พอใจรูม

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย ppojai, 3 ตุลาคม 2010.

  1. ppojai

    ppojai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2005
    โพสต์:
    4,637
    ค่าพลัง:
    +9,971
    เพิ่มเติม

    ฝากเพลงถึงพ่อ

    http://palungjit.org/threads/เธออยู่ไหน-pporjai-cat-^^.323489/

    http://palungjit.org/threads/ดำเนินทราย-pporjai-cat.285218/

    http://palungjit.org/threads/อ้อยใจ-daris-pporjai.305397/

    http://palungjit.org/threads/ใจชายใจหญิง-daris-pporjai.308369/

    http://palungjit.org/threads/มะนาวไม่มีน้ำ-veggieguy-pporjai.313357/

    http://palungjit.org/threads/โจรปล้นจูบ-ยุ้ย-ญาติเยอะ-ทศพล-หิมพานต์-veggieguy-pporjai.317414/

    http://palungjit.org/threads/คนบ้านเอง-=-=-ก็อต-ตั๊กแตน-==-โดย-pporjai-น้องเวจจี้.342869/

    http://palungjit.org/threads/หนุ่มน...องนุช-ดวงชีวัน-โดยหนุ่มเวจจี้-สาวพอใจ.535148/





    http://palungjit.org/threads/พุ่มพวงดวงใจ-สุนทราภรณ์-ppojai-fureliseza.253283/

    http://palungjit.org/threads/ใต้ร่มมลุลี-โดย-ppojai-ph0747.248705/

    http://palungjit.org/threads/“ถิ่นไทยงาม”-โดย-๖-ดรุณี.290522/

    .............................

    saraban40

    http://palungjit.org/threads/ห้องหรรษาพาสนุก-พลังจิต.260224/

    http://palungjit.org/threads/เขียนถึงบุญศรี-จำปี.510252/

    http://palungjit.org/threads/วิธีใส่ชื่อเพลงหลาย-ๆ-เพลง.263748/



    pporjai

    http://palungjit.org/misc.php?do=wrviews&u=326195

    http://palungjit.org/misc.php?do=wrviews&u=6043


    palungjit.org/threads/slideshow-music.273929/

    http://palungjit.org/threads/love-story-cover-แมนน้อย-มอบให้พี่สาวใจดี.245811/



    http://palungjit.org/threads/~-จุฬาตรีคูณ-~-ตามสัญญากับพี่ปอ-พร้อมของแถม-combo-set-8-เพลง.115128/

    http://palungjit.org/threads/แม่-แฮมเมอร์.215845/

    http://palungjit.org/misc.php?do=wrviews&u=454969

    http://palungjit.org/threads/วิธีฝึก-วิธีคิด-สำหรับผู้อยาก-บวชใจ.496490/

    http://palungjit.org/threads/พระรัตนตรัย.495729/

    http://palungjit.org/threads/พ่อจ๋าอย่าร้องไห้-เกษรา-สุดประเสริฐ.232928/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 มกราคม 2017
  2. อรชร

    อรชร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,768
    ค่าพลัง:
    +11,465
    [​IMG]
     
  3. pimapinya

    pimapinya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2010
    โพสต์:
    883
    ค่าพลัง:
    +2,044
    [​IMG]


    วันนี้ฝนตกทั้งวันเลย...

    [​IMG][​IMG]

    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]

    จะตกไปถึงใหนน๊ะ....ไปใหนก็ม่ายด้าย
    เฮ้อ....
     
  4. ppojai

    ppojai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2005
    โพสต์:
    4,637
    ค่าพลัง:
    +9,971
    :boo:บ้านพี่จาย กลางวันแดดร้อนเปรี้ยง ๆ
    กลางคืนหนาว...ร่างกายปรับไม่หวายเยยยนู่พิมพ์จ๋า
     
  5. อรชร

    อรชร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,768
    ค่าพลัง:
    +11,465
  6. ppojai

    ppojai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2005
    โพสต์:
    4,637
    ค่าพลัง:
    +9,971
    [​IMG]
     
  7. pimapinya

    pimapinya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2010
    โพสต์:
    883
    ค่าพลัง:
    +2,044
    <TABLE style="PADDING-BOTTOM: 5px; WIDTH: 100%" cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD style="FONT-FAMILY: 'lucida grande', tahoma, verdana, arial, sans-serif; COLOR: #000000; FONT-SIZE: 11px"></TD><TD style="TEXT-ALIGN: right; PADDING-RIGHT: 5px; FONT-FAMILY: 'lucida grande', tahoma, verdana, arial, sans-serif; COLOR: #999999; FONT-SIZE: 11px">30 ธันวาคม 11:41 </TD></TR></TBODY></TABLE>
    อย่าดูถูกบุญเล็กน้อยว่าจักไม่สนองผล
    น้ำตกจากเวหาทีละหยด ยังเต็มตุ่มได้ฉันใด
    นักปราญช์สะสมบุญทีละเล็กทีละน้อย
    ย่อมเต็มด้วยบุญได้ฉันนั้น
    อย่าเห็นเป็นความดีเล็กน้อยแล้วไม่ทำ
    อย่าเห็นเป็นความชั่วเล็กน้อยแล้วจึงทำ
    อย่าดูถูกความชั่วเล็กน้อยว่าจักไม่สนองผล
    น้ำตกจากเวหาทีละหยาดๆ ยังเต็มตุ่มได้ฉันใด
    คนพาลทำชั่วทีละเล็กละน้อย ย่อมเต็มด้วยความชั่วฉันนั้นแล
    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 10px" vAlign=top>[​IMG]</TD><TD vAlign=top></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  8. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 31 ธันวาคม 2010
  9. ppojai

    ppojai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2005
    โพสต์:
    4,637
    ค่าพลัง:
    +9,971
    ทำยังไงดี - คิดไม่ดีอยู่เรื่อย โดย ดังตฤณ<!-- google_ad_section_end -->

    "ทำยังไงดี - คิดไม่ดีอยู่เรื่อย"
    ถ้า คุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังทรมานใจอยู่กับความคิดสกปรก ความทรงจำแย่ๆ หรือความลับน่าอับอายเกินกว่าจะให้ใครรู้ว่าเราก็คิด อย่างนี้ได้ ขอให้ทราบเถิดว่าคุณไม่ได้โดดเดี่ยว ยังมีคนอีกทั้งโลกเป็นเพื่อน ที่สำคัญว่าคิดบ้าๆอยู่คนเดียวก็เพราะไม่ได้เปิดอกนั่งจับเข่าคุย กันเท่านั้นแหละ ใครเล่าจะอยากขุดเอาความคิดเพี้ยนๆเลอะเทอะในหัวของตัวเองออกมาแฉ ให้คนอื่นร่วมรับทราบไปด้วย


    คลื่น ความคิดที่กระทบใจแล้วรบกวนเราได้แรงๆนั้น ไม่จำเป็นต้องชั่วช้าสามานย์อะไรมาก แค่คำด่าบางคำที่ใครบางคนมาปล่อยเรี่ยราดตามเว็บบอร์ด โดยชี้นำให้คิดโยงคำด่านั้นไปหาคนที่คุณนับถือ ก็เพียงพอแล้วที่มันจะกลายเป็นอาถรรพณ์ ตามมาวนเวียนหลอกหลอนคุณ ยั่วยุให้คุณนึกถึงคำวิปริตนั้นวันละเป็นสิบเป็นร้อยรอบ คล้ายมีวิญญาณร้ายแฝงอยู่ในสมองของคุณก็ไม่ปาน

    ลองมา หาคำตอบกันดูครับ ความเข้าใจถึงที่มาที่ไป ตลอดจนอุบายต่อไปนี้ อาจช่วยคุณให้พ้นทุกข์จากความคิดชนิดบาดใจได้ใน เวลาไม่นานนัก

    ความ คิดไม่ดีมาอยู่ในหัวเราได้อย่างไร? และที่ร้ายกว่านั้น ทำไมมันถึงเกิดขึ้นบ่อยๆ ทั้งที่เราเกลียดความคิดแบบนั้นแทบดิ้นตาย?

    คำ ตอบ คือใจเราเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง ที่เข้าไปติด เข้าไปข้อง หรือเข้าไปยึดมั่นสิ่งที่รักแรงหรือเกลียดแรงได้อย่างเหนียวแน่น และความยึดมั่นอย่างเหนียวแน่นนั้นเอง เป็นตัวการผลิตความคิดถึงสิ่งที่ยึดได้เรื่อยๆ

    ขอให้ นึกถึงบุคคลอันเป็นที่รักยิ่ง คุณเห็นเขาหรือเธอปรากฏตัวก็อยากถลาเข้าไปกอดรัดให้เต็มอ้อมทันที อาการอยากกอดรัดทางกายนั้นแหละ สะท้อนให้เห็นอาการยึดติดทางใจประมาณ เดียวกัน

    ส่วน บุคคลอันเป็นที่ชิงชังยิ่งสำหรับคุณ เมื่อใดปรากฏตัว คุณจะอยากเบือนหน้าเดินหนี แต่เหมือนเขายังเป็นเงาติดตามคุณมา ทุกฝี ก้าวไม่ห่าง นั่นเพราะใจคุณไม่เคย "ทิ้ง" เขาเลย หรือถ้าคุณเกลียดจัด แทนที่จะอยากเดินหนี คุณอาจอยากถลาเข้าไปเขย่าคอ ชกหน้า ตบตี หรือทำร้ายร่างกายเขาเลยด้วยซ้ำ นี่ก็เป็นเครื่องแสดงอาการยึดของจิต อีกแบบ เกลียดกันแล้วก็ยึดว่าต้องทำลายล้าง ต้องทำให้เจ็บปวดในทางใดทางหนึ่ง ปล่อยให้ลอยนวลสบายๆไม่ได้

    เมื่อ รักแรงแล้วคิดถึงบ่อยๆย่อมเป็นสุขสดชื่น แต่หากเกลียดแรงแล้วคิดถึงบ่อยๆ ย่อมเป็นทุกข์ อึดอัด ไม่สบายใจ กระวนกระวาย หรือกระทั่งพาลพาโลเกลียดตนเองไปด้วย ค่าที่รู้สึกว่าความคิดคือเรา เราคือความคิด เมื่อความคิด "น่าเกลียด" ตัวเราก็ย่อมน่ารังเกียจไปด้วย

    อาการ ที่สะท้อนความทรมานใจกับความคิดในหัวแต่ละครั้งอาจแตกต่างกันไป ถ้าอาการน้อยหน่อยก็อาจแค่ขมวดคิ้วนิ่วหน้าอยู่กับตัวเอง แต่ถ้าอาการหนักหน่อยก็อาจทำท่าฟึดฟัดงุ่นง่าน จนคนอยู่ใกล้ต้องหันมาถามว่า "เป็นอะไร?" อย่างอด สงสัยไม่ได้

    ยิ่ง หากคุณรู้สึกว่าความคิดที่เสียดแทงหัวหูอยู่นั้น เป็นเรื่องน่าอับอายเกินกว่าจะปรึกษาใคร เรียกว่าไม่กล้าเปิดเผยกันตลอด ชีวิต ก็ยิ่งย้ำติดและคิดหนัก เช่น คำหยาบที่โยงเข้ากับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือความคิดทางเพศกับญาติเชื้อ แม้คุณจะปฏิเสธว่าไม่ได้คิด ไม่ได้ตั้งใจ ไม่ได้อยากอยู่ข้างเดียวกับความคิดพรรค์นั้น มันก็ยังคงวนเวียนเยี่ยมหน้ามาไม่เลิก ราวกับมีศัตรูตามราวีตนอยู่ในตัวเอง

    หลาย คนต้องทรมานใจเป็นสิบๆปี เพียงเพราะไม่รู้ว่าจะเอาความคิดบัดสีบัดเถลิงหรือความคิดลบหลู่สิ่งศักดิ์ สิทธิ์ออกไปจากหัวของตัวเองได้อย่างไร บ้างก็หาทางออกด้วยการเข้าหมู่เข้าพวกกับคนถ่อยไปเลย จะได้เห็นเป็นเรื่องธรรมดาให้รู้แล้วรู้รอด อันนี้นับเป็นทางออกที่มืดมนที่สุด และเป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่าความคิดในหัวไม่ใช่แค่ลมแล้งเล็กน้อย ถ้าแกะไม่ออก ถอดไม่หมด ชีวิตก็อาจพลิกจากด้านสว่างเข้าสู่ด้านมืดโดยไม่รู้เนื้อรู้ ตัว

    ผม ขอ ให้คุณๆมองอย่างนี้ครับว่า ยิ่งหาทางแก้ความคิดไม่ดี ก็ยิ่งตอกย้ำให้กลุ้มว่าเราคือเจ้าของความคิดไม่ดี อย่าไปทำอย่างนั้นเลย หาทางเป็นคนละข้างกับมันดีกว่า

    วิธี การก็ไม่ได้ยุ่งยาก และสามารถทำได้จริง คือ ในแต่ละครั้งที่ความคิดเลวร้ายมันผุดขึ้นในหัว ให้ดูว่ามันมาเอง เราไม่ได้เชิญ!

    ก็ถ้า เราไม่ได้พามันมา เราไม่ได้เป็นฝ่ายเชื้อเชิญมัน แล้วทำไมมันจะต้องเป็นความรับผิดชอบของเราด้วย?

    สิ่ง ใดเกิดขึ้นในหัวของเรา ไม่ได้หมายความว่ามันเป็นตัวเราหรือของเราเสมอไป ยกตัวอย่างเช่นถ้าคุณไปเก็บตกคำด่าที่สาดกระจายเรี่ยราดตามเว็บ บอร์ด แล้วเอามานั่งกลุ้ม เพราะคำนั้นดันติดแน่นฝังหัว ผุดขึ้นในหัวของคุณบ่อย ทั้งๆที่คุณไม่อยากให้มีคำนั้นขึ้นมาในโลก อย่างนี้ให้ตั้งหลัก ตั้งสติ แล้วคิดย้อนศรง่ายๆว่าคำหยาบเป็นวจีทุจริตของคนอื่น เป็นการจงใจสื่อสารที่ชั่วร้ายของ คนอื่น มันไม่ใช่คำของคุณมาแต่แรก คุณไม่ได้ชั่วร้ายอย่างเขา แต่คุณ "เคราะห์ร้าย" ที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ไปเกิดความเกลียดคำๆนั้นเข้า จิตเลยเกิดอาการยึดคำนั้นไว้เต็มเหนี่ยวด้วยพลังมืดของความเกลียด ดังกล่าวไว้แล้วแต่ต้น

    เมื่อ ยึดมากก็หวนกลับมาคิดมาก และยิ่งรู้สึกคล้ายเป็นเจ้าของความคิดเสียเอง มากขึ้นทุกที การทึกทักหลงยึดว่าความคิดนั้นๆเป็นของคุณ เป็นตัวคุณนั่นแหละ ก่อความรู้สึกผิดขึ้นมา จนกระวนกระวายเสียสุขภาพจิตเปล่าๆ

    พอ พิจารณาอย่างละเอียดเท่านี้ คุณจะเริ่มโล่งใจ สบายใจขึ้น อย่างน้อยก็มีแก่ใจจะรับมือกับความคิดเลวร้ายอย่างถูกต้อง นั่นคือ ไม่ไปให้ "อาหาร" หล่อเลี้ยงมันด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ซ้ำซ้อน ทั้งในทางคล้อยตามมันไป และในทางต่อต้านปฏิเสธจะไม่ยอมให้มันมา

    ทำไม จึงไม่ควรต่อต้าน? อย่าง ที่ผมกล่าวแล้วว่ายิ่งเกลียดแปลว่ายิ่งยึด ส่วนการต่อต้านก็คือยิ่งตอกย้ำความเกลียดเข้าไปใหญ่ แล้วเมื่อไรใจจะเลิกยึดได้เล่า?

    ท่าที ที่ถูกต้องคืออย่างไร? ประการ แรกคุณต้องยอมรับตามจริงโดยดุษณีว่าความคิดเลวร้ายมันเกิดขึ้นใน หัวของคุณ และนอกจากจะเห็นมันมาเองโดยคุณไม่ได้เชิญแล้ว ยังต้องเห็นว่ามันไปเองได้โดยไม่ต้องขับไล่อีกด้วย ขอแค่ใจเย็น เฝ้าดู และไม่แคร์ว่าจะต้องดูกี่ร้อยกี่พันรอบก็ตาม

    พอคุณ เฉยๆในอาการยอมรับว่ามันมาเองและไปเอง ขณะนั้นจิตของคุณจะประกอบด้วยสติ รับตามจริง รู้ตามจริง ไม่หลอกตัวเอง บ่อยครั้งเข้าในที่สุดจะได้ข้อสรุปเป็นความสบายใจอย่างมีสติรู้ ว่ามันไม่ใช่เรา เราไม่เห็นจะต้องไปให้ความร่วมมือหรือต่อต้านมันเลยแม้แต่นิดเดียว


    ผล พลอยได้ที่ตามมาคือคุณจะไม่ใช่พวกรักแรงเกินไป เกลียดแรงเกินไป คือรักได้และเกลียดได้นะครับ แต่ไม่เกินขีด ไม่แปรความรักและความเกลียดมาเป็นความยึดแน่นให้เป็นทุกข์เปล่า

    ดัง ตฤณ
    จากบท ความ "ทำยังไงดี"
    นิตยสาร Miracle of Life ฉบับ เดือนพฤษภาคม ๕๓
    __________________
    http://www.wimutti.net
    "จิตที่ส่งออกนอก เป็นสมุทัย
    ผลอันเกิดจากจิตที่ส่งออกนอก เป็นทุกข์
    จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นมรรค
    ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิต เป็นนิโรธ
    "
    หลวงปู่ดุลย์ อตุโล
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 มกราคม 2017
  10. ppojai

    ppojai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2005
    โพสต์:
    4,637
    ค่าพลัง:
    +9,971
    หรรษาพาสนุก คอลัมน์ที่ 150
    สัญญาณเตือนว่าคุณเริ่มไม่เคารพตัวเอง
    ก่อน ที่จะรู้สึกห่อเหี่ยวมากเกินไปโดยไม่รู้ตัว สัญญาณเหล่านี้คืออาการเตือนให้ทราบว่าตอนนี้คุณเริ่มที่จะไม่เห็นความสำคัญ ของตนเองแล้ว ลองสังเกตตัวเอง แต่ก็อย่ากังวลมากเกินไปกับสิ่งเหล่านี้

    1.ออกห่างจากสังคม

    2.วิตกกังวลและสับสน

    3.ขาดทักษะในการเข้าสังคมและไม่มั่นใจในตนเอง รวมทั้งเครียดหรือเกิดภาวะเศร้าบ่อย ๆ

    4.ปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้น้อย

    5.มีปัญหาในการรับประทานอาหาร

    6.ไม่ยอมรับในคำชมเชยจากผู้อื่น

    7.ไม่สามารถที่จะพิจารณาตนเองอย่างตรงไปตรงมาได้

    8.ทำตัวเด่นในทางที่ผิด

    9.มีความกังวลว่าจะพูดในสิ่งที่คุณคิดเกินจริงไปกว่าผู้อื่นคิด

    10.ไม่สนใจตนเอง

    11.ไม่รู้จักดูแลตัวเอง แต่เฉพาะตัวเองไม่เกี่ยวข้องกับผู้อื่น

    12.มีความกังวลเมื่อดูแลผู้อื่นได้ไม่ดี

    13.ไม่ชอบสิ่งท้าทายต่าง ๆ

    14.ไม่ชอบเป็นที่หนึ่ง หรือทำอะไรก่อนในทุก ๆ สถานการณ์

    15.ไม่มั่นใจในความคิดเห็นของตนเอง

    16.
    มีความคาดหวังในอนาคตน้อย


    ขอบคุณข้อมูลจาก : Only Positive News

    quote.gif multiquote_off.gif quickreply.gif post_groan.gif post_thanks.gif
    collapse_tcat.gif สมาชิก 4 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ Red-X ในข้อความที่เขียนด้านบน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 มกราคม 2017
  11. ppojai

    ppojai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2005
    โพสต์:
    4,637
    ค่าพลัง:
    +9,971
    หรรษาพาสนุก คอลัมน์ที่ 151
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มกราคม 2011
  12. ppojai

    ppojai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2005
    โพสต์:
    4,637
    ค่าพลัง:
    +9,971
    หรรษาพาสนุก คอลัมน์ที่ 152
    [SIZE=+2]ยอดปรารถนาอย่างหนึ่งของมนุษย์ คือการได้คนที่รู้ใจมาอยู่ใกล้ตัว เช่น ได้คู่ครองที่รู้ใจ ได้ลูกน้องที่รู้ใจ หรือได้เพื่อนร่วมงานที่รู้ใจ ทั้งนี้เพราะเชื่อว่าคนเหล่านี้จะทำให้ชีวิตมีความสุข งานการประสบความสำเร็จ แต่คนเหล่านี้ใช่ว่าจะหามาได้ง่าย ๆ ดังนั้นเราจึงอดไม่ได้ที่จะเรียกร้องและคาดหวังให้ใครต่อใครมารู้ใจเรา ถ้าเขาไม่รู้ใจเรา เราก็จะหงุดหงิด หัวเสีย และกราดเกรี้ยว[/SIZE]
    [SIZE=+2]แต่ในขณะที่เราเรียกร้องให้คนทั้งโลกมารู้ใจเรานั้น เราเองเคยคิดที่จะรู้ใจตัวเองบ้างหรือไม่ สังเกตไหมว่าวันหนึ่ง ๆ เราปล่อยให้อารมณ์ต่าง ๆ เข้ามาย่ำยีบีฑาจิตใจบ่อยครั้งเพียงใด วันแล้ววันเล่าที่เราปล่อยให้ความคิดเตลิดเปิดเปิงอย่างไม่รู้เนื้อรู้ตัวจนกินไม่ได้นอนไม่หลับ หาไม่ก็ปล่อยให้ความโกรธเกลียดบงการชีวิตจิตใจจนเผลอทำสิ่งที่ต้องเสียใจในภายหลัง ยังไม่ต้องพูดถึงความรู้สึกสับสนในตัวเอง ว่าในส่วนลึกของจิตใจเราต้องการอะไรกันแน่ แม้จะมีชีวิตที่สะดวกสบาย มีบริษัทบริวารมากมาย แต่คนจำนวนไม่น้อยก็ยังมีความทุกข์เพราะถูกหลอกล่อให้อยากได้ไม่รู้จักพอ หรือพลัดจมอยู่กับเรื่องราวในอดีต กังวลกับอนาคต ใช่หรือไม่ว่าความทุกข์ส่วนใหญ่เกิดขึ้นเพราะว่าเราไม่รู้ใจตัวเองต่างหาก มิใช่เป็นเพราะคนรอบข้างไม่รู้ใจเรา[/SIZE]
    [SIZE=+2]ถึงแม้จะหาคนรู้ใจไม่ได้เลย แต่หากเรารู้ใจตัวเองอย่างลึกซึ้ง ชีวิตก็ย่อมเป็นสุข ห่างไกลจากความทุกข์ เรารู้ใจตัวเองได้เพราะมีสติ ทำให้รู้ทันความรู้สึกนึกคิดต่าง ๆ ไม่ตกอยู่ในการครอบงำของอารมณ์ต่าง ๆ จึงสามารถทรงใจให้เป็นปกติ ไม่หวั่นไหวหรือขึ้นลงไปตามแรงกระทบกระแทกของสิ่งรอบตัว สติช่วยให้ระลึกรู้ในกายและใจ จึงเกิดความรู้สึกตัวอย่างฉับไว และเห็นสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับกายและใจอย่างที่มันเป็น มิใช่เห็นว่ามันมีอยู่ตามสภาวะที่พ้นจากความเป็นบวกเป็นลบเท่านั้น หากยังสามารถเห็นไปถึงธรรมชาติหรือลักษณะที่แท้ของมัน นั่นคือความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่ใช่ตัวตน จึงนำไปสู่ปัญญาอันเป็นเครื่องไถ่ถอนความยึดติดถือมั่นในตัวตน ทำให้จิตเป็นอิสระจากความทุกข์ได้[/SIZE]
    [SIZE=+2]จะรู้ใจจนไกลทุกข์ได้ต้องอาศัยการปฏิบัติ หนังสือเป็นเพียงส่วนประกอบเท่านั้น แต่ก็หวังว่าหนังสือเล่มนี้พอจะเป็นแนวทางให้แก่การปฏิบัติได้บ้าง เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้มาจากคำบรรยายของข้าพเจ้า ณ วัดป่าสุคะโต จังหวัดชัยภูมิ ในช่วงเข้าพรรษาปี ๒๕๔๙ คุณอัจฉรา กลิ่นสุวรรณ์ แห่งชมรมกัลยาณธรรม เห็นว่ามีประโยชน์น่าเผยแพร่ จึงได้ร่วมกับมิตรสหายดำเนินการจัดทำเป็นหนังสือ รวมทั้งช่วยขัดเกลาให้น่าอ่านมากขึ้น เพื่อแจกเป็นธรรมทานแก่ผู้ร่วมงานแสดงธรรม-ปฏิบัติธรรม เพื่อน้อมถวายเป็นพระราชกุศลแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ศกนี้ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทั้งนี้โดยได้รับความร่วมมือจากสำนักพิมพ์ธรรมดา ซึ่งจะนำหนังสือส่วนหนึ่งไปจำหน่ายในวงกว้างด้วย[/SIZE]
    [SIZE=+2]ขออนุโมทนาในบุญกิริยาของทุกท่านที่ได้ร่วมบำเพ็ญธรรมทานเพื่อส่งเสริมสัมมาทัศนะและสัมมาปฏิบัติ อันเกื้อกูลให้เกิดสันติสุขทั้งในจิตใจของผู้คนและในบ้านเมือง ขอให้ทุกท่านได้รับอานิสงส์แห่งบุญกิริยาดังกล่าวโดยทั่วกัน[/SIZE]
    [SIZE=+2]พระไพศาล วิสาโล[/SIZE]
    <!-- google_ad_section_end --><!-- / message -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มกราคม 2011
  13. ppojai

    ppojai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2005
    โพสต์:
    4,637
    ค่าพลัง:
    +9,971
    หรรษาพาสนุก คอลัมน์ที่ 153<!-- google_ad_section_end --><!-- / message -->

    มองถูก...เป็นถูก จึงสุข...จริง




    การข่มตาหลับยากเย็นไหมสำหรับคุณ แล้วต้องลำบากอีกหนตอนเปิดตาตื่นใช่หรือไม่

    กลางวันเหน็ดเหนื่อย ท้อใจ ทุกข์ใจ กลางคืนกังวล หวั่นไหว ไม่มีความสุข ตื่นก็ร้อน...นอนก็ทุกข์... เป็นเพราะอะไร

    มองหาแต่ความสุข กลับเจอแต่ความทุกข์

    คนเรานี้...ทุกข์เพราะ "ความคิด" ยิ่งกว่าอะไรอื่น บางคนมีชีวิตที่แสนมั่งคั่ง สะดวกสบาย แต่ในใจกลับเต็มไปด้วยความทุกข์

    และอาจจะทุกข์มากกว่าคนหาเช้ากินค่ำเสียด้วยซ้ำ ทุกข์เพราะกลัวทรัพย์พร่อง ทุกข์เพราะทรัพย์เพิ่มน้อย เพิ่มช้า น่าผิดหวัง

    มีทรัพย์แล้วก็อยากมียศ มีเกียรติ มีตำแหน่ง มีคนนับหน้าถือตา ซึ่งหลายอย่างที่ว่ามา บางทีทรัพย์ก็ช่วยไม่ได้

    คนไม่มี...ก็ทุกข์ไปอีกแบบ ทุกข์ว่าพรุ่งนี้จะกินอะไร จะมีเงินเข้ากระเป๋าบ้างไหม จะต้องไปกู้เงินใคร ดิ้นรนแค่ให้

    "พอมี" ซึ่งเพียงแค่ "มี" ก็ดีนักหนาแล้ว คนที่ไม่เคยมีจึงเป็นสุขเมื่อ "มี" คนที่มี...แต่ไม่เคยพอ จึงต้องทุกข์เพราะรอให้ "มีพอเท่าที่ใจอยากมี"


    ให้ใจเดินตาม อย่าเดินตามใจ

    ใจ...เป็นที่อยู่ของความอยาก ซึ่งหากไม่ได้รับการฝึกฝน ควบคุม ความอยากจะกลายเป็นใหญ่ แล้วใจจะกลายเป็นทาส

    อยากกิน จึงกินแบบไม่รู้อิ่มรู้พอ อยากสบาย จึงเลือกที่จะทำอะไรก็ได้ โดยไม่ต้องแยกแยะถูก-ผิด ควร-ไม่ควร ดีหรือไม่ดี อยากดัง จึงทำทุกวิถีทางโดยไม่เลือกวิธี ฯลฯ

    ไม่มีอะไรน่ากลัวเท่า "ความอยาก" นี้ หากใจไม่รู้เท่าทันความอยาก ก็ยากที่จะควบคุมการกระทำ (แล้วความอยากจะควบคุมแทน)

    การกระทำที่ขาดความควบคุม ขาดความยับยั้งชั่งใจ ทำไปอย่างที่ใจมันอยาก โดยปราศจากการไตร่ตรอง ไม่มีใจคอยกรองหรือระงับยับยั้ง ย่อมเหมือนกับรถที่ห้อตะบึงไป โดยไม่มีพวงมาลัยและคนขับ จึงเพียงแต่พุ่งไปตามแรงดันของเครื่องเท่านั้น



    ฝึกสติไว้ควบคุมใจ...ย่อมไม่ห่างไกลจากปีติสุข

    ความคิดที่มีสติกำกับจะนำไปสู่การกระทำที่มีสติกำกับเหมือนรถแม้แล่นเร็วรี่ แต่ก็ไปอย่างที่มีคนขับ มีพวงมาลัยที่สามารถหักเลี้ยวให้ไปตามเส้นทางที่ควรจะไป จะช้าหรือเร็วเพียงใดก็สามารถควบคุมให้อยู่บนทางที่ถูก ที่ควร

    ความคิดที่มีสติกำกับ จะไม่พาใจกวัดแกว่งไปกับความชอบหรือไม่ชอบ หรือขึ้น-ลง ฟู-แฟบ ตามสิ่งที่มากระทบ

    แต่จะมั่นคงบนหนทางของความถูกต้อง หรือวิถีแห่งธรรมนั่นเอง วิถีแห่งธรรมมีอยู่แล้ว หากแต่เราเท่านั้น ที่ไม่สามารถคุมตนให้ดำเนินไปบนวิถีแห่งนี้ได้อย่างมั่นคง

    เพราะกิเลส หรือความชอบความไม่ชอบ มักกวักมือเรียกให้วอกแวกจนเถลไถลไปนอกเส้นทาง

    จับจิตมาฝึกใหม่...เพื่อให้ใจนั้นหมดจด

    พุทธศาสนสุภาษิตบทหนึ่ง แปลความได้ว่า "การฝึกจิตที่ข่มยาก ที่เบา มักตกไปในอารมณ์ที่น่าใคร่ ย่อมเป็นความดี เพราะว่าจิตที่ฝึกดีแล้ว นำสุขมาให้"

    "จิตที่ข่มยาก" หมายความว่า จิตเป็นสิ่งที่บังคับยาก ไม่อยู่ในอำนาจใครง่ายๆ เปรียบกับคนก็คือคนดื้อ ยากแก่การสั่งสอนอบรม เพราะไม่ยอมทำตาม ไม่เชื่อฟัง ค้าน และคอยแต่จะโต้เถียง

    "จิตที่เบา" มักตกไปในอารมณ์ที่น่าใคร่ หมายความว่า จิตนั้นอ่อนแอ พ่ายแพ้ง่ายต่ออารมณ์ที่น่าใคร่ น่าปรารถนา เมื่อพบเห็นสิ่งใดเป็นที่ต้องตาต้องใจ ก็อ่อนแอ ยอมตกอยู่ในอำนาจของสิ่งนั้น ไม่มีกำลังเข้มแข็งพอที่จะพิจารณาให้เห็นความควรไม่ควร จึงถูกเรียกว่า "จิตเบา" หรือ "จิตอ่อน"

    แต่ไม่ว่าจิต (หรือใจ) จะเป็นสิ่งที่บังคับยากหรืออ่อนแอเพียงไรก็ตาม ผู้มีปัญญาย่อมสามารถแก้ไขได้ สามารถบังคับจิตตนเองได้ สามารถแก้จิตที่อ่อนให้เป็นจิตที่เข้มแข็งได้

    สำคัญที่ว่าต้องมีปัญญาเพียงพอ จึงจะมีความเข้มแข็งเพียงพอ ที่จะเอาชนะจิตที่ดื้อ ที่ข่มยาก ที่เบาได้ ปัญญาต้องเพียงพอ ความเข้มแข็งต้องเพียงพอ ต้องทันกับจิต ไม่เช่นนั้นก็จะเอาชนะจิตไม่ได้ จิตก็จะเป็นฝ่ายชนะ

    จิตที่ว่าอ่อนแอนั้น มีความอ่อนที่เป็นภัยอยู่ เพราะอ่อนให้กับความไม่ดีไม่งามทั้งหลาย ไม่อ่อนให้แก่ความดีงาม

    ตรงกันข้าม จิตที่อ่อนจะแข็งกับความดีงามอย่างยิ่ง มักดื้อดึงไม่ยอมทำตาม เพราะความดีงามทำยาก ลำบาก และขัดกับความต้องการอย่างหยาบๆ ของจิตอยู่เสมอ

    ต้องให้ความดีงามที่ประกอบด้วยปัญญา ประกอบด้วยความเชื่อมั่น และความศรัทธาอย่างจริงจังมาช่วยข่ม เพื่อเข้าสู่การตระหนักรู้และปีติว่า การข่มจิตให้ลงอยู่ใต้อำนาจของความดีของความถูกต้องนั้น เป็นการดี เป็นเรื่องดี เป็นสิ่งที่สมควรกระทำเป็นอย่างยิ่ง



    ฝึกจิต-ครองใจ...ความดีง่ายๆ ที่ต้องลงมือทำ

    การฝึกจิตหรือการข่มจิต นับเป็นความดีประการหนึ่งที่พึงกระทำ เพราะถ้าทำได้สำเร็จ ก็จะมีความสุข สมดั่งพุทธศาสนสุภาษิตที่ว่า "จิตตัง ทันตัง สุขาวะหัง จิตที่ฝึกดีแล้ว ย่อมนำความสุขมาให้" ฉะนั้น ยิ่งฝึกจิตข่มจิตได้ดีเพียงใด ก็จะยิ่งมีความสุขเพียงนั้น

    มองความสุขให้ถูกจุด

    ความจริงมีอยู่ว่า ความสุขของทุกคนไม่ได้เกิดแต่สิ่งอื่น หรือเกิดในที่อื่นๆ แต่เกิดแต่จิต (หรือเกิดที่ใจ) ของตนเท่านั้น

    ที่เข้าใจว่าความสุขอยู่ที่นั่นอยู่ที่นี่ ความสุขอยู่ที่คนนั้นอยู่ที่คนนี้ หรือความสุขขึ้นอยู่กับสิ่งนั้นสิ่งนี้ นั่นเป็นความเข้าใจผิด

    ที่จริงความสุขเกิดแต่จิต ความสุขอยู่ที่จิต ถ้าจิตไม่เป็นสุขแล้ว ผู้อื่นผู้ใด สิ่งอื่นสิ่งใด ก็หาทำให้จิต (หรือใจ) เกิดสุขได้ไม่

    เงินทองแม้มากมายมหาศาล ยศถาบรรดาศักดิ์แม้ยิ่งใหญ่ บ้านเรือนตึกรามแม้มโหฬาร วงศ์สกุลแม้สูงส่ง ก็ไม่อาจทำให้เป็นสุขได้ ถ้าใจไม่เป็นสุข ถ้าจิตรุ่มร้อน เป็นทุกข์ ก็ย่อมไม่มีความสุขอย่างแท้จริงได้

    จิต (หรือใจ) ที่ถูกเร้าให้ร้อนอยู่ด้วยเปลวเพลิงแห่งกิเลส อยู่ในอาณัติของรัก โลภ โกรธ หลง เป็นสำคัญ

    ดิ้นหลุดไปเป็นอิสระไม่ได้ ย่อมอยู่ห่างไกลจากสุขที่แท้ มีสุขแบบวูบๆ วาบๆ เป็นสุขแค่ชั่วครู่ชั่วยาม แล้วก็กลับมากระสับกระส่าย ดิ้นรนหาความสุขอื่นๆ ต่อไป



    หนีสุขวูบวาบ-ซึมซาบสุขแท้

    สุขวูบวาบที่เกิดเพียงวูบแล้วหายวาบอย่าไปเสพติด อย่าไปมัวเมากับมัน เพราะไม่อยู่กับเรานาน ทำให้เย็นชั่วครู่ แต่ร้อนรนยาวนาน

    จงหนีความสุขเช่นนี้ให้ไกล สิ่งที่น่ารักกับอารมณ์ที่น่าใคร่ทั้งหลาย ที่มักจะมีอำนาจเหนือ จิตใจที่เบา ที่อ่อนนั่นเอง เป็นเหตุสำคัญแห่งความทุกข์ความร้อนของจิต

    เมื่อเห็นความจริงนี้แล้ว ควรจะโอนอ่อนสู่การยินดีที่จะ "อบรมจิต-ฝึกใจ" ของตนให้พ้นจากอำนาจของกิเลส ให้เป็นจิตที่อ่อนต่ออำนาจของความดีงาม แต่ให้หนักให้แข็งต่ออำนาจของความไม่ดีไม่งามทั้งหลาย ที่มักปลุกเร้าเย้ายวน

    เมื่อใดสามารถอบรมจิตได้ ข่มจิตได้ แม้เพียงแค่พอสมควร จูงจิตให้พ้นจากการอ่อนข้อ (หรือโอนอ่อนผ่อนคล้อย) ต่อความชั่วร้าย คือสิ่งที่น่าใคร่น่าปรารถนาพอใจทั้งหลาย

    แม้เพียงแค่พอสมควร ก็จะได้รู้รสความสุขที่แตกต่างจากความสุขที่เป็นความร้อน เช่นที่พากันเสพเสวยอยู่นี้ ที่พากันหลงติดคิดว่า เป็นความสุขที่น่าพอใจแล้วนี้ จนได้พบความสุขที่น่าปลื้มเปรม ปีติ และน่ายินดีคลอเคลีย...ได้อย่างยั่งยืน

    ขอขอบคุณ...ที่มา http://planet.kapook.com/sineni/blog/viewnew/101119
    __________________
    ผู้เจริญเมตตา ดีแล้ว หลับและตื่น ย่อมเป็นสุข

    sponsor links


    วันนี้, 10:01 AM #2
    ppojai
    สมาชิก



    วันที่สมัคร: Sep 2005
    ข้อความ: 4,255
    พลังการให้คะแนน: 985

    สุดยอด สุดยอด สุดยอด จ๊ะ นู่น่าน คอลัมน์โพสเพื่อพี่ใจเลยช่ายหมายคะ เตือนจิต เตือนใจได้สุดยอดด้านความคิดเลยคะ...ขอบคุณที่ค้นคว้ามาให้อ่านนะคะ จุฟ
    จุฟ จุฟ คนดี...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กุมภาพันธ์ 2011
  14. ppojai

    ppojai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2005
    โพสต์:
    4,637
    ค่าพลัง:
    +9,971
    หรรษาพาสนุก คอลัมน์ที่ 154

    (k) เพลงที่รัก มาแว๊วค่า น้องซาคุเรียวซายจ๋า...
    ช่วงนี้ เสียงม่ะค่อยใสนะคะ อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยค่ะ
    ไม่เพราะมาก แต่ก็ร้องให้น้องด้วยใจนะคร้าๆ ๆ คลิกฟังเลยค่ะ

    <EMBED id=music height=50 type=application/x-mplayer2 pluginspage=http://microsoft.com/windows/mediaplayer/en/download/ width=320 src="" showcontrols="true" showstatusbar="-1" autostart="true" loop="true">
    </EMBED>
    <INPUT id=song1 onclick=document.all.music.filename=document.all.song1.value; value=http://palungjit.org/attachments/a.1475729/ CHECKED type=radio name=Music>ที่รัก พี่พอใจ

    rat_wtingrabbit_jumppig_ballet;20<!-- google_ad_section_end -->

    <FIELDSET class=fieldset><LEGEND>ไฟล์แนบข้อความ</LEGEND></FIELDSET>
    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.1475729/[/MUSIC]

    file music<!-- google_ad_section_end --><!-- / message -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 พฤษภาคม 2011
  15. ppojai

    ppojai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2005
    โพสต์:
    4,637
    ค่าพลัง:
    +9,971
    หรรษาพาสนุก คอลัมน์ที่ 155

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=uWWDYJnwZr4&feature=related"]YouTube - ?????????????????[/ame]<!-- google_ad_section_end --><!-- / message -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 พฤษภาคม 2011
  16. ppojai

    ppojai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2005
    โพสต์:
    4,637
    ค่าพลัง:
    +9,971
    หรรษาพาสนุก คอลัมน์ที่ 156

    การเพิ่มคุณภาพจิตโดยการแผ่เมตตา
    โดย หลวงปู่ทิวา ศิษย์หลวงปู่หลุยส์ สายพระอาจารย์มั่น
    ---------------------------------
    จิตที่มีคุณภาพสูงเป็นจิตที่มีความสุขมากกว่าปกติเป็นจิตที่ประกอบไปด้วยกุศล ไม่คิดเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ปรารถนาความสุขให้แก่ตนเองและผู้อื่น ตรงกันข้ามกับจิตที่มีคุณภาพต่ำ เป็นจิตที่ประกอบไปด้วยอกุศลเป็นส่วนมาก ทำตนเองให้เป็นทุกข์ แล้วก็แผ่กระจายความทุกข์นั้นไปให้ผู้อื่น ทั้งที่โดยเจตนาและไม่เจตนาก็ตาม
    พระอริยเจ้าทุกพระองค์ นับตั้งแต่โสดาบันขึ้นไป จิตของท่านมีคุณภาพสูงกว่าจิตของปุถุชน เพราะท่านมีความเมตตาเป็นวิหารธรรม คือ เป็นเครื่องอยู่ ฉะนั้นท่านจึงเป็นผู้มีความสุขมากกว่าปุถุชนธรรมดา พวกเราถึงแม้ว่ายังเป็นปุถุชนอยู่ แต่ถ้าเจริญเมตตาพรหมวิหารเป็นประจำ เราก็จะเป็นผู้ที่มีความสุขมากกว่าปกติ ต่างกันแต่ว่าพระอริยเจ้าท่านมีเมตตาเป็นอัตโนมัติเกิดขึ้นเป็นประจำไม่มีการเสื่อม สำหรับปุถุชนต้องพยายามทำให้เกิดขึ้นทำให้มีขึ้นและต้องพยายามรักษาไว้ไม่ให้เสื่อมด้วย
    เมตตาพรหมวิหารนี้ ถ้าเกิดขึ้นแล้ว ความเป็นผู้มีศีล คือไม่คิดเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น คิดปรารถนาความสุขให้แก่ตนเองและผู้อื่นก็เกิดขึ้นด้วย อยู่ที่ใดไปที่ใดก็มีแต่ความเยือกเย็นเป็นสุข
    เมตตาพรหมวิหารนี้ ถ้าทำให้มากเจริญให้มาก ย่อมแก้กรรมได้ กรรมที่ทำแล้วถ้าหนักก็อาจจะเบาบางลงได้ ถ้ากรรมนั้นพอประมาณก็อาจจะจางหายไปได้ ผู้ที่จะบำเพ็ญความดีจนบรรลุถึงความเป็นพระอริยเจ้า ตั้งแต่โสดาบันขึ้นไป จำเป็นต้องสร้างบารมี คือ ทำคุณสมบัติ ๑๐ ประการให้เกิดขึ้นให้มีขึ้นกับตนเองก่อน คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา
    เมตตาเป็นบารมีอันหนึ่ง ซึ่งจำเป็นจะต้องสร้างให้เกิดขึ้น ให้มีขึ้นกับตน การเจริญเมตตาพรหมวิหาร ทำให้เมตตาบารมีของเราเพิ่มขึ้น...... เพิ่มขึ้น
    เมตตาพรหมวิหารแก้ Side Effect คือ ผลเสียบางอย่างของการภาวนาได้ การทำสมาธิภาวนาในระบบใดก็ตาม จะใช้อะไรเป็นกรรมฐานก็ตาม จะมีอยู่อีกจุดหนึ่งที่จิตของเราสงบ ต้องการความสงบและอยากอยู่ในที่สงบ แต่สิ่งแวดล้อมก็เป็นไปตามปกติของเขา เช่น เราอยู่ในบ้าน แต่ก่อนเรายังไม่ภาวนา คนในครอบครัวทำเสียงดัง เราก็รู้สึกเป็นของธรรมดา แต่เมื่อเราภาวนา ถึงจุดที่มีความสงบ ต้องการความสงบ และอยากอยู่ในที่สงบแล้ว บางครั้งเราอาจจะรู้สึกหงุดหงิดรำคาญเสียง แล้วไปโทษสิ่งแวดล้อมว่าทำให้เกิดความไม่สงบ แต่ถ้าเราเจริญเมตตาพรหมวิหารแล้ว เราจะไม่ไปโทษสิ่งแวดล้อมภายนอก แต่จะรู้สึกเมตตาทุกคนเสมอกันหมด และสามารถปรับความรู้สึกของเราให้เป็นปกติได้ ไม่ยากนัก เมตตาเป็นเครื่องค้ำจุนโลก สังคมที่ขาดเมตตา คือ สังคมของสัตว์ป่า สัตว์ใหญ่กินสัตว์เล็ก สัตว์ที่แข็งแรงเบียดเบียนสัตว์ที่อ่อนแอ มีแต่ความหวาดกลัวอยู่ตลอดเวลา ตัวเรา ครอบครัวและในสังคมส่วนย่อย ถ้าปราศจากเมตตาไปแล้วก็จะเดือดร้อน เป็นทุกข์หวาดระแวง เช่นเดียวกันถ้ามนุษย์เราขาดเมตตา สังคมมนุษย์ต้องแย่ยิ่งกว่าสังคมของสัตว์เสียอีก เพราะมนุษย์ทุกวันนี้มีอำนาจในทางวัตถุมาก ถ้าเอาอำนาจนี้มาใช้ในทางเบียดเบียนกัน ทำลายกันโลกก็คงอยู่ไม่ได้แน่ ที่โลกยังอยู่ได้เพราะมนุษย์เรายังมีเมตตาต่อกัน แม้จะอยู่ในวงจำกัดก็ตาม
    ถ้ามนุษย์เรามีเมตตาแผ่กว้างไปมากเท่าไร โลกก็จะน่าอยู่มากขึ้น สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ในโลกจะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น เมตตาจึงเป็นคุณธรรมที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ค้ำจุนโลกให้คงอยู่ได้ ฉะนั้นโบราณจารย์ท่านจึงให้แผ่เมตตาทุกค่ำเช้า หลังจากไหว้พระสวดมนต์เสร็จแล้ว
    อานิสงส์ของการเจริญเมตตามีดังนี้
    ๑. ตื่นก็เป็นสุข
    ๒. หลับก็เป็นสุข
    ๓. ไม่ฝันร้าย
    ๔. เป็นที่รักของมนุษย์
    ๕. เป็นที่รักของอมนุษย์ อมนุษย์นี่หมายถึง เทวดา ผี และสัตว์ทั้งหลายด้วย
    ๖. เทวดารักษา ผู้ใดที่เทวดารักษา ผู้นั้นเจริญรุ่งเรืองไม่ตกต่ำ
    ๗. ไม่เป็นอันตรายด้วยไฟ ยาพิษ และศาสตรา
    ๘. จิตจะเป็นสมาธิอย่างรวดเร็ว ถ้าเราแผ่เมตตาแล้วทำสมาธิต่อ จิตจะเป็นสมาธิเร็วกว่าปกติ
    ๙. สีหน้าจะผ่องใส ดีกว่า Make up ด้วยเครื่องสำอาง
    ๑๐. ก่อนจะตายจะมีสติไม่หลงตาย การหลงตายคือ เพ้อ หรือโกรธ จิตเป็นอกุศล เพราะฉะนั้น ทุกข์คติ จึงเป็นไปในเบื้องหน้า
    ๑๑. เมื่อไม่บรรลุนิพพาน ย่อมเป็นผู้เข้าถึงพรหมโลก
    ต่อไปนี้เป็นแบบฝึกการทำสมาธิภาวนา เมตตาพรหมวิหาร
    นั่งขัดสมาธิ หลับตา นึกคิดตามคำพูดของอาตมา......... ก่อนอื่น...... เราจะต้องแผ่เมตตาให้กับตนเองซะก่อน คิดในใจให้ซึ้งในใจเลยทีเดียว......
    ขอข้าพเจ้าจงอย่ามีทุกข์กายทุกข์ใจ ขอข้าพเจ้าจงมีความสุขเป็นการปรารถนาความสุขให้กับตนเอง ทุกคน....ถึงแม้ว่าจะมีความทุกข์มากที่สุดเท่าใดก็ตาม ก็ย่อมมีความปรารถนาจะให้ตัวเองมีความสุข ความปรารถนาความสุขอันนั้น ทำให้เกิดขึ้นให้มีขึ้น ในจิตในใจของเรา ขอข้าพเจ้าจงอย่ามีทุกข์กายทุกข์ใจ ขอข้าพเจ้าจงมีความสุข......
    อันดับต่อไป แผ่เมตตาไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลาย คิดในใจให้ซึ้งอีกเหมือนกัน ขอสรรพสัตว์ทั้งหลาย จงอย่ามีทุกข์กายทุกข์ใจ ขอสรรพสัตว์ทั้งหลายจงมีความสุข การแผ่เมตตาคือการปรารถนาความสุขให้กับตนเองและผู้อื่นเท่าเทียมกันเสมอกัน นี่เป็นหัวใจเป็นหลักสำคัญของการแผ่เมตตา
    ......อันดับต่อไป ทำความสม่ำเสมอในบรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลาย รวมทั้งตัวเราเองด้วย โดยการคิดถึงบุคคล ๔ คน คือ
    ๑. ตัวเราเอง ๒. คนที่เรารัก
    ๓. คนที่ไม่รักไม่ชังคนทั่ว ๆ ไป ๔. คนที่เราไม่ชอบ คนที่เราเกลียด
    แผ่เมตตา คือ ปรารถนาความสุขให้บุคคลทั้ง ๔ คนนี้ เท่าเทียมกัน เสมอกัน ข้อนี้ทำได้ยากซักหน่อย แต่ถ้าหากว่าเราทำแผ่เมตตาเป็นประจำทุกวัน ๆ เราจะหาคนที่เกลียดไม่พบ ทุกคนจะเสมือนเป็นมิตรสหาย เป็นญาติ เป็นพี่น้อง หรือเป็นลูก เป็นหลาน มีความปรารถนาดี เท่าเทียมกันเสมอกัน แสดงว่า การแผ่เมตตาของเราได้รับผลดี
    ......คิดถึงบุคคล ๔ คน ๑. ตัวเราเอง ๒. คนที่เรารัก ๓. คนที่ไม่รักไม่ชัง ๔. คนที่เราไม่ชอบ คนที่เราเกลียด แผ่เมตตาคือ ปรารถนาความสุขให้บุคคลทั้ง ๔ คนนี้ เท่าเทียมกันเสมอกัน.......
    อันดับต่อไป แผ่เมตตาไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลายทั่วจักรวาล แผ่เมตตาคือ ปรารถนาความสุขไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลายทั่วจักรวาล นับตั้งแต่พรหม ลงมาเทวดา มนุษย์ เปรต เปรตนี่มีความหิวโหย อสุรกาย อสุรกายนี่ มีกาย วิกลวิกาล มีความทุกข์ทรมานทางกายดิรัจฉาน สัตว์นรก ขอให้มีความสุข
    อันดับต่อไป แผ่เมตตาไปยังทิศต่าง ๆ แผ่เมตตาคือปรารถนาความสุข ไปยังทิศข้างหน้า ตรงหน้าเราเลยทีเดียว ทิศหลัง ข้างหลังของเรา ทิศขวา-ขวามือ ทิศซ้าย-ซ้ายมือ เฉียงข้างหน้าทางขวา ครึ่งหนึ่งระหว่างทิศข้างหน้ากับทางขวา เฉียงข้างหน้าทางซ้าย เฉียงข้างหลังทางขวา เฉียงข้างหลังทางซ้าย ทิศบน บนหัว ทิศล่าง ดิ่งลงไปที่เรานั่ง สมมุติว่าตัวเรานี่คล้าย ๆ หลอดไฟฟ้า แผ่รัศมี ไม่ใช่แสงสว่าง แต่เป็นรัศมีแห่งความสุข ด้วยการปรารถนาความสุขแผ่ไปรอบตัวเรา
    สรุป ขอข้าพเจ้าจงมีความสุข ขอสรรพสัตว์ทั้งหลายจงมีความสุข นึกแผ่ความสุขนี้ออกไปรอบตัวเราไม่มีขอบเขตของความสุข เป็นการสร้างบรรยากาศแห่งความสุข แล้วเราก็อยู่ในบรรยากาศนั้น นี่คืออารมณ์ของเมตตาพรหมวิหาร พยายามรักษาอารมณ์นี้ไว้ให้ได้ซักพักหนึ่ง โดยการคิดซ้ำ ๆ ย้ำ ๆ ขอข้าพเจ้าจงมีความสุข ขอสรรพสัตว์ทั้งหลายจงมีความสุข แล้วก็นึกแผ่ความสุขนี้ออกไปรอบตัวเราไม่มีขอบเขตแห่งความสุข.

    การรักษาคุณภาพจิต โดยการทำสมาธิภาวนา
    ขออำนวยพรญาติโยมทุกคน เรื่องที่จะพูดต่อไปนี้คือ การรักษาคุณภาพจิต โดยวิธีทำสมาธิภาวนา มนุษย์ทุกคนรวมทั้งตัวเราเอง ประกอบด้วยร่างกายและจิตใจ ทุกวันนี้คนส่วนมากจะเอาใจใส่เฉพาะการระวังรักษากาย มีวิธีการออกกำลังกายหลายแบบ เช่น การเดิน การวิ่ง รำมวยจีน โยคะ การบริหาร และ Aerobic dance เป็นต้น
    ในกรุงเทพฯ ยามเช้า ตามสวนสาธารณะบางแห่ง เราจะเห็นคนออกกำลังกายกันมาก บางคนพิสดารไปกว่านั้น เมื่อออกกำลังกายแล้ว ก็บำรุงด้วยอาหารแปลก ๆ ซึ่งอ้างว่าทำให้มีสุขภาพดีอายุยืน รวมความว่าพวกเราส่วนมาก เป็นห่วงกังวลอยู่กับการบำรุงรักษาร่างกายเท่านั้น แต่ลืมเรื่องจะระวังรักษาจิตใจ และลืมด้วยว่าคนเรานั้นมีจิตใจ และจิตใจนั้นต้องการการระวังรักษาให้ถูกต้องด้วยเหมือนกัน
    คนที่มีสุขภาพจิตเสียนั้นสังเกตได้ไม่ยาก ตื่นเช้าขึ้นมาจะรู้สึกใจคอหงุดหงิด บางครั้งก็โกรธโดยไม่มีเหตุผล เห็นหน้าคนในครอบครัวซึ่งเป็นที่รักกลับโกรธ บางคนเป็นเอามาก เห็นอะไรขวางหน้าเป็นไม่พอใจทั้งนั้น แม้แต่เห็นนกบินในอากาศก็ยังโกรธ คนที่มีสุขภาพจิตเสียเหล่านี้ เป็นคนที่มีอารมณ์อ่อนไหวง่าย เรียกว่า เป็นคนเจ้าอารมณ์ ไม่ค่อยมีเหตุมีผล ไม่ค่อยยอมรับความเป็นจริงในชีวิต คนที่มีสุขภาพจิตเสีย นอกจากตัวของตัวเองจะมีความรู้สึกไม่สบายแล้ว ส่วนมากจะทำให้ผู้อยู่ใกล้เคียงเดือดร้อนตามไปด้วย เราจะได้ยินได้ฟังเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ผิดปกติของพวกที่มีสุขภาพจิตเสียมากมาย คนเหล่านี้เราจะพบเห็นทั่วไปในชีวิตประจำวัน อาจจะเป็นนายจ้าง เพื่อนร่วมงาน ลูกน้องหรือญาติพี่น้องของเราก็ได้ แม้แต่ตัวของเราเอง ถ้าปล่อยปละละเลย ไม่ระวังรักษาสุขภาพจิต บางครั้งอยู่ในเหตุการณ์ หรือสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดีเป็นเวลานานสุขภาพจิตก็เสียได้
    สังคมทุกวันนี้พัฒนาในทางวัตถุอย่างรวดเร็วมาก ทุกสิ่งทุกอย่างเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ความต้องการในด้านวัตถุมีมากขึ้น การแข่งขันในชีวิตประจำวันรุนแรงขึ้น ความเครียดของจิตมีมากขึ้น ฉะนั้น สุขภาพจิตของคนทุกวันนี้จึงเสื่อมทรามลงเป็นอันมาก และอาการวิกฤตทางจิตนี้ สามารถติดต่อหรือส่งผลกระทบไปยังบุคคลที่อยู่ข้างเคียงอย่างง่ายดาย
    มีโรคภัยไข้เจ็บทางร่างกายหลายอย่าง ที่มีสาเหตุมาจากอาการทางจิตที่ไม่ปกติ ซึ่งทางแพทย์เรียกว่า Psychosomatic disease เช่น ปวดหัว โรคกระเพาะ โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคประสาท เป็นต้น ฉะนั้นจึงมีความจำเป็นสำหรับทุกคนที่จะต้องระวังรักษาสุขภาพจิตของตนให้ดี
    การทำสมาธิภาวนา เป็นวิธีการรักษาสุขภาพจิตได้อย่างดี การทำสมาธิมีหลายแบบหลายวิธี แต่ละวิธีมีวัตถุประสงค์ หรือจุดมุ่งหมายแตกต่างกัน บางวิธีเหมาะสำหรับพักจิตเท่านั้น บางวิธีเหมาะสำหรับให้เกิดอิทธิฤทธิ์ แต่ละแบบล้วนแต่มีผลข้างเคียง คือ Side effect ที่เป็นอันตรายหลายอย่างที่มีการทำสมาธิ ที่ใช้คำบริกรรมอย่างเดียว สมาธิอย่างนี้เหมาะสำหรับพักจิตอย่างเดียว ทำง่ายและในขณะที่ทำ จิตจะมีความสบาย แต่ถ้าทำมากเกินไปจะมี Side effect เช่น การพักผ่อนนอนหลับเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับร่างกายก็จริงอยู่ แต่ถ้าเราเอาแต่พักผ่อนนอนหลับอยู่ตลอดเวลา หรือมากเกินกว่าปกติ ร่งกายของเราจะอ่อนแอลง ระบบการต่อต้านภัยของร่างกาย คือ Immune system จะอ่อนแอลงไป โรคภัยไข้เจ็บจะทำอันตรายต่อเราได้ง่าย จิตใจของเราก็เช่นเดียวกัน ถ้าเราเอาแต่พักจิตมากเกินไป เราจะรู้สึกสบายในเวลาทำสมาธิ แต่เมื่อเราออกไปอยู่กับโลก เราจะรู้สึกไม่สบาย หงุดหงิดผิดปกติ ที่เป็นเช่นนี้เปรียบเหมือนเราอยู่ในห้องปรับอากาศเป็นประจำจนเคยชิน เมื่อเราอยู่ในห้องจะรู้สึกสบาย แต่เมื่อเราออกจากห้อง เราจะรู้สึกไม่สบาย แล้วก็จะเจ็บไข้ได้ป่วยง่ายกว่าปกติ เพราะอากาศข้างนอกเป็นอากาศธรรมชาติ ซึ่งบางครั้งก็ร้อนจัด หนาวจัด มีลม มีฝน มีแดด มีฝุ่น เป็นธรรมดา แต่ร่างกายของเราไม่เคยชิน จึงไม่สบายหรือเจ็บไข้ได้ป่วยได้ง่าย
    เรื่องราวในชีวิตประจำวันหรือเรื่องของโลกก็เช่นเดียวกัน โดยปกติตามธรรมชาติก็เต็มไปด้วยกิเลส โลภ โกรธ หลง มีอารมณ์ภายนอกที่พอใจบ้างไม่พอใจบ้างมากระทบจิตของเราตลอดเวลา แต่ถ้าสุขภาพจิตของเราดี ระบบการควบคุมจิตของเราดีแล้ว เราก็สามารถทนได้ เห็นเป็นเรื่องปกติธรรมดา ถ้าสุขภาพจิตของเราไม่ดี เราจะไปโทษโลก โทษสังคม หรือไปโทษผู้อื่นว่าไม่ดีอย่างโน้นว่าไม่ดีอย่างนี้เป็นต้นเหตุ ทำให้เราไม่สบาย ถ้าอาการนี้มีมากจะหงุดหงิด ผิดปกติ แล้วหลบตัวจากสังคมประฌามสังคมว่ามีแต่คนเลว
    ฤาษีจะต้องปลีกตัวออกจากสังคมไปอยู่ในที่โดดเดี่ยว แต่พระภิกษุในพุทธศาสนาต้องอยู่กับสังคม ต้องขอปัจจัย ๔ มีอาหาร เป็นต้น จากสังคม
    การภาวนาแบบฟังเทป ใช้เสียงเป็นเครื่องเกาะของจิต ก็อยู่ในประเภทพักจิตเหมือนกัน ทำน้อย ๆ ไม่เป็นไร ถ้าทำมากเกินไปวันละหลาย ๆ ชั่วโมง จะเกิดอาการเช่นนี้เหมือนกัน ยกเว้นการฟังเทศน์แบบพิจารณาเนื้อความ เป็นปัญญา
    ส่วนการทำสมาธิภาวนาบางระบบ ที่ทำให้เกิดอิทธิฤทธิ์นั้น Side effect มีมาก ทำให้เกิดการหลงผิด วิปลาส Perversion ได้ง่าย บางครั้งกลับมีกิเลสมากกว่าปกติ ก่อนที่เราจะปฏิบัติสมาธิภาวนา จะต้องมีจุดหมายที่แน่นอนก่อน แล้วจึงเลือกวิธีการภาวนาให้ถูกต้อง เหมาะสมกับวัตถุประสงค์นั้น มิฉะนั้นเราจะได้รับความลำบาก เกิดปัญหาต่าง ๆ มาก คล้ายกับว่าเราต้องการจะไปเชียงใหม่ แต่ขึ้นรถผิดไปสงขลา กว่าจะรู้ตัวแก้ไขได้ก็ลำบากมาก
    นักจิตวิทยาสมัยใหม่ ได้ทำการทดลองวิธีการภาวนาหลายวิธีทั้งของพุทธและของฮินดู ปรากฏว่าวิธีการที่ดีที่สุด ที่ทำให้สุขภาพจิตดี คือ การกำหนดลมหายใจ หรือ อานาปานสติ
    การทำสมาธิภาวนาโดยวิธีกำหนดลมหายใจ มีข้อดีคือ จิตจะได้พักพอสมควร และเป็นระบบที่ฝึกการควบคุมจิตได้เป็นอย่างดี จิตของเรานอกจากจะต้องการพักผ่อนแล้ว ยังต้องมีการฝึกให้อยู่ในควบคุมด้วย เพราะมีอารมณ์ภายนอกมากระทบ ทั้งที่พอใจและไม่พอใจ เราก็สามารถจะควบคุมจิตของเราให้เป็นปกติได้
    ทำไมเราจึงต้องออกกำลังกาย เช่น วิ่งหรือเดิน ก็เพราะว่า เราต้องการให้ร่างกายของเรามีสุขภาพดี สามารถต้านทานโรคภัยไข้เจ็บได้ดี ในขณะที่ออกกำลังกาย เช่น วิ่ง เราจะรู้สึกเหนื่อย บางครั้งเราต้องบังคับตัวเองให้วิ่งต่อไป แต่ผลที่ได้รับก็คือ เราจะมีร่างกายแข็งแรงมีสุขภาพดี
    จิตใจก็เช่นเดียวกัน นอกจากการพักผ่อนแล้ว เราจะต้องฝึกการควบคุมตัวเองด้วย ในขณะที่เราต้องการควบคุมตัวเอง ขณะที่นั่งทำสมาธิภาวนา บางครั้งเราจะรู้สึกเหนื่อย แต่ผลที่ได้ คือ เราจะมีสุขภาพจิตดี สามารถจะเผชิญโลกต่อชีวิตประจำวันได้อย่างดี
    ลักษณะของผู้ที่มีสุขภาพจิตดี กล่าวโดยย่อ ๆ ก็คือ นับตั้งแต่ตื่นนอน เราจะรู้สึกว่ามีความสุข มองธรรมชาติและบุคคลโดยรอบในแง่ดี มีความคิดสร้างสรรค์ พร้อมที่จะเผชิญกับอุปสรรค และช่วยเหลือผู้อื่น สามารถที่จะทำงานด้วยจิตที่มีสมรรถภาพสูง ข้อสำคัญเกี่ยวกับการทำสมาธิภาวนาก็คือ ต้องปฏิบัติเป็นประจำทุกวัน เช่นเดียวกับการออกกำลังกายเช้าเย็น ก่อนอาหาร ครั้งละประมาณ ๓๐ นาที หรืออย่างน้อยที่สุดวันละ ๓๐ นาที
    ถ้าหากนาน ๆ ทำครั้ง จะไม่ได้ผลตามต้องการ การทำสมาธิภาวนาโดยวิธีกำหนดลมหายใจนี้ เป็นระบบควบคุมจิต ทำมากก็ไม่เป็นอันตรายนอกจากบางครั้งจะเหนื่อยมากหน่อย
    ต่อไปนี้เป็นแบบฝึกหัดเบื้องต้นของการทำภาวนาแบบกำหนดลมหายใจ
    นั่งขัดสมาธิ ขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย หลับตาตั้งกายให้ตรง ดำรงสติให้มั่น คือนึกถึงกายที่ตั้งอยู่ในปัจจุบันนี้ ตั้งแต่เท้าจรดหัว หัวจรดเท้า นึกถึงขาก่อน ขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย นึกถึงกายท่อนล่างที่สัมผัสกับพื้น นึกเรื่อยขึ้นมาจนกระทั่งถึงท่ามกลางหน้าอก ถึงคอ ถึงหัว กลับลงไปจากหัวลงไปคอ ลงไปท่ามกลางหน้าอก ลงไปกายท่อนล่าง ถึงมือ มือขวาทับมือซ้าย ถึงขา ขาขวาทับขาซ้าย แล้วก็กลับไปกลับมา ภาษาบาลีท่านเรียกว่า เป็นอนุโลมปฏิโลม ทำเช่นนี้อยู่ประมาณ ๒-๓ นาที ทำความรู้สึกทางกายให้ชัด
    จากนั้นเราก็ตั้งต้นมาใหม่ นึกถึงขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย กายท่อนล้างที่สัมผัสกับพื้น นึกเรื่อยขึ้นมาจนกระทั่งถึงท่ามกลางหน้าอก ถึงคอ ถึงหัว ต่อไปก็นึกถึงบริเวณใบหน้า นึกถึงบริเวณปลายช่องจมูก สมมุติว่าลมหายใจผ่านเข้าผ่านออกบริเวณปลายช่องจมูก หายใจเข้านึกพุท หายใจออกนึกโธ ไม่ต้องตามลมหายใจออกเวลาเราหายใจออก ไม่ต้องตามลมหายใจเข้าเวลาเราหายใจเข้า เฝ้าดูเฉพาะปลายช่องจมูก ทำความรู้สึก ๓ อย่างให้ชัด
    ๑. บริเวณปลายช่องจมูกให้ชัด
    ๒. ลมหายใจเข้า – หายใจออก
    ๓. หายใจเข้าพุท – หายใจออกโธ
    ดูความปกติของจิต จิตที่เป็นปกติเวลานี้ คือจิตจะต้องอยู่ที่ลมหายใจ เข้าออกบริเวณปลายช่องจมูก เข้าพุท – ออกโธ ทำไปประมาณ ๑๕ นาที ๒๐ นาที หรือ ๓๐ นาที จิตที่ปกติจะต้องอยู่ที่ลมหายใจเข้าออก บริเวณปลายช่องจมูก เข้าพุท ออกโธ ทีนี้ถ้ามันไม่ปกติ มันก็จะฟุ้งซ่านออกไปข้างนอก เราก็ดึงมันกลับมาให้อยู่ที่บริเวณปลายช่องจมูก หายใจเข้าพุท หายใจออกโธ อย่างเก่า ทีนี้ถ้ามันไปบ่อย ๆ ไปมากขึ้น เราก็ต้องใช้คำบริกรรมบังคับมันโดยใช้คำบริกรรมถี่ ๆ หายใจเข้าพุทโธ ๆ หายใจออกพุทโธ ๆ จนกระทั่งมันไม่มีช่องว่างที่จะออกไป จิตก็จะกลับเข้ามาเป็นปกติ เราก็หายใจเข้าพุธ หายใจออกโธเป็นปกติ ทีนี้บางครั้งจิตมันก็เคลิ้มหลับไป เมื่อเรารู้สึกตัวขึ้นมาเราก็หายใจลึก ๆ ยาว ๆ ซักพักหนึ่ง จนกระทั่งความรู้สึกเราชัดขึ้นมา เราก็หายใจเข้าเป็นปกติ หายใจออกเป็นปกติเวลานี้เราให้จิตมันทำงาน ถ้าจิตเป็นปกติมันก็ต้องอยู่กับงาน งานของเราคือ หายใจเข้า หายใจออก บริเวณปลายช่องจมูก หายใจเข้าพุท หายใจออกโธ ทำไปจนกระทั่งหมดเวลา ข้อสำคัญคือ ต้องมีความรู้สึกในลมหายใจอยู่ตลอดเวลา อย่าให้ฟุ้งซ่าน อย่าให้เคลิ้มหลับ.
    -------------------------------
    ขอความสุขสวัสดีจงมีแด่ทุกท่าน
    ผลบุญ

    <!-- google_ad_section_end --><!-- / message -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 พฤษภาคม 2011
  17. ppojai

    ppojai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2005
    โพสต์:
    4,637
    ค่าพลัง:
    +9,971
    หรรษาพาสนุก คอลัมน์ที่ 157

    เกิดมาทำไม โดย ชยสาโร ภิกขุ<!-- google_ad_section_end -->


    <HR style="COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- google_ad_section_start --><SCRIPT type=text/javascript><!--google_ad_client = "ca-pub-2576485761337625";/* 336x280 */google_ad_slot = "0551074580";google_ad_width = 336;google_ad_height = 280;//--> </SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/show_ads.js" type=text/javascript> </SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/js/r20110509/r20110506/show_ads_impl.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://googleads.g.doubleclick.net/pagead/test_domain.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/render_ads.js"></SCRIPT><SCRIPT>google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);</SCRIPT>
    ใน เมืองไทย หากถึงวันเกิด ก็มักจะไปทำบุญทำทานตามประเพณีและธรรมเนียมอันงดงามของชาวพุทธ ในขณะที่ชาวพุทธตะวันตกบางคน เคยออกความเห็นว่าชาวพุทธไม่ควรฉลองวันเกิด เพราะจุดมุ่งหมายในชีวิตของชาวพุทธคือการเห็นโทษในการเกิด เขาถือว่าการเกิดไม่ใช่สิ่งที่ดี อันนี้ก็เป็นทัศนะอันหนึ่ง แต่ถ้าเรามองในแง่หนึ่ง เป็นการฉลองการมีบุญพอที่จะเกิดเป็นมนุษย์ ซึ่งพระพุทธองค์เคยตรัสไว้ว่า โอกาสในการเกิดเป็นมนุษย์มีน้อยมาก ชีวิตของมนุษย์เป็นสิ่งที่มีค่าอย่างยิ่ง

    นักวิชาการชาวตะวันตกบางคน เคยตำหนิพระพุทธศาสนาว่า เป็นศาสนาที่มองชีวิตในแง่ร้าย แต่ผู้ใดลงมือปฏิบัติธรรมย่อมเห็นว่าความเป็นจริงแล้ว พระพุทธศาสนามองชีวิตของมนุษย์ในแง่ดี มองในแง่สร้างสรรค์ อาจดีกว่าศาสนาอื่นด้วยซ้ำไป คือเราเชื่อในความสามารถของมนุษย์ ศาสนาอื่นนั้นมักจะไม่ค่อยให้ความสำคัญแก่ชาติปัจจุบัน หากมองเป็นแค่อารัมภบทก่อนขึ้นสวรรค์นิรันดรหรือตกนรกนิรันดร ไม่เชื่อในศักยภาพของมนุษย์ที่จะพ้นจากความทุกข์ในชาตินี้ แต่ทางพระพุทธศาสนาเห็นว่า ชาตินี้สำคัญที่สุดแล้ว การที่เราเกิดเป็นมนุษย์เป็นสิ่งที่ประเสริฐ เพราะว่าเรามีความสามารถพิเศษบางอย่าง ซึ่งสัตว์ที่เกิดในภพอื่นหรือภูมิอื่นไม่มี คือเรามีความสามารถในการละความชั่ว บำเพ็ญกุศลความดี และการชำระจิตใจของตน

    ชีวิตที่สมบูรณ์ของมนุษย์ ต้องประกอบไปด้วยการกระทำเหล่านี้ ต้องมีการละ ต้องมีการบำเพ็ญ ต้องมีการชำระ ฉะนั้นในการฉลองวันเกิด เราก็ฉลองในฐานะที่การเกิดครั้งนี้ได้เปิดโอกาสให้เรามาพบกับพระพุทธศาสนา ได้มาสัมผัสกับหลักสัจธรรมความจริง และได้มีความคิดวิเคราะห์ชีวิตของตนว่า เราเกิดมาทำไม และสิ่งสูงสุดในชีวิตคืออะไรหรือควรจะเป็นอย่างไร

    การพิจารณาในเรื่องความเป็นอยู่ของตัวเอง เรื่องคุณภาพชีวิตของตน คือจุดเริ่มต้นของการภาวนา การภาวนาคือการพัฒนาย่อมอาศัยจิตสำนึกในความเป็นมนุษย์ของเราทุกแง่ทุกมุม เพื่อให้มีแนวทางปรับการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับกฎของธรรมชาติ ความทุกข์คือความขัดแย้งระหว่างความรู้สึกนึกคิด การพูด และการกระทำของเรากับความจริงของธรรมชาติ ความทุกข์นี้จึงหายไปโดยสิ้นเชิงด้วยพลังของปัญญาเท่านั้น เราไม่สามารถกำจัดความทุกข์นี้ได้ด้วยวิธีการอย่างอื่น การอ้อนวอนพระเจ้าหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ก็ดี การกลบเกลื่อนความทุกข์ด้วยความมัวเมาเพลิดเพลินในความสุขทางเนื้อหนังก็ดี ล้วนเป็นแค่การบรรเทาชั่วคราว เพราะไม่ได้แก้ที่เหตุ

    อะไรๆ ก็เหมือนกัน ไม่ดูก็ไม่เห็น ไม่เห็นก็ไม่เข้าใจ เราไม่ยอมมองด้านในก็ไม่เห็นตัวเอง ไม่เห็นก็ไม่เข้าใจ คนจำนวนไม่น้อยจึงชอบพูดว่า เขาไม่เห็นว่าศาสนามีความจำเป็นอะไรแก่ชีวิต เขามีความสุขพอสมควรแล้ว ไม่มีปัญหาอะไรนักหนา และไม่เคยสร้างความเดือดร้อนแก่ใครๆ (พอกล่าวคำนี้ ผู้ใกล้ชิดมักจะต้องอมยิ้มหรือส่ายหัวนิดๆ) คนที่มองอย่างนี้ มักขอให้หาความสุขแบบชาวบ้านก่อน คือ เขามองธรรมะเป็นยาสมุนไพรขมๆ ที่ควรเอาไว้ในอนาคตโน้น ตอนจวนหมดบุญ รักษาทางอื่นไม่ได้ผล ไม่มีทางเลือกแล้วจึงค่อยลอง นี่คือความประมาท ทำไม เพราะมองไม่เห็นเนื้อร้ายที่เกิดที่หัวใจเสียแล้ว ซึ่งธรรมะเท่านั้นที่ขจัดได้ เป็นความคิดที่เกิดจากการไม่มองด้นใน ไม่ดูก็ไม่เห็นปัญหาที่ซ่อนเร้นอยู่แล้ว และคอยบั่นทอนคุณภาพชีวิตตลอดเวลา

    ความยึดติดเกิดที่ไหน ความเครียดและความกลัวเกิดที่นั้น ผู้อยู่ในโลกไม่รู้เท่าทันโลก ไม่ศึกษาและปฏิบัติธรรมคือไม่สนใจธรรมชาติของตัวเอง ไม่สนใจธรรมชาติของตัวเองย่อมเป็นเหยื่อนของมันอยู่เรื่อย อย่างเช่นกลัวตาย เป็นต้น และกลัวการพลัดพรากจากสิ่งที่ให้ความสุขแก่ชีวิต


    ตราบ ใดที่เขาสามารถสัมผัสหรือเก็บสิ่งที่เขาสำคัญมั่นหมาย ว่าเป็นความสุขหรืออำนวยความสุข เราก็ประมาทและหมกมุ่นในสิ่งนั้น แต่เมื่อมีเหตุการณ์ใดที่ทำให้เขาต้องพลัดพราก หรือแค่คุกคามว่าจะต้องพลัดพรากจากสิ่งนั้น เขาจะเป็นทุกข์เป็นร้อน ไม่มีที่พึ่ง เพราะไม่พร้อม ไม่เคยซ้อม ไม่เคยตระหนักว่าเป็นเรื่องธรรมดาว่า ความสุขที่เกิดจากสิ่งที่ไม่แน่นอน ย่อมเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอนเหมือนกัน

    ความสุขที่อาศัยการกระตุ้นจากข้างนอกเป็นของเปราะ ขาดความมั่นคง เป็นความสุขที่หลอกให้เราหลง และผู้ที่จะเอาจริงเอาจังกับความสุขอย่างนี้มาก ก็ย่อมตาบอดต่อความจริงของธรรมชาติ ที่ท่านเรียกว่าไตรลักษณ์ จึงไม่ฉลาดในการบริหารอารมณ์ตัวเองเท่าที่ควร

    ผู้ที่ปฏิบัติธรรมคือผู้กล้าทวนกระแสโลก ต้องเด็ดเดี่ยวไม่ยอมหนีจากความทุกข์ ไม่หลับหูหลับตาต่อความจริง ไม่เอาหูไปบาร์เอาตาไปห้าง กำลังใจในการปฏิบัติจะเกิดได้อย่างไร ก็เกิดด้วยการพิจารณาเห็นโทษ และความไร้แก่นสารสาระของชีวิตที่ขาดธรรมะ ต้องสังเกตเห็นว่า การฝากความหวังในชีวิตไว้กับความสุขจากสิ่งนอกตัว ก่อให้เกิดความว้าเหว่เบื่อหน่ายและกังวลเป็นเงาตามตัวความสุขนั้นอยู่ตลอด เวลา การเก็บกดหรือวิ่งหนีจากเงานี้ทำให้เหน็ดเหนื่อย บางครั้งอาจแน่นหน้าอกวิงเวียนหรือตัวสั่นอย่างฉับพลันก็ได้ ความรู้สึกว่าชีวิตของเราไม่มีความหมายห้ามไม่อยู่ เป็นโทษของการวิ่งตามวัตถุและความสุขทางเนื้อหนังมากเกิดไป

    นักปฏิบัติต้องเห็นชัดว่า ความสุขทางเนื้อหนังไม่สามารถตอบสนองความต้องการอันแท้จริงของมนุษย์ คือความสงบที่เต็มไปด้วยปัญญาและกรุณา ความสงบนี้หลวงพ่อชาเคยเรียกว่า “บ้านที่แท้จริง” แต่พฤติกรรมของคนในสังคมปัจจุบันเรียกได้ว่าเป็นอาการต่างๆ ของคนคิดถึงบ้าน แต่ไม่รู้จักบ้าน น่าสงสารเนอะ

    ฉะนั้น คนส่วนมากไม่กล้ารับรู้โทษของกาม เพราะเขาปล่อยให้กามเป็นชีวิตจิตใจของเขาทีเดียว เขากลัวว่าความสุขแบบนี้หมดไปเมื่อไร ชีวิตจะไม่มีอะไรเหลือ แต่นักปฏิบัติกล้ารับรู้ต่อโทษของกาม เพราะเห็นว่ามีสิ่งที่สูงกว่า เชื่อมั่นว่าการเกิดเป็นมนุษย์เป็นสิ่งมีค่า ไม่ควรเสียเวลากับสิ่งเปล่าประโยชน์ เราเกิดมาเพื่อแสวงหาปัญญา เพื่อความดับทุกข์ เพื่อบรรลุถึงสุดยอดของการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตคือ “อมตธรรม” ความไม่เกิดไม่ตาย

    ถึงแม้ว่าเราจะไปไม่ถึงในชาตินี้ อย่างน้อยเราก็ควรตั้งเข็มทิศเอาไว้ เรามาศรัทธาในพระพุทธศาสนา เพราะเห็นว่ามีคำสอนที่ทนต่อการพิสูจน์ ให้คำแนะนำชี้แจงในการเผชิญหน้ากับความจริงของชีวิตที่ชัดเจนและละเอียดอ่อน ให้วิธีการปรับปรุงแก้ไขพฤติกรรมทางกาย วาจา ใจ ให้กลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับกฎธรรมชาติ ไม่เกิดโทษ ธรรมะสำคัญขนาดนี้ การเกิดเป็นมนุษย์ในประเทศที่มีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ต้องถือว่าเป็นโชคเป็นลาภอย่างยิ่ง เมื่อเราระลึกถึงและพินิจพิจารณาในสาระของชีวิตของตน ความรู้สึกใหม่หลายอย่างย่อมปรากฏขึ้น เกิดซาบซึ้งดื่มด่ำในบางสิ่งบางอย่าง ข้อหนึ่งที่จะเห็นชัดอยู่ในใจคือ ความรู้สึกต่อความสัมพันธ์เนื่องอาศัยกันของสิ่งทั้งหลายในชีวิต การไตร่ตรองในเรื่องนี้ทำให้เกิดปัญญา ไม่ยึดมั่นถือมั่น

    อีกประการหนึ่ง การพิจารณาเรื่องความสัมพันธ์กับคนอื่นย่อมนำไปสู่ความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มี พระคุณต่อเรา ส่วนมากเรามักจะมองว่าความสำนึกในบุญคุณของผู้มีอุปการคุณต่อเราว่าเป็นธรรม พื้นฐาน ไม่ใช่เรื่องสูงฟังยากเหมือนอนัตตา แต่ที่จริงแล้วความกตัญญูกตเวทีอันแท้จริงเกิดขึ้นและเข้มแข็ง เพราะความเข้าใจในเรื่องอนัตตาคือความระลึกรู้อยู่ว่า เราไม่ใช่ศูนย์กลางของโลก ไม่ได้อยู่ในโลกนี้คนเดียว ความสุขทั้งหมดที่เราเคยเสวยในชาตินี้ย่อมอาศัยคนอื่น สัตว์อื่น หรือสิ่งอื่นไม่มากก็น้อย ในชีวิตของเรานั้น เคยไหม เคยมีความสุขแม้แต่นิดเดียวที่ไม่ได้อาศัยคนอื่นเป็นปัจจัย ขอตอบแทนว่าไม่เคย แล้วเมื่อชีวิตเราไม่มีอะไรที่ไม่ขึ้นอยู่กับคนอื่นหรือสิ่งอื่น เราจะถือตัวถือตนได้อย่างไร แล้วเราจะหาตัวตนที่เที่ยงแท้ถาวรได้ที่ไหน

    วันเกิดของเราควรเป็นวันที่เราคำนึงว่า เป็นวันที่คุณแม่ผ่านการทรมานเพื่อเรา การคลอดลูกมักทำให้มีทุกขเวทนารุนแรง ความสุขของเราในชีวิตนี้เกิดขึ้น เพราะคุณแม่ของเรายอมทนต่อความทุกข์ความทรมาน และไม่ใช่เฉพาะวันคลอดเท่านั้นที่ท่านลำบาก ร่างกายท่านผิดปกติตลอดเก้าเดือน และก็ไม่ได้สิ้นสุดในวันคลอดด้วย แต่ท่านยังยอมรับความลำบากหลายๆ อย่างในการเลี้ยงดูเรา ด้วยความภาคภูมิใจ ฉะนั้น วันเกิดของเราควรจะเป็นวันแม่ของเราด้วย


    อาตมา เคยฟังนิทานของชาวธิเบตเรื่องความรักของแม่ เขาเล่าว่า มีเศรษฐีคนหนึ่งมีภรรยาสองคน ภรรยาหลวงไม่มีลูกและกำลังอิจฉาภรรยาคนที่สองซึ่งเพิ่งมีลูกชายคนแรก ลูกยังเป็นทารกอยู่ เศรษฐีก็ตาย สงสัยว่าบ้านเขาคงอยู่ห่างไกลจากคนอื่น เพราะยังไม่มีใครทราบว่ามีลูก เมียหลวงจึงวางแผนชั่วร้าย คือยืนยันกับแขกที่งานศพว่าเด็กเป็นลูกของเขา ไม่ใช่ของเมียน้อย เนื่องจากกฎหมายของธิเบตกำหนดว่า ทรัพย์สมบัติของเศรษฐีทั้งหมดต้องตกเป็นของลูกชายคนเดียว

    เมียหลวงและเมียน้อยพร้อมกับลูก พากันเข้าไปในเมืองหลวง โดยทั้งสองคนต่างยืนกรานว่าเด็กเป็นลูกของตน คดีขึ้นศาล ผู้พิพากษาฟังผู้หญิงทั้งสองคนพูด ต่างคนต่างร้องไห้ของความยุติธรรม ผู้พิพากษาดูไม่ออกว่าใครพูดจริงใครพูดเท็จ ท่านจึงสั่งให้ผู้หญิงไปจับลูก คนละแขน แล้วให้ดึง ท่านสั่งว่าคนที่เป็นแม่จริงจะต้องดึงแรงกว่าคนที่ไม่ใช่แม่ ทั้งสองก็ทำตามคำสั่งผู้พิพากษา ดึงไปดึงมา เด็กเล็กๆ ก็ร้องไห้ ทรมาน เมียน้อยเห็นลูกร้องไห้ ทนไม่ไหวก็เลยปล่อย ยอมแพ้ดีกว่าจะให้ลูกเป็นทุกข์อย่างนี้ ถ้าดึงต่อไปอีก ลูกอาจจะถึงตายได้ ก็จำเป็นต้องปล่อยแขนของลูก เมียหลวงก็ร้อง ไชโย! ชนะแล้ว ยิ้มบาน แต่ผู้พิพากษากลับสั่งเจ้าหน้าที่เอาลูกไปให้เมียน้อย

    เมียหลวงแชมป์ชักเย่อลูกก็งง ทำไม เขาร้อง อย่างนี้ไม่ยุติธรรม เขาแย้ง ผู้พิพากษาดุ บอกว่า พอแล้ว ยุติธรรมแล้ว ผู้ยอมปล่อยนั้นแหละต้องเป็นแม่จริง คนนั้นแสดงความรักของแม่ เพราะเห็นความทุกข์ของลูกเป็นเรื่องสำคัญยิ่งกว่าความต้องการหรือความรู้สึก ของตัวเอง ในที่สุดเมียน้อยก็ได้ลูกกลับมา และได้ทรัพย์สมบัติตามกฎหมาย...จบ แต่อาตมาไม่อยากให้จบตรงนี้ ถ้าอาตมาเป็นผู้เขียน ตอนท้ายเรื่องจะให้ผู้เป็นแม่จริงแบ่งสมบัติไว้ให้เมียหลวงสักครึ่งหนึ่ง เพราะชนะแล้วควรให้อภัย น่าเห็นใจเมียหลวงว่า เขาทำน่าเกลียดอย่างนี้เพราะไม่มีลูกและกลัวว่าจะถูกทอดทิ้ง เดี๋ยวนี้เขาเป็นแม่หม้ายเสียแล้ว ไม่มีใครดูแล ไม่มีใครเลี้ยง ถ้าเมียน้อยไม่ช่วยเขา ใครจะช่วย ยิ่งขึ้นศาลในเรื่องอื้อฉาวก็ต้องตกเป็นขี้ปากของสังคมแน่ๆ คงเป็นที่รังเกียจของชาวบ้าน

    ฉะนั้น ก็ต้องให้อภัยเขา และเชิญเขากลับมาอยู่ด้วยกันต่อ ช่วยกันดูแลลูก ถ้าภรรยาคนที่สองทำอย่างนี้ เรียกว่าน่าชม เป็นนักปฏิบัติธรรม คือมีทั้งความรักของแม่ และทั้งความรักที่ประกอบด้วยธรรม คือเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์

    ในการภาวนา เราเปิดจิตใจของเรากว้างออกไปรับรู้ในทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับชีวิต เปรียบเสมือนกับห้องที่อับๆ และมืดสนิท ซึ่งเราเปิดหน้าต่างเปิดประตูให้แสงสว่างและอากาศเข้าไป ถ้าเราไม่พิจารณาความรู้สึกนึกคิดของตัวเอง ชีวิตย่อมถูกกิเลสครอบงำอยู่เสมอ พุทธศาสนาของเราถือว่ามนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐ แต่ไม่ใช่ว่าพอเกิดแล้วปั๊บเราประเสริฐทันที เราจะประเสริฐได้ก็ด้วยการฝึก ความประเสริฐเป็นเป้าหมาย เป็นสิ่งที่เราบรรลุได้ แต่มันทำยากลำบากเหมือนกัน

    หลวงพ่อชาเคยสอนอยู่เสมอว่า ความทุกข์ในโลกมีสองอย่าง คือความทุกข์ที่เป็นไปเพื่อความทุกข์ และความทุกข์ที่เป็นไปเพื่อความดับทุกข์ ความทุกข์ประเภทที่สองนั้นเราต้องยอมรับ พระพุทธองค์เคยตรัสว่า “ทุกข์ เป็นเหตุให้เกิดศรัทธา ศรัทธาเป็นเหตุให้เกิดความปิติปราโมทย์ ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดความสุข และความสุขเป็นเหตุให้จิตเข้าถึงความสงบได้”

    นี่เป็นข้อสังเกตอีกข้อหนึ่งที่เราไม่ควรลืม เราปฏิบัติเพื่อกำหนดรู้ความทุกข์โดยจิตที่เข้มแข็งพอจะกำหนดรู้ทุกข์ได้ จิตที่ประกอบด้วยความสุขจะเป็นจิตที่เข้มแข็ง ถ้าจิตใจของเรายังหิวโหยขาดความสุข จิตนั้นจะอ่อนแอและจิตนั้นจะบรรลุสัจธรรมไม่ได้

    พระพุทธองค์เคยตรัสไว้ว่า “ผู้มีปีติในธรรมย่อมเป็นสุข” คนเราต้องยกทุกๆ เรื่องในชีวิตประจำวันขึ้นสู่ธรรมะ เพราะถ้าเรารู้จักมองทุกอย่างเป็นธรรมะ ชีวิตก็จะมีแต่ความสุข

    เมื่อพระพุทธศาสนาเผยแพร่ไปในประเทศต่างๆ สถาบันสงฆ์และแนวการสอนแปรเปลี่ยนไป ที่ประเทศจีนท่านเน้นเรื่องปรัชญาไปเสียมาก สุดท้ายเกิดปฏิกิริยาจากผู้ที่ต้องการสนับสนุนฝ่ายปฏิบัติ ผลอย่างหนึ่งคือการปรากฏขึ้นของนิกายเซ็น พวกนี้ทิ้งหนังสืออ่านแต่ใจ

    ข้อหนึ่งที่อาจารย์เซ็นเห็นว่ามีปัญหา คือการที่นักวิชาการในสมัยนั้นยกธรรมะขึ้นมาเป็นเรื่องสูงเกินไป จนกระทั่งคนทั่วไปรู้สึกว่าเหลือวิสัยของคนธรรมดา ฉะนั้น เพื่อสอนให้คนเปลี่ยนความคิดเสียใหม่ พระเซ็นชอบใช้คำพูดสั้นๆ ให้ผู้ฟังสะดุ้ง โดยถือว่าจิตใจเราสะดุ้ง ก็สามารถรับของใหม่ได้ง่ายขึ้น


    ครั้ง หนึ่งมีอุบาสกคนหนึ่งถามอาจารย์เซ็นว่า พระพุทธเจ้าคืออะไร พุทธภาวะคืออะไร ท่านตอบทันควันว่า พุทธภาวะคือขี้หมา เหตุผลในการตอบอย่างนี้คือ ท่านยกสิ่งที่คนทั่วไปเห็นว่าสกปรกหรือต่ำต้อยที่สุด และเปรียบเทียบกับสิ่งที่คนทั่วไปเชื่อว่าสูงสุด เพื่อให้เข้าใจว่าสิ่งที่บริสุทธิ์ไม่ได้อยู่ห่างจากสิ่งสกปรกหรือธรรมดา

    ถ้ามองด้วยปัญญา เราจะเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เราสัมผัสได้ด้วยตาหูจมูกลิ้นกายใจนั้น ล้วนแล้วแต่มีลักษณะอันเดียวกันคือเกิดขึ้นแล้วดับไป การประจักษ์แจ้งในธรรมชาติของประสบการณ์ของเราคือการปรากฏของพุทธภาวะ ฉะนั้น พุทธภาวะจึงไม่ใช่สิ่งลึกลับที่เราจะหยั่งรู้ได้ ไม่จำเป็นต้องรอออกบวชไปอยู่ในป่าในเขา แต่เป็นความเข้าใจเรื่องสิ่งธรรมดา ที่อยู่กับเราตลอดเวลา อาบน้ำ แปรงฟัน ทำกับข้าว ทานข้าว ล้างจาน ขับรถ เดินไปเดินมา ฯลฯ ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นโอกาสที่เราจะเข้าใจธรรมะได้ เพราะธรรมะไม่ใช่สิ่งลึกลับจนเกินไป เป็นสิ่งสูงสุดก็จริง แต่เป็นสิ่งสูงสุดที่อยู่ในสิ่งต่ำสุดได้ด้วย

    นักวิทยาศาสตร์จากอังกฤษคนหนึ่งเคยบอกว่า ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะการค้นพบข้อมูลใหม่ๆ แต่เกิดขึ้นจากการมองข้อมูลเก่าด้วยสายตาใหม่ ก็คล้ายๆ กับ ความก้าวหน้าในการประพฤติปฏิบัติ การประพฤติปฏิบัติไม่ได้อยู่นอกเหนือจากชีวิตประจำวันของเรา คนเราต้องพยายามมีธรรมะอยู่ในใจตลอดเวลา เพราะธรรมะเป็นเครื่องแก้กิเลส และกิเลสเกิดได้ทุกเวลานาที

    ตามหลักปริยัติ เราถือว่าธรรมะประกอบด้วยแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ มีให้เลือกเยอะ แต่เราต้องรู้จักเลือกธรรมะที่เหมาะกับเหตุการณ์ปัจจุบัน บางครั้งเราจำเป็นต้องใช้ธรรมะที่ลึกซึ้ง บางครั้งเราก็ต้องใช้ธรรมะพื้นๆ สำคัญแต่ว่า ได้ผลไหม

    โดยปรกติในชีวิตประจำวัน เมื่อเกิดอารมณ์หงุดหงิดไม่พอใจ เราชอบระบายความรู้สึกออกไป โดยการดุหรือพูดอะไรให้คนอื่นเจ็บใจ แต่ถ้าเรารู้สึกตัวแล้วไม่พูดอย่างนั้น เราก็จะได้ธรรมะหลายข้อ ความรู้สึกตัวว่ากำลังหงุดหงิดคือตัวสติ และการที่ไม่ทำตามความรู้สึกนั้นคือความอดทน เมื่อความเศร้าหมองในใจเราหาย เกิดสำนึกในความไม่เที่ยงของอารมณ์ ความไม่เป็นตัวเป็นตนของอารมณ์ นั่นคือตัวปัญญา การปฏิบัติในชีวิตประจำวันเป็นอย่างนี้

    ความรู้สึกอย่างหนึ่งที่เราควรพิจารณาบ่อยๆ ก็คือความเบื่อ ตัวนี้จะเป็นตัวที่มีผลต่อชีวิตประจำวันอย่างมาก คนทั่วไปทำหลายสิ่งหลายอย่างเพียงเพราะเบื่อ หรือเพราะกลัวการเบื่อ การภาวนาเป็นโอกาสที่ดีเราจะมารู้จักกิเลสตัวนี้ พิจารณาดูความรู้สึกว่า เบื่อคืออะไร มีอาการอย่างไร สังเกตตัวเบื่อนี้ในระหว่างการภาวนา แล้วจะสามารถจับความรู้สึกนี้ในชีวิตประจำวันได้ เช่น บางทีอาจหยิบหนังสือธรรมะขึ้นมาอ่าน ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี แต่ให้ดูเจตนาของเราในขณะที่เราหยิบหนังสือธรรมะขึ้นมาอ่าน หรือว่าหยิบเทปมาฟัง อาจเป็นได้ว่าเป็นอาการของความเบื่อมากกว่าการใฝ่ธรรม นั่งสมาธิไม่สงบ เบื่อ และอยากลุกหนีความจากความรู้สึกนั้น จึงหาหนังสืออ่านแทน ไม่ปล่อยวางอารมณ์ที่เป็นเหตุของทุกข์ ในการปฏิบัติไม่ใช่ว่าห้ามไม่ให้อ่านหนังสือ ห้ามไม่ให้ฟังเทปเลย เพียงแค่เตือนให้รู้จักเจตนาของตัวเอง ตัวความเบื่อนี้สำคัญ

    การภาวนา คือ การสร้างความคุ้นเคยกับตัวเอง นักภาวนาต้องดูตัวเองอยู่เสมอว่าในขณะนี้มีอะไรอยู่บ้าง โดยไม่หลวงว่าสิ่งที่เห็นเป็นของตัวเป็นของตน คือไม่มองด้านในผ่านแว่นสี คือความรู้สึกว่าเรา หรือของเรา มนุษย์ส่วนมากมักห่างไกลจากตัวเอง ไม่รู้จักเลย บางคนชอบบ่นว่าคนอื่นไม่รู้จักเขาหรือไม่เข้าใจเขา แต่ตัวเขาเองก็ไม่เข้าใจตัวเองเท่าไร แล้วทำไมคนอื่นจะต้องเข้าใจ น่าจะเห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดา

    นักปฏิบัติผู้เฝ้าสังเกตจิตใจ จะต้องเห็นว่าอารมณ์ใดเกิดบ่อย อารมณ์ใดเกิดไม่ค่อยบ่อย จะต้องเห็นความสัมพันธ์ระหว่างอารมณ์ต่างๆ เช่น จะสังเกตว่าเวลาเครียดหรือกลัว ความโกรธมักจะวิ่งตามมาเป็นเพื่อน ตอนโกรธเรามักจะเพลินในความโกรธ แล้วทำหรือพูดในสิ่งที่ไม่ดีไม่งาม ซึ่งส่งผลกระทบต่อตัวเองหรือคนอื่น หรือเวลามีใครยกย่องสรรเสริญ เราจะรู้สึกดีใจสบายใจ

    ในการปฏิบัติธรรม เราเพียรพยายามมองอาการของจิต เช่น นี้เป็นเรื่องธรรมะ ที่เป็นไปตามเหตุปัจจัย คือไม่ต้องมีคำว่า “ฉัน” หรือคำว่า “เรา” เข้าไปยุ่งเกี่ยวเลย มีแต่ธรรมะล้วนๆ อย่างเช่น ความโกรธเกิดขึ้นแล้วมีผลอย่างนั้นอย่างนี้ ผลที่เกิดขึ้นนั้นก็กลายเป็นเหตุของอารมณ์อย่างอื่น เช่น ความเดือดร้อน เป็นต้น ขาดสติแล้ว กิเลสเหมือนปฏิกิริยาลูกโซ่ ตามหลัก ปฏิจจสมุปปบาท

    มองใจตัวไม่เป็น เห็นสิ่งที่ดีก็เหลิง หรือถือตัวว่าเราดีเราเก่ง เห็นสิ่งที่ไม่ดีก็ตกใจ หรือถือตัวว่าเราเลวเราไม่เก่ง เห็นทุกสิ่งทุกอย่างเหมือนกับเป็นสมบัติของเรา การภาวนาอย่างนี้ผิดทาง เป็นการสร้างอัตตาตัวตน ไม่ใช่การโค่นหรือการทำลาย เราเพียงแต่ได้อัตตาตัวตนใหม่ ทิ้งของเราแล้ว เอาของใหม่ไว้แทน

    ความเพียรคือการทำความรู้สึกตัว ว่าจิตใจของเราผิดปกติไหม เอนเอียงไปทางไหนไหม เอนเอียงไปทางชอบ เอนเอียงไปทางไม่ชอบไหม หนักไปทางโลภไหม หนักไปทางโกรธไหม หนักไปทางหลงไหม รับรู้อยู่โดยไม่ถือว่าตัวเราเป็นอย่างนั้นจริงๆ สักแต่ว่า ยอมรับว่าสิ่งเหล่านั้นมีอยู่ ประคับประคองความรู้ตัวอย่างนี้ไว้เรื่อยๆ แล้วปล่อยในสิ่งที่ควรปล่อย สนับสนุนสิ่งที่ควรสนับสนุน จิตใจจะเข้มแข็งขึ้นโดยลำดับ โดยเฉพาะต่อความรู้สึกของคนอื่น


    คน ที่ไม่รู้จักตัวเอง มักแสวงหาความมั่นคงจากความรู้สึกของคนอื่น เราอาจจะเคยก็ได้ คนรอบข้างชอบหรือมีความสุขก็สบาย มีใครไม่ชอบก็ไม่สบาย ต้องพยายามทำให้ทุกคนรัก ให้ทุกคนชอบ ดิ้นรนที่จะเป็นที่รักของคนทุกคน ถ้าอยู่ในออฟฟิศหรือในที่ๆ มีสักสิบคน รู้สึกว่าเขาชอบเราเก้าคน มีคนเดียวที่ไม่ชอบ ก็แทบจะอยู่ไม่ได้ ทุกข์ สงสัยว่าเรามีอะไรเขาจึงไม่ชอบ มีใครเข้าใจเรา ผิดหรือโกรธ จะมีความรู้สึกว่าตัวเรา ตัวตนของเราถูกกระทบอย่างแรง

    แต่คุณค่าของคนเราไม่ได้ถูกกำหนดด้วยสายตาของคนอื่น เขากล่าวหาในสิ่งที่ไม่จิรง คุณค่าของเราก็ยังมีเหมือนเดิม เป็นสิ่งที่เรากำลังสัมผัสอยู่ คนอื่นจะเห็นหรือไม่เห็น เป็นเรื่องของเขา ส่วนเรื่องของความรัก อาตมาว่าความรักมันเหมือนกับไวรัสตัวหนึ่ง ไม่ใช่คนรักกันเพราะบุคลิกตรงกัน ดวงตรงกัน ฯลฯ เท่าไรหรอก มันคล้ายกับเป็นปฏิกิริยาทางเคมี หรือไวรัสตัวหนึ่งมากกว่า ติดไวรัสกัน ติดไวรัสนั้นตลอดชีวิตก็มี หรืออาจจะติดไวรัสไปอาทิตย์สองอาทิตย์ก็ยังมี พอหายแล้วก็ไม่รักเสียแล้ว

    มองอย่างนี้อาจจะแรงไปหน่อย แต่สิ่งที่ต้องระวังคือการเชื่อว่าเขารักเรา เราต้องเป็นคนดี เพราะตามเหตุผลนี้ถ้าเผื่อเขาเกิดไม่รักเรา ก็หมายความว่าเราต้องเป็นคนไม่ดีซิ สุขภาพจิตเราจะแย่ ที่แท้มันไม่ขึ้นอยู่กับความรู้สึกของคนอื่นเลย เราก็ต้องรู้จักตัวเองว่าเรามีอะไรอยู่ โดยไม่เข้าข้างตัวเอง ให้เราระลึกอยู่เสมอว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ในใจเราไม่ใช่ของตายตัว คือคำว่าบุคลิกหรือจริตนิสัยก็เป็นเพียงแค่ชื่อตามความเคยชินต่างๆ ซึ่งเราเปลี่ยนได้ ถ้าเรามีศรัทธาและเห็นคุณค่าในการเปลี่ยน

    ศรัทธาเป็นเรื่องสำคัญ สำคัญมากทีเดียว ความพากเพียรก็ดี ความอดทนก็ดี ล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นจากศรัทธาและความเชื่อมั่นในคุณค่าของการประพฤติปฏิบัติ มีโยมฝรั่งคนหนึ่งเคยอยู่ที่นี่ เขาเคยติดเฮโรอีนมาหลายปี เขาพยายามทุกวิถีทางที่จะเลิกแต่เลิกไม่ได้ มาเมืองไทยเขาไปรักษาที่วัดถ้ำกระบอก พอออกจากวัดแล้วก็ลงไปกรุงเทพฯ ซื้อเฮโรอีน ไม่ได้เรื่องเลย นานมาแล้วเขาเคยมาเที่ยววัดป่านานาชาติสองครั้ง มาครั้งนี้เขาถือว่าเป็นความหวังสุดท้าย เขามาอยู่ที่นี่ สนทนากับพระ เริ่มศึกษาปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง เขาเกิดศรัทธาแล้วเลิกยาเสพติดได้

    ทุกวันนี้บางทีเดินผ่านพระพุทธรูป น้ำตาเขาไหล เขาก็แปลกไม่เคยคิดว่าความซาบซึ้งอย่างนี้จะเกิดขึ้นในชีวิตเขาได้ แล้วศรัทธาแรงกล้านี้ไม่งมงายด้วย เป็นศรัทธาที่เกิดด้วยเหตุผล เขาอ่านหนังสือแล้วสงสัยข้อไหนก็มาถาม อาตมาก็ตอบ แล้วเขาก็จะร้อง อ้อ ! อย่างนี้เอง เขาบอกว่าสมัยที่เขาติดเฮโรอีนเคยอ่านหนังสือปรัชญา หนังสือศาสนาทั้งตะวันออกตั้งเยอะแยะ รู้สึกว่าดี รู้สึกว่าลึกซึ้ง แต่ยังไม่มีถึงขั้นเห็นโทษในวิถีชีวิต เพียงแต่รับไว้เป็นปรัชญาประดับความรู้เฉยๆ แต่ตอนนี้เกิดศรัทธาแล้ว เขาก็พร้อมที่จะอดทนต่อกิเลส ปรับปรุงแก้ไขตัวเอง ตั้งใจดีมาก แล้วได้ผล อาตมาบอกเขาว่า ทุกวันนี้ คนติดเฮโรอีนกันงอมแงม ต่อไปนี้นี้ท่านอาจจะช่วยพวกนี้ได้ดี ใช้ประสบการณ์เลวร้ายเพื่อประโยชน์เพื่อนมนุษย์ เขาดีใจ

    ส่วนโยมก็เป็นผู้มีศรัทธามานานแล้ว และวันเกิดปีนี้ ขอให้ระลึกถึงความตายบ้าง เพราะวันนี้เหมือนกับหลักกิโลข้างทางอีกกิโลหนึ่ง ทุกวันนี้อาตมาอยู่ที่วัดภูจ้อมก้อม พิจารณาน้ำในห้วยอยู่ทุกวัน ช่วงหน้าฝนน้ำไหลเชี่ยว บางวันเกือบจะข้ามไม่ได้ บางวันน้ำถึงระดับหน้าอก ข้ามก็อันตราย พอเข้าหน้าหนาวนับวันน้ำก็แห้งไปหมดไป ระลึกว่าชีวิตของเราก็เหมือนกัน นับวันมันก็หมดไปแห้งไป เหี่ยวไป พระพุทธองค์ทรงสอนให้เราพิจารณาเรื่องความเกิดดับในชีวิตประจำวัน ส่วนมากเราจะจับจ้องแต่ความเกิด เพราะมันเป็นสิ่งที่น่าสนใจ เราไม่ค่อยชอบดูความดับความสิ้นไปของสิ่งต่างๆ แต่การหัดมาดูเรื่องความดับ ย่อมเกิดปัญญามากกว่าการดูการเกิด

    การสังเกตเห็นความดับของอารมณ์ ความดับของความรู้สึกนึกคิดต่างๆ ทำให้สลดสังเวชในการเวียนว่ายตายเกิด และนำไปสู่ นิพพิทา ความเบื่อหน่าย นิพพิทา หรือความเบื่อหน่ายนี้เป็นความรู้สึกที่เยือกเย็น ไม่มีโทสะเข้าไปแอบแฝงเลย เป็นความรู้สึกหมดสนุกในการยึดมั่นถือมั่น

    ในชีวิตประจำวัน การยึดมั่นถือมั่น มักปรากฏในหลายรูปแบบ อย่างเช่นการที่เราจะหมายมั่นปั้นมือว่าต้องเป็นอย่างนั้นให้ได้ ต้องเป็นอย่างนี้ให้ได้ คนนั้นก็ต้องเป็นอย่างนั้น คนนี้ก็ต้องเป็นอย่างนี้ ทำไมไม่เป็นอย่างนั้น ทำไมไม่เป็นอย่างนี้ คิดอย่างนี้แล้วเราจึงชอบพยายามบังคับให้คนอื่นหรือสิ่งอื่นเป็นไปตามใจเรา เมื่อเราเห็นว่าความคิดอย่างนี้เป็นการเบียดเบียน เป็นการทรมานตัวเองโดยเปล่าประโยชน์ และเป็นความพยายามที่ลมๆ แล้งๆ ไม่มีวันที่เราจะสำเร็จได้ เราก็ยอมปล่อย ในขณะที่เราเห็นความโง่ในความยึดมั่นถือมั่นนั้นอย่างชัดแจ้ง ท่านให้ชื่อว่า นิพพิทา เป็นปัญญาที่ทำให้เกิดความเบื่อหน่ายคลายกำหนัดยินดีในสังขาร เพราะเล็งเห็นโทษของการยึดมั่น เป็นเหตุให้เราเข้าถึงความหลุดพ้นในที่สุด

    ที่มา ลาน dhammajak....
    ปล. อาจจะยาวไปหน่อยนะ เป็นคำถามที่คุณชอบถามกัน

    <!-- google_ad_section_end -->
    <!-- google_ad_section_end --><!-- / message -->
    <SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/js/r20110509/r20110506/show_ads_impl.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://googleads.g.doubleclick.net/pagead/test_domain.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/render_ads.js"></SCRIPT><SCRIPT>google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);</SCRIPT><SCRIPT>google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);</SCRIPT>
    <SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/js/r20110509/r20110506/show_ads_impl.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://googleads.g.doubleclick.net/pagead/test_domain.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/render_ads.js"></SCRIPT><SCRIPT>google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);</SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/render_ads.js"></SCRIPT><SCRIPT>google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);</SCRIPT><SCRIPT>google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);</SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/render_ads.js"></SCRIPT><SCRIPT>google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);</SCRIPT><SCRIPT>google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);</SCRIPT><SCRIPT>google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);</SCRIPT>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 พฤษภาคม 2011
  18. ppojai

    ppojai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2005
    โพสต์:
    4,637
    ค่าพลัง:
    +9,971
    หรรษาพาสนุก คอลัมน์ที่ 158<!-- google_ad_section_end --><!-- / message -->
     
  19. ppojai

    ppojai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2005
    โพสต์:
    4,637
    ค่าพลัง:
    +9,971
    หรรษาพาสนุก คอลัมน์ที่ 159<!-- google_ad_section_end --><!-- / message -->
     
  20. ppojai

    ppojai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2005
    โพสต์:
    4,637
    ค่าพลัง:
    +9,971
    หรรษาพาสนุก คอลัมน์ที่ 160<!-- google_ad_section_end --><!-- / message -->
     

แชร์หน้านี้

Loading...