นักปฏิบัติ ตอบกันทีคับผม

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย banana603, 10 ธันวาคม 2010.

  1. banana603

    banana603 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    62
    ค่าพลัง:
    +17
    1. ปัญญา และ ความรู้ ต่างกันอย่างไร
    2.รูปฌาน และ อรูปฌาน หมายถึงอะไร ใช่หรือที่ต่างกันที่มีภาพและไม่มี เปรียบกับทางวิทยาศาสตร์แล้วคือสิ่งใด

    ขอผู้ที่ปฏิบัติถึงเท่านั้น ช่วยตอบทีนะคับผม
    ขอความกรุณาด้วยคับผม เจตนาต้องการสนธนาธรรม มิได้เป็นอื่น..
     
  2. รู้รู้ไป

    รู้รู้ไป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    951
    ค่าพลัง:
    +3,166
    เป็นแค่นักปฏิบัติเป็นคราวๆ แต่ขอลองตอบดูหน่อยแล้วกันครับ
    1 ปัญญา=ความแตกฉานความเข้าใจ ความรู้= การรู้การเข้าถึงในเรื่องในความนั้นๆ
    2รูปฌาน=ไฟ อรูปฌาน=ความร้อน
    มีปัญญาความรู้ที่ปฏิบัติมาถึงแค่นี้ละครับ สำหรับผม
    อนุโมทนาในความสนใจในธรรม ในปัญญาในความรู้ด้วยครับ
     
  3. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ปัญญา ในทางพุทธ หมายถึงการเล็งเห็นสภาพสามัญลักษณ์ในอารมณ์(สิ่งที่ถูกรู้) ณ
    ปัจจุบันขณะนั้นๆ(ตามความเป็นจริง) อย่างตั้งมั่นเป็นกลาง(สัมมาสมาธิหนุนอยู่)

    ความรู้ คือ การชี้แจงสิ่งที่ปัญญากระทำหน้าที่ตามที่กล่าวข้างบนนั้น(มีจักษุ) ออกมา
    เป็นภาษาพูดได้ ซึ่งจะต้องอาศัยเครื่องประดับ(ยืมของคนอื่นมา)คือ ปริยัติ เป็นสุตตมัยยะ
    ประกอบ แต่ถ้าไม่มีปริยัติ สร้างคำเอง ก็ถือว่า ขาดธรรมวินัย(มหาศีล)

    ทีนี ปัญหามีอยู่ว่า ตรงจักษุ ที่เข้าไปเห็นสภาพธรรมตามความเป็นจริงนั้น ปรกติคน
    ที่ยังไม่ถึง ยังไม่ชำนาญ ยังอยู่ระหว่างการปฏิบัติ จะไม่ถือว่ามีจักษุ จุดๆนี้ เรียกขึ้น
    ใหม่ว่า จินตมัยยะ แม้ว่าจะไม่แจ่มชัดเหมือนจักษุ ไม่เที่ยงแท้เหมือนจักษุ แต่ก็อนุโลม
    ให้ใช้ได้หากผู้นั้นมีมหาศีล(กล่าวออกมาเป็นความรู้ที่อิงปริยัติตามธรรมวินัย)

    ถ้าผิดจากนี้ คือ ผู้แสดงความรู้กล่าวถึงตัวปัญญาโดยไม่อิงปริยัติ อันนี้ ต้องใช้วิธีเข้า
    คลุกคลีใกล้ชิด เรียกตามภาษาปากว่า "เข้าไปขอนิสัย" หรือ ขอบวช ขอปรวนาตน
    เข้าศึกษาอย่างใกล้ชิด (ขอเป็นศิษย์ก็เรียก) เพื่อให้ทราบข้อศีลของผู้สอนว่ามีหรือไม่มี

    ก็จะเห็นว่า ปัญญา นั้นเป็นอาการเห็น
    ส่วน ความรู้ จะต้องเป็นเรื่องมี จักษุธรรม ในเรื่องที่เข้าไปเห็นนั้นๆ ถึงเป็นความเที่ยง

    ถ้าไม่มีจักษุ ซึ่งส่วนมากเป็นเช่นนั้น ก็คงต้องอนุโลมกันไป ในฐานะของสหายธรรม
    ผู้เดินทางร่วม ถ้าได้ อารมณ์ธรรมที่ยกศึกษาสามัญลักษณ์นั้นๆในขอบเขตเดียวกัน ก็
    จะทำให้คุยกันง่ายขึ้น ไม่หงุดหงิด หรือ เผลอไผลไปปรักปรำสหายธรรมไปเป็นทาส ไส้
    เดือน กิ้งกือ เสียก่อน


    * * * *

    รูปฌาณ อรูปฌาณ เป็น สมาธิที่เกิดจากการไม่อยู่บนทางสายกลาง คือ หากไม่
    เลือกข้าง "รูปจิต" ก็ไปเลือกข้าง "นามรูป"

    กล่าวคือ โลกของพุทธคือเรื่อง รูป กับ นาม คนที่ข้องในโลก หากไม่ข้องอยู่
    ในส่วน นาม ก็คง ไปยึดข้าง รูป ข้างใดข้างหนึ่ง ไม่ห่างออกจากทั้งสอง(รูป-นาม)
    ไปพร้อมๆกัน รูปฌาณและอรูปฌาณจึงจัดอยู่ในโลกียฌาณไม่พ้นโลก

    รูปฌาณ จึงเป็นพวก ยึดข้าง รูปจิต คิดว่า จิตมีรูป คิดว่าจิตเป็นอัตตา

    อรูปฌาณ จึงเป็นพวก ยึดข้าง นามรูป คิดว่า จิตไม่มีรูป คิดว่าจิตเป็นอนัตตา

    ทั้งสองประโยคนี้ อ่านแล้วก็ไม่เห็นอะไร ก็ขอเน้นว่า มันอยู่ที่ "ยึดข้าง" จึง
    เป็นปัญหา

    ทำไมกล่าวปรักปรำว่า รูปฌาณ อรูปฌาณ เป็น พวกยึดข้าง ยึดมั่น อันนี้
    ก็ต้องนำสมาธิชนิดหนึ่งที่มี เฉพาะในพุทธศาสนา มาช่วยเสริมภาพให้เห็นคือ
    "สัญญาเวทยิตนิโรธน" สมาธิตัวนี้คุณลักษณะที่เด่นคือ ทั้งรูปและนาม
    ดับหมดทั้งคู่ คือ ห่างออกไปจากสภาวะอารมณ์(ของถูกรู้ ของถูกยึด)ทั้ง
    คู่ จึงๆไม่มี การยึดข้างใดข้างหนึ่งเลย(การจำแนก จึงแยกออกจากรูปฌาณ
    และอรูปฌาณด้วย)

    แต่การภาวนาให้ไปถึง หรือเหตุปัจจัยให้ไปถึงนั้นกลับเป็นการยก รูป-นาม
    เป็นสภาวะถูกรู้ไปตลอดสายการปฏิบัติหรือ กล่าวเป็นภาษาง่ายๆ คือ
    รู้ลงที่กายที่ใจลงเป็นปัจจุบัน(หลวงตามหาบัว)ทุกลมหายใจเข้าออก

    ผมเติมแต่งคำว่า ทุกลมหายใจเข้าออก เพื่อให้สามารถโยงไปยัง อานาปานสติ
    ว่าเป็นเหตุปัจจัยของ สัญญาเวทยิตนิโรธน(พุทธวัจนะ)

    พูดแบบนี้ อาจจะค้านในใจอยู่ เพราะเหมือนกล่าวข้าม รูปฌาณ และ อรูปฌาณ
    ก็ขอเพิ่มเติมอีกว่า

    อานาปานสติ เป็นเหตุปัจจัยของ รูปฌาณ4 อรูปฌาณ4(พุทธวัจนะ)

    อานาปานสติ เป็น กรรมฐานที่ทำได้ในทุกอริยาบท ไม่จำกัดกาล ไม่จำกัดสถาณที่
    ไม่จำกัดสถานการณ์ ไม่ขึ้นกับท่า ไม่ขึ้นกับที่ตั้ง ไม่ขึ้นกับการกำหนดหมาย มี
    สามัญลักษณ์ปรากฏพร้อมมูลให้รู้ทุกขณะโดยไม่ต้องแสร้งทำรู้

    พระพุทธองค์ เป็นพระพุทธเจ้าทางปัญญาธิกะ นั่นคือ คนที่เดินตามมา ต่าง
    มีความเกี่ยวข้องกับต้นธาตุ(พระพุทธองค์) เป็น ปัญญาธิกะ ด้วย ไม่มากก็น้อย
    จึงไม่ใช่เรื่องยาก หากจะขอนิสัยการภาวนาเป็น อานาปาสติ ตามพุทธพจน์เท่านั้น
    ไม่ต้องไปเอา นิสัยของสาวกท่านอื่น(ดัดแปรงอานาปานสติผิดไปจากพุทธพจน์)

    อานาปานสติ หากทำตามพุทธพจน์ จะมีอารมณ์ให้ใส่ใจรู้คือ การเปลื้องจิตหรือ"รู้สึกว่างๆ"
    การไม่มีที่ตั้ง(อัปปณิหิตสมาธิ) การไม่มีนิมิต(อนิมิตสมาธิ)

    ทั้งสามอารมณ์ดังกล่าว เป็น ผัสสะของ สัญญาเวทยิตนิโรธน ดังนั้น ผู้เพียรภาวนา
    อานาปานสติตามพุทธพจน์ จะเป็นผู้ไม่ว่างจาก ฌาณ(ไม่ได้หมายถึงรูปฌาณและอรูปฌาณ)
    และเป็นการเตรียม ผัสสะ ไว้เป็นเหตุปัจจัยในการเข้าถึง สัญญาเวทยิตนิโรธนสมาบัติ
    ยามความสมควรแก่ธรรม (อาจจะลมหายใจสุดท้ายก่อนตายก็ได้ หรืออาจจะรู้ได้ก่อน
    ถึงลมหายใจสุดท้ายก็ได้ ตรงนี้เป็น อกาลิโก )
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 ธันวาคม 2010
  4. Ongsathit

    Ongsathit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    625
    ค่าพลัง:
    +572
    ความรู้ คือ จะต้องอาศัยขันธ์ 5 ( รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิณญาณ )
    ปัญญา คือ ความรอบรู้ใน ขันธ์ 5
    รูปฌาน คือ ฌานที่ต้องอาศัยรูป (ความสุขที่ต้องอาศัย รูป)
    อรูปฌาน คือ ฌานที่ไม่ต้องอาศัยรูป (ความสุขที่ไม่ต้องอาศัย รูป)
     
  5. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    ลองของข้อเดียวละ..ปัญญาคือ รู้แล้ว.เข้าใจแล้ว...ปล่อยวางได้ ละได้แล้วแต่กรณี ไม่ได้กินฉันอีกแล้วจาบอกให้นี่แหละปัญญาละครับ..
    รู็แล้วแต่ปล่อยวางไม่ได้ ละไม่ได้ ยังเจ็บอยู่อีกละก็นี่คือ..รู้แบบไม่มีกำลังสติเข้าสู้ "สะอาด สว่าสง สงบ "..ก็เลยไม่เคยพบนะซีจ้ะ อย่าถือคนบ้าๆบอๆนะครับแต่จริงใจ เช่น.."รู้ว่าเขาหมดใจ แต่ทำไมยังรักเหลือเกิน" เพลงหนูต่ายอรทวยย.!
     
  6. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    จะช่วยตอบได้ไมครับว่าสมาธิที่เป็นทางสายกลางมันเป็นอย่างไรครับ.....เพราะการกล่าวว่า รูปฌาน และ อรูป ไม่ใช่ทางสายกลาง จริงๆแล้ว รูปฌานและอรูป ไม่ใช่ทางสายกลางเหรอครับ....

    การปฏิบัติแบบนี้เป็นการปฏิบัติตามบทสมาธิที่กล่าวไว้ข้างต้นเหรอครับ....เกี่ยวกับ สัญญาเวทยิตนิโรธ อย่างไรครับ....


    ๑.บุคคคที่ได้ชื่อว่าการปฏิบัติแบบ อานาเท่านั้นเหรอครับ....ที่จะได้ชื่อว่าเดินทางตามสมเด็จพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน.....

    ๒.ผมไม่รู้ว่าไปโยงกับพุทธภูมิที่เป็นปัญญาธิกะอย่างไร.....และพระพุทธเจ้าที่เป็นปัญญาธิกะนี่ท่านทำแต่ อานา อย่างเดียวเหรอครับ.....

    ๓.ข้อสำคัญที่ว่า นิสัยสาวกท่านอื่นที่ท่านกล่าวนั้น ดัดแปลงอานา ผิดไปจากพุทธพจน์นั้น......ท่านพอที่จะยกตัวอย่างได้ไมครับว่าเขาดัดแปลงอย่างไรให้ผิดไปจากพุทธพจน์.......เพื่อการศึกษาต่อไป.....เพราะในปัจจุบันนี้ผมยังมองไม่เห็นชัด...อย่างไรช่วยอธิบายได้ไมครับว่ามีจริงเหรอ...

    เห็นว่าการตอบธรรมนั้นมีข้อที่ผมสงสัยอยู่มาก.....รู้สึกว่ามันจะไม่ค่อยตรงกับที่ศึกษาและปฏิบัติมา....หวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านจะอธิบายเพื่อความเข้าใจทั้งของผมและผู้ศึกษาธรรมที่นี้.....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 ธันวาคม 2010
  7. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    หลายท่านตอบไว้ดีแล้วนะครับ.....

    จริงๆแล้วอยากบอกว่า....ไม่ใช่ว่าอะไรก็ตามที่วิทยาศาสตร์ในปัจจุบันจะสามารถพิสูจน์ได้ทั้งหมดนะครับ.....วิทยาศาสตร์ปัจจุบันสามารถที่จะพิสูจน์ได้เพียงแค่ผิวๆตามที่แสดงออกให้เห็นได้เท่านั้น......เช่นสมาธิช่วยให้ใจสงบโดยการวัดจากหลายสิ่งเช่นลมหายใจและการเต้นของหัวใจ......หรืออำนาจจิตที่ส่งไปที่น้ำแล้วทำให้เกร็ดน้ำเปลื่ยนแปลงไปตามอาการของจิตที่ส่งไปจากคำพูดไปสู่น้ำนั้น...แต่วิทยาศาสตร์ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าจิตนี้มีพลังอย่างนั้นได้อย่างไร..จิตนำเนินไปได้อย่างไร...แต่หากพิสูจน์ได้แต่เกร็ดน้ำนั้นซึ่งเป็นสิ่งที่ส่งผ่านมาแล้วเป็นต้น.....


    แต่วิทยาศาสตร์ไม่สามารถวัดได้ถึงสถาวะจิตที่ได้จากข้างใน......ถ้าคุณจะยึดจากวิทยาศาสตร์ที่เห็นได้ตอบได้เลยครับว่ายากและอาจจะไม่มีให้เห็นเลย....ถึงแม้ว่าเครื่องมือจะพัฒนาไปขนาดใหนก็ตาม.......เพราะสิ่งที่เรากล่าวถึงเป็นวิทยาศาสตร์ทางจิต ที่คุณจะต้องเอาจิตของคุณเท่านั้นที่จะไปค้นหาและทดลอง จนเห็นผลด้วยตัวคุณเอง......
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 ธันวาคม 2010
  8. Mr.Boy_jakkrit

    Mr.Boy_jakkrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    2,063
    ค่าพลัง:
    +2,676

    ชัดเจนดีครับ
    รูปฌาน ถ้าเปรียบเป็นวิทยาศาสตร์ก็คือรูปธรรม
    อรูปณาน ก็เปรียบเสมือน นานธรรม

    ความรู้ ก็เหมือนห้องสมุด
    ปัญญา ก็เหมือนรู้ว่าจะหยิบสมุดเล่มไหนมาอ่านให้ตรงกับปัญหา

    สาธุ สาธุ
     
  9. banana603

    banana603 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    62
    ค่าพลัง:
    +17
    ก่อนที่ผมจะตั้งคำถาม ผมนั้นได้ประสบมาบ้างแล้ว คับผม
    ผมตั้งคำถามนั้นว่า รูปฌาน และ อรูปฌาน นั้น เปรียบคือสิ่งใด
    หากเรานำมาเปรียบทางโลกียะ แล้วหละก็ สิ่งนั้นก็คือ กล้องจุลทรรศน์ นั่นเอง
    เริ่มจากสิ่งที่มีความหยาบ และละเอียดขึ้นจนถึงจุดที่ละเอียดที่สุด และคำตอบของ ท่านโพสที่ 7 "เพราะสิ่งที่เรากล่าวถึงเป็นวิทยาศาสตร์ทางจิต ที่คุณจะต้องเอาจิตของคุณเท่านั้นที่จะไปค้นหาและทดลอง จนเห็นผลด้วยตัวคุณเอง" ถือว่าเป็นวิทยาศาสตร์ขั้นละเอียดกว่า แต่โดยรวมแล้วมีหลักการเหมือนๆกัน<!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     
  10. อโศ

    อโศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,689
    ค่าพลัง:
    +5,830
    ฌานนี่ ไม่ได้ทำกันง่ายๆ นะ.....
    ไม่ได้ทำกันอย่างกว้างขวางด้วย ร้อยนึงพันนึงจะได้สักคนนึงหรือไม่ก็ยังไม่รู้ ?

    พูดกันเหมือนกับว่าเป็นของง่าย เป็นของไม่ดี..ระวังนะ..จะผิดทาง..

    ฌาน ไม่ใช่ ชาน ใช่ว่าไปหาไม้มาตอกๆ แล้วจะเป็นฌานขึ้นมาได้..
    สมาธิไม่ได้ทำกันง่ายๆ เลย...

    เวลาไปวัดได้ยินแต่คนปรึกษาเรื่องทำสมาธิไม่ได้ ฟุ้งซ่าน..
    ไม่เห็นมีใครจะมาปรึกษาว่า ทำไงดี ผมติดฌาน..
    ทำไงดี ผมมีสมาธิลึก เข้าได้ 7 วัน 7 คืน ออกไม่ได้.. ไม่เคยได้ยินเลย..

    พวกที่กลัวฌานก็ล้วนแต่เป็นพวกที่ไม่เคยสัมผัสฌานเลย..
    เพราะคนที่เขาเคยได้ฌาน ย่อมเห็นคุณค่าของฌาน
    เป็นบาทฐาน.. เจริญวิปัสสนาต่อไป

    พ่อแม่ครูจารย์ท่านบ่นบ่อยๆ ว่า.. คนเรานี่ก็แปลก..
    เป็นผู้ปฏิบัติ อยากจะฝึกภาวนา แต่กลัวได้สมาธิกลัวได้ฌาน..กลัวติดฌาน
    ทีจิตฟุ้งซ่านซัดส่ายทั้งวันทั้งคืน กลับไม่กลัว..

    คนที่มาบ่นๆ กันเรื่องของฌานว่าไม่ดีอย่างนั้นอย่างโน้น..
    ไม่รู้ว่าที่จริงเคยสัมผัสถึงขั้นระเบียงหรือยัง..
    อย่าว่าแต่ฌานในระดับที่จะทำให้ไปเกิดเป็นพรหมเลย..

    คนที่มาถามพระอาจารย์ ด้วยความกลัว กังวลทั้งหลายนั้น....
    ส่วนใหญ่ก็ล้วนแต่เป็นผู้ที่ทำสมาธิกันไม่ค่อยจะได้ทั้งนั้น
    แต่พอได้ยินเขาว่ากันว่าไม่ดี ก็เลยกลัว..
    อาจารย์สอนนั่งสมาธิ ก็กลัวจะติดสมาธิ กลัวติดสุข..
    แต่ที่ทนทุกข์มาหลายสิบปีกลับไม่กลัว

    อาจารย์ก็สอนไว้ว่า.. ระวังนะ..ไม่รู้จริง
    แต่เผลอไปหมิ่นประมาทปรามาสเข้าให้แล้ว..จะเป็นกรรมขัดขวางการปฏิบัติ..
    คราวนี้พอจะเอาจริงเข้าจะมาร้องกันอีกว่า..ทำไงดี จิตไม่มีกำลัง รู้ทันกิเลส
    เอาชนะกิเลสไม่ได้... ทำไงดีสู้นิวรณ์ไม่ไหว..

    ลองพิจารณาดีๆเถอะ.. พระอริยสงฆ์ พ่อแม่ครูบาอาจารย์ทั้งหลายที่เป็นแม่ทัพธรรม
    มีองค์ไหนมั่งที่ท่านสอนว่า ฌานไม่ดี ไม่ควรฝึก..
    มีแต่ท่านจะบอกจะสอนว่า..แค่สมาธิอย่างเดียวไม่พอ อย่าไปติดแค่ความสุขจากสมาธิ.. (หมายถึงท่านสอนคนที่เขาได้สมาธิ ได้ฌานแล้ว..แต่ยังไม่ขยับภูมิจิต ยังไม่หัดพิจารณาธรรมด้วยปัญญา ท่านก็สอนให้ต่อวิปัสสนา)


    สำหรับเรื่องที่ยกพระพุทธเจ้าขึ้นมานั้น..
    พระพุทธเจ้าท่านทำฌานมาเป็นหมื่นๆ ชาติ..
    ฝึกสมาธิ ทาน ศีล สร้างสมบารมีมานับไม่ถ้วนจนครบ 30 ทัศ จึงตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า..
    ซึ่งก็หมายถึงได้โพธิญาณ ความรู้ยิ่งไปกว่าความรู้เท่าที่มีกันในหมู่พรามหณ์สมัยนั้น..
    ก็เลยประกาศพระพุทธศาสนาได้สำเร็จ

    การไปยึดความรู้บนปลายยอดสุดของเจดีย์ ว่าถูก
    แล้วบอกว่าความรู้ที่ท่านสะสมมาตั้งแต่ฐานรากนั้นผิด..
    มันจะเป็นสัมมาทิฏฐิได้อย่างไร..

    ถ้าเจดีย์ไม่มีฐาน ไม่มีราก ไม่มีส่วนกลาง จะประดิษฐานส่วนปลายยอดฉัตรได้อย่างไร..
    คนไม่เคยสร้างเจดีย์มาเลยในชีวิต ไม่ว่าองค์เล็กองค์ใหญ่...
    ก็คงไม่รู้เหตุรู้ปัจจัยว่าเขาสร้างสมกันมายังไง..
    จึงก่อเป็นพระเจดีย์ให้เรากราบไหว้บูชากันได้..
    ก็ต้องเริ่มต้นจากบาทจากฐาน จากรากขึ้นมาด้วยกันทั้งนั้น..

    คนชั้นหลังอย่างเราๆ รู้ได้เท่าที่ตาเห็น เท่าที่หูได้ยินได้ฟังมา
    จึงมองเห็นแต่ส่วนกลางส่วนยอด รากฐานตอกเข็มลึกลงไปขนาดไหน
    ไม่มีทางจะรู้ได้...

    ทำไมจึงกล้าดูถูกอิฐก้อนแรก หินก้อนล่างกันจังเลย..
    แต่คิดว่าคนที่วิจารณ์ว่าฌานสมาบัติไม่ดี ไม่ควรเจริญให้มี ไม่จำเป็น
    ส่วนใหญ่เข้าฌานไม่ได้ เลยไม่เห็นประโยชน์ ได้แต่ฟังตามกันมา
    ความจริงทำได้ย่อมดีกว่าทำไม่ได้


    การที่มีความคิดเพียงแง่เดียว อย่ามองว่าใครคิดด้านไหน
    จงมองว่าเรานั่นแหละ ไปคิดแทนคนอื่นเขาหรือเปล่า...
     
  11. อโศ

    อโศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,689
    ค่าพลัง:
    +5,830
    นัตถิ ฌานัง อะปัญญัสสะ นัตถิ ปัญญา อะฌายิโน
    ตัมหิ ฌานัญจะ ปัญญัญจะ นิพพานะสันติเก

    คำแปล

    ฌานไม่เกิดกับคนไม่มีปัญญา ปัญญาก็ไม่เกิดกับคนไม่มีฌาน
    ผู้ใดมีฌานและปัญญา ผู้นั้นได้อยู่ใกล้นิพพาน

    ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาได้พูดถึงเรื่องฌานที่มีผลต่อการบรรลุธรรมและทำให้เกิดอานุภาพต่างๆ ไว้หลายอย่าง เพื่อความเข้าใจกระจ่างในเรื่องนี้ จะขอนำความหมายและผลที่ได้จากสมาธิมาอธิบายให้ฟัง ดังนี้

    ครั้งหนึ่ง พระพุทธองค์ตรัสถึงภิกษุผู้ได้ฌานแม้ได้เพียงชั่วระยะเวลาสั้นๆ ชั่วดีดนิ้วมือครั้งหนึ่งว่า การได้ฌานเพียงชั่วระยะเวลาสั้นๆ ขนาดนั้นก็ได้ชื่อว่า เป็นผู้ไม่ห่างไกลจากฌาน ที่จะทำได้ในกาลต่อไป ชื่อว่าได้ทำได้ปฏิบัติตามคำสอนของพระศาสดา ได้ปฏิบัติตามโอวาทของพระศาสดาแล้ว ถ้าผู้นั้นเป็นพระภิกษุก็จะฉันบิณฑบาตของชาวบ้านอย่างไม่สูญเปล่า นี้พูดถึงการปฏิบัติได้ชั่วเวลาสั้น ๆ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผู้ที่ทำได้นาน ๆ หรือทำได้มากกว่านี้

    นอกจากนี้แล้ว พระพุทธองค์ยังตรัสต่อไปอีกว่า ฌานสมาธินี้สามารถที่จะทำให้สิ้นอาสวะกิเลสได้ ตั้งแต่ฌานขั้นแรกขึ้นไปก็สามารถปราบนิวรณ์ให้สงบระงับได้แล้ว แม้จะไม่หมดไปทีเดียวแต่ก็สามารถปราบได้เป็นคราวๆไป ไม่จำเป็นต้องพูดไปจนถึงฌานระดับที่สูงกว่านี้ ซึ่งแต่ละฌานล้วนมีหน้าที่ในการเผากิเลสเหมือนกันทั้งหมด

    ในตอนหนึ่งพระพุทธองค์ตรัสว่า เพียงแค่คนที่ทำฌาน 4 อย่างได้ คือ ตั้งแต่ขั้นแรกไปจนถึงขั้นที่ 4 อย่างใดอย่างหนึ่งนี้จนเกิดความชำนาญผู้นั้นจะไหลไปสู่นิพพาน(นิพพานนินโน) จะน้อมไปสู่นิพพาน(นิพพานโปโณ) และทำนิพพานให้เต็มบริบูรณ์ได้ (นิพพานปัพภาโร)

    ในพระคาถายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกได้บรรยายคุณของพระพุทธเจ้าที่ทรงได้ปัญญาในการตรัสรู้ว่า เพราะสาเหตุมาจากการได้ฌานเหล่านี้เป็นฐานให้ ตั้งแต่ฌานที่ 1 ไปจนถึงฌานที่ 8 หรือจะพูดให้ถูกต้อง ก็เป็นเพราะผลมาจากฌานสมาธินี้เองที่ทรงทำให้มีปัญญาตรัสรู้ได้ ดังนั้น แสดงว่าฌานสมาธินี้มีผลต่อการบรรลุธรรมในทางพระพุทธศาสนาโดยตรง และที่สำคัญฌานยังเป็นข้อสำคัญของมรรคมีองค์ 8 ประการ ข้อสุดท้าย คือ สัมมาสมาธิ (สมาธิที่ประกอบด้วยฌาน) ถ้าขาดข้อนี้ มรรคก็คงเหลือแค่ มรรค 7 ไม่ครบองค์แห่งการตรัสรู้แน่นอน

    ในพระพุทธพจน์บทหนึ่งได้พูดถึงฌานที่ทำให้เกิดปัญญาและปัญญาได้มาจากฌานว่า
    นัตถิ ฌานัง อะปัญฺญัสสะ แปลว่า ฌานไม่มีกับคนที่ไม่มีปัญญา
    นัตถิ ปัญญา อะฌายิโน แปลว่า ปัญญาก็ไม่เกิดกับคนที่ไม่มีฌานเหมือนกัน

    และพระพุทธองค์ก็ยังทรงย้ำสรุปต่อไปอีกว่า

    ถ้าผู้ใดมีฌานจนทำให้เกิดปัญญาหรือมีฌานและมีปัญญา ผู้นั้นจะได้อยู่ใกล้นิพพาน (นิพพานสันติเก) อย่างแน่นอน

    การได้ฌานสมาธิที่เป็นผลมาจากการฝึกจิตเป็นระบบตามวิธีการสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นวิธีการที่ทำให้ผู้ฝึกสามารถสำเร็จผลของการเป็นผู้ปฏิบัติธรรมได้อย่างสมบูรณ์ ดังมีคราวหนึ่งในตอนเย็นวันพระ 15 ค่ำ พระอานนท์ได้ยืนมองพระอาทิตย์ที่กำลังจะตกดินที่มีรัศมีส่องประกายก่อนจะลับขอบฟ้าไปอย่างสวยงามมาก ท่านยืนมองไปจนพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปแล้ว
    ครั้นหันกลับมามองไปยังทางทิศตะวันออกซึ่งพระจันทร์เต็มดวงกำลังโผล่ขึ้นพ้นขอบฟ้าขึ้นมาอีกฟากหนึ่ง พระจันทร์เต็มดวงในวันเพ็ญก็สวยงามไม่แพ้พระอาทิตย์กำลังจะตกดินเหมือนกัน ท่านพระอานนท์กำลังดื่มด่ำกับการมองพระอาทิตย์และพระจันทร์อยู่
    แต่เมื่อกลับหลังหันมามองพระพุทธเจ้าซึ่งนั่งอยู่ท่ามกลางหมู่ภิกษุสงฆ์ภายใต้แสงจันทร์อันนวลผ่อง แต่พระรัศมีของพระพุทธเจ้าที่เปล่งประกายออกมากลับมีความสวยงามกว่าแสงพระอาทิตย์และแสงดวงจันทร์ที่กำลังโผล่ขึ้นขอบฟ้ามาเสียอีก

    พระอานนท์ได้กราบทูลเรื่องนี้แก่พระพุทธองค์ว่า แสงแห่งพระอาทิตย์ในเวลาจะตกดินและแสงพระจันทร์เต็มดวงที่ขึ้นสู่ขอบฟ้าในยามที่ปราศจากเมฆหมอก ยังสวยสู้พระรัศมีของพระพุทธเจ้าไม่ได้

    พระพุทธองค์ได้ทรงอธิบายถึงสิ่งที่รุ่งเรืองและงดงามในโลกนี้ 5 อย่าง คือ

    พระอาทิตย์ จะรุ่งเรืองในตอนกลางวัน
    พระจันทร์จะรุ่งเรืองในตอนกลางคืน
    พระราชาจะรุ่งเรืองในขณะทรงเครื่องพระราชอิสริยยศ
    เหล่านักพรตผู้ที่จะรุ่งเรืองที่สุด ก็คือ ผู้มีฌาน
    แต่พระพุทธเจ้าจะรุ่งเรืองทั้งกลางวันทั้งกลางคืนเหนือสิ่งอื่นใดทั้งหมด

    จากเรื่องฌานสมาธิที่พูดมานี้ แสดงว่าการมีฌานสมาธิไม่ใช่สิ่งที่น่ารังเกียจตามที่มีหลายคนเข้าใจ แต่เป็นสิ่งที่น่าสรรเสริญควรยกย่องและควรเชื้อเชิญให้มีการนำไปฝึกปฏิบัติกันมากๆ เพื่อผลแห่งการชิมรสพระสัทธรรมของพระพุทธองค์
     
  12. banana603

    banana603 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    62
    ค่าพลัง:
    +17
    สาธุคับผม ข้างต้นกล่าวไว้ดีมากๆ
    อยากเชิญชวนผู้คนมาปฏิบัติ
    คนส่วนมากอ่านแต่ตำรา ไม่ปฏิบัติ เนื่องด้วย ปฏิบัติไม่ได้ หรือ ไม่ได้ปฏิบัติ ก็ตามแต่
    สักแต่ว่า อ่านตามตำรามา เท่ากับตนรู้ดีแล้ว เกิดปัญญาแล้ว นั่นไม่ใช่ ท่านพวกนี้กำลังหลง มิได้รู้ด้วยความเข้าใจ แต่เป็นเพียงการจดจำเท่านั้น เปรียบดั่ง ผู้ที่มองผลไม้บนต้นไม้สูง แต่มิรู้จักวิธีปีนนั้นแล....
     
  13. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ก็ต้องแนะนำกันให้ดีๆ คนบางคน อาจจะเก่งทางการเข้าใจใน ฌาณ
    แต่ทว่า เต็มไปด้วยพยาคติเป็นพื้นคำถาม เต็มไปด้วยวิจิกิจฉาเป็น
    พื้นคำถาม เต็มไปด้วยอุธธัจจะส่งนอก ไม่มีวิเวกวุธจริงอย่างที่ควรจะเป็น

    การส่งเสริม ไม่ตักเตือน ไม่กล่าวสิ่งที่ทำให้ระลึกได้ แต่กลับอวดอ้างความ
    รู้ของผู้แนะนำเข้าส่งเสริมคนที่ติดวังวน เท่ากับส่งเสริมให้เกิดนิวรณ์ครอบ
    งำลากไปทำฌาณมากกว่า จะเกิดฌาณตามความเป็นจริง ซึ่งจะต้องตกเป็น
    แค่เครื่องอาศัยระลึก ไม่ใช่อยู่ ไม่ใช่เป็น ไม่ใช่เข้าไป ไม่ใช่ออกมา ซึ่งเป็น
    เรื่องลูบคลำศีลทั้งสิ้น นี่เท่ากับ ส่งเสริมให้ผิดศีล ไม่ใช่ส่งเสริมให้สำเร็จ

    การติดฌาณ ไม่ใช่เรื่อง โหลยโถ่ย ที่เข้าไปแล้วออกมาไม่ได้ ไม่มีนักปฏิบัติ
    ฌาณคนไหนอ้าง หรือ หยิบประเด็นนี้มาอ้างเพื่อการถกเถียง เพราะนักปฏิบัติ
    ย่อมทราบชัดถึงความไม่เที่ยง ในธรรมใดๆ ย่อมมีอยู่แก่ผู้ใฝ่ศึกษา การที่นัก
    ปฏิบัติคนใดยกเรื่อง เข้าฌาณแล้วออกมาไม่ได้ เอามาเป็นข้อชี้วัดเรื่อง ติด
    ฌาณ ก็น่าสงสัยว่าจะชำนาญชานเสียมากกว่าฌาณ เป็นแน่ จึงได้คิดว่า
    การเข้าไปแล้วออกไม่ได้มีอยู่ ทั้งที่มันเป็นเรื่องที่ควรเก็บงำไว้ไม่ต้องพูดให้
    อีกฝ่ายรู้ว่ามีหรือไม่มี แล้วพูดให้เขาหันเหไปสนใจเรื่องอื่นจะดีกว่าถูกกว่า

    การจะเป็นคนแนะนำอะไรใคร ใช่ว่า จะอวดชั่วโมงบินอย่างเดียว ดั่งเช่น
    ในข้อวัตรของพระธุงดค์ที่จะเข้าป่า พระพุทธกำหนดข้อปฏิบัติแก่ภิกษุที่
    จะเข้าป่านั้นไว้ว่า เธอต้องศึกษาบทอภิธรรมให้คล่องก่อน เพราะเวลาเข้า
    ไปในป่าแล้วย่อมเจอะเจอสิ่ง ที่เข้ามาถามเรืองอภิธรรมอันเป็นความนิยม
    ของเขา(สิ่งนั้น) เมื่อตอบไม่ได้ ก็จะเก้อเขิน และอาจจะลำบากที่จะอยู่
    ในป่ามณฑลของสิ่งๆนั้น

    ดังนั้น อย่าดูถูกปริยัติว่า ไม่ต้องศึกษา พระพุทธองค์ไม่เคยเปิดช่องไว้
    อย่างนั้น นักปฏิบัติที่พร่องปริยัติเอง ก็ไม่ควรทำลีลามาขอปริยัติ แต่
    วกให้ร้ายภายหลัง เพียงแค่ต้องการรักษาภาพนักปฏิบัติคร่ำเคร่งเอาไว้

    มันเป็นเรื่องสมควรมากกว่า หากมีผู้ใดกล่าวปริยัติให้ฟัง ก็ควรสดับด้วยดี
    หากสงสัย ไม่ใช่กลับไปนั่งจุมปุ๊กเพื่อค้นหาเอาเอง แต่ควรจะสอบสวน
    ไปยั้งต้นที่มาของปริยัติ เพื่อทบทวนข้อปริยัติเหล่านั้นว่าถูกต้องตามพุทธ
    วัจนะหรือไม่อย่างไรด้วยการขวนขวายของตัวเอง ไม่ควรถามเอาจากคน
    ที่คุณตั้งข้อรังเกียจว่าเขากำลังแสดงปริยัติผิดพลาด เพราะมันจะไม่ได้อะไร
    นอกจากความแชเชือนเป็นครั้งคราว รอวันหน้าเห็นอีกก็ทวงถามอีก ทั้งๆที่
    ไม่จำเป็นเลยที่จะต้องแสดงอาการทวงถามอย่างนั้น เพราะ ไร้ประโยชน์ที่
    ตนต้องการตามจริง

    ตัวอย่าง นิวรณ์ลากไปทำฌาณ

    พระอนุรุธะ ติด อุธัจจะนิวรร์ กุกกุจจะนิวรณ์ จึง ทำฌาณเพื่อออกไปดูสรรพธาตุ
    เกิดดับเป็นจำนวนอนันต์จักรวาล

    พระอานนท์ ติด วิจิกิจฉานิวรณ์ ลังเลสงสัยว่าจะไม่สำเร็จ จึง ทำฌาณสลับ
    กายคตาสติเป็นจำนวนมาก

    การติดฌาณ ไม่ใช่เรื่องโหลยโถ่ยเข้าแล้วออกไม่ได้ แต่เป็นเรื่องของการเอามาลูบคลำ
    เพราะเข้าใจว่าเป็นหนทางของปัญญา ทั้งที่เป็นเรื่อง นิวรณ์ที่คิดว่าฆ่ามันสำเร็จนั้นแหละ
    พาไปทำ

    เป็นต้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 ธันวาคม 2010
  14. รู้รู้ไป

    รู้รู้ไป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    951
    ค่าพลัง:
    +3,166
    เพราะเห็นทุกข์ในวัฎฎะ บีบคั้น จึงหาทางไป จากวัฏฏะ

    หาทางออกจากทุกข์จึงปฏิบัติ
     
  15. รู้รู้ไป

    รู้รู้ไป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    951
    ค่าพลัง:
    +3,166
    ผู้ปฏิบัติ รู้ตนเป็นอย่างแท้ จึงรู้ถึงผู้อื่น
    ผู้ปฏิบัติ จึงเมตาต่อผู้อื่น ดุจเมตตาต่อตน
     
  16. mon251119

    mon251119 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    127
    ค่าพลัง:
    +391
    ศีล สมาธิ ปัญญา = นิพพาน เอวัง....
     
  17. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241


    ข้าแต่ คุณภาณุเดชผู้เจริญ ผู้ปฏิญญารักพุทธพจน์อย่างยิ่ง
    ท่านทราบหรือไม่หนอว่า พระพุทธองค์ตรัสอย่างไร หลังจาก
    ที่เรียน จบฌาณ8 จากพระดาบษผู้เป็นอาจารย์ของพระพุทธองค์แล้ว
    ท่านตรัสเป็นพุทธพจน์ให้คุณภาณุเดชพึง จดจำไว้ได้ว่า

    "เรารู้หนทางสายกลางแล้ว เรารู้หนทางสายกลางแล้ว"

    หรือ

    "นี่ยังไม่ใช่ทาง"

    ขอให้ท่านภาณุเดชผู้เจริญ พึงตอบคำถามนี้ ออกจากปฏิญญาของตนเถิด
     
  18. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    สำหรับผู้ใด ที่ปริวิตกไปว่า รูปประโยคข้างบนนั้น ชะรอยจะเป็น การตำหนิฌาณ

    ขอให้พิจารณาภาษาไทยที่สื่อสารไปใหม่ ให้สิ้นกระแสความ

    ขอให้สังเกต คำว่า จึงเป็นปัญหา

    เรากล่าวว่า การทำฌาณเป็นปัญหาหรือเปล่า เรากล่าวว่าการทำอรูฌาณ
    เป็นปัญหาหรือเปล่า

    หรือว่า เราเขียนอย่างจำเพาะเจาะจงด้วยดีแล้วว่าความ "ยึดข้าง" อัน
    เป็นเรื่องของ ตัณหา การยึดมั่นถือมั่น คือปัญหา

    การที่เรา แยกคำว่า "ยึดข้าง" ออกมาให้เป็นประโยคเด่น 1 บรรทัดไม่
    เพียงพอต่อการอ่านเพื่อเข้าใจเลยหรือว่า เราตำหนิส่วน กิเลส หรือตำ
    หนิการทำฌาณกันแน่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 ธันวาคม 2010
  19. สุปราณะ

    สุปราณะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    206
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +122


    พระพุทธองค์เปล่งอุทานว่าอย่างไร เมื่อพระพุทธองค์ใช้ญานตรวจดูว่าอาจารย์ทั้งสองของท่าน คือ อุทกสดาบถ และ อาฬารดาบถ อยู่ที่ไหนเพื่อไปเทศน์โปรดอาจารย์ทั้งสอง หลังจากตรัสรู้ .... ???
     
  20. อโศ

    อโศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,689
    ค่าพลัง:
    +5,830
    ผู้ที่รู้จริงๆ เวลาจะกล่าวความดีระดับยิ่งยวดของตน(ภูมิจิต ภูมิธรรม)
    ท่านจะไม่กล่าวตรงๆ และไม่เปิดเผยเรื่องความดีระดับสูงนั้นๆ....

    หากจำเป็นต้องกล่าวถึงความดีของตนนั้น
    ท่านฯ จะไม่ตอบเต็มข้อมูลจริงที่มี
    จะกล่าวแต่เรื่องที่เป็นกลางๆ ไม่โอ้อวดตนเอง
    ไม่ต้องการให้ใครรู้ ถึงภูมิธรรมของท่านฯ

    ดังจะได้เห็น...ครูจารย์สายวัดป่าฯ
    ขณะท่านฯมีชีวิต ไม่ค่อยมีใครรู้ภูมิจิต ภูมิธรรม ขององค์ท่านฯ
    จนกระทั่งท่านดับขันธ์ กระดูกเป็นพระธาตุ
    เราถึงจะรู้ท่านเป็นพระอริยะสงฆ์

    ท่านผู้รู้ ท่านจะยกย่องจะเคารพบูชาพ่อแม่ครูจารย์
    กตัญญูรู้คุณ ไม่ตีเสมอพ่อแม่ครูจารย์
    ไม่อวดมรรคผลแก่ใคร เพราะการอวดนั้นเสมือนการแก้ผ้าให้ผู้อื่นชม

    และหากจำเป็นต้องกล่าวถึงความดีของตนนั้น
    จะไม่ตอบเต็มข้อมูลจริงที่มี



    การนำเสนอมุมมองและความคิดเพียงแง่เดียว

    บางครั้งลืมไปว่า..ทั้งเราและผู้อื่นต่างมีมุมมองและเหตุผลเป็นของตนเอง

    ลองมองย้อนกลับมาทบทวน...ดูความคิดของตนเอง
    เลิกให้ความสนใจ ว่า...ใครคิดแบบไหน เหมือนเราหรือเปล่า...
    จงมองว่า...เรานั่นแหละ ไปคิดแทนคนอื่นเขาหรือเปล่า...

    เป็นธรรมดา...เหรียญย่อมมีสองด้าน
    การติเตียนย่อมมาคู่กับการสรรเสริญ
    สิ่งไหนถูก ก็ต้องว่าไปตามถูก
    สิ่งไหนผิด ก็ต้องว่าไปตามผิด


     

แชร์หน้านี้

Loading...