สถานที่ปฏิบัติธรรม-บวชชีพราหมณ์ (ที่เหมาะสำหรับสตรี)

ในห้อง 'งานบวช' ตั้งกระทู้โดย Sawiiika, 14 กรกฎาคม 2010.

  1. Sawiiika

    Sawiiika เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,811
    ค่าพลัง:
    +1,557
    1. เสถียรธรรมสถาน

    [​IMG]

    เสถียรธรรมสถาน
    เลขที่ 24/5 ซ.วัชรพล (รามอินทรา 55)
    แขวงจระเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230
    โทรศัพท์ 02-510-6697, 02-510-4756
    โทรสาร 02-519-4633

    ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการ คือ แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต

    เสถียรธรรมสถาน (Sathira Dhammasathan) ชุมชนแห่งการเรียนรู้ โอเอซิสธรรมกลางกรุง เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมที่ร่มรื่น สงบเงียบ สงบเย็น ตั้งอยู่ใจกลางของกรุงเทพฯ สาธุชนทุกท่านสามารถเข้าไปปฏิบัติธรรมได้ ถือได้ว่าเป็นธรรมสถานแห่งการฝึกฝนเรียนรู้ที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับแม่ชี และผู้ปฏิบัติธรรมที่เป็นผู้หญิง

    [​IMG]

    • กรณีปฏิบัติธรรมแบบพักค้าง •

    ลงทะเบียนเข้าที่พักช่วงบ่ายสองโมงเย็นถึงสี่โมงเย็น (14.00-16.00 น.) ของวันศุกร์ และร่วมปฏิบัติธรรมจนถึงเย็นวันอาทิตย์ ท่านสามารถ download file ระเบียบปฏิบัติ, วิถีชีวิตพักค้าง, สิ่งที่ต้องเตรียมมาและใบสมัครปฏิบัติธรรมแบบพักค้าง และระเบียบการได้จากหน้าแรกของเว็บไซต์ กรอกใบสมัคร เตรียมเอกสารแนบให้เรียบร้อย แล้ว FAX เอกสารเข้าไปที่เสถียรธรรม หลังจากนั้นประมาณ 15-30 นาที รบกวนโทรศัพท์ไปตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจว่าทางเจ้าหน้าที่ได้รับเอกสารของคุณ และเจ้าหน้าที่หรือแม่ชีท่านใดท่านหนึ่งจะแจ้งให้ทราบว่า คุณจะได้เข้าปฏิบัติธรรมแบบพักค้างหรือไม่

    การปฏิบัติธรรมอานาปานสติภาวนา นอกจากท่านผู้ปฏิบัติธรรมจะได้เรียนรู้วิธีการภาวนาแบบอานาปานสติแล้ว ตลอดระยะเวลาการเข้าร่วมกิจกรรม ท่านจะได้เรียนรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาท, อุปกิเลส 16 , นิวรณ์ 5, อริยมรรค ฯลฯ ร่วมภาวนากับบทเพลง เจริญสมาธิในทุกอิริยาบท ยืน เดิน นั่ง นอน และโยคะสมาธิ ผู้ปฏิบัติธรรมที่เข้าร่วมกิจกรรมทุกท่านจะร่วมสมาทานศีล 8 ในเย็นวันศุกร์และรักษาศีล 8 ตลอดระยะเวลาการปฏิบัติ

    [​IMG]

    ศีล 8
    1. เว้นจากทำลายชีวิต
    2. เว้นจากถือเอาของที่เขามิได้ให้
    3. เว้นจากประพฤติผิดพรหมจรรย์ คือเว้นจากร่วมประเวณี
    4. เว้นจากพูดเท็จ
    5. เว้นจากของเมา คือ สุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
    6. เว้นจากบริโภคอาหารในเวลาวิกาล คือเที่ยงแล้วไป
    7. เว้นจากฟ้อนรำ ขับร้อง บรรเลงดนตรี ดูการเล่นอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์
    การทัดทรงดอกไม้ ของหอม และเคลื่องลูบไล้ซึ่งใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่ง
    8. เว้นจากที่นอนอันสูงใหญ่ หรูหราฟุ่มเฟือย

    วันแรกของการเข้าอบรม
    14.00 น.-16.00 น. ลงทะเบียน
    16.00 น โยคะสมาธิ
    17.30 น. ปฐมนิเทศและทำวัตรเย็น
    19.00 น. สมาทานศีล 8/ส่งอารมณ์กรรมฐาน
    21.00 น. ทำความเพียรโดยส่วนตัว

    [​IMG]

    วิถีชีวิตของชุมชน
    04.00 น. ระฆังแห่งสติ
    05.00 น. ทำวัตรเช้า
    06.00 น. ธรรมรับอรุณ โยคะ-สมาธิ
    08.00 น. พิจารณาอาหารเช้า
    09.00 น. ร่วมฟังการจัดรายการวิทยุ ‘สาวิกา’ ออกอากาศสด
    10.00 น. ภาวนากับบทเพลง/ธรรมบรรยาย
    11.30 น. พิจารณาอาหารกลางวัน
    12.00 น. ว่างอยู่ในปัจจุบันขณะ
    13.30 น. สมาธิภาวนา ยืน เดิน นั่ง นอน และตอบคำถาม
    16.00 น. น้ำปานะ
    18.00 น. ทำวัตรเย็น
    19.00 น. ธรรมบรรยาย/สมาธิภาวนา
    21.00 น. ทำความเพียรโดยส่วนตัว

    [​IMG]

    วันสุดท้ายของการเข้าอบรม
    04.00 น. ระฆังแห่งสติ
    05.00 น. ทำวัตรเช้า
    06.00 น. ธรรมรับอรุณ โยคะ-สมาธิ
    08.00 น. พิจารณาอาหารเช้า
    09.00 น. ร่วมฟังการจัดรายการวิทยุ ‘สาวิกา’ ออกอากาศสด
    10.00 น. ภาวนากับบทเพลง/ธรรมบรรยาย
    11.30 น. พิจารณาอาหารกลางวัน
    12.00 น. ว่างอยู่ในปัจจุบันขณะ
    13.30 น. สมาธิภาวนา ยืน เดิน นั่ง นอน และตอบคำถาม
    16.00 น. จบกิจกรรมการเข้าอบรม

    [​IMG]

    • กรณีปฏิบัติธรรมแบบไม่พักค้าง •

    เชิญได้ทุกเสาร์-อาทิตย์ มาได้เลยไม่ต้องสมัคร โดยสามารถเข้าร่วมได้ตั้งแต่เวลา 09.00 น. ที่ ธรรมศาลา เพื่อร่วมฟังการจัดรายการวิทยุ “สาวิกา” ออกอากาศสด โดยท่านแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต

    วิถีแห่งสติ
    05.00 น. ทำวัตรเช้า ณ ห้องพระบรมสารีริกธาตุ
    08.00 น. พิจารณาอาหารเช้า
    09.00 น. วิทยุชุมชน
    10.00 น. ฟังเสียงธรรมะตามสาย
    11.00 น. พิจารณาอาหารเพล
    18.00 น. ทำวัตรเย็นและตามประทีป ณ ห้องพระบรมสารีริกธาตุ
    (ระหว่างวัน ภาวนากับการทำงานและทำความเพียรโดยส่วนตัว)

    หมายเหตุ : หากท่านต้องการมาทำกิจกรรมเป็นหมู่คณะในวันธรรมดา กรุณาติดต่อมาที่โทรศัพท์ 02-509-0085, 02-510-6697 กด 6 และผู้สนใจมาสนทนาธรรม สอบถามปัญหากับคณะแม่ชีเป็นการส่วนตัว เชิญได้ในวันธรรมดา เวลา 09.00-11.00 น. และ 13.30-16.00 น.

    [​IMG]

    • การเดินทาง •

    การเดินทาง ถ้ามาจากบางเขน มีรถเมล์จากอนุสาวรีย์ สายปอ. 26, ปอ.พ. 2 และ ปอ.พ. 8 มีรถเมล์จากปากเกร็ด สาย 150 มาจากบางเขน รถเมล์จะผ่านป้ายกองบินตำรวจก่อน แล้วให้ลงรถเมล์ป้ายถัดไป จะเป็นปากซอยวัชรพล จะมีรถสองแถววิ่งเข้าซอยวัชรพล (คิวรถจะจอดอยู่ซอยวัชรพล-เพิ่มสิน ข้างๆ ร้านเซเวน-อีเลเวน-5 บาท) หรือขึ้นมอเตอร์ไซด์รับจ้างเข้ามา

    ถ้ามาจากรามคำแหง มีรถเมล์จากรังสิต สาย 95, ปอ. 520 และ ปอ. 512 มาจากรามคำแหง ให้ลงป้ายแรกหลังจากที่รถเมล์ลอดใต้สะพานทางด่วน จะเป็นฝั่งตรงกันข้ามกับซอยวัชรพล จะมีรถสองแถววิ่งเข้าซอยวัชรพล (คิวรถจะจอดอยู่ซอยวัชรพล-เพิ่มสิน ข้างๆ ร้านเซเวน-อีเลเวน-5 บาท) หรือขึ้นรถมอเตอร์ไซด์รับจ้างเข้ามา

    สำหรับท่านที่มีรถส่วนตัว เสถียรธรรมสถาน ตั้งอยู่เลขที่ 24/5 ซ.วัชรพล รามอินทรา 55 สุดทางด่วนอาจณรงค์-รามอินทรา จาก ถ.รามอินทรา เข้ามาประมาณ 400 เมตร มีจุดสังเกตคือรั้วก่ออิฐสีส้ม ตรงข้ามกับร้านขายเฟอร์นิเจอร์ ท่านสามารถจอดรถได้ที่ด้านหลังตลาดวัชรพล

    [​IMG]

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *



    เว็บไซต์เสถียรธรรมสถาน
    http://www.sdsweb.org/<!-- m --><!-- m -->

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    [​IMG]
    แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต
     
  2. Sawiiika

    Sawiiika เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,811
    ค่าพลัง:
    +1,557
    2. สำนักปฏิบัติธรรมนิโรธาราม

    [​IMG]
    ภิกษุณีนันทญาณี (อดีตแม่ชีรุ้งเดือน สุวรรณ)


    สำนักปฏิบัติธรรมนิโรธาราม
    เลขที่ 127 หมู่ 6 ต.ดอยแก้ว
    อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ 50160
    โทรศัพท์ 084-804-2040


    ประธานมูลนิธินิโรธาราม และประธานภิกษุณีสงฆ์
    คือ ภิกษุณีนันทญาณี (อดีตแม่ชีรุ้งเดือน สุวรรณ)


    ภิกษุณีนันทญาณี หรืออดีตแม่ชีรุ้งเดือน สุวรรณ เป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ซึ่งคือผู้หญิงที่บวชรักษาศีล 10 ข้อ เน้นวิปัสสนากรรมฐาน ท่านเป็นประธานผู้ก่อตั้งและเป็นอาจารย์ใหญ่ของสำนักปฏิบัติธรรมนิโรธาราม (มีเฉพาะนักบวชหญิง) ซึ่งทางสถาบันอุดมศึกษา เช่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ฯลฯ โรงเรียน และสถาบันการศึกษาอื่นๆ มักมีกิจกรรมการปฏิบัติธรรม เข้าค่าย เป็นต้น ที่สำนักฯ แห่งนี้อยู่สม่ำเสมอ

    [​IMG]

    ด้านการเทศน์-การบรรยายธรรมของภิกษุณีนันทญาณี (อดีตแม่ชีรุ้งเดือน สุวรรณ) นั้น จะมีลีลาสำนวนการเทศน์-บรรยายที่สนุก เร้าใจ สไตล์วัยรุ่น ใช้ภาษาชาวบ้าน ฟังง่าย ท่านสามารถแสดงธรรมเรื่องยากๆ ให้เข้าใจง่าย ผนวกกับการแยกแยะข้อธรรมอย่างชัดเจน

    สำนักฯ แห่งนี้ นักบวช ไม่ว่าสามเณรีหรือแม่ชีต้องปฏิบัติและทำงานวัดค่อนข้างหนักเพราะมีคนน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับอาคารสถานที่และพื้นที่ การปฏิบัติส่วนมากต่างคนต่างก็ปฏิบัติเอง และทุกท่านมักจะศึกษาพุทธพจน์จากพระไตรปิฎก หรือเรียนจากหนังสือนักธรรม ฯลฯ กันเอง ผู้ที่ขอ “เข้าเงียบ” จะมีท่านสามเณรีที่มีประสบการณ์ไปช่วยสอบอารมณ์ให้ถึงกุฏิทุกวัน

    ทั้งสามเณรี แม่ชี และโยคี (แม่พราหมณ์) ต้องสวดมนต์พร้อมกันวันละ 3 เวลา คือ 04.00 นาฬิกา, 13.30 นาฬิกา และ 17.30 นาฬิกา ไม่สวมรองเท้า ฉันมื้อเดียวในเวลา 08.00 นาฬิกา และเป็นอาหารมังสวิรัติด้วย

    [​IMG]

    • ประวัติและความเป็นมาสำนักปฏิบัติธรรมนิโรธาราม •

    เนื่องจากได้มีญาติโยมจำนวนมากได้เข้ามาปรารภกับท่านภิกษุณีนันทญาณี (อดีตแม่ชีรุ้งเดือน สุวรรณ) ถึงสภาพปัญหาของสังคมว่า ในปัจจุบันมีคนที่มีความทุกข์ทางใจในการดำเนินชีวิตมากขึ้น และก็ได้ขอร้องให้ท่านแม่ชีรุ้งเดือน พร้อมด้วยคณะแม่ชี 5 รูป ผู้ที่ได้ศึกษาและปฏิบัติตามพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นเวลาสิบกว่าปี ให้ช่วยนำพระธรรมคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้ามาช่วยแนะนำพร้อมทั้งเผยแผ่พร่ำสอนให้ชาวบ้าน ได้มีหลักธรรมในการดำเนินชีวิต ให้เกิดประโยชน์และความสุขแก่ทั้งครอบครัวตนเองและบุคคลอื่น

    ครั้นต่อมาก็ได้มีญาติโยมและผู้มีจิตศรัทธาหลายท่าน ได้ร่วมกันซื้อที่ดินถวาย ให้กับท่านท่านแม่ชีรุ้งเดือน สุวรรณ พร้อมคณะแม่ชี เปิดเป็นสำนักปฏิบัติธรรมสำหรับผู้หญิง เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2538 รวมทั้งสิ้น 19 ไร่ และได้รับความเมตตาจาก พระภาวนาวิสุทธาจารย์ (หลวงพ่อทองใบ ปภสฺสโร) วัดอภิญญาเทสิตธรรม (วัดนาหลวง) อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ตั้งชื่อให้ว่า “สำนักปฏิบัติธรรมนิโรธาราม” อันมีความหมายเป็นมงคลว่า “อารามแห่งความดับทุกข์”

    [​IMG]

    ปัจจุบันสำนักปฏิบัติธรรมนิโรธาราม มีสามเณรีจำนวน 10 รูป แม่ชีจำนวน 2 ท่าน อุบาสิกาประจำจำนวน 2 ท่าน เป็นสถานที่รองรับให้ผู้หญิงได้เข้ามาศึกษาพระพุทธศาสนาตามแนวทางพระไตรปิฎก และใช้เป็นสถานที่ในการอบรมค่ายคุณธรรม จริยธรรม โดยมีหน่วยงานทั้งภาครัฐบาลและเอกชน รวมถึงสถาบันการศึกษาต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นต้น มาขอจัดค่ายคุณธรรม จริยธรรม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 จนถึงปัจจุบัน

    [​IMG]

    [​IMG]

    • ดับทุกข์-ทุกข์ดับ ที่...“อารามแห่งความดับทุกข์” •

    ปัจจุบัน มีวัดร้างอยู่เป็นจำนวนมาก หลายแห่งกลายเป็นเพียงสถานที่ซึ่งมีไว้เพียงท่องเที่ยวเพื่อให้ระลึกถึงความยิ่งใหญ่ของพระพุทธศาสนาเมื่อครั้งที่เคยรุ่งเรือง

    ขณะที่แนวโน้มของพระภิกษุในประเทศไทยได้ลดจำนวนลงไปจากปีละ ๓ แสนรูป เหลือเพียงแสนกว่ารูป บางส่วนเบี่ยงเบนทางเพศ บางส่วนเป็นพระที่ศึกษาเพื่อเตรียมจะสึกออกไปทำงานประกอบอาชีพในทางโลก บางส่วนเตรียมสึกไปแต่งงาน นี่คือสถานการณ์ของพระพุทธศาสนาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

    ท่านผู้รู้และปฏิบัติชอบท่านหนึ่ง แสดงทัศนะเอาไว้ว่า

    “ที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจากพระส่วนหนึ่งไม่มีความรู้ในพระธรรม จึงไม่สามารถครองตนรักษาศีลอย่างบริสุทธิ์ได้ ซึ่งสวนทางกับฆราวาสที่อยู่ในยุคที่ต้องการไขว่คว้าหาธรรมะดีๆ มาเป็นตัวช่วยในการนำทางชีวิต ดังนั้นสงฆ์ไม่ว่าพระภิกษุหรือภิกษุณี ที่ถือเอาการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เดินตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างเคร่งครัด น่าจะเป็นที่พึ่งในยามยากให้แก่ชาวบ้านได้ดีในยามนี้”

    [​IMG]
    ภิกษุณีนันทญาณี (อดีตแม่ชีรุ้งเดือน สุวรรณ)
    นำพาหมู่คณะสวดมนต์ ไหว้พระ และปฏิบัติธรรม



    สถานปฏิบัติธรรมแห่งหนึ่งที่จะเขียนถึง คือ “สำนักปฏิบัติธรรมนิโรธาราม” ต.ดอยแก้ว อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ อันมีความหมายเป็นมงคลว่า “อารามแห่งความดับทุกข์”

    โดยมีวัตถุประสงค์หลักของการก่อตั้งสำนักมี ๒ ประการ คือ ๑. เพื่ออนุเคราะห์แก่สตรีที่ตั้งใจมาดำเนินชีวิตบนวิถีแห่งศีล สมาธิ ปัญญา ตามรอยพระพุทธเจ้า โดยมี “ท่านภิกษุณีนันทญาณี” เป็นผู้อบรมสั่งสอนตามพระพุทธพจน์ และ ๒. เพื่อรองรับผู้ปฏิบัติธรรมจากหน่วยงานราชการ เอกชน และผู้สนใจใฝ่ธรรมทั่วไป ที่ได้ติดต่อขอเข้ารับการอบรมธรรมะ ทั้งในรูปแบบค่ายอบรม และเข้ามาปฏิบัติเป็นการส่วนตัว


    สำนักปฏิบัติธรรมนิโรธาราม ประกอบไปด้วยภิกษุณี และสามเณรี ที่อยู่ร่วมกันกว่า ๒๐ รูป ถือเป็นแห่งแรกของประเทศไทยที่มีนักบวชสตรีอยู่ร่วมเป็นคณะสงฆ์ โดยหากเป็นภิกษุณีจะถือศีล ๓๑๑ ข้อ ส่วนสามเณรีนั้นถือศีล ๑๐ ข้อ ทั้งหมดยึดถือการปฏิบัติตนตั้งอยู่ในศีล ภาวนา สมาธิ อย่างเคร่งครัด กินอาหารมังสวิรัติวันละมื้อเดียว ไม่สวมใส่รองเท้า ไม่ใช้เงิน และฝึกฝนการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ มีวิถีชีวิตในแบบกินง่ายอยู่ง่าย เน้นความสมถะ ไม่เบียดเบียน มุ่งศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าจากพระไตรปิฎก เพื่อการพ้นทุกข์ โดยมี “ภิกษุณีนันทญาณี” หรือ “อดีตแม่ชีรุ้งเดือน สุวรรณ” เป็นประธานภิกษุณีสงฆ์

    จากที่ได้เข้าร่วมค่ายปฏิบัติธรรมเป็นระยะเวลา ๕ วัน ระหว่างวันที่ ๑๖-๒๐ มีนาคม ๒๕๕๒ ร่วมกับกลุ่มนักศึกษาชายหญิงของคณะอุตสาหกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กว่า ๑๐๐ ชีวิต และยังมีผู้เข้าร่วมปฏิบัติธรรมอีกหลากหลายอาชีพ ที่เดินทางเข้ามาเพื่อศึกษาหาความรู้ทางธรรมเป็นการส่วนตัวอีกจำนวนหนึ่ง ท่ามกลางบรรยากาศของสถานที่ซึ่งสงบร่มรื่นและเป็นใจอย่างยิ่ง กับความตั้งใจมาใฝ่ดีให้สัมฤทธิผล

    [​IMG]
    ภิกษุณีนันทญาณี (อดีตแม่ชีรุ้งเดือน สุวรรณ)


    การเข้ามาปฏิบัติธรรมที่สำนักปฏิบัติธรรมนิโรธารามนั้น สิ่งที่ผู้ปฏิบัติธรรมควรเตรียมมา คือ ชุดสีขาว และของใช้ตามจำเป็น เช่น ไฟฉาย รองเท้าแตะ และของใช้ส่วนตัว สำหรับทำความสะอาดร่างกายเท่านั้น ส่วนสิ่งฟุ่มเฟือย หรือเครื่องสำอาง เครื่องประดับต่างๆ ให้งดเว้น

    ในฐานะผู้ไม่เคยเข้าร่วมปฏิบัติธรรมมาก่อน ได้เคยผ่านเข้ามาสอบถามกับภิกษุณีปัญญาวรี ที่สำนักปฏิบัติธรรมนิโรธารามครั้งหนึ่ง ท่านตอบสั้นๆ เพียงว่า “การมาปฏิบัติธรรมในที่แห่งนี้ เตรียมแต่ชุดขาวมาก็พอ แต่หากไม่มีก็ไม่เป็นไร วัดมีให้ ขอเพียงให้เตรียมใจมาปฏิบัติธรรมก็พอแล้ว”

    อย่างไรก็ตาม การเปิดค่ายปฏิบัติธรรมของ “สำนักปฏิบัติธรรมนิโรธาราม” นั้น จะไม่มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายใดๆ ไม่ว่าจะเป็นค่ากิน-อยู่ หรือค่าวิทยากร กับผู้เข้าปฏิบัติธรรม ที่ผ่านมาหากหน่วยงานใดจะติดต่อเข้ามาขอเปิดค่ายปฏิบัติธรรม ทางภิกษุณีนันทญาณีจะจัดสรรเวลาในการเปิดอบรมให้ แต่ในส่วนของค่าใช้จ่าย ในเรื่องอาหารการกิน การจัดการค่าย โดยใช้สถานที่ของนิโรธารามนั้น หน่วยงานผู้ร้องขอจัดค่ายจะเป็นฝ่ายดูแลจัดการค่าใช้จ่ายเอง ทั้งเรื่องการจัดจ้างแม่ครัวและค่าอาหาร วัดเพียงแต่มอบหมายให้นักบวชสตรีเข้ามาดำเนินการบรรยาย อบรมการปฏิบัติธรรมะ และให้โดยไม่รับค่าตอบแทน

    ส่วนเมื่อเข้ามาอยู่ร่วมค่าย หรือเป็นผู้ปฏิบัติธรรมที่นิโรธารามแล้ว ผู้นั้นจะต้องรักษาศีล ๘ คือ งดเว้นไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ละเมิดประพฤติผิดในกาม ไม่พูดปด ไม่ดื่มสุราเมรัย และเพิ่มเติมข้อปฏิบัตินอกเหนือจากศีล ๕ ขึ้นมาอีก คือ งดเว้นการร้องรำทำเพลง-ดูมหรสพ และฮัมเพลง งดเว้นนอนบนฟูก หรือที่นอนหมอนสูง งดเว้นการใช้เครื่องสำอาง แป้ง ของหอมทุกชนิด และงดสวมใส่เครื่องประดับต่างๆ

    [​IMG]

    กิจวัตรประจำวันของผู้ปฏิบัติธรรม ประกอบด้วย การสวดมนต์ทำวัตรเช้าเย็นร่วมกับนักบวช ฝึกภาวนาด้วยการเดินจงกรม นั่งสมาธิ บริโภคอาหารมังสวิรัติสองมื้อ คือ เวลา ๐๗.๐๐ น. และ ๑๑.๓๐ น. โดยงดรับประทานอาหารขบเคี้ยวทุกชนิด หลังเวลา ๑๒.๐๐ น. เป็นต้นไป

    ตารางชีวิตในสถานธรรมแห่งนี้ คือ การตื่นนอน ๐๓.๓๐-๐๔.๐๐ น. และเข้านอนไม่เกิน ๒๔.๓๐ น. ห้ามส่งเสียงดัง และทำความเพียรด้วยการช่วยเหลือทำความสะอาดวัดตามสมควร


    กรณีของผู้ปฏิบัติธรรมที่เป็นชาย นิโรธารามจะอนุญาตให้เข้ามาปฏิบัติธรรมภายในวัดได้แบบไปกลับ แต่จะอนุญาตให้ค้างแรมในวัดได้ เฉพาะช่วงที่มีการเปิดค่ายปฏิบัติธรรมเท่านั้น

    สำหรับตัวอย่างของการบรรยายธรรม ที่ภิกษุณีนันทญาณีได้สอนเรื่องความจริงไว้ว่า “ร่างกายเป็นเพียงกองดินน้ำลมไฟ ประกอบไปด้วยถุงทุกข์ เช่น ถุงเลือด ถุงขี้ ถุงน้ำเลือด ถุงน้ำเหลือง ที่ต้องคอยดับทุกข์ด้วยการกิน ด้วยการถ่าย ไม่ควรยึดติด สุดท้ายก็ต้องตาย ดังนั้นไม่ควรไปยึดติด ไม่ควรไปยึดถือ ไม่ควรหลงใหลว่าเป็นของเรา

    เมื่อชีวิตของทุกๆ คนเป็นถุงดินน้ำไฟลม เป็นถุงขี้ซึม และเป็นถุงทุกข์ ที่ต้องคอยดับทุกข์ ดังนั้นจึงไม่จำเป็นที่เราจะต้องมานั่งผ่อนบ้านราคาแพงๆ เพื่อให้ถุงขี้ซึมได้อยู่ หรือให้ถุงขี้ซึมต้องไปนั่งอยู่ในรถวอลโว่ราคาแพงๆ” ภิกษุณีนันทญาณี อธิบายและยกตัวอย่างจนทำให้หลายคนเห็นภาพ

    นอกจากการเตือนสติให้เรามองกายเป็นเพียงกองดินน้ำไฟลม เพื่อที่จะไม่ต้องไปยึดติดว่า กายเป็นของเรา ภิกษุณีนันทญาณีและคณะนักบวชสตรีของนิโรธาราม ยังงดเว้นการบริโภคเนื้อสัตว์ แต่บริโภคมังสวิรัติวันละมื้อเดียว เพื่อละเว้นการเบียดเบียนสัตว์ พร้อมกับยกตัวอย่างว่า

    “หากใครกินกุ้งเต้น วันหนึ่งก็อาจจะต้องประสบเคราะห์กรรมเหมือนกุ้ง คือไปเต้นในซานติก้าผับ”

    [​IMG]

    เรื่อง - ภาพ... “ขวัญดาว จิตรพนา”
    หนังสือพิมพ์คมชัดลึก ศูนย์ข่าวเชียงใหม่

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    ประวัติและคำสอนของภิกษุณีนันทญาณี
    <!-- m -->::
     
  3. Sawiiika

    Sawiiika เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,811
    ค่าพลัง:
    +1,557
    3. สำนักปฏิบัติธรรมเขาสวนหลวง (อุศมสถาน)

    [​IMG]

    สำนักปฏิบัติธรรมเขาสวนหลวง (อุศมสถาน)
    เลขที่ 36 หมู่ 11 บริเวณเขางู
    ซอย 13 (ซอยวัดห้วยตะแคง)
    ต.เกาะพลับพลา อ.เมือง จ.ราชบุรี 70000


    ผู้ก่อตั้งสำนักฯ คือ อุบาสิกากี นานายน (ท่าน ก. เขาสวนหลวง)
    เจ้าสำนักฯ ท่านปัจจุบัน คือ อุบาสิกาละมัย จุลคำภา


    [​IMG]
    ท่าน ก. เขาสวนหลวง ผู้ก่อตั้งสำนักฯ


    • สำนักปฏิบัติธรรมเขาสวนหลวง •
    อุศมสถาน : ธรรมอาศรมสำหรับสตรี


    ผู้หญิงที่สนใจการปฏิบัติธรรมในแบบพระป่า
    มีความยากลำบากกว่าผู้ชายมาก
    เพราะผู้ชายนั้น มีวัดป่าจำนวนมากให้เข้าไปปฏิบัติธรรมได้
    ส่วนผู้หญิงจะมีปัญหาสารพัด นับตั้งแต่ปัญหาความปลอดภัย
    ไปจนถึงความวุ่นวายภายในวัดป่า
    ที่ผู้ปฏิบัติธรรมหญิงส่วนมาก
    จะใช้ชีวิตแทบทั้งวันกับการทำงานที่พระทำไม่ได้
    เช่น งานครัว ปลูกผัก ตัดต้นไม้

    นอกจากนี้ ผู้หญิงบางคนก็มักจะตั้งตัวเป็นเจ้าแม่
    คอยวางกฎเกณฑ์บังคับผู้หญิงด้วยกัน
    ให้ต้องทำกิจกรรมอย่างนั้นอย่างนี้ทั้งวันจนไม่มีเวลาปฏิบัติธรรม
    นับเป็นความวุ่นวายภายในวัดที่ซ่อนอยู่ภายใต้ความสงบร่มเย็น
    สรุปแล้ว ผมไม่เคยพบสถานปฏิบัติธรรมที่อยู่กับธรรมชาติ
    ที่เหมาะกับผู้หญิงที่ต้องการปฏิบัติเพื่อถึงความหลุดพ้นเลย
    จนกระทั่งได้พบ อุศมสถาน ซึ่งผู้หญิงท่านหนึ่งก่อตั้งขึ้นมา
    ท่านเองเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ และสอนผู้อื่นให้ทำที่สุดแห่งทุกข์ด้วย

    [​IMG]

    เมื่อ 23 มิถุนายน 2444

    มหาอุบาสิกา กี นานายน
    ได้ถือกำเนิดขึ้นมาในจังหวัดราชบุรี
    และท่านได้บุกเบิกสถานปฏิบัติธรรมเขาสวนหลวง ราชบุรีขึ้น
    ท่านเรียนรู้ธรรมด้วยการเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    โดยไม่ได้มีครูบาอาจารย์ที่สอนท่านให้ปฏิบัติโดยเฉพาะ
    เพียงแต่ได้ศึกษาคำสอนของท่านอาจารย์พุทธทาสบ้างเท่านั้น
    ท่านทิ้งขันธ์เมื่อ 21 พฤศจิกายน 2521

    ลองฟังข้อธรรมของท่านสักบทหนึ่ง แล้วผู้ปฏิบัติจะทราบได้เองว่า
    ท่านกี หรือท่าน ก.เขาสวนหลวง นั้น ควรแก่การเคารพกราบไหว้เพียงใด

    ๏ แนวการปฏิบัติธรรม

    ผู้ปฏิบัติควรศึกษาให้เข้าใจเป็นลำดับไป ดังนี้

    การศึกษาที่เรียนรู้ได้ง่าย ทำได้ทุกเพศ ทุกวัย ทุกกาละ ทุกขณะ
    ได้ผลทันที ไม่ต้องรอรับผลข้างหน้า
    ก็คือศึกษาในโรงเรียน กล่าวคือ ในร่างกายยาววาหนาคืบ มีสัญญาใจครอง
    ในร่างกายนี้ มีสิ่งน่าเรียนรู้ ตั้งแต่ขั้นหยาบจนถึงขั้นละเอียด

    ๏ ขั้นของการศึกษา

    ก. เบื้องต้น ให้รู้ว่า กายนี้ประกอบขึ้นด้วยธาตุต่างๆ
    ส่วนใหญ่ได้แก่ ดิน น้ำ ไฟ ลม
    ส่วนย่อยได้แก่ ส่วนที่จับติดอยู่กับส่วนใหญ่
    เป็นต้นว่า สี กลิ่น ลักษณะ ฯลฯ

    สิ่งเหล่านี้มีลักษณะไม่คงทน (ไม่เที่ยง) เป็นทุกข์ เต็มไปด้วยของปฏิกูล
    พิจารณาให้ลึกก็จะไม่เห็นมีอะไรเป็นแก่นสาร
    มีแต่สภาพธรรมล้วนๆ ไม่มีภาวะที่ควรเรียกว่า “ตัวเราของเรา”
    เมื่อตามเห็นกายอยู่อย่างนี้ชัดเจน
    ก็จะคลายความกอดรัดยึดถือในกาย
    ว่าเป็นตัวตน เป็นเรา เป็นเขา เป็นนั่นเป็นนี่เสียได้

    ข. ขั้นที่สอง ในส่วนของนามธรรม (คือเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)
    กำหนดให้รู้ตามความเป็นจริงว่า
    ล้วนเป็นเอง ในลักษณะเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
    คือเกิดๆ ดับๆ เป็นธรรมดา
    พิจารณาเห็นจริงแล้วจะคลายความยึดถือในนามธรรม
    ว่าเป็นตัวตน เป็นเรา เป็นเขา เป็นนั่น เป็นนี่ เสียได้

    ค. การศึกษาขั้นปฏิบัติ มิได้หมายเพียงการเรียน การฟัง การอ่านเท่านั้น
    ต้องมีการปฏิบัติให้เห็นประจักษ์แจ้งด้วยจิตใจตนเอง ด้วยการ

    1. ปัดเรื่องภายนอกทั้งหมดทิ้งเสียก่อน
    มองย้อนเข้าดูจิตใจตนเอง
    (จนรู้ว่ามีความแจ่มใส หรือมัวหมองวุ่นวายอย่างไร)
    ด้วยความมีสติสัมปชัญญะกำกับ
    รู้กาย รู้จิตใจ อบรมจนจิตทรงตัวเป็นปกติ

    2. เมื่อจิตทรงตัวเป็นปกติได้
    จะเห็นสังขารหรืออารมณ์ทั้งหลาย เกิดดับเป็นธรรมดา
    จิตจะว่างวางเฉย ไม่ยินดียินร้าย
    และเห็นรูปนามเกิดดับเองตามธรรมชาติ

    3. ความรู้ว่าไม่มีตัวตนแจ่มชัดเมื่อใด
    จึงจะพบเข้ากับสิ่งที่มีอยู่ภายใน
    เป็นสิ่งที่พ้นทุกข์ ไม่มีการหมุนเวียนเปลี่ยนแปลง เป็นอมตะ
    ไม่มีความเกิด ความตาย
    สิ่งที่มีความเกิด ย่อมมีความแก่ ความเจ็บ ความตาย เป็นธรรมดา

    4. เมื่อเห็นความจริงชัดใจแล้ว จิตจะว่าง ไม่เกาะเกี่ยวอะไร
    แม้ตัวจิตเองก็ไม่สำคัญว่าเป็นจิต หรือเป็นอะไร
    คือไม่ยึดถือตัวเองว่าเป็นอะไรทั้งหมด
    จึงมีแต่สภาพธรรมล้วนๆ เท่านั้น

    5. เมื่อบุคคลมองเห็น สภาพธรรมล้วนๆ อย่างแจ่มแจ้ง
    ย่อมเบื่อหน่ายในการทนทุกข์ซ้ำๆ ซากๆ
    เมื่อรู้ความจริงฝ่ายโลกและฝ่ายธรรมตลอดแล้ว
    จะเป็นผลประจักษ์เฉพาะหน้าว่า
    สิ่งที่หลุดพ้นจากทุกข์นั้นมีอยู่ อย่างชัดเจน
    โดยไม่ต้องเชื่อตามใคร ไม่ต้องถามใครอีก
    เพราะพระธรรมเป็นปัจจัตตัง คือรู้เฉพาะตนจริงๆ
    ผู้ที่มองเห็นความจริงด้านในแล้ว
    จะยืนยันความจริงอันนี้ได้เสมอ

    (ก. เขาสวนหลวง 17 มีนาคม 2497)

    ๏ แนะนำสถานที่และข้อวัตร

    สถานปฏิบัติธรรมเขาสวนหลวง หรืออุศมสถานแห่งนี้
    อยู่ไม่ไกลจากตัวจังหวัดราชบุรีมากนัก
    การจะเดินทางไปนั้น จะต้องออกจากราชบุรีไปทางเขางู
    (เขางูอยู่ห่างราชบุรีประมาณ 7 กิโลเมตร)

    แต่ถ้าไปจากทางสายธนบุรีปากท่อ ถึงสามแยกเพชรบุรีกับราชบุรี
    ให้เลี้ยวขวาไปทางราชบุรี แล้วจะมีทางแยกเลี้ยวซ้ายไปเขางู ก่อนจะถึงจังหวัดราชบุรี
    ตามเส้นทางสาย ราชบุรี จอมบึง สวนผึ้ง หรือทางหลวงหมายเลข 3087
    เดินทางไปจะมีทางแยกหลายแห่ง ให้ไปทางวัดถ้ำฤาษีเขางู
    ซึ่งมีป้ายบอกอยู่ตลอดเส้นทาง เพราะเป็นวัดสำคัญเก่าแก่มากถึงสมัยทวารวดี

    ถัดไปหน่อยจะพบพระพุทธรูปยืนปูนปั้นติดกับผนังผาริมทาง
    ถึงตรงนี้จะต้องชะลอความเร็ว เพราะใกล้ทางแยกเลี้ยวซ้าย ไปวัดห้วยตะแคง
    ถึงวัดห้วยตะแคงแล้วให้ขับรถผ่ากลางวัดเข้าไปเลย จะทะลุผ่านหน้าโรงเรียน
    ถัดจากนั้นถนนจะแคบๆ ครับ สักครู่จะผ่านทางแยกเข้าหมู่บ้านเขาสวนหลวง
    ให้เราเลยไปก่อน จนถึงอีกสามแยกหนึ่ง
    คราวนี้เลี้ยวขวาราว 10 เมตร จะถึงประตูอุศมสถานซึ่งอยู่ซ้ายมือ

    ภายในอุศมสถาน ร่มรื่นและสงบอย่างยิ่ง
    แม้จะมีผู้หญิงและชีปฏิบัติธรรมเป็นจำนวนมาก
    แต่มองไปทางไหนพบแต่ต้นไม้ เพราะต่างก็หลีกเร้นทำความเพียรกัน
    จะมีกุฏิกรรมฐานเล็ก เรียงรายอยู่ใต้ร่มไม้ใหญ่ร่มรื่นสวยงาม
    ให้เราตรงขึ้นไปจนสุดทาง จะมีลานจอดรถ
    และมีชีผลัดเวรกันคอยดูแลแนะนำผู้เดินทาง

    ถัดจากศาลาที่คอยต้อนรับแขก จะมีทางขึ้นเขาไปกราบสรีระของท่านกี
    บนนั้นจะมีสรีระของท่านวัลย์ น้องสาวท่านกี ซึ่งเป็นเจ้าสำนักต่อจากท่านกี
    และมีสถูปเล็กๆ บรรจุอัฐิของลุงเปลี่ยน รักแซ่ รวม 3 ท่านด้วยกัน
    ผมขึ้นไปถึง ก็ลงกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ต่อทั้ง 3 ท่าน

    ลงจากเขาที่ประดิษฐานท่านผู้อาวุโสแล้ว มีทางแยกขึ้นไปที่ถ้ำใหญ่
    บนถ้ำนั้นกว้างขวางพอสมควร มีพระพุทธรูปปูนปั้นอยู่ 3 องค์
    มีแคร่ไม้สำหรับเข้าไปอาศัยนอนในถ้ำได้
    แต่ถ้ำค่อนข้างทึบ อับ และมีค้างคาวมาก ที่สำคัญมีงูเห่าด้วย
    ถ้าใครจะเข้าไปปฏิบัติ ก็ต้องมีสติรอบคอบหน่อย

    อุศมสถาน เป็นที่สัปปายะ ไม่แพ้วัดป่าทีเดียว
    สงบ สะอาด และร่มรื่นด้วยต้นไม้ มีถ้ำมีเขา มีลิงด้วย
    แต่ทั้งงูและลิงไม่เคยทำร้ายใคร นอกจากลิงจะแย่งสิ่งของบ้างเท่านั้น

    ผู้หญิงท่านใดจะไปภาวนาที่นั่น
    ให้เขียนจดหมายไปเรียนต่อแม่ชีสุมนา เฮงสวัสดิ์
    สำนักปฏิบัติธรรมเขาสวนหลวง ราชบุรี เสียก่อน
    ที่นั่นต้องแต่งกายด้วยเสื้อขาว นุ่งผ้าถุงดำ
    รับประทานอาหารมังสวิรัติ ซึ่งเราจะทำเองก็ได้ จะขอรับประทานจากชีก็ได้
    สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้คือไฟฉาย
    กิจกรรมถ้าไม่ใช่วันพระก็มีเพียงการทำวัตรเช้าเย็นเท่านั้น
    เวลาส่วนใหญ่จะให้ใช้ปฏิบัติเอาเองให้เต็มที่

    อย่างไรก็ตาม เขาสวนหลวงวันนี้ก็เหมือนวัดป่าเกือบทั้งหมด
    คือไม่มีใครสอนปฏิบัติให้แล้ว จะต้องศึกษาและปฏิบัติเอาเอง
    แต่ท่านใดที่เคยศึกษาการดูจิตกับผมไว้แล้ว
    ไม่ต้องกังวลเลยครับ เพราะธรรมนั้นเป็นอันเดียวกันอย่างน่าอัศจรรย์

    ถ้ามีโอกาส ก็ควรไปนั่งดูจิตใจตนเอง ท่ามกลางธรรมชาติอันบริสุทธิ์หมดจด
    เป็นกำไรชีวิตยิ่งกว่าไปทัวร์ต่างประเทศเสียอีก

    ที่มาของเนื้อหา : <!-- m -->Bangkok Map: bangkok interactive map with traffic information<!-- m -->

    หมายเหตุ : แม่ชีสุมนา เฮงสวัสดิ์ ปัจจุบันท่านได้ละสังขารแล้ว
    ดังนั้น สามารถไปกราบเรียน “อุบาสิกาละมัย จุลคำภา” แทนได้ค่ะ


    [​IMG]
    ตึกไสยาสน์ ที่บรรจุร่างของท่าน ก. เขาสวนหลวง (เจ้าสำนักฯ คนแรก)

    [​IMG]
    ตึกอนุสรณ์อุบาสิกาวัลย์ นานายน
    ที่บรรจุร่างของอุบาสิกาวัลย์ นานายน (เจ้าสำนักฯ คนที่สอง)


    [​IMG]
    เจดีย์จาคธรรม ที่บรรจุอัฐิของแม่ชีสุมนา เฮงสวัสดิ์ (เจ้าสำนักฯ คนที่สาม)

    [​IMG]
    อุบาสกเปลี่ยน รักแซ่ (ผู้ร่วมก่อตั้งสำนักฯ)

    [​IMG]
    เจดีย์อุบาสกเปลี่ยน รักแซ่
    ที่บรรจุอัฐิของอุบาสกเปลี่ยน รักแซ่ (ผู้ร่วมก่อตั้งสำนักฯ)



    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    ประวัติและปฏิปทาท่าน ก.เขาสวนหลวง
    แสดงกระทู้ - ท่าน ก. เขาสวนหลวง &bull; ลานธรรมจักร
    รวมคำสอนของท่าน ก.เขาสวนหลวง
    <!-- m -->
     
  4. Sawiiika

    Sawiiika เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,811
    ค่าพลัง:
    +1,557
    3. สำนักปฏิบัติธรรมเขาสวนหลวง (อุศมสถาน)

    [​IMG]

    สำนักปฏิบัติธรรมเขาสวนหลวง (อุศมสถาน)
    เลขที่ 36 หมู่ 11 บริเวณเขางู
    ซอย 13 (ซอยวัดห้วยตะแคง)
    ต.เกาะพลับพลา อ.เมือง จ.ราชบุรี 70000


    ผู้ก่อตั้งสำนักฯ คือ อุบาสิกากี นานายน (ท่าน ก. เขาสวนหลวง)
    เจ้าสำนักฯ ท่านปัจจุบัน คือ อุบาสิกาละมัย จุลคำภา


    [​IMG]
    ท่าน ก. เขาสวนหลวง ผู้ก่อตั้งสำนักฯ


    • สำนักปฏิบัติธรรมเขาสวนหลวง •
    อุศมสถาน : ธรรมอาศรมสำหรับสตรี


    ผู้หญิงที่สนใจการปฏิบัติธรรมในแบบพระป่า
    มีความยากลำบากกว่าผู้ชายมาก
    เพราะผู้ชายนั้น มีวัดป่าจำนวนมากให้เข้าไปปฏิบัติธรรมได้
    ส่วนผู้หญิงจะมีปัญหาสารพัด นับตั้งแต่ปัญหาความปลอดภัย
    ไปจนถึงความวุ่นวายภายในวัดป่า
    ที่ผู้ปฏิบัติธรรมหญิงส่วนมาก
    จะใช้ชีวิตแทบทั้งวันกับการทำงานที่พระทำไม่ได้
    เช่น งานครัว ปลูกผัก ตัดต้นไม้

    นอกจากนี้ ผู้หญิงบางคนก็มักจะตั้งตัวเป็นเจ้าแม่
    คอยวางกฎเกณฑ์บังคับผู้หญิงด้วยกัน
    ให้ต้องทำกิจกรรมอย่างนั้นอย่างนี้ทั้งวันจนไม่มีเวลาปฏิบัติธรรม
    นับเป็นความวุ่นวายภายในวัดที่ซ่อนอยู่ภายใต้ความสงบร่มเย็น
    สรุปแล้ว ผมไม่เคยพบสถานปฏิบัติธรรมที่อยู่กับธรรมชาติ
    ที่เหมาะกับผู้หญิงที่ต้องการปฏิบัติเพื่อถึงความหลุดพ้นเลย
    จนกระทั่งได้พบ อุศมสถาน ซึ่งผู้หญิงท่านหนึ่งก่อตั้งขึ้นมา
    ท่านเองเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ และสอนผู้อื่นให้ทำที่สุดแห่งทุกข์ด้วย

    [​IMG]

    เมื่อ 23 มิถุนายน 2444

    มหาอุบาสิกา กี นานายน
    ได้ถือกำเนิดขึ้นมาในจังหวัดราชบุรี
    และท่านได้บุกเบิกสถานปฏิบัติธรรมเขาสวนหลวง ราชบุรีขึ้น
    ท่านเรียนรู้ธรรมด้วยการเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    โดยไม่ได้มีครูบาอาจารย์ที่สอนท่านให้ปฏิบัติโดยเฉพาะ
    เพียงแต่ได้ศึกษาคำสอนของท่านอาจารย์พุทธทาสบ้างเท่านั้น
    ท่านทิ้งขันธ์เมื่อ 21 พฤศจิกายน 2521

    ลองฟังข้อธรรมของท่านสักบทหนึ่ง แล้วผู้ปฏิบัติจะทราบได้เองว่า
    ท่านกี หรือท่าน ก.เขาสวนหลวง นั้น ควรแก่การเคารพกราบไหว้เพียงใด

    ๏ แนวการปฏิบัติธรรม

    ผู้ปฏิบัติควรศึกษาให้เข้าใจเป็นลำดับไป ดังนี้

    การศึกษาที่เรียนรู้ได้ง่าย ทำได้ทุกเพศ ทุกวัย ทุกกาละ ทุกขณะ
    ได้ผลทันที ไม่ต้องรอรับผลข้างหน้า
    ก็คือศึกษาในโรงเรียน กล่าวคือ ในร่างกายยาววาหนาคืบ มีสัญญาใจครอง
    ในร่างกายนี้ มีสิ่งน่าเรียนรู้ ตั้งแต่ขั้นหยาบจนถึงขั้นละเอียด

    ๏ ขั้นของการศึกษา

    ก. เบื้องต้น ให้รู้ว่า กายนี้ประกอบขึ้นด้วยธาตุต่างๆ
    ส่วนใหญ่ได้แก่ ดิน น้ำ ไฟ ลม
    ส่วนย่อยได้แก่ ส่วนที่จับติดอยู่กับส่วนใหญ่
    เป็นต้นว่า สี กลิ่น ลักษณะ ฯลฯ

    สิ่งเหล่านี้มีลักษณะไม่คงทน (ไม่เที่ยง) เป็นทุกข์ เต็มไปด้วยของปฏิกูล
    พิจารณาให้ลึกก็จะไม่เห็นมีอะไรเป็นแก่นสาร
    มีแต่สภาพธรรมล้วนๆ ไม่มีภาวะที่ควรเรียกว่า “ตัวเราของเรา”
    เมื่อตามเห็นกายอยู่อย่างนี้ชัดเจน
    ก็จะคลายความกอดรัดยึดถือในกาย
    ว่าเป็นตัวตน เป็นเรา เป็นเขา เป็นนั่นเป็นนี่เสียได้

    ข. ขั้นที่สอง ในส่วนของนามธรรม (คือเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)
    กำหนดให้รู้ตามความเป็นจริงว่า
    ล้วนเป็นเอง ในลักษณะเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
    คือเกิดๆ ดับๆ เป็นธรรมดา
    พิจารณาเห็นจริงแล้วจะคลายความยึดถือในนามธรรม
    ว่าเป็นตัวตน เป็นเรา เป็นเขา เป็นนั่น เป็นนี่ เสียได้

    ค. การศึกษาขั้นปฏิบัติ มิได้หมายเพียงการเรียน การฟัง การอ่านเท่านั้น
    ต้องมีการปฏิบัติให้เห็นประจักษ์แจ้งด้วยจิตใจตนเอง ด้วยการ

    1. ปัดเรื่องภายนอกทั้งหมดทิ้งเสียก่อน
    มองย้อนเข้าดูจิตใจตนเอง
    (จนรู้ว่ามีความแจ่มใส หรือมัวหมองวุ่นวายอย่างไร)
    ด้วยความมีสติสัมปชัญญะกำกับ
    รู้กาย รู้จิตใจ อบรมจนจิตทรงตัวเป็นปกติ

    2. เมื่อจิตทรงตัวเป็นปกติได้
    จะเห็นสังขารหรืออารมณ์ทั้งหลาย เกิดดับเป็นธรรมดา
    จิตจะว่างวางเฉย ไม่ยินดียินร้าย
    และเห็นรูปนามเกิดดับเองตามธรรมชาติ

    3. ความรู้ว่าไม่มีตัวตนแจ่มชัดเมื่อใด
    จึงจะพบเข้ากับสิ่งที่มีอยู่ภายใน
    เป็นสิ่งที่พ้นทุกข์ ไม่มีการหมุนเวียนเปลี่ยนแปลง เป็นอมตะ
    ไม่มีความเกิด ความตาย
    สิ่งที่มีความเกิด ย่อมมีความแก่ ความเจ็บ ความตาย เป็นธรรมดา

    4. เมื่อเห็นความจริงชัดใจแล้ว จิตจะว่าง ไม่เกาะเกี่ยวอะไร
    แม้ตัวจิตเองก็ไม่สำคัญว่าเป็นจิต หรือเป็นอะไร
    คือไม่ยึดถือตัวเองว่าเป็นอะไรทั้งหมด
    จึงมีแต่สภาพธรรมล้วนๆ เท่านั้น

    5. เมื่อบุคคลมองเห็น สภาพธรรมล้วนๆ อย่างแจ่มแจ้ง
    ย่อมเบื่อหน่ายในการทนทุกข์ซ้ำๆ ซากๆ
    เมื่อรู้ความจริงฝ่ายโลกและฝ่ายธรรมตลอดแล้ว
    จะเป็นผลประจักษ์เฉพาะหน้าว่า
    สิ่งที่หลุดพ้นจากทุกข์นั้นมีอยู่ อย่างชัดเจน
    โดยไม่ต้องเชื่อตามใคร ไม่ต้องถามใครอีก
    เพราะพระธรรมเป็นปัจจัตตัง คือรู้เฉพาะตนจริงๆ
    ผู้ที่มองเห็นความจริงด้านในแล้ว
    จะยืนยันความจริงอันนี้ได้เสมอ

    (ก. เขาสวนหลวง 17 มีนาคม 2497)

    ๏ แนะนำสถานที่และข้อวัตร

    สถานปฏิบัติธรรมเขาสวนหลวง หรืออุศมสถานแห่งนี้
    อยู่ไม่ไกลจากตัวจังหวัดราชบุรีมากนัก
    การจะเดินทางไปนั้น จะต้องออกจากราชบุรีไปทางเขางู
    (เขางูอยู่ห่างราชบุรีประมาณ 7 กิโลเมตร)

    แต่ถ้าไปจากทางสายธนบุรีปากท่อ ถึงสามแยกเพชรบุรีกับราชบุรี
    ให้เลี้ยวขวาไปทางราชบุรี แล้วจะมีทางแยกเลี้ยวซ้ายไปเขางู ก่อนจะถึงจังหวัดราชบุรี
    ตามเส้นทางสาย ราชบุรี จอมบึง สวนผึ้ง หรือทางหลวงหมายเลข 3087
    เดินทางไปจะมีทางแยกหลายแห่ง ให้ไปทางวัดถ้ำฤาษีเขางู
    ซึ่งมีป้ายบอกอยู่ตลอดเส้นทาง เพราะเป็นวัดสำคัญเก่าแก่มากถึงสมัยทวารวดี

    ถัดไปหน่อยจะพบพระพุทธรูปยืนปูนปั้นติดกับผนังผาริมทาง
    ถึงตรงนี้จะต้องชะลอความเร็ว เพราะใกล้ทางแยกเลี้ยวซ้าย ไปวัดห้วยตะแคง
    ถึงวัดห้วยตะแคงแล้วให้ขับรถผ่ากลางวัดเข้าไปเลย จะทะลุผ่านหน้าโรงเรียน
    ถัดจากนั้นถนนจะแคบๆ ครับ สักครู่จะผ่านทางแยกเข้าหมู่บ้านเขาสวนหลวง
    ให้เราเลยไปก่อน จนถึงอีกสามแยกหนึ่ง
    คราวนี้เลี้ยวขวาราว 10 เมตร จะถึงประตูอุศมสถานซึ่งอยู่ซ้ายมือ

    ภายในอุศมสถาน ร่มรื่นและสงบอย่างยิ่ง
    แม้จะมีผู้หญิงและชีปฏิบัติธรรมเป็นจำนวนมาก
    แต่มองไปทางไหนพบแต่ต้นไม้ เพราะต่างก็หลีกเร้นทำความเพียรกัน
    จะมีกุฏิกรรมฐานเล็ก เรียงรายอยู่ใต้ร่มไม้ใหญ่ร่มรื่นสวยงาม
    ให้เราตรงขึ้นไปจนสุดทาง จะมีลานจอดรถ
    และมีชีผลัดเวรกันคอยดูแลแนะนำผู้เดินทาง

    ถัดจากศาลาที่คอยต้อนรับแขก จะมีทางขึ้นเขาไปกราบสรีระของท่านกี
    บนนั้นจะมีสรีระของท่านวัลย์ น้องสาวท่านกี ซึ่งเป็นเจ้าสำนักต่อจากท่านกี
    และมีสถูปเล็กๆ บรรจุอัฐิของลุงเปลี่ยน รักแซ่ รวม 3 ท่านด้วยกัน
    ผมขึ้นไปถึง ก็ลงกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ต่อทั้ง 3 ท่าน

    ลงจากเขาที่ประดิษฐานท่านผู้อาวุโสแล้ว มีทางแยกขึ้นไปที่ถ้ำใหญ่
    บนถ้ำนั้นกว้างขวางพอสมควร มีพระพุทธรูปปูนปั้นอยู่ 3 องค์
    มีแคร่ไม้สำหรับเข้าไปอาศัยนอนในถ้ำได้
    แต่ถ้ำค่อนข้างทึบ อับ และมีค้างคาวมาก ที่สำคัญมีงูเห่าด้วย
    ถ้าใครจะเข้าไปปฏิบัติ ก็ต้องมีสติรอบคอบหน่อย

    อุศมสถาน เป็นที่สัปปายะ ไม่แพ้วัดป่าทีเดียว
    สงบ สะอาด และร่มรื่นด้วยต้นไม้ มีถ้ำมีเขา มีลิงด้วย
    แต่ทั้งงูและลิงไม่เคยทำร้ายใคร นอกจากลิงจะแย่งสิ่งของบ้างเท่านั้น

    ผู้หญิงท่านใดจะไปภาวนาที่นั่น
    ให้เขียนจดหมายไปเรียนต่อแม่ชีสุมนา เฮงสวัสดิ์
    สำนักปฏิบัติธรรมเขาสวนหลวง ราชบุรี เสียก่อน
    ที่นั่นต้องแต่งกายด้วยเสื้อขาว นุ่งผ้าถุงดำ
    รับประทานอาหารมังสวิรัติ ซึ่งเราจะทำเองก็ได้ จะขอรับประทานจากชีก็ได้
    สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้คือไฟฉาย
    กิจกรรมถ้าไม่ใช่วันพระก็มีเพียงการทำวัตรเช้าเย็นเท่านั้น
    เวลาส่วนใหญ่จะให้ใช้ปฏิบัติเอาเองให้เต็มที่

    อย่างไรก็ตาม เขาสวนหลวงวันนี้ก็เหมือนวัดป่าเกือบทั้งหมด
    คือไม่มีใครสอนปฏิบัติให้แล้ว จะต้องศึกษาและปฏิบัติเอาเอง
    แต่ท่านใดที่เคยศึกษาการดูจิตกับผมไว้แล้ว
    ไม่ต้องกังวลเลยครับ เพราะธรรมนั้นเป็นอันเดียวกันอย่างน่าอัศจรรย์

    ถ้ามีโอกาส ก็ควรไปนั่งดูจิตใจตนเอง ท่ามกลางธรรมชาติอันบริสุทธิ์หมดจด
    เป็นกำไรชีวิตยิ่งกว่าไปทัวร์ต่างประเทศเสียอีก

    ที่มาของเนื้อหา : <!-- m -->Bangkok Map: bangkok interactive map with traffic information<!-- m -->

    หมายเหตุ : แม่ชีสุมนา เฮงสวัสดิ์ ปัจจุบันท่านได้ละสังขารแล้ว
    ดังนั้น สามารถไปกราบเรียน “อุบาสิกาละมัย จุลคำภา” แทนได้ค่ะ


    [​IMG]
    ตึกไสยาสน์ ที่บรรจุร่างของท่าน ก. เขาสวนหลวง (เจ้าสำนักฯ คนแรก)

    [​IMG]
    ตึกอนุสรณ์อุบาสิกาวัลย์ นานายน
    ที่บรรจุร่างของอุบาสิกาวัลย์ นานายน (เจ้าสำนักฯ คนที่สอง)


    [​IMG]
    เจดีย์จาคธรรม ที่บรรจุอัฐิของแม่ชีสุมนา เฮงสวัสดิ์ (เจ้าสำนักฯ คนที่สาม)

    [​IMG]
    อุบาสกเปลี่ยน รักแซ่ (ผู้ร่วมก่อตั้งสำนักฯ)

    [​IMG]
    เจดีย์อุบาสกเปลี่ยน รักแซ่
    ที่บรรจุอัฐิของอุบาสกเปลี่ยน รักแซ่ (ผู้ร่วมก่อตั้งสำนักฯ)



    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    ประวัติและปฏิปทาท่าน ก.เขาสวนหลวง
    http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=26919
    รวมคำสอนของท่าน ก.เขาสวนหลวง
    <!-- m -->
     
  5. Sawiiika

    Sawiiika เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,811
    ค่าพลัง:
    +1,557
    4. สำนักปฏิบัติธรรมแดนมหามงคล
    (เกาะมหามงคล)


    [​IMG]
    อุบาสิกาบงกช สิทธิผล ขณะรับปริญญาศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
    สาขาวิชาพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ในปี 2549
    จากเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) วัดสระเกศฯ



    สำนักปฏิบัติธรรมแดนมหามงคล (เกาะมหามงคล)
    สถาบันพัฒนาจิตบวชใจนานาชาติเพื่อสันติภาพ
    เลขที่ 149 หมู่ 1 บ้านช่องแคบ ก่อนถึงน้ำตกไทรโยคน้อย
    ต.วังกระแจะ อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี 71150
    โทรศัพท์ 081-862-1757


    ประธานและผู้ก่อตั้งสำนักฯ คือ อุบาสิกาบงกช สิทธิผล

    ทางสำนักปฏิบัติธรรมแดนมหามงคล (เกาะมหามงคล) มีการจัดโครงการทางพระพุทธศาสนาหลากหลายโครงการ สำหรับทั้งภาคราชการ ภาคเอกชน โรงเรียน สถาบันการศึกษา และพุทธศาสนิกชนทั่วไป เช่น โครงการคุณธรรมนำชีวิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน, กิจกรรมพัฒนาจิตบวชใจ, อบรมยอดบุญเนกขัมมะจิตตภาวนา, บำเพ็ญสมาธิ เจริญมหาสติ ปฏิบัติธรรม, จัดปลูกลูกชายให้ได้เป็นยอดกตัญญู, กิจกรรมรักชีวิต รักธรรมชาติ ป่าไม้สิ่งแวดล้อม ฯลฯ รวมทั้ง กิจกรรมเกี่ยวเนื่องด้วยวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาและวันสำคัญของชาติ เป็นต้น

    [​IMG]
    [พระมหาเจดีย์ 7 ชั้น]


    สถานที่ของสำนักฯ มีความสัปปายะ สงบเงียบ ร่มรื่น งดงาม อากาศเย็น รอบล้อมด้วยต้นไม้ ป่า และภูเขา เหมาะแก่การปฏิบัติภาวนาเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ ถือได้ว่าเป็นธรรมสถานแห่งการฝึกฝนเรียนรู้ ที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับแม่ชี และผู้ปฏิบัติธรรมที่เป็นผู้หญิง มีอาหารมังสวิรัติให้รับประทานตอนมื้อเที่ยงทุกวัน สถานที่พักแยกชาย-หญิงชัดเจน เจ้าหน้าที่ทุกคนมีมิตรภาพมาก

    สำหรับการเข้าไปกราบไหว้ สักการบูชาพระบรมสารีริกธาตุ ณ พระมหาเจดีย์ 7 ชั้น ที่มีความสูง 80 เมตรนั้น จะต้องเดินขึ้นยอดภูเขา ด้วยการเดินเท้า 1,000 กว่าขั้นบันได ใช้เวลาเดินขึ้น-ลงประมาณ 3 ชั่วโมง และทุกคนที่จะเข้าไปเยี่ยมชมข้างในสำนักฯ จะต้องใส่ชุดขาว หากใครไม่ได้เตรียมตัวมา ด้านหน้าจะมีชุดขาวให้เปลี่ยน

    [​IMG]
    [ศาลาปฏิบัติธรรมเชิงเขา แดนมหามงคล จ.กาญจนบุรี]

    [​IMG]
    [ศาลาที่พักเชิงเขา แดนมหามงคล จ.กาญจนบุรี]


    • การเดินทาง •

    สำนักปฏิบัติธรรมแดนมหามงคล ตั้งอยู่บนพื้นที่ติดริมแม่น้ำแคว อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 40 กิโลเมตร เราสามารถเดินทางโดยขึ้นรถประจำทางหรือรถไฟ ดังนี้

    - รถประจำทาง สาย 8203 จากสถานีขนส่งจังหวัดกาญจนบุรี ลงรถที่บ้านช่องแคบ จากนั้นโดยสารรถมอเตอร์ไซค์ต่อไปยังแดนมหามงคล รวมระยะทางประมาณ 55 กิโลเมตร

    - รถไฟ จากสถานีรถไฟธนบุรี (บางกอกน้อย) เที่ยว 07.45 น. หรือ 13.50 น. ลงรถที่สถานีบ้านช่องแคบ (สถานีเกาะมหามงคล) ซึ่งอยู่ตรงกันข้ามกับแดนมหามงคล คือลงก่อนถึงสถานีน้ำตกไทรโยคน้อย ค่ารถไฟประมาณ 37 บาท

    [​IMG]

    • อุบาสิกาบงกช สิทธิผล •

    อุบาสิกาบงกช สิทธิผล สละทางโลกตั้งแต่อายุ 29 ปี ปัจจุบันอายุ 55 ปี (เมื่อปี พ.ศ. 2552)
    แต่จะเชื่อไหมว่าหน้าตาท่านเหมือนคนอายุ 30 ปลายๆ เท่านั้น

    • ผลงานและเกียรติคุณดีเด่น •

    1. ท่านได้สอนวิปัสสนากรรมฐานไม่ให้ยึดวัตถุเป็นตัวตั้ง มีลูกศิษย์ทั้งคนไทยและต่างชาติจำนวนมาก โดยใช้สถานที่ปฏิบัติธรรมแดนมหามงคลเป็นศูนย์กลาง ทั้งนี้ ที่ผ่านมาอุบาสิกาบงกช ได้สร้างผลงานจนเป็นที่รู้จักกันในนานาประเทศ โดยเคยรับเชิญไปแสดงปาฐกถาพิเศษเรื่องเกี่ยวกับสันติภาพโลก ที่ยูเนสโก กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อปี 2548

    [​IMG]

    2. ได้รับปริญญาศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ในปี 2549 เพราะเป็นผู้มีความรู้ความสามารถกอปรด้วยคุณงามความดี ได้บำเพ็ญคุณูปการแก่การศึกษา พระพุทธศาสนา สังคม และประเทศชาติ เป็นอเนกประการ ควรแก่การยกย่องประกาศเกียรติคุณ ดังนี้

    ด้านพุทธศาสนา ได้ตั้งสถาบันเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา ชื่อสถาบันพัฒนาจิตบวชใจนานาชาติเพื่อสันติภาพ ณ แดนมหามงคล บ้านช่องแคบ ตำบลวังกระแจะ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี และแดนมหามงคลชัยสันติภาพโลก ณ เมืองสาวัตถี รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย ตั้งโครงการสมทบทุนสร้าง บูรณปฏิสังขรณ์ วัด สำนักปฏิบัติธรรม มหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้ง 2 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย รวมทั้ง มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งโลก และพระพุทธศาสนานานาชาติ

    ด้านบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ สนับสนุนอุปถัมภ์สถานีอนามัย โรงพยาบาลทุกแห่งในจังหวัดกาญจนบุรี และอีกหลายแห่งในจังหวัดสระแก้ว จังหวัดปราจีนบุรี สมทบทุนกับโรงพยาบาลต่างๆ เช่น ร.พ.ศิริราช ร.พ.จุฬาลงกรณ์ ร.พ.ศรีธัญญา ร.พ.อำเภอไทรโยค และ ร.พ.พหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี

    [​IMG]

    งานด้านสังคม มอบสถานที่สถาบันพัฒนาจิตบวชใจนานาชาติ สำหรับฝึกอบรม ประชาชน ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ โรงเรียน มหาวิทยาลัย และผู้สนใจทุกชาติ ทุกภาษา ทุกศาสนา

    เกียรติคุณพิเศษ รับรางวัลสตรีดีเด่นในพระพุทธศาสนาแห่งโลก จากองค์การสหประชาชาติ รับไตรปิฏกดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ประเทศอินเดีย รับรางวัล “ดร. อัมเบดการ์นานาชาติเพื่อสันติภาพ” รับเกียรติคุณสูงสุดในพระพุทธศาสนาฝ่ายสตรี “อัครมหาศิริสุธรรมาสินกิ” สหภาพเมียนมาร์ รับเกียรติคุณมหาอุบาสิกาผู้ทรงเกียรติคุณสูงสุดในพุทธจักรจากประเทศศรีลังกา และรับมหาอิสริยยศเหรียญทองเกียรตินิยมสูงสุดจากประเทศกัมพูชา

    3. เนื่องในโอกาสวันวิสาขบูชา ซึ่งปี 2549 เป็นปีที่ครบ 2550 ปีแห่งอายุพระพุทธศาสนา คณะสงฆ์ประเทศศรีลังกา ได้มีมติเป็นเอกฉันท์มอบรางวัล “วิศวะกีรติศรีศาสนภิมณีมโหบาสิกา” The Most Eminent Mahopashika of the Buddhist World หรือรางวัล “มหาอุบาสิกาผู้ทรงเกียรติคุณงามเด่นสูงสุดในพุทธจักร” แก่มหาอุบาสิกา ดร.บงกช สิทธิพล จากประเทศไทย โดยประธานาธิบดี มหินทะ ราชปักษา แห่งศรีลังกา เป็นผู้มอบ

    [​IMG]

    โดยคณะสงฆ์ประเทศศรีลังกาเห็นว่า มหาอุบาสิกา ดร.บงกช ได้ปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด มีความวิริยะอุตสาหะในการอุทิศเสียสละเพื่อพระพุทธศาสนาด้วยศรัทธาอย่างแรงกล้ามาโดยตลอด พร้อมทั้งได้ก่อตั้งสำนักปฏิบัติธรรม “แดนมหามงคล” ที่ จ.กาญจนบุรี ประเทศไทย และ “แดนมหามงคลชัยสันติภาพโลก” ณ เมืองสาวัตถี รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย เพื่อเผยแผ่พุทธธรรมคำสั่งสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ทั้งนี้ มหาอุบาสิกา ดร.บงกช ยังได้เดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายังประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ลาว พม่า กัมพูชา สิงคโปร์ มาเลเซีย เป็นต้น โดยตลอด ซึ่งคุณงามความดีของมหาอุบาสิกา ดร.บงกช เป็นที่ประจักษ์แก่ผู้คนในหลายประเทศ จึงทำให้รัฐบาลและคณะสงฆ์ประเทศศรีลังกา ประกาศเกียรติคุณดังกล่าว

    [​IMG]

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    แผนที่สำนักปฏิบัติธรรมแดนมหามงคล จ.กาญจนบุรี
    <!-- m -->::
     
  6. Sawiiika

    Sawiiika เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,811
    ค่าพลัง:
    +1,557
    5. สำนักปฏิบัติธรรมแม่ชีอมรีรักษ์

    [​IMG]

    สำนักปฏิบัติธรรมแม่ชีอมรีรักษ์ ปัจจุบันมีทั้งหมด 9 สาขา ดังนี้

    1. สำนักปฏิบัติธรรมแม่ชีอมรีรักษ์ ดอยสะเก็ด 1
    ถ.เชียงใหม่-เชียงราย ต.เชิงดอย
    อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ 50220
    โทรศัพท์ 053-495-823


    2. สำนักปฏิบัติธรรมแม่ชีอมรีรักษ์ ดอยสะเก็ด 2
    ถ.เชียงใหม่-เชียงราย ต.เชิงดอย
    อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ 50220
    โทรศัพท์ 081-993-9933


    • การเดินทาง •

    สำนักฯ ทั้ง 2 แห่งตั้งอยู่ไม่ห่างไกลกันนัก หากเดินทางจากตัวเมืองเชียงใหม่ ไปอำเภอดอยสะเก็ด ประมาณ 15 กิโลเมตร เป็นเส้นทางที่ใช้เดินทางไป จ.เชียงราย โดยสารรถประจำทางได้โดยขึ้นรถที่ตลาดวโรรส

    3. สำนักปฏิบัติธรรมแม่ชีอมรีรักษ์ ลำพูน
    ถนนลำพูน-ริมปิง บ้านฮ่องแล้ง
    ต.ริมปิง อ.เมือง จ.ลำพูน 51000
    โทรศัพท์ 053-500-507


    • การเดินทาง •

    ระยะทางจากศาลากลางในตัวเมือง ถึงสำนักฯ ประมาณ 6 กกโลเมตร ให้เดินทางตามเส้นทางถนนลำพูน-ริมปิง ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงสถานีอนามัยริมปิง แล้วเดินทางต่อไปอีก หลังจากนั้นจะสังเกตเห็นป้ายของสำนักฯ โดยสำนักฯ ตั้งอยู่ใกล้ๆ คลองริมปิง

    4. สำนักปฏิบัติธรรมแม่ชีอมรีรักษ์ ไตรนุสรณ์
    เลขที่ 175 บ้านเหล่าใหญ่ ต.วัฒนา
    อ.ส่องดาว จ.สกลนคร 47190
    โทรศัพท์ 042-786-205


    5. สำนักปฏิบัติธรรมแม่ชีอมรีรักษ์ สกลนคร
    บ้านเหล่าใหญ่ ต.วัฒนา
    อ.ส่องดาว จ.สกลนคร 47190
    โทรศัพท์ 042-786-200


    • การเดินทาง •

    สำนักฯ ทั้ง 2 แห่งตั้งอยู่ไม่ห่างไกลกันนัก ห่างกันประมาณ 1 กิโลเมตรเศษ ถ้าเดินทางจาก อ.สว่างแดนดิน ซอยธนาคารกรุงเทพ สาขาสว่างแดนดิน ประมาณ 14 กิโลเมตร ก็จะเห็นป้อมตำรวจ และเห็นป้ายของสำนักฯ

    6. สำนักปฏิบัติธรรมแม่ชีอมรีรักษ์ พนัสนิคม
    บ้านเนินหิน ถ.สัตหีบ-ระยอง ทางหลวงสาย 331
    ต.หนองเหียง อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี 20140
    โทรศัพท์ 08-9705-0318, 08-6128-4907


    • การเดินทาง •

    สำนักฯ จะอยู่ทางไปบ้านเนินหิน ต.หนองเหียง อ.พนัสนิคม แยกซ้ายทางถนนทางหลวงสาย 331 เข้ามาประมาณ 1 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายจะมีป้ายบอกทางไปจนถึงสำนักฯ

    7. สำนักปฏิบัติธรรมแม่ชีอมรีรักษ์ ทุ่งโพธิ์
    ต.ทุ่งโพธิ์ อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี 25220
    โทรศัพท์ 081-736-3141


    • การเดินทาง •

    เดินทางจากถนนมอเตอร์เวย์ ถนนทางหลวงสาย 331 ต่อไปเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงถนนทางหลวงสาย 304 เดินทางอีกประมาณ 3 กิโลเมตร ก็จะถึงตลาดทุ่งโพธิ์ อยู่ใกล้ๆ บ้านสระแท่น อ.นาดี โดยจะสังเกตเห็นต้นยางขนาดใหญ่อยู่กลางถนน และเห็นป้ายของสำนักฯ หรือจะขึ้นรถตู้ที่โรงพยาบาลราชวิถี สายกกรุงเทพฯ-ปักธงชัย (ค่ารถประมาณ 160 บาท) แล้วขอลงตรงตู้ยามตำรวจทุ่งโพธิ์ หลังจากนั้นโทรศัพท์ไปที่สำนักฯ เพื่อให้มารับก็ได้ ซึ่งระยะทางจากตู้ยามตำรวจทุ่งโพธิ์ ถึงสำนักฯ ประมาณ 4 กิโลเมตร

    8. สำนักปฏิบัติธรรมแม่ชีอมรีรักษ์ สุรินทร์ภักดี
    ถนนสุริยราช ต.ในเมือง
    อ.เมือง จ.สุรินทร์ 32000
    โทรศัพท์ 044-520-229


    • การเดินทาง •

    สำนักฯ ตั้งอยู่ตรงข้ามโรงเรียนเทศบาล 1 ถนนสุริยราช ซอยศาลากลาง ต.ในเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์ และอยู่ใกล้ร้านก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นปลาโคราช แถวบ้านจรัญญานนท์ ซึ่งตั้งอยู่ห่างจาก “วัดบูรพาราม” ของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ประมาณ 800-900 เมตร

    9. สำนักปฏิบัติธรรมแม่ชีอมรีรักษ์ สุราษฎร์ธานี
    หมู่ 3 บ้านท่าสะท้อน ต.ท่าสะท้อน
    อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี 84130
    โทรศัพท์ 077-320-162


    • การเดินทาง •

    เดินทางจากโรงงาน ASIA FOOD ทางซ้ายมือ ตาม ถ.พัทลุง-หาดใหญ่ ไปทางบ้านบ่อตรัง ต.ท่าสะท้อน ประมาณ 2 กิโลเมตร สำนักฯ ตั้งอยู่ห่างจาก “วัดท่าสะท้อน” ต.ท่าสะท้อน อ.พุนพิน ประมาณ 500 เมตร

    [​IMG]

    เจ้าสำนักฯ และผู้ดูแล คือ แม่ชีอมรี ศรีดารักษ์

    แม่ชีอมรีท่านเป็นลูกศิษย์พระธรรมมังคลาจารย์ (หลวงพ่อทอง สิริมงฺคโล)
    แห่งวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร ต.บ้านหลวง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่


    ผู้เข้าปฏิบัติ : รับผู้เข้าปฏิบัติทุกเพศทุกวัย
    โดยเปิดให้บริการทุกวัน

    แนวปฏิบัติ : เป็นแบบ “พองหนอ ยุบหนอ”

    การปฏิบัติ : สำหรับผู้เข้าปฏิบัติใหม่จะมีครูสอนการปฏิบัติให้
    และมีพระวิปัสสนาจารย์-แม่ครูสำหรับสอบอารมณ์

    เงื่อนไข :

    1. ผู้เข้าปฏิบัติต้องมีผู้รับรองมาแสดงตัวด้วยในวันที่ลงทะเบียนเข้าปฏิบัติ
    2. นำสำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประชาชนของทั้งผู้ปฏิบัติและผู้รับรองมายื่นในวันลงทะเบียน
    3. นุ่งขาวห่มขาวพร้อมสไบ (หากไม่มีทางสำนักมีบริการให้ยืม)
    4. ที่นอน หมอน ผ้าห่ม ทางสำนักมีบริการให้ยืม (หรือจะนำมาเองก็ได้)

    กิจวัตรประจำวัน :

    03.00 น. ทำวัตรเช้า
    06.30 น. รับประทานอาหารเช้า (ฟังเสียงระฆัง)
    07.30 น. ปฏิบัติรวมในศาลา (รอบ 1)
    10.45 น. รวมในวิหาร สวดมนต์และรับประทานอาหารกลางวัน
    12.45 น. ปฏิบัติธรรม (รอบ 2)
    16.00 น. ทำวัตรเย็น
    18.30 น. รับน้ำปานะที่โรงครัวของสำนักฯ
    19.45 น. ปฏิบัติธรรม (รอบ 3)
    22.00 น. พักผ่อน

    หมายเหตุ : วันโกนฟังเทศน์ วันพระเวียนเทียนที่พระวิหารตอนกลางคืน
    (กิจวัตรทุกอย่างให้ฟังเสียงระฆัง)

    *** สำหรับผู้จะเข้าไปปฏิบัติธรรมที่สำนักฯ นี้ ขอเน้นสำหรับผู้มีความตั้งใจจริงที่จะปฏิบัติ ถ้าเป็นไปได้ควรจะอยู่ปฏิบัติให้ได้ประมาณ 7 วันขึ้นไป (เพื่อประโยชน์สำหรับผู้ปฏิบัติเอง) แต่อย่างไรก็ตาม ทางสำนักก็ไม่ได้มีข้อกำหนดไว้ แล้วแต่ทางผู้ปฏิบัติจะจัดสรรเวลามาปฏิบัติได้
     
  7. Sawiiika

    Sawiiika เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,811
    ค่าพลัง:
    +1,557
    6. วัดพิชยญาติการาม (วัดพิชัยญาติ)

    [​IMG]
    พระพรหมโมลี (สมศักดิ์ อุปสโม) เจ้าอาวาส


    วัดพิชยญาติการาม (วัดพิชัยญาติ)
    เลขที่ 685 ถ.ประชาธิปก แขวงสมเด็จเจ้าพระยา
    เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร 10600
    โทรศัพท์ 02-861-4319, 02-861-4530
    02-438-4442, 02-861-5425


    พระพรหมโมลี (สมศักดิ์ อุปสโม)
    เจ้าอาวาสวัดพิชยญาติการาม และเจ้าคณะภาค 1


    แม่ชีทศพร เทวาพิทักษ์ธรรม ผู้นำพาปฏิบัติธรรมและรับเปิดกรรม


    • ระเบียบการปฏิบัติธรรมและสนทนาธรรม •
    โดย แม่ชีทศพร เทวาพิทักษ์ธรรม ณ วัดพิชยญาติการาม


    1. จะต้องมาบวชพราหมณ์ นุ่งขาวห่มขาว ที่วัด (บวชเช้าวันเสาร์-สึกลาวันอาทิตย์)
    2. กรอบใบสมัครและรับหมายเลขที่ทางวัดจัดเตรียมไว้ให้ ในเช้าวันเสาร์ไม่เกินเวลา 06.30 น.
    3. รับชุดขาวพร้อมหนังสือสวดมนต์ได้ที่โต๊ะลงทะเบียน (สำหรับเครื่องนอนจะแจกหลังทำวัตรเย็น)
    4. ของใช้ส่วนตัว กรุณาจัดเตรียมมาเอง
    5. ห้ามส่งเสียงดัง และกรุณาปิดโทรศัพท์มือถือ ในขณะสวดมนต์ และในขณะที่แม่ชีสอนธรรมะ
    6. รับประทานอาหารได้ที่โรงทาน ตั้งแต่เช้า-เที่ยงวัน
    7. กรุณาช่วยกันรักษาความสะอาด ห้องน้ำ-ห้องนอน-โรงทาน-อุโบสถ และบนพระปรางค์
    (ห้ามนำอาหารไปทานโดยเด็ดขาด)
    8. สึกในวันอาทิตย์ ก่อนสึกกรุณาช่วยทำความสะอาดห้องน้ำ-ห้องนอน
    และบริเวณวัด เพื่อเป็นบุญกุศลแก่ตัวท่านเอง
    9. ชุดขาว เครื่องนอน และหนังสือสวดมนต์ คืนได้ที่โต๊ะลงทะเบียน
    10. วันโกน-วันพระ แม่ชีทศพรไม่รับเปิดกรรม

    สำนักงานวัดพิชยญาติการาม วรวิหาร
    โทรศัพท์ 02-861-4530, 02-861-5425, 02-861-4319, 02-438-4442,
    02-861-4533, 02-5176377, 02-9188916, 081-622-7499
    สายรถเมลที่ผ่าน สาย 56, 542, 57

    • กำหนดการและตารางการปฏิบัติธรรม •
    ประจำวันเสาร์-วันอาทิตย์ ณ วัดพิชยญาติการาม


    วันเสาร์
    เวลา 06.00 - 08.00 น. - ลงทะเบียน รับชุดขาว รับประทานอาหารเช้า
    เวลา 08.00 น. - พร้อมกัน ณ ศาลาปฏิบัติธรรม ทำวัตรเช้าโดยพร้อมเพรียงกัน
    โดย : พระวิสุทธิธีรพงค์ หรือผู้ที่เจ้าอาวาสมอบหมาย
    เวลา 08.45 น. - พิธีบวชเนกขัมมบารมี สมาทานศีล 8
    เวลา 09.30 - 11.00 น. - สมาทานกรรมฐาน-ปฏิบัติกรรมฐาน
    เวลา 11.00 - 13.00 น. - พักรับประทานอาหาร (ที่โรงทาน) พักผ่อนตามอัธยาศัย
    เวลา 13.00 - 16.00 น. - บรรยายธรรม ถาม-ตอบปัญหา-กฎแห่งกรรม
    โดย : แม่ชีทศพร เทวาพิทักษ์ธรรม
    เวลา 16.00 - 17.00 น. - พักดื่มน้ำปานะ พักผ่อนตามอัธยาศัย
    เวลา 17.00 - 21.00 น. - ทำวัตรเย็น-ปฏิบัติกรรมฐาน โดย : ผู้ที่เจ้าอาวาสมอบหมาย
    เวลา 21.00 น. - พักผ่อน

    วันอาทิตย์
    เวลา 04.00 น. - สัญญาณระฆัง
    เวลา 05.00 - 07.00 น. - ทำวัตรเช้า-ปฏิบัติกรรมฐาน โดย : ผู้ที่เจ้าอาวาสมอบหมาย
    เวลา 07.00 - 08.00 น. - รับประทานอาหารเช้า (ที่โรงทาน)
    เวลา 08.00 - 09.00 น. - ฟังโอวาทเทศนา (หลวงพ่อเจ้าอาวาส)
    เวลา 09.00 - 10.00 น. - ร่วมพิธีถวายสังฆทาน โดย : แม่ชีทศพร เทวาพิทักษ์ธรรม
    เวลา 11.00 - 12.30 น. - พักรับประทานอาหาร (ที่โรงทาน)
    เวลา 13.00 - 16.00 น. - บรรยายธรรม ถาม-ตอบปัญหา กฎแห่งกรรม
    โดย : แม่ชีทศพร เทวาพิทักษ์ธรรม

    หมายเหตุ : กำหนดการนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

    วัดพิชยญาติการาม (วงเวียนเล็ก) อยู่ใกล้สะพานพุทธฯ, สะพานปกเกล้าฯ, ตรงข้ามกับโรงเรียนศึกษานารี ถ้ามาจากฝั่งพระนคร ข้ามสะพานทั้งสอง พอลงสะพาน สังเกตวัดจะอยู่ด้านซ้ายมือ มีเจดีย์เป็นยอดพระปรางค์สีขาว นั่นแหละวัดพิชยญาติการาม ถ้ามาจากวงเวียนใหญ่ วัดจะอยู่ด้านขวามือ ก่อนขึ้นสะพานพุทธฯ, สะพานปกเกล้าฯ ก็จะเห็นวัด ที่จริงคลองสาน หรือมาทางศิริราช ถนนอรุณอัมรินทร์ ก็ได้

    ได้ข่าวว่าที่วัดจะรับสมัครอบรมกรรมฐาน ในวันเสาร์อาทิตย์ (วันไม่ทราบ) ก็ดูกรรมก็จะมีกฎเกณฑ์คือ แม่ชีจะทำการเสี่ยงทาย โดยการหยิบหางเลขของผู้อบรม เพราะผู้ที่เข้าอบรมจะได้รับหมายเลข แม่ชีหยิบหมายเลขของผู้ใดก็จะให้แก่คนนั้น อาทิตย์หนึ่งก็ไม่ดูกี่คนเท่านั้น ส่วนคนที่พลาดโอกาสก็ต้องมีใหม่อาทิตย์หน้าและอาทิตย์ต่อๆๆ ไป จะไม่มีการดูให้กับคนที่ไปนอกเวลาอบรม คือต้องไปสมัครอบรมกรรมฐานเท่านั้นจะมีสิทธิ์ได้ดู (ได้ยินมา จริงเท็จอย่างไรก็ขอให้เสี่ยงดูนะ)

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    แผนที่วัดพิชยญาติการาม (วัดพิชัยญาติ)
    <!-- m -->::
     
  8. Sawiiika

    Sawiiika เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,811
    ค่าพลัง:
    +1,557
    7. สถาบันแม่ชีไทย สาขาอำเภอปากท่อ

    [​IMG]
    คุณแม่ชีประทิน ขวัญอ่อน


    สถาบันแม่ชีไทย สาขาอำเภอปากท่อ
    หมู่ 2 ถ.ท้าวอู่ทอง ต.ปากท่อ
    อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี 70140
    โทรศัพท์ 032-281-058, 089-744-8665
    โทรสาร 032-358-364


    สถาบันแม่ชีไทย กรุงเทพฯ
    โทรศัพท์ 02-282-2711, 02-282-8303


    หัวหน้าสำนักฯ คือ คุณแม่ชีประทิน ขวัญอ่อน

    สถาบันแม่ชีไทย สาขาอำเภอปากท่อ
    เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมเฉพาะแม่ชีและสุภาพสตรีทั่วไป

    เป็นสาขาที่ 5 ในจำนวนทั้งหมด 26 สาขา ของสถาบันแม่ชีไทย

    [​IMG]

    [​IMG]

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    แม่ชีประทิน แม่ทางธรรมแห่ง “ธรรมจาริณี”
    แสดงกระทู้ - แม่ชีประทิน แม่ทางธรรมแห่ง “ธรรมจาริณี” &bull; ลานธรรมจักร

    เว็บไซต์สถาบันแม่ชีไทย
    <!-- m -->http://www.buddhistgirls.org/th/home.html<!-- m -->

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
     
  9. Sawiiika

    Sawiiika เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,811
    ค่าพลัง:
    +1,557
    8. สำนักปฏิบัติธรรมแม่ชี วัดย่านขาด

    [​IMG]

    สำนักปฏิบัติธรรมแม่ชี วัดย่านขาด
    หมู่ 9 บ้านย่านขาด ต.พรหมพิราม
    อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก 65150
    โทรศัพท์ 054-865055


    เบอร์โทร คุณแม่ (แม่ชีอำพัน) 08-721-28701
    เบอร์โทร แม่ชีปุ๊ก 08-974-10497


    เจ้าสำนักฯ คือ แม่ชีอำพัน เนตรวงษ์

    หากท่านใดสนใจในเรื่องของ การออกกรรม ดิฉันขอแนะนำที่นี่ค่ะ เพราะที่นี่มีจุดเด่นในเรื่องของการออกกรรม และเงียบสงบ มีกุฎิให้พักเป็นหลังๆ แม่ชีอำพัน เนตรวงษ์ เป็นผู้ดูแลสำนักฯ ชาวบ้านแถวนั้นให้ความเคารพนับถือกันดี ทราบมาว่าแม่ชีใหญ่เป็นลูกศิษย์ของ หลวงพ่อคง จตฺตมโล แห่งวัดเขาสมโภชน์ อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี และ แม่จันดี โลหิตดี น้องสาวของหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

    หมายเหตุ : โทรศัพท์จะอยู่ในศาลาที่รับประทานอาหาร หากบางช่วงโทรไปไม่มีคนรับ ให้โทรช่วงรับประทานอาหาร ประมาณ 07.00-8.00 น. หรือ 11.00-12.00 น. จะมีคนรับแน่นอน

    [​IMG]

    • การเดินทาง (ทางรถยนต์) •

    - จากกรุงเทพฯ
    ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) ถึงวังน้อยแล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 32 (สายเอเซีย) ผ่านพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท เข้านครสวรรค์ แล้วใช้เส้นทางสาย 117 ตรงสู่พิษณุโลก รวมระยะทาง 337 กิโลเมตร เป็นเส้นทางที่สะดวกที่สุด

    - จากสิงห์บุรี
    ใช้เส้นทางสายอินทร์บุรี-ตากฟ้า (ทางหลวงหมายเลข 11) จนถึงทางหลวงหมายเลข 12 (พิษณุโลก-หล่มสัก) ที่เขตอำเภอวังทอง เลี้ยวซ้ายไปอีก 17 กิโลเมตร เข้าสู่พิษณุโลกรวมระยะทางประมาณ 450 กิโลเมตร

    เมื่อถึงพิษณุโลก ให้เดินทางต่อไปทางสุโขทัย โดยใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 12 จะสะดวกกว่า ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 37-38 จะมีทางแยกเข้าเขื่อนนเรศวร อยู่ด้านขวา ให้เลี้ยวขวาที่แยกนี้ ไปตามทางหลวงหมายเลข 1325 (ไป อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ ได้) ถนนสายนี้จะเลียบคลองชลประทาน ซึ่งอยู่ทางด้านขวาไปตลอดทาง วิ่งไปตามทางอีก 13 กิโลเมตร จะเลยทางเข้าเขื่อนนเรศวรและ อบต.พรหมพิราม ไป เมื่อเลยหลักกิโลเมตรที่ 13 จะเจอสะพานข้ามคลองชลประทานด้านขวา

    จุดสังเกตตรงนี้คือ ด้านซ้ายจะมีป้ายบอก “สำนักปฏิบัติธรรมแม่ชี วัดย่านขาด” ให้เลี้ยวขวา และมีศาลารอรถประจำทาง กับป้ายบ้านคลองตาล ซึ่งเป็นป้ายขนาดใหญ่อยู่ด้านซ้าย

    ให้เลี้ยวขวา ข้ามสะพานไปตามทางเข้าหมู่บ้าน เจอสี่แยกเล็กๆ ให้เลี้ยวซ้าย ไปอีกนิดจะเจอวัดย่านขาดอยู่ขวามือ แต่ให้เลยทางเข้าวัดไป ถัดจากวัดจะพบทางเข้าสำนักปฏิบัติธรรมแม่ชีฯ ระยะทางจากสะพานข้ามคลองถึงสำนักฯ ประมาณ 2 กิโลเมตร

    - จากจังหวัดตาก
    ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 12 ผ่านสุโขทัยก่อนเข้าพิษณุโลก ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 37-38 พบทางแยกเข้าเขื่อนอยู่ด้านซ้าย ระยะทางถึงจุดนี้ประมาณ 118 กิโลเมตร แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 1325 ต่อไป

    [​IMG]

    • การเดินทาง (ทางรถโดยสารประจำทาง) •

    บริษัท ขนส่ง จำกัด จัดบริการรถโดยสารธรรมดา และปรับอากาศทุกวัน ตั้งแต่เวลา 07.00-22.30 น. รายละเอียดติดต่อที่ โทร. 02-272-5228, 02-2725254 (ธรรมดา) โทร. 02-272-5299, 02-272-5253 (ปรับอากาศ) และที่สถานีขนส่งพิษณุโลก โทร. (055) 242-430

    บริษัททัวร์ที่บริการรถประจำทางไป-กลับ ระหว่างกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ได้แก่ พิษณุโลกยานยนต์ทัวร์ มีรถปรับอากาศบริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00-16.00 น. รายละเอียดติดต่อ โทร. 02-272-5304 สำนักงานพิษณุโลก (055) 258-647, (055) 258-941, ถาวรฟาร์ม มีรถบริการตั้งแต่เวลา 11.00-17.00 น. รายละเอียดติดต่อ โทร. 02-272-0277 สำนักงานพิษณุโลก โทร. (055) 258-526, 241-044, วินทัวร์ มีรถออกบริการทุกชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 09.00-22.30 น. รายละเอียดติดต่อ โทร. 02-272-5262 สำนักงานพิษณุโลก โทร. (055) 243-222, (055) 258-010

    เมื่อถึงพิษณุโลก ให้ต่อรถพิษณุโลก-อุตรดิตถ์ ไปลงที่ อ.พรหมพิราม แล้วจ้างรถสามล้อเครื่อง (รถรับจ้าง) ให้ไปส่งที่สำนักได้ บอกว่าไปวัดย่านขาด บ้านย่านขาด ค่าโดยสารสามล้อประมาณ 80 บาท (หรือโทรแจ้งที่สำนักฯ ให้ส่งรถมารับก็ได้ค่ะ เพราะเผื่อบางทีมีผู้ปฏิบัติธรรมที่มีรถมาด้วย ทางแม่ชีก็จะวานให้มารับได้ค่ะ)

    [​IMG]

    • การเดินทาง (ทางรถไฟ) •

    ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย จัดบริการรถด่วนพิเศษ (สปรินท์เตอร์) รถเร็ว และรถธรรมดา จากกรุงเทพฯ ไปพิษณุโลกทุกวัน รายละเอียดสอบถามได้ที่ หน่วยบริการเดินทาง โทร. 02 223-7010, 02 223-7020 และที่สถานีรถไฟพิษณุโลก โทร. (055) 258-005

    แต่ถ้ามารถไฟ ให้เลือกรถไฟที่ผ่านสถานีพรหมพิราม ซึ่งจะเลยสถานีพิษณุโลก

    หากเดินทางมาเอง...ไม่มีรถส่วนตัว ขอแนะนำว่าเดินทางโดยรถไฟจะสะดวกที่สุดค่ะ เพราะสามารถมาลงที่ อ.พรหมพิราม ได้เลย โดยไม่ต้องต่อรถหลายต่อ...

    เมื่อถึงพรหมพิรามแล้ว ก็เหมารถรับจ้างสามล้อให้ไปส่ง หรือลองโทรแจ้งทางสำนักฯ ให้ส่งรถมารับก็ได้ค่ะ

    [​IMG]
    แม่ชีอำพัน เนตรวงศ์


    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    สำนักปฏิบัติธรรมแม่ชี วัดย่านขาด
    <!-- m -->สำนักปฏิบัติธรรม แม่ชี วัดย่านขาด จ.พิษณุโลก<!-- m -->

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
     
  10. Sawiiika

    Sawiiika เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,811
    ค่าพลัง:
    +1,557
    9. สำนักปฏิบัติธรรมพุทธสาวิกา

    [​IMG]

    สำนักปฏิบัติธรรมพุทธสาวิกา (วัดป่าธรรมชาติ)
    เลขที่ 104/2 หมู่ 3 ต.คลองกิ่ว
    อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี 20220
    โทรศัพท์ 08-1982-8937, 08-9008-9848


    เจ้าสำนักฯ คือ คุณแม่ชีนลินรัตน์ สุทธิธรรมวิชญ์ (แม่ชีแก้ว)

    สำนักปฏิบัติธรรมพุทธสาวิกา (วัดป่าธรรมชาติ) เป็นสาขาของสถาบันแม่ชีไทย
    บ้านวัดสุวรรณ ถนนศาลายา-นครชัยศรี ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม
    ซึ่งเป็นธรรมสถานที่เหมาะแก่ “สุภาพสตรี” นักปฏิบัติ-นักภาวนา เป็นอย่างยิ่ง

    สำนักปฏิบัติธรรมพุทธสาวิกา มีเนื้อที่ 29 ไร่ อยู่ระหว่างเทือกเขา 2 เทือก ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 104/2 หมู่ 3 ตำบลคลองกิ่ว อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี มีกุฎิรับรองผู้ต้องการปฏิบัติธรรม 19 หลัง มีอาคาร จำนวน 2 หลัง จำนวน 30 ห้อง มีห้องน้ำในอาคารทั้งหมด และมีห้องน้ำภายนอกอาคารไว้บริการอีก 51 ห้อง สำหรับผู้ที่ใช้เต้นท์หรือกรด มีสระใหญ่ซึ่งทำทางจงกรมไว้ด้านหลัง มีศาลาปฎิบัติธรรมซึ่งสามารถบรรจุคนได้ถึง 1,000 คน มีห้องอาหารไว้บริการสำหรับผู้มาปฏิบัติธรรม นอกจากนี้ยังมีกุฏิกรรมฐานซึ่งอยู่บนเชิงเขาอีก 12 หลัง

    • ระเบียบปฏิบัติ •

    1. ทางสำนักจะใช้เสียงระฆังแห่งสติในการร่วมกิจกรรมปฏิบัติธรรมอย่างตรงต่อเวลาทุกกิจกรรม

    2. มีความสำรวมกาย วาจา ใจ ในการปฏิบัติจิตตภาวนา งดการติดต่อกับบุคคลภายนอก และการใช้เครื่องมือสื่อสาร งดการสนทนาในเรื่องที่ไม่ใคร่ครวญในธรรม

    3. มีความตั้งมั่นในการภาวนากำหนดตามลมหายใจทุกขณะ มีสติอยู่ทุกกริยาบท โดยฝึกทำงานและทำกิจวัตรทุกอย่างให้เป็นฐานของการภาวนา ผู้ปฏิบัติมีส่วนร่วมในการทำสถานปฏิบัติธรรมให้เกิดความสะอาด สว่าง สงบ

    4. โปรดเอื้อเฟื้อเกื้อกูลต่อเพื่อนร่วมห้องพัก งดการคลุกคลี พูดคุยกันเป็นกลุ่ม และงดการเพ่งโทษ เพราะจะทำให้เป็นเครื่องกั้นและเศร้าหมองในการปฏิบัติธรรม

    5. เมื่อมีข้อสงสัยในการปฏิบัติธรรมให้สอบถามกับคุณแม่แก้วหรือคณะแม่ชีเท่านั้น ไม่สอบถามกันเองกับผู้มาปฏิบัติธรรม

    6. โปรดช่วยกันประหยัดน้ำและประหยัดไฟ ร่วมกันดูแลทำความสะอาดห้องพักและห้องน้ำ ในวันกลับควรให้สะอาดกว่าวันเข้าพัก ช่วยกันเก็บอุปกรณ์เครื่องนอนเข้าที่ให้เรียบร้อย และถอดปลอกหมอนคืนสำนักงาน

    7. ติดป้ายชื่อตลอดเวลาในการปฏิบัติธรรม

    8. งดการใช้เครื่องประดับทุกชนิด ยกเว้นนาฬิกา และไม่ควรนำของมีค่าติดตัวมาสถานปฏิบัติธรรม ถ้าเกิดสูญหายทางสำนักฯ ไม่รับผิดชอบ

    9. งดการนำอาหารและของว่างมาทานในที่พัก ให้รับประทานในที่จัดไว้ให้เฉพาะเท่านั้นเพื่อกันมดและแมลงอื่นๆ ไต่ในห้องพัก

    [​IMG]
    ผู้มาปฏิบัติร่วมกันทำวัตร-สวดมนต์


    • สิ่งที่ผู้ปฏิบัติต้องเตรียมมา •

    1. การแต่งกาย เสื้อผ้าสีขาวเนกขัมมะ, ผ้าสไบ ผ้าถุง (ให้ใส่กระโปรงซับในด้วย)
    หรือกางเกงตัวหลวม ไม่อนุญาตให้ใส่กางเกงรัดรูป
    2. เตรียมผ้าห่มมาด้วย ทางสำนักมีเสื่อและหมอนไว้ให้
    3. ร่มกันฝน หมวกกันแดด
    4. รองเท้าแตะ หรือรองเท้าฟองน้ำ
    5. ไฟฉาย, ยากันยุงทาผิว
    6. ขวดน้ำส่วนตัวประจำไว้ในห้องพัก
    7. ผ้าขี้ริ้วทำความสะอาดส่วนตัว (สำหรับทำความสะอาดที่พักของท่าน)
    8. เครื่องใช้ส่วนตัวที่ควรนำมา ผ้าเช็ดตัว, สบู่, ยาสีฟัน, ยาสระผม,
    ผงซักฟอก, ผ้าอนามัย, ไม้แขวนเสื้อ

    • บุคคลผู้ไม่รับพิจารณาให้มาปฏิบัติธรรม •

    1. บุคคลผู้ที่มีจิตวิปลาสคลาดเคลื่อน ขาดสติสัมปัญชัญญะ
    2. บุคคลผู้ติดยาเสพติด
    3. บุคคลผู้ต้องคดีอาญา
    4. บุคคลผู้ที่มีโรคติดต่อร้ายแรง
    5. เด็กที่ยังทำสมาธิไม่ได้ (จะทำความรบกวนผู้ปฏิบัติท่านอื่น)

    • กิจวัตรประจำวัน •

    04.00-06.00 น. ทำวัตรเช้า และเจริญสมาธิภาวนา
    06.00-06.30 น. ภาวนากับการเดินจงกรม
    07.00 น. ภาวนากับการพิจารณาอาหารเช้า
    08.00 น. ภาวนากับการทำความสะอาดบริเวณทั่วไปและศาลาปฏิบัติธรรม
    10.00 น. ภาวนาส่วนตัว
    11.00 น. ภาวนากับการพิจารณาอาหารกลางวัน
    12.00 น. ภาวนาส่วนตัว
    14.00-15.00 น. เจริญสมาธิภาวนา
    16.00-17.00 น. ภาวนากับการทำความสะอาดบริเวณทั่วไปและศาลาปฏิบัติธรรม
    17.00-17.30 น. ภาวนากับการเดินจงกรม
    18.00-21.00 น. ทำวัตรเย็น และเจริญสมาธิภาวนา

    [​IMG]
    คุณแม่ชีนลินรัตน์ สุทธิธรรมวิชญ์ (แม่ชีแก้ว)


    • ประวัติย่อคุณแม่ชีนลินรัตน์ สุทธิธรรมวิชญ์ •

    คุณแม่ชีนลินรัตน์ สุทธิธรรมวิชญ์ เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 5 มกราคม 2496 ภูมิลำเนาอยู่ที่ 104/2 หมู่ที่ 3 ตำบลแพรกศรีราชา อำเภอสรรค์บุรี จังหวัดชัยนาท บิดาชื่อ คุณพ่อสำราญ ด้วงแสง มารดาชื่อ คุณแม่ปิ่น ด้วงแสง จบการศึกษาประถมศึกษาปีที่ 4 บวชชีเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2514 ที่วัดเหนือ ตำบลแพรกศรีราชา อำเภอสรรค์บุรี จังหวัดชัยนาท พระผู้บวชให้คือ พระอธิการพิน ขันติธัมโม มาอยู่ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานกับหลวงพ่อสังวาลย์ เขมโก ที่วัดไกลกังวล (วัดเขาสารพัดดีศรีเจริญธรรม) ตำบลบ้านเชียน อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท

    จวบจนปี พ.ศ. 2530 ได้ติดตามหลวงพ่อสังวาลย์ เขมโก ไปอยู่ที่วัดทุ่งสามัคคีธรรม ตำบลหนองผักนาค อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี

    ต่อมาปี พ.ศ. 2532 ได้กราบลาหลวงพ่อสังวาลย์ เขมโก เพื่อเดินทางไปปฎิบัติกรรมฐานอยู่เทือกเขาเขียว จังหวัดชลบุรี เป็นเวลานาน 10 ปี

    พ.ศ. 2543 ได้มาปฏิบัติธรรมกับคุณแม่ชีอำพัน เนตรวงษ์ ที่สำนักปฏิบัติธรรมวัดย่านขาด ตำบลพรหมพิราม อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก คุณแม่ชีนลินรัตน์ ได้สร้างศาลาปฏิบัติธรรมถวายเป็นการบูชาธรรมที่สำนักปฏิบัติธรรมวัดย่านขาด โดยใช้งบประมาณ 2.2 ล้านบาท

    พ.ศ. 2545 กลับมาอยู่จังหวัดชลบุรี เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้สืบทอดตำรงต่อไป

    คุณแม่ชีนลินรัตน์ ผู้เป็นประธานสำนักปฏิบัติธรรมพุทธสาวิกา เริ่มสอนเพื่อพัฒนาจิตตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 ติดต่อเรื่อยมาจนปัจจุบัน มีผู้ร่วมเข้าปฏิบัติธรรมเฉลี่ย เดือนละ 1,000 คน ส่วนวันสำคัญทางพุทธศาสนา หรือวันเสาร์-วันอาทิตย์ จะมีจำนวนผู้เข้าร่วมการปฏิบัติธรรมหรือเข้ากรรมฐานมากขึ้น เฉลี่ยวันละ 100 คน ในปีหนึ่งจะมีผู้เข้ามาปฏิบัติธรรมประมาณหมื่นเศษ

    ติดต่อสอบถามได้ที่
    คุณแม่ชีนลินรัตน์ สุทธิธรรมวิชญ์ (แม่ชีแก้ว)
    โทรศัพท์ 08-1982-8937
    คุณลวิตรา พจนา โทรศัพท์ 08-9008-9848
    เวลาทำการ 08.00 น.-17.00 น. (ทุกวัน)

    อีเมล์ : <!-- e -->admin@buddhasavika.com<!-- e -->


    [​IMG]
    สระน้ำขนาดใหญ่ภายในสำนักฯ


    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    แผนที่สำนักปฏิบัติธรรมพุทธสาวิกา
    <!-- m -->::
     
  11. Sawiiika

    Sawiiika เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,811
    ค่าพลัง:
    +1,557
  12. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,731
    อนุโมทนาค่ะ ถ้าที่ยโสธร เรียนเชิญที่วัดป่าวังน้ำทิพย์หรือที่สำนักสงฆ์ภูสูงได้เลยค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...