระกรรมวาจาจารย์ (พระครูสีทา ชยเสโน) เพื่อไปติดตามพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลเถร ซึ่งขณะนั้นท่านจำพรรษาอยู่ที่ถ้ำภูผากูด บ้านหนองสูง อำเภอคำชะอี จังหวัดนครพนม (ปัจจุบันขึ้นอยู่กับจังหวัดมุกดาหาร)
    ในคราวนั้น ท่านอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ทราบว่าท่านอาจารย์มั่นธุดงค์ไป ท่านก็ธุดงค์ตามไปติดๆ กับท่านอาจารย์มั่น แต่พอก่อนจะถึงถ้ำภูผากูด ท่านก็ล้มเจ็บเป็นไข้ป่า จึงได้เดินทางกลับมารักษาตัวอยู่ที่จังหวัดอุบลฯ
    หลวงปู่สิงห์ธุดงค์ไปโปรดศิษย์
    <table id="table7" align="right" border="0"><tbody><tr><td class="pic_descript"> [​IMG]
    </td></tr><tr><td class="pic_descript"> หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
    </td></tr></tbody></table> ก่อนเข้าพรรษา พ.ศ. ๒๔๕๙ หลังจากที่รักษาไข้ป่าจนสงบไปแล้ว หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม ได้เดินรุกขมูล ไปกับพระอาจารย์คำ มาถึงวัดบ้านนาสีดา ตำบลกลางใหญ่ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นบ้านเกิดของหลวงปู่เทสก์ เทสรํสี ซึ่งในขณะนั้นยังเป็นนายเทสก์ เรี่ยวแรง อายุย่าง ๑๕ ปี นายเทสก์ และบิดาได้อุปัฏฐากหลวงปู่สิงห์อยู่ ๒ เดือน ทีแรกท่านตั้งใจจะอยู่จำพรรษา ณ ที่นั้น แต่เนื่องด้วยท่านมีเชื้อไข้ป่าอยู่แล้ว พอมาถึงที่นั้นเข้า ไข้ป่าของท่านยิ่งกำเริบขึ้น พอจวนเข้าพรรษาท่านจึงได้ออกไปจำพรรษา ณ ที่วัดร้างบ้านนาบง ตำบลน้ำโมง อำเภอท่าบ่อ นายเทสก์ก็ได้ตามท่านไปด้วย ในพรรษานั้นท่านเป็นไข้ตลอดพรรษา ถึงอย่างนั้นก็ตาม ในเวลาว่างท่านยังได้เมตตาสอนหนังสือและอบรมนายเทสก์บ้างเป็นครั้งคราว จวนออกพรรษาท่านได้ชวนนายเทสก์ให้ติดตามท่านไปโดยท่านได้บอกว่า ออกพรรษาแล้วจะต้องกลับบ้านเดิม แล้วท่านถามนายเทสก์ว่า เธอจะไปด้วยไหม ทางไกลและลำบากมากนะ นายเทสก์ตอบท่านทันทีว่า ผมไปด้วยครับ
    หลวงปู่สิงห์ได้พานายเทสก์ออกเดินทางทางจากท่าบ่อ ลุยน้ำลุยโคลน บุกป่าผ่าต้นข้าวตามทุ่งนาไปโดยลำดับ เวลาท่านจับไข้ก็ขึ้นนอนบนขนำนาหรือตามร่มไม้ที่ไม่มีน้ำชื้นแฉะ รุ่งเช้าท่านยังอุตส่าห์ออกไปบิณฑบาตมาเลี้ยงนายเทสก์ด้วย เดินทางสามคืนจึงถึงอุดรฯ แล้วพักอยู่วัดมัชฌิมาวาสสิบคืนจึงได้ออกเดินทางต่อไปทางจังหวัดขอนแก่น ผ่านมหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร การเดินทางครั้งนี้ใช้เวลาเดือนเศษ จึงถึงบ้านหนองขอน ตำบลหัวตะพาน อำเภออำนาจเจริญ อันเป็นบ้านเกิดของท่าน ท่านพักอบรมโยมแม่ของท่าน ณ ที่นั้นราวสามเดือน และหลวงปู่สิงห์ก็ได้ดำเนินการให้นายเทสก์ได้บรรพชาเป็นสามเณร กับพระอุปัชฌาย์ลุย บ้านเค็งใหญ่ ตำบลเค็งใหญ่ อำเภอหัวตะพาน และได้พาสามเณรเทสก์มาพักอยู่ที่วัดสุทัศนาราม จังหวัดอุบลราชธานีซึ่งเคยเป็นพี่พักอยู่เดิมของท่าน หลังจากนั้นท่านก็ได้ปล่อยให้สามเณรเทสก์ ได้อยู่ศึกษาที่โรงเรียนวัดศรีทอง
    พระปิ่นผู้น้องชายเข้ากรุงเทพฯ
    ในปี ๒๔๖๐ หลวงปู่สิงห์ได้จัดการส่งพระปิ่น น้องชายของท่านออกเดินทางจากจังหวัดอุบลราชธานี เข้าไปอยู่จำพรรษาอยู่ที่ วัดบวรนิเวศวิหาร พระปิ่นได้ตั้งใจ ศึกษาเล่าเรียนจากสำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหารนั้น เป็นเวลา ๕ ปี และได้หาความรู้อย่างทุ่มเทชีวิต ความมุมานะอดทนทำให้ท่าน สอบนักธรรมชั้นตรี โท เอก จนกระทั่งได้เปรียญธรรม ๕ ประโยค ตามลำดับ
    ช่วยหลวงปู่ดูลย์ให้ได้ญัตติเป็นธรรมยุต
    หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโมนั้น นอกจากนำพาให้หลวงปู่ดูลย์เข้าเป็นศิษย์ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต พระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนากัมมัฎฐานแล้ว ยังเป็นภาระช่วยให้หลวงปู่ได้ญัตติอยู่ในฝ่ายธรรมยุต ต่อมาได้อีกด้วย
    เรื่องก็มีอยู่ว่า หลวงปู่ดูลย์นั้นท่านได้พยายามอย่างยิ่งที่จะญัตติจากมหานิกายมาเป็นธรรมยุติกนิกาย ท่านบวชเป็นพระในสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย จึงมีปัญหาในด้านการเรียนกับวัดที่เป็นธรรมยุติกนิกาย ท่านจึงมีความคิดที่จะเปลี่ยนนิกายใหม่อันเป็นความคิดที่ค้างคาใจของท่านอยู่แต่เดิม แต่ทางคณะสงฆ์ธรรมยุต โดยเฉพาะพระธรรมปาโมกข์ (ติสฺโส อ้วน) เจ้าคณะมณฑลในขณะนั้น ได้ให้ความเห็นว่า “อยากจะให้ท่านศึกษาเล่าเรียนไปก่อน ไม่ต้องญัตติ เนื่องจากทางคณะสงฆ์ธรรมยุตมีนโยบายจะให้ท่านกลับไปพัฒนาการศึกษาพระปริยัติธรรม ที่จังหวัดสุรินทร์ หากท่านญัตติเปลี่ยนนิกายเป็นธรรมยุต ท่านจะต้องอยู่โดดเดี่ยว เนื่องจากในสมัยนั้นยังไม่วัดฝ่ายธรรมยุตที่จังหวัดสุรินทร์เลย”
    แต่ตามความตั้งใจของหลวงปู่ดูลย์เองนั้น มิได้มีความประสงค์จะกลับไปสอนพระปริยัติธรรม จึงได้พยายามขอญัตติต่อไปอีก
    ต่อมา ซึ่งจะนับว่าเป็นโชคของท่านก็ว่าได้ หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม ซึ่งเป็นสัทธิวิหาริก อันดับ ๒ ของสมเด็จ เมื่อทราบเรื่องเข้าก็ได้ช่วยเหลือหลวงปู่ดูลย์ในการขอญัตติ จนกระทั่งประสบผลสำเร็จ
    ดังนั้น ใน พ.ศ. ๒๔๖๑ ขณะเมื่ออายุ ๓๑ ปี หลวงปู่ดูลย์จึงได้ญัตติจากนิกายเดิมมาอุปสมบทเป็นพระภิกษุในธรรมยุติกนิกาย ณ พัทธสีมา วัดสุทัศน์ฯ จังหวัดอุบลราชธานี นั้นเอง

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 พฤษภาคม 2011
  17. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    ออกธุดงค์กับหลวงปู่ดูลย์
    ครั้นถึงกาลจวนเข้าพรรษา ในปี พ.ศ. ๒๔๖๓ หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโมและสหธรรมิกอีก ๕ รูป คือ พระอาจารย์ดูลย์, พระอาจารย์บุญ, พระอาจารย์สีทา และพระอาจารย์หนู จึงได้เดินธุดงค์แสวงหาที่สงบวิเวกเพื่อบำเพ็ญเพียรในกาลเข้าพรรษานั้น นับว่าเป็นโอกาสอันดียิ่งของพระอาจารย์ดูลย์ อตุโล ในการออกธุดงค์ครั้งแรกที่ได้ร่วมเส้นทางไปกับหลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม
    คณะของหลวงปู่สิงห์ เดินธุดงค์เลียบเทือกเขาภูพานมาจนกระทั่งถึงป่าท่าคันโท จ.กาฬสินธุ์ มีความเห็นตรงกันว่าสภาพป่าแถบนี้มีความเหมาะสมที่จะอยู่จำพรรษาเป็นอย่างยิ่ง จึงได้สมมติเอาบริเวณป่านั้นเป็นวัดป่า แล้วก็อธิษฐานอยู่จำพรรษา ณ ที่นั้น จากนั้นทุกองค์ก็ตั้งสัจจะปรารภความเพียรอย่างแน่วแน่ ดำเนินข้อวัตรปฏิบัติตามคำแนะนำสั่งสอนของพระอาจารย์ใหญ่มั่นอย่างอุกฤษฏ์
    บริเวณป่าท่าคันโทแถบเทือกเขาภูพาน ที่หลวงปู่สิงห์ และสหายธรรมได้อธิษฐานจำพรรษาอยู่นั้น เป็นป่ารกชัฏ ชุกชุมไปด้วยสัตว์ร้ายและยุงอันเป็นพาหะของไข้มาลาเรีย และในระหว่างพรรษานั้นคณะของหลวงปู่สิงห์ ยกเว้นพระอาจารย์หนูรูปเดียว ต่างก็เป็นไข้มาลาเรีย ยาที่จะรักษาก็ไม่มี จนกระทั่งพระรูปหนึ่งมรณภาพไปต่อหน้าต่อตา ยังความสลดสังเวชให้กับผู้ที่ยังคงอยู่เป็นอย่างยิ่ง
    หลังออกพรรษา ในปี พ.ศ.๒๔๖๔ แล้ว คณะของหลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโมที่จำพรรษาอยู่ที่ป่าคันโท กาฬสินธุ์ ต่างก็แยกย้ายกันเดินธุดงค์ต่อไป เพื่อค้นหาพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พระอาจารย์ดูลย์ได้ร่วมเดินทางไปกับหลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม แต่ภายหลังได้แยกทางกัน ต่างมุ่งหน้าตามหาพระอาจารย์มั่นตามประสงค์
    หลังจากแยกจากพระอาจารย์ดูลย์แล้ว หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโมได้จาริกตามลำพังเพื่อตามพระอาจารย์มั่น
    หลวงปู่ดูลย์พบพระอาจารย์มั่นอีกครั้ง
    พระอาจารย์ดูลย์เองก็ได้จาริกตามลำพังเช่นกัน มาจนถึงบ้านม่วงไข่ ตำบลพังโคน จังหวัดสกลนคร แล้วจึงได้ไปพักอยู่ที่วัดโพธิ์ชัย ได้ไปพบท่านอาญาครูดี พระอาจารย์กู่ และพระอาจารย์ฝั้น คณะของท่านอาญาครูดีจึงได้ศึกษาธรรมเบื้องต้นกับพระอาจารย์ดูลย์อยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง และเนื่องจากต่างก็มีความประสงค์จะตามหาพระอาจารย์มั่นด้วยกันอยู่แล้ว ดังนั้นพระอาจารย์ทั้ง ๔ จึงได้ร่วมกันเดินธุดงค์ติดตาม โดยพระอาจารย์ดูลย์รับหน้าที่เป็นผู้นำทาง
    เมื่อธุดงค์ติดตามไปถึงตำบลบ้านคำบก อำเภอหนองสูง (ปัจจุบัน อำเภอคำชะอี) จังหวัดนครพนม จึงทราบว่า พระอาจารย์มั่นอยู่ที่บ้านห้วยทราย และกำลังเดินธุดงค์ต่อไปยังอำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร พระอาจารย์ทั้งสี่จึงรีบติดตามไปอย่างเร่งรีบ จนกระทั่งถึงบ้านตาลเนิ้ง อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร และสอบถามชาวบ้านที่นั่นได้ความว่า มีพระธุดงค์เป็นจำนวนมากมาชุมนุมกันอยู่ในป่าใกล้ ๆ หมู่บ้าน ท่านรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่ง ด้วยมั่นใจว่าต้องเป็นพระอาจารย์มั่นอย่างแน่นอน จึงรีบเดินทางไปยังป่าแห่งนั้นทันที และเมื่อไปถึงก็เป็นความจริงดังที่ท่านมั่นใจ
    ขณะนั้น พระอาจารย์สิงห์ซึ่งได้ธุดงค์แยกกันกับหลวงปู่ดูลย์ มาพบพระอาจารย์มั่นก่อน และพักแยกกับพระอาจารย์มั่นอยู่ที่บ้านหนองหวาย ในวันนั้นหลวงปู่สิงห์เข้ามาฟังธรรมกับพระอาจารย์มั่น ขณะที่หลวงปู่ดูลย์มาถึงก็เห็นท่านและพระรูปอื่น ๆ นั่งแวดล้อมพระอาจารย์มั่นอยู่ด้วยอาการสงบ ขณะนั้นเป็นปี พ.ศ. ๒๔๖๔
    พระอาจารย์ทั้งสี่ได้ศึกษาธรรมอยู่กับพระอาจารย์มั่นเป็นเวลา ๓ วัน จากนั้นจึงได้ไปกราบนมัสการพระอาจารย์เสาร์ ที่บ้านหนองดินดำ แล้วไปหาพระอาจารย์สิงห์ ที่บ้านหนองหวาย ตำบลเดียวกัน ศึกษาธรรมอยู่กับท่านอีก ๗ วัน จากนั้นก็ได้กลับไปอยู่บ้านตาลเนิ้ง และได้ไปรับฟังธรรมจากพระอาจารย์มั่นอยู่เสมอ ๆ
    ต่อมาพระอาจารย์ฝั้น กับสามเณรพรหม สุวรรณรงค์ ผู้มีศักดิ์เป็นหลาน ได้เดินธุดงค์ไปอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี และได้ไปภาวนาอยู่ที่ถ้ำพระบท เมื่อครบ ๑๕ วันแล้ว พระอาจารย์ฝั้นจึงได้พาสามเณรพรหมออกเที่ยวธุดงค์ต่อไป
    พระอาจารย์ฝั้นก็พาสามเณรพรหม เดินทางไปนมัสการพระอาจารย์มั่นที่บ้านนาสีดา ตำบลกลางใหญ่ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
    ต่อจากนั้นพระอาจารย์มั่นได้ถามพระอาจารย์ฝั้นด้วยว่า จะไปเรียน “หนังสือใหญ่” คือเรียนประถมกัปป์ ประถมมูล กับมูลกัจจายน์ ตามที่ได้ตั้งใจไว้จริง ๆ หรือ พระอาจารย์ฝั้นตอบว่า มีเจตนาไว้เช่นนั้นจริง พระอาจารย์มั่นเห็นความตั้งใจอย่างเด็ดเดี่ยวของพระอาจารย์ฝั้นจึงบอกว่า ท่านฝั้น ไม่ต้องไปเรียนถึงเมืองอุบลหรอก อยู่กับผมที่นี่ก็แล้วกัน ผมจะสอนให้จนหมดไส้หมดพุงเลยทีเดียว หากยังไม่จุใจค่อยไปเรียนต่อทีหลัง ส่วนเณรพรหม เธอจะไปเรียนที่เมืองอุบลก็ได้ ตามใจสมัคร
    สามเณรพรหมจึงได้แยกกันกับพระอาจารย์ฝั้น ตอนนั้นเป็นปลายปีพุทธศักราช ๒๔๖๔
    สามเณรพรหมลงไปเมืองอุบล กับพระอาจารย์สิงห์ ส่วนพระอาจารย์ฝั้นอยู่เรียน “หนังสือใหญ่” กับพระอาจารย์มั่น
    หลวงปู่สิงห์กลับอุบลฯ
    <table id="table6" align="left" border="0"> <tbody><tr> <td class="pic_descript"> [​IMG]
    </td> </tr> <tr> <td class="pic_descript"> พระมหาปิ่น ปญฺญพโล
    </td> </tr> </tbody></table> จนกระทั่ง ในช่วงประมาณปี พ ศ ๒๔๖๖ หลังจากพระมหาปิ่น สอบได้เปรียญธรรม ๕ ประโยค จากสำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ แล้ว จึงได้กลับมาอุบลฯ บ้านเกิดตามที่ปฏิญาณไว้แล้วมาพักที่วัดสุทัศนาราม ได้เป็นครูสอน นักธรรมบาลีแก่พระภิกษุสามเณร ตลอดจนชาวบ้าน เพื่อสนองคุณครูบาอาจารย์
    ในปีนั้นเองโยมมารดาของหลวงปู่สิงห์ ซึ่งอยู่ที่บ้านหนองขอน จ.อุบลนั้นเองก็ได้ถึงแก่กรรม ขณะนั้นหลวงปู่สิงห์ได้ออกธุดงค์ไปกับพระอาจารย์มั่น ดังนั้นพระมหาปิ่น ปญฺญาพโล ผู้เป็นน้องชายจึงได้เป็นผู้จัดการเกี่ยวกับงานศพของโยมมารดาและจัดการฌาปนกิจศพ ส่วนหลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโมเมื่อได้ข่าวเรื่องโยมมารดาถึงแก่กรรมและทราบว่าพระน้องชายกลับจากกรุงเทพฯ มาอยู่ที่วัดสุทัศน์แล้ว ก็ได้พาคณะรวม ๖ องค์ คือ พระ ๔ องค์ สามเณร ๒ องค์ มาจำพรรษาที่วัดสุทัศน์ด้วย
    หลวงปู่สิงห์ ร่วมกับหลวงปู่ดูลย์ ชักจูงพระน้องชายให้มาสนใจกรรมฐาน
    ต่อมา หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโมผู้เป็นพี่ชาย เห็นว่า พระมหาปิ่นผู้เป็นเปรียญธรรมจากสำนักวัดบวรนิเวศวิหาร มีความรู้ด้านพระปริยัติธรรมอย่างแตกฉานนั้น สนใจแต่ทางปริยัติอย่างเดียว ไม่นำพาต่อการบำเพ็ญภาวนาฝึกฝนจิตและธุดงค์กัมมัฏฐานเลย จึงได้คิดหาทางชักจูงพระน้องชายให้หันมาในใจทางด้านการปฏิบัติกัมมัฏฐานบ้าง มิฉะนั้นต่อไปจะเอาตัวไม่รอด
    พอดีปี ๒๔๖๗ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ซึ่งได้กราบลาพระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทตฺโต ซึ่งจำพรรษาอยู่ที่บ้านค้อ อำเภอบ้านผือ อุดรธานี แล้วก็ออกเดินทางมุ่งไปจังหวัดสุรินทร์ ในระหว่างทางหลวงปู่ดูลย์ได้แวะเยี่ยม หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม พระสหธรรมิกผู้มีคุณูปการใหญ่หลวงแก่ท่าน ขณะนั้นหลวงปู่สิงห์ธุดงค์อยู่ในแถบจังหวัดกาฬสินธุ์
    หลวงปู่สิงห์ เมื่อได้พบกับหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ก็ปรารภปัญหาเกี่ยวกับพระมหาปิ่นผู้น้องชายและขอคำปรึกษาและอุบายธรรมจากหลวงปู่ดูลย์และขอร้องให้มาช่วยกล่อมใจพระน้องชาย ในเรื่องว่า หากต้องการพ้นทุกข์ จะมาหลงปริยัติเพียงอย่างเดียวไม่ได้ เพราะปริยัติธรรมนั้น เป็นเพียงแผนที่แนวทางเท่านั้น
    หลวงปู่สิงห์ จึงชักชวนหลวงปู่ดูลย์ ให้เดินทางไปจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อให้ช่วยชักนำพระมหาปิ่นให้สนใจในทางปฏิบัติพระกัมมัฏฐานบ้าง ไม่เช่นนั้นจะไปไม่รอด
    หลวงปู่ทั้ง ๒ องค์ ได้พักจำพรรษาที่ วัดสุทัศนาราม วัดที่ท่านเคยอยู่มาก่อน คราวนี้ท่านได้ปลูกกุฏิหลังเล็กๆ อยู่ต่างหาก ปฏิบัติพระกัมมัฏฐานอย่างเคร่งครัด แล้วก็ค่อยๆ โน้มน้าวจิตใจให้พระมหาปิ่นเกิดความศรัทธาเลื่อมใสทางด้านการปฏิบัติด้วย
    ทั้งหลวงปู่สิงห์ และหลวงปู่ดูลย์ ได้ชี้แจงแสดงเหตุผลว่า ในการครองเพศสมณะนั้น แม้ว่าได้บวชมาในพระบวรพุทธศาสนาก็นับว่าดีประเสริฐแล้ว ถ้าหากมีการปฏิบัติให้รู้แจ้งในธรรม ก็จะยิ่งประเสริฐขึ้นอีก คือจะเป็นหนทางออกเสียซึ่งความทุกข์ ตามแนวคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    พระมหาปิ่น ปญฺญาพโล เป็นพระสงฆ์ที่มีสติปัญญา พิจารณาปฏิปทาข้อวัตรปฏิบัติธรรม พร้อมทั้งคำเทศน์ของพระอาจารย์ทั้ง ๒ องค์ ที่ได้กระทำเป็นแบบอย่าง ก็เกิดความเลื่อมใสเป็นอย่างยิ่ง
    โดยปกติแล้วหลวงปู่สิงห์ และหลวงปู่ดูลย์ เป็นนักปฏิบัติธรรมขั้นสูง แม้จะมีความอาวุโส แต่ก็มีลักษณะประจำตัวในการรู้จักนอบน้อมถ่อมตนระมัดระวังกาย วาจา ใจ ไม่คุยโม้โอ้อวดว่าตนเองได้ธรรมขั้นสูง และเห็นว่าธรรมะเป็นสมบัติอันล้ำค่าของนักปราชญ์มาประจำแผ่นดิน ซึ่งควรระมัดระวัง ให้สมกับผู้มีภูมิธรรมในใจ
    พระมหาปิ่น ได้พิจารณาด้วยเหตุด้วยผลอย่างรอบคอบแล้ว พอถึงกาลออกพรรษา จึงรีบเตรียมบริขาร แล้วออกธุดงค์ติดตามหลวงปู่สิงห์ พระพี่ชาย ไปทุกหนทุกแห่ง ทนต่อสู้กับอุปสรรคยากไร้ ท่ามกลางป่าเขา มุ่งหาความเจริญในทางธรรม จนสามารถรอบรู้ธรรมด้วยสติปัญญาของท่านในกาลต่อมา
    การที่พระมหาปิ่น ปญฺญาพโล ออกธุดงค์กัมมัฏฐานในครั้งนั้นประชาชนในภาคอิสาน ได้แตกตื่นชื่นชมกันมากว่า "พระมหาเปรียญธรรมหนุ่มจากเมืองบางกอก ได้ออกฝึกจิต ดำเนินชีวิตสมณเพศ ตัดบ่วง ไม่ห่วงอาลัยในยศถาบรรดาศักดิ์ ออกป่าดง เดินธุดงค์กัมมัฏฐานฝึกสมาธิภาวนาเป็นองค์แรกในสมัยนั้น"
    ชื่อเสียงของพระมหาปิ่น ปญฺญาพโล ในครั้งนั้นจึงหอมฟุ้งร่ำลือไปไกล ท่านได้ยืนเคียงบ่าเคียงไหล่กับพี่ชาย คือ หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม นำกองทัพธรรม ออกเผยแพร่พระธรรมคำสอนในสายพระธรรมกัมมัฏฐาน จนมีผู้เลื่อมใสศรัทธาอย่างกว้างขวางมาจนปัจจุบัน
    หลวงปู่สิงห์ พาพระน้องชายออกธุดงค์
    ในปี พ.ศ. ๒๔๖๗ เมื่อออกพรรษาหมดเขตกฐินแล้ว หลวงปู่สิงห์ได้พาพวกศิษย์เป็นคณะใหญ่ออกเดินธุดงค์ การออกเดินธุดงค์ครั้งนี้ ผู้ที่ออกใหม่ นอกจากพระมหาปิ่นแล้วแล้ว ยังมี พระเทสก์ เทสรํสี พระคำพวย พระทอน บ้านหัววัว อ.ลุมพุก จ.อุบลฯ และสามเณรอีก ๒ รูป รวมทั้งหมดแล้ว ๑๒ องค์ด้วยกัน
    คณะธุดงค์ของหลวงปู่สิงห์ได้เดินทางออกจากเมืองอุบล ในระหว่างเดือน ๑๒ แล้วได้พักแรมมาโดยลำดับ จนถึงบ้านหัวตะพาน อำนาจเจริญ แล้วพักอยู่นั่นนานพอควร แล้วย้ายไปพักที่บ้านหัวงัว อำเภอกุดชุม เตรียมเครื่องบริขารพร้อมแล้ว จึงได้ออกเดินรุกขมูล การออกเดินรุกขมูลครั้งนี้ ถึงแม้จะไม่ได้วิเวกเท่าที่ควร เพราะเดินด้วยกันเป็นคณะใหญ่ แต่ก็ได้รับรสชาติของการออกเที่ยวรุกขมูลพอสมควร
    หลวงปู่สิงห์พาคณะบุกป่ามาทางร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ ผ่านดงลิงมาออกอำเภอสหัสสขันธ์ เข้าเขตกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี แต่ไม่ได้เข้าในเมือง เว้นไปพักอยู่บ้านเชียงพินตะวันตก จังหวัดอุดรธานี เพื่อรอท่านเจ้าคุณพระเทพเมธี (ติสฺโส อ้วน) เจ้าคณะมณฑล ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของหลวงปู่สิงห์ด้วย ที่กำลังมาจากกรุงเทพฯ
    การที่หลวงปู่สิงห์ให้คณะมารออยู่ที่อุดรธานีครั้งนี้ ท่านมีจุดประสงค์อยากให้พระมหาปิ่นมาประจำอยู่ที่นี่ เพราะที่อุดรธานียังไม่มีคณะธรรมยุต แต่ความมุ่งหมายของหลวงปู่สิงห์นั้นก็ไม่เป็นไปดังประสงค์เนื่องจาก เมื่อเจ้าคณะมณฑลมาจากกรุงเทพฯครั้งนี้ พระยาราชนกูลวิบูลย์ภักดีพิริยพาห (อวบ เปาโรหิตย์) อุปราชมณฑลภาคอีสาน (ทีหลังเป็นเจ้าพระยามุขมนตรีศรีสมุหนครบาล) ได้นิมนต์พระมหาจูม พันธุโล เมื่อครั้งมีสมณศักดิ์เป็น พระครูสังฆวุฒิกร (ภายหลังเป็นพระธรรมเจดีย์) มาด้วยเพื่อจะให้มาอยู่วัดโพธิสมภรณ์ อุดรธานี
    ฉะนั้นเมื่อเจ้าคณะมณฑลมาถึงแล้ว หลวงปู่สิงห์จึงพาคณะเข้าไปกราบนมัสการ ท่านจึงกำหนดให้เอาพระมหาปิ่นไปไว้ที่จังหวัดสกลนคร และให้พระเทสก์ เทสรํสีอยู่ช่วยพระมหาปิ่น
    พบพระอาจารย์มั่นเป็นครั้งที่สอง
    เมื่อตกลงกันเรียบร้อยดังนั้นแล้ว หลวงปู่สิงห์ได้พาคณะออกเดินทางไปนมัสการกราบท่านพระอาจารย์เสาร์ และท่านอาจารย์มั่น ที่บ้านค้อ อำเภอบ้านผือ ซึ่งท่านได้จำพรรษาอยู่ ณ ที่นั้น ตกกลางคืนท่านอาจารย์มั่นได้เทศนาอบรมคณะหลวงปู่สิงห์ หลวงปู่เทสก์ได้เล่าเรื่องนี้ไว้ในหนังสือ อัตตโนประวัติของท่านไว้ดังนี้
    “คืนวันนั้นเสร็จจากการอบรมแล้ว ท่านก็สนทนาธรรมสากัจฉากันตามสมควร แล้วจบด้วยการพยากรณ์พระมหาปิ่น แลตัวเราในด้านความสามารถต่าง ๆ นานา ตอนนี้ทำให้เรากระดากใจตนเองในท่ามกลางหมู่เพื่อนเป็นอย่างยิ่ง เพราะตัวของเราเองพึ่งบวชใหม่แลมองดูตัวเราแล้วก็ไม่เห็นมีอะไรพอที่ท่านจะสนใจในตัวของเรา มันทำให้เราขวยเขินอยู่แล้ว แต่คนอื่นเราไม่ทราบเพราะเห็นสถานที่แลความเป็นอยู่ของพระเณรตลอดถึงโยมในวัด เขาช่างสุภาพเรียบร้อย ต่างก็มีกิจวัตรและข้อวัตรประจำของตน ๆ นี่กระไร พอท่านพยากรณ์พระมหาปิ่นแล้วมาพยากรณ์เราเข้า ยิ่งทำให้เรากระดากใจยิ่งเป็นทวีคูณ แต่พระมหาปิ่นคงไม่มีความรู้สึกอะไร นอกจากท่านจะตรวจดูความสามารถของท่านเทียบกับพยากรณ์เท่านั้น”
    รุ่งเช้าฉันจังหันแล้ว หลวงปู่สิงห์ได้พาคณะเดินทางต่อไปบ้านนาสีดา ได้พาพักอยู่ ณ ที่นั่นสี่คืนแล้วย้อนกลับทางเดิม มาพักที่ท่านอาจารย์มั่นที่บ้านค้ออีกหนึ่งคืน จึงเดินทางกลับอุดร แล้วได้เดินทางต่อไปสกลนครตามที่ได้ตกลงไว้กับเจ้าคณะมณฑล แต่การนั้นไม่เป็นไปตามจุดประสงค์ของเจ้าคณะมณฑล เพราะพระมหาปิ่นอาพาธไม่สามารถจะไปรับหน้าที่ที่มอบหมายให้ได้ ฉะนั้นในพรรษานั้น หลวงปู่สิงห์จึงได้พาคณะไปจำพรรษาที่วัดป่าหนองลาด อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร
    พระอาจารย์มั่นให้ตามท่านไปตั้งวัดที่บ้านสามผง
    ส่วนหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล กับท่านอาจารย์มั่น ฯ พอออกพรรษา ปี พ.ศ. ๒๔๖๗ ท่านก็ออกจากบ้านค้อ อำเภอผือ อุดรธานี พาคณะออกธุดงค์ แสวงหาที่สงัดวิเวกแยกกันออกเป็นหมู่เล็ก ๆ เพื่อมิให้เป็นปลิโพธในหมู่มาก ปีนี้ท่านได้เดินธุดงค์ไปทางบ้านนาหมี บ้านนายูง (อุดรธานี) และบ้านผาแดง-แก้งไก่ (หนองคาย) ครั้นท่านอาจารย์มั่น ฯ ได้พักวิเวกอยู่ที่ผาแดง-แก้งไก่ พอสมควรแล้วก็ได้ออกเดินทางไปทางอำเภอท่าบ่อ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ ได้พักจำพรรษาที่วัดราช ใกล้บ้านน้ำโขง อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ส่วนหลวงปู่มั่นได้เข้าไปพักอยู่ที่ราวป่าใกล้กับป่าช้าของอำเภอท่าบ่อนั้น (ปัจจุบันเป็นวัดอรัญญวาสี)
    ขณะเดียวกันพระกรรมฐานกลุ่มของหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม กับ พระมหาปิ่น ปญฺญาพโล ยังคงจำพรรษาอยู่ที่เดิม ที่วัดป่าหนองลาด บ้านปลาโหล อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร
    หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล และคณะศิษย์ ได้อยู่จำพรรษาที่วัดพระงามแห่งนี้นาน ๒ พรรษา คือในปี พ.ศ. ๒๔๖๗ - ๒๔๖๘ เป็นพรรษาที่ ๔๔ และ ๔๕ ของท่าน
    พ.ศ. ๒๔๖๘ เมื่อใกล้จะออกพรรษา ทางด้านพระอาจารย์มั่นก็ได้ประชุมหมู่ศิษย์เพื่อเตรียมออกเที่ยวธุดงค์หาที่วิเวก และได้จัดหมู่ศิษย์ออกไปธุดงค์เป็นพวก ๆ ส่วนท่านเองนั้น พระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก และ พระอาจารย์สีลา อิสฺสโร ได้อาราธนานิมนต์ไปอยู่บ้านสามผง อำเภอท่าอุเทน (ปัจจุบันอยู่ในอำเภอศรีสงคราม) จังหวัดนครพนม หลังออกพรรษาท่านอาจารย์มั่นจึงได้เดินทางมาถึงบ้านหนองลาดที่หลวงปู่สิงห์ พระมหาปิ่น และคณะจำพรรษาอยู่ และท่านให้หลวงปู่สิงห์และคณะตามท่านไปตั้งสำนักที่บ้านสามผง อ.ศรีสงคราม นครพนม
    ในปี พ ศ. ๒๔๖๙ ท่านอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโร ธุดงค์ออกจากวัดพระงาม อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย แล้วก็ไปเชียงคาน จังหวัดเลย ขึ้นไปที่ภูฟ้า ภูหลวง แล้วก็กลับมาจังหวัดอุดรธานี จำพรรษาอยู่ที่เสนาสนะป่า บ้านดงยาง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี
    ท่านอาจารย์มั่นฯ และพระภิกษุสามเณรหลายรูป จำพรรษาที่เสนาสนะป่า บ้านสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ศิษย์อาวุโสองค์อื่นๆ แยกพักจำพรรษาในที่ต่างๆ ดังนี้ :-
    หลวงปู่สิงห์ พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล ผู้เป็นน้องร่วมสายโลหิต และพระอาจารย์เทสก์ เทสฺรํสี จำพรรษาที่ป่าบ้านอากาศ ต.อากาศ อ วานรนิวาส (ปัจจุบันเป็น อ.อากาศอำนวย) จ สกลนคร พระอาจารย์กู่ ธมมทินโน จำพรรษาที่บ้านโนนแดง พระอาจารย์อุ่น ธมมธโร จำพรรษาที่บ้านข่า ใกล้บ้านสามผง ท่านหลวงปู่มั่น และคณะส่วนหนึ่งได้ไปจำพรรษาที่เสนาสนะป่าบ้านสามผง อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม ใกล้กับวัดโพธิ์ชัย ตามคำอาราธนานิมนต์ของพระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก และพระอาจารย์สีลา อิสฺสโร
    วันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๙ พระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก และพระอาจารย์สีลา อิสฺสโร ก็ได้ทำญัตติกรรมพร้อมกับพระภิกษุที่เป็นศิษย์ของท่านทั้งสองอีกประมาณ ๒๐ องค์ อีกด้วย ในจำนวนพระภิกษุที่มาทำการญัตติ มีพระอาจารย์สิม พุทธาจาโร ซึ่งครั้งนั้นยังเป็นสามเณรรวมอยู่ด้วยรูปหนึ่ง โดยได้กระทำพิธีที่อุทกุกเขปสีมา (โบสถ์น้ำ) หนองสามผง สำหรับโบสถ์น้ำที่ท่านจัดสร้างขึ้นนี้ ใช้เรือ ๒ ลำลอยเป็นโป๊ะ เอาไม้พื้นปูเป็นแพ แต่ไม่มีหลังคา เหตุที่สร้างโบสถ์น้ำทำสังฆกรรมคราวนี้ ก็เพราะในป่าจะหาโบสถ์ให้ถูกต้องตามพระวินัยไม่ได้ การทำญัตติกรรมครั้งนี้ ได้อาราธนาท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เมื่อครั้งเป็นพระครูชิโนวาทธำรง มาเป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์มหาปิ่น ปัญญาพโล เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และท่านพระอาจารย์มั่นฯ นั่งหัตถบาสร่วมอยู่ด้วย
    ตามพระอาจารย์มั่นฯ ไปอุบลราชธานี
    หลังจากออกพรรษา ปี พ.ศ. ๒๔๖๙ แล้ว หลวงปู่สิงห์ได้พาคณะไปกราบนมัสการท่านอาจารย์มั่นที่บ้านสามผง ซึ่งท่านได้จำพรรษาอยู่ที่นั่น แล้วพระอาจารย์มั่นก็ได้พาคณะเดินทางมาที่บ้านโนนแดง อำเภอท่าอุเทน (ปัจจุบันอยู่ในกิ่งอำเภอนาหว้า) จังหวัดนครพนม พร้อมด้วยพระภิกษุสามเณรประมาณ ๗๐ รูป และ ได้มีการประชุมหารือกันในเรื่องที่จะไปเผยแพร่ธรรมและไปโปรดเทศนาญาติโยมที่เมืองอุบล และได้วางระเบียบการปฏิบัติเกี่ยวกับการอยู่ป่า เกี่ยวกับการตั้งสำนักปฏิบัติ เกี่ยวกับแนวทางแนะนำสั่งสอนปฏิบัติจิต เพื่อให้คณะศิษย์นำไปปฏิบัติให้เป็นระเบียบเดียวกัน จากนั้น ท่านพระอาจารย์ใหญ่ท่านปรารภว่า เรื่องจะนำโยมแม่ออก (มารดาท่านซึ่งบวชเป็นชี) ไปส่งมอบให้น้องสาวท่านที่จังหวัดอุบลช่วยดูแล เพราะท่านเห็นโยมแม่ท่านชรามาก อายุ ๗๘ ปีแล้ว เกินความสามารถท่านผู้เป็นพระจะปฏิบัติได้แล้ว พระอาจารย์สิงห์ อาจารย์มหาปิ่น ต่างก็รับรองเอาโยมแม่ออกท่านไปส่งด้วย เพราะโยมแม่ออกของพระอาจารย์แก่มากหมดกำลัง ต้องไปด้วยเกวียนจึงจะไปถึงเมืองอุบล ฯ ได้
    การเดินทางไปจังหวัดอุบลราชธานีอันเป็นถิ่นบ้านเกิดเมืองนอนของท่านในครั้งนี้ ถือว่าเป็นครั้งสำคัญครั้งหนึ่ง เพราะบรรดาศิษยานุศิษย์ทั้งใหญ่และเล็กก็ได้เตรียมที่จะเดินทางติดตามท่านในครั้งนี้แทบทั้งนั้น การเดินทางเป็นการเดินแบบเดินธุดงค์ แต่การธุดงค์นั้นเพื่อให้เป็นประโยชน์ด้วย ท่านจึงจัดเป็นคณะๆ ละ ๓ รูป ๔ รูปบ้าง ท่านเองเป็นหัวหน้าเดินทางไปก่อน เมื่อคณะที่ ๒ ไปก็จะพักที่เดิมที่คณะที่ ๑ พัก คณะที่ ๓-๔ เมื่อตามคณะที่ ๒ ไปก็จะพักที่เดิมนั้น ทั้งนี้เพื่อจะได้สอนญาติโยมตามรายทางด้วย การสอนนั้นก็เน้นหนักไปในทางกัมมัฏฐาน และการถึงพระไตรสรณาคมน์ ที่ให้ละการนับถือภูตผีปีศาจต่าง ๆ นานา เป็นการทดลองคณะศิษย์ไปในตัวด้วยว่า องค์ใดจะมีผีมือในการเผยแพร่ธรรม
    ในการเดินทางนั้น พอถึงวันอุโบสถ ก็จะนัดทำปาฏิโมกข์ หลังจากนั้นแล้วก็จะแยกย้ายกันไปตามที่กำหนดหมาย
    การเดินธุดงค์แบบนี้ท่านบอกว่าเป็นการโปรดสัตว์ เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่พุทธบริษัททั้งหลาย และก็เป็นจริงเช่นนั้น แต่ละแห่งที่ท่านกำหนดพักนั้น ตามหมู่บ้าน ประชาชนได้เกิดความเลื่อมใสยิ่งในพระคณะกัมมัฏฐานนั้นเป็นอย่างดีและต่างก็รู้ผิดชอบในพระธรรมวินัยขึ้นมาก ตามสถานที่เป็นที่พักธุดงค์ในการครั้งนั้น ได้กลับกลายมาเป็นวัดของคณะกัมมัฏฐานเป็นส่วนใหญ่ในภายหลัง โดยญาติโยมทั้งหลายที่ได้รับรสพระธรรมได้พากันร่วมอกร่วมใจกันจัดการให้เป็นวัดขึ้น โดยเฉพาะให้เป็นวัดพระภิกษุสามเณร ฉันมื้อเดียว ฉันในบาตร บำเพ็ญสมาธิกัมมัฏฐาน
    อย่างไรก็ตาม คณะธุดงค์ทั้งหลายก็เผอิญไปพบกันเข้าอีก ที่จังหวัดสกลนคร เพื่อร่วมงานศพมารดานางนุ่ม ชุวานนท์ และงานศพพระยาปัจจันตประเทศธานี บิดาของพระพินิจฯ เมื่อเสร็จงานฌาปนกิจทั้งสองศพนั้นแล้ว พระอาจารย์ทั้งสองและสานุศิษย์ต่างก็แยกย้ายกันธุดงค์ต่อไปเพื่อมุ่งไปยังจังหวัดอุบลราชธานี ส่วนท่านอาจารย์มั่นฯ ธุดงค์ไปทางบ้านเหล่าโพนค้อ ได้แวะไปเยี่ยมอุปัชฌาย์พิมพ์ ต่อจากนั้นท่านก็ธุดงค์ต่อไป และพักบ้านห้วยทราย ๑๐ วัน โดยจุดมุ่งหมาย ท่านต้องการจะเดินทางกลับไปที่จังหวัดอุบลราชธานี ก็ได้บรรลุถึงหมู่บ้านหนองขอน อยู่ในเขตอำเภออำนาจเจริญ จ.อุบลราชธานี ซึ่งเป็นบ้านเกิดของท่านหลวงปู่สิงห์ ซึ่งชาวบ้านเมื่อได้ฟังธรรมเทศนาของท่านแล้ว เกิดความเลื่อมใสจึงได้พร้อมใจกันอาราธนาให้ท่านจำพรรษา เมื่อท่านเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ก็รับอาราธนา ชาวบ้านจึงช่วยกันจัดแจงจัดเสนาสนะถวายจนเป็นที่พอเพียงแก่พระภิกษุที่ติดตามมากับท่าน
    พ.ศ. ๒๔๗๐ ในพรรษานี้ท่านอาจารย์มั่น ฯ ได้พักอยู่บ้านหนองขอน ตามที่ชาวบ้านได้อาราธนา หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม และพระมหาปิ่นจำพรรษาที่บ้านหัวตะพาน บริเวณใกล้เคียงกัน
    สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) กับพระกรรมฐาน
    <table id="table9" align="left" border="0"> <tbody><tr> <td class="pic_descript"> [​IMG]
    </td> </tr> <tr> <td class="pic_descript"> สมเด็จพระมหาวีรวงศ์
    (ติสฺโส อ้วน)

    </td> </tr> </tbody></table> ต่อไปก็จะขอกล่าวเรื่องปัญหาที่พระกรรมฐานในสมัยนั้นได้ประสบ ซึ่งเป็นเรื่องที่ก่อให้เกิดทั้งความยุ่งยากต่อหมู่คณะพระกรรมฐาน และทั้งผลดีในแง่ที่ก่อให้เกิดการแพร่ขยายทั้งการสร้างวัดป่าขึ้นในสถานที่ต่าง ๆ ที่พระกรรมฐานได้ธุดงค์ไปพัก และทั้งทางด้านการปฏิบัติธรรมของประชาชนตามทางที่พระกรมฐานได้ธุดงค์ไปโปรด
    สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) นั้น แม้ท่านจะเป็นพระผู้มีคุณูปการต่อพระพุทธศาสนาอย่างมหาศาล จัดการศึกษาแก่พระและแก่ประชาชนอย่างได้ผลดียิ่ง จัดการปกครองคณะสงฆ์ได้อย่างเรียบร้อยดีงาม ท่านมีลูกศิษย์ลูกหามากมายเต็มบ้านเต็มเมืองทีเดียว แต่ในระยะต้นนั้นท่านไม่ชอบพระธุดงค์เอาเลย ท่านว่าเป็นพระขี้เกียจ ไม่ศึกษาเล่าเรียน ถึงกับมีเรื่องต้องขับไล่ไสส่งมาแล้วหลายครั้งหลายหน ท่านไม่เห็นด้วยกับการเป็นพระธุดงค์กรรมฐาน ไม่เห็นด้วยกับการศึกษาธรรมด้วยการนั่งสมาธิภาวนา ท่านจึงขัดขวางหลวงปู่ใหญ่เสาร์ และหลวงปู่มั่น แทบทุกวิถีทางก็ว่าได้
    จากการที่สมเด็จฯ ไม่เห็นด้วยในการออกธุดงค์ ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง เป็น “พระธุดงค์เร่ร่อน” นี้ สมเด็จฯท่านจึงพยายาม “จัดระเบียบพระ” ให้อยู่เป็นหลักแหล่ง มีสังกัดที่แน่นอน ปัญหานี้จึงเป็นเหตุให้บูรพาจารย์บางองค์ท่านหลบหลีกความรำคาญ ข้ามโขงไปอยู่ทางฝั่งลาวก็มี หรือธุดงค์เข้าป่าทึบ ดงดิบไปเลยก็มี
    ในปี ๒๔๗๐ นี้ก็เป็นเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้น
    พระกรรมฐานโดนพระเถระผู้ใหญ่ขับไล่
    ระหว่างปีนั้น สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺสเถระ อ้วน) เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเป็นพระโพธิวงศาจารย์ เจ้าคณะมณฑลและเจ้าคณะธรรมยุตในภาคอีสาน ทราบข่าวว่ามีคณะพระกัมมัฏฐานของพระอาจารย์มั่น เดินทางมาพักอยู่ที่บ้านหัวตะพาน จึงสั่งให้เจ้าคณะแขวง อำเภอม่วงสามสิบ กับเจ้าคณะแขวงอำเภออำนาจเจริญ พร้อมด้วยนายอำเภออำนาจเจริญ ไปทำการขับไล่พระภิกษุคณะนี้ออกไปให้หมด ทั้งยังได้ประกาศด้วยว่า ถ้าผู้ใดใส่บาตรพระกัมมัฏฐานเหล่านี้จะจับใส่คุกให้หมดสิ้น แต่ชาวบ้านก็ไม่กลัว ยังคงใส่บาตรกันอยู่เป็นปกติ นายอำเภอทราบเรื่องจึงไปพบพระภิกษุคณะนี้อีกครั้งหนึ่ง แล้วแจ้งมาว่า ในนามของจังหวัด ทางจังหวัดสั่งให้มาขับไล่
    หลวงปู่สิงห์ซึ่งเป็นคนจังหวัดอุบลฯ ได้ตอบโต้ไปว่า ท่านเกิดที่นี่ท่านก็ควรจะอยู่ที่นี่ได้ นายอำเภอไม่ยอม พระอาจารย์ฝั้นก็ได้ช่วยพูดขอร้องให้มีการผ่อนสั้นผ่อนยาวกันบ้าง แต่นายอำเภอก็ไม่ยอมท่าเดียว จากนั้นก็จดชื่อพระกัมมัฏฐานไว้ทุกองค์ รวมทั้งพระอาจารย์มั่น หลวงปู่สิงห์ พระอาจารย์มหาปิ่น พระอาจารย์เที่ยง พระอาจารย์อ่อน พระอาจารย์ฝั้น พระอาจารย์เกิ่ง พระอาจารย์สีลา ฯลฯ จนหมด แม้กระทั่งนามโยมบิดามารดา สถานที่เกิด วัดที่บวช ทั้งหมดมีพระภิกษุสามเณรหว่า ๕๐ รูป และพวกลูกศิษย์ผ้าขาวอีกมากร่วมร้อยคน นายอำเภอต้องใช้เวลาจดตั้งแต่กลางวันจนถึงสองยามจึงเสร็จ ตั้งหน้าตั้งตาจดจนกระทั่งไม่ได้กินข้าวเที่ยง เสร็จแล้วก็กลับไป
    ทางฝ่ายพระทั้งหลายก็ประชุมปรึกษากันว่า ทำอย่างไรดีเรื่องนี้จึงจะสงบลงได้ ไม่ลุกลามออกไปเป็นเรื่องใหญ่ พระอาจารย์อ่อน และพระอาจารย์ฝั้นรับเรื่องไปพิจารณาแก้ไข
    เสร็จการปรึกษาหารือแล้ว พระอาจารย์ฝั้น ก็รีบเดินทางไปพบพระอาจารย์มั่นที่บ้านหนองขอน ซึ่งอยู่ห่างออกไป ๕๐ เส้น พระอาจารย์มั่น ทราบเรื่องจึงให้พระอาจารย์ฝั้นนั่งพิจารณา พอกำหนดจิตเป็นสมาธิแล้วปรากฏเป็นนิมิตว่า
    “แผ่นดินตรงนั้นขาด”
    คือแยกออกจากกันเป็นสองข้าง ข้างโน้นก็มาไม่ได้ ข้างนี้ก็ไปไม่ได้ พอดีสว่าง พระอาจารย์ฝั้นจึงเล่าเรื่องที่นิมิตให้พระอาจารย์มั่นฟัง
    เช้าวันนั้นเอง พระอาจารย์มหาปิ่นกับพระอาจารย์อ่อน ได้ออกเดินทางไปจังหวัดอุบล เพื่อพบกับเจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะจังหวัดชี้แจงว่า ท่านไม่ได้รู้เรื่องอะไรเลย จากนั้นได้ให้นำจดหมายไปบอกนายอำเภอว่า ท่านไม่ได้เกี่ยวข้อง เรื่องยุ่งยากทั้งหลายจึงได้ยุติลง
    ความพยายามในการแก้ไขปัญหา
    ปัญหาเรื่องพระผู้ใหญ่ กับ พระกรรมฐานนี้นั้นเป็นปัญหาที่ต่อเนื่องกันมายาวนาน พระอาจารย์ทั้งหลายในฝ่ายพระกรรมฐานก็ได้พยายามที่จะแก้ไขปัญหานี้มาโดยตลอด ในช่วงเวลาที่มีโอกาสก็จะพยายามโน้มน้าวเจ้าประคุณสมเด็จฯ ให้ลดทิฏฐิหันมาพิจารณาการปฏิบัติธรรมของพระกรรมฐาน ว่าเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมและมีผลดีต่อคณะสงฆ์โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต่อ คณะสงฆ์ธรรมยุตเองด้วย
    หลวงปู่สิงห์เอง ท่านในฐานที่เป็นสัทธิวิหาริกของท่านเจ้าประคุณสมเด็จ ก็ได้พยายามในเรื่องนี้อยู่บ่อย ๆ เท่าที่มีโอกาส ในระยะแรกก็ไม่ค่อยจะได้ผล สมเด็จฯ ท่านไม่ฟัง มิหนำซ้ำท่านยังมีบัญชากับพระเณรด้วยว่า “ถ้าเห็นอาจารย์สิงห์มาอย่าให้ใครต้อนรับเด็ดขาด ให้ไล่ตะเพิดเสีย” แต่จากการที่คณะพระกรรมฐานอันมีพระอาจารย์เสาร์ พระอาจารย์มั่นเป็นหลัก เป็นประธานอยู่นั้น ไม่ได้มีปฏิกิริยาใด ๆ ในเชิงตอบโต้ ได้แต่หลีกเลี่ยงเสีย ถ้าเหตุการณ์รุนแรงนัก หรือ ชี้แจงแสดงเหตุผลในเมื่อมีโอกาส ประกอบกับท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านก็ได้ทั้ง “ทดสอบ” ทั้ง “ลองภูมิ” เหล่าคณะพระกรรมฐานอยู่ทุกเมื่อที่มีโอกาส ก็ได้แปลกใจที่เห็นว่าความรู้ในทางธรรมของคณะพระกรรมฐานดียิ่งเสียกว่าพระมหาเปรียญ ที่เชี่ยวชาญในเชิงปริยัติเสียอีก มีเรื่องเล่าว่า
    สมัยหนึ่ง เมื่อครั้งพระอาจารย์มั่นได้เดินทางไปจังหวัดเชียงใหม่ ติดตามท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) ไป และไปเป็นเจ้าอาวาสวัดพระธาตุหลวงอยู่ระยะหนึ่ง เจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านเดินทางไปตรวจงานการคณะสงฆ์ มณฑลภาคเหนือ และมีโอกาสได้พบกับหลวงปู่มั่นที่เชียงใหม่
    ด้วยความเป็นคู่ปรับกับพระกรรมฐานมีเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เจ้าประคุณสมเด็จฯ จึงตั้งคำถามในลักษณะตำหนิว่า
    “ญาคูมั่น เธอเที่ยวตามป่าเขาอยู่เพียงลำพังผู้เดียวอย่างนี้เธอได้สหธรรมิก ได้ธรรมวินัย เป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติที่ไหน เธอได้รับฟังธรรมจากสหธรรมิกอย่างไร ทำไมเธอจึงได้ปฏิบัติมางมไปอย่างนั้น เธอทำอย่างนั้นจะถูกหรือ”
    ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ถามในเชิงติเตียนหลวงปู่มั่น เช่นนั้น เพื่อจะแสดงให้ผู้ที่อยู่ ณ ที่นั้นเห็นว่าหลวงปู่มั่น เป็นพระเร่ร่อน หลักลอย ไม่มีสังกัด ไม่มีหมู่คณะรับรอง
    ครูบาอาจารย์ท่านบอกว่า ในครั้งนั้น ได้ถึงกับมีการตรวจหนังสือสุทธิกันเลยทีเดียว
    ปกติหลวงปู่มั่น ท่านไม่เคยยอมแพ้ใคร และก็ไม่เอาชนะใครเหมือนกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งครูบาอาจารย์ที่เป็นลูกศิษย์ลูกหาต่างยกย่องว่า ท่านเป็นผู้มีสติปัญญา ปฏิภาณไหวพริบ ที่เฉียบคมและฉลาดปราดเปรื่องหาผู้เสมอเหมือนได้ยาก
    หลวงปู่มั่น ได้กราบเรียนตอบสมเด็จฯ ไปว่า
    “...สำหรับเรื่องนี้ พระเดชพระคุณท่านไม่ต้องเป็นห่วงกังวล กระผมอยู่ตามป่าตามเขานั้น ได้ฟังธรรมจากเพื่อนสหธรรมิกตลอดเวลา คือมีเพื่อนและฟังธรรมจากธรรมชาติ เลี้ยงนกเสียงกา เสียงจิ้งหรีด จักจั่นเรไร เสียงเสือ เสียงช้าง มันเป็นธรรมชาติไปหมด
    มันทุกข์หรือสุขกระผมก็รู้ เขาคอยตักเตือนกระผมอยู่ตลอดเวลา ไม่ให้ลืมสติว่า เจ้าเป็นใครมาจากไหน อยู่อย่างไร แล้วก็จะไปไหน
    เวลาใบไม้ร่วงหล่นจากขั้ว ทับถมกันไปไม่มีสิ้นสุด ก็เป็นธรรม บางต้นมันก็เขียวทำให้ครึ้ม บางต้นมันก็ตายซากแห้งเหี่ยว เหล่านั้นมันเป็นธรรมเครื่องเตือนสติสัมปชัญญะไปหมด
    ฉะนั้น พระเดชพระคุณท่าน โปรดวางใจได้ ไม่ต้องเป็นห่วงกระผม เพราะได้ฟังธรรมอยู่ตลอดเวลาทั้งกลางวันกลางคืน”
    เมื่อได้ฟังคำตอบเช่นนั้น เจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านก็จนด้วยเหตุผล ไม่อาจจะหาคำพูดมาติเตียนหลวงปู่มั่น ต่อไปได้
    เจ้าประคุณสมเด็จฯ คลายทิฏฐิ
    ต่อมาภายหลัง เจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ท่านได้มีโอกาสออกตรวจการณ์คณะสงฆ์ตามหัวเมืองมณฑลอิสาน ปรากฏว่าการออกตรวจการณ์ในครั้งนั้น ได้สร้างความประทับใจให้ท่านเป็นอย่างมาก
    สมเด็จฯ ท่านเห็นประจักษ์ด้วยตาท่านเองว่า ทั่วอิสานได้เกิดวัดป่าสังกัดคณะธรรมยุตขึ้นอย่างมากมาย นับจำนวนหลายร้อยวัด ทั้งๆ ที่พระผู้ใหญ่ที่มีตำแหน่งฝ่ายบริหารขยายวัดธรรมยุตได้เพียง ๒ - ๓ วัด และก็อยู่ในเมืองที่เจริญแล้วเป็นส่วนใหญ่ ไม่สามารถขยายออกไปตามอำเภอ ตำบล และหมู่บ้านรอบนอกได้
    การที่วัดป่าเกิดขึ้นมาอย่างมากมาย ก็เกิดจาก หลวงปู่ใหญ่เสาร์ หลวงปู่มั่น และลูกศิษย์พระกรรมฐานพระอาจารย์ใหญ่ทั้งสององค์
    ยิ่งกว่านั้น เจ้าประคุณสมเด็จฯ ยังพบว่า เมื่อท่านผ่านไปตามหมู่บ้านที่พระกรรมฐานเคยจาริกปฏิบัติธรรม และที่มีวัดป่าเกิดขึ้น ปรากฏว่าประชาชนในหมู่บ้าน มีกิริยามารยาทเรียบร้อย แสดงว่าได้รับการอบรมมาดี รู้จักปฏิบัติต่อพระสงฆ์องค์เจ้า รู้จักการปฏิบัติต้อนรับ รู้ของควร ไม่ควร เข้าใจหลักการพระพุทธศาสนา รู้จักสวดมนต์ไหว้พระ มีการรักษาศีล มีการปฏิบัติสมาธิภาวนา และมีความอ่อนน้อมถ่อมตนน่าชมเชย
    ต่างกันกับหมู่บ้านที่หลวงปู่ใหญ่เสาร์ หลวงปู่มั่น และลูกศิษย์ลูกหาไม่เคยจาริกผ่านไป
    ความประทับใจในครั้งนั้น ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ถึงกับประกาศในท่ามกลางที่ประชุมสงฆ์ว่า
    “การเผยแผ่พระพุทธศาสนาต้องให้พระกรรมฐานเป็นแนวหน้า หรือเรียกว่า กองทัพธรรมแนวหน้า”
    นับจากนั้นเป็นต้นมา เจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) ก็เริ่มมีทัศนคติที่ดีต่อ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ หลวงปู่มั่น และคณะพระธุดงค์กรรมฐาน
    คำเรียกแต่เดิมว่า “ญาคูเสาร์ ญาคูมั่น” ก็เปลี่ยนไปเป็น “พระอาจารย์เสาร์ พระอาจารย์มั่น” ส่วนลูกศิษย์พระกรรมฐานที่มีอาวุโส สมเด็จฯ ท่านก็เรียกว่า “อาจารย์สิงห์ ท่านลี (ธมฺมธโร) ท่านกงมา (จิรปุญฺโญ)” เป็นต้น
    เมื่อเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ มีความรู้สึกที่ดีต่อพระธุดงค์กรรมฐานแล้ว ท่านก็ให้ความสนับสนุนพระกรรมฐานเป็นอย่างดี แม้แต่วัดภูเขาแก้ว อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานีที่ หลวงพ่อโชติ อาภคฺโค เป็นเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน เจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านก็บัญชาให้สร้างเพื่อถวายหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ด้วยแห่งหนึ่ง
    เจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) พระองค์นี้ท่านสร้างความเจริญให้แก่พระพุทธศาสนา ทั้งด้านปริยัติธรรมศึกษา และด้านการปฏิบัติภาวนา จนเกิดมีพระผู้ได้รับการศึกษาสูง และมีพระกรรมฐานที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบอย่างมากมาย สืบต่อมาจนปัจจุบัน
     
  18. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    พระอาจารย์มั่นฯ ปรารภเรื่องปลีกตัวออกจากหมู่เพื่อวิเวก




    ครั้นออกพรรษาในปี ๒๔๗๐ แล้ว ท่านอาจารย์มั่น ฯ ก็ได้เดินธุดงค์ไปถึงตัวจังหวัดอุบลราชธานี ก็ได้นำโยมแม่ออกท่านไปมอบให้น้องสาวท่านในเมืองอุบล ฯ ท่านและคณะศิษย์พักที่วัดบูรพา คณะสานุศิษย์เก่า ๆ ทั้งหลาย อันมีอาจารย์อุ่น ธมฺมธโร, อาจารย์อ่อน ญาณสิริ, อาจารย์ฝั้น อาจาโร, อาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก พร้อมด้วยศิษย์ อาจารย์หลุย อาจารย์กว่า สุมโน, อาจารย์คูณ, อาจารย์สีลา อาจารย์ดี ( พรรณานิคม ) อาจารย์บุญมา (วัดป่าบ้านโนนทัน อุดรธานี ในปัจจุบันนี้ ) อาจารย์ทอง อโสโก อาจารย์บุญส่ง (บ้านข่า) อาจารย์หล้า หลวงตาปั่น (อยู่พระบาทคอแก้ง) เมื่อได้ทราบข่าวว่าท่านอาจารย์มั่น ฯ เดินทางมาพำนักอยู่ในจังหวัดอุบลราชธานี ทุกองค์เหล่านี้ก็ได้ติดตามมาในเดือน ๓ เพ็ญ บรรดาศิษย์ทั้งหมด มีหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม เป็นต้น ก็ได้ร่วมประชุมอบรมธรรมปฏิบัติอย่างที่เคย ๆ ปฏิบัติกันมา
    ในค่ำคืนวันหนึ่ง ท่านอาจารย์มั่นฯ ท่านได้เข้าที่ทำสมาธิภาวนาก็ได้ปรารภขึ้นในใจว่า
    “จะออกจากหมู่คณะไปแสวงหาสถานที่วิเวก เพื่อจะได้มีโอกาสพิจารณาค้นคว้าในปฏิปทาสัมมาปฏิบัติ ให้ได้รับความเข้าใจชัดเจน และแจ่มแจ้งเข้าไปอีก แล้วจะได้เอาปฏิปทาอันถูกต้องนั้นฝากไว้แก่เหล่าสานุศิษย์ในอนาคตต่อไป เพราะพระธรรมวินัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่พระองค์ทรงตรัสไว้ดีแล้วนั้น ย่อมมีนัยอันสุขุมลุ่มลึกมาก ยากที่จะทำความเข้าใจให้ถูกต้องตามพุทธประสงค์ได้
    ผู้ปฏิบัติตามรอยพระบาทพระพุทธองค์และตามปฏิปทาที่พระอริยเจ้าได้ดำเนินมาก่อนแล้วนั้น เมื่อไม่เข้าใจแจ่มแจ้งแล้ว ย่อมจะเขวไปจากปฏิปทาที่ถูกต้องก็เป็นได้ หรืออาจดำเนินไปโดยผิดๆ ถูก ๆ เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว ผู้ปฏิบัติดีทั้งหลายก็จะเข้าไม่ถึงศีลถึงธรรม หรืออาจถึงกับป่วยการไม่เป็นประโยชนแก่ตนของตน การปฏิบัติพระธรรมวินัย ในพระพุทธศาสนาก็จะมีแต่ความพอกพูนกิเลสให้เจริญงอกงามขึ้นในตนของตนเท่านั้น ซึ่งไม่สมกับว่าพระธรรมวินัยเป็นของชำระกิเลสที่มีอยู่ให้สิ้นไปจากสันดานแห่งเวนัยสัตว์ทั้งหลาย
    อนึ่ง การอยู่กับหมู่คณะจะต้องมีภาระการปกครอง ตลอดถึงการแนะนำพร่ำสอนฝึกฝนทรมานต่าง ๆ ซึ่งทำให้โอกาสและเวลาที่จะค้นคว้าในพระธรรมวินัยไม่เพียงพอ ถ้าแลเราปลีกตัวออกไปอยู่ในสถานที่วิเวก ซึ่งไม่มีภาระแล้ว ก็จะได้มีโอกาสเวลาในการค้นคว้ามากขึ้น ผลประโยชน์ในอนาคตก็จะบังเกิดขึ้นมาให้เป็นที่น่าพึงใจ”
    ครั้นท่านปรารภในใจอยู่อย่างนั้นแล้ว ท่านจึงได้เรียกศิษย์ทั้งหลาย มีหลวงปู่สิงห์เป็นต้น มาประชุมกัน ท่านได้แนะนำให้มีความมั่นคงดำรงอยู่ในข้อวัตรปฏิบัติอย่างที่ได้เคยแนะนำสั่งสอนมาแล้วนั้น จึงได้มอบหมายให้อำนาจแต่หลวงปู่สิงห์และท่านมหาปิ่น เป็นผู้บริหารปกครองแนะนำพร่ำสอนตามแนวทางที่ท่านได้แนะนำมาแล้วต่อไป
    เมื่อเสร็จจากการประชุมแล้วในการครั้งนั้น ท่านก็กลับไปที่บ้านของท่านอีก ได้แนะนำธรรมปฏิบัติซึ่งท่านได้เคยแนะนำมาก่อนแก่มารดาของท่านจนได้รับความอัศจรรย์อันเป็นภายในอย่างยิ่งมาแล้ว ท่านจึงได้ไปลามารดาของท่าน และได้มอบให้นางหวัน จำปาศีล ผู้น้องสาวเป็นผู้อุปฐากรักษาทุกประการ จากนั้นออกพรรษาแล้วประมาณเดือน ๓ หรือเดือน ๔ ท่านก็ได้ออกเดินทางต่อไปยังกรุงเทพฯ กับเจ้าคุณพระปัญญาพิศาลเถระ จำพรรษาที่วัดสระปทุม และออกพรรษาแล้ว ก็ได้ติดตามพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) ไปจำพรรษายังจังหวัดเชียงใหม่
    ไปจังหวัดขอนแก่น
    <table id="table1" align="left" border="0"> <tbody><tr> <td class="pic_descript"> [​IMG]
    </td> </tr> <tr> <td class="pic_descript"> พระอาจารย์สิงห์
    </td> </tr> </tbody></table> ในพ.ศ. ๒๔๗๑ ระหว่างนี้หลวงปู่สิงห์และพระมหาปิ่น กับพระภิกษุสามเณรรวมกันถึง ๘๐ รูป ก็ได้เดินทางเที่ยววิเวกไปในสถานที่ต่างๆ ก็ได้เที่ยวเทศนาอบรมศีลธรรมประชาชนโดยการขอร้องของ เจ้าเมืองอุบลฯ เมื่อจวนเข้าพรรษาได้ไปพักจำพรรษาอยู่วัดบ้านหัวงัว อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร ซึ่งเป็นบ้านญาติท่าน
    ในช่วงที่หลวงปู่สิงห์ และพระอาจารย์มหาปิ่นอยู่ที่บ้านหัวงัว ท่านก็ได้ทราบข่าวจาก เจ้าคุณพระเทพสิทธาจารย์ (จันทร์ เขมิโย) เมื่อครั้งยังเป็นพระครูพิศาลอรัญญเขต เจ้าคณะธรรมยุตจังหวัดขอนแก่น เจ้าอาวาสวัดศรีจันทราวาส ตำบลพระลับ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นญาติของท่านด้วย ว่าทางขอนแก่นมีเหตุการณ์ไม่สู้ดี ขณะนั้นพระอาจารย์ฝั้นซึ่งจำพรรษาอยู่สำนักสงฆ์ ที่หนองน่อง บ้านห้วยทราย อำเภอคำชะอี จังหวัดนครพนมก็ได้มากราบนมัสการและได้ร่วมปรึกษาหารือกับหลวงปู่สิงห์ และพระอาจารย์มหาปิ่นในเรื่องดังกล่าว และเห็นควรลงไปช่วยพระครูพิศาลอรัญเขต (จันทร์ เขมิโย) เมื่อเห็นพ้องต้องกันแล้ว ต่างก็แยกย้ายกันออกเดินทาง โดยกำหนดให้ไปพบกันก่อนเข้าพรรษาที่ที่วัดเหล่างา ขอนแก่น
    เมื่อเป็นดังนั้น ชาวอำเภอยโสธร มีอาจารย์ริน อาจารย์แดง อาจารย์อ่อนตา เป็นหัวหน้า พร้อมด้วยชาวบ้านร้านตลาด ได้จ้างเหมารถยนต์ให้ ๒ คัน ท่านและคณะได้พากันออกเดินทางจากอำเภอยโสธรโดยทางรถยนต์ไปพักแรมอยู่ จ.ร้อยเอ็ด ๑ คืน แล้วออกเดินทางไปพักอยู่ที่ จ.มหาสารคามที่ดอนปู่ตา ที่ชาวบ้านกล่าวกันว่าผีดุ มีชาวบ้านร้านตลาดและข้าราชการพากันมาฟังเทศน์มากมาย จากนั้นเดินทางต่อไปถึงบ้านโนนยาง อ.เมือง จ.ขอนแก่น เดือน ๓ แรม ๖ ค่ำ และได้ไปรวมกันอยู่ที่วัดเหล่างา ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองขอนแก่น
    เหตุการณ์ไม่สู้ดีที่ขอนแก่น
    ที่เมืองขอนแก่น นั้นคณะหลวงปู่สิงห์และพระมหาปิ่นได้พบว่าเหตุการณ์ก็ไม่สู้ดี ตามที่พระครูพิศาลอรัญเขตว่าไว้ ดังที่ปรากฏในหนังสือ อัตโนประวัติหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ซึ่งในสมัยนั้นท่านได้ร่วมอยู่ในคณะด้วย ท่านได้เขียนไว้ว่า
    “ข้าได้พักอยู่กับพระอาจารย์สิงห์ ฟังเสียงพวกโยนคนเมืองขอนแก่น ไม่เคยเห็นพระกรรมฐาน ตื่นเต้นกล่าวร้ายติเตียนกันไปสารพัดต่างๆ นานา มิใช่ เขาตื่นเต้นไปทางกลัวทางเสื่อมใส ดังพวกชาวเมืองราชคฤห์ ตื่นเต้นคราวได้เห็นพระพุทธเจ้าออกบรรพชาใหม่ไปเที่ยวบิณฑบาตนั้น
    เมืองขอนแก่นพากันตื่นเต้นอย่างเห็นพระกรรมฐานเป็นสัตว์ เรียกพวกพระกรรมฐานว่า “พวกบักเหลือง” คำว่า “บักเหลือง” นี้เขาว่าพระกรรมฐานทั้งหลายเป็นงูจงอาง อีหล้าคางเหลือง
    ฉะนั้นจึงมีคนเขาออกมาดูพวกพระกรรมฐาน เขาจำต้องมีมือ ถือไม้ค้อนกันมาแทบทุกคน เมื่อมาถึงหมู่พวกข้าแล้ว ถือค้อนเดินไปมาเที่ยวดูพระเณรที่พากันพักอยู่ตามร่มไม้และร้านที่เอากิ่งไม้ แอ้ม และมุงนั้นไปๆ มาๆ แล้วก็ยืนเอาไม้ค้อนค้ำเอว ยืนดูกันอยู่ก็มีพอควร แล้วก็พากันกลับบ้าน เสียงร้องว่าเห็นแล้วละพวกบักเหลือง พวกอีหล้าคางเหลือง พวกมันมาแห่น (แทะ) หัวผีหล่อน (กะโหลก) อยู่ป่าช้าโคกเหล่างา มันเป็นพวกแม่แล้ง ไปอยู่ที่ไหนฝนฟ้าไม่ตกเลยจงให้มันพากันหนี ถ้าพวกบักเหลืองไม่หนีภายในสามสี่วันนี้ ต้องได้ถูกเหง้าไม้ไผ่ค้อนไม้สะแกไปฟาดหัวมันดังนี้ไปต่างๆ นานา จากนี้ไปก็มีเขียนหนังสือปักฉลากบอกให้หนี ถ้าไม่หนีก็จะเอาลูกทองแดงมายิงบูชาละ ดังนี้เป็นต้น
    ไปบิณฑบาตไม่มีใครยินดีใส่บาตรให้ฉัน จนพระอาจารย์สิงห์ภาวนาคาถาอุณหัสสวิชัย ว่าแรงๆ ไปเลยว่า ตาบอดๆ หูหนวกๆ ปากกืก ๆ (ใบ้) ไปตามทางบิณฑบาตนั้นแหละ
    ทั้งมีแยกกันไปบิณฑบาต ตามตรอกตามบันไดเรือนไปเลย จึงพอได้ฉันบ้าง ทั้งพระอาจารย์ก็มีการประชุมลูกศิษย์วันสองวันต่อครั้งก็มี
    ท่านให้โอวาทแก่พวกลูกศิษย์ได้มีความอบอุ่นใจไม่ให้มีความหวาดกลัวอยู่เสมอ แต่ตัวข้าก็ได้อาศัยพิจารณากำหนดจิตตั้งอยู่ในคำสอนของพระพุทธเจ้าว่า ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารึ นี้อยู่เรื่อยไป”
    แยกย้ายกันไปตั้งวัดใหม่
    ที่วัดเหล่างา (ปัจจุบันคือวัดวิเวกธรรม) พระปฏิบัติสัทธรรมชุดนี้ ได้ประชุมตกลงให้แยกย้ายกันไปตั้งเป็นสำนักสงฆ์วัดป่าฝ่ายอรัญวาสีขึ้นหลายแห่งในจังหวัดขอนแก่น เพื่อเผยแผ่ธรรม เทศนาสั่งสอนประชาชนให้ละมิจฉาทิฏฐิ เลิกจากการเคารพนับถือภูตผีปีศาจ และให้ตั้งอยู่ในไตรสรณาคมน์ โดย ได้แยกกันอยู่จำพรรษาตามสำนักสงฆ์ต่างๆ ดังต่อไปนี้
    ๑. หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม พระอาจารย์ภุมมี ฐิตธมฺโม พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ พระอาจารย์หลุย อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์ วัดป่าวิเวกธรรม ตำบลโนนทัน อำเภอพระลับ จังหวัดขอนแก่น
    ๒. พระมหาปิ่น ปญฺญาพโล ปธ.๕ พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์วัดป่าบ้านพระคือ อำเภอพระลับ จังหวัดขอนแก่น
    ๓. พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พร้อมด้วยพระภิกษุสามเณร อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์วัดป่าบ้านผือ ตำบลโนนทัน อำเภอพระลับ จังหวัดขอนแก่น
    ๔. พระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺโต พร้อมด้วยพระภิกษุสามเณร อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์วัดป่าชัยวัน บ้านสีฐาน อำเภอพระลับ จังหวัดขอนแก่น
    ๕. พระอาจารย์สีลา อิสฺสโร อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์วัดป่าบ้านคำไฮ ตำบลเมืองเก่า อำเภอพระลับ จังหวัด ขอนแก่น
    ๖. พระอาจารย์อุ่น พร้อมด้วยพระภิกษุสามเณร อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์วัดป่าบ้านทุ่ง อำเภอพระลับ จังหวัดขอนแก่น
    ๗. พระอาจารย์ดี ฉนฺโน พร้อมด้วยพระภิกษุสามเณร อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์วัดป่าบ้านโคกโจด อำเภอพระ ลับ จังหวัดขอนแก่น
    ๘. พระอาจารย์ซามา อุจุตฺโต พร้อมด้วยพระภิกษุสามเณร อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์วัดป่าบ้านยางคำจังหวัดขอนแก่น
    ๙. พระอาจารย์นิน อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์ วัดป่าสุมนามัย อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น
    เมื่อออกพรรษาแล้ว ท่านพร้อมด้วยเจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะตำบล และพระอุปัชฌาย์ในท้องที่ อำเภอพระลับ จังหวัดขอนแก่น ออกเทศนาสั่งสอนประชาชนให้ละมิจฉาทิฐิ เลิกจากการถือภูติผีปีศาจ ตั้งอยู่ในพระไตรสรณคมน์ทุกปีตลอดมาทั้ง ๓ ปี
    พระมหาปิ่น ได้ติดตาม หลวงปู่สิงห์ (พี่ชาย) พร้อมด้วย หมู่คณะออกเผยแพร่ธรรม อีกทั้งก่อสร้างเสนาสนะเพื่อปฏิบัติธรรม เฉพาะที่จังหวัดขอนแก่นรวมได้ถึง 60 แห่งเศษ โดยเฉพาะที่ ป่าช้าบ้านพระคือ ได้กลายเป็นที่ชุมนุมฟังธรรม และปฏิบัติธรรมของบรรดาชาวบ้าน ทั้งจากที่ใกล้และไกล ด้วยชื่นชอบศรัทธาว่าท่านเป็นพระที่มีความสามารถทั้งทางด้านปริยัติและปฏิบัติ
    หลวงปู่หัดเสือให้เดินจงกรม
    เรื่องนี้คุณหญิงสุรีย์พันธ์ มณีวัต เล่าไว้ในหนังสือ “จันทสาโรปูชา” ซึ่งเป็นประวัติของหลวงปู่หลุย จันทสาโรไว้ดังนี้
    “ความอัศจรรย์ที่หลวงปู่ท่านชอบเล่ามากที่สุดก็คือเรื่องที่ท่านพระอาจารย์สิงห์ อาจารย์องค์ลำดับแรก ๆ ของท่าน ซึ่งท่านไปจำพรรษาอยู่ด้วยที่วัดป่าบ้านเหล่างา หรือวัดป่าวิเวกธรรม ที่จังหวัดขอนแก่นนั้น ท่านได้เล่าถึงว่า เมื่อเวลาท่านพระอาจารย์สิงห์เดินจงกรมในป่า ด้วยจิตท่านนั้นอ่อน แผ่เมตตาไปโดยไม่มีประมาณ ถึงกับว่า เมื่อมีเสือมานั่งอยู่ใกล้ทางจงกรม ท่านแผ่เมตตาให้จนจิตของเสือนั้นอ่อนรวมลงเป็นมิตรสนิทต่อท่าน ท่านหัดให้เสือเดินจงกรมตามท่านไปได้ ความนี้แม้แต่ภายหลัง ท่านพระอาจารย์มั่นก็กล่าวยกย่องท่านพระอาจารย์สิงห์ กรณีนี้อยู่เสมอ ท่านถึงกล่าวว่า สัตว์นั้น สุดท้ายย่อมทำให้อ่อนได้ด้วยแรงเมตตา ไม่ใช่การใช้กำลังอำนาจที่จะเอาชนะกัน มนุษย์สมัยนี้เอาชนะกันด้วยกำลัง จึงมีการฆ่าฟันกันตาย โกรธขึ้งหึงสาพยาบาทซึ่งกันและกัน พยาบาทแล้วก็เคียดแค้นกัน ก่อเวรก่อกรรมไม่มีที่สิ้นสุด”
    ช่วยหลวงปู่หลุยให้พ้นจากบุรพกรรม
    ในช่วงปี ๒๔๗๓ ท่านได้รับนิมนต์ไปที่หล่มสัก ซึ่งเป็นภูมิลำเนาของมารดาของหลวงปู่หลุย จันทสาโร เพื่อไปในงานศพญาติคนหนึ่งของหลวงปู่หลุย และในงานนั้นหลวงปู่หลุยก็ได้รับนิมนต์ไปในงานนั้นด้วย ก็ได้ปรากฏเรื่องท่านหลวงปู่สิงห์ได้ช่วยให้หลวงปู่หลุยได้พ้นจากเหตุการณ์อันหวาดเสียวต่อสมณเพศไว้ได้ ดังที่คุณหญิงสุรีย์พันธ์ มณีวัต เล่าไว้ในหนังสือ “จันทสาโรปูชา” ไว้ดังนี้
    “หลวงปู่เล่าให้ฟังว่า ท่านไม่เคยคิดเลยว่า การแวะไปเยี่ยมญาติและสวดมนต์ในครั้งนั้น จะทำให้ท่านถึงกับซวดเซลงแทบจะล้มลงทั้งยืน
    ล้ม...ล้มอย่างไม่มีสติสตังเลยทีเดียว ท่านเล่าให้เฉพาะผู้ใกล้ชิดฟังว่า วันนั้นท่านกำลังสวดมนต์เพลินอยู่ ระหว่างหยุดพักการสวด เจ้าบ้านก็นำน้ำปานะมาถวายพระแก้คอแห้ง บังเอิญตาท่านชำเลืองมองไปในหมู่แขกที่กำลังนั่งฟังสวดมนต์อยู่เพียงตาสบตา ท่านก็รู้สึกแปล๊บเข้าไปในหัวใจ
    เหมือนสายฟ้าฟาด แทบจะไม่เป็นสติสมประดี ท่านกล่าวว่า เพียงตาพบแว้บเดียว ไม่เข้าใจว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ท่านก็เซแทบจะล้ม เผอิญขณะนั้นท่านพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ได้รับนิมนต์ไปด้วย ท่านคงสังเกตถึงอาการ หรือว่าท่านอาจจะกำหนดจิตทราบเหตุการณ์ก็ได้ ท่านจึงเข้ามาประคองไว้ เพราะมิฉะนั้นหลวงปู่คงจะล้มลงจริง ๆ
    ฝ่ายหญิงที่นั่งอยู่ทางด้านโน้นก็เป็นลมไปเช่นกัน คงจะเป็นอำนาจความเกี่ยวข้องแต่บุพชาติมา ที่มาบังคับให้เกิดความรู้สึกเช่นนั้น
    ท่านบอกว่าในหัวอกเหมือนจะมีอะไร แต่ภายหลังได้พิจารณากลับมา และเมื่อท่านพระอาจารย์สิงห์ได้อธิบายให้ท่านทราบในภายหลังว่า การครั้งนี้เป็นนิมิต เนื่องจากบุพเพสันนิวาสท่านและสุภาพสตรีผู้นั้น เคยเป็นเนื้อคู่เกี่ยวข้องกันต่อมาช้านาน เคยบำเพ็ญบารมีคู่กันมา โดยเฉพาะเมื่อภายหลัง หลวงปู่ได้สารภาพถึงความในใจที่ตั้งปรารถนาพุทธภูมิ ท่านพระอาจารย์สิงห์ก็อธิบายว่า เธอผู้นั้นก็คงได้ปรารถนา บำเพ็ญบารมีคู่กันมาเช่นกัน
    ......เนื่องจากเป็นการปรารถนาพุทธภูมิเคียงคู่กันมา จึงมีอำนาจรุนแรงมาก และเนื่องจากว่า ฝ่ายหญิงมิได้พบกันแล้วก็ห่างกันไป.... ต้องพบประจันหน้ากันอีกหลายครั้ง เนื่องด้วยผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายเป็นผู้คุ้นเคยกันประหนึ่งญาติ และมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันมาหลายชั้น ตั้งแต่ครั้งบิดามารดา ต้องพบเห็นกัน ไม่ใช่ว่าเป็นการพบกันแล้วก็ผ่านจากไป เช่นนั้นอาจจะเป็นกรณีที่ง่ายหน่อย แต่การนี้หลังจากพบครั้งแรกแล้วนั้น ก็ยังต้องเห็นกันอีก ....
    ท่านได้ยกกรณีของท่านขึ้นมาว่า องค์ท่านเองยังแทบเป็นลม ฝ่ายท่านนั้น พระเถระต้องเข้าประคอง ฝ่ายหญิงเป็นลม ญาติผู้ใหญ่และมารดาต้องเข้าประคอง
    หลวงปู่จึงเล่าภายหลังว่า ท่านรู้สึกเหมือนกับว่า หัวอกแทบจะระเบิด อกกลัดเป็นหนอง แต่ใจหนึ่งก็คิดมุ่งมั่นว่า จะต้องบำเพ็ญเพศพรหมจรรย์ต่อไป
    ท่านพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม เข้าใจในความรู้สึกของหลวงปู่ผู้เป็นศิษย์ใหม่ได้ดี ท่านจึงจัดการพาตัวหลวงปู่รีบจากหล่มสักมาโดยเร็วที่สุดหลวงปู่กล่าวว่า ไม่ใช่เป็นการพาตัวมาอย่างธรรมดา แต่เป็นการควบคุมนักโทษ ผู้นี้ให้หนีออกมาจากมารที่รบกวนหัวใจแต่โดยเร็ว
    หลวงปู่กล่าวว่า เป็นการเคราะห์ดีอย่างยิ่งที่บังเอิญเจ้าภาพที่หล่มสักนั้นได้นิมนต์ท่านพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ไปร่วมในงานศพในครั้งนั้นด้วย หากไม่มีพระเถระช่วยให้สติปรับปรุงแถมยังคอยควบคุมตัว ท่านว่า ไม่ทราบว่าจะรอดพ้นปากเหยี่ยวปากกามาได้หรือไม่
    ท่านได้เห็นจริงในตอนนั้นว่า มาตุคามเป็นภัยแก่ตนอย่างยิ่ง เมื่อพระอานนท์กราบทูลถามสมเด็จพระพุทธองค์ว่า ควรปฏิบัติต่อมาตุคามเช่นใด พระพุทธเจ้าได้ตรัสว่า “ไม่ควรมอง ถ้าจำเป็นจะต้องมอง ก็ไม่ควรพูดด้วย ถ้าจำเป็นจะต้องพูดด้วย ก็ให้ตั้งสติ” ท่านตรัสบอกขั้นตอนปฏิบัติต่อมาตุคามเป็นลำดับ ๆ ไป แต่นี่หลวงปู่เพียงโดนขั้นแรก มอง ก็ถูกเปรี้ยงเสียแล้ว ถ้าเป็นนักมวยก็ขึ้นเวทียังไม่ทันจะเริ่มต่อย ก็ถูกน็อค
    ท่านพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม นี้เป็นศิษย์รุ่นใหญ่ของท่านพระอาจารย์มั่นต่อมาได้รับสมณศักดิ์เป็น ที่ พระญาณวิศิษฏ์ ท่านได้เห็นพระรุ่นน้องแสดงกิริยาดูน่ากลัวว่าจะพ่ายแพ้อำนาจของกิเลส ถ้าเป็นนักสู้ ก็เป็นนักสู้ที่ยินยอมจะให้เขายกกรีธาพาเข้าสู่ที่ประหารชีวิตแต่โดยดี ไม่พยายามฝืนต่อสู้แต่อย่างใด
    ท่านจึงควบคุมนักโทษ “ซึ่งเป็นนักโทษหัวใจ” ผู้นั้น รีบหนีออกจากหล่มสักโดยเร็ว ออกมาจากสถานที่เกิดเหตุคือเมืองหล่มสักโดยเร็วที่สุด เที่ยววิเวกลงมาตามป่าตามเขา และเร่งทำตบะความเพียรอย่างหนัก
    ท่านพระอาจารย์สิงห์สนับสนุนให้หลวงปู่อดนอน อดอาหาร เพื่อผ่อนคลายความนึกคิดถึงมาตุคาม ให้เร่งภาวนาพุทโธ...พุทโธถี่ยิบ และนั่งข่มขันธ์ แต่ความกลับกลายเป็นโทษ เคราะห์ดีท่านไม่ตามนิมิต ซึ่งแทนที่จะยอมสิโรราบตามเคราะห์กรรมที่มีอยู่เช่นนั้น เพราะเคยมีกรรมต่อกันมาเช่นนั้น ทำให้พอเห็นก็มืออ่อนเท้าอ่อน ยอมตายง่าย ๆ ท่านกลับเข้าหาครู เชื่อครู เล่านิมิตถวาย ท่านพระอาจารย์สิงห์ท่านได้โอกาส จึงได้อบรมกระหน่ำเฆี่ยนตีทันควัน”
     
  19. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    สมเด็จฯ สั่งให้ไปนครราชสีมา
    หลังจากเสร็จงานพิธีอุปสมบท หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป เมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ.๒๔๗๔ ซึ่งสามเณรจันทร์ศรี ได้เข้าพิธีอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดศรีจันทร์ อ.เมือง จ.ขอนแก่น โดยมีพระครูพิศาลอรัญญเขตต์ (จันทร์ เขมิโย) เจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระมหาปิ่น ปญญาพโล เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ในเดือนถัดมาคือ เดือนกุมภาพันธ์ ๒๔๗๔ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะ ชั้นเจ้าคณะรอง (หิรัญญบัตร) ที่ พระพรหมมุนี (ติสฺโส อ้วน) เจ้าคณะมณฑลนครราชสีมา ท่านได้บังเกิดมีความสังเวชสลดใจ โดยได้ทัศนาการเห็นท่านพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ วัดบรมนิวาส จังหวัดพระนคร ป่วยหนัก ระลึกถึงตัวเองว่าไม่มีกัลยาณมิตรที่ดีทางฝ่ายวิปัสสนา จึงใคร่จะหาที่พึ่งอันประเสริฐต่อไป
    จึงตกลงใจต้องไปเอาหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม พระมหาปิ่น ปญฺญาพโล ซึ่งกำลังออกเที่ยวธุดงค์ไปจังหวัดขอนแก่นมาเป็นกัลยาณมิตรที่ดีให้จงได้ เมื่อตกลงใจแล้วก็เดินทางไปโดยฐานะเป็นเจ้าคณะตรวจการ ครั้นไปถึงจังหวัดขอนแก่นแล้ว ถามได้ทราบว่า หลวงปู่สิงห์ พระมหาปิ่น กำลังออกไปเทศนาสั่งสอนประชาชนอยู่อำเภอน้ำพอง ก็โทรเลขถึงนายอำเภอให้ไปอาราธนา หลวงปู่สิงห์ พระมหาปิ่น เอารถยนต์มาส่งถึงจังหวัดขอนแก่นในวันนั้น
    เมื่อหลวงปู่สิงห์ พระมหาปิ่นมาถึงจังหวัดขอนแก่นแล้ว ท่านบอกว่า จะเอาไปอยู่ด้วยที่จังหวัดนครราชสีมา เพื่อปรึกษาหารือกันด้านวิปัสสนาและอบรมสมถวิปัสสนาแก่พุทธบริษัททั้งหลายด้วย เพราะได้เห็น เจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ป่วยขาหักเสียแล้ว ท่านสลดใจมาก
    และในปีนี้เอง พ.ต.ต. หลวงชาญนิยมเขต ได้ถวายที่ดินหลังสถานีรถไฟ จำนวน ๘๐ ไร่เศษ ให้สร้างเป็นวัด ซึ่งต่อมาก็คือวัดป่าสาลวัน นั่นเอง หลวงปู่สิงห์จึงได้เรียกลูกศิษย์ที่อยู่ทางขอนแก่นลงไป เมื่อคณะศิษย์มาถึงนครราชสีมาก็ได้ออกเดินทางไปพักที่สวนของหลวงชาญฯ
    รุ่งขึ้นจากวันที่มีการถวายที่ดิน หลวงปู่สิงห์ และพระมหาปิ่น ปญฺญาพโล ก็เดินทางเข้ากรุงเทพฯ โดยเดินทางร่วมมากับพระอาจารย์ฝั้น ซึ่งเป็นการเข้ากรุงเทพฯ เป็นครั้งแรกของท่านอาจารย์ฝั้น เพื่อเข้ามาเยี่ยมอาการป่วยของเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) ที่วัดบรมนิวาส เมื่อถึงกรุงเทพฯ ก็ได้เข้าพักอยู่ที่วัดบรมนิวาส ตั้งแต่เดือนสาม จนถึงเดือนหก
    ในระหว่างนั้นท่านก็ได้ฝึกสอนพุทธบริษัทวัดบรมนิวาสให้นั่งสมาธิภาวนาและได้ไปฝึกสอนพุทธบริษัท วัดสัมพันธวงศ์ให้นั่งสมาธิภาวนา มีประชาชนพุทธบริษัทมาสดับตรับฟังและฝึกหัดนั่งสมาธิเป็นอันมากทั้ง ๒ สำนัก
    ช่วยหลวงปู่ฝั้นให้พ้นจากบุรพกรรมอีกองค์หนึ่ง
    ระหว่างพำนักอยู่ในกรุงเทพฯ เรื่องที่ไม่น่าจะเกิด ก็ได้อุบัติขึ้นแก่หลวงปู่ฝั้นโดยบังเอิญ ที่ว่าไม่น่าจะเกิดขึ้นนั้น ก็เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสตรีเพศ
    เรื่องมีว่า วันหนึ่งพระอาจารย์สิงห์ ได้พาหลวงปู่ฝั้นไปนมัสการท่านเจ้าคุณ พระปัญญาพิศาลเถระ (หนู) ที่วัดสระปทุม ระหว่างทางได้เดินสวนกับผู้หญิงคนหนึ่งเข้า นับตั้งแต่วินาทีนั้นเป็นต้นมา พระอาจารย์ฝั้นก็ลืมผู้หญิงคนนั้นไม่ลง
    ท่านรู้สึกว่า ท่านได้เกิดความรักขึ้นในใจเสียแล้ว ขณะเดียวกัน ท่านก็บอกตัวเองด้วยว่า ท่านจะต้องขจัดความรู้สึกดังกล่าวออกไปเสียให้พ้นจากความรู้สึกนึกคิดให้ได้
    เมื่อกลับวัดบรมนิวาสในวันนั้น ท่านได้นั่งภาวนา พิจารณาแก้ไขตัวเองถึงสามวัน แต่ก็ไม่ได้ผล ใบหน้าของผู้หญิงนั้นยังคงอยู่ในความรู้สึกนึกคิด จนไม่อาจสลัดให้ออกไปได้ ในที่สุด เมื่อเห็นว่า เป็นการยากที่จะแก้ไขได้ด้วยตัวเองแล้ว ท่านจึงได้เล่าเรื่องที่เกิดขึ้นให้ท่านพระอาจารย์สิงห์ฟัง เพื่อให้ช่วยแก้ไข พระอาจารย์สิงห์ได้แนะให้ท่านไปพักในพระอุโบสถ พร้อมกับให้พิจารณาทำความเพียรให้หนักขึ้น
    พระอาจารย์ฝั้นได้บำเพ็ญภาวนาอยู่ในพระอุโบสถเป็นเวลาถึง ๗ วัน ก็สามารถรู้ชัดถึงบุพเพสันนิวาสแต่ในปางก่อน ว่าผู้หญิงคนนี้กับท่าน เคยเป็นสามีภรรยากันมา จึงทำให้เกิดความรู้สึกดังกล่าวขึ้น เมื่อตระหนักในเหตุในผล ท่านก็สามารถตัดขาด ลืมผู้หญิงคนนั้นไปได้โดยสิ้นเชิง
    แยกย้ายกันสร้างวัดและเผยแพร่ธรรม
    ในระหว่างที่หลวงปู่สิงห์ และพระมหาปิ่น ปญฺญาพโล เดินทางเข้ากรุงเทพฯ คณะศิษย์ก็ร่วมกันจัดสร้างเสนาสนะชั่วคราวขึ้น พอท่านกลับมาถึงแล้วเมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๔๗๕ หลวงปู่สิงห์ พระมหาปิ่น ก็ไปพักที่วัดป่าสาลวัน ซึ่งคุณหลวงชาญนิคม ได้เริ่มสร้างมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ๒๔๗๔ ได้กุฏิ ๑ หลัง ศาลายังสร้างไม่เสร็จ ๑ หลัง
    จากนั้นพระอาจารย์มหาปิ่นก็ได้พาหมู่ศิษย์อีกหมู่หนึ่งไปสร้างเสนาสนะที่ข้างกรมทหาร ต. หัวทะเล อ. เมือง จ. นครราชสีมา ซึ่งแต่ก่อนเคยเป็นป่าช้าที่ ๒ สำหรับเผาศพผู้ที่ตายด้วยโรคติดต่อ เช่นอหิวาตกโรค และ กาฬโรค ฯลฯ เป็นต้น ให้ชื่อว่าวัดป่าศรัทธารวม พรรษานั้นมีพระผู้ใหญ่ด้วยกันหลายองค์ คืออาจารย์เทสก์ อาจารย์ฝั้น อาจารย์ภูมี อาจารย์หลุย อาจารย์กงมา โดยมีพระมหาปิ่นเป็นหัวหน้า พรรษานี้ท่านอาจารย์มหาปิ่นก็ได้รับแขกและเทศนาอบรมญาติโยมตลอดพรรษา ปีเดียวเกิดมีวัดป่าพระกรรมฐานขึ้นสองวัดเป็นปฐมฤกษ์ของเมืองโคราช
    พรรษาแรก ได้แยกกันอยู่จำพรรษา ดังนี้คือ
    ๑. หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม
    ๒. พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ
    เผยแพร่พระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระ อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์วัดป่าสาลวัน จังหวัดนครราชสีมา มีพระ ภิกษุ ๓๘ รูป สามเณร ๑๒ รูป
    ๑. พระมหาปิ่น ปญฺญาพโล ปธ.๕ กับ
    ๒. พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร
    ๓. พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ
    เผยแพร่พระพุทธศาสนาอยู่จำพรรษาที่วัดป่าศรัทธารวม ตำบลหัวทะเล อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา มีพระภิกษุ ๑๐ รูป สามเณร ๔ รูป
    ได้มีการอบรมศีลธรรมให้แก่ประชาชน จนประชาชนเกิดความเลื่อมใสและตั้งตนอยู่ในพระไตรสรณาคมน์ ถือวัดป่าสาลวันเป็นจุดศูนย์กลางปฏิบัติกัมมัฏฐานและเป็นสถานที่ชุมนุมประจำ ครั้นเมื่อจะเข้าพรรษาก็ให้แยกย้ายพระไปวิเวกจำพรรษาในวัดต่าง ๆ ที่ไปตั้งขึ้น ตัวท่านหลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม ไปจำอยู่ที่ศูนย์กลางคือ วัดป่าสาลวันนี้
    ครั้นปีต่อมา คือในปี ๒๔๗๖ ก็ได้แยกกันอยู่จำพรรษา เป็นหลายสำนักมากขึ้น โดยลำดับ คือ
    ๑. พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม พร้อมด้วยพระภิกษุ ๕ รูป สามเณร ๒ รูป ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนา ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ
    ท่านพักที่สำนักสงฆ์วัดป่าสุวรรณไพโรจน์ อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ
    ๒. ท่านพระอาจารย์ภุมมี จิตรธมฺโม พร้อมด้วยพระภิกษุ ๕ รูป เผยแพร่พระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระ อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์ วัดป่าท่าช้าง จังหวัดนครราชสีมา
    ๓. พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ ให้ไปเผยแพร่พระ พุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระ ในเขตอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา
    นายอำเภอมีความเลื่อมใสอาราธนาไปพักสำนักสงฆ์ วัดป่าสว่างอารมณ์ บ้านใหม่สำโรง อำเภอสี่คิ้ว จังหวัด นครราชสีมา
    ๔. พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร พร้อมทั้งพวกไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่อำเภอโชคชัย
    ขุนอำนาจ นายอำเภอมีศรัทธาเลื่อมใสมากได้อาราธนาให้ท่านพักที่สำนักสงฆ์วัดป่าธรรมนิการาม อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา
    ๕. พระอาจารย์บุญ พระอาจารย์พรหม พรหมสโร ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระที่กิ่งอำเภอ บำเหน็จณรงค์
    ท่านพักจำพรรษาอยู่ที่สำนักสงฆ์วัดป่าสำราญจิต ตำบลบ้านชวน กิ่งอำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ
    ๖. พระอาจารย์คำตา พร้อมพระภิกษุ ๕ รูป สามเณร ๒ รูป ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่อำเภอปักธงชัย
    ท่านพักอยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์ วัดป่าเวฬุวัน อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา
    ๗. พระอาจารย์ภุมมี ฐิตธมฺโม พร้อมด้วยพระภิกษุ ๕ รูป สามเณร ๒ รูป ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนา ฝ่ายวิปัสสนาธุระ อำเภอจักรราช
    ท่านพักอยู่ที่สำนักสงฆ์วัดป่าจักรราช อำเภอจักรราช จังหวัดนครราชสีมา
    ระยะต่อมาก็มีการกระจายกันไปสร้างวัดโดยรอบวัดป่าสาลวัน เช่นสร้างวัดศรัทธาวนาราม ข้างกรมทหาร ตำบลหัวทะเล สร้างวัดป่าคีรีวัลย์ อำเภอท่าช้าง วัดป่าอำเภอกระโทก วัดป่าอำเภอจักราช วัดป่าสะแกราช อำเภอปักธงไชย วัดป่าบ้าใหม่สำโรง อำเภอสีคิ้ว วัดป่าบ้านมะรุม อำเภอโนนสูง ฯลฯ ... เป็นกองทัพธรรม กระจายแยกย้ายกันไปเทศนาอบรมประชาชน
    ไปสร้างวัดป่าทรงคุณ ปราจีนบุรี
    หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโมได้จำพรรษาอยู่ที่วัดป่าสาลวัน ได้ ๕ พรรษา ปี พ.ศ. ๒๔๘๐ ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระในจังหวัดปราจีนบุรี ตามคำอาราธนาของท่านเจ้าคุณ พระปราจีนมุนี ตั้งแต่เมื่อยังไม่ตั้งสำนักสงฆ์วัดป่าทรงคุณ โดยมีพระมหาปิ่น ปญฺญาพโล ได้ติดตามไปด้วย ท่านพักที่สวนมะม่วงของอาจารย์พร บรรลือคุณ
    การมาอยู่จำพรรษาที่นี่ ท่านได้นำธรรมะปฏิบัติ สอนให้บรรดาชาวบ้านโดยทั่วไปประพฤติปฏิบัติ จนปรากฏว่าชื่อเสียงในการสั่งสอนและแสดงพระธรรมเทศนาของท่านลึกซึ้ง จับใจ ฟังแล้วเข้าใจง่าย คนที่ได้สดับรับฟังแล้วนำไปประพฤติปฏิบัติตามจนเกิดสติปัญญารอบรู้ แต่ก็สร้างความไม่พอใจแก่คนเลวบางคนเป็นยิ่งนัก ถึงขนาดจ้างมือปืนมาฆ่าท่าน แต่ก็เกิดปาฏิหาริย์ขึ้นในขณะที่มือปืนเล็งปืนขึ้นหมายยิงท่านนั้น ต้นไม้ทุกต้นในบริเวณป่านั้นแกว่งไกวเหมือนถูกลมพายุพัดอย่างรุนแรง ขนาดต้นไม้โตๆ ล้มระเนระนาดหมด ทำให้มือปืนใจชั่วตกใจเหลือกำลัง จะวิ่งหนีแต่ขาก้าวไม่ออก ปืนที่หมายจะยิงพระอริยเจ้าผู้ปฏิบัติชอบ ได้ตกหล่นอยู่บนพื้นดิน มือปืนจึงก้มลงกราบ พร้อมกับกล่าวคำสารภาพผิด พระอาจารย์สิงห์ได้อบรมจิตใจของมือปืนรับจ้าง ด้วยความเมตตา และปล่อยตัวไป ซึ่งต่อมาผู้มีอิทธิพล ซึ่งจ้างมือปืนฆ่าพระอาจารย์สิงห์ได้สำนึก และได้รับฟังธรรมะโอวาทจากพระอาจารย์สิงห์ เกิดปีติในธรรมะอย่างล้นพ้น เลื่อมใสศรัทธาด้วยจิตใจบริสุทธิ์ จึงพร้อมใจกันฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของท่านพระอาจารย์สิงห์ และ ได้ชักชวนกัน สร้างสำนักสงฆ์อันถาวร ถวายพระอาจารย์สิงห์ เพื่อเป็นเครื่องระลึกถึงคุณของท่าน ที่ได้เปิดตาเปิดใจพวกเขา ให้ได้รับแสงสว่างในธรรมะ และได้ตั้งชื่อไว้ว่า "วัดป่ามะม่วง" หรือ วัดป่าทรงคุณ แห่งจังหวัดปราจีนบุรีในปัจจุบันนี้
    งานบำเพ็ญกุศลครบรอบ ๘๐ ปี ของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล
    ปี พ ศ. ๒๔๘๑ เมื่อครั้งจัดงานบำเพ็ญกุศลครบรอบ ๘๐ ปี ของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล หลวงปู่สิงห์ กับ พระมหาปิ่นได้ร่วมกันเรียบเรียงหนังสือที่ระลึก เรื่องกติกาวิธีสัมมาปฏิบัติ ว่าด้วยข้อปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ สำหรับสำนักชีกรรมฐาน ถวายมุทิตาจิตแด่หลวงปู่ใหญ่เสาร์เพื่อพิมพ์แจกในงาน ซึ่งก่อนหน้านี้ หลวงปู่สิงห์ และพระมหาปิ่น ปญฺญาพโล ได้เรียบเรียงแบบถึงพระไตรสรณคมน์ กับแบบวิธีนั่งสมาธิภาวนา ตามที่คุณหา บุญมาไชย์ ปลัดขวาอำเภอพระลับ จังหวัดขอนแก่น อาราธนาให้เรียบเรียงไว้เมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๗๔ โดยถวายหลวงปู่ใหญ่เสาร์ให้พิจารณาตรวจทานด้วย
    ในงานดังกล่าว พระภิกษุที่ได้รับนิมนต์มาเจริญพระพุทธมนต์ในงานพิธีนี้ มีจำนวน ๘๐ รูป ครบเท่าอายุ โดยคณะศรัทธาญาติโยมได้จัดเตรียมผ้าจีวรครบ ๘๐ ชุด สำหรับท่านพระอาจารย์ใหญ่ ได้ทอดถวายเป็นผ้าบังสุกุล นอกจากนี้คณะพระลูกศิษย์ของท่าน ยังได้ช่วยกันตัดเย็บผ้าขาวเป็นจำนวน ๘๐ ผืน ให้ท่านได้แจกทานแด่แม่ชีที่มาในงานครั้งนี้ด้วย
    ในงานมุทิตาจิตหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโลนี้ไม่มีมหรสพสมโภชใดๆ ทั้งสิ้น มีแต่การปฏิบัติธรรมและแสดงพระธรรมเทศนา โดย ท่านพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ท่านพระอาจารย์ดี ฉนฺโน ท่านพระมหาปิ่น ปญฺญาพโล และพระลูกศิษย์ที่มีเทศนาโวหารเก่งๆ ทั้งหลาย ได้ผลัดเปลี่ยนกันขึ้นธรรมาสน์กล่าวธรรมกถาสะกดผู้ฟังที่มากันเต็มศาลาใหม่วัดบูรพารามนั้น
    หนังสือ แบบถึงพระไตรสรณคมน์ กับแบบวิธีนั่งสมาธิภาวนา ที่ได้กล่าวถึงข้างต้นนี้ได้เป็นเหตุนำมาซึ่งความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง และเป็นเหตุเริ่มต้นที่ทำให้เราได้มีพระสุปฏิปันโน เพิ่มขึ้นอีก ๒ องค์ด้วยกันคือ หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ และ พระอาจารย์หลวง กตปญฺโญ
    โดยหลวงปู่เหรียญได้บวชเมื่ออายุย่างได้ ๒๐ ปีในเดือน มกราคม พ.ศ.๒๔๗๕ ที่วัดบ้านหงษ์ทอง อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย มี ท่านพระครูวาปีดิฐวัตร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์พรหม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้กลับมาอยู่วัดโพธิ์ชัย บ้านหม้อ อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย พรรษาแรก จำพรรษา ณ วัดศรีสุมัง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย โยมบิดาเอาหนังสือธรรมะมาถวายเล่มหนึ่ง เป็นหนังสือเกี่ยวกับการเจริญสมถะและวิปัสสนาของ พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ได้อ่านดูเกิดความสนใจ เรื่อง สติปัฎฐานสี่ โดยเฉพาะเรื่อง กายานุปัสสนา
    ส่วนท่านพระอาจารย์หลวง กตปญฺโญ แห่งวัดป่าสำราญนิวาส จ.ลำปาง ได้เล่าให้พระอาจารย์มหาถาวร จิตฺตถาวโร แห่งวัดปทุมวนารามฟังว่า “สมัยอาตมาเป็นฆราวาส อาตมาได้รับหนังสือ แบบถึงพระไตรสรณคมน์ มาเล่มหนึ่ง พออ่านไป ๆ จิตใจนี้บังเกิดความเลื่อมใส อยากบวชเป็นพระเสียเลย พออ่านแล้ว จิตใจอยากบวช เพราะเกิดซาบซึ้งขึ้นในธรรมนั้น ๆ ทั้ง ๆ ที่อ่านเพียงครั้งแรก อาตมาก็ยังมานึกสงสัยอยู่เลยว่า ทำไมจึงเข้าใจได้เข้าใจดี นี่อาจเป็นวาสนาของอาตมาก็ได้นะ มันคงถึงคราวต้องบวชด้วยหรือเปล่าก็ไม่รู้…
    ตั้งใจปรารถนาพุทธภูมิ
    ท่านได้จำพรรษา ที่วัดป่าสาลวัน จนถึงปี ๒๔๘๓
    ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ ท่านได้พิจารณาเห็นอุปสรรคแห่งการประพฤติปฏิบัติพระพุทธศาสนาถึงขั้นสละชีวิตทำความเพียร จึงตั้งสัจอธิษฐานทำความเพียรไม่ได้หลับนอนถึง ๗ วัน ๗ คืน เกิดอาพาธหนักทุกขเวทนากล้าแข็ง และเกิดโทมนัสคับแค้นใจเป็นกำลัง พิจารณาเห็นว่า บุญวาสนาไม่เพียงพอ จึงตัดสินใจปรารถนาพุทธภูมิสร้างบารมีเพื่อพระโพธิญาณสืบไป (ข้อมูลจาก ประวัติย่อหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม ในเว็บไซต์หลวงพ่อพุธ ฐานิโย www.geocities.com/thaniyo/archan1044_2.html)
    หลวงปู่สิงห์จัดการงานศพหลวงปู่เสาร์
    ปี พ.ศ. ๒๔๘๕ เมื่อหลวงปู่ใหญ่เสาร์ ได้มรณภาพลงที่วัดอำมาตยาราม นครจำปาศักดิ์ ข่าวการมรณภาพของพระครูวิเวกพุทธกิจ หรือหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ได้แพร่สะพัดไปอย่างรวดเร็ว ท่านอาจารย์กงแก้ว ได้ส่งโทรเลขไปยังเมืองอุบลฯ แจ้งข่าวให้ หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม และญาติโยมได้ทราบข่าวการมรณภาพของหลวงปู่ใหญ่ และให้เตรียมไปรับศพท่านกลับเมืองไทยต่อไป
    ทางด้านจังหวัดอุบลราชธานี เมื่อทางหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโมและคณะได้ทราบข่าวการมรณภาพของหลวงปู่ใหญ่ จึงได้นำหีบศพที่หลวงปู่ใหญ่ได้เตรียมไว้ที่วัดบูรพารามคราวทำบุญอายุครบ ๘๐ ปีมุ่งหน้าเดินทางไปนครจำปาศักดิ์โดยด่วน
    การเดินทางได้ใช้รถยนต์ของคุณหญิงตุ่น โกศัลวิตรกับแม่ชีผุย ซึ่งเคยให้บริการเมื่อครั้งคณะของหลวงปู่ใหญ่เดินทางเข้ามาทางฝั่งลาว ก่อนที่ท่านจะมรณภาพ
    ขบวนรถนำหีบศพแล่นพ้นเขตอำเภอพิบูลมังสาหารเข้าไปทางช่องเม็ก มุ่งหน้าสู่เมืองเก่านครจำปาศักดิ์
    เพียงเข้าเขตประเทศลาว รถวิ่งอยู่ดี ๆ ก็เกิดยางระเบิด พอเปลี่ยนยางเสร็จวิ่งไปได้สักครู่เครื่องยนต์ก็เกิดดับขึ้นเฉยๆ แก้ไขอย่างไรเครื่องก็ไม่ยอมติด ตะวันก็จวนจะมืดค่ำลงทุกขณะ บริเวณนั้นก็เป็นป่าเปลี่ยวด้วย จนปัญญาไม่สามารถจะแก้ไขให้รถยนต์วิ่งต่อไปได้
    หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม จึงพูดขึ้นว่า “หรือว่าพวกเราจะขัดความประสงค์ของท่านอาจารย์ เทวดาทั้งหลายจึงได้ขัดขวางการที่พวกเราจะไปเคลื่อนศพท่านกลับมาประเทศไทย”
    หลวงปู่สิงห์ ให้คนจัดหาดอกไม้ธูปเทียนถวายท่าน แล้วท่านก็ลงคุกเข่าอยู่ตรงข้างๆ รถ ผินหน้าไปทางนครจำปาศักดิ์ กล่าวคำขมาโทษครูบาอาจารย์ แล้วพูดดังๆ ป่าวประกาศให้เทวดาฟ้าดินทั้งหลายได้รับทราบทั่วกันว่า
    “..ที่มานี้ก็มีความประสงค์อย่างแน่วแน่ที่จะไปรับศพของพระอาจารย์กลับมาบำเพ็ญกุศลทางฝั่งไทย เพราะลูกศิษย์ลูกหาทางฝั่งนั้นมีมาก หากพวกเขาจะต้องเดินทางมาบำเพ็ญกุศลทางฝั่งนี้จะเป็นการลำบากวุ่นวาย ไม่สะดวกโดยประการทั้งปวง
    ฉะนั้น ข้าพเจ้า พระอาจารย์สิงห์ จึงขอป่าวประกาศให้เทวดาฟ้าดินตลอดทั้งรุกขเทวดา อากาศเทวดา ภุมเทวดาทั้งหลายได้โปรดทราบโดยถ้วนทั่ว และขอศพพระอาจารย์เพื่อไปบำเพ็ญกุศลทางฝั่งประเทศไทยเถิด”
    พอหลวงปู่สิงห์กล่าวจบลง ท่านก็สั่งให้คนขับติดเครื่องทันที
    เป็นเรื่องที่แปลกและอัศจรรย์มาก หลวงปู่สิงห์ยังไม่ลุกจากที่นั่ง สตาร์ทเครื่องเพียงครั้งเดียวเครื่องยนต์ก็ติด รถจึงได้ออกแล่นมุ่งตรงไปยังนครจำปาศักดิ์เพื่อไปรับศพหลวงปู่ใหญ่ ที่วัดอำมาตยารามต่อไป
    หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม พร้อมคณะ ได้ขอศพหลวงปู่ใหญ่กลับไปบำเพ็ญกุศลที่เมืองอุบลฯ เจ้าเมืองนครจำปาศักดิ์ พร้อมด้วยข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนได้ตั้งศพบำเพ็ญกุศลถวายอย่างสมเกียรติแก่พระบูรพาจารย์ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐาน เป็นเวลาพอสมควรแล้ว และเห็นว่าระยะเวลานั้นอยู่ในช่วงสงครามอินโดจีนของฝรั่งเศส หรือสงครามบูรพาอาคเณย์ยังร้อนระอุอยู่ จะจัดงานศพครูบาอาจารย์ทางฝั่งลาวคงไม่สะดวกนัก จึงได้มอบศพหลวงปู่ใหญ่ ให้คณะของหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม ได้เคลื่อนย้ายจากวัดอำมาตยาราม นครจำปาศักดิ์ สู่จังหวัดอุบลราชธานีต่อไป
    เมื่อศพหลวงปู่ใหญ่ เดินทางถึงจังหวัดอุบลราชธานีแล้ว ได้ตั้งบำเพ็ญกุศลที่วัดบูรพาราม เมื่อเป็นเวลาพอสมควรแล้ว หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต จึงสั่งให้บรรจุเก็บศพของท่านไว้ก่อน รอความพร้อมที่จะฌาปนกิจในปีต่อไป
    กำหนดวันจัดงานฌาปนกิจศพหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ระหว่างวันที่ ๑๕-๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๖ ซึ่งเป็นเวลา ๑๔ เดือน หลังจากการมรณภาพของท่าน
    หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม ได้เป็นแม่งานในการจัดเตรียมงานทั้งหมดแทน หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ศิษย์ผู้มีอาวุโสมากที่สุด ที่กำลังเดินทางจากบ้านโคก จังหวัดสกลนครมาเป็นประธานก่อนวันเผาราว ๓ วัน และอยู่ต่ออีก ๑ วันหลังวันงาน จึงได้เดินทางกลับจังหวัดสกลนคร
    ในงานนั้นท่านอาจารย์มั่นก็ได้แสดงธรรม ซึ่งในตอนหนึ่งของการแสดงธรรม ท่านก็ได้พูดถึงพระอาจารย์สิงห์ด้วย ซึ่งเรื่องนี้ หลวงพ่อพุธ ฐานิโย ได้เล่าไว้ว่า
    “...จำได้ว่างานศพหลวงปู่เสาร์ ตอนนั้นหลวงพ่อบวชเป็นพระได้พรรษาหนึ่ง อยู่วัดสระปทุม (วัดปทุมวนาราม เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ) ใครต่อใครเขาก็ไปกัน แต่พระอุปัชฌาย์ (เจ้าคุณพระปัญญาพิศาลเถร-หนู ฐิตปญฺโญ) ให้หลวงพ่อเฝ้ากุฏิ เลยไม่ได้ไปกับเขา
    พอพระอุปัชฌาย์ท่านไป กลับมาก็มาเทศน์ให้ฟัง...”
    ท่านอาจารย์มั่นแสดงธรรมว่า
    “...เมื่อสมัยท่านอาจารย์เสาร์ยังมีชีวิตอยู่ ท่านก็เป็นครูบาอาจารย์สั่งสอนเรา บัดนี้ท่านอาจารย์เสาร์ได้มรณภาพไปแล้ว ก็ยังเหลือแต่เรา พระอาจารย์มั่น จะเป็นอาจารย์อบรมสั่งสอนหมู่ในสายนี้ต่อไป
    ดังนั้น ท่านผู้ใดสมัครใจเป็นลูกศิษย์ท่านอาจารย์มั่นต้องปฏิบัติตามปฏิปทาของท่านอาจารย์มั่น ถ้าใครไม่สมัครใจหรืปฏิบัติตามไม่ได้ อย่ามายุ่งกับท่านอาจารย์มั่นเป็นอันขาด
    ทีนี้ถ้าเราคืออาจารย์มั่น ตายไปแล้ว ก็ยังเหลือแต่ท่านสิงห์นั่นแหละ พอจะเป็นครูบาอาจารย์สั่งสอนหมู่ได้”
    จัดการงานศพพระมหาปิ่นผู้เป็นน้องชาย
    ในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๘๗ ท่านพำนักอยู่ที่จังหวัดอุบล ในปีนั้นสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) อาพาธหนัก ถึงขนาดฉันอาหารไม่ได้ ต้องถวายอาหารทางเส้นโลหิต ท่านจึงเรียกพระเถระฝ่ายกัมมัฏฐานเข้าไปปรึกษาหารือเพื่อหาทางบำบัดโรคในทางธรรมปฏิบัติ สมเด็จฯ ได้นิมนต์พระอาจารย์สิงห์ พระอาจารย์ทอง อโสโก และพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ให้มาอธิบายธรรมให้ท่านฟัง ปีนั้นเป็นปีเดียวกับที่พระมหาปิ่น ปญฺญาพโล น้องชายของท่านซึ่งได้ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาที่จังหวัดปราจีนบุรีอยู่ ๕ พรรษา ได้กลับมาจังหวัดอุบลฯ
    พระมหาปิ่น เมื่อกลับจากจังหวัดปราจีนบุรี มาอยู่ที่อุบลฯ แล้วได้อาพาธด้วยโรคปอดอยู่ที่วัดป่าแสนสำราญ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ในช่วงนั้น พระอาจารย์ฝั้นซึ่งได้รับคำสั่งจากสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ให้พระอาจารย์ฝั้นอยู่ที่อุบลราชธานีเพื่ออุปัฏฐากสมเด็จ
    ในพรรษานั้น ในช่วงเวลาที่พ้นเวลาอุปัฏฐากสมเด็จ พระอาจารย์ฝั้นก็ประกอบยารักษาโรค ถวายพระอาจารย์มหาปิ่น พระอาจารย์ฝั้นได้พยายามหาสมุนไพรต่าง ๆ มาปรุง แล้วกลั่นเป็นยาถวายพระอาจารย์มหาปิ่น หยูกยาที่ทันสมัยก็ไม่มี เพราะขณะนั้นกำลังอยู่ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ ออกพรรษาปี พ.ศ. ๒๔๘๗ เสร็จฤดูกาลกฐินแล้ว พระอาจารย์ฝั้น ได้เข้านมัสการลาสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ที่วัดสุปัฏนาราม ขอเดินทางไปสกลนคร อันเป็นจังหวัดบ้านเกิดของท่าน
    พระมหาปิ่นอาพาธอยู่ ๒ พรรษา ไม่หายและได้ถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๙ หลวงปู่สิงห์ก็ได้เป็นธุระในเรื่องเกี่ยวกับการศพพระมหาปิ่นจนเสร็จการ
    พระอาจารย์มั่นมรณภาพ
    ในปีพุทธศักราช ๒๔๙๒ ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของพระอาจารย์มั่น ในปีนั้นเมื่อใกล้จะออกพรรษา เหลืออีกประมาณ ๑๐ วัน พระอาจารย์มั่นท่านก็ได้บอกพระที่อยู่ใกล้ชิดว่า
    “ชีวิตของเราใกล้จะสิ้นแล้ว ให้รีบส่งข่าวไปบอกแก่คณาจารย์ที่เป็นศิษย์เราทั้งใกล้และไกล ให้รีบมาประชุมกันที่บ้านหนองผือนี้ เพื่อจะได้มาฟังธรรมะเป็นครั้งสุดท้าย”
    บรรดาพระที่อยู่ใกล้ชิดก็ได้จดหมายบ้าง โทรเลขบ้างไปยังที่อยู่ของพระคณาจารย์เหล่านั้น บรรดาคณาจารย์ทั้งหลายเมื่อได้รับจดหมายบ้าง โทรเลขบ้างแล้ว ต่างก็ได้บอกข่าวแก่กันต่อ ๆ ไปจนทั่ว เมื่อการปวารณาออกพรรษาแล้วต่างองค์ก็รีบเดินทางมุ่งหน้ามาหาอาจารย์มั่นฯ ยังบ้านหนองผือ อันเป็นจุดหมายเดียวกัน แต่ท่านอาจารย์มั่นฯ ได้สั่งให้นำท่านไปยังวัดสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร
    หลวงปู่สิงห์เมื่อได้ทราบข่าวก็รีบเดินทางเพื่อมาเฝ้าท่านพระอาจารย์มั่นโดยทันที และตามมาทันในระหว่างทางเมื่อคณะศิษย์และชาวบ้านได้นำท่านพระอาจารย์มั่นมาถึงวัดป่าดงนาภู่ ในวันขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๑๒ ปี พ.ศ. ๒๔๙๒
    ครั้นเมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๒ ได้นำท่านมาพักที่วัดป่าสุทธาวาส ใกล้เมืองสกลนคร โดยพาหนะรถยนต์ มาถึงวัดเวลา ๑๒.๐๐ น. เศษ ครั้นถึงเวลา ๒.๒๓ น. ของวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ศกเดียวกัน ท่านก็ได้ถึงแก่มรณภาพด้วยอาการสงบ ในท่ามกลางศิษยานุศิษย์ทั้งหลาย มีเจ้าพระคุณพระธรรมเจดีย์เป็นต้น สิริชนมายุของท่านพระอาจารย์ได้ ๘๐ ปี
    หลังงานถวายเพลิงศพท่านพระอาจารย์มั่นเมื่อวันอังคารที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๓ ที่วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนครแล้ว หลวงปู่สิงห์ก็ได้เป็นหนึ่งในคณะกรรมการแบ่งอัฐิธาตุของหลวงปู่มั่นซึ่งประกอบด้วย
    พระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล)
    พระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสโส)
    พระพิศาลสารคุณ (อินทร์ ภิรเสวี)
    พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม
    หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
    หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ
    พระมหาทองสุก สุจิตโต
    ในส่วนของท่านเองก็ได้รับมาส่วนหนึ่งและได้แจกไปตามวัดต่าง ๆ และอุบาสกอุบาสิกาที่เคารพนับถือในพระอาจารย์มั่นด้วย
    เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๔ เจ้าคณะภาค (ธรรมยุต) ได้อาราธนาให้หลวงปู่สิงห์ ขนฺยาคโม ไปอบรมกรรมฐานแก่พุทธบริษัทชาวเมืองเพชรบุรี
    สมณศักดิ์และหน้าที่ทางสงฆ์
    เมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๕ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น เจ้าคณะฝ่ายธรรมยุต ผู้ช่วยจังหวัดปราจีนบุรี
    เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๔๙๖ คณะสงฆ์ขอสมณศักดิ์ที่ พระครูญาณวิศิษฏ์ ให้พระอาจารย์สิงห์ พร้อมกันกับหลวงปู่เทสก์ เทสรํสี แต่คำขอสมณศักดิ์ให้หลวงปู่เทสก์ได้ตกไปเพราะท่านยังไม่มีสำนักเป็นที่อยู่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์
    เมื่อวันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ.๒๔๙๙ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะธรรมยุตผู้ช่วยจังหวัดปราจีนบุรี-นครนายก
    เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๐๐ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระราชาคณะชั้นสามัญ ได้นามว่า พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ และในปี พ.ศ.๒๕๐๐ นี้เอง ท่านเจ้าคุณพระปราจีนมุนีได้มรณภาพ หลวงปู่สิงห์ก็ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้รักษาการเจ้าคณะฝ่ายธรรมยุต จังหวัดปราจีนบุรีและจังหวัดนครนายก แทนท่านเจ้าคุณพระปราจีนมุนี
    ปฏิปทาของหลวงปู่สิงห์
    ตลอดระยะเวลา หลวงปู่สิงห์ได้ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันมิได้ขาด ตอนเช้าทำวัตรสวดมนต์เสร็จ ท่านจะนำคณะออกบิณฑบาตแผ่บุญกุศลแก่ญาติโยม หลังจากนั้นท่านจะทำการอบรมพระภิกษุสามเณรให้ปฏิบัติกรรมฐานทุกๆ วันมิให้ขาด ตอนเย็นเมื่อกระทำวัตรสวดมนต์เสร็จ ท่านจะอบรมธรรมะ แก้ปัญหาธรรมที่มีภิกษุสามเณรติดขัดจนเป็นที่เข้าใจ ตอนกลางคืนท่านจะให้พระภิกษุสามเณรนั่งสมาธิภาวนาทุกรูป ซึ่งปรากฏว่าไม่มีใครกล้าหลีกเลี่ยง พอตอนเช้าท่านก็จะเรียกพระภิกษุสามเณรที่ไม่ปฏิบัติกรรมฐานมาว่ากล่าวตักเตือน ชี้ให้เห็นถึงความเสียหายต่าง ๆ จนเป็นที่ยำเกรงของคณะศิษย์ทุกรูป
    หลวงปู่สิงห์ฉันหนเดียว และฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร ตลอดชีวิต ท่านถือผ้าไตรจีวรสามผืนเป็นวัตร ท่านถือผ้านิสีทนะปูนั่งเป็นวัตร คือจะนั่ง ณ ที่ใดก็ตาม ท่านด้องปูผ้านิสีทนะของท่านก่อนจึงจะนั่งทับลงไป การปฏิบัติต่าง ๆ หลวงปู่สิงห์ถือเคร่งครัดมาก
    ขันติของหลวงปู่สิงห์
    ท่านมีความเพียรพยายามจริง ๆ เดินจงกรมตลอดวัน นั่งสมาธิตลอดคืน บางทีท่านจะสั่งลูกศิษย์ คือพระครูใบฎีกาณรงค์ชัย รักขิตสีโล ให้ปฏิบัติท่าน โดยท่านจะเข้าสมาบัติเป็นเวลา ๕ วันบ้าง ๗ วันบ้าง ซึ่งก็หมายความว่าท่านได้อดอาหารเป็นเวลา ๕- ๗ วันไปด้วยซึ่งร่างกายของท่านมิได้มีอะไรผิดปรกติ ยังเห็นท่านปฏิบัติกรรมฐานเดินจงกรมทุกวี่วันมิได้ขาด
    เมื่อเกิดการเจ็บป่วยเจ็บปวดมีทุกขเวทนาอย่างแสนสาหัส ท่านก็ไม่เคยปริปากบอกใคร เวลาเจ็บป่วยหนักๆ ลุกไม่ขึ้น เมื่อมีแขกมาเยี่ยม แขกถามว่า ท่านอาจารย์สบายดีหรือ ท่านก็ตอบเขาไปว่า สบายดีอยู่ ทั้งๆที่เจ็บปวดอย่างที่คนธรรมดาสามัญจะทนไม่ได้ หลวงปู่สิงห์เป็นมะเร็งเกี่ยวกับลำไส้ ช่วงระยะเวลาช่วงหลังของชีวิต ท่านถูกโรคร้ายนี้คุกคามตลอดเวลา
    ครั้งหนึ่ง ตอนที่หลวงปู่สิงห์นอนป่วยอยู่ ท่านพระครูใบฎีกาณรงค์ชัย ได้เข้าเวรรักษาพยาบาลปรนนิบัติท่าน ขณะกำลังนั่งทำงานพัดอยู่ กลดเจ้ากรรมหล่นลงมากระแทกหน้าอกของหลวงปู่สิงห์ เป็นกลดแบบกรรมฐานที่ฝ่ายมหานิกายใช้เสียด้วย มันเบาอยู่เสียเมื่อไหร่ หนักร่วม ๓๐ กิโลกรัม ด้ามเป็นเหล็กด้วยซ้ำ ตกลงมาถูกหน้าอกท่านเป็นรอยช้ำ ท่านมิได้ปริปากพูดแต่ประการใด เพียงแต่นอนมองทำตาปริบๆ เท่านั้น ถ้าเป็นคนอื่นโดนเข้าแบบนี้ ในขณะที่ไม่สบายด้วยเช่นนี้ มิด่าโขมงโฉงเฉงไปหมดหรือ แต่ท่านมีขันติความอดทนเสียทุกอย่าง เป็นพระจริง ๆ สมกับเพศสมณะ
    ตอนงานผูกพัทธสีมา วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา กำลังทำสังฆกรรมในโบสถ์ พอดีกับเวลานั้นโรคมะเร็งของท่านกำเริบเจ็บปวดจนกระดิกตัวไม่ได้ ท่านก็ไม่ยอมปริปากบอกให้ใครรู้ จนเสร็จจากสังฆกรรมเรียบร้อย พระสงฆ์องค์อื่นลุกออกไปเกือบหมดแล้ว หลวงปู่สิงห์จึงได้บอกกับพระครูใบฎีกาณรงค์ชัยว่า “ขณะนี้ในท้องของเราไม่ปรกติเสียแล้ว” ท่านพูดเพียงแค่นี้เอง แต่ความไม่ปรกติของท่านนั้น ทำเอาท่านลุกไม่ขึ้น ด้องหามส่งเข้าโรงพยาบาลทันที ปฏิปทาในด้านความมีขันติของหลวงปู่สิงห์ เป็นที่กล่าวขวัญในระหว่างลูกศิษย์ทุกคนด้วยความศรัทธา
    กลับสู่สำนักเดิม
    ระยะหลังบั้นปลายของชีวิตของหลวงปู่สิงห์ ท่านถูกโรคมะเร็งรบกวนอย่างหนักตลอดเวลา แต่ท่านก็ยังคงปฏิบัติหน้าที่สั่งสอนภิกษุสามเณรอยู่เสมอมิได้ขาด
    จวบจนปี พ.ศ.๒๕๐๒ คณะสัปบุรุษวัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา ได้มาอาราธนาหลวงปู่สิงห์จากวัดป่าทรงคุณ จ.ปราจีนบุรี ให้กลับไปจำพรรษาที่วัดป่าสาลวันอีกหลวงปู่สิงห์ได้ไปจำพรรษาวัดป่าสาลวัน ๑ พรรษา
    พอปี พ.ศ. ๒๕๐๓ ท่านได้กลับมาจำพรรษาที่วัดป่าทรงคุณอีก ช่วงนี้เองอาการป่วยเริ่มเบียดเบียนท่านอีก ต้องเข้าทำการผ่าตัดที่โรงพยาบาลพระมงกุฎๆ
    พอปี พ.ศ.๒๕๐๔ ท่านได้จัดงานผูกพัทธสีมาวัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา งานเสร็จก็ป่วยหนักจนด้องส่งเข้าโรงพยาบาลพระมงกุฎฯ อีก
    วันเข้าพรรษาลูกศิษย์ได้รับมาพักรักษาตัวที่วัดป่าสาลวันตามเจตนาของหลวงปู่สิงห์ ดูเหมือนท่านจะรู้วาระของท่านอย่างแน่ชัด โดยท่านได้จัดการสั่งสอนศิษย์และภิกษุสามเณร มอบงานหน้าที่ต่าง ๆ จนเป็นที่เรียบร้อย
    จวบวันที่ ๘ กันยายน พ.ศ.๒๕๐๔ ท่านก็มรณภาพด้วยอาการสงบ ท่ามกลางศิษย์ที่เฝ้าดูแล ยังความเศร้าสลดต่อลูกศิษย์ลูกหาที่เฝ้าดูแลเป็นอย่างยิ่ง
    วันมรณภาพของหลวงปู่สิงห์ ได้มีนิมิตบอกมายังพระครูใบฎีกาณรงค์ชัย ซึ่งตอนนั้นอยู่ที่วัดป่าทรงคุณ จ.ปราจีนบุรี พระครูใบฎีกาณรงค์ชัย จึงรีบเดินทางมายังวัดป่าสาลวัน แต่ก็มาถึงช้าไป ปรากฏว่าหลวงปู่สิงห์ได้มรณภาพเสียก่อนแล้วประมาณ ๒ ชั่วโมง หลวงปู่สิงห์มรณภาพ เวลา ๑๐.๒๐ น. ของวันที่ ๘ ก.ย. ๒๕๐๔ ซึ่งเป็นการสูญเสียพระวิปัสสนาจารย์องค์สำคัญของพระกรรมฐาน ในสายท่านอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ทีเดียว
    สิ่งมหัศจรรย์
    หลังจากที่ท่านมรณภาพ ลูกศิษย์จะนำศพของท่านจากกุฏิลงศาลาไปสรงน้ำ พอเจ้าหน้าที่ยกศพขึ้นจากที่ ฝนก็ตกลงมาอย่างไม่มีเค้าเลย แต่พอวางศพท่านลงถึงพื้น ฝนหยุดตกทันที พอหมอนำยามาฉีดกันศพเน่า ก็เกิดฉีดไม่เข้าอีก เล่นเอาเข็มฉีดยาหักไปสามเล่ม เจ้าคณะจังหวัดนครราชสมาต้องหาดอกไม้ธูปเทียนมาขอขมาและขออนุญาต พอแทงเข็มเข้าก็ยาไม่เดินอีก ต้องจัดหาดอกไม้ขัน ๕ มาบอกกล่าวอีก และเกิดปาฏิหาริย์ ไม่ต้องเร่งดันเข็ม ยาวิ่งเข้าเองเลย ทำให้คณะศิษย์ที่อยู่ในบริเวณยกมือท่วมหัวสาธุกันทั่วหน้า เป็นบุญบารมีของท่านอย่างแท้จริง
    เมื่อตกแต่งศาลาหลังต่ำเสร็จ จะนำศพท่านไปสรงน้ำและตั้งศพท่าน พอเจ้าหน้าที่ยกศพท่านขึ้น ฝนก็ตกลงมาอีกแต่พอถึงที่วางศพท่านลง ฝนก็หยุดทันที ยังความแปลกประหลาดใจแก่ผู้พบเห็นกันทั่วหน้า
    เมื่องานพระราชทานเพลิงศพของหลวงปู่สิงห์ก็เช่นกัน พอเจ้าหน้าที่ยกศพของท่านขึ้น ฝนก็เริ่มดกปรอย ๆ ได้นำศพของท่านแห่รอบศาลาเมรุสามรอบแล้วนำขึ้นตั้งบนเมรุ พอวางศพท่านลงฝนก็หยุดตกทันที ในวันพระราชทานเพลิงศพของหลวงปู่สิงห์นั้นมีผู้คนจากทั่วสารทิศ มีคณะศิษย์ทั้งฆราวาสและสามเณรรวมทั้งภิกษุในสายอาจารย์มั่น ภูริทัตโต มาร่วมชุมนุมกันครบถ้วน จนบริเวณวัดป่าสาลวันแน่นขนัด คับแคบไปถนัดตา
    วัตถุมงคล
    หากจะไม่กล่าวถึงการสร้างวัตถุมงคลของท่าน ก็จะไม่นับเป็นเรื่องราวที่สมบูรณ์ หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม ได้สร้างพระเครื่องไว้ ตอนที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ดังนี้
    เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๐ หลวงปู่สิงห์ ได้จัดให้สร้างเหรียญปางลีลา ด้านหน้าเขียนว่า “ฉลองพุทธศาสนา ๒๕๐๐” โดยทำเป็นเหรียญรูปไข่ ด้านหลังเป็นยันต์หมอมหาวิเศษของท่าน แบ่งออกเป็น ๒ แบบเป็นของชาย ของหญิง ไม่ใช้รวมกัน ได้จัดสร้างที่วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา
    พ.ศ.๒๕๐๑ หลวงปู่สิงห์ได้จัดสั่งให้สร้างเหรียญรูปเหมือนของท่าน หลวงปู่สิงห์ได้จัดสั่งให้ทำเป็นรูปไข่ แต่คนรับไปทำคือ นายสมศักดิ์ แสงจันทร์ กลับไปสั่งให้ร้านรับทำที่กรุงเทพๆ จัดทำเป็นรูปโดยตัดตามรอยหยักขององค์พระตามรูปท่านั่งสมาธิของหลวงปู่สิงห์ แต่เมื่อนำกลับมาส่งมอบให้ท่านปลุกเสก ท่านเห็นรูปเหรียญที่ทำมาท่านบอกว่า “แบบนี้เราไม่ต้องการ เราสั่งให้ทำเหรียญแบบรูปไข่แบบกลม ๆ ไปทำแบบไหนมา ให้นำไปฝัง” แต่ท่านก็ปลุกเสกให้ เมื่อท่านปลุกเสกให้แล้วจะนำไปฝังดินทิ้ง แต่ทหารค่ายจักรพงษ์ขอไปแล้วนำไปทดลองยิงปรากฏว่ายิงไม่ออก ยิงครั้งที่สามปืนแตกจนไหม้คนทดลองยิง เป็นเหตุให้คนต่างอยากได้ไว้บูชาประจำตัวกัน พวกลูกศิษย์ลูกหาจงมาขออ้อนวอนให้ท่านนำมาแจกในงานฉลองสมณศักดิ์ของท่าน เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๑ โดยนำเหรียญดังกล่าวใส่บาตรไว้ตามแต่ใครจะเอา ให้ทำบุญบูชาองค์ละ ๒๐ บาท นับว่าเหรียญรุ่นนี้แปลกกว่าเหรียญอื่นๆ การทำทำได้สวยงามมาก นับว่าเป็นเหรียญรุ่นแรกของหลวงปู่สิงห์ ปัจจุบันเหรียญรุ่นนี้หาดูยากแล้ว
    พ.ศ. ๒๕๐๔ หลวงปู่สิงห์ได้จัดสร้างเหรียญรูปเหมือนของท่าน เป็นแบบตัดริมหยักตามองค์พระอีก ด้านหลังเป็นยันต์หมอมหาวิเศษของท่านเช่นเติม คราวนี้จัดสร้างเป็นล็อกเกตรูปของท่านด้วยแบ่งเป็นของชายหญิงแยกกัน ทำแผ่นยันต์หมอมหาวิเศษ และแหวนเงินลงยารูปหลวงปู่สิงห์ด้วย พระชุดนี้สร้างแจกในงานผูกพัทธสีมาวัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา
    เหรียญรูปหลวงปู่สิงห์รุ่นนี้นับเป็นรุ่นที่ ๒ มีพวกรถไฟนำไปใช้แขวนสร้อยอยู่ ไปทะเลาะมีเรื่องกัน โดนฟันด้วยมีดขอ ๓ ครั้งไม่เข้า พอโดนฟันอีกครั้งโดนสร้อยขาดหลวงพ่อกระเด็น ไม่เข้าอีก หนที่ห้า หลวงพ่อไม่อยู่ด้วย ปรากฏว่าเข้า ตั้งแต่นั้นมา เหรียญหลวงพ่อแบบนี้จึงเป็นที่นิยมกันมาก เหรียญรุ่นนี้เคยมีคนขอเช่ากันในราคาเหรียญละหลายพันบาท จึงเป็นเหรียญเงียบๆ ที่มีราคาค่างวดสูง รู้กันเฉพาะคนที่สนใจในพุทธคุณจริง ๆคนที่มีอยู่ต่างก็หวงแหน พูดถึงด้านพุทธคุณกันแล้วเหรียญอาจารย์ดังๆในปัจจุบันยังเป็นรองหลายชั้นนัก
    หลังจากนั้นท่านก็ไม่ได้สร้างอีก นับว่าเหรียญรุ่นที่ ๒ เป็นเหรียญรุ่นสุดท้ายของหลวงปู่สิงห์ เพราะหลังจากงานผูกพัทธสีมาวัดป่าสาลวันแล้ว หลวงปู่สิงห์ก็ล้มป่วยและมรณภาพในเวลาต่อมาด้วยโรคมะเร็งในท้อง ดังกล่าวแล้ว


    จบ
     
  20. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    และต่อไปกระผมจะขอโอกาส พ่อแม่ครูอาจารย์ นำเสนอประวัติพระอาจารย์ใหญ่สายกรรมฐาน พระธรรมเจดีย์ (หลวงปู่จูม พนฺธุโล)ซึ่งเกี่ยวข้องกับ องค์หลวงปู่ ศรี มหาวีโรท่านเองเคยปรารภ ประมาณว่าที่ไหนผีดุ ต้องให้หลวงปู่ศรีไปปราบ (เท่าที่ผมจำได้นะครับ)

    โดยข้าน้อยขอโอกาสพระอาจารย์ทั้งหลายนำเสนอธรรมในใจของท่านเพื่อเป็นประโยชน์แก่สาธุชนนะขอรับ


    <table style="border-collapse: collapse; border-width: 0" border="1" cellpadding="0" cellspacing="0" height="147" width="569"><tbody><tr><td style="border-style: none; border-width: medium" height="145" width="442">
    พระธรรมเจดีย์ (หลวงปู่จูม พนฺธุโล)
    วัดโพธิสมภรณ์ อ.เมือง จ.อุดรธานี
    คัดลอกจาก : http://www.manager.co.th/budish/kaewmanee29.html
    </td> <td style="border-left-style: none; border-left-width: medium; border-right-style: none; border-right-width: medium; border-top: medium none #111111; border-bottom: medium none #111111" height="145" width="124"> [​IMG]</td> </tr> </tbody></table>
    ชาติกำเนิด และชีวิตปฐมวัย
    ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ มีนามเดิมว่า จูม จันทรวงศ์ เกิดเมื่อวัน พฤหัสบดี ที่ 24 เมษายน พ.ศ.2431 ตรงกับวันขึ้น 6 ค่ำเดือน 6 ปีชวด สัมฤทธิศก จุลศักราช 2450 เป็นบุตรคนที่ 3 (ในจำนวน 9 คน) ของ นายคำสิงห์ และนางเขียว จันทรวงศ์ มีอาชีพทำนาทำไร่ ชาติภูมิอยู่บ้านท่าอุเทน อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม
    เด็กชายจูม จันทรวงศ์ เป็นผู้มีอุปนิสัยดี สนใจในการทำบุญทำกุศล ตั้งแต่เป็นเด็ก ชอบติดตามบิดามารดา หรือคุณตาคุณยาย ไปวัด ได้มีโอกาสพบเห็นพระสงฆ์เป็นประจำ เมื่ออายุครบเกณฑ์เข้าเรียนหนังสือ ก็ไปเข้า โรงเรียนวัดศรีเทพ ประดิษฐาราม อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม จนจบหลักสูตรประถมศึกษาบริบรูณ์ ในสมัยนั้น
    ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา
    ต่อมาเมื่อเด็กชายจูม จันทรวงศ์อายุได้ 12 ปี บิดามารดาประสงค์จะให้ลูกชายได้บวชเรียนในพุทธศาสนา จึงได้จัดการ ให้เด็กชายจูมได้บรรพชาเป็นสามเณร ในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.1442 ตรงกับวันอาทิตย์ ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 1 (เดือนอ้าย) ปีกุน โดยมี พระครูขันธ์ ขนฺติโก วัดโพนแก้ว ตำบลท่าอุเทน อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านพระครูเหลา วัดโพนแก้ว เป็นพระอาจารย์ ผู้ให้ไตรสรณคมน์และศีล ท่านพระครูสีดา วัดโพนแก้ว เป็นพระอาจารย์ผู้ให้โอวาท และอบรมสั่งสอนความรู้ ทางหลักธรรม
    เมื่อบวชเป็นสามเณรแล้ว ท่านได้อยู่จำพรรษา ณ วัดโพนแก้ว และได้ศึกษาเล่าเรียนปริยัติธรรม รวมทั้งระเบียบปฏิบัติ ขนบธรรมเนียมประเพณีของ วัดโพนแก้วเป็นเวลา 3 ปี
    การศึกษาเล่าเรียนของพระสงฆ์ในสมัยนั้นเป็นการเรียนอักษรสมัย คือ อักษรขอม อักษรธรรม และภาษาไทย สามเณรจูม จันทรวงศ์ มีความสนใจในการศึกษา เล่าเรียนสามารถเขียนอ่านได้อย่างคล่องแคล่ว มีสติปัญญาเฉียบแหลม จนเป็นที่รักใคร่ ของครูบาอาจารย์ นอกจากนี้ ท่านยังได้ฝึกหัดเทศน์มหาชาติ (เวสสันดรชาดก) เป็นทำนองภาคอีสาน ปรากฏว่า เป็นที่นิยมชมชอบ ของบรรดาญาติโยมทั้งบ้านใกล้ และบ้านไกล
    ต่อมาในปี พ.ศ.2445 สามเณรจูม จันทรวงศ์ ได้ย้ายไปอยู่วัดอินทร์แปลง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม เพื่อศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ และจะได้เป็นปัจจัยสำคัญ ในการศึกษาหลักธรรมชั้นสูง สืบต่อไป แต่ท่านก็อยู่จำพรรษาที่วัดอินทร์แปลงได้เพียงปีเดียว ในปี พ.ศ.2446 ท่านพระอาจารย์จันทร์ เขมิโย ซึ่งต่อมาเป็น "พระเทพสิทธาจารย์" และเป็นพระอาจารย์สามเณรจูม ท่านมีจิตใจมุ่งมั่น ที่จะบำเพ็ญสมณธรรม ตามหลักของไตรสิกขา และมีความสนใจ เรื่องการปฏิบัติกรรมฐาน เป็นพิเศษ ท่านพระอาจารย์จันทร์ เขมิโย จึงปรารภกับหมู่คณะ และสานุศิษย์ว่า จะเดินทางไปกราบขออุบายธรรมปฏิบัติ จากพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายสมถกรรมฐาน คือ พระอาจารย์เสาร์ กนุสีตโล และ พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ดังนั้น สามเณรจูมและหมู่คณะ จึงได้ติดตามพระอาจารย์จันทร์ เขมิโย เดินทางออกจากจังหวัดนครพนม มุ่งสู่จังหวัดอุบลราชธานี
    คณะพระอาจารย์จันทร์และลูกศิษย์ ออกเดินทางรอนแรมไปตามป่าดงพงไพร พักไปเรื่อยๆ เมื่อผ่านหมู่บ้าน เนื่องจาก การเดินทางในสมัยนั้นยาก ลำบากเต็มทน นอกจากต้องเดินทางด้วยเท้าเปล่าแล้ว ยังต้องผ่านป่าดงหนาทึบ และบางตอน เป็นภูเขาสูงชัน บางตอนเป็นหุบเหวลึก ต้องหาทางหลีกเลี่ยงวกไปวนมา จึงทำให้การเดินทางล่าช้า เมื่อไปถึงจังหวัดอุบลราชธานี พระอาจารย์จันทร์ เขมิโย ได้นำคณะศิษย์เข้ากราบนมัสการพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล และพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ณ สำนักวัดเลียบ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี และได้ฝากถวายตัวเป็นศิษย์ เพื่อศึกษาข้อวัตรปฏิบัติและแนวกรรมฐาน
    ตลอดเวลา 3 ปี ที่อยู่จำพรรษา ณ วัดเลียบ จังหวัดอุบลฯ สามเณรจูม จันทรวงศ์ ได้รับการอบรมสั่งสอน จากพระอาจารย์ใหญ่ ทั้งสองท่านเป็นอย่างดี จนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องวัตรปฏิบัติ และแนวทางเจริญกรรมฐานเป็นที่น่าพอใจ เพราะอาศัยเมตตาจิต และโอวาทานุสาสนี จากพระอาจารย์ใหญ่ทั้งสอง จึงทำให้อุปนิสัย ของสามเณรจูม ยึดมั่นในพระธรรมวินัย ประพฤติดีปฏิบัติชอบ สร้างสมบารมีเรื่อยมา จนได้เป็นพระมหาเถระผู้มีชื่อเสียงโด่งดังและเป็นปูชนียบุคคลของชาวอีสานในกาลต่อมา
    ภายหลังจากที่ได้ศึกษาธรรมปฏิบัติกรรมฐานกับพระอาจารย์เสาร์ และ พระอาจารย์มั่นเป็นเวลา 3 ปีแล้ว ในปี พ.ศ. 2449 ท่านพระอาจารย์จันทร์ เขมิโย (พระเทพสิทธาจารย์) จึงได้กราบลาพระอาจารย์ใหญ่ทั้งสอง พาคณะพระภิกษุ และสามเณร เดินทางกลับจังหวัดนครพนมอันเป็นถิ่นมาตุภูมิ ในการเดินทางกลับนั้น ก็มีความยากลำบากเหมือนกับตอนเดินทางมา คือ ต้องเดินทางด้วยเท้า ไม่มียานพาหนะใดๆ ถนนก็ยังไม่มี คงมีแต่หนทาง และทางเกวียนที่ลัดเลาะไปตามป่าตามดง เมื่อผ่านหมู่บ้าน ก็ปักกลดพักแรม เป็นระยะๆ หมู่บ้านละ 2 คืนบ้าง 3 คืนบ้าง ชาวบ้านรู้ข่าวก็พากันมาฟังธรรม โดยท่านพระอาจารย์จันทร์ เขมิโย เป็นผู้แสดงธรรมโปรดญาติโยม ทุกหมู่บ้านที่ผ่านเข้าไป ประชาชนเกิดศรัทธาปสาทะเป็นอย่างยิ่ง บางแห่งถึงกับนิมนต์ คณะของพระอาจารย์จันทร์ ให้พักอยู่หลายๆ วันก็มี
    ครั้นถึงวันที่ 8 เดือนเมษายน พ.ศ.2449 ตรงกับวันอาทิตย์ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ปีมะเมีย เป็นวันมหาฤกษ์ ที่คณะพระสงฆ์ ฝ่ายธรรมยุตติกนิกาย เดินทางเข้าเขตจังหวัดนครพนม ถึงบ้านหนองขุนจันทร์ ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของเมืองนครพนม จึงหยุดพักอยู่ที่นั่น ก่อน พระยาสุนทรกิจจารักษ์ เจ้าเมืองนครพนม ได้ทราบข่าวว่ามีพระผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของพระอาจารย์เสาร์ และพระอาจารย์มั่น เดินทางมาถึงบ้านหนองขุนจันทร์ ก็เกิดความชื่นชมยินดีเป็นอันมาก จึงสั่งให้ข้าราชการทุกแผนก ประกาศให้ ประชาชนทราบ และจัดขบวนออกไปต้อนรับ โดยมีเครื่องประโคมต่างๆ มีฆ้อง กลอง ปี่ พาทย์ เป็นต้น เมื่อไปถึง ท่านเจ้าเมือง ก็เข้ากราบนมัสการพระสงฆ์เหล่านั้น และนิมนต์ให้ขึ้นนั่งบนเสลี่ยงซึ่งมีชายฉกรรจ์แข็งแรง 4 คนหามแห่เข้าสู่เมืองนครพนมจนถึง วัดศรีขุนเมือง (วัดศรีเทพประดิษฐาราม) คณะสงฆ์ลูกศิษย์ของพระอาจารย์เสาร์และพระอาจารย์มั่น ก็ได้ปักหลักตั้งสำนักสงฆ์ ฝ่ายธรรมยุตติกนิกายอยู่ ณ อารามแห่งนี้ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
    ต่อมาในปี พ.ศ.2450 ท่านพระอาจารย์จันทร์ เขมิโย (พระเทพสิทธา จารย์) ได้พิจารณาเห็นว่า ลูกศิษย์ทั้ง 7 คนของท่านคือ สามเณรจูม จันทรวงศ์ สามเณรสังข์ สามเณรเกต สามเณรคำ นายสาร นายสอน และนายอินทร์ ทั้งหมดนี้เป็นผู้มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ สมควรจะทำการอุปสมทบได้แล้ว ท่านพระอาจารย์จันทร์ จึงจัดเตรียมบริขารเครื่องใช้ที่จำเป็นแก่ศิษย์ แล้วพาคณะศิษย์ทั้ง 7 คน เดินทางจากเมืองนครพนม ไปยังเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี เพื่อเข้ารับการ อุปสมบทเป็นพระภิกษุสืบต่อไป
    ในการเดินทางครั้งนั้น ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ได้เล่าไว้ว่า "เดินทางด้วยเท้าเปล่าจากเมืองนครพนมถึงหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี เป็นเวลา 15 วันเต็มๆ ไปถึงแล้วก็พักผ่อนกันพอสมควร วันอุปสมบทคือ วันที่ 9 เดือนมีนาคม พ.ศ.2450 ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 4 ปีมะแม ณ พัทธสีมาวัดมหาชัย ตำบลหนองบัวลำภู อำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี โดยมีท่านพระครูแสง ธมฺมธโร วัดมหาชัย เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านพระครูสีมา สีลสมฺปนฺโน วัดจันทราราม (เมืองเก่า) อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และท่านพระอาจารย์จันทร์ เขมิโย (พระเทพ สิทธาจารย์) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "พนฺธุโล" การอุปสมบทเสร็จสิ้นเมื่อเวลา 17.10 น.
    หลังจากที่พระภิกษุจูม พนฺธุโล ได้อุปสมบทเรียบร้อยแล้ว พระอาจารย์จันทร์ เขมิโย ก็ได้นำคณะพระนวกะที่เป็นลูกศิษย์ เดินทางกลับจังหวัดนครพนม โดยผ่านเมืองอุดรธานี มุ่งสู่จังหวัดหนองคาย ลงเรือชะล่า ซึ่งพระยาสุนทรเทพสัจจารักษ์ เจ้าเมืองนครพนม จัดให้มารับที่จังหวัดหนองคาย ล่องเรือไปตามแม่น้ำโขงเป็นเวลา 12 วันเต็มๆ ก็ถึงนครพนม จำพรรษาอยู่ที่วัดศรีเทพประดิษฐาราม (วัดศรีขุนเมือง) 1 พรรษา
    ในปี พ.ศ.2451 พระภิกษุสามเณรจำนวน 5 รูป ได้แก่ 1. พระอาจารย์จันทร์ เขมิโย 2. พระภิกษุจูม พนฺธุโล 3. พระภิกษุสาร สุเมโธ 4. สามเณรจันทร์ มุตตะเวส และ 5. สามเณรทัศน์ ได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม ให้มีความรู้ ทางด้านนักธรรมและบาลีให้ดียิ่งขึ้น การเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ในสมัยนั้น เต็มไปด้วยความลำบาก อาศัยพ่อค้าหมูเป็นผู้นำทาง ผ่านจังหวัดสกลนคร ขึ้นเขาภูพาน และต้องนอนค้างคืนบนสันเขาภูพานถึง 2 คืน ผ่านจังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดขอนแก่น อำเภอชนบท และหมู่บ้านต่างๆ จนถึง จังหวัดนครราชสีมา ใช้เวลาเดินทาง ทั้งสิ้น 24 วัน เมื่อเดินทางถึงนครราชสีมา ก็ได้โดยสารรถไฟ ต่อเข้ากรุงเทพฯ เพราะในสมัยนั้นทางรถไฟมาถึงแค่โคราช ถึงกรุงเทพฯ แล้วได้ไปพักอยู่วัดเทพศิรินทราวาส ซึ่งมี พระเดชพระคุณ ท่านเจ้าคุณพระสาสนโสภณ เป็นเจ้าอาวาส ท่านพระอาจารย์ จันทร์ เขมิโย ได้นำคณะเข้ากราบเรียน โดยนำจดหมายฝากจาก พระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ เจ้าเมืองนครพนมเข้าถวาย ท่านเจ้าคุณพระสาสนโสภณทราบเจตจำนงแล้ว ก็ได้รับพระภิกษุสามเณรทั้ง 5 รูปให้อยู่จำพรรษาที่วัดเทพศิรินทราวาส เพื่อศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมสืบต่อไป
    พระ ภิกษุจูม พนฺธุโล ได้ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม ทั้งแผนกนักธรรมและบาลี ณ สำนักวัดเทพศิรินทราวาส เป็นเวลาหลายพรรษา พระภิกษุจูมได้ตั้งใจ ศึกษาเล่าเรียน ด้วยวิริยะและอุตสาหะ แม้จะทุกข์ยากลำบาก ก็อดทนต่อสู้เพื่อความรู้ ความก้าวหน้า ในที่สุดท่านก็สามารถสอบไล่ได้นักธรรมชั้นตรี และชั้นโท ต่อมาก็เรียนบาลีไวยากรณ์ และแปลธรรมบท สอบไล่ ได้เปรียญธรรม 3 ประโยค จากความสำเร็จทางการศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมนี้ พระมหาจูม พนฺธุโล จึงได้รับแต่งตั้งเป็น พระครูฐานานุกรม ที่ "พระครูสังฆวุฒิกร" ซึ่งเป็นฐานานุกรมของ พระสาสนโสภณ (เจริญ ญาณวโร) ในปี พ.ศ.2448 ปีมะเส็ง เป็นปลายรัชสมัยรัชกาลที่ 5 พระยาศรีสุริยราชวรานุวัติ (โพธิ เนตติโพธิ์) มีศักดิ์เป็นมหาอำมาตย์ตรี ซึ่งเป็นสมุหเทศาภิบาล มณฑลอุดรธานี ได้จัดสร้างวัดขึ้นอีกแห่งหนึ่ง (นอกเหนือไปจากวัดมัชฌิมาวาส) ได้นิมนต์พระครูธรรมวินยานุยุต เจ้าคณะเมืองอุดรธานี จากวัดมัชฌิมาวาส มาเป็นเจ้าอาวาสวัดที่สร้างใหม่นี้ ต่อมาพระยาศรีสุริยราชวรานุวัติ ได้เข้ากราบทูลขอชื่อวัดใหม่ ต่อพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า พระองค์ทรงประทานนามว่า "วัดโพธิสมภรณ์" ให้เป็นอนุสรณ์ แด่พระยาศรีสุริยราชวรานุวัติ (โพธิ เนตติโพธิ์) ผู้ก่อตั้งจำเดิมแต่นั้นเป็นต้นมา
    ต่อมา พ.ศ.2456 พระยาราชนกูล (อวบ เปาโรหิตย์) ดำรงตำแหน่งอุปราชมณฑลภาคอีสาน และเป็น สมุหเทศาภิบาลมณฑลอุดรธานี ภายหลังได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยามุขมนตรีศรีสมุหนครบาล ได้พิจารณาเห็นว่า ภายใน เขตเทศบาลอุดรธานี ยังไม่มีวัดฝ่ายธรรมยุตติกนิกาย สมควรจะจัดให้วัดโพธิสมภรณ์ เป็นวัดคณะธรรมยุติ และในขณะเดียวกันก็ขาด พระภิกษุผู้จะมาเป็นเจ้าอาวาส เนื่องจากเจ้าอาวาสองค์ก่อน (คือ พระครูธรรมวินยานุยุต) ชราภาพมาก และญาติโยมได้นิมนต์ ให้กลับไปอยู่บ้านเกิดเมืองนอนของท่าน คือ วัดศรีเมือง อ.เมือง จ.หนองคาย ท่านพระยาราชนกูลฯ (อวบ เปาโรหิตย์) จึงไปปรึกษา หารือกับพระสาสนโสภณ เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพฯ และได้นำความขึ้นกราบทูล พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า วัดราชบพิธฯ เพื่อขอพระเปรียญธรรม 1 รูป จาก วัดเทพศิรินทราวาส ไปเป็นเจ้าอาวาส วัดโพธิสมภรณ์
    ท่านเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส โดยบัญชาของสมเด็จพระสังฆราชเจ้า ได้คัดเลือกพระเปรียญธรรม ผู้มีความรู้ความสามารถ ผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาและจริยา และมีภูมิลำเนาอยู่ภาคอีสาน ปรากฏว่าพระครูสังฆวุฒิกร (จูม พนธุโล น.ธ.โท. ป.ธ. 3) ได้รับการคัดเลือก นับว่าเป็นผู้เหมาะสมที่สุด และเป็นที่พอใจของพระยาราชนกูลฯ อีกด้วย เพราะท่านพระยาฯ มีความสนิทคุ้นเคย และเคยเป็นผู้อุปถัมภ์บำรุงพระครูสังฆวุฒิกร (จูม) มาก่อน
    พระครูสังฆวุฒิกร (จูม พนฺธุโล) อยู่จำพรรษาที่วัดเทพศิรินทราวาส เป็นเวลานานถึง 15 ปี เมื่อได้รับพระบัญชาจาก สมเด็จพระสังฆราชเจ้า และ พระสาสนโสภณ เช่นนั้น ก็มีความเต็มใจที่จะสนองพระเดชพระคุณอย่างเต็มที่ จึงอำลาวัดเทพศิรินทราวาส ที่ท่านอยู่จำพรรษามานานถึง 15 ปี เดินทางสู่จังหวัดอุดรธานี ไปเป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิสมภรณ์ อันเป็นวัดของคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุต ตั้งแต่ปี พ.ศ.2466 เป็นต้นมา เมื่อดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส ในฐานะนักปกครองเป็นครั้งแรก พระครูสังฆวุฒิกร (จูม พนฺธุโล) ก็ได้เร่งพัฒนาวัดโพธิสมภรณ์ให้เจริญรุ่งเรือง ทั้งทางด้านศาสนาสถาน ศาสนศึกษา ศาสนบุคคลและศาสนธรรม
    พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) มีปฏิปทาอันน่าเลื่อมใส และควรยึดถือเป็นแบบอย่าง เป็นเอนกประการ ท่านได้อุทิศตน เพื่อทำงานเผยแผ่หลักธรรมคำสอน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยมิได้เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย ภาระหน้าที่หลัก ที่ท่านถือเป็นธุระสำคัญมี 4 อย่าง ด้วยกัน คือ
    (1) การปกครอง
    (2) การศึกษา
    (3) การเผยแผ่ และ
    (4) การสาธารณูปการ
    ด้านการปกครองนั้น ท่านถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการเป็นผู้นำ จะเห็นได้จากที่ท่าน เป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิสมภรณ์ เป็นเวลา 39 ปี เป็นพระอุปัชฌาย์ 39 ปี เป็นผู้รักษาการเจ้าคณะมณฑลอุดรธานี 3 ปี เป็นเจ้าคณะมณฑลอุดรธานี 14 ปี เป็นสมาชิกสังฆสภา 17 ปี เป็นเจ้าคณะธรรมยุตผู้ช่วยภาค 3, 4 และ 5 รวม 12 ปี ท่านปกครองพระภิกษุสามเณร และอุบาสก อุบาสิกา ด้วยหลักพรหมวิหารธรรม เป็นพระเถระที่เคร่งครัดในระเบียบวินัย
    ส่วน ทางด้านการศึกษา พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณ พระธรรมเจดีย์ ก็เอาใจใส่และให้การสนับสนุนด้วยดีตลอดมา ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่า ท่านได้รับการฝึกอบรมสั่งสอน มาจากสำนักเรียนวัดเทพศิรินทราวาส อันเป็น ศูนย์กลางการศึกษาวิชาการทางพระพุทธศาสนา ท่านได้ส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรม ทั้งแผนกนักธรรมและแผนกบาลี และท่านเป็นครูสอนปริยัติด้วยตนเอง นับตั้งแต่ สมัยที่ท่านมาเป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิสมภรณ์ใหม่ๆ จนทำให้วัดของท่านมีชื่อเสียงโด่งดัง มีพระภิกษุสามเณรสอบได้ทั้งนักธรรม และเปรียญธรรมปีละมากๆ
    นอกจากการเอาใจใส่ในงานส่วนรวมแล้ว ท่านยังมีปฏิปทา ทางด้านวัตรปฏิบัติ อันมั่นคงด้วยดีตลอดมา นั่นคือ
    (1) ฉันภัตตาหารมื้อเดียว หรือ ที่เรียกว่า "เอกาสนิกังคะ"
    (2) ถือไตรจีวร คือ ใช้ผ้าเพียง 3 ผืน
    (3) ปฏิบัติสมถกรรมฐาน กำหนดภาวนา "พุทโธ" เป็นอารมณ์
    (4) ปรารภความเพียร ขยันเจริญ สมาธิภาวนา และ
    (5) เมื่อออกพรรษาปวารณาแล้ว ท่านก็ออกตรวจการเดินทางไปเยี่ยมเยือนพระภิกษุสามเณร ซึ่งอยู่ในเขตปกครองเป็นลักษณะการไปธุดงค์ตลอดหน้าแล้ง
    คุณงามความดีที่พระเดชพระคุณ ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ ได้บำเพ็ญมาด้วยวิริยะอุตสาหะ ทำให้พระเถระผู้ใหญ่ มองเห็นความสำคัญ และความสามารถของท่าน จึงได้ยกย่องเทิดทูนท่าน ไว้ในตำแหน่งทางสมณศักดิ์ตามลำดับดังนี้
    พ.ศ.2463 เป็นพระครูฐานานุกรม ของ พระสาสนโสภณ (เจริญ ญาณวโร) ในตำแหน่ง พระครูสังฆวุฒิกร
    พ.ศ.2468 ได้รับพระราชท่านสมณศักดิ์เป็น พระครูสัญญาบัตรพัดยศ ที่ พระครูชินโนวาทธำรง
    พ.ศ.2470 ได้รับพระราชท่านเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชคณะชั้นสามัญ ที่ พระญาณดิลก
    พ.ศ.2473 ได้รับพระราชท่านเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชเวที
    พ.ศ.2478 ได้รับพระราชท่านเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่ พระเทพกวี
    พ.ศ.2488 ได้รับพระราชท่านเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่ พระธรรมเจดีย์
    ธรรมโอวาท
    พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) ได้แสดงความจริงในอารมณ์จิตของท่าน และหาวิธีระงับ ดับอารมณ์นั้น โดยไม่หลงใหลไหกับโลกธรรม อุบายนั้นท่านได้แสดงไว้ว่า
    "จิตเป็นธรรมชาติที่กวัดแกว่งดิ้นรน กระสับกระส่าย แส่ไปตามอารมณ์ที่ใคร่ พอใจในเบญจกามคุณ ถึงกระนั้นก็ได้มี ทมะ คือความข่มจิตไว้ ไม่ให้ยินดียินร้ายไปตามอารมณ์ พร้อมทั้งมีสติประคับประคองยกย่องจิตตามอนุรูปสมัยนับว่าได้ผล คือจิตสงบ ระงับจากนิวรณูปกิเลสเป็นการชั่วคราวบ้าง เป็นระยะยาวนานบ้าง แต่ในบางโอกาสก็ควบคุมได้ยาก ซึ่งเป็นของธรรมดา สำหรับปุถุชน ต่อจากนั้นก็ได้บากบั่นทำจิตของตนให้รู้เท่าทันสภาวธรรมนั้นๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ตื่นเต้นไปกับโลกธรรม แต่ว่าระงับได้ ในบางขณะเช่น ความรัก ความชัง อันเป็นปฏิปักขธรรมเป็นต้น เหล่านี้ยังปรากฏมีในตนเสมอ ถึงกระนั้น ก็ยังมีปรีชา ทราบอยู่เป็นนิตย์ว่า เป็นโลกิยธรรมนำสัตว์ให้ท่องเที่ยวอยู่ในสังสารวัฏ เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงได้ฝึกหัดดัดนิสัย พยายามถอนตน ออกจากโลกียธรรม ตามความสามารถ รู้สึกว่าสบายกายสบายใจอันแท้จริงธรรมนี้เกิดจากข้อวัตรปฏิบัติในการละ พอใจยินดีอย่างยิ่ง ในความสงบ"
    และอีกคราวหนึ่งท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ ได้รับนิมนต์ให้ไปเทศน์ โดยมีพระเถระผู้ใหญ่รูปหนึ่งติดตามไปด้วย คือ พระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน แห่งวัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี วันนั้นท่านได้แสดงธรรมไว้อย่างแยบคาย พอที่จะหยิบยก เอาใจความสำคัญมากล่าวไว้ในที่นี้ดังต่อไปนี้:-
    "จิตของพระอริยะเจ้าแยกอาการได้ 4 อาการคือ
    อาการที่ 1 อโสก จิตของท่านไม่เศร้าโศก ไม่มีปริเทวนา การร้องไห้เสียใจ จิตใจของท่านมีความสุขล้วนๆ ส่วนจิตใจของปุถุชน คนธรรมดายังหนาไปด้วยกิเลสเต็มไปด้วยความรัก ความโศกถูกความทุกข์ครอบงำ ความโศกย่อมเกิดจากความรักเป็นเหตุ เมื่อมีความรัก ก็มีความโศก ถ้าตัดความรักเสียแล้ว ความโศกจะมีแต่ที่ไหน
    อาการที่ 2 วิรช จิตของพระอริยเจ้าผ่องแผ้ว ปราศจากฝุ่น ไร้ธุลี คือ ปราศจากราคะ โทสะ และโมหะ คงจะมีแต่พุทธะคือ รู้ ตื่น เบิกบาน
    อาการที่ 3 เขม จิตของพระอริยเจ้ามีแต่ความเกษมสำราญ เพราะปราศจากห้วงน้ำไหลมาท่วมท้นห้วงน้ำใหญ่เรียกว่า "โอฆะ" ไม่อาจจะท่วมจิตของพระอริยะเจ้าได้
    อาการที่ 4 จิตของพระอริยะไม่หวั่นไหวไปตามอำนาจกิเลส ไม่ตกอยู่ในห้วงแห่งอวิชชา จิตของพระอริยะมีแต่อาโลโก สว่างไสวแจ่มแจ้ง ธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เคยพบเคยเห็นตั้งแต่ภพก่อนชาติก่อน และไม่เคยฟังจากใคร คราวนี้ก็แจ่มแจ้งไปเลย เพราะท่านตัดอวิชชาเสียได้"
    ปัจฉิมบท
    พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ เป็นพระมหาเถระผู้มีบุญบารมีมากรูปหนึ่ง มีคุณธรรมสูง มีวัตรปฏิปทาอันงดงาม ซึ่งพอที่จะนำมากล่าวได้ ดังนี้
    1. ธีโร เป็นนักปราชญ์
    2. ปญฺโญฺ มีปัญญาเฉียบแหลม
    3. พหุสฺสุโต เป็นผู้คนแก่เรียน
    4. โธรยฺโห เป็นผู้เอาจริงเอาจังกับธุระทางพุทธศาสนา คือ คันถธุระและวิปัสนาธุระ
    5. สีลวา เป็นผู้มีศีลวัตรอันดีงาม
    6. วตวนฺโต เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งธุดงควัตร
    7. อริโย เป็นผู้ห่างไกลจากความชั่ว
    8. สุเมโธ เป็นผู้มีปัญญาดี
    9. ตาทิโส เป็นผู้มั่นคงในพระธรรมวินัย ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    10. สปฺปุริโส เป็นผู้มีกาย วาจา และ ใจ อันสงบเยือกเย็น เป็นสัตบุรุษ พุทธสาวก ผู้ควรแก่การกราบไหว้ บูชาโดยแท้
    ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เริ่มอาพาธมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2504 จนถึงเดือน มีนาคม พ.ศ.2505 คณะแพทย์ โรงพยาบาลศิริราชได้ถวายการรักษา โดยการผ่าตัดก้อนนิ่วออก รักษาจนหายเป็นปกติแล้วเดินทางกลับวัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี ต่อมาปลายเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2505 ท่านเริ่มอาพาธอีก คณะแพทย์ซึ่งมี ศาสตราจารย์ นพ.อวย เกตุสิงห์ เป็นประธานได้นิมนต์ท่านเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลศิริราช ท่านเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2505 โดยมีพระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ร่วมเดินทางไปด้วย
    ศาสตราจารย์ นายแพทย์อวย เกตุสิงห์ ได้ถวายการรักษาด้วยการผ่าตัด ถุงน้ำดีมีก้อนนิ่ว 11 เม็ด อาการดีขึ้นเพียง 3 วัน ต่อจากนั้นอาการก็ทรุดลง ต้องให้ออกซิเจนและน้ำเกลือ วันที่ 9 กรกฎาคม 2505 ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ ก็ถูกเวทนาอันแรงกล้า ครอบงำ แต่ท่านก็มิได้แสดงอาการใดๆ ให้ปรากฏ จนกระทั่งวันที่ 11 กรกฎาคม 2505 พระธรรมเจดีย์ก็ถึงแก่กรรม มรณภาพด้วยอาการอันสงบ เมื่อเวลา 15.27 นาฬิกา ณ โรงพยาบาลศิริราช ท่านได้ละสังขารอันไม่มี แก่นสารนี้ไป สิริรวมอายุได้ 74 ปี 2 เดือน 15 วัน พรรษา 55

     

แชร์หน้านี้

Loading...